The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

“พระบรมธาตุเจดีย์ศรีธรรมาโศก ต้นแบบศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช”
เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์ ความเป็นเลิศด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์
และการจัดการ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสนับสนุนและพัฒนางานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kn.38691, 2022-07-04 22:51:28

ศาลหลักเมือง

“พระบรมธาตุเจดีย์ศรีธรรมาโศก ต้นแบบศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช”
เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์ ความเป็นเลิศด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์
และการจัดการ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสนับสนุนและพัฒนางานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

Keywords: ศาล,ท่องเที่ยว,ตำนาน,นครศรี

ศาลหลักเมือง
นครศรีธรรมราช

เป็นที่ประดิษฐานของ

ศาลหลักเมือง


ออกแบบให้มีลักษณะ

คล้ายศิลปะศรีวิชัย
เรียกว่าทรงเหมราช

ลีลา ส่วนอาคารเล็ก

ทั้งสี่หลังเป็นบริวารสี่

ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลก

เทพ ประกอบด้วย พระ

เสื้อเมือง ศาลพระทรง

เมือง ศาลพระพรหม


เมืองและศาลพร

บันดาลเมือง

199.-

คำนำ

“พระบรมธาตุเจดีย์ศรีธรรมาโศก ต้นแบบศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช”
เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์ ความเป็นเลิศด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์

และการจัดการ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสนับสนุนและพัฒนางานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและ


วัฒนธรรมสนองเจตนารมณ์ของ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้าน “การเป็นหลักในถิ่น”
และ “การเป็นเลิศสู่สากล”โดยการจัดกิจกรรมบูรณาการ
ศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์เชิง


คำนวณของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และ


เทคโนโลยีกับการค้นคว้าวิจัยด้านศิลปะ
และวัฒนธรรม ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรม
ด้านการประมวลผลภาพ นักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอนใน
รายวิชาดังกล่าวจะมีทักษะและความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการ


ค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อ
การพัฒนาท้องถิ่นและสังคม องค์ความรู้ที่ได้ยังช่วยให้ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช


รับทราบและเข้าใจถึงประวัติความ
เป็นมาของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีธรรมาโศกรวมทั้ง

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิทธิพลด้านศิลปะ
และวัฒนธรรมที่มีต่อศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

นางสาวศิรดา เคอาร์
นักเรียนนักศึกษา

วิทยาลัยอาชีวะนครศรีธรรมราช

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1-4
5-11
ตำนาน 12
กำเนิดศาลหลักเมืองนครฯ 13
ประวัติศาลหลักเมือง 14
ลักษณะเด่น 15-17
ข้อมูลสถานที่ 18
บริเวณศาลหลักเมือง 19
ขั้นตอนไหว้ศาลหลักเมือง 20
ข้อดีการไหว้ศาลหลักเมือง 21
ที่ตั้ง
อ้างอิง

1.

ตำนาน

“ศาลหลักเมืองนครฯ”

สุดยอดแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ที่ใครๆ ก็ต้องไปทำพิธี

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ถ้าจะกล่าวถึง “หลักเมือง”
หรือ “ศาลหลักเมือง” ที่มีชื่อเสียงและมีคนรู้จักมากที่สุดใน

ประเทศไทย นอกจาก “หลักเมืองกรุงเทพฯ” ที่สร้างขึ้นมาในรัชสมัย

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑

แล้ว รองลงมาก็หนีไม่พ้น “หลักเมืองนครศรีธรรมราช” เนื่องด้วย

ประวัติการสร้างนั้นเกี่ยวพันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เป็นสองรองใครใน


ประเทศนี้ นั่นก็คือ “จตุคามรามเทพ”



จตุคามรามเทพที่ครั้งหนึ่งคนไทยศรัทธากันทั้งประเทศจนราคาพุ่งไป

ที่หลักล้าน และแทบจะทุกครัวเรือนต่างมีไว้ครอบครอง
มีต้นกำเนิดมาจากการสร้างศาล
และเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราชในครั้งกระโน้น



ขณะที่การจัดสร้างหลักเมืองแห่งอาณาจักรทะเลใต้แห่งนี้
ก็อัดแน่นและเต็มเปี่ ยมไปด้วยความเข้มขลัง
ศักดิ์สิทธิ์ในทุกกระบวนการขั้นตอนเช่นกัน

2.

