The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Gessarin Bantao, 2022-07-14 12:43:45

การใส่สายยางเพื่อสวนล้างและการสวนล้างกระเพาะอาหาร

การใส่สายยางทางอาหาร

เรื่อง การใส่สายยางเพื่อสวนล้างและการสวนล้างกระเพาะอาหาร

จัดทำโดย

นางสาวเกศริน บรรเทา เลขที่ 6 รหัสประจำตัว 64118301013
นายนราวัฒน์ ยุบลชู เลขที่ 24 รหัสประจำตัว 64118301050
นางสาวชนกนันท์ สีหอมชัย เลขที่ 10 รหัสประจำตัว 64118301022
นางสาวชลธิชา เคหัง เลขที่ 12 รหัสประจำตัว 64118301025
นางสาวอารียา บัวงาม เลขที่ 74 รหัสประจำตัว 64118301148

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2
เสนอ

อาจารย์สิริอร ข้อยุ่น
รายวิชา หลักการและเทคนิคการพยาบาล พย.1202

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

N

U

R การใส่สายยางเพื่อสวนล้าง

S และการสวนล้างกระเพาะอาหาร
E

Nasogastric Tube

&
Gastric Lavage

การใส่ Nasogastric tube (NG)

วัตถุประสงค์ ของการใส่ NG tube

1.เพื่อให้อาหารทางสายยาง
2. ล้างกระเพาะกรณีผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือล้างสารพิษ
3. หยุดเลือดกรณีมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
4. ต้องการนำน้ำย่อยไปตรวจวินิจฉัย

อุปกรณ์

1. ถาดสี่เหลี่ยม 1 ใบ สำหรับใส่ของใช้
2. สายกระเพาะอาหารชนิด เลวิน (Levin Tube) ขนาดที่ใช้

- ผู้ใหญ่เบอร์ 14, 16, 18
- เด็กโตเบอร์ 8-12
- เด็กทารกเบอร์3,5,8,10
3. Asepto syring (ปลายเป็นกระเปาะ) ขนาด 50 ซีซี
4. สารหล่อลื่น เช่น K.Y Jelly หรือ Glycerine
5. ชามรูปไต 1 ใบ กระดาษ
สำหรับเช็ดปาก
6. ผ้าก๊อส 1-2 ผืน
7.พลาสเตอร์ติด tube หรือสายผูก
8. Stethoscope
9. ไม้พันสำลีซุบน้ำเพื่อทำความสะอาดรูจมูก
10. ถุงมือสะอาด

ขั้นตอนการปฏิบัติ

1.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจวัตถุประสงค์และวิธีการใส่สายยางให้อาหาร
2.ล้างมือ
3.เตรียมอุปกรณ์
4.จัดท่าผู้ป่วย ( High fowler's position)
5.คลุมผ้ากันเปื้อน
6.ทำความสะอาดโพรงจมูกและช่องปากตรวจดูรูจมูกผนังกั้นรูจมูก
7.เพื่อเลือกใส่ข้างที่ดี ถ้าเป็นปกติทั้ง 2 ข้างเลือกข้างใดข้างหนึ่งเลือกขนาด
สายยางตามความเหมาะสม

วัดตำแหน่งที่จะใส่สายให้อาหารลงสู่กระเพาะอาหารในผู้ใหญ่

ปลายจมูก

ติ่งหู

Xyphoid process

ขั้นตอนการปฏิบัติ ปลายจมูก/ปาก

เด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ติ่งหู

. กึ่งกลางระหว่าง
Xyphoid กับสะดือเด็ก
เด็กเล็กทารก

xyphoid

การใส่สารหล่อลื่นสายให้อาหาร

ผู้ใหญ่ หล่อลื่นสายด้วยสารหล่อลื่น
เด็ก หล่อลื่นสายด้วยน้ำสะอาด
ทารก ไม่หล่อลื่นเพราะใส่ทางปาก

