ก คำนำ บทนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อประกอบรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 810105 และใช้ประกอบการเรียนรู้และการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู บัณฑิต วิทยาลัย วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษา และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษาเล่มนี้จะก่อประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษาเอกสารฉบับนี้ ผู้จัดทำ กมลมาศ ฝ้ายป่าน
ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนำนวัตกรรมเทคโนโลยี 1 1.1 ความหมายและองค์ประกอบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.1.1 ความหมายของนวัตกรรม 1 1.1.2 ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา 2 1.1.3 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา 3 1.1.4 องค์ประกอบของนวัตกรรม 4 1.1.5 ระบบสารสนเทศ 5 1.1.6 ประเภทของระบบสารสนเทศ 6 1.1.7 ระบบประมวลผลรายการ 6 1.2 ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา 7 1.2.1 ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา 7 1.2.2 บทบาทของเทคโนโลยีต่อการศึกษา 9 1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 10 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1 ความหมายและประโยชน์ของสารสนเทศ 12 2.1.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ 12 2.1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 14 2.1.3 ประเภทของระบบสารสนเทศ 15 2.1.4 ประโยชน์ของสารสนเทศ 17 2.1.5 ระดับของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ 18 2.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 20 2.2.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 21 2.2.2 อินเทอร์เน็ต 23 2.3 ระบบการสืบค้นผ่านเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ 2.3.1 การสืบค้นข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 25 2.3.2 แฟ้มข้อมูล และสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ 27 2.3.3 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล 27 2.4 ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล 31 บทที่ 3 พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา 3.1 ความหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3.1.1 ความหมายของเทคโนโลยี 32 3.1.2 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 34 3.1.3 องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา 35
ค 3.1.4 แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต 36 3.2 พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน 37 3.2.1 การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน 38 3.2.2 ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา 38 3.2.3 การสื่อสารไร้สาย 39 3.3 บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ และยุคดิจิตอล 39 3.3.1 บทบาทของครูใน “ยุคไอที” 39 3.3.2 การเรียนการสอนในยุคดิจิตอล 39 3.3.3 บทบาทของครูในยุคดิจิตอล 42 3.3.4 บทบาทครู ในศตวรรษที่21 44 3.4 การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน 44 3.4.1 ประเภทของโครงงาน 44 3.4.2 ขั้นตอนการทำโครงงาน 45 3.4.3 การประเมินผลโครงงาน 47 บทที่ 4 สื่อการเรียนการสอนและการออกแบบระบบการเรียนการสอน 4.1 ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 48 4.1.1 ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 48 4.1.2 ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 48 4.2 ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน 51 4.2.1 ความสำคัญของของสื่อการเรียนการสอน 51 4.2.2 คุณค่าทางเศรษฐกิจการศึกษา 52 4.2.3 ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน 52 4.2.4 สื่อกับผู้เรียน 52 4.2.5 สื่อกับผู้สอน 53 4.3 การใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน 54 4.3.1 แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของเคมพ์และสเมลเล 55 4.3.2 หลักการเลือกสื่อ 55 4.3.3 หลักการใช้สื่อการสอน 56 4.4 การออกแบบระบบการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน 56 4.5 ปฏิบัติการออกแบบการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน และการสื่อสารการเรียนการสอน 58 4.5.1 ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน 58 4.5.2 ความสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอน 58 4.5.3 แนวทางการออกแบบการเรียนการสอน 58 4.5.4 หลักการออกแบบการเรียนการสอน 60 4.5.5 ประเภทของรูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน
ง บทที่ 5 การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทมัลติมีเดีย 5.1 การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนประเภทมัลติมีเดียสื่อ ประสม (Multimedia) 62 5.2 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 63 5.3 ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา 65 ภาคผนวก 68 แบบฝึกหัดท้ายบท 69 บรรณานุกรม 74
1 บทที่ 1 บทนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 1.1 ความหมายและองค์ประกอบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.1.1 ความหมายของนวัตกรรม “นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้ มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย มีผู้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้หลายท่าน ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546: 565 -566) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้ความหมายและลักษณะของนวัตกรรมว่า นวัตกรรม หมายถึง “ทำใหม่” เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา ถ้าเป็นทางการศึกษาก็เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (2544: 32) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรม ไว้ดังนี้ นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัยชั้นเรียน หมายถึง รูปแบบใหม่ ๆ ของสื่อการเรียนการสอน เทคนิควิธี กิจกรรม หรือสิ่งอื่นใดที่ผู้สอนนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ นวัตกรรมที่นำมาใช้อาจเป็นนวัตกรรมที่ผู้สอนคิดขึ้นใหม่หรืออาจ เป็นสิ่งที่มีผู้อื่นคิดค้นขึ้น หรือมีการใช้ทั่วไปในที่แห่งหนึ่งแล้วหากนำมาปรับปรุงแก้ไข และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในที่อีกแห่งหนึ่งก็ถือว่าเป็นนวัตกรรม ทิศนา แขมมณี (2559: 418) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรม หมายถึง แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและ เทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งได้รับการ คิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางการศึกษา พิสณุ ฟองศรี (2551: 65-71) ได้กล่าวถึงความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมทาง การศึกษาไว้ดังนี้ นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรนวัตกรรมที่ ใช้ในการวิจัยชั้นเรียน หมายถึง รูปแบบใหม่ ๆ ของสื่อการเรียนการสอน เทคนิควิธี กิจกรรม หรือสิ่ง อื่นใดที่ผู้สอนนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนการ สอนมีคุณภาพ นวัตกรรมที่นำมาใช้อาจเป็นนวัตกรรมที่ผู้สอนคิดขึ้นใหม่ หรืออาจเป็นสิ่งที่มีผู้อื่น คิดค้นขึ้น หรือมีการใช้ทั่วไปในที่แห่งหนึ่งแล้วหากนำมาปรับปรุงแก้ไข และสามารถใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในที่อีกแห่งหนึ่งก็ถือว่าเป็นนวัตกรรม พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2559: 81) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้หมายถึง รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการศึกษาและพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้ครูนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยอาจเป็นสิ่งใหม่ ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลายหรือยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นปกติ นวัตกรรม
2 การจัดการเรียนรู้จึงอาจเป็นส่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วนหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการ จัดการเรียนรู้ จากความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง รูปแบบ หรือสื่อการสอน หรือวิธีการ ที่ครูพัฒนาขึ้นจากพื้นฐาน ของนวัตกรรมเดิมที่ยังไม่เคยนำมาใช้พัฒนาผู้เรียนหรืออาจจะสร้างขึ้นมาใหม่ตามแนวคิด ทฤษฎี หรือ หลักวิชาการ เพื่อนำสิ่งที่สร้างขึ้นไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว 1.1.2 ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยี (Technology) ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ วิทยาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ภาษาไทยแปลว่าวิธีการ หรือการสร้าง ส่วนคำว่า Logy มี ความหมายว่าความรู้เกี่ยวกับศาสตร์หรือการศึกษา เกี่ยวกับความเรื่องหรือสิ่งของที่ต้องการศึกษา การกำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การประเมินผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม กับโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน เอ็ดก้า เดล (Edgar Dale, 1969) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็น แผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุผลตามแผนการ เจมส์ ดี ฟินส์ (James D.Finn, 1972) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีมีความหมายลึกซึ้งยิ่ง กว่าการประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไกตต่าง ๆ แต่หมายถึง กระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิดในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากแนวคิดต่าง ๆ อาจนำมาสรุปความหมายของคำว่า “เทคโนโลยี” ได้ว่า การนำ แนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์และ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ พัฒนาในหลายวงการและด้านต่าง ๆ รวมทั้งทางด้านการศึกษา เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านนี้จนถึงขั้นที่ เรียกได้ว่าขาดไม่ได้ในการ นำมาใช้พัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในหลายๆส่วนของการศึกษา ซึ่งการศึกษา เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการให้ความหมายของ เทคโนโลยี การศึกษา (Educational technology) ไว้หลากหลายความหมายดังต่อไปนี้ สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข (2525) ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการศึกษา ไว้ว่า การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันอย่างมี ระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นระบบการประยุกต์การ ผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับการศึกษา ในการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพในการศึกษา ครอบคลุม 3 ด้านคือ 1. วัสดุ (Materials หรือ Software) เป็นการนำอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เช่น สิ่งที่มีการผุพังสิ้นเปลืองต่าง ๆ อาทิ ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม เป็นต้น 2. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ (Devices หรือ Hardware) เป็นการผลิตวัสดุ การนำเอา วัสดุมาใช้ในการสอน คิดการสอนแบบใหม่ๆ เช่น สิ่งที่มีความคงทนถาวร อาทิกระดานดำ เครื่องฉาย ภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องบันทึกภาพ ฯลฯ เป็นต้น
3 3. วิธีการ (Method and Techniques) เป็นการกระทำต่าง ๆ ที่ให้ให้เกิดรูปแบบ ของการศึกษา เช่น กิจกรรม การสาธิต ทดลองต่าง ๆ เป็นต้น คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือการนำ หลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน มี วัตถุประสงค์ทางการศึกษาคือสามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการ เรียนมากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือ โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่าง ๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง กิดานันท์ มะลิทอง (2543) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า คือการ ประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุอุปกรณ์และสิ่งต่าง ๆที่เป็นเทคโนโลยีมารวมกัน มาใช้ ในวงการศึกษา จากแนวคิดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีการศึกษา อาจสรุปได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็น สาขาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ อุปกรณ์ และองค์กรอย่างซับซ้อนโดยการวิเคราะห์ปัญหา การผลิต การนำไปใช้และประเมินผลเพื่อแก้ปัญหา ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ 1.1.3 แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทาง การศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทาให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ 1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความ สนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียน โดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตาม ธรรมชาติแต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่ง ที่สร้างขึ้นได้ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่ เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสาหรับเด็กเล็กก็สามารถนามาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนอง แนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด พื้นฐานด้านนี้ เช่น
4 - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น ( Instructional Development in 3 Phases) 3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความ สะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียน เอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปีในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับ ลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จากัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่าง ๆ ที่คน จะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจาเป็น ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน 1.1.4 องค์ประกอบของนวัตกรรม จากประเด็นที่เป็นแก่นหลักสำคัญของคำนิยาม องค์ประกอบที่เป็นมิติสำคัญของ นวัตกรรม มีอยู่ 3 ประการ คือ 1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัว ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้ 2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จใน เชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้ 3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ (Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่ จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้ เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ เป็นต้น คำว่า นวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “ Innovation ” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจาก ภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตตะ แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่ง สอดคล้องกับคำนิยามของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า
