The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Khorat Geopark, 2020-06-07 22:17:19

Paleozoic Life

Paleozoic Life

Keywords: Khoratgeopark,Paleozo,ic,Fossil,Ancient Seas

30 กุญแจไขความลบั
ทะเลโบราณโคราช

และโลกบรรพกาลมหายคุ พาลโี อโซอกิ

 
 
 
 

30 กุญแจไขความลบั

ทะเลโบราณโคราชและโลกบรรพกาลมหายคุ พาลีโอโซอกิ

เอกสารประกอบการจดั กิจกรรมสวนทะเลโบราณ พิพิธภณั ฑ์ไม้กลายเปน็ หนิ
สถาบันวิจยั ไมก้ ลายเปน็ หนิ และทรพั ยากรธรณภี าคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลมิ พระเกยี รติ

มหาวทิ ยาลยั ราชภฎั นครราชสีมา

ดร.อานิสงส์ จติ นารินทร์

หน่วยวจิ ัยทรพั ยากรธรณี มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

สารบัญ

สว่ นที่ 1 ทะเลโบราณโคราช หนา้
1
ทะเลโคราชมจี ริงหรอื ? 3
7
ยคุ เพอรเ์ มยี นคืออะไร? 9
11
อะไรคือหลักฐานของทะเลโคราช? 13
15
หนิ ปนู เกดิ ในทะเลจรงิ หรอื ? 17
20
  22
24
ทะเลโคราชอยูท่ ไี่ หน? 26
28
ทะเลโคราชปิดตวั ลงได้อย่างไร? 32

ซากดกึ ดําบรรพ์ทะเลโคราชโผลใ่ หเ้ หน็ ท่ไี หน?

ต้องเดินทางไปอาํ เภอปากช่องเพอื่ ตามหาซากดึกดําบรรพ์ทะเลโคราชหรือไม?่

ปะการงั ยคุ เพอร์เมยี นเหมือนหรอื ต่างจากปะการังยุคปัจจุบนั ?

พบสกรใู นหินปูนปะปนกับปะการัง ใครเอามาทิ้งไว?้

แอมโมนอยดค์ อื หอยโข่งใช่หรอื ไม?่

ซากดึกดําบรรพ์สิง่ มีชีวิตเซลลเ์ ดยี วหน้าตาเป็นอย่างไร?

หอยมีซากดึกดําบรรพ์หรอื ไม่?

หนิ ปนู ทกุ ก้อนมซี ากดึกดําบรรพ์ถูกต้องหรือไม่?

สารบญั (ต่อ) หนา้
33
ส่วนที่ 2 โลกบรรพกาลมหายุคพาลโี อโซอิก 35
ซากดึกดาํ บรรพส์ ่งิ มีชีวติ ในทะเลมเี ฉพาะยคุ เพอร์เมยี นเท่านั้น ใชห่ รอื ไม่? 37
สง่ิ มีชีวิตทเี่ กิดข้ึนในบรมยคุ อารเ์ คยี นมหี นา้ ตาเปน็ อย่างไร? 39
สงิ่ มีชวี ติ ทว่ี ิวฒั นาการต่อจากสาหรา่ ยและแบคทีเรยี คอื อะไร? 40
บรมยุคของสง่ิ มชี วี ติ คอื อะไร? 44
การระเบดิ ของส่ิงมีชีวติ ยคุ แคมเบรยี นคืออะไร? 45
มซี ากดึกดําบรรพ์ยุคแคมเบรยี นในประเทศไทยหรือไม?่ 50
มหาสมทุ รในยุคออรโ์ ดวเิ ชยี นเปน็ อย่างไร? 51
ซากดึกดําบรรพ์ยคุ ออร์โดวเิ ชียนในประเทศไทยมลี ักษณะอย่างไร? 55
โลกในยคุ ไซลูเรยี นมีสภาพเปน็ อย่างไร? 64
โลกในยุคดโี วเนยี นเปน็ อยา่ งไร? 67
พบซากดึกดําบรรพ์ยุคไซลูเรยี นและดีโวเนียนในประเทศไทยบา้ งหรอื ไม?่ 77
โลกในยคุ คาร์บอนิเฟอรัสมกี ารสะสมคารบ์ อนบนโลกจริงหรอื ไม?่ 78
ประเทศไทยมซี ากดึกดาํ บรรพย์ ุคคารบ์ อนเิ ฟอรสั บ้างหรือไม?่ 86
ช่วงเวลาสดุ ทา้ ยของมหายุคพาลโี อโซอกิ โลกเป็นอย่างไร? 89
ประเทศไทยมซี ากดึกดาํ บรรพย์ คุ เพอรเ์ มียนหรอื ไม?่ 94
เกดิ อะไรขน้ึ หลงั ยคุ เพอร์เมียน?
ดัชนี

 

Q: ทะเลโคราชมีจริงหรือ?
A: มีจรงิ แตเ่ ป็นทะเลโบราณในยคุ เพอรเ์ มียนไมใ่ ช่ทะเลในปัจจุบนั

Page | 1

จากแผนท่ธี รณวี ิทยาจงั หวดั นครราชสมี า หินทีโ่ ผล่ในพน้ื ทจ่ี งั หวัดนครราชสีมาประกอบด้วย
- หินตะกอนทะเลยุคเพอร์เมียน (Permian Period) (สีสม้ )
- หินตะกอนบนผนื แผ่นดิน ซ่งึ มอี ายุต้งั แต่ยุคไทรแอสซกิ (Triassic Period-สีม่วงอ่อนและ
มว่ งเขม้ ), ยุคจูแรสซิก (Jurassic Period) (สนี ้ําเงิน), ยุคครีเทเชียส (Cretaceous
Period-สีเขียว สฟี า้ และสเี ขยี วออ่ น)
- ตะกอนก่งึ แข็งตัวและตะกอนทางนํา้ ยุคควอเทอรน์ ารี (Quaternary Period-สีเหลอื ง)
- หินอัคนี (สีแดง)

 

ทะเลโคราชทก่ี ลา่ วถึงนี้ หมายถงึ เม่อื ยุคเพอรเ์ มียน (ประมาณ 295-248 ลา้ นปกี อ่ น) แผน่ ดิน
บริเวณที่เป็นอําเภอปากช่องและบางส่วนของอําเภอวังนํ้าเขียวจมตัวอยู่ใต้ทะเล ซึ่งมีการทับถมของ
ตะกอนในทะเลอนั ไดแ้ ก่ หินปนู (limestone) หนิ ทราย (sandstone) หิน-ทรายแปง้ (siltstone) หนิ
โคลน (mudstone) หินดินดาน (shale) หินเชิร์ต (chert) หินเหล่าน้ีได้เก็บหลักฐานและความลับ Page | 2
ของทะเลโบราณไว้ รอให้มีใครสักคนมาค้นพบ ซึ่งนั่นคืองานของนักธรณีวิทยาท่ีต้องศึกษาว่าหิน
เหล่านเี้ กิดขึน้ มาได้อยา่ งไร และหินเหลา่ น้บี อกเลา่ เร่อื งราวอะไรให้เราฟงั ได้บ้าง

ตวั อย่างหนิ ปนู

ตวั อยา่ งหินดนิ ดาน

ตัวอย่างหนิ ทราย นักธรณวี ทิ ยากําลังสาํ รวจชั้นหนิ ตะกอน

 

Q: ยคุ เพอรเ์ มยี นคืออะไร?
A: ยุคเพอรเ์ มียนคอื ชว่ งเวลาหนึง่ ของการแบ่งอายุทางธรณีกาล

Page | 3

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีท่ียอมรับกันในปัจจุบัน โลกเป็นดาวเคราะห์ดวง
หน่ึงซ่ึงกําเนิดมาพร้อมกับการกําเนิดระบบสุริยะ เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีท่ีแล้ว โลกใช้
เวลานานในการปรับสภาพจากดาวที่พื้นผิวยังมีความร้อนและถูกพุ่งชนโดยอุกกาบาต มีแก๊สและ
ฝุ่นปกคลุม จนกระทั่งผิวด้านนอกแข็งตัวและเย็นลง มีการพัฒนาชั้นบรรยากาศ เกิดฝนและมี
แหล่งนํ้า และมีส่ิงมีชีวิตเกิดขึ้น การจะพูดถึงช่วงเวลายาวนานที่ผ่านมาน้ันเป็นเรื่องยาก กลุ่มนัก
ธรณีวทิ ยาจึงไดต้ ั้งชอื่ ทางธรณีกาลเพื่อใหใ้ ช้สอ่ื สารระหว่างกัน โดยใชเ้ หตกุ ารณ์สําคัญทีเ่ กิดขึ้นจาก
วิวัฒนาการของโลกและส่ิงมีชีวิตบนโลก เรียกว่า เวลาทางธรณีกาล (geologic time) โดยท่ัวไป
เม่ือมีการนําเสนอเรือ่ งราวของโลกในอดีตจะพูดถึงเพียงบางช่วงเวลา ซ่ึงทําให้คนท่ัวไปรู้จักยุคทาง
ธรณีวทิ ยาเพียงบางยคุ เทา่ นัน้ ภาพดา้ นลา่ งคอื ตัวอย่างของเวลาทางธรณีกาลทเี่ ข้าใจได้งา่ ย

ภาพเวลาทางธรณีกาลจาก http://www.geologyin.com

 

สําหรับนักธรณีวิทยา เวลาทางธรณีกาลถูกแบ่งออกเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค
(Period) และสมัย (Epoch) ซึ่งเปรียบเสมือนการกล่าวถึงช่วงเวลาท่ีหยาบและละเอียดข้ึนเรื่อยๆ
(เสมือน ปี เดือน สปั ดาห์ วัน ชว่ั โมง นาที น่นั เอง)

เวลาทางธรณีกาลประกอบด้วย 3 บรมยุค คือ อาร์เคียน (Archean Eon แปลว่ายุคดึกดํา Page | 4
บรรพ์) โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon แปลว่า สิ่งมีชีวิตยุคแรก) และฟาเนอโรโซอิก
(Phanerozoic Eon แปลวา่ สิ่งมชี ีวติ ในปัจจบุ ัน) โดยมวี วิ ฒั นาการของแตล่ ะบรมยคุ ดงั นี้

บรมยุคอาร์เคียน : ช่วงเวลาตั้งแต่ 4.6-2.5 พันล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาท่ีโลกเร่ิมก่อตัว
เป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่น
ก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ มเี หตุการณส์ าํ คญั อาทิ

