The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การวางแผนการบริหารงานวิชาการ_ไฟล์งาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kittikamon1983, 2021-11-20 23:03:23

การวางแผนการบริหารงานวิชาการ_ไฟล์งาน

การวางแผนการบริหารงานวิชาการ_ไฟล์งาน

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการวางแผนการบริหารงานวชิ าการ
นายกมลชยั กิตทิ รัพย์
รหสั : 6420540432002

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการวางแผนการบริหารงานวิชาการ
การบรหิ ารโดยทั่วไปมีความมุ่งหมายเพอ่ื ต้องการให้การปฏิบัตงิ านบรรลตุ ามวัตถปุ ระสงค์ การบรหิ าร

จึงเปน็ ท้งั ศาสตร์และศิลป์ ซงึ่ มเี ทคนิควธิ เี พ่อื นำไปสเู่ ป้าหมายท่ีกำหนดไว้ โดยอาศยั หลักการและกระบวนการ
กอ่ นที่จะกล่าวถึงหลักการและกระบวนการจงึ ต้องทำความเขา้ ใจเก่ียวกับพ้ืนฐานของการบริหารและงาน
วิชาการ ดังนี้

2.1 ความหมายของการบริหารและการบริหารงานวชิ าการ
การบริหารในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี หลักการและเหตุผล

จำเป็นต้องกระทำอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ การบริหารมีความหมายและความสำคัญตามทัศนะ
ต่าง ๆ เช่นแคมป์เบลล์ และคณะ (Campbell and Others. 1976 : 137) ได้กล่าวถึงการบริหาร หมายถึง
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานที่ผู้บริหารต้องทำหน้าที่ดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติได้ดำเนินงานจนเสร็จสิ้น ได้
ผลงานตามที่ต้องการ ไซมอน (Simon. 1976 : 1) ได้กล่าวถึงการบริหารว่าเป็นศิลป์ในการปฏิบัติงานให้
ก ิ จ ก ร ร ม ต ่ า ง ๆ ป ร ะ ส บ ค ว า ม ส ำ เ ร ็ จ ต า ม เ ป ้ า ห ม า ย ท ี ่ ต ้ อ ง ก า ร น อ ก จ า ก น ี ้ ส ม พ ง ศ์
เกษมสิน (2517 : 6) ได้กล่าวถึงการบริหารคือการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการนำเอาทรัพยากรการ
บ ร ิ ห า ร (Administrative Resources) ม า ป ร ะ ก อ บ ก ั น ต า ม ก ร ะ บ ว น ก า ร บ ร ิ ห า ร (Process of
Administration) ใหบ้ รรลวุ ัตถปุ ระสงคท์ กี่ ำหนดไว้อย่างมีประสทิ ธิภาพ

จึงกล่าวได้วา่ การบรหิ ารเป็นกระบวนการดำเนนิ งานอยา่ งเป็นระบบ ซง่ึ ต้องมีการวางแผน การปฏบิ ัติ
ตามแผน การประเมินผล และการนำไปปรบั ปรงุ พฒั นา เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ลในการปฏิบัติ
ภารกจิ ของหนว่ ยงานหรือองค์กร

การบริหารงานวชิ าการเปน็ งานหนึ่งในหลาย ๆ งานในหนว่ ยงานหรือสถานศึกษา ซง่ึ นักการศึกษาให้
ความหมายไว้นานาทศั นะ

ภิญโญ สาธร (2523 : 436) เห็นว่าการบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดใน
สถานศึกษาที่เกยี่ วกบั การปรับปรงุ พัฒนาการสอนให้เกิดผลดีแกน่ ักเรียน และมีประสทิ ธิภาพสูงสดุ

อุทัย ธรรมเตโช (2531 : 76) กล่าวถึงการบริหารงานวิชาการว่าเป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดท่ี
เกย่ี วกับการพฒั นาปรบั ปรงุ การเรยี นการสอนใหไ้ ด้ผลดี และมีประสทิ ธภิ าพสูงสุด

และปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 16) ได้แสดงทัศนะว่า การบริหารงานวิชาการมองในแง่ของ
กระบวนการ หมายถึง กระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างท่ีเกี่ยวข้องกับการปรับปรงุ การเรียนการสอนใหด้ ี
ขึน้ ต้ังแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผน การปรบั ปรงุ พัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผลการ
สอน เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ
ผเู้ รยี น

