The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aom02suphawadee, 2023-07-17 02:25:05

คู่มือการประเมินGCS

ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบบเสนอหัวข้อโครงร่างการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าอิสระ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา เพื่อเสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะฯ และเสนอขออนุมัติหัวข้อโครงร่างต่อบัณฑิตวิทยาลัย ………………………………………………………………………………………… 1. ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับ การผ่าตัดข้อเข่าเทียม ภาษาอังกฤษ Effects of Discharge Planning Program on Self-Care Behavior at Home of Total Knee Arthroplasty Patients 2. ชื่อ-สกุล นางสาวสุภาวดี บุญล้น รหัสนักศึกษา 631231006 3. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รศ.วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ 4. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา รวมทั้งเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดทฤษฎี โรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) เป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพทั่วโลกและเป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิดความทุพลภาพในผู้สูงอายุ (Sacks, Luo, & Helmick, 2010) เป็นโรคระบบกระดูกข้อที่เกิดจากการ เสื่อมของกระดูกอ่อนข้อต่อ การเปลี่ยนแปลงเกิดจากกระบวนการเสื่อมที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจทวี ความรุนแรงขึ้นตามลำดับ (กรมการแพทย์,2557) เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีของกระดูกอ่อน ทำให้มีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหว ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำ ให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินลำบาก และนำไปสู่ความพิการได้ (Feng,Novikov, Anoushiravani, & Schwarzkopf, 2018) การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม เริ่มจากการรักษาที่ไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) ได้แก่ การ ปรับเปลี่ยนการใช้ข้อเข่าในการใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย การลดน้ำหนักตัว หากมีอาการรุนแรงก็ต้อง


รับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย ร่วมการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะช่วยลดอาการปวด ข้อฝืดแข็ง กล้ามเนื้อเกร็ง ทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น เช่นการประคบร้อน ประคบเย็น การบริหารเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อรอบเข่า ซึ่งการรักษาด้วยการใช้ยา และ/หรือการรักษาด้วยวิธีประคับประคองแล้วไม่ได้ผล การรักษา โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Kneee Arthroplasty :TKA) เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด ทำ ให้ผู้ป่วยสามารถเดิน เคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (Wallis & Taylor,2011) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าการตัดเฉพาะส่วนผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออกโดยตัดออกหนาประมาณ 8– 10 มิลลิเมตร ไม่ตัดกระดูกเดิมออกทั้งหมด ทำให้กระดูกมีรูปร่างรับกับผิวของข้อเทียมที่จะใส่เข้าไป แล้วสวมข้อ เทียมครอบลงไปเท่านั้น ซึ่งข้อเข่าเทียม คือส่วนที่มาทดแทนผิวกระดูกอ่อนภายในข้อเข่าไป ทำให้การเคลื่อนไหว ข้อเข่าดีขึ้น (De Luca et al., 2018) จากรายงานขององค์การอนามัยเปิดเผยว่าใน พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคน เป็น 570 ล้านคน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคข้อและเข่าเสื่อม 1,700 และ 2,693 คนต่อประชากร 100,000 คน (Haq & Davatchi, 2011) และคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2020 โรคข้อเข่าเสื่อมจะเป็นสาเหตุของความทุพพลภาพ เป็น อันดับที่ 4 ในกลุ่มผู้สูงอายุ (World Health Organization’s Scientific Group on Rheumatic Disease) จากผลสำรวจพบว่าสถิติประชาชนคนไทย พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน (กรมการแพทย์, 2561) และพบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในช่วงปี 2554- 2557 เพิ่มขึ้นจาก 241,135 ราย เป็น 274,133 ราย เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 8,250 ราย ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อ เข่าเสื่อม พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 6,353 รายในปี 2557 เป็น 8,690 ราย ในปี 2558 และ 10,736 รายในปี 2559 คิดเป็นอัตราเฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 23 ต่อปี ทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,2560) สำหรับสถิติผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการในโรงพยาบาลกำแพงเพชรข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (2561- 2563) มีจำนวน 261,297,319 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆในจำนวนนี้ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ เข่าเทียมจำนวน 97,125,137 ตามลำดับ (เวชระเบียนโรงพยาบาลกำแพงเพชร,2563) และจากการรายงานความ เสี่ยงของหอผู้ป่วยตึกพิเศษ 60 เตียง 1 ปีย้อนหลังพบว่า มีผ่าตัดติดเชื้อ 4 ราย ข้อติดแข็งต้องรับการผ่าตัดซ้ำ 1 ราย จะเห็นได้ว่าการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังการผ่าตัดมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยต้องปฏิบัติพฤติกรรมหลังผ่าตัด อย่างมีประสิทธิภาพ และสม่ำเสมอ ก็จะส่งผลดีทั้งในเรื่องการเคลื่อนไหวข้อเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน การเดิน ความสมดุล ในการทรงตัว และช่วย ลดความปวดได้ดียิ่งขึ้น (Brandes & Rosenbaum, 2014; Crotty, Whitehead, Gray, & Finucane, 2002) ดังนั้นฐานะพยาบาลเวชปฏิบัติที่ต้องติดตามผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าเมื่อกลับบ้าน การส่งเสริมพฤติกรรมในการ ดูแลตนเองของผู้ป่วย ให้ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจึงควรทำตั้งแต่การวางแผนจำหน่ายเมื่อกลับบ้าน ผู้วิจัย


