The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คณะกรรมการลูกจ้าง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คณะกรรมการลูกจ้าง

คณะกรรมการลูกจ้าง

บทท่ี 4

การดำ� เนินงานของ

คณะกรรมการลกู จา้ ง

แนวทางการดำ� เนินงานของคณะกรรมการลูกจ้าง
คณะกรรมการลูกจ้าง เม่ือได้รับการเลือกต้ังหรือแต่งตั้งแล้วจะด�ำรง

ต�ำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี การที่จะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอาจสรุปเป็น
แนวทางการดำ� เนนิ งานไดด้ งั น้ี

(1) ตั้งประธานกรรมการลูกจ้างข้ึนเป็นการภายในโดยเลือกกันเอง
ระหว่างกรรมการเพ่ือท�ำหน้าที่ประสานงานหรือเป็นหลักของคณะกรรมการ
ลกู จา้ งในการดำ� เนนิ การตา่ งๆ และเปน็ ผทู้ ตี่ ดิ ตอ่ ประสานงานกบั นายจา้ งและ
ลกู จา้ งอื่นๆ

(2) แต่งต้ังเลขานุการของคณะกรรมการลูกจ้าง เพื่อท�ำหน้าที่ด้าน
ธุรการ การจดรายงานการประชุม รวบรวมความเห็นของกรรมการลูกจ้าง
แลว้ จดั พมิ พเ์ ปน็ วาระการประชมุ เสนอตอ่ นายจา้ งเพอ่ื พจิ ารณาลว่ งหนา้ กอ่ น
การประชุมกับคณะกรรมการลกู จ้าง

43
คณะกรรมการลูกจ้าง

(3) คณะกรรมการลูกจ้างควรจะก�ำหนดเวลาพบปะกันเป็นคร้ังคราว
ตามสมควร เพื่อหารือปัญหาต่างๆ ท่ีควรแก้ไข หรือหนทางที่จะสร้างความ
สมั พนั ธร์ ะหวา่ งนายจา้ งกบั ลกู จา้ ง ตลอดจนอำ� นวยความสะดวกในการพบปะ
หารอื กับฝ่ายนายจ้างเสมอ

(4) คณะกรรมการลกู จา้ ง เมอ่ื ไดร้ บั การแตง่ ตงั้ หรอื เลอื กตง้ั ขน้ึ มาแลว้
ทุกคนควรศึกษาถึงหน้าที่และการปฏิบัติงานของคณะกรรมการลูกจ้างให้
เขา้ ใจโดยแจง้ ชดั ตามเจตนารมณข์ องกฎหมาย ทงั้ นอ้ี าจหารอื กบั นายจา้ งเพอื่
ขออนุญาตให้มีการอบรมให้รู้ถึงหน้าท่ีความรับผิดชอบท่ีถูกต้องของคณะ
กรรมการลูกจ้าง โดยประสานหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานในท้องทีท่ ส่ี ถานประกอบกจิ การต้ังอยู่

กรรมการลูกจ้างทุกคนควรปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับของลูกจ้างและ
นายจ้าง ไม่ถือโอกาสน�ำเอาต�ำแหน่งกรรมการลูกจ้างและความไว้วางใจท่ี
ลูกจ้างและนายจ้างมอบให้ไปอวดอ้างเพ่ือด�ำเนินการนอกเหนือกฎระเบียบ
ข้อบังคับของสถานประกอบกิจการนน้ั

(5) ถา้ นายจา้ งไมจ่ ดั ใหม้ กี ารประชมุ รว่ มกบั คณะกรรมการลกู จา้ งอยา่ ง
น้อยสามเดือนต่อหนึ่งคร้ังตามกฎหมายก�ำหนด กรรมการลูกจ้างควรติดต่อ
สอบถามนายจ้างขอให้เปิดการประชุมโดยเร็ว ถ้านายจ้างยังเพิกเฉยอยู่ก็ให้
กรรมการลูกจา้ งรีบแจง้ ใหพ้ นักงานประนอมข้อพพิ าทแรงงานทราบ

ท้ังสองฝ่ายควรวางแนวทางท่ีจะปฏิบัติต่อกันในเร่ืองของการประชุม
หารอื ควรกำ� หนดแบบแผนในการประชมุ ในรายละเอยี ดใหแ้ จง้ ชดั ทกุ ขน้ั ตอน

(6) ขอบเขตของเร่ืองที่ควรจะน�ำเข้าสู่การร่วมปรึกษาหารือระหว่าง

44
คณะกรรมการลูกจา้ ง

ฝ่ายนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างนอกเหนือจากที่กฎหมายก�ำหนด และ
แนวทางในการน�ำผลจากการปรกึ ษาหารือไปปฏิบัติ

6.1 เรอ่ื งท่จี ะนำ� เข้าหารือ (นอกเหนือจากทีก่ ฎหมายก�ำหนด)
๏ ประสทิ ธิภาพการผลติ
๏ ความปลอดภัยในการทำ� งาน
๏ การจัดทำ� ความสะอาดในสถานประกอบกิจการ
๏ การท�ำกจิ กรรมท่กี ่อประโยชน์แก่ชุมชนตามโอกาส
๏ การพิจารณาความดี ความชอบ และการลงโทษ
๏ การชะลอการเลกิ จา้ งและการโยกยา้ ยตำ� แหนง่ การแตง่ ตง้ั บคุ คล
๏ การจัดสรรผลประโยชน์ท่ีพึงได้
๏ การด�ำเนนิ การสหกรณ์ ฌาปนกิจ และรา้ นคา้
๏ เรือ่ งทีจ่ ะยน่ื ข้อเรียกรอ้ ง
6.2 แนวทางในการนำ� ผลการหารอื ไปปฏิบตั ิ
๏ จัดท�ำบันทึกสรุปการร่วมปรึกษาหารือเป็นลายลักษณ์อักษร
ระหว่างฝา่ ยบรหิ ารและกรรมการลกู จา้ ง
๏ ประชาสมั พันธผ์ ลสรปุ ใหท้ ราบท่ัวกนั
๏ ทัง้ สองฝ่ายน�ำไปปฏิบัติ
๏ กรณที ลี่ กู จา้ งเสยี ประโยชนใ์ หด้ ำ� เนนิ การตามขนั้ ตอนของกฎหมาย
๏ ก�ำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการ และกรรมการ
ลกู จา้ งในการปฏิบัตติ ามข้อปรกึ ษาหารือร่วม
๏ ท้ังสองฝ่ายควรติดตามการปฏิบัติตามข้อปรึกษาหารือร่วมและ
แกไ้ ขให้เหมาะสมกบั สภาวการณ์

45
คณะกรรมการลกู จ้าง

(7) ให้ความส�ำคัญกับการประชาสัมพันธ์ กล่าวคือลูกจ้างและฝ่าย
จัดการทุกคนในสถานประกอบกิจการนั้น ควรมีสิทธิรับรู้ผลของการประชุม
รวมทั้งมติในที่ประชุมระหว่างฝ่ายนายจ้างและคณะกรรมการลกู จ้าง

หลักการบริหารงานของคณะกรรมการลกู จ้าง

การบริหารงานของคณะกรรมการลูกจ้างจ�ำเป็นจะต้องพิจารณาจาก
ขอบเขตหน้าที่ท่ีกฎหมายก�ำหนดไว้ ประกอบกับสภาพความสัมพันธ์ภายใน
ระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างเป็นเกณฑ์ เพื่อให้การด�ำเนินการ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของทุกฝ่ายใน
สถานประกอบกจิ การนนั้ ๆ

ขอบเขตการดำ� เนินงานทีก่ ฎหมายรับรอง

คณะกรรมการลูกจ้างมีหน้าที่จะต้องร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างเพื่อ
พจิ ารณาข้อยตุ ริ ่วมกนั ในเรอื่ งต่างๆดงั นี้

ก. การจัดสวสั ดิการแกล่ ูกจ้าง
ข. ปรกึ ษาหารอื เพอื่ กำ� หนดขอ้ บงั คบั ในการทำ� งาน อนั จะเปน็ ประโยชน์
ตอ่ นายจา้ งและลกู จา้ ง
ค. พจิ ารณาค�ำรอ้ งทกุ ขข์ องลูกจ้าง
ง. หาทางปรองดองและระงับขอ้ ขัดแย้ง

46
คณะกรรมการลกู จ้าง

ก. การจดั สวัสดกิ ารแก่ลูกจ้าง
คณะกรรมการลูกจ้างควรใช้ดุลยพินิจว่าเหมาะสมหรือจ�ำเป็น
แค่ไหนอย่างไรท่ีจะเสนอขอสวัสดิการนั้นๆ กับนายจ้าง โดยต้องพิจารณา
ความเปน็ ไปไดแ้ ละกำ� ลงั ทรพั ยข์ องนายจา้ งประกอบดว้ ย ทง้ั นคี้ ณะกรรมการ
ลูกจ้างต้องค�ำนึงถึงจ�ำนวนลูกจ้างที่จะได้รับผลประโยชน์ว่ามากพอสมควร
และคุม้ กับรายจา่ ยของนายจ้างทต่ี ้องเพ่ิมขน้ึ เพ่อื จดั สวัสดกิ ารนัน้ หรอื ไม่
ข. ปรึกษาหารือเพ่ือก�ำหนดข้อบังคับในการท�ำงานอันจะเป็น
ประโยชน์ตอ่ นายจา้ งและลูกจ้าง
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างมีอ�ำนาจก�ำหนดข้อบังคับ
เกี่ยวกับการท�ำงานได้ฝ่ายเดียว คณะกรรมการลูกจ้างจึงเป็นเพียงผู้หยิบยก
กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงานบางข้อท่ีลูกจ้างส่วนใหญ่ ไม่
พอใจหรือมีปัญหาในทางปฏิบัติมาชี้แจงแถลงเหตุผลกันในท่ีประชุมกับฝ่าย
นายจา้ ง เพอ่ื ขอใหเ้ ปลย่ี นแปลงหรอื แกไ้ ขใหเ้ หมาะสมหรอื ใหเ้ กดิ ความคลอ่ ง
ตัวในทางปฏิบัติมากย่ิงข้ึน ซ่ึงจะเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายนายจ้างช้ีแจง
เหตุผล วัตถุประสงค์หรือความจ�ำเป็นท่ีจะต้องออกกฎระเบียบข้อนั้น ๆ ไว้
อันจะมีผลในทางเสรมิ สรา้ งแรงงานสัมพันธท์ ีด่ อี ีกสว่ นหนึ่งดว้ ย
การด�ำเนินการในข้อ ก. และ ข. เป็นเร่ืองที่มีผลกระทบโดยตรงกับ
ขอ้ ตกลงเกย่ี วกบั สภาพการจา้ ง ดงั นน้ั เมอ่ื ทปี่ ระชมุ รว่ มระหวา่ งฝา่ ยนายจา้ ง
กับคณะกรรมการลกู จา้ งมขี อ้ ยตุ ิแล้ว หาก
(1) ขอ้ ยตุ นิ นั้ เปน็ ประโยชนแ์ กน่ ายจา้ ง และลกู จา้ งมากกวา่ ขอ้ ตกลงฯ
เดมิ ท้งั สองอาจประกาศใช้ได้ โดยถอื วา่ เปน็ สญั ญาจา้ งแรงงานทเี่ ปน็ คณุ แก่