จงึ สรปุ ได้ว่าการบริหารงานวิชาการ หมายถงึ กระบวนการจัดกิจกรรมในงานวิชาการ ซ่งึ เป็นภารกิจ
หลักใหเ้ กดิ การปรับปรงุ พัฒนาและเป็นประโยชน์สูงสดุ แก่ผู้เรยี นหรือผรู้ ับบริการ กระบวนการดงั กล่าวนี้ ได้แก่
การวางแผน การจดั ระบบโครงสร้าง และการกำหนดบทบาทหน้าท่ี การจัดดำเนินงานทางวชิ าการ การผลติ สื่อ
และอปุ กรณ์การศึกษา การวัดและประเมินผล การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมและพฒั นาคณุ ภาพทางวชิ าการ
การจดั แหล่งหรือศนู ย์สารสนเทศ รวมท้ังการจัดส่ิงอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และการนิเทศภายในเพ่ือให้งาน
วชิ าการมีคุณภาพ

กมลชยั กติ ิทรพั ย์ 6420540432002

2.2 หลกั การบริหารงานวิชาการ
หลกั การบรหิ ารงานวิชาการเปน็ แนวคิดเพ่ือปฏบิ ัติไปสู่ความสำเร็จในการบรหิ ารงานวิชาการ

จำเป็นตอ้ งมหี ลักการทส่ี ำคัญ ๆ ดงั นี้
2.2.1หลักการพฒั นาคณุ ภาพ (Quality Management) เป็นการบริหารงานเพ่อื นำไปสู่

ความเป็นเลิศทางวชิ าการ องคป์ ระกอบของคณุ ภาพทีเ่ ปน็ ตัวช้ีวดั คือผลผลิตและกระบวนการเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ทำให้บุคลากรและผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจ พัฒนาศักยภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคมในระดับสากล
มากขึ้น โดยอาศัยกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ
และการประเมนิ คุณภาพ

หลกั การไคเซ็น (KAIZEN) มเี ปา้ หมายในการเสนอแนะเพ่ือแสดงถึงคุณภาพไว้ 6 ประการ
(ร่งุ แก้วแดง. 2538 : 144-145)

1) ผลผลิตเพิ่มขนึ้
2) คุณภาพสงู ขึ้น
3) ตน้ ทนุ ลดลง
4) ตรงตามเวลาท่ีกำหนดหรอื ประหยัดเวลามากข้ึน
5) มคี วามปลอดภัยมากขนึ้
6) บคุ ลากรและผ้รู บั บรกิ ารมีขวญั และกำลังใจสงู ข้นึ
หลักการของไคเซน็ มกี ระบวนการ 7 ขนั้ ตอน ดงั นี้
1) สงั เกต คน้ หาจดุ ท่ีเปน็ ปัญหา เช่น ความสูญเปล่า ความไม่สม่ำเสมอ สุดวิสัย
เช่น ปัญหาด้านคณุ ภาพ ตน้ ทุนสงู ความปลอดภัยน้อย เวลาตอ้ งลา่ ช้าอย่เู ป็นประจำ

2) สืบสวน ตรวจตรา สภาพการณ์ปจั จบุ ัน
3) คิดค้น ออกความคิดว่าหากทำเชน่ น้ีแล้วจะเปน็ อย่างไรบา้ ง
4) สะสาง การจัดระบบ จดั หมวดหมู่
5) ปฏบิ ตั ิ ดำเนินการปรับปรงุ โดยทดลองทำและสงั เกตดูวา่ ดีหรอื ไม่ดีอย่างไร
6) ตดิ ตามตรวจสอบประสทิ ธผิ ล จนกว่าผลลพั ธจ์ ะคงที่
7) สรุป ทำรายงาน เขยี นขอ้ เสนอแนะ

2.2.2 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การปรบั ปรุงคณุ ภาพของกระบวนการบรหิ ารได้
พัฒนามาอยา่ งต่อเนื่อง สม่ำเสมอตลอดเวลา โดยทกุ คนในหน่วยงานมสี ่วนรว่ มเสนอแนะปรบั ปรุงและพัฒนา
หลักการมสี ่วนร่วมตอ้ งการให้ทุกคนไดร้ ว่ มกันทำงาน ซ่ึงลกั ษณะของงานวิชาการต้องอาศัยความร่วมมือจาก
หลายฝา่ ย อาจดำเนินงานในรปู ของคณะกรรมการวชิ าการ ซงึ่ จะมีเป้าหมายการทำงานรว่ มกนั นำไปสกู่ าร
พฒั นาคณุ ภาพได้มากขน้ึ การมสี ่วนร่วมตอ้ งเรม่ิ จาก การร่วมคดิ รว่ มทำ และรว่ มประเมินผล

2.2.3 หลักการ 3 องค์ประกอบ (3-Es) ได้แก่ ประสทิ ธิภาพ ประสทิ ธผิ ล และประหยัด
1) หลักประสทิ ธภิ าพ (Efficiency) หมายถงึ การปฏบิ ัติตามแผนทีก่ ำหนดไว้ เป็น

