E-BOOK
เ รื่ อ ง ล ะ ค ร ส ร้ า ง ส ร ร ค์
ละครสร้างสรรค์
ความเป็นมาของละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์ (creative drama) คือ ละครที่ไม่มีรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงบน
เวทีนั้นไปที่ผลสำเร็จของละครมากกว่า ละครสร้างสรรค์อาจจัดแสดงบริเวณที่โล่งกว้าง
ผู้แสดงแต่งกายไม่ทรูหรามากนัก ผู้แสดงควรฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การ
มอง การดม การได้ยิน การสัมผัสและการลิ้มรส มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่
คล่องแคล่ว แสดงท่าทางการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ชับ
ซ้อน โดยส่วนใหญ่นิยมแสดงเรื่องราวเป็นบทบาทสมมุติ
ละครสร้างสรรค์ต่างจากละครทั่วไปเพราะเป็นละครที่ใช้ในการศึกษา เน้นกระบวนการ
เรียนรู้ผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดและจินตนาการอย่าง
อิสระ เป็นละครที่มุ่งเน้นการพัฒาทักษะการคิด ทักษะการแสดงออก ทักษะการทำงาน
ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงทักษะการแก้ปัญหา
ละครสร้างสรรค์ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแคนาดา ละครสร้างสรรค์
และมีการเปลี่ยนแปลง
ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๒๐ (พ.ศ. ๒๔๖๓ - พ.ศ. ๒๔๗๒) ถือเป็นยุคแรกที่มีการกำเนิด
แนวคิดในการนำละครมาใช้พัฒนาผู้เรียน โดยนักการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๕๐ (พ.ศ. ๒๔๙๓ - พ.ศ. ๒๕๐๒) ละครสร้างสรรค์ได้ถือกำเนิด
อย่างเต็มรูปแบบและเกิดนักการละครที่สนใจเพื่อทำละครการศึกษามากขึ้น บุคคลที่
ถือว่าโดดเด่นในช่วงนี้ คือ เจอรัลดีน เบรน ซิกส์ (Gerladine Brain Siks) เป็น
อาจารย์ด้านการละคร มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้เขียนบทความเกี่ยวกับละตรที่ใช้ใน
การศึกษามากมาย และในทศวรรษนี้ได้เริ่มมีการเรียนการสอน วิชาละครสร้างสรรค์
และวิชาด้านศิลปะเพื่อเด็กและเยาวชนด้วย
ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (พ .ศ. .๒๕๐๓ - พ.ศ. ๒๕๑๒) ได้รับการสนับสนุนจาก
ประธานาธิบดี จอห์น เอฟเคนเนดี (John F. Kennedy) ได้ให้การสนับสนุนศิลปะให้
ㆍกับโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงส่งผลให้การละครเพื่อการศึกษาพัฒนาเพิ่มขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗ (พ.ศ. ๒๕๓๓ - พ.ศ. ๒๕๒๒) เป็นยุคที่เริ่มมีการใช้ละคร
ㆍสร้างสรรค์กับกลุ่มบุคคลอื่นที่หลากหลายมากขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘ (พ.ศ. ๒๕๒๓ - พ.ศ. ๒๕๓๒) ละครสร้างสรรค์ ได้รับการ
ยอมรับาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการศึกษา วันดว้าและวิจัย ที่สามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์
อื่น ๆ ได้
ปัจบันละครสร้งสรรค์ได้มีการพัฒนาชื้นเพื่อใช้ในการศึกษาที่มีความทันสมัย ทำให้ผู้เรียน
เข้าใจและสนุกสนานในการเรียนได้มากขึ้น
ละครสร้างสรรค์
องค์ประกอบ
ละครสร้างสรรค์มีองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการแสดง ดังนี้
โครงเรื่องหรือเนื้อเรื่องจะต้องมีการวางโครงเรื่องหรือเลือกเนื้อเรื่องที่จะใช้ในการแสดงเป็นเนื้อ
เรื่องที่สนุกสนานหรือเศร้าสอดแทรกข้อคิดต่างๆ
ตัวละครตัวละครในการแสดงจะต้องมีการกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละครให้สอดคล้องกับ
เนื้อหาของเรื่องและตัวละครอื่น ๆต้องเลือกบุคคลที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัว
ละครตัวนั้นได้สมจริง
