The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือผ้าไทย--04

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by กรชนก มาภรณ์, 2023-01-15 23:52:21

หนังสือผ้าไทย--04

หนังสือผ้าไทย--04

ค�ำน�ำ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีครบ ๔๔ พรรษา วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ จังหวัดสุโขทัยโดยความร่วมมือ ของทุกภาคส่วน ได้จัดท�ำผ้าทอด้วย เส้นไหมย้อมสีธรรมชาติทอยกดอก ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๙ ลายเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย เพื่อถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในการนี้จังหวัดสุโขทัย จึงได้จัดท�ำหนังสือ “ลายผ้าเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย” เพื่อรวบรวมเรื่องราวของผ้าทอตีนจกและลายเอกลักษณ์๙ ลายประจ�ำจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ ลายมนสิบหก ลายสิบสองหน่วยตัด ลายน�้ำอ่าง ลายสองท้อง ลายสี่ขอและลายแปดขอรวมทั้งกิจกรรมการจัดท�ำผ้าลายยกดอก“ลายดอกบัวหลวง” ตกแต่งด้วยลายสี่ขอ เพื่อเผยแพร่และบันทึกไว้เป็นความทรงจ�ำของพสกนิกรชาวสุโขทัย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจจัดท�ำผ้าทอถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในครั้งนี้ นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ก


สารบัญ หน้า ประวัติเมืองสุโขทัย ๑ ผ้าทอไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย ๓ ผ้าทอตีนจก 9 ลาย เอกลักษณ์ผ้าจังหวัดสุโขทัย ๖ การจัดท�ำผ้าทอยกดอก “ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ” ๑๔ กิจกรรมการจัดท�ำผ้าทอยกดอก “ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ” ๑๕ การสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน ๒๒ คณะผู้จัดท�ำ ๒๘ เอกสารอ้างอิง ๓๒ ข


สุโขทัยรุ่งอรุณแห่งความสุข อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ โดยพระยาศรีนาวน�ำถม และมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญในทุกด้าน ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม ดังปรากฏในศิลาจารึกบอกถึง ความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชว่ามีอาณาเขตกว้างมาก ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ น่านและหลวงพระบาง ทิศใต้จรดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก จรดเมืองเวียงจันทน์และทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดีการปกครองบ้านเมืองเป็นระบบ “พ่อปกครองลูก” ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีมีสิทธิเสรีภาพดั่งค�ำจารึกว่า “ไพร่ฟ้าหน้าใส ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขายใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า” สมัยก่อนชาวสุโขทัย ท�ำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาศัยน�้ำที่มีอยู่บริบูรณ์ท�ำนา ท�ำสวน ท�ำไร่ มีการสร้างเขื่อนเก็บกักน�้ำไว้ใช้หน้าแล้งเรียกว่า “ท�ำนบพระร่วง” ซึ่งนักโบราณคดี ได้ศึกษาพบถึง ๗ แห่ง สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตเครื่องถ้วยชามที่ เรียกว่า “สังคโลก” ส่งขายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนิเชีย และบอร์เนียว นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์การค้าสินค้าจากจีน เช่น ถ้วย ชาม และผ้าไหม เพื่อขายใน ประเทศและส่งต่อต่างประเทศด้วย หลักฐานที่สะท้อนให้เห็นความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ของสุโขทัย ได้แก่ สมบัติทางวัฒนธรรมที่ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยและมรดกโลกในปัจจุบัน ในปีพ.ศ. ๑๘๙๐ กรุงศรีอยุธยา มีอ�ำนาจมากขึ้นและเป็นศูนย์กลางแห่งอ�ำนาจ แทนสุโขทัย แต่สุโขทัยก็ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองกันติดต่อมาอีก ๒ พระองค์จึงสิ้น พระราชวงศ์สุโขทัยและได้รวมเข้ากับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ เมืองพม่าครั้งที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นที่บ้านธานีริมแม่น�้ำยมซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน -๑-


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวพวนได้อพยพเข้ามาพึ่ง บรมโพธิสมภารโดยอาศัยอยู่บริเวณบ้านหาดสูง และบ้านหาดเสี้ยว สองฝั่งแม่น�้ำยม ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. ๒๓๗๙ โดยเข้ามาประกอบอาชีพท�ำนา ท�ำไร่ ท�ำสวน ว่างเว้นจาก การท�ำนาผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก ดังปรากฏในค�ำบอกเล่าของ นายสาธร โสรัจประสพสันติ ปราชญ์ชาวบ้านพื้นบ้านผู้มีความเชี่ยวชาญด้านผ้าตีนจก กล่าวว่า “ค่านิยมของสังคม ชาวไทยพวนหาดเสี้ยวในอดีตยกย่องสตรีที่สามารถทอผ้าได้ดีว่า มีคุณสมบัติของแม่บ้าน แม่เรือน เพราะเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิต” การแต่งกายของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ในอดีตเป็นการสะท้อน วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ผู้หญิงจะต้องทอผ้าใช้เองแทบทุกบ้านจะมีเครื่องทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้าน หลังจากเสร็จสิ้นการท�ำนาแล้วก็จะมีการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งไม่เน้นความ ประณีตสวยงาม แต่จะเน้นความแน่นความหนาของเนื้อผ้า เพื่อความทนทานสามารถ ใช้ได้นานๆเช่น ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ผ้านวม ผ้าพื้นย้อมคราม หรือย้อมมะเกลือและ ผ้าท�ำถุงย่าม เป็นต้น ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย -๒-


