The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ปาริฉัตร ทองพฤกษ์, 2020-07-10 01:09:15

DadHandbook

DadHandbook

สุขใจ ได้เป็นพ่อ

พอ่ แมท่ ุกคนตอ้ งอ่าน...เพ่อื รว่ มมือกันเป็นหุ้นสว่ นชวี ติ



สุขใจ ได้เป็นพ่อ

พอ่ แมท่ ุกคนตอ้ งอ่าน...เพ่อื รว่ มมือกันเป็นหุ้นสว่ นชวี ติ

คำนำ

กรมอนามยั โดยกองอนามยั การเจริญพนั ธุ์ และกองทุนประชากรแหง่ สหประชาชาติ ร่วม
กันดำเนินการโครงการเพิ่มประสทิ ธภิ าพการเข้าถงึ และการใช้บริการทางข้อมูล ขา่ วสาร
การให้คำปรกึ ษา และบริการด้านอนามัยการเจริญพนั ธุ์ (Strengthen Access to and
Utilisation of Reproductive Health Information, Counselling and Services: The RH
Plus Project) ระหวา่ งเดือนมิถนุ ายน 2550 จนถึงเดอื นธันวาคม 2554 ทำ การทดลองรปู
แบบการให้บริการด้านอนามยั แมแ่ ละเดก็ โดยส่งเสรมิ ให้ผชู้ ายเขา้ มามี สว่ นร่วมในการดูแล
สขุ ภาพมารดา และได้จดั ทำชดุ คมู่ ือใหค้ วามรู้สำหรบั หญงิ ตงั้ ครรภ์ สามี และญาติ เป็น
จำนวน 5 เลม่ ไดแ้ ก่
1. คู่มือ ความรู้การตรวจเลือดพ่อแมเ่ พอ่ื ดแู ลลกู ในครรภ์
2. สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ แม่
3. สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พอ่
4. คูม่ ือมารดาหลงั คลอดและการดแู ลทารก
5. คมู่ อื การมีส่วนรว่ มของสามีหรือญาติในการเฝา้ คลอด
เพอ่ื เปน็ ขอ้ มลู ท่ใี หค้ วามรตู้ ง้ั แตเ่ รม่ิ ตง้ั ครรภ์ การปฏบิ ตั ติ วั ระหวา่ งตง้ั ครรภ์ ระยะคลอดบตุ ร
หลังคลอด และดูแลสุขภาพเดก็ อนั ได้แก่ การรบั ประทานอาหาร การออกกำลงั กาย
การแต่งกาย อาการผดิ ปกตทิ ีต่ ้องมาพบแพทย์ การเลีย้ งลกู ดว้ ยนมแม่ 6 เดือน การวาง
แผนครอบครัว การเลี้ยงดูบตุ ร และพฒั นาการเด็ก เปน็ ต้น เพ่อื ใหล้ ูกทเ่ี กดิ มามีสุขภาพที่
สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งส่งเสริมให้สามีได้มีบทบาทในการช่วยเหลือ
ดูแลภรรยาและลกู อีกทั้งยงั เป็นการสง่ เสรมิ บทบาทผ้ชู ายในฐานะสามแี ละพอ่ ได้เป็นอยา่ งดี
อกี ดว้ ย
กรมอนามัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดคู่มือให้ความรู้น้ีจะเป็นประโยชน์สำหรับหญิง
ตั้งครรภแ์ ละสามี หากมคี ำแนะนำเพ่ือการปรบั ปรงุ คูม่ อื น้ีใหด้ ียงิ่ ขึน้ สามารถส่งมา ได้ที่
กองอนามัยการเจรญิ พนั ธุ์ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง
จังหวดั นนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-4244-5

(นายแพทย์ณรงคศ์ ักด์ิ องั คะสุวพลา)
อธบิ ดีกรมอนามยั

สารบญั 4
7
ช่วยคณุ แมอ่ ยา่ งไร...ระยะต้งั ครรภ์
9
เดือนที่ 1 เดือนแหง่ การปรบั ตวั
11
การเติบโตและพัฒนาการของลกู น้อยในครรภ์
12
เดอื นที่ 2 แม่เร่ิมแพ้ทอ้ งมากขน้ึ
16
การเตบิ โตและพัฒนาการของลูกนอ้ ยในครรภ์
18
เดือนท่ี 3 รสู้ ึกรอ้ นผดิ ปกติ และหงุดหงดิ งา่ ย
20
การเติบโตและพัฒนาการของลกู นอ้ ยในครรภ์
21
เดือนที่ 4 อาการแพท้ อ้ งลดลงแลว้ ...แต่วา่
22
การเตบิ โตและพัฒนาการของลกู น้อยในครรภ์ 25
28
เดอื นท่ี 5 น้ำหนักเพิม่ ขึน้ .....บวมหรืออ้วน

การเติบโตและพัฒนาการของลกู น้อยในครรภ์

เดือนท่ี 6 ปวดหลงั และกงั วลกับรูปรา่ ง

การเติบโตและพฒั นาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

เดอื นท่ี 7 เตรยี มตัวฝึกคลอดอย่างสบายใจ

การเติบโตและพฒั นาการของลกู น้อยในครรภ์

เดอื นท่ี 8 คลายความอึดอัดแต่ปสั สาวะบ่อยจงั

การเตบิ โตและพัฒนาการของลกู น้อยในครรภ์

เดอื นที่ 9 สัญญาณว่าจะคลอด

เม่อื คณุ แม่มาคลอด

ชว่ ยคณุ แมอ่ ยา่ งไร...ระยะหลังคลอด

คสู่ ามภี รรยาสว่ นมากรอวนั ท่จี ะมีลกู เพ่อื เตมิ เต็มชีวติ ครอบครัวใหส้ มบรู ณ์ คร้นั ทราบว่า
ภรรยาตง้ั ครรภ์ นอกจากความยินดีแล้ว ความกงั วลในหลายเรอื่ งก็อาจเขา้ มารบกวนจิตใจ
คุณพ่อ ว่าจะต้องมีการเตรียมตัวหรือปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้ ราบรื่น
สมบูรณ์ปลอดภัยทง้ั ตัวคณุ แมแ่ ละลูกน้อยท่กี ำลงั เติบโตอยู่ในครรภ์

4 สุขใจ ไดเ้ ปน็ พอ่

ในช่วงต้ังครรภ์คุณแม่เองก็ต้องเผชิญ
กับความเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทาง
รา่ งกายและจิตใจ รวมทั้งตอ้ งปรับเปลยี่ น
วิถีชีวิตประจำวันด้วย ความเปลี่ยนแปลง
หลายอย่างมีผลต่อคนรอบข้างโดยเฉพาะ
สามี ซึ่งก็มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะลด
ความกังวลสร้างความสบายใจ และช่วย
อำนวยความสะดวกแก่คุณแม่ตั้งครรภ์
แต่การท่ีคุณพ่อจะทำหน้าที่น้ีได้ดีจำเป็น
ต้องเข้าใจในความเปล่ียนแปลงต่างๆ
รวมทั้งแนวปฏิบัติ ดังที่จะแนะนำในคู่มือ
เล่มน้ี
เมื่อทราบว่าภรรยาตั้งครรภ์ สิ่งแรก
ที่ควรทำคือแสดงความรักความยินดีต่อ
การมีเจ้าตัวน้อยและเตรียมตัวพาภรรยา
ไปฝากครรภ์กับแพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข ซึ่งในการพาภรรยาไป
ฝากครรภ์คุณพ่อบ้านสามารถร่วมฟัง
คำแนะนำในการปฏิบัติตนและการดูแล
ครรภ์โดยอาจช่วยซักถามข้อสงสัย และ
จดจำขอ้ มลู เพอ่ื นำมาปฏบิ ัตอิ ยา่ งถกู ตอ้ ง
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนกับแม่
ตั้งครรภ์ เช่น อาการแพ้ท้อง อารมณ์
หงุดหงิดง่าย เศร้าซึม เครียด หรือ
วิตกกังวลโดยไม่ทราบสาเหตุ การปรับ