สถานการณ์ เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้ตัวละครต้องพบเจอซึ่งเหตุการณ์จะต้องสัมพันธ์
กันมีคุณค่าในเนื้อเรื่อง เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยฝึกให้ผู้แสดงมีจินตนากรสร้างสรรค์ในการแสดง
ได้
บทละครเป็นการจัดลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการถ่ายทอดลักษณะของโครงเรื่องและตัว
ละครผ่านบทสนทนาของตัวละคร
พื้นฐานการแสดงละครสร้างสรรค์
การแสดงละครสร้างสรรค์จะมีกิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐานในการแสดง ดังนี้
การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง ๕
ประสาทสัมผัสทั้ง ๔ ได้แก่ การเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส รวมทั้งการลิ้มรส
การฝึกสังเกตสิ่งรอบตัวเป็นการฝึกประสาทสัมผัสทางตา การได้กลิ่นเกิดจากประสาท
สัมผัสทางจมูก ได้ยินเกิดจากประสาทสัมผัสทางหู การสัมผัสเกิดจากประสาทสัมผัส
ทางผิวเกิดจากประสาทสัมผัสทางสิ้น ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้แสดง
จะต้องเกิดการรับรู้ตามสภาพต่าง ๆ เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น การเห็น จะ
ต้องฝึกให้นักแสดงรู้จัก
สังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัว ในบางกรณีนักแสดงอาจจะใช้การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อ
แก้ไขปัญหาในขณะที่ดำเนินการแสดงอยู่ หรือในกรณีของหูก็เช่นเดียวกัน เพราะการ
แสดงละครในบางประเภทนั้นจำเป็นจะต้องมีการบอกบท หากผู้แสดงมีระบบการได้ยิน
บกพร่องก็จะทำให้การแสดงดำเนินไปได้อย่าง
ยากลำบาก
Close Got it
พื้นฐานการแสดงละครสร้างสรรค์
การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
การเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและภาพต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงการแสดงที่มีชีวิต
ชีวาของผู้แสดง และทำให้การแสดงน่าติดตาม รวมทั้งช่วยสร้างบรรยากาศและช่วยเสริม
สร้างบุคลิกภาพของผู้แสดงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในการแสดงละครนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับบทละคร
และบุคลิกลักษณะของตัวละคร การกระทำหรือการเคลื่อนไหวของผู้แสดงจะมีการ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อส่งผลถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมที่ได้รับรู้ถึง
ความหมายหลายอย่างของท่าทาง
บุคลิกภาพ และส่งผลให้เกิดเป็นรูปแบบทางด้านการเสนออารมณ์ในการแสดงให้ออกมา
ทางการเคลื่อนไหว
Close Got it
พื้นฐานการแสดงละครสร้างสรรค์
การใช้จังหวะ เสียง
เสียงของผู้แสดงละครสื่อให้เห็นถึงความคิดอุปนิสัย จินตนาการ และอารมณ์ของผู้
แสดงแต่ละบทบาทการใช้เสียงของนักแสดงจะมีลักษณะของความทุ้ม ความแหลม
ความดัง ความเบา รวมทั้งคุณภาพของเสียงที่สอดคล้องกับบทบาทและจังหวะของการ
พูด การใช้จังหวะและเสียงในการแสดงนั้นผู้แสดงจะต้องคำนึงถึง การใช้คำ การ
ถ่ายทอดเสียง น้ำเสียง จังหวะในการเปล่งเสียง รวมถึงความถูกต้องในการใช้อักขรวิธี
ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้แสดงจะต้องใช้การฝึกฝนให้เกิดความแม่นยำ เพื่อให้มีน้ำเสียง
และจังหวะในการใช้เสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมบทบาท
Close Got it
พื้นฐานการแสดงละครสร้างสรรค์
การใช้บทบาทสมมุติและภาษา
ผู้แสดงจะต้องพิจารณาถึงบทบาทและความคิดของตัวละครที่จะต้องสวมบทบาทนั้น
ผู้แสดงควรเปรียบเทียบตนเองกับตัวละครที่จะต้องสวมบทบาทว่า บุคลิกลักษณะ
ความคิด อุปนิสัยใจคอของตัวละครนั้นมีส่วนใดคล้ายคลึงและส่วนใดแตกต่างจาก