5 นวัตกรรม คือ“สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ สังคม” ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการที่สามารถ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา ซึ่งองค์ประกอบของนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 1. ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม 2. ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ 3. มีประโยชน์สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทาง ธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม 4. นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ 1.4 1 ขั้นตอนของนวัตกรรม 1. การคิดค้น (Invention) เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม 2. การพัฒนา (Development) เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่าง ไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข 3. ขั้นนำไปใช้จริง (Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม 4. ขั้นเผยแพร่ (Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการ จำหน่าย 1.1.5 ระบบสารสนเทศ (Information system) ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้าง สารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การ วางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของ ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ( Input) การ ประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อน กลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึง ระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
6 1.1.6 ประเภทของระบบสารสนเทศ ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยี สารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กร แต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่าง กันออกไป ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆของ องค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลัก ของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น 2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้ สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำ ความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร 3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบ สารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหาร ระดับกลางขององค์กร 4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบ สารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบ คือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด 1.1.7 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการ สรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยง กิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหาร ระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น 1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่ สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากร รวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มัก อยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์ 2. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วย สนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการ ใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามา สนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้า
7 มาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็น ต้น 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการ ควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและ สร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอน เพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยัง ต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ สถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดย ให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณา ได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของรายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อ ตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์ 5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะ ยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอก กิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคGlobalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับ สากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการ พยากรณ์/การคาดการณ์ ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของ ระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของ ข้อมูล 1.2 ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา 1.2.1 ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา มีผู้กล่าวถึงความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ไว้ดังนี้ พิสณุ ฟองศรี (2551: 65) กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของนวัตกรรม ดังนี้ การ นำนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้จัดการเรียนการสอน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาการ เรียนรู้ตามที่กาหนดแล้ว ยังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1. นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น 2. นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม 3. บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน 4. บทเรียนน่าสนใจ 5. ลดเวลาในการสอน 6. ประหยัดค่าใช้จ่าย
8 พิชิตฤทธิ์จรูญ (2559: 83-85) ได้กล่าวถึงความสำคัญของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ของ ครูผู้สอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนี้ 1. การใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู 1.1 ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอคือ ครูส่วนใหญ่ ยังคงยึดรูปแบบวิธีการสอนแบบบรรยายโดยครูเป็นศูนย์กลางที่เน้นการพูดบรรยายถ่ายทอดเนื้อหา สาระ มากกว่าสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้ทาให้ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับรู้ (passive learner) ซึ่งจะมีผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่มีความสามารถในเชิงการคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงาน ได้น้อย (passive ability) มักเป็นคนประเภทบริโภคนิยม บรรยากาศของการสอนแบบบรรยาย นอกจากจะ ทาให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิดและสติ ปัญหาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจากัดอีกด้วย แต่ถ้าครูผู้สอนได้ศึกษา ค้นหาวิธีการหรือนวัตกรรม จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เป็นสำคัญ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ทาให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น และ เป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติมากขึ้น (active learner) ก็จะทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่สามารถคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ผลงานได้มากขึ้น (active ability) ดังนั้น การนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการ เรียนรู้จึงช่วย แก้ปัญหาเรื่องวิธีการจัดการเรียนรู้ 1.2 ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาซึ่งในบางรายวิชามีเนื้อหาสาระการเรียนรู้มากและ บาง วิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรม ยากแก่การเข้าใจ จึงจาเป็นจะต้องนานวัตกรรมเข้ามาช่วยในการ จัดการ เรียนรู้เช่น การใช้ชุดการเรียนการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนการ์ตูน การเรียนแบบร่วมมือ 1.3 ปัญหาเกี่ยวกับสื่อ อุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ ในบางเนื้อหามีสื่อ อุปกรณ์การ จัดการ เรียนรู้เป็นจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจใน เนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้และผลิตสื่อการ จัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพื่อนามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เพียงพอเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนจึงจะ ทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ครู ต้องการจะพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นที่ครูจะต้องแสวงหาหรือพัฒนา นวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เช่น ใช้วิธีการ จัดการเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะด้านความคิด วิเคราะห์ การพัฒนารูปแบบการ จัดการ เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรู้สามัคคี การใช้แหล่งเรียนรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นสาหรับการ เรียนรู้และ สร้างความรักท้องถิ่น 3. การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนมีความแตกต่าง กันใน หลายลักษณะ บางคนมีความสนใจในการเรียนและเรียนรู้ได้เร็ว ในขณะที่บางคนขาดแรงจูงใจ ในการเรียน จึงไม่ให้ความสนใจต่อการเรียนและเรียนรู้ได้ช้า ดังนั้น ครูผู้สอนจึงต้องพยายามศึกษาหา วิธีการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ให้ สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพซึ่งจะต้องใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้มาช่วย ให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพ 4. การใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เป้าหมายสูงสุดของการ จัดการเรียนรู้ คือ คุณภาพของผู้เรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ แต่จากผลการประเมินมักจะ พบว่า คุณภาพ ของผู้เรียนยังไม่ได้มาตรฐาน แม้ว่าครูจะพยายามจัดการเรียนรู้อย่างตั้งใจแล้วก็ตาม
9 ทำให้ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาพยายามหาวิธีการหรือใช้นวัตกรรมมาช่วยในการ บริหารจัด การศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบริหารสถานศึกษาแบบเครือข่ายความร่วมมือ การ บริหาร สถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพศึกษาโดยใช้ รูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่ครูหรือนักวิชาการทางการศึกษาก็ได้ศึกษา ค้นคว้าหารูปแบบหรือนวัตกรรม การจัดการ เรียนรู้เพื่อนามาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน เช่น ครูใช้ สื่อการ เรียนรู้หรือรูปแบบ เทคนิควิธีในการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้ได้ มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ จากความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาที่กล่าวมาจะพบว่านวัตกรรมทางการศึกษามี ความสำคัญต่อการนำมาแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นสื่อการสอนและวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่ครูนำมาใช้พัฒนาผู้เรียนโดยเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นความสามารถในการเรียนรู้ของ ผู้เรียนเป็นหลัก นวัตกรรมจะทาให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนหรือเนื้อหามากขึ้น โดยสามารถพัฒนาทั้งด้าน ความรู้ ทักษะ และด้านเจตคติของผู้เรียนทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานที่ หลักสูตรกำหนด 1.2.2 บทบาทของเทคโนโลยีต่อการศึกษา เสาวนีย์ (2528 : 9 –10 ) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางคณะกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีทาง การศึกษา แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology ) ได้ สรุปว่าเทคโนโลยีทางการศึกษามีความสำคัญต่อการศึกษา ดังนี้ 1. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนการสอนและการจัดการศึกษามี ความหมายมากขึ้น นั่นเอง การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียน เรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้นเรียนได้เร็วขึ้นได้เห็นและได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนได้อย่างเข้าใจและยังทำให้ครูมี เวลาให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น 2. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถที่จะสนองในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ในการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษานั้น ผู้เรียนจะมีอิสระในการเสาะแสวงหา ความรู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและต่อสังคมมากขึ้นเป็นการเปิดทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม ความสามารถของเขา สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างดี 3. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การจัดการศึกษาทั้งอยู่บนรากฐานของ วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีหนึ่งที่สร้าง ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ การนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้กับการศึกษา จะทำให้ การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าทดลองวิธีการแปลก ๆ ใหม่ ๆอยู่ เสมอและมีความสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมจึงทำให้การจัดการศึกษาซึ่ง เป็นรากฐานของระบบสังคมเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง 4. เทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาท สำคัญในการสอนและการจัดการศึกษาก็คือสื่อสื่อนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่าและสะดวก ต่อการใช้มากขึ้น สื่อเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่ แล้วว่าสื่อมีพลังมากเพียงใดดังนั้นการนำสื่อมาใช้ในการศึกษาจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัด การศึกษานั้นจะมีพลังมากขึ้น 5. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อมในการเรียนรู้ของ ผู้เรียนมิได้จำกัดเฉพาะในด้านความรู้เท่านั้นแต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติที่ดีงามแก่ผู้เรียนด้วยการ
10 นำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางผู้เรียนได้เห็นสภาพควา ม เป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเอง เป็นการนำโลกภายนอกเข้ามาสู่ห้องเรียน ทำให้ช่องว่างระหว่าง โรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่น การศึกษาผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เป็นต้น 6. เทคโนโลยีทางการศึกษาทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาการนำเทคโนโลยี ทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้นเช่นการจัด การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่มีพิธีรีตรอง (InformalEducation) การจัดการศึกษานอกระบบ โรงเรียน (Non-formalEducation) ทำให้วิถีทางการเข้าสู่การศึกษาเป็นไปอย่างการจัดการศึกษา พิเศษแก่คนพิการและอื่นๆอิสระเสรีและกว้างขวางเพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล ตามความ สนใจ ความต้องการ และความสามารถของเขา สมาน (2522 : 20 – 22 ) กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีต่อการศึกษา ปัจจุบันพอที่จะประมวลมาได้ดังนี้ คือ 1. ช่วยในการสอนให้เห็นภาพพจน์แทนของจริง เช่น จากภาพยนตร์ เทปโทรทัศน์ ฯลฯ 2.ช่วยในการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละบุคคล dividual Difference ให้สามารถเข้าใจและเรียนรู้จากบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น 3.ช่วยให้เกิดมีการแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดต่างๆในระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไป อย่างดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นไปอย่างน่าสนใจและสนุกในบทเรียนนั้น 4. ช่วยเสริมสร้างให้ความรู้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การใช้วิทยุการศึกษา โทรทัศน์การศึกษา เทปโทรทัศน์ ฯลฯ 1.3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการศึกษาให้ เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีดังนี้ 1. วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand : VOD) เป็นระบบที่นำภาพวิดีโอมาบันทึกเป็นไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์และนำไฟล์ดังกล่าว มาเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเรียนรู้ได้ในเวลาที่ สะดวก อีกทั้งยังจัดทำเป็นลักษณะของสื่อผสม (multimedia) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเรียน อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังจำลองสภาพจริงที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างชัดเจน ดังนั้นในท้องถิ่นห่างไกล ที่ขาดบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะทาง ขาดอุปกรณ์การทดลองหรืออุปกรณ์ทางการศึกษาต่าง ๆ ก็ ยังคงสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กในเมือง ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำเสนอวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) เป็นหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องใช้กระดาษ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาและซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือบางรุ่นที่มีระบบปฏิบัติการ Microsoft Mobile นอกจากนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถดาวน์โหลดหรืออ่านได้จากเว็บไซด์ทาง อินเทอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทในวงการการศึกษามากขึ้นด้วยเหตุผล ดังนี้ 1. สามารถอ่านได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ได้