สุขใจ ไดเ้ ป็นพอ่ 5

เปลยี่ นชีวติ ประจำวนั เชน่ การทำงานหนกั ที่มผี ลต่อลูกในครรภ์ การงดกิจกรรมกฬี ารุนแรง
คณุ พ่อเองตอ้ งเขา้ ใจ ให้อภัย ให้ความรกั ความอบอนุ่ ตอ่ ภรรยามากขน้ึ รวมท้ังตอ้ ง
ปรบั เปลยี่ นพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น ต้องชว่ ยรับภาระงานบ้านบางสว่ น งดสบู บหุ รี่เพราะ
ควันบุหรี่เป็นผลร้ายต่อทารกในครรภ์ งดการดื่มสุรา และสิ่งเสพติดทั้งหลายเพราะทำให้
ขาดสตจิ นเกดิ อันตรายตอ่ ภรรยาและทารกในครรภ์ได้

นอกจากนี้ควรหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลครรภ์ และการคลอดบ้าง เพื่อนำมา
พูดคยุ สร้างความเขา้ ใจร่วมกันกับภรรยา และใหท้ ราบวา่ สงิ่ ใดทีค่ วรปฏบิ ตั ิสง่ิ ใดท่คี วรละเว้น
โดยเฉพาะเรื่องของการร่วมเพศ ว่าสามารถดำเนินกิจกรรมได้มากน้อยแค่ไหนจึงเพียงพอ
ให้ชวี ติ มีความสขุ ได้ และไม่เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์
พึงระลึกเสมอว่า แพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลการฝากครรภ์จะให้ความรู้
เพื่อนำไปปฏิบัตติ อ่ กนั ดว้ ยความเข้าใจ

6 สุขใจ ได้เป็นพ่อ

เดือนท่ี 1 เดือนแห่งการปรบั ตัว

การเติบโตและพัฒนาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

หลังจากไข่และอสุจิผสมกันแล้ว จะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน เคลื่อนมาฝังในโพรงมดลูก
เติบโตเป็นตัวอ่อน และสร้างสว่ นตา่ งๆของร่างกายตลอดเวลา ในเดอื นแรกนี้ทารกมีขนาด
ประมาณ 2 ซม. ศีรษะโตมากเมื่อเทยี บกบั ลำตัว มีระบบประสาทส่วนกลาง คือ สมอง
และไขสันหลัง ระบบไหลเวยี นเลอื ด เรม่ิ มีแขน ขา และตา

ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของคณุ แม่

คณุ แมจ่ ะรูส้ ึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจยี น คัดเต้านม และอารมณ์แปรปรวนง่าย คลา้ ย
ภาวะกอ่ นมปี ระจำเดอื น เช่น หงุดหงิดรอ้ งไหโ้ ดยไมม่ ีสาเหตุ ร้สู ึกสบั สนปะปนกนั ระหว่าง
ความกลัว ตื่นเต้น และความสุข ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นมากหรือน้อยไม่เท่ากัน
ในแตล่ ะคน

สุขใจ ไดเ้ ปน็ พอ่ 7

คณุ พอ่ จะมวี ิธีการช่วยคณุ แม่อยา่ งไร

คุณพ่อควรหากิจกรรมให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย เช่น พาออกกำลังกายเบาๆ ดูแลให้
พักผ่อนมากขึ้น จัดหาอาหารที่คุณแม่ชอบ และหลีกเลี่ยงอาหารที่คุณแม่บอกว่าเหม็น
หรือแพ้
ให้รับประทานครง้ั ละน้อยๆ แต่บ่อยครงั้ อาจหาขนมปงั กรอบให้รับประทานระหวา่ งม้ือ
อาหารบา้ งเพื่อลดการแพท้ อ้ ง รวมทั้งผลไม้ทมี่ รี สเปรีย้ ว ด่ืมนำ้ เพิ่มและบ่อยขนึ้ แตไ่ ม่ควร
ดมื่ ในปรมิ าณมากๆ หลงั อาหารทนั ที เพราะทำใหเ้ กิดอาการแนน่ ทอ้ ง

ชว่ งเดอื นแรกคณุ แมอ่ าจมอี าการคลน่ื ไสท้ กุ ครง้ั ทแ่ี ปรงฟนั จนทำใหล้ ะเลย หรอื หลกี เลย่ี ง
ที่จะแปรงฟัน ดังนั้นควรหาน้ำเกลืออุ่นๆ ให้บ้วนปาก และแนะนำให้แปรงฟันบ้างเท่าที่
จะทำได้
คุณแมต่ ้ังครรภ์บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องแปลกๆ เชน่ เหมน็ กลนิ่ ตวั สามี จงเข้าใจและ
ให้อภัยพรอ้ มทำหนา้ ทีส่ ามที ่ดี ตี อ่ ไป

คำแนะนำเพิ่มเตมิ

คณุ พ่อควรพาคณุ แม่มาฝากครรภ์ ทนั ทที ท่ี ราบว่าต้งั ครรภ์ และรบั การตรวจเลอื ดพร้อม
คุณแม่ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ คุณพ่อควรเข้าร่วมรับฟังความรู้ต่างๆ
ตามทเ่ี จ้าหน้าทส่ี าธารณสขุ จดั ให้

8 สขุ ใจ ไดเ้ ป็นพ่อ

เดอื นที่ 2 แมเ่ ร่ิมแพ้ทอ้ งมากขึน้

การเติบโตและพฒั นาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลูกนอ้ ยมลี ำตัวยาว 4 ซม. หนัก 1 กรัม ศรี ษะโตข้นึ มีใบหน้า ติ่งหชู ัน้ นอก น้วิ มอื น้วิ เทา้
กระดูกเรม่ิ สร้าง ขยบั แขน ขา มกี ารเคล่อื นไหวและระบบประสาทสัมผัสเรมิ่ ทำงาน

ร่างกายที่เปลี่ยนแปลง

คณุ แม่จะรู้สึกเหนื่อย ออ่ นเพลยี และใช้เวลานอนมากข้ึน ปัสสาวะบ่อย คลืน่ ไส้ อาเจียน
เวยี นศีรษะ เป็นลมบ่อยๆ ทอ้ งผูก ท้องอดื เฟ้อ เตา้ นมขยายใหญแ่ ละตึง คดั หวั นมขยาย
และมสี คี ล้ำข้นึ อารมณ์ยงั คงแปรปรวนง่าย

คณุ พอ่ จะมีวธิ กี ารช่วยคุณแมอ่ ยา่ งไร

คุณพ่อควรจัดอาหารใหค้ รบ 5 หมู่ อาหารพวกแป้ง นำ้ ตาล แต่ควรลดอาหารพวกไขมัน
ลง เพราะจะทำให้คุณแม่ทอ้ งอืดแนน่ อึดอดั ได้ ส่วนอาหารทีต่ ้องเพมิ่ ข้นึ คอื

สุขใจ ได้เปน็ พ่อ 9

โปรตนี เชน่ เน้อื สตั ว์ ไข่ ถ่วั นม ซง่ึ มีความ
จำเป็นมากต่อการเติบโตของทารก โดยเฉพาะ
นม มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
เจ้าตัวเล็ก ควรจดั ให้ด่ืมวันละ 2-3 แกว้
ชว่ งน้แี มต่ ัง้ ครรภ์อาจมกี ารปัสสาวะบ่อยบา้ ง
ควรดูแลให้ดื่มน้ำสะอาด งดเครื่องดื่มประเภท
ชา กาแฟเพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ถา้ ตอ้ งเดนิ
ทางไกลอาจต้องแวะห้องน้ำบ่อยก็อย่ารำคาญ
ควรเห็นใจ เพราะถ้ากลั้นปัสสาวะจะทำให้
กระเพาะปสั สาวะอกั เสบ หรอื ถ้าให้ดคี ุณพ่ออาจ
เตรยี มโถสำหรับปสั สาวะไว้ในรถบา้ งกด็ ี
ช่วงเดือนที่สองน้ีคุณแม่อาจแพ้ท้องจน
ทำอะไรไม่ได้ คุณพ่อคงต้องรับหน้าที่งานบ้าน
แทนบ้าง เช่น การจัดเตรียมอาหาร ซักผ้า
ลา้ งจาน ดูแลพ้นื อย่าใหม้ สี ่งิ ทีอ่ าจทำให้ภรรยา
ลนื่ หกลม้ ได้