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

ไปตามขน้ั ตอนและกระบวนการ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในขณะดำเนินการกส็ ามารถปรบั ปรงุ แก้ไขได้ มี
ประสิทธิภาพเนน้ ไปท่กี ระบวนการ (Process) การใชก้ ลยุทธ์และเทคนิควธิ ตี า่ ง ๆ ที่ทำให้บรรลวุ ตั ถุประสงค์
มากทีส่ ดุ

2) หลกั ประสทิ ธผิ ล (Effectiveness) หมายถึง ได้ผลผลติ (Outputs) ตาม
วตั ถปุ ระสงค์ทก่ี ำหนดไว้ ตรงตามจดุ มงุ่ หมายของหลักสตู ร มีความรู้ความสามารถ มีทักษะเพ่ิมข้นึ รวมทั้งการ
คำนงึ ถึงประโยชน์ท่ไี ด้รบั อย่างไรก็ตามมักใช้คำสองคำนี้ควบคู่กนั คือมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล

3) หลกั ประหยัด (Economy) หมายถึง การใชเ้ วลาน้อย การลงทนุ นอ้ ย การใช้
กำลงั หรอื แรงงานนอ้ ย โดยไม่ตอ้ งเพิม่ ทรัพยากรทางการบริหาร แต่ได้ผลผลิตตามทคี่ าดหวัง ดังนนั้ การลงทนุ
ในทางวชิ าการจงึ ต้องคำนงึ ถงึ ความประหยดั ดว้ ยเช่นเดียวกัน ผบู้ ริหารจะใช้กลวธิ ีอย่างไรในการบรหิ ารเพ่ือ
พฒั นาคุณภาพโดยอาศยั ความประหยัดบคุ ลากร งบประมาณ วัสดุและเทคโนโลยี และใช้เวลานอ้ ยอีกด้วย

2.2.4 หลกั ความเป็นวิชาการ (Academic) หมายถึง ลักษณะท่คี รอบคลุมเนื้อหาสาระของ
วชิ าการ ได้แก่ หลักการพัฒนาหลกั สูตร หลักการเรียนรู้ หลกั การสอน หลักการวดั ผลประเมินผล หลักการ
นเิ ทศการศึกษาและหลักการวิจยั เปน็ ตน้ หลกั การตา่ ง ๆ เหลา่ น้ีเป็นองค์ประกอบสำคัญ ก่อให้เกิดลกั ษณะ
ความเปน็ วชิ าการทต่ี ้องอาศยั องค์ความร้เู พ่ือทำใหเ้ กดิ การเปลี่ยนแปลงและสรา้ งสรรคด์ ังนัน้ การบริหารงาน
วชิ าการจำเป็นตอ้ งคำนงึ ถึงหลักการต่าง ๆ เหลา่ น้ี ซ่งึ จะกลา่ วโดยละเอียดใน
หลักการเฉพาะเร่ืองในบทต่อไป

สรุปได้ว่า หลักการบริหารงานวิชาการต้องคำนึงถึงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ทำให้ดีที่สุดนำไปสู่
คุณภาพที่คาดหวัง คำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการศึกษา โดยให้บุคลากรทุกฝ่ายได้รับผิดชอบ
ร่วมกันทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ คำนึงถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลและความประหยัด การดำเนินงานทาง
วิชาการโดยอาศัยหลักการดังกล่าวย่อมจะสามารถบรรลคุ วามสำเร็จคือความเปน็ เลศิ ทางวชิ าการ (Academic
Excellence)

2.3 ทฤษฎีทางการบริหาร
การบรหิ ารงานวิชาการจำเปน็ ต้องนำศาสตรแ์ ละศิลปม์ าประยุกต์ใชใ้ ห้เหมาะสมกบั ธรรมชาติของ

องค์การ ผูบ้ รหิ ารต้องสรา้ งทกั ษะในการบริหาร เพื่อพัฒนาองค์การใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพสูงสุด ทฤษฎีทางการ
บริหารทีน่ ำมากลา่ วถึงมดี งั น้ี

2.3.1 การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ผู้ก่อตง้ั คนแรกของความ
คิดน้ี และได้นำมาใช้ได้เปน็ ผลสำเร็จ ได้แก่ Frederick W. Taylor มีวตั ถุประสงค์เพอ่ื จดั ส่ิงทต่ี อ้ งการไว้ สำหรบั
การปฏบิ ตั ิงาน แทนที่ผปู้ ฏบิ ตั ิงานตอ้ งทำตามตนเองคิด เทเลอร์ พยายามหาวิธที ีด่ ีทสี่ ดุ ซึ่งได้หลักการมขี ัน้ ตอน
ดังน้ี (Hampton, 1986 : 60)

