The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sakura.poor, 2022-06-03 12:26:32

วันสุนทรภู่ (1)

วันสุนทรภู่ (1)

26 มิถุนายน
วันสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร (นามเดิม “ภู่”) หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า “สุนทรภู่” เกิดเมื่อวันที่ 26
มิถุนายน พ.ศ. 2329 ที่บริเวณด้านเหนือของ “พระราชวังหลัง” หรือบริเวณสถานีรถไฟ
บางกอกน้อยในปัจจุบัน ตรงกับรัช​สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัด
ระยอง ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองอื่น

ในวัยเด็ก สุนทรภู่อาศั ยอยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และมีโอกาสได้
ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ ในสำนักพระภิกษุที่มีชื่อเสียง สำนัก
ชีปะขาว (ปัจจุบันคือวัศรีสุดาราม) และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์
ราชสำนัก (หรือผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก) ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์ ​จักรี
“สุนทรภู่” ไม่ใช่ชื่อจริง แต่เป็นนามแฝงที่เกิดจากการนำคำว่า “สุนทร”
ในชื่อบรรดาศั กดิ์ “ขุนสุนทรโวหาร” ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มารวมกับชื่อจริงว่า “ภู่”

ประวัติสุนทรภู่ (ต่อ)

สุนทรภู่มีใจรักด้านกาพย์กลอนและเป็นกวีที่มีความชำนาญทางการประพันธ์เป็นอย่างยิ่ง โดย
อาจเป็นผลมากจากประสบการณ์ในวัยเด็กที่มีโอกาสได้ซึมซับความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม
และศิ ลปะการแสดงต่าง ๆ ในพระราชวังหลัง สุนทรภู่หมั่นเพิ่มพูนประสบการณ์ในการ
ประพันธ์ด้วยการรับจ้างแต่งเพลงและบทกลอนมากมายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและคารมที่
คมคาย สุนทรภู่จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกวี และมีชื่อเสียงมากขึ้น

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สุนทรภู่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระสุนทร
โวหาร” เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการ
สุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2398 ขณะที่อายุ 69 ปี และเนื่องจาก
สุนทรภู่มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ สุนทรภู่จึงได้รับสมญานามว่า “กวีสี่ แผ่นดิน”

ประวัติสุนทรภู่ (ต่อ)

สุนทรภู่เป็นกวีเอกที่มีผลงานอันเป็นที่ยอมรับมากมาย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น
“เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย” สุนทรภู่มีความชำนาญทางด้านกลอนเป็นพิเศษ และได้
ปรับปรุงกลอนโบราณ จนกลายเป็นกลอนที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่มีความไพเราะด้วย
การใช้คำสัมผัสในในกลอนทุกวรรค ทั้งยังนิยมใช้คำง่าย ๆ

เพื่อให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน กลอนนิทานและ
กลอนนิราศของสุนทรภู่จึงกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางมาจนถึง
ปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง แต่ผล
งานที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของสุนทรภู่คงหนีไม่พ้น
“พระอภัยมณี” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติชีวิต ความรัก และการ
ผจญภัยของพระอภัยมณี รวมทั้งของตัวละครอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
พระอภัยมณี

ประวัติสุนทรภู่ (ต่อ)

ในพระอภัยมณีสุนทรภู่ได้สร้างเนื้อหาที่แปลกใหม่ โดยนำเรื่องราวจากแหล่งต่าง ๆ มาผสม
ผสานกันเพื่อสร้างเรื่องราวที่สนุกตื่นเต้น แหล่งที่มาของพระอภัยมณีนั้นมีทั้งนิทานและ
การเมืองการปกครองของต่างประเทศ วัฒนธรรมของต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งของชาว
ตะวันตก นิทานไทย และเรื่องราวที่มาจากจินตนาการของสุนทรภู่เอง นอกจากนี้ สุนทรภู่ยัง
ได้สร้างตัวละครที่เป็นเอกลักษณ์และมีความแปลกใหม่

ทำให้นิทานกลอนเรื่องพระอภัยมณีมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ
ตัวละครเด็กที่เก่งกล้า เช่น สุดสาคร ซึ่งเป็นลูกของพระอภัยมณีกับ
นางเงือก สินสมุทร ซึ่งเป็นลูกของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้ อสมุทร
และม้านิลมังกร ซึ่งเป็นลูกของม้ากับมังกร

ประวัติสุนทรภู่ (ต่อ)

ผลงานของสุนทรภู่สอดแทรกข้อคิดและคติธรรมที่เหมาะสมกับกาลเวลา รวมทั้งสะท้อนถึง
ทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมาก งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือก
ให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่น นิราศ
ภูเขาทอง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทองและอีกหลาย ๆ เรื่อง โดยนิราศ หมายถึง งาน
ประพันธ์ประเภทหนึ่ง มักมีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก มักจะสอดแทรก
ความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนั้น

ผลงานของสุนทรภู่เป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตจนถึง
ปัจจุบัน เห็นได้จากการนำผลงานของท่านไปดัดแปลงเป็นสื่ อต่าง ๆ เช่น
ละคร ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงหนังสือการ์ตูนและนิทาน

ตัวอย่างผลงาน

นิราศ 9 เรื่อง นิทานกลอน 5 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง
อภัยนุราช
นิราศเมืองแกลง โคบุตร
นิราศพระบาท พระอภัยมณี บทเสภา 2 เรื่อง
นิราศภูเขาทอง พระไชยสุริยา ขุนช้างขุนแผน
นิราศสุพรรณ ลักษณวงศ์ เสภาพระราชพงศาวดาร
นิราศวัดเจ้าฟ้า สิงหไกรภพ
นิราศอิเหนา
รำพันพิลาป สุภาษิต 3 เรื่อง บทเห่กล่อมพระบรรทม 4 เรื่อง
นิราศพระประธม
นิราศเมืองเพชร สวัสดิรักษา เห่เรื่องพระอภัยมณี
เพลงยาวถวายโอวาท เห่เรื่องโคบุตร
สุภาษิตสอนหญิง เห่เรื่องจับระบำ
เห่เรื่องกากี

แบบประเมินความพึงพอใจ


Click to View FlipBook Version