The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรลูกเสือ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by scoutrb12, 2024-01-28 21:58:00

หลักสูตรลูกเสือ

หลักสูตรลูกเสือ

หลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือ และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา จัดทำโดย สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 สำนักงานลูกเสือจังหวัดราชบุรี


บทนำ 1. ประวัติและความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครอง ลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” จึงทำให้กิจการลูกเสือในประเทศไทย ยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชา ลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการ ปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับ ลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือ แห่งชาติให้หมายถึงลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย 1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 7 – 9 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do your best) 2. ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 10 - 12 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be prepared) 3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 13 – 15 ปี คติพจน์: มองไกล (Look wide) 4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ 16 - 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service) สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 และสำนักงานลูกเสือจังหวัดราชบุรี จึงได้จัดทำหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือและขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาขึ้น เพื่อให้รู้ถึงกิจกรรม ลูกเสือในสถานศึกษา การจัดตั้งกลุ่ม กองลูกเสือและแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ร่วมถึงการจัดเก็บเงินค่าบำรุง ลูกเสือ เพื่อประโยชน์ต่อกิจกรรมลูกเสือและการบริหารกิจการลูกเสือในสถานศึกษา 2. จุดประสงค์ 1. เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดตั้งกลุ่ม กองลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้อย่างถูกต้องและ ครบถ้วนองค์ประกอบ 2. เพื่อให้ผู้กำกับลูกเสือมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ หลักการและวิธีการของลูกเสือ 3. เพื่อให้ผู้กำกับลูกเสือนำไปฝึกอบรมบ่มนิสัยลูกเสือให้เป็นพลเมืองที่ดี รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ


3. รูปแบบการอบรม การอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้จากเนื้อหาที่กำหนดให้ครบ ทุกรายการ เมื่อเรียนรู้เสร็จสิ้นแล้ว สามารถทำแบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 30 ข้อ 4. เนื้อหาการอบรม การอบรมหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือและขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา มีเนื้อหา ประกอบด้วย 4.1 การดำเนินงานตามหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือ 4.2 แนวทางในการขอจัดตั้งกลุ่ม กองลูกเสือ และแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือในสถานศึกษา 4.3 แนวทางในการดำเนินการนำส่งเงินบำรุงลูกเสือในสถานศึกษา 4. การวัดผลประเมินผล แบบทดสอบ จำนวน 30 ข้อ โดยมีเกณฑ์การผ่าน 80% จะได้รับวุฒิบัตรทันที ทางอีเมล์ที่ระบุไว้