47
คณะกรรมการลูกจ้าง

ลูกจ้างยิ่งกว่ามีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติ
แรงงานสมั พันธ์ พ.ศ. 2518

(2) ขอ้ ยตุ นิ นั้ เปน็ คณุ แกน่ ายจา้ งฝา่ ยเดยี ว หรอื เปน็ ขอ้ ยตุ ทิ ลี่ ดิ รอนหรอื
ลดประโยชน์ที่ลูกจ้างเคยได้รับอยู่ลงจากเดิม ไม่มีผลในการบังคับใช้ แต่จะ
เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในโอกาสต่อไป เม่ือมี
การดำ� เนนิ การตามขนั้ ตอนของกฎหมายในเรอื่ งของการเปลย่ี นแปลงขอ้ ตกลง
เกี่ยวกับสภาพการจ้าง กลา่ วคอื เป็นข้อยุติเบ้อื งตน้ ทท่ี ั้งสองฝา่ ยต่างยอมรับ
เหตผุ ลและเงอื่ นไขแหง่ ขอ้ ยตุ นิ น้ั ๆ เมอ่ื มกี ารแจง้ ขอ้ เรยี กรอ้ ง ฝา่ ยแจง้ ขอ้ เรยี ก
รอ้ งกส็ ามารถนำ� ขอ้ ยตุ จิ ากการปรกึ ษาหารอื รว่ มกนั ไปบรรจไุ วใ้ นขอ้ เรยี กรอ้ ง
เพ่ือใหเ้ ปลย่ี นผลของขอ้ ยตุ ิน้นั ๆ เป็นขอ้ ตกลง ฯ ซง่ึ มีผลใชบ้ ังคับตอ่ ไป

ค. พจิ ารณาคำ� ร้องทุกข์ของลกู จ้าง
การรอ้ งทกุ ขข์ องลกู จา้ งใหน้ ายจา้ งจดั การแกไ้ ขหรอื คลค่ี ลายเรอื่ งใด
เรอื่ งหนง่ึ เพอื่ ระงบั ขอ้ ขดั แยง้ ระหวา่ งกนั มขี อบขา่ ยของขอ้ รอ้ งทกุ ขก์ วา้ ง ๆ ดงั น้ี
(1) เกีย่ วกับสิทธแิ ละหน้าท่ี
(1.1) กฎหมายและคำ� สั่งตา่ งๆ ท่ีทางราชการประกาศใช้เก่ียวกบั
เร่ืองแรงงานทั้งหมด เช่น พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518,
พระราชบญั ญัตคิ มุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(1.2) สัญญาข้อตกลงร่วมหรือสัญญาส่วนบุคคล ได้แก่ สัญญา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจา้ ง สญั ญาจา้ งแรงงาน ฯลฯ
(1.3) ระเบียบข้อบังคับหรือค�ำสั่งได้แก่ ระเบียบการร้องทุกข์
ระเบียบการลงโทษ ระเบียบการลา ฯลฯ ต้องชอบด้วยกฎหมายแรงงาน

48
คณะกรรมการลกู จ้าง

ในกรณที นี่ ายจา้ งออกระเบยี บใด โดยขดั หรอื ฝา่ ฝนื กฎหมายแรงงาน หรอื บาง
ครัง้ ลงโทษรนุ แรงเกนิ กวา่ เหตกุ น็ �ำมาเป็นเรอื่ งร้องทกุ ข์ได้

(1.4) ธรรมเนียมประเพณี รวมท้ังเป็นเร่ืองศาสนา ประเพณีของ
ท้องถ่นิ

(2) สภาพแวดล้อมเก่ียวกบั การท�ำงาน
ได้แก่ การดูแลสถานที่ในเรื่องของการระบายอากาศ ความร้อน
ความหนาว เสียง แสงสวา่ ง ความปลอดภยั ตา่ งๆ ฯลฯ ซงึ่ ข้ันตำ่� เป็นไปตาม
ที่กฎหมายก�ำหนดไว้
(3) การปฏบิ ตั หิ นา้ ทไี่ มเ่ ปน็ ธรรม และละเมดิ ศกั ดศ์ิ รขี องฝา่ ยใดฝา่ ยหนง่ึ
ได้แก่ การเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของกันและกัน ไม่ล่วงละเมิด
สิทธิอันควรของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น นายจ้างไม่ควรพูดจาหยาบคายกับลูกจ้าง
และการปฏิบัติต่อลูกจ้างในทุกวิถีทางต้องเป็นไปโดยยุติธรรมไม่ล�ำเอียงหรือ
เลือกปฏิบัตใิ ห้สิทธิแกล่ ูกจ้างโดยเสมอกัน
(4) เกีย่ วกับการตีความ การปฏบิ ตั ิตามสญั ญาข้อตกลง
สัญญาข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซ่ึงทั้งสองฝ่ายอาจเขียนไว้
คลุมเครือโดยไม่ตั้งใจ เมื่อมีเหตุการณ์ท่ีต้องตีความอาจท�ำให้เกิดปัญหาข้อ
ขัดแย้งข้ึนได้ จะเห็นได้ว่าขอบข่ายของเร่ืองท่ีจะร้องทุกข์น้ันมีกว้างขวางพอ
สมควร และการด�ำเนินการพิจารณาค�ำร้องทุกข์ของลูกจ้าง คณะกรรมการ
ลูกจ้างควรกระท�ำเท่าท่ีจ�ำเป็น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้ร้องทุกข์ ทั้งน้ี
ต้องไม่เป็นการก้าวล่วงไปในขบวนยุติข้อร้องทุกข์ ที่มีขั้นตอนการพิจารณา
ก�ำหนดไว้ โดยชัดเจนอยู่แล้วในระเบียบข้อบังคับของสถานประกอบกิจการ

49
คณะกรรมการลกู จา้ ง

นั้น ดังน้ันการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายนายจ้างกับคณะกรรมการ
ลกู จา้ งเกย่ี วกบั การพจิ ารณาคำ� รอ้ งทกุ ขข์ องลกู จา้ ง จงึ อาจจำ� แนกลกั ษณะการ
ด�ำเนินการออกได้ ดงั น้ี

1) การพิจารณาเก่ียวกับข้อร้องทุกข์ของลูกจ้างโดยส่วนรวม เช่น
เก่ยี วกับสภาพแวดล้อมในการทำ� งาน สภาพการท�ำงาน ฯลฯ

2) ติดตามผลการพิจารณาค�ำร้องทุกข์ในขั้นตอนการร้องทุกข์ของ
สถานประกอบกิจการ

3) พิจารณาใหค้ วามเห็นในกรณีท่ผี ู้ท่มี อี ำ� นาจในการยตุ ขิ ้อรอ้ งทุกข์
ตามขั้นตอนได้เสนอเรื่องให้พิจารณา ให้ความเห็นในการประชุมร่วมกัน
ระหวา่ งฝ่ายนายจา้ งกับคณะกรรมการลกู จ้าง

ดังนั้น หากการพิจารณาค�ำร้องทุกข์ของลูกจ้างในสถานประกอบ
กิจการบางแห่งมีระเบียบเกี่ยวกับการย่ืนเร่ืองราวร้องทุกข์ของลูกจ้างอยู่บ้าง
แลว้ แตเ่ ม่อื มีกรรมการลูกจ้าง ลกู จ้างอาจยื่นเร่ืองราวรอ้ งทุกข์ผา่ นทางคณะ
กรรมการลูกจ้างก็ได้ ด้วยความรู้สึกว่ากรรมการลูกจ้างในฐานะตัวแทนของ
ตนจะสามารถดำ� เนนิ การไดผ้ ลดกี วา่ หรอื อาจเปน็ ไดว้ า่ ลกู จา้ งไดร้ อ้ งเรยี นตาม
ลำ� ดบั แลว้ แตเ่ หน็ วา่ ตนเองยงั ไมไ่ ดร้ บั ความเปน็ ธรรม จงึ รอ้ งขอใหก้ รรมการ
ลูกจ้างด�ำเนินการให้ ซ่ึงกรรมการลูกจ้างก็ควรท่ีจะพิจารณาค�ำร้องทุกข์โดย
รอบคอบ และตอ้ งแยกให้ออกว่าการร้องทุกขน์ น้ั เป็นเรอ่ื งท่สี ามารถจะรับไว้
พจิ ารณาไดห้ รอื ไม่ เชน่ เปน็ เร่ืองส่วนตวั การละเมิดเกีย่ วกับสิทธหิ นา้ ท่หี รอื
การละเมดิ ศกั ดศ์ิ รหี รอื ขอ้ กฎหมาย เปน็ ตน้ และจะตอ้ งพจิ ารณาโดยใหค้ วาม

50
คณะกรรมการลูกจ้าง

เปน็ ธรรมแกผ่ เู้ กยี่ วขอ้ งทกุ ฝา่ ยไมล่ ำ� เอยี งเขา้ ขา้ งฝา่ ยใดฝา่ ยหนง่ึ ถา้ ขอ้ เทจ็ จรงิ
ปรากฏว่าผู้ร้องทุกข์เป็นฝ่ายผิด ผู้ร้องทุกข์จะต้องยอมรับข้อเท็จจริงนั้นเพื่อ
สร้างความเช่ือถือให้เกิดแก่นายจ้าง เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิด
ข้นึ ในสถานประกอบกิจการ

ง. หาทางปรองดอง และระงับขอ้ ขดั แยง้
ความขัดแย้งในสถานประกอบกิจการมีได้หลายลักษณะหลายรูปแบบ
อาจเปน็ ความขดั แยง้ ในระดบั ลกู จา้ งดว้ ยกนั หรอื ระหวา่ งฝา่ ยบรหิ ารกบั ลกู จา้ ง
อาจเร่ิมจากความไม่พอใจกันเป็นส่วนตัวจนมีผลให้เกิดปัญหาในการท�ำงาน
ร่วมกนั ในสถานทีท่ ำ� งานหรอื อาจเกิดจากการมองอีกฝ่ายหนงึ่ อย่างมอี คติ
คณะกรรมการลูกจ้างควรมีส่วนช่วยประสานความเข้าใจกันหาทาง
ปรองดองและระงับปัญหาข้อขัดแย้งท่ีก�ำลังจะเกิดหรือเกิดข้ึนแล้ว ซึ่งอาจ
เป็นเพียงปัญหาข้อขัดแย้งเล็กน้อยเท่าน้ัน ท้ังนี้เพ่ือให้เกิดความสงบสุขใน
สถานประกอบกจิ การนน้ั เป็นส�ำคัญ

ขอบเขตการดำ� เนนิ งานนอกเหนือจากท่ีกฎหมายกำ� หนด

ผลจากการด�ำเนินงานในกรณนี ีจ้ ะมขี ึ้นได้ กต็ อ่ เมอื่ ท้ังสองฝ่ายมคี วาม
เชอื่ มนั่ วา่ การปรกึ ษาหารอื รว่ มกนั เปน็ ระบบทใี่ หค้ ณุ ประโยชนใ์ นการพฒั นา
ประสิทธิภาพในการบริหารองค์การ นายจ้างควรรับความเห็นของคณะ
กรรมการลกู จา้ งไวพ้ จิ ารณาดว้ ยความจรงิ ใจโดยไมม่ อี คติ เพราะขอ้ เสนอแนะ

51
คณะกรรมการลูกจา้ ง

บางเรอ่ื งอาจเกยี่ วขอ้ งกบั ระบบการบรหิ ารองคก์ ารอยดู่ ว้ ย และเมอ่ื พจิ ารณา
แล้วหากเห็นว่าพอจะถือปฏิบัติได้ก็ควรด�ำเนินการและแจ้งให้ที่ประชุมคณะ
กรรมการลกู จ้างทราบ

ขอ้ ควรคำ� นงึ ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการลกู จ้าง

แมว้ า่ กฎหมายจะใหส้ ทิ ธแิ กล่ กู จา้ งในการจดั ตง้ั คณะกรรมการลกู จา้ ง
แต่การท่ีคณะกรรมการลูกจ้างจะปฏิบัติงานอย่างได้ผลในการสร้างความ
สัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้น นายจ้างจะต้องให้ความร่วมมือ
อยา่ งจรงิ ใจ และการทค่ี ณะกรรมการลกู จา้ งจะไดร้ บั การยอมรบั ในทางปฏบิ ตั ิ
น้นั ควรคำ� นึงถึงการปฏิบตั ิ ดังนี้

(1) กรรมการลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกจ้างท่ัวไป
เพราะผู้ท่ีได้รับการเลือกต้งั หรอื แตง่ ต้ังใหเ้ ปน็ กรรมการลูกจ้างน้ันถอื วา่ เป็น
บคุ คลทไี่ ดร้ บั เกยี รตจิ ากเพอ่ื นรว่ มงานใหป้ ฏบิ ตั หิ นา้ ทแ่ี กไ้ ขปญั หาความขดั แยง้
และเสรมิ สร้างแรงงานสัมพนั ธ์ทีด่ ีในสถานประกอบกิจการ กรรมการลูกจา้ ง
ควรยอมรับบทบาทของนายจ้างในฐานะผู้บริหารกิจการซ่ึงต้องรับผิดชอบ
ต่อการดำ� เนนิ งานทัง้ หมด

(2) แมว้ า่ กฎหมายจะใหส้ ทิ ธคิ มุ้ ครองกรรมการลกู จา้ งบางประการ โดย
เฉพาะทเี่ กย่ี วกบั การลงโทษ ซง่ึ นายจา้ งจะตอ้ งไดร้ บั อนญุ าตจากศาลแรงงานกอ่ น
กต็ าม ผทู้ เี่ ปน็ กรรมการลกู จา้ งกค็ วรปฏบิ ตั ติ ามระเบยี บขอ้ บงั คบั ในการทำ� งาน
โดยเครง่ ครดั เพราะถา้ มกี ารขออนญุ าตศาลแรงงานลงโทษบอ่ ยๆ กรรมการ

52
คณะกรรมการลกู จา้ ง

ลกู จา้ งผนู้ นั้ กอ็ าจจะเปน็ ทไ่ี มไ่ วว้ างใจของเพอ่ื นรว่ มงานและนายจา้ งได้
(3) กรรมการลกู จา้ งเมอื่ จะหารอื กนั เกย่ี วกบั การปฏบิ ตั งิ านควรจะหารอื

กันนอกเวลา ท�ำงานหรือถ้าจะหารือปัญหากันในเวลาท�ำงานก็จะต้องขอ
อนญุ าตจากหวั หนา้ งานหรอื นายจา้ งกอ่ นเพราะการหารอื ปญั หาตา่ งๆ ในเวลา
ท�ำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานหรือนายจ้างอยู่เสมอ อาจจะไม่
เป็นที่พอใจของนายจ้างและเพ่ือนร่วมงานที่เห็นว่าการเป็นกรรมการลูกจ้าง
นนั้ สะดวกสบาย สามารถทจี่ ะกระทำ� อะไรกไ็ ด้ ในขณะทล่ี กู จา้ งอนื่ ตอ้ งปฏบิ ตั ิ
งานอยา่ งเตม็ ทแ่ี ละอยใู่ นระเบยี บวนิ ยั อยา่ งเครง่ ครดั ซงึ่ อาจจะกอ่ ใหเ้ กดิ ความ
ไมพ่ อใจและกลายเป็นความขัดแยง้ ในทีส่ ุด

(4) กรรมการลกู จ้างพงึ ระลึกเสมอวา่ การเปน็ กรรมการลกู จ้างน้ันเปน็
อีกฐานะหนึ่งคือ เป็นผู้แทนของลูกจ้างในการแสดงความเห็นและรักษาผล
ประโยชน์แทนลูกจ้างอ่ืน เพ่ือจุดประสงค์ในอันจะก่อให้เกิดแรงงานสัมพันธ์
ท่ีดีข้ึนในสถานประกอบกิจการ และการเป็นกรรมการลูกจ้างนี้ก็อยู่ในระยะ
เวลาจำ� กดั เพยี งสามปเี ทา่ นน้ั แตห่ นา้ ทท่ี นี่ ายจา้ งไดม้ อบหมายใหท้ ำ� เปน็ เรอื่ ง
สำ� คญั จะตอ้ งเอาใจใสต่ ลอดเวลาทำ� งาน ลกู จา้ งทเี่ ปน็ กรรมการลกู จา้ งจะตอ้ ง
รับผิดชอบงาน และพรอ้ มเสมอทจี่ ะทำ� งานในหนา้ ทตี่ ามคำ� สง่ั ของนายจ้าง

(5) การรบั หนา้ ทเ่ี ปน็ กรรมการลกู จา้ งนนั้ เปน็ การเสยี สละอยา่ งสงู ทง้ั
สติปัญญา ก�ำลงั กายและความสะดวกสบายต่างๆ แมว้ า่ จะไม่มสี ิ่งตอบแทน
การท�ำงานในหน้าที่กรรมการลูกจ้างก็ตาม แต่ถ้าเกิดความสัมพันธ์ที่ดีข้ึนใน

53
คณะกรรมการลูกจา้ ง

กจิ การ ลกู จา้ งทกุ คนมขี วญั และมคี วามสขุ สบายยอ่ มเปน็ สง่ิ ทน่ี า่ ภาคภมู ใิ จยง่ิ
ของกรรมการลกู จ้างทุกคน

(6) กฎหมายก�ำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาขั้นสุดท้ายไว้กับกรรมการ
ลูกจา้ ง เมอื่ กรรมการลกู จ้างเห็นวา่ การกระทำ� ของนายจา้ งจะท�ำให้ลูกจา้ งไม่
ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร คณะกรรมการ
ลกู จา้ งกม็ สี ทิ ธริ อ้ งขอใหศ้ าลแรงงานพจิ ารณาวนิ จิ ฉยั ดงั นน้ั กอ่ นทก่ี รรมการ
ลกู จา้ งจะใชส้ ทิ ธทิ างศาล ควรจะไดใ้ ชม้ าตรการอนื่ ๆ อยา่ งเตม็ ทเ่ี สยี กอ่ น เชน่
คณะกรรมการลูกจ้างอาจหารือร่วมกับนายจ้างหรือพนักงานประนอม
ข้อพิพาทแรงงาน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการขจัดปัญหาเหล่าน้ัน เพราะ
บอ่ ยครงั้ ทก่ี ารใชส้ ทิ ธทิ างศาลมผี ลกระทบตอ่ แรงงานสมั พนั ธใ์ นสถานประกอบ
กิจการนน้ั

อย่างไรก็ตามกรรมการลูกจ้างควรระลึกไว้เสมอว่าการปรึกษาหารือ
รว่ มกบั นายจา้ ง ไมใ่ ชก่ ารยน่ื ขอ้ เรยี กรอ้ งเกยี่ วกบั สภาพการจา้ ง ขอ้ เสนอตา่ งๆ
จะประสานความส�ำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของท้ังสองฝ่ายและ
ความจริงใจในการแก้ปัญหาร่วมกนั อย่างแท้จรงิ

54
คณะกรรมการลูกจา้ ง

บทบาทของคณะกรรมการลูกจ้างต่อนายจ้าง
(1) สรา้ งความเช่อื ถือให้แกน่ ายจ้าง
(2) ให้ความร่วมมอื ในกจิ กรรมอันเป็นประโยชน์แกท่ ั้งสองฝา่ ย
(3) ให้ข้อมลู ที่ถกู ตอ้ งตามความเป็นจรงิ
(4) เสียสละเพื่องานของกรรมการลูกจา้ ง
(5) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปญั หา
(6) ตอ้ งปฏบิ ัตติ ามระเบยี บขอ้ บังคับของนายจ้าง
(7) ตดิ ตามเรอ่ื งท่ไี ด้มีการเสนอแนะตกลงกันได้
(8) แจ้งผลการเจรจาการตกลงให้ลูกจา้ งทราบ