และคราวนี้ ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชได้ตกเป็นเป้าของความสนใจอีก

ครั้ง เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เกิดขึ้น

และมีข้อต้องสงสัยว่า เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทาง
“ไสยศาสตร์” หรือไม่ เนื่องเพราะมีการปรับปรุง
ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากขนบเดิม
ไม่ว่าจะเป็นการเติมเสาหินอ่อนเข้าไปใหม่
เพดานรูปแบบหมู่ดวงดาวตามหลักจักรวาลทัศน์
ถูกรื้อถอนออกไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ
“พระพุทธรูป” ไปประดิษฐานบนซุ้มยอดศาล ฯลฯ
จนนำไปสู่ความไม่พอใจของคนนครศรีธรรมราช



หลักเมืองนครศรีธรรมราชที่เพิ่งสร้างเสร็จ (ซ้าย)
ขบวนแห่หลักเมืองนครศรีธรรมราช (ขวา)
ยิ่งเมื่อปรากฏชื่อ “วิชัย ศรีวัฒนประภา”

แห่งคิงเพาเวอร์ เป็นผู้ให้เงินในการบูรณะปฏิสังขรณ์
ด้วยแล้ว เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ยิ่งดังหนักขึ้นกว่าเก่า
เพราะเป็นที่รับรู้ว่า เจ้าสัวคนดังศรัทธาเรื่องในทำนองนี้อยู่ไม่น้อย

3.

นอกจากนี้ หากย้อนหลังกลับไปตรวจสอบสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ก็จะพบร่องรอยของความศรัทธาที่มีต่อศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช จตุ


คามรามเทพ พังพระกาฬ
อันเกี่ยวข้องกับตัวละครทางการเมือง
และเหตุการณ์ทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ช่วงก่อสร้างในราวปี 2530

จนกระทั่งถึงในยุคปัจจุบัน
เมื่อปรากฏเป็นเข่าวใหญ่โตเรื่องการบูรณะศาลหลักเมือง

พระพุทธรูปที่นำไปประดิษฐานด้านบน ซึ่งมีผู้ร้องเรียนระบุว่า ไม่เหมาะสม

4.

สภาพภายนอกของศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
ขณะกำลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี 2560
ตัวอย่างชัดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็คือ
เคยปรากฏเงาร่างของ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์”

อดีตนายกรัฐมนตรี สามีของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
น้องสาวของนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร

ไปผูกผ้ารอบเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราชมาแล้วเมื่อปี 2551
เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ซึ่งว่ากันว่า เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางไสยศาสตร์
จะเพื่อแก้กรรมหรือเสริมดวงต่อชะตาชีวิตก็ไม่ทราบได้



หลักเมืองนครศรีธรรมราชจึงไม่ใช่หลักเมืองธรรมดาๆ
หากแต่เป็นหลักเมืองที่ใครๆ ต่างก็ปรารถนาไปทำพิธี

5.

กำเนิดศาลหลักเมืองนครฯ

"ตำนานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรทะเลใต้"

กล่าวโดยสรุปหลักเมืองนครศรีธรรมราช
สร้างขึ้นในช่วงราวปี 2530 ในยุคที่มี “นายเอนก สิทธิประศาสน์” เป็นผู้ว่า

ราชการจังหวัด ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของ “คนคอน”


ขณะที่ในทางลึกก็เล่าขานกันว่า
หลักเมืองหลักนี้สร้างขึ้นมาเพื่อถอนคำสาปดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราช


หรืออาณาจักรศรีวิชัย 12 นักษัตร
ที่ผูกดวงเมืองเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.1830
และวิธีการแก้คำสาปก็คือจะต้องสร้างหลักเมืองขึ้นมาใหม่
รวมทั้งนำดวงเมืองเก่าที่ถูกสาปไปทำลายตามกรรมวิธี



ทั้งนี้ โดยมีบุคคลสำคัญ 2 คนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคือ พล.ต.ต.ขุนพันธ

รักษ์ราชเดชและพล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล อดีตผู้กำกับการตำรวจภูธร


