The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by พีรทัต 'ตต, 2022-09-04 02:07:39

E59198D2-12D7-45C7-8560-1A1B85F47DEA

E59198D2-12D7-45C7-8560-1A1B85F47DEA

อังกะลุง

จั ด ทำ โ ด ย

นาย ต้นกล้า แก้วสกุลทอง เลขที่13
นางสาว ระพีพรรณ ไชยยุทร เลขที่17
นาย พีรทัต หัตถิยา เลขที่20
นาย วรากร หงษ์ทอง เลขที่22
นางสาว มัลลิา นุัยศิริ เลขที่30
นางสาว นันทิชา อ่อนรอด เลขที่31
นางสาว คิรภัสสร มีพัฒน์ เลขที่36

นําเสนอ
คุณครู วรากร นาควิลัย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4
โรงเรียนเวียงสระ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
สุราษฎร์ธานีชุมพร

คำนำ

รายงานการพัฒนาสื่ อประสมประเภทเอกสารประกอบการ
เรียนและวีดีทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องอังกะลุง
ดนตรี สร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้จัดทําขึ้นเพื่ อ
ศึกษา ผลการทดลองใช้นวัตกรรม ประเภทเอกสารประกอบ
การเรียนและวีดีทัศน์ เพื่ อพัฒนาการเรียนการสอนอังกะลุง
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพ โดยมี
เนื้ อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอังกะลุงวิวัฒนาการ
ของอังกะลุง การผลิตอังกะลุง การประสมวงอังกะลุงเป็นต้น
จากผลการพัฒนาพบว่า การพัฒนาสื่อการสอนดังกล่าวมี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูงขึ้น อีกทั้งนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ
เรียนด้วยสื่ อการเรียนการสอนประเภทเอกสารประกอบการ
เรียนและวีดีทัศน์ อยู่ในระดับผู้รายงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
การพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง
อังกะลุงดนตรีสร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะทำให้ผู้
เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องประสบผลสําเร็จตามจุด
มุ่งหมายของหลักสูตร และเป็นการอนุรักษ์การดนตรีไทยให้
คงอยู่ตลอดไป

คณะผู้จัดทำ



10 สิงหาคม พ.ศ.2565

สารบัญ

เรื่อง หน้าที่
1
ประวัติอังกะลุง
2
ส่วนประกอบอังกะลุง
การจับอังกะลุง 3

การจัดวงอังกะลุง 4
การดูแลรักษาอังกะลุง
5
โน้ตเพลงแม่บทที่1-3 6
โน้ตเพลงโหมโรงยะวา 7-10
บรรณานุกรม 11
ภาคผนวก 12

ประวัติ 1

อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง
อังกะลุงได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดชวาตะวันตกและจังหวัด

บันเตินของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน โดยชาวซุนดาเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ
อังกะลุงและดนตรีอังกะลุงได้กลายเป็ นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประชาคมชาวซุนดา
ในชวาตะวันตกและบันเติน การเล่นอังกะลุงในฐานะวงดุริยางค์ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสาน
งานกัน เชื่อกันว่าจะส่งเสริมคุณค่าของการทำงานเป็นทีม การเคารพซึ่งกันและกัน และความกลมกลืน
ในสังคม

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง
สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นงานชิ้นเอกของมรดกมุข
ปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ และสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียและรัฐบาลอินโดนีเซีย
สงวนรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุง
อังกะลุงในไทย

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ.
2451 เมื่อครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้ าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนิน
ประพาสเกาะชวา
อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยก
เขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา (อินโดนีเซีย) คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง
อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุง
และราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลง
เพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการ
เขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวงที่วัดรา
ชาธิวาสในสมัยรัชกาลที่ 6
โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมัก
จะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1–2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ ตเสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่า
อังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมาก

นอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย
เรียกว่า อังกะลุงราว
วงอังกะลุง

อังกะลุงอาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะหรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็ได้ มักพบในวง
ดนตรีของสถาบันการศึกษามากกว่าวงดนตรีอาชีพ

วงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้ อย 7 คู่ หรือ 5 คู่ ก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงาน
โดยจะมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง, กลองแขก นอกจากนี้มักมีเครื่อง
ตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น มีมากในเขตนนทบุรี

