The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ARITPKRU, 2022-09-19 15:30:16

วรรณคดีและวรรณกรรม ม.5

ÑÕÔé

Ë1§Ê×ÍàÃÂ1 ÃÒÂÇaÒ3⁄4×1°Ò1
ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.๕
ช้ันมัธยมศึกษาปที่ ๕
กลุมสาระการเรียนรูภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ผูเรียบเรียง
นายภาสกร เกิดออน นางสาวระวีวรรณ อินทรประพันธ นางฟองจันทร สุขยิ่ง
นางกัลยา สหชาติโกสีย
ผูตรวจ
นางประนอม พงษเผือก นางจินตนา วีรเกียรติสุนทร นางวรวรรณ คงมานุสรณ
บรรณาธิการ
นายเอกรินทร ส่ีมหาศาล
พิมพครั้งที่ ๑
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ISBN : 978-616-203-603-3 รหัสสินคา ๓๕๑๑๐๐๖


¤íÒ1íÒ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไดกําหนด ใหภาษาไทยเปนกลุมสาระการเรียนรูหลัก โดยมีจุดมุงหมายเพ่ือพัฒนาศักยภาพของ ผูเรียนใหสามารถใชภาษาไทยไดอยางถูกตอง คลองแคลว และเหมาะสมกับวัฒนธรรม ไทย สามารถนําความรูความเขาใจเกี่ยวกับหลักเกณฑการใชภาษาไปใชติดตอส่ือสาร และเปนเครื่องมือศึกษาหาความรูตลอดชีวิต
ภาษาไทยเปนเอกลักษณของชาติเปนสมบัติทางวัฒนธรรมอันกอใหเกิด ความเปนเอกภาพและเสริมสรางบุคลิกภาพของคนในชาติใหมีความเปนไทย ใชใน การติดตอสื่อสารเพื่อสรางความเขาใจเพื่อความสัมพันธอันดีตอกัน ทําใหสามารถ ประกอบธุรกิจ การงาน และดํารงชีวิตรวมกันในสังคมประชาธิปไตยไดอยางสันติสุข ใชสําหรับการแสวงหาความรูและประสบการณจากแหลงขอมูลสารสนเทศตางๆ เพื่อพัฒนาความรูกระบวนการคิดวิเคราะห การวิจารณ การสรางสรรคใหทันตอการ เปลย่ี นแปลงทางสงั คม ความกา วหนา ทางวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี ตลอดจนนาํ ไป ใชในการดําเนินชีวิตประจําวันใหเจริญกาวหนา นอกจากนี้ยังเปนสื่อแสดงภูมิปญญา ของบรรพบุรุษดานวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เปนสมบัติล้ําคาควรแกการ เรียนรูอนุรักษและสืบสานใหคงอยูคูชาติไทยตลอดไป
ท้ังนี้หนังสือเรียน รายวิชาพ้ืนฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๕ นี้ ทางคณะผูเรียบเรียงแบงเนื้อหาออกเปน ๒ เลม คือ
หลกั ภาษาและการใชภ าษา ครอบคลมุ ตวั ชวี้ ดั และสาระการเรยี นรแู กนกลาง สาระท่ี ๑ การอาน สาระท่ี ๒ การเขียน สาระท่ี ๓ การฟง การดู และการพูด และ สาระที่ ๔ หลักการใชภาษา
วรรณคดีและวรรณกรรม ครอบคลุมตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง สาระท่ี ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
คณะผูเรียบเรียงหวังเปนอยางย่ิงวา หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรมเลมน้ี จะเปนสื่อการเรียนการสอนที่ชวยพัฒนาศักยภาพ ของผูเรียนใหมีคุณภาพบรรลุตัวช้ีวัดและมาตรฐานการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรู ภาษาไทย ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดไวทุกประการ
คณะผูเรียบเรียง


ÊÒÃoÑÞ
หนา การอานวรรณคดี ๑ - ๑๓
บทนํา
หนวยการเรียนรูท่ี

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑมัทรี ๑๔ - ๔๑
หนวยการเรียนรูที่ ๒
บทละครพูดคําฉันท เรื่อง มัทนะพาธา ๔๒ - ๗๓
๓ ๔
หนวยการเรียนรูท่ี
ลิลิตตะเลงพาย
หนวยการเรียนรูท่ี
๗๔ - ๑๓๗
๑๓๘ - ๑๕๗
๑๕๘ - ๑๖๗ ๑๖๘ - ๑๗๑
คัมภีรฉันทศาสตร แพทยศาสตรสง๕เคราะห
หนวยการเรียนรูท่ี
โคลนติดลอ
ตอน ความนิยมเปนเสมียน
บทเสริม
บ ท เ ส ร มิ
บทอาขยาน
บทอาขยาน คือ บททองจํา การเลา การบอก การสวด เรื่อง นิทาน ซึ่งเปน การทองจําขอความหรือคําประพันธท่ีชอบ บทรอยกรองที่ไพเราะ โดยอาจตัดตอน มาจากหนงั สอื วรรณคดีเพอื่ ใหผ ทู อ งจาํ และเหน็ ความงดงามของบทรอ ยกรองทงั้ ใน ดา นวรรณศลิ ปการใชภ าษาเนอื้ หาและวธิ กี ารประพนั ธสามารถนาํ ไปเปน แบบอยา ง ในการแตงบทรอยกรองหรือนําไปใชเพื่อเปนขอมูลอางอิงในการพูดและการเขียน ไดเปนอยางดี
บทอาขยาน
บรรณานุกรม ๑๗๒


ตอนท่ี õ วรรณคดีและวรรณกรรม

บทนา การอานวรรณคดี
การอา นวรรณคดี เพอื่ ใหไ ดร บั ความรแู ละความเพลดิ เพลนิ นนั้ ผอู า นจะตอ ง อานอยางพิจารณาไตรตรองอยางถองแท เพื่อจะไดเขาใจเรื่องราวและไดอรรถรส ของบทประพนั ธน นั้ โดยการพจิ ารณาวา วรรณคดเี รอื่ งนนั้ มคี ณุ คา และมคี วามไพเราะ งดงามอยางไร การอานในลักษณะนี้ คือ การวิจักษวรรณคดี นอกจากการวิจักษแลว ผูอานวรรณคดีควรนําความรูในการวิจักษไปตอยอดเพื่อใหสามารถวิเคราะหและ วิจารณวรรณคดีอยางมีคุณคาได


๑. ความสําาคัญของวรรณคดี
วรรณคดีเป็นมรดกท่ีตกทอดมาจากบรรพบุรุษ สามารถสะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของคนในสมยั นนั้ ๆ ผแู้ ตง่ มกั สอดแทรกแนวคดิ คตสิ อนใจ และปรชั ญาชวี ติ ไวใ้ นบทประพนั ธ์ ทา ให้ ผอู้ า่ นเกดิ ความรู้ ความประทบั ใจ มคี วามรสู้ กึ รว่ มไปกบั ผแู้ ตง่ ดงั นนั้ วรรณคดจี งึ มคี ณุ คา่ ทง้ั ในดา้ น ประวัติศาสตร์ สังคม อารมณ์ และคติสอนใจ รวมทั้งมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ด้วย
นอกจากวรรณคดีจะเป็นมรดกทางปัญญาของคนในชาติแล้ว วรรณคดียังเป็นเคร่ืองเชิดชู อารยธรรมของชาติและยังมีคุณค่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ทาให้คนในชาติสามารถรับรู้ ได้ถึงเรื่องราวในอดีต การอ่านวรรณคดีจึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านมีอารมณ์สุนทรียะและเข้าใจ ความจริงของโลกมากย่ิงขึ้น
วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรม ผู้อ่านจึงควรอ่านวรรณคดี เพอ่ื ศกึ ษาเรยี นรเู้ รอื่ งราว ความเปน็ มา ความคดิ และคา่ นยิ มของคนในสงั คมแตล่ ะสมยั การวจิ กั ษ์ และวิจารณ์วรรณคดีจะทาให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ รู้จักสังเกต ได้ความรู้ และประสบการณ์ จากวรรณคดี วรรณคดีจึงมีความสาคัญทั้งในด้านเน้ือหาท่ีให้ข้อคิด คติเตือนใจ และด้านสังคมที่ ให้ความรู้เก่ียวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นหลักฐานบันทึกเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่สาคัญอีกประการหนึ่งด้วย
๒. จุดประสงค์ในการอ่านวรรณคดี
การอ่านวรรณคดีเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ผู้อ่านจาเป็นต้องมีจุดประสงค์ในการอ่าน วรรณคดีแต่ละเรื่อง ดังนี้
๑) อ่านเพื่อให้เกิดความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ วรรณคดีบางเร่ืองมีเน้ือหาเกี่ยวกับ เหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม มีการสอดแทรก ประสบการณ์ เกร็ดความรู้ วิถีชีวิต สภาพบ้านเมือง จึงทาให้ผู้อ่านได้รับความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องต่างๆ อย่างหลากหลาย
๒) อา่ นเพอ่ื ใหไ้ ดข้ อ้ คดิ วรรณคดมี กั สอดแทรกขอ้ คดิ ทงั้ ทางโลกและทางธรรมเอาไว้ ผอู้ า่ น จึงสามารถนาข้อคิดท่ีได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
๓) อ่านเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน วรรณคดีบางเรื่องมีเนื้อหาสนุกสนาน ตลกขบขัน อีกท้ังสานวนภาษาที่มีความไพเราะ สละสลวย จึงทาให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนาน และเพลิดเพลินใน การอ่าน
2


๓. การวิจักษ์วรรณคดี
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคาว่า วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด ซ่ึงคาว่า วรรณคดีได้ ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทง้ั นหี้ นงั สอื ทจี่ ดั เปน็ วรรณคดี ไดแ้ ก่ กวนี พิ นธ์ ละครไทย นทิ าน ละครพดู และความอธิบาย
ส่วนคาว่า วิจักษ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายว่า ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของวรรณกรรม ความนิยม ความซาบซึ้ง
ดงั นนั้ การวจิ กั ษว์ รรณคดี จงึ หมายถงึ การพจิ ารณาวา่ หนงั สอื นนั้ ๆ แตง่ ดอี ยา่ งไร ใชถ้ อ้ ยคา ไพเราะ ลึกซึ้งกินใจ หรือมีความงามอย่างไร มีคุณค่า ให้ความรู้ ข้อคิด คติสอนใจ หรือช้ีให้เห็น สภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในสังคมอย่างไร
๔. หลักการวิจักษ์์วรรณคดี
๑) อ่านอย่างพินิจพิจารณา คือ อ่านโดยใช้การวิเคราะห์ อ่านตั้งแต่ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง คานา คานิยม สารบัญ ไปจนถึงเนื้อหา และบรรณานุกรม รวมถึงประวัติของผู้แต่ง ซ่ึงจะทาให้เราเข้าใจ เนื้อหา มูลเหตุของการแต่ง แรงบันดาลใจในการแต่ง และสิ่งแฝงเร้นภายในหนังสือ
๒) คน้ หาความหมายพนื้ ฐานหรอื ความหมายตามตวั อกั ษร ผอู้ า่ นสามารถคน้ หาความหมาย พน้ื ฐานหรอื ความหมายตามตวั อกั ษรไดจ้ ากบทประพนั ธท์ ผี่ แู้ ตง่ ไดแ้ ตง่ เอาไว้ โดยแลกเปลย่ี นความรู้ กับเพื่อนๆ แล้วจัดลาดับใจความสาคัญของเรื่องว่า ใคร ทาอะไร ที่ไหน ผลเป็นอย่างไร
๓) รับรู้อารมณ์ของบทประพันธ์ พยายามรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้แต่งที่สอดแทรก ลงไปในบทประพันธ์น้ัน ถ้าผู้อ่านรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกตรงตามเจตนาของผู้แต่ง เมื่ออ่าน ออกเสียงหรือทานองเสนาะจะทาให้บทประพันธ์น้ันๆ มีความไพเราะยิ่งข้ึน
๔) คน้ หาความหมายของบทประพนั ธ์ หลกั การคน้ หาความหมายของบทประพนั ธ์ มดี งั น้ี ๔.๑) ค้นหาความหมายตามตัวอักษร คือ คาใดที่ไม่เข้าใจความหมายให้ค้นหาใน
คาอธิบายศัพท์ พจนานุกรม หรืออภิธานศัพท์ เช่น
ผจญคนมักโกรธด้วย ผจญหมู่ทรชนดี
ผจญคนจิตต์โลภมี ผจญอสัตย์ให้ยั้ง
ไมตรี
ต่อต้ัง ทรัพย์เผื่อ แผ่นา หยุดด้วยสัตยาฯ
(โคลงโลกนิติ: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) 3


ศพั ทท์ นี่ กั เรยี นอาจตอ้ งคน้ หาจากโคลง คอื ผจญ หมายถงึ พยายามตอ่ สู้ พยายาม เอาชนะ มกั หมายถงึ ชอบ ทรชน หมายถงึ คนชวั่ บทประพนั ธน์ ี้ หมายความวา่ พยายามเอาชนะ ผู้ที่มีอารมณ์โกรธด้วยการผูกไมตรี เอาชนะคนชั่วด้วยการทาดีตอบ เอาชนะผู้ท่ีมิีจิตใจเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ด้วยการเผื่อแผ่ทรัพย์ให้ และเอาชนะความไม่ซ่ือสัตย์ด้วยความซ่ือสัตย์อยู่เสมอ
๔.๒) ค้นหาความหมายแฝง คือ การค้นหาความหมายของคาที่ต้องตีความ ซ่ึงผู้แต่ง อาจใช้คาท่ีเป็นสัญลักษณ์ เพ่ือเสนอสารอันเป็นความคิดหลักของผู้แต่ง เช่น
ภพนี้มิใช่หล้า กาก็เจ้าของครอง
เมาสมมุติจองหอง แล้งน้ามิตรโลกม้วย
หงส์ทอง เดียวเอย ร่วมด้วย
หีนชาติ หมดส้ินสุขศานต์
(โลก: อังคาร กัลยาณพงศ์)
ความหมายของโคลงน้ีต้องการเสนอสาระที่ว่า โลกน้ีมิใช่เป็นแต่เพียงที่อยู่ของ คนชั้นสูงเท่าน้ัน โดยใช้ “หงส์” เป็นสัญลักษณ์แทนคนชั้นสูง ส่วน “กา” แทนคนชั้นล่าง ซึ่งร่วม อาศัยอยู่บนโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากยึดติดการแบ่งระดับชนชั้น โดยไม่มีความเมตตาอาทร ให้แก่กัน โลกก็จะขาดสันติสุข
๔.๓) ค้นหาข้อคิดอันเป็นประโยชน์ในตัวบทของวรรณคดี กล่าวคือ การค้นหาข้อคิด คติชีวิต หรือคติธรรมท่ีปรากฏในวรรณคดี ซึ่งผู้แต่งอาจกล่าวโดยตรงหรืออาจสอดแทรกไว้ใน วรรณคดีก็ได้ แต่หากกล่าวสอดแทรกไว้ ผู้อ่านจะต้องใช้การวิเคราะห์ ตีความเพื่อค้นหาข้อคิดนั้น เชน่ เรอื่ งขนุ ชา้ งขนุ แผนเปน็ เรอื่ งความรกั ความหลงของชายสองหญงิ หนงึ่ และชวี ติ ทวี่ นุ่ วายเพราะ ความเห็นแก่ตัว ชีวิตที่มากชู้หลายคู่ครองย่อมไม่มีความสงบสุข เป็นต้น
๕) พิจารณาว่าผู้แต่งใช้กลวิธีใดในการแต่งคาประพันธ์ สามารถค้นหาได้จากวิธีการ สร้างสรรค์บทประพันธ์ ดังนี้
๕.๑) การใช้บรรยายโวหาร คือ การใช้คาอธิบายเล่าเรื่องราว รายละเอียดให้เข้าใจ ตามลาดับเหตุการณ์ เช่น
บัดมงคลพ่าห์ไท้ แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด
อุกคลุกพลุกเงยงัด เบนบ่ายหงายแหงนให้
ทวารัติ
ตกใต้
คอคช เศิกแฮ ท่วงท้อทีถอย
(ลิลิตตะเลงพ่าย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
4

๕.๒)การใช้พรรณนาโวหาร คือ การอธิบายความโดยการสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึก หรือให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้งของผู้แต่งลงไปในบทประพันธ์ ทาให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ สะเทือนใจคล้อยตามไปกับบทประพันธ์ เช่น
...ดว้ ยขา้ พระพทุ ธเจา้ กลบั มาเวลาคา่ ทงั้ นเ้ี พราะเปน็ กระลขี นึ้ ในไพรวนั พฤกษาทกุ สงิ่ สารพนั กแ็ ปรปรวนทกุ ประการทงั้ พนื้ ปา่ พระหมิ พานตก์ ผ็ ดั ผนั หวนั่ ไหวอยวู่ งิ เวยี นเปลยี่ นเปน็ พยบั มดื ไมเ่ หน็ หน ขา้ พระบาทนร่ี อ้ นรนไมห่ ยดุ หยอ่ นแตส่ กั อยา่ ง แตเ่ ดนิ มากบ็ งั เกดิ ประหลาด ลางขนึ้ ในกลางพนาลีพบพญาราชสหี ส์ องเสอื ทงั้ สามสตั วส์ กดั หนา้ ไมม่ าได้ตอ่ สนิ้ แสงอโณทยั จึ่งได้คลาเคลื่อน ใช่จะเป็นเหมือนพระองค์ดาริน้ันก็หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า...
(มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี: เจ้าพระยาพระคลัง (หน))
๕.๓) การใช้เทศนาโวหาร คือ การกล่าวส่ังสอนอย่างมีเหตุผล เช่น
๏ อย่าเย่ียงหญิงชั่ว ไม่รู้คุณผัว ลิ้มลมข่มเหง ล้อเลียนไยไพ
ไม่สงวนน้าใจ ต่อหน้าปราศรัย ลับหลังนินทา
(กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี: พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์)
๕.๔) การใช้สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างหรือเร่ืองราวมาประกอบ เพื่อเพ่ิม รายละเอียดหรือสิ่งที่น่ารู้ น่าสนใจลงไปในบทประพันธ์ ทาให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
...เตยี วเลยี้ วจงึ วา่ มหาอปุ ราชไมแ่ จง้ หรอื ในนทิ านอเิ ยยี งซง่ึ มมี าแตก่ อ่ นวา่ เดมิ อเิ ยยี ง อยู่กับต๋งหางซ่ึงเป็นเจ้าเมือง ต๋งหางเลี้ยงอิเยียงเป็นทหารใช้สอย ครั้นอยู่มายังมีคิเป๊ก เจา้ เมอื งหนงึ่ นน้ั ยกทพั มาฆา่ ตง๋ หางตาย คเิ ปก๊ ไดอ้ เิ ยยี งไปไว้ จงึ ตงั้ อเิ ยยี งเปน็ ขนุ นางทปี่ รกึ ษา อิเยียงมีความสุขมาเป็นช้านาน...
(สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ: เจ้าพระยาพระคลัง (หน))
๕.๕) การใช้อุปมาโวหาร คือ การกล่าวเปรียบเทียบสิ่งท่ีเหมือนหรือแตกต่างกัน เช่น
...เม่ือกุมารอยู่ในท้องแม่น้ันลาบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ช้ืน แลเหมน็ กลนิ่ ตดื และเออื นอนั ได้ ๘๐ ครอก ซงึ่ อยใู่ นทอ้ งแมอ่ นั เปน็ ทเี่ หมน็ แลทอี่ อกลกู ออกเตา้ ทเี่ ถา้ ทตี่ ายทเี่ รว่ ฝงู ตดื แลเออื นทงั้ หลายนนั้ คนกนั อยใู่ นทอ้ งแม่ ตดื แลเออื นฝงู นนั้ เรมิ ตวั กมุ าร นั้นไสร้ ดุจดั่งหนอนอันอยู่ในปลาเน่า แลหนอนอันอยู่ในลามกอาจมนั้นแล...
(ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ: พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย))
5