ผ้าทอไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย ผ้าทอไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ ผ้าทอเพื่อใช้สอย ผ้าประเภทนี้จะไม่เน้นความประณีต สวยงามนักแต่จะเน้นความแน่นความหนาของเนื้อผ้า เพื่อให้คงทนให้ใช้ได้นานวัน ได้แก่ ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ผ้าเปลือกนวม ผ้าเช็ดปาก ที่นอน ถุงย่าม ประเภทที่ ๒ ผ้าที่ใช้เพื่อ นุ่งห่ม เน้นการทออย่างประณีตงดงามเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษหรือโอกาสส�ำคัญต่างๆ ได้แก่ ผ้าลายต่างๆ เช่น ผ้าซิ่น ผ้าคลุมไหล่ผ้ากราบพระ เป็นต้น โดยเฉพาะผ้าซิ่นถือได้ว่ามี ความส�ำคัญอย่างมากโดยชาวหาดเสี้ยวเรียกกันว่า ผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งทอเพื่อใช้ในโอกาส พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวหาดเสี้ยว เช่น งานบุญ งานนักขัตฤกษ์งานเทศกาลและพิธีการส�ำคัญ โดยผ้าซิ่นตีนจกยังแฝงไว้ด้วยความเชื่อ และขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของชาวหาดเสี้ยวอีกด้วย ส่งผลให้ผ้าซิ่นตีนจก บ้านหาดเสี้ยวมีชื่อเสียงอย่างมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องความประณีต ลวดลาย และสีสันที่งดงามและหลากหลาย ตลอดจนที่มีการทอในลักษณะพิเศษที่เรียกว่า การจกคือการท�ำลวดลายบนผืนผ้าด้วยการใช้มือหรือใช้ขนเม่น ควัก หรือจกท�ำลวดลาย เป็นช่วงๆ ท�ำให้สามารถสลับสีสันลวดลายได้หลากสีอาจใช้ฝ้าย หรือไหม โดยน�ำมาต่อ ตรงส่วนล่างของผ้าซิ่น จึงเรียกว่า ซิ่นตีนจก โดยผ้าซิ่นตีนจกของบ้านหาดเสี้ยว มีหลาก หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นไปตามการใช้งานในวิถีชีวิตและสังคมจนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรม การทอผ้าที่งดงามตลอดจนลวดลายที่สะท้อนความหมายผ่านลวดลายของผ้าซิ่นตีนจก ท�ำให้ผ้าซิ่นตีนจกบ้านหาดเสี้ยวอยู่ในความทรงจ�ำของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน ผ้าซิ่นตีนจกบ้านหาดเสี้ยวสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะการใช้ งานได้๒ แบบ คือ แบบที่ ๑ ผ้าซิ่นที่นุ่งในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งแบ่งไปตามช่วงอายุมีทั้ง ผ้าซิ่นเด็ก ผ้าซิ่นคนแก่และผ้าซิ่นคนสาว ผ้าซิ่นหล่านี้ชาวบ้านจะทอขึ้นเพื่อไว้นุ่งเอง โดยผู้หญิงบ้านหาดเสี้ยวจะมีซิ่นส�ำหรับนุ่งในชีวิตประจ�ำวันโดยแบ่งเป็นซิ่นตีนแดงและ ซิ่นตีนจกส�ำหรับหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน ส่วนหญิงสาวที่แต่งงานแล้วจะใช้ซิ่น ตีนด�ำ เพื่อบ่งบอกถึงสถานภาพและฐานะของผู้สวมใส่ตลอดจนผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น หาดเสี้ยวกันเฉพาะในช่วงที่มีรอบเดือน คือ ซิ่นด�ำปึก เนื่องจากมีพื้นสีด�ำทั้งผืนมีสีแดง -๓-