ตนเองบ้าง จากนั้นผู้แสดงละครจะต้องสำรวจให้เห็นถึงบุคลิก ลักษณะหน้าตา ท่าทาง
ตลอดจนการกระทำของตัวละครว่าได้กระทำสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดเหตุการณ์และเรื่อง
ราวต่าง ๆ และในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบทละครนั้น
ตัวละครมีความรู้สึก อารมณ์เช่นใดต่อเหตุการณ์นั้น ๆ จากนั้นต้องพิจารณาถึงยุด
สมัยของเรื่องราวที่จะแสดงตามบทละครว่าอยู่ในยุดสมัยใด ตัวละครที่จะต้องรับ
บทบาทมีฐานะเป็นอย่างไรผู้แสดงละครจะต้องสะท้อนภาพของตัวละครที่จะต้องสวม
บทบาทว่า เมื่อตัวละครเผชิญกับสถานการณ์หนึ่ง ๆ ตัวละครนั้นจะมีการแก้ไขปัญหา
สถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างไร ให้เหมาะสมกับบทบาททีแสดง
Close Got it
แนวทางการแสดงละครสร้างสรรค์
การแสดงละครสร้างสรรค์มีแนวทาง ดังนี้
1. ผู้แสดงมีการฝึกทักษะเป็นลำดับขั้นตอนจาก
ง่ายไปยาก เริ่มจากการแสดงท่าทางการ
เคลื่อนไหวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วฝึก
ทักษะที่ยากขึ้นจนสามารแสดงเป็นตัวละครได้
2.ใช้วรรณกรรมเป็นแนวทางในการแสดงละคร
สร้างสรรค์
3. ฝึกวิเคราะห์ตัวละครให้เข้าใจถึงอารมณ์ที่ตัว
ละครต้องเผชิญ
ล ะ ค ร พู ด
ละครพูด คือ ละครที่แสดงโดยใช้บทพูด เจรจา ไม่มีการขับร้อง
ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีความตลกขบขันสอดแทรก ละครพูดแบ่งออก
เป็นละครลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้
ละครโศกนาฏกรรม (tragedy)
ละครโศกนาฎกรรม เป็นละครที่เสนอเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริง เน้นสัจธรรมการกระทำ
ของมนุษย์ จัดเป็นละครทางศาสนา ตอนจบของเรื่องมักจบด้วยความเศร้า ความน่า
สงสาร ความเสียใจ และผิดหวัง เช่นโรเมโอและจูเลียต
ละครสุขนาฎกรรม (comedy)
ละครสุขนาฎกรรมมีที่มาจากการแสดงในสมัยกรึกโบราณเช่นเดียวกับละครโศกนาฏกรรมละคร
สุขนาฎกรรมมีเรื่องราวที่ตลกขบขัน เสียดสี ล้อเลียนสังคม และได้พัฒนาให้มีเนื้อหามากขึ้น
โดยเน้นการประสบปัญหาแล้วจบลงด้วยความสำเร็จ แก้ปัญหาได้ และมีความสุขในตอนจบ
ละครพูด คือ ละครที่แสดงโดยใช้บทพูด เจรจา ไม่มีการขับร้อง
ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีความตลกขบขันสอดแทรก ละครพูดแบ่งออก
เป็นละครลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้
ละครแนวเหมือนจริง (representational drama)
ละครแนวเหมือนจริงเป็นละครที่สะท้อนให้เห็นชีวิตจริง หรือสะท้อนสังคม ความเป็นอยู่
ของคนในสังคมออกมาเป็นเรื่องราว ละครแนวนี้อาจนำเอาชีวิตจริงแค่บางส่วนออกมา
ดัดแปลงให้แตกต่างออกไปเพียงแต่มีเค้าโดรงเท่นั้น เช่น ผู้แสดงตัวเอกมีฐานะค่อนข้างดี
แต่มีความเกียจคว้าน ตอนจบของละครจึงต้องไปเป็นขอทาน แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่
เป็นเช่นนั้นก็ได้ ละครแนวไม่เหมือนจริง (presentational drama)
ละครแนวไม่เหมือนจริง เป็นละครที่ไม่มีการนำภาพชีวิตความเป็นจริงมาสะท้อนให้เห็นในการ
ใช้จินตนาการหรือการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความวิจิตรตระการตาด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
ปราณีต ละครประเภทนี้น้นไปที่ความสวยงามของฉาก แสง สี เสียง และเครื่องแต่งกาย
การแสดงละครแนวไม่เหมือนจริงนั้น ผู้แสดงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทตัวละคร เนื่องจากบทละคร
ส่วนใหญ่เป็นละครที่ตัดแปลงมาจากวรรณคดี วรรณกรรม ซึ่งมีคำราชาศัพท์ค่อนข้างมากผู้แสดงควรมี
ความชำนาญ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในขณะแสดงคำศัพท์สำคัญ