อ ารยธรร ม
โรมัน
(Roman)
ความเป็นมาของ
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้
ของทวีปยุโรปโดยมีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขา ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ทางทิศเหนือ ซึ่ง
กั้นคาบสมุทรอิตาลีออกจากดินแดนส่วนอื่นของทวีปยุโรป และเทือกเขาอเพนไนน์
ซึ่งเป็นแกนกลางของคาบสมุทร ส่วนบริเวณที่ราบมีน้อย ที่ราบที่สำคัญ เช่น
ที่ราบชายฝั่งทะเลติร์เรเนียน (Tyrenian Sea)ที่ราบลุ่มไทเบอร์ ซึ่งอยู่ทางเหนือ
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรเป็นที่ราบเล็กๆจึง
ทำให้กระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆพื้นที่
เกษตรจึงมีไม่มากนัก และมีประชากรเพิ่มมากขึ้นบริเวณดังกล่าวจึงไม่สามารถ
รองรับการกสิกรรมที่ขยายตัวได้ จึงเป็นสาเหตุให้ชาวโรมันขยายดินแดนไปยัง
ดินแดนอื่นๆ
ที่ตั้งของ
อารยธรรมโรมัน
แผนที่กายภาพแสดงที่ตั้งของอารยธรรมโรมัน
อิทธิพลที่ส่งต่อมาสู่การ
ก่อกำเนิดอารยธรรม
โรมก่อตัวจากหมู่บ้านทางภาคกลางของอิตาลี อุปนิสัยของโรมันคือ
ความเคร่งขรึมและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ความสามารถทาง
ทหารของโรมันอยู่ที่ความอดทนมากกว่ายุทธวิธีที่ฉลาดปราดเปรื่อง
ระยะแรกสำหรับประวัติศาสตร์โรมนั้นค่อนข้างมืดมน ราว 750 ปีก่อน ค.ศ. มีผู้
อพยพมาตั้ง ถิ่นฐานแถบภูเขาพาเลนไตน์ใกล้แม่น้ำไทเบอร์ ต่อมาประมาณ 600 ปี
ก่อน ค.ศ. บรรดาผู้อพยพต่างรวมตัวกันตั้งนครรัฐแห่งโรมขึ้น ทำเลของนครรัฐ
ตั้งอยู่ในที่ซึ่งเหมาะสม เหมาะสำหรับความเจริญของโรมในอนาคตทางเหนือของ
โรมติดต่อกัยดินแกนที่เรียกว่า อีทรูเรีย คือ ทัสคานีปัจจุบัน อีทรูเนียเป็นที่อยู่
อาศัยของพวกที่มีอารยธรรมสูงเรียกว่า อีทรัสกัน ซึ่งเป็นพวกที่วางรูป
วัฒนธรรมของชาวโรมันแต่เริ่มแรก
เผ่าพันธุ์ที่มีอำนาจเหนือดินแดน ชาวอีทรัสกันเป็นพวกที่รับอารยธรรมกรีกมา
ผสมผสานกับอารยธรรมของตนและส่งต่อให้กับโรม การปกครองของโรมในระยะ
แรกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่มีพื้นเพเป็นอิทรัสกัน ความเป็นผู้นำที่มี
ความสามารถและมุ่งต่อการรุกราน ทำให้ชาวโรมันเป็นชาติที่ทรงอำนาจเหนือ
ชนชาติอื่น ๆ ในละตินอุมชุมชนโรมันเจริญทั้งกำลังและความมั่งคั่ง และแล้วก็ได้มี
การสร้างวิหารใหญ่โตตามแบบสถาปัตยกรรมของอีทรัสคันขึ้นบนภูเขาแห่งหนึ่ง
สำหรับเทพเจ้าจูปีเตอร์ของชาวโรมัน
ในราว 509 ก่อน ค.ศ. ขุนนางโรมันประสบความสำเร็จในการล้มกษัตริย์อีทรัสกัน
และเปลี่ยนแปลงระบอบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐปกครองโดยชนชั้นขุนนาง มี
ประมุข 2 คน แทนที่กษัตริย์เรียกว่ากงสุลสภาขุนนาง (สภาเชเนท) เลือกตั้งกงสุล
เป็นประจำทุกปี กงสุลปกครองโดยมีสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาการปกครองนั้น แม้
จะปกครองในนามชาวโรมันแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนชั้นสูง คือ แพทริเชียน
ส่วนชนชั้นต่ำหรือเพลเบียนนั้น เกือบไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย การแต่งงาน
ระหว่าง เพลเบียนกับแพทริเชียนยังเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในระยะแรก ๆ
วิหารแพนธีออน (Pantheon) เป็นวิหารรูปทรงจัตุรัสที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโรม
ประเทศอิตาลี มีอายุมากกว่า 2,000 ปี
พวกเพลเบียนค่อย ๆ ยกฐานะของตน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง ในชั้น
แรกพวกนี้รวมกลุ่มกันจัดตั้งสภาที่ปรึกษา ซึ่งต่อมากลายเป็นองค์กรสำคัญ
ทางการเมืองที่เรียกว่าสภาของเผ่า พวกเพลเบียนเลือกตัวแทนของตนเรียกว่า
ทรีบูน ให้เป็นปากเสียงและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของตนในรัฐบาลซึ่งคุมโดย
แพทริเชียน ทรีบูนเป็นพวกที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
เมื่อประมาณ 450 ก่อน ค.ศ. ได้มีการนำกฎหมายที่สืบทอดกันมาตามประเพณี
มาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ กฎหมายนี้ช่วยพิทักษ์
บรรดาเพลเบียนให้พ้นจากอำนาจตามอำเภอใจของกงสุลที่มาจากชนชั้นแพทริ
เชียน กฎหมายสิบสองโต๊ะนี้นับว่ามีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางกฎหมาย
รัฐธรรมนูญของโรมัน
ชนชั้นทางสังคมในกรุงโรมโบราณ
การพิทักษ์ทางกฎหมาย ทำให้เพลเบียนสามารถจัดการกับเรื่องการจัดสรร
ที่ดินให้พวกตนได้รับการแบ่งปันบ้าง สภาของเป่าของพวกเพลเบียนได้รับ
อำนาจในการริเริ่มร่างกฎหมายและมีบทบาทในการปกครองโรมัน ช่วงนี้การ
แต่งงานกลายเป็นสิ่งไม่ต้องห้าม ต่อมามีกฎหมายที่รองรับให้เพลเบียนมี
บทบาทในการปกครองมากขึ้น มาตรการเหล่านี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโรม
ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำเร็จบริบูรณ์ในปี 287 ก่อน ค.ศ.
การแผ่อำนาจของโรมนั้น มีทั้งการเป็นพันธมิตรและการทำสงครามกับพวก
ที่เป็นศัตรู อาณาจักรของโรมขยายตัวไปเรื่อย ๆ แต่ชาวโรมันมักจะใจกว้าง
ต่อบรรดาชาติอิตาลีที่ตนเข้าปกครอง โดยยอมให้มีการปกครองตนเองมาก
พอสมควร จึงมักประสบความสำเร็จในการรักษาความสวามิภักดิ์ไว้ได้ ใน
เวลาต่อมาเมื่อพิสูจน์ว่าคนในปกครองจงรักภักดีก็จะยอมให้เป็นพลเมือง
โรมัน ด้วยวิธีการนี้โรมจึงสามารถสร้างจักรวรรดิที่มีอายุยืนยาวกว่า
จักรวรรดิเอเธนส์ของเพริเคลส เมื่อประมาณ 265 ก่อน ค.ศ. โรมอยู่ในฐานะที่
ทัดเทียมกับคาร์เธจและนครรัฐทายาทของกรีก คือ เป็นหนึ่งในมหาอำนาจ
ของทะเล เมดิเตอเรเนียน
หนังสือกฏหมายของโรมัน
อารยธรรมโรมัน
ขยายอาณาเขต
จนกลายเป็น
จักรวรรดิโรมัน
อันยิ่งใหญ่
แบ่งได้ 3 สมัยหลักๆ
ดังนี้
สมัยแรกเริ่ม
สมัยสาธารณรัฐ
สมัยจักรวรรดิ
สมัยเเรกเริ่ม
(753-509 B.C.)
