The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรสถานศึกษาศกศ.รน2564

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by secrn, 2021-11-09 03:54:50

หลักสูตรสถานศึกษาศกศ.รน2564

หลักสูตรสถานศึกษาศกศ.รน2564

249

การนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพตามจุดหมายของ หลักสูตร
ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลักสูตรในระบบสถานศึกษา ได้แก่ผู้บริหาร ผู้สอน พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
และชมุ ชน มีบทบาทสำคญั ยิง่ ต่อการพฒั นาคุณภาพของเด็ก

๑. บทบาทผ้บู รหิ ารสถานศกึ ษาปฐมวยั
การจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยในระบบสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดผู้บริหาร

สถานศึกษาควรมบี ทบาท ดงั น้ี
๑.๑ ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและมีวิสัยทัศน์ด้านการจัดการศึกษา

ปฐมวัย
๑.๒ คัดเลือกบุคลากรที่ทำงานกับเด็ก เช่น ผู้สอน พี่เลี้ยง อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึง

คณุ สมบตั ิหลกั ของบุคลากร ดังนี้
๑.๒.๑ มีวุฒิทางการศึกษาด้านการอนุบาลศึกษา การศึกษาปฐมวัย หรือผ่านการ

อบรมเก่ียวกับการจดั การศกึ ษาปฐมวัย
๑.๒.๒ มีความรักเด็ก จิตใจดี มีอารมณ์ขันและใจเย็น ให้ความเป็นกันเองกับเด็ก

อยา่ งเสมอภาค
๑.๒.๓ มีบุคลิกของความเป็นผูส้ อน เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของเด็กตามวยั
๑.๒.๔ พดู จาสภุ าพเรยี บรอ้ ย ชดั เจนเป็นแบบอยา่ งได้
๑.๒.๕ มคี วามเป็นระเบยี บ สะอาด และรู้จกั ประหยัด
๑.๒.๖ มีความอดทน ขยนั ซื่อสตั ยใ์ นการปฏิบัตงิ านในหนา้ ท่แี ละการปฏบิ ตั ติ อ่ เดก็
๑.๒.๗ มีอารมณ์ร่วมกบั เด็ก รู้จักรับฟงั พิจารณาเร่ืองราวปัญหาต่าง ๆ ของเด็กและ

ตัดสนิ ปัญหาต่าง ๆ อยา่ งมเี หตผุ ลดว้ ยความเปน็ ธรรม
๑.๒.๘ มีสขุ ภาพกายและสุขภาพจติ สมบูรณ์

๑.๓ ส่งเสริมการจัดบริการทางการศึกษาให้เด็กได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง และเสมอภาค และ
ปฏบิ ตั ิการรับเด็กตามเกณฑ์ทก่ี ำหนด

๑.๔ สง่ เสรมิ ให้ผู้สอนและผู้ทปี่ ฏบิ ัติงานกับเด็กพฒั นาตนเองมีความร้กู ้าวหน้าอยเู่ สมอ
๑.๕ เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมให้ความเห็นชอบ กำหนดวิสัยทัศน์
และคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์ของเดก็ ทุกช่วงอายุ
๑.๖ สรา้ งความรว่ มมอื และประสานกับบุคลากรทุกฝา่ ยในการจดั ทำหลกั สตู รสถานศึกษา
๑.๗ จัดใหม้ ีข้อมลู สารสนเทศเกี่ยวกบั ตัวเดก็ งานวชิ าการหลักสตู ร อยา่ งเป็นระบบและมีการ
ประชาสมั พนั ธ์หลกั สูตรสถานศึกษา
๑.๘ สนบั สนุนการจดั สภาพแวดลอ้ มตลอดจนส่อื วสั ดุ อุปกรณท์ ่ีเอ้ืออำนวยต่อการเรยี นรู้
๑.๙ นเิ ทศ กำกับ ติดตามการใชห้ ลกั สตู รโดยจัดให้มรี ะบบนิเทศภายในอยา่ งมรี ะบบ
๑.๑๐ กำกับติดตามให้มีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและนำผลจากการประเมิน
ไปใชใ้ นการพัฒนาคณุ ภาพเดก็
๑.๑๑ กำกับ ติดตาม ให้มกี ารประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ เพอื่ นำผลจากการประเมินมา
ปรับปรุงและพัฒนาสาระของหลักสูตรของสถานศึกษาใหส้ อดคล้องกับความต้องการของเด็ก บริบทสังคมและ
ใหม้ ีความทันสมัย

