The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สมาชิก Class A
1.นางสาวจุฑาภรณ์ ตั้งมั่นดี เลขที่12
2.นางสาวธนภัค พิมพ์แก้ว เลขที่20
3.นางสาวธิญาดา พนาลิกุล เลขที่ 23
4.นางสาวสิริภัทร วงศ์ชาลี เลขที่ 64
5.นางสาวสิริยากร อินทวงศ์ เลขที่ 65

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by FG B, 2022-07-13 12:11:24

การสวนอุจจาระ กลุ่มที่ 8

สมาชิก Class A
1.นางสาวจุฑาภรณ์ ตั้งมั่นดี เลขที่12
2.นางสาวธนภัค พิมพ์แก้ว เลขที่20
3.นางสาวธิญาดา พนาลิกุล เลขที่ 23
4.นางสาวสิริภัทร วงศ์ชาลี เลขที่ 64
5.นางสาวสิริยากร อินทวงศ์ เลขที่ 65

ENEMA

การสวนถ่ายอุจจาระ

BOROMARAJONANI COLLEGE OF
NURSING, UDON THANI

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคการพยาบาล เรื่องการสวนถ่ายอุจจาระ
(Enema) เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ ส่วนนักศึกษาจะได้ทราบถึงหลักการสวนถ่ายอุจจาระ การจัดทำ
หนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อศึกษาศึกษาเรื่องหลักการสวนถ่ายอุจจาระ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการเรียนต่อไป







คณะผู้จัดทำ
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2
16 กรกฎาคม 2565

เรื่อง หน้า

• ความหมายของการสวนอุจจาระ 1
• หลักการ 1
• วัตถุประสงค์ 2
• สารละลายที่ใช้ 3
• ปริมาณและลักษณะของน้ำหรือน้ำยาที่ใช้ 5
• อุปกรณ์ที่ใช้ 7
• ขั้นตอนการปฏิบัติการ 8
• การบันทึกรายงาน 11
• บรรณานุกรม 11

การสวนอุจจาระ หรือการสวนทวารหนัก (ENEMA) หมาย
ถึง การใส่สารละลายหรือน้ำยาเข้าไป ในลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง
โดยผ่านทางทวารหนัก เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้ขับ
ถ่าย หรือเพื่อให้ยาหรือสารอื่นที่ใช้ในการรักษาไว้ในลำไส้

1. ชนิดของสารน้ำที่เหมาะสมกับการสวนอุจจาระ ควรพิจารณาจากอายุ สภาพของ
ร่างกาย พยาธิสภาพของโรค และวัตถุประสงค์ในการสวนอุจจาระ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ในการสวนอุจจาระ

2. ระยะเวลาและปริมาณสารน้ำที่ใช้ในการสวนอุจจาระ นอกจากจะเป็นไปตามหลัก
วิชาการ แล้ว ควรคำนึงถึงข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละบุคคลด้วย

3. ไม่ทำการสวนอุจจาระในผู้ป่วยต่อไปนี้ มีอาการลำไส้อุดตัน (BOWEL OBSTRUCTION)
มีการอักเสบของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ (APPENDICITIS) มีการติดเชื้อในช่องท้อง
(INFECTION OF ABDOMEN) ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ (POST RECTAL SURGERY)

ภาพตัวอย่างการสวนอุจจาระ

ขึ้นอยู่กับชนิดของการสวนอุจจาระ (types of enema) ซึ่งสามารถ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. เพื่อการสวนล้าง (CLEANSING ENEMA OR ENEMA TO BE EXPELLED) คือ การกระตุ้น
ลำไส้ใหญ่ (COLON) และไส้ตรง (RECTUM) ให้เกิดการระคายเคือง ลำไส้โป่งตึง และมีการเคลื่อนไหว
ด้วยน้ำหรือน้ำยาที่สวนเข้าไป จนกระทั่งสามารถขับถ่ายอุจจาระออกมาได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

