The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Khorat Fossil Museum: Fossil Booklet Geological Education Activities for Kids Primary School

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Khorat Geopark, 2021-09-09 11:17:26

Fossil Booklet Primary

Khorat Fossil Museum: Fossil Booklet Geological Education Activities for Kids Primary School

Keywords: Geology,Fossil,Education

คูม่ ือฐานกจิ กรรม

FOSSILIZATION
การเกดิ ฟอสซลิ

ชือ่ นามสกลุ
ระดับชน้ั
โรงเรียน

Khorat Fossil Museum Fossilization 0

ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (Fossil) หมายถึง ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูก
เก็บรักษาไว้ใต้ผิวโลก ส่วนใหญ่มักพบชั้นหินตะกอน เช่น ซากดึกดำบรรพ์โครงกระดูกไดโนเสาร์ รอยตีนสัตว์ ไม้
กลายเป็นหิน เป็นต้น นอกจากซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตเหล่านัน้ จะอยู่ในชั้นหินตะกอนแล้วยังสามารถพบซาก
ดกึ ดำบรรพ์ในอำพัน น้ำแขง็ ถ่านหนิ หรอื บ่อนำ้ มนั อกี ดว้ ย

ซากดึกดำบรรพ์สว่ นใหญเ่ ป็นส่วนแข็งของรา่ งกายของสง่ิ มีชวี ิต เชน่ กระดกู ฟนั และเปลือก เปน็ ต้น เพราะ
เป็นส่วนของร่างกายที่มีความแข็งแรงและย่อยสลายช้ากว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม นอกจากนี้การท ำกิจกรรม
ต่างๆ หรือพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตในอดีตก็สามารถถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบของร่องรอยด้วย ซากดึกดำบรรพ์
สามารถแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภทตามลกั ษณะท่ีพบ ดังนี้

1. ซากดึกดำบรรพ์ทเี่ ปน็ ตัว (Body fossils)
ซากของสิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นฟอสซิล โดยเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสิ่งมีชีวิต หรือทั้งหมด เช่น โครง
กระดกู สตั ว์เล้อื ยคลาน ลูกชา้ งแมมมอธ ฟันไดโนเสาร์ เปลอื กหอย และ แมลงในอำพัน เปน็ ต้น

โครงกระดูกสตั วเ์ ลอื้ ยคลาน ลูกช้างแมมมอธ

ฟนั ไดโนเสาร์ หอยสองฝา ซากแมลงในอำพัน
Fossilization 1
ทีม่ า: https://www.nationalgeographic.com/magazine/article/mammoths
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Baltic_Amber.jpg

Khorat Fossil Museum

2. ซากดึกดำบรรพร์ ่องรอย (Trace fossils)
ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นร่องรอยซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ได้เคยกระทำใน
อดีต ส่วนใหญ่เกดิ ขึน้ บริเวณแหลง่ น้ำ เช่น รอยตีนไดโนเสาร์ แนวทางเดิน รูชอนไช และมูลสัตว์ ซึ่งสามารถบ่งบอก
สัณฐานวทิ ยา สภาพแวดลอ้ มและพฤตกิ รรมของสตั วไ์ ด้

รอยตีนไดโนเสาร์แหลง่ ทา่ อเุ ทน จังหวัดนครพนม

Khorat Fossil Museum Fossilization 2

การเกดิ ซากดกึ ดำบรรพ์ (Fossilization)

เมื่อสิ่งมีชีวิตตายไปก็จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายไปตามธรรมชาติ แต่ซากดึกดำบรรพ์คือส่วนของซากที่ถูก
เก็บรกั ษาไวจ้ นกลายมาเป็นซากดกึ ดำบรรพ์ ดงั นนั้ โอกาสในการเกดิ ซากดกึ ดำบรรพ์จงึ มอี ยู่น้อยมาก