คำแนะนำเพม่ิ เตมิ

คุณพ่ออย่าลืมลูบสัมผัสหน้าท้องคุณแม่เพื่อ
การสง่ เสรมิ พัฒนาการเจ้าตัวนอ้ ยในครรภ์

10 สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พ่อ

เดอื นท่ี 3 รูส้ กึ ร้อนผิดปกติ และหงดุ หงดิ ง่าย

การเตบิ โตและพฒั นาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลกู น้อยมลี ำตวั ยาว 9 ซม. หนกั 14 กรัม สามารถเคล่ือนไหวได้ดี แตเ่ บามากจนคณุ แม่
ไม่รสู้ กึ ถึงการเคลอ่ื นไหว มีเปลือกตาบางๆ และเริ่มเหน็ อวยั วะเพศแตไ่ มช่ ดั เจน

ร่างกายท่เี ปลีย่ นแปลง

ช่วงนี้เส้นเลือดที่เต้านม ท้อง ขา ของคุณแม่จะเริ่มขยาย หิวบ่อยและกินจุ ท้องผูก
อาการแพท้ อ้ งจะทเุ ลาลงบ้าง แตย่ งั คงหงดุ หงิด อ่อนไหวงา่ ย เหงื่อออกมากกวา่ ปกติ เพราะ
ระบบการเผาผลาญในรา่ งกายสงู ขนึ้


สขุ ใจ ได้เป็นพอ่ 11

คณุ พอ่ จะมวี ธิ กี ารช่วยคุณแมอ่ ยา่ งไร

อาการแพ้ท้องอาจจะลดลง แต่ยังคง
มีให้เห็น แต่อาจมีเสียงบ่นเรื่องคันตาม
ผวิ หนงั หรือขร้ี อ้ นผิดปกติ คณุ พอ่ อาจชว่ ย
นวดตามขา เพื่อให้ระบบโลหิตไหลเวียน
ดีขึ้น นวดบ่าไหล่และศีรษะเพื่อคลายความ
เครียด อาจพาเดินเลือกซื้อของใช้ หรือ
ออกกำลงั กายเบาๆได้
ดูแลเรื่องอาหารให้ดี ควรเพิ่มผักผลไม้
และให้ดมื่ นำ้ บ่อย เพ่อื ช่วยลดอาการท้องผูก
หากคุณพ่อต้องไปทำงานหมั่นโทรสอบถาม
อาการและให้กำลงั ใจเสมอ พยายามลดงาน
เล้ียงสังสรรค์ลงและกลับบ้านให้ตรงเวลา
เพื่อความอบอุ่นใจ และคลายความกังวล
ของคณุ แม่

เดอื นที่ 4 อาการแพท้ ้องลดลงแลว้ ...แต่ว่า

การเติบโตและพัฒนาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลกู นอ้ ยมลี ำตัวยาว 16 ซม. หนัก 100 กรมั หูเรมิ่ เปน็ รูปเปน็ ร่าง มีผม ขนตา ขนค้วิ
เล็บเริ่มงอก ทารกเริม่ รับรสได้ จะดูดนิ้วมือและหยบิ จับสายสะดอื ผิวหนงั บางใสจนเหน็ เสน้
เลือดข้างใต้ไดช้ ดั เจน แยกเพศไดช้ ดั เจน

12 สุขใจ ได้เปน็ พ่อ

รา่ งกายทีเ่ ปลีย่ นแปลง

คุณแม่จะหิวบอ่ ยตามครรภ์ท่แี ก่ขึ้น อาการปัสสาวะบ่อยและคดั เตา้ นมจะลดลง แต่ยังมี
อาการแน่นทอ้ ง ร่วมกับทอ้ งผูก หลงั เทา้ บวมเลก็ นอ้ ยและเกิดเสน้ เลือดขอดที่ขา หรือ เป็น
ริดสดี วงทวารได้ การลกุ นัง่ ตอ้ งระวัง เพราะอาจเป็นลมหน้ามืดง่ายข้นึ อารมณย์ งั อ่อนไหว
แปรปรวน


คุณพ่อจะมีวธิ กี ารช่วยคุณแมอ่ ยา่ งไร

หาอาหารที่คุณแม่ชอบและเปลี่ยนรายการอาหารอย่าให้จำเจ แต่ต้องให้ครบ 5 หมู่
ให้ดืม่ นม และรบั ประทานปลาตัวเลก็ ตวั นอ้ ย หรอื ก้งุ แห้งเพ่ือเสริมแคลเซยี มแกล่ กู ในครรภ์

สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พ่อ 13

จัดผลไม้ หรืออาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยลดการท้องผูกของคุณแม่ อย่าลืมให้รับประทาน
วติ ามินเสริมทที่ างสาธารณสุขจัดให้
ในแต่ละชว่ งของวันควรนวดขาและหลงั ใหค้ ณุ แมด่ ้วย ซึ่งต่อไปนี้คอื ทา่ นวดง่ายๆ ท่สี ามี
อาจนำไปใชน้ วดให้คณุ แมต่ ั้งครรภ์ เพอ่ื สร้างความผกู พันอนั ดี

การนวดหลัง

บรเิ วณหลังเปน็ ตำแหน่งที่แม่ต้งั ครรภ์สว่ นใหญ่มกั จะบน่ ปวดเมื่อย เพราะตอ้ งรบั น้ำหนกั
จากทารกและมดลูกที่ใหญ่ข้ึน
วธิ กี ารปฏบิ ตั ิ ไดแ้ ก่ ให้ใชม้ อื ข้างหนึง่ จับสะโพกของภรรยาไว้ อีกข้างกดท่กี ระดกู สันหลัง
โดยเคลื่อนมือเป็นวงกลมไปตามแนวที่รู้สึกปวดเมื่อย น้ำหนักที่กดลงขึ้นอยู่กับความพอดี
และความสบายของภรรยา

14 สขุ ใจ ได้เป็นพ่อ

การนวดตน้ ขา

ต้นขาสองข้างน้ันเป็นอีกบริเวณท่ีต้องคอยรองรับน้ำหนักของทารกที่ใหญ่ข้ึนทุกวัน
แมต่ ัง้ ครรภ์ส่วนใหญ่จงึ มักปวดเม่ือยตน้ ขาเปน็ ประจำ
วิธกี ารปฏบิ ัติ ไดแ้ ก่ วางมือทั้งสองขา้ งไว้บรเิ วณหัวเข่า แล้วนวดเป็นจงั หวะไลจ่ าก
หวั เขา่ ไปถงึ ขาหนบี

คำแนะนำเพิ่มเติม

คุณพ่อควรช่วยนวดให้คุณแม่เพราะการนวดช่วยให้รับมือกับการเจ็บท้อง
คลอดไดด้ ขี ้นึ อีกทงั้ ยงั เปน็ การแสดงความรักทม่ี ีต่อกนั เพราะคณุ แมอ่ าจจะ
กงั วลเกีย่ วกบั รปู รา่ งทีเ่ ปลี่ยนแปลงไป ส่ิงสำคญั ที่คณุ พอ่ ไม่ควรมองข้าม คือ
การดูแลสขุ ภาพปากและฟนั ให้สะอาดและพาคณุ แม่ไปพบทนั ตแพทย์

สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พอ่ 15

เดอื นท่ี 5 น้ำหนกั เพ่ิมขน้ึ ...บวมหรอื อว้ น

การเติบโตและพฒั นาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลูกนอ้ ยมีลำตวั ยาว 25 ซม. หนัก 300 กรัม คณุ แม่จะรูส้ ึกว่าลูกดิ้นแลว้ ระบบประสาท
ส่วนกลางและระบบประสาทการได้ยินสร้างเสร็จสมบูรณ์ ทารกสามารถได้ยินเสียงและมี
ปฏิกิริยาต่อเสียงดนตรีหรือเสียงดังๆได้ การเคลื่อนไหวและระบบประสาทสัมผัสทำงานได้
แล้วเช่นกนั

