บทความวิจัย Computer Education 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 THE DEVELOPMENT OF CREATIVE BASED LEARNING (CBL) TO PROMOTE ACHIEVEMENT LEARNING ON PROBLEM SOLVING TECHNOLOGY FOR MATHAYOMSUKSA 3 ประคองลักษณ์ เหลาเกตุ1* คณิศร จี้กระโทก2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี1,2 [email protected]* , [email protected] บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพ ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของ นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษา ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของนักเรียนที่ เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 3) การหาดัชนีประสิทธิผลของ การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7102 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.02 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 4) การศึกษาความพึง พอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (̅ = 4.61 , SD = 0.57) คำสำคัญ : แผนการสอน, การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน, เทคโนโลยี, ผลสัมฤทธิ์ทางเรียน ABSTRACT The purposes of this research were 1) To find the effectiveness of the learning management plan Creative based learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 to be effective according to the criteria 80/80 2) to compare the achievements before and after learning management plan Creative based learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 3) to find the Effectiveness Index of learning management plan Creative based learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 4) to study the satisfaction of students towards learning management plan Creative based learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 | คอมพิวเตอร์ศึกษา The results showed that 1) the effectiveness of learning management plan Creative based learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 was found to be 82/82.25 2) the compare the achievements before and after learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 indicated that the post-test scores were higher than the pre-test scores at the .05 level of significance. 3) to find the Effectiveness Index of learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 were 0.7102 representing 71.02% 4) the study of students' satisfaction with learning (CBL) on Problem solving technology use For students mathayomsuksa 3 was found that overall they were the most satisfied at an average (̅ = 4.61 , SD = 0.57) Keyword : Lesson plan, Creative based learning, Technology, Academic achievement บทนำ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่ม สาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สถานศึกษานําไปใช้เป็นกรอบ ทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา วางแผนจัดการ เรียนการสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา นักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดให้ พร้อมทั้งดำเนินการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้มี คุณภาพตามหลักการของหลักสูตร เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตาม เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาไทย (กระทรวงศึกษาธิการ ,2560: 30) การศึกษาถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา ประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าก้าวทันโลก และนานาชาติ ในยุคเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดนที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนจึงมีความจำเป็นต้อง พัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ประสิทธิภาพใน กระบวนการทางความคิด ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวทัน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (สุธาธิณี กรุดเงิน และ พรสิริ เอี่ยมแก้ว , 2564 : 189-202) กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญและความ จำเป็นของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยเฉพาะวิชา วิทยาศาสตร์การคำนวณต้องปูพื้นฐานตั้งแต่วัยเด็กและ เรียนรู้จากครูที่มีคุณภาพ สัมผัสการใช้งานอุปกรณ์การเรียน การสื่อสารต่างๆได้อย่างเข้าใจ ใช้เหตุผลค้นคว้าหาคำตอบที่ เหมาะสม นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เพราะ เยาวชนถือเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติในก้าวสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 สามารถแก้ปัญหา มีทักษะการใช้ชีวิต ประกอบอาชีพที่แข่งขันได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน ในระยะยาว (กระทรวงศึกษาธิการ, 2561) โดยผลจากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า โรงเรียนกุงแก้ว วิทยาคาร สังกัด สพม.เลย หนองบัวลำภู จังหวัด หนองบัวลำภู ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning : CBL) สำ หนึ่งใน วิธีของการจัดการเรียนการสอนโดยมีผู้เรียนเป็น สำคัญ 1. วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