บรรเทาอาการท้องผูก (CONSTIPATION) และอุจจาระอัดแน่น (FECAL IMPACTION)

ทำให้ลำไส้ใหญ่สะอาด (CLEANSING) เพื่อเตรียมผ่าตัดในรายที่ต้องระงับความรู้สึกโดยการ
ใช้ยาสลบ การเตรียมตรวจพิเศษและการเอกซเรย์ (X-RAY) บางอย่าง ในการวินิจฉัยและ
รักษาโรครวมทั้งการเตรียมคลอดเพราะขณะคลอดหัวเด็ก อาจทำให้เกิดแรงดันและมีอุจจาระ
ออกมาด้วย

ช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติ ในช่วงที่เข้าโปรแกรมฝึกการขับถ่าย ในการขับลม
(CARMINATIVE ENEMA) รวมทั้งการขับพยาธิ (ANTHELMINTX) ในรายที่มีพยาธิหรือ
ปรสิตในลำไส้ใหญ่

2.เพื่อการสวนเก็บ (RETENTION ENEMA OR ENEMA TO BE RETAINED) คือ การสวน
น้ำยาบางอย่างเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ทำให้อุจจาระเกิดการอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการสวนเก็บ
ด้วยน้ำมัน (OIL-RETENTION ENEMA)

ให้ยาทางทวารหนัก (MEDICATED ENEMA) ใช้ในการรักษาและวินิจฉัยโรค เช่น สวนยา
NEOMYCIN ก่อนผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียและการสวนตรวจเอกชเรย์
(X-RAY) ด้วยแบเรียม (BARIUM ENEMA) ซึ่งจะทำให้มองเห็นลักษณะ ขนาด และสิ่ง
ผิดปกติ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นต้น

ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มของน้ำยาตามความเข้มข้นของสารละลายได้ 4 กลุ่มดังนี้

สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากันกับความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย (isotonic solution)

ได้แก่ 0.9% N.S.S. ซึ่งเป็นสารละลายที่มีความปลอดภัยมากที่สุด นิยมใช้ในการสวนล้างที่
ใช้ปริมาณน้ำมาก และสวนในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการให้ลำไส้ได้รับการระคายเคืองด้วยน้ำสบู่
หรือในผู้ป่วยที่เกรงว่าจะเกิดภาวะสารน้ำและเกลือแร่ไม่สมดุล (electrolyte imbalance)
เพราะสารละลายประเภทนี้ ช่วยแก้ปัญหาการเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

แต่ควรระมัดระวังการใช้น้ำยาชนิด
นี้ในเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ
ไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่จาก
ความเข้มข้นของเกลือที่ได้รับ

สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย (hypotonic solution)

สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นของเลือดใน
ร่างกาย (hypotonic solution) ได้แก่ น้ำสะอาด หรือน้ำ
ประปา (tap water) การสวนด้วยสารละลายชนิดนี้ ใช้สวนใน
รายที่มี โรคของไส้ใหญ่ และการเตรียมตรวจการถ่ายภาพทาง
รังสี หรือผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่ เพราะกลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิด
การระคายต่อลำไส้

แต่จะไม่ทำการสวนอุจจาระด้วยน้ำซ้ำเป็น ครั้งที่ 2 ต่อเนื่องกัน เนื่องจากน้ำมีความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นของ
เลือด เมื่อเข้าไปในร่างกายน้ำ (osmosis) เข้าสู่เซลล์ ทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย หรืออาจทำให้มี
น้ำในร่างกายมากเกินไป จนเกิดภาวะ"น้ำเป็นพิษ (water intoxication)"

ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สารละลายกลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับสารน้ำ
และเกลือแร่ เช่น

อ่อนเพลีย อาเจียน โรคหัวใจ โรคไต ผู้ป่วยเด็ก
เหงื่อออกมาก ซีด ไอ จาม

สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย (hypertonic solution)