ร่างกายท่เี ปลี่ยนแปลง

คณุ แม่อาจจะมีตกขาวเกดิ ข้นึ ทอ้ งผูก มแี ก๊สในลำไสม้ ากข้นึ อาจเป็นตะครวิ ทีข่ า บวม
ที่ตาตุ่มและเทา้ บางครงั้ มอื และหนา้ ก็บวมด้วย ชีพจรเต้นเรว็ ขน้ึ ปวดหลงั อาจมนี ้ำนมใส
ไหลจากเต้านมให้ซับออกแต่ไม่ควรบีบทิ้งเพราะจะกระตุ้นให้มีน้ำนมไหลเพิ่มขึ้น อารมณ์
แปรปรวนเรมิ่ ลดลงแล้ว แต่อาจเกดิ ข้ึนได้เป็นครง้ั คราว

16 สุขใจ ไดเ้ ป็นพอ่

คุณพ่อจะมีวธิ กี ารชว่ ยคณุ แมอ่ ย่างไร

คุณพ่อควรพาคุณแม่ไปเที่ยวพักผ่อนเพื่อความเพลิดเพลินบ้าง แต่ไม่ควรเดินทางไกล
เพราะทำให้คุณแม่เมื่อยหลังมากขึ้น ระหว่างทางอาจเปิดเพลงเบาให้เจ้าตัวน้อยในครรภ์
ฟังด้วย อาจพดู คยุ กนั เรอื่ งการด้ินของลูก หรือปฏกิ ิรยิ าระหวา่ งทีฟ่ ังเพลง คุณพ่ออาจสัมผัส
หน้าทอ้ งและคุยกับลูกในครรภ์บา้ ง
ดแู ลภรรยาอยา่ ให้ใช้หลงั มากเกนิ ไป ควรสวมรองเท้าส้นเต้ีย และหากมีอาการเป็นลม
หรือเวยี นศีรษะบ่อยๆ ควรแจ้งแพทย์ผ้ดู แู ลทราบ เพราะอาจตอ้ งตรวจหาสาเหตุอ่ืนดว้ ย เชน่
ภาวะเลือดจาง ควบคุมน้ำหนกั ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด หลีกเลย่ี งการยืนนานๆ สวมเสอ้ื ที่
ใส่สบายและสามารถเคลอ่ื นไหวไดส้ ะดวก รวมท้ังชุดชัน้ ในก็ไม่ควรรดั ตงึ จนเกนิ ไป

สุขใจ ได้เปน็ พ่อ 17

ลดของหวานและควรรบั ประทานอาหารท่ีมีแคลเซยี มตามปรมิ าณท่ีกำหนด ได้แก่ นมจืด
ปลาเล็กปลานอ้ ย
ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีคราบคล้ายขี้ไคลขึ้นตามซอกคอ รักแร้ และข้อพับได้
แม้จะดูไมส่ วยบา้ ง ควรเขา้ ใจไมจ่ ำเป็นตอ้ งไปขัดถูเพราะจะจาง และหายไปเองหลงั คลอด
ในเวลากลางคืนหม่นั ห่มผา้ ให้ความอบอนุ่ ชว่ งขาและปลายเท้ามากเปน็ พิเศษ เพอื่ ลด
อาการเป็นตะคริว แต่หากมีตะคริวบ้าง ควรช่วยนวดบรเิ วณน่องและดัดปลายเทา้ ให้งอขึน้
จะช่วยบรรเทาได้

เดือนท่ี 6 ปวดหลัง และกงั วลกับรปู ร่าง

การเตบิ โตและพฒั นาการของลกู นอ้ ยในครรภ์

ลูกนอ้ ยมลี ำตัวยาว 30 ซม. หนัก 600-700 กรัม สมองมกี ารขยายขนาดมากขึ้น ไขมัน
ใต้ผวิ หนงั ยังมีน้อย กลา้ มเน้อื แขนทำงานได้ดี มกี ารกลนื และสะอึกเป็นบางครั้ง
18 สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พ่อ

รา่ งกายทเ่ี ปล่ยี นแปลง

น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้นเร็วมาก ในเดือนนี้อาจจะมีความรู้สึกปวดถ่วงท้องน้อย ท้องผูก
มากขึน้ จกุ แนน่ ที่ยอดอก เนอ่ื งจากอาหารไมย่ อ่ ย เลอื ดออกตามไรฟัน บวมทห่ี น้า เท้า
และมอื หลอดเลือดขอดท่ขี า ริดสีดวงทวาร คนั ผิวหนังหน้าท้อง ปวดหลงั เต้านมขยายใหญ่
มเี หงอื่ มาก รูส้ กึ ร้อน อารมณ์ไมค่ งที่ เร่ิมเบื่อหน่ายต่อการตั้งครรภ์ วติ กกงั วลเกีย่ วกับสง่ิ ที่
จะเกิดขน้ึ ในอนาคต

คุณพ่อจะมีวธิ กี ารชว่ ยคณุ แมอ่ ย่างไร

คณุ พ่อควรใหค้ ณุ แมน่ อนพกั ผอ่ นใหเ้ พยี งพอ ในท่านอนท่ีเหมาะสม คอื นอนตะแคงขา้ ง
ไม่ควรนอนหงาย ไมค่ วรนง่ั หรอื ยนื ท่าเดยี วเปน็ เวลาตดิ ตอ่ กนั นานๆ สามารถออกกำลังกาย
เบาๆ ได้อยู่ แต่ควรฝึกหัดการผ่อนคลายและการฝึกหายใจบ้าง เพื่อเตรียมคลอดบ้าง
โดยพาคณุ แมไ่ ปพบปะกบั กลมุ่ หญงิ ตง้ั ครรภ์
ด้วยกันที่สาธารณสุขจัดขึ้นเพ่ือแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ในการลด
ความกังวลเรื่องการเจ็บคลอด กิจกรรม
เหล่านคี้ ุณพอ่ ก็สามารถมีสว่ นร่วมได้

สุขใจ ได้เปน็ พ่อ 19

เดือนที่ 7 เตรยี มตวั ฝกึ คลอดอย่างสบายใจ

การเตบิ โตและพฒั นาการของลูกน้อยในครรภ์

ลูกน้อยมีลำตัวยาว 35 ซม. หนัก 1,000 กรมั มีไขมันสะสมใต้ผวิ หนังมากขึน้ ลืมตา
หลบั ตาได้แลว้ สมองส่วนที่ใชค้ ิดกำลังเจริญเตบิ โตอยา่ งรวดเร็ว ทารกสามารถแยกเสยี งได้
และมีตอ่ มรบั รสเพมิ่ มากข้นึ รับรรู้ สตา่ งๆ ได้ดีขนึ้ และสามารถแยกกลิ่นได้

ร่างกายท่ีเปล่ยี นแปลง

คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยนั้นดิ้นแรงและสม่ำเสมอมากขึ้น ตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดถ่วง
ทอ้ งน้อย ท้องผูก มีลมในกระเพาะอาหาร เลอื ดออกตามไรฟนั เป็นตะคริวทขี่ า ปวดหลัง
บวมทีข่ ้อเทา้ และหลังเทา้ หายใจลำบาก นอนไมห่ ลับ อ้ยุ อ้าย เสย่ี งต่อการหกลม้ ได้งา่ ย
อาจมนี ้ำนมสเี หลืองไหลซมึ ออกทางหัวนม คณุ แมม่ ีจินตนาการเกี่ยวกบั ลูกในท้องมากขึน้

