The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม และข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ เพื่อหาพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by zeath_junior, 2021-10-05 04:40:19

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมเพื่อหาแหล่งแร่ควอตซ์

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม และข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ เพื่อหาพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี

Keywords: ภาพถ่ายดาวเทียม,ธรณีวิทยา,กองเทคโนโลยีธรณี,กรม,ทรัพยากรธรณี,ธรณีฟิสิกส์,เพชรบุรี,แหล่งแร่,แร่ควอตซ์,ควอตซ์

รายงานวชิ าการ
ฉบบั ที กทธ 1/2562

PETCHABURI

การแปลความหมายขอ้ มูลภาพดาวเทียม
และขอ้ มูลธรณฟี สกิ สท์ างอากาศ เพอื หาพนื ที

ศักยภาพแหล่งแรค่ วอตซ์ จงั หวดั เพชรบุรี

กรมทรัพยากรธรณี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม

รายงานวิชาการ
ฉบับที่ กทธ. 1/2562

การแปลความหมายขอ้ มลู ภาพดาวเทยี ม
และข้อมูลธรณฟี สิ ิกส์ทางอากาศเพ่อื หาพน้ื ท่ี
ศกั ยภาพแหลง่ แรค่ วอตซ์ จงั หวดั เพชรบรุ ี

รศั มี สมสตั ย์

กองเทคโนโลยธี รณี
กรมทรพั ยากรธรณี

อธิบดีกรมทรพั ยากรธรณี
นายสมหมาย เตชวาล

ผ้อู าํ นวยการกองเทคโนโลยีธรณี
นายอนุกูล วงศใ์ หญ่

ผูอ้ ํานวยการสว่ นธรณเี ทคนิค
นายภาสกร เผ่าพงษส์ วรรค์

จดั พมิ พโ์ ดย กองเทคโนโลยธี รณี กรมทรพั ยากรธรณี
ถนนพระรามท่ี 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศพั ท์ 02-6219614 โทรสาร 02-6219612

พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1 เมษายน 2562
จํานวน 5 เล่ม

พมิ พ์ครง้ั ที่ 2 กนั ยายน 2562
จํานวน 20 เล่ม

ขอ้ มลู การลงรายการบรรณานกุ รม

รัศมี สมสตั ย์
การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศเพ่ือหาพื้นที่

ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี/ โดย รัศมี สมสัตย์ กรุงเทพฯ : กองเทคโนโลยีธรณี
กรมทรพั ยากรธรณี, 2562, 45 หน้า
รายงานวิชาการ ฉบบั ท่ี กทธ. 1/2562

I

สารบญั

สารบัญ ......................................................................................................................................................... I
สารบญั รปู .....................................................................................................................................................II
สารบญั ตาราง .............................................................................................................................................IV
บทคดั ยอ่ ......................................................................................................................................................V
คาํ ขอบคุณ..................................................................................................................................................VI
บทท่ี 1 บทนํา..............................................................................................................................................1

1.1 ความเป็นมา............................................................................................................................1
1.2 วตั ถุประสงค.์ ...........................................................................................................................1
1.3 ขอบเขตการดาํ เนนิ การ...........................................................................................................1
1.4 ทีต่ ั้ง อาณาเขต การคมนาคม และลกั ษณะภูมิประเทศ..........................................................2

1.4.1 ทีต่ งั้ และอาณาเขต................................................................................................2
1.4.2 การคมนาคม..........................................................................................................2
1.4.3 ลกั ษณะภูมปิ ระเทศ ...............................................................................................2
1.5 ผลงานทไี่ ด้ศกึ ษามาก่อน.........................................................................................................4
บทท่ี 2 ธรณวี ทิ ยาทัว่ ไป ..............................................................................................................................7
2.1 ลําดบั ชัน้ หนิ ............................................................................................................................9
2.1.1 ยคุ ไซลูเรยี น-ดีโวเนยี น (SD)...................................................................................9
2.1.2 ยคุ คารบ์ อนเิ ฟอรัส-เพอรเ์ มยี น (CP)......................................................................9
2.1.3 ยคุ เพอร์เมียน (P)...................................................................................................9
2.1.4 ยคุ เทอรเ์ ชยี รี (T)..................................................................................................10
2.1.5 ยคุ ควอเทอร์นารี (Q) ...........................................................................................10
2.2 หินอคั นี.................................................................................................................................11
2.2.1 หนิ แกรนิตยุคคารบ์ อนิเฟอรัส (Cgr)......................................................................11
2.2.2 หนิ แกรนิตยคุ ครเี ทเชียส (Kgr)..............................................................................11
2.3 ธรณีวิทยาโครงสรา้ ง..............................................................................................................11
บทท่ี 3 การแปลความหมายข้อมลู ภาพดาวเทยี ม และข้อมลู ธรณฟี สิ กิ สท์ างอากาศ................................ 13
3.1 การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทยี ม..............................................................................13
3.2 การแปลความหมายขอ้ มลู ธรณีฟสิ กิ สท์ างอากาศ .................................................................14
3.3 ผลการแปลความหมายขอ้ มลู ภาพดาวเทียมและข้อมลู ธรณีฟิสกิ ส์ทางอากาศ .....................18
บทท่ี 4 พนื้ ท่ีศกั ยภาพแหล่งแร่ควอตซ์..................................................................................................... 23
4.1 พืน้ ทบ่ี ้านเซาะยาง 1.............................................................................................................24
4.2 พืน้ ที่บ้านเซาะยาง 3.............................................................................................................25
4.3 พน้ื ทเ่ี ขาหมู...........................................................................................................................26
4.4 พื้นที่เขามดแดง.....................................................................................................................28
4.5 พน้ื ที่เขานกกระจบิ เขา-เขานางดา่ ง.......................................................................................29

II

4.6 พืน้ ทีเ่ ขานางด่าง-เขาหลงั ถนน ..............................................................................................30
4.7 พื้นท่ีเขาลอยนอก..................................................................................................................32
4.8 พ้นื ทีเ่ ขาโปง่ ..........................................................................................................................34
4.9 พื้นทบ่ี ้านหว้ ยรางโพธ์ิ 1........................................................................................................35
4.10 พนื้ ทเ่ี ขาหนองขาว 8 (วัดลา่ ตะเคยี น).................................................................................36
4.11 พื้นที่บ้านท่าไม้รวก 1..........................................................................................................38
บทที่ 5 สรปุ ผลและข้อเสนอแนะ.............................................................................................................. 41
5.1 สรปุ ผล..................................................................................................................................41
5.2 ขอ้ เสนอแนะ .........................................................................................................................42
เอกสารอ้างองิ ........................................................................................................................................... 43
ภาคผนวก ................................................................................................................................................. 43

สารบญั รปู

1-1 แผนท่ีภมู ิประเทศ ขอบเขตการปกครอง และเสน้ ทางคมนาคมของจังหวัดเพชรบุรี.........................3
2-1 แผนทธ่ี รณีวทิ ยาจังหวดั เพชรบุรี (กรมทรัพยากรธรณี, 2551)..........................................................7
2-2 แผนทธ่ี รณวี ทิ ยาจหั วัดเพชรบุรี (ตอ่ ).................................................................................................8
3-1 แผนท่ีผลการแปลความหมายธรณีฟิสิกส์ทางอากาศทางความเข้มกัมมันตรังสีในแผนท่ีสีผสม

(Ternary Map) พ้ืนท่ีจงั หวดั เพชรบุรี............................................................................................ 15
3-2 ผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมและผลการแปลข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ พบพื้นท่ีแหล่ง

แร่ควอตซ์ จาํ นวน 5 กรอบพ้ืนท่ใี หญ่ (A1-A5) จํานวนพืน้ ทท่ี ้งั หมด 48 พนื้ ท่ี.............................. 18
4-1 แสดงผลการตรวจสอบภาคสนามแปลความหมายภาพดาวเทียมและผลการแปลข้อมูลธรณีฟิสิกส์

ทางอากาศ พบพ้ืนทศ่ี กั ยภาพแหลง่ แรค่ วอตซจ์ าํ นวน 11 พ้ืนที่ .................................................... 23
4-2 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพ้ืนทบ่ี า้ นเซาะยาง 1 (ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 แสดงสนั เขาแข็งเปน็ เสน้ ตรง

ยาววางตัวในแนวตะวันตกเฉียเหนือ–ตะวันออกเฉียงใต้ (ข)-(ค) สายแร่ควอตซ์สูงประมาณ 1-2
เมตร บรเิ วณริมนา้ํ ตก วางตวั ในแนวตะวันออกเฉียงเหนอื (N70˚W) (ง)-(ฉ) ลักษณะแร่ควอตซท์ ีพ่ บ
บรเิ วณพิกดั 0584270 ตะวนั ออก และ 1441352 เหนือ.............................................................. 24
4-3 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนท่ีบ้านเซาะยาง 3 (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 ของพื้นท่ีบ้านเซาะยาง 3
แสดงสันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
(ข) สายแร่ควอตซ์ท่ีพบทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรอบพ้ืนท่ี พิกัด 0585069 ตะวันออก
และ 1440489 เหนือ(ค) สายแร่ควอตซ์ที่พบทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรอบพ้ืนท่ี
พิกัด 0585006 ตะวันออกและ 1440541 เหนือ (ง) สายแร่ควอตซ์ที่พบบนสันเขา พิกัด 0585246
ตะวันออก และ 1440606 เหนือ................................................................................................... 25

III

4-4 แสดงลักษณะของแรค่ วอตซท์ ่พี บในพืน้ ที่บา้ นเซาะยาง 3 (ก)-(ข) บริเวณพกิ ดั 0585069 ตะวันออก

และ 1440489 เหนือ (ค)-(ง) บริเวณพิกัด 0585006 ตะวันออก และ 1440451 เหนือ
(จ)-(ฉ) บริเวณพกิ ดั 0585246 ตะวันออก และ 1440606 เหนอื .................................................. 26
4-5 (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 ของพ้ืนท่ีบ้านเขาหมู แสดงสันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนว

ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ของพ้ืนที่เขาหมู (ข) แผนท่ีภูมิประเทศแสดงเส้นชั้นความสูงถ่ี
และเปน็ แนวยาวบรเิ วณสายแร่ควอตซ์ ของพ้ืนที่เขาหมู..................................................................... 27
4-6 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนที่เขาหมู (ก)-(ง) สายแร่ควอตซ์และลักษณะแร่ควอตซ์บริเวณวัดเขาหมู

วชิระ สูงประมาณ 3 เมตร บริเวณพิกัด 0587221 ตะวันออก และ 1432828 เหนือ (จ)-(ฉ) หินลอย
และลักษณะแรค่ วอตซบ์ ริเวณพกิ ดั 0586554 ตะวันออก และ 1432089 เหนอื .......................... 27
4-7 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนที่เขามดแดง (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 ของพ้ืนท่ีเขามดแดง แสดงสัน

เขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (ข) สายแร่ควอตซ์ยาว
มากกว่า 100 เมตรต่อเน่ืองไปตามแนวสันเขา (ค)-(ฉ) สายแร่ควอตซ์ท่ีพบบนสันเขามดแดง พิกัด
0593783 ตะวนั ออก และ 1421844 เหนอื .................................................................................. 28
4-8 สายแร่ควอตซ์และลักษณะแร่ควอตซ์บริเวณพื้นที่เขามดแดง (ก)-(ข) ลักษณะแร่ควอตซ์ บริเวณ

พิกัด 0593783 ตะวันออก และ 1421844 เหนือ (ค)-(ง) สายแร่ควอตซ์และลักษณะแร่ควอตซ์ บริเวณ
พกิ ดั 0593979 ตะวันออก และ 1422170 เหนอื .............................................................................. 29
4-9 ภาพดาวเทียม SPOT-5 และแผนท่ีภูมิประเทศ บริเวณพื้นที่เขานกกระจิบ-เขานางด่าง (ก) ภาพดาวเทียม

SPOT-5 แสดงสันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
(ข) แผนที่ภูมปิ ระเทศแสดงเสน้ ชัน้ ความสงู ถ่ีและเปน็ แนวยาวบรเิ วณสายแรค่ วอตซ์ .................... 30
4-10 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนท่ีเขานกกระจิบ บริเวณพิกัด 0594574 ตะวันออก และ 1420656 เหนือ

(ก)-(ค) สายแร่ควอตซ์และลักษณะของเนื้อแร่ควอตซ์ที่พบในพื้นท่ีเขานกกระจิบ (ง) ผลึกแร่ควอตซ์ใส
ขนาดเลก็ เยน็ ตัวในช่องว่างที่เป็นรอยแตกในสายแรค่ วอตซส์ ีขาว.................................................. 30
4-11 ภาพดาวเทียม SPOT-5 และแผนท่ีภูมิประเทศ บริเวณพ้ืนที่เขาหลังถนน (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5

แสดงสันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (ข) แผนท่ีภูมิ
ประเทศแสดงเส้นช้ันความสงู ถแี่ ละเป็นแนวยาวบรเิ วณสายแรค่ วอตซ์ ......................................... 31
4-12 หนิ ลอยของแรค่ วอตซ์ บริเวณพนื้ ที่เขาหลงั ถนน พิกัด 0590428 ตะวนั ออก และ 1418888 เหนอื (ก)-

(ข) หินลอยของแร่ควอตซ์ท่ีพบกระจายอยู่ท่ัวบริเวณไหล่เขา (ค)-(ง) ลักษณะเน้ือแร่ควอตซ์
ท่ีพบเป็นหนิ ลอยของแรค่ วอตซ์...................................................................................................... 31
4-13 แสดงการวางตัวของสายแรค่ วอตซแ์ ละลกั ษณะของแร่ควอตซ์บริเวณสาํ นกั สงฆ์เขาน้อย ตําบลท่าไม้รวก

อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (พิกัด 0590075 ตะวันออก และ 1418983 เหนือ) บริเวณด้าน
ตะวันตกเฉยี งใตข้ องพืน้ ที่เขาหลงั ถนน........................................................................................... 32
4-14 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนท่ีเขาลอยนอก (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บริเวณเขาลอยนอกแสดง

สันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (ข)-(จ) สายแร่
ควอตซ์และลักษณะเนื้อแร่ควอตซ์สีขาวที่พบบนสันเขาลอยนอก พบร่องรอยของการทําเหมือง พิกัด
0589554 ตะวันออก และ 1417003 เหนือ (ฉ)-(ซ) สายแร่ควอตซ์และลักษณะเนื้อแร่ควอตซ์สีขาว
ที่พบในพนื้ ทเ่ี ขาลอยนอก พกิ ดั 0589640 ตะวนั ออก และ 1417019 เหนอื ......................................... 33

IV

4-15 หินลอยของแร่ควอตซ์และลักษณะของแร่ควอตซ์ที่พบทางด้านเหนือของพ้ืนที่เขาลอยนอก บริเวณ
พกิ ัด 0589726 เหนือ และ 1418172 ตะวันออก......................................................................... 34

4-16 (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บริเวณเขาโป่ง แสดงเป็นภูเขาลูกโดด สันเขาแข็งวางตัวในแนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (ข) สายแร่ควอตซ์พ้ืนที่เขาโป่ง พิกัด 0598181 ตะวันออก
และ 1414801 เหนอื ..................................................................................................................... 34

4-17 สายแร่ควอตซ์สายแร่ควอตซ์และลักษณะแร่ควอตซ์บริเวณพื้นท่ีเขาโป่ง (ก)-(ค) สายแร่ควอตซ์
และลักษณะแร่ควอตซ์ท่ีพบบริเวณเขาโป่ง พิกัด 0598181 ตะวันออก และ 1414801 เหนือ
(ง)-(ฉ) สายแร่ควอตซ์และลักษณะเน้ือควอตซ์ท่ีพบในพื้นท่ีเขาโป่ง พิกัด 0598207 ตะวันออก
และ 1415040 เหนือ..................................................................................................................... 35

4-18 สายแร่ควอตซ์บริเวณพื้นท่ีบ้านห้วยรางโพธิ์ 1 (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บริเวณบ้านห้วยรางโพธิ์
1 แสดงสันเขาแข็งวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ (ข)-(ง) สายแร่ควอตซ์
ลกั ษณะแรค่ วอตซ์บรเิ วณ พิกดั 0567297 ตะวันออก และ 1447885 เหนอื ................................... 36