ปัจจุบันมักบรรจุในน้ำยาสวนอุจจาระสำเร็จรูปที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาหัวไป เช่น Fleet
enema, Unison enema , Patar enema, Royal - C enema* เป็นต้น สารละลายกลุ่มนี้
มีโซเดียมไดฟอสเฟต (sodium diphosphate) และโซเดียมฟอสเฟต (sodium
phosphate) เป็นส่วนประกอบสำคัญ จึงใช้น้ำยาในปริมาณน้อย ทำให้ลดความอ่อนล้าและ
ความกลัวของผู้ป่วยจากการสวนอุจจาระที่มีปริมาณมากได้

หลังจากที่สวนน้ำยาเข้าไป พยาบาลจะต้องบอกให้ผู้ป่วยพยายามกลั้นอุจจาระไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทนได้
เพื่อรอให้มีการดึงน้ำออกจากผนังลำไส้ออกมาปนกับอุจจาระ โดยวิธีน้ำซึมผ่าน (osmosis) ทำให้อุจจาระ
อ่อนตัว ผนังลำไส้เกิดการตึงตัวและกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการบีบตัวขับอุจจาระออกมา

ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยากลุ่มนี้ใน

ผู้ป่วยที่ขาดน้ำ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยจำกัดเกลือ ผู้ป่วยเด็ก

การสวนด้วยน้ำสบู่ (soap solution enema หรือ soapsuds enema เขียนย่อว่า S.S.E)

สบู่ช่วยกระตุ้นให้เยื่อบุลำไส้มีการระคายเคือง ลำไส้ใหญ่โป่งตึงและบีบตัวได้ง่ายขึ้นโดย
อัตราส่วนของน้ำสบู่ที่เหมาะสมคือ น้ำสบู่ 3-5 มล.กับน้ำ 1000 มล.และเมื่อผสมกัน
แล้วเป็นสีน้ำซาวข้าว

ไม่ควรผสมเข้มข้นมากกว่านี้ เพราะสบู่ทำให้ผนังลำไส้ระคายเคือง
และเกิดลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) ตามมาได้

ส่วนการเตรียมสบู่เหลวสามารถทำได้โดยใช้สบู่แข็งมาหั่นฝอย
เติมน้ำแล้วนำไปเคี่ยวไฟจนละลายเป็นน้ำสบู่เข้มข้น

ก่อนทำการสวนอุจจาระทุกครั้งพยาบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดและปริมาณของสารละลายที่ ใช้ในการ
สวนอุจจาระ ระยะเวลาที่เกิดผล ผลที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียง รวมทั้งการจัดท่านอนที่เหมาะสม

โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย (Sim's position) ส่วนเด็กเล็ก เด็กโต และผู้สูงอายุจัดให้อยู่ใน
ท่านอนหงายชันเข่า (dorsal recumbent position)

บนหม้อนอนเนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ของเด็ก
อาจจะยังไม่แข็งแรง และในผู้สูงอายุกล้ามเนื้อหูรูดอาจ
หย่อนสมรรถภาพ ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ ในลำไส้ได้ทำให้

กลั้นอุจจาระไม่ได้ ดังรายละเอียดในตาราง

ชนิดของ ปริมาณ ระยะเกิดผล ผลที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียง
สารละลาย(ตัวอย่าง)

( มล.) (นาที)
อาจมีการคั่งของ
1.isotonic 500-1,000 15-20 ลำไส้ใหญ่โป่งตึง กระตุ้น โซเดียม(Na)
(0.9% NSS) การเคลื่นไหวลำไส้ทำให้
อุจจาระอิ่มตัว

2.hypotonic 500-1,000 15-20 ลำไส้ใหญ่โป่งตึง กระตุ้น ความไม่สมดุลของสารน้ำ
(น้ำประปา)
การเคลื่นไหวลำไส้ทำให้ และเกลือแร่(electrolyte)

อุจจาระอิ่มตัว เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ

3.hypertonic 5-10 5-10 ดูดน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่ อาจมีการคั่งของ
(sodium phosphate) โซเดียม(Na)

4.soapsuds 10-15 10-15 ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้ ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้
(น้ำสบู่ 3-5 ml ทำให้ลำไส้ใหญ่โป่งตึง
+น้ำ1,000 ml.)