ใส่สายยางจนเข้าไปถึง
ตำแหน่งที่ทำการวัด

การทดสอบตำแหน่งของสายให้อยู่ในกระเพาะอาหาร

วิธีที่ 1 ใช้กระบอกฉีดยาที่มีข้อต่อ (Syringe irrigate) ต่อเข้ากับปลาย
สายยางแล้วดูดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ถ้าดูดไม่ออกอาจมีการพับงอ

ของสายหรือใส่สายไม่ลึกพอ อาจต้องเลื่อนสายให้ลึกมากขึ้นให้
วิธีที่ 2 ใช้กระบอกฉีดยาที่มีข้อต่อ (Syringe irrigate) ดันลมประมาณ 5-
10 ซีซี (ถ้าเด็กใช้ 1-3 ซีซี) เข้าไปในสายยางใช้หูฟังที่หน้าท้องตำแหน่ง
บริเวณกระเพาะอาหารและดูดลมออกหลังทดสอบ
วิธีที่ 3 นำปลายสายจุ่มลงในแก้วน้ำ

การดูแลผู้ป่วยระหว่างที่ใส่สายคาอยู่

1.ตำแหน่งของสาย
​1.1 ไม่ให้หลุดออกจากการเลื่อนหลุดหรือผู้ป่วยดึงออกเอง ชี้แจงและวางแผนร่วม
กับผู้ป่วย ญาติ และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดในการดูแลให้ลายอยู่ในตำเหน่งเดิม บอกผลเสีย
ของการที่สายหลุดออกว่า ทำให้ต้องใส่ใหม่ เยื่อบุทางเดินอาหารต้องถูกระคาย
เคืองซ้ำ ผู้ป่วยต้องเจ็บอีกโดยไม่จำเป็น ในบางกรมีเมื่อสายหลุดแล้ว จะไม่สามารถ
ใส่ใหม่ได้ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดบริเวณปากและคอ ซึ่งใส่สายระหว่างการทำผ่าตัด
ทำให้ต้องยุติ การให้อาหารผ่านทางเดินอาหาร หากจำเป็น เช่น ผู้ปวยไม่ค่อยรู้สึก
ตัว อาจต้องใช้เครื่องผูกยึด
1​.2 ไม่ให้สายเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม ปลายสายด้านในไม่อยู่ในกระเพาะอาหาร แต่
เลื่อนออกมาอยู่ใกล้ทางเปิดของหลอดลม ทำให้มีโอกาสสำลักน้ำในทางเดินอาหาร
เข้าสู่หลอดลมได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อใช้สายเพื่อให้อาหาร ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ
ปอดอักเสบ หรือเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ อันตรายถึงตายได้ ถ้าผู้ป่วยมี
อาการไอหรือจามบ่อยๆควรแจ้งแพทย์ทราบและอาจจำเป็นต้องตรวจสอบตำแหน่ง
ของสายด้วยเอ็กซเรย์
​1.3 ให้ผู้ป่วยมีอิสระในการเคลื่อนไหวร่างกาย ตามความสามารถที่มีอยู่ในขณะนั้น
โดยไม่ให้การใส่สายทำให้เป็นข้อจำกัด
1​.4 ระวังการที่สายกดทับส่วนใดส่วนหนึ่งของผิวหนัง

การดูแลผู้ป่วยระหว่างที่ใส่สายคาอยู่ (ต่อ)