55
คณะกรรมการลกู จ้าง

บทท่ี 5

หน้าที่ บทบาท และสิทธขิ องนายจา้ ง

ตอ่ คณะกรรมการลกู จา้ ง

หนา้ ทข่ี องนายจา้ งเกยี่ วกบั การเลอื กตง้ั คณะกรรมการ
ลูกจ้าง

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือจากลูกจ้างว่า มีความประสงค์จะให้มีการ
เลือกตงั้ คณะกรรมการลูกจา้ ง นายจา้ งมหี นา้ ทีท่ ่จี ะต้องปฏิบัติ ดังน้ี

(1) ประกาศการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้าง โดยมีข้อความตามที่คณะ
กรรมการดำ� เนนิ การเลือกตง้ั แจ้งใหท้ ราบ ณ สถานทท่ี ่ลี ูกจ้างท�ำงานทุกแหง่
เปน็ เวลาอยา่ งนอ้ ย 10 วัน ก่อนวันเลือกต้งั

(2) ให้นายจ้างจัดแผงหรือป้ายส�ำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งประกาศ
หาเสียงเลอื กตั้งภายในบรเิ วณสถานประกอบกจิ การ ไมน่ อ้ ยกวา่ 2 แห่ง

(3) ใหน้ ายจา้ งจดั ทำ� บญั ชรี ายชอ่ื ลกู จา้ งทกุ คนในสถานประกอบกจิ การ
และสง่ ใหค้ ณะกรรมการดำ� เนนิ การเลอื กตงั้ 1 ชดุ กอ่ นวนั เลอื กตง้ั ไมน่ อ้ ยกวา่
3 วนั

56
คณะกรรมการลูกจ้าง

ในกรณีท่ีไม่มีรายช่ือลูกจ้างผู้ใดในบัญชี หรือบัญชีรายชื่อไม่ถูกต้อง
ลูกจ้างมีสิทธิคัดค้านให้นายจ้างแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายจ้างด�ำเนินการแก้ไข
โดยเร็วและปดิ ประกาศบญั ชีรายชื่อลูกจ้างใหมก่ อ่ นวันเลือกต้งั

(4) ใหน้ ายจา้ ง (หรอื กรรมการดำ� เนนิ การเลอื กตั้ง พนกั งานประนอม
ขอ้ พพิ าทแรงงาน)จัดหาอปุ กรณส์ �ำหรับใชล้ งคะแนนเสียงเลือกตงั้ ดังตอ่ ไปน้ี

1. บัตรเลอื กตง้ั ซ่งึ มหี มายเลขประจ�ำตวั ผสู้ มัครทกุ คน
2. หีบบัตรลงคะแนนเสยี ง
3. เครอ่ื งเขยี น
4. กระดานหรอื กระดาษหรอื อปุ กรณอ์ น่ื เพอื่ ใชใ้ นการนบั คะแนนเสยี ง

หน้าท่ีและความรับผิดชอบตามกฎหมายของนายจ้าง
ตอ่ คณะกรรมการลกู จา้ ง

1. นายจ้างจะตอ้ งจดั ให้มีการประชมุ ปรึกษาหารือร่วมกบั กรรมการ
ลูกจ้างอย่างน้อย 3 เดือนต่อหนงึ่ ครง้ั

2. นายจา้ งตอ้ งจัดใหม้ ีการประชมุ รว่ มกบั คณะกรรมการลกู จ้างเมื่อ
ได้รับคำ� ร้องขอจาก

ก. กรรมการลูกจ้างเกนิ ก่ึงหนง่ึ ของกรรมการลูกจา้ งทง้ั หมดหรือ
ข. สหภาพแรงงาน
ท้ังน้ีในค�ำรอ้ งขอนนั้ จะต้องมเี หตผุ ลอนั สมควรเพื่อ
1. จัดสวัสดกิ ารแก่ลูกจา้ ง
2. ปรึกษาหารือ เพ่ือก�ำหนดข้อบังคับในการท�ำงานอันจะเป็น
ประโยชนต์ ่อนายจา้ งและลกู จ้าง

57
คณะกรรมการลูกจา้ ง

3. พจิ ารณาคำ� ร้องทกุ ข์ของลูกจา้ ง
4. หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแยง้ ในสถานประกอบกิจการ
ดังน้นั หากการร้องขอของกรรมการลกู จ้างหรอื สหภาพแรงงาน มไิ ดม้ ี
เหตผุ ลอนั สมควรเพอ่ื การใดการหนง่ึ ดงั กลา่ วขา้ งตน้ นายจา้ งชอบทจี่ ะปฏเิ สธ
ได้ แต่อย่างไรก็ตามการจะให้มีการประชุมหรือไม่ นายจ้างจ�ำต้องพิจารณา
โดยรอบคอบถึงผลดีผลเสียท่ีจะเกิดขึ้น อันจะมีผลกระทบโดยตรงกับความ
สัมพันธ์ของท้ังสองฝ่าย เพราะการจัดประชุมมีผลดีต่อนายจ้างมากกว่าการ
ปฏิเสธอย่างน้อยก็จะได้ทราบถึงความรู้สึกของลูกจ้างต่อการบริหารงานของ
นายจา้ ง เพอื่ เปน็ ขอ้ มลู ในการกำ� หนดมาตรการปอ้ งกนั ปญั หาทอ่ี าจจะเกดิ ขนึ้ ได้
นอกจากนั้นกฎหมายยังได้ก�ำหนดข้อห้ามส�ำหรับนายจ้างมิให้กระท�ำ
การดังต่อไปน้ตี อ่ คณะกรรมการลกู จ้างคือ
(ก) ให้หรือตกลงจะใหเ้ งินแก่กรรมการลูกจา้ งหรือ
(ข) ใหห้ รือตกลงจะใหท้ รัพยส์ ินแกก่ รรมการลูกจา้ ง
เว้นแต่ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าท�ำงานในวันหยุด โบนัส เงินปันผล
หรือประโยชนอ์ นื่ ท่กี รรมการลกู จา้ งมีสิทธิไดร้ ับตามปกติ
ถ้านายจ้างให้หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินอ่ืนนอกจากเงินหรือ
ประโยชน์ท่ีกรรมการลูกจ้างจะพึงได้รับตอบแทนจากการท�ำงานตามปกติ
เพื่อจูงใจให้กรรมการลูกจ้างปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติตามหน้าท่ีเพ่ือ
ประโยชน์ของนายจ้าง เป็นสิ่งที่กฎหมายได้ก�ำหนดห้ามไว้มิให้นายจ้าง
กระทำ� การดังกล่าว
(ค) เลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าท่ีในฐานะ
กรรมการลกู จา้ ง กระทำ� การใด ๆ อนั อาจเปน็ ผลใหก้ รรมการลกู จา้ งไมส่ ามารถ
ทำ� งานอยตู่ ่อไปได้ เวน้ แต่จะไดร้ บั อนญุ าตจากศาลแรงงาน

58
คณะกรรมการลกู จ้าง

บทบาทของนายจา้ งท่ีพงึ มีต่อคณะกรรมการลกู จา้ ง

ในกรณที นี่ ายจา้ งเหน็ ความสำ� คญั และยอมรบั วา่ คณะกรรมการลกู จา้ ง
จะมีส่วนช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความสัมพันธ์อันดีในสถาน
ประกอบกจิ การ ระหวา่ งนายจา้ งและลกู จา้ ง ฝา่ ยนายจา้ งอาจมบี ทบาทเพอ่ื
ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการด�ำเนินงานของคณะกรรมการลูกจ้างได้
ดงั ตอ่ ไปนี้

(1) กำ� หนดตวั บคุ คลทจี่ ะเปน็ ตวั แทนของฝา่ ยนายจา้ งในการหารอื โดย
ไม่จำ� เป็นตอ้ งมจี ำ� นวนเท่ากับคณะกรรมการลูกจา้ ง

(2) กำ� หนดนโยบายและให้ความรู้แก่ผ้แู ทนฝา่ ยนายจา้ ง (ฝ่ายจดั การ
ระดับสูง) และกรรมการลูกจ้างในเรื่องการด�ำเนินงานของคณะกรรมการ
ลูกจา้ ง

(3) ใหก้ ารยอมรบั คณะกรรมการลกู จา้ งซงึ่ ทำ� หนา้ ทแ่ี ทนลกู จา้ งในการ
เสนอความคดิ เหน็ และขอ้ ขดั ขอ้ งตา่ ง ๆ ในการปฏบิ ตั งิ านกบั นายจา้ ง ตลอด
จนให้ความส�ำคัญและดูแลเอาใจใส่กับข้อเสนอเหล่านั้นและหาทางแก้ไข
ปรับปรุงให้ดีข้ึนอย่างจริงใจ เพราะถ้าลูกจ้างได้รับการดูแลเอาใจใส่จาก
นายจ้างดี มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมท่ีเหมาะสม มีสุขภาพร่างกายท่ี
แข็งแรงและมีสุขภาพจิตดีก็จะเกิดความสมบูรณ์ในการท�ำงาน พร้อมที่จะ
ชว่ ยนายจา้ งเพมิ่ ผลผลติ เพอื่ ความกา้ วหนา้ ของกจิ การอนั เปน็ ผลใหน้ ายจา้ งมี
กำ� ไรเพิม่ ข้ึน เม่อื นายจ้างมกี �ำไรเพิ่มขึ้นแล้วแตล่ ะฝ่ายก็ย่อมจะได้สว่ นเฉลีย่
ของผลกำ� ไรทีเ่ ป็นธรรมตอบแทน

(4) เตรียมจัดทำ� งบประมาณตามความจำ� เปน็ เพื่อการดำ� เนนิ งานร่วม
กบั คณะกรรมการลูกจา้ ง

59
คณะกรรมการลกู จ้าง

(5) ใหห้ ลักประกันความมน่ั ใจในการท�ำงานว่าจะไมถ่ ูกกล่นั แกลง้
(6) ปฏิบตั ิตามผลทไี่ ดม้ กี ารหารือกนั
(7) ใหข้ อ้ มลู ขา่ วสารทจี่ ะชว่ ยในการบรหิ ารงานของคณะกรรมการลกู จา้ ง
(8) ใหม้ กี ิจการรว่ มกนั ในดา้ นสังคมและสวัสดกิ าร
(9) เมื่อมีปญั หาเปิดโอกาสให้กรรมการลกู จา้ งหารือได้ตลอดเวลา
(10) แจง้ ผลการหารอื ร่วมกบั คณะกรรมการลกู จา้ งให้ลกู จ้างทราบ
(11) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ลูกจ้างในการด�ำเนินการตามโครงการ
ที่ได้มีการตกลงกนั