บทความวิจัย Computer Education 3 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เป็นสาระที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาใน ชีวิตจริงอย่างสร้างสรรค์ โดยเป็นสาระเกี่ยวกับการพัฒนา ผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อ ดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.2 การจัดการเรียนรู้และการสอนแบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน (CBL) กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการ สร้างสรรค์เป็นฐาน เป็นการสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะ การคิด วิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการค้นคว้าข้อมูล ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะการสื่อสาร การสอนด้วยรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน หมายถึง การ สอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน พัฒนามาจากการสอนแบบใช้ ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) และ แนวทางการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์แบบความคิด แนวขนานของเอ็ดเวิร์ด เดอโบโน (Edward De Bono) และ เป็นการนำทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์มาสร้างรูปแบบการ เรียนการสอนแบบใหม่ ที่เรียกว่า การสอนด้วยรูปแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน การสอนการสอนด้วยรูปแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ กระตุ้น ความสนใจ ตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่มตามความสนใจ ค้นคว้า และคิดนำเสนอผลงาน และประเมินผล ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดต่าง ๆ ไปใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ ความเข้าใจและสนุกสนานกับการ เรียน โดยผู้วิจัยจะพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.3 แผนการจัดการเรียนรู้ ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน (2552 : 189) ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนนั้น สิ่งสำคัญที่ ผู้สอน (อาจารย์แนะแนว) จะต้องพิจารณาก็คือ การเรียนรู้.... การวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จะสามารถทำให้ผู้สอน สามารถควบคุมชั้นเรียน และทำให้กิจกรรมในชั้นเรียน ดำเนินไปด้วยดี อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550: 205) ได้ให้ความหมายของ แผนการจัดการเรียนรู้ว่า แผนการสอน คือ แผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อการสอน การวัดผล ประเมินผล ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ใน หลักสูตร สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง กิจกรรมการ เรียนรู้ภายใต้คำแนะนำ และการดูแลของผู้สอนที่ให้ผู้เรียนได้ เป็นผู้ปฏิบัติ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบคำตอบหรือกระทำด้วย ตนเอง เพื่อให้ดำเนินการสอนเป็นไปตามขั้นตอน โดยมีการ เตรียมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบจัดทำไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรและนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป็นหมายที่ได้กำหนดไว้ 2.4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บุปผา กัติยัง (2556) ได้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความ เข้าใจ ความสามารถ และทักษะทางวิชาการ สมรรถภาพทางสมอง และมวล ประสบการณ์ที่นักเรียน ได้รับจากการเรียนการสอน ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ไพโรจน์ คะเชนทร์ (2556) ให้คำจำกัดความผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนว่า คือคุณลักษณะ รวมถึงความรู้ ความสามารถ ของบุคคลอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน หรือมวล ประสบการณ์ทั้ง ปวงที่บุคคลได้รับจากการเรียนการสอน ทำ ให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของ สมรรถภาพทางสมอง สรุปได้ว่า ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ว่า ความสามารถของนักเรียน พิจารณาจากการทดสอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้ครอบคลุม การวัด พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม (Boom) และ คณะด้วยกัน 5 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ ความจำ 2) ด้านความเข้าใจ 3) ด้านการนำไปใช้ 4) ด้าน วิเคราะห์ 5) ด้านประเมินค่า 2.5 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับดัชนีประสิทธิผล ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2557 : 494) กล่าวว่า ดัชนี ประสิทธิผล หมายถึง ตัวเลขที่แสดงถึง ความก้าวหน้าในการ เรียนของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบคะแนนที่เพิ่มจากคะแนน