1) การวิเคราะหง์ าน (Analyze task) ผบู้ รหิ ารจะตอ้ งทำการวิเคราะหง์ านก่อนว่ามี
องค์ประกอบหรอื สว่ นงานอะไรบ้าง มีมาตรฐานอะไรบา้ ง อุปกรณเ์ ครื่องมือ และการจัดเวลารวมทัง้ เวลา
พักผอ่ น และเวลาทยี่ ืดหยุ่นได้

2) กำหนดคณุ สมบัติของบุคคลเข้าปฏิบัตงิ าน (Design one best way to
perform it) ผ้บู รหิ ารต้องพิจารณาวา่ บุคคลท่ีมคี ุณลกั ษณะเช่นไร มีความเหมาะสมกบั งาน โดยพิจารณาทง้ั
ดา้ นความสามารถทางสตปิ ัญญาและความสามารถทางรา่ งกาย วฒุ ิการศกึ ษา อายุ และประสบการณ์ เป็นตน้

3) คดั เลอื กบคุ คล (Select workers) เปน็ ข้นั ที่ผู้บรหิ ารต้องคดั เลือกบุคคลเข้า

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

ทำงานโดยใช้เกณฑค์ ุณสมบัติทกี่ ำหนดไว้
4) ฝกึ อบรมบุคลากร (Train workers) เพอ่ื ให้บคุ ลากรมที ักษะการปฏบิ ัติงาน

จำเปน็ ต้องมีการแนะนำ ชีแ้ จง ฝึกประสบการณ์ ใหเ้ กิดความชำนาญ โดยอาศัยการอบรม หรอื การประชุม การ
สัมมนาเพ่ือทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

5) การให้ส่ิงจงู ใจหรือแรงเสริม (Pay incentives) ผู้บรหิ ารต้องจัดค่าตอบแทนให้
บคุ ลากร เพ่ือจูงใจในการปฏิบตั ิงาน สร้างความพึงพอใจแกบ่ ุคลากรทุกฝา่ ย และเปน็ การเพ่ิมประสทิ ธผิ ลอีก
ดว้ ย

การปฏบิ ตั ิงานตามหลกั การห้าขน้ั ตอนนี้ ทำให้เทเลอรป์ ระสบความสำเรจ็ และมผี ลผลติ เพิ่มข้ึน
บคุ ลากรมีความพึงพอใจไม่เหนื่อยหนา่ ยปฏบิ ัติงานด้วยความกระตือรือร้น ผบู้ รหิ ารยงั ต้องทำหน้าท่ี
วางแผน จดั องค์กร ให้คำชแ้ี นะ และควบคุมการปฏบิ ตั งิ าน ซึง่ สามารถนำหลักการดังกลา่ วของเทเลอรไ์ ปใช้กับ
การบรหิ ารงานวิชาการได้เชน่ เดียวกัน

2.3.2 ทฤษฎกี ารบริหารเชงิ การจดั การ (Administrative Management) ผูค้ ดิ ค้นหาวิธี
การบรหิ ารงานใหป้ ระสบความสำเร็จ และคิดในเรือ่ งการจัดการ ได้แก่ Henri Fayol โดยเนน้ ใหค้ วามสำคัญกับ
หน้าท่ที างการบรหิ ารจัดการ ซ่ึงมหี ลกั การดังต่อไปนี้ (Hampton. 1986 : 61-62)

1) การแบง่ งาน (Division of work) เปน็ การกำหนดภารกิจและความรับผดิ ชอบให้
บคุ ลากร

2) มอบอำนาจความรบั ผิดชอบ (Authority) ให้ผ้ปู ฏิบตั ไิ ด้ทำตามบทบาทหน้าที่
และรบั ผดิ ชอบต่อผลทีเ่ กิดข้นึ รวมท้งั คำนงึ ถึงการใหร้ างวลั และผลตอบแทนทเ่ี หมาะสม

3) กฎระเบยี บ (Discipline) จัดใหม้ ีกฎและระเบียบ หรือข้อตกลงร่วมกนั ระหวา่ ง
ผ้บู ริหารและผปู้ ฏบิ ัติไดเ้ ข้าใจตรงกัน และจำเปน็ ต้องอาศยั การแนะนำ การนเิ ทศท่ีดี

4) เอกภาพการส่ังการ (Unity of command) งานควรได้รับคำแนะนำ หรอื คำสงั่
จากผู้บริหารหรอื หัวหนา้ งานเท่าน้นั

5) เอกภาพของการกำหนดทิศทาง (Unity of direction) ผบู้ ริหารตอ้ งกำหนด
ทิศทาง เปา้ หมาย แตล่ ะงานให้ตรงตามวัตถปุ ระสงค์ ซ่ึงจำเปน็ ต้องอาศัยการประสานงาน การสร้าง
เอกภาพ และการเน้นการปฏิบตั ิ