จังหวัดนครศรีธรรมราช
สองนายตำรวจจอมขมังเวทย์



สิ่งที่ควรรู้ประการถัดมาคือ ไม้ที่ใช้ทำหลักเมืองคือ “ไม้ตะเคียนทอง” ที่ขึ้นอยู่

บนยอดของเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราชส่วน “ลูกตาดำ” อันเป็นแก้วตาของ


พรหม 8 หน้ายอดศาลหลักเมือง ทำมาจาก
“ไม้ค้ำฟ้า” เพื่อให้เกิดพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์
โดยไม้ค้ำฟ้าที่ว่านี้ เป็นต้นไม้ที่มีความพิเศษเหนือต้นไม้อื่นๆ
เพราะไม่ว่าจะไปขึ้นอยู่ที่ใด ในป่าลึกสักเพียงไหนหรือมีต้นไม้ใหญ่มากมาย

ปกคลุมมากสักเพียงไหน แต่ไม้ค้ำฟ้าจะไม่ยอมอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดๆ

หรือจะต้องขึ้นอยู่ “เหนือ” ต้นไม้อื่นๆ เสมอ

6.

เสาหินอ่อนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ถูกวิจารณ์ถึงความไม่ถูกต้อง

ด้านในของศาลขณะกำลังบูรณะที่จะสังเกตเห็นว่า
เพดานรูปแบบหมู่ดวงดาวตามหลักจักรวาลทัศน์ถูกรื้อถอนออกไป
“...หลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหลักเมืองเพียงหลักเดียวในโลก ที่มีความ


แปลกประหลาดพิสดารยิ่งกว่าหลักเมืองใด
เพราะว่าเป็นหลักเมืองที่เทวดากับมนุษย์ร่วมกันรังสรรค์ขึ้นตามอำนาจของ


ฟ้าดินเมื่อถึงกำหนดเวลาแห่งยุค
”พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล บันทึกเอาไว้บางช่วงบางตอนในหนังสือ


“จตุคามรามเทพ ความจริงและความลับที่ไม่เคยมีใครรู้”

7.

นอกจากนี้ในระหว่างการจัดสร้างเสาหลักเมืองก็ต้องมีพิธีกรรมสำคัญๆ

มากมาย อาทิ พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง พิธีลอยชะตาเมือง พิธีกรรมสะกด


หินหลัก พิธีปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ พิธีปลุกพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง

พิธีกรรมพลิกธรณี พิธีกรรมเทพชุมนุมตัดชัย พิธียกพลขึ้นบก พิธีตอกหัวใจ


สมุทร พิธีวางหัวใจเมือง พิธีกรรมแกะสลักประติมากรรมเสาหลักเมือง
พิธีเบิกเนตรหลักเมือง พิธีการเจิมยอดชัยหลักเมือง เป็นต้น


แน่นอนว่า การกระทำแต่ละพิธีมีความสำคัญยิ่ง

8.



ยกตัวอย่างเช่น พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง
พิธีนี้ทำที่ป่าช้าวัดชะเมา ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการล้างอาถรรพ์ดวงเมืองเดิมซึ่ง
เรียกว่า “ดวงราหูชิงจันทร์” หรือ “ดวงภินทุบาทว์”

ที่ส่งผลทำให้เมืองเหมือนกับถูกสาป
เจริญอยู่ได้ไม่นานก็ต้องเสื่อมทรามและตกต่ำลง



หรือพิธีตอกหัวใจสมุทรที่กระทำขึ้นเพื่อให้ดวงชะตาเมือง

ถูกบรรจุด้วยธาตุทั้ง 4 ครบถ้วน
โดยทำ ณ สี่แยกคูขวางเมื่อวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2529

ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือนยี่ เวลาประมาณ 18.30 น.
เหตุที่ต้องทำที่จุดดังกล่าวเพราะได้ศูนย์กับองค์พระบรมธาตุ

ภูเขามหาชัยและได้ศูนย์กับทิศทั้ง 8
ตามตำราของชาวเมือง 12 นักษัตรในอดีต

9.

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ทรงเจิมหลักเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อ
วันที่ 3 สิงหาคม 2530

ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน หลักเมืองนครสร้างตามความเชื่อ และศิลปะ

แบบศรีวิชัยทั้ง องค์เสาหลักเมือง

และอาคารศาลหลักเมือง แต่ละขั้นตอนในการสร้างล้วนมีพิธีกรรมแบบ

โบราณทั้งสิ้น อย่างอาคารศาลหลักเมืองเมื่อสร้างเสร็จ

ในพิธีกรรมยังกล่าวไว้ว่า มันผู้ใดบังอาจดัดแปลงหรือตกแต่งให้ผิดแปลก

ออกไป จะต้องพบกับความหายนะ ภัยพิบัติ

หากรีบแก้ไขทัน หรือยุติการซ่อมแซมได้น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
นายสัมพันธ์ ทองสมัคร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับรู้


และมีส่วนร่วมในการสร้างศาลและเสาหลักเมืองครั้งนั้นบอกเล่าเมื่อรับ

ทราบถึงการบูรณะปฏิสังขรณ์ที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น กระทั่งนายสกล จัน

ทรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง

ต่อการบูรณะศาลหลักเมืองทุกส่วน หลังจากที่เรื่องนี้ถูกตั้งข้อสังเกต

และเริ่มลุกลามกลายเป็นกระแส
จนสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวนครศรีธรรมราช



ส่วนจะเกี่ยวข้องกับพิธีทางไสยศาสตร์หรือไม่นั้น ไม่อาจทราบได้

10.

เข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ จน “ใครๆ” ก็ต้องไปทำพิธี
ทั้งนี้ เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของหลักเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นที่เล่าขาน


กันนั้น ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เคยมีบุคคลสำคัญในบ้านเมืองหลายต่อหลายคน

เดินทางไปกราบสักการะอยู่ไม่น้อย
หนึ่งในบุคคลสำคัญที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ
“พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ซึ่ง พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล บันทึกเอาไว้ในหนังสือ
“ จตุคามรามเทพ ความจริงและความลับที่ไม่เคยมีใครรู้”
และเรียกขานว่า “มหาบุรุษแห่งเมือง 12 นักษัตร”



แต่ที่เป็นกระแสข่าวโด่งดังไปทั้งบ้านทั้งเมืองก็เห็นจะหนีไม่พ้น

“นายสมชายและนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์”
น้องเขยและน้องสาวของนักโทษชายหนีคดีทักษิณ ชินวัตร

11.

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี
และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของนักโทษชาย
หนีคดีทักษิณขณะเดินทางไปผูกผ้ารอบเสาหลักเมือง

กล่าวคือ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2551 นายสมชาย
ขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนจุฬา

ภรณ์ราชวิทยาลัย อ.เมือง นครศรีธรรมราช

พร้อมกับประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสถานศึกษาใน
จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ได้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า
นายสมชายมาแทน “ทักษิณ ชินวัตร”
ในการทำพิธีเสริมดวงบารมีโดยจะมีการทำพิธีไหว้

พระธาตุ,ศาลหลักเมืองและการไหว้ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ที่วัดเขาขุนพนม อ.พรหมคีรี โดยได้มีการเข้าทรงเพื่อที่จะขอฤกษ์

ให้ พ.ต.ท.ทักษิณเพื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

12.

ประวัติศาลหลักเมือง

"ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช" อันเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองของจังหวัด

นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสร้างสิ่งที่

สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยคณะ กรรมการหลายฝ่าย
ทั้งภาครัฐ พ่อค้า ประชาชน
ในที่ดินของราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง
มีเนื้อที่ประมาณ ๒ไร่ อาคารหลัก ประกอบไปด้วยอาคาร ๕ หลัง

หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง
ลักษณะของการออกแบบมีศิลปะคล้ายศิลปะศรีวิชัย วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๔


สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ส่วนอาคารเล็ก ๔ หลัง
ถือเป็นบริวารประจำทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ศาลจตุโลกเทพ
ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง , พระทรงเมือง , พระพรหมเมือง,

และ พระบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์
เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้


ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองคือ ยุทธนา โมรากุล

13.

ลักษณะเด่น

“ศาลหลักเมืองนครฯ”

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทอง
ที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช


ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร
เส้นรอบวง 0.95 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐาน
ซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจุตคามรามเทพ (สี่

พักตร์) หรือเทวดารักษามือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือ

ยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการ แกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธ

ศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้และ


นครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ

14.

ข้อมูลสถานที่

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมือง

ประกอบด้วยอาคาร ๕ หลัง
หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมืองซึ่งออกแบบให้มีลักษณะคล้าย

ศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา
ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ
เรียกว่า ศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง

ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง
และศาลพรบันดาลเมือง ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๕๔๒

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มา
จากภูเขายอดเหลืองอันเป็นภูเขาลูกหนึ่งใน

ทิวเขานครศรีธรรมราช ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ

15.

บริเวณศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช บริเวณด้านหน้าศาลหลักเมือง ติดกับสนามหน้าเมืองมี

ถนนผ่านระหว่างศาลหลักเมืองกับสนาม มีรถมาขายของกินกับเครื่องดื่มนิดหน่อยสำหรับ

ประชาชนที่เดินทางมาไหว้ศาลหลักเมืองทุกๆ วัน ด้านหลังศาลหลักเมืองมีลานจอดรถแต่


ไม่กว้างขวางมากนัก

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นศาลาทรงจตุรมุขจึงมีลักษณะเหมือนกันทั้ง 4

ด้าน จุดสังเกตุความแตกต่างของด้านหน้าคือมีรูปไก่ยืนอยู่ 1 คู่ลานทักษินรอบ

ศาลหลักเมืองปูด้วยอิฐบล็อครูปแปดเหลี่ยม รอบนอกลานทักษินมีวิหารราย

ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ อยู่ภายใน

16.

มุมเฉียงศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ด้านหน้าและด้านข้างที่เหมือนกันทุกด้าน


มีความสวยงามมาก เดินมาดูที่มุม ก็

สวยงามไปทุกด้านทุกมุม

ช่องประตูหน้า เมื่อเดินชมความ

สวยงามของศาลหลักเมืองรอบๆ


แล้วต่อไปก็จะเข้าไปภายในกัน

หากว่าเดินทางมาในวัดหยุดเสาร์-

อาทิตย์ คนจะเยอะมาก ออกันที่หน้า

ประตู สำหรับการจุดธูปเทียนบูชา


ศาลหลักเมืองมีกระถางธูปให้ที่
หน้าช่องประตู

บันไดนาคสร้างได้สวยทุกๆ ด้าน

เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช นอกเหนือจาก

เสาหลักเมืองแล้ว ภายในศาลหลักเมือง

นครศรีธรรมราชยังมีรูปสมเด็จ (โต)
พรหมรังสี และหลวงปู่ทวด รวมทั้งยังมี

พระพุ ทธรูปอีกหลายองค์

17.

วิหารรอบศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

คราวนี้เดินออกมาไกลหน่อยครับ เพื่อที่จะ

เก็บภาพมุมกว้างๆ ให้เห็นวิหารที่ล้อมรอบ


อยู่นอกลานทักษินประจำทั้งสี่ทิศ มีพระ

โพธิสัตว์อยู่ด้านใน ประตูเข้า-ออก ดูเหมือน

มี 4 ด้าน แต่จะเปิดเข้าได้จริงๆ ด้านเดียว


คือด้านที่หันเข้าหาศาลหลักเมือง



วิหารพระโพธิสัตว์
ให้ชมความสวยงามเป็นตัวอย่างของ

วิหาร 1 ใน 4 ที่ล้อมรอบศาลหลักเมือง

ทั้ง 4 สร้างเหมือนกันทุกประการ และ


สวยงามมาก

พระเทวโพธิสัตว์
พระอมิตาภะพุทธ ในวิหารทั้งสี่ทิศ

จะมีพระโพธิสัตว์เหมือนกัน แต่มี


เพียงบางวิหารที่จะมีองค์
จตุคาม-องค์รามเทพ

18.