นอกจากนี้ อุณหภูมิของน้ำยาที่อุ่นปานกลางและมีความเหมาะสมกับวัยจะช่วยให้กล้ามเนื้อ บริเวณลำไส้หย่อนตัว

เพราะถ้าหากน้ำยาร้อนเกินไปจะทำอันตรายต่อ และถ้าหากน้ำยาเย็น เกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวด
เยื่อบุลำไส้ เกร็งท้องหรือเป็นตะคริว (abdominal cramping) ได้

แต่ถ้าเป็นน้ำยา กลุ่มความเข้มข้นมาก (hypertonic และการอุ่นน้ำยากลุ่มอื่นๆ ควรใส่น้ำยาในภาชนะแล้ว
solution) ไม่จำเป็นต้องอุ่น สามารถใช้น้ำยาได้ใน ตั้งในน้ำร้อน ซึ่งอุณหภูมิของน้ำยาที่ใช้ในเด็ก และ
อุณหภูมิห้อง ผู้ใหญ่แตกต่างกันดังนี้

อุณหภูมิ
วัย องศาเซลเซียส ( C ) องศาฟาเรนไฮด์ ( F )
เด็ก 37.7 ประมาณ 100
ผู้ใหญ่ 40-43 105-110

สำหรับการสวนอุจจาระในเด็กทั้งเด็กเล็กและเด็กโต ปัจจุบันนิยมใช้ น้ำเกลือ (0.9% NSS) และ น้ำยาที่มีความ
เข้มข้นสูง (hypertonic solution) เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตหรือมีภาวะน้ำเป็น
พิษได้ และควรใช้ท่อสอดทวารหนัก (rectal tube) แทนหัวสวน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ โดยเด็ก
เล็กสอดลึก 1-1.5 นิ้วและเด็กโตสอดลึก 2-3 นิ้ว ผู้ใหญ่ 3 และใช้ปริมาณน้ำยาแตกต่างกันตามรายละเอียดดังนี้

ช่วงวัย (อายุ) ปริมาณน้ำยาที่ใช้ (มล.)

เด็กอ่อน (infant) (1 เดือน – 1 ปี) 150-250
เด็กอ่อน (infant) (1 เดือน – 1 ปี) 250-350
300-500
เด็กวัยเรียน (child) (6-12 ปี) 500-700
วัยรุ่น (adolescent) (12-18 ปี) 750-1000

ผู้ใหญ่ (adult)

อุปกรณ์ในการสวนอุจจาระ

ถาดสี่เหลี่ยมบรรจุ

– ชุดหม้อสวน (enema can) ประกอบด้วย สารละลายตามแผนการรักษาใส่ในหม้อสวนและหัวสวน
(enema stopcock) หรือสายสวน (rectal tube)
– ชามรูปไตบรรจุผ้าก๊อส (gauze) ขนาด 3x3 นิ้ว จำนวน 1-2 ผืน และกระดาษชำระ
– สารหล่อลื่น เช่น วาสลิน (vaseline) เค-วาย เจลลี่ (K-Y jelly) เป็นต้น
– ถุงมือใช้ครั้งเดียว (disposable) จำนวน 1 คู่

ผ้าคลุมตัว 1 ผืน เสาแขวนหม้อสวน (stand)

หม้อนอนพร้อมที่ปิด ชุดชำระทำความสะอาด

กิจกรรม เหตุผล

การประเมิน (assessment) 1.เพื่อให้สามารถวางแผนวิธีการสวนอุจจาระและจัด

1. ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ รวมทั้ง จุดประสงค์ เตรียมอุปกรณ์ ชนิดของน้ำยาได้ถูกต้อง

ของการสวนอุจจาระ 2.เพื่อให้สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้ถูกต้องและเหมาะ