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 4 | คอมพิวเตอร์ศึกษา การทดสอบก่อนเรียน กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลัง เรียนและคะแนนเต็มหรือคะแนนสูงสุดกับคะแนนที่ได้จาก การ ทดสอบก่อนเรียน เมื่อมีการประเมินสื่อการสอนที่ผลิต ขึ้น จะดูประสิทธิผลทางการสอนและการวัดผล ประเมินผล สื่อการสอนนั้น สรุปได้ว่า ดัชนีประสิทธิผล หมายถึง ตัวเลขที่บ่งบอกถึง ความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนหลังจากที่ได้ศึกษานว ตักรรมหรือสื่อต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบ คะแนนที่เพิ่มขึ้นจาก การทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลัง เรียน 2.6 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ อาภัสสร วันดี (2560 อ้างถึงใน รงทอง พนธารา, 2550) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งใดสิ่ง หนึ่งอันเกิดจากความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิม ค่านิยมของ แต่ละบุคคลซึ่งจะได้รับก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นสามารถตอบสนอง ความต้องการของบุคคล ทั้งนี้ระดับของความพึงพอใจในแต่ ละบุคคลย่อมมีความแตกต่างกันไป สรุปได้ว่า ความหมายของความพึงพอใจต่างมีผู้ให้ ความหมายไว้อย่างมากมาย ทั้งนี้เราสามารถสรุปได้ว่า ความ พึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก ทัศนคติหรือการรับรู้ของบุคคล ซึ่งความพึงพอใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งตอบสนอง ความต้องการของบุคคลนั้น ๆ โดยสามารถแสดงออกมาใน รูปแบบของความชอบ ไม่ชอบ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย พึงพอใจ หรือไม่พึงพอใจ ซึ่งระดับความพึงพอใจของแต่ละบุคคลย่อม มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราควรเคารพในความ คิดเห็นของกันและกัน 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ ลัดดา ศิลาน้อย (2558, น. 141-148) ศึกษาการพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 จำนวน 30 คน การวิจัย ใช้ หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action Research) การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1) ข้อมูลเชิง คุณภาพนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย และการสัมภาษณ์นักเรียนมา วิเคราะห์ ตีความ สรุป ผลแล้ว นำมารายงานผลในลักษณะของการบรรยาย 2) ข้อมูลเชิง ปริมาณ นำ คะแนนจากแบบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบทดสอบท้ายวงจรมาหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน นักเรียนร้อย ละ 83.33 ผานเกณฑ์ และมีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 78.00 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน นักเรียนร้อยละ 80.00 ผ่าน เกณฑ์ และ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.50 งานวิจัยต่างประเทศ Mari K. and Hopper (2018) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (TBL) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยอินดีแอ นา ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียน การสอน แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในการเรียนการสอนด้าน สุขภาพและยาช่วยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยอินดี แอนา เกิด ทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ และทักษะในการทำงานกลุ่ม โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความ สะดวกให้คำชี้แนะแนวทางการ แก้ปัญหา วิธีดำเนินการวิจัย 1. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่องเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 9 ชั่วโมง มีขั้นตอนดังนี้ 1.1. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนกุงแก้ววิทยา คาร สังกัด สพม. เลย หนองบัวลำภู อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
บทความวิจัย Computer Education 5 พื้นฐาน พุทธศักราช 2560 และเอกสารประกอบหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.2 ศึกษาทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 1.3 ศึกษาเนื้อหาของข้อมูลและการประมวลผล กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จากหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.4 กำหนดขั้นตอนการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.5 คัดเลือกเนื้อหาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนจาก แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1.6 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาและขั้นตอน แผนการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ แบ่งเนื้อหาและเวลาดังนี้ 1.6.1 เรื่องการนำเทคโนโลยี มาแก้ปัญหาในอาชีพ เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.2 เรื่อง GPS Tracking เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.3 เรื่องการระบุปัญหา เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.4 เรื่องการสัมภาษณ์ เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.5 เรื่องการรวบรวมข้อมูล และคัดเลือกแนวคิด เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.6 เรื่องการออกแบบแนวคิด เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.7 เรื่องการทดสอบและ ประเมินผล เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.8 เรื่องการเขียนรายงาน เวลา 1 ชั่วโมง 1.6.9 เรื่องการนำเสนองาน เวลา 1 ชั่วโมง 1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขตาม ข้อเสนอแนะของครูที่ปรึกษาวิจัยแล้วนำไปเสนอกับ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน 1.8 