11 2. มีสีสันสวยงาม สามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหวให้เนื้อหาน่าสนใจ ทำให้ ผู้เรียนอ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย 3. โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใช้งานง่ายและสร้างได้อย่าง รวดเร็ว 3. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) หมายถึง แหล่งรวมความรู้ที่มีระบบการทำงานของห้องสมุดให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ เช่น ระบบบริการยืม–คืนทรัพยากรด้วยรหัสบาร์โค้ด ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร และระบบ ตรวจเช็คสถิติการยืม-คืนทรัพยากร เป็นต้น ดังนั้นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อมูลไว้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4. การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต (internet) หรืออินทราเน็ต (intranet) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสามารถ และความสนใจ โดยเนื้อหาในบทเรียนซึ่งอาจประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และ มัลติมีเดียอื่น ๆ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการแสดงผลการ เรียน การเรียนรู้แบบออนไลน์จะทำให้ผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ การเรียนรู้ ออนไลน์จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone anywhere and anytime)
12 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ บทบาทของการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแลกเปลี่ยน ข้อมูลทำได้ง่ายและแพร่หลายมากขึ้น ข้อมูลจากแหล่งกำเนิดหนึ่งสามารถแพร่กระจายและผ่านการ ประมวลผลเป็นสารสนเทศและส่งต่อไปยังแหล่งปลายทางเพื่อแลกเปลี่ยนหรือใช้ประโยชน์ร่วมกัน มากขึ้นเพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศให้มากยิ่งขึ้น พอจะ สรุปความหมายได้ดังนี้ 1.1 ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นรูปแบบของข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ บางครั้งนิยมเรียกว่า ข้อมูลดิบ (Raw Data) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียว หรือข้อมูล ประเภทมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงประกอบ โดยมักนำมาเป็นส่วนนำเข้า (Input Unit) เพื่อป้อนสู่ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ 1.2 สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ เป็นการนำเอาข้อมูล (Data) ที่มีการเก็บรวบรวมไว้จากส่วนนำเข้า นำมาจัดเรียงวิเคราะห์ แปรรูป หรือประมวลผลใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย มีคุณค่า มีสาระ และสามารถนำไปใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือ ข้อมูลที่ผ่านการ ประมวลผลแล้วนั่นเอง เช่น การนำข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบ สรุปผล หรือ กราฟรูปภาพเป็นต้น ตัวอย่างดังรูปภาพ ภาพที่ 2.1 การแปรรูปข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ สารสนเทศหนึ่งอาจนำกลับมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลอื่นต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ตามแต่จะมี การประยุกต์ใช้ ซึ่งวิธีการประมวลผลที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์ จัดเรียง หรือแปรรูป อย่างไรก็ตามการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศนั้นไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เสมอ ไป อาจจะใช้การประมวลผลด้วยวิธีอื่นได้ เช่น การประมวลด้วยมือหรือเครื่องจักรอุปกรณ์อื่น แต่ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายจำนวนมากนั้น หากใช้วิธีอื่นก็อาจทำได้ช้าและไม่ทันกับ ความต้องการมากนัก การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยจึงทำให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ มากกว่านั่นเอง การเปรียบเทียบความหมายของข้อมูลกับสารสนเทศ อาจเปรียบได้กับการปรุงอาหารขึ้นมา จานหนึ่งข้อมูลเปรียบเสมือนวัตถุดิบที่ต้องใส่ลงไปเป็นส่วนประกอบของการทำอาหารจานนี้ ไม่ว่าจะ
13 เป็นผัก เครื่องปรุงเนื้อหรือส่วนประกอบอื่น วิธีประกอบอาหารที่จะทำโดยการผัด ทอด นึ่ง หรือย่าง นั้นก็คือการประมวลผล หากผ่านการปรุงเรียบร้อย เราก็จะได้อาหารที่พร้อมรับประทานหรือส่วนที่ เรียกว่าสารสนเทศตามที่ต้องการการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขบวนการ ทำงานอย่างน้อย 3 ขั้นตอนคือ 1.2.1) Input หรือกระบวนการนำเข้าข้อมูล เป็นส่วนที่นำข้อมูลดิบป้อนเข้าสู่ระบบการ ทำงาน โดยข้อมูลดิบต่างๆ อาจจะยังไม่ได้ผ่านการจัดเรียงหรือเป็นข้อมูลที่นำมาจากการประมวลผล อื่นก็ได้ เช่น มีตัวเลขทั้งหมด 5 จำนวน เมื่อต้องการหาค่าเฉลี่ย ระบบจะต้องนำตัวเลขทั้งหมดมาเก็บ รวบรวมเพื่อรอการประมวลผลก่อน ซึ่งถือว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นข้อมูลดิบหรือ Data ของระบบนั่นเอง 1.2.2) Process หรือกระบวนการประมวลผลข้อมูล เมื่อข้อมูลถูกป้อนเข้าสู่ระบบ การหา คำตอบ เพื่อต้องการค่าเฉลี่ยของตัวเลขกลุ่มดังกล่าว ต้องใช้หลักการหรือวิธีการคิดเพื่อหาผลลัพธ์ให้ ได้ นั่นคือ ต้องหาผลรวมของตัวเลขทั้งหมดให้ได้เสียก่อน แล้วนำมาหารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มี อยู่ จึงจะสามารถหาคำตอบได้ ขั้นตอนนี้เรียกว่า การประมวลผลข้อมูล ซึ่งโดยหลักการแล้วส่วนนี้จะ คล้ายกับการทำงานจริงในหน่วยประมวลผลกลางขอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเนื้อหาโดย ละเอียดต่อไป 1.2.3) Output หรือกระบวนการแสดงผลลัพธ์ เป็นกระบวนการนำเอาผลลัพธ์ที่ได้จากการ ประมวลผลข้อมูลดิบมาแสดง จากตัวอย่างข้างต้นนั้น เมื่อนำตัวเลขทั้งหมดมาวิเคราะห์หรือแปรรูป ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนของการประมวลผลแล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์คือค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34 ตัวเลขผลลัพธ์นี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่จะนำเอาไปใช้ประโยชน์หรือแลกเปลี่ยนกันได้ต่อไป ภาพที่ 2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์ ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้จัดการสารสนเทศต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทางการสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น เมื่อนำเอาคำว่า เทคโนโลยี และ สารสนเทศ รวมเข้าไว้ด้วยกันแล้ว เราอาจสรุปความหมาย โดยรวมได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT : Information Technology) คือ การประยุกต์
14 เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยี ใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนอาศัยความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การ วิเคราะห์ การจัดเก็บ รวมถึงการจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง การแสวงหา การ วิเคราะห์ และการจัดเก็บข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อให้ เกิดความรวดเร็วและแม่นยำ ในทำนองเดียวกันเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายการสื่อสารและ โทรคมนาคมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 2.1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการ ทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือ ส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญขอระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) บุคลากร (Personnel) ขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedures) 2.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ รอบข้างรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ซึ่ง ฮาร์ดแวร์ในระบบสารสนเทศ สามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.1) หน่วยรับข้อมูล (Input unit) 1.2) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 1.3) หน่วยแสดงผล (Output unit) 2.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับ ขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ ของการใช้งานในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ผู้ใช้จะต้อง ติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลักแต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมี รูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งาน คอมพิวเตอร์ในระดับ บุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับ องค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่า จ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่
15 อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้นซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้ หลายประเภท ได้แก่ 2.2.1) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ 2.2.2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการ ของผู้ใช้ เช่นซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ ข้อมูล 2.3. ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูล จะต้องมีความถูกต้องมีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้อง มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการ จัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวด เร็วมีประสิทธิภาพ 2.4. บุคลากร (Personnel) บุคลากร ในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทาง คอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบ สารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพ และคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้นโดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีด ความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เอง ตามความ ต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้ บุคลากร ในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน 2.5. ขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedures) ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีก ประการหนึ่งเมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้ งานที่ จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและ กรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือ ข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมี การซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 2.1.3 ประเภทของระบบสารสนเทศ ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละ ประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกัน ออกไป พิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบ สารสนเทศได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001) 3.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำ หน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้
16 ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็น สารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้าง ฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้ สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงาน ผลเบื้องต้น 3.2 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุน งานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับ บุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูป ของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์ 3.3 ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การ พัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัย แบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริง ในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น 3.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการ ควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้าง สารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ 3.5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วย ผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียง บางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้อง สามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์ นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้ โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดย อาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วย ตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อ ตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์ 3.6 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็น ระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและ เป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรม เป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็น
17 ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การ คาดการณ์ 2.1.4 ประโยชน์ของสารสนเทศ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุก ธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชน และราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้ 4.1) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง รวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ 4.2) ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารสามารถนำ ข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายใน การดำเนินงาน เนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการ ดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด 4.3) ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการ ประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร 4.4) ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศ ประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการ ดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่า ความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ ปัญหาใหม่ 4.5) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุง และแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานใน แต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อ ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน งานหรือเป้าหมาย 4.6) ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และ ค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการ ประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญในการ บริหารจัดการภายใน องค์กร เพราะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงองค์กรที่มี ระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงข้อมูลได้เร็วเท่า นั้นถึงจะอยู่รอดได้ในปัจจุบันดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรนับว่าเป็นผู้ที่มี บทบาทในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองให้มีความ ทันสมัยและนำมาใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพเพราะปัจจุบันการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน วงการ ธุรกิจก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานและใช้ในการแข่งขัน