จึงสนใจที่จะศึกษาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วย เพื่อการ ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และจัดสรรทรัพยากรในชุมชน/บ้าน ให้เกิดประสิทธิผลกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เทียม 5. วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ทีได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เทียม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย 6. คำถามการวิจัย/สมมติฐานการวิจัย คำถามการวิจัย ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ก่อนและหลังการทดลองเป็นอย่างไร สมมติฐานการวิจัย ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังได้รับเข้า โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม 7. นิยามศัพท์ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม (OA Knee) หมายถึง บุคคลทั่วไปทั้งเพศชายและเพศหญิง ได้รับการตรวจวินิจฉัย จากแพทย์เฉพาะทางออร์โธปิดิกส์ ว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดและไม่มีโรคร่วม เช่น Below Knee amputation ใส่ขาเทียม, OA hip and OA ankle การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty :TKA) หมายถึง การตัดเฉพาะส่วนผิวข้อเข่าที่ เสื่อมสภาพออกโดยตัดออกหนาประมาณ 8 – 10 มิลลิเมตร ไม่ตัดกระดูกเดิมออกทั้งหมด ทำให้กระดูกมีรูปร่างรับ กับผิวของข้อเทียมที่จะใส่เข้าไป แล้วสวมข้อเทียมครอบลงไปเท่านั้น ซึ่งข้อเข่าเทียม คือส่วนที่มาทดแทนผิวกระดูก อ่อนภายในข้อเข่าที่เสียแล้ว โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย หมายถึง ใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย D-M-E-T-H-O-D โดยให้ความรู้ เรื่องโรค ยาที่ใช้และอาการข้างเคียง การจัดสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ แนวทางการรักษา ภาวะแทรกซ้อนและ การจัดการความผิดปกติการเลือกชนิดอาหารและการมาตรวจตามนัด พฤติกรรมการดูแลตนเอง หมายถึง การปฏิบัติตัวกิจกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเมื่อกลับบ้าน ประกอบด้วยการดูแลแผลผ่าตัด การบริหารเข่า การฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์พยุงเดิน การทำกิจวัตรประจำวัน การ สังเกตอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่แผลติดเชื้อ ข้อเข่าติด ข้อเข่าหลุด หลอดเลือดดำอุดตัน


8. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดทฤษฎี จากการทบทวนวรรณกรรม มีการศึกษาเกี่ยวกับที่หลากหลายทั้งการใช้โปรแกรมในการลดปัญหาข้อเข่า เสื่อม จัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะปวดข้อเข่าต่อระดับความรุนแรง ของอาการปวดข้อเข่า โปรแกรมการ ออกกำลังกายเพื่อลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มสมรรถภาพข้อเข่า การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ งานข้อเข่าระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบริหารข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนวรรณกรรมการ วางแผนจำหน่าย จะประเมินการทำงานของข้อภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม วัดการฟื้นฟูสภาพร่างกาย หลังผ่าตัดเป็นส่วนใหญ่ การประเมินด้านการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านยังมีน้อย ผู้ศึกษาวิจัยคิด ว่าการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยก่อนกลับบ้านมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงการปฏิบัติ ตัวหลังผ่าตัดได้ถูกต้องและสม่ำเสมอ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด กรอบแนวคิดการวิจัย ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการวางแผนจำหน่ายโดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงาน รูปแบบการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบ D-M-E-T-H-O-D สำหรับผู้ป่วยโรคข้อ เข่าเสื่อม ประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องโรค (disease: D) ยาที่ใช้ (medication: M) สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ และสังคม(environment and economic: E) แนวทาง การรักษา (treatment: T) ภาวะแทรกซ้อนและอาการ เจ็บป่วย (health:H) การมาตรวจตามนัด (outpatient referral: O) และอาหาร (diet: D) พร้อมกับนำแนวคิด การดูแลตนเองของโอเร็ม (รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม และคณะ, 2557) เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตสังคม เพิ่มความสามารถการดูแลตนเองได้ทั้งหมด สอดคล้องกับการดูแลตนเองที่จำเป็นเฉพาะผู้ป่วย ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จึงส่งเสริมให้พยาบาลจัดกิจกรรมโปรแกรม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการ ดูแลตนเองที่บ้านหลังได้รับการผ่าตัดข้อเข่าได้ต่อเนื่อง ซึ่งสรุปตามกรอบแนวคิดการวิจัยดังภาพที่ 1


9. ขอบเขตของการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย แบบการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) ในกลุ่ม เดียวกัน โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pretest Posttest Design) เพื่อศึกษาผลโปรแกรม การวางแผนจำหน่าย ต่อการปฏิบัติการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อม ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตั้งแต่วันที่ 1กันยายน 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 50 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ทั้งเพศชายและเพศหญิง การปฏิบัติ พฤติกรรม การดูแลตนเอง โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย 1. disease: D ให้ความรู้เรื่องโรค อาการและอาการแสดง ความรุนแรงของโรค 2. medication: M ให้ความรู้เรื่องยาที่ใช้ การเก็บรักษา อาการข้างเคียงและอาการ แพ้ยา 3. environment and economic: E การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดย การสร้างแรงจูงใจในการวางเป้าหมาย การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้าน การประกอบ อาชีพ และการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันหลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม 4. treatment: T ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรักษา สร้างความมั่นใจในการ ปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่า 5. health: H ให้ความรู้การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ชี้แนะ ผลลัพธ์ในการปฏิบัติตัวเหมาะสมและไม่เหมาะสม และการจัดการความผิดปกติ ในเบื้องต้น โดยการรับ ฟังปัญหา ให้กำลังใจ เป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือในส่วนที่ ปฏิบัติไม่ได้ 6. outpatient referral: O ให้คู่มือการปฏิบัติตัวประเมินพฤติกรรม การติดตามผล หลังผ่าตัด เมื่อแพทย์นัด และติดตามทางโทรศัพท์ แนะนำสถานบริการที่สามารถ ให้การช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน หรือโทรเบอร์1669 7. diet: D การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิน เพราะข้อเข่าก็จะรับน้ำหนักมากขึ้น