การเกิดซากดึกดำบรรพ์ ครอบคลมุ ต้ังแต่สิง่ มชี ีวติ ตายลงไปจนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ เปน็ กระบวนการ
ที่เกิดขึ้นเมื่อซากสิ่งมีชีวิตถูกฝงั กลบทันที ซึ่งทำให้ไม่มีออกซิเจนหรือมีนอ้ ยสำหรับจุลินทรีย์ยอ่ ยสลาย ซากจึงคงอยู่
แล้วแร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในตะกอนที่ทับถมแทรกซึมเข้าไปภายในซากสิ่งมีชีวิต ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตแข็งกลายเป็นหิน
(Petrification)

ตัวอยา่ งการเกดิ ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ 4

3
2

1

ทม่ี า: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bf/Fossilization_process.jpg

1. เม่ือไดโนเสารต์ ายลงไปใกล้แหล่งนำ้ สว่ นผวิ หนัง กล้ามเน้ือและสว่ นที่อ่อนนุ่มจะค่อยๆ ถูกยอ่ ยสลายโดย
จลุ ินทรีย์

2. โครงกระดูกท่คี งเหลือถูกปิดทบั ดว้ ยตะกอนอยา่ งรวดเร็ว และมกี ารทับถมของตะกอนเพ่ิมขึ้นเร่ือย ๆ
3. แร่ธาตทุ ่อี ยนู่ ้ำและตะกอนแทรกซึมเข้าในช่องว่างของรูพรนุ และโครงสร้างภายในกระดกู ทำใหแ้ ขง็ ตัวจน
กลายเป็นหนิ (Petrification)
4. แผ่นดินเกิดการยกตัวทำให้ชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ยกตัวขึ้นมายังผิวโลก แล้วถูกกัดเซาะจนทำให้ซาก
ดกึ ดำบรรพป์ รากฎให้เห็น ทำใหน้ ักบรรพชีวินวทิ ยามีโอกาสไดม้ าทำการขดุ คน้

Khorat Fossil Museum Fossilization 3

การเกิดซากดึกดำบรรพ์แบบร่องรอย (Trace fossils)

ร่องรอยเกดิ จากการกระทำของสัตว์ในอดีต ซง่ึ ไม่ใชช่ ้ินส่วนของสิ่งมชี วี ติ เชน่ การเกดิ รอยตีนของไดโนเสาร์
โดยมีกระบวนการเกดิ เปน็ ซากดึกดำบรรพ์แบบร่องรอยดงั น้ี

1. ไดโนเสาร์เดนิ บนพ้นื ออ่ นนุ่มทอ่ี ยู่ใกล้ชายน้ำ
2. เกิดเปน็ รอ่ งรอยขนาดเทา่ ของจริงเอาไว้ หากไมม่ กี ารรบกวนร่องรอยดังกลา่ วจะถกู คงสภาพไว้
3. เม่อื ตะกอนพัดมากเ็ กดิ การสะสมตัวในรอยตีนน้นั จนเต็มด้วยกระบวนการกลายเปน็ ซากดึกดำบรรพ์ ช้ัน
ตะกอนกลายเปน็ หิน
4. ตอ่ มาเกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้ชั้นหนิ ท่ีมซี ากดึกดำบรรพ์ถกู กะเทาะจนแตกแยกออกมา
5. เกิดเปน็ ซากดกึ ดำบรรพ์ 2 แบบ คอื แบบหล่อ หรือ รอยพิมพ์ (mold) ซงึ่ เป็นรอยเวา้
6. และรูปหล่อ (natural cast) ซ่งึ เป็นรอยนนู

123

4 56

ท่ีมา: http://allanmccollum.net/amcnet3/reprints/thulborn4.html

ประโยชนข์ องซากดึกดำบรรพ์

ซากดกึ ดำบรรพ์ในช้นั หนิ เปรยี บเสมอื นสมุดบันทกึ ของโลกทบ่ี ่งบอกลำดบั เหตุการณส์ ำคัญท่ีเคยเกิดขน้ึ บน
โลกของเราในแตล่ ะพ้ืนท่ีและแต่ช่วงเวลาจึงถือไดว้ า่ ซากดึกดำบรรพเ์ ป็นทรัพยากรธรรมชาตทิ ่มี คี ุณค่าและสำคัญซึง่
สามารถสรปุ ประโยชนข์ องซากดึกดำบรรพไ์ ด้ ดังนี้