2. ตรวจสอบชื่อ - นามสกุลของผู้ป่วยพร้อมกับ ประเมิน สมกับสภาพของผู้ป่วย

ความสามารถในการควบคุมการขับ 3. เพื่อเป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะความแข็งของอุจจาระ

3. ประเมินการขับถ่ายครั้งสุดท้าย และฟังเสียงการ และประเมินประสิทธิภาพในการบีบรัดตัวของลำไส้

เคลื่อนไหวของลำไส้ 4. เนื่องจากริดสีดวงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วย เกิดความ

4. ประเมินการเกิดหรือมีโอกาสเกิดริดสีดวงทวาร ทั้งภายใน ไม่สุขสบาย และอาจทำให้เกิดเลือดออกจากการขับถ่าย

และภายนอกทวารหนัก และอาการ ปวดท้อง (abdominal อุจจาระได้ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสวน

pain อุจจาระมากขึ้น และเพื่อให้แน่ใจว่าขณะสวนอุจจาระผู้

การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis) ป่วยไม่ เกิดอาการปวดท้องจากลำไส้ทะลุ (bowel
1.ไม่สุขสบาย อึดอัด แน่นท้อง เนื่องจากอุจจาระค้างใน perforation)
ลำไส้ใหญ่ 5. เพื่ออธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจ และซัก
2. แบบแผนการทำกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก ถามในส่วนที่สงสัย คลายความกลัว และความวิตกกังวล
ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ การบีบรัดตัวของลำไส้

กิจกรรม เหตุผล

การวางแผน (planning) 1.เพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพภายหลังการ พยาบาลในผู้
ป่วยที่ได้รับการสวนอุจจาระโดย ไม่เกิดภาวะแทรกช้อน
1. ภายหลังการสวนอุจจาระไม่มีอุจจาระคั่งค้างในลำไส้ใหญ่ และอันตรายต่อผู้ป่วย
ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายขึ้น อีดอัด แน่นท้องลดลง ผู้ป่วยไม่มี 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจความจำเป็นในการสวน อุจจาระ
ความวิตกกังวลเรื่องการสวนอุจจาระ แบบแผนการทำ และให้ความร่วมมือในการทำ หัตถการโดยสามารถจัด
กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยไม่เปลี่ยนแปลง นอนตะแคงซ้าย เข่าและสะโพกโค้งไปทางหน้าอก ซึ่งจะ
2.ผู้ป่วยได้รับการเตรียมทางด้านจิตใจ โดยการ อธิบาย ช่วย ให้การสวนอุจจาระง่ายและสะดวก ปลอดภัย จาก
เหตุผล ขั้นตอนและวิธีการ วัตถุประสงค์ ท่าที่เหมาะสม ภาวะแทรกซ้อน เช่น การเป็นตะคริว (cramps) หรือ
และภาวะแทรกซ้อนในระหว่าง ที่สวนอุจจาระ ปวดท้องขณะได้รับการ สวนอุจจาระ เป็นต้น
3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสวนอุจจาระ 3.เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติการพยาบาล
4. เตรียมอุณหภูมิของน้ำยาที่จะใช้สวนให้อยู่ใน อุณหภูมิที่ 4. น้ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสมจะช่วยให้การสวน อุจจาระ
เหมาะสมโดย ผู้ใหญ่ใช้อุณหภูมิ 1050-1100 F ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ถ้าน้ำ ร้อนเกินไปอาจ
(40.5%-430C) เด็กใช้อุณหภูมิ 100*F (37.7*C) ทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ และเย็นเกินไปถ้าทำให้เกิดการ
หดเกร็งแบบ ตะคริวทำให้ปวดท้องรุนแรงได้

กิจกรรม เหตุผล

การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค
(implementation)
เพื่อให้การพยาบาลได้สะดวกและประหยัดเวลา
ล้างมือ
เพื่อความถูกต้องในการปฏิบัติการพยาบาล
นำอุปกรณ์ไปที่เตียงผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม รับรู้สิ่งที่จะ
ตรวจสอบผู้ป่วยโดยการถามชื่อ-นามสกุล เกิดขึ้น และร่วมมือในการรักษา