-๔- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย หรือ สีอื่นๆ ทอขวางเป็นลายเล็กๆ ตรงชายซิ่นเท่านั้น แบบที่ ๒ ผ้าซิ่นที่นุ่งในโอกาสพิเศษ เช่น การไปร่วมพิธีกรรม งานแต่งงาน งานบวช งานบุญต่างๆจะเป็นซิ่นที่มีความสวยงาม ประณีต เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นผ้าซิ่นประเภทนี้มักจะเป็นซิ่นที่ต้องใช้ความสามารถ ความช�ำนาญ ประณีต และเทคนิคบางอย่างเฉพาะตัว เพราะแม้ว่าจะเป็นซิ่นประเภท เดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในเรื่องลวดลาย สีสัน และความละเอียดประณีตของฝีมือ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในเรื่องความสวยงาม ที่ส�ำคัญซิ่นประเภทนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาใน การทอมากกว่าซิ่นธรรมดาทั่วไป ได้แก่ ซิ่นยก และซิ่นล้วง ที่ใช้เทคนิคและวิธีการทอ ให้เกิดดอกหรือลวดลายต่างๆในเนื้อผ้าและซิ่นตีนจกเป็นซิ่นซึ่งจะเน้นความสวยงาม ที่บริเวณตีนซิ่นเป็นหลัก ซิ่นบ้านหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย ในสมัยโบราณจะทอด้วยฟืมหน้าแคบท�ำให้ผ้าซิ่นที่ทอขึ้นมามีลักษณะหน้าแคบ เมื่อน�ำมานุ่งจะสั้นเกินไปจึงต้องมีการต่อผ้าเป็นการเพิ่มความยาว ดังนั้นผ้าหนึ่งผืนจะมี อยู่สามส่วน คือ ๑. หัวซิ่น คือ ผ้าที่ต่อด้านบนของซิ่น อาจเป็น ๑ ชิ้นหรือ ๒ ชิ้น ขึ้นอยู่กับหน้ากว้าง ของผ้าตัวซิ่น และความยาวที่ต้องการด้านที่ต่อกับตัวซิ่นเป็นผ้าพื้นสีแดงและต่อชิ้นบนสุด ด้วยผ้าสีขาว ด้ายที่ใช้เย็บต่อหัวซิ่นเป็นสีเหลือง ตะเข็บที่ใช้ต่อมีหลายวิธีเช่น ตะเข็บ ด้นต่อกับตะเข็บคล้องแบบโซ่ เป็นต้น ๒. ตัวซิ่น อยู่ต่อจากหัวซิ่นลงมา ความกว้างของตัวซิ่นตั้งแต่ ๑๖ นิ้วขึ้นไป (ยกเว้นซิ่นเด็ก จะมีขนาดแคบกว่า) นิยมสีเขียว สีด�ำ และแดง และมีลวดลายขวางล�ำตัว มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะลวดลายที่ก�ำหนด โดยการใช้เส้นด้ายยืนเรียงสลับสีหรือ ใช้เส้นด้ายยืนสีต่างกันตั้งแต่ ๒ เส้นขึ้นไปปั่นเกลียวควบกัน ยกเว้น “ซิ่นล้วง” จะใช้ ไหมเป็นเส้นพุ่งพิเศษสอดเป็นลวดลายซึ่งใช้วิธีการทอแบบ “จก” โดยลักษณะ ซิ่นส�ำคัญของบ้านหาดเสี้ยว ได้แก่ • ซิ่นมุก เป็นผ้าชิ่นที่ก�ำหนดลวดลายโดยใช้เส้นด้ายยืนพิเศษ มักเป็นรูปกลม เป็นลายโบราณ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมใช้อยู่ ต่อกับผ้าตีนจกใช้ในโอกาสพิเศษมากกว่า เป็นผ้าที่ใช้ประจ�ำวัน ถ้าต่อตีนด�ำหรือตีนแดงใช้ทั่วไปค่อนข้างพิเศษ นอกจากนั้นวิธีท�ำ “มุก” โดยก�ำหนดลวดลายไขว้กันเรียก ซิ่นมุกขาเปียเป็นผ้าของผู้มีฐานะดี


-๕- • ซิ่นเข็น เป็นผ้าที่ใช้ด้าย ๒ เส้นสีต่างกัน เช่น ด�ำกับเขียวมาตีเกลียวให้เป็นเส้น เดียวกัน มักทอด้วยเส้นพุ่งสีด�ำหรือสีครามเข้ม ริ้วด้านล่างที่ต่อกันกับตีนซิ่น เป็นริ้ว คล้ายซิ่นตาผะน้อย หรืออาจทอแบบ “จก” เพื่อให้เชื่อมกับตีน • ซิ่นตามะนาว ลายริ้วสีด�ำมีขอบสีน�้ำเงิน หรือสีอื่นๆ เรียงเป็นระยะห่างกัน ประมาณ ๑/๒ นิ้ว พื้นผ้าเป็นสีเขียว ซึ่งต่างจากซิ่นตามะนาวของ จังหวัดแพร่ซึ่งเป็นสีเหลือง • ซิ่นตาผะน้อย ลายริ้วตรงกลางใช้ด้ายสีแดงเหลืองเละด�ำตีเกลียวทอควบกัน จะได้ริ้วที่เป็นลายเหลือบ กว้างประมาณ ๑/๔ นิ้ว ขอบที่อยู่ชิดริ้วเป็นสีขาว ถัดมาเป็นสีด�ำ และเหลือง ส่วนของลายริ้วทั้งหมดกว้าง ๓/๔ นิ้ว สลับด้วยพื้นเขียว หรือแดง ระยะห่าง ประมาณ ๑ นิ้ว • ซิ่นตาหว้า คล้ายกับซิ่นตาผะน้อย ซิ่นเด็กมักใช้ซิ่นตาหว้าเป็นตัวซิ่น ต่างกันที่ ส่วนขอบริ้วตรงกลางสีเหลือบแดง เหลืองและด�ำ มีขอบสีแดงเล็กมาก ถัดมาเป็นขอบสี เหลืองเว้นเป็นสีพื้นเล็กๆ และมีขอบเหลือบสีเหลืองแดงและด�ำ ระยะห่างระหว่างลาย ๑ นิ้ว เป็นพื้นเขียว ทอด้ายพุ่งสีด�ำ ส่วนล่างที่ติดกับตีนซิ่นเป็นริ้วที่มีขอบหลายชั้น จึงมี ขนาดกว้างกว่าลายริ้วในผืนตัวซิ่น • ซิ่นตาเติบ สีพื้นแดงเรียกตาเติบแดง สีพื้นเขียวเรียกตาเติบเขียว คล้ายกับ ซิ่นตาผะน้อย ผสมกับซิ่นตาหว้ากล่าวคือริ้วกลางเป็นสีเหลือบแดง เหลือง และด�ำ ขอบเล็ก สีขาว มีขอบเหลือง สลับสีพื้น ๒ ริ้ว ขอบถัดมาเป็นริ้วเหลือบแดงเหลือง และด�ำอยู่ ตรงกลางริ้วสีเขียวถ้าเป็นซิ่นตาเติบแดงส่วนซิ่นตาเติบเขียว ริ้วนี้จะเป็นสีแดงขอบนอกสุดเป็น ริ้วสีเหลืองเส้นด้ายพุ่งสีด�ำความหมายของซิ่นตาเติบ คือ มีลายริ้วใหญ่กว่าริ้วของลายอื่นๆ • ซิ่นอ้อมแดง มีริ้วเล็กๆ สีด�ำหรือสีเหลือบแดงเหลือง ขนาดกว้างประมาณ ๔-๖ เส้นด้ายยืน อยู่ตรงกลางมีขอบสีแดง ๒ เส้นด้ายยืน ระยะห่างของริ้ว ๑/๒ นิ้ว พื้นสีเขียว ขอบล่างที่ต่อกับตีนซิ่น เป็นขอบแบบซิ่นตาผะน้อย ถ้าเป็นตีนซิ่นด�ำหรือแดง มักไม่มีขอบที่ส่วนล่าง • ซิ่นน�้ำอ่อย มีริ้วเล็กๆสีด�ำ ขนาดกว้าง ๔-๖ เส้นยืนเท่ากับอ้อมแดงสวนขอบเป็น ด้ายสีด�ำกับขาวอย่างละเส้นร้อยเข้าไปในรูเดียวกันของฟืม • ซิ่นแขบแย้เป็นลายเหลือบสีของตัวแย้(ใช้ด้ายเข็นหรือ “ลังไม” สีฟ้ากับด�ำ หรือเขียวกับด�ำ) ขนาดกว้างประมาณ ๑/๒ นิ้ว สลับด้วยริ้วสีสดหลายสีเช่น สีฟ้าสด เหลือง แดง และเขียว ซึ่งเป็นสีลายของแย้แสดงถึงจินตนาการของผู้ทอที่มีต่อธรรมชาติ รอบๆ ตัว ปัจจุบันค่อนข้างหายาก ซิ่นด�ำปีกตัวซิ่นเป็นพื้นสีด�ำ ตีนซิ่นสีแดง หรือสีด�ำล้วน