ส่วนประกอบอังกะลุง 2

1. ตัวอังกะลุง 2. รางไม้

ไม้ไผ่ลาย ต้องเป็นไม้ที่มีความแกร่ง คือมีเนื้อ ไม้แข็งได้ที่ เดิมจะใช้ไม้สักทองขุดเป็นราง เพื่อให้วางขาที่ฐาน
จึงจะมีเสียงไพเราะ และจะต้องมี กระบอกลงในร่องที่ขุด ร่องที่เจาะจะมี 3 ร่อง และ
รูกลมอีก 5 รู สำหรับตั้งเสายึดตัวกระบอกอังกะลุง
ลายที่สวยงาม ตัดไม้ให้เป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการ แล้ว 3. เสาอังกะลุง มักทำด้วยไม้ไผ่เหลาเกลาหรือกลึง
นำมาตากแห้งย่างไม้กับไฟอ่อนๆ นำมาอาบน้ำยากันมอด บ่ม จนกลมเรียบ.มีความยาวตามความสูงของ
ไม้โดยใช้ผ้าคลุมจะช่วยป้ องกันมอดได้ หลังจากนั้นจึงนำมา กระบอกอังกะลุง ขนาดโตกว่ารูที่ราง
เหลาตามเสียงที่ต้องการ ไม้ไผ่ลายเป็นไม้ไผ่ประเภทหนึ่ง ที่ เล็กน้ อย
ปล้องไม้จะมีลายด่างเหมือนตกกระ เป็นโดยธรรมชาติทั่วทุก
ปล้อง จะเห็นลายเด่นชัดเมื่อมันแก่ เนื้อไม้ค่อนข้างบางเบา
แต่แข็งแกร่ง ยิ่งแก่ก็ยิ่งแข็งแต่โบราณช่างทำดอกไม้ไฟจะนำ
มาประกอบการทำดอกไม้ไฟที่มีชื่อว่า “ ช้างร้อง ”เพราะ
ทำให้เกิดเสียง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จะหาไม้ไผ่
ชนิดนี้ได้ง่ายแถบชานเมืองกรุงเทพส่วนมากจะขึ้นอยู่ตาม
ป่าช้าตามวัด (ที่ฝังศพ หรือเก็บศพก่อนเผา) ต่อมาก็มีคนนำ
มาปลูกตามสวนแต่ในปัจจุบันมักจะหาดูได้ในบางท้องที่ เช่น
นนทบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น

3. เสาอังกะลุง 4. ไม้ขวาง

มักทำด้วยไม้ไผ่เหลา เกลา หรือกลึงจนกลม ทำมาจากไม้ไผ่เหลาแบน ส่วนกลางปาดเนื้อไม้เป็นร่อง
ลึกพอประมาณใช้สำหรับ สอดผ่านช่องกระบอก
เรียบ มีความยาวตามความสูงของกระบอก อังกะลุง เพื่อยึดตัวกระบอกกับเสา

อังกะลุง ขนาดโตกว่ารูที่รางเล็กน้ อย

3

การจับอังกะลุง

อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ทาให้เกิดเสียงได้โดยการเขย่า แต่ลักษณะ
การเกิดเสียงนั้น เกิดจาก การที่กระบอกของอังกะลุง ตีกระทบกับราง
อังกะลุง อังกะลุง จึงจัดเป็นเครื่องดนตรีไทยอยู่ในกลุ่ม ประเภท
เครื่องตี วิธีการเขย่าอังกะลุงที่ดีที่สุดคือ เขย่าคนละ ๒ เสียง โดยถือ
เรียงเสียง และข้ามเสียง ตามความเหมาะสม เสียงที่ดีนั้นต้องเป็น
เสียงที่ดัง ในลักษณะที่รัวต่อเนื่องกันอย่างสม่าเสมอ และได้ น้ าหนัก
เสียงพอดี (ไม่ดังหรือเบาเกินไป)
วิธีการจับที่ถูกวิธี คือ ตะแคงมือจับที่เสาคู่ของอังกะลุง อันเป็นเสาที่มี
ความยาวที่สุด ซึ่งอยู่ ด้านหลังของกระบอกใหญ่ที่สุดในตับ ถ้าเป็นตับ
เล็ก ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วที่เหลือทั้ง ๔ นิ้ว จับให้อยู่ใน ร่องของเสาคู่
ใช้อุ้งมือดันส่วนล่างของอังกะลุงไว้ให้ได้ฉาก ถ้าเป็นอังกะลุงตับใหญ่
น้ าหนักมาก อาจใช้ อุ้งมือรวบไว้ทั้งสองเสา เมื่อจะเขย่าต้องใช้วิธีเขย่า
ด้วยข้อมือ จึงจะได้เสียงที่ถูกต้องและไพเราะ โดยไม่ ออกแรงเขย่าไป
ทั้งแขน จะทําให้เสียงกรอไม่ละเอียด
เสียงของอังกะลุงจะดังได้ดีและไพเราะนั้น เวลาเขย่าต้องเน้ นน้ าหนัก
ให้ขาของกระบอกทั้งสาม กรอกไปกรอกมา ในร่องของรางอังกะลุงได้
อย่างคล่องแคล่ว สม่าเสมอ ด้วยความถี่ที่เท่าเทียมกันทั้ง ๓ กระบอก