อธิบายให้ผู้ป่วยทราบเหตุผลการสวน วิธี ไม่เปิดเผยและเป็นการให้เกียรติผู้ป่วย
ทำ และ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะ
สวนอุจจาระ ป้องกันที่นอนเปื้อนขณะสวนอุจจระ
กั้นม่านหรือปีดม่านให้เรียบร้อย
ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ช่วยให้ลำไส้ใหญ่ ส่วน
ปูผ้ายางและผ้าขวางเตียงใต้สะโพกผู้ป่วย โค้ง (sigmoid flexure) อยู่ในลักษณะ หงาย
สามารถเก็บกักของเหลวที่ใส่ไปได้ ส่วนการคลุม
จัดท่าให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย โดยผู้ป่วย ผ้าและไม่เปิดเผยจะทำให้ลด อาการเกร็งเนื่องจาก
ช่วยเหลือตัวเองได้ จัดท่านอนตะแคงซ้าย กึ่ง ความอาย
คว่ำ (Sim's position) ผู้ป่วยกลั้นอุจจาระไม่ เพื่อความปลอดภัย สะดวกในการปฏิบัติ
ได้หรือผู้ป่วยที่ช่วยตัวเอง ไม่ได้ จัดให้นอน
หงายชันเข่า (dorsal recumbent position) เป็นการควบคุมแรงดันน้ำให้พอเหมาะ ถ้าสุง เกิน
และสอดหม้อนอน รองรับไว้ ปีดผ้าคลุมส่วน ไปแรงดันน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำยาไหลเร็ว ผู้ป่วยอาจ
อื่นให้มิดชิดเปิดเผย เฉพาะส่วนก้นเท่านั้น ทนไม่ได้นาน

ตรวจสายยาง ข้อต่อ หัวสวนให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วย
มาสู่ผู้ปฏิบัติ การต่อหัวสวนให้แน่นเพื่อ
แขวนหม้อสวนสูงจากทวารหนักผู้ป่วย 12-18 นิ้ว ป้องกันหัวสวนหลุด เปิดน้ำเพื่อทดสอบว่า
ปลายหัวสวนอุดตัน มีรอยร้าว แตกหรือไม่
สวมถุงมือ ต่อหัวสวนกับสายสวน และเป็นการไล่อากาศออกจากสายสวน ซึ่ง
ให้แน่น หล่อลื่นหัวสวนและคลาย เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ลำไส้โป่งตึงและไม่สุข
หัวสวนเปิดน้ำลงในหม้อนอน สบายได้
ช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว สอดหัวสวน
บอกให้ผู้ป่วยเบ่งเล็กน้อย หายใจเข้าสึกๆ แล้ว เข้าไปได้ง่าย
สอดหัวสวนหรือสายสวนเข้าไปในทวารหนัก ดังนี้
(Potter, et al, 2013 : 1037) ผู้ใหญ่ (adult)
7.5-10 ชม. (3-4 นิ้ว) เด็ก (child) 5-7.5 ชม.
(2-3 นิ้ว) ทารก (infant) 2.5-3 ชม. (1-1 %2
นิ้ว) 12 ขณะสอดให้ปลายหัวสวนชี้ไปทางสะดือ
สอด หัวสวนลึกประมาณ 2 นิ้ว แล้วเบนหัวสวน
กลับขนานกับแนวกระดูกสันหลังและจับหัวสวนไว้