สิทธิของนายจา้ งต่อคณะกรรมการลูกจา้ ง

นายจ้างมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีค�ำส่ังให้กรรมการลูกจ้าง
ผ้หู นึง่ ผู้ใด หรอื กรรมการลูกจ้างท้ังคณะพน้ จากตำ� แหนง่ ได้ เม่อื ปรากฏวา่

1. ไม่ปฏบิ ตั ิหนา้ ทโี่ ดยสจุ รติ
ในการพิจารณาว่าการกระท�ำอย่างใดเป็นการกระท�ำที่ไม่สุจริตนั้น
จ�ำเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องพิจารณาถึงหน้าที่ตามปกติของกรรมการลูกจ้างเป็น
กรณี ๆ ไป จะกำ� หนดกฎเกณฑต์ ายตวั ไมไ่ ด้ อาทิ ในการพจิ ารณาคำ� รอ้ งทกุ ข์
ของลูกจ้าง หากกรรมการลูกจ้างรู้อยู่แล้วว่าลูกจ้างผู้ร้องได้กระท�ำความผิด
จริง แต่กลับไปเรียกหรือรับทรัพย์สินจากลูกจ้างผู้ร้องโดยให้ค�ำมั่นว่าจะ
พยายามหาทางให้ผู้นั้นพ้นผิด เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้นเป็นเร่ืองท่ีเห็นได้ชัด
แตเ่ รอื่ งการกระทำ� โดยไมส่ จุ รติ นน้ั มที างทจ่ี ะกระทำ� ไดม้ ากมาย ซง่ึ ไมอ่ าจจะ
กำ� หนดลว่ งหนา้ ไดอ้ ยา่ งไรกต็ ามภาระการพสิ จู นค์ วามไมส่ จุ รติ ยอ่ มตกเปน็ ของ
นายจา้ งผกู้ ลา่ วอา้ ง ในอนั ทจี่ ะหาพยานหลกั ฐานไปแสดงตอ่ ศาลแรงงานเพอื่
ออกคำ� สงั่ ตอ่ ไป

60
คณะกรรมการลกู จา้ ง

2. กระท�ำการอันไม่สมควรอันเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของ
ประชาชน

ค�ำว่าประชาชนในที่นี้น่าจะมีความหมายรวมถึงบรรดาลูกจ้างใน
สถานประกอบกจิ การนน้ั ๆ ด้วยเพราะหากเปน็ การกระท�ำท่ขี ัดตอ่ ความสงบ
เรยี บรอ้ ยของประชาชนโดยทวั่ ไปกเ็ ปน็ ความผดิ ตอ่ แผน่ ดนิ และเจา้ พนกั งาน
ตำ� รวจก็มหี นา้ ทโี่ ดยตรงอยแู่ ลว้ ตวั อย่างของการกระทำ� อนั ไมส่ มควรอนั จะ
เปน็ ภยั ตอ่ ความสงบเรยี บรอ้ ย เชน่ กรรมการลกู จา้ งมนี สิ ยั ชอบขม่ เหงรงั แก
ลกู จ้างอ่นื หรอื พกอาวุธไปสถานท่ที ำ� งานโดยเปดิ เผย เป็นต้น

3. เปิดเผยความลับของนายจา้ งเกี่ยวกบั การประกอบกจิ การโดยไมม่ ี
เหตุผลอนั สมควร

การเปิดเผยความลับในท่ีนี้ต้องเป็นความลับเก่ียวกับการประกอบ
กิจการของนายจ้าง อาทิ ตน้ ทุนการผลติ สตู รสารเคมี เป็นต้น เนอื่ งจาก
กรรมการลูกจ้างมีโอกาสที่จะปรึกษาหารือปัญหาต่าง ๆ กับนายจ้างโดย
ใกลช้ ดิ จึงอาจจะร้คู วามลบั บางประการของกจิ การ ซึ่งหากรว่ั ไหลแลว้ อาจ
กอ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายแกน่ ายจา้ ง กฎหมายจงึ บญั ญตั ใิ หส้ ทิ ธนิ ายจา้ งในการ
ท่ีจะร้องขอให้ศาลสั่งให้กรรมการลูกจ้างผู้เปิดเผยความลับของนายจ้างพ้น
จากตำ� แหนง่ ได้

61
คณะกรรมการลูกจา้ ง

ฝ่ายนายจ้างกับคณะกรรมการลกู จ้างจะร่วมมอื กนั
ในการพฒั นาสถานประกอบกจิ การได้อย่างไรบา้ ง

1. ปรึกษาหารือร่วมกันอย่างสม�่ำเสมอในเร่ืองต่าง ๆ เกี่ยวกับการ
พัฒนาสถานประกอบกิจการ ประสิทธิภาพการผลิต ความมั่นคง ความ
ปลอดภยั สวสั ดิการ ภาพพจน์ ช่อื เสียงและอนื่ ๆ

2. เมอ่ื มีปญั หาเกดิ ขึน้ ควรรว่ มกนั แกไ้ ขปญั หานั้น ๆ โดยไมช่ กั ชา้
3. รว่ มกนั รณรงคใ์ หพ้ นกั งานมคี วามตน่ื ตวั ในการเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการ
ผลิตและดำ� เนนิ กจิ กรรมตามเปา้ หมาย
4. ให้การส่งเสริมแก่ลูกจ้างที่มีความคิดริเร่ิมในการค้นคว้าและหา
เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใหเ้ พ่อื เพม่ิ ประสิทธภิ าพการผลติ
5. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการ
ลกู จา้ ง
6. ประชาสัมพนั ธ์ปญั หาและกิจกรรมท่ดี ำ� เนินการร่วมกนั ให้พนกั งาน
ได้ทราบทว่ั ไป

62
คณะกรรมการลกู จา้ ง

คำ� พพิ ากษาฎีกา

ทเ่ี กีย่ วข้อง

63
คณะกรรมการลกู จ้าง

64
คณะกรรมการลูกจา้ ง

คำ� พพิ ากษาฎกี าท่เี กีย่ วขอ้ ง

คำ� พพิ ากษาฎกี าที่ 2008/2526
แม้คณะกรรมการด�ำเนินการเลือกต้ังมิจัดให้มีการลงคะแนนเสียงใน

บตั รเลอื กตง้ั ตามทอี่ ธบิ ดกี รมแรงงานกำ� หนดไวใ้ นประกาศกรมแรงงาน เรอ่ื ง
หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกต้ังกรรมการลูกจ้างก็ตาม เม่ือกรณีน้ีมี
ผู้สมัครรับเลือกต้ังเป็นกรรมการลูกจ้าง 7 คน ครบจ�ำนวนตามท่ีกฎหมาย
กำ� หนดในสถานประกอบกจิ การแหง่ น้ี และหากจะจดั ใหม้ กี ารลงคะแนนเสยี ง
ในบตั รเลอื กตง้ั ตามประกาศกรมแรงงานฯ ผลทไี่ ดร้ บั กไ็ มเ่ ปลยี่ นแปลงเปน็ อนื่
ไปได้ กรรมการลกู จา้ งกจ็ ะไดแ้ กผ่ สู้ มคั รรบั เลอื กตง้ั ทงั้ 7 เปน็ กรรมการลกู จา้ ง
ไปทเี ดยี ว จงึ เปน็ การดำ� เนนิ การในประกาศกรมแรงงานฯ ใหม้ ผี ลใชไ้ ดอ้ ยา่ ง
จริงจงั ในทางปฏบิ ัติ

ผสู้ มคั รรบั เลอื กตง้ั ใชว่ า่ จะเปน็ ไดโ้ ดยตอ้ งมกี ารลงคะแนนเสยี งทกุ กรณี
ไปก็หาได้ไม่ ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากกฎกระทรวง ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ. 2518) ที่ออกตาม
ความในมาตรา 13 แหง่ พระราชบญั ญตั แิ รงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518 ทวี่ า่ ดว้ ย

65
คณะกรรมการลูกจ้าง

การเลอื กตงั้ ผแู้ ทนลกู จา้ งใหเ้ ขา้ รว่ มเจรจากบั นายจา้ งในกรณที ม่ี กี ารเรยี กรอ้ ง
ใหม้ กี ารกำ� หนดขอ้ ตกลงเกย่ี วกบั สภาพการจา้ งหรอื การแกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ขอ้ ตกลง
เกย่ี วกบั สภาพการจ้าง ซ่ึงกฎกระทรวงดงั กล่าว ข้อ 1 บัญญตั ไิ วม้ ีใจความวา่
หากมผี ปู้ ระสงคจ์ ะเปน็ ผแู้ ทนลกู จา้ ง 7 คนพอดกี ไ็ มต่ อ้ งลงคะแนนเสยี งเลอื ก
ต้ังต่อเมื่อมีผู้ประสงค์จะเป็นผู้แทนลูกจ้างเกิน 7 คนและไม่อาจตกลงกันได้
จงึ ใหม้ กี ารลงคะแนนเสยี งเลอื กตงั้ หรอื กรณที อ่ี าจเทยี บเคยี งไดด้ ว้ ย พ.ร.บ.การ
เลือกต้งั สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ซงึ่ บัญญตั วิ า่ ในเขต
เลือกต้ังใด ถ้ามีผู้สมัครไม่เกินจ�ำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีการ
เลอื กตงั้ ไดใ้ นเขตเลอื กตงั้ นน้ั ใหถ้ อื วา่ ผสู้ มคั รนนั้ เปน็ ผไู้ ดร้ บั เลอื กตงั้ โดยไมต่ อ้ ง
ท�ำการลงคะแนนเลือกตัง้
คำ� พพิ ากษาฎกี าท่ี 1749/2530
จำ� เลยมไิ ดบ้ รรจโุ จทกใ์ หเ้ ปน็ พนกั งานคมุ เครอื่ งทำ� ความเยน็ โดยเฉพาะและไม่
ปรากฏว่ามีข้อตกลงเก่ียวกับสภาพการจ้างห้ามมิให้จ�ำเลยโยกย้ายสับเปลี่ยน
หน้าที่โจทก์ ดังน้ัน เมื่อโจทก์ปฏิบัติหน้าท่ีบกพร่องโดยไม่เติมน�้ำเคร่ือง
ทำ� ความเยน็ ทำ� ใหเ้ ครอ่ื งทำ� ความเยน็ ดบั เปน็ เหตใุ หจ้ ำ� เลยไดร้ บั ความเสยี หาย
จำ� เลยจงึ มสี ทิ ธสิ ง่ั สบั เปลย่ี นโยกยา้ ยโจทยโ์ ดยใหโ้ จทกไ์ ดค้ า่ จา้ งเทา่ เดมิ เพอื่ ไป
ท�ำหน้าท่ีพนักงานทั่วไปได้ เม่ือไม่ปรากฏว่าต�ำแหน่งพนักงานท่ัวไปเป็น
ต�ำแหน่งที่ต่�ำกว่าพนักงานคุมเคร่ืองท�ำความเย็น หรือโจทก์ได้รับสิทธิ
ประโยชนล์ ดลง จงึ ไมเ่ ปน็ การผดิ สภาพการจา้ งและไมเ่ ปน็ การลงโทษหรอื เปน็
ผลใหโ้ จทกซ์ ง่ึ เปน็ กรรมการลกู จา้ งไมส่ ามารถทนทำ� งานอยตู่ อ่ ไปได้ อนั จำ� เลย

66
คณะกรรมการลกู จา้ ง

จะตอ้ งขออนญุ าตตอ่ ศาลแรงงานกอ่ นตาม พ.ร.บ.แรงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518
มาตรา 52

ค�ำพิพากษาฎกี าท่ี 1907/2534
ขอ้ เทจ็ จรงิ รบั ฟงั ไดย้ ตุ ติ ามคำ� วนิ จิ ฉยั ของศาลแรงงานกลางวา่ ผรู้ อ้ งได้

สง่ั พกั งานผคู้ ดั ค้านโดยจ่ายค่าจา้ ง การทผ่ี ู้ร้องได้สัง่ พกั งานผู้คดั คา้ นในกรณี
เช่นนี้น่าจะเป็นการส่ังให้ผู้คัดค้านหยุดท�ำงานชั่วคราวเพ่ือด�ำเนินการ
ยน่ื คำ� รอ้ งขออนญุ าตลงโทษผคู้ ดั คา้ นตอ่ ศาลแรงงานกลางเสยี กอ่ น เมอื่ ผรู้ อ้ ง
ไดจ้ า่ ยคา่ จา้ งใหแ้ กผ่ คู้ ดั คา้ นในระหวา่ งไมไ่ ดท้ ำ� งานจงึ ไมถ่ อื วา่ เปน็ การลงโทษ
คำ� วนิ จิ ฉัยของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว

คำ� พิพากษาฎกี าที่ 3066/2535
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45 มาตรา 46

และประกาศกรมแรงงาน เร่ือง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกต้ัง
คณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันท่ี 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 ก�ำหนดว่า
“ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ
เวน้ แตส่ ถานประกอบกจิ การนนั้ มหี นว่ ยงานหรอื สาขาในจงั หวดั อน่ื ลกู จา้ งใน
สถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างข้ึน
จังหวัดละคณะได้จ�ำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือใน
หนว่ ยงาน หรอื สาขาในแตล่ ะจงั หวดั ใหก้ ำ� หนดโดยถอื หลกั เกณฑต์ ามมาตรา

67
คณะกรรมการลกู จา้ ง

46 แหง่ พ.ร.บ.แรงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518” ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.
จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง จ�ำนวน 21 คน ส�ำหรับโรงงานของจำ� เลยท่ี
จงั หวดั ชลบรุ แี ลว้ ทางสหภาพแรงงานยอ่ มมสี ทิ ธทิ จ่ี ะตงั้ คณะกรรมการลกู จา้ ง
จำ� นวน 13 คน ส�ำหรบั โรงงานจ�ำเลยทจ่ี งั หวดั นครราชสีมาไดอ้ ีก โจทกจ์ งึ
เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งต้ังในครั้งหลังน้ี
จ�ำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
ตามพระราชบญั ญตั ิแรงงานสัมพนั ธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52

คำ� พิพากษาฎกี าที่ 3731/2535

การจดทะเบยี นคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเปน็ เพยี งวธิ กี ารทาง
กฎหมาย เพอื่ ใหป้ รากฏหลกั ฐานทางทะเบยี นเทา่ นนั้ เมอ่ื ทป่ี ระชมุ ใหญข่ อง
สหภาพแรงงาน อ. ได้ลงมติเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงานและ
นายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้วว่า
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แลว้ แมจ้ ะยังไม่ได้มีการจดทะเบยี นรบั รองการ
เปน็ กรรมการกต็ าม จงึ มีอ�ำนาจต้ังคณะกรรมการลกู จ้างได้

คำ� พิพากษาฎีกาที่ 4107/2536

ขอ้ บงั คบั การทำ� งานของผรู้ อ้ งกำ� หนดประเภทการลงโทษไวโ้ ดยมไิ ดร้ ะบุ
ข้ันตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จ�ำต้องลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการ
ทำ� งาน ผรู้ อ้ งอาจเลอื กวธิ ใี ด ๆ ตามขอ้ บงั คบั การทำ� งานโดยพจิ ารณาจากความ

68
คณะกรรมการลกู จา้ ง

หนกั เบาของความผดิ ของพนกั งานแตล่ ะคนผคู้ ดั คา้ นกระทำ� ผดิ ในขณะปฏบิ ตั ิ
หน้าท่ีในสถานท่ีท�ำงานโดยไม่ย�ำเกรงต่อข้อบังคับการท�ำงานของผู้ร้อง การ
กระท�ำของผู้คัดค้านไม่เป็นเย่ียงอย่างอันดี ท�ำให้แตกความสามัคคียากแก่
การปกครองบงั คับบญั ชากรณีจงึ มีเหตุสมควรให้ผรู้ อ้ งเลิกจ้างผคู้ ดั ค้านได้

คำ� พิพากษาฎกี าท่ี 4398/2536

กรณีที่สหภาพแรงงานแต่งต้ังกรรมการลูกจ้างกฎหมายมิได้บัญญัติ
วา่ ตอ้ งแจง้ ใหน้ ายจา้ งทราบ และพระราชบญั ญตั แิ รงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518
มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง
ตง้ั แตเ่ มอื่ ใด เพยี งแตก่ ำ� หนดวาระการดำ� รงตำ� แหนง่ ไวค้ ราวละ 3 ปี แตอ่ าจ
ได้รับเลือกต้ังหรือแต่งตั้งใหม่ได้ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกต้ังกรรมการลูกจ้าง
เพราะคณะกรรมการด�ำเนินการเลือกตั้งต้องแจ้งให้นายจ้างและพนักงาน
ประนอมข้อพิพาทแรงงานแห่งท้องท่ีท่ีสถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่โดยไม่
ชักช้าว่าผู้ใดได้รับเลือกต้ังเป็นกรรมการลูกจ้าง แสดงว่ากรรมการลูกจ้างได้
รับแต่งต้ังจากสหภาพแรงงานเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันท่ีมีการแต่งตั้ง
สหภาพแรงงาน อ. แต่งต้ังโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง วันที่ 3 มนี าคม 2536
โดยแตง่ ตง้ั กรรมการลูกจา้ งรวม 6 คน ตามทีก่ ฎหมายก�ำหนด แมจ้ ะยังไม่มี
การเลอื กตงั้ กรรมการทเ่ี หลอื อกี 5 คน (สถานประกอบกจิ การแหง่ นมี้ กี รรมการ
ลกู จา้ งได้ 11 คน) โจทกก์ เ็ ปน็ กรรมการลกู จา้ งตงั้ แตว่ นั ดงั กลา่ วจำ� เลยเลกิ จา้ ง
โจทกซ์ ่งึ เปน็ กรรมการลกู จ้างโดยมิไดร้ บั อนญุ าตจากศาลแรงงาน จึงไม่ชอบ
ดว้ ยพระราชบญั ญตั แิ รงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 อทุ ธรณข์ องจำ� เลย
ฟงั ไม่ข้ึน

69
คณะกรรมการลกู จ้าง

คำ� พพิ ากษาฎีกาท่ี 6712/2538

ตามพระราชบญั ญตั ิแรงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 บญั ญัติ
ว่า “นอกจากพ้นต�ำแหน่งตามวาระ กรรมการลูกจ้างพ้นจากต�ำแหน่ง
เมื่อ ฯลฯ (7) มีการเลือกต้ังหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ท้ังคณะ” เม่ือ
จำ� เลยแถลงรบั ในรายงานกระบวนการพจิ ารณาวา่ ขณะทเี่ ลกิ จา้ งโจทกย์ งั ไมม่ ี
การเลือกต้ังหรือแต่งต้ังกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะโจทก์จึงยังไม่พ้นจาก
ตำ� แหน่งกรรมการลูกจ้าง

คำ� พพิ ากษาฎกี าท่ี 4850/2545

การท่ีกฎหมายบัญญัติให้มีคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 45
แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 น้ัน มีวัตถุประสงค์เพ่ือให้
เป็นตัวแทนของลูกจ้างในการเข้าร่วมประชุมกับนายจ้างเก่ียวกับการจัด
สวสั ดกิ ารแกล่ กู จา้ ง ปรกึ ษาหารอื เพอื่ กำ� หนดขอ้ บงั คบั ในการทำ� งานพจิ ารณา
ค�ำร้องทุกข์ของลูกจ้าง และหาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถาน
ประกอบกจิ การตามาตรา 50 แมโ้ จทกจ์ ะเปน็ ผตู้ กลงทำ� งานใหบ้ รษิ ทั จำ� เลยท่ี
1 เพอื่ รบั คา่ จา้ งอนั มฐี านะเปน็ ลกู จา้ งของบรษิ ทั จำ� เลยท่ี 1 แตใ่ นขณะเดยี วกนั
โจทก์ก็เป็นกรรมการผู้มีอ�ำนาจกระท�ำการแทนบริษัทจ�ำเลยที่ 1 อันมีฐานะ
เป็นนายจ้างดว้ ยตามพระราชบญั ญตั ิแรงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา
5 ซงึ่ ฐานะนายจา้ ง ลกู จ้างนัน้ จะมผี ลประโยชนบ์ างสว่ นทีข่ ดั กัน ดงั นน้ั การ
ท่ีสหภาพแรงงานพนักงานทีพีไอมีมติแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึง

70
คณะกรรมการลูกจ้าง

เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้าง
กับคณะกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
มาตรา 50 การท่ีสหภาพแรงงานพนักงานทีพีไอมีมติแต่งต้ังให้โจทก์เป็น
กรรมการลูกจ้างย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีฐานะเป็น
กรรมการลูกจ้าง และไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 แห่งพระราช
บญั ญตั ิดงั กล่าว