-๖- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย หรือสีด�ำมีริ้วสีแดงที่ชายซิ่นใช้นุ่งเมื่อมีประจ�ำเดือนหรือเมื่อต้องท�ำงานสมบุกสมบัน • ซิ่นเคียะ ทอลายจก เป็นระยะตลอดทั้งผืน โดยส่วนล่างจะเป็นลายตีนจก เต็มรูปแบบ ส่วนถัดขึ้นบนเป็นลายประกอบใหญ่ สลับกับลายประกอบขนาดกลางและ เล็กส่วนล่างสุดมีลายสร้อยสา เช่นเดียวกับผ้าตีนจก เนื่องจากเป็นผ้าทอทั้งผืน จึงต้องใช้ หูกหน้ากว้าง เป็นที่ดัดแปลงจากท้องถิ่นอื่น ๓. ตีนซิ่น หรือเชิงซิ่น คือ ส่วนที่อยู่เป็นชายผ้าด้านล่างสุด มีขนาดกว้าง ประมาณ ๑๐-๑๒ นิ้ว ตีนซิ่นของหาดเสี้ยวในสมัยโบราณ เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงสถานภาพ และวัยของผู้สวมรวมทั้งโอกาสที่ใช้ตีนซิ่น แยกเป็น ๒ ประเภท คือตีนธรรมดา เป็นสีด�ำ หรือสีแดง หรือสีด�ำและแดง อีกประเภทหนึ่งคือ ตีนจกซึ่งเป็น ผ้าทอด้วยการใช้เส้นด้าย พุ่งพิเศษสีต่างๆ ท�ำให้เกิดลวดลาย โดยลายตีนจกที่นิยมทอมี๙ ลาย ได้แก่ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ ลายมนสิบหก ลายสิบสองหน่วยตัด ลายสองท้อง ลายน�้ำอ่าง ลายสี่ขอ และลายแปดขอ ผ้าทอตีนจก ๙ ลายเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย ผ้าตีนจกทั้ง ๙ ลายมีความวิจิตรงดงามแฝงไว้ด้วยแง่คิดอันทรงคุณค่า เป็นลายตีนซิ่น ที่หญิงชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย ประดิดประดอยมาเป็นตีนซิ่นของ ตนเอง และด้วยภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดจึงบังเกิดลวดลายตีนจกถึง ๙ ลายอันทรงคุณค่าและ เป็นเอกลักษณ์ของผ้าจังหวัดสุโขทัย โดยกระบวนการท�ำลวดลายผ้าต้องใช้เทคนิคพิเศษ เรียกว่าการจก คือการเอาฝ้ายด้านล่างขึ้นด้านบนของเส้นยืน เวลาทอจะไม่มีการเก็บลาย ล่วงหน้า ผู้ทอต้องจ�ำได้เองว่าจะทอผ้าในแถวต่อไปต้องจกอย่างไร เพราะการทอผ้า ในแต่ละแถวต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ เพราะต้องนับเส้นด้ายแต่ละเส้น เพื่อใส่เส้นสี ในการจกเข้าไปท�ำให้การทอนานกว่าประเภทอื่นๆ ลายตีนจกทั้ง ๙ ลายคือลายหลักที่มีการทอขนาดใหญ่ที่สุดในผืนผ้าจะทอ อยู่ตรงกึ่งกลางของลายตีนจกและเด่นกว่าลายอื่นๆ ลายหลักที่เป็นลายเฉพาะของตีนจกหาดเสี้ยว แต่โบราณ มีอยู่ ๙ ลาย คือ ๑. ลายเครือน้อย ๒. ลายเครือกลาง ๓. ลายเครือใหญ่ ๔. ลายมนสิบหก ๕. ลายสิบสองหน่วยตัด ๖. ลายสองท้อง ๗. ลายน�้ำอ่าง ๘. ลายสี่ขอ ๙. ลายแปดขอ