๖) พิจารณาความงาม ความไพเราะของภาษา คือ พิจารณาการเลือกใช้คา การสรรคา และการจดั วางคา ทเี่ ลอื กสรรแลว้ ใหต้ อ่ เนอ่ื งอยา่ งไพเราะ เหมาะสม ไดจ้ งั หวะ ถกู ตอ้ งตามโครงสรา้ ง ภาษา ก่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์ และเห็นภาพพจน์
๕. การพิจารณาคุณค่าบทประพันธ์ การพิจารณาคุุณค่าบทประพันธ์จะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนและให้ครอบคลุม
ทุกด้าน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๕.๑ คุณค่าด้านเนื้อหา
การพิจารณาคุณค่าด้านเนื้อหา มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้
๑) รูปแบบ พิจารณาว่างานประพันธ์นั้นใช้คาประพันธ์ชนิดใด ลักษณะการแต่ง ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคาประพันธ์น้ันๆ หรือไม่ ผู้แต่งเลือกใช้คาประพันธ์แต่ละชนิดได้ เหมาะสมกับเนื้อความหรือไม่
๒) องค์ประกอบของเร่ือง มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้
๒.๑) สาระ พิจารณาว่าสาระที่ผู้แต่งต้องการส่ือมายังผู้อ่านเป็นเร่ืองอะไร เช่น
ให้ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมา ควรจับสาระสาคัญหรือแก่น ของเรื่องให้ได้ว่า ผู้แต่งต้องการสื่ออะไร สาระสาคัญหรือแก่นของเร่ืองมีลักษณะแปลกใหม่
น่าสนใจอย่างไร
๒.๒) โครงเรอื่ ง พจิ ารณาวา่ ผแู้ ตง่ มวี ธิ กี ารวางโครงเรอ่ื งดหี รอื ไม่ การลา ดบั ความ เป็นไปตามลาดับขั้นตอน เหตุการณ์ หรือเรื่องราวอย่างไร มีวิธีการวางลาดับเร่ืองน่าสนใจอย่างไร และมีการสร้างปมของเรื่องเพ่ือให้ไปถึงจุดสูงสุดอย่างไร
๒.๓)ตัวละคร พิจารณาว่าตัวละครในเรื่องมีลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ บทบาท และคุณธรรมอย่างไร พฤติกรรมท่ีแสดงออกเหมาะสมหรือไม่ เหมือนบุคคลในชีวิตจริงมากน้อย
เพียงใด
๒.๔) ฉากและบรรยากาศ พจิ ารณาวา่ ผแู้ ตง่ พรรณนาหรอื บรรยายฉาก บรรยากาศ
ได้เหมาะสม ถูกต้อง ชัดเจน และสอดคล้องกับเร่ืองได้ดีเพียงใด
๒.๕) กลวิธีการแต่ง พิจารณาวิธีในการเลือกใช้ถ้อยคาและการนาเสนอว่า ผู้แต่ง
นา เสนออยา่ งไร เชน่ เสนออยา่ งตรงไปตรงมา เสนอโดยใหต้ คี วามจากสญั ลกั ษณห์ รอื ความเปรยี บ เสนอโดยใชก้ ารสรา้ งภาพพจน์ใหเ้ หนอื ความเปน็ จรงิ เพอื่ ดงึ ดดู ความสนใจ เปน็ ตน้ ควรพจิ ารณาวา่ วิธีการต่างๆ เหล่านั้น ชวนให้น่าสนใจ น่าติดตาม และน่าประทับใจได้อย่างไร
6

๕.๒ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีแนวทางในการพิจารณา ๒ ประการ ดังน้ี
๑) การสรรคา คือ การเลือกใช้คาให้สื่อถึงความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และ อารมณ์ได้อย่างงดงาม
๑.๑) การเลอื กใชค้ าใหเ้ หมาะสมกบั ประเภทของคาประพนั ธ์ การพจิ ารณาคณุ คา่ ด้านวรรณศิลป์ต้องพิจารณาต้ังแต่การเลือกประเภทของคาประพันธ์ว่า ผู้แต่งเลือกประเภทของ คา ประพนั ธ์ไดเ้ หมาะสมกบั งานเขยี นหรอื ไม่ โดยเฉพาะในบทรอ้ ยกรอง ผแู้ ตง่ จะตอ้ งเลอื กชนดิ ของ คาประพันธ์ให้เหมาะสมและต้องรู้จักเลือกใช้คา เรียบเรียงถ้อยคาให้ไพเราะ สละสลวย เหมาะสม กับชนิดของคาประพันธ์ ดังน้ี
(๑) โคลง นิยมใช้คาท่ีมีศักดิ์คาสูงหรือคาโบราณ ใช้พรรณนาเรื่องราวที่ ศักด์ิสิทธิ์ สูงส่ง เช่น บทไหว้ครู บทเทิดพระเกียรติ เป็นต้น ดังบทประพันธ์
7
ไพรินทรนาศเพ้ียง พระดั่งองค์อวตาร
แสนเศิกห่อนหาญราญ ดาลตระดกเดชล้ี
พลมาร
แต่ก้ี
รอฤทธ์ิ พระฤๅ ประลาตหล้าแหล่งสถาน
(ลิลิตตะเลงพ่าย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
บทประพันธ์นี้ผู้แต่งได้เลือกสรรคาที่มีศักดิ์คาสูงเป็นบทเทิดพระเกียรติ
(๒) ฉนั ท์ นยิ มใชค้ า ทมี่ าจากภาษาบาลี - สนั สกฤต เพอื่ ใหส้ อดคลอ้ งกบั ครุ ลหุของฉันทลักษณ์ และเป็นคาประพันธ์ที่มีแบบแผน ดังบทประพันธ์
ฟังถ้อยดารัสมะธุระวอน จักเป็นมุสาวะจะนะด้วย
อันชายประกาศวะระประทาน หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง
ดนุน้ีผิเอออวย
บ มิตรงกะความจริง ประดิพัทธะแด่หญิง ผิวะจิตตะตอบรัก
(บทละครพูดคาฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
บทประพันธ์นี้ผู้แต่งได้เลือกสรรคาที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเพื่อให้ สอดคล้องกับลักษณะบังคับครุ ลหุของคาประพันธ์


(๓) กาพย์ นิยมใช้คาธรรมดา คาที่เรียบง่าย ใช้พรรณนาเหตุการณ์หรือ อารมณ์สะเทือนใจ ดังบทประพันธ์
จาปาหนาแน่นเนื่อง คิดคะนึงถึงนงราม
คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม ผิวเหลืองกว่าจาปาทอง
(กาพย์เห่เรือ: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
บทประพันธ์นี้ผู้แต่งเลือกใช้คาที่อ่านเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจน
(๔) กลอน นิยมใช้คาธรรมดา คาที่เรียบง่าย เป็นคาประพันธ์ที่นิยมนาไป ขับร้องในการละเล่นต่างๆ เช่น บทสักวา บทละคร บทเสภา เป็นต้น ดังบทประพันธ์
โอ้เจ้าแก้วแววตาของพี่เอ๋ย เจ้าหลับใหลกระไรเลยเป็นหนักหนา ดังน่ิมน้องหมองใจไม่นาพา ฤ ๅขัดเคืองคิดว่าพ่ีทอดท้ิง
(เสภาเร่ืองขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา: ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง)
บทประพันธ์นี้ผู้แต่งใช้คาธรรมดา เรียบง่าย พรรณนาอารมณ์สะเทือนใจ
(๕) รา่ ย นยิ มใชค้ า โบราณและนยิ มแตง่ รวมกบั โคลง ไมน่ ยิ มแตง่ รา่ ยทง้ั เรอ่ื ง นอกจากร่ายยาวมหาชาติกลอนเทศน์เท่านั้นที่แต่งด้วยร่ายยาวตลอดทั้งเร่ือง ดังบทประพันธ์
สองขัตติยายุรยาตร ยังเกยราชหอทัพ ขุนคชขับช้างเทียบ ทวยหาญเพียบแผ่นภู ดูมหิมาดาดาษ สระพราศพร้อมโดยขบวน องค์อดิศวรสองกษัตริย์ คอยนฤขัตรพิชัย บัดเดี๋ยวไททฤษฎี พระศรีสารีริกบรมธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิตพ่างผล ส้มเกล้ียง กลกุก่อง ฟ่องฟ้าฝ่ายทักษิณ ผินแวดวงตรงทัพ นับคารบสามครา เป็นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียนอัมพร ผ่านไปอุดรโดยด้าว พลางบพิตรโทท้าว ท่านตั้งสดุดี อยู่นา
ฯลฯ
(ลิลิตตะเลงพ่าย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
บทประพันธ์น้ีผู้แต่งเลือกใช้คาโบราณท่ีเหมาะสมและถูกหลักการประพันธ์ มักแต่งรวมกับโคลง
๑.๒) การเลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง เกิดจากการท่ีผู้แต่งเลือกใช้คาเลียนเสียง ธรรมชาติ คาที่เล่นเสียงวรรณยุกต์ การเล่นคา เสียงหนักเบา การหลากคา การใช้คาพ้องเสียงและ คาซ้า การใช้ลีลาจังหวะของคาซึ่งทาให้เกิดความไพเราะได้ ดังบทประพันธ์
8

(๑) การใชค้ า เลยี นเสยี งธรรมชาติ ทา ใหเ้ สยี งไพเราะ เกดิ จนิ ตภาพชดั เจน
ดังบทประพันธ์
เกือบรุ่งฝูงช้างแซ่ กรวดป่ามาแกร๋นแกร๋น
ฮูมฮูมอู่มอึงแสน คึกคึกทึกเสทือนสะท้าน
แปร๋นแปร๋น เกริ่นหย้าน สน่ันรอบ ขอบแฮ ถิ่นไม้ไพรพนม
(นิราศสุพรรณ: สุนทรภู่)
บทประพันธ์นี้บรรยายลักษณะธรรมชาติของสัตว์ โดยผู้แต่งได้ยกตัวอย่าง คาที่เกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติของช้าง ได้แก่ แปร๋นแปร๋น แกร๋นแกร๋น ฮูมฮูม เม่ือผู้อ่าน อ่านแล้วทาให้เกิดจินตนาการภาพช้างที่กาลังส่งเสียงร้องตามธรรมชาติ
(๒) การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การเล่นเสียงสูงๆ ต่าๆ ในวรรคเดียวกัน คลา้ ยการผนั เสยี งวรรณยกุ ต์ โครงสรา้ งของคา เหมอื นกนั ไดแ้ ก่ พยญั ชนะตน้ สระ และพยญั ชนะทา้ ย แตกต่างกันที่รูปวรรณยุกต์ เพื่อสร้างความหลากหลายของระดับเสียง ซึ่งทาให้เกิดความไพเราะ ด้านเสียงโดยตรง ดังบทประพันธ์
9
เสนาสูสู่สู้ ยิงค่ายหลายเมืองแยง
รุกร้นร่นรนแรง ลวงล่วงล้วงวังแว้ง
ศรแผลง แย่งแย้ง ฤิทธิ์รีบ รวบเร้าเอามา
(โคลงอักษรสามหมู่: พระศรีมโหสถ)
บทประพนั ธน์ แ้ี สดงใหเ้ หน็ ความสามารถของผแู้ ตง่ ทเ่ี ลอื กใชค้ า ทม่ี พี ยญั ชนะตน้ สระ และพยัญชนะท้ายเสียงเดียวกัน แตกต่างกันที่เสียงวรรณยุกต์
(๓) การเล่นคา คือ การใช้คาเดียวกันซ้าหลายแห่งในบทประพันธ์หน่ึงบท แต่คาที่ซ้ากันนั้นมีความหมายต่างกัน ดังบทประพันธ์
นวลจันทร์เป็นนวลจริง คางเบือนเบือนหน้ามา
เพียนทองงามด่ังทอง กระแหแหห่างชาย
แก้มช้าช้าใครต้อง ปลาทุกทุกข์อกกรม
เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม อันแก้มน้องช้าเพราะชม เหมือนทุกข์พี่ท่ีจากนาง
(กาพย์เห่เรือ: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)


ผแู้ ตง่ เลน่ คา ดว้ ยการนา คา ทม่ี เี สยี งพอ้ งกนั แตค่ วามหมายตา่ งกนั มาเรยี งรอ้ ย เข้าด้วยกัน เพื่อสื่อความว่าสิ่งนั้นทาให้จิตประหวัดไปถึงนางผู้เป็นที่รัก ได้แก่
เล่นคาว่า นวลจันทร์ เป็นชื่อปลานวลจันทร์กับผิวของนางผู้เป็นที่รัก เล่นคาว่า แก้มช้า เปน็ ชอื่ ปลาแกม้ ชา้ กบั อาการแกม้ ชา้ ของนางผเู้ ปน็ ทรี่ กั เล่นคาว่า ทุก เป็นชื่อปลาทุกกับความทุกข์ที่ต้องจากนางมา
(๔) การซา้ คา คอื การใชค้ า เดยี วกนั ซา้ หลายแหง่ ในบทประพนั ธห์ นง่ึ บท
ในความหมายเดียวกัน เพื่อย้าน้าหนักความให้หนักแน่นข้ึน ดังบทประพันธ์
บทประพันธ์นี้พรรณนาถึงอารมณ์ ความรู้สึกของพระมหาอุปราชาท่ีต้อง ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางนั้นมีความรู้สึกรักและคิดถึงนางผู้เป็นท่ีรัก ผู้แต่งเลือกใช้ ถ้อยคาที่มีลักษณะคาซ้ามาแต่งเป็นบทประพันธ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความไพเราะ ลึกซ้ึง เกิดอารมณ์ ความรู้สึกคล้อยตามไปกับบทประพันธ์และตัวละครในเร่ือง เช่น จาใจ จาจาก จาจร จานิราศ จาทุกข์ และจาเทวษ อันแสดงถึงความรู้ ความสามารถของผู้แต่งในการเลือกสรรถ้อยคามาใช้ได้ อย่างดีย่ิง
(๕) การเล่นเสียงสัมผัส คือ การใช้ถ้อยคาให้มีเสียงสัมผัสคล้องจองของ บทรอ้ ยกรอง โดยการสมั ผสั มี ๒ ชนดิ คอื สมั ผสั นอกและสมั ผสั ใน สมั ผสั นอกเปน็ สมั ผสั บงั คบั ตาม ลกั ษณะคา ประพนั ธ์ สว่ นสมั ผสั ในเปน็ สมั ผสั ทไี่ มบ่ งั คบั แตค่ า สมั ผสั ในทา ใหบ้ ทประพนั ธน์ น้ั ไพเราะ ย่ิงข้ึน มี ๒ ลักษณะ คือ สัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ ดังบทประพันธ์
ถึงเขาขวางว่างเว้ิงชะวากวุ้ง เขาเรียกทุ่งสงขลาพนาสัณฑ์ เป็นป่ารอบขอบเขินเนินอรัญ นกเขาขันคูเรียกกันเพรียกไพร
(นิราศเมืองแกลง: สุนทรภู่)
สมั ผสั พยญั ชนะ เชน่ วา่ ง-เวงิ้ -วาก-วงุ้ เขา-ขนั -คู เพรยี ก-ไพร สัมผัสสระ เช่น (สง)ขลา-พนา รอบ-ขอบ เขิน-เนิน เรียก-เพรียก
จาใจจาจากเจ้า จานิราศแรมสมร
เพราะเพื่อจักไปรอน จาทุกข์จาเทวษว้าง
จาจร
แม่ร้าง
อริราช แลแม่ สวาทว้าหวั่นถวิล
(ลิลิตตะเลงพ่าย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
10


ส่วนคาฉันท์มีเสียงหนัก-เบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ ทาให้เกิดจังหวะในการอ่าน บางจงั หวะทาใหเ้ กดิ อารมณเ์ ศรา้ บางจงั หวะจะเกดิ อารมณส์ นกุ สนาน คกึ คกั โดยเฉพาะการอา่ นที่ เน้นอารมณ์ตามเนื้อหา จะทาให้บทประพันธ์น้ันไพเราะยิ่งขึ้น ดังบทประพันธ์
(๒) การเปรยี บเทยี บโดยโยงความคดิ อยา่ งหนงึ่ ไปสคู่ วามคดิ อกี อยา่ งหนง่ึ โดยใช้ คาเปรียบว่า เป็น คือ เรียกว่า อุปลักษณ์ เช่น การเปรียบปลาน้าเงินที่มีเกล็ดสีเงินสวยงามเป็น เงินบริสุทธ์ิ ดังบทประพันธ์
อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์ ควรแต่ผดุงสิริสอาง
อรองค์ก็บอบบาง
ศุภลักษณ์ประโลมใจ
(ฉันท์ยอเกียรติชาวนครราชสีมา: พระยาอุปกิตศิลปสาร)
๒) การใชโ้ วหารภาพพจน์ คอื การพลกิ แพลงภาษาทใี่ ชพ้ ดู หรอื เขยี นทท่ี า ใหผ้ อู้ า่ น เห็นภาพ ได้อารมณ์ ได้ความรู้สึก ได้ข้อคิด การใช้โวหารมีหลายลักษณะ ดังน้ี
(๑) การเปรยี บเทยี บของสองสงิ่ ทมี่ ลี กั ษณะคลา้ ยกนั โดยใชค้ า เปรยี บวา่ เหมอื น ดุจ ดัง เฉก เช่น ราว ประหนึ่ง กล เรียกว่า อุปมา เช่น การเปรียบการหมายปองหญิงสาวเหมือน ปองดอกไม้บนสวรรค์ ดังบทประพันธ์
พ่ีหมายน้องดุจปองปาริกชาติ
มณฑาไทเทวราชในสวนสวรรค์
(เพลงยาวนายนรินทรธิเบศร์: นรินทรธิเบศร์)
น้าเงินคือเงินยวง ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง
ขาวพรายช่วงสีสาอาง งามเรืองเรื่อเน้ือสองสี
(กาพย์เห่เรือ: เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
บางครั้งการเปรียบเทียบอาจไม่มีคาแสดงให้เห็นเด่นชัด ผู้อ่านจะต้องวิเคราะห์ ด้วยตนเอง เช่น การเปรียบพระกัณหา พระชาลีเป็นแว่นแก้วที่ส่องสว่าง ดังบทประพันธ์
...จงึ่ ตรสั วา่ โอเ้ จา้ แวน่ แกว้ สอ่ งสวา่ งอกของแมเ่ อย่ แมเ่ คยไดร้ บั ขวญั เจา้ ทกุ เวลา เปน็ ไร เล่าเจ้าจ่ึงไม่มาเหมือนทุกวัน...
(มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี: เจ้าพระยาพระคลัง (หน))
(๓) การสมมติสิ่งต่างๆ ให้มีอากัปกิริยาอาการเหมือนมนุษย์ มีอารมณ์ และมี ความรู้สึก เรียกว่า บุคคลวัตหรือบุคลาธิษฐาน เช่น การแสดงกิริยาอาการของภูเขาท่ีปลายโน้ม ลงมาเหมือนการไหว้ ดังบทประพันธ์
11


สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย ประนอมประนมชมชัย
(บทพากย์เอราวัณ: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
(๔) การเปรยี บเทยี บโดยการกลา่ วเกนิ จรงิ เรยี กวา่ อตพิ จน์ เชน่ ถา้ มอี ายยุ นื เปน็ ร้อยปีก็จะรักมัทนาไม่ให้ลดลง ดังบทประพันธ์
ผิวะอายุจะยืน ก็จะรักมัทนา
ศตะพรรษะฤกว่า
บ่มิหย่อนฤดิหรรษ์
(บทละครพูดคาฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
(๕) การใช้คาที่มีความหมายขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้
เรียกว่า ปฏิพากย์ เช่น การบอกว่าเสียงของน้าที่กระซิบ แต่กลับไม่มีเสียง และโลกท่ีวุ่นวาย แต่กลับไม่มีเสียง ดังบทประพันธ์
แทบฝ่ังธารที่เราเฝ้าฝันถึง จักรวาลวุ่นวายไร้สาเนียง
เสียงน้าซ่ึงกระซิบสาดปราศจากเสียง โลกน้ีเพียงแผ่นภพสงบเย็น
(วารีดุริยางค์: เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
(๖) การใช้คาเลียนเสียงธรรมชาติ เรียกว่า สัทพจน์ เช่น เสียงนกยูงร้องดัง กะโต้งโห่ง เป็นการเลียนเสียงร้องของนกยูง ดังบทประพันธ์
ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง แตรสังข์กังสดาลขานเสียง
(กาพย์พระไชยสุริยา: สุนทรภู่)
(๗) การใช้คาที่บ่งบอกลักษณะของสิ่งใดส่ิงหน่ึงแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เรียกว่า นามนัย เช่น การใช้ฉัตรแทนความเป็นกษัตริย์ ดังบทประพันธ์
...จง่ึ พระปน่ิ ปกั ธาษตรีบรุ รี ตั นหงสาธกบ็ ญั ชาพภิ าษดว้ ยมวลมาตยากรวา่ นครรามนิ ทร์ ผลัดแผ่นดินเปล่ียนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพ่ือกษัตริย์สองสู้ บร้างรู้เหตุผล...
(ลิลิตตะเลงพ่าย: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
(๘) การใช้สิ่งใดส่ิงหนึ่งแทนอีกส่ิงหนึ่ง โดยที่ท้ังสองส่ิงน้ีมีคุณสมบัติร่วมกัน
เรียกว่า สัญลักษณ์ เช่น การใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์แทนวงศ์ตระกูล ดังบทประพันธ์
12


วงศ์หงส์
ส่ิงรู้
ความสัตย์ ไว้นา ชีพม้วยมรณา
(โคลงโลกนิติ: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)
เสีย สินสงวนศักด์ิไว้ เสีย ศักด์ิสู้ประสงค์
เสีย รู้เร่งดารง เสีย สัตย์อย่าเสียสู้
(๙) การเปรยี บเทยี บโดยใชเ้ รอื่ งราวหรอื นทิ านมาประกอบ เรยี กวา่ อปุ มานทิ ศั น์ เช่น การนาเร่ืองหมูกับราชสีห์มาเปรียบกับคนขลาดเขลาท่ีท้าทายผู้ฉลาดกว่า ดังบทประพันธ์
หมูเห็นสีหราชท้า กูส่ีตีนกูพบ
ชวนรบ ท่านไซร้ หลีกจาก กูนา วากเว้วางหนี
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ ท่านสี่ตีนอย่าได้
๕.๓ คุณค่าด้านสังคม
(โคลงโลกนิติ: สมเด็จพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร)
การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม ผู้อ่านจะต้องพิจารณาจากแนวคิด การให้คติเตือนใจ การแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเช่ือ ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ผู้แต่งได้แทรกไว้ในบทประพันธ์
คือเงาติดตัวตรัง ตามแต่บุญบาปแล้
อนิจจัง เที่ยงแท้ ตรึงแน่น
ดังบทประพันธ์
ใดใดในโลกล้วน คงแต่บาปบุญยัง
ไว้เช่นใด ย่อมได้รับผลกรรมนั้น
ทองประศรีดีใจได้ฤกษ์ยาม ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู จะโกนจุกสุกดิบข้ึนสิบค่า แกทาน้ายาจีนต้มต้นหมู
(บทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน กาเนิดพลายงาม: สุนทรภู่)
ผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนสมัยก่อนท่ีเม่ือพ้นวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นจะต้อง โกนจุก เพราะเป็นความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ จนเกิดเป็นประเพณีโกนจุกข้ึน
การวิจักษ์วรรณคดีทาให้ผู้อ่านมองเห็นคุณค่าท่ีผู้แต่งต้ังใจสอดแทรกเอาไว้ เห็นความงามและความไพเราะของวรรณคดี ทาให้อ่านงานประพันธ์นั้นอย่างเพลิดเพลิน เกิดความซาบซ้ึง ตระหนักในคุณค่าของงานประพันธ์ และเกิดความภูมิใจในฐานะที่เป็นมรดก ของชาติ ซ่ึงควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป 13
ก่อเกื้อรักษา(ลิลิตพระลอ: ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง) ผู้แต่งแสดงแนวคิดเรื่องบาปบุญว่าติดตามตัวเราเหมือนเงาตามตัว ใครทากรรม


มหาเวสสันดรชาดก
กัณฑมัทรี
หน่วยการเรียนรู้ท่ี
เปนกัณฑท่ี ๙ ในมหาเวสสันดรชาดก ของ เจาพระยาพระคลัง (หน) เปนกณั ฑท แ่ี สดงถงึ ความอาลยั รกั ทแี่ มม ตี อ ลกู โดยใชถ อ ยคาํ ทป่ี ระทบั ใจ ใหเ กดิ ความโศกเศรา รว มไปกบั พระนางมทั รี กณั ฑม ทั รี จงึ มคี วามดเี ดน ทงั้ ในดา นเนอื้ เรอื่ ง และการใชถ อ ยคาํ ให ñ กระทบอารมณ อกี ทงั้ ยงั สอดแทรกเรอื่ งราวความรักที่แม
มีตอลูกอันเปนแบบอยางและขอคิดท่ีมีประโยชน
มหาเวสสนั ดรชาดก กณั ฑม ทั รี
ตัวชี้วัด
• ท๕.๑ม.๔-๖/๑,๒,๓,๔,๖ • การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
14
สาระการเรียนรู้แกนกลาง


๑. ควมเปนม
เรอื่ งมหาเวสสนั ดรชาดก เปน็ วรรณคดเี กยี่ วกบั พระพทุ ธศาสนามที มี่ าจากคมั ภรี ์ “จรยิ าปฎิ ก” และคัมภีร์ “ชาดก” พระสุตตันตปิฎก หมวดขุททกนิกาย ซึ่งกล่าวถึงมูลเหตุของการตรัสเล่าเรื่อง มหาชาติว่า เมื่อทรงตรัสรู้แล้วจึงเสด็จไปโปรดพระราชบิดาและพระประยูรญาติ ขณะที่ประทับ ณ วัดนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อบรรดาพระประยูรญาติมาเฝ้า ต่างมีใจกระด้างด้วยทิฐิมานะ ถอื ตนมยิ อมเคารพไหว้ พระพทุ ธเจา้ จงึ แสดงปาฏหิ ารยิ เ์ หาะขนึ้ ไปบนอากาศเหนอื พระประยรู ญาติ ยงั ใหส้ นิ้ มานะละพยศในใจ บงั เกดิ ศรทั ธาเลอื่ มใสและถวายอภวิ าทบงั คม เมอื่ เหตเุ ปน็ ดงั นนั้ กเ็ กดิ ฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นเครื่องแสดงความปราโมทย์ยินดี ด้วยเหตุทรงละพยศในใจพระญาติ ทั้งปวงให้ศรัทธาเลื่อมใสได้
ภายหลังเมื่อพระราชบิดาและพระประยูรญาติทั้งปวงทูลลากลับ พระสาวกจึงได้ทูลถามถึง ความนา่ อศั จรรยใ์ นเหตแุ หง่ ฝนนี้ พระองคจ์ งึ ตรสั วา่ ฝนโบกขรพรรษทตี่ กมานไี้ มอ่ ศั จรรยเ์ ลย เพราะ ในชาตกิ อ่ นเมอื่ ครงั้ ทพี่ ระองคย์ งั ทรงเปน็ พระโพธสิ ตั วเ์ สวยพระชาตเิ ปน็ พระเวสสนั ดรนนั้ ฝนชนดิ นี้ ก็เคยตกมาแล้วครั้งหนึ่ง พระสาวกท้ังหลายจึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องนี้ พระองค์จึง ทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เพราะฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่าฝนโบกขรพรรษเป็นสาเหตุที่ ทาให้พระพุทธเจ้าทรงเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นหน่ึงในสิบพระชาติสุดท้ายก่อนบรรลุ ธรรมวิเศษ โดยแต่ละพระชาติทรงบาเพ็ญบารมีแตกต่างกัน ดังนี้
พระชาติที่ ชื่อชาดก การเสวยพระชาติิของพระโพธิสัตว์

เตมิยชาดก (เต)
พระเตมีย์กุมารบาเพ็ญเนกขัมมบารมี (การออกบวช)

มหาชนกชาดก (ชะ)
พระชนกกุมารบาเพ็ญวิริยบารมี

สุวัณณสามชาดก (สุ)
พระสุวรรณสามบาเพ็ญเมตตาบารมี

เนมิราชชาดก (เน)
พระเนมิราชกุมารบาเพ็ญอธิษฐานบารมี

มโหสถชาดก (มะ)
มโหสถกุมารบาเพ็ญปัญญาบารมี

ภูริทัตชาดก (ภู)
พญานาคชื่อภูริทัตบาเพ็ญศีลบารมี

จันทกุมารชาดก (จะ)
พระจันทกุมารบาเพ็ญขันติบารมี

พรหมนารทชาดก (นา)
พระพรหมนารทกุมารบาเพ็ญอุเบกขาบารมี

วิธุรชาดก (วิ)
พระวิธุรบัณฑิตบาเพ็ญสัจจบารมี
๑๐
มหาเวสสันดรชาดก(เว)
พระเวสสันดรบาเพ็ญทานบารมี
15


๒. ประวัติผู้แต่ง
ผแู้ ตง่ เรอื่ งมหาเวสสนั ดรชาดก กณั ฑม์ ทั รี คือ เจ้าพระยา พระคลัง นามเดิมว่า หน เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า เดิม เป็นหลวงสรวิชิต เคยตามเสด็จพระราชดาเนินราชการสงคราม ในสมยั รชั กาลที่ ๑ เมอ่ื ครงั้ หลวงสรวชิ ติ รบั ราชการอยทู่ ก่ี รงุ ธนบรุ ี มคี วามดคี วามชอบมาก โดยเฉพาะฝมี อื ในการเรยี บเรยี งหนงั สอื รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นพระยาพิพัฒโกษา
ต่อมาตาแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ แต่งต้ังพระยาพิพัฒโกษาขึ้นเป็นเจ้าพระยา พระคลัง (หน) พระยาพิพัฒโกษามีบุตรชาย ๒ คน คนหน่ึงเป็น จินตกวีและอีกคนหนึ่งเป็นครูพิณพาทย์ส่วนบุตรหญิง คือ เจา้ จอมมารดานมิ่ เปน็ เจา้ จอมมารดาสมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาเดชาดิศร ในรัชกาลที่ ๒
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๔๘ ในสมัยรัชกาลท่ี ๑ หนังสือท่ีเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งที่สาคัญ ได้แก่ มหาชาติกลอนเทศน์หรือเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี โดยท้ังสองกัณฑ์นี้นับได้ว่าแต่งได้ดีเยี่ยม ไม่มีสานวนของผู้ใดสู้ได้ แมส้ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรสจะไดท้ รงนพิ นธข์ น้ึ อกี สา นวนหนง่ึ ในภายหลงั ก็ยังเว้นกัณฑ์ท้ังสองนี้ เพราะของเดิมดีเยี่ยมอยู่แล้ว
๓. ลักษณะคําประพันธ์
มหาเวสสันดรชาดกท่ีเป็นมหาชาติกลอนเทศน์ มีลักษณะคาประพันธ์เป็นร่ายยาวที่มี
คาถาบาลีนา
ร่ายยาว บทหนงึ่ไมจ่ากดัจานวนวรรคซงึ่นยิมตง้ัแต่๕วรรคขนึ้ไปโดยแตล่ะวรรคไมจ่ากดั
จานวนคา แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๕ คา ซึ่งคาสุดท้ายของวรรคหน้าจะส่งสัมผัสไปวรรคหลังคาใดก็ได้ เว้นคาสุดท้าย และอาจจบลงด้วย “คาสร้อย” (คาสร้อย เช่น ฉะน้ี ดังน้ี นั้นเถิด น้ันแล แล้วแล ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น) ดังแผนผังและตัวอย่างบทประพันธ์ ดังน้ี
(คาถา)
16
ราชาธิราช ผลงานการประพันธ์ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
(คาสร้อย)


สา มทฺที ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทรบวรราชธิดามหาสมมุติวงศ์วิสุทธิ สืบสันดานมา วราโรหา ทรงพระพักตร์ผิวผ่องดุจเน้ือทองไม่เทียมสี ยสสฺสินี มีพระเกียรติยศ อันโอฬารล้าเลิศวิไลลักษณ์ยอดกษัตริย์ อันทรงพระศรัทธาโสมนัสนบนิ้วประนมน้อม พระเศียรเคารพทาน ท้าวเธอก็ชื่นบานบริสุทธิ์ด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ ฝ่ายฝูง อมรเทเวศทุกวิมานมาศมนเทียรทุกหมู่ไม้ก็ยิ้มแย้มพระโอษฐ์ตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน ร้อง สาธุการสรรเสริญเจริญทานบารมี ท้ังสมเด็จอมรินทร์เจ้าฟ้าสุราลัย อันเป็นใหญ่ในดาวดึงส์ สวรรค์ก็มาโปรยปรายทิพยบุปผากรอง ทั้งพวงแก้วและพวงทองก็โรยร่วงจากกลีบเมฆกระทา สักการบูชาแก่สมเด็จนางพระยามัทรี ท้าวเธอทรงกระทาอนุโมทนาทาน เวสฺสนฺตรสฺส แห่ง พระเวสสันดรราชฤๅษีผู้เป็นพระภัสดา อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการดังนี้แล้วแล
๔. เร่ืองย่อ
กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๙ จากเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มต้ังแต่เทวบุตร ๓ องค์นิรมิตกาย เป็นสัตว์ร้ายขวางทางพระนางมัทรี เกิดลางแก่พระนางมัทรี พระนางจึงทรงวิงวอนขอทาง ต่อสัตว์ร้ายทั้งสาม เมื่อเสด็จกลับถึงอาศรม พระนางทูลถามพระเวสสันดรถึงพระกุมารทั้งสอง พระเวสสนั ดรจงึ ทรงตดั พอ้ ตอ่ วา่ ถงึ การทกี่ ลบั มาผดิ เวลา พระนางมทั รที รงเฝา้ รา พงึ รา พนั ถงึ สองกมุ าร พลางเทย่ี วเสดจ็ ตามหาจนสลบไป ครนั้ พอพระนางมทั รที รงฟน้ื คนื สตแิ ลว้ พระเวสสนั ดรจงึ ตรสั บอก ความจรงิ วา่ ไดพ้ ระราชทานสองกมุ ารเปน็ ทานแกช่ ชู ก พระนางมทั รจี งึ ทรงอนโุ มทนาบตุ รทานบารมี
สรรพส์ าระ
คําว่ํา ชําดก มําจํากคําว่ํา ชําตก ชําต แปลว่ํา เกิด ก (ปัจจัย) แปลว่ํา ผู้, หมวด
ชําตกหรอื ชําดก แปลวํา่ ผเู้ กดิ แลว้ ชําดกทรี่ จู้ กั กนั แพรห่ ลําย มี ๑๐ พระชําติ เรียกว่ํา ทศชําดก หรือทศชําติ ในท่ีนี้คือพระพุทธเจ้ํา กอ่ นจะตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจํา้ พระองคท์ รงเสวยพระชําติ ๑๐ พระชําติ ได้แก่
ชาดก
๑. เตมิยชําดก
๒. มหําชนกชําดก ๓. สุวัณณสํามชําดก ๔. เนมิรําชชําดก ๕. มโหสถชําดก
๖. ภูริทัตชําดก
๗. จันทกุมํารชําดก ๘. พรหมนํารทชําดก
๙. วิธุรชําดก
๑๐. มหําเวสสันดรชําดก
17


๕. เนื้อเรื่อง
ย ปน รฺา มหาปวึ อุนฺนาเทตฺวา พฺราหฺมณสฺส ปิยปุตฺเตสุ ทินฺเนสุ ยาว พฺรหมฺโลกา เอกโกลา หล ชาต, เตนาปิ ภิชฺชิตหทยา วิย หิมวนฺตวาสิโน เทวตาโย เตส พฺราหฺมเณน นียมานาน ต วิลาปํ สุตฺวา, มนฺตยึสุ, สเจ มทฺที สกาลสฺเสว อสฺสม อาคมิสฺสติ, สา ตตฺถ ปุตฺเต อทิสฺวา, เวสฺสนฺตร ปุจฺฉิตฺวา, พฺราหฺมณสฺส ทินฺนภาว สุตฺวา, พลวสิเนเหน ปทานุปท ธาวิตฺวา, มหนฺต ทุกฺข อนุภเวยฺยาติ
ยํ โกลาหลํ อันว่าโกลาหลอันใดเป็นวิสัยแสนกัมปนาท รฺา เมาะ เวสฺสนฺตเรน อันพระมหาบุรุษราชชาติอาชาไนยเชื้อชินวงศ์ ทรงบาเพ็ญเพิ่มโพธิสมภาร ด้วยเดชอานวยทาน โพธิสัตว์ เป็นปัจฉิมปรมัตถบารมีอันหมายม่ัน ตํ โกลาหลํ ก็บังเกิดมหัศจรรย์ในไตรภพ จบจน พรหเมศ ทินฺเนสุ ปางเมื่อท้าวเธอยกสองดรุณเยาวเรศผู้ยอดรัก ราวกะว่าจะแขวะควักซึ่ง ดวงเนตรท้ังสองข้างวางไว้ในมือพราหมณ์ เฒ่าก็พาสองกุมารพะงางามไปทางกันดาร ควรจะ สงสารแสนอนาถอนาถา ด้วยพระลูกเจ้าเป็นกาพร้าพรากพระชนนีแต่น้อยๆ ยังไม่วายนม พราหมณ์ย่ิงขู่ข่มเข่นเข้ียวคารามตีต้อนให้ด่วนเดิน ตามป่ารกระหกระเหินหอบหิวแล้วไห้โหย มี แตเ่ สยี งเธอโอดโอยสะอนื้ รอ้ งรา พนั สงั่ ทกุ เสน้ หญา้ กห็ วนั่ ๆ วงั เวงวเิ วกปา่ พระหมิ พานต์ เตสํ ลาลปติ ํ สุตฺวา ฝ่ายฝูงเทพทุกสถานพิมานไม้ไศลเกริ่นเนินแนวพนาวาส ได้สลับคาประกาศสองกุมาร ทรงพระกันแสงส่ังศาส์นจนสุดเสียง ดั่งทิพยพิมานจะเอนเอียงอ่อนลงช้อยชด เทพเจ้าก็เศร้าสลด พิลาปเหลียวมาแลดูดูมิได้ ภิชฺชิตหทยา วิยป้ิมประหน่ึงว่าดวงหทัยจะปะทุทะลุล่ันละเอียดออก ทุกอกองค์ ด้วยทรงพระอาลัยนั้นใหญ่หลวง ก็พากันกุมกรข้อนทรวงทรงพระกันแสงโศกอยู่ ซบเซา จึ่งปรารภว่า ชาวเราเอ่ยจะคิดไฉนดี ถ้าแม้นสมเดจ็ พระมทั รเี ธอกลบั เขา้ มาแตก่ าลยงั วนั มทินัเยน็ อทสิวฺาเมอื่ทา้วเธอมไิดเ้หน็พระเจา้ลกูเธอกจ็ะทลูถามครั้นแจ้งความว่าพราหมณ์พาไป นางก็จะอาลัยโลดแล่นไปตามติดไม่คิดตาย มหนฺตํ ทุกฺขํ คิดไปคิดไปแล้วใจหายเห็นน่าน้าตาตก ว่าโอ้โอ๋อกมัทรีเอ่ย จะเสวยพระทุกข์แทบถึงชีวิตจะปลิดปลง ด้วยพระลูกรักท้ังสองพระองค์น้ี แล้วแล
ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวรญาณ เทวสงฺฆาโย ฝ่ายฝูงเทพทุกสถานพิมานไม้ไพรพนม มอี ารมณอ์ นั รอ้ นเรา่ สว่ นเทพยเจา้ จอมสากล จงึ่ มเี ทวยบุ ลบงั คบั แกเ่ ทพอนั ดบั ทงั้ สามองค์ อนั ทรง มหิทธิฤทธิศักดาว่า ท่านเอ่ยจงนิรมิตบิดเบือนกายกลายอินทรีย์ เป็นพยัคฆราชสีห์สองเสือ สามสัตว์สกัดหน้านางพระยามัทรีไว้ ต่อทิพากรคลาไคลคล้อยเย็นเห็นดวงพระจันทร์ขึ้นมา อยู่รางๆ ท่านจึงลุกหลีกหนทางให้แก่นางงาม ตโย เทวปุตฺตา ส่วนเทพยเจ้าทั้งสามก็อาลา ลีลาศผาดแผลง จา แลงเปน็ พญาไกรสรราชผาดแผดเสยี งสนนั่ ดงั่ สายอสนลี นั่ ตลอดปา่ องคห์ นงึ่ เป็นพยัคฆพญาเสือโคร่งคารนร้อง องค์หนึ่งเป็นเสือเหลืองเน่ืองคะนองย่องหยัดสะบัดบาท
18

ต่างองค์ก็กระทาสีหนาทน่าพิลึกแสยงขน ก็พากันจรดลไปนอนคอยที่ช่องแคบขวางมรคา ที่พระนางเธอจะเสด็จมา สู่พระบรรณศาลา นั้นแล
สา มททฺ ี ปางนน้ั สว่ นสมเดจ็ พระมทั รศี รสี นุ ทรเทพกญั ญา จา เดมิ แตพ่ ระนางเธอลลี าลว่ งลบั พระอาวาส พระทัยนางให้หว่ันหวาดพะวงหลังตั้งพระทัยเป็นทุกข์ถึงพระเจ้าลูกมิลืมเลย เดินพลางทางเสวยพระโศกพลาง พระนัยนเนตรทั้งสองข้างไม่ขาดสายพระอัสสุชล พลางพิศดู ผลาผลในกลางไพรที่นางเคยได้อาศัยทรงสอยอยู่เป็นนิตย์ผิดสังเกต เหตุไฉนไม้ท่ีมีผลเป็นพุ่มพวง ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร แถวโน้นก็แก้วเกดพิกุลแกมกับกาหลง ถัดนั่นก็ สายหยุดประยงค์และยมโดย พระพายพัดก็ร่วงโรยรายดอกลงมูนมอง แม่ยังได้เก็บเอาดอกมา รอ้ ยกรองไปฝากลกู เมอ่ื วนั วาน ก็เพี้ยนผิดพิสดารเป็นพวงผล ผิดวิกลแต่ก่อนมา สพฺพา มุยฺหนฺติ เม ทิสา ทั้งแปดทิศก็มืดมิดมัวมนทุกหนแห่ง ทั้งขอบฟ้าก็ดาดแดงเป็นสายเลือดไม่เว้นวาย หายเหอื ดเปน็ ลางรา้ ยไปรอบขา้ ง ทกขฺ ณิ กขฺ ิ พระนัยนเนตรก็พร่างๆ อยู่พรายพร้อย ในจิตใจ ของแม่ยังน้อยอยู่นิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียวๆส่ันระรัวริก แสรกคานบันดาลพลิกพลัด ลงจากพระอังสา ทั้งขอน้อยในหัตถาท่ีเคยถือก็เลื่อนหลุดลงจากมือไม่เคยเป็นเห็นอนาถ เอ๊ะ ประหลาดหลากแล้วไม่เคยเลย โอ้อกเอ๋ยมหัศจรรย์จริงยิ่งคิดก็ย่ิงกริ่งๆ กรอมพระทัย เป็นทุกข์ถึงพระลูกรักท้ังสองคน เดินพลางนางก็รีบเก็บผลาผลแต่ตามได้ ใส่กระเช้าสาวพระบาท บทจรดุ่ม เดินมาโดยด่วน พอประจวบจวนพญาพาฬมฤคราช สะดุ้งพระทัยไหวหวาดวะหวีด ว่ิงวน แวะเข้าข้างทาง พระทรวงนางสั่นระรัวริกเต้นด่ังตีปลา ทรงพระกันแสงโศกาไห้พิไรร่าว่า กรรมเอ๋ยกรรม กรรมของมัทรี โอเวลาปานฉะน้ีพระลูกน้อยจะคอยหา อนึ่งมรคาก็ช่องแคบ หว่างคีรีเป็นตรอกน้อยรอยวิถีท่ีเฉพาะจร ท้ังสามสัตว์ก็มาเน่ืองนอนสกัดหน้า ครั้นจะลีลา หลีกลัดตัดเดาไปทางใดก็เหลือเดิน ทั้งสองข้างเป็นโขดเขินขอบคันขึ้นกั้นไว้ นีเจ โวลมฺพเก สุริเย ทงั้ เวลากเ็ ยน็ ลงเยน็ ลงไรๆ จะคา่ แลว้ ยงั ไมเ่ หน็ หนา้ พระลกู แกว้ ของแมเ่ ลย อกเอย๋ จะทา ไฉนดี จงึ่ จะ ได้วิถีทางที่จะครรไล พระนางจึ่งปลงหาบคอนลงวอนไหว้แล้วอภิวาทน์ ข้าแต่พญาพาฬมฤคราช อันเรืองเดช ท่านก็เป็นพญาสัตว์ในหิมเวศวนาสณฑ์ จงผินพักตร์ปริมณฑลทั้งสามรา มารับ วันทนาน้อมไปด้วยทศนัขเบญจางค์ เม เมาะ มยา แห่งน้องนางนามชื่อว่ามัทรี ราชปุตฺตี น้องก็เป็นกัลยาณีหน่อกษัตริย์มัททราชสุริยวงศ์ อนึ่งน้องเป็นเอกองค์อัครบริจาริกากรแห่ง พระเวสสันดรราชฤๅษีอันจาจากพระบุรีมาอยู่ไพร น้องน้ีก็ตั้งใจสุจริตติดตามมาด้วยกตเวที อน่ึงพระสุริยศรีก็ย่าสนธยาสายัณห์แล้ว เป็นเวลาพระลูกแก้วจะอยากนมกาหนดเสวย พระพ่ีเจ้า ของน้องเอ๋ยท้ังสามรา ขอเชิญกลับไปยังรัตนคูหาห้องแก้ว แล้วจะได้เชยชมซ่ึงลูกรักและเมียขวัญ อนึ่งน้องน้ีจะแบ่งปันผลไม้ให้สักก่ึง ครึ่งหนึ่งนั้นน้องจะขอไปฝากพระหลานน้อยๆ ทั้งสองรา มคฺคํ เม เทถ ยาจิตา พระพ่ีเจ้าทั้งสามของน้องเอ่ย จงมีจิตคิดกรุณาสังเวชบ้าง ขอเชิญล่วงครรไล
ให้หนทางพนาวันอันสัญจร แก่น้องที่วิงวอนอยู่นี้เถิด 19


ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห ตสฺสา ลาลปฺปมานาย
สุตฺวา เนลปตึ วาจ
อิมมฺหิ น ปเทสมฺหิ
ปจฺจุคฺคตา ม ติฏฺนฺติ
อิมมฺหิ น ปเทสมฺหิ
ปจฺจุคฺคตา ม ติฏฺนฺติ
อิมมฺหิ น ปเทสมฺหิ
ปจฺจุคฺคตา ม ติฏฺนฺติ
เต มิคา วิย อุกฺกณฺณา อานนฺทิโน ปมุทิตา
ตฺยชฺช ปุตฺเต น ปสฺสามิ
ฉคิลีว มิคี ฉาปํ ฯลฯ
พหุการุฺสฺหิต พาฬา ปนฺถา อปกฺกมุนฺติ ปุตฺตกา ปํสุกุณฺิตา วจฺฉา พาลาว มาตร ปุตฺตกา ปํสุกุณฺิตา หสาวูปริปลฺลเล
ปุตฺตกา ปํสุกุณฺิตา อสฺสมสฺสาวิทูรโต สมนฺตามภิธาวิโน วตฺตมานาว กมฺปเร
ชาลึ กณฺหาชินา จุโภ ปกฺขี มุตฺตาว ปฺชรา
ตโย เทวปุตฺตา ส่วนเทพเจ้าทั้งสามองค์ได้ทรงฟังพระเสาวนีย์ พระมัทรีเธอไหว้วอน ขอหนทาง พระพักตร์นางนองไปด้วยน้าพระเนตร เทพเจ้าก็สังเวชในวิญญาณ ก็พากันอุฏฐาการ คลาไคลใหม้รคาแกน่างพระยามทัรีพอแจม่แจง้แสงสศีศธิรนางกย็กหาบคอนขนึ้ใสบ่า่เปลอ้ืงเอา พระภษู ามาคาดพระถนั ใหม้ นั่ คง วง่ิ พลางนางทรงกนั แสงพลาง ยะเหยาะเหยา่ ทกุ ฝยี า่ งไมห่ ยอ่ นหยดุ พักหน่ึงก็ถึงที่สุดบริเวณพระอาวาสที่พระลูกเจ้าเคยประพาสแล่นเล่น ประหลาดแล้วแลไม่เห็น ก็ใจหาย ดั่งว่าชีวิตนางจะวางวายลงทันที จ่ึงตรัสเรียกว่าแก้วกัณหาพ่อชาลีของแม่เอ่ย แม่มา ถึงแล้ว เหตุไฉนไยพระลูกแก้วจึ่งมิมาเล่าหลากแก่ใจ แต่ก่อนแต่ไรสิพร้อมเพรียง เจ้าเคยว่ิงระร่ี เรยี งเคยี งแขง่ กนั มาคอยรบั พระมารดา ทรงพระสรวลสา รวลรา่ ระรนื่ เรงิ รบี รบั เอาขอคาน แลว้ กพ็ า กันกราบกรานพระชนนี พ่อชาลีเจ้าเลือกเอาผลไม้ แม่กัณหาฉะอ้อนวอนไหว้ว่าจะเสวยนม ผทมเหนอื พระเพลาพลางฉอเลาะแมน่ ตี้ า่ งๆ ตามประสาทารกเจรญิ ใจ วจฉฺ า พาลาว มาตรํ มอี ปุ ไมย เสมือนหน่ึงลูกทรายทรามคะนองปองที่ว่าจะชมแม่เมื่อสายัณห์ โอพระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ริ้นก็มิได้ไต่ไรก็มิได้ตอม เจ้าเคยฟังแต่เสียงพี่เลี้ยงเขา ขับกล่อมบาเรอด้วยดุริยางค์ ยามบรรทมธุลีลมก็มิได้พัดมาแผ้วพาน แม่สู้พยาบาลบารุงเจ้าแต่ เยาว์มา เจ้ามิได้ห่างพระมารดาสักหายใจ โอความเข็ญใจในคร้ังนี้น่ีเหลือขนาด ส้ินสมบัติพลัด ญาติยังแต่ตัวต้องไปหามาเลี้ยงลูกและเลี้ยงผัวทุกเวลา แม่มาสละเจ้าไว้เป็นกาพร้าท้ังสององค์ หํสาว เสมือนหนึ่งลูกหงส์เหมราชปักษิน ปราศจากมุจลินท์ไปตกคลุกในโคลนหนองสิ้นสีทอง
20


อันผ่องแผ้ว แม่กลับเข้ามาถึงแล้วได้เชยชมชื่นสบาย ท่ีเหนื่อยยากก็เส่ือมหายคลายทุกข์ทุเลาลง ลืมสมบัติทั้งวงศาในวังเวียง โอแต่ก่อนเอยแม่เคยได้ยินเสียงเจ้าเจรจาแจ้วๆ อยู่ตรงนี้ อิทํ ปทวลฺชํ นั่นก็รอยเท้าพ่อชาลี นี่ก็บทศรีแม่กัณหาพระมารดายังแลเห็น โน่นก็กรวดทราย เจ้า ยังรายเล่นเป็นกองๆ ส่ิงของทั้งหลายเป็นเครื่องเล่นยังเห็นอยู่ น ทิสฺสเร แต่ลูกรักท้ังคู่ ไปอยไู่ หนไมเ่ หน็ เลย อยํ โส อสสฺ โม โอพระอาศรมเจา้ เอย๋ นา่ อศั จรรยใ์ จ แตก่ อ่ นดนู สี่ กุ ใสดว้ ยสที อง เสยี งเนอื้ นกนรี่ า่ รอ้ งสา ราญรงั เรยี กคคู่ ขู ยบั ขนั ทง้ั จกั จน่ั พรรณลองไนเรไรรอ้ งอยหู่ รง่ิ ๆ ระเรอื่ ยโรย โหยสาเนียงด่ังเสียงสังคีตขับประโคมไพร โอเหตุไฉนเหงาเงียบเม่ือยามนี้ ท้ังอาศรมก็หมองศรี เสมือนหนึ่งว่าจะเศร้าโศก เออชะรอยว่าพระเจ้าลูกจะวิโยคพลัดพรากไปจากอกพระมารดา เสียจริงแล้วกระมังในครั้งนี้ นางก็กลับเข้าไปทูลพระราชสามีด้วยสงสัยว่า พระพุทธเจ้าข้า ประหลาดใจกระหม่อมฉัน อันสองกุมารไปอยู่ไหนไม่แจ้งเหตุหรือพากันไปเท่ียวลับพระเนตร นอกตาแหน่ง สิงห์สัตว์ท่ีร้ายแรงคะนองฤทธิ์มาพานพบขบกัดตัดชีวิตพระลูกข้าพาไปกินเป็น อาหาร ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่งกเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน แต่พอแม่ได้รู้ สาคัญว่าเป็นหรือตาย สุดท่ีแม่จะมุ่งหมายสุดประมาณแล้ว จึ่งตรัสว่า โอ้เจ้าแว่นแก้วส่องสว่าง อกของแม่เอ่ย แม่เคยได้รับขวัญเจ้าทุกเวลา เป็นไรเล่าเจ้าจึ่งไม่มาเหมือนทุกวัน มตา หรือว่า พระลูกเจ้าอาสัญสูญสิ้นพระชนมานอยู่ในป่าพระหิมพานต์นี้แล้วแล
อิท ตโต ทุกฺขตร
ตฺยชฺช ปุตฺเต น ปสฺสามิ อิทปิ ทุติย สลฺล
ยฺจ ปุตฺเต น ปสฺสามิ อชฺช เจ เม อิม รตฺตึ มฺเ โอกฺกนฺตสตฺต ม นนุ มทฺที วราโรหา ปาโต คตาสิ อุจฺฉาย นนุ ตฺว สทฺทมสุโสสิ สีหสฺส วินทนฺตสฺส
อาหุ ปุพฺพนิมิตฺต เม ขณิตฺโต เม หตฺถา ปติโต ตทาห พฺยตฺถิตา ภีตา สพฺพา ทิสา นมสฺสิสฺส มา เหว โน ราชปุตฺโต
สลฺลวิทฺโธ ยถา วโณ ชาลึ กณฺหาชิน จุโภ กมฺเปติ หทย มม ตฺวฺจ ม นาภิภาสสิ ราชปุตฺต น สสสิ ปาโต ทกฺขสิ โน มต ราชปุตฺตี ยสสฺสินี กิมิท สายมาคตา
เย สร ปาตุมาคตา พฺยคฺฆสฺส จ นิกูชิต วิจรนฺตฺยา พฺรหาวเน อุคฺคีวฺจาปิ อสโต ปุถ กตฺวาน อฺชลึ อปิ โสตฺถิ อิโต สิยา หโต สิเหน ทีปินา
21


ทารกา วา ปรามฏฺา สีโห พฺยคฺโฆ จ ทีปิ จ เต ม ปริยาวรุ มคฺค อห ปติฺจ ปุตฺเต จ อนุฏฺิตา ทิวารตฺตึ อชินานิ ปริทหิตฺวา วิจรามิ ทิวารตฺตึ
อิท สุวณฺณหาลิทฺท รุกฺขปกฺกานิ จาหาสึ อิท มูฬาลิวตฺตก
ภุฺช ขุทฺเทน สยุตฺต ปทุม ชาลิโน เทหิ มาลิเน ปสฺส นจฺจนฺเต ตโต กณฺหาชินา ยาติ มฺชุสฺสราย วคคุยา สมานสุขทุกฺขมฺหา
อปิ สิวิปุตฺเต ปสฺเสสิ สมเณ พฺราหฺมเณ นูน อห โลเก อภิสสึ
ตฺยชฺช ปุตฺเต น ปสฺสามิ
อจฺฉโกกตรจฺฉิภิ
ตโย พาฬา วเน มิคา เตน สายมฺหิ อาคตา อาจริยมิว มาณโว ชฏินี พฺรหฺมจารินี วนมูลผลหาริยา
ตุมฺห กามา หิปุตฺตกา อาภต ปณฺฑุเวฬุว อิเม โว ปุตฺตกีฬนา สาลุก ชิฺ ชโรทฺก
สห ปุตฺเตหิ ขตฺติย กุมุท ปน กุมาริยา สิวิปุตฺตานิ อวฺหย นิสาเมหิ รเถสภ อสฺสม อุปคจฺฉนฺติยา รฏฺา ปพฺพาชิตา อุโภ ชาลึ กณฺหาชิน จุโภ พฺรหฺมจริยปรายเน สีลวนฺเต พหุสฺสุเต ชาลึ กณฺหาชิน จุโภติ
เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอกราบทูลพระราชสามีสักเท่าใดๆ ท้าวเธอมิได้ตรัสปราศรัย จานรรจา นางยิ่งกลุ้มกลัดขัดอุราผะผ่าวร้อนข้อนพระทรวงทรงพระกันแสงว่าเจ้าแม่เอ่ย แม่มิเคยได้เคืองแค้นเหมือนหนึ่งครั้งนี้ เมื่อจากบุรีทุเรศมาก็พร้อมหน้าทั้งลูกผัวเป็นเพ่ือนทุกข์ สาคัญว่าจะเป็นสุขประสายากเม่ือยามจน ครั้นลูกหายท้ังสองคนก็ส้ินคิด บังคมทูลพระสามีก็มิได้ ตรัสปรานีแต่สักนิดสักหน่อยหนึ่ง ท้าวเธอก็ขังขึงตึงพระองค์ดูเหมือนทรงพระขัดเคืองเต็มเดือด ดว้ ยอนั ใด นางกเ็ ศรา้ สรอ้ ยสลดพระทยั ดงั่ เอาเหลก็ แดงมาแทงใจใหเ้ จบ็ จติ นเี่ หลอื ทน อปุ มาเหมอื น คนไข้หนักแล้วมิหนายังแพทย์เอายาพิษมาวางซ้าให้เวทนา เห็นชีวาน้ีคงจะไม่รอดไปสักกี่วัน พระคุณเอ่ย เม่ือแรกจากไอศวรรย์มาอยู่ดงก็ปลงจิตมิได้คิดเป็นจิตสอง หวังว่าจะเป็นเกือกทอง ฉลองบาทยุคลทั้งคู่แห่งพระคุณผัวกว่าจะสิ้นบุญตัวตายตามไปเมืองผี อนิจจาเอ่ย วาสนามัทรี ไม่สมคะเนแล้ว พระทูลกระหม่อมแก้วจ่ึงชิงชังไม่พูดจา ท้ังลูกรักดังแก้วตาก็หายไป อกเอ่ยจะอยู่ ไปไยให้ทนเวทนา อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ย่อมจะอาสัญลงเพราะลูกเป็นแท้เท่ียง
22


ถ้าแม้นพระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่าง ซากศพของมัทรีอันโทรมตายกายกลิ้งอยู่กลางดงเสียเป็นมั่นคงนี้แล้วแล
อถ มหาสตฺโต สมเด็จพระราชสมภารเม่ือได้สดับสารพระมัทรีเธอแสนวิโยคโศกศัลย์ สุดกาลัง ถึงแม้นจะมิตรัสแก่นางมั่งจะมิเป็นการ จาจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า นนุ มทฺทิ ดูกรนางนาฏพระน้องรัก ภทฺเท เจ้าผู้มีพักตร์อัน ผุดผ่องเสมือนหน่ึงเอาน้าทองเข้ามาทาบทับประเทืองผิว ราวกะว่าจะลอยลิ่วเลื่อนลงจากฟ้า ใครได้เห็นเป็นขวัญตาเต็มหลงละลายทุกข์ปลุกเปลื้องอารมณ์ชายให้เชยช่ืน จะนั่งนอนเดินยืน ก็ต้องอย่าง วราโรหา พร้อมด้วยเบญจางคจริตรูปจาเริญโฉมประโลมโลกล่อแหลมวิไลลักษณ์ ราชปุตฺตี ประกอบไปด้วยเชื้อศักด์ิสมมุติวงศ์พงศ์กษัตรา เออก็เมื่อเช้าเจ้าจะเข้าป่าน่าสงสาร ปานประหน่ึงว่าจะไปมิได้ ทาร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว ครั้นคลาดแคล้วเคล่ือนคล้อยเข้าสู่ดง ปานประหน่ึงว่าจะหลงลืมลูกสละผัวต่อมืดมัวจึ่งกลับมา ทาเป็นบีบน้าตาตีอกว่าลูกหาย ใครจะไม่รู้แยบคายความคิดหญิง ถ้าแม้นเจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้า มาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้าเท่ียวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันท่ีจะมี ทั้งฤๅษีสิทธ์วิทยาธรคนธรรพ์เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้ หรือ เจ้าปะผลไม้ประหลาดรสสดสุกทรามเสวยไม่เคยกิน เจ้าฉวยชิมชอบลิ้นก็หลงฉันอยู่จ่ึงช้า อุปมา เสมือนหน่ึงภุมรินบินวะว่อนเท่ียวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไม้อันวิเศษต้องประสงค์ หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืมหลังไม่แลเหลียวเท่ียวทอดประทับ มากลางทาง อันว่าพระยานางสิเป็นหน่อกษัตริย์จะไปไหนก็เคยมีแต่กลดกั้น พานจะเกรงแสง พระสุริยันไม่คลาเคลื่อน เจ้ารักเดินด้วยแสงเดือนชมดาวพลาง ได้น้าค้างกลางคืนชื่นอารมณ์ สมคะเน พอมาถึงก็ทาเสขึ้นเสียงเล่ียงเลี้ยวพาโลว่าลูกหาย เออนี่เจ้ามิหมายว่าใครๆ ไม่รู้ทัน กระนั้นกระมัง หรือเจ้าเห็นว่าพ่ีน้ีเป็นชีอดจิตคิดอนิจจังท้ิงพยศ อดอารมณ์เสีย เจ้าเป็นแต่เพียง เมียควรหรือมาหมิ่นได้ ถ้าแม้นพ่ีอยู่ในกรุงไกรเหมือนแต่ก่อนเก่า หากว่าเจ้าทาเช่นนี้ กายของ มัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของอาตมานี้แล้วแล
สา มททฺ ี สว่ นสมเดจ็ พระยอดมง่ิ เยาวมาลยม์ ทั รี เมอื่ ไดส้ ดบั คา พระราชสามบี รภิ าษณานาง ท่ีความโศกก็เสื่อมสร่างสงบจิตเพราะเจ็บใจ จ่ึงก้มพระเศียรลงกราบไหว้แล้ววันทนาพลาง นางจึ่ง ทลู สนองพระราชบญั ชาวา่ พระพทุ ธเจา้ ขา้ ควรมคิ วรสดุ แทแ้ ตจ่ ะทรงพระกรณุ าโปรดทโี่ ทษานโุ ทษ เป็นล้นเกล้า ด้วยข้าพระพุทธเจ้ากลับมาเวลาค่าทั้งนี้เพราะเป็นกระลีขึ้นในไพรวัน พฤกษาทุก สิ่งสารพันก็แปรปรวนทุกประการ ทั้งพ้ืนป่าพระหิมพานต์ก็ผัดผันหวั่นไหวอยู่วิงเวียนเปลี่ยนเป็น พยบั มดื ไมเ่ หน็ หน ขา้ พระบาทนรี่ อ้ นรนไมห่ ยดุ หยอ่ นแตส่ กั อยา่ ง แตเ่ ดนิ มากบ็ งั เกดิ ประหลาดลาง ขึ้นในกลางพนาลี พบพญาราชสีห์สองเสือทั้งสามสัตว์สกัดหน้าไม่มาได้ ต่อส้ินแสงอโณทัยจ่ึงได้
23


คลาเคล่ือน ใช่จะเป็นเหมือนพระองค์ดารินั้นก็หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกล้ากระหม่อมฉัน ตกมาเปน็ขา้นอ้ยพระองคเ์หน็พริธุรอ่งรอยรา้วรานทตี่รงไหนทอดพระเนตรสงัเกตไวแ้ตป่างกอ่น จึงเคืองค่อนด้วยคาหยาบยอกใจเจ็บจิตจนเหลือกาลัง พระคุณเอ่ยจะคิดดูมั่งเป็นไรเล่าว่ามัทรีนี้ เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมาดั่งเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน นอกกว่านั้นที่แน่นอนคือนางไหนอันสนิท ชิดใช้แต่ก่อนกาล ยังจะติดตามพระราชสมภารมาบ้างละหรือ ได้แต่มัทรีที่แสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้ จกัปลน้ิปลอกพลกิไพลเ่อาตวัหนีมทัรสีตัยาสวามภิกัดริ์กัผวัเพยีงบดิากว็า่ได้ถงึจะยากเยน็เขญ็ใจ ก็ตามกรรม วนมูลผลหาริยา อุตสาหะตระตรากตระตราเตร็ดเตร่หาผลาผลไม้ ถึงที่ไหนจะ รกเรี้ยวก็ซอกซอนอุตส่าห์เที่ยวไม่ถอยหลังจนเนื้อหนังข่วนขาดเป็นริ้วรอย โลหิตไหลย้อยทุก หยอ่ มหนาม อารามจะใครไ่ ดผ้ ลาผลไมม้ าปฏบิ ตั ลิ กู บา รงุ ผวั ถงึ กระไรจะคมุ้ ตวั กท็ ง้ั ยากนา่ หลากใจ อกของใครจะอาภัพยับพิกลเหมือนอกของมัทรีไม่มีเนตร น่าที่จะสงสารสังเวชโปรดปรานีว่ามัทรี นี้เป็นเพื่อนยากอยู่จริงๆ ช่างค้อนติงปริภาษณาได้ลงคอไม่คิดเลย พระคุณเอ่ยถึงพระองค์จะ สงสัย ก็น้าใจของมัทรีน้ีกตเวทีเป็นไม้เท้าก้าวเข้าสู่ท่ีทางทดแทน รามํ สีตาวนุพฺพตา อุปมา แม้นเหมือนสีดาอันภักดีต่อสามีรามบัณฑิต ปานประหนึ่งว่าศิษย์กับอาจารย์ พระคุณเอ่ย เกล้ากระหม่อมฉานทาผิดแต่เพียงนี้เพราะว่าล่วงราตรีจึ่งมีโทษ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณา โปรดซ่ึงโทษานุโทษกระหม่อมฉันมัทรีแต่ครั้งเดียวน้ีเถิด
24
อิเม เต ชมฺพุกา รุกฺขา วิวิธานิ รุกฺขชาตานิ อสฺสตฺถา ปนสา เจเม วิวิธานิ ผลชาตานิ อิเม ติฏฺนฺติ อารามา ยตฺถสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ วิวิธานิ ปุปฺผชาตานิ ยานสฺสุ ปุพฺเพ ธารึสุ วิวิธานิ ผลชาตานิ ยานสฺสุ ปุพฺเพ ภุฺชึสุ อิเม โน หตฺถิกา อสฺสา เยหิสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ อิเม สามา สโสลูกา เยหิสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ อิเม หสา จ โกฺ จา จ
เวทิสา สินฺธุวาริตา เต กุมารา น ทิสฺสเร นิโคฺรธา จ กปิตฺถนา เต กุมารา น ทิสฺสเร อย สีตูทกา นที
เต กุมารา น ทิสฺสเร อสฺมึ อุปริ ปพฺพเต เต กุมารา น ทิสฺสเร อสฺมึ อุปริ ปพฺพเต เต กุมารา น ทิสฺสเร พลิพทฺทา จ โน อิเม เต กุมารา น ทิสฺสเร พหุกา กทลีมิคา
เต กุมารา น ทิสฺสเร มยุรา จิตฺรเปขุณา


เยหิสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ อิมา ตา วนคุมฺพาโย ยตฺถสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ อิมา ตา โปกฺขรณี รมฺมา มณฺฑาลเกหิ สฺ ฉนฺนา ยตฺถสฺสุ ปุพฺเพ กีฬึสุ
น เต กฏฺานิ ภินฺนานิ อคฺคิปิ เต น หาสิโต ปิโย ปิเยน สงฺคมฺม ตฺยชฺช ปุตฺเต น ปสฺสามิ น โข โน เทว ปสฺสามิ กาโกลาปิ น วสฺสนฺติ
น โข โน เทว ปสฺลามิ
สกุณาปิ น วสฺสนฺติ ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห สา ตตฺถ ปริเทวิตฺวา
ปุน เทวสฺสม คนฺตฺวา
น โข โน เทว ปสฺสามิ กาโกลาปิ น วสฺสนฺติ
น โข โน เทว ปสฺสามิ สกุณาปิ น วสฺสนฺติ
น โข โน เทว ปสฺสามิ วิจรนฺตี รุกฺขมูเลสุ
อิติ มทฺที วราโรหา พาหา ปคฺคยฺห กนฺทิตฺวา
เต กุมารา น ทิสฺสเร ปุปฺผิตา สพฺพกาลิกา เต กุมารา น ทิสฺสเร จกฺกวากูปกูชิตา ปทุมุปฺปลเกหิ จ
เต กุมารา น ทิสฺสเร น เต อุทกมาภต กินฺนุ มนฺโทว ฌายสิ สโมห พฺยปหฺติ ชาลึ กณฺหาชิน จุโภติ เยน เต นิหตา มตา มตา เม นูน ทารกา เยน เต นิหตา มตา มตา เม นูน ทารกาติ
ปพฺพตานิ วนานิ จ สามิกสฺสนฺติ โรทติ เยน เย นิหตา มตา มตา เม นูน ทารกา เยน เต นิหตา มตา มตา เม นูน ทารกา เยน เต นิหตา มตา ปพฺพเตสุ คุหาสุ จ ราชปุตฺตี ยสสฺสินี ตตฺเถว ปติตา ฉมาติ
25
เมอื่ สมเดจ็ พระยอดมงิ่ เยาวมาลยม์ ทั รี กราบทลู พระราชสามสี กั เทา่ ใดๆ ทา้ วเธอจะไดป้ ราศรยั กไ็ มม่ ี พระนางยงิ่ หมองศรโี ศกกา สรดสะอกึ สะอนื้ ถวายบงั คมคนื ออกมาเทยี่ วแสวงหาพระลกู รกั ทุกหนแห่ง กระจ่างแจ้งด้วยแสงพระจันทร์ส่องสว่างพ้ืนอัมพรประเทศวิถี นางเสด็จจรลีไป หยุดยืนในภาคพื้นปริมณฑลใต้ต้นหว้า จึ่งตรัสว่า อิเม เต ชมฺพุกา รุกฺขา ควรจะสงสารเอ่ยด้วย ต้นหว้าใหญ่ใกล้อาราม งามด้วยกิ่งก้านประกวดกัน ใบชอุ่มประชุมช่อเป็นฉัตรช้ันดั่งฉัตรทอง


แสงพระจันทร์ดั้นส่องต้องน้าค้างที่ขังให้ไหลลงหยดย้อย เหมือนหน่ึงน้าพลอยพร้อยๆ อยู่พรายๆ ต้องกับแสงกรวดทรายที่ใต้ต้นอร่ามวามวาวดูเป็นวนวงแวว ดั่งบุคคลเอาแก้วมาระแนงแกล้งมา โปรยโรยรอบปรมิ ณฑลกเ็ หมอื นกนั งามดงั่ ไมป้ ารชิ าตในเมอื งสวรรคม์ าปลกู ไว้ ลกู รกั เจา้ แมเ่ อย่ เจ้าเคยมาอาศัยน่ังนอน ประทับร้อนสาราญร่มรื่นๆ สารวลเล่นเย็นสบาย พระพายราเพยพัดมา ฉิวเฉื่อย เรไรระรี่เรื่อยร้องอยู่หริ่งๆ แต่ลูกรักของแม่ท้ังชายหญิงไปอยู่ไหนไม่เห็นเลย มหานิโคฺรธ- ชาตํ อนจิ จาๆ เอย่ เหน็ แตไ่ ทรทองถดั กนั ไป กง่ิ กา้ นใบรากหอ้ ยยนื่ ระยา้ เจา้ เคยมาหอ้ ยโหนโยนชงิ ชา้ ชวนกันแกว่งไกว แล้วเล่นไล่ปิดตาหาเร้นแทบหลังบริเวณพระอาวาส อิมา ตา โปกฺขรณี รมฺมา เจ้าเคยมาประพาสสรงสนานในสระศรีโบกขรณีตาแหน่งนอกพระอาวาส นางเสด็จลีลาศไป เท่ียวเวียนรอบ จึ่งตรัสว่าน้าเอ๋ยเคยมาเปี่ยมขอบเป็นไรจึ่งขอดข้นลงขุ่นหมอง พระพายเจ้าเอ๋ย เคยมาพัดต้องกลีบอุบล พากลิ่นสุคนธ์ขจรรสมารวยรื่นเป็นไรจึ่งเสื่อมหอมหายชื่นไม่เฉ่ือยฉ่า ฝูงปลาเอ๋ยเคยมาผุดคล่าดาแฝงฟอง บ้างก็ขึ้นล่องว่ายอยู่ลอยเลื่อนชมแสงเดือนอยู่พรายๆ เป็นไรจึ่งไม่ว่ายเวียนวง นกเจ้าเอ่ยเคยบินลงไล่จิกเหย่ือทุกเวลา วันนี้แปลกเปล่าตาแม่แลไม่เห็น พระลูกเอ่ยเจ้าเคยมาเที่ยวเล่น แม่แลไม่เห็นแล้ว โอ้แลเห็นแต่สระแก้วอยู่อ้างว้างวังเวงใจ นางก็เสด็จครรไลล่วงตาบล เท่ียวค้นหาพระลูกตามลาเนาเนินป่า ทุกสุมทุมพุ่มพฤกษาป่าสูง ยูงยางใหญ่ไพรระหง พนัสแดนดงเย็นยะเยือกเงียบสงัดเหงา ได้ยินแต่เสียงดุเหว่าละเมอ ร้องก้องพนาเวศ พระกรรณเธอสังเกตว่าสองดรุณเยาวเรศเจ้าร้องขานอยู่แว่วๆ ให้หวาดว่า สาเนียงเสียงพระลูกแก้วเจ้าขานรับพระมารดา นางเสด็จลีลาเข้าไปหาดูเห็นหมู่สัตว์จตุบาท กลาดกลุ้มเข้าสุมนอน นางก็ยิ่งสะท้อนถอนพระทัยเทวษครวญ เสด็จด่วนๆ ดะดุ่มเดินเมิลมุ่ง ละเมาะไม้มองหมอบ แต่ย่างเหยียบเกรียบกรอบก็เหลียวหลัง พระโสตฟังให้หวาดแว่วว่า สาเนียงเสียงพระลูกแก้วเจ้าบ่นอยู่งึมๆ พุ่มไม้คร้ึมเป็นเงาๆ ชะโงกเงื้อม พระเนตรเธอแลเหลือบ ให้ลายเล่ือมเห็นเป็นรูปคนตะคุ่มๆ อยู่คล้ายๆ แล้วหายไป สมเด็จอรไทเธอเท่ียวตะโกนกู่กู๋ก้อง พระพักตร์เธอฟูมฟองนองไปด้วยน้าพระเนตรเธอโศกา จ่ึงตรัสว่าโอ้โอ๋เวลาปานฉะนี้เอ่ยจะ มิดึกด่ืน จวนจะส้ินคืนค่อนรุ่งไปเสียแล้วหรือกระไรไม่รู้เลย พระพายราเพยพัดมาร่ีเรื่อยอยู่ เฉ่ือยฉิว อกแม่น้ีให้อ่อนหิวสุดละห้อย ท้ังดาวเดือนก็เคลื่อนคล้อยลงลับไม้ สุดที่แม่จะติดตามเจ้า ไปในยามนี้ ฝูงลิงค่างบ่างชะนีท่ีนอนหลับก็กลิ้งกลับเกลือกตัวอยู่ยั้วเย้ีย ทั้งนกหกก็งัวเงียเหงา เงียบทุกรวงรัง แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทกแห่งห้องหิมเวศทั่วประเทศทุกราวป่า สุดสายนัยนา ที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสาเนียง สุดสุรเสียงท่ีแม่จะร่าเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน ก็สุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด จะได้ พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย จึ่งตรัสว่าเจ้าดวงมณฑาทองทั้งคู่ของแม่เอ๋ย หรือว่าเจ้าท้ิงขว้างวางจิตไปเกิดอื่นเหมือนแม่ฝันเมื่อคืนนี้แล้วแล
26


ภิกฺขเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงพรหมจารี เม่ือสมเด็จพระมัทรีทรงกาสรดแสนกัมปนาท เพียง พระสันดานจะขาดจะดับสูญ ปริเทวิตฺวา นางเสวยพระอาดูรพูนเทวษในพระอุรา น้าพระ อัสสุชลนาเธอไหลนองคลองพระเนตร ทรงพระกันแสงแสนเทวษพิไรร่า ต้ังแต่ประถมยามค่าไม่ หย่อนหยุดแต่สักโมงยาม นางเสด็จไต่เต้าติดตามทุกตาบล ละเมาะไม้ไพรสณฑ์ศิขริน ทุกห้วยธาร ละหานหินเหวหุบห้องคูหาวาส ทรงพระพิไรร้องก้องประกาศเกริ่นสาเนียง พระสุรเสียงเธอ เยือกเย็นระย่อทุกอกสัตว์ พระพายราเพยพัดทุกก่ิงก้าน บุษบงก็เบิกบานผกากร รัศมีพระจันทร ก็มัวหมองเหมือนหนึ่งจะเศร้าโศกแสนวิปโยคเมื่อยามปัจจุสมัย ทั้งรัศมีพระสุริโยทัยส่องอยู่รางๆ ขึ้นเรืองฟ้า เสียงชะนีเหนี่ยวไม้ไห้หาละห้อยโหย พระกาลังนางก็อิดโรยพิไรร่าร้อง พระสุรเสียง เธอกู่ก้องกังวานดง เทพเจ้าทุกพระองค์กอดพระหัตถ์เง่ียพระโสตสดับสาร พระเยาวมาลย์เธอ เที่ยวหาพระลูก พระนางเธอเสวยทุกข์แสนเข็ญ ตั้งแต่ยามเย็นจนรุ่งเช้าก็สุดส้ินท่ีจะเท่ียวค้น ทุกตาแหน่งแห่งละสามหนเธอเที่ยวหา ปณฺณรสโยชนมคฺคํ ถ้าจะคล่ีคลายขยายมรคาก็ได้ สิบห้าโยชน์โดยนิยม นางจ่ึงเซซังเข้าไปสู่พระอาศรมบังคมบาทพระภัสดา ประหนึ่งว่าชีวาจะ วางวายทาลายล่วง สองพระกรเธอข้อนทรวงทรงพระกันแสงครวญคร่าแล้วราพันว่า โอ้เจ้า ดวงสุริยันจันทรท้ังคู่ของแม่เอ่ย แม่ไม่รู้เลยว่าเจ้าจะหนีพระมารดาไปสู่พาราใดไม่รู้ที่ หรือจะ ข้ามนทีทะเลวนหิมเวศประเทศทิศแดนใด ถ้ารู้แจ้งประจักษ์ใจแม่ก็จะตามเจ้าไปจนสุดแรง นี่ก็เหลือท่ีแม่จะเท่ียวแสวงสืบเสาะหา เม่ือเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า พ่อชาลีแม่กัณหายังทูลสั่ง แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบกระหม่อมจอมเกล้าทั้งสองรา กลิ่นยังจับนาสาอยู่รวยรื่น โอ้พระลูก ข้านี้จะไม่คืนเสียแล้วกระมังในคร้ังน้ี กัณหาชาลีลูกรักแม่นับวันแต่ว่าจะแลลับล่วงไปเสียแล้ว ละหนอ ใครจะกอดพระศอเสวยนมผทมด้วยแม่เล่า ยามเมื่อแม่จะเข้าที่บรรจถรณ์ เจ้าเคยเคียง เรียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี แต่น้ีแม่จะกล่อมใครให้นิทรา โอ้แม่อุ้มท้องประคองเคียง เล้ียงเจ้ามาก็หมายม่ัน สาคัญว่าจะได้อยู่เป็นเพ่ือนยากจะฝากผีพึ่งลูกท้ังสองคน มิรู้ว่าจะกลับ วิบัติพลัดพรากไม่เป็นผลให้อาเพศผิดประมาณ เจ้าเอาแต่ห่วงสงสารนี่หรือมาสวมคล้องให้แม่นี้ ติดต้องข้องอยู่ด้วยอาลัย เจ้าท้ิงชื่อและโฉมไว้ให้เปล่าอกในวิญญาณ์ เมื่อเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า ยังได้เห็นหน้าเจ้าอยู่หลัดๆ ควรละหรือมาสลัดแม่นี้ไว้ เหมือนจะเตือนให้แม่นี้บรรลัยเสียจริงแล้ว ควรจะสงสารเอ่ยด้วยนางแก้วกัลยาณี น้อมพระเกศีลงทูลถามหวังจะติดตามพระลูกรักท้ังสองรา กราบถวายบงัคมลาลกุเลอื่นเขยอื้นยกพระบาทเยอื้งยา่งพระกายนางใหเ้สยีวสนั่หวนั่ไหวไปทงั้องค์ ดุจชายธงอันต้องกาลังลมอยู่ลิ่วๆ สิ้นพระแรงโรยเธอโหยหิวระหวยทรวง พระศอเธอหงุบง่วงดวง พระพักตร์เธอผิดเผือดให้แปรผัน จะทูลสั่งก็ยังมิทันท่ีว่าจะทูลเลย แต่พอตรัสว่าพระคุณเจ้าเอ๋ย คา เดยี วเทา่ นนั้ กห็ ายเสยี งเอยี งพระกายบา่ ยศโิ รเพฐน์ พระเนตรหลบั หบั พระโอษฐล์ งทนั ที วสิ ฺ ญี หุตฺวา นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉาน ปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด ขาดระเนนเอนแล้วก็ล้มลงตรงหน้าพระที่นั่งเจ้านั้นแล 27


อถ มหาสตฺโต ปางนั้นสมเด็จพระเวสสันดรอดุลดวงกษัตริย์ ตรัสทอดพระเนตรเห็น พระอคั เรศถงึ วสิ ญั ญภี าพสลบลงวนั นน้ั พระทยั ทา้ วเธอสาคญั วา่ พระนางเธอวางวาย สะดงุ้ พระทยั หายว่าโอ้อนิจจามัทรีเจ้าพ่ีเอ๋ย บุญพี่นี้น้อยแล้วนะเจ้าเพื่อนยาก เจ้ามาตายจากพี่ไปในวงวัด เจ้าจะเอาป่าชัฏนี่หรือมาเป็นป่าช้า จะเอาพระบรรณศาลานี่หรือเป็นบริเวณพระเมรุทอง จะเอา แต่เสียงสาลิกาอันร่าร้องนั่นหรือมาเป็นกลองประโคมใน จะเอาแต่เสียงจักจ่ันและเรไรอันร่าร้อง นั่นหรือมาต่างแตรสังข์และพิณพาทย์ จะเอาแต่เมฆหมอกในอากาศน่ันหรือมากั้นเป็นเพดาน จะ เอาแต่ยูงยางในป่าพระหิมพานต์มาต่างฉัตรเงินและฉัตรทอง จะเอาแต่แสงพระจันทร์อันผุดผ่อง มาต่างประทีปแก้วงามโอภาส อนิจจามัทรีเอ่ย มาตายอเนจอนาถไร้ญาติที่กลางดง ครั้นท้าวเธอ ค่อยคลายลงที่โศกศัลย์ จึ่งผันพระพักตร์มาพิจารณาก็รู้ว่ายังไม่อาสัญ จึ่งเข้าไปยังพระคันธกุฎี จับเอาคนทีอันเต็มไปด้วยน้ามาทันใด ตั้งแต่พระองค์ทรงพระผนวชไพรมาได้ถึงเจ็ดเดือนปลาย จะได้ต้องพระกายนางมัทรีหามิได้ เมื่อความทุกข์พ้นวิสัยมิอาจที่จะกาหนดว่าอาตมะนี้เป็น ดาบสฤๅษี ยกเศียรพระมัทรีขึ้นใส่ตักวักเอาวารีมาโสรจสรงลงที่อุระพระมัทรี หวังว่าจะให้ชุ่มชื่น ฟื้นสมปฤๅดีคืนมาแห่งนางพระยาน้ันแล
28
ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา อาห ตมชฺช ปตฺต ราชปุตฺตึ
อสฺสตฺถ น วิทิตฺวาน อาทิเยเนว เต มทฺทิ ทลิทฺโท ยาจโก วุฑฺโฒ ตสฺส ทินฺนา มยา ปุตฺตา ม ปสฺส มทฺทิ มา ปุตฺเต ลจฺฉาม ปุตฺเต ชีวนฺตา ปุตฺเต ปสุฺ จ ธฺ ฺ จ ทชฺชา สปฺปุริโส ทาน อนุโมทาหิ เม มทฺทิ อนุโมทามิ เต เทว ทตฺวา จิตฺต ปสาเทหิ โย ตฺว มจฺเฉรภูเตสุ พฺราหฺมณสฺส อทา ทาน นินฺนาทิตา เต ปวี สมนฺตา วิชฺชุตา อาคู
อุทเกนาภิสิฺจิถ
อถ น เอตมพฺรวีติ ทุกฺข นกฺขาตุมิจฺฉิส พฺราหฺมโณ ฆรมาคโต มทฺทิ มา ภายิ อสฺสส มา พาฬฺห ปริเทวยิ อโรคา จ ภวามฺหเส ยฺ จ อฺ  ฆเร ธน ทิสฺวา ยาจกมาคเต ปุตฺตเก ทานมุตฺตมนฺติ ปุตฺตเก ทานมุตฺตม ภิยฺโย ทาน ทโท ภว มนุสฺเสสุ ชนาธิป สีวีน รฏฺวฑฺฒโนติ สทฺโท เต ติทิวงฺคโต คิรีนว ปฏิสฺสุตาติ


ตสฺส เต อนุโมทนฺติ
อินฺโท จ พฺรหฺมา จ ปชาปตี จ สพฺเพ เทวานุโมทนฺติ
อิติ มทฺที วราโรหา เวสฺสนฺตรสฺส อนุโมทิ
อุโภ นารทปพฺพตา
โสโม ยโม เวสฺสวณฺโณ จ ราชา ตาวตึสา สอินฺทกา
ราชปุตฺตี ยสสฺสินี
ปุตฺตเก ทานมุตฺตมนฺติ
29
ภิกฺขเว ดูกรภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลวิสุทธิสิกขา เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอได้สมปฤๅดีคืนมา นางพระยาเจ้าละอายแก่เทพดานัก ด้วยตัวมานอนอยู่บนตักพระราชสามีมิบังควร อุฏฺาย จึง อุฏฐาการโดยด่วนเลื่อนพระองค์ลงจากตักพระราชสามี พระมัทรีจ่ึงทูลถามว่าพระพุทธเจ้าข้า พระลกู รกั ทงั้ สองราไปอยไู่ หนนะฝา่ พระบาท ทา้ วเธอจงึ่ ตรสั ประภาษวา่ ดกู รเจา้ มทั รี อนั สองกมุ ารน้ี พ่ีให้เป็นทานแก่พราหมณ์แต่วันวานนี้แล้ว พระน้องแก้วเจ้าอย่าโศกศัลย์ จงต้ังจิตของเจ้านั้นให้ โสมนสั ศรทั ธา ในทางอนั กอ่ กฤดาภนิ หิ ารทานบารมี ลจฉฺ าม ปตุ เฺ ต ชวี นตฺ า ถา้ เราทงั้ สองนย้ี งั มชี วี ติ สืบไป อันสองกุมารนี้ไซร้ก็คงจะได้พบกันเป็นมั่นแม่น ถึงแสนสัตพิธรัตน์เคร่ืองอลงการซึ่ง พระราชทานไปนั้นเราก็จะได้ด้วยพระทัยหวัง ทชฺชา สปฺปุริโส ทานํ มัทรีเอ่ย อันอริยสัตบุรุษ เห็นปานด่ังตัวพ่ีฉะน้ี ถึงจะมีข้าวของสักเท่าใดๆ ทิสฺวา ยาจกมาคเต ถ้าเห็นยาจกเข้ามาใกล้ ไหว้วอนขอไม่ย่อท้อในทางทาน จนแต่ชั้นลูกรักยอดสงสารพี่ยังยกให้เป็นทานได้ อันสองกุมารน้ี ไซรเ้ ปน็ แตท่ านพาหริ กะภายนอกไมอ่ มิ่ หนา พจี่ ะใครใ่ หอ้ ชั ฌตั กิ ทานอกี นะเจา้ มทั รี ถา้ แมน้ มบี คุ คล ผู้ใดปรารถนาเนื้อหนังมังสังโลหิตดวงหทัยนัยนเนตรทั้งซ้ายขวา พี่ก็จะแหวะผ่าให้เป็นทานไม่ ย่อท้อถึงเพียงนี้ มัทรีเอ่ย จงศรัทธาด้วยช่วยอนุโมทนาทานในกาลบัดนี้เถิด
สมเด็จพระมัทรีทูลสนองพระโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า แต่วันวานนี้เหตุไฉนจ่ึงไม่แจ้ง ยุบลสารให้ทราบเกล้า ท้าวเธอจึ่งตรัสเล่าว่าพระน้องเอ่ย พี่จะเล่าให้เจ้าฟังก็สุดใจ ด้วยเจ้ามา แต่ป่าไกลยังเหนื่อยนัก พี่เห็นว่าความร้อนความรักจะรุกอก ด้วยสองดรุณทารกเป็นเพื่อนไร้ เจา้ มทั รเี อย่ จงผอ่ งใสอยา่ สอดแคลว้ อนั สองพระลกู แกว้ ไปไกลเนตร พระนางจงึ่ ตรสั วา่ พระพทุ ธเจา้ ข้าอันสองกุมารนี้ เกล้ากระหม่อมฉานได้อุตสาหะถนอมย่อมพยาบาลบารุงมา ขออนุโมทนาด้วย ปิยบุตรทานบารมี ขอให้น้าพระหฤทัยพระองค์จงผ่องแผ้วอย่ามีมัจฉริยธรรมอกุศล อย่ามาปะปน ในน้าพระทัยของพระองค์เลย ท้าวเธอจ่ึงตรัสว่าพระน้องเอ่ย ถ้าพี่มิได้ให้ด้วยเล่ือมใสศรัทธา แท้แล้ว ท่ีไหนเลยแผ่นดินดานจะกัมปนาทหวาดหวั่นไหวจลาจล ท้าวเธอเล่านุสนธิ์มหัศจรรย์ อันมีอยู่ในกัณฑ์กุมารบรรพ กลับมาเล่าให้พระมัทรีฟังแต่ในกาลหนหลังน้ีแล้วแล
สา มทฺที ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทรบวรราชธิดามหาสมมุติวงศ์วิสุทธิสืบสันดานมา วราโรหา ทรงพระพักตร์ผิวผ่องดุจเน้ือทองไม่เทียมสี ยสสฺสินี มีพระเกียรติยศอันโอฬารล้าเลิศ วิไลลักษณ์ยอดกษัตริย์ อันทรงพระศรัทธาโสมนัสนบน้ิวประนมน้อมพระเศียรเคารพทาน


ท้าวเธอก็ชื่นบานบริสุทธ์ิด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ ฝ่ายฝูงอมรเทเวศทุกวิมานมาศ มนเทียรทุกหมู่ไม้ก็ย้ิมแย้มพระโอษฐ์ตบพระหัตถ์อยู่ฉาดฉาน ร้องสาธุการสรรเสริญเจริญ ทานบารมี ทั้งสมเด็จอมรินทร์เจ้าฟ้าสุราลัย อันเป็นใหญ่ในดาวดึงส์สวรรค์ก็มาโปรยปรายทิพย บุปผากรอง ทั้งพวงแก้วและพวงทองก็โรยร่วงจากกลีบเมฆกระทาสักการบูชาแก่สมเด็จนาง พระยามัทรี ท้าวเธอทรงกระทาอนุโมทนาทาน เวสฺสนฺตรสฺส แห่งพระเวสสันดรราชฤๅษีผู้เป็น พระภัสดา อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการดังนี้แล้วแล
มทฺทิปพฺพํ นิฏฺิตํ
ประดับด้วยพระคาถา ๙๐ พระคาถา
สรรพส์ าระ
ชําดกมี ๒ ประเภท คือ
๑. นิบําตชําดก เป็นชําดกที่มําจํากพุทธวจนะ มีปรํากฏในพระไตรปิฎก ๕๔๗ เรื่อง คนทั่วไปนิยม เรียกว่ํา พระเจ้ํา ๕๐๐ ชําติ พระพุทธเจ้ําจะทรงเล่ํา นิบําตชําดกก็ต่อเมื่อมีผู้อํารําธนํา คือ มีผู้มําขอร้องให้ ทรงเล่ําน่ันเอง
ทศชําติหรือสิบพระชําติของพระโพธิสัตว์ กอ่ นจะประสตู เิ ปน็ พระพทุ ธเจํา้ ซงึ่ รวมถงึ มหําเวสสนั ดร ชําดกทน่ี บั เปน็ นบิ ําตชําดกดว้ ย เพรําะพระสําวกทงั้ หลําย เปน็ ผอู้ ํารําธนําใหพ้ ระพทุ ธเจํา้ ทรงเลํา่ ในเหตกุ ํารณเ์ มอื่ ครงั้ ฝนโบกขรพรรษตกดว้ ยพทุ ธบํารมที วี่ ดั นโิ ครธํารําม
ประเภทของชาดก
30
๒.ปัญญําสชําดก เป็นชําดกที่ไม่ได้ปรํากฏในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ชําดกที่มําจํากพุทธวจนะ แต่เป็นชําดกท่ีแต่งขึ้นโดยภิกษุชําวเชียงใหม่ ซึ่งนําเรื่องมําจํากนิทํานสุภําษิตหรือนิทํานอิงธรรมะที่เล่ํา ต่อกันมํา รวบรวมแต่งไว้เพ่ือเป็นข้อคิดสอนใจผู้คน
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เรื่องมโหสถชาดก ซึ่งเป็นนิบาตชาดกเร่ืองหน่ึง


๖. คําศัพท์ คา ศพั ท์
ความหมาย
กฤดาภินิหาร อภินิหาร บุญอันยิ่งที่ทาไว้
กเลวระ (กเฬวระ) ซากศพ
กัมปนาท เสียงบันลือ เสียงสนั่นหวั่นไหว
คนธรรพ์ ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชานาญในวิชาขับร้อง ดนตรี
ชาติอาชาไนย ม้าตระกูลที่ดี กาเนิดดี ผู้มีความรู้รวดเร็ว
ดรุณเรศ หญิงสาวรุ่น
ดาวดึงส์สวรรค์ สวรรค์ชั้นที่ ๒ ซึ่งมีพระอินทร์เป็นใหญ่
ไตรภพ ภพทั้งสาม ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ
ทานพาหิรกะ ทานที่เป็นสิ่งนอกกาย ได้แก่ เงินทอง สิ่งของเครื่องใช้
ทิพากร ดวงอาทิตย์
บรรณศาลา สานักของฤๅษีหรือผู้บาเพ็ญพรต โรงที่มุงด้วยใบไม้
เบญจางคจริต ลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ผมงาม ผิวงาม เน้ืองาม ฟันงาม และวัยงาม
ปรมัตถ ความจริงอันเป็นที่สุด ประโยชน์อย่างยิ่ง ชื่อพระอภิธรรมปิฎก
ปัจฉิม ภายหลัง ที่หลัง ชื่อทิศ (ตะวันตก)
ปาริชาต (ปาริชาตก์) ต้นไม้ในสวนของพระอินทร์ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พรหมเมศร์ พระพรหมผู้เป็นใหญ่
พาฬมฤคา สัตว์ร้าย สัตว์ที่กินสัตว์อ่ืนเป็นอาหาร
พิลาป ร้องไห้ คร่าครวญ บ่นเพ้อ ร่าไร ราพัน
31


คา ศพั ท์
ความหมาย
พูนเทวษ ความเศร้าโศกที่มากมาย
โพธิสมภาร บุญบารมีของพระมหากษัตริย์
มหาบุรุษ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึง พระพุทธเจ้า
มัจฉริยะ ความตระหนี่
ลาวัณย์ ความงาม ความน่ารัก
วายนม หย่านม อดนม หยุดกินนมแม่ (ใช้กับเด็ก)
วิทยาธร ผู้มีวิชากายสิทธิ์ เทพบุตรพวกหนึ่งมีหน้าที่บรรเลงดนตรี
วิสัญญีภาพ สลบ หมดความรู้สึก สิ้นสติ อาการที่ไม่รู้สึกตัว
สมปฤๅดี (สม-ปะ-รือ-ดี) ความรู้สึกตัว
สุราลัย ที่อยู่ของเทวดา สวรรค์
เสาวนีย์ คาสั่งของพระราชินี ในท่ีนี้หมายถึง คาพูดของพระนางมัทรี
โสมนัส ความเบิกบาน ความสุขใจ ความปลาบปลื้ม
อัชฌัติกทาน ทานที่เป็นสิ่งภายในตัว ได้แก่ เลือดเนื้อ อวัยวะ
อัสนี สายฟ้า หมายถึง ฟ้าผ่า
อาวาส วัด ผู้ครอบครอง
อินทรีย์ ร่างกายและจิตใจ
อุฏฐาการ ลุกขึ้น
32


๗. บทวิเคระห์
๗.๑ คุณค่าด้านเน้ือหา
๑) รูปแบบ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แต่งด้วยคาประพันธ์ประเภทร่ายยาว นาด้วยคาถาบาลีท่อนหน่ึง แล้วแต่งเป็นร่ายยาวมีคาบาลีแทรก เป็นการใช้รูปแบบคาประพันธ์ได้ เหมาะสมกับเน้ือหาสาระสาคัญของเร่ืองท่ีจะช่วยให้นักเรียนมีความซาบซึ้งในความรักของผู้เป็น แม่ได้อย่างดีย่ิง
๒) องค์ประกอบของเร่ือง
๒.๑) สาระ เป็นการกล่าวถึงความรักของแม่ท่ีมีต่อลูกว่า เป็นความรักท่ีย่ิงใหญ่ การพลัดพรากจากลูกย่อมนาความทุกข์โศกมาสู่แม่อย่างยากจะหาส่ิงใดเปรียบได้
๒.๒) โครงเร่ือง มีการวางโครงเร่ืองได้ดี โดยการผูกเรื่องให้เทพบุตร ๓ องค์ นริ มติ กายเปน็ สตั วร์ า้ ยมาขวางทางพระนางมทั รมี ใิ หเ้ สดจ็ กลบั อาศรมไดท้ นั เวลาทพี่ ระเวสสนั ดรจะทรง บา เพญ็ บตุ รทานบารมแี กพ่ ราหมณช์ ชู ก เมอื่ พระนางเสดจ็ กลบั มาแลว้ ไมพ่ บสองกมุ ารกท็ รงเศรา้ โศก เสียพระทัยจนสลบไป ต่อมาภายหลังได้ทรงทราบว่าพระเวสสันดรได้ประทานสองกุมารให้แก่ พราหมณช์ ชู ก พระนางมทั รกี ท็ รงคลายความเศรา้ โศกและเตม็ พระทยั อนโุ มทนาในบตุ รทานบารมที ี่ พระเวสสันดรทรงบาเพ็ญ
๒.๓) ตัวละคร มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีตัวละครที่สาคัญ ดังนี้ พระเวสสันดร
(๑) มคี ณุ ธรรมสงู เหนอื มนษุ ย ์ ยากทมี่ นษุ ยท์ วั่ ไปจะทา ได้ ไดแ้ ก่ การบรจิ าค บุตรของตน คือ พระชาลีและพระกัณหา ซ่ึงเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ให้เป็นทาน แก่ชูชก นับเป็นการบาเพ็ญทานอันย่ิงใหญ่ประการหน่ึง ดังบทประพันธ์
...ท้าวเธอจึ่งตรัสประภาษว่าดูกรเจ้ามัทรี อันสองกุมารนี้พี่ให้เป็นทานแก่พราหมณ์ แต่วันวานน้ีแล้ว พระน้องแก้วเจ้าอย่าโศกศัลย์ จงตั้งจิตของเจ้าน้ันให้โสมนัสศรัทธาในทาง อันก่อกฤดาภินิหารทานบารมี ลจฺฉาม ปุตฺเต ชีวนฺตา ถ้าเราท้ังสองนี้ยังมีชีวิตสืบไป อัน สองกุมารนี้ไซร้ก็คงจะได้พบกันเป็นม่ันแม่น ถึงแสนสัตพิธรัตน์เคร่ืองอลงการซึ่งพระราชทาน ไปน้ันเราก็จะได้ด้วยพระทัยหวัง ทชฺชา สปฺปุริโส ทานํ มัทรีเอ่ย อันอริยสัตบุรุษเห็นปานดั่ง ตัวพี่ฉะนี้ ถึงจะมีข้าวของสักเท่าใดๆ ทิสฺวา ยาจกมาคเต ถ้าเห็นยาจกเข้ามาใกล้ ไหว้วอน ขอไม่ย่อท้อในทางทาน จนแต่ชั้นลูกรักยอดสงสารพี่ยังยกให้เป็นทานได้...
33


(๒) มีความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การทาให้พระนางมัทรี ทรงเจ็บพระทัย เพื่อจะได้คลายความโศกเศร้าที่พระกุมารทั้งสองหายไป เป็นการใช้จิตวิทยา เพอื่ ใหพ้ ระนางมทั รบี รรเทาความเศรา้ ลง มเิ ชน่ นนั้ พระนางมทั รจี ะทรงโศกเศรา้ จนอาจเปน็ อนั ตราย ต่อพระวรกายได้ ดังบทประพันธ์
...ส่วนสมเด็จพระยอดมิ่งเยาวมาลย์มัทรี เมื่อได้สดับคาพระราชสามีบริภาษณานาง ที่ความโศกก็เสื่อมสร่างสงบจิตเพราะเจ็บใจ...
พระนางมัทรี
(๑) มีความจงรักภักดีต่อพระสวามี ดังบทประพันธ์
...ว่ามัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อนมาด่ังเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน นอกกว่านั้นที่ แน่นอนคือนางไหนอันสนิทชิดใช้แต่ก่อนกาล ยังจะติดตามพระราชสมภารมาบ้างละหรือ ได้แต่มัทรีท่ีแสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปล้ินปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี มัทรีสัตยาสวามิภักด์ิ รักผัวเพียงบิดาก็ว่าได้ ถึงจะยากเย็นเข็ญใจก็ตามกรรม...
ดังบทประพันธ์
(๒) เปน็ ยอดกลุ สตรี ทรงปฏบิ ตั หิ นา้ ทภ่ี รรยาและมารดาไดส้ มบรู ณค์ รบถว้ น
...โอพระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ร้ินก็ มิได้ไต่ไรก็มิได้ตอม เจ้าเคยฟังแต่เสียงพี่เล้ียงเขาขับกล่อมบาเรอด้วยดุริยางค์ ยามบรรทม ธลุ ีลมก็มไิ ดพ้ ัดมาแผว้ พาน แมส่ พู้ ยาบาลบารงุ เจ้าแตเ่ ยาวม์ า เจ้ามไิ ด้หา่ งพระมารดาสกั หายใจ โอความเข็ญใจในครั้งนี้นี่เหลือขนาด สิ้นสมบัติพลัดญาติยังแต่ตัวต้องไปหามาเลี้ยงลูกและ เลี้ยงผัวทุกเวลา...
(๓) มีความอดทน ทรงไม่ย่อท้อต่อความยากลาบาก ดังบทประพันธ์
...อุตสาหะตระตรากตระตราเตร็ดเตร่หาผลาผลไม้ ถึงท่ีไหนจะรกเร้ียวก็ซอกซอน อุตส่าห์เที่ยวไม่ถอยหลังจนเน้ือหนังข่วนขาดเป็นริ้วรอย โลหิตไหลย้อยทุกหย่อมหนาม อารามจะใคร่ได้ผลาผลไม้มาปฏิบัติลูกบารุงผัว ถึงกระไรจะคุ้มตัวก็ทั้งยากน่าหลากใจ...
34


(๔) มีจิตกุศล เช่นเดียวกับพระเวสสันดร จึงทรงอนุโมทนากับการบาเพ็ญ บุตรทานของพระเวสสันดร ดังบทประพันธ์
...ส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทรบวรราชธิดามหาสมมุติวงศ์วิสุทธิสืบสันดานมา วราโรหา ทรงพระพักตร์ผิวผ่องดุจเนื้อทองไม่เทียมสี ยสสฺสินี มีพระเกียรติยศอันโอฬาร ล้าเลิศวิไลลักษณ์ยอดกษัตริย์ อันทรงพระศรัทธาโสมนัสนบนิ้วประนมน้อมพระเศียร เคารพทาน ท้าวเธอก็ช่ืนบานบริสุทธิ์ด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ...
๒.๔)ฉากและบรรยากาศ ฉากเป็นป่าบริเวณที่ตั้งอาศรมของพระเวสสันดร โดยผู้แต่งบรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ดังบทประพันธ์
...กระจ่างแจ้งด้วยแสงพระจันทร์ส่องสว่างพื้นอัมพรประเทศวิถี นางเสด็จจรลีไป หยุดยืนในภาคพื้นปริมณฑลใต้ต้นหว้า จึ่งตรัสว่า อิเม เต ชมฺพุกา รุกฺขา ควรจะสงสาร เอ่ยด้วยต้นหว้าใหญ่ใกล้อาราม งามด้วยกิ่งก้านประกวดกัน ใบชอุ่มประชุมช่อเป็นฉัตรช้ันด่ัง ฉัตรทอง แสงพระจันทร์ดั้นส่องต้องน้าค้างท่ีขังให้ไหลลงหยดย้อย เหมือนหน่ึงน้าพลอย พร้อยๆ อยู่พรายๆ ต้องกับแสงกรวดทรายที่ใต้ต้นอร่ามวามวาวดูเป็นวนวงแวว ดั่งบุคคลเอา แก้วมาระแนงแกล้งมาโปรยโรยรอบปริมณฑลก็เหมือนกัน งามด่ังไม้ปาริชาตในเมืองสวรรค์ มาปลูกไว้...
๒.๕) กลวธิ กี ารแตง่ มหาเวสสนั ดรชาดก กณั ฑม์ ทั รี แตง่ ดว้ ยคา ประพนั ธป์ ระเภท ร่ายยาวท่ีมีคาถาบาลีนา เป็นตอนท่ีว่าด้วยพระนางมัทรีเสด็จเข้าป่าหาผลไม้ เมื่อเสด็จกลับมา ไมพ่ บพระกมุ ารจงึ ออกตาม ซง่ึ ในกณั ฑม์ ทั รนี ี้ ผแู้ ตง่ เนน้ ใหผ้ อู้ า่ นเกดิ ความซาบซง้ึ ในการพรรณนา ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ลีลาของคาประพันธ์ท่ีเด่นชัดท่ีสุด คือ สัลลาปังคพิสัย รองลงมา คือ พิโรธวาทัง ซ่ึงปรากฏในตอนที่พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางมัทรีทรงเศร้าโศกเสียพระทัยมาก จึงทรงคิดหาวิธีตัดความเศร้าโศก ด้วยการตรัสบริภาษพระนางมัทรีว่า คิดนอกใจไปคบกับชายอ่ืน ทา ใหพ้ ระนางมทั รที รงเจบ็ พระทยั และตดั พอ้ ตอ่ วา่ พระเวสสนั ดรกอ่ นทพี่ ระนางจะเสดจ็ ออกตามหา พระโอรส พระธิดาด้วยพระวรกายท่ีอิดโรยจนสลบไป ตอนน้ีเป็นช่วงท่ีสะเทือนอารมณ์และ บบี คน้ั จติ ใจมาก สง่ ผลใหผ้ อู้ า่ นเกดิ ความรสู้ กึ สงสารและเหน็ ใจพระนางมทั รที ตี่ อ้ งสญู เสยี พระโอรส พระธิดาไป แต่เมื่อทรงทราบความจริง พระนางก็ทรงเข้าใจ คลายเศร้า และอนุโมทนาทานบารมี กบั พระเวสสนั ดรดว้ ย นบั วา่ ผแู้ ตง่ ใชก้ ลวธิ ใี นการนา เสนอไดน้ า่ สนใจและสรา้ งอารมณส์ ะเทอื นใจไดด้ ี
35