I

2. ความสะอาด ดูแลความสะอาดปากและฟันของผู้ป่วยเป็นประจำให้ผู้ป่วยแปรง
ฟัน บ้วนปากหรือให้ผู้ป่วยทำตามความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ อย่าง
น้อยวันละ 2 ครั้ง จะทำให้เยื่อบุในช่องปากชุ่มชื้นแข็งแรง มีความต้านทานต่อการ
ติดเชื้อได้ดี ผู้ป่วยที่ใส่สายมักถูกละเลยในเรื่องนี้ ดูแลความสะอาดในรูจมูกที่อาจ
มีสะเก็ดแห้งกรังของน้ำมูก รวมทั้งความสะอาดของพลาสเตอร์ที่ติดยืดสายทุก
วัน ถ้าสกปรกหรือมีการลอกหลุด เปลี่ยนพลาสเตอร์ให้ใหม่ ตรวจสอบการเถื่อน
หรือการกดทับของสายที่ผนังรูจมูก ถ้าสายสกปรกมากเปลี่ยนใหม่ การรักษา
ความสะอาด ดูแลไม่ให้สายกดทับผิวหนังเพื่อลดโอกาสการเกิดแผล การติดเชื้อ
ที่แผลสามารถถูกลุกลามในบริเวณใกล้เคียงได้แก่ ไซนัสอักเสบ หลอดอาหาร
อักเสบ กล่องเสียงอักเสบ

3. ความสุขสบายของผู้ป่วย ผู้ป่วยมักกังวล เครียด จากการมีสายคาอยู่
เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก รู้สึกเจ็บ รำคาญที่รูจมูก เจ็บคอ โดยเฉพาะเมื่อสาย
ขนาดใหญ่และใส่สายในวันแรกๆ เมื่อเริ่มชินจะทุเลาลง ยกเว้นเมื่อมีการกดทับ
หรือถูกดึงรั้ง การมีสายคาในจมูกอาจทำให้หายใจทางปากมากขึ้น ทำให้ปากแห้ง
คอแห้ง กระหายน้ำ ควรบ้วนปากบ่อยขึ้น ดื่มน้ำมากขึ้น หรือ ให้อมน้ำแข็งหาก
ไม่มีข้อห้าม และ
ตรวจสอบความสมดุลของน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและที่ขับออกจากร่างกาย ทาริม
ฝีปากด้วยครีมหล่อลื่น หรือวาสลีน

I

การสวนล้างกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)




คำนิยาม definition

ความหมาย หมายถึง การล้างกระเพาะอาหารด้วยสารละลายจำนวนมาก เพื่อให้
สารละลายแทรกซึมเข้าไปถึงรอยย่นของกระเพาะอาหาร เพื่อชำระล้างทุกๆ ส่วน
ของเยื่อบุ ช่วยเจือจางสารพิษ ช่วยลดความหนีดของสิ่งคัดหลั่งและทำให้ถูกระบาย
ออกมาอย่างสะดวก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อชำระล้างสิ่งแปลกปลอมออกจากกระเพาะอาหาร
2. เพื่อเตรียมผ่าตัดหรือการตรวจวินิจฉัยโรค
3. เพื่อล้างสารพิษภายหลังการดื่มสารพิษ
4. เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร และห้ามเลือดที่ออกมา

การเตรียมอุปกรณ์

1. ชุดสวนล้างกระเพาะอาหารปลอดเชื้อ ประกอบด้วย

ㆍSyringe สวนล้าง
ㆍชามรูปไต (500 มิลลิลิตร) 1 ใบ

2. น้ำยาที่ใช้ในการสวนล้าง ชนิดของน้ำยาขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของ
แพทย์ เช่น NsS
3. ถังน้ำสำหรับใส่สิ่งตกค้าง
4. หูฟัง (Stethoscope)
5. ผ้ากันเปื้อน
6. ถุงมือสะอาด

วิธีปฏิบัติ (Gastric lavage)