6) การรวมความสนใจของแต่ละคนใหเ้ ปน็ หนงึ่ เดยี ว (Subordination of
individual interests to general interest) ความทะเยอทะยาน ความเหน็ แก่ตวั ความขเี้ กยี จ ความอ่อนแอ
ความเบื่อหน่าย และสิง่ ไมพ่ ึงประสงค์ ของบุคคลเปน็ สาเหตุมีผลต่อพฤติกรรมองคก์ ารโดยสว่ นรวม ผบู้ รหิ าร
จำเปน็ ต้องละลายสิ่งเหล่านัน้ ใหห้ มดไปและสรา้ งตวั อย่างที่ดแี ละการนิเทศทเี่ หมาะสมและยุตธิ รรม

7) การใหร้ างวัลหรือค่าตอบแทนแกบ่ คุ ลากร (Remuneration of personnel)
ผู้บรหิ ารจดั รางวลั หรือค่าตอบแทนท่ีเหมาะสม ซงึ่ จะช่วยให้มขี วัญกำลงั ใจในการปฏิบัติงานดีขึน้

8) การรวมศนู ย์ (Centralization) องค์การจำเป็นต้องมีการประสานงาน การสั่งการ
โดยอาศัยส่วนกลางอยา่ งไรก็ตามอาจมีความจำเปน็ ต้องกระจายอำนาจหรอื ความรับผิดชอบข้นึ อยู่กับ
สถานการณ์และลักษณะงาน การรวมศนู ย์จะทำใหส้ ามารถกำหนดศักยภาพของบุคลากรไปในทิศทางเดยี วกนั

9) สายงานของการบริหาร (Scalar chain) เป็นการกำหนดสายบังคับบัญชาจาก
เบ้ืองบนสู่ระดับล่าง ซึง่ จะช่วยกำหนดทิศทางใหม้ ีเอกภาพมากขึ้น อยา่ งไรก็ตามการท่มี สี ายงานบริหารยาว
เกนิ ไป การสือ่ สารกย็ ่อมมอี ปุ สรรค และการตัดสนิ ใจทไ่ี ม่ดี สง่ ผลต่อการบริหารจดั การด้วย

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

เช่นเดยี วกนั
10) การลำดับขน้ั การบงั คับบญั ชา (Line order) เปน็ การวางคนให้เหมาะกับสายงาน

เดยี วกันได้เพอ่ื สะดวกต่อการประสาน กำกบั ติดตามผล
11) ความเท่าเทียมกัน (Equity) ผู้บรหิ ารต้องให้ความเทา่ เทยี มและยตุ ิธรรมแก่ผ้ใู ต้

บงั คบั บัญชา ซง่ึ ผลต่อความซื่อสัตยแ์ ละการปฏบิ ัติงานที่ดี
12) ความมเี สถียรภาพของบุคลากร (Stability tenure of personnel) ผ้บู รหิ าตอ้ ง

คำนงึ ถึงเสถยี รภาพหรือความมัน่ คงในการปฏิบตั งิ านของบุคลากร การเปลีย่ นแปลงหนา้ ทร่ี ับผิดชอบบอ่ ย ๆ
ย่อมส่งผลตอ่ การทำลายขวัญและประสิทธภิ าพ

13) ความคิดรเิ รม่ิ สร้างสรรค์ (Initiative) ผู้บรหิ ารจำเป็นตอ้ งให้ผู้ปฏิบัติงานแตล่ ะ
คนได้รเิ ริ่มสรา้ งสรรค์ใหส้ ามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายมากทสี่ ุด โดยการร่วมคิด รว่ มวางแผน ร่วมปฏิบตั ิ
และรว่ มประเมินผล เป็นต้น

14) การพฒั นาทีมงาน (Espirit de corps) ผบู้ ริหารจำเป็นต้องสรา้ งทีมงานทเี่ ข้มแข็ง เพอื่
นำไปส่คู วามร่วมมือและการประสานงานท่ีดี

องค์ประกอบทง้ั 14 ประการน้จี ะทำให้การบรหิ ารงานมีประสทิ ธภิ าพมากขึน้ ซง่ึ Gulick and
Urwick ได้สรปุ เปน็ แนวความคดิ ทางการบริหารโดยใชค้ ำย่อวา่ “POSDCoRB” ไดแ้ ก่ การวางแผน การจดั
องค์การ การจัดบคุ ลากร การสง่ั การ การประสานงาน การรายงาน และการจดั สรรงบประมาณ โดยกำหนดให้
เป็นหนา้ ท่ีทางการบริหารท่ีผู้บรหิ ารต้องปฏิบตั ิ ดงั นัน้ การบริหารงานวิชาการจงึ ตอ้ งนำหลกั การดงั กล่าวน้ี ไป
ประยุกต์ใช้เช่นเดยี วกัน เพอ่ื ใหง้ านวิชาการมปี ระสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ลสงู สดุ

2.3.3 ทฤษฎกี ารบรหิ ารเชงิ มนุษยสัมพนั ธ์ (Human Relations) เป็นทฤษฎกี ารบรหิ ารเนน้
ความสัมพนั ธ์ของบุคคล ปฏิสมั พันธร์ ะหวา่ งบุคลากรหรอื ผู้บริหารกับผู้รว่ มงาน ผใู้ หค้ วามคิดนไ้ี ด้แก่ Elton
Mayo ใหค้ วามสำคัญกบั ความร้สู ึกทม่ี ีต่อกนั เน้นองคป์ ระกอบทางดา้ นสงั คมและจิตวิทยา เพือ่ เพิ่ม
ประสทิ ธภิ าพของผลผลิต และส่งเสริมความมชี วี ิตท่ดี ี เมโย ไดก้ ล่าวไว้ว่า “คนไม่ไดถ้ ูกแยกใหม้ ีความโดดเดี่ยว
ลำพงั ซ่ึงแสวงหาหรอื สนใจแตร่ ายได้หรือการงาน แต่เขายังตอ้ งเปน็ สมาชิกอยู่กบั กลมุ่ ต้องการความพึงพอใจ
จากสงั คมอีกด้วย” เมโย ได้สรปุ ปจั จยั ท่สี ำคญั และเป็นองค์ประกอบตอ่ ประสทิ ธภิ าพขององค์การไวด้ ังน้ี

1) ขวญั (Moral) บคุ ลากรจะต้องมขี วัญและกำลังใจท่ีดีในการทำงาน ผู้บริหารตอ้ ง
คำนงึ ถึงขวญั และกำลังใจ โดยการสรา้ งมนุษยสัมพนั ธท์ ี่ดีกบั ผ้รู ่วมงาน

2) ระดับความปรารถนา (Level of aspiration) ทุกคนมีความปรารถนาตอ่ ชวี ิต
เพ่อื สรา้ งคณุ ภาพชวี ิตที่ดีแก่ตนเองและครอบครัว หรือสังคม ดังนน้ั การต้ังความหวัง เพอื่ พฒั นาไปสู่ความ
ปรารถนาสงู สุดย่อมเปน็ แรงผลักดนั ใหก้ ารปฏิบัติงานมคี วามสำเรจ็

3) ความตระหนักในตนเอง (Self-realization)บุคลากรจะตอ้ งสร้างความตระหนัก
ในบทบาทและหน้าที่ ผู้บริหารตอ้ งเห็นความสำคัญของทุกคน ทุกส่วน ประกอบกนั ในองคก์ าร การรแู้ ละเขา้ ใจ
ในหนา้ ท่ีของตนเอง จะเป็นพื้นฐานในการปฏบิ ตั งิ านรว่ มกัน

4) ความรู้สึกเปน็ เจา้ ของ (Sense of belonging) การใหท้ กุ คนมีความรู้สึกเปน็
เจ้าของจะสรา้ งความผูกพันต่อองค์การมากขน้ึ มนุษยสมั พันธก์ ับเพอื่ นร่วมงานดี มีความอบอนุ่ มีชีวิตชวี าทำให้
รสู้ ึกเปน็ เจา้ ของ ต้องการให้องคก์ รทีป่ ฏบิ ัติงานประสบความสำเร็จ และไม่ละทิ้งหน้าท่ีของตนเอง

5) การมีสว่ นรว่ มในการทำงาน (Participation)ผบู้ ริหารตอ้ งเปิดโอกาสให้บคุ ลากร
มีสว่ นรว่ มในการคดิ วางแผนแกป้ ัญหาที่อาจเกิดขนึ้ รว่ มปฏิบตั ิ และร่วมประเมินผล การมี
มนุษยสัมพันธ์ทดี่ ี ก่อใหเ้ กดิ ความร่วมมือและก่อให้เกิดผลตอ่ องคป์ ระกอบอน่ื ๆ ที่กล่าวมาแล้วอีกดว้ ย