18 ทางธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆสำหรับองค์กร นอกจากนี้ยังสร้างความแข็งแกร่ง ทางด้านธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ต่อไปในอนาคต 2.1.5 ระดับของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ในองค์กร จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้หลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่ ระดับบนที่เป็นผู้บริหารสูงสุดลงมาจนถึงระดับพนักงานปฏิบัติการซึ่งจัดอยู่ในขั้นล่างสุด โดยสามารถ แบ่งผู้ใช้ระบบสารสนเทศออกตามลักษณะการบริหารจัดการได้ 3 ระดับดังนี้ 5.1 ระดับสูง (Top Level Management) กลุ่มของผู้ใช้ระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีหน้าที่กำหนดและวางแผนกลยุทธ์ ขององค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ แหล่างสารสนเทศที่นำมาใช้จะเป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยมีทั้งสารสนเทศจากภายนอกและภายในองค์กร เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและ สถานการณ์โดยรวมผู้บริหารในกลุ่มนี้อาจประกอบด้วยประธานบริษัท กรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร หรือผู้จัดการทั่วไป ซึ่งระบบสารสนเทศที่ใช้ในระดับนี้จะต้องออกแบบมาให้ง่ายและ สะดวกต่อการใช้งาน ไม่มีความซับซ้อนหรือยุ่งยากมากนัก ผลลัพธ์ที่แสดงอาจจำเป็นต้องใช้การ นำเสนอด้านกราฟิกบ้าง และจำเป็นต้องตอบสนองต่อการตัดสินใจที่รวดเร็วและทันท่วงทีด้วยเช่นกัน 5.2 ระดับกลาง (Middle Level Management) เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้งานระดับการบริหารและจัดการองค์กร เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการ ฝ่ายบัญชี ผู้จัดการฝ่ายผลิต ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูงนำมาสานต่อให้บรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้หลักบริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่ใช้มัก ได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน เช่น รายงานยอดขายหรือข้อมูลสรุปประจำปีของฝ่ายผลิต ระบบ สารสนเทศจึงต้องมีการจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยเลือกใช้ค่าทางสถิติช่วยพยากรณ์หรือ ทำนายทิศทางไว้ด้วย หากระดับของการตัดสินใจนั้นมีซับซ้อนหรือยุ่งยากมากเกินไป 5.3 ระดับปฏิบัติการ (Operation Level Management) ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือ ประกอบสินค้า การจัดหาวัตถุดิบ งานทั่วไปภายในองค์กรที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับ การตัดสินใจมากนักข้อมูลหรือสารสนเทศระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูง ต่อไป เช่น รายงานการฝากถอนเงินประจำวัน ยอดสินค้าคงเหลือหรือรายงานการผลิตในแต่ละวัน บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะอยู่ในระดับหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน รวมถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานประจำวัน ด้วย
19 5. วิวัฒนาการและแนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” แล้ว จะมีความหมายครอบคลุมกว้างกว่าคำว่า “ระบบ คอมพิวเตอร์” เพราะจะพูดรวมถึงระบบการเชื่อมโยงสารสนเทศด้วยเครื่องมือสื่อสารและ โทรคมนาคมเช้าไปด้วย ซึ่งมีแนวโน้มของการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง มีการเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงมาก ยิ่งขึ้น ช่วยให้การติดต่อและแลกเปลี่ยนสานสนเทศทำได้อย่างไร้ขีดจำกัดของพรมแดน ระบบ คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มีแนวโน้มในการพัฒนาที่สอดคล้องกับ เทคโนโลยีสื่อสารที่เปลี่ยนไปด้วย โดยมีการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากยิ่งขึ้น 5.1 คุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเอกสารการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง แพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้ 5.1.1) การรวมตัวกันของเทคโนโลยี (Convergence) เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็น การรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆเข้าไว้ ด้วยกัน เช่น การกระจายเสียง(Broadcasting) เป็นต้น ทำให้สามารถรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลที่อยู่ในรูป ของสื่อแบบผสม (Multimedia) เช่นภาพ เสียง หรือข้อความต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และสามารถส่งได้ ในปริมาณมาก การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆจึงทำได้อย่างทั่วถึงกันมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคไร้พรมแดน อย่างในปัจจุบัน 5.1.2) ต้นทุนที่ถูกลง (Cost Reduction) เทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณสมบัติที่ทำให้ ราคาและการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศถูกลงเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของอัตรา ค่าบริการสื่อสารโทรคมนาคมเช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย รวมถึงราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีที่มีแนวโน้มถูกลงเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ดำเนินไปตาม กลไกราคาของตลาด ซึ่งเมื่อมีผู้บริโภคมากขึ้นราคาก็ย่อมมีแนวโน้มที่จะถูกลง 5.1.3) การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง (Miniaturization) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ หลากหลายประเภทรวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง ด้วย วิวัฒนาการของไมโครชิพทำให้ออกแบบอุปกรณ์ได้กะทัดรัดและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
20 5.1.4) การพกพาและการเคลื่อนที่ (Portability/Mobility) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ท โฟนและอุปกรณ์พกพาอื่นๆสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดายทุกที่ทุก เวลา 5.1.5) การประมวลผลที่ดีขึ้น (Processing Power) เทคโนโลยีสารสนเทศมีการ ประมวลผลที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูทีทำงานเร็ว ขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 5.1.6) การใช้งานที่ง่าย (User Friendliness) การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน มีการ ออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานให้ง่ายและดียิ่งขึ้น หรือที่ เรียกว่า User Friendlyนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก ทำให้ไม่ ต้องกลัวว่าจะใช้งานยากเหมือนกับแต่ก่อน เพียงแค่ศึกษาการใช้โปรแกรมเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำ ได้ โดยมากจะมีการนำรูปแบบของ GUI มาใช้มากยิ่งขึ้น เช่น แบบเมนูเลือกรายการ หรือคลิกเมาส์ เป็นต้น 5.1.7) การเปลี่ยนจากอะตอมเป็นบิต (Bits Versus Atoms) ทิศทางของความนิยม ในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการหันเหจากกิจกรรมที่ใช้ “อะตอม” เช่น การส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ ไปสู่การใช้ “บิต” (BIT : Binary Digit) มากยิ่งขึ้น ซึ่งใน ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายองค์กรได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานที่มุ่งเน้นไปสู่สำนักงานแบบไร้กระดาษ (Paperless Office) กันอย่างแพร่หลาย 5.1.7) สื่อผสม (Multimedia) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศที่ เป็นแบบสื่อผสม(Multimedia) ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง รวมถึง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน 5.1.9) เวลาและภูมิศาสตร์ (Time & Distance) วิวัฒนาการของเทคโนโลยี สารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้าน “เวลา” และ “ภูมิศาสตร์” ได้เป็นอย่างมาก เช่น การประชุมทางไกล(Teleconference) สำหรับบางองค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ซึ่ง หากต้องจัดการประชุมโดยให้ผู้บริหารทุกสาขาเดินทางมายังสำนักงานใหญ่พร้อมกัน อาจจะทำได้ไม่ สะดวกหรือจัดเวลาไม่ตรงกัน การประชุมแบบทางไกลสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้ หรือการใช้ จานรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสัญญาณรายการเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล (Tele Education) โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องเข้ามาแสวงหาความรู้ในเมืองใหญ่ ก็สามารถได้แหล่ง ความรู้ที่เหมือนๆกัน เป็นการลดปัญหาในเรื่องภูมิศาสตร์ลงไปได้ 2.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ใน สังคมปัจจุบันมาก ขึ้น เนื่องจากสังคมขณะนี้กำลังเข้าสู่สังคมแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ สังคมไอที ที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้าน การส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ในรูปแบบสื่อ ทั้งภาพเสียงตัวอักษรและมัลติมีเดีย ได้อย่างรวดเร็วฉับไวทันเวลาที่ต้องการ
21 หากแต่ในปัจจุบันได้มีการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ไปในทางไม่เหมาะสม เช่น นำไปใช้แพร่ภาพ ลามกอนาจาร นำภาพไปตัดต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ปลอมแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อกวนทำร้ายผู้ใช้คอมพิวเตอร์อื่นๆ หลอกลวง ก่อ การร้าย การป้องกันปราบปรามและจับกุมดำเนินคดีแก่ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่น หรือเกิดความเสียหาย แก่ประเทศชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ปัญหา ดังกล่าว จึงเกิดการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขึ้น โดยมีเจตนารมณ์ คือ เพื่อเป็นการใช้กรอบแห่งกฎหมายในการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษใน การเรียกร้องค่าเสียหายแก่ผู้กระทำความผิด เพื่อคุ้มครองสิทธิให้แก่ประชาชน เพื่อกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งด้านนโยบาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ และกำหนดหน้าที่ของผู้ให้บริการไม่ว่าจะแก่ตนเองหรือบุคคลอื่นในการเข้าสู่ อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้มีแนวทางการปฏิบัติตาม ดำเนินงานให้เกิดความชัดเจนถูกต้องในแนวทางเดียวกัน จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหลังพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับพระราชยัญญัติให้แก่สาธารณะชนได้เข้าใจอย่างแท้จริง และเป็นผลให้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติมีประสิทธิภาพสูงสุด 2.1.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.1. ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer net-work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้ 1.1.1 เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN) 1.1.2 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN) 1.1.3 เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN) 1.1.4 เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet) 1.1.5 เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet) 1.1.6 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet) 1.2. การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1.2.1 อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1. การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อรกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน 2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย 3. สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่ต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากข้อมูลจะ ตรวจสอบก่อนว่าเป็นของเครื่องใด แล้วจึงส่งไปยังปลายทาง
22 4. โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สมมารถ ส่งผ่านสายโทรศัพท์ได้ 5. อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยง เครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ดีที่สุด 6. สายสัญญาณ (cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล 1.2.2 การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกิน สองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและ สายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อต่อโดยใช้ สายไขว้ (cross line) 2. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จากข้อกำจัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่ สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่าย ระยะไกล ดังนี้ - แบบที่ 1 คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุก ๆ ระยะ 100 เมตร - แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ เละเมื่อเสร็จสิ้นก็ ยกเลิกการเชื่อมต่อ - แบบที่ 3 คือ เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้และมีความเร็วสูง - แบบที่ 4 คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณ วิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ - แบบที่ 5 คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงกลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง - แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ ล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง สามารถเชื่อมต่อใช้กับโทรศัพท์ได้ 1.3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 1.3.1 ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นโอเอส (Linux community enterprise operating system) นิยมเรียกย่อว่า CentOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็น ซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open-source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้่งานโดยไม่ต้องจ่าย ค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 1.3.2 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ โดยมีคุณสมบัติเด่น ดังนี้ 1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการ ด้านแอพพลิเคชั่นต่างๆด้วย 2. เวอร์ชวลไลเซซั่น (virtualization) เป็นการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจาก ระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มที่ 3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ และแอพพลิเคชั่นที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