2 สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้ 3 ไม่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวหรือข้อห้ามทางการแพทย์ 4 มีผู้ดูแล และมีโทรศัพท์สามารถติดต่อได้ 5 มีความสมัครใจและยินดีเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เกณฑ์การคัดออกจากการวิจัย ได้แก่ 1) เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างการศึกษา 2) แพทย์ให้การรักษาโดยแก้ไขการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมซ้ำ 9.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.เครื่องมือที่ใช้ในการใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาการเป็นโรคความรุนแรงของโรค (ABI) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับความปวด (pain) จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และภาวะโรคร่วม 2) แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 16 ข้อ ประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับ สาเหตุของการ เกิดโรค ความรู้ในการดูแลตนเอง สำหรับผู้ป่วย 11 กิจกรรม เป็น คำถามด้านบวกจำนวน 13 ข้อ และด้านลบ จำนวน 3 ข้อ คำตอบ “ใช่”ให้ 2 คะแนน คำตอบ “ไม่ใช่” ให้ 1 คะแนน คะแนนรวมอยู่ในช่วง 0 – 32 คะแนน คะแนนรวมสูงหมายถึงมีความรู้ใน การดูแลตนเองดีกว่า คะแนนรวมต่ำ ซึ่งเกณฑ์การแปลผลคะแนน14 มีดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.50 - 5.00 ได้คะแนนตั้งแต่ 28.8 คะแนนขึ้นไป หมายถึง มีความรู้ในระดับสูงมาก คะแนนเฉลี่ย 3.50 - 4.49 ได้คะแนน 22.4 – 28.7คะแนน หมายถึง มีความรู้ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 2.50 - 3.49 ได้คะแนน 16 – 22.3 คะแนน หมายถึง มีความรู้ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.50 - 2.49 ได้คะแนน 9.6 – 15.9คะแนน หมายถึง มีความรู้ในระดับต่ำ คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 ได้คะแนนต่ำกว่า 9.6 คะแนนลงไป หมายถึง มีความรู้ในระดับต่ำมาก 3) แบบประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ประกอบด้วยข้อคำถามรวม 14 ข้อ โดยมีข้อคำถาม เกี่ยวกับความถี่ในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแล ตนเอง สำหรับผู้ป่วย ครอบคลุม 11 กิจกรรม ซึ่งเป็นคำถาม ด้านบวกจำนวน 10 ข้อ และด้านลบ จำนวน 4 ข้อ ลักษณะคำถามเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 3 ระดับ ได้แก่ ปฏิบัติเป็นประจำ หมายถึง กิจกรรมนั้นปฏิบัติอย่างน้อย 4-7 วันต่อสัปดาห์ ให้ 3 คะแนน ปฏิบัติเป็นบางครั้ง หมายถึง กิจกรรมนั้นปฏิบัติอย่างน้อย 1-3 วันต่อสัปดาห์ ให้ 2 คะแนน และไม่ปฏิบัติหมายถึง กิจกรรมนั้น ไม่ได้ปฏิบัติเลย ให้ 1 คะแนน คะแนนรวมอยู่ในช่วง 0 – 48 คะแนน คะแนนรวมสูง หมายถึง มีการ


ปฏิบัติกิจกรรมดูแลตนเองดีกว่าคะแนนรวมต่ำซึ่งเกณฑ์การแปลผลคะแนนใช้เช่นเดียวกับ แบบวัด ความรู้ 9.3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ผ่าตัดข้อเข่า สื่อวิดีทัศน์ออนไลน์ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยปรับปรุงจากเดิมที่มีอยู่ มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เรื่อง โรค คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด และการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้าน ได้แก่การดูแลแผลผ่าตัด การบริหารเข่า การฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์พยุงเดิน การทำกิจวัตรประจำวัน การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรพบ แพทย์ก่อนนัดเช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ ข้อเข่าติด ข้อเข่าหลุด หลอดเลือดดำอุดตัน และคู่มือการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วย สำหรับพยาบาลซึ่งมีแนวทางการจัดกิจกรรมตามการพยาบาลตามรูปแบบการวางแผนจำหน่าย D-M-E-TH-O-D และการจัดกิจกรรมตามแผนการรักษา โดยคู่มือนี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน 9.4 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1 การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) เครื่องมือที่นำไปตรวจสอบความ เที่ยงตรงของเนื้อหา จำนวน 1 เครื่องมือได้แก่ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านได้แก่แพทย์ออร์โธปิดิกส์ 1 ท่าน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 1 ท่าน พยาบาลที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะตึกผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก 1 ท่าน เพื่อหาความตรงตามเนื้อหา ความถูกต้องและความเหมาะสม ของภาษา ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความครอบคลุมของเนื้อหา หาดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) 2 การทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย (Reliability) นำแบบประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแล ตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม จำนวน 20 ราย หาค่าความเชื่อมั่นโดยใชวิธีของสัมประสิทธิ์แอล ฟ่าของครอนบาค (Conbach’alpha coefficient) 9.5 การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง โครงการวิจัยครั้งนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมด้านการวิจัย ก่อนการเก็บ ข้อมูลผู้วิจัย ผู้วิจัยนำเสนอโครงร่างการทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ เสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของคณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพิจารณาการรับรองพิทักษ์สิทธิ์ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ผู้วิจัยจะจัดทำ เอกสารชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการวิจัย และสิทธิในการตอบรับการเข้าร่วมวิจัย โดยคำนึงถึงสิทธิในการเข้า ร่วมงานวิจัยด้วยความสมัครใจ และการเก็บรักษาความลับ กลุ่มตัวอย่างสามารถสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิจัย ได้ทุกเมื่อตลอดการเข้าร่วมงานวิจัย อธิบายให้กลุ่มตัวอย่างรับทราบสิทธิในการถอนตัวออกจากงานวิจัยได้ทุกเมื่อ หากกลุ่มตัวอย่างไม่ยินยอมเข้าร่วม ก็จะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อแผนการรักษา เมื่อกลุ่มตัวอย่างยินยอมเข้าร่วมวิจัย ให้เซ็นใบยินยอม การดำเนินการเก็บรวบรวบข้อมูลช่วงเดือน กันยายน 2564 ถึง พฤศจิกายน 2564