การจัดวงอังกะลุง 4

๑. วงอังกะลุงขนาดเล็กที่สุด มีเพียง ๕ เสียง ใช้ผู้บรรเลง ๓ คน โดยถืออังกะลุงเรียงลาดับ ดังนี้
คนที่ ๑ ถือเสียง ซอล ลา คนที่ ๒ ถือเสียง โด เร คนที่ ๓ ถือเสียง เร มี

๒. วงอังกะลุงขนาดกลาง มีเพียง ๕ เสียง ผู้บรรเลง ๕ คน โดยถืออังกะลุง ดังนี้
คนที่ ๑ ถือเสียง มี ซอล คนที่ ๒ ถือเสียง ซอล ลา คนที่ ๓ ถือเสียง ลา โด คนที่ ๔ ถือเสียง โด เร คนที่
๕ ถือเสียง เร มี

๓. วงอังกะลุงขนาดใหญ่ จานวนอังกะลุง ๒๘ ตัว ใชผ้ ู้บรรเลง ๑๒ คน เพิ่มอังกะลุงขึ้นอีก เท่าตัว
อังกะลุงจะมีเสียงซ้ากัน เสียงละ ๔ ตัว ตัดเสียง ฟา และ ที ออก อย่างละ ๒ ตัว เหลือ เพียง ๒ ตัว ดังนี้
คนที่ ๑ ถือเสียง โด เร คนที่ ๒ ถือเสียง เร มี คนที่ ๓ ถือเสียง มี ฟา คนที่ ๔ ถือเสียง ฟา ซอล
คนที่ ๕ ถือเสียง ซอล ลา คนที่ ๖ ถือเสียง ลา ที คนที่ ๗ ถือเสียง ที โด คนที่ ๘ ถือเสียง โด เร
คนที่ ๙ ถือเสียง เร มี คนที่ ๑๐ ถือเสียง มี ซอล คนที่ ๑๑ ถือเสียง ซอล ลา คนที่ ๑๒ ถือเสียง ลา โด
นอกจากจานวนผู้เขย่าอังกะลุงแล้ว จะต้องมีผู้บรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ และผู้ขับร้อง ดังนี้
๑. ฉิ่ง
๒. กรับ
๓. ฉาบเล็ก
๔. โหม่ง
๕. กลองแขก
๖. ผู้ขับร้อง

การดูแลรักษาอังกะลุง 5


อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยวัสดุธรรมชาติเป็น ส่วนใหญ่จึงมัก