สัญลักษณ์ของกรุงโรม
กรุงโรมเป็นศูนย์กลาง ระยะเเรก มีกษัตริย์
(753-509 B.C.) (753-509 B.C.)
ระยะเเรก โรมมีการปกครองระบอบกษัตริย์
ตามตำบลเล่าว่า กรุงโรม จนเมื่อ 509 B.C. พวกชนชั้นสูงซึ่งเป็น
สร้างขึ้นเมื่อ 753 B.C. โดย ชาวละตินได้ขับไล่กษัตริย์อีทรัสกันออกจาก
โรมุลุส Romulus คนพี่ซึ่งฆ่า บัลลังก์
น้องชายตาย เเละเปลี่ยนการปกครองโรมเป็นสาธารณรัฐ
เเต่จากหลักฐานพบว่า ชุมชน
รอบๆ กรุงโรม เคยมีชนพื้น
เมืองอาศัยอยู่ก่อน คือ
ชาวละติน Latin
ต่อมาชนเผ่า
อีทรัสกัน Etruscan เข้ามา
ครอบครองเเละยอมรับ
อารยธรรมกรีก มาใช้
การเมืองปลายสมัย
สมัยสาธารณรัฐ เกิดการเมืองเเบบ
(509-27 B.C.) Triumvirate คือ มีผู้มี
อำนาจ 3 คน
จูเลียส ซีซาร์ สามารถกำจัดคู่
เเข่งทางการเมืองอีก 2 คน
เเละประกาศตัวเองเป็น
ผู้เผด็จการ/ผู้ทีอำนาจสูงสุด
ชนชั้นในสังคม ในกรุงโรม
44 B.C. จูเลียส ซีซาร์ โดน
สมัยที่โรมันเป็นสาธารณรัฐ เกิดความขัดเเย้ง ลอบสังหารในสภา
ทางการเมืองระหว่าง กลุ่มคน 2 ชนชั้นคือ บุตรบุญธรรมของ
พาทรีเซียน Patrican คือ พวกชนชั้นสูง จูเลียส ซีซาร์ ชื่อ ออคตา
พลีเบียน Plebeian คือ ราษฎรสามัญชน เวียน สามารถขึ้นมีอำนาจเบ็ด
พวก พลีเบียนนั้นไม่มีสิทธิในทางการเมืองเเละ เสร็จเเละสถาปนาตนเองขึ้น
สังคมก็พยายามที่จะมีส่วนร่วมในทางการ เป็น จักรพรรดิองค์เเรกใน
เมืองจึงขอให้พลีเบียนเข้าไปอยู่ในสภาซีเนท สมัยจักรวรรดิโรมัน
กฏหมาย
กฏหมาย : ปี 450 B.C. มีการออกกฏหมาย ก็คือ กฏหมายสิบสองโต๊ะ
ทำให้ทุกชนชั้นอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน
สงคราม : กองทัพโรมันได้รับชัยชนะในสงครามพิวนิกกับพวกคาร์เทจ
ส่งผลให้ โรมันขยายอำนาจครอบครองดินแดนต่างๆและผูกขาด
อำนาจในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกลายเป็น รัฐที่มั่งคั่งเเละมีอำนาจ
สมัยจักรวรรดิ
(27B.C.-476C.E.)
