The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อ5 วารสาร @DISASTER (QR โหลด)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tleslope, 2023-03-22 23:45:53

อ5 วารสาร @DISASTER (QR โหลด)

อ5 วารสาร @DISASTER (QR โหลด)

@DISASTER D D P M M A G A Z I N E วารสารกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 INSIGHT SCOOP TECHNOLOGY & INNOVATION เปิดปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” ทีม USAR Thailand ช่วยเหลือผู้ประสบภัย แผ่นดินไหวตุรกี พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พลิกโฉมงานบริการของภาครัฐ ประชาชนได้ประโยชน์ FREE COPY [ E-BOOK ] www.disaster.go.th @DISASTER D D P M M A G A Z I N E


N S W E ASEAN and The World Content Insight Scoop เรื่องเล่าเตือนภัย รู้ทันภัย DDPM News Journey เจอนั่น Technology & Innovation Community Sharing 2 12 24 14 18 20 26 6 USAR Thailand ร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี ในภารกิจ “Thailand for Turkiye” อธิบดี ปภ. ตรวจความพร้อมปฏิบัติการบินของอากาศยานปีกหมุน KA-32 ในภารกิจสนับสนุนการควบคุมไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ อธิบดี ปภ. เปิดการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (การฝึกระงับ อัคคีภัยในอาคารสูง) เน้นย�้ำนโยบายการปฏิบัติงาน “เตรียมให้พร้อม ฝึกซ้อม เป็นประจ�ำ ลงมือท�ำได้ทันที” ปภ. ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกับมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร กอปภ.ก. ประชุมติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พร้อมบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนของประชาชน เปิดปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” ทีม USAR Thailand ช่วยเหลือผู้ประสบภัย แผ่นดินไหวตุรกี ดวงอาทิตย์ตรงศีรษะ “ปรากฏการณ์ไร้เงา” รู้รอดปลอดภัย พายุฤดูร้อน ท่องเที่ยวปลอดภัย เริ่มต้นง่าย ๆ ที่ตัวเรา การให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ : กรณีแผ่นดินไหวตุรกี ติดปีกบินกับ “นักบิน The Guardian Team” เฮลิคอปเตอร์บรรเทาสาธารณภัย KA – 32 ปักหมุด เที่ยวน�้ำตก 4 ภาค หลบร้อน นอนแช่น�้ำ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พลิกโฉมงานบริการของภาครัฐ ประชาชนได้ประโยชน์ รู้ทัน - ป้องกัน โจรกรรมข้อมูล ส่วนบุคคล


หน้าร้อนมาถึงแล้วนะคะ ประเทศไทยเราได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นเดือน มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือน เมษายน 2566 อากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ ส่วนปลายเดือน เมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงปลายฤดูร้อน สภาพอากาศจะเริ่มแปรปรวน แต่ยังคงมีอากาศ ร้อนอบอ้าวในบางช่วงประกอบกับมีฝนฟ้าคะนอง ซึ่งฤดูร้อนจะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2566 ค่ะ ... สภาพอากาศร้อนก็อาจจะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้มีโรคประจ�ำตัว รวมถึงกลุ่มอาชีพที่ต้องท�ำงานหนักกลางแจ้ง ขอฝาก ค�ำแนะน�ำในการดูแลสุขภาพง่าย ๆ ในช่วงหน้าร้อนนี้ โดยดื่มน�้ำสะอาดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการท�ำกิจกรรม กลางแจ้งในช่วงกลางวันหรือช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนจัด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี รวมทั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น�้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงค่ะ วารสาร @DISASTER ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 ยังคงอัดแน่นไปด้วยความรู้ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเหมือนเช่นเคย โดยคอลัมน์ Insight Scoop พาไปเจาะลึก ปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye กับทีม USAR Thailand ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี” ต่อด้วยคอลัมน์ Technology & Innovation มีบทความแนะน�ำกฎหมายฉบับใหม่ที่จะช่วยให้ การปฏิบัติราชการของหน่วยงานรัฐและการติดต่อราชการของประชาชนง่ายมากขึ้นกับเรื่อง “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565” รวมถึงมีข้อมูลดี ๆ ที่จะช่วย ปกป้องข้อมูลส่วนตัวกับประเด็น “รู้ทัน - ป้องกันโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล...ความปลอดภัย บนโลกออนไลน์” ส่วนคอลัมน์เรื่องเล่าเตือนภัยฉบับนี้มีความรู้เกี่ยวกับหนึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงหน้าร้อน “ดวงอาทิตย์ตรงศีรษะ ...ปรากฏการณ์ไร้เงา” นอกจากนี้ คอลัมน์ Community Sharing ฉบับนี้จะพาไปรู้จักและติดปีกบินกับ “นักบิน The Guardian Team เฮลิคอปเตอร์บรรเทา สาธารณภัย KA-32” รวมถึงคอลัมน์ ASEAN and the World ฉบับนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศกับประเด็น “การให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมเมื่อเกิด ภัยพิบัติขนาดใหญ่: กรณีแผ่นดินไหวตุรกี” ส่วนเที่ยวหน้าร้อนกับคอลัมน์ Journey เจอนั่น พาไปชุ่มฉ�่ำกับน�้ำตกสวย ๆ “ปักหมุดเที่ยวน�้ำตก 4 ภาค หลบร้อน นอนแช่น�้ำ” พร้อมทั้งค�ำแนะน�ำ ในการท่องเที่ยวช่วงหน้าร้อนอย่างปลอดภัยมาฝากในคอลัมน์รู้ทันภัยด้วยค่ะ ท้ายเล่มยังมีกิจกรรมสนุก ๆ ให้ผู้อ่านได้ร่วมเล่นเกมตอบค�ำถามกันเหมือนเช่นเคย มาร่วมสนุก รับของรางวัลกับเรานะคะ กองบรรณาธิการ Editor Talk ที่ปรึกษา บุญธรรม เลิศสุขีเกษม รัฐพล นราดิศร เธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ชัชดาพร บุญพีระณัช กองบรรณาธิการ พัลลรินทร์ ภูกิจ เดือนเพ็ญ ประทุม ชุดาภา ภัทรกรรม รัตติยา ทองทับ เมทินี ประภัสพงษา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์) 3/12 ถนนอู่ทองนอก แขวง/เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0 2637 3466 โทรสาร 0 2243 0674 E-mail : [email protected] สายด่วนนิรภัย 1784 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM @DDPMNews @1784DDPM www.disaster.go.th


เปิดปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” หนึ่งในเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินจนไม่อาจประเมินความเสียหายได้ นั่นคือแผ่นดินไหว ขนาด 7.8 ศูนย์กลางใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ สาธารณรัฐตุรกี เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายรุนแรง ในตุรกีเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อประเทศใกล้เคียงอย่างซีเรียอีกด้วย แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 50,000 ราย มีอาคารเสียหาย มากกว่า 84,000 หลัง และยังไม่สามารถคาดการณ์จ�ำนวนผู้สูญหายได้ ทีม USAR Thailand ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี หลายประเทศทั่วโลกต่างให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งเงินบริจาค ยาและเวชภัณฑ์ ทีมแพทย์และสาธารณสุข รวมถึง “ทีมปฏิบัติการพิเศษค้นหาและกู้ภัย” ซึ่งจะได้พูดถึงในคอลัมน์ Insight Scoop ฉบับนี้ 2 @ DISASTER Insight Scoop เดือนเพ็ญ ประทุม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่ง ความช่วยเหลือไปยังสาธารณรัฐตุรกี โดยบริจาคเงินช่วยเหลือจ�ำนวน 5 ล้านบาท พร้อมทั้งส่งเวชภัณฑ์และ ทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (Urban Search and Rescue) หรือทีม USAR Thailand เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ภายใต้ ชื่อปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” ไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังการประชุม หน่วยงานไทยเมื่อช่วงค�่ำของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” ได้เกิดขึ้น โดยรัฐบาลไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีมค้นหาและกู้ภัย ในเขตเมือง หรือ “USAR Thailand” ซึ่งเป็นการประกอบก�ำลังกันของ เหล่ามือดีที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ ค้นหาและกู้ภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ส�ำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, Thailand Rescue Dog Association: THAI RDA (สุนัข K-9) และบริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จ�ำกัด รวมจ�ำนวน 42 นาย ออกเดินทาง จากประเทศไทยไปสาธารณรัฐตุรกี เมื่อกลางดึกวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 พร้อมด้วยสุนัขค้นหา K-9 จ�ำนวน 2 ตัว รวมถึงน�ำอุปกรณ์การค้นหา และกู้ภัย อุปกรณ์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จ�ำนวน 72 รายการ รวมกว่า 241 ชิ้น ทั้งอุปกรณ์กู้ภัยการช่วยชีวิต อุปกรณ์ จัดตั้งฐานปฏิบัติการ อุปกรณ์สื่อสาร ผ่านดาวเทียมส�ำหรับสื่อสารในพื้นที่ ประสบภัย และเวชภัณฑ์ น�้ำหนักรวม กว่า 8 ตัน ส�ำหรับการปฏิบัติภารกิจ ในห้วงเวลาประมาณ 7 วัน การเดินทางของทีม USAR Thailand ใช้เวลาเกือบ 24 ชั่วโมง มาถึงยังสนามบินอดานา (Adana) เมืองอดานา (Adana) ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของการประสานงานทีมค้นหาและกู้ภัย นานาชาติ และได้รับการดูแลอย่างดี จากเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอังการา จากนั้นได้เข้ารายงานตัวต่อศูนย์รับส่ง ทีมค้นหาและกู้ภัยนานาชาติ (Reception and Departure Center: RDC) โดยทีม USAR Thailand ได้มอบหมายภารกิจ ให้ปฏิบัติงานที่เขตอันทักยา (Antakya) เมืองฮาทาย (Hatay) จังหวัดฮาทาย (Hatay) ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินอดานา ประมาณ 180 กิโลเมตร วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 3


ทีม USAR Thailand เดินทางต่อโดยรถบัสใช้เวลาอีก กว่า 5 ชั่วโมง ถึงที่หมาย ณ เมืองฮาทาย และเข้าร่วมการประชุม หัวหน้าทีมค้นหาและกู้ภัยนานาชาติ (Team Leader Meeting) ทันที ที่ศูนย์ประสานงานทีมค้นหาและกู้ภัยนานาชาติของ UN (USAR Coordination Cell: UCC) โดยหัวหน้าทีมได้รายงาน การเข้าปฏิบัติงานและรับทราบสถานการณ์ ซึ่ง UCC ได้แจ้งให้ ทีม USAR Thailand ตั้งฐานปฏิบัติการ (Base of Operation: BoO) ในพื้นที่เดียวกับทีมจากโรมาเนียและโปรตุเกส ภายหลัง ตั้งฐานปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อย เมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ท่ามกลางอุณหภูมิที่หนาวเหน็บต�่ำกว่า 0°C ทีมไทยได้ประชุมวางแผนงานเพื่อเตรียมพร้อมปฏิบัติการตามที่ ได้รับมอบหมายจาก UCC ในเช้าวันรุ่งขึ้นทันที โดยแบ่งเป็นทีมงาน 2 ชุด แต่ละทีมจะมีฝ่ายการจัดการ ฝ่ายการค้นหา ฝ่ายการกู้ภัย ฝ่ายส่งก�ำลังบ�ำรุงสื่อสาร แพทย์ดูแลสุขภาพคนในทีม และวิศวกร ท�ำหน้าที่ประเมินโครงสร้างอาคารก่อนเข้าปฏิบัติการ ภารกิจหลักของทีมเป็นการค้นหา (Search) ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร เจ้าหน้าที่ ได้ใช้วิธีการค้นหาเชิงเทคนิค คือการน�ำเครื่องมือและอุปกรณ์ค้นหาคู่กับการใช้สุนัขค้นหา K-9 ซึ่งจะใช้ทั้ง 2 วิธีนี้ควบคู่กันเพื่อให้สามารถระบุต�ำแหน่งผู้เสียชีวิตที่ติดค้างในอาคาร ได้รวดเร็วและชัดเจนที่สุด โดยทีม USAR Thailand ได้ออกส�ำรวจและค้นหาผู้ที่ติดอยู่ ใต้ซากอาคาร โดยใช้อุปกรณ์โซนาร์และสุนัขค้นหา K-9 ในการชี้เป้าระบุต�ำแหน่ง และ ประสานให้ทีมท้องถิ่นน�ำผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารออกมาได้จ�ำนวน 25 ราย รวมถึงยังได้ให้บริการทางการแพทย์และปฐมพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ก็ได้ยุติการค้นหาผู้ประสบภัย เนื่องจากสิ้นสุดวงรอบ การปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย พร้อมทั้งส่งมอบภารกิจให้ทีมกู้ภัยท้องถิ่นด�ำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ทีม USAR Thailand ได้ปฏิบัติภารกิจค้นหาและกู้ภัยร่วมกับทีมกู้ภัยนานาชาติ จ�ำนวน 221 ทีม ซึ่งมีรายงานว่าในห้วงการปฏิบัติงาน 6 วันแรกหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ทีมกู้ภัยนานาชาติสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยได้กว่า 300 คน 4 @ DISASTER


ภารกิจ “Thailand for Turkiye” ครั้งนี้ ทีม USAR Thailand ได้ท�ำหน้าที่ ในนามของคนไทยทั้งประเทศด้วยความเข้มแข็งและหัวใจที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้ ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากจากภัยพิบัติ USAR Thailand คือทีมประเทศไทยที่มีศักยภาพในการปฏิบัติการ ค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง ซึ่งได้มีการฝึกซ้อมอย่างสม�่ำเสมอเพื่อให้มี ขีดความสามารถในการรองรับสาธารณภัยขนาดใหญ่ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ และการปฏิบัติงานของทีม USAR Thailand เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกีครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของทีมค้นหาและกู้ภัยของประเทศไทยที่ได้ปฏิบัติภารกิจ ครั้งส�ำคัญร่วมกับนานาประเทศอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานสากลในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 5


6 @ DISASTER Technology & Innovation เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการด�ำเนินชีวิตของ ผู้คนมากขึ้น การน�ำเข้าข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะช่องทางในการติดต่อ ราชการกับหน่วยงานรัฐจ�ำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนากระบวนการใน รูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันยุคของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ซึ่งภาครัฐได้เห็น ความส�ำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้จึงได้ก�ำหนดพระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ขึ้น โดยได้บังคับใช้ อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 คอลัมน์ Technology & Innovation ฉบับนี้ จะพาคุณผู้อ่านมารู้จักและเข้าใจ ถึงประโยชน์ของ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐและประชาชนควรรู้เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างถูกต้อง พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2565 พลิกโฉมงานบริการของภาครัฐ ประชาชนได้ ประโยชน์ ชุดาภา ภัทรกรรม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 7 พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ถือเป็นกฎหมายกลางในการปฏิบัติ ราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมให้การท�ำงานและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล รวมถึงเป็นการอ�ำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชการ ตั้งแต่การ ขอรับใบอนุญาต ขออนุมัติ ขอจดทะเบียน ขอขึ้นทะเบียน ขอแจ้ง ขอจดแจ้ง ขอการรับรอง ขอความเห็นชอบ ขอให้พิจารณา ร้องเรียน ขอให้ด�ำเนินการ ขอรับเงิน ขอรับสวัสดิการ และขอรับบริการอื่นใดจากหน่วยงานรัฐ สามารถด�ำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยถือว่าถูกกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติราชการของภาครัฐให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และลดปัญหาการทุจริต ได้อีกทางหนึ่งด้วย หากประชาชนส่ งเรื่องหรือค�าขอผิดหน่ วยงาน ให้ ด�าเนินการส่ งต่ อไปยัง หน่ วยงานที่เกี่ยวข้ องและแจ้ งใหประชาชนทราบถึงหน ้ ่ วยงานที่ถูกต้ อง หน่ วยงานรัฐห้ ามปฏิเสธหรือไม่ ด�าเนินการ หากประชาชนยื่นเรื่อง หรือค�าขอด้ วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ หน่ วยงานรัฐจะต้ องก�าหนดช่ องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็ นช่ องทาง ใหประชาชนใช ้ ้ ในการติดตอราชการ พร่ ้ อมประชาสัมพันธ์ ชองทางดังกล ่าว่ ใหประชาชนและหน ้ ่ วยงานต่ าง ๆ ได้ รับทราบ หน่ วยงานรัฐ ต้ องด�าเนินการ


8 @ DISASTER หากประชาชนติดต่ อหน่ วยงานรัฐมาด้ วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ หน่ วยงานรัฐออกเอกสารและติดต่ อกลับด้ วยวิธีการเดียวกัน ยกเว้ นประชาชนจะระบุขอเป็ นเอกสารอย่ างอื่น ในการติดต่ อราชการ เจ้ าหน้ าที่ต้ องท�าส�าเนาเอกสารหรือหลักฐาน ที่รัฐออกให้ พร้ อมรับรองความถูกต้ องของส�าเนาเอง ตลอดจน หามเรียกเก็บเงิน และห ้ ามใช ้ ้ เป็ นข้ ออ้ างในความล่ าช้ า ประกาศก�าหนดวิธีการแสดงใบอนุญาตด้ วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และต้ องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่ ออนไลน์ ด้ วย อาทิ การแสดงภาพถ่ ายอิเล็กทรอนิกส์ ข้ อมูลการขออนุญาตต่ าง ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ผ่ านช่ องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้ องไม่ มีค่ าใช้ จ่ าย หากหน่ วยงานที่มีกระบวนงานต้ องท�าการยืนยันตัวตนด้ วยบุคคล ไม่ สามารถรับค�าขอหรือการติดต่ อด้ วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ ใหประสานส� ้านักงาน ก.พ.ร. รวบรวมเสนอเป็นกฎกระทรวงยกเวนต้ อไป ่ หากหน่ วยงานที่มีกระบวนการมีบัตร ใบอนุญาต หรือเอกสารส�าคัญ ที่ไม่ สามารถตรวจสอบจากภาพถ่ ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้ วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ ได้ ให้ ประสานส�านักงาน ก.พ.ร. รวบรวมเสนอเป็ น กฎกระทรวงยกเว้ นต่ อไป


https://standard.dga.or.th [email protected] วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 9 ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบ ช่ องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของหน่ วยงานรัฐได้ ที่ ประโยชน์ ที่ประชาชน จะได้ รับ ไม่ ต้ องเสียเวลาและค่ าใช้ จ่ าย ในการเดินทางมายังหน่ วยงานรัฐ ก็สามารถยื่นเอกสารติดต่ อราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ ทุกที่ทุกเวลา การนับเวลารับเรื่อง สามารถเริ่ มนับ ตั้งแต่ เมลเข้ าสู่ ระบบของหน่ วยงานรัฐ ได้ ทันที (ยกเว้ นการส่ งเมล นอกวันและเวลาราชการ) ประชาชนสามารถตรวจสอบ ขั้นตอนการด�าเนินงานของ หน่ วยงานรัฐได้ ตลอดเวลา สามารถยื่นเอกสารและแนบไฟล์เอกสาร ทางอิเล็กทรอนิกส์เพียงชุดเดียว และ ไม่ ต้ องลงนามรับรองส�าเนาถูกต้ อง สามารถดาวน์ โหลดแบบฟอร์ มต่ าง ๆ จากเว็บไซต์ ของหน่ วยงานที่ต้ องการ ติดต่ อ หรือจะพิมพ์เอกสารขึ้นมาเองก็ได้ แต่ ข้ อความต้ องตรงกับแบบฟอร์ ม ตามกฎหมาย พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ถือเป็นกฎหมายหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้หน่วยงานรัฐสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มรูปแบบ ตอบโจทย์ของการจัดเก็บและลดปัญหาการสูญหายของเอกสาร อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการบริการของหน่วยงานรัฐได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และ ลดภาระในด้านต่าง ๆ ที่เกิดประโยชน์กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก Thai Law Reform Commission, www.krisdika.go.th, https://standard.dga.or.th, www.opdc.go.th, www.lawreform.go.th, www.dittothailand.com โดยในส่ วนของกรมป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไดก� ้าหนดชองทางอิเล็กทรอนิกส ่ ให์ ประชาชนสามารถ ้ ติดตอหน่ วยงานได ่ ทางอีเมล ซึ่งจะมีเจ ้าหน้ าที่รับเรื่อง ้ และประสานงานผ่ านทางช่ องทางดังกล่ าวทุกวัน ในเวลาราชการ


1 เกิดจากผู้ ใช้ งานเอง ที่มีการโพสต์ ข้ อมูลส่ วนตัวลงบนสื่อสังคม ออนไลน์ รวมถึงภาพถ่ ายหรือข้ อมูลส่ วนตัว ที่ บั น ทึ ก อ ยู่ ภ า ย ใ น เ ค รื่ อ ง โ ท ร ศั พ ท์มื อ ถื อ คอมพิวเตอร คอมพิวเตอร ์ โน์ตบุ้ ค เครื่องดังกล ๊าว่ ได้ เกิดการหายหรือมีอาการเสีย ต้ องน�าเครื่อง ไปซ่ อมหรือเปลี่ยนเครื่อง 2 เกิดจากการเข้ าไปใช้ บริการเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน โดยผู้ ใช้ งานไปคลิกตกลงให้ ความยินยอม ในการให้ ข้ อมูลไปให้ บริษัทในเครือประชาสัมพันธ์ บริการอื่น ๆ 3 เกิดจากการถูกแฮกหรือเจาะข้ อมูล ของบริษัทที่ผู้ ใช้ งานเคยใหข้ ้ อมูลไว้ ซึ่งแฮกเกอร์ สามารถเจาะเข้ าระบบ เพื่อน�า ข้ อมูลของเราไปใหบุคคลอื่นหรือสาธารณะ ้ 4 เกิดจากการหลอกลวงด้ วยวิธีการต่ าง ๆ รู ้ ท ั น - ป้ องก ั น โจรกรรมข้ อมูล ส่ วนบุคคล อาทิ การสงอีเมลหรือลิงก ่ต์าง ๆ มาหลอก่ ให้ ผู้ ใช้ งานกรอกข้ อมูลส่ วนตัวลงในเว็บไซต์ / แอปพลิเคชันปลอม เพื่อหลอกฝั งโปรแกรม มัลแวร์ (Malware) หรือน�าข้ อมูลบัตรเครดิต ข้ อมูลส่ วนตัวไปใช้ เพื่อเปิ ดบัญชีปลอมหรือ โอนเงินออกจากบัญชีของเรา 10 @ DISASTER Technology & Innovation ชุดาภา ภัทรกรรม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ คอลัมน์ Technology & Innovation ฉบับนี้ มีขอมูลน้ าสนใจเพื่อให ่ ้ เรารูทันรูปแบบ ้ การโจรกรรมข้ อมูลบนโลกออนไลน์ และวิธี ในการป้ องกันการโจรกรรมขอมูลส้วนบุคคล่ มาฝากค่ ะ สาเหตุหลัก ท�าใหข้ ้ อมูลส่ วนตัว ถูกโจรกรรม 4 เมื่อเทคโนโลยีมีบทบาทส�ำคัญในการอ�ำนวยความสะดวกต่อ ชีวิตประจ�ำวัน ส่งผลให้ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวบนสื่อออนไลน์ กลายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีโอกาสถูกกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีหรือ มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการโจรกรรมข้อมูลมากขึ้น อย่างที่สื่อต่าง ๆ ได้น�ำเสนอข่าวสารของผู้ที่ได้รับผลกระทบต่าง ๆ มากมาย อาทิ การถูก ดูดเงินในบัญชีธนาคาร การหลอกให้โอนเงิน การหลอกให้ติดตั้ง โปรแกรมมัลแวร์ลงโทรศัพท์มือถือ เพื่อควบคุมโทรศัพท์มือถือ แทนผู้ใช้งาน การถูกปลอมแปลงตัวตนไปท�ำเรื่องที่เสียหายหรือ ผิดกฎหมาย รวมไปถึงการถูกรบกวนด้วยโฆษณาสินค้าและบริการต่าง ๆ


1 หมั่นอัปเดตซอฟต์ แวร์ ใหทันสมัยอยู ้ ่ เสมอ เพื่อแก้ ไขช่ องว่ างด้ านความปลอดภัยของแต่ ละเวอร์ ชันของซอฟต์ แวร์ 2 ตั้งรหัสผ่ านที่รัดกุม รหัสผ่ านเป็ นสิ่ งจ�าเป็ นในการรักษาความปลอดภัยข้ อมูล รหัสผ่ านที่ปลอดภัยจะต้ องประกอบด้ วย ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษผสมกัน เพื่อป้ องกันการคาดเดารหัสผ่ านของมิจฉาชีพ 3 ตั้งค่ าการตรวจสอบสิทธิการใช้ งาน 2 ขั้นตอน จะช่ วยเพิ่มความปลอดภัยใหกับบัญชีการใช ้ ้ งานมากขึ้น เพราะหากมิจฉาชีพ เดารหัสผ่ านได้ แต่ ก็ยังต้ องการรหัสข้ อมูลอีกส่ วนหนึ่งเพื่อเข้ าถึงบัญชี 4 ตั้งค่ าความเป็ นส่ วนตัวในบัญชีออนไลน์ ต่ าง ๆ เพื่อจ�ากัดวงผู้ อ่ านหรือการน�าข้ อมูลไปใช้ 7 ไม่ ผูกบัตรเครดิตหรือบัญชีออนไลน์เป็ นการถาวร ควรกรอกข้ อมูลใหม่ หรือยืนยันตัวตนทุกครั้ง และตั้งค่ าแจ้ งเตือนทุกครั้งที่มีการจ่ ายเงิน หรือใช้ บัญชี 5 ระมัดระวังสิ่ งที่โพสต์ ลงแพลตฟอร์ มออนไลน์ โดยเฉพาะข้ อมูลที่ละเอียดอ่ อน ต้ องหลีกเลี่ยงการโพสต์ หรือแชร์ ทางออนไลน์ อาทิ บัตรประชาชน ที่อยู่ บ้ าน ข้ อมูลทางการเงิน 8 ไม่ ท�าธุรกรรมกับเว็บไซต์ หรือบุคคลที่ไม่ น่ าเชื่อถือ รวมถึงควรหมั่นตรวจสอบบัญชีทางการเงินอยู่ เสมอ โดยเฉพาะใบแจ้ งยอดธนาคารและบัตรเครดิต หากพบการด�าเนินธุรกรรมที่น่ าสงสัยจะได้ แจ้ งธนาคารระงับทันท่ วงที 6 ไม่ กดลิงก์เว็บไซต์ หรืออีเมลที่น่ าสงสัย ซึ่งมิจฉาชีพมักจะหลอกลวงด้ วยการให้ กรอกข้ อมูลส่ วนตัว เพื่อน�าข้ อมูลของเรา ไปใช้ รวมถึงไมควรกดลิงก ่ต์ าง ๆ เป็ นการป ่ ้ องกันแฮกเกอรเข์ าถึงข ้ อมูล หรือเข ้ าไป ้ ติดตังโปรแกรมมัลแวร้ (Malware) อัตโนมัติเพื่อควบคุมการใช ์ งานอุปกรณ ้ของเรา ์ ยกเลิก/ท�าบัตรเครดิตใหม่ รวมถึงการยกเลิกผูกบัตรเครดิต กับแอปพลิเคชันต่ าง ๆ เปลี่ยนพาสเวิร์ ดการเข้ าระบบออนไลน์ ใหม่ หากถูกโจรกรรมข้ อมูลด้ านธุรกรรมการเงิน ให้ รีบติดต่ อธนาคาร โดยทันที หากเกิดความเสียหายจากการโจรกรรมข้ อมูลออนไลน์ ใหแจ้ ้ งความ ได้ ที่ แจ้ งญาติ เพื่อน และผู้ ที่เกี่ยวข้ องให้ ทราบ เพื่อป้ องกันมิจฉาชีพ สวมรอยเป็ นเราและหลอกให้ โอนเงิน นอกจากประชาชนต้องระมัดระวังการใช้งาน ข้อมูลส่วนตัวบนโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว หน่วยงานภาครัฐ องค์กร และเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ จะต้องให้ความส�ำคัญ กับมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมากขึ้น อาทิ ไฟร์วอลล์ (Firewall) รหัสผ่าน การตรวจจับ การบุกรุก พร้อมอัปเดตความปลอดภัยให้ทันสมัย อยู่เสมอ เพื่อประชาชนผู้ใช้งานจะได้อุ่นใจและเชื่อมั่น ถึงความปลอดภัยในการติดต่อ การให้ข้อมูล การท�ำ ธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้นระดับหนึ่ง หากถูกโจรกรรมข้อมูลจะท� ำยังไงดี ? www.thepoliceonline.com วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 11 ขอบคุณข้อมูลจาก www.it24hrs.com, www.secnia.go.th, www.tisco.co.th, https://pdpacore.com ว ิ ธ ีป้ องก ั น การโจรกรรม ข ้อมูลส่ วนตว ั 8