4-19 สายแร่ควอตซ์บริเวณพื้นที่เขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บริเวณ
พื้นท่ีเขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) แสดงเป็นสันเขาแข็งยาวมีทิศทางการวางตัวในแนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (ข)-(ค) สายแร่ควอตซ์ที่วางตัวไม่ต่อเน่ืองกันบนสันเขาและ
หินลอยของแร่ควอตซ์ที่พบกระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่เขาของพื้นที่เขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน)
พิกัด 0570085 ตะวันออก และ 1435816 เหนือ (ง)-(จ) ลักษณะแร่ควอตซ์สีขาวขุ่นและสขี าวใสที่
พบในพื้นท่ีเขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) พิกัด 0570085 ตะวันออก และ 1435816 เหนือ
(ฉ) สายแร่ควอตซ์ท่ีมีการตกผลึกตามรอยแตกของหินแกรนิตที่พบบริเวณตีนเขา พิกัด 0570085
ตะวันออก และ 1435816 เหนือ................................................................................................... 37

4-20 สายแร่ควอตซ์บริเวณพ้ืนท่ีบ้านท่าไม้รวก 1 (ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บริเวณพ้ืนท่ีบ้านท่าไม้รวก
1 แสดงเป็น สันเขาแข็งยาวเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก
เฉียงใต้ (ข)-(ค) สายแร่ควอตซ์และลักษณะแร่ควอตซ์ที่พบบนสันเขา บริเวณพิกัด 0585886
ตะวันออก และ 1423778 เหนือ (ง)-(ฉ) ลักษณะแร่ควอตซ์สีขาวท่ีพบในพื้นที่บ้านท่าไม้รวก 1
บริเวณพกิ ดั 0585410 ตะวนั ออก และ 1423424 เหนอื .............................................................. 38

สารบัญตาราง

3-1 แสดงประเภทและระดับความเช่อื มนั่ ในการคดั เลือกพ้ืนทีศ่ ักยภาพแร่ควอตซ์ .............................. 14
3-2 แสดงผลการแปลความหมายหนว่ ยความเข้มกัมมนั ตรงั สี.............................................................. 16
3-3 แสดงผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมพ้ืนทแ่ี หล่งแรค่ วอตซ์จํานวน 5 กรอบพ้นื ทใ่ี หญ่ (A1-A5)

จาํ นวนพื้นทีท่ ้งั หมด 48 พ้ืนที่ ........................................................................................................ 19

V

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์
ทางอากาศเพื่อหาพื้นท่ีศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี

โดย รศั มี สมสัตย์

บทคัดยอ่

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศเป็นการ
ประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะไกล เพ่ือประเมินหาพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี ในเบื้องต้น
การแปลความหมายข้อมูลใช้ภาพดาวเทียม SPOT-5 ระบบ Panchromatic รายละเอียดภาพ 2.5 เมตร
ซ่ึงภาพดาวเทยี มแสดงให้เห็นลักษณะเป็นสันเขาแข็งหรือเปน็ เส้นตรงมีความยาวต่อเนื่อง สว่ นใหญ่พบเป็น
สายแร่ควอตซ์มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ความยาวมากกว่า 50 เมตร โผล่ให้เห็นบริเวณยอดเขาหรือ
ไหล่เขา แต่บางบริเวณพบเป็นหินแกรนิตที่มีสัดส่วนแร่ควอตซ์เป็นองค์ประกอบสูงและถูกแทรกโดยสาย
ควอตซ์สายเล็ก ๆ เป็นจํานวนมาก และบางบริเวณพบเป็นหินทรายเน้ือควอตซ์ สีขาว ของกลุ่มหินแก่ง
กระจาน ซึ่งแสดงลักษณะเป็นสนั เขาแขง็ เป็นภเู ขาลูกโดดวางตัวในแนวยาว การแปลข้อมูลธรณฟี ิสิกสท์ าง
อากาศใช้ข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสีมาทําการจําแนก และกําหนดขอบเขตของกลุ่มความเข้มกัมมันตรงั สี
ส่วนใหญ่สายแร่ควอตซ์พบในหน่วยความเข้มกัมมันตรังสี R1 ที่เป็นหินแกรนิต มีท้ังเน้ือผลึกขนาดเดียว
และผลึกสองขนาด ผลึกของแร่มีการเรียงตัวกันและมีการผุพังของหิน และในหน่วยความเข้มกัมมันตรังสี
R2 ที่เป็นหินแกรนิตลักษณะเดียวกับ R1 แต่มีอัตราส่วนของแร่เฟลด์สปาร์ และแร่ควอตซ์มากกว่าแร่
ประกอบหินอ่ืน ๆ พบพื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์จากการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและ
ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ จํานวน 11 พ้ืนท่ี ได้แก่ 1) พื้นที่บ้านเซาะยาง 1 2) พื้นท่ีบ้านเซาะยาง 3 3)
พื้นท่ีเขาหมู 4) พื้นที่เขามดแดง วัดไร่มะม่วง (พระราชดํารัส) 5) พ้ืนท่ีเขานกกระจิบ-เขานางด่าง 6) พื้นท่ี
เขานางด่าง-เขาหลังถนน 7) พ้นื ท่เี ขาลอยนอก 8) พื้นทเี่ ขาโป่ง 9) พืน้ ทบ่ี า้ นรางโพธิ์ 1 10) พ้นื ท่ีเขาหนอง
ขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) 11) พ้ืนที่บ้านท่าไม้รวก 1 สายแร่ควอตซ์ที่พบบางบริเวณไม่แสดงเป็นสันเขาหรือ
เป็นเส้นตรงยาว เน่ืองจากสายแร่ควอตซ์ มีรอยแตกเป็นจํานวนมากทําให้ความคงทนต่อการผุพังลดลงมา
ใกล้เคียงกับหินท้องที่ซึ่งทําให้ไม่พบสันเขาแข็งเป็นแนวเส้นตรงยาวบนภาพดาวเทียม หรือมีการวางตัวใน
แนวเดียวกับวงโคจรของดาวเทียมทําให้ไม่ปรากฏลักษณะเด่นข้ึนมาให้เห็นบนภาพดาวเทียม จึงควรนํา
ข้อมูลด้านอ่ืน ๆ เข้ามาช่วยเสริมในการทํางานให้มีประสิทธิภาพมากข้ึน เน่ืองจากการศึกษาในครั้งนี้เป็น
การศึกษาในเบื้องต้น จึงอาจจะทําให้มีรายละเอียดบางส่วนไม่ครบถ้วน จึงควรมีการศึกษาในข้ัน
รายละเอียดตอ่ ไป

VI

คาํ ขอบคุณ

ผู้เขียนทํารายงานการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทาง
อากาศเพ่ือหาพ้ืนท่ี ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ จังหวัดเพชรบุรี ขอขอบคุณบุคคลหลายฝ่ายท่ีทําให้รายงาน
ฉบับบนี้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณสถาพร มิตรมาก ที่ให้คําปรึกษาและแนะนําในด้านการแปล
ความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม และคุณวนิดา ระงับพิศม์ ที่ให้คําปรึกษาและแนะนําในด้านการใช้ข้อมูล
และการแปลความหมายข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ ท้ายสุดขอขอบคุณ คุณธัญรัตน์ วินัยพานิช
คุณเจษฎา บุญรวบ และคุณวรพล รมิ สมทุ ร ทีช่ ่วยงานสาํ รวจและเก็บข้อมลู ภาคสนาม

1

บทท่ี 1
บทนํา

1.1 ความเป็นมา

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศเป็นการ
ประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะไกลท้ังข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ ซ่ึงสามารถนําข้อมูลท่ี
ไดจ้ ากการแปลความหมายมาวางแผนและเตรยี มงานสํารวจทําแผนท่ธี รณีวทิ ยา เพอื่ นาํ ไปหาธรณีแหล่งแร่
แหล่งนํ้า ธรณีวิศวกรรม ฯลฯ สําหรับการใช้ข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศในการ
หาพืน้ ท่ศี กั ยภาพแร่ควอตซเ์ บ้อื งตน้ น้ี สามารถนําไปพจิ ารณาร่วมกับขอ้ มูลดา้ นอื่น ๆ เพอื่ ใชใ้ นการกาํ หนด
พ้นื ท่ศี ักยภาพแหลง่ แรใ่ นขน้ั รายละเอียดต่อไปในอนาคตได้

ข้อมูลภาพดาวทียมที่ใช้ในการแปลความหมายในครั้งน้ี ใช้ภาพดาวเทียม SPOT-5 โดย
ดาวเทียม SPOT ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสถาบันอวกาศแห่งชาติของประเทศฝร่งั เศสร่วมกับประเทศใน
กลุม่ ยโุ รป ขอ้ มูลจาก SPOT นําไปใช้ศึกษาการสาํ รวจพน้ื ที่ และแยกชนดิ ของป่า รวมทั้งไฟปา่ การทาํ แผน
ท่ี การใช้ท่ีดิน ธรณีวิทยา อุทกวิทยา แหล่งน้ําสมุทรศาสตร์ชายฝ่ัง การพังทลาย และการตกตะกอน
ตดิ ตามการประเมินผลสง่ิ แวดลอ้ ม และมลภาวะการขยายตัวเมอื ง และการตงั้ ถ่นิ ฐาน เป็นต้น

ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ ใช้ข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสีมาแสดงรูปแบบแผนท่ีสีผสม
(Radioactivity Ternary Map) มาทาํ การจําแนก และกาํ หนดขอบเขตของกลุ่มความเข้มกัมมันตรังสี โดย
ที่กลุ่มเดียวกันจะมีสีในแผนที่สีผสมเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนกลุ่มท่ีแตกต่างกันก็จะมีสีในแผนท่ีสี
ผสมที่แตกต่างกนั ไปด้วย เพ่ือกาํ หนดขอบเขตของหนิ ชนิดต่าง ๆ หัวขอ้ รอง

1.2 วัตถุประสงค์

เพื่อหาพ้ืนท่ีศักยภาพแหลง่ แรค่ วอตซ์ ในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียมและ
ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินพื้นท่ีศักยภาพแหล่งแร่ขั้น
รายละเอียด รวมถึงการบริหารจัดการทรพั ยากรแร่ของกรมทรพั ยากรธรณตี อ่ ไป

1.3 ขอบเขตการดําเนินการ

รวบรวมและศึกษาข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทรัพยากรธรณีของจังหวัดเพชรบุรี
ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด งานสํารวจที่เคยดําเนินการมาแล้ว ท้ังทางด้านธรณีวิทยา
ธรณีวิทยาแหล่งแร่ ศึกษาและแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม SPOT-5 และข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทาง
อากาศท่ีเป็นค่าความเข้มกัมมันตรังสีบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประมวลผลข้อมูลขอบเขตพื้นท่ีศักยภาพแร่
ควอตซ์เบือ้ งตน้ สาํ หรับใชใ้ นการวางแผนตรวจสอบในภาคสนาม

1. สํารวจ ตรวจสอบผลการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์
ทางอากาศในภาคสนาม เพอื่ หาพื้นทีศ่ ักยภาพแหลง่ แร่ควอตซข์ องจังหวัดเพชรบุรี

2. ประมวลผล ประเมินพื้นท่ีศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ในจังหวัดเพชรบุรี และจัดทํา
รายงานสรปุ ผลการดําเนนิ งาน

2

1.4 ท่ตี ้งั อาณาเขต การคมนาคม และลักษณะภูมปิ ระเทศ

1.4.1 ทต่ี ง้ั และอาณาเขต

จังหวดั เพชรบรุ ี ตง้ั อยู่ทางตอนใต้ของภาคกลาง อยู่ระหว่างละติจดู ท่ี 12 องศา 56 ลิปดา
เหนือ ถึง 13 องศา 34 ลิปดา เหนือ และเส้นลองจิจูดท่ี 99 องศา 10 ลิปดา ตะวันออก ถึง 100 องศา
10 ลิปดา ตะวนั ออก มีเนอ้ื ท่ปี ระมาณ 6,225.138 ตารางกโิ ลเมตร มีอาณาเขตตดิ ต่อจงั หวดั ใกล้เคยี งและ
ประเทศเพอื่ นบ้าน ดงั นี้

ทศิ เหนือ ติดกับอาํ เภอปากท่อ จงั หวัดราชบรุ ี และอําเภออมั พวา จงั หวดั สมุทรสงคราม
ทศิ ใต้ ตดิ กับอําเภอหัวหนิ จงั หวดั ประจวบคีรีขนั ธ์
ทศิ ตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทศิ ตะวันตก ติดกบั สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมา (พม่า)

1.4.2 การคมนาคม

การเดินทางไปยังจังหวัดเพชรบุรี สามารถเดินทางได้ 2 ทางเลือกหลัก คือ ทางรถยนต์
และรถไฟ ซ่งึ การเดนิ ทางแตล่ ะวธิ มี รี ายละเอยี ดดังนี้

1. ทางรถยนต์ เดินทางได้ 2 เส้นทางหลัก คือ เส้นทางกรุงเทพฯ (ป่ินเกล้า-นครชัยศรี)
ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เข้าสู่จังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 156 กิโลเมตร และเส้นทาง
กรุงเทพฯ (ธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านจังหวัดสมทุ รสาคร สมุทรสงคราม และเข้าสูจ่ ังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทาง
ประมาณ 135 กโิ ลเมตร

2. ทางรถไฟ สามารถเดินทางโดยขบวนรถไฟสายใต้ ข้ึนรถไฟที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ
(หัวลําโพง) และสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) เพื่อเดินทางไปจังหวัดเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ
167 กิโลเมตร

1.4.3 ลกั ษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบุรี ทางด้านด้านตะวันตกเป็นป่าไม้และภูเขาสูง
สลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับพมา่ มีแม่นํ้าสายสําคัญไหลผ่าน 3 สาย
ได้แก่ แม่น้ําเพชรบุรี แม่น้ําบางกลอย และแม่น้ําบางตะบูน มีประชากรอาศัยหนาแน่นทางตะวันออกของ
พืน้ ท่ี (รปู ที่ 1-1) ซ่งึ เปน็ ทีร่ าบล่มุ ชายฝัง่ ทะเลแบ่งเปน็ 3 เขต คือ

1. เขตภูเขาและที่ราบสูง อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดกับพม่า ในบริเวณอําเภอ
แก่งกระจานและอําเภอหนองหญ้าปล้องมีภูเขาสูงและเป็นบริเวณที่สูงชันของจังหวัด มีลักษณะเป็น
เทือกเขาทอดยาวจากเหนือมาใต้ พื้นที่ถัดจากบริเวณน้ีจะค่อย ๆ ลาดต่ําลงมาทางด้านตะวันออก บริเวณ
นี้เปน็ ตน้ กําเนิดแมน่ า้ํ เพชรบุรแี ละแม่นํ้าปราณบุรี

2. เขตที่ราบลมุ่ แม่นาํ้ บริเวณตอนกลางของจังหวัดซง่ึ อุดมสมบูรณ์ทสี่ ุด มีแม่นํ้าเพชรบุรี
ซึ่งเป็นแม่นํ้าสายสําคัญไหลผ่าน และมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซ่ึงเป็นแหล่งน้ําระบบ
ชลประทาน บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สําคัญของจังหวัด เขตนี้คือบริเวณบางส่วนของอําเภอเมือง
เพชรบุรี อาํ เภอทา่ ยาง อําเภอชะอาํ อาํ เภอบ้านลาด อําเภอบา้ นแหลม และอาํ เภอเขาย้อย