กมลชยั กติ ิทรพั ย์ 6420540432002

การวางแผนการบริหารงานวิชาการ
1. การวางแผนระบบงานวชิ าการ

1.1 จัดระบบบริหารงานวิชาการ เปนหมวดวชิ า
1.2 รวบรวมและจดั ทําระเบยี บ แนวปฏิบตั ิเก่ียวกบั วิชาการและประชาสมั พันธให ครูนกั เรียน และผู
ปกครอง ทราบ
1.3 จดั ทําเอกสารคูมือครแู ละคูมือนักเรียน เผยแพรใหผูทเ่ี ก่ียวของทราบ
1.4 จดั ทําปฏทิ ินปฏิบัติงานดานวชิ าการ
1.5 วางแผนงานดานงบประมาณ คาใชจายในการบรหิ ารงานวชิ าการประจาํ ป
1.6 จดั ทําแผนงาน โครงการทางวิชาการ
1.7 จัดบคุ ลากร ประสานงานกบั แหลงวชิ าการนอกโรงเรียน
2. การจัดแผนการเรยี น
2.1 จัดแผนการเรยี นใหสนองจดุ มุงหมาย หลักการ และโครงสรางของหลักสตู ร โดยคํานึงถึงความพร
อมดานอาคารสถานท่ี บุคลากร วัสดอุ ุปกรณ และความเหมาะสมกับ สภาพแวดลอม และสอดคลองกบั ความต
องการของชมุ ชน และทรัพยากรของทองถ่ิน
2.2 จัดเกบ็ รวบรวมขอมลู เกย่ี วกบั นักเรียน ผูปกครอง ชุมชน และทองถ่นิ ทเี่ ปนประโยชนตอนักเรียน
คร-ู อาจารย
2.3 จดั ปฐมนิเทศนักเรียน และผูปกครองเกีย่ วกบั การจดั แผนการเรียน การเลือก แผนการเรียน และ
การลงทะเบยี นเรยี น
2.4 พิจารณาเลือกใชแบบเรยี นและหนงั สอื อานประกอบ
2.5 ประสานแผนการเรียนกบั สถาบันอื่นๆ เพอื่ การศึกษาตอ หรือประกอบอาชีพ
3. การจดั ตารางการเรียนการสอน
3.1 จดั ใหมีตารางสอนประเภทตางๆ เชน ตารางสอนประจําช้นั ตารางสอนของครู แตละคน
ตารางสอนประจําหมวดวิชา ตารางสอนรวม
3.2 จัดใหมีตารางการใชหองเรยี น และอาคารสถานที่ตางๆ การตดิ ตามและ ประเมินผลการจดั ตาราง
การสอน
3.4 การปรบั ปรุงการจัดตารางการสอน การสอนซอมเสริม

กมลชยั กติ ิทรพั ย์ 6420540432002

4. การจดั ครูเขาสอน
4.1 จดั ครเู ขาสอนใหตรงตามวุฒิ หรอื ประสบการณ
4.2 จดั เฉลยี่ ครูใหเพยี งพอในแตละหมวดวชิ า
4.3 จดั ครูหรอื สือ่ การสอนแทนกรณที ี่มีครูไปราชการ

5. การพฒั นาการเรียนการสอน
5.1 สงเสรมิ ใหครูนําวิธีการสอนแบบตางๆ มาใชใหเหมาะสมกับเนื้อหาวชิ าพรอม ทั้งใหครรู ูจักนาํ

นวตั กรรมทางการศึกษามาใช และเนนใหครูจัดการเรยี นการสอนเพ่ือเสริมสราง คุณธรรม และจริยธรรม
5.2 ควบคมุ การสอนใหเปนไปตามจดุ ประสงคของการเรียนรูของแตละวิชา
5.3 จัดให้มีบริการแนะแนวการเรียนต่อและแนะแนวอาชพี
5.4 จัดกจิ กรรมเพื่อสงเสริมการเรียนการสอน

6. การจัดการเรียนการสอน
6.1 จัดใหมกี ารทําแผนการสอนและโครงการสอนเปนรายวิชา
6.2 จัดใหครูบันทึกการสอน
6.3 จัดหา ใช บํารุงรักษา และสงเสริมการผลติ สือ่ การสอน และอาํ นวยความ สะดวกในการใช
6.4 จดั หาทรพั ยากร แหลงวิทยาการ สถานประกอบการ และสถานประกอบอาชีพ อิสระ
6.5 จัดแหลงเรยี นรูและสงเสรมิ ใหคร-ู นักเรียน ไดใชแหลงเรียนรูใหเกดิ ประโยชน
6.6 จดั ทําแผนการใชอุปกรณภายในโรงเรยี น และการใชทรัพยากรรวมกับ สถานศึกษาอ่ืน

7. การพัฒนาครูทางดานวชิ าการ
7.1 จัดใหมีการนิเทศภายใน และจดั ทําจัดหาเอกสารตางๆ ทางวิชาการ
7.2 จดั การฝกอบรมครูการประชุมสมั มนาทางวิชากาน
7.3 สงเสริมใหครผู ลิตเอกสารทางวิชาการ และคนควาวจิ ัย
7.4 สงเสริมใหครไู ดศกึ ษาตอ หรอื ศกึ ษาดูงาน