ดวงอาทิตย์ ตั้ งฉากเกิดขึ้นได้ อย่ างไร ? ประเทศที่ตั้งอยู่ในแนวละติจูดประมาณ 23.5 องศาเหนือ ลงไปจนถึงแนวละติจูดประมาณ 23.5 องศาใต้ จะเป็นบริเวณที่ดวงอาทิตย์ผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ ท�ำให้สามารถสังเกตดวงอาทิตย์ตั้งฉากได้ ซึ่งสาเหตุที่ประเทศไทย เกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นในที่ต่าง ๆ นั้น เป็นเพราะต�ำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูด 5-20 องศาเหนือ จึงส่งผลให้ในรอบหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในต�ำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะหรือตั้งฉากกับพื้นที่เดิมถึง 2 ครั้ง คือ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม และ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี ช่ วงประมาณต้ นเดือนมีนาคม ของทุกปี ประเทศไทยก็จะเริ่มเข้ าสู่ ฤดูรอนอย้ างเป็ นทางการ สภาพอากาศ ่ ส่ วนใหญ่ จะร้ อนอบอ้ าวโดยทั่วไปและ ร้ อนจัดในหลายพื้นที่ ส่ วนช่ วงปลาย ฤดูร้ อนประมาณปลายเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนพฤษภาคม สภาพอากาศ จะเริ่ มแปรปรวน แต่ ยังคงมีอากาศ ร้ อนอบอ้ าวในบางช่ วง รวมถึงอาจมี ฝนฟ้ าคะนองเกิดขึ้นได้ ดวงอาทิตย์ ตรงศีรษะ “ปรากฏการณ์ ไร้ เงา” นอกจากอากาศที่ร้ อนจัดในชวง่ หน้ าร้ อนแล้ ว ยังมีปรากฏการณ์ หนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นทุกปี ก็คือ “ดวงอาทิตย์ ตั้งฉากกับพื้น” ที่ท�าให้ เมื่อเรายืน กลางแดด เงาของเราไม่ เอียงหรือเฉียง ไปด้ านใดด้ านหนึ่งแต่ จะอยู่ ใต้ เท้ าของ เราพอดี ไม่ มีเงาทอดออกมา จึงท�าให้ ดูเสมือนไร้ เงา จังหวัดเชียงราย เดือนกรกฎาคม - กันยายน 12 @ DISASTER เรื่องเล่า เตือนภัย เดือนเพ็ญ ประทุม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


คาบการโคจรดวงอาทิตย์พาดผ่านจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยปรากฏการณ์ “ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก” ครั้งแรก จะเกิดขึ้นในช่วง เดือนเมษายน - พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ได้โคจรมาอยู่ ในต�ำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย โดยจะเริ่มจากบริเวณใต้สุดของ ประเทศไทย คือที่อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจร ตั้งฉากกับพื้นและขึ้นมาทางเหนือเรื่อย ๆ จนกระทั่งประมาณปลายเดือน พฤษภาคม ก็จะโคจรถึงบริเวณจุดเหนือสุดของประเทศไทย ณ จังหวัด เชียงราย เช่นเดียวกันกับในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน ดวงอาทิตย์ จะโคจรมาอยู่ในต�ำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ของปี เริ่มจากเหนือสุดของประเทศจากนั้นเปลี่ยนต�ำแหน่งเคลื่อนลงทางใต้เรื่อย ๆ โดยดวงอาทิตย์จะมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไป ในแต่ละพื้นที่ ท�ำให้แต่ละจังหวัดของประเทศไทยเห็นปรากฏการณ์ “ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก” ไม่พร้อมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก www.narit.or.th, www.facebook.com/NARITpage เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, www.yclsakhon.com นอกจากนี้ ในวันที่ดวงอาทิตย์ ตั้งฉากกับพื้นโลกยังท�าให้ ได้ รับพลังงานจาก ดวงอาทิตย์ อย่ างเต็มที่ แต่ ก็อาจจะไม่ ใช่ วันที่จะมีอุณหภูมิสูงที่สุด เพราะอุณหภูมิจะสูงที่สุด หรือไมนั ่ น ขึ้นอยู ้กับปั จจัยหลายอย ่าง เช่ น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร ่ ้ อนสะสม ในบรรยากาศ ฯลฯ ท�าใหวันที่ดวงอาทิตย ้ ์ ตั้งฉากจึงอาจไม่ ใช่ วันที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดเสมอไป จังหวัดยะลา เดือนเมษายน - พฤษภาคม N S W E วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 13


14 @ DISASTER เฮลิคอปเตอร์บรรเทาสาธารณภัย KA – 32 เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฤดูหนาวต่อฤดูร้อน พื้นที่ตอนบนของประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหา ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ซึ่งหนึ่งในก�ำลัง ส�ำคัญของปฏิบัติการควบคุมไฟป่าภาคเหนือ ที่เรามักจะได้เห็นกันเป็นประจ�ำก็คือ เฮลิคอปเตอร์ บรรเทาสาธารณภัย KA-32 ของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หรือที่ทีมงานเรียกว่า “เจ้าปักเป้าสีส้ม” ซึ่งไปประจ�ำการอยู่ภาคเหนือ ในช่วงฤดูไฟป่า เพื่อขึ้นบินทิ้งน�้ำดับไฟป่าในพื้นที่ ภูเขาสูงเข้าถึงยากและควบคุมสถานการณ์ไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือ “นักบิน The Guardian Team” ติดปี กบินกับ คอลัมน์ Community Sharing ฉบับนี้ จะพามา ติดปีกบินและรู้จักกับนักบินเฮลิคอปเตอร์บรรเทา สาธารณภัย KA-32 ของกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยทั้ง 3 ท่าน ที่ประจ�ำการอยู่ที่หน่วย ปฏิบัติการบิน ปภ. ในพื้นที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายภูมิพล จังหวัดลพบุรี ซึ่งเรียกว่าเป็นก�ำลังหลัก ในภารกิจการบินด้านการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับ เหล่านักบินของกองทัพบกกันค่ะ เดือนเพ็ญ ประทุม กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ Community Sharing


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 15 อดีตนักบินค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศ และครูการบิน กองบิน 2 ประสบการณ์การบินกว่า 3,700 ชั่วโมง เข้าร่วมเป็นนักบิน The Guardian Team สังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 อดีตนักบินเฮลิคอปเตอร์นอกชายฝั่งและแท่นขุดเจาะน�้ำมัน ของบริษัทเอกชนด้วยประสบการณ์การบินกว่า 20 ปี และชั่วโมงบิน มากกว่า 6,500 ชั่วโมง ตอนนี้ได้เข้ามาเป็นนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน เฮลิคอปเตอร์บรรเทาสาธารณภัย KA - 32 สังกัดกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 อดีตนักบินทหารบกและนักบินเฮลิคอปเตอร์นอกชายฝั่งและ แท่นขุดเจาะน�้ำมันของบริษัทเอกชน กับประสบการณ์การบินกว่า 30 ปี และชั่วโมงบินกว่า 7,000 ชั่วโมง เข้ามาเสริมทัพ The Guardian Team เมื่อช่วงปลายปี 2565 นาวาอากาศโท วรพจน์ วัณณรถ หรือ “กัปตันอ๋อย” สุระ ชัยสัตรา หรือ “กัปตันพี่เล็ก” จตุพร พ่วงชิงงาม หรือ “กัปตันเปา” หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการบินของหน่วยบิน ปภ. หัวหน้าแผนกปฏิบัติการบินและนิรภัยการบินของหน่วยบิน ปภ. นักบินเฮลิคอปเตอร์พาณิชย์หญิงคนแรกของประเทศไทย และกัปตันหญิงหนึ่งเดียวของ The Guardian Team หัวหน้าแผนกส่งก�ำลังบ�ำรุงของหน่วยบิน ปภ.


16 @ DISASTER : ท�ำไมถึงได้มาเป็นนักบิน ปภ. : กว่าจะได้บินเฮลิคอปเตอร์ The Guardian KA-32 ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง กัปตันเปา :อยากท้าทายศักยภาพและขีดจ�ำกัดของตัวเองในการบินเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงทักษะในการใช้ เฮลิคอปเตอร์ให้เต็มศักยภาพของเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถจะท�ำการบินได้ การบินเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้เรียกว่า ต้องมีความตั้งใจที่อยากจะท�ำการบินชนิดนี้จริง ๆ เพราะว่าเราต้องบินเข้าพื้นที่อันตราย เราไม่ได้บินเข้าไปใน สภาพอากาศที่ดี เราไม่ได้บินแบบ Sight Seeing เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุฉุกเฉินและมีคนต้องการความช่วยเหลือ มันจะดีไหมถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถน�ำความรู้ความสามารถที่เรามีเข้าไปช่วยเหลือเขาได้ ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ บรรเทาสาธารณภัย KA-32 หรือ The Guardian ที่มีอยู่ในฝูงบิน ของ ปภ. คือตอบโจทย์ความตั้งใจที่เราอยาก ช่วยเหลือคน และด้วยศักยภาพ ขีดความสามารถของตัวเอง และทักษะในการบินที่เรามี ก็คิดว่าจะสามารถ เอาอะไรออกมาใช้ได้บ้าง หวังว่าความสามารถที่มีน่าจะเป็นประโยชน์กับองค์กรได้ค่ะ กัปตันพี่เล็ก : การเข้ามาเป็นนักบิน ฮ. ปภ. 32 ยากครับ !! นอกจากจะต้องผ่านการคัดเลือกจากนักบินที่เก่งๆ หลายท่านแล้ว สิ่งที่ต้องปรับตัวคือแบบของเครื่อง ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ KA-32 เครื่องนี้ไม่มีใบพัดหาง แต่เป็น ใบพัดหลัก 2 ชั้น ต้องศึกษาเยอะมาก ความยากของเฮลิคอปเตอร์ KA-32 ที่ยากกว่าเฮลิคอปเตอร์ปกติทั่วไป ที่ใช้งานในประเทศไทย คือ มันเป็นเครื่องส�ำหรับการเข้าไปช่วยเหลือกู้ภัยโดยใช้อุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ มากมาย เพราะฉะนั้นต้องศึกษาและรู้ข้อจ�ำกัดของเครื่องเป็นอย่างดี เราจะไปช่วยคนอื่น ความปลอดภัยต้องมาก่อน ดังนั้น ความยากมันคือ “ความปลอดภัยที่มากกว่าความปลอดภัย” ก็ต้องมีการเรียนภาคทฤษฎีมากกว่า 200 ชั่วโมง เรียนทุกระบบ ทั้งระบบของโครงสร้าง ระบบไฮดรอลิค ระบบไฟฟ้า ระบบน�้ำมัน ระบบ rotor blades ทุกสิ่งอย่าง ที่มันเป็นของใหม่หมด เรียนภาคทฤษฎีจบแล้วก็ต่อด้วยการบินภาคอากาศ โดยครูการบินที่ได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือจากกองทัพบก ครูการบินก็เข้มงวดและจริงจังกับการฝึกอย่างมากครับ ถึงแม้นักบินแต่ละคนจะมี ชั่วโมงบินสูง แต่กับเครื่องเฮลิคอปเตอร์ KA-32 แบบนี้ ถือว่าเป็นของใหม่ ครูการบินต้องใช้แรงผลักดัน ให้เราน�ำขีดความสามารถของตัวเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อใช้กับเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ให้คุ้มกับสมรรถนะของเครื่อง เป็นประโยชน์กับองค์กรและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากที่สุดครับ Q Q


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก นาวาอากาศโท วรพจน์ วัณณรถ, จตุพร พ่วงชิงงาม, สุระ ชัยสัตรา, Facebook : Thailand Guardian Gallery วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 17 : ฝากถึงประชาชน กัปตันอ๋อย : ปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับสาธารณภัย ภัยพิบัติต่างๆ ส�ำหรับประเทศเราเริ่มมีมากขึ้น แล้วก็มีความรุนแรงมากขึ้น เราต้องร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นทั้งภาคพื้น ภาคอากาศ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน ในการเตรียมความพร้อม เพื่อปฏิบัติภารกิจและสร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน ขอให้ พี่ๆ น้อง ๆ ทราบว่าเมื่อไหร่ที่เครื่องสีส้มของเรามา ก็หมายถึงว่า ความช่วยเหลือความอยู่รอดก�ำลังมาหาพวกท่านแล้ว และ ขอฝากเป็นก�ำลังใจให้กับทีม The Guardian ของเราด้วยนะครับ กัปตันอ๋อย :การปฏิบัติประจ�ำวันของหน่วยบิน ปภ. ทุกวันเราจะมีเตรียมความพร้อมส�ำหรับการออกปฏิบัติงาน ทีมช่างจะตรวจสอบเครื่องเพื่อให้พร้อมในการปฏิบัติภารกิจ จากนั้นจะมีการประชุมประจ�ำวันเกี่ยวกับภารกิจ ที่ต้องท�ำเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมตลอดเวลา หากมีงานเข้ามาทีมก็สามารถออกปฏิบัติภารกิจได้เลย ในกรณีที่ได้รับการประสานให้ขึ้นบิน นักบินก็จะเตรียมวางแผนการบินและเตรียมอากาศยาน ก็จะประสานงาน ภาคพื้นทีมช่างที่ดูแลซ่อมบ�ำรุงและจัดเตรียมเครื่องให้เราพร้อมบิน ซึ่งต้องท�ำงานร่วมกันทั้งสองฝ่าย ต้องประชุม ทีมช่างเพื่อเตรียมเครื่องและอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นส�ำหรับภารกิจ เช่น ถ้าดับไฟ ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการดับไฟ พวกถังเก็บน�้ำ ท่อดูดน�้ำ ปืนฉีดน�้ำ แต่ถ้าเป็นภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบอุปกรณ์ ถอดถังถอดปืนออก ท�ำให้เครื่องเบาขึ้น และเตรียมอุปกรณ์ส่วนของรอกกู้ภัย (Hoist) เพื่อที่จะไปใช้ในภารกิจ ช่วยเหลือคน จากนั้นก็เป็นส่วนของการวางแผนการบินว่าจะใช้เส้นทางบินไหน ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ หน่วยงาน ภาคพื้นจะมีการสนับสนุนอะไรบ้าง จุดลงจอดอยู่ที่ไหน เติมน�้ำมันที่ไหน แล้วก็พื้นที่การบินระหว่างเส้นทาง มีพื้นที่ฉุกเฉินที่จะลงจอดตรงไหนได้บ้าง ทุกอย่างต้องมีการวางแผนทั้งหมด ที่ส�ำคัญคือจะต้องเช็คสภาพอากาศ ว่าเส้นทางและห้วงเวลาระหว่างที่เราบินไปนั้นสภาพอากาศเหมาะสมกับการบินหรือไม่ เราต้องถือความปลอดภัย เป็นหลัก ถ้าเกิดว่าเคลียร์หรือไปได้ก็จะท�ำการบิน การบินกู้ภัยทางอากาศ ช่วยเหลือประชาชนเป็นการบิน ที่ไม่ปกติ เป็นการบินยากกว่า อันตรายกว่า มีความเสี่ยงสูงกว่า เพราะฉะนั้นคุณต้องนึกถึง ความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา Q : ก่อนท�ำการบินในแต่ละครั้งนักบินและทีมงานเตรียมตัวอย่างไรบ้าง Q


น�้ำตกทีลอซูตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อ�ำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก น�้ำตกทีลอซูได้รับค�ำกล่าวขานว่าเป็นน�้ำตกที่สวยงามติดอันดับต้น ๆ ของไทย มีจุดเด่นคือ “มหัศจรรย์รุ้งกินน�้ำที่น�้ำตกทีลอซู” ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน�้ำทะเล 900 เมตร ความกว้างของตัวน�้ำตกประมาณ 500 เมตร ซึ่งเทียบเท่า 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว น�้ำตกทีลอซูเกิดจากล�ำห้วยกล้อท้อทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน ลดหลั่นเป็นชั้นๆ มากถึง 97 ชั้น มีความสูงประมาณ 300 เมตร การเดินทางท่องเที่ยวน�้ำตกทีลอซู ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อขึ้นไปบนเส้นทางลูกรังระยะทาง 25 กม. หรือจะล่องเรือยาง ไปตามล�ำน�้ำก็จะได้ชมวิวทิวทัศน์ธรรมชาติสองข้างทางที่เต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ขึ้นเขียวชะอุ่มสลับผาและโขดหินก็มีให้ดูหลายจุด และผ่านน�้ำตกสายรุ้งขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า “ทีลอจ่อ” โดยเป็นม่านน�้ำตกไหลตกลงสู่ผืนน�้ำกระทบเข้ากับแสงแดดจนเกิดเป็นม่านน�้ำสายรุ้ง ที่สวยงามสะกดสายตา ระหว่างทางมีบ่อน�้ำพุร้อนให้เราได้แวะพักเหนื่อยและถ่ายรูปกันค่ะ จากนั้นเดินเท้าต่ออีกประมาณ 1.5 กม. เส้นทางอาจจะโหดไปนิดแต่นักท่องเที่ยวสายผจญภัยต้องถูกใจแน่นอน เมื่อได้เห็นตัวน�้ำตกทีลอซูเราก็จะได้พบกับความสดชื่น และสนุกไปกับการเล่นน�้ำเย็นฉ�่ำของม่านหมอกน�้ำตก รับรองได้ว่าหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ อุทยานยังมีเส้นทางศึกษา ธรรมชาติให้เราได้ชมและเพลิดเพลิน ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ไปในตัว “ทีลอซู” เป็นหนึ่งในน�้ำตกที่สวยที่สุดในประเทศไทยและน่าสนใจเป็นอย่างมาก แม้เส้นทางไปเที่ยวดูยากล�ำบาก แต่ต้องลองหาโอกาสไปเที่ยวให้ได้สักครั้งหนึ่งค่ะ หน้าร้อนนี้จะมีอะไรดีไปกว่า การได้ลงแช่น�้ำเย็น ๆ ให้สดชื่น และคลายร้อนกัน ก็คงหนีไม่พ้น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติสีเขียว ที่โอบล้อมด้วยเขา ต้นไม้นานาพันธุ์ การนอนฟังเสียงน�้ำไหลซู่ซ่า ก็พา เอาความสดชื่นเข้ามาแทนที่ความ เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี ยิ่งได้สัมผัส บรรยากาศและอากาศที่เย็นสบาย ก็ท�ำให้ผ่อนคลายไม่ใช่น้อย ฉบับนี้ ทางคอลัมน์ Journey เจอนั่น เราจึง รวบรวม 4 น�้ำตกธรรมชาติในอุทยาน ของแต่ละภาคที่สวยงามของไทย น่าหลบร้อนไปแช่น�้ำสักครั้ง ว่าแล้ว วางแผนไปลุยกันดีกว่า ภาคเหนือ หลบร ้ อน นอนแช ่ น้ � ำ เท ่ ี ยวน้ � ำตก ภาค ปั กหมุด 4 รัตติยา ทองทับ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 18 @ DISASTER Journey เจอนั่น


น�้ำตกตาดโตน เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอีสาน ตั้งอยู่ ในอุทยานแห่งชาติตาดโตน ต�ำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ เสน่ห์และความโดดเด่นของ ที่นี่คือเป็นน�้ำตกที่สวยงามและมีน�้ำไหล ตลอดทั้งปี ขนาดน�้ำตกจะมีความสูง ของสายน�้ำราว 6 เมตร กว้าง 50 เมตร เมื่อมาถึงทางเข้าเดินไปเพียง 200 เมตร ก็ถึงแล้วค่ะ น�้ำที่ตกลงมานั้นจะมาจาก เขื่อนล�ำปะทาว ยิ่งในช่วงหน้าฝนที่จะ สวยงามเป็นพิเศษ โดยพื้นที่ด้านบนของ น�้ำตกจะเป็นธารน�้ำที่ไหลผ่านลานหิน บริเวณสองฝั่งจะร่มรื่นด้วยต้นไม้ เหมาะ ที่จะนั่งชิลชมธรรมชาติและเล่นน�้ำ บริเวณ ของอุทยานแห่งชาติตาดโตน จะมีบ้านพัก และสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้บริการกับ นักท่องเที่ยวรวมทั้งมีร้านค้า ร้านอาหาร ให้บริการตรงบริเวณทางเข้าน�้ำตก อีกด้วย การเดินทางง่ายและสะดวก แบบนี้ต้องหาเวลามาปักหมุดกันเป็น ที่เที่ยวประจ�ำกันค่ะ น�้ำตกกรุงชิง เป็นหนึ่งในน�้ำตก ที่สวยงามที่สุดในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นน�้ำตกขนาด 7 ชั้น ลดหลั่นความสูงไล่ระดับกันและ มีน�้ำตลอดทั้งปี โดยเฉพาะน�้ำตกชั้นที่ 2 หรือที่รู้จักกันในกลุ่มนักเดินป่าว่า “หนานฝนแสนห่า” จะมีละอองเหมือน เม็ดฝนหรือห่าฝน ที่สวยจนได้รับการตีพิมพ์ ลงในธนบัตรใบละ 1,000 บาท ซึ่งเป็น ชั้นน�้ำตกที่สวยที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถ ที่จะล่องแก่งหรือพายเรือคายัคก็ได้ แถมได้ สัมผัสธรรมชาติบนท่ามกลางผืนป่าใหญ่ จะมีป่าดงดิบหนาแน่น รวมถึงยังมีเส้นทาง ศึกษาต้นไม้ส�ำหรับเรียนรู้ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางธรรมชาติ มีมดยักษ์ปักษ์ใต้และนกพื้นถิ่นชนิดต่างๆ สัตว์ต่าง ๆ ที่หายาก บอกเลยว่าสวยงาม ราวกับได้อยู่ในโลกเทพนิยายเลยทีเดียว พกกล้องไปถ่ายได้ภาพดี ๆ กลับมา แน่นอนค่ะ น�้ำตกห้วยแม่ขมิ้น หรือ “น�้ำตกห้วยขมิ้น”ตั้งอยู่บริเวณที่ท�ำการ อุทยานริมทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ ห่างจากอ�ำเภอเมืองกาญจนบุรีประมาณ 108 กม. ด้วยความงามของม่านน�้ำตก ที่ไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อย ถึง 7 ชั้น และมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น ดงว่าน ม่านขมิ้น วังหน้าผา ฉัตรแก้ว ไหลจนหลง ดงผีเสื้อ และร่มเกล้า โดยชั้นที่ เป็นไฮไลต์ก็คือชั้นที่ 4 (ฉัตรแก้ว) ซึ่งอยู่ ชั้นเดียวกับลานจอดรถ มีม่านน�้ำตกหินปูน สูงประมาณ 10 เมตร ไหลลงมาผ่าน แอ่งน�้ำใสทั้งเล็กและใหญ่กันอย่างสวยงาม เหมาะกับการถ่ายรูปมากค่ะ นอกจากนี้ ก็ยังมีเส้นทางธรรมชาติเดินศึกษาพืชพรรณ นานาชนิด และสัตว์แมลงที่หายากอีกด้วย ท่ามกลางบรรยากาศสีเขียวที่เงียบสงบแล้ว ที่นี่ยังมีพื้นที่กว้างเหมาะเป็นลานกางเต็นท์ ให้ค้างพักแรมอีกด้วย มาแวะนอนชมดาว ฟังเสียงน�้ำตก ก็ช่วยผ่อนคลายความ เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดีค่ะ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก https://bonusstoreservice.com, https://www.paiduaykan.com, https://www.museumthailand.com วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 19


สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ลมสงบ ท้องฟ้าขุ่นขมุกขมัว เมฆก่อตัวก้อนใหญ่ ลมพัดแรง และกระโชก เป็นครั้งคราว เฆมก่อตัวหนาแน่น อย่างรวดเร็ว ฟ้าแลบ และมีฝนฟ้าคะนอง ในระยะไกล ช่วงก่อนเกิดพายุฤดูร้อน ขณะเกิดพายุฤดูร้อน สภาพอากาศแปรปรวน เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าแล่บ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า กรณีพายุแรงอาจมีลูกเห็บตก ฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ เคยสังเกตกันไหมคะ ช่วงรอยต่อฤดูหนาวเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน บ้านเราจะมีสภาพอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกัน หลายวัน หลังจากนั้นจะมีสภาพอากาศแปรปรวน ทั้งพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก รวมถึงอาจมี ฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” ซึ่งมักเกิดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคม ท�ำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับผลกระทบ มีความเสี่ยงได้รับอันตรายต่อชีวิตและความเสียหายต่อทรัพย์สิน วันนี้ “คอลัมน์รู้ทันภัย” เรามีข้อมูลดี ๆ ในการรับมือและปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยในช่วงที่เกิดพายุฤดูร้อนมาฝากกันค่ะ รู้รอดปลอดภัย รู้จักพายุฤดูร้อน รัตติยา ทองทับ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ พายุฤดูร้อน 20 @ DISASTER รู้ทันภัย


ปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด ป้องกันอันตรายจากพายุลมแรง จะพัดสิ่งของเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการพกพาและสวมใส่ เครื่องประดับที่เป็นสื่อน�ำไฟฟ้า เช่น ทองค�ำ ทองแดง นาก เงิน และร่มยอดโลหะ เพื่อป้องกัน อันตรายจากฟ้าผ่า ออกให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อไฟฟ้า ทุกชนิด เช่น ลวด แนวรั้วลวดหนาม ประตูโลหะ เครื่องมืออุปกรณ์ทําสวนทุกชนิด รางรถไฟ เพื่อลดเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ไม่หลบพายุเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงอันตราย ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดเสี่ยงอันตรายต่อผู้ใช้งาน ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เป็นพิเศษ รวมถึงควรติดตามสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดและ เรียนรู้วิธีปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการได้รับอันตราย และท�ำให้การด�ำเนินชีวิตในช่วงที่เกิดภัย เป็นไปด้วยความปลอดภัย ติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการ พร้อมปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำอย่างเคร่งครัด จัดท�ำที่ค�้ำยันต้นไม้หรือก�ำบังปกคลุม ผลผลิต เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ต่อผลผลิตทางการเกษตร ตรวจสอบอาคารหรือบ้านเรือน ให้มั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะ ประตู หน้าต่าง และหลังคาบ้าน จัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลม ไว้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันอันตราย จากการถูกสิ่งของพัดกระแทก รับมือ ก่อนเกิดพายุฤดูร้อน ปลอดภัย...เมื่อเกิดพายุฤดูร้อน ส�ำรวจรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ ที่เสี่ยงต่อการหักโค่น วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 21


เตรียมพร้อมก่อนเดินทางเสมอ ท่องเที่ยวปลอดภัย เริ่มต้นง่าย ๆ ที่ตัวเรา เลือกสถานที่ท่องเที่ยว ให้เหมาะสมกับฤดูกาล อย่าลืม !! ตรวจสอบสภาพรถ และศึกษาเส้นทางทุกครั้ง หากใช้บริการรถสาธารณะ ให้เลือกผู้ประกอบการรถ ที่มีมาตรฐานและปลอดภัย ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนเดินทาง ศึกษาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ที่ตั้ง พื้นที่เสี่ยงอันตราย อุปกรณ์ที่จ�ำเป็นต้องใช้ แต่งกายให้เหมาะสม กับสถานที่ ไม่ละเลย อุปกรณ์นิรภัย เมื่อเล่นกิจกรรมเสี่ยง ปฏิบัติตามป้ายเตือน และค�ำแนะน�ำ ของเจ้าหน้าที่ หลีกเลี่ยงพฤติกรรม ที่น�ำไปสู่อุบัติเหตุ รู้ไว้ปลอดภัยตลอดทริป รัตติยา ทองทับ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 22 @ DISASTER รู้ทันภัย


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 23 ปภ. ชวนผู้อ่านร่วมกิจกรรมสนุกพร้อมรับของรางวัลกับ “เกมลับสมอง” @ DISASTER T T K D R R @ F ; M IS = = L hU + hU G c = ªBSD9WgCS$_$V6b;-I*F6[M;TI7OF6[EO;¥®©¯©°©±¦ ª-āgODO_PGV'O=_7OE=B«¥²¦ ª-āgO_G;_PGV'O=_7OE=B«¥³¦ ªITELTE½ÁÆоÐÑÂÏ,<S<;Wh`;R;UL8T;9Wg_$WgDI$S<ORcE¥´¦ ªOS;7ETD9WgCS$_$V6b;ERMIT*9O*_9WgDI_G;;hU7$¥µ¦ ªBSD9Wg_$V6+T$$TE%T6`'G;;hU¥¶¦ ª`O@@GV_'-Sg;`+*_7YO;BSD%O*=B«-āgOORcE¼¥®­¦ ® ¯ ° ± ² ³ ´ µ ¶ ®­ NOTE อ่ านวารสาร @DISASTER จบแล้ ว ลองมาเติมค�าศัพท์ ลงในช่ องว่ าง แล้ วส่ งค�าตอบมาที่ Inbox กรมป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM ส่ งค�าตอบไดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 หรือจนกว ้ ่ า ของรางวัลจะหมด ลุ้นรับแก้วน้ �ำมินิมอล 10 รางวัล


พรรณภา ณ น่าน ส�ำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ 24 @ DISASTER ASEAN and The World การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ในภาวะฉุกเฉินเป็นการแสดงความเอื้ออาทร และมิตรภาพ แก่มิตรประเทศและประชาชนที่ประสบภัย อีกทั้งเป็นเครื่องมือ ในการดาเนินนโยบายต่างประเทศที่ส ํ าคัญในความสัมพันธ์รูปแบบ ํ รัฐต่อรัฐอีกด้วย อย่างไรก็ดี การให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักการและการปฏิบัติที่ดีส�ำหรับการ บริจาคเชิงมนุษยธรรม (Principle and Good Practice of Humanitarian Donorship) ที่องค์การสหประชาชาติได้ก�ำหนดขึ้น ได้แก่ หลักมนุษยธรรม (Humanity) หลักความเสมอภาค และเป็นธรรม (Impartiality) หลักความเป็นกลาง (Neutrality) และหลักความเป็นอิสระจากเป้าหมายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทางทหาร และผลประโยชน์อื่นๆ (Independence) (UN General Assembly resolution 48/182 และ 58/114) นอกจากหลักการด�ำเนินงานด้านมนุษยธรรมแล้ว การให้ ความช่วยเหลือมิตรประเทศยังต้องค�ำนึงถึงหลัก “การสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่การประสานงานส�ำหรับความช่วยเหลือ เพื่อมนุษยธรรมในยามฉุกเฉินของสหประชาชาติ” (Strengthening of the coordination of humanitarian emergency assistance of the United Nations) ตาม UN Resolution A/RES/46/182 ที่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี 1991 ทั้งนี้ เพื่อให้อ�ำนาจ อธิปไตยของรัฐได้รับการเคารพ และในเวลาเดียวกันเมื่อรัฐ เผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินอันไม่สามารถจัดการได้โดยล�ำพัง การรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นเรื่องที่สามารถ กระท�ำได้บนพื้นฐานว่าความช่วยเหลือนั้นเป็นส่วนประกอบ ในการช่วยสนับสนุนรัฐในการช่วยชีวิตและบรรเทาทุกข์ของ ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติ โดยที่อ�ำนาจในการตัดสินใจทั้งสิ้น เป็นของรัฐที่ประสบภัยพิบัติ (UN General Assembly 1991) การใหความช้ ่ วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ คอลัมน์ ASEAN and The World ฉบับนี้ เราจะมาเรียนรู้ เกี่ยวกับหลักการใหความช้ ่ วยเหลือ เพื่อมนุษยธรรมนานาชาติกันค่ ะ กรณีแผ่ นดินไหวตุรกี จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ณ เมือง Pazarcik จังหวัด Kahramanmaras สาธารณรัฐตุรกี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นับเป็นสถานการณ์การระดมความช่วยเหลือ เพื่อมนุษยธรรมที่ใหญ่มากครั้งหนึ่งในรอบปี เหตุการณ์ครั้งนี้ มีทีมค้นหาและกู้ภัยนานาชาติ 221 ทีม จาก 82 ประเทศ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ 10,668 คน สุนัขค้นหาและกู้ภัย 358 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จาก UNOCHA) เข้าร่วม ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือในห้วง 7 วันแรก โดยทีมนานาชาติ สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยได้กว่า 300 คน


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 25 สิ่ งที่ต้ องค�านึงถึงในการใหความช้ ่ วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่ร้ายแรงในมิตรประเทศ เราย่อมที่จะปรารถนายื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ แต่เราต้องแน่ใจว่าความช่วยเหลือที่เราจะส่งให้นั้นเป็นไปตามความต้องการของประเทศที่ประสบภัย ไม่เป็นภาระแก่ประเทศที่ประสบภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น จึงมีสิ่งที่เราจะต้องค�ำนึงถึง ได้แก่ ในบทความหน้ าเราจะมาท�าความรู้ จัก และอธิบายถึงพัฒนาการของ ทีม USAR Thailand ใหทราบกันค ้ ่ ะ 1 ประเทศที่ประสบภัยมีการประกาศรับความช่วยเหลือ จากนานาชาติในด้านใดบ้าง 2 ข้อมูลการประเมินความรุนแรง ความเสียหาย ความเสี่ยงของเหตุการณ์ จ�ำนวนผู้ประสบภัย 3 ความต้องการความช่วยเหลือของประเทศที่ประสบภัย ซึ่งอาจจะมีการร้องขอ หรือแจ้งความต้องการการ สนับสนุนจากหลายระดับ เช่น รัฐบาลกลาง และรัฐบาล ท้องถิ่น ซึ่งการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบรัฐต่อรัฐ อย่างเป็นทางการนั้นจะต้องยึดเอาข้อมูลและความต้องการ การสนับสนุนจากรัฐบาลกลางเป็นหลัก 4 ช่องทางในการประสานงานและกรอบความร่วมมือ ในการรับความช่วยเหลือ รวมถึงมาตรฐานสากลต่าง ๆ ที่ประเทศประสบภัยน�ำมาใช้ด�ำเนินการในเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ทีมกู้ภัยที่จะเข้าปฏิบัติงานจะต้องเป็นทีมกู้ภัยที่ได้ มาตรฐานตาม INSARAG เป็นต้น 5 มีทรัพยากรตามที่ประเทศประสบภัยต้องการได้รับ การสนับสนุนหรือไม่ และการส่งความช่วยเหลือนั้นจะต้อง ไม่ก่อให้เกิดภาระในการปฏิบัติงานของประเทศประสบภัย 6 ประเภทของความช่วยเหลือและการจัดระบบขนส่ง ในการส่งความช่วยเหลือดังกล่าว รวมถึงจุดหมายในการ ส่งของวิธีการส่งมอบ ค่าขนส่ง และค่าธรรมเนียมในการ จอดพาหนะขนส่ง 7 การขอยกเว้นกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง การจ่ายภาษีศุลกากรในการน�ำสิ่งของ/อุปกรณ์เข้าร่วม ปฏิบัติงาน ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่างๆ ส�ำหรับสิ่งของ บรรเทาทุกข์และทีมสนับสนุน 8 การส่งความช่วยเหลืออย่างเป็นเอกภาพในฐานะ ความช่วยเหลือจากประเทศไทย โดยผ่านการบูรณาการ ความร่วมมือและศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ ที่พร้อม ให้ความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศที่ประสบภัยพิบัติ มีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1) การมอบเงินบริจาคเบื้องต้น 2) การขอรับบริจาคจากประชาชน โดยมีส�ำนักปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยด�ำเนินการหลัก 3) การมอบสิ่งของ ช่วยเหลือ 4) การจัดชุดช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศประสบภัย เช่น ชุดค้นหาและกู้ภัย ชุดแพทย์ฉุกเฉิน ชุดผลิตน�้ำดื่ม เป็นต้น 5) การจัดท�ำโครงการบรรเทาทุกข์และสนับสนุนการฟื้นฟูเบื้องต้น และที่ส�าคัญที่สุด คือ ความช่วยเหลือที่จะส่งไป จะต้องเป็นไปตามแบบแผนของการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติหรือ Humanitarian Assistance / Disaster Relief) หรือ (HA/DR) ซึ่งมีกฎหมายรองรับทุกขั้นตอน ผ่านกระบวนการและการประสานงาน รวมถึงได้รับอนุญาต จากประเทศที่ประสบภัยในการเข้าร่วมสนับสนุนและช่วยเหลือ ในเหตุการณ์ดังกล่าว


เมทินี ประภัสพงษา กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 26 @ DISASTER USAR Thailand ร่วมปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี ในภารกิจ “Thailand for Turkiye” DDPM News จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ศูนย์กลางใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐตุรกี สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ส่งความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมแก่สาธารณรัฐตุรกี ภายใต้ชื่อปฏิบัติการ “Thailand for Turkiye” โดยส่งทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (Urban Search and Rescue) หรือ USAR Thailand จ�ำนวน 42 คน และสุนัขค้นหา K-9 จ�ำนวน 2 ตัว พร้อมด้วยอุปกรณ์ค้นหาและกู้ภัยจ�ำนวน 72 รายการ รวมกว่า 241 ชิ้น ร่วมสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจาก เหตุแผ่นดินไหวในตุรกี โดยได้ตั้งฐานปฏิบัติการในเขต Antakya จังหวัด Hatay ซึ่งได้ออกส�ำรวจและค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร โดยใช้อุปกรณ์ โซนาร์และสุนัขค้นหา K-9 ในการระบุต�ำแหน่งผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารเพื่อ ให้ทีมท้องถิ่นน�ำผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารออกมาได้ 25 ราย รวมถึง ได้ให้บริการทางการแพทย์และปฐมพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทีม USAR Thailand ได้ปฏิบัติหน้าที่ในนามของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยความเข้มแข็งและหัวใจที่ยิ่งใหญ่เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติ


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 27 อธิบดี ปภ. ตรวจความพร้อมปฏิบัติการบินของอากาศยานปีกหมุน KA-32 “ในภารกิจสนับสนุนการควบคุมไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมด้วย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดี ปภ. พันเอก สืบสกุล ชมภูนุช รองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 7 และคณะผู้บริหาร ปภ. ตรวจความพร้อมการปฏิบัติการบินของ อากาศยานปีกหมุน KA-32 และมอบนโยบายในการปฏิบัติและสนับสนุน ภารกิจควบคุมไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ณ ค่ายทหารเสือพระองค์ด�ำ กองพล ทหารราบที่ 7 อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นท.วรพจน์ วัณณรถ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการบินลพบุรี ส่วนบริหารอากาศยาน ปภ. พร้อมด้วยทีมนักบินและช่างประจ�ำอากาศยานของ ปภ. และกองทัพบก ทีมแพทย์สกายดอกเตอร์จากโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบนโยบายในการปฏิบัติงานฯ ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับกองทัพบก (ทบ.) สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 จ�ำนวน 2 ล�ำ พร้อมด้วยก�ำลังพล ประกอบด้วย นักบิน ช่างประจ�ำอากาศยาน เจ้าหน้าที่ภาคพื้น และชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) เข้าประจ�ำการ ณ ที่ตั้งส่วนหน้าค่ายทหารเสือพระองค์ด�ำ อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 โดยเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 2 ล�ำ จะประจ�ำการเพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่าและลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนืออย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดฤดูกาล


28 @ DISASTER อธิบดี ปภ. เปิดการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (การฝึกระงับอัคคีภัยในอาคารสูง) เน้นย�้ำนโยบายการปฏิบัติงาน “เตรียมให้พร้อม ฝึกซ้อมเป็นประจ�ำ ลงมือท�ำได้ทันที ” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกซ้อม การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (การฝึกระงับอัคคีภัยในอาคารสูง) โดยมีนายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดี ปภ. คณะผู้บริหาร ปภ. และหน่วยงานท้องถิ่น เข้าร่วมในพิธีฯ โดยเป็นการฝึกสถานการณ์สมมติ จ�ำลองเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร ณ คอนโดเกษตร อ�ำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกองอ�ำนวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ได้บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วน เข้าร่วมฝึกซ้อมแผนฯ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ อ�ำเภอสันทราย สถานีต�ำรวจภูธรสันทราย อ�ำเภอสันทราย ศูนย์ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ล�ำปาง ศูนย์กู้ภัยพิงค์นคร ชมรมกู้ภัยทางสูง จังหวัดเชียงใหม่ โดยระดมก�ำลังเจ้าหน้าที่กว่า 200 คน และเครื่องมืออุปกรณ์ ด้านสาธารณภัย เข้าร่วมฝึกซ้อมแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสูง รวมถึงได้จ�ำลองเหตุการณ์ในการขอรับสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแบบ KA – 32 เพื่อฉีดน�้ำดับไฟบนอาคารสูง และ ควบคุมเพลิงในอาคารสูงอีกด้วย การฝึกซ้อมแผนฯ ในครั้งนี้ เป็นการซักซ้อม แบบเต็มรูปแบบ เพื่อให้ทราบจุดบกพร่องและช่องว่างในการปฏิบัติงาน ในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงจะมีการถอดบทเรียนเพื่อน�ำไปปรับปรุงแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย


วารสาร @DISASTER ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 29 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร เพื่อแสดงเจตจ�ำนงในการร่วมกันสนับสนุน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานการประชุมกองอ�ำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยมี นายรัฐพล นราดิศร รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 12 หน่วยงาน และผู้บริหาร ปภ. รวมถึงกองทัพภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทุกเขต ร่วมประชุมฯ ผ่านระบบ Web Conference เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) พร้อมบูรณาการสนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งภาคพื้นดิน/ทางอากาศ รวมถึงการติดตามสภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM2.5) ตลอดจนการวิเคราะห์การเกิดจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ เพื่อน�ำมา วางแผนการบริหารจัดการเชิงพื้นที่และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปภ. “ลงนามบันทึกความเข้าใจ ” ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กับ มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร กอปภ.ก. “ประชุมติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)” พร้อมบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชน การด�ำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีนายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดี ปภ. พลต�ำรวจโท พงษ์พันธุ์ วรรณภักตร์ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิกู้ภัย ร่มไทร ผู้บริหาร ปภ. และเจ้าหน้าที่ มูลนิธิฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ส�ำหรับความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็น การสร้างความเข้าใจในบทบาทภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภายใต้ระเบียบ และกฎหมาย รวมถึงสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของบุคลากรแล้ว ยังท�ำให้ ทั้ง 2 หน่วยงานสามารถประสานการปฏิบัติและบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉินได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดย ปภ.จะให้การสนับสนุนองค์ความรู้และการฝึกอบรมด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของมูลนิธิ ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายมูลนิธิ ในการเตรียมพร้อม การปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีเอกภาพ


ข้อมูลปกหลัง (รูปแบบ Infographic) วารสาร @DISASTER ฉบับที่ 7 เดือนมกราคม - มีนาคม 2565 ติดตามข้อมูลข่าวสารสาธารณภัยทั่วไทยได้ที่นี่ Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM www.facebook.com/DDPMNews Twitter @DDPMNews QR Code Facebook QR Code LINE @1784DDPM ไกด์งานออกแบบของ ปภ. @1784DDPM กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สายด่วนนิรภัย เช็คได้ที่นี่ สภาพอากาศวันนี้ เป็นอย่างไร ? กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM @DDPMNews www.disaster.go.th


Click to View FlipBook Version