3

3. เขตท่ีราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ติดกับชายฝ่ังทะเลด้านอ่าวไทย
บริเวณน้ีนับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สําคัญย่ิงของจังหวัดในด้านการประมง และการท่องเท่ียว เขตน้ีได้แก่
บางส่วนของอําเภอเมืองเพชรบุรี อําเภอบ้านแหลม อําเภอท่ายาง และอําเภอชะอํา ลักษณะพื้นท่ีชายฝั่ง
เพชรบุรี เหนือแหลมหลวงไปทางทิศเหนือเป็นพ้ืนท่ีชายฝั่งหาดโคลน มีระบบนิเวศป่าชายเลน ด้านทิศใต้
ของแหลมหลวงลงไปด้านทศิ ใต้เป็นหาดทราย มีระบบนิเวศเป็นหาดทราย แหลมหลวงซ่งึ อยู่ในพื้นท่ีตําบล
แหลมผักเบี้ยจึงเป็นแหลมท่ีแบ่งระบบนิเวศป่าชายเลน ออกจากระบบนิเวศหาดทราย เหนือแหลมหลวง
ขึ้นไปด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดโคลนเพราะอยู่ใกล้พ้ืนท่ีชุมนํ้าของแม่นํ้าสายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ํา
เพชรบรุ ี แม่น้ําบางตะบนู แม่นํ้าแม่กลอง แมน่ ํา้ ท่าจนี และแมน่ าํ้ บางปะกง

รูปที่ 1-1 แผนทีภ่ มู ปิ ระเทศ ขอบเขตการปกครอง และเสน้ ทางคมนาคมของจังหวดั เพชรบุรี

4

1.5 ผลงานที่ไดศ้ ึกษามากอ่ น

การสํารวจธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ ที่เคยมีการศึกษามาก่อนในพ้ืนท่ีจังหวัด
เพชรบุรี มดี งั นี้

วิชัย ก๊กเจริญทรัพย์ และพงศ์ศักดิ์ วิชิต (2520) รายงานสํารวจธรณีวิทยาแหล่งแร่ดีบุก
และธรณีเคมี บริเวณแอ่งท่าลาว อําเภอท่ายางและอําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวถึงแหล่งแร่
ควอตซ์ในบรเิ วณนวี้ ่า พบสายแรค่ วอตซ์ตัดผ่านหนิ แกรนติ หรอื หนิ ทรายยคุ ดโี วเนยี น-คาร์บอนิเฟอรัส ส่วน
ใหญ่อยู่ในบรเิ วณหินแกรนิตเขาพระรอบ-เขาชอ่ งม่วง

กรมทรพั ยากรธรณี (2542) ทรพั ย์ในดินเพชรบุรี กล่าวถึงแหลง่ แร่ควอตซ์จงั หวัดเพชรบรุ ี
ส่วนใหญพ่ บกระจายตัวอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างอําเภอท่ายางและอําเภอชะอํา ที่เขาลอยนอก บ้านท่าไม้
รวก อําเภอท่ายาง และบริเวณเขาช่องมว่ ง เขาพระรอบ จนถึงเขามดแดง อําเภอชะอํา โดยสายแร่ตัดผา่ น
เข้ามาในหนิ แกรนติ หินไนส์ หรอื หินทราย และหินดนิ ดานชดุ แกง่ กระจาน ยคุ คารบ์ อนเิ ฟอรสั

ฤทธิไกร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และฟูยศ โชติคณาทิศ (2543) ทําการแปล
ความหมายข้อมูลกัมมันตรังสีทางอากาศเพ่ือช่วยกําหนดขอบเขตพ้ืนที่แหล่งแร่และพ้ืนที่ศักยภาพทางแร่
ในแผนท่รี ะวาง ND 47-45 (อาํ เภอหัวหิน) ซึง่ ครอบคลุมพื้นท่ีบางสว่ นของจงั หวดั เพชรบรุ ี พบดีบุก แบไรต์
ควอตซ์ ฟลูออไรต์ ถา่ นหิน หนิ ปูน และหนิ ออ่ น แหลง่ แร่ควอตซท์ ่ีพบคอื แหล่งแร่ควอตซเ์ ขาลอยนอก อยู่
ทางตะวันออกของบ้านท่าลาว ตําบลท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง เคยมีการทําเหมืองมาแล้ว และมีประทาน
บัตรอยู่ 2 แปลง แต่หยุดดําเนินการ นอกจากน้ียังพบแร่ควอตซ์อยู่ในพ้ืนท่ีอีกหลายบริเวณ ได้แก่ บริเวณ
พบแรเ่ ขาหมู บ้านห้วยตาแกะ ตําบลวงั ไคร้ บริเวณพบแร่เขาหัวเข้ บา้ นหนองชมุ แสง ตาํ บลทา่ ไม้รวก และ
บริเวณพบแรท่ างตะวันออกเฉยี งเหนอื ของเขาลอยนอก บ้านท่าลาว ตําบลทา่ ไมร้ วก

Jivathanond (2007) ได้สํารวจและประเมินปริมาณสํารองของแหล่งแร่ควอตซ์ พบว่า
จังหวัดเพชรบุรีมีเหมืองแร่ควอตซ์อยู่ 2 แปลง คือ Pho Phaiboon Karn Rae Limited Partnership
Mine อําเภอท่ายาง ขนาดสายแร่ควอตซ์กว้าง 20 เมตร ยาว 300 เมตร มีปริมาณทรัพยากรแร่สํารอง
เท่ากับ 0.56 ล้านเมตริกตัน และ Lam Wang Muang Rae Company Limited (Khao Nang Dang)
Mine อําเภอท่ายาง ขนาดสายแร่ควอตซ์กว้าง 20 เมตร ยาว 500 เมตร และหนา 50 เมตร มีปริมาณ
ทรพั ยากรแรส่ ํารองเท่ากบั 0.93 ล้านเมตรกิ ตัน

กรมทรัพยากรธรณี (2551) รายงานจําแนกเขตจังหวัดเพชรบุรี ได้กล่าวถึงแหล่งแร่
ควอตซ์ในจังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อท่ีรวม 4.17 ตารางกิโลเมตร ปริมาณทรัพยากรแร่สํารองมีศักยภาพเป็นไป
ได้เท่ากับ 1.54 ล้านเมตริกตัน มีพ้ืนที่แหล่งแร่จํานวน 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แหล่งแร่ควอตซ์เขาหลังถนน
ตําบลท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง ครอบคลุมเน้ือท่ี 3.39 ตารางกิโลเมตร แหล่งแร่ควอตซ์บริเวณนี้ไม่เคยมี
การผลิต แต่พบว่าเคยมีคําขอประทานบัตร จํานวน 1 แปลง 2) แหล่งแร่ควอตซ์เขาลอยนอก บ้านเขา
ลูกช้าง ตาํ บลท่าไมร้ วก อําเภอทา่ ยาง ครอบคลุมเนื้อท่ี 0.70 ตารางกิโลเมตร แหลง่ แรค่ วอตซ์บรเิ วณน้เี คย
มีการทําเหมืองมาก่อนจํานวน4 แปลง และยังมีร่องรอยการทําเหมืองให้เห็นจนถึงปัจจุบัน 3) แหล่งแร่
ควอตซ์เขาหนองขาว ตําบลพุสวรรค์ อําเภอแก่งกระจาน ครอบคลุม เน้ือท่ี 0.08 ตารางกิโลเมตร แหล่ง
แรค่ วอตซ์บริเวณน้ไี ม่เคยมกี ารผลิต แต่พบวา่ เคยมีคําขอประทานบัตรจาํ นวน1 แปลง

มานพ รักษาสกุลวงศ์ และนําโชค เซี่ยงเห็น (2552) ได้จัดทําแผนที่ธรณีวิทยาระวาง
มาตราส่วน 1:50,000 อําเภอท่ายาง (4934 I) พบสายแร่ควอตซ์ได้แก่ บริเวณสํานักสงฆ์เขาหมูวชิระ
บริเวณบา้ นท่าไม้รวก และบรเิ วณสาํ นกั สงฆ์ไร่มะมว่ ง อาํ เภอทา่ ยาง ซง่ึ เป็นสายแร่ควอตซท์ ่ีอยู่ในหมวดหิน
เขาเจ้า และหมวดหินเกาะเฮกลุ่มหินแก่งกระจาน วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

5

นอกจากน้ียังพบสายแร่ควอตซ์ท่ีแทรกตัดเข้ามาในหินแกรนิตยุคครีเทเชียส บริเวณเขาลอยนอก เขานาง
ด่าง เขานกกระจิบ เขาห้วยเข้ และสํานักสงฆ์เขาน้อย อําเภอท่ายาง สายแร่ควอตซ์วางตัวในแนว
ตะวนั ออกเฉียงเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้

กิ่งดาว เคลือบทอง และนิมิตร ศรคลัง (2555) รวบรวมข้อมูลทรัพยากรแร่จังหวัด
เพชรบรุ ี ในทรพั ยใ์ นดนิ เพชรบรุ ี ประกอบดว้ ย แรฟ่ ลูออไรต์ ควอตซ์ ดินขาว ตะกวั่ -แบไรต์ ดีบกุ วลุ แฟรม
ถา่ นหิน และหนิ เพ่อื อตุ สาหกรรม โดยพบว่ามพี น้ื ท่ีแหลง่ แร่ควอตซ์จํานวน 3 แหลง่ อยู่ในบรเิ วณ ตําบลทา่
ไม้รวก อําเภอท่ายาง และตาํ บลพุสวรรค์ อาํ เภอแกง่ กระจาน ได้แก่ แหลง่ แรค่ วอตซ์เขาหลงั ถนน แหลง่ แร่
ควอตซเ์ ขาลอยนอก และแหล่งแรค่ วอตซ์เขาหนองขาว

7

บทท่ี 2
ธรณวี ิทยาทว่ั ไป

ธรณีวิทยาทั่วไปของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่ประกอบด้วย หินตะกอน หินแปร และ
ตะกอน ท่ีมีอายุต้ังแต่ยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียนถึงยุคควอเทอร์นารี และมีการแทรกดันของหินอัคนี ยุคคาร์
บอนเิ ฟอรสั และครีเทเชยี ส (รูปที่ 2-1) (กรมทรพั ยากรธรณี, 2551)

รูปที่ 2-1 แผนทธี่ รณวี ทิ ยาจงั หวดั เพชรบุรี (กรมทรพั ยากรธรณี, 2551)

8

รูปที่ 2-2 แผนทธ่ี รณวี ทิ ยาจหั วดั เพชรบรุ ี (ตอ่ )

9

2.1 ลาํ ดบั ช้นั หิน

หินตะกอน หินแปร และตะกอนที่พบในจังหวัดเพชรบุรี สามารถเรียงลําดับช้ันหินจาก
หนิ อายุแก่สุดไปหาหินอายุออ่ นสดุ ได้ดังน้ี

2.1.1 ยคุ ไซลเู รียน-ดโี วเนยี น (SD)

ประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ หินทรายเนื้อดิน สีนํ้าตาลเทา และสีนํ้าตาลแกมแดง
เน้ือละเอียดถึงหยาบ เม็ดกึ่งกลม การคัดขนาดดี สลับด้วยหินดินดานและหินทรายแป้ง บางแห่งถูกแปร
สภาพเป็นหินควอร์ตไซต์ หินฟิลไลต์ และหินชนวน ชั้นหินเชิร์ต พบซากดึกดําบรรพ์จําพวกเทนตะคิวไลต์
พบกระจายตัวด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลห้วยทรายเหนือ ตําบล
สามพระยา อาํ เภอชะอาํ และดา้ นตะวันออกเฉยงเหนอื ของตาํ บลกระปุก อําเภอทา่ ยาง

2.1.2 ยุคคาร์บอนเิ ฟอรสั -เพอร์เมยี น (CP)

2.1.2.1 หมวดหนิ เขาพระ (CPkp)

หมวดหินเขาพระ เป็นหินตะกอนที่อยู่ในกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วย หินทราย
เกรย์แวก สีเทาแกมเขียวถึงสีเทาปานกลาง เนื้อละเอียดมากถึงปานกลาง การคัดขนาดไม่ดี เม็ดแร่เหลี่ยม
ถึงมน หินดินดาน สีเทาแกมเขียวถึงสีเทาปานกลาง แตกเป็นแผ่นเรียบและแถบช้ันบาง หินทราย
อาร์โคส สีขาวถึงสีนํ้าตาลแกมเหลืองอ่อน เนื้อละเอียดมากถึงปานกลาง การคัดขนาดปานกลางถึงดี
เม็ดแร่ค่อนขา้ งเหลีย่ มถึงมน และยังพบหินควอรต์ ไซต์ หินฮอร์นเฟลส์ และหินชนวน บริเวณนอยสัมผัสกับ
กินอัคนี พบกระจายตัวด้านทิศตะวันออกเกือบท้ังหมดของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณอําเภอแก่ง
กระจาน อําเภอหนองหญ้าปล้อง ด้านตะวันตกของอําเภอเขาย้อย ตําบลเขากระปุก และตําบลกลัดหลวง
อําเภอทา่ ยาง

2.1.2.2 หมวดหินเขาเจา้ (CPkc)

หมวดหินเขาเจ้า เป็นหินตะกอนที่อยู่ในกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วย หินทราย
อาร์โคส สีขาวถึงสีนํ้าตาลแกมเหลือง เนื้อละเอียดมากถึงปานกลาง การคัดขนาดปานกลางถึงดี ไม่แสดง
ช้ัน และแสดงเปน็ แถบช้ันบาง หินโคลน สขี าว สีเทาปานกลาง เนือ้ ละเอียดมากถึงละเอียด การคดั ขนาดดี
แสดงชั้นบาง และแสดงเป็นแถบชั้นบาง เม็ดแร่เหลี่ยม พบซากดึกดําบรรพ์จําพวกหอยตะเกียง
พลับพลึงทะเล และไบรโอซัว พบกระจายตัวบริเวณตอนกลางของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมด้าน
ทิศตะวันออกอ่างเก็บน้ําแก่งกระจาน ตําบลแก่งกระจาน ตําบลสองพ่ีน้อง อําเภอแก่งกระจาน และ
ตําบลท่าไมร้ วก ตาํ บลกลัดหลวง ตําบลเขากระปกุ อําเภอทา่ ยาง

2.1.3 ยุคเพอร์เมยี น (P)

เป็นหินตะกอนท่ีอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี มีการวางตัวแบบเรียงลําดับอยู่บนกลุ่มหินแก่ง
กระจาน ประกอบด้วย หินปูน สีเทาถึงสีเทาเข้ม แสดงลักษณะเป็นชั้นถึงไม่แสดงช้ัน มีหินเชิร์ตเป็น
กระเปาะ หินปูนเนื้อโดโลไมต์ พบซากดึกดําบรรพ์จําพวกฟิวซูลินิต แบรคิโอพอด ปะการัง แอมโมนอยด์
และไครนอยด์ ไครนอยด์ และยังพบหินทรายและหินดินดานบ้าง พบหินทรายและหินดินดานบ้าง

10

พบกระจายตัวตําบลป่าเด็ง อําเภอแก่งกระจาน ตําเขากระปุก อําเภอท่ายาง เขาสะแก เขากลิ้ง เขาอีโก้
ตําบลหนองชมุ พล และเขาอบิ ติ ตาํ บลหนองชมุ พลเหนอื อาํ เภอเขายอ้ ย

2.1.4 ยุคเทอรเ์ ชยี รี (T)

ประกอบด้วย หินทราย สีเทาถึงสีเทาแกมน้ําตาล สลับด้วยหินทรายแป้ง หินโคลน
หินเคลย์ และช้ันถ่าน พบซากดึกดําบรรพ์จําพวกใบไม้ และกระดูกปลา พบกระจายตัวด้านทิศเหนือของ
จังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลหนองหญ้าปล้อง ตําบลยางกลัดใต้ และตําบลท่าตะคล้อ
อําเภอหนองหญ้าปลอ้ ง

2.1.5 ยคุ ควอเทอร์นารี (Q)

ตะกอนยุคควอเทอร์นารี เป็นตะกอนร่วนท่ียังไม่แข็งตัวกลายเป็นหิน เช่น กรวด ทราย
ดิน และดินเหนียว พบตามลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ลาดเชิงเขา ท่ีลาดลอนคล่ืน และที่ราบลุ่มแม่น้ํา
สามารถจําแนกตะกอนร่วนในพ้ืนท่ีออกเป็น 9 หน่วยตะกอน โดยใช้ชนิดของตะกอนและสภาวะแวดล้อม
ของการตกตะกอนเปน็ ตวั จําแนกชนดิ ตะกอน ไดแ้ ก่

1. ตะกอนเศษหินเชิงเขา และตะกอนผุพังอยู่กับที่ (Qc) ประกอบด้วยเศษหินควอร์ต
ไซต์ เศษหินทราย เศษหินทรายแป้ง เศษหินแกรนิต ทรายและทรายแป้ง ดินลูกรัง และดินเทอราโรซ่า
พบกระจายตัวด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมตําบลเขากระปุก ตําบลกลัดหลวง
ตําบลท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง ตําบลพุสวรรค์ ตําบลวังจันทร์ ตําบลแก่งกระจาน อําเภอแก่งกระจาน และ
ตาํ บลห้วยทรายเหนือ ตําบลเขาใหญ่ ตําบลสามพระยา อาํ เภอชะอํา

2. ตะกอนตะพัก (Qt) ประกอบด้วย กรวดและทราย พบกระจายตัวบริเวณด้านทิศ
เหนือและตอนกลางของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลหนองชุมพล ตําบลหนองชุมพลเหนือ
อาํ เภอเขาย้อย และบรเิ วณรอบๆ อ่างเก็บน้าํ แก่งกระจาน ตาํ บลแก่งกระจาน อําเภอแกง่ กระจาน

3. ตะกอนสันทรายเก่า (Qbo) ประกอบด้วย ตะกอนทรายเนื้อปานกลางถึงหยาบ
การคัดขนาดปานกลาง ความกลมมนดี มีเศษเปลือกหอยปน พบกระจายตัวด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลไร่ส้ม ตําบลต้นมะพร้าว อําเภอเมืองเพชรบุรี และตําบล
หนองศาลา ตาํ บลนายาง ตาํ บลบางเกา่ ตาํ บลชะอาํ อาํ เภอชะอํา

4. ตะกอนนา้ํ พา (Qa) ประกอบด้วย กรวด ทราย ทรายแปง้ และดินเหนียว พบกระจาย
ตัวบริเวณด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตอนกลางของอําเภอเขาย้อย อําเภอ
ท่ายาง และอําเภอบ้านลาด บริเวณด้านตะวันออกของอําเภอหนองหญ้าปล้องและอําเภอแก่งกระจาน
บริเวณตําบลไร่ใหม่พฒั นา ตาํ บลชะอาํ และตําบลดอนขนุ ห้วย อําเภอชะอาํ

5. ตะกอนที่ลุ่มราบแม่นํ้า (Qff) ประกอบด้วยกรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว
พบกระจายตัวบริเวณด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลโรงเข้ ตําบล
ไร่สะท้อน ตําบลท่าช้าง ตําบลไร่มะขาม ตําบลหนองกระเจ็ด ตําบลบ้านลาด อําเภอบ้านลาด และตําบล
ท่ายาง ตาํ บลมาบปลาเคา้ ตําบลยางหน่อง ตําบลบา้ นในคง ตําบลท่าคอย อาํ เภอทา่ ยาง

6. ตะกอนท่ีราบลุ่มน้ําทว่ มถงึ มีปา่ ชายเลนปกคลมุ (Qtm) ประกอบดว้ ยพตี ดนิ เหนยี ว
ปนพีต ทรายเม็ดละเอียด ดินเหนียวเนื้อปนทรายแป้ง พบกระจายตัวบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลบางตะบูน บ้านแหลม ตําบลบางครก ตําบลแหลมผักเบี้ย
ตาํ บลบางแก้ว ตาํ บลปากทะเล อําเภอบา้ นแหลม และตาํ บลหาดเจา้ สําราญ อําเภอเมอื งเพชรบรุ ี

11

7. ตะกอนที่ลุ่มราบน้ําข้ึนถึง (Qtf) ประกอบด้วย ดินเหนียว สีเทาหรือสีเทาปนเขียว
เนื้ออ่อนน่ิม ช้ันหนา มีชั้นทรายละเอียดและชั้นพีตแทรกสลับ พบเปลือกหอยบ้าง พบกระจายตัวบริเวณ
ด้านทิศตะวันออกเฉยี งเหนือ และดา้ นทิศตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมเปน็ บรเิ วณอาํ เภอเมือง
เพชรบุรี ด้านทิศตะวันออกของอําเภอเขาย้อย ตําบลหนองจอก ตําบลปึกเตียน อําเภอท่ายาง และตําบล
นายาง ตาํ บลหนองศาลา ตาํ บลบางเกา่ อําเภอชะอาํ

8. ตะกอนลากูน (Qlg) ประกอบด้วย ดินโคลนและดินเหนยี ว มีทรายเป็นเลนส์ สีเทาถึง
สีขาว การคัดขนาดปานกลาง เม็ดกึ่งมน พบซากพืชในส่วนบน พบกระจายตัวด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลมุ บรเิ วณตําบลชะอาํ อําเภอชะอํา

9. ตะกอนชายหาด (Qb) ประกอบด้วย ทราย กรวด ทรายแป้ง มีเปลือกหอย
เศษปะการัง และเศษซากพืช พบกระจายตัวบริเวณขอบด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลมุ
บรเิ วณบา้ นแหลมผักเบย้ี อาํ เภอบา้ นแหลม และ ตําบลบางเกา่ ตาํ บลชะอํา อําเภอชะอํา

2.2 หินอคั นี

หินอัคนีท่ีพบในจังหวัดเพชรบุรีเป็นหินอัคนีแทรกซอน ชนิดหินแกรนิต แบ่งเป็น 2 ยุค
คือ หินแกรนิตยคุ ครเี ทเซยี ส และหินแกรนติ ยคุ คาร์บอนเิ ฟอรัส ซง่ึ มรี ายละเอยี ดดังนี้

2.2.1 หินแกรนิตยุคคารบ์ อนิเฟอรัส (Cgr)

ประกอบด้วย หินแกรนิตท่มี กี ารเรียงตัวของเม็ดแร่ เนื้อปานกลางถงึ หยาบ มีการเรียงตัว
คอ่ นข้างดีของผลกึ แร่เฟลส์ ปาร์ขนาดใหญ่ พบกระจายตวั บริเวณขอบด้านทิศตะวันออกเฉียงใตข้ องจังหวัด
เพชบุรี ครอบคลุมบริเวณตําบลท่าไม้รวก ตําบลเขากระปุก อําเภอท่ายาง และตําบลสามพระยา ตําบล
หว้ ยทรายเหนอื ตําบลเขาใหญ่ อําเภอชะอํา

2.2.2 หนิ แกรนิตยคุ ครเี ทเชยี ส (Kgr)

ประกอบด้วย หินแกรนิตสีจาง เน้ือปานกลางถึงหยาบ ส่วนมากเนื้อสมํ่าเสมอ และ
หินแอไพลต์แกรนิต เนื้อละเอียดถึงเนื้อขนาดปานกลาง พบกระจายตัวด้านขอบทิศตะวันตกและทิศเหนือ
ของจังหวัดเพชรบุรี ครอบคลุมบริเวณด้านทิศตะวันตกของตําบลแม่เพรียง ติดพรมแดนไทย-พม่า
เขาพะเนินทุ่ง อําเภอแก่งกระจาน เขาใบลาน เขาพุพลู อําเภอหนองหญ้าปล้อง และเขาเดน เขาโป่งแดง
เขาเนนิ เขมร อาํ เภอบา้ นลาด

2.3 ธรณีวทิ ยาโครงสร้าง

ธรณวี ิทยาโครงสรา้ งทพี่ บในจังหวัดเพชรบรุ ี ประกอบด้วย รอยเลอื่ น และการคดโค้งของ
ช้ันหิน โดยพบว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการกระจายตัวในตอนกลางของพื้นที่ พบในหินแข็งช่วงมหายุคพาลี
โอโซอิก ซ่ึงประกอบด้วย 2 แนวหลัก คือ แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแนวทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนการคดโค้งของชั้นหิน พบท้ังแบบประทุนคว่ํา และแบบ
ประทนุ หงาย ค่อนข้างใหญ่ วางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉยี งเหนือ–ทศิ ตะวันออกเฉียงใต้ ในทิศทางเดยี วกัน
กับการวางตัวของช้ันหิน ส่วนทางทิศใต้ของจังหวัดเพชรบุรี โครงสร้างชั้นหินคดโค้ง พบปรากฏอยู่ใน
หินตะกอนยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ซ่ึงมีท้ังแบบประทุนและประทุนหงาย โดยส่วนใหญ่มีแกน

12

ของการคดโค้งอยู่ในแนวประมาณทิศเหนือ-ทิศใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้
สําหรับรอยเล่ือน พบท้ังรอยเลื่อนขนาดเล็ก ๆ ถึงขนาดใหญ่ปรากฏในหลายทิศทาง ท้ังในแนวทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแนว
เกอื บทศิ เหนือ-ทศิ ใต้ มที ง้ั รอยเลอื่ นปกติ และรอยเล่ือนตามแนวระดับ

บทท่ี 3
การแปลความหมายขอ้ มูลภาพดาวเทียม

และขอ้ มลู ธรณฟี สิ ิกส์ทางอากาศ

3.1 การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทยี ม

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม เป็นการกําหนดพื้นที่ศักยภาพในขั้นต้น
โดยใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของแร่ควอตซ์ โดยแร่ควอตซ์ ที่มีความแข็ง 7 ตามมาตราความแข็งของโมส์
(Moh’s hardness scale) ท่ีมคี วามคงทนต่อการผุกรอ่ นท้งั ทางกายภาพและเคมี มีความเสถียรบนผิวโลก
จึงมักพบสายแร่ควอตซ์หรือพนังแร่ควอตซ์แทรกเข้ามาตามรอยแตก/รอยเล่ือน หรือบริเวณแนวสัมผัส
ระหว่างหินอัคนีกับหินท้องท่ี ทําให้พื้นที่บริเวณน้ันมีความคงทนต่อการผุพังมากกว่าพ้ืนที่ข้างเคียง
ปัจจัยเหล่าน้ีจะปรากฏบนภาพดาวเทียมและสามารถช่วยกําหนดพ้ืนที่ศักยภาพแร่ควอตซ์ได้ในเบื้องต้น
มีรายละเอยี ดดงั นี้

สันเขาแข็ง (hard ridge) แสดงเป็นเส้นตรงยาวบนภาพดาวเทียม เกิดจากรอยแตกใน
หินท้องที่ถูกสารละลายนํ้าแร่ร้อนเข้าไปเติมเต็มเกิดเป็นสายแร่ควอตซ์ หรือเข้าไปทําปฏิกิริยากับ
หินท้องท่ีเช่น กระบวนการเติมซิลิกา (Silicification) เข้าสู่เนื้อหินส่งผลให้มีความคงทนต่อการผุกร่อน
มากกว่าบริเวณข้างเคียง หากเกิดกระบวนการนี้ในท่ีราบจะทําให้มีลักษณะเป็นภูเขาลูกโดดท่ามกลาง
พื้นทรี่ าบ หรอื วางตวั เปน็ แนวยาวต่อเนื่องกนั โดยมีทิศทางเดียวกับรอยแตก/รอยเลอื่ นในพื้นท่ี

แนวเส้น (lineaments) ได้แก่ รอยเลื่อน รอยแยก รอยแตกในหิน ทําให้มีความ
ไม่ต่อเนื่องในหินเกิดขึ้น กลายเป็นตําแหน่งที่น้ําแร่ร้อนที่หลงเหลือจากการตกผลึกกลายเป็นหิน
ซึ่งมีไอน้ําร้อน ฟลูออรีน โบรมีน เป็นองค์ประกอบแทรกข้ึนมาตามแนวรอยแตก เม่ือนํ้าแร่ร้อนเย็นตัวลง
เกิดการตกผลึกกลายเป็นพนังแร่ควอตซ์ขึ้น นอกจากน้ียังใช้บอกลําดับการแทรกตัวของหินแกรนิต
โดยหินแกรนิตที่เกิดก่อนจะมีจํานวนหรือความหนาแน่นของรอยแตกมากกว่าแกรนิตที่แทรกตัว
ขึน้ มาภายหลงั

การแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมใช้ภาพดาวเทยี ม Spot 5 ระบบ Panchromatic
รายละเอียดภาพ 2.5 เมตร ใช้วิธีแปลความหมายด้วยสายตา (Visual interpretation) อาศัยสิ่งบ่งช้ี
ที่ปรากฏบนภาพดาวเทียมที่แสดงสันเขาแข็ง แนวเส้น ลักษณะแนวรูปวงกลม/วงรี โดยมีการนําข้อมูล
ธรณีฟิสิกส์ทางอากาศเข้ามาช่วยในการหาขอบเขตหรือประเภทของหินแกรนิตเพื่อลดพ้นื ทก่ี ารสํารวจและ
ช่วยในการตัดสินใจคัดเลือกพ้ืนท่ีศักยภาพแร่ควอตซ์สําหรับตรวจสอบภาคสนามในข้ันตอนต่อไป
การวางแผนตรวจสอบการแปลความหมายได้ดําเนินการตามกรอบพื้นที่ศักยภาพแร่ควอตซ์ โดยจําแนก
ออกเป็น 4 ประเภท (ตารางท่ี 3-1) ตามข้อมูลการตรวจสอบภาคสนามและระดับความเช่ือมั่นของข้อมูล
มีรายละเอยี ดดังต่อไปน้ี

ประเภทที่ 1 ตรวจสอบภาคสนาม จากผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมและพบ
พนังแรค่ วอตซ์

ประเภทท่ี 2 ตรวจสอบภาคสนาม จากผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมพบเพียง
หนิ ลอยของแร่ควอตซเ์ ปน็ หลักฐาน บ่งช้ีว่ามโี อกาสพบพนังแรค่ วอตซอ์ ยใู่ นลุ่มนํา้ หรอื บรเิ วณน้ัน ๆ

14

ประเภทท่ี 3 ตรวจสอบภาคสนาม จากผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมแต่ไม่พบ
พนังแร่ควอตซ์หรือหินลอย แต่ควรนํามาพิจารณาข้อจํากัดของข้อมูลเนื่องจากแสดงผลบนภาพดาวเทียม
ลักษณะเดียวกับพนงั แร่ควอตซ์

ประเภทท่ี 4 ไม่มีการตรวจสอบภาคสนาม
ข้อมูลการตรวจสอบภาคสนามทง้ั 4 ประเภท เปน็ หลักเกณฑ์ในการพจิ ารณาพน้ื ท่ใี นการ
สํารวจแร่ขั้นรายละเอียดต่อไป

ตารางที่ 3-1 แสดงประเภทและระดับความเช่ือม่ันในการคดั เลือกพ้ืนท่ีศกั ยภาพแรค่ วอตซ์

ประเภท ตรวจสอบภาคสนาม พบพนงั แรค่ วอตซ์ พบหินลอย ระดับความเชือ่ ม่ัน
1 √ √ (ของแร่ควอตซ)์
2 √
3 √ x x , √ สงู มาก
4 x x
√ สูง

x ปานกลาง
(ไม่เปน็ พื้นทีศ่ ักยภาพแรค่ วอตซ์)

x ต่ํา

3.2 การแปลความหมายขอ้ มลู ธรณีฟสิ กิ ส์ทางอากาศ

ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศที่ใช้ในการแปลความหมายพ้ืนท่ีศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์
จังหวัดเพชรบุรี ใช้ข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสีจากการบินสํารวจ C-1C ซ่ึงบินสํารวจในแนวตะวันออก-
ตะวันตก มีระยะห่างระหว่างแนวบิน 1 กิโลเมตร โดยแสดงผลในรูปแบบแผนท่ีสีผสม (Radioactivity
Ternary Map) แผนที่สีชนิดนี้แสดงปริมาณความเข้ม (Concentration) ของธาตุโพแทสเซียม
(Potassium) เป็นสีม่วงแดง (Magenta) ธาตุยูเรเนียม (Uranium) เป็นสีเหลือง (Yellow) และธาตุ
ทอเรียม (Thorium) เป็นสีฟ้า (Cyan) โดยนําข้อมูลจากแผนที่เหล่านี้มาทําการจําแนก และกําหนด
ขอบเขตของกลมุ่ ความเขม้ กัมมันตรังสี โดยที่กลุ่มเดยี วกันจะมสี ีในแผนท่สี ผี สมเหมือนกันหรอื ใกล้เคียงกนั
ซ่ึงก็หมายความว่าปริมาณความเข้มของธาตุโพแทสเซียม ยูเรเนียม และทอเรียมจะมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วน
กลุ่มท่ีแตกต่างกันก็จะมีสใี นแผนที่สผี สมท่ีแตกต่างกันไปด้วย การกําหนดขอบเขตพ้ืนท่ีศักยภาพ อาศัยผล
การแปลความหมายความเข้มกัมมันตรังสีและการตรวจสอบภาคสนาม เพ่ือบ่งบอกถึงค่าผิดปกติที่
น่าสนใจประกอบกบั ขอ้ มลู ทางธรณีวทิ ยา และธรณวี ทิ ยาแหลง่ แร่เปน็ ตวั พิจารณากําหนดขอบเขต

จากการการแปลความหมายความเข้มกัมมันตรังสีพบบริเวณท่ีมีความผิดปกติทาง
ความเข้มกัมมันตรังสีท้ังหมด 13 หน่วยความเข้มกัมมันตรังสี ได้แก่ หน่วยความเข้มกัมมันตรังสี R1–R13
(รูปท่ี 3-1) ค่าความผิดปกติของหน่วยความเข้มกัมมันตรังสีของพ้ืนที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียม
ธาตุยูเรเนียม และธาตุทอเรียม แสดงดังตารางที่ 3-2 และมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับลักษณะ
ทางธรณีวิทยา ซ่ึงขอบเขตของความผิดปกติหน่วยความเข้มกัมมันตรังสี จากภาพรวมของท้ังพื้นท่ี
มีปริมาณธาตุโพแทสเซียม (K) ร้อยละ 0-5.296 ธาตุยูเรเนียม (U) 0-16.726 ppm และธาตุทอเรียม
(Th) 0-84.258 ppm

15

รปู ท่ี 3-1 แผนท่ีผลการแปลความหมายธรณีฟิสิกส์ทางอากาศทางความเข้มกัมมันตรังสีในแผนที่สีผสม
(Ternary Map) พื้นทีจ่ งั หวดั เพชรบุรี

16

ตารางที่ 3-2 แสดงผลการแปลความหมายหนว่ ยความเข้มกมั มนั ตรงั สี

หน่วยความเขม้ K% U (ppm)

กัมมนั ตรงั สี min max mean STD min max mean STD min

ท้งั พ้ืนที่ 0 5.296 1.411 0.775 0 16.726 2.524 1.918 0

R1 0.613 5.296 2.722 1.089 1.670 16.726 6.472 2.724 7.956

R2 1.041 5.110 2.553 0.804 1.877 9.601 4.525 1.465 6.620

R3 0.691 2.839 1.705 0.384 1.055 6.222 2.602 0.687 8.377
R4 0.620 2.436 1.491 0.341 0.769 5.019 1.843 0.457 6.269

R5 0.165 2.357 1.060 0.233 1.395 5.782 2.853 0.321 3.761
R6 0.164 2.205 1.180 0.281 0.492 4.602 2.571 0.520 1.679

6

Th (ppm) คําอธิบาย
max mean STD

84.258 13.410 7.468

หินแกรนิต ทีมีค่ากัมมันตรังสีปริมาณสูงทั้งสามธาตุ กระจายตัวอยู่บริเวณ

6 84.258 27.258 13.924 ด้านตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-
ตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่พบเป็นหินแกรนิต มีทั้งเน้ือผลึกขนาดเดียว

และผลึกสองขนาด ผลึกแรม่ กี ารเรียงตัวกันและมีการผุพงั ของหิน

หินแกรนิต ที่ทีธาตุโพแทสเซียม ยูเรเนียมสูง และทอเรียมปานกลาง เป็น

หินแกรนิตท่ีมีแร่เฟลด์สปาร์มากกว่าแร่อื่น ๆ การกระจายตัวอยู่ทางด้าน

0 18.673 12.786 2.263 ตะวันตกของ R1 มีแนวการวางตัวในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก

เฉียงใต้ ส่วนใหญ่พบเป็นหินแกรนิตลักษณะเดียวกับ R1 แต่มีอัตราส่วน

ของแร่เฟลด์สปาร์ และแรค่ วอตซ์มากกวา่ แรป่ ระกอบหนิ อน่ื ๆ

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุโพแทสเซียม ทอเรียมสูง และยูเรเนียมปาน 16

7 21.294 14.497 2.211 กลาง กระจายตัวอยู่บริเวณตอนเหนือของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่พบ
เป็นหินโคลน หินดินดาน สีเทาเข้มถึงดํา หินทราย การคัดขาดไม่ดี และ

หินโคลนปนกรวดสเี ทาเข้ม

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุโพแทสเซียมสูง ยูเรเนียมต่ํา และทอเรียม

9 24.058 12.899 2.437 ปานกลาง กระจายตัวอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่
พบเป็นหินโคลน หินดินดาน สีเทาเข้มถึงดํา หินทราย มีแร่ควอตซ์แทรก

ตามรอยแตก

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุทอเรียมสูง โพแทสเซียมและยูเรเนียมต่ํา

ในจังหวัดราชบุรีกระจายตัวอยู่ทางด้านเหนือและตะวันออกด้าน

1 21.565 12.678 2.161 ตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่พบเป็นตะกอนผุพังอยู่กับท่ี

มีกรวด ทราย เศษหิน ศิลาแลง นอกจากน้ีบางบริเวณพบเป็นหินปูน เช่น

สาํ นักสงฆถ์ ้าํ แจง ตาํ บลเขาใหญ่ อําเภอชะอาํ จงั หวดั เพชรบรุ ี

หินตะกอน ตะกอน ที่มีธาตุท้ังสามปานกลาง กระจายตัวบริเวณด้าน

9 20.015 12.446 2.099 ตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่พบเป็นหินหินโคลน หินดินดาน

สีเทาเข้มถงึ ดาํ แสดงชน้ั ปานกลางถงึ ช้ันหนา

17

หน่วยความเข้ม K% U (ppm)

กมั มนั ตรงั สี min max mean STD min max mean STD min

R7 0.435 2.337 1.281 0.253 0 3.917 1.385 0.430 5.692

R8 0.290 1.724 1.006 0.195 0.166 3.228 1.483 0.444 3.875
R9 0.224 1.789 0.768 0.317 0.686 7.675 3.196 1.178 7.292

R10 0.365 1.716 0.837 0.257 1.465 5.230 2.578 0.758 7.577

R11 0.016 2.169 0.754 0.303 0.815 5.738 2.313 0.622 2.347
R12 0.188 1.036 0.677 0.163 1.009 2.834 1.605 0.270 8.036
R13 0 1.560 0.747 0.270 0 3.755 1.405 0.572 0

7

Th (ppm) คาํ อธิบาย
max mean STD

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุยูเรเนียมตํ่า โพแทสเซียมและทอเรียม

ปานกลาง การกระจายตัวอยู่ทางด้านใต้ของทั้งจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่

2 18.203 11.459 1.606 หินโคลน หินดินดาน สีเทาเข้มถึงดํา หินทราย การคัดขาดไม่ดี และหิน

โคลนปนกรวดสีเทาเข้ม บางบริเวณยังพบหินปูนสีเทา หินปูนเน้ือ

โดโลไมต์อกี ดว้ ย

หินตะกอน ตะกอน ที่มีธาตุโพแทสเซียมปานกลาง ยูเรเนียมและทอเรียม

5 15.857 9.508 1.391 ต่ํา กระจายตัวทางด้านตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรี พบเป็นหินหินโคลน

หินดนิ ดาน แสดงชั้นปานกลางถงึ ชนั้ หนา

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุโพแทสเซียมต่ํา ยูเรเนียมและทอเรียมสูง

2 40.945 16.609 6.2.13 กระจายตัวอยู่ทางด้านใต้ของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่พบเป็นหินโคลน

แลหนิ ทราย แสดงช้นั ปานกลางถงึ ช้ันหนา

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุโพแทสเซียมตํ่า ยูเรเนียมและทอเรียมปาน

กลาง กระจายตัวอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัด 17

7 17.819 11.228 2.536 เพชรบุรี พบเป็นหินโคลน หินดินดาน สีเทาเข้มถึงดํา และหินปูนสีเทา

หินปูนเนื้อโดโลไมต์ มีซากดึกดําบรรพ์เป็นแบรคคิโอปอด ปะการัง และ

ไบรโอซวั

หินตะกอน ตะกอน ที่มีธาตุยูเรเนียมปานกลาง โพแทสเซียมและทอเรียม

7 18.426 9.245 2.169 ต่ํา กระจายตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี ในแนวเหนือใต้
ส่วนใหญ่พบเป็นหินโคลนเน้อื ปูน หินทรายเนื้อปูน และหินโคลนปนกรวด

สเี ทาเขม้

หินตะกอน ตะกอน ท่ีมีธาตุทอเรียมปานกลาง โพแทสเซียมและยูเรเนียม

6 14.381 11.033 1.441 ตํ่า พบอยู่ทางตอนเหนือของทั้งจังหวัดเพชรบุรี พบเป็นหินหินโคลน

หนิ ดนิ ดาน แสดงชั้นบางถงึ ชัน้ ปานกลาง

หินตะกอน ตะกอน ทีมีค่ากัมมันตรังสีปริมาณตํ่าท้ังสามธาตุ กระจายตัว

16.943 8.640 2.369 อยู่บริเวณทางด้านใต้ของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนใหญ่พบเป็นหินโคลน
หินดินดาน สีเทาเข้มถึงดํา หินทราย การคัดขาดไม่ดี และหินโคลนปน

กรวดสเี ทาเขม้

18

3.3 ผลการแปลความหมายขอ้ มลู ภาพดาวเทยี มและขอ้ มลู ธรณีฟิสิกสท์ างอากาศ

จากการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียม SPOT-5 ระบบ Panchromatic
รายละเอียดภาพ 2.5 เมตร โดยพิจารณาจากสันเขาแข็ง ขอบเขตหินแกรนิต แนวเส้น และผลการแปล
ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ ส่วนใหญ่สายแร่ควอตซ์พบในหน่วยความเข้มกัมมันตรังสี R1 ที่เป็น
หินแกรนติ มีทั้งเนื้อผลึกขนาดเดียว และผลึกสองขนาด ผลึกของแรม่ ีการเรยี งตัวกันและมีการผพุ ังของหิน
และในหน่วยความเข้มกัมมันตรังสี R2 ที่เป็นหินแกรนิตลักษณะเดียวกับ R1 แต่มีอัตราส่วนของแร่
เฟลด์สปาร์ และแร่ควอตซ์มากกว่าแร่ประกอบหินอื่น ๆ พบแหล่งแร่ควอตซ์ (รูปท่ี 3-2) จํานวน 5 กรอบ
พน้ื ท่ใี หญ่ (A1-A5) จํานวนพืน้ ที่ทง้ั หมด 48 พน้ื ที่ (ตารางที่ 3-3)

รปู ที่ 3-2 ผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมและผลการแปลข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ พบพ้ืนท่ี
แหลง่ แรค่ วอตซ์ จาํ นวน 5 กรอบพื้นที่ใหญ่ (A1-A5) จาํ นวนพื้นทท่ี ง้ั หมด 48 พืน้ ที่

19

ตารางที่ 3-3 แสดงผลการแปลความหมายภาพดาวเทียมพ้ืนท่ีแหล่งแร่ควอตซ์จํานวน 5 กรอบพ้ืนที่
ใหญ่ (A1-A5) จํานวนพ้นื ท่ีทั้งหมด 48 พื้นที่

พื้นที่ ผลการแปลความหมายภาพดาวเทยี ม SPOT-5

พนื้ ที่ A1 (จาํ นวน 6 พื้นท)่ี

บ้านหว้ ยเกษม - สันเขาแขง็ เปน็ เส้นตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉยี งใต้

- พบหินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาว ของกลุ่มหินแก่งกระจาน มีสายแร่ควอตซ์ขนาดเล็กตัด

แทรกเข้ามาตามรอยแตกของหิน บริเวณไหล่เขา และพบเศษแร่ควอตซ์ขนาดเล็กบริเวณ

ไหลเ่ ขา คาดวา่ นา่ จะหลดุ มาจากสายแร่ควอตซท์ แี่ ทรกเข้ามาในช้ันหนิ ทราย

เขากระทิง 1 - สันเขาแข็งเปน็ เส้นตรง มที ิศทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉยี งใต้

- ไม่ไดท้ ําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขากระทิง 2 - สันเขาแขง็ เป็นเส้นตรง มีทศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้

- ไมไ่ ดท้ ําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขากระทงิ 3 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทิศทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้

- พบเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาว มีสายแร่ควอตซ์ตัดแทรกเข้ามาในเนื้อหิน ของกลุ่ม

หินแก่งกระจาน

เขากระทิง 4 (ยอด 202) - สันเขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มที ิศทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนอื -ตะวันตกเฉยี งใต้

- พบเป็นหินทรายเน้ือควอตซ์ท่ีผุเป็นสีขาวแกมม่วงแดง และพบหินลอยของหินกรวด

เหลีย่ มกระจายตวั บริเวณไหล่เขา

เขากระทงิ 5 (ยอด 261) - สันเขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ตกเฉียงเหนอื -ตะวันออกเฉยี งใต้

- พบหินลอยของหินทราย สขี าว และเศษแร่ควอตซ์บริเวณไหลเ่ ขา

พน้ื ท่ี A2 (จํานวน 9 พนื้ ท)่ี

เขาเนนิ เขมร - สันเขาแข็งเปน็ เสน้ ตรง มีทศิ ทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนอื -ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหินแกรนิตหรอื บรเิ วณทเ่ี ปน็ แนวรอยต่อระหว่างหนิ แกรนิตกบั หินท้องที่

- ไม่ได้ทําการสํารวจตรวจสอบภาคสนามแต่มีลักษณะธรณีวิทยาบ่งชี้ว่ามีพนังแร่ควอตซ์

จากการแปลผลภาพดาวเทยี ม

บ้านห้วยเซาะยาง 1 - สันเขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอย่ใู นมวลหินแกรนติ หรอื บริเวณทีเ่ ปน็ แนวรอยตอ่ ระหว่างหินแกรนติ กับหินทอ้ งที่

- พบพนังแร่ควอตซ์อยู่ริมนํ้าตก กว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร มีทิศ

ทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉยี งเหนือ-ตะวนั ออกเฉยี งใต้อยู่ในหนิ ไบโอไทต์แกรนติ

บา้ นห้วยเซาะยาง 2 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหินแกรนิตหรือบรเิ วณทเ่ี ปน็ แนวรอยตอ่ ระหว่างหนิ แกรนิตกับหนิ ท้องที่

- ไม่ได้ทําการสํารวจตรวจสอบภาคสนามแต่มีลักษณะธรณีวิทยาบ่งช้ีว่ามีพนังแร่ควอตซ์

จากการแปลผลภาพดาวเทียม

บา้ นหว้ ยเซาะยาง 3 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหนิ แกรนติ หรอื บริเวณทเี่ ป็นแนวรอยตอ่ ระหว่างหนิ แกรนติ กบั หินท้องที่

- พบพนังแร่ควอตซ์อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ กว้างประมาณ 10 เมตร ยาว

มากกว่า 100 เมตร ตอ่ เนอื่ งไปทางดา้ นตะวันออกเฉยี งเหนือ นอกจากนี้ยงั พบหนิ ลอยของ

แกรนติ และหนิ ลอยของแร่ควอตซ์บรเิ วณริมรอ่ งน้าํ ในพน้ื ท่ี

บา้ นหนองจกิ 1 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้

- พบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายอยู่บริเวณไหล่เขา และยังพบสายแร่ควอตซ์ขนาดเล็ก