การก่อตั้งการลูกเสือในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี ได้ทรงพระราชทาน กำเนิดลูกเสือไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรก ขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนด ข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิด กองเสือป่า (อังกฤษ: Wild Tiger Corps) เป็นกองกำลังกึ่งทหารที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะกองอาสาสมัครรักษาดินแดนหน่วยงานแรกในประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมข้าราชการพ่อค้าและพลเรือนให้ได้รับการฝึกหัดวิชาการทหาร ให้เป็น ราษฎรที่มีคุณภาพ มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมายชาติบ้านเมือง ปลูกฝังให้พสกนิกรมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และส่งเสริมความกล้าหาญ เข้มแข็ง สามัคคีและเสียสละ โดยเสือป่าทำหน้าที่ ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่รักษาความสงบทั่วไปในบ้านเมือง ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ฯ ทรงพระราชทานกำเนิดเสือป่าได้ 2 เดือน ซึ่งในระยะเวลานั้น กิจการเสือป่าได้ดำเนินไปอย่างเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง เห็นได้จากการเพิ่มจำนวน สมาชิกของเสือป่าที่มากขึ้น และกิจการเสือป่าถูกจำแนกออกไปเป็นกองเสือป่าประเภทต่างๆ อีกมาก แม้จะทรง พอพระราชหฤทัยเพียงใด พระองค์ก็ไม่เคยที่จะยุติในพระราชดำริที่จะเป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติ ด้วยพระองค์ ทรงเห็นว่ากิจการเสือป่านั้น แม้จะประสบผลสำเร็จเพียงใด แต่สมาชิกนั้นเป็นผู้ใหญ่แต่ฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่บ้านเมือง นั้นประกอบด้วยพลเมืองหลายช่วงวัย เด็กผู้ชายทั้งหลายก็เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับการฝึกฝน และปลูกฝังอุดมการณ์ ความรักชาติไปพร้อมๆ กับการฝึกฝนให้มีความรู้ และทักษะในทางเสือป่าด้วย เพื่อว่าในอนาคตเมื่อเติบโตขึ้นจะได้ ประพฤติตัวให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเกิดเมืองนอน ดังนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้ทรง พระราชทานกำเนิดกิจการเสือป่าสำหรับเด็กชาย ที่ทรงพระราชทานชื่อว่า “ลูกเสือ” ในกิจการนี้พระองค์ ทรงมีพระราชประสงค์ที่ให้เด็กชายจดจำหลักสำคัญ 3 ประการคือ 1. ความจงรักภักดีต่อผู้ทรงดำรงรัฐสีมาอาณาจักร โดยต้องตามนิติธรรมประเพณี 2. ความรักชาติบ้านเมือง และนับถือพระศาสนา 3. ความสามัคคีในคณะ และไม่ทำลายซึ่งกันและกัน การก่อตั้งกิจการลูกเสือในครั้งแรกนั้น พระองค์ทรงตั้งกองลูกเสือให้มีในโรงเรียนก่อน และ กองลูกเสือกองแรกของสยามประเทศคือ กองลูกเสือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน และถูกเรียกว่ากองลูกเสือหลวง หรือกองลูกเสือกรุงเทพที่ 1 และลูกเสือในโรงเรียนนี้ก็ถูกเรียกว่า ลูกเสือหลวง เช่นกัน ก่อนที่กิจการลูกเสือจะขยายไปสู่โรงเรียนเด็กชายทั่วประเทศในเวลาไม่นาน โดยลูกเสือคนแรก คือ นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ชื่อ ชัพน์ บุนนาค การเป็นลูกเสือของนายชัพน์ บุนนาค นั้นเกิดจากการที่ได้แต่ง เครื่องแบบลูกเสือ และกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือ ซึ่งเป็นการกล่าวต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้ที่บันทึก เหตุการณ์เอาไว้ว่า


ร.6 : “อ้ายชัพน์ ดอกหรือ เอ็งกล่าวคำสาบานของลูกเสือได้หรือเปล่า” ชัพน์: “ข้าพระพุทธเจ้าท่องมาแล้วว่า 1. ข้าจะมีใจจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว 2. ข้าจะประพฤติตนให้สมควรเป็นลูกผู้ชาย 3. ข้าจะประพฤติตนตามข้อบังคับและแบบแผนของลูกเสือ” ร.6 : ในหน้าที่ซึ่งข้าได้เป็นผู้ประสิทธิประสาทลูกเสือของชาติขึ้นมา ข้าขอให้เจ้าเป็นลูกเสือคนแรก” จากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเพียงสั้นๆ ว่า “อ้าย ชัพน์ เอ็งเป็นลูกเสือแล้ว" และแล้ว กิจการลูกเสือ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ ต่อมาพระองค์ก็ทรงพระราชทานคติพจน์ให้กับลูกเสือ ที่ภายหลังลือลั่นไปทั่วทั้งแผ่นดินและ เป็นที่กล่าวขาน รำลึก พูดสอนกันอย่างติดปากในสังคม อีกทั้งยังปรากฏอยู่บนเครื่องหมายสำคัญต่างๆ ของลูกเสือ ว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” คำว่า “ลูกเสือ” ที่พระองค์ทรงพระราชทานชื่อนั้น มีนัยว่าพระองค์ทรงเล่นล้อคำกับคำว่า “เสือป่า” ที่บางครั้งทรงเรียกว่า “พ่อเสือ” และเมื่อมีกิจการแบบเดียวกันที่มีเหล่าสมาชิกเป็นเด็กชาย พระองค์จึงทรงใช้คำ ว่าลูกเสือ แต่ภายหลังทรงพระราชนิพนธ์ถึงที่มาของชื่อลูกเสืออย่างเป็นทางการเอาไว้ว่า “ลูกเสือ บ่ ใช่สัตว์เสือไพร เรายืมมาใช้ด้วยใจกล้าหาญปานกัน ใจกล้ามิใช่กล้าอาธรรม์ เช่นเสืออรัญสัญชาติชนคนพาล ใจกล้าต้องกล้าอย่างทหาร กล้ากอปรกิจการแก่ชาติประเทศเขตคน" เป็นเวลา 6-7 เดือน หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทาน กำเนิดลูกเสือในสยามประเทศ หากย้อนกลับไปที่ประเทศอังกฤษที่เป็นต้นกำเนิดกิจการลูกเสือโลกขณะนั้น ก็กำลังคึกคักและแพร่ขยายความนิยมไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วเกาะอังกฤษ เด็กๆ รวมไปถึงผู้ใหญ่ต่างให้ความสนใจ ในกิจการนี้มาก นายซิดนีย์ ริชเชส ซึ่งอดีตเคยเป็นครูสอนศาสนาวันอาทิตย์ เป็นผู้หนึ่งที่สนใจกิจการลูกเสือ และได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้กำกับกองลูกเสือที่ 8 แห่งลอนดอนตะวันตกเฉียงใต้ นายริชเชส ซึ่งครั้งหนึ่งบิดา ของเขาได้เคยทำงานอยู่ในสถานกงศุลไทย ซึ่งภายหลังได้เป็นถึงกงศุลใหญ่ประจำสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอนนั้น มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อครั้งที่ยังทรงดำรงอิสริยยศเป็น มกุฎราชกุมาร สมัยที่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และเมื่อความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือในอังกฤษนั้น ควบคู่ไปกับการเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือแห่งสยามประเทศ ข่าวคราวของกิจการลูกเสือแห่งสยามประเทศ ก็แพร่กระจายเข้าสู่เกาะอังกฤษอย่างรวดเร็ว นายริชเชส เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับทราบข่าวนั้น และประกอบกับ ความสัมพันธ์ของผู้เป็นบิดากับพระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามประเทศ เขาจึงได้ทำหนังสือมากราบบังคมทูลอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ให้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์กองลูกเสือที่เขาเป็นผู้กำกับอยู่ และขอพระบรม ราชานุญาตให้ชื่อลูกเสือกองนี้ว่า "King of Siam ’s own boy scout group" ซึ่งแปลว่า กองลูกเสือในพระเจ้า กรุงสยาม หรือ กองลูกเสือแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม หรือ กองลูกเสือรักษาพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน สยาม โดยมีชื่อย่อว่า K.S.O. หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง กองลูกเสือแห่งชาติขึ้นเพียง 5 เดือนเท่านั้น ก็ปรากฎว่า มีกองลูกเสือทั่วราชอาณาจักรอยู่ถึง 61 กอง


การดำเนินกิจการลูกเสือทั่วทั้งโลกมักมีลักษณะที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ เริ่มจากกิจการลูกเสือ สำหรับเด็กชายก่อนที่จะเริ่มแพร่เข้าไปในหมู่เด็กหญิง และสำหรับกิจการลูกเสือในไทยก็เช่นกัน เมื่อถึงระยะเวลา อันควร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะให้สตรีและเด็กหญิงได้มีส่วนร่วม ในกิจการลูกเสือ โดยทรงเห็นว่าสามารถที่จะเป็นกำลังให้กับชาติบ้านเมืองได้ แม้จะไม่ใช่กองกำลังหลักก็ตามที ดังนั้น จึงทรงตั้งกลุ่มสตรีขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ซึ่งพระองค์เรียกว่า “สมาชิกแม่เสือ” ส่วนใหญ่เป็นบุตรและภรรยาเสือป่า โดยแม่เสือมีหน้าที่หลักในการจัดหาเสบียงและเวชภัณฑ์ให้กับกองเสือป่า ในขณะเดียวกันก็ทรงจัดตั้งกองลูกเสือ สำหรับเด็กหญิง และพระราชทานชื่อว่า “เนตรนารี” ซึ่งเนตรนารี กองแรก คือ กองเนตรนารี โรงเรียนกุลสตรีวัง หลัง ต่อมาได้เป็นชื่อ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ความเป็นมาลูกเสือไทย อาจแบ่งเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1. ยุคก่อตั้ง (พ.ศ. 2454 – 2468) รวม 14 ปีอยู่ในรัชกาลที่ 6 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่า(Wild Tiger Corps)พื่อให้ข้าราชการและพลเรือนได้มี โอกาสฝึกหัดวิชาทหารเพื่อเป็นคุณ ประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมืองในอันที่จะทำให้รู้จักระเบียบวินัย มีกำลังใจ กำลังกายเข้มแข็ง มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ทรงสถาปนาลูกเสือไทย โดยตราข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ และจัดตั้ง กองลูกเสือขึ้นตามโรงเรียน และสถานที่อันสมควร และพระราชทานคำขวัญให้กับลูกเสือไว้ว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์”จากนั้น ได้ตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ขึ้น โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกและหลังจากนั้น พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรง เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2490 ในยุคนี้ มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เช่น พ.ศ. 2454 – ตั้งลูกเสือกองแรกที่ โรงเรียนมหาดเล็ก ( คือ โรงเรียนวชิราวุธปัจจุบัน ) เป็นกองลูกเสือ ในพระองค์ เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1 – พ.ศ. 2458 – พระราชทานเหรียญราชนิยมให้แก่ลูกเสือโท ฝ้าย บุญเลี้ยง (ต่อมาเป็นขุนวรศาสน์ดรุณกิจ) – พ.ศ. 2459 – ตั้งโรงเรียงผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ณ สโมสรเสือป่าจังหวัดพระนคร หลักสูตร 2 เดือน เปิดได้ 4 ปีก็ล้มเลิก – พ.ศ. 2463 – ส่งผู้แทนลูกเสือไทย 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 1 (World Scout Jamboree) ณ โคลัมเบีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ – พ.ศ. 2465 – คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก เป็นกลุ่มแรกมีประเทศต่างๆ รวม 31 ประเทศ และถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง (Foundation Members) ขององค์การ ลูกเสือโลก – พ.ศ. 2467 – ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศ เดนมาร์กโดยพระยาภรตราชา เป็นหัวหน้าคณะ – พ.ศ. 2468 – การลูกเสือไทยสูญเสียพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยรัชกาลที่ 6 2. ยุคส่งเสริม (พ.ศ. 2468 – 2482) สมัยรัชกาลที่ 7 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้แบ่งออก เป็น 2 ตอน คือ 2.1 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชการที่ 7 ยังทรงเป็นสภานายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือ แห่งชาติอยู่