ขณะสอดให้ปลายหัวสวนชี้ไปทางสะดือ สอด หัว การสอดหัวสวนชี้ไปทางสะดือ ช่วยให้หัวสวน
สวนลึกประมาณ 2 นิ้ว แล้วเบนหัวสวนกลับ ผ่านหูรูดทวารหนักได้ง่ายขึ้น ป้องกันการฉีดขาด
ขนานกับแนวกระดูกสันหลังและจับหัว สวนไว้ ลำไส้ใหญ่ และการหัวสวนขณะป้องกันการหลุด
ทำให้น้ำหกเปื้อน
ปล่อยให้น้ำยาไหลเข้าช้าๆ สังเกตระดับน้ำใน เพื่อป้องกันแรงดันสูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยทนไม่
หม้อสวนว่าระดับลดลงหรือไม่ ถ้าน้ำไม่ไหล ให้ ไหว การที่น้ำไม่ไหลอาจเกิดจากมีเศษ อุจจาระ
ขยับหัวสวนเล็กน้อย หรือดึงหัวสวนออกมา ไปอุดตันบริเวณปลายหัวสวน
ทำความสะอาดแล้วสอดเข้าไปใหม่
เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและสามารถรับน้ำได้ต่อไป
ปล่อยให้น้ำไหลประมาณ 5-10 นาที ปิดหัว
สวนแล้วบอกให้ผู้ป่วยพยายามกลั้นอุจจาระ โดย เพื่อให้น้ำยารวมตัวกับอุจจาระได้มากขึ้น
หายใจลึกๆทางปาก
เมื่อน้ำยาไหลหมดหรือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทน เพื่อเช็ดเศษอุจจาระที่ติดอยู่บริเวณหัวสวน และ
ต่อไปได้ ปิดหัวสวนและดึงหัวสวนออก บอกให้ผู้ เพื่อสะดวกในการนำอุปกรณ์ไปทำความสะอาด
ป่วยกลั้นอุจจาระต่อประมาณ 5 นาที จึงถ่าย เพื่อความสะอาดและสุขสบาย
อุจจาระออกมาโดยลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือถ่ายที่
เตียงแล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลในการบันทึกและประเมินผลของ
ทำความสะอาดหัวสวนด้วยกระดาษชำระ การปฏิบัติ
ปลดหัวสวนใส่ชามรูปไตปลดหม้อสวนวางลง เพื่อสะดวกในการใช้ครั้งต่อไป
ทำความสะอาดภายหลังผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระ
เสร็จเรียบร้อย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

สังเกตปริมาณ สี และลักษณะของอุจจาระที่ออกมา

นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาด โดย

- หัวสวนผ่านน้ำล้างเศษอุจจาระออกให้ หมด
แล้วแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ (bactyl 1: 50) นาน 30
นาที แล้วล้างด้วยผงขัดล้าง อีกครั้งก่อนเก็บเข้าที่
- หม้อสวนและสายยางล้างให้สะอาด ด้วยผงขัด
ล้างผึ้งให้แห้งแล้วจึงเก็บเข้าที่
ถอดถุงมือและล้างมือ

กิจกรรม เหตุผล

การประเมินผล (evaluation) 1. เพื่อสังเกตความผิดปกติของอุจจาระ
2. เพื่อประสิทธิผลของการสวนอุจจาระว่า อุจจาระถูก
1. ไม่มีอาการเกร็งหน้าท้องขณะสวน อุจจาระ ถูกขับ ขับออกมาหมดหรือไม่
ออกจำนวนมาก
2. ไม่มีอาการแน่นอึดอัดท้อง อาการปวดเกร็ง หน้าท้อง

เพื่อเป็นหลักฐานในการสวนอุจจาระและเป็นข้อมูลในการพยาบาลอย่างต่อเนื่องจึงควรบันทึกเกี่ยวกับเรื่องต่อไป

1. จำนวนและชนิดของน้ำยาที่ใช้
2. เวลาที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
3. ประสิทธิผลของการขับถ่ายภายหลังจากสวนการสวนอุจจาระ
- อาการและปัญหาที่เกิดขึ้นขณะสวน
- ปริมาณและลักษณะของอุจจาระ
- ปัญหาและสภาพผู้ป่วยภายหลังสวนอุจจาระ


ทัศนีย์ ทองประทีป./(2560).//ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน 2 /(3).//กรุงเทพฯ:/บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด


Click to View FlipBook Version