- 4.2 พันลา้ นปกี ่อน โลกเยน็ ตัวลง ไอน้ําควบแน่นทาํ ให้เกดิ ฝน
- 4.0 พันลา้ นปกี ่อน เกดิ โมเลกลุ ของส่ิงมีชวี ติ (RNA)
- 3.8 พันล้านปกี ่อน เกิดการทับถมหนิ ตะกอนที่เกา่ แกท่ ี่สุดในโลก พบที่เกาะ

กรนี แลนด์ในปัจจุบนั
- 3.5 พนั ลา้ นปีกอ่ น เกิดเซลล์ชนดิ ไมม่ ีนวิ เคลียส (prokaryotic cells)
- 3.4 พนั ลา้ นปกี ่อน น้ําฝนตกขงั บนแอ่งท่ีต่ํากลายเปน็ ทะเล เกดิ แบคทเี รยี ที่

สามารถสังเคราะห์แสงได้ (cyanobacteria) และสโตรมาโทไลต์
(stromatolites) ทาํ ให้บรรยากาศเรมิ่ มีก๊าซออกซิเจน (O2)
- 2.6 พันล้านปีกอ่ น มีปรมิ าณนํา้ ในมหาสมทุ รร้อยละ 90 เมื่อเทยี บกับปัจจุบัน
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก : ชว่ งเวลาตัง้ แต่ 2.5 พนั ลา้ นปกี อ่ น ถงึ ประมาณ 541 ลา้ นปีกอ่ น
โลกเย็นตวั ลง เรม่ิ มยี ุคนา้ํ แข็งเกิดข้ึนสลับกันไปทกุ ๆ หลายรอ้ ยล้านปี การตกตะกอนของเปลอื ก
ทวปี ท่ผี พุ ัง ทาํ ใหเ้ กดิ ทะเลน้าํ ตน้ื สง่ิ มชี วี ิตท้งั เซลล์เดียว และหลายเซลล์ทวีปรมิ าณเพม่ิ ข้นึ มี
เหตุการณส์ ําคัญ อาทิ
- 2.5 พันลา้ นปกี ่อน เกดิ เซลลช์ นดิ มเี ยื่อหมุ้ นิวเคลยี ส (eukaryote cells)
- 2.0 พันล้านปกี ่อน ก๊าซออกซิเจนเพิ่มปรมิ าณ เนื่องมาจากการสงั เคราะห์แสง
ของส่งิ มีชีวิต ทาํ ให้เกดิ ชั้นโอโซน
- 1.8 พันลา้ นปีก่อน เกดิ การแบง่ เพศของส่งิ มีชีวิต
- 1.4 พันลา้ นปีก่อน เกดิ ส่งิ มีชวี ิตหลายเซลล์ (multicellular organism)
- 1.0 พนั ลา้ นปีกอ่ น ปรมิ าณก๊าซออกซิเจนเท่ากับรอ้ ยละ 18 ของปัจจุบนั
- 635 ลา้ นปกี อ่ น เกิดสังคมของสงิ่ มีชวี ิต ทม่ี ีลักษณะลําตัวออ่ นน่ิม

 

ทง้ั นี้ ชว่ งเวลาของบรมยุคอาร์เคียนและบรมยุคโพรเทอโรโซอกิ อาจเรยี กรวมวา่ บรมยคุ พรแี คม
เบรยี น (Precambrian Eon)

บรมยุคฟาเนอโรโซอกิ : ประมาณ 541 ลา้ นปีก่อนจนถึงปัจจุบนั เปน็ ช่วงเวลาที่มีสง่ิ มชี วี ิต Page | 5
อยูจ่ าํ นวนมากท้งั ในมหาสมทุ รและบนแผน่ ดิน บรมยคุ ฟาเนอโรโซอกิ ถูกแบง่ ออกเปน็ 3 มหายุค
ดังน้ี

- มหายุคพาลโี อโซอิก (Paleozoic Era) : 541-251 ล้านปกี อ่ น เป็นการเรมิ่ ตน้ ของ
สง่ิ มีชวี ิตในมหาสมุทรและบนบก

- มหายุคมโี สโซอิก (Mesozoic Era) : 251-66 ลา้ นปีก่อน เปน็ ยคุ ทมี่ สี ัตวเ์ ลื้อยคลาน
จํานวนมาก

- มหายคุ ซีโนโซอกิ (Cenozoic Era) : ตัง้ แต่ 66 ล้านปีกอ่ นจนถึงปัจจุบัน เป็นยคุ ท่ีมี
สตั วเ์ ลี้ยงลกู ด้วยนมหลากหลายและมจี ํานวนมาก

ตารางธรณกี าลของนกั ธรณีวิทยาจึงมรี ายละเอียดของชว่ งเวลาตา่ ง ๆ มากกวา่ รูปแบบทค่ี น
ทวั่ ไปรจู้ กั เนือ่ งจากตอ้ งมีความถูกต้องแม่นยํา มหี ลกั ฐานอา้ งอิงทางวิทยาศาสตร์ และมีการ
ปรับปรุงเป็นประจาํ ทุกปี โดยคณะกรรมการการลาํ ดบั ช้นั หนิ นานาชาติ (International
Commission on Stratigraphy, http://www.stratigraphy.org/) ดงั ภาพด้านลา่ ง

 

ยุคเพอร์เมียน (Permian Period) (298-251 ล้านปีก่อน) เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลี
โอโซอิก เปน็ ช่วงเวลาท่ีโลกมผี ืนแผ่นดนิ ขนาดใหญท่ ี่เกิดจากการรวมตวั กนั ของแผ่นทวีปหลายแผ่น
เรียกว่าพันเจีย (Pangea) โดยมีมหาสมุทรล้อมรอบช่ือมหาสมุทรแพนทาแลสซิก (Panthalassic Page | 6
ocean) ทางด้านทิศตะวันออกของพันเจีย มีแผ่นทวีปขนาดเล็กหลายแผ่นโผล่พ้นน้ํากลายเป็นพ้ืน
แผ่นดิน เช่น แผ่นทวีปไชน่าเหนือ แผ่นทวีปไชน่าใต้ แผ่นทวีปอินโดไชน่า แผ่นทวีปมาลายา เป็น
ตน้ และมีมหาสมุทรพาลโี อเทธสิ (Paleo-Tethys ocean) ก้ันระหว่างกลาง สิ่งมีชีวติ บนโลกในยุค
นั้นจึงมีทั้งที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยเกิดเป็นแนวปะการังตามเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความอุดม
สมบูรณ์ของส่ิงมีชีวิตหลากหลายชนิดตามแนวปะการัง ในขณะที่บนบกเกิดการแพร่พันธ์ุของ
สัตว์เล้ือยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ทว่าช่วงปลายยุคเพอร์เมียนเกิดเหตุการณ์การสูญ
พันธ์ุคร้ังใหญ่ (End-Permian Mass extinction) ท่ีทําให้ส่ิงมีชีวิตบนบกสูญพันธ์ุเป็นจํานวนมาก

และสงิ่ มีชีวิตในทะเลมากกวา่ ร้อยละ 95 ของสปีชสี ท์ เี่ คยมีอยูส่ ูญพนั ธ์ุไป

ภาพแผนทภ่ี ูมิศาสตรบ์ รรพกาลยุคเพอร์เมียนตอนปลายจาก http://paleoportal.org/

 

Q: อะไรคือหลกั ฐานของทะเลโคราช?
A: ซากดกึ ดาํ บรรพ์สัตวท์ ะเล (marine fossils) ทพี่ บในหนิ ปูน Page | 7

ภาพแนวปะการงั ในยุคปจั จุบนั บริเวณชายฝ่ังฮาวายจาก http://digitalspace.info/

ทะเลของโลกยุคปัจจุบันเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายกลุ่ม อาทิ สาหร่าย (algae)
แบคทีเรีย (bacteria) แพลงตอนพืชและสัตว์ (phytoplankton, zooplankton) ฟองนํ้า
(sponges) แมงกะพรุน (jelly fish) ปะการัง (corals) หอย (mollusks) ปู กุ้ง ปลา รวมถึงสัตว์
ขนาดใหญ่ เช่น เต่า พยูน วาฬ โลมา สิ่งมีชีวิตเหล่าน้ีจะมีจํานวนมากหรือน้อย จะมีความ
หลากหลายของชนิดพันธุ์สูงหรือตํ่า ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของทะเลที่พวกมันอาศัยอยู่ หาก
อาศัยในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรซึ่งมีนํ้าอุ่นและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ พวกมักจะมีชนิดพันธุ์และ
จํานวนมากตามไปด้วย แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายไป ซากที่เหลืออยู่จะถูกทับถมไปพร้อมกับเศษ
ตะกอนในทะเล และฝงั อยู่ใต้พน้ื ทะเลน้นั

 

ท้องทะเลในยุคเพอร์เมียน (Permian Period) ก็เช่นกัน เป็นที่อาศัยของส่ิงมีชีวิต อาทิ
สาหร่าย แบคทีเรีย ฟองนํ้า ปะการัง ฟอแรมมินิเฟอร์ (foraminifers) ไบเออซัว (bryozoan)
หอยตะเกียงหรือแบรคิโอพอด (brachiopod) หอยฝาเดียว (gastropod) หอยกาบคู่ (bivalves)
แอมโมนอยด์ (ammonoids) ไครนอยด์ (crinoids) ไทรโลไบต์ (trilobites) เรดิโอลาเรียน Page | 8
(radiolarians) ฯลฯ ซึ่งเมื่อพวกมันตายไปโครงร่างแข็งหรือเปลือกแข็งจะถูกทับถมไปพร้อมกับ
ตะกอนในทะเล อันประกอบด้วย ตะกอนทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และตะกอนคาร์บอเนต
กลายเป็นซากดึกดําบรรพ์ที่ฝังอยู่ในหินทราย หินทรายแป้ง หินโคลน หินเชิร์ตและหินปูน ท่ีพบใน
พนื้ ท่อี ําเภอปากช่อง จงั หวัดนครราชสีมา

วดั เทพพทิ กั ษป์ ณุ ณาราม ตั้งอยู่ฝ่ังทิศใตข้ องทาง
หลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) บริเวณบ้าน
กลางดง อําเภอปากช่อง ซ่ึงมีพระพุทธรูปปาง
ประทานพร สีขาวประดษิ ฐานอยบู่ นภูเขาหนิ ปนู
สงู จากพื้นดินประมาณ 112 เมตร ดา้ นลา่ งเขา
บริเวณบันไดทางขึ้นไปนมัสการองคพ์ ระ พบหิน
โผลข่ องหนิ ปูนสเี ทาจาง ซ่งึ มีกระเปาะหินเชริ ต์ สี
ดาํ แทรกอยู่ หากสงั เกตให้ดี ในเนือ้ หินจะมี
ลวดลายลกั ษณะเปน็ วงกลมและทรงกลม นั่นคอื
ซากดกึ ดาํ บรรพข์ องฟอแรมมนิ เิ ฟอร์ (กลุ่มฟูชวิ ซู
ลนิ ิด) ที่อาศยั อยใู่ นทะเลในยุคเพอร์เมยี น