8. การจัดกิจกรรมนักเรยี น
8.1 จัดกิจกรรมนักเรยี นใหเหมาะสมกับวยั โดยใหตรงกบั ความสนใจ และสนองตอ นโยบายของ

กระทรวง
8.2 จัดกิจกรรม เพอ่ื ใหนักเรียนสามารถรวมงานกับชุมชน

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

9. การวดั ผลและประเมินผลการเรียน
9.1 รวบรวมระเบยี บเกยี่ วกับการวัดผล และประเมินผลการเรยี นการสอน
9.2 ชแี้ จงแนวปฏิบัติ และปฏิทนิ ปฏบิ ัติงานเกยี่ วกับการวดั และประเมนิ ผลการ เรยี นใหทราบทว่ั ถงึ กนั
9.3 ดาํ เนินการวัดและประเมินผลการเรียนตามปฏิทิน และแนวปฏบิ ตั ทิ กี่ ําหนด
9.4 ดําเนนิ การวิเคราะหขอสอบ และจดั ทําธนาคารขอสอบ
9.5 ตดิ ตามประเมนิ ผล และตรวจสอบหลักฐานการวัดผลการเรยี นการสอน
9.6 สรางและปรบั ปรงุ เครื่องมือในการวัดผลการเรียนการสอนตามจดุ ประสงคของ รายวชิ า
9.7 จดั ใหมีเอกสาร หรือแบบฟอรมเก่ยี วกับการวัดผลและประเมินผลการเรยี น
9.8 จัดใหมีการรายงานผลการเรียนตามระเบยี บการวดั ผลใหถูกตองเปนปจจบุ นั
9.9 ควบคุมและตรวจสอบใหการวดั ผลและประเมินผลการเรยี นเปนไปตาม ระเบยี บ
10. งานทะเบียนนักเรียน จดั ใหมที ะเบยี นนักเรยี น หรือหลักฐานงานทะเบยี นนกั เรยี น พรอมทง้ั
จัดระบบการ เก็บรกั ษาท ่ปี ลอดภัย และใหมรี ะบบการใหบรกิ ารท่ี สะดวกรวดเร็ว
11. การประเมนิ ผลงานวิชาการ
11.1 จดั ใหมกี ารประเมนิ ผลงานวชิ าการทกุ ระยะ
11.2 ตรวจสอบหลักฐานการดาํ เนนิ งานทางวิชาการ
11.3 วเิ คราะหผลการประเมินผลงานวิชาการและนาํ ผลไปใชในการปรบั ปรงุ งาน วิชาการให
มปี ระสิทธิภาพยิ่งขนึ้
และลาสุด เมื่อกระทรวงศกึ ษาธิการ (2546) จดั โครงสรางการบริหารงานของกระทรวง ใหม
ไดกําหนดขอบขายของการบริหารงานในสถานศึกษา ดังน้ี
1.การพัฒนาหลักสตู รสถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู
3. การวดั ผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
4. การวิจยั เพื่อพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา
5. การพฒั นาสอ่ื นวตั กรรม และเทคโนโลยเี พ่ือการศึกษา
6. การพัฒนาแหลงเรียนรู
7. การนเิ ทศการศึกษา

กมลชยั กิติทรพั ย์ 6420540432002

8. การแนะแนวการศึกษา
9. การพฒั นาระบบประกนั คุณภาพภายในสถานศกึ ษา

10. การสงเสริมความรูดานวิชาการแกชมุ ชน
11. การประสานความรวมมอื ในการพฒั นาวชิ าการสถานศึกษาอน่ื
12. การสนบั สนนุ งานวิชาการแกบุคคล ครอบครัว องคกร หนวยงาน และสถาบนั อื่นที่ จัด
การศกึ ษา
………………………………………………………………………………..
สําหรับตาํ ราการบรหิ ารงานวชิ าการในโรงเรยี น ซ่ึงไดกาํ หนดใหนักศกึ ษา ไดเรียน จะกําหนด
ขอบขาย ดงั นี้
1. ความรูท้ วั่ ไปเก่ยี วกับบรหิ ารงานวิชาการ
2. หลกั สูตรและการพัฒนาหลักสูตรสถานศกึ ษา
3. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
4. การวัดผล ประเมนิ ผล และเทียบโอนผลการเรียน
5. การวจิ ยั เพอื่ พัฒนาคุณภาพการศกึ ษา
6. การพัฒนาส่ือนวตั กรรม และเทคโนโลยกี ารศึกษา
7. การพัฒนาแหลงการเรยี นรู้
8. การนิเทศการศึกษา
9. การแนะแนวการศกึ ษา
10. การพฒั นาระบบประกนั คุณภาพภายในสถานศึกษา
อา้ งอิง
http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EA634/EA634-1.pdf


Click to View FlipBook Version