แก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ตาม ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะให้ ปรับเกี่ยวกับการใช้คำและภาษาให้ชัดเจนถูกต้อง 1.9 นำเสนอการจัดการเรียนการสอนจากแผนการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่าง 1.10 จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนการสอนจากแผนการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เครื่องมือการวิจัย 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ การเรียนการสอนแบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 9 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 9 ชั่วโมง 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2.3 แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแผนการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุงแก้ววิทยาคาร สังกัด สพม. เลย หนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง รวม 37 คน 3.2 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนกุงแก้ววิทยาคาร สังกัด สพม.เลย หนองบัวลำภู ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการ เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) 4. สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (dependent Samples) ผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา ผลการหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังตารางที่ 4.1
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 6 | คอมพิวเตอร์ศึกษา ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของเกมเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการใช้ อินเทอร์เน็ต รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 รายการ N A E1 /E2 E1 20 30 24.60 82 E2 20 20 16.45 82.25 จากตารางที่ 4.1 พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82/82.25 ซึ่งเป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างเรียน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังตาราง ที่ 4.1 ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลัง เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (n = 20) รายการ S.D. t df Sig.(2- tailed) ก่อนเรียน 7.75 1.48 25.36 18 0.00* หลังเรียน 16.45 1.28 จากตารางที่ 4.2 พบว่า นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 7.75 และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 16.45 ค่า t เท่ากับ 25.36 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการ วิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏผลดังตารางที่ 4.3 ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนระหว่างเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (n = 20) จากตารางที่ 4.3 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีคะแนน เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.7102 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.02 โดยผลรวม ของคะแนนหลังเรียน เท่ากับ 329 และผลรวมของคะแนน ก่อนเรียนเท่ากับ 155 จะเห็นได้ว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์หลัง เรียนมากกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน 4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ปรากฏผลดัง ตารางที่ 4.4 ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน (n = 20) รายการ S.D. แปลผล 1. เนื้อหาเข้าใจง่าย 4.60 0.60 มากที่สุด 2. เนื้อหามีความสอดคล้อง กับจุดประสงค์การเรียนรู้ 4.55 0.51 มากที่สุด N x A ∑ P2 ∑ P1 E.I. 20 x 20 329 155 0.7102
บทความวิจัย Computer Education 7 ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน (n = 20) (ต่อ) รายการ S.D. แปลผล 3. รูปแบบสวยงาม 4.45 0.60 มาก 4. สีตัวอักษรและขนาด ตัวอักษร อ่านง่าย มีความ เหมาะสม 4.50 0.69 มาก 5. อธิบายตัวอย่า งไ ด้ ชัดเจน 4.60 0.68 มากที่สุด 6. เสียงบรรยายมีความ เหมาะสม 4.60 0.60 มากที่สุด 7. ใบ ก ิ จ ก ร รมมีความ เหมาะสม 4.75 0.44 มากที่สุด 8. การออกแบบบทเรียนมี ความยืดหยุ่น 4.55 0.60 มากที่สุด 9. น ั ก เ ร ี ย น ม ี ค ว า ม ประทับใจในการจัดการ เรียนรู้แบบ CBL 4.80 0.41 มากที่สุด 10. การจัดการเรียนรู้แบบ CBL ม ี ป ร ะ โ ย ช น ์ ต่ อ นักเรียน 4.65 0.49 มากที่สุด เฉลี่ยโดยรวม 4.61 0.57 มากที่สุด จากตารางที่ 4.4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ( = 4.61 , SD = 0.57) อภิปรายผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่อง เทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี ประเด็นที่จะนำมาอภิปราย ดังนี้ 1. การหาประสิทธิภาพของนักเรียนที่เรียนด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี ประสิทธิภาพ 82/82.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าได้ผ่านการออกแบบอย่างมีระบบ และได้ ผ่านการตรวจสอบในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการ เรียนการสอน และการจัดทำใบงาน กิจกรรมต่างๆ และ เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ลัดดา ศิลาน้อย (2558, น. 141- 148) ศึกษาการพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จากการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน นักเรียนร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์ และมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 78.00 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน นักเรียนร้อยละ 80.00 ผ่านเกณฑ์ และมีคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 75.