ความผิดต่อ
เจ้าพนัก
งาน
ผู้จัดทำ
นางสาว เสาวลักษณ์ รัตนา
รหัสนิสิต 641081387
เสนอ
อาจารย์ วีณา สุวรรณโณ
คำนำ
หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เล่มนี้เป็นส่วนนึงของการศึกษา
รายงานวิชา 0801241 กฎหมายอาญา ภาคความผิด ชั้นปีที่ 2 มีจุดมุ่ง
หมายเพื่อให้ได้ความรู้ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด1 ความผิดต่อ
เจ้าพนักงาน (มาตรา 136 137 139 144 147 และ157 ) ซึ่งผู้จัดทำได้
ศึกษาและหาข้อมูล 2 บท คำอธิบายเชิงโครงสร้างความรับผิดทาง
อาญา และ คำอธิบายจากบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกา
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวความผิดต่อเจ้าพนักงาน
เป็นอย่างดี
นางสาว เสาวลักษณ์ รัตนา
ผู้จัดทำ
สารบัญ
1 คำอธิบายเชิงโครงสร้างความรับผิดทาง
อาญา
บทที่ 1 1
มาตรา 136 2
มาตรา 137 5
มาตรา 139 8
มาตรา 144 10
มาตรา 147
13
มาตรา 157 15
2 คำอธิบายจากบรรทัดฐานคำพิพากษาศาล
ฎีกา
บทที่ 2 18
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 136 18
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 137 19
20
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 139 21
22
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 144 23
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 147
24
คำพิพากษาศาลฎีกา มาตรา 157
3 บรรณานุกรม
บทที่ 1 1
คำอธิบายเชิงโครงสร้างความรับผิดทางอาญา
ความรับผิดทางอาญา
1.ความผิดในทางอาญาเกิดขึ้รเมื่อผู้กระทำได้กระทำ
ครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติ
2.การกระทำที่ครบ “องค์ประกอบ”ที่กฎหมายบัญญัติ
จะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
3.การกระทำที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่ไม่มีกฎหมาย
ยกเว้นความผิดนั้นจะต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษด้วย
4.บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อมีการกระทำ
2
ประมวลกฎหมายอาญามา
มาตรา 136
ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ
เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การดูหมิ่น
หมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้เสียหายเป็นที่เกลียดชัง
สบประมาท หรือด่ากรณีคำหยาบคายไม่สุภาพ คำแดกดัน คำ
สาปแช่งคำขู่อาฆาตคำปรารภปรับทุกข์คาโต้เถียงคำกล่าวติชม
ตามปกติวิสัยไม่เป็นการดูหมิ่นและการดูหมิ่นนั้นอาจเป็นการ
กระทำด้วยวาจา กริยาท่าทาง หรือโฆษณาก็ได้
3
โครงสร้าความผิดทางอาญาตามมาตรา136
องค์ประกอบภายนอก
1.ดูหมิ่น
2.เจ้าพนักงาน
3.ซึ่งกระทำตามหน้าที่หรือ
เพราะได้กระทำการ
หน้าที่
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
ความหมายของคําว่า เจ้าพนักงาน
บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน
หรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฎิบัติหน้าที่
ราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะ
ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่
การดูหมิ่นเจ้าพนักงานที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 136 จะ
ต้องเป็นการดูหมิ่น ที่เกี่ยวกับการทำงานด้วย เช่น ดูหมิ่นตำรวจที่
ตั้งด่านตรวจ ดูหมิ่นครูที่สอนหนังสือ แต่ถ้าหากดูหมิ่นในเรื่องอื่นๆ
หรือประเด็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่ ก็ย่อมไม่มี
ความผิดตามมาตรา 136 เช่นการกล่าวถึงหมอในประเด็นว่า มีชู้
หรือกล่าวถึงครูว่าทุจริตรับเงินใต้โต๊ะ
4
ดังนั้นการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา
136 จะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง
สามข้อที่กล่าวมา หากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อ
หนึ่ง ก็ไม่เป็นความผิดนั้น
5
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา137 ผู้ใดแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่ง
อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา 137
องค์ประกอบภายนอก
1.แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
2.เจ้าพนักงาน
3.ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
จากโครงสร้างสามารถอธิบายได้ดังนี้ 6
แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หมายความว่า การนำข้อเท็จจริง