– พ.ศ. 2470 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Jamboree) ณ พระราชอุทยาน สราญรมย์ กรุงเทพฯ และกำหนดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งต่อไปในทุก ๆ 3 ปี – พ.ศ. 2472 – ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 3 ณ ประเทศอังกฤษ – พ.ศ. 2473 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ณ พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคณะ ลูกเสือต่างประเทศจากญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย โดยจัดหลักสูตร 2 เดือน ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ล้มเลิก เพราะเปลี่ยน การปกครอง 2.2 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ 7 ก่อนสละราชสมบัติและรัชกาลที่ 8 จนถึง สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2475 – 2482) – พ.ศ. 2475 – หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้จัดตั้ง “ลูกเสือสมุทรเสนา” ขึ้นอีกหนึ่งเหล่า โดยจัดตั้ง กองลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาในจังหวัดแถบชายทะเลเพื่อให้เด็กในท้อง ถิ่นมีความรู้ ความสามารถในวิทยาการทาง ทะเล – พ.ศ. 2476 – ตั้งกรมพลศึกษาขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกองลูกเสืออยู่ในกรมพลศึกษา และส่ง ผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 4 ประเทศฮังการี โดยมีนายอภัย จุนทวิมล เป็น หัวหน้า – ได้จัดทำตราคณะลูกเสือแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล ที่คณะลูกเสือต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็มี ตราคณะลูกเสือของตนเองทั้งสิ้น โดยจัดทำตราเป็นรูป (Fleur de lis) กับ รูปหน้าเสือประกอบกัน และมีตัวอักษร คำขวัญอยู่ภายใต้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และ ประกาศ ใช้ตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ และกฎลูกเสือ 10 ข้อ – เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งเรียกในทางราชการว่า การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา (ว่าด้วย ลูกเสือ) ประจำปี 2478 เป็นเวลา 1 เดือน – ประกาศตั้งลูกเสือสมุทรเสนา พ.ศ. 2479 ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนาและสมุทรเสนา – พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 กำหนดลักษณะธงประจำกองคณะลูกเสือแห่งชาติ และธง ประจำกอง ลูกเสือ – พ.ศ. 2482 – พระราชบัญญัติลูกเสือขึ้นสิ่งสำคัญคือให้คณะลูกเสือแห่งชาติมีสภาพเป็นนิติบุคคล ได้จัดตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ และ แบ่งลูกเสือออกเป็น 2 เหล่า คือ ลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา – มีพระราชบัญญัติให้ทรัพย์สินกองเสือป่าเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ – รัฐบาลได้จัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ขี้นมาซ้อนกับกิจการลูกเสือ การฝึกยุวชนทหารแตกต่างจากการฝึก ลูกเสือ โดยเป็นการฝึกเยาวชนของชาติในทางทหารอย่างแท้จริง 3. ยุคประคับประคอง (พ.ศ. 2483 – 2489) ระยะนี้ลูกเสือซบเซาลงมาก เนื่องจากอยู่ภาวะสงคราม – พ.ศ. 2485 – มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับปี พ.ศ. 2485) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ – พ.ศ. 2488 – สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด การลูกเสือเริ่มฟื้นฟูทั่วโลก – รัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติสู่พระนคร และถูกลอบปลงพระชนม์