250

๒. บทบาทผู้สอนปฐมวยั
การพัฒนาคุณภาพเด็กโดยถือว่าเด็กมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง

ส่งเสริมให้เด็กสามารถพฒั นาตนตามธรรมชาติ สอดคล้องกบั พฒั นาการและเต็มตามศักยภาพ ดังนน้ั ผู้สอนจึง
มีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจึงควรมี
บทบาท / หน้าที่ ดงั นี้

๒.๑ บทบาทในฐานะผเู้ สริมสรา้ งการเรียนรู้
๒.๑.๑ จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กที่เด็กกำหนดขึ้นด้วยตัวเด็กเองและ

ผ้สู อนกับเดก็ ร่วมกนั กำหนด โดยเสรมิ สรา้ งพฒั นาการเดก็ ให้ครอบคลมุ ทุกด้าน
๒.๑.๒ส่งเสริมให้เด็กใช้ข้อมูลแวดล้อม ศกั ยภาพของตัวเด็ก และหลกั ทางวิชาการใน

การผลิตกระทำ หรอื หาคำตอบในสิง่ ทีเ่ ด็กเรียนรู้อย่างมเี หตุผล
๒.๑.๓กระตุ้นให้เด็กร่วมคิด แก้ปัญหา ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองด้วยวิธี

การศึกษาทน่ี ำไปสู่การใฝร่ ู้ และพัฒนาตนเอง
๒.๑.๔จดั สภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศการเรยี นทสี่ ร้างเสริมให้เด็กทำกิจกรรม

ไดเ้ ต็มศกั ยภาพและความแตกตา่ งของเด็กแต่ละบุคคล
๒.๑.๕สอดแทรกการอบรมด้านจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ในการจัดการ

เรียนรู้ และกจิ กรรมต่าง ๆ อยา่ งสม่ำเสมอ
๒.๑.๖ใชก้ จิ กรรมการเลน่ เป็นสอื่ การเรียนรสู้ ำหรับเดก็ ใหเ้ ป็นไปอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ
๒.๑.๗ ใช้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและเด็กในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการ

สอนอยา่ งสมำ่ เสมอ
๒.๑.๘ จดั การประเมินผลการเรยี นรทู้ ่สี อดคลอ้ งกับสภาพจริงและนำผลการประเมิน

มาปรบั ปรงุ พฒั นาคุณภาพเดก็ เตม็ ศักยภาพ
๒.๒ บทบาทในฐานะผดู้ แู ลเด็ก
๒.๒.๑ สังเกตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้านทั้งทางดา้ นร่างกาย อารมณ์ จิตใจ

สังคม และ สติปัญญา
๒.๒.๒ฝกึ ใหเ้ ดก็ ช่วยเหลอื ตนเองในชีวิตประจำวัน
๒.๒.๓ฝึกใหเ้ ดก็ มคี วามเชื่อมนั่ มีความภมู ิใจในตนเองและกล้าแสดงออก
๒.๒.๔ฝึกการเรยี นรหู้ น้าที่ ความมวี ินัย และการมีนสิ ยั ทด่ี ี
๒.๒.๕จำแนกพฤติกรรมเด็กและสร้างเสริมลกั ษณะนิสัยและแก้ปญั หาเฉพาะบคุ คล
๒.๒.๖ ประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา บ้าน และชุมชน เพื่อให้เด็กได้

พัฒนาเต็มตามศกั ยภาพและมีมาตรฐานคณุ ลักษณะที่พึงประสงค์
๒.๓ บทบาทในฐานะนักพฒั นาเทคโนโลยกี ารสอน
๒.๓.๑ นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการสอนมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ

บรบิ ทสังคม ชุมชน และทอ้ งถิ่น
๒.๓.๒ ใชเ้ ทคโนโลยีและแหล่งเรียนรูใ้ นชุมชนในการเสริมสรา้ งการเรยี นรใู้ หแ้ ก่เดก็
๒.๓.๓ จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร / กระบวนการ

เรยี นรู้ และพัฒนาสอื่ การเรยี นรู้

251

๒.๓.๔ พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณลักษณะของผู้ใฝ่รู้มีวิสัยทัศน์
และทนั สมยั ทันเหตุการณใ์ นยคุ ของขอ้ มูลขา่ วสาร

๒.๔ บทบาทในฐานะผ้บู ริหารหลกั สตู ร
๒.๔.๑ ทำหน้าที่วางแผนกำหนดหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้ การประเมนิ ผลการเรียนรู้
๒.๔.๒ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กมีอิสระในการ

เรยี นรทู้ ั้งกายและใจ เปิดโอกาสให้เด็กเล่น/ทำงาน และเรียนร้ทู ้งั รายบุคคลและเป็นกลมุ่
๒.๔.๓ ประเมนิ ผลการใช้หลักสูตรเพ่ือนำผลการประเมนิ มาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร

ให้ทันสมัย สอดคลอ้ งกับความตอ้ งการของ ผู้เรยี น ชุมชนและทอ้ งถิ่น
๓. บทบาทของพอ่ แม่หรือผูป้ กครองเด็กปฐมวัย
การศึกษาระดับปฐมวัยเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กที่ผู้สอนและพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้อง

ส่ือสารกนั ตลอดเวลา เพือ่ ความเข้าใจตรงกันและพร้อมร่วมมือกนั ในการจัดการศกึ ษาให้กบั เด็ก ดังนั้น พ่อแม่
หรอื ผ้ปู กครองควรมบี ทบาทหนา้ ท่ี ดงั นี้

๓.๑ มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาและให้ความเห็นชอบ กำหนด
แผนการเรียนรู้ของเด็กรว่ มกบั ผู้สอนและเด็ก

๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กตาม
ศักยภาพ

๓.๓ เปน็ เครือขา่ ยการเรยี นรู้จัดบรรยากาศภายในบา้ นให้เอือ้ ต่อการเรียนรู้
๓.๔ สนบั สนุนทรพั ยากรเพ่อื การศกึ ษาตามความเหมาะสมและจำเปน็
๓.๕ อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ให้ความรัก ความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้าน
ตา่ ง ๆ ของเดก็
๓.๖ ป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์ตลอดจนส่งเสริมคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ โดยประสานความร่วมมอื กบั ผสู้ อน ผู้เก่ยี วขอ้ ง
๓.๗ เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในด้านการปฏิบัติตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมี คุณธรรม
นำไปสู่การพัฒนาใหเ้ ปน็ สถาบันแหง่ การเรยี นรู้
๓.๘ มีสว่ นร่วมในการประเมนิ ผลการเรียนรู้ของเด็กและในการประเมินการจดั การศึกษาของ
สถานศึกษา
๔. บทบาทของชมุ ชน
การปฏิรูปการศกึ ษา ตามพระราชบญั ญัตกิ ารศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดใหช้ ุมชนมีบทบาท
ในการมีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้มกี ารประสานความร่วมมือเพ่ือ รว่ มกันพฒั นาผเู้ รียนตามศักยภาพ
ดังนนั้ ชุมชนจึงมีบทบาทในการจดั การศึกษาปฐมวยั ดงั น้ี
๔.๑ มสี ่วนร่วมในการบรหิ ารสถานศึกษา ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศกึ ษา สมาคม /
ชมรมผู้ปกครอง
๔.๒ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของ
สถานศกึ ษา
๔.๓ เป็นศูนย์การเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จาก
สถานการณ์จรงิ
๔.๔ ให้การสนบั สนุนการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ของสถานศกึ ษา

252

๔.๕ ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอก และภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของ
ท้องถ่นิ และของชาติ

๔.๖ ประสานงานกับองคก์ รท้ังภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเปน็ แหล่งวทิ ยาการของ
ชุมชน และมสี ว่ นในการพัฒนาชมุ ชนและท้องถนิ่