คุณพอ่ จะมีวธิ กี ารชว่ ยคุณแมอ่ ย่างไร

คุณพอ่ ควรใหค้ ุณแม่พักผ่อนให้เพียงพอในเวลากลางวนั และเข้านอนตง้ั แต่หัวคำ่ รวม
ทั้งสนใจสอบถามเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณแม่ในระยะนี้ รวมทั้งคุณพ่อช่วยเตือนคุณแม่ให้
สังเกตการด้ินของเจา้ ตวั น้อยในครรภ์ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในแต่ละวันควรช่วยนวดผอ่ น
คลาย และทบทวนการฝกึ ลมหายใจเพอ่ื เตรียมตวั คลอด

20 สขุ ใจ ไดเ้ ป็นพ่อ

เดอื นที่ 8 คลายความอึดอดั แตป่ ัสสาวะบ่อยจัง

การเตบิ โตและพัฒนาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลกู น้อยมลี ำตัวยาว 40 ซม. หนัก 1.5 กก. มอี งคป์ ระกอบครบทกุ สว่ น ทารกสามารถ
รับรูไ้ ดท้ กุ ระบบท้ังการไดย้ นิ การมองเห็น การรับรส กลิ่น การสมั ผัส และการเคลอ่ื นไหว

ร่างกายทเ่ี ปลีย่ นแปลง

ช่วงน้ีคุณแม่จะสญู เสยี การทรงตัว และอยุ้ อ้ายมากข้นึ อาจมีนำ้ นมสเี หลืองซึมเปื้อนออก
ทางหวั นม สะดอื จะถกู ดนั จนราบหรือจุ่นในบางราย แตไ่ ม่ต้องกงั วลจะกลบั เหมอื นเดิมหลัง
คลอด กระดูกเชิงกรานจะเริ่มขยายบริเวณข้อต่างๆ เพื่อเตรียมสำหรับการคลอด ซึ่งอาจ
ทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายได้ การน่ังทา่ เอนกงึ่ นอนจะชว่ ยบรรเทาความอึดอัดได้

สุขใจ ได้เปน็ พ่อ 21

คุณพ่อจะมีวธิ ีการชว่ ยคณุ แม่อย่างไร

คณุ พอ่ เปดิ โอกาสให้คุณแมไ่ ด้พักผอ่ นมากๆ อยา่ งน้อย 9-10 ช่วั โมง คณุ พ่อมีสว่ น
สำคัญมากทีจ่ ะช่วยแบง่ เบาภาระการทำงานบา้ น เช่น ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า ล้างจาน
เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนมากขึ้น และอย่าลืมหาเวลาพาคุณแม่ไปพักผ่อนเพื่อรับอากาศที่
บรสิ ุทธบิ์ า้ ง

เดอื นที่ 9 สญั ญาณว่าจะคลอด

การเติบโตและพัฒนาการของลูกนอ้ ยในครรภ์

ลกู นอ้ ยมลี ำตวั ยาว 45 ซม. หนกั 2.2 กก. และยาวประมาณ 50 ซม. หนกั ประมาณ
3 กก. เม่อื คลอดระบบประสาทและการทำงานของอวัยวะทุกอยา่ งสมบูรณ์ครบถ้วน ทารก
เจริญเติบโตเตม็ ท่ี ผิวหนังเตง่ ตงึ ขึน้ เพราะมไี ขมันใต้ผิวหนงั ชว่ งนลี้ ูกเจรญิ เตบิ โตเรว็ ที่สดุ
ทารกจะเร่มิ เคลอ่ื นตวั ลงตำ่ เตรียมพรอ้ มท่ีจะคลอดตามธรรมชาติ
ลกู จะด้ินลดลง เนื่องจากความจำกัดของพืน้ ทมี่ ดลกู ตกขาวเพมิ่ มากขน้ึ และมีลักษณะ
เป็นมูกขน้ มอี าการปวดแสบยอดอก เปน็ ตะครวิ ท่ีขาเวลากลางคืน ปวดหลงั รนุ แรงขึน้ แต่
จะรู้สกึ วา่ หายใจสะดวกมากขึ้น เน่ืองจากทารกในครรภ์กลับหวั ลงมาอยู่ในเชิงกราน แตจ่ ะ
มีการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะถูกกดจากศีรษะของทารก จนต้องตื่น
บ่อย บางครง้ั อาจนอนไม่หลับ หรือหลับไม่ได้นาน

22 สุขใจ ไดเ้ ป็นพอ่

คุณพ่อจะมวี ธิ ีการชว่ ยคณุ แม่อย่างไร

ช่วงนก้ี ารเคลอ่ื นไหวของทารกถกู จำกดั มาก จนอาจดเู หมอื นไม่มีการเคล่ือนไหว คุณพ่อ
คอยเตอื นให้คุณแมส่ งั เกตการเคลอ่ื นไหวของเจา้ ตัวนอ้ ยในครรภอ์ ย่างสมำ่ เสมอทกุ วนั

เตรียมตัวไปคลอด

ทารกใกลว้ นั คลอดแลว้ ชว่ งนค้ี วามกงั วลของคณุ แมเ่ พม่ิ มากขน้ึ ตอ้ งมน่ั คอยใหก้ ำลงั ใจ
เตรียมเอกสาร เชน่ บตั รประชาชน บตั รประกนั สังคมให้พร้อม รวมทั้งอาจเตรียมเครื่องใช้
ส่วนตัวที่จำเป็น เชน่ แปรงสีฟัน ผา้ เช็ดตวั ผ้าอนามยั ใสก่ ระเปา๋ ไวใ้ ห้หยิบได้สะดวกเม่ือ
สญั ญาณในการคลอดมาถึง
ในวันคลอดกำลังใจจากสามเี ป็นสง่ิ ทต่ี อ้ งการมากทีส่ ดุ ความอบอุ่นดูแลให้กำลังใจเป็น
สงิ่ ทคี่ ุณพ่อจะใหไ้ ด้ รวมทงั้ ภายหลังคลอดแลว้ ควรคอยดูแลอย่างตอ่ เน่อื ง

การมีเพศสมั พนั ธข์ ณะต้งั ครรภแ์ ละขอ้ หา้ ม

ถ้าคุณแมม่ ีสขุ ภาพแขง็ แรงดี สามารถมีเพศสมั พนั ธ์ไดเ้ รื่อยๆ เท่าท่ยี ังร้สู กึ ไม่อดึ อดั
ในช่วงเดือนแรก ผหู้ ญงิ ขณะต้ังครรภ์จะมีอาการแพท้ อ้ ง คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ทำให้
ความตอ้ งการทางเพศลดลง คณุ อาจใชท้ ่ารว่ มเพศท่าใดก็ไดท้ คี่ ณุ ท้ังสองเลอื กด้วยความ
อ่อนโยนควรเลือกท่าที่ไม่กระทบกระเทอื นหลกี เลี่ยงทา่ ที่มกี ารสอดใสล่ ึกเกนิ ไปเช่นไมร่ ่วม
ในทา่ ทนี่ อนหงาย กรณที ่ีคุณแม่มปี ัญหา หรอื มปี ระวัติแท้งบ่อย ควรงดการมเี พศสัมพนั ธ์ใน
3 เดอื นแรก

สุขใจ ไดเ้ ปน็ พ่อ 23

นอกจากน้ี ควรงดเว้นการมเี พศสัมพนั ธ์ในเดือนที่ 9 ซ่ึงขนาดมดลูกโตมาก ดงั นั้นควร
งดเวน้ การมีเพศสมั พันธ์ใน 2 ชว่ งเวลา คือ
ระยะที่หนึ่ง คือ ช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์ได้ 1-3 เดือนแรก เพราะการปฏิสนธิ
กำลงั เรมิ่ ต้นก่อตวั และยังอยู่ในภาวะทอ่ี อ่ นแอ การรว่ มเพศในระยะน้ีเปน็ ส่ิงที่ควรละเว้นเสยี
เพือ่ หลีกเลี่ยงการแท้ง
ระยะที่สอง คือ หนึ่งเดือนก่อนครบกำหนดคลอดเพราะระยะนี้ปากมดลูกอ่อนตัวมาก
และมักเปิดได้บ้างเล็กน้อยในรายที่เคยมีบุตรแล้วหากมีการร่วมเพศอาจไปกระตุ้นให้เกิดการ
เจ็บครรภก์ อ่ นกำหนดจรงิ ได้ เพราะฉะนน้ั จงึ ควรงดการร่วมเพศเพื่อถนอมสขุ ภาพแมแ่ ละ
ทารกในครรภ ์