ภาพวดั เทพพทิ ักษป์ ณุ ณารามจาก https://www.mu-ku-ra.com/

หินปนู สเี ทาและกระเปาะหินเชิรต์ สดี าํ มีซากดกึ ดาํ บรรพฟ์ อแรมมินิเฟอร์จาํ นวนมาก

 

Q: หินปนู เกดิ ในทะเลจรงิ หรอื ?
A: หนิ ปนู เกดิ ไดห้ ลายแบบ ส่วนใหญเ่ กดิ ในทะเล บางชนิดเกดิ บนบก

หรือเกิดในสภาพแวดล้อมแบบนาํ้ จดื การพบซากดึกดําบรรพ์ Page | 9
ส่งิ มชี ีวิต (marine fossils) ในทะเลจึงเปน็ หลกั ฐานวา่ หินปนู ที่
พบน้นั เกดิ จากการทบั ถมในทะเล

ภาพพืน้ ทะเลปจั จุบันท่ีมเี ศษซากส่งิ มีชีวติ ทบั ถมกันจาก http://www.teledyneoptech.com

น้ําทะเลมีแร่ธาตุและไอออนหลายชนิดละลายอยู่จํานวนมาก ซ่ึงทําให้น้ําทะเลมีความ
เขม้ ขน้ ของสารละลายสงู และมคี วามเค็ม สิ่งมชี ีวติ ในทะเลจะดึงเอาองค์ประกอบเคมใี นน้ําทะเลไป
สร้างเป็นโครงร่างแข็ง เมื่อความเข้มข้นของนํ้าทะเลสูงข้ึนจะทําให้แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)
อ่ิมตัวและตกผลึกกลายเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) เชื่อมให้เศษตะกอนที่แตกหักมาจากซากของ
ส่ิงมีชีวิตเหล่านี้ซ่ึงทับถมใต้พื้นทะเลแข็งตัว และกลายเป็นหินปูนในเวลาต่อมา จึงไม่แปลกใจท่ีจะ
พบซากดึกดําบรรพ์สัตว์ทะเลในหินปูน แต่อย่างไรกต็ ามหินปูนสามารถเกดิ บนบกหรือเกิดในน้ําจดื
ได้ด้วย

 

Page | 10

ภาพหนิ ย้อยบนเพดานถํา้ จาก Facebook: Geological Engineering : SUT

หินงอกหินย้อย คือรูปแบบหนึ่งของการเกิดหนิ ปูนบนบก โดยเกิดจากน้ําฝนและนาํ้ ผวิ ดินที่
ไหลผ่านพื้นที่หินปูน แล้วไหลซึมผ่านตามแนวแตกหรือโพรงของหินปูน นํ้าจะละลายแร่แคลไซต์
ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของหินปูนออกมา น้ําจึงมีความเข้มข้นของแคลเซียมคาร์บอเนตสูงข้ึน
กระบวนการการละลายน้ีเกิดได้เร็วข้ึนหากนํ้ามีความเป็นกรดอ่อนๆ เช่น เมื่อน้ําฝนละลายแก๊ส
บางชนิดในอากาศ หรอื เม่อื นํา้ ไหลผา่ นดินแลว้ ละลายกรดในชั้นดินลงมา

เม่ือนํ้าไหลเข้ามาถึงโพรงถํ้าจะหยดย้อยลง น้ําที่อ่ิมตัวจะตกผลึกให้หินงอกหินย้อยพอก
ขึ้นบรเิ วณนัน้ ตอ่ มาเมือ่ พอกทบั ถมมากขึ้น จะกลายเป็นประติมากรรมถาํ้ หลายแบบ หนิ งอกหิน
ย้อยในถ้ําจะอย่างรวดเร็วในช่วงที่มีนํ้าไหลซมึ เข้ามาอยา่ งต่อเน่ือง แต่อาจจะหยุดการเติบโตเปน็
ครั้งคราวในช่วงฤดูแลง้ หรอื อาจหยุดอย่างถาวรหากไม่มีนํา้ ไหลผา่ นรอยแตกอีก

 

Q: ทะเลโคราชอยูท่ ่ีไหน?
A: ทะเลโคราชอยู่ในเขตอําเภอปากชอ่ งและบางสว่ นของอําเภอวงั น้าํ เขยี ว

ซึง่ ต่อเน่ืองกบั อําเภอมวกเหล็ก จังหวดั สระบุรี และอําเภอชยั บาดาล Page | 11
จังหวัดลพบุรี ซึ่งเปน็ พนื้ ทท่ี ่หี ินตะกอนทะเลยุคเพอรเ์ มยี นโผล่

อําเภอปากชอ่ งมีภูมิประเทศเปน็ เทือกเขาสลับกบั ท่ีราบ โดยพน้ื ทีท่ างทศิ ใต้เปน็ เทือกเขา
สงู ส่วนหน่งึ ของอุทยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ พื้นทต่ี อนกลางเปน็ ทีร่ าบที่ระดบั ความสูงมากกว่า 250
เมตรจากระดบั นา้ํ ทะเลปานกลาง และมภี ูเขาหนิ ปูนท้งั ท่ีเปน็ ลกู โดดและเป็นเทือกเขาขนาดกลาง
โผลส่ ูงขน้ึ จากท่ีราบ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมเี ทือกเขาหนิ ทรายขอบท่ีราบสูงโคราชเปน็ แนว
แบง่ เขตการปกครอง หินตะกอนทะเลยุคเพอร์เมยี นสงั เกตได้จากภเู ขาหนิ ปนู ทโี่ ผล่ตงั้ แต่ด้าน
ตะวนั ตกติดกบั อําเภอมวกเหล็ก พาดผา่ นมายังดา้ นตะวันออกติดอําเภอวังนาํ้ เขียว

แผนท่ีแสดงขอบเขตและลักษณะภมู ิประเทศของอําเภอปากช่องดัดแปลงจาก google map

 

หินตะกอนทะเลยุคเพอร์เมียนที่โผล่ในพื้นท่ีอําเภอปากช่อง และบางส่วนของอําเภอวังน้ํา
เขียว จัดอยู่ในกลุ่มหินสระบุรี (Saraburi Group) โดยนักธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณี ได้ทําการ
สํารวจและแบ่งกลุ่มหินสระบุรีออกเป็น 6 หมวดหิน คือ หมวดหินภูเพ เขาขวาง หนองโป่ง ปาง
อโศก เขาขาดและซับบอน ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพ่ิมเติมโดยนักธรณีวิทยา และ Page | 12
นักวิจัยด้านบรรพชีวินและการลําดับช้ันหิน พบว่า กลุ่มหินสระบุรีประกอบด้วยหินปูนเป็นส่วน
ใหญ่ และมีหินดินดาน หินทรายและหินทรายแป้งบางส่วน หมวดหินท้ังหมดทับถมบนไหล่ทวีป
ของทะเลยุคเพอร์เมียน ทั้งในเขตทะเลต้ืน เขตท่ีมีความลึกและความชันมาก และบริเวณท่ีราบลึก
ใต้ทะเล แต่อย่างไรก็ตาม หินท่ีโผล่ในพื้นที่นี้มักถูกรบกวนโดยโครงสร้างทางธรณีวิทยา (geologic
structures) เชน่ รอยเล่อื น (fault) รอยเล่ือนย้อน (reverse fault) รอยคดโค้ง (fold) จงึ ทํา
ให้การโผล่ของหนิ ในแตล่ ะบรเิ วณไม่ตอ่ เนือ่ งกันตามหลักการของการลําดับชั้นหนิ

ท้ังนี้ จากแผนท่ีการกระจายตัวของกลุ่มหินสระบุรี (Ueno and Chareontitirat, 2011)
จะเห็นว่าทะเลโคราชประกอบด้วยบางส่วนของหมวดหินเขาขาด (สีส้ม) หมวดหินซับบอน (สี
เหลือง) และหมวดหนิ บางอโศก (สเี ขยี ว)

แผนทีก่ ารกระจายตัวของหมวดหินในกลุ่มหนิ สระบรุ ี (Ueno and Chareontitirat, 2011)

 

Q: ทะเลโคราชปิดตวั ลงได้อย่างไร?
A: ทะเลโคราชเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรพาลีโอเทธิส (Paleo-Tethys

ocean) ที่เคยกั้นระหว่างแผ่นทวีปขนาดเล็กช่ือแผ่นอนุทวีปอินโดไชน่า Page | 13
(Indochina block) และแผ่นอนุทวีปไซบูมาสุ (Sibumasu block) โดย
แผ่นเปลือกโลกทั้งสองเคลื่อนตัวมาชนกัน จึงทําให้เกิดการมุดตัวของ
แผ่นเปลือกโลก และต่อมาเกิดการยกตัวของแผ่นดิน แผ่นทวีปทั้งสองจึง
เชื่อมตอ่ เป็นผืนแผ่นดินเดียวกนั

ภาพแบบจําลองการเคล่ือนตัวของแผ่นเปลอื กโลกตามทฤษฎีเพลตเทคโทนคิ จาก http://www.geothai.net/

ทฤษฎีเพลตเทคโทนิค (Plate tectonics) อธิบายถึงการเคล่ือนที่ของแผ่นเปลือกโลก ซ่ึง
เป็นผลมาจากกระบวนการภายในโลก โดยการเคลื่อนตัวของหินหนดื หรือแมกมา (magma) ในชนั้
เน้ือโลกดันให้เปลือกโลกที่อยู่ด้านบนแตกออกเป็นแผ่น เรียกว่าแผ่นทวีป (tectonic plate-เม่ือมี
ขนาดใหญ่ หากมีขนาดเล็กจะเรียกว่า แผ่นอนุทวีป-tectonic microplate หรือ terrane หรือ
block ก็ได้) แผ่นทวีปเหล่านี้จะเคล่ือนท่ีด้วยความเร็วต่างกัน มีทิศทางการเคล่ือนที่ 3 แบบ คือ
เคล่ือนออกจากกัน เข้าหากันและเคล่ือนผ่านกัน การเคลื่อนท่ีดังกล่าวจะทําให้เกิดเหตุการณ์ทาง
ธรณวี ิทยาบนโลก อาทิ การเกดิ แผน่ ดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การแทรกตวั ของหนิ อคั นี การเกดิ น้ําพุ
ร้อน การเกิดแหล่งแร่ การเกิดภูเขา การเปดิ และการปดิ ของทะเล