แจ้งแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา
137 นี้อาจจะกระทำโดยผู้แจ้งไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานเอง หรือ
โดยตอบคำถามของเจ้าพนักงานก็ได้
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรานี้ อาจจะกระทำได้
3 วิธี ดังนี้
1.การกระทำด้วยวาจา
2.การกระทำด้วยลายลักษณ์อักษร
3.การกระทำด้วยการแสดงกิริยาท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ให้เจ้าพนักงานได้
ทราบข้อความ โดยที่ข้อความที่แจ้งนั้นจะต้องเป็นความเท็จ
ถ้าข้อคามที่แจ้งนั้นไม่เป็นความเท็จแล้ว ผู้แจ้งไม่มีความผิด
ตามมาตรา 137
แก่เจ้าพนักงาน คือเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งข้อความจะต้องเป็น
ผู้มีหน้าที่รับแจ้งข้อความนั้นและต้องกระทำการตามหน้าที่โดย
ชอบด้วยกฎหมายจึงจะถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ถ้าเป็นการแจ้ง
ข้อความต่อเจ้าพนักงานซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับแจ้ง
ข้อความเช่นนั้น ผู้แจ้งก็ไม่มีความผิดตามมาตรา137 นี้
7
ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายถ้าข้อความนั้นไม่อาจ
ทำให้ผู้ใดได้รับความเสียหายก็ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐาน
แจ้งความเท็จและมีข้อสังเกตว่าไม่ต้องเกิดความเสียหายขึ้นจริงๆ
คือแม้การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นเพียงแต่อาจจะก่อให้เกิด
ความเสียหายได้ ก็เป็นความผิดสำเร็จทันทีเมื่อแจ้ง และการแจ้ง
นั้นได้รู้ถึงเจ้าพนักงานแล้ว
โดยเจตนา หมายถึง เจตนาธรรมดา
ตามมาตรา 59 คือผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่นำไป
แจ้งต่อเจ้าพนักงานนั้นเป็นเท็จ ถ้าหากไม่รู้ก็ถือว่าไม่มี
เจตนา ผู้แจ้งก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 137 นี้
ประมวลกฎหมายอาญา 8
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วย
หน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลัง
ประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสี่ปี หรือ ปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข่มขืนใจ หมายควาว่า
บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจแต่จําต้องฝืน
ใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น
ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้
ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา139
โครงสร้างความผิดทา
งอาญามาตรา 139
องค์ประกอบภายนอก
1.ข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะ ใช้กำลัง
ประทุษร้าย
2.เจ้าพนักงาน
3.ให้ปฎิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือได้ละเว้นการปฏิบัติ
การตามหน้าที่
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
-เจตนาธรรมดา
ข้อสังเกต มาตรา139 9
- ความผิดสำเร็จเมื่อสามารถบังคับให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการอันมิ
ชอบด้วยหน้าที่ทำให้เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
- กรณีบังคับให้ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอันชอบด้วยหน้าท่ี
- กรณีบังคับให้เจ้าพนักงานละเว้นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่
- การใช้กำลัง ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็น
อันตรายแก่กาย
ประมวลกฎหมายอาญา 10
มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น
ใดแก่ เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา
จังหวัดหรือ สมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำ
การ หรือประวิง การกระทาอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ให้ หมายความว่า
การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานได้
รับเอาไว้แล้ว
ประโยชน์อื่นใด หมายความว่า
ประโยชน์อื่นๆที่ไม่ใช่ลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน เช่น การฝากให้ทำงาน ยก
ลูกสาวให้แต่งงานด้วย
ประวิงการกระทำ หมายความว่า
การทำให้ช้าลง
โดยเจตนา หมายความว่า
จำเลยผู้กระทำจะต้องรู้ บุคคลที่จำเลยให้ทรัพย์สินไปนั้นเป็นเจ้าพนักงาน
หรือกลุ่ม 3 ส (สส.สว+สจ.+สท.) ถ้าหากจำเลยผู้กระทำไม่รู้ ย่อมถือว่าขาด
เจนา เมื่อขาดเจตนา แล้วย่อมไม่ผิด
เพื่อ ในกฎหมาย หมายความว่า
เป็นเจตนาพิเศษ เป็นความผิดสำเร็จเกิดขึ้น