ระหว่างปี 133-30 B.C. เป็นช่วงที่เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างชนชั้นปกครอง
กับผู้นำทหาร
ปี 31 B.C.>>ออคตาเวียนบุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซาร์ อดีตแม่ทัพผู้คุม
อำนาจสูงสุดของโรมได้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองและได้กลายเป็นผู้มีอำนาจ
สูงสุดในโรมทำให้สภาโรมันได้ยกให้เป็น
จักรพรรดิองค์แรกของจักรพรรดิโรมันนามว่าออกัสตัสโรมันเจริญสูงสุดมีดิน
แดนกว้างใหญ่ครอบครองพื้นที่บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด
ปี 69-180 C.E.>> เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองและสันติภาพเรียกว่าสมัย
สันติภาพแห่งโรมันปกครองโดย 5 จักรพรรดิที่ดีพลเมืองโรมันพูดภาษาเดียวกัน
คือภาษาละตินซึ่งมีอิทธิพลต่อหลายภาษาของยุโรปในสมัยต่อมา
ปี 312 C.E.>> จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงยอมรับศาสนาประจำจักรพรรดิ
โรมันเป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิมีการสร้างกรุงดอนสแตนติโนเปิล
(ปัจจุบันคือเมืองอีสตันพลู)เป็นเมืองหลวงทางตะวันออกต่อมาถูกเรียกว่า
จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์
ปี 476 C.E.>> กรุงโรมถูกพวกชนเผ่าพวกกอทเข้ายึดครองถือเป็นการสิ้นสุด
ของจักรวรรดิโรมันตะวันตกและสมัยโบราณ
ปี 1453 C.E.>> กรุงดอนสแตนตินโนเปิลถูกพวกเติร์กเข้ายึดครองแล้วรวมเป็น
ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน
เหตุการสำคัญของ
อารยธรรมโรมัน
สมัยจักรวรรดิโรมัน
สปาร์ตาคัสก่อจลาจล
ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ
ฮันนิบาลรุกราน (สงครามพิวนิก)
เด็กจักรวรรดิเป็นโรมันตะวันตกเเละโรมันตะวันออก
สมัยสาธารณรัฐโรมัน
สร้างโคลอสเซียม
พวกวิซิกอธเข้ายึดครองกรุงโรม
ก่อตั้งกรุงโรม
จูเลียส ซีซาร์โดนลอบฆ่า
พวกเติร์กเข้ายึดครองกรุงคอนสเเตนติโนเบิล
โรมันตะวันตก
และ
โรมันตะวันออก
โรมันตะวันตก
หลังจากที่แยกตัวออกมาไม่นาน โรมันตะวันตกก็ประสบวิกฤตเรื่อง
ความอดอยากหิวโหยและกาฬโรค ส่งผลให้ประชากรหายไปเป็น
จำนวนครึ่งหนึ่ง และการค้าขายสภาพเศรษฐกิจก็หยุดทันที ซึ่งคน
ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อของ ‘ยุคมืด’ และในปีค.ศ. 476 โอโดเซอร์
แม่ทัพชาวอนารยชนได้ปลดจักรพรรดิโรมิวลุส ออกัสตุส จักรพรรดิ
คนสุดท้ายของโรมันตะวันตกออกจากบัลลังค์
สาเหตุให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย
การแก่งแย่งชิงดีในราชสำนัก ฆ่ากันจนชาวบ้านไม่พอใจ
สงครามกลางเมือง เป็นเหตุการ์ที่สร้างคงามเสียหายให้กับโรม
เป็นอย่างมาก
การรุกรานจากเผ่าต่างๆ
การแบ่งอาณาจักร เนื่องจากโรมใหญ่เกินไป ดูแลไม่ทั่วถึง พอแบ่ง
แล้วส่วนไหนมีปัญหาก็อยู่ไม่รอด
สภาพบ้านเมือง ไม่ใช่เส้นทางค้าขาย และมีสิทธิ์ถูกรุกรานได้ง่าย
การอพยพของพวกเยอรมันที่หนีชาวฮั่นเข้ามา รวมถึงเผ่าวิซิกอธที่
เข้ามารุกรานภายหลัง
จักรพรรดิโรมิวลุส ออกัสตตุส จักรพรรดิคนสุดท้ายถูกสังหาร
โรมันตะวันออก
หลังจากที่แยกตัวออกมาก็ถูกเรียกว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์
ปกครองโดยจักรพรรดิคอนแสตนติน ซึ่งการเติบโตของอาณาจักร
แตกต่างกับโรมันตะวันตกโดยสิ้นเชิง เพราะมีแต่ความเจริญรุ่งเรื่อง
มีทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจ ผู้คนร่ำรวย อายรธรรมเฟื่องฟู และในปี
1453 ไบแซนไทน์ก็ถูกชาวเติร์กโจมตีและยึดเมือง ปิดฉากจักรวรรดิ
ไบแซนไทน์
มีสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดในจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้น คือ วิหาร
เซนต์โซเฟีย ที่ตกแต่งด้วยหินอ่อนและประดับภาพโมเสกสีทองที่ใต้
โดมและตามแนวกำแพงติดหน้าต่างกว้างให้แสงเข้าสู่ภายในวิหาร
และสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของไบแซนไทน์จะตกแต่งด้วยโมเสก
หลายสีสัน ซึ่งศิลปินได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะเกรโก สมัยที่
จักรวรรดิโรมันรุ่งเรือง เทคนิคการทำโมเสกคือ นำก้อนหินเล็กๆ จุ่ม
ลงในปูนปลาสเตอร์เปียกแล้วนำไปวางบนผ้าแล้วติดกาว
ศิลปะวัฒนธรรมของ
อารยธรรมโรมัน
มรดกของอารยธรรมโรมัน
ความโดดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจากรากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก
อารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผสานกับ
ความเจริญก้าวหน้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นสร้างระบบ
ต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้
ด้านการปกครอง
อารยธรรมด้านการปกครองเป็นภูมิปัญญาของชาวโรมันที่ได้พัฒนาระบอบการ
ปกครองของตนขึ้นเป็นระบอบสาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้
กับจักรวรรดิโรมัน จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้พลเมืองมีส่วนร่วมใน
การบริหารราชการส่วนกลาง และการปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย
การปกครองส่วนกลาง พลเมืองโรมันแต่ล่ะกลุ่ม ทั้งชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร
ต่างมีโอกาสเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ สภาซีเนท
(Senate) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มแพทริเซียน (Patricians) หรือชนชั้นสูง สภากอง
ร้อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มทหารเหล่าต่างๆ และ
ราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกพลีเบียน (Ple-beians)
หรือสามัญชนเผ่าต่างๆ รวม 35 เผ่า แต่ละสภามีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกัน รวมทั้ง
การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ไปบริหารงานส่วนต่างๆ แต่โดยรวมแล้วสภาซีเนตมีอำนาจ
สูงสุด เพราะได้ควบคุมการปกครองทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอด
จนกำหนดนโยบายต่างประเทศด้วย
กฎหมายโรมัน โรมันมีกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรกกฎหมายไม่ได้
เขียนเป็นลายลักษณ์ การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามวินิจฉัยของผู้พิพากษาซึ่ง
เป็นกลุ่มชนชั้นสูง ดังนั้นพวกสามัญชนจึงเรียกร้องให้เขียนกฎหมายเป็นลาย
ลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้แกะสลักบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่นเรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(Twelve Tables) ความโดดเด่นของกฎหมายโรมันคือ ความทันสมัย เพราะมีการ
ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบ
จักรวรรดิและสภาพแวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้
ตุลาการชาวโรมันยังมีส่วนทำให้เกิดการยอมรับหลักการพื้นฐานของกฎหมายว่า
ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการ
ยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่างปฏิบัติต่อมาถึงปัจจุบันคือ ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาทุก
คนเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีการกระทำความผิด
กฎหมายโรมันเป็นมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของหลัก
กฎหมายของประเทศต่างๆในทวีปยุโรป และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกฎและข้อ
บังคับของศาสนาคริสต์
ด้านเศรษฐกิจ
จักรวรรดิโรมันมีนโยบายส่งเสริมการผลิตทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
รวมทั้งการค้ากับดินแดนภายในและภายนอกจักรวรรดิ
ด้านเกษตรกรรม
เดิมชาวโรมันในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก และพึ่งพิงการ
ผลิตภายในดินแดนของตน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันขยายอำนาจออกไป
ครอบครองดินแดนอื่นๆ การเพาะปลูกพืชและข้าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง
เนื่องจากรัฐส่งเสริมให้ดินแดนอื่นๆ นอกแหลมอิตาลีปลูกข้าว โดยวิธีการ
ปฏิรูปที่ดิน ดินแดนที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นกอล (Gaull) เขต
ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และตอนเหนือของแอฟริกา ส่วนพื้นที่การเกษตรใน
แหลมอิตาลีส่วนใหญ่เปลี่ยนไปทำไร่องุ่นและเลี้ยงสัตว์
ด้านการค้า
การค้าในจักรวรรดิโรมันรุ่งเรืองมาก มีทั้งการค้ากับดินแดนภายในและนอก
จักรวรรดิ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ ขนาดของดินแดนที่
กว้างใหญ่และจำนวนประชากร ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้า
ต่างๆได้มาก นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีการค้าก็อยู่ในอัตราต่ำและยังมีการใช้
เงินสกุลเดียวกันทั่วจักรวรรดิ ประกอบกับภายในจักรวรรดิโรมันมีระบบ
คมนาคมขนส่งทางบก คือ ถนนและสะพานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับดินแดนต่างๆ ได้
สะดวก ทำให้การติดต่อค้าขายสะดวกรวดเร็ว การค้ากับดินแดนนอกจักรวรรดิ
โรมันที่สำคัญได้แก่ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะการค้ากับอินเดียซึ่งส่งสินค้าประเภท
เครื่องเทศ ผ้าฝ้าย และสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ สำหรับชนชั้นสูงเข้ามาจำหน่าย
โดยมีกรุงโรมและนครอะเล็กซานเดรียในอียิปต์เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
ด้านอุตสาหกรรม
ความรุ่งเรืองทางการค้าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ได้แก่ แหลมอิตาลี สเปน และแคว้นกอล ซึ่งผลิตสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผา
และสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขตจักรวรรดิโรมันส่วนใหญ่เป็น
อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก
ด้านสังคม
จักรวรรดิโรมันมีความเจริญด้านสังคมมาก ที่สำคัญได้แก่ ภาษา การศึกษา
วรรณกรรม การก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม วิทยาการต่างๆ และวิถีดำรงชีวิต
ของชาวโรมัน
ด้านภาษาละติน
ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสคันนำมา
ใช้ในแหลมอิตาลี ภาษาละตินมีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัย
ของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกาย
โรมันคาทอลิกมาจนถึงศตวรรษ 1960 นอกจากนี้ภาษาละตินยังเป็นภาษา
กฎหมายของประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้อยปีและเป็นรากของภาษาใน
ยุโรป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย ภาษาละตินยัง
ถูกนำไปใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้วย
ด้านการศึกษา