คำ� พิพากษาฎกี าท่ี 4516/2550

มปี ญั หาวนิ จิ ฉยั วา่ โจทกเ์ ปน็ ผซู้ งึ่ ไดร้ บั มอบหมายใหท้ ำ� การแทนจำ� เลย
ตามความหมายค�ำว่า “นายจ้าง” ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. 2518 มาตรา 5 หรอื ไม่ เห็นวา่ ตามขอ้ เทจ็ จรงิ ทศ่ี าลแรงงานกลางฟงั
มาว่าโจทกเ์ ปน็ ผู้จัดการฝา่ ยบคุ คลของจ�ำเลย มีหน้าทส่ี อบสวนลงโทษลกู จา้ ง
มีอ�ำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างท่ีกระท�ำความผิด อันเป็นอ�ำนาจหน้าท่ีใน
การลงโทษลกู จา้ งของจำ� เลย อกี ทงั้ ปรากฏตามสญั ญาจา้ งแรงงานทโี่ จทกเ์ บกิ
ความยอมรบั วา่ โจทกล์ งนามแทนจำ� เลย และคคู่ วามไมโ่ ตแ้ ยง้ กนั วา่ โจทกเ์ ปน็
ผู้รับมอบอ�ำนาจให้ท�ำสัญญาจ้างลูกจ้างเข้าท�ำงานกับจ�ำเลยแทนจ�ำเลย อัน
เปน็ อำ� นาจหนา้ ทใี่ นการจา้ งลกู จา้ งของจำ� เลยโจทกจ์ งึ เปน็ ผทู้ ไ่ี ดร้ บั มอบหมาย
ให้ท�ำการแทนจ�ำเลยในส่วนที่เก่ียวกับการลงโทษและจ้างลูกจ้างของจ�ำเลย
แทนจ�ำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตามมาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็น
ลูกจ้างของจ�ำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างน้ันมีผลประโยชน์บางส่วนที่

71
คณะกรรมการลกู จ้าง

ขัดกัน การที่สหภาพแรงงานแต่งต้ังโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อ
เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะ
กรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 ท่ีบัญญัติให้นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุม
หารอื กบั คณะกรรมการลกู จา้ งเพอ่ื จดั สวสั ดกิ ารแกล่ กู จา้ ง กำ� หนดขอ้ บงั คบั ใน
การทำ� งาน พจิ ารณาคำ� รอ้ งทกุ ขข์ องลกู จา้ ง หาทางปรองดองและระงบั ขอ้ ขดั
แย้งในสถานประกอบกจิ การ ร้องขอใหศ้ าลแรงงานพจิ ารณาวินจิ ฉัยในกรณี
ทเ่ี หน็ วา่ การกระทำ� ของนายจา้ งจะทำ� ใหล้ กู จา้ งไมไ่ ดร้ บั ความเปน็ ธรรมหรอื ได้
รบั ความเดอื ดรอ้ นเกนิ สมควร การแตง่ ตงั้ โจทกเ์ ปน็ กรรมการลกู จา้ งจงึ เปน็ การ
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไมม่ ีฐานะเปน็ กรรมการลกู จา้ งและไม่ได้รับความ
คมุ้ ครองตามมาตรา 52 จำ� เลยไมจ่ ำ� ตอ้ งไดร้ บั อนญุ าตจากศาลแรงงานในการ
เลิกจ้างโจทก์ อุทธรณข์ อ้ นีข้ องจ�ำเลยฟงั ขนึ้

72
คณะกรรมการลูกจา้ ง

ภาคผนวก

73
คณะกรรมการลูกจา้ ง

ลกู จา้ งลงลายมือช่อื รว่ มกนั แจ้งเป็นหนังสอื ก่อนวนั เลือกตั้ง
ไมน่ ้อยกว่า 10 คน ไม่น้อยกวา่ 15 วัน

แต่งต้ังคณะกรรมการ ก�ำหนด วัน เวลา ด�ำเนินการรบั สมคั ร
ดำ� เนินการเลือกตัง้ 5 คน สถานที่ ตลอดจน

ระยะเวลา
รับสมัคร

คแผณนภะกาพรกรามรเกลาือรกลต้งัูกจา้ ง

74
คณะกรรมการลกู จ้าง

พนกั งานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ประกาศการเลือกตงั้
นายจา้ ง อย่างน้อย 10 วนั
กอ่ นวนั เลอื กต้งั
ด�ำเนินการเลือกตั้ง จัดแผงหรือปา้ ยสำ� หรับ
แจง้ ผลการเลอื กตงั้ ผ้สู มัครหาเสียง
อย่างน้อย 2 แหง่
นายจา้ ง จดั ท�ำบญั ชีลูกจ้างใน
พนักงานประนอม สถานประกอบกิจการทกุ คน
ข้อพิพาทแรงงาน อย่างนอ้ ย 2 ชุด
ปดิ ประกาศบญั ชีรายช่อื
ลกู จา้ ง อยา่ งน้อย 3 วัน
ก่อนวันเลือกตั้ง

จัดท�ำอุปกรณ์การเลอื กตงั้
เมอ่ื ไดร้ ับการร้องขอ

75
คณะกรรมการลกู จา้ ง

แบบ ร.ส. 17

หนังสือแจ้งใหป้ ระกาศการเลอื กต้งั
กรรมการลูกจา้ ง

………………………………….

สถานประกอบกจิ การ..............................
วันท่.ี ...........เดือน.................พ.ศ................

เรื่อง ขอให้ประกาศการเลอื กต้งั กรรมการลูกจ้าง
เรียน .............................................................

ด้วยข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายน้ีมีความประสงค์จะให้มีการเลือกต้ัง
กรรมการลกู จา้ ง
สำ� หรบั สถานประกอบกจิ การน้ี ในวนั ท.่ี ..............เดอื น......................พ.ศ.................
ตัง้ แตเ่ วลา...........................น. ถงึ เวลา......................น. การเลือกตัง้ จะกระท�ำที่
..............................................................................................................................................
โดยใหผ้ ทู้ จ่ี ะสมคั รรบั เลอื กตง้ั ยนื่ ใบสมคั รตอ่ คณะกรรมการดำ� เนนิ การเลอื กตงั้
คนหนง่ึ คนใดตามรายนามขา้ งลา่ งนี้ ตงั้ แตว่ นั ท.ี่ .............เดอื น................พ.ศ........
ถึงวนั ท.่ี ...........เดือน........................พ.ศ..................

1. ...........................................................................
2. ...........................................................................

76
คณะกรรมการลูกจ้าง

จงึ เรยี นมาเพอ่ื โปรดพจิ ารณาประกาศการเลอื กตงั้ กรรมการลกู จา้ งเพอื่
ใหล้ ูกจ้างทกุ คนทราบโดยเรว็

ขอแสดงความนบั ถือ
ลงชอ่ื ........................................................... ลงชอื่ ..............................................................
ลงชอ่ื ........................................................... ลงชอ่ื ..............................................................
ลงชอ่ื ........................................................... ลงชอ่ื ..............................................................
ลงชอื่ ........................................................... ลงชอื่ ..............................................................
ลงชอ่ื ........................................................... ลงชอื่ ..............................................................

77
คณะกรรมการลูกจ้าง

แบบ ร.ส. 18

ประกาศ
เร่ือง การเลอื กตงั้ กรรมการลกู จา้ ง

ด้วย....................................กับพวกรวม............คน ได้แจ้งให้ประกาศการ
เลอื กตงั้ กรรมการลกู จา้ งตามมาตรา 45 แหง่ พระราชบญั ญตั แิ รงงานสมั พนั ธ์
พ.ศ. 2518 และไดก้ �ำหนดวันเวลา และสถานทใ่ี นการเลอื กตัง้ และกำ� หนด
ระยะเวลาการสมคั รรับเลอื กตั้งไว้ ดังต่อไปน้ี

1. วันเลอื กต้งั
วนั ............ เดือน..............................พ.ศ..............
เวลา......................น. ถงึ ..............................น.
2. สถานทเี่ ลอื กต้งั
ณ. ..........................................................................
3. การรบั สมัครรับเลอื กตง้ั
ผู้ประสงค์จะสมคั รรบั เลือกต้ังเป็นกรรมการลกู จ้าง ให้ยน่ื ใบสมคั ร
ตอ่ กรรมการดำ� เนนิ การเลือกตงั้ คนหนงึ่ คนใด ดงั มรี ายชอ่ื ต่อไป
1. .....................................................................
2. .....................................................................
3. .....................................................................
4. .....................................................................
5. .....................................................................

78
คณะกรรมการลกู จ้าง

4. ระยะเวลาสมัครรบั เลือกต้ัง
วันท่ี..................... เดอื น................................... พ.ศ............................ ถึง
วนั ที.่ .................... เดือน................................... พ.ศ............................
จึงขอประกาศให้ทราบโดยท่วั กัน
ประกาศ ณ วันท่.ี .......... เดือน....................... พ.ศ..................

ลงชือ่ ......................................................นายจา้ ง

79
คณะกรรมการลูกจา้ ง

แบบ ร.ส. 19

ใบสมคั รรับเลอื กต้ังเปน็ กรรมการลูกจา้ ง
...................................................

ข้าพเจ้า
(1) ช่ือ................................................... ช่ือสกุล.................................................
(2) อายุ...................................................ปี
(3) ทำ� งานอยใู่ นสถานประกอบกจิ การแหง่ น้ี เปน็ เวลา.........ป.ี ........เดอื น
ขณะนที้ ำ� งานในตำ� แหนง่ ..........................................................................

ขอสมคั รรบั เลือกตง้ั เป็นกรรมการลูกจา้ ง

สมัคร ณ วันที่................ เดอื น................พ.ศ............

ลงชอ่ื ..................................................ผู้สมคั ร

แบบ ร.ส. 20

80
คณะกรรมการลูกจ้าง

หนังสือแจง้ ผลการเลือกต้ังกรรมการลูกจ้าง
.....................................................

สถานประกอบกจิ การ.................................
วนั ท.ี่ ................เดอื น......................พ.ศ.........

เรื่อง การเลือกต้งั กรรมการลกู จา้ ง
เรียน ............................... (1) นายจา้ ง (2) พนักงานประนอมขอ้ พิพาทแรงงาน

ดว้ ยลูกจา้ งในสถานประกอบกจิ การ...............................................................
เลขท่ี.....................ถนน............................ตำ� บล..........................อ�ำเภอ........................
จังหวัด.................................ได้จัดให้มกี ารเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างตามพระราช
บญั ญตั ิแรงงานสมั พันธ์ พ.ศ. 2518 เม่อื วันท.่ี ..........เดือน...............พ.ศ.............
ปรากฏวา่ ผซู้ งึ่ ไดร้ ับเลอื กตั้งเปน็ กรรมการลูกจ้างมีรายชือ่ ดงั ตอ่ ไปนี้

(1)........................................................ (2)............................................................
(3)........................................................ (4)............................................................
(5)........................................................ (6)............................................................
(7)........................................................ (8)............................................................
(9)........................................................ (10).........................................................