 

กว่าสี่สิบปีท่ีผ่านมามีนักธรณีวิทยาหลายกลุ่ม ได้คิดและเสนอแบบจําลองทางเทคโทนิค
ของประเทศไทย ซ่ึงไดม้ กี ารยอมรบั อย่างแพรห่ ลายวา่ ประเทศไทยเกดิ จากการรวมตัวกันของแผน่
อนุทวีปอย่างน้อย 2 แผ่น คือ แผ่นอนุทวีปอินโดไชน่า (ทางทิศตะวันออกปัจจุบัน) และแผ่นอนุ
ทวีปไซบูมาสุ (ทางทิศตะวันออกปัจจุบัน) ซ่ึงมีมหาสมุทรพาลีโอเทธิส (Paleo-Tethys ocean) Page | 14
ก้ันอยู่ การชนกันของแผ่นทวปี เริม่ ต้ังแต่ปลายยคุ คารบ์ อนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ซึ่งใน
เวลาน้ันพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงจมอยู่ใต้ทะเล จึงพบซากดึกดําบรรพ์สัตว์ทะเล (marine
fossils) จํานวนมาก กระบวนการท่ีเกิดขึ้นไม่ได้ทําให้มหาสมุทรปิดลงในทันที แต่ค่อยๆ แคบลง
อย่างช้าๆ ประกอบกับการเกิดแนวภูเขาไฟใต้ทะเล (Sukhothai arc) การมุดตัวของเปลือกโลก
การชนกันและยกตัวของเปลือกโลก กระท่ังส้ินสุดในตอนปลายยุคไทรแอสซิก (Triassic Period)
กินเวลากว่า 100 ล้านปี จากภาพแบบจําลองการชนกันของแผ่นทวีป (Sone and Metcalfe,
2008) หนิ ของกลมุ่ หนิ สระบุรีแทนด้วยสฟี า้ วางตัวอยู่บนแผน่ อนทุ วีปอินโดไชนา่ ด้านขวาของภาพ

ภาพแบบจาํ ลองการชนกนั ของแผน่ อนทุ วปี อนิ โดไชนา่ และแผน่ อนุทวปี ไซบมู าสุ จาก Sone and Metcalfe, 2008
หมายเหตุ แผน่ อนทุ วีปไซบูมาสุ มชี อื่ เรียกวา่ อกี อยา่ งวา่ แผน่ อนทุ วปี ชาน-ไทย (Shan-Thai block)

 

Q: ซากดึกดําสตั ว์บรรพ์ทะเลโคราชโผลใ่ หเ้ หน็ ท่ไี หน?

A: มีการคน้ พบซากดกึ ดาํ บรรพ์หลายชนิด จากหลาย

ตาํ แหน่งสํารวจในพนื้ ทีอ่ ําเภอปากช่อง Page | 15

มีรายงานการค้นพบซากดึกดําบรรพใ์ นหินปูนหลายแห่งในอําเภอปากช่อง ตวั อย่างเช่น

ตําแหน่งท่ี 1 วัดหัวโกรก ตําบลพญาเย็น พบปะการัง (corals) ไครนอยด์ (crinoids)

แอมโมนอยด์ (ammonoids)

ตําแหนง่ ท่ี 2 เทพพิทกั ษป์ ุณณาราม ตําบลกลางดง พบฟวิ ซูลินิด (fusulinids)

ตาํ แหน่งที่ 3 หินโผล่ขา้ งถนนมติ รภาพ หมวดการทางปากช่องที่ 2 พบฟวิ ซลู ินดิ

ตําแหน่งที่ 4 บ้านวชิราลงกรณ์ตําบลหนองน้ําแดง พบฟิวซูลินิด ปะการงั ไครนอยด์

หอยกาบคู่ (bivalves) หอยฝาเดยี ว (gastropods) หอยตะเกยี งหรือแบรคโิ อพอด (brachiopods)

ตาํ แหนง่ ท่ี 5 วดั ถํา้ พระธาตุ ตําบลหนองสาหร่าย พบฟิวซูลินิดและชิ้นสว่ นปะการัง

แผนทแ่ี สดงตาํ แหน่งหินปูนยคุ เพอร์เมียนในเขตอําเภอปากช่องดดั แปลงจาก google map

 

Page | 16

ซากดกึ ดาํ บรรพ์ในหนิ ปนู ทโ่ี ผล่บริเวณวัดหวั โกรก ภาพจาก https://mgronline.com/

ซากดกึ ดําบรรพ์ในก้อนหนิ ปนู
จากวดั หวั โกรกซึง่ นํามาจดั แสดง
ไวใ้ นสวนทะเลโบราณภายใน
พพิ ธิ ภัณฑไ์ ม้กลายเป็นหนิ
หินปนู มีสเี ทาจาง เนือ้ หยาบ
ประกอบดว้ ย ชน้ิ สว่ นปะการัง
และเศษลําต้นของไครนอยดเ์ ป็น
สว่ นใหญ่ บางส่วนเป็นเศษ
เปลือกหอยและเศษหนิ

 

Q: ตอ้ งเดนิ ทางไปอําเภอปากชอ่ งเพ่อื ตามหาซากดกึ ดําบรรพ์ทะเลโคราชหรือไม่?
A: ไม่จําเป็นต้องเดินทางก็สามารถศึกษาซากดึกดําบรรพ์

ทะเลโคราชได้ที่สวนทะเลโบราณ ในพิพิธภัณฑ์ไม้ Page | 17
กลายเปน็ หิน

ภาพสวนทะเลโบราณในพิพธิ ภัณฑ์ไม้กลายเปน็ หิน

 

สวนทะเลโบราณต้ังอยู่บริเวณด้านหลังที่ทําการอุทยานธรณีโคราช โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้

นาํ กอ้ นตวั อยา่ งหนิ ปนู ยคุ เพอรเ์ มียน (Permian Period) ของกล่มุ หนิ สระบรุ ี มาจัดแสดงไว้ เพื่อให้

ผู้ท่ีสนใจสามารถศึกษาส่ิงมีชีวิตในทะเลโบราณได้อย่างสะดวก ไม่ต้องเดินทางไปถึงแหล่งหินใน

อาํ เภอปากชอ่ ง (ดูแผนผงั ทะเลโบราณ) Page | 18

หินท่ีนํามาจัดแสดงแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ 1) หินปูนที่มีเศษปะการังและเศษของก้าน

ไครนอยด์ (crinoid Stems) จํานวนมาก มีอายุเพอร์เมียนตอนต้น ซึ่งระบุอายุได้จากปะการัง (สี

เทาเข้มในแผนผัง) และ 2) หินปูนที่มีฟิวซูลินิด (fusulinids) และหอยกาบคู่ (bivalves) มีอายุ

เพอรเ์ มียนตอนกลาง ซ่ึงระบุอายไุ ดจ้ ากฟวิ ซูลนิ ิด (สเี ทาจางในแผนผัง)

หินปนู ที่มเี ศษปะการังและ
ก้านไครนอยด์ จํานวนมาก
อายุเพอร์เมียนตอนตน้
(หมายเลข 2 ในแผนผัง)

หนิ ปูนที่มฟี ิวซลู ินิด อายุ
เพอรเ์ มียนตอนกลาง
(หมายเลข 7 ในแผนผัง)

 

Page | 19

 

Q: ปะการังยุคเพอร์เมยี นเหมอื นหรอื ต่างจากปะการังยุคปจั จบุ นั ?
A: ต่าง เพราะปะการังในยุคเพอร์เมียนเป็นกลุ่มที่มีชีวิตบนโลก

ในมหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) และได้สูญพันธ์ุ Page | 20
ในชว่ งปลายยุคเพอรเ์ มียนแล้วทง้ั หมด

ปะการัง (corals) เป็นสัตว์ทะเล มีทั้งกลุ่มท่ีมีเฉพาะเน้ือเยื่ออ่อนนุ่ม (soft corals) และ
แบบท่ีมีโครงร่างแข็งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตคล้ายหิน เรียกว่า stony corals การจําแนก
ปะการังจะใช้ลักษณะรูปร่างภายนอกและภายในของโครงร่างแข็งเป็นเกณฑ์ ส่วนลําตัวของ
ปะการงั เปน็ เน้ือเยือ่ ออ่ น มปี ากและชอ่ งกลางลําตวั สําหรบั ย่อยอาหาร มีหนวดท่ีกวัดแกว่งเพ่ือชว่ ย
ปัดอาหารเข้าปาก เมื่อมีอันตรายจะหดตัวเข้าไปซ่อนในโครงร่างแข็ง ปะการังอาจเกิดแบบเดี่ยว
หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ ปะการังในยุคปัจจุบันจัดอยู่ในอันดับสเคอเรคทีเนีย (Order
Scleractinia) ซ่ึงพบครั้งแรกในยุคไทรแอสซิก (Triassic Period) ตอนกลาง และมีวิวัฒนาการมา
จนถึงปัจจุบัน ส่วนปะการังที่พบในยุคเพอร์เมียนจัดอยู่ในอันดับเทบูลาตา (Order Tabulata)
และอันดบั รูโกซา (Order Rugosa) ซงึ่ ทั้งสองอนั ดับน้ีไดส้ ญู พันธไ์ุ ปแล้ว

Phylum Cnidaria
Class Anthozoa
Subclass Hexacorallia

Order Rugosa
Order Tabulata
Order Scleratinia

ภาพโครงสรา้ งภายในของปะการังจาก
https://www.britannica.com/

 

ซากดกึ ดําบรรพป์ ะการงั ทพ่ี บในก้อนหินปนู ทีจ่ ดั แสดงในสวนทะเลโบราณ สามารถพบได้
ทว่ั ไปในกลมุ่ หนิ ปนู ยุคเพอรเ์ มยี นตอนต้น (สีเทาเข้มในแผนผัง) โดยเฉพาะทต่ี าํ แหน่ง 1 และ 2 จะ
มีชนิ้ ส่วนของปะการังอยู่รวมกันอยา่ งหนาแน่น

Page | 21

แผน่ หนิ ขัดมันแสดงใหเ้ ห็นภาพหน้าตัดของ
ปะการัง ชนิด Yatsengia asiatica

แผน่ หินขัดมันแสดงใหเ้ ห็นภาพหน้าตัดของ
ปะการังสกลุ Lophophylldium (มมุ ขวาล่าง)

 