จะนํารุดง่าย โดยเฉพาะความชำรุดเสียหายจาก ตัวมอดเป็นตัวทำลาย
กัดกินเนื้อไม้ให้ผุ เมื่อมอดกัดกินเนื้อไม้ จะทำให้น้ำหนักของอังกะลุง
เบาขึ้น เสียงก็จะเปลี่ยนไป การนำ อังกะลุงมาบรรเลงบ่อย ๆ อย่าง
สม่ำเสมอ จะมีผลดี คือทำให้ มอดไม่กินหรือกินบ้างแต่ก็ช้าลง แต่ถ้า
วางเก็บไว้ จะทำให้เสีย ได้ง่าย การวางอังกะลุงควรวางเบา ๆ และจะ
ต้องทิ้งไว้ในลักษณะเอียงเอนทุกครั้ง เพื่อป้ องกันการตก หรือล้ม
กระแทกอาจทำให้ กระบอกอังกะลุงแตกได้ สภาพดินฟ้ าอากาศก็มี
ส่วนสำคัญที่ ทำให้เสียงเพี้ยนได้ โดยเฉพาะความชื้น การบรรเลงใน
ห้อง ปรับอากาศก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เสียงของอังกะลุง เปลี่ยนไปจาก
เดิมได้ วิธีดูแลเก็บรักษาอังกะลุงควรแขวนไว้ในที่ที่ไม่อับชื้น ห่าง
ไกลจากการถูกกดทับหรือถูกกระแทก หมั่นนำอังกะลุงมาเขย่า ทา
น้ำยากันมอด อยู่เสมอเพื่อกันมดและแมลงที่จะกัดแทะ

6

แม่บท1

_ ซ_ซ _ม_ม _ซ_ซ _ล_ล _ด_ด _ล_ล _ซ_ซ _ม_ม

_ซ_ซ _ล_ล _ซ_ซ _ม_ม _ซ_ซ _ม_ม _ร_ร _ด_ด

แม่บท2

(_ _ _ _ _ด_ด _ร_ม _ร_ด) ( _ _ _ _ _ร_ร _ม_ซ _ม_ร)

(_ _ _ _ _ม_ม _ซ_ล _ซ_ม) (_ _ _ _ _ซ_ซ _ล_ด _ล_ด)

(_ _ _ _ _ด_ด _ล_ด _ล_ซ) (_ _ _ _ _ล_ล _ซ_ล _ซ_ม)

(_ _ _ _ _ซ_ซ _ม_ซ _ม_ร) (_ _ _ _ _ม_ม _ร_ม _ร_ด)

แม่บท3

(_ _ _ _ _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ม _ซลซ _มซม _รมร _ดรด)

(_ _ _ _ _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ม _มซม _ซลซ _ลดล _ดรด)

เพลงโหมโรงยะวา บูเซ็นซ็อก 7

ท่อน5 ท่อน4 ท่อน3 ท่อน2 ท่อน1 _ _ _ม _ซ_ม _ซ_ม _ม_ม _ _ _ร _ม_ร _ม_ร _ร_ร

_ _ _ด _ร_ด _ร_ด _ด_ด _ _ _ล _ด_ล _ด_ล _ล_ล

_ _ _ม ซล_ม ซล_ม _ม_ม _ _ _ร มซ_ร มซ_ร _ร_ร

_ _ _ด รม_ด รม_ด _ด_ด _ _ _ล ดร_ล ดร_ล _ล_ล

_ _ _ม ซลดม ซลดม _ม_ม _ _ _ร มซลร มซลร _ร_ร

_ _ _ด รมซด รมซด _ด_ด _ _ _ล ดรมล ดรมล _ล_ล

_ _ซม รดรม รดรม _ม_ม _ _มร ดลดร ดลดร _ร_ร

_ _รด ลซลด ลซลด _ด_ด _ _ดล ซมซล ซมซล _ล_ล

_ _ซล ดรดม _ _ซม _ _ซม _ _ซล ซมดร _ _มร _ _มร

_ _ซล ซมรด _ _รด _ _รด _ _มร ดรมล _ _ดล _ _ดล

เพลงยะวาใหญ่ 8
ท่อน1

____ ___ด ____ ___ด ____ ___ด ____ ___ด

_ _ _ล _ ล_ล _ด_ร _ด_ด _ _ _ล _ล_ล _ด_ร _ด_ด

_ซ_ล _ด_ด _ซ_ล _ด_ด _ซ_ล _ด_ด _ม_ร _ม_ม

_ _ _ _ _ซ_ม _ _ _ _ _ซ_ม _ _ _ _ _ซ_ม _ซ_ล _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ม _ซ_ล _ซ_ซ _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ด_ด

เพลงยะวาใหญ่ 9
ท่อน2

____ ___ด ____ ___ด ____ ___ด ____ ___ด

_ _ _ร _ ด_ล _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ม_ล _ม_ร _ม_ม
_ _ _ร _ด_ล _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ม_ล _ด_ร _ด_ด