23 4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการ ใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น 2.2.2 อินเทอร์เน็ต 2.1. ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (internet) มาจากคำว่า interconnection network หมายถึง การใช้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลาง ชนิดใดชนิดหนึ่ง 2.2. บริการบนอินเทอร์เน็ต 2.2.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมลล์ (electronic mail or e-mail) เนื่องจาก ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน ทำให้การส่ง ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันสามารถทำได้ง่าย 2.2.2 เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้่อมูล เฉพาะกลุ่ม 2.2.3 การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication) เป็นการสื่อสารกันที่ สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น แชท (chat) 2.2.4 เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking web site) เป็นชุมชน ออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม เช่น facebook 2.2.5 บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียน บันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง เรียกว่า ไดอารี่ออนไลน์ (diary online) 2.2.6 วิกิ (wiki) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ที่มีความรู้ในแต่ละเรื่อง มาให้ข้อมูล เช่น wikipedia 2.2.7 บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet) บริการนี้ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านทางคอมพิวเตอร์อีก เครื่องหนึ่งที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ ตาม 2.2.8 การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอน แฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือไกล 2.2.9 บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต (usenet) เป็นอีกบริการหนึ่ง บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2.2.10 เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web) ซึ่งอาจเรียกย่อว่า เว็บ (web) เป็นบริการ เพื่อการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการให้บริการข้อมูล แบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปข้อมูลของอีก เอกสารหนึ่ง 2.2.11 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) เป็น การทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำเสนอสินค้าและบริการทาง เว็บไซต์
24 2.3. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต 1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต (netiquette) 1.1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - ตรวจสอบกล่องรับไปรษณีย์ทุกวัน จำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลใน ตู้จดหมาย - ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง - โอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล - พึงระลึกไว้เสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่น - ไม่ควรจะส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก 1.2. จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย - ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักและต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น - ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานการณ์ใช้งานของคู่ สนทนา ก่อน - หลังการเจรียกคู่สนทนาไปแล้ว ไม่ตอบกลับมาแสดงว่าเขาอาจติดธุระ อยู่ - ควรใช้วาจาสุภาพ 1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา - เขียนเรื่องให้กระชับ ใช้ข้อความสั้น - ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร - ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ - ไม่ควรสร้างข้อความเท็จ - ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตน 2. บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ 1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น 2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น 7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ 8. ไม่นำเอาผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง 9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดนเคารพกฎ ระเบียบ กติกา กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 6 ฉบับ ดังนี้ 1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
25 4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5. กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ กฎหมายทางเทคโนโลยีสารสนเทศ - ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ - ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ - โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ - การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล - อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ - การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ 2.3 ระบบการสืบค้นผ่านเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้ 2.3.1 การสืบค้นข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1) รูปแบบการสืบค้นข้อมูลความรู้ การค้นหาข้อมูลความรู้มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์มากขึ้น เนื่องจากต้องนำข้อมูล ความรู้มาใช้ในการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยการค้นหาข้อมูลความรู้นั้น ทำ ได้หลายวิธี เช่น การถามผู้รู้การค้นหาจากเว็บไชตในอินเทอร์เน็ต การค้นหาจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่ง การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตนั้นได้รับความนิยมมาก เพราะค้นหาได้สะดวก รวดเร็ว มีข้อมูลความรู้ที่หลากหลายให้เลือกศึกษา และสามารถค้นหาได้หลายรูปแบบ ดังนี้ 1. การค้นหาข้อมูลความรู้จากที่อยู่ของข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Uniform Resource Locator : URL) เป็นการค้นหาข้อมูลความรู้โดยพิมพ์ที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการคันหาลงในช่องที่ กำหนด โดยผู้ค้นหาจะต้องทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ก่อน จากนั้นกดปุ้ม Enter บนแผงแป้นอักขระ จะ ได้ผลลัพธ์ดังตัวอย่าง 2. การค้นหาข้อมูลความรู้โดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (web browser) เป็นเป็นการค้นหา ข้อมูลความรู้ผ่านเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต โดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ ซึ่งมี 2 วิธี ดังนี้ 2.1. การสืบค้น (browse) เป็นการเปิดดูเอกสารที่นำเสนออยู่บนเว็บไปเรื่อย ๆ โดย เอกสารเหล่านั้นมีการเชื่อมโยง (ink) กันอยู่ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ได้โดยการเลือกเปิด เอกสารตามการเชื่อมโยงเหล่านั้น 2.2. การค้นหา (search) เป็นการค้นหาสารสนเทศเฉพาะหัวข้อที่ต้องการ โดยใช้ ระบบที่เรียกว่า โปรแกรมค้นหา (search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการค้นหา เอกสารหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้สนใจโดยใช้คำสำคัญ (keyword) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าสู่ระบบ แล้วระบบจะนำคำสำคัญไปเปรียบเทียบกับเอกสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึง แสดงผลการค้นหาแก่ผู้ใช้ เว็บไซต์ที่มีโปรแกรมค้นหา (search engine) นั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็น เว็บไซต์ของต่างประเทศ และเว็บไซต์ของไทย เช่น http://www.dmoz.org, http://www.google.co.th http://www.yahoo.com, http://www.sanook.com เป็นต้น แต่ ปัจจุบันเว็บไซต์ http://www.google.co.th เป็นเว็บไซต์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด
26 2) การค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมค้นหา (search engine) การค้นหา ข้อมูลด้วยเว็บไชต์ที่มีโปรแกรมค้นหาช่วยให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบลงสามารถค้นหาได้ง่ายและ รวดเร็วขึ้นกูเกิล (google) เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลกด้วยฐานข้อมูลมากกว่า สามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่าง ๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องบริการแทน (server ให้บริการในส่วนต่าง ๆ ของโลก มากถึง 36 ประเทศ (รวมทั้งในประเทศไทย) เมื่อพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ คือ htp://www.google.com ลงไปในช่องพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ระบบ ตรวจสอบภาษาของเว็บไซต์กูเกิล จะเปลี่ยนเป้าหมายมายัง http://www.google.co.th ที่เป็น เว็บไซต์กูลของไทยโดยอัตโนมัติบริการค้นหาของกูเกิล แยกฐานข้อมูลออกเป็น 8 หมวด ซึ่งในแต่ละ หมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติม ดังนี้ 1. เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก 2. รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายรูปแบบจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก 3. แผนที่ : เป็นการค้นหาแผ่นที่ของสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยและแนะนำเส้นทางการ เดินทางที่เหมาะสม 4. Groups หรือกลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่าง ๆ 5. บล็อก : เป็นการคันหาบันทึกบทความของบุคคลหนึ่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ อ่าน ซึ่งจะมีการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนอยู่ในบทความนั้น ๆ ด้วย 6. แปลภาษา : เป็นการค้นหาคำของภาษาอื่นที่แตกต่างจากคำที่ป้อนลงไป 7. Gmail : เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของกูเกิล 8. เพิ่มเติม : เป็นการค้นหาไดเรกทอรี ปฏิทิน ภาพถ่าย เว็บไซต์ และ กูรู ซึ่งไว้เป็นหมวดหมู่ 3) เทคนิคการค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยโปรแกรมค้นหา (search engine) การค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยโปรแกรมค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ มีแนวทางดังนี้ 3.1 บีบประเด็นให้แคบลง หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะหาโดยใช้คำว่าคอมพิวเตอร์ หรือ Computer เพื่อลองดูเนื้อหากว้าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นระบุหัวข้อเรื่องให้แคบลง โดย เลือกจากหัวข้อที่เว็บไซต์นั้นจัดทำไว้ หรืออาจจะพิมพ์คำสำคัญในเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อค้นหาอีกครั้ง 3.2 การใช้คำที่ใกล้เคียง ควรใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหา เช่น ต้องการ ค้นหาเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คำที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT 3.3 การใช้คำหลัก (Keyword) เป็นการใช้คำหรือข้อความที่จะทำให้คิดถึงเว็บไซต์นั้น เช่น สสวท. จะนึกถึงเว็บไซของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.ipst.ac.th.schoolnet จะนึกถึงเว็บไชต์เครือข่ายโรงเรียนไทย http://www.school.net.th เป็นต้น 3.4 หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือเป็นคำที่มี ตัวเลขรวมอยู่ด้วย แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98" 3.5 ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วยค้นหาข้อมูล เครื่องหมาย "+" หมายถึง การระบุให้ ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฎอยู่ในหน้าเว็บเพจ ข้อควรระวังคือ ต้องใช้เครื่องบวกติดกับ คำหลักเสมอ ห้ามมีช่องว่างระหว่างเครื่องหมายบวกกับคำหลัก เช่น +สังคม +เศรษฐกิจ หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฏคำว่า "สังคม" และ "เศรษฐกิจ"อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ หรือ
27 สังคม เศรษฐกิจ จะสังเกตเห็นว่าที่คำว่า "เศรษฐกิจ"ไม่ปรากฎเครื่องหมายบวก " + " อยู่ข้างหน้า เหมือนตัวอย่างบน หมายถึง การค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่จะต้องปรากฏคำว่า "สังคม" โดยในหน้า เอกสารนั้นอาจปรากฎหรือไม่ปรากฏคำว่า "เศรษฐกิจ" ก็ได้ เครื่องหมายลบ " " หมายถึง การระบุให้ ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้นอยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -บ้านพัก หมายถึง หน้าเว็บ เพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า บ้านพัก, +ทุเรียน -ทุเรียนหมอนทอง -ทุเรียนชะนี หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "ทุเรียน"แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ทุเรียนหมอนทอง" และ "ทุเรียนชะนี" อยู่ในหน้าเดียวกัน 4) ความรู้เพิ่มเติม โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร โดเมนเนม (Domain Name) คือ ชื่อเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ต้องไม่ซ้ำกันทั่วโลกโดยชื่อ โดเมนจะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1.ชื่อเจ้าของเว็บไซต์ซึ่งอาจเป็นชื่อบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า บริษัทหรืออื่น ๆ ที่ ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของเว็บไซต์นั้น เช่น กูเกิล (go0gle), สนุก (sanook) เป็นต้น 2. ลักษณะการประกอบการของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น .com , co.th , net เป็นต้นโดยลักษณะประกอบการที่พบเห็นได้ทั่วไป มีดังนี้ 2.1 .com (commercial organization) คือ หน่วยงานธุรกิจ 2.2 .co (company) คือ บริษัท ห้างร้าน ธุรกิจที่จดทะเบียน 2.3 .go (government) คือ หน่วยงานของรัฐบาล 2.4 .or (organization) คือ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร 2.5 .net (net work providers) คือ ผู้ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ชื่อโดเมนยังสามารถระบุให้ทราบประเทศที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น เช่น .th คือประเทศไทย jp คือ ประเทศญี่ปุ่น .kr คือ ประเทศเกาหลีใต้ โดยอยู่ส่วนท้ายของชื่อโดเมน 2.3.2 แฟ้มข้อมูล และสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันและเป็นประเภทเดียวกัน ในฐานข้อมูล จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน การออกแบบแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลหมายถึงการ กำหนดโครงสร้าง การจัดเก็บข้อมูล เช่น เขตข้อมูลที่ประกอบกันขึ้นเป็นระเบียนข้อมูล ประเภทของ ข้อมูล ขนาดของข้อมูล จำนวนพื้นที่สำหรับจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ (storage) และการเข้าถึงข้อมูล (access method) ในแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูลเป็นส่วนที่สำคัญ สำหรับระบบงานสารสนเทศ เนื่องจากใช้เก็บข้อมูลนำเข้าต่างๆ ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล เปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล สรุปได้ดังนี้ 2.3.3 สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล 1. ระดับภายนอก (external level) 1. ระดับแนวคิด (conceptual design) 2. ระดับแนวคิด (conceptual level) 2. ระดับตรรกะ (logical design) 3. ระดับใน (internal level) 3. ระดับกายภาพ (physical design) การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิดจะดำเนินในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยการใช้ เครื่องมือ ดีเอฟดี (DFD) แสดงแบบจำลองกระบวนการ และอีอาร์ดี (ERD) แสดงแบบจำลองข้อมูล