ทแี่ ทรกตดั เขา้ มาในหนิ หนิ ลอยของหนิ กรวดเหลี่ยม

20

พ้ืนที่ ผลการแปลความหมายภาพดาวเทยี ม SPOT-5

บ้านหนองจิก 2 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉียงใต้

- พบสายแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 5 เมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ

(N10˚E) และยังพบสายแร่ควอตซ์ขนาดเล็กท่ีแทรกตัดเข้ามาในหินหินลอยของหินกรวด

เหลีย่ มกระจายอยู่บรเิ วณไหล่เขา

บ้านหนองจิก 3 - สันเขาแข็งเป็นเสน้ ตรง มีทศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนือ-ตะวนั ตกเฉยี งใต้

- พบสายแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 5 เมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-

ตะวนั ตกเฉยี งใต้ และยงั พบหินกรวดเหล่ียมท่มี ีสายแร่ควอตซ์ตดั แทรกเข้ามาตามช่องว่าง

บา้ นห้วยตะแกะ - สันเขาแข็งเป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนอื -ตะวนั ตกเฉียงใต้

- พบเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์สีขาว สีผุเป็นสีนํ้าตาลเหลือง มีสายแร่ควอตซ์ขนาก 5- 10

เซนติเมตร ตดั แทรกเข้ามาในหนิ ทราย

เขาหมู - สนั เขาแขง็ เปน็ เสน้ ตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้

- พบพนังแร่ควอตซ์ กว้างมากกว่า 5 เมตร และยาวมากกว่า 100 เมตรต่อเน่ืองไปตาม

แนวสนั เขา

พ้นื ที่ A3 (จาํ นวน 14 พ้นื ที)่

เขามดแดง - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นที่เป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ พบอยู่ในมวลหินแกรนิตหรือบริเวณท่ีเปน็ แนว

รอยตอ่ ระหว่างหินแกรนิตกับหินท้องท่ี

- พบพนังแร่ควอตซ์ ยาวมากกว่า 100 เมตรต่อเนื่องไปตามแนวสันเขา มีทิศทาง

การวางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้ ดา้ นลา่ งของเขาเปน็ หินไบโอไทต์-

มัสโคไวต์แกรนิตทม่ี กี ารรยี งตวั ของแร่

เขานางดา่ ง 1 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นท่ีเป็นรอยแตกใน

แนวเหนือ-ใต้ พบอยใู่ นมวลหินแกรนติ

- ไมไ่ ด้ทําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขานางดา่ ง 2 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นท่ีเป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉยี งเหนือ-ตะวนั ตกเฉยี งใต้ พบอยู่ในมวลหินแกรนิต

- ไมไ่ ดท้ าํ การสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขานางด่าง 3 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นที่เป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉียงใต้ พบอยใู่ นมวลหินแกรนติ

- ไมไ่ ด้ทาํ การสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขานกกระจิบ-เขานางดา่ ง - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นท่ีเป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉียงเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้ พบอย่ใู นมวลหินแกรนติ

- พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร มีทิศทางการวางตัว

ในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้พบหินลอยของหินแกรนิตบริเวณ

ตนี เขา และทางด้านตะวนั ออกของเขาเป็นแหล่งทรายทม่ี ตี น้ กาํ เนิดมาจากหนิ แกรนติ ดว้ ย

เขานางด่าน-เขาหลังถนน - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นที่เป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวนั ตกเฉียงใต้ พบอยู่ในมวลหินแกรนิตหรือบริเวณที่เป็นแนว

รอยต่อระหวา่ งหินแกรนติ กับหินท้องที่

- พบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่เขาทางด้านใต้ของพ้ืนท่ี บริเวณด้าน

ตะวันตกเฉียงใต้ของพ้ืนที่พบพนังแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 50

เมตร ซึ่งเป็นภูเขาลูกโดดที่มีสันเขาแข็งเป็นเส้นตรง บริเวณด้านเหนือของพื้นท่ีไม่ได้ทํา

การสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

21

พนื้ ที่ ผลการแปลความหมายภาพดาวเทียม SPOT-5

เขาลอยนอก - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มที ิศทางการวางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉยี งใต้

- พบพนังแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ซ่ึงพบว่ามีการ

ทําเหมืองแร่ควอตซ์มาก่อน พบร่องรอยทําเหมืองและพบเศษแร่ควอตซ์กระจายอยู่ทั่ว

บรเิ วณเขา

เขาหวั แหวน 1 (ยอด418) - สนั เขาแข็งเป็นเส้นตรงยาว มีทิศทางการวางตวั ของสายแรต่ ามแนวเส้นท่ีเป็นรอยแตกใน

แนวเกอื บเหนือ-ใต้ พบอยใู่ นมวลหินแกรนติ

- ไม่ไดท้ ําการสํารวจตรวจสอบภาคสนาม

เขาหัวแหวน 2 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอยูใ่ นมวลหนิ แกรนติ

- ไมไ่ ด้ทําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขาหวั แหวน 3 - สนั เขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอย่ใู นมวลหนิ แกรนิต

- ไม่ได้ทําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขาหัวแหวน 4 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นที่เป็นรอยแตกใน

แนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวนั ตกเฉียงใต้ พบอยู่ในมวลหินแกรนิตหรือบริเวณที่เปน็ แนว

รอยตอ่ ระหวา่ งหนิ แกรนิตกบั หินท้องที่

- พบแร่ควอตซ์ท่ีเป็นหินลอยกระจายอยู่บริเวณไหล่เขา และยังพบหินลอยของหินแกรนิต

บ้างเลก็ นอ้ ย

เขาโปง่ - เปน็ ภเู ขาลกู โดด และมีสนั เขาแข็ง พบอยใู่ นมวลหนิ แกรนติ หรือบริเวณท่ีเป็นแนวรอยต่อ

ระหวา่ งหินแกรนิตกบั หินท้องที่

- พบพนังแร่ควอตซ์ กวา้ งประมาณ 10 เมตร และยาวมากกวา่ 100 เมตร บนสนั เขา

บา้ นไร่บน (เขาพระรอบ) - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหนิ แกรนิต

- ไม่ได้ทาํ การสํารวจตรวจสอบภาคสนาม

บา้ นพหุ วาย (ยอด 176) - เป็นภูเขาลูกโดด พบอยู่ในมวลหินแกรนิตหรือบริเวณท่ีเป็นแนวรอยต่อระหว่าง

หินแกรนติ กบั หินทอ้ งที่

- พบสายแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 10-15 เมตร ตัดผ่านเข้ามาในหินแกรนิตท่ีแสดงการ

เรยี งตัวของแร่

พ้ืนที่ A4 (จํานวน 13 พื้นท)่ี

เขาใบลาน - สนั เขาแข็งเป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

พบอยู่ในมวลหนิ แกรนติ หรือบรเิ วณท่ีเป็นแนวรอยต่อระหว่างหนิ แกรนิตกับหนิ ท้องท่ี

- ไม่ได้ทําการสํารวจตรวจสอบภาคสนาม ได้ทําการตรวจสอบภาคสนามบริเวณด้าน

ตะวันออกของพื้นที่ พบมีการทําเหมืองดีบุกเก่าจากการสอบถามคนในพื้นท่ี และยังพบ

กองแรค่ วอตซ์ทมี่ กี ารคดั ขนาดแลว้ ตามบริเวณไหลเ่ ขา และพบรอ่ งรอยการทําเหมือง

บ้านหว้ ยรางโพธ์ิ 1 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทิศทางการวางตวั ในแนวตะวันตกเฉียงเหนอื -ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอยู่ในมวลหินแกรนิตหรือบริเวณที่เป็นแนวรอยต่อระหวา่ งหนิ แกรนิตกับหินทอ้ งที่

- พบพนังแร่ควอตซ์บริเวณริมร่องน้ํา สูงประมาณ 1 เมตร และยาวประมาณ 20 เมตร

มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ (N70˚W) นอกจากนี้ยังพบหินลอยของ

หินแกรนิตในร่องนาํ้

บา้ นหว้ ยรางโพธิ์ 2 - สนั เขาแขง็ เป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตวั ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉียงใต้

- พบหนิ ลอยของหินทราย หินโคลน และแร่ควอตซ์

22

พนื้ ท่ี ผลการแปลความหมายภาพดาวเทียม SPOT-5

บา้ นหว้ ยรางโพธิ์ 3 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ตกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ออกเฉียงใต้

- พบหนิ ลอยของหนิ ทราย หนิ โคลน และแรค่ วอตซ์

บ้านปกรตั น์ - สันเขาแขง็ เปน็ เสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหนิ แกรนิตหรอื บรเิ วณทีเ่ ปน็ แนวรอยต่อระหว่างหนิ แกรนิตกบั หนิ ทอ้ งท่ี

- พบแร่ควอตซเ์ ป็นหินลอยกระจายอยบู่ ริเวณไหลเ่ ขา

เขาหนองขาว 1 - สันเขาแข็งเปน็ เสน้ ตรง มีทศิ ทางการวางตัวในแนวตะวนั ตกเฉียงเหนอื -ตะวันออกเฉียงใต้

พบอยใู่ นมวลหินแกรนติ หรอื บรเิ วณท่เี ปน็ แนวรอยตอ่ ระหว่างหนิ แกรนิตกับหินท้องท่ี

- พบสายแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 1-2 เมตร และพบแร่ควอตซ์ที่เป็นหินลอยกระจายอยู่

บริเวณไหล่เขา และร่องน้ําทางดา้ นใต้ของพนื้ ท่ี

เขาหนองขาว 2 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอยู่ในมวลหินแกรนิต

- ไมไ่ ด้ทําการสาํ รวจตรวจสอบภาคสนาม

เขาหนองขาว 3 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวนั ออกเฉียงใต้

พบอยู่ในมวลหินแกรนติ

- พบหินลอยของแร่ควอตซก์ ระจายอยทู่ างดา้ นเหนอื ของพ้ืนท่ี

เขาหนองขาว 4 - สันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มที ิศทางการวางตวั ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้

พบอยู่ในมวลหินแกรนิต

- ไมไ่ ดท้ าํ การสํารวจตรวจสอบภาคสนาม

พืน้ ที่ A5 (จาํ นวน 6 พืน้ ที่)

เขาลอย 1 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

- พบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายตัวอยู่ท่ัวบริเวณไหล่เขา นอกจากน้ีพบหินลอยของหนิ

กรวดเหลยี่ ม

เขาลอย 2 - สนั เขาแข็งเปน็ เส้นตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้

- ไม่ได้ทําการสํารวจตรวจสอบภาคสนาม มองจากถนนด้านล่างข้ึนไปบนยอดเขาคล้าย

พนงั แรค่ วอตซ์

บา้ นหนองแก 1 - สันเขาแข็งเปน็ เสน้ ตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้

- พบสายแร่ควอตซผ์ ุ กว้างประมาณ 3 เมตร

บา้ นหนองแก 2 - สนั เขาแขง็ เป็นเสน้ ตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉียงใต้

- พบหนิ โคลนสเี ทาดาํ ของหมวดหินเขาพระกลมุ่ หินแก่งกระจาน

บา้ นทา่ ไมร้ วก 1 - สนั เขาแขง็ เป็นเส้นตรง มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนอื -ตะวนั ตกเฉยี งใต้

- พบสายแร่ควอตซ์ กว้างประมาณ 2-5 เมตร และยาวมากกวา่ 100 เมตร ตอ่ เน่อื งไปตาม

สนั เขา

บา้ นท่าไมร้ วก 2 - สันเขาแขง็ เปน็ เส้นตรง มที ศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวันออกเฉียงเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้

- พบหนิ ลอยของแรค่ วอตซ์บริเวณไหล่เขานอกจากน้ียงั พบหนิ โคลนบริเวณตนี เขาดา้ นล่าง

และยังพบหินแกรนิตแทรกเข้ามาในหินโคลนด้วย

23

บทท่ี 4
พื้นทีศ่ ักยภาพแหลง่ แร่ควอตซ์

พื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์จากการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูล
ธรณีฟิสิกสท์ างอากาศ รวมถึงการสํารวจ ตรวจสอบ ผลการแปลความหมายในภาคสนาม ไดพ้ นื้ ทศี่ กั ยภาพ
แหล่งแร่ควอตซ์จํานวน 11 พื้นท่ี ท่ีมีกว้างของสายแร่ควอตซ์มากกว่า 5 เมตร และความยาวมากกว่า
50 เมตร (รปู ท่ี 4-1) มรี ายละเอยี ดดังน้ี

รูปท่ี 4-1 แสดงผลการตรวจสอบภาคสนามแปลความหมายภาพดาวเทียมและผลการแปลข้อมูลธรณี
ฟิสิกส์ทางอากาศ พบพ้ืนที่ศักยภาพแหลง่ แร่ควอตซ์จํานวน 11 พื้นท่ี

24

4.1 พนื้ ทบ่ี ้านเซาะยาง 1

พ้ืนที่บ้านเซาะยาง 1 ตั้งอยู่ในเทือกเขาหินแกรนิตยุคครีเทเชียส (Kgr) ทางด้านตะวันตก
ของอําเภอบ้านลาด จังหวดั เพชรบุรี ในแผนทภี่ มู ปิ ระเทศ ระวาง 4935 II (จังหวดั เพชรบรุ )ี ภาพดาวเทียม
แสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ 900 เมตร มีแนวการวางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก
เฉียงใต้ (รูปท่ี 4-2 ก) พื้นที่ศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์ท่ีพบบริเวณพิกัด 0584270 ตะวันออก และ
1441352 เหนือ อยู่ทางด้านตะวันตกของกรอบพื้นที่ พบสายแร่ควอตซ์อยู่ ริมน้ําตก (รูปท่ี 4-2 ข-ค)
กว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันตก
เฉียงใต้ ลักษณะของแร่ควอตซ์มีสีขาว สีขาวขุ่น สีขาวนํ้านม และมีเหล็กออกไซด์สีน้ําตาลเหลืองเคลือบ
ตามรอยแตกของแรค่ วอตซ์ (รปู ที่ 4-2 ง-ฉ)

รปู ท่ี 4-2 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพน้ื ท่ีบ้านเซาะยาง 1

(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 แสดงสันเขาแข็งเปน็ เสน้ ตรงยาววางตวั ในแนวตะวนั ตกเฉียเหนอื –
ตะวนั ออกเฉียงใต้
(ข)-(ค) สายแร่ควอตซส์ ูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณริมน้ําตก วางตัวในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื (N70˚W)
(ง)-(ฉ) ลกั ษณะแร่ควอตซท์ ี่พบบรเิ วณพิกัด 0584270 ตะวนั ออก และ 1441352 เหนอื

25

4.2 พื้นท่บี า้ นเซาะยาง 3

พ้ืนที่บ้านเซาะยาง 3 อยู่ทางด้านใต้ของพ้ืนท่ีบ้านเซาะยาง 1 ตั้งอยู่ในเทือกเขา
หินแกรนติ ยคุ ครเี ทเชียส (Kgr) ทางด้านตะวันตกของอําเภอบา้ นลาด จังหวดั เพชรบรุ ี ในแผนท่ีภมู ปิ ระเทศ
ระวาง 4935 II (จังหวัดเพชรบุรี) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ 450 เมตร
มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปที่ 4-3 ก) พบสายแร่ควอตซ์อยู่ทางด้าน
ตะวันตกเฉยี งใตข้ องกรอบพ้ืนท่ี (รูปท่ี 4-3 ข-ง) สงู ประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวมากกวา่
100 เมตร ต่อเนื่องไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเน้ือควอตซ์มีสีขาว และสีขาวขุ่น (รูปท่ี 4-4)
นอกจากน้ียังพบหินลอยของแกรนิต และหินลอยของแร่ควอตซ์บริเวณริมร่องนํ้าในพ้ืนที่
บางบริเวณพบเศษหินแกรนิตในเน้ือควอตซ์ลักษณะคล้ายหินกรวดเหล่ียม (breccia) เป็นหลักฐานแสดง
ถึงการแทรกตัดของสายแร่ควอตซ์เข้ามาในหินท้องท่ีชนิดหินแกรนิต โดยมีการประทุ-ระเบิด
ทําให้หินแกรนิตแตกเป็นเหลี่ยมหล่นมาอยู่ในน้ําแร่ร้อนและเย็นตัวลงกลายเป็นหินแปลกปลอมในสาย
แรค่ วอตซ์