๔.๗ มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทำหน้าท่ี
เสนอแนะในการพัฒนาการจดั การศกึ ษาของสถานศึกษาการจัดการศึกษาระดบั ปฐมวัย ( เดก็ อายุ ๓ – ๖ ปี )
สำหรบั กลมุ่ เป้าหมายเฉพาะ

การจดั การศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะสามารถนำหลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั ไปปรับใช้ได้ ท้ังใน
ส่วนของโคตรสร้างหลักสูตร สาระการเรยี นรู้ การจดั ประสบการณ์ และการประเมินพัฒนาการให้เหมาะสมกับ
สภาพ บริบท ความต้องการ และศักยภาพของเด็กแต่ละประเภทเพื่อพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพตามมาตรฐาน
คุณลกั ษณะทพี่ งึ ประสงคท์ ห่ี ลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวัยกำหนดโดยดำเนินการดงั น้ี

๑.เปา้ หมายคณุ ภาพเด็ก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ และ
สาระการเรียนรู้ เป็นเปา้ หมายและกรอบทศิ ทางเพื่อให้ทกุ ฝ่ายที่เกีย่ วข้องใช้ในการพัฒนาเด็ก สถานศึกษาหรือ
ผู้จัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สามารถเลือกหรือปรับใช้ ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ในการ
พัฒนาเด็ก เพื่อนำไปทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพพัฒนาการของเด็กทั้งด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม และสตปิ ญั ญา

๒. การประเมนิ พฒั นาการ จะต้องคำนึงถงึ ปัจจัยความแตกต่างของเด็ก อาทิ เด็กทพ่ี กิ ารอาจต้องมีการ
ปรับการประเมินพัฒนาการที่เอื้อต่อสภาพเด็ก ทั้งวิธีการเครื่องมือที่ใช้ หรือกลุ่มเด็กทีม่ ีจุดเน้นเฉพาะดา้ นการ
เชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ การเชื่อมต่อของการศึกษาร ะดับปฐมวัยกับ
ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ มีความสำคัญอย่างยิ่ง บุคลากรทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจต่อการช่วยลดช่องว่าง
ของความไม่เข้าใจในการจัดการศึกษาทั้งสองระดับ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวเด็ก ครู พ่อแม่
ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ ทั้งระบบ การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับ
ประถมศึกษาปีที่ ๑ จะประสบผลสำเรจ็ ไดต้ อ้ งดำเนินการดงั ต่อไปน้ี

๑. ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคญั ทีม่ ีบทบาทเปน็ ผูน้ ำในการเชื่อมต่อโดยเฉพาะระหว่างหลักสูตรการศกึ ษา
ปฐมวัยในช่วงอายุ ๓ – ๖ ปี กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยต้อง
ศึกษาหลักสูตรทั้งสองระดบั เพื่อทำความเข้าใจ จัดระบบการบริหารงานด้านวิชาการที่จะเอื้อต่อการเช่ือมโยง
การศึกษาโดยการจดั กจิ กรรมเพ่ือเช่อื มต่อการศึกษา ดงั ตัวอย่างกิจกรรมต่อไปน้ี

๑.๑ จัดประชุมครูระดับปฐมวัยและครูระดับประถมศึกษาร่วมกันสร้างรอยเชื่อมต่อของ
หลักสูตรทั้งสองระดับให้เป็นแนวปฏิบตั ิของสถานศึกษาเพื่อครูทั้งสองระดับจะได้เตรียมการสอนให้สอดคล้อง
กับเด็กวัยน้ี

๑.๒ จัดหาเอกสารด้านหลักสูตรและเอกสารทางวิชาการของทั้งสองระดับมาไว้ให้ครูและ
บคุ ลากรอื่น ๆ ได้ศึกษาทำความเขา้ ใจ อยา่ งสะดวกและเพียงพอ

๑.๓ จัดกจิ กรรมให้ครูทั้งสองระดับมีโอกาสแลกเปล่ียนเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับจากการ
อบรม ดงู าน ซ่ึงไมค่ วรจดั ใหเ้ ฉพาะครูในระดบั เดยี วกนั เท่าน้ัน

๑.๔ จัดเอกสารเผยแพร่ตลอดจนกิจกรรมสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างสถานศึกษา พ่อ
แม่ ผูป้ กครองและบุคลากรทางการศึกษาอยา่ งสม่ำเสมอ