งดยาเสพตดิ

ยาเสพติดทำให้มีผลเสียทั้งร่างกายและสภาพจิตใจ เพราะจะไปกดระบบประสาทส่วน
กลางของคณุ แมแ่ ละของทารกในครรภด์ ว้ ย ถา้ คณุ แม่ตดิ ยาลูกทคี่ ลอดจะมีอาการตดิ ยาด้วย
เชน่ กนั คุณแม่ตอ้ งงดการสูบบหุ รแ่ี ละให้อยู่ไกลจากควนั บุหรีข่ องคนข้างเคยี ง เพราะบหุ รี่ซ่งึ
มีทาร์หรือน้ำมนั ดิบ นโิ คตินหรือคารบ์ อนมอนออกไซด์ ล้วนทำใหห้ ลอดเลือดตีบลง ทำให้
เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกน้อยลงกว่าปกติ การขนส่งอาหารและก๊าซลดลง ทำให้เด็กมี

24 สุขใจ ได้เป็นพอ่

พฒั นาการช้าลงโดยเฉพาะในช่วงท่สี ำคัญ คอื อายุครรภ์ 2 เดอื น อาจทำให้แท้งบตุ ร
คลอดก่อนกำหนด และทารกตายระหว่างคลอดสูงข้นึ ทางทด่ี ีมารดาหรือบคุ คลในบา้ นควร
เลิกสบู บหุ รกี่ อ่ นการตงั้ ครรภ์อย่างนอ้ ย 6 เดือน และตลอดระยะเวลาทต่ี ้งั ครรภ์

เมือ่ คุณแมม่ าคลอด

การเตรียมตวั มา...โรงพยาบาล

ใกลก้ ำหนดคลอดแล้ว...จะต้องทำอย่างไรบ้างหนอ
มาเตรยี มตวั ก่อนคลอดกันเถอะ...เจ็บครรภ์คลอด
เปน็ อย่างไร...

เจ็บครรภเ์ ตอื น

1. เมื่อใกล้กำหนดคลอด มดลูกจะมีการแข็งตัว
ระยะสั้นๆ ไม่สมำ่ เสมอ ยังไมม่ อี าการเจ็บครรภ์ แต่จะรู้สกึ แน่นๆ หนว่ งๆ มกั มอี าการ
ในตอนกลางคนื เวลาพลกิ ตวั พยงุ ตวั ลกุ ขน้ึ นง่ั แตเ่ มอ่ื นอนพกั อาการจะคอ่ ยๆ หายไป
2. ไมม่ ีมูกเลือด หรือน้ำใสๆ คลา้ ยปสั สาวะออกทางชอ่ งคลอด
3. บางรายจะมีการแข็งตัวของมดลกู และมอี าการเจบ็ ครรภ์ ซึ่งลักษณะการเจบ็ จะเจ็บ
จากหน้าทอ้ งรา้ วไปบน้ั เอวดา้ นหลัง

เจบ็ ครรภจ์ ริง

1. มดลกู จะแขง็ ตัวบ่อยคร้งั เปน็ จงั หวะสมำ่ เสมอประมาณ 10 นาที จะเจ็บอย่างนอ้ ย
1 ครั้ง และเจบ็ มากขึน้ บอ่ ยข้ึนทุก 3 - 5 นาที เจบ็ แต่ละคร้งั นาน 35 - 45 วนิ าที บางคน
จะร้าวไปทข่ี า
2. อาการเจ็บจะไม่หายไป ถงึ จะนอนหรอื นัง่ พักแล้ว กย็ งั เจ็บเป็นจงั หวะสม่ำเสมอ
3. ลักษณะการเจบ็ จะเจบ็ จากบ้ันเอวดา้ นหลงั รา้ วมาหน้าท้อง
4. อาจจะมีมูกเลือดหรือน้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะออกจากช่องคลอด เรียกว่า น้ำเดิน

สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พอ่ 25

คุณพ่อสามารถช่วยสังเกตอาการเจ็บครรภ์ของคุณแม่ได้โดยจับเวลาความถ่ีของการเจ็บ
ครรภ์ของคณุ แม่เปน็ ระยะๆ หากคุณแมม่ ีอาการเหล่านก้ี ่อนกำหนดคลอด คณุ พ่อต้องรีบพา
คณุ แม่มาโรงพยาบาลทันที
1. เลอื ดออกทางชอ่ งคลอด
2. ปวดศรี ษะ ตาพรา่ มวั จกุ แนน่ ใต้ล้นิ ปี่ บวมทข่ี า มือ และใบหนา้
3. เด็กดน้ิ น้อยลง

เตรยี มอะไรบา้ ง...

การเตรยี มความพรอ้ มของคณุ แม่
- เตรยี มร่างกายและจิตใจ ทำจิตใจให้สบายอย่าตื่นเต้น
มากเกินไป เพราะจะทำใหเ้ กิดความเครยี ดกับตัวคณุ แมไ่ ด้
- ถา้ ยังเจ็บไม่มากนกั อาจจะอาบน้ำ สระผมก่อน
- ในรายทมี่ นี ำ้ เดินควรใส่ผา้ อนามยั ไว้
- เตรียมสมุดฝากครรภ์ และบตั รประจำตวั คุณแมข่ องโรงพยาบาล บัตรสทิ ธิ และ
บตั รประชาชน ทะเบยี นบ้านท้ังของคุณแม่และคุณพ่อ
- เตรยี มของใช้ส่วนตวั เชน่ สบู่ แป้ง แปรงสีฟนั ผา้ เช็ดตวั ผนื เล็ก ผ้าอนามยั
แบบมีห่วง
*ของใชข้ องลกู ใหญ้ าตนิ ำมาภายหลงั เมอ่ื คลอดแลว้ หรอื ถา้ ไมไ่ ดน้ ำมาทางโรงพยาบาล
มีเตรยี มไว้ใหค้ ะ่
*ของมีคา่ ใหถ้ อดเกบ็ ไว้ ไม่ควรนำติดตัวมาโรงพยาบาล
การเตรยี มความพรอ้ มของคุณพ่อ..
การเตรยี มรา่ งกายและจติ ใจ
- แต่งกาย สะอาด สุภาพ
- ร่างกายมีความพรอ้ มไมเ่ จบ็ ป่วย ไมเ่ มาสรุ า
- ผา่ นการเขา้ รว่ มกจิ กรรมโรงเรยี นพอ่ แมท่ แ่ี ผนกฝากครรภแ์ ละไดเ้ ขา้ เยย่ี มชมหอ้ งคลอด

26 สขุ ใจ ไดเ้ ป็นพ่อ

จะคลอดแลว้ ทำอยา่ งไรบ้าง...

+ เจ้าหนา้ ทจี่ ะนำคุณแม่ไปยังหอ้ งรับใหม่ ซกั ประวตั ิ ตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพของ
ลูกในครรภ์
+ ทำความสะอาดอวยั วะสืบพนั ธุภ์ ายนอก (หรือตามนโยบายของแตล่ ะโรงพยาบาล)
+ ตรวจภายในเพื่อประเมนิ การคลอด
+ สวนอจุ จาระให้ เพอ่ื ไม่ใหม้ อี จุ จาระค้างอยู่ในทวารหนกั เวลาเบ่งจะไดไ้ มม่ อี จุ จาระ
ออกมาทำให้สกปรก เกิดการตดิ เช้อื ได้ (หรอื ตามนโยบายของแตล่ ะโรงพยาบาล)
+ เปล่ียนเส้ือผ้าเป็นชุดของโรงพยาบาลและนอนพกั รอเวลาคลอด

นานแค่ไหนเจา้ ตวั เลก็ จะออกมา...

ขึ้นอยู่กับการหดรัดตัวของมดลูกที่จะทำให้ปากมดลูกยืดขยายออก โดยปากมดลูกจะ
ขยายได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง รวมระยะเวลาที่ใช้ในครรภ์แรกประมาณ
8-24 ช่วั โมง (เฉล่ีย 12 ชวั่ โมง) ครรภ์หลัง 4-12 ช่วั โมง (เฉลยี่ 5 ชั่วโมง)
คุณแม่จะอยู่ในห้องคลอดตง้ั แต่ ระยะรอคลอดจนกระทั่งคลอด และหลังคลอดแลว้ 2
ช่ัวโมง ถ้าไม่มอี าการผิดปกติจงึ จะสง่ คุณแมไ่ ปห้องพักหลังคลอด หรือสง่ คุณแม่ไปห้องพเิ ศษ
ในกรณีทแ่ี จง้ ความจำนงไว้

การแจ้งเกดิ ...

เตรยี มเอกสารดังน้ี
1. สำเนาบตั รประชาชน ของคณุ แมแ่ ละคุณพอ่ อย่างละ 2 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบา้ น ของคุณแมแ่ ละคุณพ่ออย่างละ 2 ใบ และสำเนานทะเบียนบ้าน
ฉบับเจ้าบา้ น
3. หนังสือรบั รองการเกิด ในสมดุ บันทกึ สขุ ภาพแมแ่ ละเด็ก

สขุ ใจ ได้เป็นพ่อ 27

ระยะหลงั คลอด

ในระยะหลงั คลอด อวยั วะตา่ งๆ ของคณุ แม่ที่เปลย่ี นแปลงไป จากผลของการตั้งครรภ์
จะคอ่ ยๆ กลบั คืนสภาพมาเหมือนเมอื่ ยงั ไมต่ ัง้ ครรภ์ แตก่ ค็ งเปล่ียนแปลงเหมือนเดิมไมไ่ ด้
หมด เช่น ท้องลายที่เกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ภายหลังคลอดจะจางลง ทรวดทรงองค์เอวที่
เคยบอบบาง หรือคอดกิว่ ก็จะหนาขึ้น อว้ นขึ้น ส่วนมากการเปล่ียนแปลงหลงั คลอดใช้เวลา
ประมาณ 6 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่หลายคนจะมีความวิตกกังวล ฮอร์โมนที่เปลี่ยน
แปลง อาจสง่ ผลให้มีอารมณซ์ มึ เศรา้ หลังคลอดได้ คณุ พ่อจงึ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญท่ีสดุ
ที่จะคอยชว่ ยเหลือคุณแม่ในระยะหลงั คลอดไดด้ ังน้ี
1. การชว่ ยคณุ แม่อาบนำ้ ลกู คณุ พ่อควรเรียนรแู้ ละเข้ารบั การแนะนำจากเจ้าหนา้ ท่ีใน
การอาบนำ้ ลูกนอ้ ยอย่างถกู วธิ ี ซ่ึงคณุ พ่อสามารถอาบนำ้ ลกู นอ้ ยไดด้ ี เนอ่ื งจากข้อมอื ของ
คณุ พ่อแขง็ แรง อ้งุ มอื ใหญ่ และมีความมนั่ คงจึงทำให้ลูกน้อยรสู้ กึ อบอนุ่ และปลอดภัย
2. ช่วยทำงานบ้าน คุณแม่สามารถทำงานเบาๆ ได้ แตง่ านหนกั ๆ เชน่ ทำความ
สะอาดบา้ น ยกของ คุณพอ่ จะสามารถช่วยผ่อนแรงคุณแมไ่ ดเ้ ป็นอย่างดี
3. การจัดหาอาหารที่มปี ระโยชน์ คณุ แม่สามารถรับประทานอาหารไดท้ ุกอยา่ ง ยกเวน้
ของหมักดอง เคร่ืองด่มื ท่ีมคี าเฟอนี และแอลกอฮอล์ คณุ พ่อควรจดั หาอาหารท่มี ีประโยชน์
ตอ่ รา่ งกาย ใหค้ รบ 5 หมู่ เพื่อให้คณุ แม่แขง็ แรง และมนี ำ้ นมเพียงพอสำหรับลกู นอ้ ย

28 สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พอ่

4. สนบั สนนุ ใหค้ ณุ แมบ่ รหิ ารรา่ งกายหลงั คลอด การบรหิ ารรา่ งกายจะชว่ ยใหก้ ลา้ มเนอื้
หนา้ ท้องกลับคืนสภาพเดิมโดยเรว็ ปกติจะกลบั คืนสู่สภาพเดมิ ภายใน 2 สปั ดาห์
5. ส่งเสรมิ พฒั นาการของลูก คุณพ่อควรพดู คุยกบั ลูกเบาๆ ร้องเพลงหรือเล่านทิ านให้
ลูกฟัง จะชว่ ยส่งเสรมิ พฒั นาการของลูกเป็นอยา่ งดี
6. ดูแลสขุ ภาพท่วั ไปของคุณแม่
- นำ้ คาวปลา วันแรกๆ หลังคลอดคณุ แม่จะมีน้ำคาวปลา มลี ักษณะเป็นเลอื ดสด
แลว้ เปลีย่ นเปน็ เลือดเกา่ ต่อมาสจี ะจางลงเป็นน้ำคาวปลาใสๆ ถ้าเกนิ 2 สปั ดาห์น้ำคาวปลา
ยงั เปน็ สแี ดงอยู่ หรือมีกลิน่ เหมน็ ควรรบี ไปปรกึ ษาคณุ หมอ เพราะมดลูกอาจอกั เสบหรอื มี
เศษรกค้างในมดลกู ได ้ นำ้ คาวปลาควรจะลดลงและหมดไปภายใน 4-6 สปั ดาหห์ ลงั คลอด
- แผลฝีเยบ็ หรือแผลผา่ ตัดคลอด คุณแมอ่ าจมอี าการปวดบรเิ วณแผลฝเี ย็บหรอื
แผลผ่าตัดคลอด อาจจะปวดมากวันแรกๆ หลังคลอด และจะหายเป็นปกติในระยะเวลา
5-7 วัน ในชว่ งนี้คณุ พ่อควรชว่ ยเหลือคุณแม่ในเรื่องตา่ งๆ และพยายามให้คณุ แมพ่ กั ผ่อน
มากๆ ในกรณผี า่ ตดั คลอดคุณพ่ออาจช่วยเชด็ ตัวคุณแม่ และระวังไม่ให้แผลผา่ ตัดเปยี กน้ำ
เปน็ ระยะเวลา 7 วนั เพือ่ ชว่ ยปอ้ งกนั การติดเชอื้ และแผลแหง้ เร็วย่งิ ขึน้ หลงั จากตัดไหม
2 วนั จงึ อาบนำ้ ตามปกติ และไมค่ วรแกะสะเก็ดแผลออก
- การขบั ถ่าย ในระยะแรกหลงั คลอด คุณแมอ่ าจถา่ ยปสั สาวะลำบากรวมท้งั อาจ
ไม่ถ่ายอุจจาระเนื่องจากไม่กล้าเบ่งถ่าย คุณพ่อควรช่วยดูแลและจัดหาอาหารที่มีกากเพื่อ
ปอ้ งกนั อาการทอ้ งผูก แตโ่ ดยท่ัวไปหลังคลอด ระบบทางเดนิ อาหารจะกลบั สสู่ ภาพปกติใน
ไม่ช้า