9.6 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและวิธีการรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตและตอบแบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนการ ดำเนินการวิจัย ดังนี้ 9.6.1 ขั้นเตรียมการ 1) ผู้วิจัยนำหนังสือแนะนำตัวจากคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอต่อ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกำแพงเพชร ขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัย 2) ผู้วิจัยติดต่อประสานงานหัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก และตึกพิเศษ 60 เตียง เพื่อขอสถานที่ใน การให้ทำการวิจัย และขอความร่วมมือพยาบาลประจำหอผู้ป่วย ในการร่วมใช้โปรแกรมการวางแผน จำหน่าย 3) ผู้วิจัยชี้แจงโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติตัว สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่า และคู่มือการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย แก่พยาบาลประจำหอผู้ป่วย เพื่อเก็บ รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง 9.6.2 ขั้นดำเนินการ 1) คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้ป่วย ข้อเข่าเสื่อมที่รับการรักษาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 50 คน 2) ผู้วิจัยแนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อความร่วมมือในการทำวิจัย เมื่อกลุ่มตัวอย่าง ยินดีเข้าร่วมงานวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่างโดยการลงนามในใบยินยอมเพื่อเข้า ร่วมการวิจัยและซักถามเก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม กรณีที่กลุ่มตัวอย่างปฏิเสธการเข้าร่วมงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยแสดงความเคารพสิทธิของกลุ่มตัวอย่าง 3) วันแรกรับ ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและหอผู้ป่วยพิเศษ 60 เตียง ผู้วิจัยซักประวัติประเมิน สุขภาพทั่วไป และให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้าน ครั้งที่ 1 กรณีที่มีข้อจำกัดในด้านการมองเห็น การอ่านหนังสือ ผู้วิจัยหรือญาติจะอ่านข้อคำถามให้ฟัง และ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบ(ใช้เวลาประมาณ 15 นาที) ผู้วิจัยมอบคู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดข้อ เข่า จัดกิจกรรมตามการพยาบาลตามรูปแบบการวางแผนจำหน่าย D-M-E-T-H-O-D ให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดง ตลอดจนแนวทางการรักษาโรค การใช้ยาและการสังเกต อาการข้างเคียงของยา การจัดสิ่งแวดล้อมและ เศรษฐกิจ แนวทางการรักษา ภาวะแทรกซ้อนและการ จัดการความผิดปกติในเบื้องต้น การเลือกชนิด อาหารและการมาตรวจตามนัด พร้อมฝึกทักษะในการ ปฏิบัติพฤติกรรมดูแลตนเองที่บ้านหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียม ดูสื่อวิดีทัศน์ออนไลน์ การดูแลแผลผ่าตัด


การบริหารเข่า การฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์ การทำกิจวัตรประจำวัน การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรพบ แพทย์ก่อนนัด (ใช้เวลาประมาณ 45 นาที) 4) ในวันที่จำหน่าย ผู้วิจัยประเมินความพร้อมก่อนจำหน่าย ตามรูปแบบ DMETHOD ทั้งด้านความรู้ การ ปฏิบัติตัว และตรวจสอบความเข้าใจในการดูแลตนเองที่บ้าน พร้อมให้กำลังใจ ชมเชย แก่ผู้ป่วยและญาติ ในการปฏิบัติตัว และหลังจำหน่าย หากมีข้อสงสัยในการดูแลตนเอง สามารถขอคำปรึกษาจากผู้วิจัยได้ ตลอดเวลา (ใช้เวลาประมาณ 10 นาที) 9.6.3 ขั้นประเมินผล 1) ผู้วิจัยติดตามผลการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้าน การครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 3 สัปดาห์หลัง จำหน่าย ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้าน โดยติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวันที่ แพทย์นัดติดตามอาการ หรือติดตามทางโทรศัพท์ ทั้งช่องทางการโทร และติดต่อทางไลน์ เพื่อช่วยเหลือกรณีกลุ่ม ตัวอย่างปฏิบัติพฤติกรรมได้ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อจำกัดทางร่างกาย ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้น การทดลอง ผู้ป่วยจะได้รับข้อมูลการดูแลตนเองจากผู้วิจัยตามความต้องการ 9.7 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลความเจ็บป่วยโดยใช้การแจกแจง ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ด้วยการทดสอบไคสแควร์ ( test for single sample case) 10. สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก และหอผู้ป่วยพิเศษ 60 เตียง โรงพยาบาลกำแพงเพชร 11. ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1กันยายน 2564 ถึง 30พฤศจิกายน 2564 12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. พยาบาลมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 2. พยาบาลมีแนวทางในการให้คำแนะนำผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ตามแนวการ วางแผนจำหน่าย 3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มี คุณภาพชีวิตดีขึ้น