28 ซึ่งแสดงให้เห็นเพียงเอนทิตี (entity) และแอททริบิวท์ (attributes) และข้อมูลเหล่านั้นมี ความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยในขั้นวิเคราะห์ยังไม่ได้คำนึงถึงความซ้ำซ้อนของข้อมูลการออกแบบ ฐานข้อมูลในระดับตรรกะ เป็นการกำหนดโครงสร้างไฟล์และฐานข้อมูล โดยการนำอีอาร์ดีมาปรับปรุง ด้วยการทำให้เป็นบรรทัดฐานที่เรียกว่า นอร์มัลไลเซชัน (normalization) ซึ่งในระบบ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์คือสร้างรีเลชันเพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลต่อไปการออกแบบฐานข้อมูลในระดับ กายภาพ เป็นการนำรีเลชัน (relation) ที่ได้จากระดับตรรกะมาแปลงให้อยู่ในรูปของตาราง (table) ประเภทของคีย์ (key) รวมถึงการกำหนดวิธีการรักษาความปลอดภัย 1. ประเภทของแฟ้มข้อมูล ประเภทของ แฟ้มข้อมูล (types of file) จำแนกได้เป็นประเภท ต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 แฟ้มข้อมูลหลัก (master file-MF) จะเก็บข้อมูลทั้งหมดหรือข้อมูลหลักของ ระบบงาน ในระบบหนึ่ง ๆ อาจมีได้หลายแฟ้มข้อมูลหลัก ตัวอย่างของแฟ้มข้อมูลหลัก เช่น ระบบการ ค้นคืนเกี่ยวกับบรรณานุกรมหนังสือจะมีแฟ้มข้อมูลหลักที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของหนังสือ 1.2 แฟ้มประมวลผลรายการ (transaction file-T/F) จะเก็บข้อมูลของงานอย่าง หนึ่งอย่างใด หรือสำหรับปรับปรุงข้อมูลบางอย่างในแฟ้มข้อมูลหลัก และจะเป็นแฟ้มข้อมูลชั่วคราว เช่น แฟ้มรายการค้นคืนหนังสือ ซึ่งเมื่อเลิกค้นคืนแล้วแฟ้มข้อมูลนี้จะถูกลบไป 1.3 แฟ้มข้อมูลตาราง (table file) เป็นแฟ้มข้อมูลหลักแบบหนึ่งใช้สำหรับเก็บข้อมูล ที่ถูกเรียกใช้เพื่ออ้างอิงอยู่เสมอ ๆ 1.4 แฟ้มข้อมูลแบบรายงาน (report file) จะเก็บผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้พิมพ์ เนื่องจากเครื่องพิมพ์ยังไม่ว่างหรือมีผู้ใช้อยู่ในขณะนั้นจึงทำการรวมผลลัพธ์ต่าง ๆ ไว้ในแฟ้มเดียวกัน เพื่อรอพิมพ์ตามลำดับ 1.5 แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ ในระบบสารสนเทศจะมีแฟ้มข้อมูลหากหลาย เช่น แฟ้มข้อมูล สำรอง (back-up file) แฟ้มข้อมูลโปรแกรม (program file) เป็นต้น 2. การจัดแฟ้มข้อมูล รูปแบบการจัดแฟ้มข้อมูล แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ แบบเรียงลำดับ (sequential file organization) แบบสุ่มหรือโดยตรง (random/direct file organization) แบบดรรชนี (indexed file organization) ข้อควรพิจารณาในการจัดแฟ้มข้อมูล การเลือกใช้แฟ้มข้อมูลแบบใดสามารถ พิจารณาจากลักษณะของข้อมูล ลักษณะการประมวลผล สื่อที่ใช้จัดเก็บ เช่น 1) ความสามารถในการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล (file accessibility) ต้องการใช้เป็นการ ประมวลผลแบบออนไลน์ (online) หรือประมวลผลแบบกลุ่ม/ชุด (batch) 2) ปริมาณระเบียนรายการเปลี่ยนแปลง (transaction record) ถ้ามีข้อมูลที่ต้อง เปลี่ยนแปลงมากและใช้การประมวลผลแบบกลุ่ม ควรใช้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ถ้าการ ประมวลผลเป็นแบบออนไลน์ควรใช้การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มหรือโดยตรง 3) ปริมาณหรือขนาดของแฟ้มข้อมูล (file capacity) ควรใช้สื่อแบบใดจัดเก็บข้อมูลจึง จะเหมาะสม เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก หรือจานซีดี-รอม 4) ความเร็วที่ต้องการในการประมวลผลหรือถ่ายเทข้อมูลต้องพิจารณาถึงรูปการจัด แฟ้มข้อมูลและสื่อจัดเก็บ 5) ค่าใช้จ่าย เช่น ฮาร์ดแวร์ และสื่อจัดเก็บ
29 3. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพการ เลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกประเภทข้อมูลอย่างย่อโครงสร้าง ข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อย ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบ ก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผลกับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการ ออกแบบและเขียนโปรแกรมหลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วน หนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ แฟ้มข้อมูล” (file) หมายถึงข้อมูลสารสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติ เป็นแม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดาหรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตามข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่องๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรมข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่าง ก็ต้องมีชื่อเป็นของตนเองที่ต้องไม่ซ้ำกัน 1.รูปแบบของการจัดระเบียบข้อมูล รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้าง พื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับต่อไปนี้ 1.1 บิท (Bit : Binary Digit) คือหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ ภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท1 บิท 1.2 ไบท์ (Byte) คือหน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯโดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท7 บิท หรือ 8 บิทซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ใน คอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น 1.3 เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมา รวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย 1.4 ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล 1.5 แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มี ความสัมพันธ์กันมารวมกัน 1.6 ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน 2. โครงสร้างแฟ้มข้อมูล โดยปกติแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) เช่น ฮาร์ดดิสก์เนื่องจากมีความจุข้อมูลสูงและสามารถเก็บได้ถาวรแม้จะปิดเครื่องไปซึ่งการจัดเก็บนี้จะต้อง มีวิธีกำหนดโครงสร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้องและ
30 เหมาะสมกับความต้องการการเข้าถึงและค้นคืนข้อมูลจะอาศัยคีย์ฟิลด์ในการเรียกค้นด้วยเสมอการจัด โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอาจจะแบ่งได้เป็นลักษณะดังนี้ การจัดการโครงสร้างแฟ้มข้อมูลมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกโครงสร้าง ได้แก่ - ปริมาณข้อมูล ความถี่ในการดึงข้อมูล ความถี่ในการปรับปรุงข้อมูล จำนวนครั้งที่อ่านข้อมูล จากหน่วยความจำสำกรองต่อการดึงข้อมูล การจัดโครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ - แฟ้มลำดับ (sequential file) - แฟ้มสุ่ม (direct file หรือ hash file) - แฟ้มดรรชนี (indexed file) - แฟ้มลำดับดรรชนี (indexed sequential file) 2.1 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure) เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุดเนื่องจากมีลักษณะการ จัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆการอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไป อ่านตรงตำแหน่งใดๆที่ต้องการโดยตรงไม่ได้เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคคอร์ดใดๆโปรแกรมจะเริ่ม อ่านตั้งแต่เรคคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคคอร์ดที่ต้องการ ก็จะเรียกค้นคืนเรคคอร์ดนั้นขึ้นมา การใช้ข้อมูลเรียงลำดับนี้จึงเหมาะสมกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไป เรื่อยๆตามลำดับและปริมาณครั้งละมาก ๆ แฟ้มข้อมูลแบบนี้ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมขนาดใหญ่ก็จะจัดเก็บอยู่ใน อุปกรณ์ประเภทเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) ซึ่งมีการเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential access) เวลาอ่านข้อมูลก็ต้องเป็นไปตามลำดับด้วยคล้ายกับการเก็บข้อมูลเพลงลงบนเทปคาสเซ็ต 2.2 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure) เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรงเมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆ สามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่าปกติแล้วจะมีการจัดเก็บใน สื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ต,ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็น ต้น 2.3 โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure) เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ISAM (Index Sequential Access Method ) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียง ตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิธีนี้ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บน สื่อแบบสุ่ม เช่น ฮาร์ดดิสก์และการเข้าถึงข้อมูลจะทำผ่านแฟ้มข้อมูลลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยชี้และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สามารถทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธี อื่นๆโดยเฉพาะกับกรณีที่ข้อมูลในการประมวลผลมีจำนวนมากๆ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบนี้จะมี หลักการทำงานคล้ายกับรูปแบบดรรชนีท้ายเล่ม ซึ่งทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
31 2.4 ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล โครงสร้างแฟ้ม ข้อดีข้อเสีย สื่อที่ใช้เก็บ 1. แบบเรียงลำดับ - เสียค่าใช้จ่ายน้อยและใช้งานได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ - เหมาะกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับและในปริมาณมาก - สื่อที่ใช้เก็บเป็นเทปซึ่งมีราคาถูก - การทำงานเพื่อค้นหาข้อมูลจะต้องเริ่มทำตั้งแต่ต้นไฟล์เรียงลำดับไปเรื่อย จนกว่าจะหา ข้อมูลนั้นเจอ - ข้อมูลที่ใช้ต้องมีการจัดเรียงลำดับก่อนเสมอ - ไม่เหมาะกับงานที่ต้องแก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูลเป็นประจำ เช่น งานธุรกรรมออนไลน์ เทป แม่เหล็ก 2. แบบสุ่ม - สามารถทำงานได้เร็วเพราะมีการเข้าถึงข้อมูลเรคคอร์ดแบบเร็วมาd เพราะไม่ต้อง เรียงลำดับข้อมูลก่อนเก็บลงไฟล์ - เหมาะสมกับการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ หรืองานที่ต้องการแก้ไข เพิ่ม ลบรากการเป็น ประจำ - ไม่เหมาะกับงานประมวลผลที่อ่านข้อมูลในปริมาณมาก - การเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลจะซับซ้อน - ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับได้จานแม่เหล็กเช่นดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CDROM 3.แบบลำดับเชิงดรรชนี - สามารถรองรับการประมวลผลได้ทั้ง 2 แบบคือ แบบลำดับและแบบสุ่ม - เหมาะกับงานธุรกรรมออนไลน์ ด้วยเช่นเดียวกัน - สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บดรรชนีที่ใช้อ้างอิงถึงตำแหน่งของข้อมูล - การเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลจะซับซ้อน - การทำงานช้ากว่าแบบสุ่ม และมีค่าใช้จ่ายสูง จานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM 3.ข้อดีของการจัดการข้อมูลด้วยแฟ้มข้อมูล 3.1 การประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการแยกข้อมูลไว้เป็นแฟ้มต่างๆ 3.2 ลงทุนต่ำในเบื้องต้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถมาก ก็สามารถทำ การประมวลผลข้อมูลได้ 3.3 สามารถออกแบบแฟ้มข้อมูลและทำการพัฒนาได้ง่าย เนื่องจากมีขั้นตอนไม่สลับซับซ้อน มากนัก
32 บทที่ 3 พัฒนาการและความเป็นมาของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยี เทคโนโลยี(Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech = Art ในภาษาอังกฤษ และ Logos = A study of ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยีจึงหมายถึง A study of art ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยีหมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ นักการศึกษาหลายท่านได้ให้นิยาม ความหมายของเทคโนโลยีไว้ต่างๆ กันดังนี้ บราวน์ (Brown.1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิด ผลประโยชน์ เดล (Dale.1969 : 610) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยีเป็นผลรวมของการ ทดลอง เครื่องมือและกระบวนการซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ทดลองและได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว กัลเบรท (Galbraith.1967 : 12) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นกระบวนการของการนำวิธีการทาง วิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ มาใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลการปฏิบัติ กูด (Good.1973 : 592) กล่าวว่า เทคโนโลยีสามารถจำแนกได้ถึง 5 ความหมาย คือ 1. ระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค 2. การนำเอาระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้แก้ปัญหา 3. การจัดระบบข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ที่เชื่อถือได้เพื่อจุดประสงค์ทางการปฏิบัติ และรวมถึงหลักการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลทางด้านการเรียนการสอนด้วย 4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมศิลป์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในโรงงาน 5. การนำความรู้ด้านตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อก่อให้เกิด ความเจริญทางด้านวัตถุ ไฮนิคและคณะ (Heinich and others. 1989 : 443-444) กล่าวว่า ลักษณะของเทคโนโลยี สามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) โดยไฮนิคและคณะได้นำเอาความหมาย ของกัลเบรทที่ว่า เทคโนโลยีเป็นกระบวนการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้อื่นๆ มาใช้ อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ 2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นผล มาจาก กระบวนการทางเทคโนโลยี 3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมระหว่างกระบวนการและผลผลิต (process and product) ซึ่ง ใช้ใน 2 ลักษณะ คือ
33 3.1) ในลักษณะรวมของกระบวนการและผลผลิต เช่น ฟิล์มภาพยนตร์กับเครื่องฉาย ภาพยนตร์ 3.2) ในลักษณะของกระบวนการ ซึ่งไม่สามารถแยกออกมาจากผลผลิตได้เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539 : 68) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง 1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์ 3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ 4. กรรมวิธีและวิธีด าเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 5. ศิลปะและทักษะในการจ าแนกและรวบรวมวัสดุ สรุปได้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ ความรู้ เทคนิควิธีการ กระบวนการ ระเบียบวิธีตลอดจนผลผลิตทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการมา ประยุกต์ใช้กับระบบงาน เพื่อช่วยแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้สูงขึ้น จากความหมายของเทคโนโลยีดังกล่าว การที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในสาขา ใดสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยใน 3 ประการ คือ (ก่อ สวัสดิพาณิชย์. 2517 : 84) 1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมาย ได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว 2. ผลผลิต (productivity) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่ จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด 3. ประหยัด (economy) เป็นการประหยัดทั้งเวลา และแรงงานในการทำงานเพื่อการลงทุน น้อย แต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป การนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านใด สามารถเรียกชื่อเทคโนโลยีทางด้าน นั้นๆ ไปตามสาขาที่ใช้เช่น - เทคโนโลยีการเกษตร : การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิตทางการ เกษตร - เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง : การคิดค้นเกี่ยวกับยานพาหนะ การเดินทางการขนส่ง - เทคโนโลยีการแพทย์: การคิดค้นการตรวจรักษาโรค การผลิตยาและเครื่องมือทางการ แพทย์ - เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน : การประดิษฐ์เสื้อผ้า เครื่องใช้ในที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อำนวยความ สะดวก - เทคโนโลยีการสงคราม : อาวุธนิวเคลียร์ - เทคโนโลยีการสื่อสาร : การเก็บรวบรวมการค้นหา การส่งข้อมูลทั้งทางโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุคอมพิวเตอร์