สุขใจ ได้เปน็ พอ่ 29

7. ควรงดมีเพศสมั พันธจ์ นกวา่ จะได้รับการตรวจหลงั คลอด 4-6 สปั ดาห์ เพื่อความ
ปลอดภัยของมารดาหลังคลอด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรณีจะมีเพศสัมพันธ์ต้องใส่ถุงยาง
อนามยั ทกุ คร้ัง ผลเสียของการมีเพศสัมพันธเ์ รว็ เกินไป คอื แผลฝีเย็บฉีกขาด เสี่ยงตอ่ การ
ตดิ เชอื้ ภายในโพรงมดลกู และอาจเกิดการตัง้ ครรภ์ได้
8. การตรวจหลังคลอด คุณพ่อควรพาคุณแม่ไปตรวจหลังคลอดตามนัด เพื่อตรวจดู
การคืนสู่สภาพของมดลกู และอวยั วะในอุ้งเชิงกราน คณุ แม่จะได้รบั การตรวจหามะเร็งปาก
มดลกู ตลอดจนการตรวจหาความผดิ ปกติที่อาจเกิดขึ้น
9. การวางแผนครอบครัว คุณพ่อควรจะมีส่วนร่วมในการรับคำปรึกษาในการวางแผน
ครอบครัวพร้อมกับคณุ แม่ และตัดสนิ ใจเลือกวธิ ีคุมกำเนิดรว่ มกัน ซึง่ การคมุ กำเนดิ มีวิธีทั้ง
แบบชั่วคราวและถาวร โดยสามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหนา้ ที่ในสถานบริการสาธารณสขุ

10. สนบั สนุนและชว่ ยใหค้ ุณแมเ่ ลยี้ งลูกด้วยนมแม่
บนั ได 10 ขั้นทคี่ ุณพ่อควรทำเพือ่ ชว่ ยคณุ แม่ในการเล้ยี งลูกด้วยนมแม่
1. ใหก้ ำลังใจคุณแมข่ ณะให้นมลกู เพ่ือใหค้ ุณแมม่ คี วามมนั่ ใจและอบอนุ่
2. ใหล้ ูกไดอ้ ยูก๋ บั คณุ แมม่ ากท่ีสุด คณุ พอ่ ต้องยอมรบั วา่ ในระยะน้ี เวลาท่คี ุณแมจ่ ะ
มีใหค้ ณุ พอ่ น้อยลง
3. มีสว่ นรว่ มในการใหน้ มลกู ขณะคุณแม่กำลงั ใหล้ กู ดูดนม คณุ พ่อควรหาโอกาส
อยู่ร่วมดว้ ย พดู คุย ใหก้ ำลงั ใจ สมั ผสั ช่วยประคับประคองลกู ซ่ึงจะทำใหค้ วาม

30 สขุ ใจ ได้เป็นพอ่

ผกู พันพอ่ แมล่ ูกแน่นแฟน้ ขึน้
4. มีความอดทนและเข้าใจ บ้านอาจจะไม่เรียบร้อย อาหารอาจจะไม่อร่อย
เน่อื งจากคุณแม่ใหเ้ วลาส่วนใหญ่แก่ลูกมากกว่า
5. ช่วยทำงานบา้ น จา่ ยตลาด จัดอาหารและเครอื่ งดืม่ เช่น น้ำ นม ให้คณุ แม่
ขณะที่ใหล้ กู ดดู นม ช่วยเปล่ียนผา้ อ้อม ชว่ ยอาบน้ำแต่งตัวใหล้ กู
6. ทำใจให้สงบเยอื กเยน็ ถ้าขณะนนั้ คณุ แมเ่ ครียด
เหนอื่ ย หงดุ หงิดให้คณุ พ่อชว่ ยนวดคุณแมเ่ บาๆ บริเวณ คอ
ไหล่ และหลังขณะกำลังให้นมลูก หรอื เม่ือคณุ แม่รู้สกึ เครยี ด
ทำให้มีน้ำนมไหลมากขึน้
7. ชว่ ยอมุ้ ลูกในท่าตา่ งๆ ภายหลังดูดนม เช่นการอุ้มเรอ หรือการปลอบลกู
8. แสดงความรักแกแ่ ม่อย่างต่อเนื่อง อยา่ งท่เี คยทำ
9. ตอบสนองความต้องการทางจิตใจของคุณแม่ ตลอดระยะของการเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่
10. ห้ามซื้อขวดนม หวั นมปลอม หรอื นมผสมเขา้ บา้ นเด็ดขาด
11. การให้ภมู คิ ุ้มกันโรคแก่ลูกนอ้ ย คณุ พอ่ ควรพาลกู มารบั วัคซีนตามนัด ท่ีโรงพยาบาล
หรือสถานอี นามัยกำหนด

สขุ ใจ ไดเ้ ปน็ พอ่ 31

บรรณานุกรม… สขุ ใจ ท่ีไดเ้ ป็นพอ่

ปณวตั ร นิมมานเหมนิ ทร,์ ที่รกั ...คุณจะได้เป็นคณุ แม่มือใหม่แล้ว,
พมิ พค์ รงั้ ท่ี 2, สำนักพิมพด์ ดี ี : กรุงเทพฯ.
เอกสารประกอบการสอนผู้รับบรกิ าร, คณุ พ่อ คอื คนสำคัญ,
ศนู ย์อนามัยท่ี 1, กรุงเทพฯ ; 2546
สุรน ี จิวรยิ เวชช,์ เพศศกึ ษา : เร่ืองนา่ ร้,ู พิมพค์ รั้งท่ี 1,
บริษทั สำนักพิมพ์ปาเจรา จำกดั , กรุงเทพฯ : 2550
ฐานวดี ปัญญานิธ์ิ, คูม่ อื ารตงั้ ครรภ์ Pregrant Home Book, พมิ พค์ รัง้ ที่ 7,
สำนักพมิ พ์ คำแก้ว, กรงุ เทพฯ.

ท­­ีป่ รึกษา

นายแพทย์กติ ติพงศ์ แซ่เจง็ กองอนามัยการเจริญพนั ธ์ุ
แพทยห์ ญงิ สวุ นติ ย์ สรา้ งศรีวงศ์ กองอนามัยการเจริญพนั ธุ์
นายสธุ น ปญั ญาดิลก กองอนามยั การเจรญิ พันธ์ุ
นายแพทยท์ วที รัพย์ ศิรประภาศิริ กองทุนประชากรแหง่ สหประชาชาติ

คณะผจู้ ัดทำ

นางเรณู ชูนิล กองอนามัยการเจรญิ พนั ธุ์
นางสุกนั ยา ทองธำรง กองทุนประชากรแหง่ สหประชาชาติ
น.ส.พัชรา โกศินานนท ์ สำนกั งานความรว่ มมือเพือ่ การพฒั นาระหวา่ งประเทศ
นางต้องจติ ต์ กาญจโนมัย ศนู ย์อนามัยท่ี 1 กรงุ เทพฯ
นางบญุ ปลกู สทุ ธผิ ล ศนู ย์อนามัยที่ 4 ราชบรุ ี
นางผอ่ งศรี แสนไชยสรุ ิยา ศนู ย์อนามยั ท่ี 6 ขอนแกน่
นางกญั ญนัท สีสันต ์ ศนู ยอ์ นามยั ที่ 7 อุบลราชธานี
น.ส.รชั นี ปวตุ ตานนท ์ ศนู ย์อนามยั ท่ี 8 นครสวรรค์
นางศศิชล หงสไ์ ทย ศูนยอ์ นามัยท่ี 8 นครสวรรค์
น.ส.เมทินี สทุ ธิพันธ ์ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชยี งใหม่
นายเกรยี งศักด์ิ พงษ์พันธุ์ ทันตแพทย์ 8 หวั หนา้ กลมุ่ งานทันตกรรม โรงพยาบาล ลำปาง
นางแคทริยา สนิ พาณี ทันตแพทย์ 7 โรงพยาบาล ลำปาง
นางวรรณา ปันทะเลศิ เจา้ พนกั งานทนั ตสาธารณสุข 6 โรงพยาบาล ลำปาง



“ จะดีเพียงไร ถา้ ผชู้ ายจะคอยปกปอ้ ง
หว่ งใย ในยามท่ีผ้หู ญิงคนหน่ึงหวนั่ ไหว ว้าวนุ่
หัวใจของฉนั หัวใจของคุณ รักของเรา
และอีกชวี ติ ท่เี กดิ ขึ้นจากเลอื ดเนอื้
และจติ วิญญาณของเรา
ทร่ี กั ...นคี่ ือความผูกพนั
ท่เี ราจะครองคู่ อยู่ร่วมกันตลอดไป ”


Click to View FlipBook Version