Q: พบสกรูในหนิ ปนู ปะปน

กับปะการัง

ใครเอามาทิ้งไว?้ Page | 22

A: นี่ไม่ใชส่ กรู แต่เป็น

ซากดกึ ดาํ บรรพไ์ ครนอยด์

(crinoids)

Phylum Echinodermata
Subphylum Crinozoa
Class Crinoidea

ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเลในกลุ่มเดียวกับดาวทะเล (ปลาดาว) อีแปะทะเล หอยเม่น
และปลิงทะเล ไครนอยด์มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มท่ี
มีก้านยาว มีฐานยึดติดกับพ้ืนและมีส่วนหัวเป็นพุ่ม จึงถูกเรียกว่าพลับพลึงทะเล (sea lilies) และ
2) กลุ่มท่ีไม่มีก้าน แต่จะมีเฉพาะส่วนหัวท่ีมีกิ่งก้านคล้ายขนนก จึงเรียกว่า ดาวขนนก (feather
star) ทั้งน้ี มีการค้นพบซากดึกดําบรรพ์ไครนอยด์ต้ังแต่ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)
ส่วนใหญ่มักพบส่วนก้านที่แตกหัก เน่ืองจากก้านไครนอยด์ (crinoid stems) มีความแข็งมากและ
คงทน เมื่อตายลง ส่วนหัวที่เปราะมักแตกหักได้ง่ายกว่า ในขณะที่ก้านแม้จะแตกกระจัดกระจาย
อยู่ใตท้ ะเลกส็ ามารถคงสภาพนานกว่า ลกั ษณะท่ีเหน็ จงึ คลา้ ยสกรูและน๊อตถกู ฝังอย่ใู นหนิ

ภาพไครนอยดย์ ุคปัจจุบันจาก https://www.oneworldoneocean.com/

 
Page | 23

เศษก้านไครนอยดพ์ บในหนิ ตําแหนง่ 1 และ 2 แผนผงั ทะเลโบราณ

เศษก้านของไครนอยด์พบมากในก้อนหนิ ปูนยคุ เพอรเ์ มียน (Permian Period) ตอนต้น (สี
เทาเข้มในแผนผังทะเลโบราณ) ที่นํามาจากวัดหัวโกรก ตําบลพญาเย็น อําเภอปากช่อง มักปะปน
อยู่กับช้ินส่วนปะการัง ซึ่งบ่งช้ีว่ามีการพัดพาเศษชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาทับถมกันจนกลายเป็น
หินปูน ความแตกต่างระหว่างก้านไครนอยด์และปะการัง ให้สังเกตจากหน้าตัดขวางท่ีเป็นเน้ือหิน
แน่นและทึบ ต่างจากปะการังทม่ี ลี วดลายแบบรัศมี

 

Q: แอมโมนอยด์คอื หอยโขง่ ใชห่ รือไม่? Page | 24

A: ไม่ใชห่ อยโข่ง แต่เปน็ หอยท่ีเป็นญาติใกลช้ ิดกับหมกึ

ทะเลในปัจจบุ นั มากกว่า

มีใครมองเห็นแอมโมนอยด์บา้ งไหม (หมายเลข 3 ในแผนผังทะเลโบราณ)

Phylum Mollusca
Class Cephalopoda
Subclass Ammonoidea

ภาพแอมโมนอยด์ในกอ้ นหินปูน จาก วิฆ
เนตร ทรงธรรมและคณะ (พ.ศ.2554)

 

แอมโมนอยด์ (ammonoids) เป็นส่ิงมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อยู่ในกลุ่มหอยเซฟาโลพอด
(cephalopods) เช่นเดียวกับหมึกและหมึกยักษ์ เปลือกของแอมโมนอยด์มีลักษณะแบน ภายใน
แบ่งเป็นห้อง มีท่อเช่ือมต่อแต่ละห้องที่บริเวณขอบเปลือก ซ่ึงแตกต่างจากหอยนอติลอยด์
(nautiloids) ท่ีมีท่อเชื่อมต่ออยู่กลางลําตัว รอยเชื่อมของผนังห้องกับเปลือกทําให้เกิดลวดลายบน Page | 25
เปลอื ก อาจเปน็ แบบโค้งเรียบหรอื หยกั ซบั ซอ้ น เปน็ ลกั ษณะสําคญั ท่ใี ช้จาํ แนกแอมโมนอยด์

ลวดลายบนเปลือกของแอมโมนอยดม์ ี
3 แบบคอื 1) goniatitic 2) ceratitic
และ 3) ammonitic ซง่ึ สองแบบแรก
พบในแอมโมนอยดใ์ นมหายคุ พาลโี อ
โซอิก (Paleozoic Era) สว่ นแบบ
สุดท้ายเรมิ่ ววิ ัฒนาการในมหายคุ มโี ส
โซอิก(Mesozoic Era)

ภาพลักษณะเด่นของหอยเซฟาโลพอดกล่มแอมโมนอยดแ์ ละนอติลิดย์ ดัดแปลงจาก http://www.thefossilforum.com/

ภาพจําลองแอมโมนอยดจ์ าก
https://www.rocksandgemscanada.com/

แอมโมนอยด์ท่ีพบในก้อนหินปูน บริเวณ
สวนทะเลโบราณ จําแนกเป็นพันธุ์ Perrinites
เช่นเดียวกับที่พบในหมวดหินหนองโป่ง ในอําเภอ
มวกเหล็ก จังหวัดสระบรุ ี

ภาพหินขัดแอมโมนอยด์สกลุ Perrinites ขยาย 1.5 เท่า

 

Q: ซากดกึ ดําบรรพ์สง่ิ มีชีวติ เซลล์เดียวหน้าตาเป็นอย่างไร?
A: ฟิวซลู นิ ิด (fusulinid) เปน็ สิ่งมีชวี ิตเซลลเ์ ดยี ว ที่กลายเปน็ Page | 26

ซากดกึ ดาํ บรรพ์จาํ นวนมากฝงั อยู่ในหินปูนยคุ เพอรเ์ มียน

ส่ิงมีชีวิตกลุ่มฟอแรมมินิเฟอร์ (foraminifers) เป็นส่ิงมีชีวิตเซลล์เดียว จัดอยู่ในอาณาจักร
โพรทิสตา (Kingdom Protista) มีเซลล์สมบูรณ์และซับซ้อน และมีสารพันธุกรรมบรรจุอยู่ใน
นิวเคลียส ฟอแรมมินิเฟอร์สร้างโครงร่างแข็งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อปกป้องร่างกาย และมี
ไซโตรพลาส (cytoplast) ท่ีสามารถย่ืนออกมาจากโครงร่างแข็งมีลักษณะคล้ายเท้าเทียม
(Pseudopods) ฟอแรมมินิเฟอร์ในปจั จุบันสว่ นใหญ่พบอาศัยในทะเล โดยมักอยใู่ กล้พ้นื ตะกอนใต้
ทะเล และมีมากกว่า 40 สปีชีส์ที่มีชีวิตเป็นแพลงตอน ฟอแรมมินิเฟอร์พบครั้งแรกในหินตะกอน
ทะเลยุคแคมเบรียน (Cambrian Period) และในยุคต่อๆ มา พบในจํานวนมากข้ึน พร้อมทั้งมี
ความหลากหลายทางชวี ภาพสงู โดยเฉพาะในหินปูนของยคุ คารบ์ อนเิ ฟอรัสและเพอร์เมียน

Domain Eukaryota
Kingdom Protista
Phylum Foraminifera

ภาพจากกลอ้ งจลุ ทรรศนแ์ สดงภาพฟอแรมมินิเฟอรย์ ุคปัจจุบนั มี
เปลือกกลมทม่ี ีหนามขนาดเล็กจํานวนมาก มขี าเทียมยนื่ ออกจาก
เปลอื ก ดาํ รงชวี ิตเป็นแพลงตอน ภาพจาก

https://serc.carleton.edu/ และ http://www.pages-igbp.org/

 

ฟวิ ซูลินิด (fusulinids) เปน็ ฟอแรมมนิ ิเฟอร์กลุ่มหนึ่งซ่ึงเกดิ และมวี วิ ฒั นาการในชว่ งปลาย
ยคุ คาร์บอนเิ ฟอรัส (Carboniferous Period) ถึงเพอร์เมยี น (Permian Period) และได้สูญพันธุ์
จากโลกไปในช่วงปลายยุคเพอร์เมยี น ฟวิ ซูลินิดจัดเป็นฟอแรมมนิ เิ ฟอร์ขนาดใหญ่ มองเห็นไดด้ ้วย
ตาเปลา่ มีรูปรา่ งรคี ลา้ ยกระสวยจนถงึ ทรงกลม มักพบในหนิ ปูน และใชเ้ ปน็ ซากดึกดําบรรพด์ ชั นี Page | 27
(index fossil) ไดด้ ี ทัง้ นฟี้ ิวซูลนิ ดิ ทีพ่ บในพนื้ ที่อาํ เภอปากชอ่ ง ประกอบด้วยสกุล Afghanella,
Nankinella, Neoschwagerina, Staffella, Parafusulina, Pseudodoliolina, Verbeekina
บง่ ชีว้ า่ หินปูนมอี ายเุ พอรเ์ มยี นตอนกลาง (Uttarawiset et al., 2017)

Class Sarcodina
Order Foraminiferida
Suborder Fusulinina
Superfamily Fusulinoidea

ซากดึกดาํ บรรพ์ฟวิ ซลู นิ ดิ ทรงกลมบน
ผิวผุของหินปนู (หมายเลข 4 ในแผนผงั
ทะเลโบราณ)

 

Q: หอยมีซากดกึ ดําบรรพ์หรือไม่?
A: ในสวนทะเลโบราณมีซากดึกดาํ บรรพห์ อยฝาเดยี ว (gastropods) Page | 28

และหอยสองฝายักษ์ (Alatoconchid bivalves)

หอยมอลลัส (mollusks) คือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังท่ีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum
Mollusca) ซึ่งเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตท่ีมีจํานวนมากเป็นอันดับสองรองจากแมลง หอยมอลลัสส่วนใหญ่
อาศัยอย่ใู นทะเล บางส่วนอยู่ในน้ําจืดและบางชนิดเปน็ หอยบก หอยมีเนื้อเยื่อนุ่มเป็นลําตัวและปก
คลุมด้วยเปลือกที่เป็นแคลเซียมคารบ์ อเนต สามารถจําแนกออกเป็น 9 อันดับ ตัวอย่างเช่น อันดับ
หมึก (Order Cephalopoda) อันดับหอยฝาเดียวและหอยทาก (Order Gastropoda) อันดับ
หอยสองฝา (Order Bivalvia)