-๗- ๑. ลายเครือน้อย เป็นลายโบราณเรียกหน่วย เครือน้อย โครงสร้างของลายหลักเป็นลายง่ายๆ มีลายประกอบ ไม่มากเป็นลายที่ให้เด็กผู้หญิงฝึกหัดทอผ้าตีนจก โดยลาย ประกอบเน้นลายนกหมู่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะลาย ซึ่งลายแบบอื่นๆ จะไม่นิยมน�ำลายนกหมู่ไปประกอบร่วม และมีลายประกอบ อื่นๆ เช่น ลายฟันปลา ลายสร้อยหมาก และลายสร้อยสา โดยในสมัยโบราณลายเครือน้อยนิยมต่อกับซิ่นมุก ๒. ลายเครือกลาง โบราณ เรียกลายหน่วยเครือกลาง โครงสร้างของ ลายหลักที่มีกรอบรูปร่างคล้ายลายเครือ น้อยเพียงแต ่มีการเพิ่มลวดลายมากขึ้น โดยลายประกอบเน้นลายนกคาบดอกไม้ ลายพันคิง ลายดอกหมี่ และลายสร้อยสา ในสมัยโบราณนิยมต่อกับซิ่นเข็น


-๘- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย ๓. ลายเครือใหญ่ โบราณ เรียกหน่วยเครือใหญ่ โครงสร้างของลายหลัก มีดอกไม้อยู่ตรงกลางเครือซึ่งลายเครือน้อย และลายเครือกลางไม่มีโดยลายประกอบ เน้นลายนกคุ้ม ลายนกคาบดอกไม้ลายพันคิง ลายเครือขอในสมัยโบราณนิยมต่อกับซิ่นมุก ๔. ลายมนสิบหก โบราณเรียกหน่วยสิบหก โครงสร้าง ของลายผ้าหลักท�ำเป็นมุมสิบหกมุม รูปร่างของลายมีลักษณะกลม ภาษา พื้นเมืองจะเรียกว่า มน (กลม) ลักษณะ คล้ายกับลายแปดขอแต่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นลวดลายที่งดงามกว ่าลายอื่นๆ โดยลายประกอบเน้นลายอาจจะมี ลายนกคาบดอกไม้ลายดอกหมี่ ลายสร้อยสาโบราณนิยมต่อกับซิ่นเติบ


-๙- ๕. ลายสิบสอง หน่วยตัด โบราณเรียกสิบสอง ห น ่ ว ย ห รื อ สิ บ ส อง ห น ่ ว ย ตั ด โครงสร้างของลายผ้าหลักเป็นรูป ขอสิบสองขอ ประกอบกันเป็น ดอกที่มีขาพันท�ำเป็นสามเหลี่ยม และยังมีนกคาบหรือหงส์ตัวเล็กอยู่ ตรงกลางของแม่ลายด้วย โบราณ นิยมต่อกับซิ่นตาหว้า ๖. ลายสองท้อง โบราณเรียกหน่วยสองท้อง โครงสร้างลายหลักเหมือนลายน�้ำอ่าง แต ่มีขนาดใหญ ่กว ่าคือนอกจากมี นกใหญ ่สองตัวคาบดอกไม้ร ่วมกัน แล้วยังมีนกสองตัวขนาดเล็กคาบ ดอกไม้รวมอยู่ด้วย ท�ำให้ลายสองท้อง มีลักษณะใหญ่กว่าลายอื่นๆ ท�ำให้มี ลักษณะลวดลายพิเศษแปลกตา เพราะครึ่งหนึ่งเป็นสีด�ำ และครึ่งหนึ่ง เป็นสีแดง ลายประกอบนิยม ลายฟันปลา ลายนกคาบดอกไม้ลายโง๊ะ (ลายผีเสื้อ) ลายสร้อยสา โบราณ นิยมต่อกับ ซิ่นน�้ำอ่าง


-๑๐- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย ๗. ลายน�้ำอ่าง โบราณ เรียกหน่วยน�้ำอ่าง โครงสร้างลายหลัก มีนกหงส์สองตัวคาบดอกไม้ร ่วมกัน คล้ายกับว่าหงส์สองตัวคาบดอกไม้ ในอ่างน�้ำ ลายประกอบได้แก่ลายสร้อยสา ลายนกคาบดอกไม้ลายสร้อยพร้าว ลายนกคุ้ม ลายดังกล่าวเป็นลายที่สตรี ชาวพวนศรีสัชนาลัย นิยมทอใส่ กันมากที่สุด เนื่องจากเป็นลายที่มี ความสะดุดตา โบราณนิยมต่อกับซิ่นเข็น ๘. ลายสี่ขอ โบราณเรียก หน่วยสี่ขอ เป็นลายขนาดเล็ก โครงสร้าง ของลายผ้ามีลายประกอบ คือ ลายเครือขอ ลายนกคาบดอกไม้ลายสร้อยสา ส่วนใหญ่ เป็นผ้าซิ่นส�ำหรับเด็ก โบราณนิยมต่อกับ ซิ่นตาหว้า


-๑๑- ๙. ลายแปดขอ โบราณ เรียกหน่วยแปดขอ โครงสร้างของลายผ้า เหมือนกับลายมนสิบหก คือเป็นลายที่มี เป็นมุมแต ่ย ่อขนาดให้เล็กลงโบราณ นิยมต่อกับซิ่นอ้อมแดง ลายประกอบของผ้าตีนจก ลายประกอบจะเป็นลายเล็กๆ หรือลายย่อยที่เป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้ ตีนจกมีความสมบูรณ์นิยมมาใช้ทอประกอบลายหลักบนซิ่นตีนจก ปัจจุบันมีอยู่หลาย ลายซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของลายได้๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ ๑ ลายที่มีรูป ทรงมาจากสัตว์ได้แก่ลายนกคุ้ม ลายนกคาบดอกไม้ลายโง๊ะ (ผีเสื้อ) ประเภทที่ ๒ ลาย ที่มีรูปทรงจากพืชได้แก่ลายดอกหมี่ลายสร้อยหมาก ประเภทที่ ๓ ลายที่มีรูปทรง เรขาคณิต ได้แก่ลายเครือขอ ลายสร้อยสา ลายฟันปลา การเพิ่มลายย่อยต่างๆ ลงไปในตีนจกนั้นเป็นส่วนหนึ่งจะช่วยท�ำให้ลายหลักเด่นชัด สวยงามยิ่งขึ้น ตลอดจนยังช่วยให้เกิดการประสานกลมกลืนในพื้นของลายผ้า และ ลายประกอบหรือลายย่อยเหล่านี้จะถูกน�ำมาใช้เป็นตัวเพิ่มลายของตีนจกให้เต็มผืนยิ่ง ขึ้นจนเกิดความสมมาตร เพื่อท�ำให้ลายหลักที่อยู่ตรงกลางสอดประสานกับลายประกอบ บน ล่าง ที่แตกต่างกันได้อย่างลงตัวพร้อมทั้งการท�ำลายประกอบจะมีอิสระตามความต้องการ ของผู้ทอโดยเน้นเอกลักษณ์คือการใช้สีที่ตัดกัน เช่น สีเขียว แดง และเหลือง โดยรักษา ลักษณะเด่นของผ้าตีนจกหาดเสี้ยวสุโขทัย คือความเป็นระเบียบและสมมาตร โดยลายประกอบ ที่นิยมมีทั้งสิ้น ๑๑ ลาย ในแต่ละลายจะมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประเพณีและ การด�ำรงชีวิตตลอดจนเป็นมงคลนามเพื่อให้เกิดขวัญและก�ำลังใจแก่ผู้สวมใส่ ได้แก่


-๑๒- ๑. ลายนกคุ้ม เป็นลายที่มีลักษณะเป็นรูปนกตัวเล็ก ๒ ตัวยืนเข้าหากันในกรอบ เป็นคู่ๆ หมายถึง การอยู่คุ้มเหย้าคุ้มเรือน คุ้มผัวคุ้มเมีย บังเกิดเป็นสิริมงคลต่อการใช้ชีวิตคู่ ในการครองเรือน มักจะน�ำไปประกอบกับลายหลักอื่นๆ เกือบทุกลาย เนื่องจากความ หมายเป็นสิริมงคล ๒. ลายนกคาบ มีลักษณะเป็นนกเล็กๆ ๒ ตัว หันหน้าชนกันและคาบดอกไม้ร่วมกัน หมายถึง การให้สัจจะวาจาที่จะครองรักร่วมกันอย่างจีรังยั่งยืน ๓. ลายนกหมู่ มีลักษณะเป็นนกเล็กๆ ยืนเรียงต่อกันไปตลอดผืน หมายถึง การไปเป็นหมู่เป็นพวก ไม่มีความขัดแย้งทั้งในด้านความคิด และการกระท�ำ บังเกิดความ สามัคคีมักจะใช้เป็นลายประกอบกับลายเครือน้อยเท่านั้น จะท�ำให้สวยงาม ๔. ลายนกแถว มีความหมายถึง การมีระเบียบในสังคมวงศ์วานว่านเครือ เป็นแถว เป็นแนว มีทิศทางในการท�ำให้สังคมเจริญรุ่งเรือง เป็นไปในทางเดียวกัน มักจะใช้เป็น ลายประกอบของลายแปดขอเท่านั้น ๕. ลายดอกหมี่ลักษณะลายคล้ายดอกไม้ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม น�ำไป ประกอบกับลายหลักทั่วไป ยกเว้นลายสองท้อง ๖. ลายโง๊ะ หรือลายผีเสื้อ ลักษณะลายคล้ายผีเสื้อ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม นิยมประกอบกับลายหลักที่เรียกว่า ลายสองท้องเท่านั้น ๗. ลายฟันปลา ลักษณะเป็นซี่เล็กๆ สูงต�่ำคล้ายฟันปลา ๘. ลายสร้อยพร้าว หรือลายสร้อยหมาก ลักษณะลายคล้ายดอกมะพร้าวหรือ ดอกหมากที่ยังตูมอยู่ลายนี้จะอยู่ติดกับแม่ลายใช้แทนลายเครือขอได้ ๙. ลายเครือขอ มีลักษณะรูปทรงคล้ายตะขอวางตัวในมุมเอียงแต่ละขอเกาะ เกี่ยวกันเป็นเครือยาว จะอยู่ชิดกับลายหลักทั้งบนและล่าง เน้นลายหลักให้ชัดเจน ๑๐. ลายสร้อยสา ลักษณะจะประกอบด้วย หัวสร้อยสา มีหางเป็นเส้นตรง ยาวลงมาเกือบจรดเชิงผ้า ท�ำให้เกิดความอ่อนช้อย จะอยู่ล่างสุดของตัวผ้าซิ่น ซึ่งลายนี้ จะเป็นลายสุดท้ายของผ้าตีนจก ๑๑. ลายพันคิง ลักษณะเป็นขีดเล็กๆเรียงต่อกันไปแถวยาว ใช้คั่นสลับระหว่าง ลายต่างๆ ชื่อลายต่างๆ ในผ้าชื่นตีนจกล้วนมีความหมายสะท้อนวิถีชีวิตของชาวไทยพวน