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ทั้งนี้การเรียนโดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบอย่างมี เหตุผล กล้าแสดงความคิดเห็น กล้านำเสนอสิ่งที่แตกต่างจาก คนอื่น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ของวรกร สุวรรณ์ (2559) ที่กล่าวว่า รูปแบบการสอนสร้างสรรค์เป็นฐานซึ่งเป็น รูปแบบการสอนใหม่ เปิดกว้างให้ครูมีกรอบหรือ แนว ทางการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ที่ ชัดเจนง่ายต่อการนำมาใช้มีอิสระในการสร้างสรรค์การสอน ตามแนวทางการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 3. การหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7102 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.02 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ข้อที่ 3 จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็น ฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยีแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น มีความก้าวหน้าและพัฒนาการทางการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุภาพร นะมามะกะ (2562) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยสื่อ การ
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 8 | คอมพิวเตอร์ศึกษา สอนอินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เรื่องเทคโนโลยี แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ ในระดับพอใจมากที่สุด ( = 4.61 , SD = 0.57) ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐานข้อที่ 4 เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่า รายการที่มีนักเรียนแสดงความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนมีความประทับใจในการจัดการเรียนรู้แบบ CBL ( = 4.80 , S.D. = 0.41) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแผนการจัดการ เรียนรู้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในการ ปฏิบัติกิจกรรม และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีความ น่าสนใจ ทำให้นักเรียนสนุกและสนใจเนื้อหาการเรียนรู้นี้ ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชลธิชา นำมา (2560) พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ 1.1 ครูผู้สอนควรศึกษาแนวคิดการสอนและ นวัตกรรมในการสอนให้เข้าใจก่อนเพื่อนำไปปรับใช้ในแผน และบทเรียนที่จะนำไปสอนนักเรียน 1.2 ครูผู้สอนควรอธิบายวิธีการ ขั้นตอนการทำ กิจกรรมต่างๆ แก่นักเรียนให้นักเรียน เข้าใจก่อนปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 2. ข้อเสนอแนะเพื่อทำการศึกษาครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาการออกแบบการจัดกิจกรรม และสอนเนื้อหาที่สามารถบูรณาการกับวิชาอื่นๆ ได้เพื่อ นักเรียนจะได้มีความรู้ไปต่อยอด 2.2 ควรมีการออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนว การเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และ สถานการณ์ปัจจุบัน 2.3 ควรมีการสอบถามนักเรียน และสังเกตความ สนใจของนักเรียนว่า ชอบอะไร สนใจในเรื่องไหน ครูผู้สอน จะได้นำมาออกแบบกิจกรรม เพื่อให้กิจกรรมมีความ สนุกสนานนักเรียนชอบและมีความสุขในการเรียน เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2552). เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอ เดียนสโตร์. บุปผา กัติยัง. (2556). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะปฏิบัติการทำขนมในท้องถิ่นสงขลาและความ ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและ การสอน). สงขลา: มหาวิทยาลัย ทักษิณ. ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. สืบค้น 15 กันยายน 2566. จาก http://www.waltoongpel.com/Sarawichakam /wichakam/1-10/ ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2557). การวางแผนการสอนและการ เขียนแผนการสอน. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์. อาภัสสร วันดี. (2560). ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร. ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การวิจัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ใน ศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. ขอนแก่น: วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 141-148.
บทความวิจัย Computer Education 9 สุภาพร นะมามะกะ. (2562). การพัฒนาสื่อการสอนอินโฟ กราฟิกแบบภาพนิ่งเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ. ชลธิชา นำนา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์ เป็นฐาน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 16 (2), 113-128. Mari K. and Hopper. (2018). Alphabet Soup of Active Learning: Comparison of PBL, CBL, and TBL. Retrieved September 18, 2023 from https://eric.ed.gov/?q=CBL&id= EJ1279700