โรมันส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนของตนทั่วจักรวรรดิในระดับประถมและ
มัธยม โดยรัฐจัดให้เยาวชนทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 7 ปี เข้าศึกษาในโรงเรียน
ประถมโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ส่วนการศึกษาระดับมัธยมเริ่มเมื่ออายุ 13
ปี วิชาที่เยาวชนโรมันต้องศึกษาในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ภาษาละติน เลขคณิต
และดนตรี ผู้ที่ต้องการศึกษาวิทยาการเฉพาะด้าน ต้องเดินทางไปศึกษา
ตามเมืองที่เปิดสอนวิชานั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น กรุงเอเธนส์สอนวิชาปรัชญา
นครอะเล็กซานเดรียสอนวิชาการแพทย์ ส่วนกรุงโรมเปิดสอนวิชากฎหมาย
คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
ด้านการเเพทย์
แพทย์โรมันสามารถผ่าตัดรักษาโรคได้หลายโรค โดนเฉพาะการผ่าตัด
ทำคลอดทารกทางหน้าท้องของมารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์
(Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาล ระบบ
บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
ด้านการก่อสร้างเเละสถาปัตยกรรม
ผลงานด้านการก่อสร้างเป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน โรมันเรียนรู้พื้นฐาน
และเทคนิคการก่อสร้าง การวางผังเมืองและระบบระบายน้ำจากกรีกจากนั้น
ได้พัฒนาระบบก่อสร้างของตนเอง ชาวโรมันได้สร้างผลงานไว้เป็นจำนวนมาก
เช่น ถนน สะพาน ท่อส่งน้ำประปา อัฒจันทร์ครึ่งวงกลม สนามกีฬา ฯลฯ อนึ่ง
ในสมัยนี้มีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างอย่างแพร่หลาย นอกจากผลงาน
ด้านการก่อสร้างแล้ว โรมันยังมีผลงานด้านสถาปัตยกรรมซึ่งได้รับยกย่องว่า
เป็นศิลปกรรมที่งดงามจำนวนมาก เช่น พระราชวัง วิหาร โรงละครสร้างเป็น
อัฒจันทร์ครึ่งวงกลม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรมันจะรับสถาปัตยกรรมกรีก
เป็นต้นแบบงานสถาปัตยกรรมของตน แต่ชาวโรมันก็ได้พัฒนารูปแบบที่เป็น
เอกลักษณ์ของตนด้วย เช่น ประตู วงโค้ง และหลังคาแบบโดม
ด้านประติมากรรม
สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ และมีสัดส่วนงดงาม
เหมือนกรีก แต่โรมันจะเน้นพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนบุคคลสำคัญๆ
เช่น จักรพรรดิ นักการเมือง โดยเฉพาะในครึ่งท่อนบนจะสามารถแกะสลักได้อย่าง
สมบูรณ์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวา ชาวโรมันเชื่อว่าการแกะสลักรูปเหมือน
จริงที่สุดจะช่วยรักษาวิญญาณของคนนั้นเมื่อตายไปแล้วไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีการ
แกะสลักภาพนูนต่ำ เพื่อบันทึกเรื่องรามทางประวัติศาสตร์และสดุดีวีรกรรมของ
นักรบ
ด้านวรรณกรรม
วรรณกรรมระยะแรกเป็นบันทึกพงศาวดาร กฎหมาย ตำราการทหาร และ
การเกษตร ต่อมามีการแต่งงานประพันธ์เป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง อิเนียด
ประพันธ์โดยเวอร์จิล งานประพันธ์ของซิเซโร เป็นต้น
การเเต่งกาย
พาทรีเซียน Patrican คือ พวกชนชั้นสูง
พลีเบียน Plebeian คือ ราษฎรสามัญชน
การห่มผ้าผืนใหญ่ (Toga) ของจักรพรรดิหรือแม่ทัพ
ผู้เกรียงไกรในอาณาจักรโรมันโบราณ
จูเลียส ซีซาร์ ออกัสตัส ซีซาร์
ฮันนิบาล เเม่ทัพคาร์เทจ จักรพรรดิคอนสแตนติน
กรุงโรม อิตาลี กรุงคอนสแตนติโนเปิล ตุรกี
สงครามพิวนิก สะพานส่งน้ำ
สปาร์ตาคัส จักรพรรดิจัสติเนียน
อารยธรรมโรมัน Roman
จัดทำโดย
นางสาว กัญญารัตน์ สุขเจริญ
เลขที่ 15 ม.5/2
เสนอ
คุณครู กันยาพร โคจรตระกูล