ลายเครือกลาง -๑๓-


ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย การจัดท�ำผ้าทอยกดอก “ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ” เพื่อถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีครบรอบ 44 พรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2565 จังหวัดสุโขทัย โดย นายวิรุฬ พรรณเทวีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วย นางกนกพร พรรณเทวี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกันจัดท�ำผ้าทอลายเอกลักษณ์ประจ�ำถิ่น เป็นผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากฝักคูน ยกดอกลายดอกบัวหลวงตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเพื่อเทิดพระเกียรติ และน้อมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงรื้อฟื้นผ้าไทย ซึ่งสูญหายไปกว่า 70 ปีให้กลับ คืนมาสู่สังคมไทยและทรงเป็นผู้น�ำในการฟื้นคืนชีวิตช่างทอผ้าการอนุรักษ์ภูมิปัญญา หัตถศิลป์หัตถกรรมท้องถิ่น กระทั่งได้รับการสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธาน โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงขับเคลื่อน งานผ้าไทยตามพระราชปณิธานที่มุ่งหวังให้พี่น้องคนไทยโดยเฉพาะ ผู้ที่ทุกข์ยาก อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้น�ำเอาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาผลิตถักทอเป็นผ้า เป็นงาน หัตถศิลป์หัตถกรรม สร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น -๑๔-


-๑๕- ความหมายของผ้าทอยกดอก “ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ” จังหวัดสุโขทัยได้จัดท�ำผ้าทอยกดอกโดยใช้ดอกบัวหลวงซึ่งเป็นดอกไม้ประจ�ำ จังหวัดสุโขทัย น�ำมาเป็นลายผ้าอันสื่อถึงการบูชาและความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทย และตกแต่งด้วยลายจกสี่ขอ คือ 1 ใน 9 ลายจกเอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็น ลายผ้าทอที่เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นสืบทอดกันมาโดยชาวไทยพวนที่มีความสามารถ ในการทอผ้าตีนจกมาแต่โบราณ และสืบทอดส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้ามาจนถึงปัจจุบัน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 44 พรรษา 3 มิถุนายน 2565 จึงน�ำเลข 4 มาสื่อความหมายในการทอผ้าเอกลักษณ์ในครั้งนี้ กิจกรรมการจัดท�ำผ้าทอยกดอก “ลายดอกบัวหลวง ตกแต่งด้วยจกลายสี่ขอ” ๑. จังหวัดสุโขทัยโดย นายวิรุฬ พรรณเทวีได้แต่งตั้งคณะท�ำงานจัดท�ำผ้าทอ ลายเอกลักษณ์ประจ�ำท้องถิ่น เพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีซึ่งมีการประชุมคณะท�ำงานฯ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุม ส�ำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย โดยมี นางสาวพัชรอร วงศ์ก�ำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานการประชุม


-๑๖- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย ๒. การรวบรวมฝักคูนจากพื้นที่ทั้ง ๙ อ�ำเภอในจังหวัดสุโขทัย รวม ๙๐ ฝัก เพื่อน�ำไปใช้ส�ำหรับท�ำสีย้อมไหม โดยนายอ�ำเภอทุกอ�ำเภอได้ส่งมอบให้กับ นายวิรุฬ พรรณเทวีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ในที่ประชุมคณะกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย นายอ�ำเภอ ผู้บังคับการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และ ผู้น�ำองค์กรเอกชน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมศรีสัชนาลัยชั้น 5 ศาลากลางจังหวัด ๓. การย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติจากฝักคูน เพื่อใช้ในการทอผ้าลายเอกลักษณ์ ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย โดยเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ นางสาวพัชรอร วงศ์ก�ำแหง พร้อมด้วย นางพร้อมจันทร์ทีคะสุข รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดอ�ำเภอศรีสัชนาลัย ข้าราชการ และภาคเอกชน ร่วมกิจกรรม การย้อมเส้นไหมจากฝักคูน เพื่อใช้เป็นสีของผ้าทอ ณ เฮือนไทยพวน ต�ำบลหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


-๑๗- การเลือกฝักคูนส�ำหรับน�ำไปใช้ในการต้ม การทุบฝักคูนเพื่อเตรียมน�ำไปต้ม การต้มฝักคูนส�ำหรับใช้ย้อมเส้นไหม ซึ่งจะได้เส้นไหมสีทอง


-๑๘- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย ๔. การทอผ้าแบบวิถีภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้วยกระบวนการท�ำมือทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การกวักไหม ค้นเครือ สืบหูก ไปจนถึงการทอมือด้วยช่างทอผ้าที่มีความช�ำนาญบรรจง ทอผ้าด้วยความประณีต เพื่อให้ได้ผ้าทอที่สวยงาม และทรงคุณค่า โดยผู้ประกอบการ กลุ่มทอผ้าของอ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย • การกวักไหม คือการผูกเส้นด้านเข้าติดต่อกัน จะท�ำให้เส้นด้ายตึงเรียบเป็นระเบียบ และสะดวกในการที่จะน�ำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป • การค้นเครือ คือ การจัดเรียงเส้นด้ายยืนให้เป็นรูปโครงของผืนผ้า