13. เอกสารอ้างอิง วารสารคลังความรู้สุขภาพ. (2563). รู้ทัน ป้องกันภัยจากข้อเข่าเสื่อมในวัยสูงอายุ. วารสารออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://healthydee.moph.go.th วารสารกรมการแพทย์. (2557). คู่มือคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ, หน้า 40-42. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.dms.go.th วารสารกรมการแพทย์. (2561). ความรู้การแพทย์สำหรับประชาชน. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.dms.go.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). โรคข้อเสื่อม. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://www.thaihealth.or.th บุญเรือง พิสมัย และคณะ. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์; 42(2): 54-67. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://he02.tci-thaijo.org/ ดุษฎี อุณเวทย์วานิช. (2551). ผลการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม, วารวารเกื้อ การุณย์; 11(2). สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://he02.tci-thaijo.org พรทนา พฤกษ์ธรางกูร. 2563. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพปีที่ 3 (ฉบับที่1). สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/243302 รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม และคณะ. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และ พฤติกรรม การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันใน. วารสารสภาการพยาบาลปีที่ 29 (ฉบับ ที่ 2). สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จากhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/21122 สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ. (). การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty). บทความวารสาร คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จาก https://web.med.cmu.ac.th/index.php/th/knowledge-to-the-people/54 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). บอร์ด สปสช.ออกแนวปฏิบัติผ่าข้อเข่าเสื่อม กระจาย อำนาจให้เขตช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564, จาก https://www.nhso. go.th/frontend Brandes, M., & Rosenbaum, D. (2014). Letter to the editor: Do activity levels increase after total hip and knee arthroplasty? Clin Orthop Relat Res, 472(9), 2889-2890. doi:10.1007/ s11999-014-3742-3


Crotty, M., Whitehead, C. H., Gray, S., & Finucane, P. M. (2002). Early discharge and home rehabilitation after hip fracture achieves functional improvements: a randomized controlled trial. Clin Rehabil, 16(4), 406-413. De Luca, M. L., Ciccarello, M., Martorana, M., Infantino, D., Letizia Mauro, G., Bonarelli, S., & Benedetti, M. G. (2018). Pain monitoring and management in a rehabilitation setting after total joint replacement. Medicine, 97(40), e12484-e12484. doi:10.1097/MD. 0000000000012484 Jeffrey, J. Sacks Charles, G. Helmick. (2010). Prevalence of specific types of arthritis and other rheumatic conditions in the ambulatory health care system in the United States, 2001– 2005. Fransen, M. et al. (2011). The epidemiology of Osteoarthritis in Asia. International J of Rheumatic Diseases. 14: 113-121. Feng, J. E., Novikov, D., Anoushiravani, A. A., & Schwarzkopf, R. (2018). Total knee arthroplasty: improving outcomes with a multidisciplinary approach. Journal of multidisciplinary healthcare, 11, 63-73. doi: 10.2147/JMDH.S140550 Haq, S.A. & Davatchi, F. (2011). Osteoarthritis of the knees in the COPCORD world. International J of Rheumatic Diseases. 14: 122-129. World Health Organization. (2003). The burden of musculoskeletal conditions as the start millennium: report of a WHO scientific group. Wallis,J. A., & Taylor, N. F. (2011). Pre-operative interventions (non-surgical and non pharmacological) for patients with hip or knee osteoarthritis awaiting joint replacement surgery-- asystematic review and meta-analysis. Osteoarthritis and Cartilage, 19(12), 1381-1395.


Click to View FlipBook Version