253

๑.๕ จัดให้มีการพบปะ หรือการทำกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
ในระหว่างที่เด็กอยู่ในระดับปฐมวัย เพื่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง จะได้สร้างความเข้าใจและสนับสนุนการเรียน การ
สอนของบตุ รหลานตนไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง

๑.๖ จัดกิจกรรมให้ครูทั้งสองระดับได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กในบาง
โอกาส

๑.๗ จัดกิจกรรมปฐมนิเทศพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างน้อย ๒ ครั้ง คือ ก่อนเด็กเข้าเรียนระดับ
ปฐมวัยศึกษาและก่อนเด็กจะเลื่อนขึ้นชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๑ เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจ การศึกษาทั้งสอง
ระดบั และใหค้ วามรว่ มมือในการชว่ ยเดก็ ใหส้ ามารถปรับตวั เขา้ กบั สภาพแวดล้อมใหม่ได้ดี

๒. ครรู ะดบั ปฐมวยั
ครูระดับปฐมวัย นอกจากจะต้องศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และจัดกิจกรรม
พฒั นาเด็กของตนแล้ว ควรศกึ ษาหลักสูตรการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน การจัดการเรยี นการสอนในชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี
๑ และสร้างความเข้าใจใหก้ ับพอ่ แม่ ผู้ปกครองและบคุ ลากรอื่น ๆ รวมท้งั ชว่ ยเหลือเด็กในการปรับตัวกอ่ นเล่ือน
ข้ึนช้ันประถมศกึ ษาปีที่ ๑ โดยครูอาจจัดกิจกรรมดังตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้

๒.๑ เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อส่งต่อครูชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๑ ซึ่ง
จะทำใหค้ รูระดับประถมศึกษาสามารถใช้ข้อมลู นั้นช่วยเหลอื เด็กในการปรับตัวเข้ากับการเรียนรู้ใหม่ต่อไป

๒.๒ พดู คุยกับเดก็ ถงึ ประสบการณ์ทดี่ ี ๆ เก่ียวกบั การจัดการเรยี นรูใ้ นระดบั ช้ันประถมศึกษาปี
ที่ ๑ เพือ่ ใหเ้ ดก็ เกิดเจตคตทิ ่ีดีต่อการเรยี นรู้

๒.๓ จัดให้เด็กได้มีโอกาสทำความรู้จักกับครูตลอดจนสภาพแวดล้อม บรรยากาศของ
หอ้ งเรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ ๑ ท้งั ทีอ่ ยใู่ นสถานศกึ ษาเดียวกันหรอื สถานศกึ ษาอ่ืน

๓. ครรู ะดบั ประถมศึกษา
ครูระดับประถมศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการเด็กปฐมวัยและมีเจตคติที่ดีต่อการจัด
ประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาจัดการเรียนรู้ในระดับชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี ๑ ของตนให้ตอ่ เน่ืองกบั การพัฒนาเด็กในระดบั ปฐมวัย ดงั ตัวอย่าง ตอ่ ไปน้ี

๓.๑ จัดกิจกรรมให้เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง มีโอกาสได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับครูและ
หอ้ งเรยี นชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๑ ก่อนเปิดภาคเรียน

๓.๒ จัดสภาพห้องเรียนให้ใกล้เคียงกับห้องเรียนระดับปฐมวัย โดยจัดให้มีมุมประสบการณ์
ภายในห้องเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมได้อย่างอิสระเช่น มุมหนังสือ มุมของเล่น มุมเกมการศึกษา เพื่อ
ชว่ ยใหเ้ ด็กชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี ๑ ไดป้ รับตวั และเรยี นรจู้ ากการปฏบิ ตั จิ ริง