๗.๒ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑) การสรรคา ในบทประพันธ์น้ี ผู้แต่งได้เลือกใช้ถ้อยคาที่ส่ือความคิดได้ ดังน้ี ๑.๑) การใช้ถ้อยคาให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ การใช้ถ้อยคาให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีน้ัน ผู้แต่งเลือกใช้ถ้อยคาได้เหมาะสมกับอารมณ์ที่
ต้องการจะถ่ายทอด ดังตัวอย่างต่อไปน้ี
(๑) การใช้ถ้อยคาราพึงราพัน เป็นการราพัน บรรยายผ่านตัวละครที่ให้
อารมณ์ ความสะเทือนใจและตรงใจผู้เป็นแม่ในชีวิตจริงในทุกยุคทุกสมัย เป็นการเพิ่มความรัก ความผูกพันให้ผู้อ่านและผู้ฟังที่เป็นแม่และลูกได้อย่างดียิ่ง ดังบทประพันธ์
...เมื่อเช้าแม่จะเข้าไปสู่ป่า พ่อชาลีแม่กัณหายังทูลสั่ง แม่ยังกลับหลังมาโลมลูบจูบ กระหม่อมจอมเกล้าทั้งสองรา กลิ่นยังจับนาสาอยู่รวยรื่น...ใครจะกอดพระศอเสวยนมผทม ด้วยแม่เล่า ยามเม่ือแม่จะเข้าท่ีบรรจถรณ์ เจ้าเคยเคียงเรียงหมอนนอนแนบข้างทุกราตรี แต่น้ี แม่จะกล่อมใครให้นิทรา...
(๒) การใช้ถ้อยคาสานวนเชิงตัดพ้อ ทาให้เกิดอารมณ์สงสาร เวทนา และ บีบคั้นจิตใจผู้อ่าน ผู้ฟังอย่างยิ่ง ดังบทประพันธ์
...อกของใครจะอาภัพยับพิกลเหมือนอกของมัทรีไม่มีเนตร น่าที่จะสงสารสังเวช โปรดปรานีว่ามัทรีนี้เป็นเพื่อนยากอยู่จริงๆ ช่างค่อนติงปริภาษณาได้ลงคอไม่คิดเลย พระคุณ เอ่ยถึงพระองค์จะสงสัย ก็น้าใจของมัทรีนี้กตเวทีเป็นไม้เท้าก้าวเข้าสู่ที่ทางทดแทน ราม สีตาวนุพฺพตา อุปมาแม้นเหมือนสีดาอันภักดีต่อสามีรามบัณฑิต ปานประหนึ่งว่าศิษย์กับ อ า จ า ร ย ์ พ ร ะ ค ณุ เ อ ย่ เ ก ล า้ ก ร ะ ห ม อ่ ม ฉ า น ท า ผ ดิ แ ต เ่ พ ยี ง น เี ้ พ ร า ะ ว า่ ล ว่ ง ร า ต ร จี งึ ่ ม โี ท ษ ข อ พ ร ะ อ ง ค ์ จงทรงพระกรุณาโปรดซ่ึงโทษานุโทษกระหม่อมฉันมัทรีแต่คร้ังเดียวนี้เถิด
(๓) การใช้ถ้อยคาแสดงอารมณ์หึงหวงให้เจ็บแค้นเพื่อดับความโศกเศร้า
ด้วยสานวนกระทบกระแทกอารมณ์ให้ปวดร้าวใจ ดังบทประพันธ์
...จาจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า นนุ มทฺทิ ดูกรนางนาฏพระน้องรัก ภทฺเท เจ้าผู้มีพักตร์อันผุดผ่องเสมือนหนึ่งเอาน้าทอง เข้ามาทาบทับประเทืองผิว ราวกะว่าจะลอยลิ่วเลื่อนลงจากฟ้า ใครได้เห็นเป็นขวัญตา เต็มหลงละลายทุกข์ปลุกเปลื้องอารมณ์ชายให้เชยชื่น จะนั่งนอนเดินยืนก็ต้องอย่าง
36


วราโรหา พร้อมด้วยเบญจางคจริตรูปจําเริญโฉมประโลมโลกล่อแหลมวิไลลักษณ์ ราชปุตฺตี ประกอบไปดว้ ยเชอ้ื ศกั ดสิ์ มมตุ วิ งศพ์ งศก์ ษตั รา เออกเ็ มอ่ื เชา้ เจา้ จะเขา้ ปา่ นา่ สงสารปานประหนงึ่ ว่าจะไปมิได้ ทาร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว ครั้นคลาดแคล้วเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ดง ปานประหนึ่งว่า จะหลงลืมลูกสละผัวต่อมืดมัวจ่ึงกลับมา ทาเป็นบีบน้าตาตีอกว่าลูกหาย ใครจะไม่รู้แยบคาย ความคิดหญิง ถ้าแม้นเจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริงๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้ามาแต่ว่ีวันไม่ ทันรอน เออน่ีเจ้าเท่ียวพเนจรนอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันที่จะมี ทั้งฤ ๅษี สิทธ์วิทยาธรคนธรรพ์เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้...
(๔) การใช้คาซ้าและกลุ่มคาท่ีมีพื้นเสียงเดียวกัน ดังบทประพันธ์
...อกแม่น้ีให้อ่อนหิวสุดละห้อย ทั้งดาวเดือนก็เคลื่อนคล้อยลงลับไม้ สุดที่แม่จะ ติดตามเจ้าไปในยามนี้ ฝูงลิงค่างบ่างชะนีท่ีนอนหลับ ก็กล้ิงกลับเกลือกตัวอยู่ย้ัวเยี้ย ท้ังนก หกก็งัวเงียเหงาเงียบทุกรวงรัง แต่แม่เท่ียวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศทั่วประเทศ ทุกราวป่า สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสาเนียง สุด สรุ เสยี งทแ่ี มจ่ ะรา่ํ เรยี กพไิ รรอ้ ง สดุ ฝเี ทา้ ทแ่ี มจ่ ะเยอื้ งยอ่ งยกยา่ งลงเหยยี บดนิ กส็ ดุ สน้ิ สดุ ปญั ญา สุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด จะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย...
๒) การใชโ้ วหาร ในบทประพนั ธก์ วไี ดเ้ ลอื กใชส้ า นวนภาษากอ่ ใหเ้ กดิ จนิ ตภาพ ดงั นี้ ๒.๑) การใช้อุปมาโวหารท่ีแสดงความเศร้าโศกของพระนางมัทรีจนสลบไป เปน็ จดุ เดน่ ของกณั ฑม์ ทั รที ท่ี า ใหผ้ อู้ า่ นเกดิ อารมณส์ ะเทอื นใจดว้ ยความสงสาร การใชถ้ อ้ ยคา แสดง
ความสามารถของกวีในด้านการประพันธ์ได้อย่างเด่นชัด ดังบทประพันธ์
...ควรจะสงสารเอ่ยด้วยนางแก้วกัลยาณี น้อมพระเกศีลงทูลถามหวังจะติดตาม พระลูกท้ังสองรา กราบถวายบังคมลาลุกเลื่อนเขยื้อนยกพระบาทเยื้องย่าง พระกายนางให้ เสียวส่ันหวั่นไหวไปทั้งองค์ ดุจชายธงอันต้องกําลังลมอยู่ลิ่วๆ ส้ินพระแรงโรยเธอโหยหิว ระหวยทรวง พระศอเธอหงุบง่วงดวงพระพักตร์เธอผิดเผือดให้แปรผัน จะทูลส่ังก็ยังมิทันที่ ว่าจะทูลเลย แต่พอตรัสว่าพระคุณเจ้าเอ๋ยคาเดียวเท่านั้น ก็หายเสียงเอียงพระกายบ่าย ศิโรเพฐน์ พระเนตรหลับหับพระโอษฐ์ลงทันที วิสฺญี หุตฺวา นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรง หน้าฉาน ปานประหน่ึงว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาดขาดระเนนเอนแล้วก็ล้มลง ตรงหน้าพระที่นั่งเจ้านั้นแล
37


๒.๒) การใชค้ า องิ สา นวนสภุ าษติ เปน็ การทา ใหเ้ กดิ คตหิ รอื แงค่ ดิ กบั ผอู้ า่ นไดเ้ ปน็ อย่างดี ดังบทประพันธ์
...โอพระจอมขวัญของแม่เอ่ย เจ้ามิเคยได้ความยากย่างเท้าลงเหยียบดิน ริ้นก็มิได้ไต่ ไรก็มิได้ตอม...
...อกเอ่ยจะอยู่ไปไยให้ทนเวทนา อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ ย่อมจะอาสัญลง เพราะลูกเป็นแท้เที่ยง...
...อุปมาเสมือนหน่ึงภุมรินบินวะว่อนเที่ยวซับซาบเอาเกสรสุคนธมาเลศ พบดอกไม้ อันวิเศษต้องประสงค์หลงเคล้าคลึงรสจนลืมรัง เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้าได้หน้าแล้วลืมหลัง ไม่แลเหลียว...
๗.๓ คุณค่าด้านสังคม
๑) สะทอ้ นคา่ นยิ มเกยี่ วกบั สงั คมไทย ในสมยั โบราณถอื วา่ ภรรยาเปน็ ทรพั ยส์ มบตั ิ ของสามี สามีมีสิทธิเหนือภรรยาทุกประการ ถ้าสามีเป็นกษัตริย์ อานาจน้ันก็จะมากย่ิงขึ้น ดังคาท่ี พระเวสสันดรทรงตรัสแก่พระนางมัทรีว่า
...เจา้ เปน็ แตเ่ พยี งเมยี ควรหรอื มาหมนิ่ ได้ ถา้ แมน้ พอี่ ยใู่ นกรงุ ไกรเหมอื นแตก่ อ่ นเกา่ หากวา่ เจ้าทาเช่นน้ี กายของมัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของอาตมาน้ีแล้วแล
นอกจากนี้ ผู้หญิงจะต้องดูแลปรนนิบัติสามี ซ่ือสัตย์ต่อสามี ส่วนลูกน้ันถือเป็น สมบัติของพ่อแม่ ต้องเคารพเช่ือฟัง และพ่อแม่สามารถยกลูกของตนให้ผู้อ่ืนได้ ดังเช่นท่ี พระเวสสันดรยกพระกัณหา พระชาลี ให้แก่ชูชก
๒) สะทอ้ นใหเ้ หน็ ธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ ความรกั นา มาซงึ่ ความทกุ ข์ ความโศกเศรา้ เสียใจ เช่น เมื่อลูกพลัดพรากจากไปพ่อแม่ย่อมเกิดความทุกข์เพราะความรัก ความเป็นห่วง กังวล โศกเศร้า เมื่อคิดว่าลูกของตนล้มหายตายจากไป แต่ความโศกเศร้าเสียใจจะบรรเทาลง ได้เม่ือโกรธ เจ็บใจ หรือเม่ือเกิดความเข้าใจในส่ิงที่ผู้อ่ืนทา ตัวอย่างเช่น ตอนท่ีพระเวสสันดร ตรัสบริภาษพระนางมัทรี เพื่อให้พระนางมัทรีโกรธจนลืมความโศกเศร้า ดังบทประพันธ์
...สมเด็จพระราชสมภารเมื่อได้สดับสารพระมัทรีเธอแสนวิโยคโศกศัลย์สุดกาลัง ถึงแม้นจะมิตรัสแก่นางม่ังจะมิเป็นการ จาจะเอาโวหารการหึงเข้ามาหักโศกให้เสื่อมลง จึ่งเอื้อนโองการตรัสประภาษว่า...
38


๓) สะท้อนความเชื่อของสังคมไทย จากบทประพันธ์ตอนที่พระนางมัทรีเสด็จ ออกสปู่ า่ เพอื่ เกบ็ ผลไมใ้ หพ้ ระกณั หา พระชาลี และพระเวสสนั ดรเสวยเปน็ ประจา ผลไมต้ า่ งๆ กเ็ พยี้ น ผิดปกติซึ่งถือเป็นลางร้าย ดังบทประพันธ์
...เหตุไฉนไม้ท่ีมีผลเป็นพุ่มพวงก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร แถวโน้น ก็แก้วเกดพิกุลแกมกับกาหลง ถัดนั่นก็สายหยุดประยงค์และยมโดย พระพายพัดก็ร่วงโรย รายดอกลงมูนมอง แม่ยังได้เก็บเอาดอกมาร้อยกรองไปฝากลูกเม่ือวันวาน ก็เพี้ยนผิดพิสดาร เป็นพวงผล ผิดวิกลแต่ก่อนมา สพฺพา มุยฺหนฺติ เม ทิสา ทั้งแปดทิศก็มืดมิดมัวมนทุกหนแห่ง ท้ังขอบฟ้าก็ดาดแดงเป็นสายเลือดไม่เว้นวายหายเหือดเป็นลางร้ายไปรอบข้าง ทกฺขิณกุขิ พระนัยนเนตรก็พร่างๆ อยู่พรายพร้อย ในจิตใจของแม่ยังน้อยอยู่นิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียวๆ สั่นระรัวริก แสรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสา ท้ังขอน้อยในหัตถาที่เคยถือก็เลื่อน หลุดลงจากมือไม่เคยเป็นเห็นอนาถ...
แปลความ เป็นลางร้าย ๙ ประการ ได้แก่
๑. ไม้ผลกลับกลายเป็นไม้ดอก ๒. ไม้ดอกกลับกลายเป็นไม้ผล ๓. มืดมัวไปทั้ง ๘ ทิศ
๔. ขอบฟ้าแดงเป็นสายเลือด ๕. ตาพร่า
๖. ใจเหมือนจะขาด
๗. กายรู้สึกเสียวๆ สั่นๆ
๘. ไม้คานที่หาบสาแหรกพลัดตกจากบ่า ๙. ขอที่ใช้สอยผลไม้หลุดมือ
๔) สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นประเพณีท่ีเก่ียวเนื่องกับ พระพทุ ธศาสนา โดยเรอ่ื ง “มหาเวสสนั ดรชาดก” เปน็ ชาดกทพ่ี ทุ ธศาสนกิ ชนนยิ มนา มาเลา่ ขานจดั เปน็ เทศน์มหาชาติประจาทุกปีมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยจะจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับเร่ืองราว ให้เป็นป่า ทอี่ ดุ มไปดว้ ยไมผ้ ล มกี ารบรรเลงดนตรไี ทยประกอบกณั ฑเ์ พอื่ ชว่ ยสรา้ งอารมณร์ ว่ มใหก้ บั ผฟู้ งั เทศน์ ท้ังนี้พระสงฆ์ที่มาเป็นผู้เทศน์ จะเป็นพระสงฆ์ท่ีเทศน์ได้อย่างไพเราะ ใช้ภาษาง่ายๆ เพ่ือให้เข้าถึง ผู้ฟังทุกเพศ ทุกวัย ปัจจุบันเทศน์มหาชาติจัดเป็นงานประจาปีของทุกท้องถ่ินท่ัวทุกภาค
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการยกย่องว่า เป็นเลิศในเชิงพรรณนาโวหาร ลีลาการใช้ถ้อยคาของร่ายยาวทุกตอนแพรวพราวด้วยการเล่น คาสัมผัส เล่นเสียง และสานวนโวหารเปรียบเทียบ นอกจากจะมีความงดงามด้านวรรณศิลป์แล้ว เนอื้ หากณั ฑม์ ทั รยี งั กลา่ วถงึ ความรกั ความหว่ งใยของมารดาทมี่ ตี อ่ บตุ ร และเหน็ ถงึ การบรจิ าคทาน อันย่ิงใหญ่ของพระเวสสันดร ซึ่งนอกจากจะให้สาระความรู้แล้ว ยังให้คติสอนใจและแง่คิดแก่ ผู้ฟังและผู้อ่านอีกด้วย
39


ป ก ณิ ก ะ ¡ÒÃà·È1ÁËÒaÒμÔ
จํากพระนิพนธ์เรื่องพระมําลัยคําหลวง ของเจ้ําฟําธรรมธิเบศร พระศรีอําริยเมตไตรยได้ให้ พระมําลัยมําบอกแก่ชําวโลกว่ํา
“ให้ทํามหําชําติเนืองนันต์ เครื่องส่ิงละพัน จงบูชําให้จบทิวํานั้น ตั้งประทีปพันบูชําดอกปทุม ถ้วนพัน...”
ทําให้เกิดควํามเช่ือว่ํา กํารฟังเทศน์มหําชําติให้จบในวันเดียวจะได้บุญมําก และจะได้ไปเกิด ในยุคของพระศรีอําริยเมตไตรย
กํารเทศน์มหําชําตินิยมทํากันหลังออกพรรษํา เลยหน้ํากฐินไปแล้ว ระหว่ํางเดือน ๑๒ ถึง เดือนอ้ําย
กํารเทศน์มหําชําติมีอยู่ทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องรําวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็น พระชําติสุดท้ํายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมําประสูติเป็นเจ้ําชํายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ํา ในกํารเทศน์มหําชําติจึงนิยมจัดตกแต่งสถํานที่บริเวณพิธีให้มีบรรยํากําศคล้ํายอยู่ในปําตํามท้องเรื่อง มหําเวสสนั ดรชําดก อบุ ําสกอบุ ําสกิ ํามกั จะรบั เปน็ เจํา้ ของกณั ฑเ์ ทศนค์ นละ ๑ กณั ฑ์ และจดั ชดุ เครอื่ งบชู ํา ตํามจํานวนพระคําถําในกัณฑ์นั้นๆ ดังนี้
๑. กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคําถํา
๒. กัณฑ์หิมพํานต์ ๑๓๔ พระคําถํา ๓. ทํานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคําถํา
๔. กัณฑ์วนประเวศ ๕๗ พระคําถํา ๕. กัณฑ์ชูชก ๗๙ พระคําถํา
๖. กัณฑ์จุลพน ๓๕ พระคําถํา
๗. กัณฑ์มหําพน ๘๐ พระคําถํา
๘. กัณฑ์กุมําร ๑๐๑ พระคําถํา
๙. กัณฑ์มัทรี ๙๐ พระคําถํา
๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ พระคําถํา ๑๑. กัณฑ์มหํารําช ๖๙ พระคําถํา
๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ พระคําถํา ๑๓. นครกัณฑ์ ๔๘ พระคําถํา
40
พระสงฆ์รับประเคนจตุปจจัยจากพุทธศาสนิกชน
การจัดบรรยากาศให้เหมือนปาในการเทศน์มหาชาติ


คาถามประจาหน่วยการเรียนรู้
๑. เร่ืองมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แสดงบุคลิกลักษณะของพระนางมัทรีอย่างไร ๒. “แมม่ าสละเจา้ ไวเ้ ปน็ กา พรา้ ทง้ั สององค์ เสมอื นหนง่ึ ลกู หงสเ์ หมราชปกั ษนิ ปราศจาก มุจลินท์ไปตกคลุกในโคลนหนองสิ้นสีทองอันผ่องแผ้ว” บทประพันธ์ข้างต้นมี
ความหมายว่าอย่างไร และผู้พูดกล่าวด้วยอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร
๓. “กณั ฑม์ ทั รเี ปน็ กณั ฑท์ มี่ สี า นวนโวหารรา พนั ที่ไพเราะนา่ ฟงั มาก” นกั เรยี นเหน็ ดว้ ยกบั
คากล่าวนี้หรือไม่ จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง
๔. คุณธรรมที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
โดยยกตัวอย่างประกอบ
๕. นักเรียนคิดว่ามหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ให้แนวคิดด้านใดบ้าง และนักเรียน
สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
กิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้
๑. ให้นักเรียนแต่งบทประพันธ์ประเภทร่ายเพื่อเทิดพระคุณแม่ กาหนดความยาวตาม ความเหมาะสม
๒. ใหน้ กั เรยี นแบง่ กลมุ่ แสดงบทบาทสมมตเิ รอื่ งมหาเวสสนั ดรชาดกตอนท่ีนักเรียนสนใจ แล้วนาเสนอหน้าชั้นเรียน
๓. ให้นักเรียนศึกษาเรื่องมหาเวสสันดรชาดกในกัณฑ์อื่นๆ แล้วอภิปรายหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ
41


Click to View FlipBook Version