81
คณะกรรมการลูกจา้ ง

(11)........................................................ (12).......................................................
(13)........................................................ (14).......................................................
(15)........................................................
จงึ เรียนมาเพ่อื โปรดทราบ
ขอแสดงความนับถอื
ลงช่อื ...........................................กรรมการดำ� เนนิ การเลือกตงั้
ลงชอ่ื ...........................................กรรมการดำ� เนินการเลอื กตัง้
ลงชื่อ...........................................กรรมการดำ� เนินการเลือกต้งั
ลงชื่อ...........................................กรรมการดำ� เนนิ การเลอื กตั้ง
ลงชื่อ...........................................กรรมการดำ� เนินการเลือกตั้ง

82
คณะกรรมการลกู จา้ ง

ตวั อยา่ ง
รายชอ่ื ผ้สู มัครรบั เลือกต้ังกรรมการลูกจา้ ง

ชอ่ื สถานประกอบกจิ การ...............................................................................
...................................................

วนั /เวลาเลือกตงั้ วัน..................เดือน.........................................พ.ศ.........................
ต้งั แตเ่ วลา.......................น. ถงึ เวลา..................น.

สถานทีเ่ ลอื กตง้ั ..........................................................................................

หมายเลข ชอื่ – นามสกลุ

1 .......................................................................................

2 .......................................................................................

3 .......................................................................................

4 .......................................................................................

5 .......................................................................................

6 .......................................................................................

7 .......................................................................................

8 .......................................................................................

9 .......................................................................................

83
คณะกรรมการลูกจา้ ง

ตวั อยา่ ง
บัตรลงคะแนนเสยี งเลอื กตงั้ กรรมการลูกจา้ ง

กาเครื่องหมายกากบาท x ในช่องหนา้ หมายเลขผู้สมัคร
กาเคร่อื งหมายไดเ้ พยี ง...................หมายเลขเทา่ นั้น
บตั รลงคะแนนทก่ี าหมายเลขเกนิ หรอื มรี อย ขดู ลบ ขดี ฆา่ จะถอื เปน็ บตั รเสยี

หมายเลข รายชอ่ื ผ้สู มัคร
1 ..........................................................................................
2 ..........................................................................................
3 ..........................................................................................
4 ..........................................................................................
5 ..........................................................................................
6 ..........................................................................................
7 ..........................................................................................
8 ..........................................................................................
9 ..........................................................................................
10 ..........................................................................................
11 ..........................................................................................
12 ..........................................................................................
13 ..........................................................................................
14 ..........................................................................................

84
คณะกรรมการลูกจ้าง

ตัวอยา่ ง
หนังสือแจ้งการแต่งตั้ง (คณะ) กรรมการลกู จา้ ง

ท.ี่ .................. ชอ่ื สถานประกอบกิจการ............................................
วันที่................. เดอื น.......................พ.ศ......................

เรอ่ื ง การแต่งต้ัง (คณะ) กรรมการลูกจ้าง
เรียน ......................(1) นายจ้าง (2) พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน
สง่ิ ทส่ี ง่ มาดว้ ย รายงานการประชมุ คณะกรรมการสหภาพแรงงาน จำ� นวน.....ฉบบั

ด้วยสหภาพแรงงาน...........................................................................................
ซึ่งขณะนี้มสี มาชิกในบริษทั ...........................................ตง้ั อยูเ่ ลขที.่ ..........................
ถนน.............................ตำ� บล/แขวง.........................อำ� เภอ/เขต...................................
จังหวดั ................................. จ�ำนวน.................คน จากจำ� นวนลูกจา้ งของบริษทั
ทง้ั หมดตามพระราชบญั ญตั แิ รงงานสมั พนั ธ์ พ.ศ. 2518 จำ� นวน...................คน
ได้ประชมุ คณะกรรมการสหภาพแรงงาน คร้ังที.่ ...............เม่ือวนั ท.ี่ .....................
พจิ ารณาแตง่ ตั้ง (คณะ) กรรมการลกู จา้ ง จำ� นวน................คน
ดงั มรี ายชอื่ ผไู้ ดร้ บั การแตง่ ตง้ั เปน็ (คณะ) กรรมการลกู จา้ ง ดงั ตอ่ ไปน้ี

1. ..................................................................................................
2. ..................................................................................................
3. ..................................................................................................
4. ..................................................................................................
5. ..................................................................................................

85
คณะกรรมการลกู จา้ ง

อนง่ึ คณะกรรมการลกู จ้างที่ไดร้ ับการแต่งต้ัง จะเปน็ ตัวแทนลกู จา้ ง
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและประสานประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างฝ่าย
บริหารและลูกจ้าง ตลอดจนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารเพ่ือ
ระงบั ขอ้ ขดั แยง้ ในสถานประกอบกจิ การตอ่ ไป พรอ้ มนส้ี หภาพแรงงานไดแ้ นบ
สำ� เนารายงานการประชมุ คณะกรรมการสหภาพแรงงาน ณ วนั ทล่ี งมตแิ ตง่ ตงั้
(คณะ) กรรมการลูกจ้างดงั แนบทา้ ย

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถอื

(ชือ่ และนามสกุล)
ประธานสหภาพแรงงาน............................................

หมายเหตุ ประทบั ตราสหภาพแรงงานกำ� กบั ลายเซน็ ประธานสหภาพแรงงาน

86
คณะกรรมการลกู จา้ ง

ตัวอยา่ ง
หนงั สอื แจ้งการลาออกของกรรมการลกู จ้าง

ท่.ี .................. ชื่อสถานประกอบกจิ การและทีต่ ้ัง.........................
วนั ที่................. เดือน.......................พ.ศ.....................

เรอื่ ง แจง้ การลาออกจากการเป็นกรรมการลกู จ้าง
เรยี น ประธานสหภาพแรงงาน (นายจา้ ง พนกั งานประนอมขอ้ พพิ าทแรงงาน)

ด้วยขา้ พเจา้ .................................................ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการลูกจา้ ง
บริษทั ..............................................เมอ่ื วันที่...............เดือน....................พ.ศ................
มีความประสงค์จะลาออกจากการเป็นกรรมการลูกจ้าง เนื่องจาก...................
..............................................................................................................................................
ทง้ั นีต้ ง้ั แตว่ ันที.่ .................เดือน...................พ.ศ................เปน็ ตน้ ไป

จึงเรียนมาเพือ่ ทราบ

ขอแสดงความนบั ถือ

( ช่อื และนามสกลุ )
กรรมการลูกจ้างบริษัท

87
คณะกรรมการลกู จ้าง

ตัวอยา่ ง
หนังสือแจ้งการแต่งตั้งกรรมการลกู จา้ งแทน

ชือ่ สถานประกอบกจิ การและที่ตั้ง
วันที่.................เดอื น......................พ.ศ.........

เรือ่ ง แจ้งรายชื่อกรรมการลูกจา้ งทแ่ี ตง่ ตงั้ แทน
เรียน ......................(1) นายจ้าง (2) พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน
ส่ิงทสี่ ่งมาดว้ ย 1. สำ� เนาภาพถา่ ยหนงั สอื แจง้ การลาออกจากกรรมการลกู จา้ ง

จำ� นวน..................ฉบับ
2. รายงานการประชมุ คณะกรรมการสหภาพแรงงาน
จ�ำนวน..................ฉบับ

เนอ่ื งจากลกู จา้ งซงึ่ ดำ� รงตำ� แหนง่ กรรมการลกู จา้ ง ตงั้ แตว่ นั ท.่ี ..................
เดอื น.......................พ.ศ.................ไดแ้ จง้ ขอลาออกจากการเปน็ กรรมการลกู จา้ ง
จำ� นวน....................คน จากจำ� นวน กรรมการลกู จา้ งทงั้ คณะ.................คน คอื
1. ............................................... ลาออกจากการเป็นกรรมการลูกจ้าง
เมื่อวนั ท่ี.....................................................

ดังน้ัน สหภาพแรงงาน...........................................จึงขอใช้สิทธิแต่งต้ัง
สมาชกิ สหภาพแรงงานเปน็ กรรมการลกู จา้ งแทนกรรมการลกู จา้ งทล่ี าออกไป

จำ� นวน.......................คน คือ

88
คณะกรรมการลกู จ้าง

1. .......................................................................................
2. .......................................................................................

ฯลฯ
ทงั้ นกี้ รรมการลกู จา้ งทไี่ ดร้ บั การแตง่ ตงั้ ใหมใ่ นครงั้ นจี้ ะมหี นา้ ทแี่ ละสทิ ธิ
ตามกฎหมายในฐานะกรรมการลกู จา้ งตงั้ แตว่ นั ท.ี่ .........เดอื น..................พ.ศ........
และจะด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการลูกจ้างได้จนครบวาระของคณะกรรมการ
ลูกจ้างชุดเดิม พร้อมนี้ สหภาพแรงงานได้แนบส�ำเนารายงานการประชุม
คณะกรรมการสหภาพแรงงาน ณ วนั ท.่ี ................................
จงึ เรียนมาเพอื่ ทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(ชอื่ และนามสกลุ )

ประธานสหภาพแรงงาน

หมายเหตุ ประทบั ตราสหภาพแรงงานกำ� กบั ลายเซน็ ประธานสหภาพแรงงาน

89
คณะกรรมการลกู จ้าง

คณะผจู้ ดั ทำ�

นายอทิ ธิพล แผน่ เงนิ ผอู้ ำ� นวยการกลมุ่ งานประนอมขอ้ พพิ าทแรงงาน
และข้อขัดแย้ง

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ ผอู้ �ำนวยการกลุ่มงานส่งเสรมิ แรงงานสัมพนั ธ์

นายประดษิ ฐ์ สรุ ชยั นักวชิ าการแรงงาน 7 ว

นางนฤมล กันนะ นกั วชิ าการแรงงาน 6 ว

นางสาวอลสิ รา ยกเจรญิ นักวชิ าการแรงงาน 5

นางสาววรลกั ษณ์ กาจหาญ เจา้ พนกั งานแรงงาน 4

90
คณะกรรมการลูกจ้าง


Click to View FlipBook Version