34 - เทคโนโลยีการศึกษา : วิธีการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิธีการให้การศึกษา สื่อการศึกษา และครุภัณฑ์ทางการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา)หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการน าวิธีการมาปรับปรุง ประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ AECT (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการ บูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การ คิดวิธีการนำไปใช้การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวล ของมนุษย์ คาร์เตอร์ วีกูด (Carter V.Good : 1973) ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” หมายถึงการ นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดย เน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนมากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้ เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการ สอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง กาเย่และบริกส์(Gagne and Briggs. 1979 : 20) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามา จากการออกแบบการเรียนการสอนตั้งแต่ 1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องการเรียนรู้ดังจะเห็นได้จาก ผลการวิจัยทางการศึกษาและทางการทหาร การผลิตสื่อเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น บทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่งของคราวน์เตอร์(Crownder : 1959) เครื่องสอนของเพรสซี่ (Pressey : 1950) และบริกส์(Briggs : 1960) ตลอดจนเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของ บี.เอฟ. สกิน เนอร์(Skinner : 1968) ตลอดจนทฤษฎีการเรียนรู้อื่นๆ 3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพเช่น การใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ เพื่อการ เรียนการสอน เช่น โทรทัศน์วีดิทัศน์ภาพยนตร์ฯลฯ รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย กาเย่และบริกส์ ได้กล่าวย้ำว่า ความรู้ทั้งมวลเกี่ยวกับการใช้วิธีการออกแบบระบบการสอนนี้ ก็คือเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง หากพิจารณาจากความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาจะเห็นว่า เทคโนโลยีการศึกษาสามารถแยกพิจารณาได้ใน 2 ทัศนะด้วยกัน คือ 1. เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ (Media or Physical Science Concept)
35 2. เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Science Concept) สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิต ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมี ประสิทธิภาพ องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุง ประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ แนวคิดที่ 1 เน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์) เป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร(Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ เกิดจากการฟังด้วยหู และชมด้วยตา สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software) แนวคิดที่ 2 เน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทาง จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการ ออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) พัฒนาการของสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้คือ ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700 การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การ จัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900 (พ.ศ.2243-พ.ศ.2443) ก่อนปี ค.ศ. 1800 การเรียนการสอนในอเมริกาและยุโรป ไม่ว่าจะเป็นระดับประถมหรือมัธยมศึกษาต่างก็ใช้วิธีการ คล้ายคลึงกัน คือ ครูจะสอนโดยการเรียกนักเรียนทีละคนหรือหลายคนมาที่โต๊ะของเขาเพื่อให้นักเรียน อ่านออกเสียงหรือท่องจำสิ่งต่าง ๆ ที่ครูกำหนดให้ วิธีการอื่น ๆ เช่น การพัฒนาความเข้าใจโดยการ อภิปรายกลุ่มนั้น ไม่มีครูคนใดรู้จัก ดังนั้นเมื่อสอนเกี่ยวกับการเขียน ครูจะเขียนเป็นแบบแล้วให้
36 นักเรียนลอกตามการสอนส่วนมากจะเป็นไปอย่างผิวเผินและไม่มีประโยชน์ ช่วงเวลาการเรียนก็สั้น (ประมาณ 16 เดือน) ดังนั้นจึงมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ออกจากโรงเรียนไป โดยที่อ่านออกเขียนได้ เพียงเล็กน้อยและนอกจากนั้น ครูเองยังไม่กล้าที่จะจูงใจนักเรียนและควบคุมวินัยในชั้นด้วย ในต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ความขาดแคลนสถานที่เรียนเริ่ม เป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น ปัญหาเรื่องประชากรอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับ ประชาชนที่ยากจนในอเมริกาในยุคนั้น ประกอบกับในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขยายงานด้าน อุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานและบ้านเมืองมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ความ ต้องการทางการศึกษาก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่วิธีการสอนแบบเก่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึง ได้เกิดระบบแลนคาสเตอร์ขึ้นมาในอเมริกา เพื่อจัดการศึกษาแบบมวลชน (Mass Education) ซึ่ง เสนอวิธีการศึกษาแบบประหยัด เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)ใน ค.ศ. 1900 William James ได้เขียนหนังสือชื่อ Talks to Teacher on Psychology อันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการสอนนั่นก็หมายความว่า ได้เริ่มมีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้า มาใช้ในการสอนกันแล้ว และในปีเดียวกันนี้ John Dewey (1859-1952) ได้นำวิธีการทาง วิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอน และทำให้ห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทดลองด้วย รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือ ค.ศ. 1900 Edward I. Thorndike (1874-1949) ได้เสนอวิชาการวัดผลการศึกษาเป็นวิชาหนึ่งใน มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและต่อมาได้กลายเป็นวิธีการวิจัยปัญหาต่าง ๆ ทางการสอนเป็นวิธีแรก ดังนั้น ธอร์นไดค์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการวัดผลการศึกษา G. Stanley Hall (1846-1924) ได้เขียนหนังสือชื่อ Adolescence (1904) นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ Alfred Binet (1857-1911) และ Theodore Simon ได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ A Method of Measuring The Intelligence of Yound Children ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่แท้และทฤษฎีการเรียนรู้ โดยเฉพาะได้เริ่มนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการสอนในช่วงนี้ ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ปรากฏว่า ทฤษฎีทางการสอนของธอร์นไดค์ และดิ้วอี้ นั้นไม่ สามารถจะได้ด้วยกันได้ เนื่องจากดิวอี้เน้นในเรื่องของการปฏิบัติ ซึ่งอาศัยพื้นฐานการสังเกตและการ ตั้งสมมติฐานแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถึงแม้เขาจะย้ำให้มีการสอบถาม การทดสอบและการวิจารณ์ อยู่บ้างก็ตามที ในทางตรงกันข้าม ธอร์นไดค์ กลับใช้การสังเกตและการสืบสวนเป็นหลักการสำคัญ ดังนั้นทฤษฎีของธอร์นไดค์จึงถูกนักการศึกษากลุ่มของดิวอี้ซึ่งเชื่อหลักเสรีประชาธิปไตยของการเรียน ด้วยการปฏิบัติคัดค้าน ถึงแม้วิธีการของดิวอี้จะยังไม่ได้รับการทดสอบก็ตาม แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต เทคโนโลยีในปัจจุบันมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีวัสดุ อุปกรณ์ และ เทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีขีดจำกัดในทุกวงการ เช่นเดียวกับวงการศึกษาที่ นำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ รวมถึงใช้ใน การกำหนดแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีเพื่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตว่า ควรมีการปรับปรุง
37 เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างได้ผล นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงควรทราบถึง พัฒนาการของเทคโนโลยีและแนวโน้มในอนาคตในการเรียนการสอน ดังนี้ – พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน – การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน – ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา – พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง : Learning Object – Grid Computing – ความเป็นจริงเสมือนและสภาพแวดล้อมเชิงเสมือน – การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร – บทสรุป : วงการศึกษาและความเปลี่ยนแปลงในอนาคต – คอมพิวเตอร์ : อุปกรณ์หลักในการเรียนการสอน – ไอซีทีและการบูรณาการการเรียนการสอน – การเรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงเสมือน – การเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน – สถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน วงการต่างๆรวมถึงวงการศึกษาล้วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยี สมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการปรับการดำเนินงานให้ทันสมัยสมกับยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อนำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียน ปัจจุบันจึงเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนา ระบบและเทคนิคระดับสูงในการผลิตและใช้งาน เทคโนโลยีที่พัฒนาและเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานทั้งในปัจจุบันและนับเนื่องถึง อนาคตอันใกล้จะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อใช้ในวงการต่างๆ สำหรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ ในวงการศึกษาและการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึง ได้แก่ – การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน – ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา – พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง : Learning Object – Grid Computing – ความเป็นจริงเสมือน – การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร
38 การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน การบรรจบกันของเทคโนโลยี (technological convergence) เป็นการรวมตัวกันของ เทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีรูปแบบเดียวที่สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ในหนึ่งเดียว ตัวอย่างเช่น - โทรศัพท์เซลลูลาร์เพียงเครื่องเดียว สามารถใช้ทั้งการติดต่อสื่อสารทั้งเสียง ข้อความ และ ภาพ มีนาฬิกาบอกเวลา จับเวลา ตั้งปลุก มีสมุดนัดหมาย – คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือที่นอกจากใช้ในการประมวลผลและจัดเก็บ ข้อมูลแล้ว ยังใช้ในการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ค้นคว้าหาข้อมูล – อุปกรณ์สื่อสารไร้สายขนาดเล็กที่เป็นทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขนาดเล็ก ลักษณะPDA – ปากกาที่นอกจากใช้เขียนแล้วยังสามารถบันทึกเสียง เล่นMP3 และเก็บบันทึกข้อมูลได้ใน ด้ามเดียว การบรรจบกันของเทคโนโลยีในเรื่องของสื่อการสอนจะช่วยเอื้อประโยชน์ใน สถาบันการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างมากในเรื่องของการจัดหาทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณเพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์มากมายหลายอย่างเพื่อ ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา การสื่อสารบรอดแบนด์ “บรอดแบนด์” (broadband) เป็นการเพิ่มสมรรถนะการสื่อสารในการส่งและรับข้อมูล สารสนเทศที่มีปริมาณมาก เช่น ภาพยนตร์ การประชุมทางไกล ๚ ให้ส่งผ่านได้โดยไม่มีการติดขัดใน การรับส่งสัญญาซึ่งส่งได้ตั้งแต่ 1.544-55 เมกะบิตต่อวินาที แนวโน้มในอนาคตของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมี การวางแผนในการใช้การสื่อสารบรอดแบนด์มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ในการ เรียนการสอนไม่จำกัดเฉพาะเพียงข้อความตัวอักขระและภาพนิ่งเหมือนแต่เดิมอีกต่อไป แต่จะมีการ ถ่ายทอดความรู้และสื่อสารข้อมูลด้วยการเชื่อมต่อทั้งแบบเครือข่ายเฉพะที่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รอบโลก
39 การสื่อสารไร้สาย สถาบันการศึกษาที่ใช้เครือข่ายไร้สายทั้งการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย Wi-fi และ WiMAX หรือการใช้ภายนอกห้องเรียนด้วย Bluetooth จะมีความคล่องตัวในการสื่อสารเนื่องจากสามารถ เอื้ออำนวยประโยชน์ในการเรียนการสอนได้อย่างมาก - อิสระในการใช้งาน การใช้อุปกรณ์ไร้สายแบบเคลื่อนที่ (mobile) ทำให้ผู้สอนเป็นอิสระไม่ จำเป็นต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานตลอดเวลา การทำงานโดยใช้ระบบเคลื่อนที่จะช่วยให้ผู้สอนมีเวลาที่ ยืดหยุ่นและบริหารเวลาได้ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงาน - ประหยัดค่าใช้จ่าย สถาบันการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายจะประหยัดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ในการเดินสายในอาคารและการดูแลรักษา และยังเหมาะสมกับบริเวณที่ยากต่อการวางสายเนื่องจาก ไม่จำเป็นต้องมีตัวโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเฉพาะที่จริงๆ เพียงแต่ต้องมีโน๊ตบุ๊คที่มีเสาอากาศไร้สาย หรือการ์ดไร้สาย และจุดเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายเท่านั้น - เพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยการติดต่อสื่อสารข้ามพื้นที่อัตโนมัติทำให้ผู้สอน สามารถเพิ่มเวลาทำงาน เช่น การรับส่งอีเมลขณะนั่งในรถยนต์โดยไม่ต้องห่วงปัญหาเรื่องความเร็วอีก ต่อไป เครือข่ายเฉพาะที่ไร้สายจะช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าสู่ข้อมูลของสถาบันการศึกษาได้จากทุก แห่งทั้งในและนอกสถานศึกษา และช่วยใหเประหยัดเงินได้มากกว่าเทคโนโลยีแบบเดิมป็นอย่างมาก ด้วยประสิทธิภาพการใช้งานดังกล่าวจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าแนวโน้มในอนาคตของ สถาบันการศึกษาทั่วทุกแห่งจะจัดงบประมาณในการสื่อสารโดยใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อ เชื่อต่อคอมพิวเตอร์ทั้งของผู้สอนและผู้เรียนเข้ากับเครื่องบริการและการสื่อสารระหว่างกัน โดยการ สร้างเครือข่าย Wi-fi และ WiMAX เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายให้ครอบคลุมบริเวณพื้นที่อาคาร เรียนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน หากเป็นการสื่อสารไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ร่วมอื่นๆภายในบริเวณในห้องเรียนจะเป็นการใช้เทคโนโลยีมาตรฐาน Bluetooth การใช้เทคโนโลยีBluetoothในห้องเรียนจะช่วยให้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดอยู่ เพียงระยะของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ดังแต่ก่อน แนวโน้มของการใช้เครือข่ายไร้สายใน สถาบันกาศึกษาจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และ PDA ในการ เรียนการสอนแทนที่คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะแต่เดิม 3. บทบาทของครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ และยุคดิจิตอล บทบาทของครูใน “ยุคไอที” IT ซึ่งมาจากคำว่า Information Technology หรือที่ภาษาไทยใช้คำว่า “เทคโนโลยี สารสนเทศ” คำๆนี้ถูกใช้บ่อยขึ้น เช่นเดียวกับคำว่า “โลกาภิวัฒน์” หรือ “โลกไร้พรมแดน” (Globalization) ไอทีหมายถึงเป็นผลรวมของเทคโนโลยี 2 ประเภท คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เเก่ ตัว คอมพิวเตอร์ หน่วยความจำ ชิพ เครื่องพิมพ์ สายสัญญาณ โมเด็ม โปรเเกรม ฯลฯ และเทคโนโลยี โทรคมนาคม หรือที่เรียกว่าการสื่อสารทางไกล เช่น โทรศัพท์ โทรสาร ไมโครเวฟ สายใยเเก้วนำเเสง