4. ยุคก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2514) เริ่มต้น รัชกาลที่ 9 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 4.1 ระยะเริ่มก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2503) – พ.ศ. 2496 – เริ่มดำเนินการสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี – พ.ศ. 2497 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 3 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ – พ.ศ. 2500 – ส่งผู้แทนจากประเทศไทยไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 9 ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อเฉลิม ฉลองอายุครบ 100 ปี ของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ – พ.ศ. 2501 – เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้นเป็รครั้งแรกในประเทศไทย – จัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกขึ้นในประเทศไทย 5 สิงหาคม 2501 พ.ศ. 2503 – เปิดการฝึกอบรม วิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นวูดแบดจ์ ครั้งที่ 1 ณ พระตำหนักอ่าวศิลา จังหวัดชลบุรี – ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศพม่า 4.2 ระยะก้าวหน้า (2504 – 2514) – พ.ศ. 2504 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร เพื่อเฉลิมฉลองที่คณะ ลูกเสือไทยมีอายุครบ 50 ปี – เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ – วางศิลาฤกษ์ศาลาวชิราวุธ – พ.ศ. 2505 – พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี เปิดค่ายลูกเสือวชิราวุธ – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดศาลาวชิราวุธ – พ.ศ. 2506 – เปิดการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ – จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2506 – ได้มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้นครั้งแรก ณ อำเภอด่านช้าง จังหวัดเลย โดยกองกำกับการตำรวจ ตระเวนชายแดน เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ – ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยเข้าไปร่วมการประชุมลูกเสือโลกครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น 5. ยุคประชาชน (พ.ศ. 2514 – ปัจจุบัน) เนื่องจากปี 2514 เป็นปีที่มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเป็นครั้งแรก – พ.ศ. 2516 – รับกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ – กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้นำวิชาลูกเสือเข้าอยู่หลักสูตรโรงเรียน – มีการจัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญขึ้นในโรงเรียน – รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ – พ.ศ. 2518 – ส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก – ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก – นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกเสือโลกจากการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 28 ณ เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล – พ.ศ. 2536 – เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพฯ ( 33rd World Scout Conference)


– พ.ศ. 2544 – จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 / งานชุมนุมเตรียมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (16th National Jamboree / Pre 20th Scout Jamboree, 2003) เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี คณะลูกเสือไทย – 28 ธันวาคม 2544 – เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (20th 7 ,dik8, 2547 World Scout Jamboree, 2003) ณ บริเวณหาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเยาวชนลูกเสือ ชาย – หญิง กว่า 30,000 คน จาก 151 ประเทศทั่วโลกมาร่วมงาน – 5-9 ธันวาคม 2546 – จัดงานชุมนุมลูกเสือมูฮิบบาห์ (12th Muhibbah Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือ ไทยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง มีลูกเสือไทย จำนวน 1,266 คน และลูกเสือต่างประเทศในแถบชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มาเลเซีย 15 คน ศรีลังกา 4 คน และสหรัฐอเมริกา 6 คน เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 1,736 คน – 20-24 กรกฏาคม 2547 – จัดงานชุมนุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือครั้งที่ 3 (INDABA) ณ ค่ายลูกเสือ วชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมงานชุมนุมฯ จำนวน 3,500 คน *หมายเหตุ ในสมัยรัชกาลที่9 ได้มีการจัดตั้งค่ายลูกเสือระดับจังหวัดและระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อเป็น ที่ฝึกอบรมลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ


การตั้งกลุ่ม กอแต่งตั้งผู้บังคับบัญ


องลูกเสือ ญชาลูกเสือ ส ำนักงำนลูกเสือเขตพื้นที่กำรศึกษำรำชบุรี เขต 1 ส ำนักงำนลูกเสือจังหวัดรำชบุรี