ขอให้ หมายความว่า การเสนอจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้า
พนักงานในอนาคต
11
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา 144
องค์ประกอบภายนอก
1.ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้
2.ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
3.แก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา
จังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล
4.เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือการประวิงการกระทำ
อันมิชอบด้วยหน้าที่
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
-เจตนาธรรมดา
-เจตนาพิเศษ
ข้อสังเกต มาตรา 144
- เป็นความผิดสำเร็จแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
- เมื่อผิด ม.144 จะไม่เป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานรับสินบนอีก
- ผู้ให้สินบนอาจเป็นราษฎร เจ้าพนักงานก็ได้
- กรณีเจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ถูกจูงใจให้กระทาโดยมิชอบ
- กรณีปัญหาเกี่ยวกับเจตนาพิเศษ
A) เพื่อจูงใจให้กระทาตามหน้าที่
B) เพราะได้ปฏิบัติการอันชอบ มิชอบด้วยหน้าที่
ให้สินบนเจ้าพนักงาน มาตรา 144 12
• การให้ทรัพย์สินมีมูลเหตุจูงใจในการให้ เพื่อทำหรือไม่ทำ
ในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่
•ผู้ให้สินบนอาจเป็นเจ้าพนักงานก็ได้ แต่ไม่มีหน้าที่โดยตรง
ในเรื่องนั้นๆ เช่น เป็นตำรวจโรงพักเดียวกัน แต่ไม่รับผิด
ชอบคดี แล้วให้ทรัพย์สินแกร้อยเวรเจ้าของคดีเพื่อกระทำไม่
ชอบด้วยหน้าที่
ประมวลกฎหมายอาญา 13
มาตรา 147 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษา
ทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์น้ันเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือ
โดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจาคุกต้ังแต่ห้าปีถึง
ยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับต้ังแต่หน่ึงแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มีหน้าที่ หมายความว่า
กิจที่ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ
เบียดบังทรัพย์ หมายความว่า
การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
แล้วเบียดบัง เอาทรัพย์นั้นเป็นของตน โดยทุจริต
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา147
องค์ประกอบภายนอก
1.เจ้าพนักงาน
2.มีหน้าที่ซื้อ มีหน้าที่จัดการหรือหน้าที่รักษาทรัพย์
3.เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่น
โดยทุจริต หรือโดยทุจริตให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้น
องค์ประกอบภายใน
-โดยเจตนา
-โดยทุจริต
ข้อสังเกต มาตรา147 14
- หน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ รักษาทรัพย์
A) กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
B) คำสั่ง/การมอบหมายของผู้มีอำนาจสั่งการ
- ทรัพย์ทีเจ้าพนักงานมีหน้าที่นั้นๆไม่จำเป็นต้องเป็น
ของทางราชการเสมอไป Ex เง
ินประกันการปล่อยตัว
ชั่วคราว รถของกลาง
- ต้องมีการเบียดบัง = ครอบครองแล้วกระทำการใดที่
เป็นการปฏิเสธกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ของรัฐ
- เมื่อมีความผิดตาม ม.147 แล้วจะไม่ผิด ม.158 อีก
มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ได้กระทำความ
ผิดเป็นเจ้าพนักงานและจะต้องมีหน้าที่ราชการอย่างใดอย่าง
หนึ่งตามที่บัญญัตินี้ไว้ด้วย ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำของ
หน่วยงานราชการไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมา
ยอาญมาตรา 147 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญาได้ต้องเป็นมาตรา 352 เท่านั้น
ผู้กระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายอาญา 15
มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ
ปฏิบัติหรือละ เว้นการปฏิบัติหน้าทีโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำ
คุกต้ังแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับต้ังแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสน
บาท หรือทั้งจำท้ังปรับ
คำว่า “โดยมิชอบ” หมายถวามถึง โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้า
พนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย
การปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติ
ไม่อยู่ในหน้าที่หรือในหน้าที่แต่
เป็นการกระทำที่ชอบด้วยหน้าที่โดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิด
โครงสร้างความผิดทางอาญามาตรา 157
องค์ประกอบภายนอก (กรณีโดยมิชอบ)
1.เจ้าพนักงาน
2.ปฎิบัติหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
3.โดยมิชอบ
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
-เจตนาธรรมดา
-เจตนาพิเศษ
องค์ประกอบภายนอก (กรณีโดยทุจริต) 16
1.เจ้าพนักงาน
2.ปฎิบัติหน้า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
องค์ประกอบภายใน
-เจตนา
-เจตนาธรรมดา
-เจตนาพิเศษ
ข้อสังเกต
มาตรา 157
- เป็นบททั่วไปสำหรับความผิดเกี่ยกับเจ้าพนักงาน
- “หน้าที่” อาจถูกกำหนดไว้ในกฎหมายโดยตรงสาหรับเจ้าพนักงานผู้
นั้นได้รับมอบหมายหน้าที่นั้น
- กรณีไม่มีหน้าที่ดูแลเฉพาะเจาะจง แต่ยังมีหน้าที่ดูแลโดยทั่วไป
- หากเจ้าพนักงานนั้นดำรงตำแหน่ง พนักงานอัยการ พนักงาน
สอบสวน เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไป
ตามหมายอาญา อาจเป็นความผิดตามบทเฉพาะ มาตรา 200ได้
ข้อสังเกต มาตรา 15
7 (กรณีโดยมิชอบ)
- “โดยมิชอบ” = ไม่มีกฎหมายรับรองความชอบธรรมสำหรับการ
กระท /ละเว้นการระทำนั้นของเจ้าพนักงาน
- ผู้กระทำต้องมีมูลเหตุจูงใจ (เจตนาพิเศษ) เพื่อให้เกิดความเสีย
หาย แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเสมอ [กลั่นแกล้งให้บุคคลได้รับความเสียหาย]
: การทางานขาดตกบกพร่องของเจ้าพนักงาน อาจไม่เป็นความ
ผิด ตาม ป.อาญา มาตรา 157 หากไม่มีเจตนาพิเศษ
17ข้อสังเกตมาตรา 157 (กรณีโดยทุจริต)
- ไม่ต้องคำนึงว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบ
- ไม่ต้องมีมูลเหตุจูงใจเพื่อกลั่นแกล้งผู้ใด
- บางกรณีอาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดย
ทุจริต+โดยมิชอบเพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น
ได้ในเวลาเดียวกัน
จากองค์ประกอบสามารถอธิบายได้ดังนี้
หน้าที่ของเจ้าพนักงานอาจเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่รัฐบาล
แต่งตั้งให้ตามกฎหมาย
กรณีไม่มีหน้าที่โดยตรงย่อมไม่มีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 157 แม้เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจ
หน้าที่กระทำได้ทันที แต่การวินิจฉัยสั่งการเสนอผู้บังคับ
บัญชา อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
157 ได้
บทที่ 2 18
คำอธิบายจากบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกา
มาตรา 136
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558
การที่จำเลยที่ 1 พูดจาให้ร้ายผู้เสียหายขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าตรวจค้น
ร้านโดยใช้คำว่า "ปลัดส้นตีน" ซึ่งเป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม เป็นการ
กระทำความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตาม
ป.อ. มาตรา 136 สำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับ
จำเลยที่ 2 ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ
ขณะที่ผู้เสียหายเข้าตรวจภายในร้าน โดยจำเลยที่ 1 พูดขึ้นว่า ไปเอาปืน
มายิงให้ตาย อย่าให้ออกไปได้ แล้วจำเลยที่ 2 วิ่งไปหยิบไม้เบสบอลมาตี
ผู้เสียหาย 1 ที จำเลยที่ 1 เอาไม้กวาดไล่ตีผู้เสียหาย เป็นการกระทำต่อ
เนื่องกันไป โดยมีเจตนาเดียวกันคือทำร้ายผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำ
กรรมเดียวกับการร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้
เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
มาตรา 137 19
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/ 2546
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ ว. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการ
ออกบัตรประจำตัวประชาชน โดยกรอกข้อความในแบบคำขอมีบัตรประจำ
ตัวประชาชนและจำเลยนำแบบคำข อดังกล่าวเสนอ ส. พนักงานเจ้าหน้าที่
ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสาร
ราชการให้แก่ ง. และ ก. เป็นการกระทำผิดโดยมีเจตนาเพื่อ ช่วยเหลือ
บุคคลสองคนให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนแม้จะกระทำในวันเดียวกัน
สถานที่เดียวกันแต่เจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจาก
กัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่กรรมเดียวความเท็จที่แจ้งนั้น ต้อง
เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้เกิดความผิด หรือเป็นองค์ประกอบความผิด
ด้วย มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดการกระทำที่ครบองค์ประกอบที่กฎหมาย
บัญญัตินั้นหมายความว่า1.มีการกระทำ2.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบ
ภายนอกของความผิดในเรื่องนั้นๆ3.การกระทำนั้นครบองค์ประกอบ
ภายในของความผิดในเรื่องนั้น ๆ 4.ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระ
ทำตามหลักในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
มาตรา 139 20
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2561
ความผิดตามฟ้องโจทก์ คือ ป.อ. มาตรา 139 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงาน
ให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลัง
ประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย..." ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ที่จะ
กระทำความผิดตามมาตรา 139 ดังกล่าว จะต้องกระทำการต่อเจ้าพนักงาน คือข่มขืนใจ
ต่อเจ้าพนักงาน แต่ตามคำบรรยายในฟ้องโจทก์เองและตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น กลับฟังได้
แน่ชัดว่า จำเลยเพียงขึ้นพูดปราศรัยบนเวทีซึ่งเป็นการพูดต่อผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช. ด้วยกัน
จำเลยไม่ได้พูดหรือกระทำการใดต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแต่อย่างใด
แม้จะฟังว่าการพูดปราศรัยดังกล่าวมีการทำข่าวทางสถานีโทรทัศน์หรือสื่อมวลชน
สาธารณะอื่นด้วยก็ตาม ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการทำข่าว แต่ข้อเท็จ
จริงเป็นเรื่องของนักข่าวสื่อมวลชนมาทำข่าวกันเองเท่านั้น ขณะเกิดเหตุที่จำเลยพูด
ปราศรัยเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 แต่หลังจากนั้นอีก 3 วัน จึงมีการชุมนุมของกลุ่ม
นปช. เพื่อปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งขณะนั้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้เข้าร่วมใน
การเข้าปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. ดังกล่าวด้วย การชุมนุมเพื่อปิดกั้นดังกล่าวเพื่อไม่ให้คณะ
กรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่เข้าทำงานในสำนักงานอาจเป็นการกระทำความผิดตาม
มาตรา 139 ได้ เพราะเป็นการกระทำเพื่อไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่การ
พูดของจำเลยต่อผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ไม่ได้กระทำต่อเจ้าพนักงาน แต่เป็นการกระทำต่อผู้
ชุมนุม เป็นการพูดชักชวนปลุกเร้าผู้ชุมนุมให้ไปร่วมกันปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. เท่านั้น ที่
สำคัญในคำพูดปราศรัยของจำเลยไม่มีข้อความตอนใดที่จำเลยข่มขืนใจเพื่อให้คณะ
กรรมการ ป.ป.ช. กระทำการอันใดที่จำเลยต้องการเลย ไม่ว่าจะเป็นการอันมิชอบด้วย
หน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดตามฟ้อง
มาตรา 144 21
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2552
จำเลยทั้งสองไปติดต่อกับดาบตำรวจ ช. เพื่อขอให้ช่วยเหลือ พ. กับพวก โดย
เปลี่ยนข้อหาจากเดิมข้อหาร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
และจำหน่ายเป็นข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับ
อนุญาต โดยเสนอให้เงิน 70,000 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ขอให้
ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ไปดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชากระทำการอันมิ
ชอบด้วยหน้าที่ เมื่อพันตำรวจตรี ต. ผู้บังคับบัญชาของดาบตำรวจ ช. ทราบความ
ประสงค์ของจำเลยทั้งสองจากดาบตำรวจ ช. และวางแผนจับกุมโดยตอบตกลงและ
นัดหมายให้นำเงินมอบให้ และจับกุมได้พร้อมเงินของกลาง จึงถือได้ว่าจำเลยทั้ง
สองได้ขอให้ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. และพันตำรวจตรี ต. เพื่อจูงใจให้กระทำการ
อันมิชอบด้วยหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144
โจทก์ฟ้องว่า ดาบตำรวจ ช. ได้จับกุม พ. กับพวกในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยา
เสพติดให้โทษในประเภท 1 และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน จำเลยทั้งสองให้
ทรัพย์สินแก่ดาบตำรวจ ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการปล่อยตัว พ.
กับพวกซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลย
ทั้งสองกระทำการเพื่อจูงใจให้ดาบตำรวจ ช. ดำเนินการช่วยเหลือ พ. กับพวกโดย
เปลี่ยนข้อหาให้เบาลง ก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นการ
ให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้ปล่อยตัวหรือเปลี่ยนข้อหาก็ล้วนแต่เป็นการจูงใจให้กระทำ
การอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 เช่นเดียวกัน เมื่อ
จำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามที่พิจารณาได้
ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
มาตรา 147 22
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088/2561
เงิน 10,000 บาท ที่จำเลยในฐานะประธานศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองรับไปจาก
ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเงินที่ศูนย์การกีฬาแห่ง
ประเทศไทยจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการจัดสรรมาให้ศูนย์กีฬา
ตำบลโนนเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง เงินดัง
กล่าวถือเป็นเงินของทางราชการที่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วน
ตำบลโนนเมืองทั้งสิ้น กรณีมิใช่เป็นเงินที่มีผู้อุทิศให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล
โนนเมืองเป็นการเฉพาะเจาะจงว่าให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่จำเลยฎีกา
จำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองและในฐานะประธานศูนย์
กีฬาตำบลโนนเมืองย่อมจะต้องทราบดีว่า จะต้องเก็บรักษาเงินดังกล่าวไว้อย่างไร
การที่จำเลยอ้างว่า จำเลยมีความขัดแย้งกับ ส. ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดองค์การ
บริหารส่วนตำบลโนนเมืองจนไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ ก็มิได้เป็นเหตุให้
จำเลยมีหน้าที่หรือจำต้องเก็บรักษาเงินไว้เอง การที่จำเลยเก็บรักษาเงินไว้เองโดย
ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและไม่เคยแจ้งให้คณะกรรมการ
ศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรับฟังได้โดย
ปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเจตนาเบียดบังเงินดังกล่าวเป็นของตนเองโดยทุจริต
แม้ต่อมาจำเลยจะคืนเงินดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการศูนย์กีฬาตำบลโนนเมือง แต่
ก็เป็นเวลาภายหลังจากมีการร้องทุกข์แล้ว จึงหาเป็นเหตุให้รับฟังได้ว่าจำเลยมิได้มี
เจตนาทุจริตเบียดบังเงินดังกล่าวไปเป็นของตนเอง
มาตรา 157 23
คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2562
โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลย เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความ
ผิดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริต ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วินิจฉัย
ว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตตาม ป.อ.
มาตรา 157 และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ หรือใช้
อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้
ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา
ดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 โดยอ้างเหตุแห่งการกระทำความ
ผิดที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำวินิจฉัยไว้
แล้วว่ารับฟังไม่ได้ และไม่ปรากฏว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแปลง
แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ถ้าหากมีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธี
พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 18
วรรคสอง เหตุแห่งการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ตามข้อกล่าว
อ้างของโจทก์ในคดีนี้ย่อมเป็นอันรับฟังไม่ได้
24
บรรณานุกรม
นพนภัสทนายความเชียงใหม่
จาก: https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/
ประมวลกฎหมายอาญา%20มาตรา%20%20157.html
กฎหมายอาญาเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน
: ประมวลกฎหมายอาญา
และ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลยี ร์เพื่อสันติ พ.ศ.2559
ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒ
จาก:https://www.oap.go.th/images/documents/offices/
baea/kmgroup/24-25-06-64/03-24-25-06.pdf