40 ดาวเทียม สื่อสาร เป็นต้น มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภท ได้อย่างกว้างขวาง เเละหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นตัวอย่างของการนำไอทีมาใช้งานที่ชัดเจนที่สุด ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการทำงานของ คนเราทำให้เกิดสังคมยุคสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี โทรคมนาคมในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ ดังเห็นได้จากบริบทของสำนักงาน อัตโนมัติ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารทาง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตและเว็บบริบทต่าง ๆ การศึกษาของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า “ยุคไอที” ซึ่งยุคนี้เป็นยุคแห่งการ เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยมาใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับการดำรงชีวิตในปัจจุบันนี้ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย เพื่อให้ทันโลกทัน เหตุการณ์ ข้อมูลข่าวสารแต่เดิมนั้นจะอยู่ในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็จะถูกแปลงเป็นสัญญาณ ดิจิตอล เพื่อสะดวกในการรับ-ส่ง และประมวลผลข้อมูล มนุษย์ในยุคนี้จึงดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ดิจิตอล ผู้ไดไม่เรียนรู้ ไม่ยอมรับที่จะใช้ ก็จะเสียเปรียบผู้อื่นๆ การศึกษาจำเป็นที่ต้องพัฒนาต่อไปตามยุคสมัย ทำให้ครูยุคปัจจุบันต้อง มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีคุณธรรมให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่นใน ปัจจุบัน ในสถานศึกษาแทบทุกแห่ง ครูหรืออาจารย์ได้ให้นักเรียน นักศึกษาส่งรายงานหรือการบ้าน ผ่านทาง website หรือมีการอัพเดตข้อมูลข่าวสารการศึกษาผ่านทาง social network หรือ Facebook ซึ่งกำลังได้รับความนิยม และ การเรียนแบบ e-learning หรือการเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถทำให้ เกิดการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุก สถานที่ ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน หรือในโรงเรียนเท่านั้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมความสามารถ ในการ เรียนรู้เป็นรายบุคคลและการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตอบสนองคุณลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่ เรียน และพัฒนาทักษะการคิด สืบค้นของผู้เรียน การเรียนการสอน E-learning เป็นรูปแบบหนึ่งของ การจัดการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบันที่ครู ควรได้ศึกษาไว้ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นมากนัก ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการแต่ในอนาคตจะมีความสำคัญและจำเป็นมาก การเรียนรู้และศึกษาไว้ก่อน จะทำให้ครูเป็นคนที่ “ไม่ตกยุค” นักเรียนของเราก็ไม่ควรที่จะเป็นคน “ตกยุค” เขาควรที่จะได้รับการ จัดการศึกษาในทุกรูปแบบ เพื่อนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้าของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ครูเป็น ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกในยุคข้อมูล ข่าวสาร เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคม ให้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จะเห็นว่านโยบายการศึกษาของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยได้ให้ ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอด ครูที่ดี จำเป็นที่จะต้องมีความตั้งใจพัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีคุณภาพ มีความสามารถ เหมาะกับเป็นครูยุคใหม่ หรือยุคไอที ครูยุคไอที ต้องตามทันกับสิ่งใหม่ๆที่มีมาตลอดไม่เว้นแต่ละวัน การเป็นครูอาจารย์ซึ่งไม่ใช่ว่า เก่งแต่เรื่องการสอนอย่างเดียว แต่ครูต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่นมหาวิทยาลัย
41 ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดให้นักศึกษา คณะครุศาสตร์ ทุกคนเรียน วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครู เป็นการสนองความต้องการของสังคมยุคใหม่ ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด ครูจึงมีบทบาทอย่างมาก ที่จะต้อง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน และรวมทั้งเป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถคอยชี้แนะ ดูแล และ ป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้เรียนในเรื่องที่ไม่เหมาะไม่ควร รวมทั้งนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ใหม่ๆที่ ถูกต้องเหมาะสม เพราะการศึกษาหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตของผู้เรียนนั้น มีทั้งข้อมูลที่เป็นความรู้ที่ดี และไม่ดี ครูจึงต้องควบคุมดูแลและคอยชี้แนะ กระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องนำเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาจัดการ ด้วยเหตุว่าข้อมูลข่าวสารที่จะนำเข้ามาสู่ห้องเรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น ข้อมูล เกี่ยวกับสารสนเทศกระบวนการสอนของครูและวิธีการศึกษาของนักเรียนก็ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยปรับรูปแบบของความรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียน เมื่อกล่าวถึงการเรียนในชั้นเรียนแล้ว ทุกคนมักนึกภาพห้องเรียนที่มีคุณครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้ว บ่นอะไรไปเรื่อยๆ นักเรียนหลังห้องก็หลับบ้าง คุยกันบ้าง มีนักเรียนตั้งใจเรียนกันอยู่หน้าห้องไม่กี่คน ซึ่งบรรยากาศอย่างนี้ไม่ใช่บรรยากาศในการเรียนรู้เลย เมื่อผู้เรียนรู้สึกไม่สนุกกับการเรียน ผู้สอนรู้สึก เบื่อหน่ายกับการสอนได้แต่นับเวลาให้ผ่านไปแต่ละชั่วโมงแล้วจะให้การเรียนบรรลุผลคงเป็นไปไม่ได้ บทบาทของครูในยุคไอทีนั้นจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์และส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้สื่อเพื่อ การศึกษาอย่างเป็นกระบวนการ ได้รับความรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างแท้จริง โดยผู้เรียน จะต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ขององค์ความรู้กับการค้นคว้า เข้าใจและรู้จักเลือกสรรข้อมูลที่มี อยู่อย่างมากมาย นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งในปัจจุบันนานาประเทศต่างให้ความสำคัญ ของการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงต้องเอาใจใส่ติดตามเป็นประจำ มิฉะนั้นจะกลายเป็นคน ล้าหลัง นอกจากนั้นครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทั้งนอกและในโรงเรียน ครูจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ เพื่อที่จะสามารถ บรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษา สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้ เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูล ในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมี สถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, e-Library, e-Classroom, eLearning หรือ It-campus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับ อ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย
42 บทบาทและหน้าที่ของครูยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตน ได้เต็มศักยภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วย 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้ช่วย คือ ครูต้องฝึกนิสัยให้ ผู้เรียนรักการเรียนรู้ รักการค้นคว้า และการปรับเปลี่ยนความคิดได้ตามเหตุและผล 3. ครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสารสนเทศและการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่าง เหมาะสม 4. ครูต้องสร้างให้ผู้เรียนรู้อย่างเท่าทัน กับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. ครูต้องสร้างสมรรถนะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน คือ ความสามารถด้านไอทีที่จำเป็นให้มี ความรู้ ทักษะ ความคิด การสื่อสาร เพื่อให้เขาสามารถอยู่ได้ในสภาวะการดำรงชีวิตและการทำงาน ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม 6. พัฒนาผู้เรียนให้พร้อมที่จะรับบทบาทใหม่ ๆ ในสังคมโลกาภิวัตน์ ให้เตรียมตนเอง ตลอดเวลา ไม่ใช่ถึงเวลาค่อยมาเตรียมการ 7. พัฒนาให้ผู้เรียนรุ่นใหม่ เน้น สมรรถนะที่หลากหลาย มากกว่ามีความรู้ ให้ปรับแนวคิดการ เรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่เรียนเพื่อให้จบหลักสูตร ต้องพัฒนาสู่การเรียนเพื่อสะสมความรู้และประสบการณ์ 8. พัฒนาผู้เรียน สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่มากกว่าภาษาไทย – อังกฤษและให้มีทักษะด้านไอ ที เพื่อให้เขาสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตนเองด้านศักยภาพ แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก แต่การอบรมสั่งสอน ของครูในด้านคุณธรรม จริยธรรม จะต้องมีควบคู่กันไปตลอดเวลาในการช่วยเตรียมให้นักเรียนมีความ พร้อมในการ ปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมกับลักษณะที่เป็นไปในสังคมแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป ครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะความรู้และเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงเร็วและล้าสมัยเร็วเช่นกัน ครูจะต้องฝึกให้นักเรียน รักการเรียนรู้ รักการอ่าน ใฝ่คุณธรรม จริยธรรม มีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นมากกว่า ถ้าสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางด้าน ไอที ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรมได้แล้วก็จะถือว่า ครูยุคเทคโนโลยีสารสนเทศได้ประสบ ผลสำเร็จในการพัฒนานักเรียนแล้ว บทบาทในยุคครูดิจิตอล การเป็นครูในยุคดิจิตอล ในยุคดิจิตอล เนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มีมากล้น และได้รับการแทนด้วยดิจิตอล มีอยู่ รอบๆตัว เป็น Cloud Knowledge ผู้เรียนมีขีดความสามารถเข้าถึงเนื้อหา Accessible ได้ง่าย และเร็ว ทำให้มีขีดความสามารถในการมองเห็นเนื้อหา Visibility ได้ประหนึ่งเสมือนจดจำไว้ในสมอง ครูยุคดิจิตอลจึงไม่เน้นการสอนตามเนื้อหาในหลักสูตร แต่จะเน้นการนำเนื้อหามาประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดทางความคิด และต้องจัดการเรียนรู้ทักษะและความรู้ที่จําเป็นให้นักเรียน
43 ครูยุคดิจิตอล ต้องเน้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้ได้เอง ครูจะไม่ใช้วิธี Transfer knowledge แต่จะให้นักเรียน สามารถ Infer Knowledge หรือสังเคราะห์ความรู้ จากข้อมูลข่าวสารที่แสวงหามา ได้ ครูยุคดิจิตอลต้องเป็นนักจัดการที่ดี จัดการให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ (Action Learning) และต้องเปลี่ยนการสอบเป็นการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง ครูยุคดิจิตอลต้องมีเทคนิคในการทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุก Gamification in learning รู้วิธีการใช้และประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เน้นให้ผู้เรียนมีความสุขกับการทำกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้ มีแรงจูงใจให้คิด สร้างสรรค์ นำเสนอ ความรู้อย่างสนุกสนาน การเรียนการสอนในยุคดิจิตอล ในอดีตการเรียนการสอนจะยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยมีครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาบทเรียน และผู้เรียนมีหน้าที่เรียนรู้ตามที่ครูบอก จะไม่เน้นที่กระบวนการคิดให้เกิดกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ไม่เป็น ยุคต่อมาระบบการศึกษาเปลี่ยนไปเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Child center) โดยที่ครูมี บทบาทและนำแนวทางการเรียนในบทเรียน แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องที่ครูผู้สอน มักจะตีความหมาย ของการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผิดๆ โดยให้ผู้เรียนหาวิธีการเรียนเอง ซึ่งผู้เรียนไม่ได้ถูกฝึกมาให้ เกิดกระบวนการคิดตั้งแต่แรก ไม่สามารถเรียนรู้โดยวิธีนี้ได้ ดังนั้นถ้าครูไม่เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา แก่ผู้เรียน หรือชี้แนะแนวทางเลย ผู้เรียนก็จะไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ใดๆ ทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้วงการการศึกษามีจุดมุ่งหมายเน้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มี และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เทคโนโลยีจึงมีบทบาทที่สำคัญในการ ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการให้โรงเรียนทุกโรงจัดการศึกษาโดยนำ เทคโนโลยีมาใช้กับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระ เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการวิชากับสื่อเลยก็ว่า ได้ การศึกษาในยุคนี้จึงหนีไม่พ้นกับคำเปรียบที่ว่า “การศึกษายุคดิจิตอล” นับตั้งแต่มีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกจะถูกโยงให้ข้อง เกี่ยวกับมันอย่าง เลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีขอบเขตจำกัด แล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนที่มี ประสิทธิภาพไม่น้อย จึงไม่ แปลกที่ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว บทบาทของครูในยุคดิจิตอล ข้อเสนอของ “วิจารณ์ พานิช”ครูต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชา เพื่อให้ได้ความรู้ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ วิชาแกนและแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่21 - ทักษะชีวิตและการทำงาน - ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม - ทักษะทางด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
44 บทบาทครู ในศตวรรษที่21 ผู้ต้องสอนความรู้คู่กับ 2 สิ่งนี้คือ 1. แรงบันดาลใจ(Inspiration) 2. จิตนาการ (Irnagination) การศึกษาสำหรับคนยุคใหม่ที่มีคุณภาพต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง บทบาทของครูต้องเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง 1. ต้องเปลี่ยนจากจุดเน้นการสอนไปเป็นการเรียน (ทั้งศิษย์และตนเอง) 2. ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ (สอนน้อย เรียนมาก) 3. ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน ไปเป็นครูฝึกหรือผู้อำนวยการสะดวก 4. ต้องเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ด้วยการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง 4. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน การสอนแบบโครงงานเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการจัด การศึกษาตามมาตรา 22 และ มาตรา 23 และใช้พัฒนาวิธีการเรียนรู้ทางปัญญา (Intellectual strategy) เพื่อเอื้อหนุนผู้เรียนให้เข้าถึงตัวความรู้ (Body of Knowledge) และความชำนาญทางค้าน ทักษะในสิ่งที่เรียน(Body of Process) เพราะเป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รียนรู้ด้วยตนเอง สามารถ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมีกระบวนการทำงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาให้ คำแนะนำ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดการสอนที่จัดประสบการณ์ในการ ปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มี ประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง(Higher Order Thinking) และการประเมินตนเอง ประเภทของโครงงาน ประเภทของโครงงาน แบ่งตามลักษณะของกิจกรรมได้ 4 ประเภท คือ 1. โครงงานประเภทสำรวจ (Survey Research Project) 2. โครงงานประเภททดลอง (Experimental Research Project) 3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Development Research Project) 4. โครงงานประเภททฤษฎี (Theoretical Research Project)