ภาพตัวอย่างส่งิ มีชวี ิตในไฟลมั มอสลัสกาจาก https://organismsmeet.weebly.com/

ซากดึกดําบรรพ์หอยมอลลัสถูกค้นพบในหินมาต้ังแต่ยุคแคมเบรียน (Cambrian Period)
ตอนกลาง ในหินยุคแก่มักพบกลุ่มหอยฝาเดียวและหมึกโบราณ และมีบันทึกการปรากฏของหอย
มอลลัสตลอดช่วงบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic Era) บางชนิดสามารถใช้เป็นซากดึกดํา
บรรพ์ดัชนี (index fossil)ในช่วงเวลาหน่ึงได้เป็นอย่างดี เช่น หมึกโบราณ (nautiloids) เป็นดัชนี
ชว่ งยุคออรโ์ ดวเิ ชียน (Ordovician Period) ถงึ ยุคดโี วเนียน (Devonian Period)

 

หอยฝาเดียว (gastropods) เป็นหอยท่ีมีเปลือกหุ้มชิ้นเดียวขดเป็นวงหรือเป็นยอดแหลม
คล้ายเจดีย์ มักมีช่องเปิดทางด้านขวา หลายชนิดมีฝาบางปิดปลายเปลือก เนื้อหอยจะอยู่ด้านใน
เปลือก แต่เปลือกไม่มีการแบ่งห้องด้านใน ซากดึกดําบรรพ์หอยฝาเดียวถูกพบตั้งแต่ปลายยุคแคม
เบรียน มักพบในหินโคลน หินดินดานและหินปูน แต่ความสมบูรณ์ของซากดึกดําบรรพ์ขึ้นอยู่กับ Page | 29
สภาพการเกบ็ รักษาในหินด้วย

Phylum Mollusca
Class Gastropoda

ภาพเปลือกและส่วนประกอบของหอยฝาเดียวจาก https://en.wikipedia.org/

ซากดกึ ดําบรรพ์หอยฝาเดยี วในหินปนู ยคุ เพอรเ์ มยี น (หมายเลข 6 ในแผนผังทะเลโบราณ)

 

หอยสองฝา (bivalves) เป็นหอยทีม่ เี ปลอื กหุม้ สองฝาประกบและยึดติดกนั โดยฝาทง้ั สองมี
ขนาดเทา่ กนั และเป็นสมมาตร เปลือกเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ตวั อย่างสมาชิกในกลุม่ หอยสองฝา
เช่น หอยแครง หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยหลอด เป็นตน้ ซากดกึ ดาํ บรรพห์ อยสองฝาพบต้ังแต่
ยคุ แคมเบรียนตอนต้นต่อเนอ่ื งจนถงึ ปัจจุบนั ในสวนทะเลโบราณมซี ากดกึ ดําบรรพ์หอยสองฝายกั ษ์ Page | 30
หรอื หอยบนิ (Alatoconchid bivalves) จดั อยู่ในตระกลู ท่ีพบเฉพาะในยคุ เพอร์เมียน (Permian
Period) และสญู พันธ์ไุ ปแลว้ หอยกลมุ่ นมี้ ีขนาดลําตวั ใหญ่ (มบี นั ทกึ ว่ามคี วามกวา้ งของเปลือกถึง 1
เมตร) เปลือกมีลกั ษณะแบนแผอ่ อกคล้ายปีก เป็นทมี่ าของช่อื หอยบนิ ทัง้ นม้ี ีการกระจายตัวบรเิ วณ
ใกลเ้ ส้นศูนยส์ ูตรของมหาสมุทรแพนธาลสั ซา (Pantalassa ocean) และมหาสมุทรพาลโี อเทธิส
(Paleo-Tethys ocean) พบในประเทศตนู ีเซยี โครเอเทีย โอมาน อิหร่าน อัฟกานสิ ถาน มาเลเซีย
ฟิลิปปนิ ส์ ญ่ีปนุ่ ภาคใตข้ องประเทศจนี ในกลมุ่ หินสระบุรพี บที่ ลพบรุ ี (Udchachon et al., 2014)
และอําเภอปากชอ่ ง นครราชสีมา (Uttarawiset et al., 2017)

Phylum Mollusca
Class Bivalvia
Order Myalinida

Superfamily Ambonychioidea
Family Alatoconchidae

ภาพจําลองรปู รา่ งเปลือกหอยบินเทยี บกบั ซากดกึ ดําบรรพ์ในพพิ ธิ ภัณฑธ์ รรมชาติวิทยาโครเอเทยี
(Isozaki and Aljinović, 2009)

 

Page | 31

ซากดึกดําบรรพ์หอยบินในหินปูนยคุ เพอร์เมียน (หมายเลข 5 ในแผนผงั ทะเลโบราณ)

ซากดกึ ดาํ บรรพ์หอยบินและฟิวซูลนิ ิด (หมายเลข 5 ในแผนผงั ทะเลโบราณ)

การศึกษาของ Udchachon (2007) จําแนกหอยบินอะลาโทคอนคิด ท่ีพบบริเวณเขา
สมโภชน์ อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ได้ 2 สปีชีส์ ได้แก่ Shikamaia (Tanchintongia) cf.
perakensis และ Saikraconcha cf. tunisiensis ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณทะเลสาบนํ้าเค็มบนพ้ืน
ทะเลอ่อนนุ่ม โดยพบร่วมกับฟิวซูลินิดสกุล Lepidolina, Yabeina, Conodofusiella,
Sumatrina และฟิวซูลินิดชนิด Colania douvillei ซึ่งระบุอายุช่วงปลายของยุคเพอร์เมียน
ตอนกลาง

 

Q: หินปนู ทุกกอ้ นมีซากดึกดาํ บรรพ์ถกู ต้องหรือไม่?
A: ไมเ่ สมอไป เน่อื งจากในหินปนู อาจมีเศษหนิ ปะปน หรอื อาจมีแร่

แคลไซต์ (calcite) ตกผลกึ อยู่ในช่องวา่ ง ทาํ ใหด้ ูคล้ายซากดกึ ดาํ บรรพ์ Page | 32

ตัวอยา่ งลกั ษณะผลึกของแร่แคลไซตใ์ นช่องว่าง (หมายเลข 8 ในแผนผงั ทะเลโบราณ)

 

Q: ซากดึกดําบรรพ์สง่ิ มชี วี ิตในทะเลมเี ฉพาะยคุ เพอร์เมียนเท่านน้ั ใช่หรือไม่?
A: ไม่ใช่ สิง่ มชี วี ิตกาํ เนดิ ข้นึ ในนํ้าซึ่งคาดว่าเป็นน้าํ ทะเล เน่ืองจากมธี าตสุ าํ คญั

ท่เี ปน็ พ้ืนฐานของสงิ่ มีชีวติ จงึ พบซากดกึ ดาํ บรรพข์ องสิ่งมีชวี ิตในทะเลมา Page | 33
ตั้งแต่บรมยุคพรแี คมเบรียน (Precambrian Eon)

ส่ิงมีชีวิตกําเนิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ 3.5 พันล้านปีก่อน โดยเริ่มจากกลุ่มโพรแคริโอต
(prokaryote) ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ต่อมาเม่ือสภาพแวดล้อมบนโลกมีความเหมาะสมมากข้ึน
กลุ่มยูแคริโอต (eukaryote) จึงเกดิ และมวี วิ ฒั นาการเป็นสง่ิ มีชวี ิตหลากหลายจนถงึ ปจั จบุ ัน

แผนภาพแสดงชว่ งเวลาทส่ี ่งิ มชี ีวติ กลุ่มตา่ งๆ ปรากฎบนโลกจาก https://en.wikipedia.org/

 

แผนที่ภูมิศาสตร์บรรพกาลแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก ตั้งแต่ช่วง
ปลายของบรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon) ประมาณ 650 ล้านปีก่อน จนถึงยุคไมโอซีน
(Miocene Period) ประมาณ14 ล้านปีก่อน ซึ่งพ้ืนท่ีส่วนใหญ่บนโลกปกคลุมด้วยนํ้าทะเล ในแต่ละ
ยุคมีขอบเขตของทะเลและมหาสมุทรท่ีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกระบวนการทางเทคโทนิคของ Page | 34
ช่วงเวลาน้ันๆ เป็นที่ยอมรับว่า ส่ิงมีชีวิตที่อาศัยในทะเลโบราณมีการกระจายตัวตามสภาพแวดล้อม
อาทิ ตําแหน่งละติจูด อุณหภูมิของน้ํา การไหลเวียนของกระแสน้ําในมหาสมุทร แสงสว่าง ปริมาณ
ออกซิเจน ความลึกของพื้นสมุทรและอาหาร เช่นเดียวกับส่ิงมีชีวิตในปัจจุบัน หากมีปรากฏการณ์ที่
เกดิ ขน้ึ ทว่ั โลก เช่น การเกดิ ยคุ นาํ้ แขง็ ก็จะส่งผลกระทบตอ่ ทุกชวี ติ ทอ่ี าศัยอยู่ในทะเลเช่นกนั

ภาพแผนที่ภูมิศาสตร์บรรพกาลจาก http://www.scotese.com/

 

Q: สิง่ มีชวี ิตทเ่ี กดิ ข้นึ ในบรมยุคอาร์เคียนมีหน้าตาเปน็ อย่างไร?
A: สาหร่ายและแบคทเี รยี ทีส่ ามารถสังเคราะห์แสงได้

เป็นผบู้ กุ เบกิ พ้ืนทบี่ นโลกตัง้ แต่บรมยคุ อารเ์ คียน Page | 35

บรมยุคอาร์เคียน (Archean Eon) : (4.6-2.5 พันล้านปีก่อน) เป็นช่วงเวลาที่โลกเริ่มก่อ
ตัวเป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่น
ก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยกา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ ต่อมาเม่ือประมาณ 4.2 พันล้านปี
ก่อน โลกเย็นตัวลง ไอนํ้าควบแน่นทําให้เกิดฝน เม่ือประมาณ 4 พันล้านปีก่อน เกิดโมเลกุลของ
ส่ิงมีชีวติ (RNA)