ข้อบังคับทีข้อบังคับคณะลูกเสือปกครองหลักสูตร แพ.ศ.2509 (หน


ที่เกี่ยวข้อง อแห่งชาติ ว่าด้วยการ และวิชาพิเศษลูกเสือ น้า 37 – 73 )


ข้อบังคับข้อบังคับคณะกรรมการว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บพ.ศ. 2


บที่เกี่ยวข้อง รบริหารลูกเสือแห่งชาติ ้บังคับบัญชาลูกเสือ 2553


ข้อบังคับข้อบังคับคณะกรรมกาว่าด้วยการแต่งตั้งผูฉบับที่ 2


บที่เกี่ยวข้อง ารบริหารลูกเสือแห่งชาติ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ. 2563


ข้อบังคับทีข้อบังคับคณะกรรมกาว่าด้วยค่าบ ารุงลูกเสือลูกเสือ พ


ที่เกี่ยวข้อง รบริหารลูกเสือแห่งชาติ อและบุคลากรทางการ พ.ศ.2566


ข้อบังคับทีขั้นตอนการน าส่งและเงินค่าบ


ที่เกี่ยวข้อง งเงินค่าบ ารุงลูกเสือ ารุงเนตรนารี


ข้อบังคับทีระเบียบส านักงานและการใช้แบบพิมพ


ที่เกี่ยวข้อง นฯ ว่าด้วยแบบพิมพ์ พ์ลูกเสือ พ.ศ. 2566


เอกสารประกอบการและแต่งตั้งผู้บังคั• น าส่งจากสถานศึกษา • สลช.1 แบบค าร้องขอจัดตั้งกลุ่มหื• สลช.2 ใบสมัครเป็นผู้บังคับบัญชา• วุฒิบัตรผ่านการฝึกอบรมแต่ละประ• ส าเนาบัตรประชาชน • เอกสารอื่นๆ (กรณีชื่อไม่ตรงกับวุฒิ


รตั้งกลุ่ม กองลูกเสือ คับบัญชาลูกเสือ รือกองลูกเสือ 2 ฉบับ/ 1 กอง าลูกเสือ 2 ฉบับ/ 1 ต าแหน่ง ะเภท แนบตามจ านวนใบสมัคร แนบตามจ านวนใบสมัคร ฒิ)


ขั้นตอนการด าเนินง• กรอกข้อมูลในค าร้องขอตั้งกลุ่ม กอง (แบบ• ผู้อ านวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในช่อ• กรอกข้อมูลค าร้องใบสมัครเป็นผู้บังคับบัญ• ผู้อ านวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในช่อ• รวบรวมเอกสาร พร้อมส าเนาคุณวุฒิทางลูส านักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีส านักงานลูกเสือจังหวัด • เอกสารเพิ่มเติม เช่น ส าเนาใบเปลี่ยนชื่อ –


านของสถานศึกษา บ สลช 1) องผู้ยื่นค าร้อง ชาลูกเสือ (แบบ สลช.2) องผู้รับรอง กเสือ หรือส าเนาวุฒิผ่านการฝึกอบรม มายัง ร เขต 1 (กรณีโรงเรียนในสังกัด) หรือ – นามสกุล ฯลฯ


คุณวุฒิทา– ผู้ก ากับกลุ่ม จะต้องแนบวุฒิ ATC– รองผู้ก ากับกลุ่ม จะต้องแนบวุฒิ A– ผู้ก ากับกอง จะต้องแนบวุฒิ ATC (กรณีจะแต่งตั้งผู้ก ากับกองที่มีวุฒิแต่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีวุฒิ ATC ภ


างลูกเสือ C + วูดแบดจ์ ATC + วูดแบดจ์ C + วูดแบดจ์ ฒิ BTC สามารถแต่งตั้งได้ ภายใน 3 ปี)


คุณวุฒิทา


างลูกเสือ


แบบ สลช 1 แบบค าร้องขอจัดตั้งกลุ่ม หรือกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 2 ใบสมัครเป็น ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 3 ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 4 ทะเบียนกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 4 ทะเบียนกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 4 ทะเบียนกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 4 ทะเบียนกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


แบบ สลช 4 ทะเบียนกองลูกเสือ **โรงเรียนเป็นผู้ด ำเนินกำร


Click to View FlipBook Version