_ _ _ร _ด_ล _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ม_ล _ม_ร _ม_ม

_ _ _ร _ด_ล _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ม_ล _ด_ร _ด_ด
_ซ_ล _ด_ด _ซ_ล _ด_ด _ซ_ล _ด_ด _ร_ม _ซ_ซ
_ _ _ล _ซ_ซ ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ
_ _ _ล _ซ_ซ ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ
_ _ _ล _ซ_ม _ซ_ล _ซ_ซ _ม_ร ด_ล _ด_ร _ด_ด

เพลงยะวาใหญ่ 10
ท่อน3

_ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ด รม_ม

_ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ม รด_ด

_ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ _ _ _ _ด _ _ _ด รม_ม

_ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ _ _ _ _ม _ _ _ม รด_ด

_ _ _ร _ ด_ด _ _ _ร _ด_ด _ _ _ร _ด_ด _ร_ม _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ซ _ด_ล _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ _ร_ม _ซ_ซ

_ _ _ล _ซ_ม _ซ_ล _ซ_ซ _ม_ร _ด_ล _ด_ร _ด_ด

11

บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. (2541). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
โกวิทย์ ขันธศิริ. (2535). กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ดนตรี นาฏศิลป์. หลักสูตรประถมศึกษา 2521 ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพ
ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ชาลี พลพวก. (2544). ทฤษฎีการทำงาน วีซีดี ซีดี และเอ็มพี 3. ขอนแก่น : [ ม.ป.พ.].
ชุลีพร สุนทรกิติ. (2529). CD ROM มหดิสก์ยุคนี้. ไมโครคอมพิวเตอร์. 24, 95 - 97.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล สันติพงศ์ศุภกร. (2544). การสร้างซีดีรอมการสอน วิชาดนตรี เรื่องโน้ตสากลเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. รายงานการ
ศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2528). โสตทัศนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
พึงจิตต์ สวามิภักดิ์. (2525). เอกสารประกอบการจัดการอบรมครูดนตรี เรื่องการสอนดนตรีในระดับประถมศึกษา. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. (เอกสารอัดสำเนา).
ลานนา ทวีเศรษฐ. (2534). ฐานข้อมูล CD ROM ในงานบริการสืบค้นสารสนเทศ. สนเทศสาส์น, 5 (5), 23 - 28.
วิรัช ซุยสูงเนิน. (2520). เอกสารประกอบการสอน เรื่องดนตรีสำหรับครูประถม. มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก. (เอกสาร
อัดสำเนา).
สิทธิพัฒน์ จำนงศิลป์. [ ม.ป.ป.]. สร้าง ตัดต่อ แปลง เขียนวีดีโอ ดีวีดี. [ ม.ป.ท.:ม.ป.พ.].
สุนทร แก้วลาย. (2533). กิจกรรมการบริการสารสนเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริการและเผยแพร่สารนิเทศหน่วยที่ 1 - 7.
หน้า 24 - 27. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
สุธนา วงศ์ทองสรรค์. (2530). CD ROM ฐานข้อมูลสารนิเทศ. วารสารวิทยบริการ, 9 (2), 2 - 9.
สุมาลี ขจรดำรงกิจ. (2526). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดนตรีสากลพื้นฐานของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้
ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์และการขับร้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. (2522). คู่มือครูเกี่ยวกับการสอนลักษณะนิสัย. กรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์.
อรพันธ์ ประสิทธิรัตน์. (2528). พื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษาการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด
อังคณา กุลพิมาย. (2545). การผลิตวีซีดีการ์ตูนสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง MY BODY สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล. รายงานการ
ศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุทัย ทุติยโพธิ์. (2537). ฐานข้อมูลสำเร็จรูปซีดีรอมที่มีใช้ในประเทศไทย. โดมทัศน์, 15 (2), 21-24.
Robinson, R.L. (1984). The Development and Evolution of Microcomputer Asseisted Music instruction
Program for Tonal Memory. Dissertation Abstracts International, 54 (4), 1065 - A.
Sluss, J.H. (1969). High School senior Attitude Toward Music, Dissertation Abstracts International, 30 (1),
755 - A.
Turk (1984). Development of The Musical Listening Strategy Tempo : computer Asseisted instruction in
Muaic Listening. Dissertation Abstracts International, 45 (8), 2436 - A.

ภาคผนวก 12


Click to View FlipBook Version