๓.๓ จดั กจิ กรรมรว่ มกนั กับเด็กในการสรา้ งขอ้ ตกลงเกย่ี วกับการปฏิบตั ติ น
๓.๔ เผยแพรข่ ่าวสารด้านการเรยี นรู้และสรา้ งความสัมพนั ธ์ทีด่ ีกบั เด็ก พอ่ แม่ ผู้ปกครอง และ
ชมุ ชน
๔. พอ่ แม่ ผปู้ กครองและบคุ ลากรทางการศกึ ษา
พ่อแม่ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำความเข้าใจหลักสูตรของการศึกษาทั้งสองระดับ
และเข้าใจว่าถึงแม้เด็กจะอยู่ในระดับประถมศึกษาแล้วแต่เด็กยังต้องการความรักความเอาใจใส่ การดูแลและ
การปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ได้แตกต่างไปจากระดับปฐมวัย และควรให้ความร่วมมือกับครูและสถานศึกษาในการช่วย
เตรยี มตัวเดก็ เพ่ือให้เดก็ สามารถปรบั ตัวไดเ้ ร็วย่ิงขน้ึ ดำเนินการดังนี้
๔.๑ พ่อแม่ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษา ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรของ
การศกึ ษาทงั้ สองระดับ

254

๔.๒ พอ่ แม่ผ้ปู กครองและบุคลากรทางการศึกษาจัดหาหนงั สืออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยเด็ก
๔.๓ พ่อแม่ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรหลาน ให้ความรัก
ความเอาใจใส่ ดแู ลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด
๔.๔ พอ่ แม่ผปู้ กครองและบุคลากรทางการศึกษา จัดเวลาในการทำกิจกรรมรว่ มกบั บุตรหลาน
เช่น เลา่ นทิ าน อา่ นหนังสือร่วมกนั สนทนาพูดคุยซักถามปญั หาในการเรยี น ให้การเสริมแรงและให้กำลังใจ
๔.๕ พอ่ แม่ผ้ปู กครองและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมมอื กับผู้สอนและสถานศกึ ษาในการช่วย
เตรียมตวั บตุ รหลานเพ่อื ช่วยใหบ้ ุตรหลานปรบั ตัวไดด้ ีข้นึ
การกำกบั ตดิ ตาม ประเมนิ และรายงาน
การจัดสถานศึกษาปฐมวัยมีลักการสำคัญในการให้สังคม ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและ
กระจายอำนาจการศึกษาลงไปยังท้องถิ่นโดยตรง โดยเฉพาะสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งเ ป็น
ผู้จัดการศึกษาในระดับนี้ ดังนั้น เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง
ประสงคแ์ ละสอดคลอ้ งกับความต้องการของชุมชนและสงั คมจำเป็นตอ้ งมีระบบการกำกับ ติดตาม ประเมนิ และ
รายงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษา เห็นความก้าวหนา้
ปัญหา อปุ สรรค ตลอดจนการใหค้ วามร่วมมือช่วยเหลอื ส่งเสรมิ สนับสนนุ การวางแผน และดำเนินงานการจัด
การศกึ ษาปฐมวยั ให้มคี ณุ ภาพอย่างแท้จริง
การกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
บริหารการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย สร้างความมั่นใจให้ผู้เกี่ยวข้อง โดยต้องมีการดำเนินการที่เป็นระบบเครือข่าย
ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกตั้งแต่ระดับชาติ เขตพื้นที่ทุกระดับละทุกอาชีพ การกำกับดูแล
ประเมนิ ผลต้องมีการรายงานผลจากทุกระดับให้ทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนท่วั ไปทราบ เพื่อนำขอ้ มูลจากรายงาน
ผลมาจัดทำแผนพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเดก็ ปฐมวยั ต่อไป

255

ภาคผนวก

256

257

258

บรรณานุกรม

สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(๒๕๖๐). หลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ (พมิ พค์ ร้ังที่ ๑). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม
สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
(๒๕๖๑). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓-๖ ปี (พิมพ์ครั้งท่ี
๑). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. (๒๕๕๓). แนวทางการ
พัฒนาหลักสตู รสถานศกึ ษา. เอกสารลำดบั ที่ ๓๖/๒๕๕๓

กรุงเทพมหานคร: ไทยพับบลิค เอด็ ดูเคช่นั . (๒๕๔๗). คู่มอื หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวัย พทุ ธศักราช ๒๕๔๖
สำหรบั เด็กอายุ ๓-๕ ปี (พิมพ์คร้ังท่ี ๑). กรุงเทพมหานคร : คุรสุ ภาลาดพรา้ ว.


Click to View FlipBook Version