1. เปน็ ประโยชน์ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิง่ มชี วี ิต ซากดึกดำบรรพ์แสดงถงึ ลำดบั การเปลย่ี นแปลงและ
ความสมั พนั ธข์ องส่ิงมชี วี ิตในแต่ละชว่ งเวลาของโลก

2. ทำให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต การศึกษาชนิดของซากดึกดำบรรพ์ รวมท้ัง
ชนิดของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน ทำให้เราสามารถแปลความหมาย

Khorat Fossil Museum Fossilization 4

สภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดตี ได้ เชน่ ถา้ พบซากปะการังในหินปูน เราสามารถบอกได้ว่าบริเวณน้ันเคย
เป็นทะเลมาก่อน ซากปะการังจึงบอกให้ทราบว่าเป็นทะเลน้ำตื้น น้ำใส แสงแดดส่องถึง และมีอุณหภูมิอบอุ่น โดย
เปรยี บเทยี บกบั สภาพแวดลอ้ มของปะการงั ปจั จบุ นั

3. ใช้บอกอายุของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดใช้ประโยชน์ในการกำหนดอายุของชั้นหิน คือ ซากดึก
ดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีช่วงอายุสั้นและพบกระจายอยู่ทั่วโลก เช่น ฟิวซูลินิด
(fusulinid) ทีด่ ำรงชวี ิตอยใู่ นช่วงยคุ คารบ์ อนิเฟอรสั ถึงยุคเพอร์เมยี นเทา่ น้ัน

4. ใช้ประโยชนใ์ นการเทียบสัมพันธ์ลำดบั ชั้นหิน สิ่งมีชีวติ ท่มี อี ายุเก่ากวา่ จะตกทบั ถมอยู่ในหินช้ันล่าง และ
สิ่งมีชีวิตที่มีอายุใหม่กว่าจะตกทับถมอยูใ่ นหินชั้นบนหากไม่มีการรบกวน ดังนั้น เมื่อพบซากดึกดำบรรพ์อายุเก่ากวา่
แสดงวา่ ชัน้ หินน้ันเกิดก่อนชั้นหนิ ทม่ี ซี ากดกึ ดำบรรพท์ ีอ่ ายใุ หม่กว่า

5. ใชป้ ระโยชนใ์ นด้านเศรษฐกิจ ชว่ ยในการคน้ หาแหล่งแร่เศรษฐกจิ บางชนิด แหล่งถา่ นหิน และแหล่ง
นำ้ มัน เช่น สาหรา่ ยทะเล ทฝี่ ังอยู่ในหนิ กักเก็บน้ำมนั สามารถชว่ ยใหเ้ ราสำรวจหาปิโตรเลยี มได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
และประหยัดคา่ ใช้จ่าย

6. แหล่งท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์ด้าน
ธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์มี 3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ภูเวียง
จังหวัดขอนแก่น และสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ
จังหวดั นครราชสีมา

Khorat Fossil Museum Fossilization 5

กิจกรรมที่ 1: จำลองการเกิดฟอสซิลแบบรอยพมิ พแ์ ละรูปหลอ่ (mold and cast)

จุดประสงค์
เพื่อใหน้ ักเรยี นสามารถอธิบายกระบวนการเกิดฟอสซิลแบบรอ่ งรอยได้

วสั ดุ-อปุ กรณ์
1. เปลอื กหอยและกิง่ ไม้
2. ถว้ ยพลาสตกิ
3. ดนิ น้ำมัน
4. ปูนปลาสเตอร์
5. ผงกาแฟ
6. น้ำเปล่า
7. ไม้ตะเกยี บสำหรบั ผสมปนู ปลาสเตอร์
8. แกว้ พลาสตกิ ใส่น้ำและผสมปูนปลาสเตอร์

วิธกี าร

1. นวดดนิ น้ำมนั ให้ออ่ นตวั จากนัน้ นำดินน้ำมันกดลงในถ้วยพลาสติก

Khorat Fossil Museum 2. นำเปลือกหอย/กงิ่ ไม้กดทับลงไปบนดินนำ้ มนั ท่ีเตรยี มไว้
จากน้นั ค่อยๆ ดึงเปลือกหอย/ก่ิงไมอ้ อก โดยให้นักเรียนใช้
จนิ ตนาการออกแบบการเกดิ ซากดึกดำบรรพใ์ นสภาพแวดล้อม
ในอดีต ตามความต้องการ

Fossilization 6

3. นำปูนปลาสเตอร์ผสมกบั น้ำเปล่าในอัตราส่วน 1:2 โดยค่อย ๆ
เทปูนปลาสเตอร์ลงนำ้ แล้ว ใชไ้ มต้ ะเกียบคนให้ปนู ปลาสเตอร์ผสม
เป็นเน้อื เดียวกันโดยไม่ให้เหลวเกินไป

4. เทปูนปลาสเตอรท์ ผ่ี สมไวล้ งบนดนิ น้ำมันทีท่ ำร่อยรอยไว้ แลว้
เทปูนปลาสเตอร์มาปดิ ทับร่องรอย หลังจากน้ันรอให้ปูน
ปลาสเตอร์แขง็ ตัวประมาณ 10 -15 นาที

5. เมือ่ ปนู ปลาสเตอรแ์ ข็งดีแลว้ ให้แกะปนู ปลาสเตอร์ออก
จากต้นแบบดินน้ำมัน

6. ได้ชนิ้ งาน แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพแ์ บบรอยพิมพแ์ ละรปู หลอ่

Khorat Fossil Museum Fossilization 7

7. ละลายผงกาแฟในน้ำ แล้วนำแบบจำลองท่ไี ด้ จ่มุ ลงในน้ำกาแฟ
8. ได้ชนิ้ งาน แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์แบบรอยพิมพแ์ ละรปู หล่อท่ีเสรจ็ สมบูรณ์

Khorat Fossil Museum Fossilization 8

แบบฝึกหดั Name: Class:

1. เมื่อแกะเปลอื กหอย/กง่ิ ไม้ออก ร่องรอยทเี่ กดิ บนดนิ น้ำมนั เรยี กว่า..........................และมี
ลกั ษณะอย่างไร?

..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................

2. เมอื่ แกะปนู ปลาสเตอรอ์ อกสว่ นทีไ่ ด้ เรยี กว่า.................................และมีลกั ษณะอย่างไร?

..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................

Khorat Fossil Museum Fossilization 9

กิจกรรมที่ 2: ตามล่าหาฟอสซลิ

จุดประสงค์
เพือ่ ให้นักเรียนร้จู กั ชนิดและประเภทของฟอสซิล

วัสดุ-อุปกรณ์
1. ก้อนหินจำลอง 1 กอ้ น

วิธกี าร

1. นำก้อนหินจำลองมาเคาะบนโตะ๊ เบาเบา

Khorat Fossil Museum Fossilization 10

2. สังเกตจะเห็นรอยร้าวบนก้อนหิน

3. เคาะจนก้อนหินจำลองแยกออกจากกัน

4. สงั เกตชนิดของฟอสซิล

Khorat Fossil Museum Fossilization 11

Name: Class:

แบบฝกึ หัด

1. วาดภาพฟอสซิลทพ่ี บ

2. ฟอสซิลทพ่ี บคืออะไร
.............................................................................................................................................
.............................................................................................................................................

3. ฟอสซลิ ที่พบจัดเป็นประเภทใด
.............................................................................................................................................
.............................................................................................................................................

Khorat Fossil Museum Fossilization 12

Khorat Fossil Museum Fossilization 13


Click to View FlipBook Version