-๑๙- • การสืบหูกคือการน�ำเส้นไหมทางเครือ(ด้ายยืน) มาต่อเข้ากับฟืมผูกหรือ มัดเส้นไหมที่ยื่นมาจากเขาให้แน่น เรียงล�ำดับจนแล้วเสร็จ • การทอผ้ายกดอก ต้องมีการเก็บลายก่อนและขณะทอ จะใช้ไม้แป้นขิดยก ตามลวดลาย เพื่อสอดด้ายพุ่งให้เกิดลาย ในการจกจะใช้ขนเม่นจก (ล้วง) เส้นไหมจาก ด้านล่างขึ้นด้านบนให้เกิดลวดลายตามต้องการ


-๒๐- ๕. การเยี่ยมให้ก�ำลังใจช่างทอผ้าบ้านทุ่งพล้อ อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และร่วมกิจกรรมการทอผ้า น�ำโดยนางกนกพร พรรณเทวีประธานแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วย นางสาวพัชรอร วงศ์ก�ำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย/ รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย นางพร้อมจันทร์ทีคะสุข รองประธานแม่บ้าน มหาดไทยจังหวัดสุโขทัย พัฒนาการอ�ำเภอศรีสัชนาลัย และสมาชิกแม่บ้านมหาดไทย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย


-๒๑-


ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย การสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน จังหวัดสุโขทัยสนับสนุนช่องทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ให้กับ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP อาทิ การจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ในการประชุมประจ�ำ เดือนหัวหน้าส่วนราชการระดับอ�ำเภอ การจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่าน Plateform Online เช่น Lazada Facebook เป็นต้น ส่งเสริมการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ในการจัดงาน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก การจ�ำหน่าย OTOP ในงาน พระแม่ย่า ประจ�ำปี2565 การจ�ำหน่ายในงาน OTOP ภูมิภาค การจัดงานเทศกาล เที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 40 ประจ�ำปี2565 กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.2564 ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดสุโขทัยมียอดจ�ำหน่ายรวม ทั้งสิ้น 31,920,500 บาท โดยเป็นข้อมูลจากผู้ประกอบการ OTOP ฐานลงทะเบียน ปี2557 – 2564 จากประเภทผ้า 57 ราย 102 ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสมาชิกที่ได้รับ ผลประโยชน์จ�ำนวน 200 ราย (นับรวมช่างทอผ้าและช่างตัดเย็บ) จังหวัดสุโขทัยขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทย โดยการน้อมน�ำ พระด�ำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ที่พระราชทาน แก่วงการผ้าไทย “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ สวมใส่ผ้าไทย และสิ่งส�ำคัญอีกประการหนึ่งจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ เกิดรายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงขึ้น รวมทั้งจะเป็นการรักษา ต่อยอด อนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาของผ้าทอไทยให้คงอยู่ตลอดไป -๒๒-


-๒๓-


-๒๔- ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย


-๒๕-


ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย -๒๖-


ลายสี่ขอ -๒๗-


ลายผ้าเอกลักษณ์ จังหวัดสุโขทัย ที่ปรึกษา นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ดร.พรรณสิริกุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต 1 นายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย รศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดร.ธัชชัย อยู่ยิ่ง อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นายสมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลต�ำบลในเมือง อ�ำเภอสวรรคโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สุโขทัย นายธชาพัฒน์ มาขวา ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา เทศบาลต�ำบลหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลายผ้าเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัสุโขทัย ประธาน นางกนกพร พรรณเทวี ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย รองประธาน นางสาวพัชรอร วงศ์ก�ำแหง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย/ รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย นางพร้อมจันทร์ทีคะสุข รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุโขทัย คณะที่ปรึกษาการจัดท�ำหนังสือ “ลายผ้าเอกลักษณ์ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย” -๒๘-


ลายน�้ำอ่าง -๒๙-


ฝ่ายด�ำเนินการ นายด�ำรง มโนรถ หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดสุโขทัย เลขานุการคณะท�ำงาน ขอขอบคุณผู้สนับสนุนข้อมูลในการจัดท�ำหนังสือ “ลายผ้าเอกลักษณ์ ประจ�ำจังหวัดสุโขทัย” • ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุโขทัย • ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย • ณาณาศิลป์ผ้าพื้นเมือง อ�ำเภอศรีสัชนาลัย -๓๐-


-๓๑-


เอกสารอ้างอิง กรรณีย์ถาวรสุข. ผ้าซิ่นไทยพวนหาดเสี้ยวสุโขทัย. การประชุมทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ ๓๔ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์๒๕๓๙. (เอกสารอัดส�ำเนา) ทรงศักดิ์ปรางค์วัฒนากุล, แพทริเชีย ชีสแมน. ผ้าล้านนา ยวน ลื้อ ลาว . โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟจ�ำกัด. ๒๕๓๓ วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผ้าชาติพันธุ์และผ้าทอร่วมสมัย พิษณุโลก:รัตนสุวรรณ การพิมพ์๓ ๒๕๖๑. วิเชียร วงศ์วิเศษ. ไทยพวน. :กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. ๒๕๑๗ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. ความเปลี่ยนแปลงของการผลิตผ้าพื้นเมือง ชุมชนบ้าน หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย.๒๕๓๔. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. -๓๒-


-๓๓-


Click to View FlipBook Version