รปู ท่ี 4-3 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพ้ืนท่ีบ้านเซาะยาง 3

(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 ของพื้นท่ีบ้านเซาะยาง 3 แสดงสนั เขาแขง็ เปน็ เสน้ ตรงยาววางตวั
ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้
(ข) สายแร่ควอตซท์ พี่ บทางดา้ นตะวนั ตกเฉียงใตข้ องกรอบพ้นื ท่ี พิกดั 0585069 ตะวันออก
และ 1440489 เหนือ
(ค) สายแร่ควอตซ์ทพี่ บทางดา้ นตะวันตกเฉียงใต้ของกรอบพนื้ ที่ พกิ ัด 0585006 ตะวนั ออก และ
1440541 เหนือ
(ง) สายแรค่ วอตซท์ ่ีพบบนสันเขา พกิ ดั 0585246 ตะวนั ออก และ 1440606 เหนอื

26

รูปท่ี 4-4 แสดงลักษณะของแรค่ วอตซท์ พ่ี บในพ้นื ท่บี า้ นเซาะยาง 3

(ก)-(ข) บริเวณพกิ ัด 0585069 ตะวันออก และ 1440489 เหนือ
(ค)-(ง) บรเิ วณพกิ ดั 0585006 ตะวันออก และ 1440451 เหนือ
(จ)-(ฉ) บริเวณพกิ ดั 0585246 ตะวันออก และ 1440606 เหนอื

4.3 พ้นื ท่เี ขาหมู

พื้นท่ีเขาหมู ตําบลท่าแลง อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในแผนท่ีภูมปิ ระเทศ ระวาง
4934 I (อําเภอท่ายาง) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ 1,200 เมตร มีแนวการ
วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปท่ี 4-5) พบสายแร่ควอตซ์ (รูปที่ 4-6)
กว้างมากกว่า 5 เมตร และยาวมากกว่า 100 เมตรต่อเน่ืองไปตามแนวสันเขา ลักษณะของแร่ควอตซ์
ท่ีพบมีสีขาวขุ่น สีน้ําตาลแดง และมีรอยแตกมาก สายแร่ควอตซ์มีทิศทางการวางตัวในแนว
ตะวนั ออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (N33˚E) บางบรเิ วณพบเศษหนิ แกรนิตในเน้ือควอตซล์ กั ษณะคล้าย
หนิ กรวดเหล่ียม (breccia)

27

รูปที่ 4-5 (ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 ของพ้ืนท่บี า้ นเขาหมู แสดงสนั เขาแขง็ เป็นเส้นตรงยาววางตวั ใน
แนวตะวนั ออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉยี งใต้ ของพน้ื ทีเ่ ขาหมู
(ข) แผนทภ่ี มู ปิ ระเทศแสดงเสน้ ช้ันความสงู ถแี่ ละเป็นแนวยาวบริเวณสายแร่ควอตซ์ ของพื้นที่เขาหมู

รูปท่ี 4-6 สายแรค่ วอตซบ์ ริเวณพ้ืนทเ่ี ขาหมู

(ก)-(ง) สายแรค่ วอตซแ์ ละลักษณะแร่ควอตซบ์ รเิ วณวัดเขาหมูวชิระ สงู ประมาณ 3 เมตร
บรเิ วณพกิ ดั 0587221 ตะวันออก และ 1432828 เหนือ
(จ)-(ฉ) หินลอยและลกั ษณะแรค่ วอตซ์บริเวณพกิ ดั 0586554 ตะวนั ออก และ 1432089 เหนือ

28

4.4 พ้ืนท่เี ขามดแดง

พื้นท่ีเขามดแดง ตั้งอยู่ในเทือกเขาหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (Cgr) เป็นพ้ืนที่เขต
วัดไร่มะม่วง (พระราชดํารัส) ตําบลดอนขนุนห้วย อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี ในแผนที่ภูมิประเทศ
ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ 700 เมตร มีแนว
การวางตัวในทิศตะวันออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปท่ี 4-7 ก) พบสายแร่ควอตซ์ ยาวมากกว่า 100
เมตรต่อเนื่องไปตามแนวสันเขา (รปู ที่ 4-7 ข-จ) มรี อยแตกหลายทศิ ทาง ลกั ษณะของเน้อื ควอตซม์ สี ีขาวใส
สีขาว สีขาวอมชมพู (รูปที่ 4-8) บริเวณด้านล่างของเขาเป็นหินไบโอไทต์-มัสโคไวต์แกรนิตท่ีมีการเรียงตัว
ของเมด็ แร่

รปู ท่ี 4-7 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพ้ืนที่เขามดแดง

(ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 ของพื้นทเี่ ขามดแดง แสดงสันเขาแขง็ เป็นเส้นตรงยาววางตัวในแนว
ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
(ข) สายแรค่ วอตซ์ยาวมากกว่า 100 เมตรตอ่ เนอื่ งไปตามแนวสนั เขา
(ค)-(ฉ) สายแรค่ วอตซท์ พ่ี บบนสันเขามดแดง พกิ ดั 0593783 ตะวันออก และ 1421844 เหนือ

29

รปู ท่ี 4-8 สายแร่ควอตซแ์ ละลักษณะแรค่ วอตซ์บรเิ วณพื้นทเี่ ขามดแดง
(ก)-(ข) ลักษณะแรค่ วอตซ์ บริเวณพกิ ัด 0593783 ตะวันออก และ 1421844 เหนอื
(ค)-(ง) สายแร่ควอตซ์และลกั ษณะแร่ควอตซ์ บรเิ วณพิกดั 0593979 ตะวันออก และ 1422170 เหนือ

4.5 พื้นที่เขานกกระจิบเขา-เขานางด่าง

พ้ืนที่เขานกกระจิบ-เขานางด่าง ต้ังอยู่ในเทือกเขาหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (Cgr)
ในแผนที่ภูมิประเทศ ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเสน้ ตรงยาวประมาณ
2,000 เมตร มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉยี งเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้ จากการตรวจสอบภาคสนามได้
เข้าสาํ รวจบรเิ วณดา้ นเขานกกระจิบเพยี งบริเวณเดยี ว สว่ นเขานางด่างไมไ่ ด้ทาํ การสํารวจภาคสนาม ดงั นั้น
พื้นท่ีศักยภาพจึงเป็นพ้ืนที่เขานกกระจิบพ้ืนท่ีเดียว (กรอบสีนํ้าเงินท่ีแสดงในรูปที่ 4-9) พบสายแร่ควอตซ์
(รูปท่ี 4-10) มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร มีทิศทางการวางตัวในแนว
ตะวนั ออกเฉียงเหนอื -ตะวนั ตกเฉยี งใต้ ลกั ษณะแรค่ วอตซ์ท่ีพบมสี ขี าว สีขาวขุ่น มรี อยแตกมาก นอกจากน้ี
พบหินลอยของหินแกรนิตบริเวณตีนเขา และทางด้านตะวันออกของเขาเป็นแหล่งทรายที่มีต้นกําเนิดมา
จากหินแกรนติ ดว้ ย

30

รปู ที่ 4-9 ภาพดาวเทียม SPOT-5 และแผนท่ภี ูมปิ ระเทศ บริเวณพน้ื ทเ่ี ขานกกระจบิ -เขานางดา่ ง

(ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 แสดงสันเขาแขง็ เปน็ เส้นตรงยาววางตัวในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนือ-
ตะวันตกเฉียงใต้
(ข) แผนทีภ่ มู ิประเทศแสดงเส้นชั้นความสงู ถ่แี ละเป็นแนวยาวบรเิ วณสายแรค่ วอตซ์

รูปท่ี 4-10 สายแรค่ วอตซบ์ ริเวณพ้ืนทเ่ี ขานกกระจิบ บรเิ วณพิกัด 0594574 ตะวันออก และ 1420656 เหนอื
(ก)-(ค) สายแรค่ วอตซ์และลกั ษณะของเน้ือแรค่ วอตซ์ทพ่ี บในพ้ืนท่เี ขานกกระจิบ
(ง) ผลึกแรค่ วอตซ์ใสขนาดเลก็ เยน็ ตัวในชอ่ งว่างที่เป็นรอยแตกในสายแร่ควอตซ์สขี าว

4.6 พื้นที่เขานางดา่ ง-เขาหลงั ถนน

พื้นท่ีเขานางด่าง-เขาหลังถนน ตั้งอยู่ในเทือกเขาหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (Cgr)
ในแผนท่ภี ูมิประเทศ ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ
3,300 เมตร มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สันเขาแข็งเป็นเส้นตรงยาว
มีทิศทางการวางตัวของสายแร่ตามแนวเส้นที่เป็นรอยแตกในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
จากการตรวจสอบภาคสนามได้เข้าสํารวจบริเวณด้านเขาหลังถนนเพียงบริเวณเดียว คือทางด้านตะวันตก

31

เฉียงใต้ของพ้ืนที่ (กรอบสีนํ้าเงินท่ีแสดงในรูปท่ี 4-11) พบพบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายอยู่ทั่วบริเวณ
ไหล่เขาทางด้านใต้ของพ้ืนท่ี (รูปที่ 4-12) บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพ้ืนท่ี พบสายแร่ควอตซ์
กว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร ซ่ึงเป็นภูเขาลูกโดดท่ีมีสันเขาแข็งเป็นเส้นตรงท่ีเป็นที่ต้ัง
ของสาํ นกั สงฆ์เขาน้อย ตําบลท่าไม้รวก อาํ เภอท่ายาง จงั หวดั เพชรบรุ ี (รปู ที่ 4-13)

รปู ท่ี 4-11 ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 และแผนท่ีภูมิประเทศ บริเวณพืน้ ทเ่ี ขาหลงั ถนน
(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 แสดงสันเขาแขง็ เปน็ เส้นตรงยาววางตวั ในแนวตะวันออกเฉยี งเหนอื -
ตะวนั ตกเฉยี งใต้
(ข) แผนทภี่ ูมิประเทศแสดงเสน้ ชนั้ ความสงู ถ่ีและเปน็ แนวยาวบรเิ วณสายแร่ควอตซ์

รปู ท่ี 4-12 หนิ ลอยของแรค่ วอตซ์ บริเวณพ้นื ท่ีเขาหลงั ถนน พิกัด 0590428 ตะวนั ออก และ 1418888 เหนอื
(ก)-(ข) หินลอยของแร่ควอตซท์ ี่พบกระจายอยทู่ ั่วบรเิ วณไหลเ่ ขา
(ค)-(ง) ลกั ษณะเน้ือแรค่ วอตซ์ ทพ่ี บเป็นหนิ ลอยของแร่ควอตซ์

32

รูปท่ี 4-13 แสดงการวางตัวของสายแร่ควอตซ์และลักษณะของแร่ควอตซ์บริเวณสํานักสงฆ์เขาน้อย ตําบล
ท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (พิกัด 0590075 ตะวันออก และ 1418983 เหนือ)
บริเวณด้านตะวันตกเฉยี งใตข้ องพืน้ ที่เขาหลังถนน

4.7 พื้นทเ่ี ขาลอยนอก

พ้ืนที่เขาลอยนอก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหินแกรนิตยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส (Cgr) ในแผนที่
ภูมิประเทศ ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง) ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะแนวเส้นตรงยาวประมาณ 1,400 เมตร
มีแนวการวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปที่ 4-14 ก) พบสายแร่ควอตซ์
กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร มีร่องรอยของการทําเหมืองแร่ควอตซ์มาก่อน
(รปู ท่ี 4-14 ข) พบเศษแรค่ วอตซ์กระจายอยู่ท่ัวบริเวณเขา (รปู ที่ 4-14 ข-ฉ) ลกั ษณะของแร่ควอตซ์มีสขี าว
ขุ่นมีรอยแตกมากซึ่งมีคราบเหล็กออกไซด์ตามรอยแตก ทางด้านเหนือของพื้นที่พบหินลอยของแร่ควอตซ์
กระจายทั่วบริเวณตีนเขา (รูปท่ี 4-15) บางบริเวณพบเศษหินแกรนิตในเนื้อควอตซ์ลักษณะคล้ายหินกรวด
เหลี่ยม (breccia) เป็นหลักฐานแสดงถึงการแทรกตัดของสายแร่ควอตซ์เข้ามาในหินท้องที่ชนิดหินแกรนิต
โดยมีการประทุ-ระเบิดทําให้หินแกรนิตแตกเป็นเหลี่ยมหล่นมาอยู่ในน้ําแร่ร้อนและเย็นตัวลงกลายเป็นหิน
แปลกปลอมในสายแร่ควอตซ์

33

รูปที่ 4-14 สายแรค่ วอตซบ์ ริเวณพน้ื ท่ีเขาลอยนอก
(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 บรเิ วณเขาลอยนอกแสดงสันเขาแขง็ เป็นเส้นตรงยาววางตวั ในแนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉยี งใต้
(ข)-(จ) สายแรค่ วอตซ์และลกั ษณะเนอื้ แรค่ วอตซส์ ขี าวทพ่ี บบนสนั เขาลอยนอก พบรอ่ งรอยของ
การทาํ เหมอื ง พกิ ดั 0589554 ตะวนั ออก และ 1417003 เหนือ
(ฉ)-(ซ) สายแรค่ วอตซ์และลักษณะเนอื้ แรค่ วอตซส์ ขี าวท่พี บในพ้ืนทเ่ี ขาลอยนอก พกิ ดั 0589640
ตะวนั ออก และ 1417019 เหนือ

34

รปู ท่ี 4-15 หินลอยของแร่ควอตซ์และลักษณะของแร่ควอตซ์ที่พบทางด้านเหนือของพ้ืนที่เขาลอยนอก
บรเิ วณพกิ ัด 0589726 เหนือ และ 1418172 ตะวนั ออก

4.8 พ้ืนที่เขาโปง่

พ้ืนท่ีเขาโป่ง เป็นวัดร้าง อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศ ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง)
ภาพดาวเทียมแสดงเป็นภูเขาลูกโดด และมีสันเขาแข็งยาวประมาณ 500 เมตร มีแนวการวางตัวในทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปท่ี 4-16) พบสายแร่ควอตซ์ (รูปท่ี 4-17) กว้างประมาณ 10
เมตร และยาวมากกว่า 100 เมตร บนสันเขา และพบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายอยู่ท่ัวบริเวณไหล่เขา
แร่ควอตซ์ที่พบมีรอยแตกมาก มีสีขาวนํ้านม ในบางบริเวณพบหินลอยของหินแกรนิตท่ีมีการเรียงตัวของ
ผลึกเม็ดแร่บ้างเลก็ นอ้ ยบริเวณตีนเขา

รปู ที่ 4-16 (ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 บรเิ วณเขาโป่ง แสดงเป็นภูเขาลกู โดด สันเขาแขง็ วางตวั ในแนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวนั ตกเฉยี งใต้
(ข) สายแรค่ วอตซพ์ ืน้ ที่เขาโป่ง พกิ ดั 0598181 ตะวนั ออก และ 1414801 เหนอื

35

รูปที่ 4-17 สายแรค่ วอตซส์ ายแรค่ วอตซแ์ ละลักษณะแรค่ วอตซบ์ รเิ วณพนื้ ท่ีเขาโป่ง
(ก)-(ค) สายแร่ควอตซ์และลกั ษณะแรค่ วอตซ์ทพี่ บบริเวณเขาโป่ง พิกดั 0598181 ตะวนั ออก
และ 1414801 เหนอื
(ง)-(ฉ) สายแรค่ วอตซแ์ ละลักษณะเนอื้ ควอตซ์ท่ีพบในพ้นื ทเี่ ขาโป่ง พกิ ัด 0598207 ตะวันออก
และ 1415040 เหนือ