1. ล้างมือ
2. เตรียมเครื่องใช้ให้ครบถ้วน
3. บอกให้ผู้ป่วยทราบและแนะนำการปฏิบัติตัวขณะสวนล้าง
4. รองผ้ายางและผ้าขวางเตียงบริเวณศีรษะ และลำตัวผู้ป่วยส่วนบน
5.จัดท่าให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
6. ใส่ NG tube หรือตรวจสอบตำแหน่งสายยางก่อนล้างกระเพาะอาหาร
8. ต่อ syringe กับ gastric tube ดูดเอาน้ำย่อยและสิ่งตกค้างใน
กระเพาะอาหารออก ให้หมด และใส่ขวดหรือชามรูปไตสำหรับส่งตรวจ
9. ใช้ syringe ดูดสารละลาย ใส่สายยางครั้งละ 500 cC. ปล่อยให้
สารละลายไหลลงสู่ สายยางช้า ๆ ตามแรงโน้มถ่วงของโลก
10. หรืออาจใช้ syringe ดูด cOntent ออกมาเบาๆในช่วงแรกจนกระทั่ง
ของเหลวระบายออกมาสะดวก
โดยทั่วไปในผู้ใหญ่จะใส่สารละลาย ~ 1,000-5,000 cc.
ในเด็กจะใส่สารละลาย ~ 1,000-2,000 cc.

แสดง Gastric lavage

การพยาบาล ขณะ Gastric lavage

1. ตรวจสอบตำแหน่งสายยางก่อนล้างกระเพาะอาหารทุกครั้ง
2. ใส่สายละลายครั้งละไม่เกิน 500 cC. และจำนวนทั้งหมดไม่เกิน 10 ลิตร
3.ถ้าอาเจียน ต้องดูดสิ่งที่อาเจียนออกจากปากและลำคอให้หมด
4.ต้องใส่ถุงมือในกรณีผู้ป่วยดื่มยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า เพื่อป้องกัน
การดูดซึมสารพิษเข้าทางผิวหนัง
5.ในผู้ป่วยที่ดื่มยาพิษหรือรับประทานยาเกินขนาด ต้องนำ Contentส่ง
ตรวจก่อนล้างกระเพาะอาหาร
6.บันทึก V/S , 1/0

ข้อห้ามและข้อควรคำนึงในการล้างกระเพาะอาหาร

1. ข้อห้ามล้างกระเพาะอาหาร
-ในผู้ป่วยที่กินสารพิษประเภทกัดกร่อนอย่างแรง (Strong corrosive)
- สารพิษพวกไอระเหย เช่น น้ำมันรถยนต์
- กรณีที่กินยานอนหลับ (barbiturate) เกินขนาด ทำให้การดูดซึมยา
เร็ว ขึ้น และกระตุ้นให้ทางเดินอาหารเกร็งตัวตีบแคบลง
-ห้ามทำในผู้ป่วยที่รับประทานกรด ด่าง หรือสารในกลุ่ม hydrocarbon

ซึ่งมีโอกาสที่ทำ ให้เกิดอาการสำลักได้ง่าย และ ระวังในผู้ที่สำลักได้ง่าย
2.การล้างกระเพาะอาหารอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เช่น เกิดบาดแผล
มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร สำลักสิ่งที่ออกมาจากกระเพาะอาหาร
3.ขณะที่ทำการล้างกระเพาะอาหาร ถ้ามีเลือดออกต้องหยุดทำทันที
4.หมั่นตรวจสอบสัญญาณชีพและอาการทั่วไปของผู้ป่วยตลอดเวลา
5.ในกรณีใช้เครื่องดูดเสมหะระบบสุญญากาศจะต้องพร้อมที่จะใช้ได้เสมอ
เพราะสายยางที่ใส่ทางปากมักทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลั่งสิ่งขับหลั่งออกมาก

การสวนล้างกระเพาะอาหาร
(gastric irrigation)

ความหมาย การสวนล้างสายยาง หมายถึง การใส่สารละลายปริมาณ
น้อย คือประมาณ 50-100 CC.เข้าไปในสายยาง แล้วดูดสารละลายออกมา
หรือปล่อยให้ไหลออกมาเองเพื่อให้สิ่งที่อุดตันหรือตกค้างอยู่ในสายยาง
หลุดออกมาได้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อป้องกันหรือลดการอุดตันของสายยาง ซึ่งเกิดจากสิ่งคัดหลั่งที่ค้างอยู่
ตาม สาย หรือลิ่มเลือดที่ค้างอยู่ ทำให้ COntent ไม่สามารถระบายออกมาได้
2.เพื่อลดอาการท้องอืดจากแก๊สและสิ่งคัดหลั่งที่ค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร

วิธีปฏิบัติ

1.เท NSS 50-100 cC. ลงในชามรูปไตใบใหญ่
2.ใช้ syringe ดูด NSS ครั้งละ 30-50 cc. ตามแผนการรักษา
3.ต่อ syringe เข้ากับสายยางและดันสารละลายเข้าไปช้า ๆ ทำการสวนล้าง
สายยางซ้ำอีกครั้งจนกระทั่งได้ Content ออกมาตามแผนการรักษา

การพยาบาล

1.ตรวจสอบตำแหน่งสายยางก่อนสวนล้างสายยางเสมอ
2.ถ้าใส่สารละลายเข้าไปแล้วดูดออกมาไม่ได้ อาจเป็นเพราะสายยางเลื่อน
ต้อง ใส่สายยางให้ลึกจากเดิมลงไปอีก 1-2 นิ้ว
3.บันทึก 1/O (intake / output)

2.การล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำเย็นจัด
(gastric cooling)

ความหมาย การล้างกระเพาะอาหารด้วยน้ำเย็นจัด หมายถึงการใส่น้ำเย็นจัดลงไป
ในกระเพาะอาหารเพื่อดูดเอาก้อนเลือดออกมาเพื่อลดและห้ามเลือดบริเวณ
หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
**ปัจจุบันไม่นิยมใช้**
วัตถุประสงค์ เพื่อห้ามเลือดชั่วคราวในรายที่มีการตกเลือด
เป็นจำนวนมากจากทาง เดินอาหารส่วนบน

อุปกรณ์

เช่นเดียวกับ gastric lavage และเพิ่มเติมดังนี้
สารละลายที่ใช้ ได้แก่ NSS, Ringer's lactate, น้ำแข็ง,
วิธีปฏิบัติ (gastric cooling)
1-8. เช่นกันกับ gastric lavage

9.ใช้ syringe ดูดสารละลายที่เย็นจัดครั้งละ 50 cc

10.ใส่สารละลายลงในสายยางอย่างช้า ๆ อย่างน้อยที่สุด 200 CC. จนกว่าจะใส

การพยาบาล gastric cooling

1. ขณะใส่น้ำเข้าและดูดน้ำออกไม่ควรดันหรือดึงลูกสูบแรง ๆ
2. ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าหรือขยับสายยางถ้าไม่มีสารละลายไหลออกมา
3. ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
4. วัดสัญญาณชีพทุก 15-30 นาทีจนคงที่
5. บันทึก l/0
6. ห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่นตลอดระยะเวลาของการทำ

gastric suction

การใส่สายให้อาหารเพื่อระบายและต่อกับเครื่องควบคุมความดันสูญญา
กาศ เพื่อระบายสารคัดหลั่ง ลม ออกจากกระเพาะอาหาร

บรรณานุกรม

นรินทร์ อจละนันท์. คลินิกใส่สายให้อาหาร. กรุงเทพฯ. เข้าถึงได้จาก
https://www.rama.mahidol.ac.th/giendoscopy_center/th.
(วันที่สืบค้น : 6 กรกฎาคม 2565)

สิริอร ข้อยุ่น.(ม.ป.ป.).หลักการและเทคนิค การสวนล้างและการบันทึกปริมาณน้ำ
เข้า-ออก.อุดรธานี:วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี.

สุปาณี เสนาดิสัยและวรรณา ประไพพานิช. (บรรณาธิการ). (2551). การพยาบาลพื้น
ฐาน: แนวคิดและก​ ารปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลรามาธิบดี.

NurseKKU. การดูแลผู้ป่วยล้างกระเพาะอาหาร (Caring for gastric lavage).
เข้าถึงได้จาก
https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/53-
2019-09-26-03-20-36?​download=350:2019-09-26-03-58-27.
(วันที่สืบค้น : 5กรกฎาคม 2565).


Click to View FlipBook Version