ขั้นตอน

ไหว้ศาลหลักเมือง

"ให้เกิดผลดีแก่ชีวิต"

ตามประเพณีไทยตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ขึ้น ไม่

ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม จะต้องมีการสร้างเสาหลักเมือง รวมทั้งต้องมีการหาฤกษ์


งามยามดีในการฝังเสาหลักเมืองลงก่อนที่จะเริ่มสร้างบ้านเมืองนั้นๆ ด้วย

ดังนั้นเมื่อเมืองนั้นๆ รวมถึงเสาหลักเมืองถูกสร้างเสร็จแล้ว ผู้คนก็มักจะไป


กราบไหว้และกระทำกันเช่นนี้เรื่อยมา
จนกลายมาเป็นประเพณีสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน



สิ่งที่ต้องเตรียม
ในบางจังหวัดอาจจะมีมากกว่าหรือแตกต่างออกไปจากนี้ ให้ยึดเอาตาม

ความเหมาะสม
ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ทองคำเปลว /ทองคำแผ่น
ดอกบัว 2 ดอก พวงมาลัย 2 พวง ผ้าแพร 3 สี



วิธีการไหว้ศาลหลักเมือง
วิธีการไหว้นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากมายเลย
โดยเริ่มจากการไหว้พระที่หอพระพุทธรูปก่อน แล้วทำการปิดทอง
ผูกผ้าแพรที่องค์พระหลักของเมืองจำลอง และนำพวงมาลัยไปถวาย

หลักเมืององค์จริง จากนั้นให้ถวายพวงมาลัยแก่องค์เทพารักษ์
ทั้ง 5 พร้อมเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด
จากนั้นให้อธิษฐานขอพรและท่องคาถาบูชาองค์พระหลักเมือง ดังนี้



..ท่องนะโม 3 จบ...
ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง

สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง
สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ

19.

ข้อดี
การไหว้ศาลหลักเมือง

1.เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงในชีวิต

ให้ชีวิตราบรื่น มีค
วามสุขสมหวัง

พบเจอแต่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต
ไร้ซึ่งอุปสรรคใดๆ ทั้งปวง



2.เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงด้านการงาน
บางคนอาจจะกราบไหว้ขอพรขอให้
การงานมั่นคง ก้าวหน้า
ได้เลื่อนยศเลื่อนขั้ตำแหน่งต่างๆ

หรือแม้แต่ขอให้ได้งานตามที่ชอบที่หวังไว้



3.เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล
เสริมพลังบุญ และทำให้มีพลังกาย
พลังใจที่เข้มแข็งและมั่นคง สามารถฝ่าฟัน
และเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตไปได้

20.

ที่ตั้ง

บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่
ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง


ออกแบบให้มีลักษณะ คล้ายศิลปะศรีวิชัย
เรียกว่าทรง เหมราชลีลา

วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532
แวะสักการะศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อสิริมงคลแห่งการเดิน


ทาง ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช อยู่ถนนราชดำเนิน
พื้นที่ทั้งหมด 2 ไร่ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง
โดยหลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง

ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะคล้าย ศิลปะศรีวิชัย
ที่เรียกว่าทรงเหมชาลา ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลังถือว่าถือ
เป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลาจตุโลกเทพ ประกอบด้วย

พระเสื้อเมือง ศาลทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง
และศาลพรบันดาลเมือง ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทอง
ได้มาจากภู4เขายอดเหลืองในนครศรีธรรมราช
ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์)
หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ
คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการแกะสลักจินตนาการ

จากความเชื่อในพุ ทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ซึ่งเคยมีอิทธิพลต่อศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชครั้งโบราณ

21.

อ้างอิง

หากใครได้ไปเยือนนครศรีธรรมราช
จะต้องไม่พลาดที่ "ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช"

ไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์คู่บ้านเมืองนครฯ
เพื่อเป็นสิริมงคล ภายในมีความงดงามเป็นอย่างมาก


ประกอบไปด้วยอาคาร 5 หลัง
หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองออกแบบให้มี

ลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัย เรียกว่าทรงเหมราชลีลา

ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลังถือเป็นศาลบริวารสี่ทิศ
เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง พระพรหมเมือง และพระบันดาลเมือง

เมื่อเดินเข้ามายังอาคารหลังกลาง
จะได้พบกับองค์เสาหลักเมืองที่ทำด้วยไม้ตะเคียนทอง


แกะสลักลวดลายอย่างงดงามตั้งแต่ฐาน
เป็นวงรอบเก้าชั้น มี9สาย

ส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ
หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิง

อยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลัก


Click to View FlipBook Version