4.9 พน้ื ทบ่ี า้ นห้วยรางโพธิ์ 1

พ้ืนทีบ่ ้านรางโพธิ์ 1 ต้งั อยูใ่ นเทอื กเขาหนิ แกรนิตยุคครเี ทเชียส (Kgr) ตําบลยางนํา้ กลดั ใต้
อําเภอหนองหญา้ ปลอ้ ง จังหวัดเพชรบุรี อยใู่ นแผนทภี่ มู ิประเทศ ระวาง 4935 III (อาํ เภอหนองหญ้าปล้อง)
จากภาพดาวเทียมแสดงให้เห็นเป็นสันเขาแข็งยาวเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันตก
เฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ (รูปที่ 4-17 ก) พบสายแร่ควอตซ์บริเวณริมร่องน้ําห้วยตะหลาย มีความสูง
ประมาณ 1-3 เมตร และยาวประมาณ 20 เมตร มีทศิ ทางการวางตวั ในแนวตะวตั ตกเฉียงเหนือ-ตะวันออก
เฉียงใต้ (N70˚W) ลักษณะแร่ควอตซ์เป็นสีขาวขุ่น และสีขาว และมีรอยแตกมาก (รูปที่ 4-17 ข-ง)
นอกจากนี้ยงั พบหินลอยของหนิ แกรนิตในรอ่ งน้าํ หว้ ยตะหลายดว้ ย

36

รูปที่ 4-18 สายแรค่ วอตซบ์ รเิ วณพ้นื ที่บ้านห้วยรางโพธ์ิ 1
(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 บรเิ วณบ้านหว้ ยรางโพธิ์ 1 แสดงสนั เขาแขง็ วางตัวในแนวตะวนั ตก
เฉยี งเหนอื -ตะวนั ออกเฉยี งใต้
(ข)-(ง) สายแรค่ วอตซล์ ักษณะแร่ควอตซบ์ ริเวณ พกิ ดั 0567297 ตะวันออก และ 1447885 เหนอื

4.10 พน้ื ทเ่ี ขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน)

พื้นท่ีเขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) ตั้งอยู่บริเวณเขาหลังวัดล่าตะเคียน ตําบลแก่ง
กระจาน อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศ ระวาง 4934 IV (อําเภอแก่ง
กระจาน) จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นเป็นสันเขาแข็งยาวเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนว
ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ (รูปที่ 4-19 ก) พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ 3-5 เมตร บนสัน
เขาซง่ึ มีการวางตัวทีไ่ มต่ ่อเนื่องกันในแนวเกือบตะวนั ออก-ตะวันตก และพบหินลอยของแรค่ วอตซ์กระจาย
ตัวอยู่ทั่วบริเวณไหล่เขา (รูปที่ 4-19 ข-ค) ลักษณะของแร่ควอตซ์ท่ีพบมีท้ังสีขาว สีขาวขุ่น และสีขาวใส
(รูปที่ 4-19 ง-ฉ) นอกจากนัน้ พบหนิ แกรนิตบรเิ วณตนี เขา ทเ่ี ปน็ บริเวณวดั ล่าตะเคยี น และมสี ายแร่ควอตซ์
ขนาดเล็กตกผลกึ ใหม่ตามรอยแตกของหนิ แกรนิต (รูปที่ 4-19 ฉ)

37

รูปที่ 4-19 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพน้ื ท่เี ขาหนองขาว 8 (วัดลา่ ตะเคยี น)
(ก) ภาพดาวเทยี ม SPOT-5 บริเวณพ้นื ทีเ่ ขาหนองขาว 8 (วดั ล่าตะเคยี น) แสดงเป็นสนั เขาแข็ง
ยาวมีทิศทางการวางตัวในแนวตะวนั ออกเฉยี งเหนอื -ตะวันตกเฉียงใต้
(ข)-(ค) สายแรค่ วอตซท์ ีว่ างตวั ไม่ตอ่ เนื่องกันบนสันเขาและหนิ ลอยของแรค่ วอตซท์ ี่พบกระจาย
อยทู่ วั่ บรเิ วณไหล่เขาของพน้ื ท่เี ขาหนองขาว 8 (วดั ลา่ ตะเคยี น) พกิ ดั 0570085 ตะวนั ออก และ
1435816 เหนือ
(ง)-(จ) ลกั ษณะแร่ควอตซส์ ขี าวขนุ่ และสขี าวใสที่พบในพ้ืนท่ีเขาหนองขาว 8 (วดั ลา่ ตะเคียน)
พิกัด 0570085 ตะวันออก และ 1435816 เหนือ
(ฉ) สายแรค่ วอตซท์ ่มี กี ารตกผลกึ ตามรอยแตกของหินแกรนิตทพ่ี บบริเวณตีนเขา พกิ ดั
0570085 ตะวนั ออก และ 1435816 เหนือ

38

4.11 พื้นท่บี ้านทา่ ไมร้ วก 1

พ้นื ท่บี ้านทา่ ไม้รวก 1 ต้ังอย่บู ริเวณบ้านทา่ ไม้รวกทางดา้ นตะวันออกของสนามกอลฟ์ ตาํ บลกลดั
หลวง อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศ ระวาง 4934 I (อําเภอท่ายาง) จากภาพถ่ายดาวเทียม
แสดงให้เห็นเป็นสันเขาแข็งเป็นเส้นตรง มีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
(รูปที่ 4-20 ก) พบสายแร่ควอตซ์ มีความกว้างประมาณ 2-5 เมตร และยาวมากกว่า 100 เมตร ต่อเนื่องไปตาม
สันเขา และพบหินลอยของแร่ควอตซ์กระจายตัวอยู่ทั่งบริเวณท่ีเป็นไหล่เขา (รูปท่ี 4-20 ข-ฉ) บริเวณตีนเขาที่เป็น
ถนนด้านตะวันตกเฉียงใต้ พบเป็นหินแกรนติ ท่มี ีสายแรค่ วอตซข์ นาดเลก็ แทรกตามรอยแตกของหนิ แกรนิต

รปู ท่ี 4-20 สายแร่ควอตซบ์ รเิ วณพน้ื ท่บี า้ นท่าไม้รวก 1
(ก) ภาพดาวเทียม SPOT-5 บรเิ วณพ้ืนทีบ่ า้ นท่าไมร้ วก 1 แสดงเปน็ สันเขาแข็งยาวเป็น
เส้นตรง มที ิศทางการวางตวั ในแนวตะวนั ออกเฉียงเหนอื -ตะวนั ตกเฉยี งใต้
(ข)-(ค) สายแรค่ วอตซแ์ ละลกั ษณะแรค่ วอตซ์ทพี่ บบนสนั เขา บริเวณพิกดั 0585886 ตะวนั ออก
และ 1423778 เหนือ
(ง)-(ฉ) ลักษณะแร่ควอตซ์สขี าวที่พบในพนื้ ทบ่ี า้ นทา่ ไมร้ วก 1 บริเวณพกิ ดั 0585410
ตะวันออก และ 1423424 เหนอื

41

บทที่ 5
สรปุ ผลและขอ้ เสนอแนะ

5.1 สรปุ ผล

ภาพดาวเทียมท่ีแสดงให้เห็นลักษณะเป็นสันเขาแข็งหรือเป็นเส้นตรงมีความยาวต่อเนื่อง
ส่วนใหญ่พบเป็นสายแร่ควอตซ์มีความกว้างประมาณ 5 เมตร ความยาวมากกว่า 50 เมตร โผล่ให้เห็น
บริเวณยอดเขาหรือไหล่เขา แต่บางบรเิ วณพบเป็นหินแกรนติ ทีม่ สี ัดสว่ นแรค่ วอตซเ์ ปน็ องค์ประกอบสูงและ
ถูกแทรกโดยสายควอตซ์สายเล็ก ๆ เป็นจํานวนมาก และบางบริเวณพบเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาว
ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ซึ่งแสดงลักษณะเป็นสันเขาแข็ง (Resistance bed) เป็นภูเขาลูกโดดวางตัวใน
แนวยาว หรือบางครั้งแสดงเป็นสันเขาแข็งสลับร่องเขาบ่งบอกถึงมีการแทรกสลับกันของช้ันหินท่ีมีความ
คงทนต่อการผกุ ร่อนสูงกับช้นั หนิ ท่มี คี วามคงทนตอ่ การผกุ รอ่ นตํา่ กว่า

สายแร่ควอตซ์ท่ีพบส่วนใหญ่แทรกตัดเข้ามาในหินแกรนิตและมีแนวการวางตัว 2 แนว
หลักคือ ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซ่ึง
เป็นทิศทางเดียวกับแนวรอยแตก/รอยเลื่อนในพ้ืนที่จังหวัดเพชรบุรี สายแร่ควอตซ์ที่พบบางบริเวณไม่
แสดงเป็นสนั เขาหรอื เป็นเส้นตรงยาวเนอ่ื งจากหลายสาเหตุ เชน่

- สายแร่ควอตซ์ มีรอยแตกเป็นจํานวนมากทําให้ความคงทนต่อการผุพังลดลงมา
ใกลเ้ คียงกับหินทอ้ งที่ซ่งึ ทาํ ใหไ้ ม่พบสนั เขาแข็งเปน็ แนวเส้นตรงยาวบนภาพดาวเทยี ม

- สายแร่ควอตซ์ที่พบในร่องเขาแสดงเพียงรอยนูนบนไหล่เขาหรือในร่องเขาโดยที่สันเขา
แข็งและเป็นแนวเส้นตรงมากกว่า อาจเกิดจากกระบวนการเติมซิลิกาให้กับหินท้องที่จึงทําให้สันเขาแข็ง
เด่นกว่าสายแร่ควอตซ์ หรืออาจเกิดจากรอยเล่ือนขนาดใหญ่ตัดผ่านทําให้สันเขาเป็นเส้นตรงเด่นกว่าสาย
แร่ควอตซ์

สายแร่ควอตซ์ที่ไม่ปรากฏในภาพดาวเทียมอาจต้องใช้สิ่งบ่งช้ีอย่างอื่นในภาพดาวเทียม
หรือจากการตรวจสอบภาคสนามเข้าช่วย เช่น รอยแตกรอยเลื่อนตัดเข้ามาในหินท้องท่ีที่เป็นหินแกรนิต
บริเวณท่ีมีสายเพกมาไทต์แทรกตัดเข้ามาหลายสาย หรือจากการตรวจสอบภาคสนามบริเวณร่องน้ําท่ีเกิด
จากรอยแตก/รอยเล่ือน หากพบก้อนควอตซ์ขนาดใหญ่ตามร่องนํ้าหรือก้อนควอตซ์ขนาดเล็กแต่มีจํานวน
มาก ส่ิงเหลา่ นส้ี ามารถใช้เป็นส่งิ บ่งชวี้ ่ามีความนา่ จะเปน็ ที่จะพบสายแรค่ วอตซใ์ นพ้ืนที่น้ัน ๆ ได้

ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศสามารถช่วยกําหนดขอบเขตของหินแกรนิต ซ่ึงสายแร่
ควอตซส์ ว่ นใหญพ่ บในหินแกรนิต ในพน้ื ทจี่ ังหวัดเพชรบุรหี ินแกรนิตท่พี บมที ั้งเน้ือผลึกขนาดเดียวและผลึก
สองขนาด จากการใช้ข้อมูลความเข้มกัมมันตรังสีพบว่าในหินแกรนิตมีอัตราส่วนของแร่เฟลด์สปาร์และแร่
ควอตซ์มากกว่าแรป่ ระกอบหินอืน่ ๆ

สําหรับพ้ืนที่ที่ไม่ได้เข้าไปทําการสํารวจผลการแปลนั้น เนื่องจากการดําเนินการสํารวจมี
ข้อจํากัดในเร่ืองของระยะเวลา รวมท้ังการเข้าถึงพ้ืนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตอุทยานแห่งชาติ และพ้ืนที่
ป่าไม้ ซ่ึงบางพื้นท่ีเป็นพื้นท่ีป่าทึบ ไม่มีทางเดินหรือเส้นที่ทางท่ีจะเข้าถึงพื้นที่ได้ ทําให้ข้อมูลท่ีได้อาจไม่
สมบรู ณ์เทา่ ท่คี วร

42

พ้ืนท่ีศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์จากการแปลความหมายข้อมูลภาพดาวเทียมและข้อมูล
ธรณฟี สิ ิกส์ทางอากาศ พบจํานวน 11 พื้นที่ ไดแ้ ก่

1. พื้นท่ีบ้านเซาะยาง 1 ตําบลห้วยลึก อําเภอบ้านลาด พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ
5 เมตร และยาวประมาณ 100 เมตร

2. พื้นที่บ้านเซาะยาง 3 ตําบลห้วยลึก อําเภอบ้านลาด พบสายแร่ควอตซ์สูงประมาณ
2 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร แลยาวมากกวา่ 100 เมตร

3. พ้ืนที่เขาหมู ตําบลท่าแลง อําเภอท่ายาง พบสายแร่ควอตซ์กว้างมากกว่า 5 เมตร
และยาวมากกว่า 100 เมตร

4. พื้นท่ีเขามดแดง วัดไร่มะม่วง (พระราชดํารัส) ตําบลดอนขนุนห้วย อําเภอชะอํา
พบสายแรค่ วอตซก์ วา้ งมากกว่า 50 เมตร และยาวมากกว่า 100 เมตร

5. พื้นที่เขานกกระจิบ-เขานางด่าง ตําบลดอนขุนห้วย อําเภอชะอํา พบสายแร่ควอตซ์
กวา้ งประมาณ 5 เมตร และยาวประมาณ 100 เมตร

6. พ้ืนท่ีเขานางด่าง-เขาหลังถนน ตําบลท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง พบสายแร่ควอตซ์กว้าง
ประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร

7. พื้นท่ีเขาลอยนอก ตําบลท่าไม้รวก อําเภอท่ายาง พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ
20 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร

8. พ้ืนที่เขาโป่ง ตําบลเขาใหญ่ อําเภอชะอํา พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ 10 เมตร
และยาวมากกวา่ 100 เมตร

9. พ้ืนท่ีบ้านรางโพธิ์ 1 ตําบลยางน้ํากลัดใต้ อําเภอหนองหญ้าปล้อง พบสายแร่ควอตซ์
บรเิ วณรมิ รอ่ งน้ําห้วยตะหลาย มคี วามสูงประมาณ 1-3 เมตร และยาวประมาณ 20 เมตร

10. พ้ืนท่ีเขาหนองขาว 8 (วัดล่าตะเคียน) ตําบลแก่งกระจาน อําเภอแก่งกระจาน
พบสายแร่ควอตซ์กว้างประมาณ 3-5 เมตร บนสันเขาซ่ึงมีการวางตัวที่ไม่ต่อเนื่องกันในแนวเกือบ
ตะวนั ออก-ตะวันตก และพบหินลอยของแรค่ วอตซก์ ระจายตัวอย่ทู ัว่ บริเวณไหลเ่ ขา

11. พนื้ ทบี่ ้านท่าไมร้ วก 1 ตําบลท่าไมร้ วก อําเภอท่ายาง พบสายแรค่ วอตซ์ มีความกว้าง
ประมาณ 2-5 เมตร และยาวมากกวา่ 100 เมตร

5.2 ขอ้ เสนอแนะ

พ้ืนท่ีศักยภาพแหล่งแร่ควอตซ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ได้จากการแปลความหมายข้อมูลภาพ
ดาวเทียมและข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศในคร้ังน้ี ได้จากการนําข้อมูลท่ีได้จากการการรวบรวมข้อมูลท่ี
เคยมีการสํารวจมาก่อนมาใช้ร่วมกับการแปลความหมายข้อมูลระยะไกล รวมถึงการสํารวจ ตรวจสอบผล
การแปลความหมายในภาคสนาม เป็นการกําหนดพื้นท่ีศักยภาพเบ้ืองต้น ข้อมูลที่ได้อาจจะยังไม่เพียง
พอที่จะกําหนดเป็นพ้ืนที่ศักยภาพเพ่ืการสํารวจในขั้นรายละเอียด ดังนั้นควรมีการสํารวจในด้านต่าง ๆ
เพ่ิมเติม เช่น ขอ้ มูลธรณีเคมี ธรณีฟสิ ิกสด์ ้าน ๆ อน่ื เปน็ ตน้


Click to View FlipBook Version