จากน้ันเมื่อประมาณ 3.5 พันล้านปีก่อน จึงเกิดเซลล์ชนิดไม่มีนิวเคลียส (prokaryotic
cells) และเม่ือ 3.4 พันล้านปีก่อน มีนํ้าฝนตกขังบนแอ่งที่ต่ํากลายเป็นทะเล แบคทีเรียที่สามารถ
สังเคราะห์แสง (cyanobacteria) จึงเกิดข้ึน แบคทีเรียเหล่าน้ีก่อตัวขึ้นเป็นชั้น โดยแบคทีเรียจะ
สร้างเมือกดักเศษตะกอนท่ีแขวนลอยอยู่ในน้ํา และต่อมาถูกเชื่อมประสานด้วยแคลเซียม
คาร์บอเนต มีลักษณะเป็นกอ ส่วนมากพบในบริเวณน้ําตื้น ซ่ึงการเพ่ิมข้ึนของ cyanobacteria
เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในชั้นบรรยากาศในบรมยุคอาร์เคียน โครงสร้าง
แบบนี้เรียกว่า สโตรมาโตไลท์ (stromatolites) ซ่ึงในปัจจุบันยังพบเห็นได้ เช่น ที่อ่าว Shark Bay
ประเทศออสเตรเลีย

ภาพจําลองสภาพแวดล้อมของโลกช่วงบรมยคุ อาร์เคียนและกอสโตรมาโตไลท์ จาก https://he.wikipedia.org/

 
Page | 36

สโตรมาโตไลท์ยุคปจั จุบันขึ้นอยบู่ รเิ วณชายฝง่ั ในเขตนํา้ ขึ้นนํ้าลงของ Shark Bay ประเทศออสเตรเลีย
ภาพจาก http://www.dmp.wa.gov.au/

ตัวอย่างหินสโตรมาโตไลทแ์ สดงโครงสรา้ งแบบตา่ งๆ จากหนิ บรมยุคอารเ์ คียน ประเทศแอฟรกิ าใตแ้ ละออสเตรเลีย
(Schopf et al., 2007)

 

สงิ่ มีชวี ิตอนื่ นอกจากแบคทเี รียทเ่ี กิดขนึ้ บนโลกในบรมยคุ อาร์เคยี น ไดแ้ ก่ สาหร่ายสีเขียว
สาหร่ายสีน้ําตาลและสาหร่ายสแี ดง ซึ่งสามารถสรา้ งอาหารไดเ้ อง

Page | 37

ตัวอยา่ งกลุม่ สิง่ มีชวี ติ ในทะเลในบรมยุคอารเ์ คียน ดัดแปลงจาก Lloyd and Skipworth (2015)

Q: ส่งิ มีชวี ติ ทวี่ ิวฒั นาการตอ่ จากสาหร่ายและแบคทเี รยี คืออะไร?
A: เอเดยี คาราน ไบโอตา (Ediacaran Biota) ส่ิงมชี ีวติ พิศวง

ในชว่ งปลายบรมยคุ โพรเธอโรโซอกิ (Proterozoic Eon)

ซากดกึ ดาํ บรรพเ์ อเดียคารานไบโอตา ชนดิ Mawsonites spriggi และ Dickinsonia Tenuis ภาพจาก
https://www.abc.net.au/

 

ในอดีตเปน็ ท่ียอมรบั วา่ สง่ิ มีชวี ติ หลายเซลล์และส่งิ มีชวี ติ ท่ีมขี นาดใหญ่ มองเหน็ ไดด้ ว้ ยตา
เปลา่ เกิดข้นึ บนโลกและมีจํานวนมากในยคุ แคมเบรยี น (Cambrian Period) หรือประมาณ 541
ล้านปีก่อน ซ่งึ เรียกเหตุการณ์น้นั ว่าการระเบิดของส่ิงมีชวี ติ ยุคแคมเบรยี น (Cambrian Explosion)
ต่อมาในปี ค.ศ.1947 นกั ธรณวี ทิ ยาชือ่ Reg Sprigg ไดร้ ายงานการค้นพบซากดึกดําบรรพจ์ ากเนิน Page | 38
เขา Ediacara Hill ทางตอนใตข้ องประเทศออสเตรเลีย โดยซากดึกดาํ บรรพ์นน้ั มีรปู ร่างประหลาด
ดเู หมอื นมลี าํ ตวั ออ่ นนม่ิ คลา้ ยฟองนา้ํ โดยอายุของหินจากเนนิ เขานัน้ แก่กว่ายุคแคมเบรียน การ
ค้นพบคร้งั นั้นยังไมม่ ีผู้ใหค้ วามสนใจมากนกั เพราะคิดวา่ ไม่นา่ มสี ิง่ มชี วี ติ ใดเกดิ กอ่ นยคุ แคมเบรยี น

ต่อมาได้มีการค้นพบซากดึกดําบรรพ์รูปร่างแปลกคล้ายท่ีเนินเขา Ediacara Hill จากทั่ว
โลก อาทิ แคนาดา อเมริกา สหราชอาณาจักร จีน นามีเบีย โดยมีลักษณะเป็นรอยพิมพ์ของ
ร่างกายที่อ่อนนุ่มบนหินทราย และเม่ือมีการศึกษามากขึ้นจนเป็นท่ีแน่ใจว่าสิ่งเหล่าน้ันคือซากดึก
ดําบรรพ์อย่างแท้จริง ในปี 2004 คณะกรรมการการลําดับชั้นหินจึงได้แบ่งช่วงเวลาทางธรณีกาล
ข้ึนใหม่ และตั้งช่ือยุคใหม่ โดยให้ช่วงเวลา 635-541 ล้านปีก่อนหรือช่วงบนสุดของบรมยุคโพรเทอ
โรโซอิก ว่า ยุคเอเดียคาราน (Ediacaran Period) โดยใช้การปรากฏและการหายไปของกลุ่ม
เอเดียคาราน ไบโอตา เป็นเกณฑ์ จนถึงปัจจุบันพบและสามารถจําแนกซากดึกดําบรรพ์ได้มากกวา่
6 0 ส กุ ล อ า ทิ Mawsonites, Dickinsonia, Charniodiscus, Cloudina, Thectardis ร ว ม
มากกว่าร้อยสปชี ีส์ จากทุกทวีปทว่ั โลก ยกเวน้ ทวปี แอนตาร์กติกา

ตวั อย่างกลมุ่ ส่งิ มีชวี ิตในยุคเอเดยี คาราน ดัดแปลงจาก Lloyd and Skipworth (2015)

 

Q: บรมยุคของส่ิงมีชีวิตคอื อะไร?

A: บรมยคุ ของสิ่งมชี ีวติ หมายถึง บรมยคุ ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic Eon)

หรอื ชว่ งเวลาประมาณ 541 ล้านปีกอ่ นจนถงึ ปัจจุบัน ซงึ่ เปน็ ช่วงเวลาท่มี ีสงิ่ มีชีวิตขนาด Page | 39
ใหญเ่ กิดและววิ ฒั นาการทัง้ ในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน

ภาพตารางธรณีกาลและววิ ฒั นาการของส่ิงมชี วี ิตจาก บรมยุคฟาเนอโรโซอกิ แบง่ ออกเป็น
http://homepage.divms.uiowa.edu/ 3 มหายุค (Era) คอื

- มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic
Era: 541-251 ล้านปีก่อน) การเร่ิมต้นของ
สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรและบนบก มี 6 ยุค
ได้แก่ แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซลูเรียน
ดโี วเนยี น คารบ์ อนิเฟอรสั และเพอร์เมียน

- มหายุคมีโสโซอิก (Mesozoic Era:
251-66 ล้านปีก่อน) ช่วงเวลาที่มีบนโลก
สัตว์เล้ือยคลานจํานวนมาก มี 3 ยุคได้แก่
ไทรแอสซกิ จูแรสซิก ครเี ทเซยี ส

- มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era:
66 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน) เวลาของสัตว์
เล้ียงลูกด้วยนม ได้แก่ ยุคเทอเชียรี (พาลีโอ
จนี และนีโอจีน) ยุคควอเทอนารี

รอยต่อระหว่างมหายุคมีเหตุการณ์
สําคัญ ซ่ึงทําให้ส่ิงมีชีวิตบนโลกในช่วงเวลา
นั้นสูญพันธุ์ ได้แก่ การสูญพันธุ์ปลายยุค
เพอร์ เมี ยน (End-Permian Extinction)
หรือรอยต่อระหว่างยุคเพอร์เมียนและยุค
ไทรแอสซิก (Permian-Triassic Boundary)
และการสูญพันธุ์ปลายยุคครีเทเซียส หรือ
รอยต่อระหว่างยุคครีเทเชียสและยุคเทอร์
เชยี รี (K-T Boundary)

 

Q: การระเบดิ ของส่งิ มีชีวติ ยุคแคมเบรียนคอื อะไร?
A: สงิ่ มชี ีวติ ในยุคแคมเบรยี นมรี ปู ร่างใหญ่โตและมีเปลือกแข็ง แตกต่าง

จากยุคเอเดยี คารานโดยสนิ้ เชงิ มซี ากดกึ ดําบรรพจ์ าํ นวนมากถกู คน้ พบ Page | 40
ในหินตะกอนยุคแคมเบรยี นจากท่วั โลก

Cambrian Explosion หรือการระเบิดของส่ิงมีชีวิตยุคแคมเบรียน เป็นช่ือเรียกเหตุการณ์
บนโลกท่ีนักวิทยาศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า โลกมีสภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสมและพร้อมสําหรับ
สิ่งชีวิตมากกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า โดยมีการค้นพบซากดึกดําบรรพ์จํานวนมากและมีความ
หลากหลายในหินยุคแคมเบรียน (Cambrian Period) ซึ่งมีอายุประมาณ 541-485 ล้านปีก่อน
ส่ิงมีชีวิตที่พบได้แก่กลุ่มดาวทะเล (echinoderms) หอยมอลลัส (molluscs) หอยตะเกียงหรือ
แบรคิโอพอด (brachiopods) หนอน (worms) อาร์โทรพอด (arthropods) และกลุ่มสิ่งมีชีวิตท่มี ี
แกนกลางลําตัว (chordates) ซากดึกบรรพ์ที่พบมักมีเปลือกหุ้มแข็ง บ่งช้ีว่าในนํ้ามีปริมาณ
ออกซิเจนและความเข้มข้นของแคลเซียมมากขึ้น ในทะเลเกิดไหล่ทวีปท่ีไม่ลึกมาก ทําให้มีแหล่งที่
อยู่อาศัยมากขึ้น สิ่งมีชีวิตพัฒนาตา (eyes) ช่วยในการมองเห็น รวมถึงการเพิ่มข้ึนของนักล่า ที่ทํา
ให้มวี ิวฒั นาการระหว่างผูล้ ่าและเหยอ่ื อยา่ งรวดเร็ว

ภาพจาํ ลองสภาพแวดลอ้ มและส่ิงมีชีวิตในทะเลยุคแคมเบรียนจาก https://www.newdinosaurs.com/

 

Page | 41

ตวั อยา่ งกลุ่มส่ิงมีชีวติ ในยุคแคมเบรียน ดดั แปลงจาก Lloyd and Skipworth (2015)

ไทรโลไบต์ (trilobite) เป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) คือมี
เปลือกแข็งและมีรยางค์เป็นข้อปล้อง ไทรโลไบต์จัดอยู่ในชั้นไทรโลไบตา (Class Trilobita) ซึ่งสูญ
พนั ธุไ์ ปแล้วเมือ่ การสูญพันธุ์ปลายยคุ เพอร์เมยี น (End-Permian Extinction) สาํ หรับ Olenoides
เป็นไทรโลไบต์สกุลหนึ่งที่พบมากในยุคแคมเบรียนตอนกลางถึงตอนปลาย ซากดึกดําบรรพ์ท่ีพบมี
ขนาดใหญ่ถึง 10 เซนติเมตร พบท่ีแหล่งเบอร์เกสเชลล์ (Burgess Shale) ท่ีประเทศแคนาดา และ
พบที่สหรัฐอเมริกา กรีนแลนด์ รัสเซีย คาซัสถาน ซากดึกดําบรรพ์ไทรโลไบต์บางตัวมแี ผลคล้ายถูก
กัด ประกอบกับมีร่องรอยการต่อสู้บนหน้าช้ันหิน จึงคาดว่าเกิดจากการต่อสู้กันระหว่างไทรโลไบต์
กบั ศัตรูตัวฉกาจคืออะนอมาโลคารสิ

อะนอมาโลคาริส (Anomalocaris) มีชื่อเรียกท่ัวไปว่ากุ้งประหลาด (abnormal shrimp)
ซ่ึงเป็นบรรพบุรุษของเหล่าอาร์โทพอด จัดอยู่ในช้ันดิโนคาริดิดา (Class Dinocaridida)
ตระกูลอะนอมาโลคารดิ ิเด (Family Anomalocarididae) โดยอะนอมาโลคาริสถูกค้นพบคร้ังแรก
ในแหล่งหินออจิกอบซิส เชลล์ (Ogygopsis Shale) และต่อมาพบมากในแหล่งเบอร์เกสเชลล์ ใน
ประเทศแคนาดา ซากดึกดําบรรพ์ที่พบขนาดยาวถึง 1 เมตร มีตาขนาดใหญ่ มีปากเป็นรูปวงกลม
และมีรยางค์คู่หน้าขนาดใหญ่สําหรับจับเหยื่อ จากหลักฐานดังกล่าวอะนอมาโลคาริสจึงถูกยกให้
เป็นผู้ล่าลําดับบนสุดในทะเลยุคแคมเบรียน (จัดแสดงอยู่ในสวนทะเลโบราณ หมายเลข 9 ใน
แผนผงั ทะเลโบราณ)

 

Page | 42

ซากดกึ ดาํ บรรพ์อะนอมาโลคารสิ จากแหลง่ เบอรเ์ กส เชลล์ สว่ นลําตวั (ซ้าย) ปาก (กลาง) รยางค์ที่ทําหน้าทเี่ ปน็ แขน (ขวา)
ภาพจาก https://en.wikipedia.org/

ออพาบิเนีย (Opabinia) เป็นบรรพบุรุษอาร์โทพอดท่ีพบในแหล่งเบอร์เกสเชลล์ เช่นกัน
จัดอยู่ในช้ันดิโนคาริดิดา เช่นเดียวกับอะโนมาโนคาริส แต่อยู่ในตระกูลออพาบินิอิเด (Family
Opaniidae) พบมากในหินท่ีมีอายุประมาณ 505-487 ล้านปีก่อน มีขนาดยาวประมาณ 6-10
เซนติเมตร ทั้งน้ีออพาบิเนียมีลําตัวอ่อนนุ่ม แยกเป็นส่วนๆ โดยมีปล้องตามยาวแบ่งลําตัวเป็นสอง
ซีกตลอดความยาวของลําตัว มีหางรูปพัด ส่วนหัวมีลักษณะแปลกประหลาด คือ มี 5 ตา มีปากอยู่
ใต้หัวหันไปทางด้านหลังมีรยางค์ยาวสําหรับจับอาหารใส่ปาก คาดว่าออพาบิเนียอาศัยอยู่ตามพ้ืน
ทะเลกนิ เศษตะกอนเปน็ อาหาร และบางคร้ังมีบทบาทเป็นนกั ลา่ ในท้องทะเลยุคแคมเบรียนเช่นกัน 

   

ซากดึกดําบรรพ์ออพาบเิ นียและภาพจาํ ลอง จาก https://en.wikipedia.org/

 

ฟองน้ํา (sponges) เป็นส่ิงมีชีวิตในไฟลัมพอริเฟอรา
(Phylum Porifera) จัดอยู่ในชั้นเดอโมสปันเจีย (Class
Demospongiae) ในยุคแคมเบรียนตอนปลายมีฟองนํ้าท่ี
แตกก่ิงก้าน เช่น ฟองนํ้าสกุล Vauxia เกิดขึ้น โดยอาศัย
เกาะตามพ้ืนตะกอนและกรองตะกอนจากน้ําเป็นอาหาร

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/

 

 

ฮอลลูสิเจนเนีย (Hallucigenia) เป็นซากดึกดําบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต รูปร่างคล้ายหนอน แต่
มีรยางค์ยาวย่ืนจากลําตัว ลักษณะดังกล่าวทําให้สันนิษฐานว่าฮอลลูสิเจนเนียอาจเป็นบรรพบุรุษ
ของหนอน หรืออาจเป็นบรรพบุรุษของอาร์โทรพอด ก็ได้ ซากดึกดําบรรพ์ที่พบมีความยาว
ประมาณ 0.5-3.5 ซม. มีรยางคย์ าวคล้ายขาจํานวน 7-8 คู่ ส่วนปลายขามลี ักษณะเปน็ กรงเล็บ หัว Page | 43
และหางมีลักษณะคล้ายกัน มักจะย่ืนยาวกว่าขาและโค้งลงด้านลา่ ง จากหลักฐานท่ีพบส่วนหัวจะมี
ตา 2 ข้าง มีปากและฟันรูปรัศมี ด้านหลังลําตัวมีหนามแหลมคาดว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตราย
ฮอลลสู ิเจนเนียอาศยั บนพ้ืนตะกอนใตน้ ํา้ พบในหนิ ยคุ แคมเบรยี นทีป่ ระเทศแคนาดาและจีน

ซากดึกดําบรรพ์และแบบจาํ ลองฮอลลสู เิ จนเนียภาพจาก https://burgess-shale.rom.on.ca/ และ
https://en.wikipedia.org/

พิเกยอา (Pikaia) เป็นสิ่งมชี ีวิตรปู รา่ งแบนคลา้ ยปลาไหล สนั นษิ ฐานวา่ เป็นบรรพบรุ ุษของ
สิง่ มชี ีวติ มีกระดกู สันหลัง จดั อย่ใู นไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) ตระกูลพเิ กยอเิ ด
(Family Pikaiidae) ลําตัวยาวประมาณ 3.8 ซม. สว่ นหวั และทา้ ยมลี กั ษณะคล้ายกนั โดยท่สี ว่ นหัว
มีหนวดขนาดใหญ่ 1 คยู่ น่ื ออกมา ด้านขา้ งสว่ นหนา้ มีลกั ษณะคลา้ ยเหงอื กปลา พบท่ีแคนนาดา

ซากดกึ ดําบรรพ์และแบบจําลองพกิ ายอา ภาพจาก https://en.wikipedia.org/

 

Q: มีซากดึกดาํ บรรพย์ ุคแคมเบรยี นในประเทศไทยหรือไม?่ Page | 44

A: ซากดกึ ดําบรรพ์ยคุ แคมเบรยี นของไทยพบมากบนเกาะตะรเุ ตา

จังหวดั สตูล ในหนิ ทรายยุคแคมเบรียนของกล่มุ หนิ ตะรุเตา
(Tarutao Group)

ซากดกึ ดําบรรพ์ยุคแคมเบรียนท่ีพบในหนิ ทรายของกลุ่มหนิ ตะรุเตา ประกอบดว้ ย ไทรโล
ไบต์ (trilobites) และหอยตะเกยี งหรอื แบรคิโอพอด (brachiopods)

ไทรโลไบตช์ นิด Hoytaspis ? thanisi พบบนเกาะตะรุเตา (กรมทรัพยากรธรณ,ี พ.ศ.2549)

แบรคิโอพอดสกุล Apheorthis ในหนิ ทรายสแี ดง พบบน
เกาะตะรุเตา ภาพจาก http://kanchanapisek.or.th/

 

Q: มหาสมทุ รในยุคออรโ์ ดวเิ ชยี นเป็นอยา่ งไร?
A: ระดับนา้ํ ทะเลเพมิ่ สงู ข้นึ ทว่ั โลกในชว่ งต้นยคุ ออรโ์ ดวิเชยี น และมรี ะดับสูง

ทสี่ ดุ ในมหายคุ พาลโี อโซอกิ (Paleozoic Era) แผ่นดินถกู น้ําทะเลทว่ มเกิด Page | 45
เปน็ เขตทะเลตื้น เป็นแหลง่ ท่ีอยู่ใหม่ มีส่งิ มชี ีวติ เกิดขึ้นหลากหลาย แตช่ ว่ ง
ปลายยุคระดบั น้ําทะเลกลบั ลดลงเนอ่ื งจากเกดิ ยคุ นํ้าแขง็

ส่ิงมีชีวิตในทะเลเพ่ิมจํานวนอย่างรวดเร็วในช่วงยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period-
ประมาณ 485-443 ล้านปีก่อน) ท้องทะเลมีสาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีแดง ปะการัง (corals) ดาว
ทะเล (echinoderms) หอยฝาเดียว (gastropods) หอยเซฟาโลพอด (cephalopods) แกรปโทไลท์
(graptolites) ไทรโลไบต์ (trilobites) หอยตะเกียงหรือแบรคิโอพอด (brachiopods) โคโนดอนท์
(conodonts) ในยุคนี้เร่ิมมแี นวปะการงั (reef) ทปี่ ระกอบดว้ ย สาหรา่ ยและฟองน้ําเปน็ หลกั

ตวั อย่างกลุ่มสงิ่ มีชีวติ ในยุคออร์โดวเิ ชยี นภาพดดั แปลงจาก Lloyd and Skipworth (2015)

ภาพจําลองสภาพแวดลอ้ มในทะเล
ยคุ ออร์โดวิเชียนภาพจาก

https://ucmp.berkeley.edu/


Click to View FlipBook Version