The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by มณฑิดา ฝั่งซ้าย, 2024-01-28 04:23:37

บทความ

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 Learning management using teaching activities according to Science Technology and Society: STS About the circulatory system to develop analytical thinking of mathayom 5 students ชื่อผู้วิจัย มณฑิดา ฝั่งซ้าย อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา จูมพลหล้า ปริญญา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร หมายเลขโทรศัพท์ 0937151767 อีเมล [email protected] บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียน ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการ เรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ในการดำเนินการใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ซึ่ง ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการวัดการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ที่เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.88 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.26 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.76 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.53


2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาชีววิทยา โดยมีคะแนนเฉลี่ย หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คำสำคัญ การคิดวิเคราะห์, ความก้าวหน้าทางการเรียน Abstract The purposes of this research are 1) to promote analytical thinking skills regarding the blood circulatory system. of Mathayom 5 students based on the concept of Science Technology and Society 2) To study progress in learning about the circulatory system. of Mathayom 5 students who use learning management based on the concepts of Science Technology and Society for the second semester of the academic year 2023, Matthayomwaritchaphum School, waritchaphum District, Sakonnakhon Province. In conducting the study, a single group research design was used to test pre-study and post-study. The research tools included a learning management plan based on the concept of Science Technology and Society. The result of the research were as follows 1. Mathayom 5 students have results measuring analytical thinking skills in studying Biology. who studied using learning management based on the concepts of science, technology, and society received an average score before studying of 13.88 points (46.26%) and an average score after studying equal to 24.76 points (82.53%) 2. Mathayom 5 students have made progress in studying Biology. The average score after studying was higher than the average score before studying. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบัน และอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับ ชีวิตของทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และในงานอาชีพต่าง ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ตลอดจนผลผลิต ต่าง ๆ ที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงานล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี อย่างมาก ในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์


เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งวิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้ค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับ การพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 1) การ สอนวิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ควรเน้นมโนมติที่สำคัญ ในวิทยาศาสตร์ เมื่อนักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมโนมติทางวิทยาศาสตร์แล้วจะทำให้นักเรียน สามารถจำแนกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ซับซ้อนทางวิทยาศาสตร์และยังช่วยพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีเหตุมี ผล เป็นพื้นฐานสำหรับนักเรียนหาความรู้อื่น ๆ ต่อไปอีกด้วย (สุวดีแสนค าภูมิ. 2544: 28) แต่อย่างไรก็ ตามหลังจากที่นักเรียนได้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว ยังพบว่ามีนักเรียนบางคนที่ไม่สามารถคิด วิเคราะห์ หรือแก้ปัญหาได้ ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า นักเรียนในปัจจุบันยังขาดความสามารถในการ คิดวิเคราะห์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. (2546) ได้กำหนดให้นักเรียนมี ความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบหมุนเวียนเลือด โดยกำหนดเนื้อหาดังกล่าวอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 ของสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับ ปรับปรุง 2560) แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้วิจัยได้ทำการสอน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดของคน ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนยังขาดในการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ การหมุนเวียนเลือดผ่าน โครงสร้างของหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นักเรียนไม่สามารถอธิบายลำดับการไหลเวียนเลือดได้ ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ แนนซี่, เดนนีส, แจ็คเคอรีน และมิดเรด (Nancy, Denise, Jacqueline and Mildred. 2005) และชิ(Chi. 2005) นักเรียนอธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของหลอด เลือดไม่ครบสมบูรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ยิป (Yip. 1998) และแนนซี่ และคณะ (Nancy, et al. 2005) และนอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนไม่สามารถบอกตำแหน่งที่ใช้วัดชีพจรได้ และไม่สามารถอธิบาย สาเหตุของการเต้นของชีพจรได้ ไม่สามารถบอกส่วนประกอบของเลือด ไม่สามารถอธิบายสาเหตุและ กระบวนการทำให้เลือดแข็งตัวรวมทั้งมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการรับและการให้เลือดในระบบ เลือด ABO จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะผู้สอนได้เห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และ พบว่าการให้ความรู้ด้านทักษะเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องหารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้


ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เข้ากับชีวิตประจำวันของตนเอง การ จัดการเรียนรู้แบบหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมี ประสิทธิภาพนั่นคือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม ซึ่ง ณัฐวิทย์ พจน ตันติ (2546) ได้เสนอวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STS ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์ให้เกิดความสงสัย โดยการตั้งคำถาม มีการวางแผนระดมความคิด วางแผนการปฏิบัติงาน การค้นหาคำตอบ การสะท้อน ความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขยายขอบเขตความรู้และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งวิชาชีววิทยาจัดเป็นวิชาที่อยู่ใน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของแต่ละ คน อันจะช่วยเพิ่มการคิดวิเคราะห์ และเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ในการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตาม แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สังคม มีการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต โดยนักเรียนมีคะแนน เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มี ความก้าวหน้าทางการเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียน มัธยมวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 33 คน


2. ตัวแปรในการวิจัย 2.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2.2 ตัวแปรตาม คือ การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 15 ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบ น้ำเหลือง เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รวมทั้งสิ้น 9 ชั่วโมง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เป็นแนวทางในการสร้างความตระหนักถึงความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS) ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนกับบริบทในชีวิตประจำวัน หลังจากที่มีการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิด วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคม (STS) 3. เป็นการเผยแพร่แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ วิจัยและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) ต่อไป ผลการวิจัย/สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปผลได้ดังนี้1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการวัด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8.85 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.26 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 14.94 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.70 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาชีววิทยา ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อภิปรายผลการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีประเด็นที่จะอภิปรายผลการวิจัย ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีมีผลการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชา ชีววิทยา ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ย


ก่อนเรียนเท่ากับ 8.85 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.26 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 14.94 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.70 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ในวิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และมีการคิดวิเคราะห์ สอดคล้องกับทิศนา แขมมณี (2563, หน้า 266 -267) ได้กล่าวถึงการสอน การสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เป็นแนวคิดในการ จัดการเรียนรู้ที่เกิดจากสภาพบริบทของตนเองหรือสังคมตามสภาพความเป็นจริง โดยใช้มโนทัศน์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนสามารถ นำไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตได้จริง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรม และมีความตระหนัก ต่อวิทยาศาสตร์ทั้งตนเองและสังคมตามวิถีของความเป็นวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับนฤมล ยุตาคม (2561, หน้า 25) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในบริบทของประสบการณ์ของมนุษย์ เป็น แนวความคิดในการบูรณาการสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมศึกษาเข้าด้วยกัน โดยการเน้น การศึกษาวิทยาศาสตร์ในสถานการณ์ชีวิตจริง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ และลงมือปฏิบัติจริง 2. ความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาชีววิทยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ ที่ 2 ที่ว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มี ความก้าวหน้าทางการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ วัลยา บุณอากาศ (2556) ได้ศึกษาผลการ จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม สูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม สูงกว่า นักเรียนที่รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับ งานวิจัยของ ชยุตม์ ม้าเมือง และ ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์ (2563) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง


โครงสร้างและหน้าที่ของดอก โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยการ จัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมสูงกว่าก่อนเรียนโดย การจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย จากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ซึ่งผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ดังนี้ 1. ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ครูผู้สอนควรศึกษาและทำ ความเข้าใจขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจน จึงจะทำให้การเรียนของนักเรียนได้ฝึกใช้การคิด วิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีทั้งนักเรียนและครูผู้สอน 2. ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ควรเตรียมสื่อให้พร้อม สำหรับการทำกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง และควรจดบันทึกหลังสอนเพื่อให้ทราบปัญหา สิ่งที่ต้องแก้ไข เพื่อทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.ครูคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนอย่างทั่วถึงและแจ้งการจัดกิจกรรมหรือการ ทดสอบให้นักเรียนทราบทันที เพื่อให้นักเรียนทราบผลงานของตนเองและกลุ่มตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและเป็นแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่อไป รายการอ้างอิง ภาษาไทย วรรณี โสมประยูร. การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนา พานิช, 2560. ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2546). การจัดการเรียนการสอนวิชาวิธีสอนชีววิทยาตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทิศนา แขมมณี. (2554),. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


นฤมล ยุตาคม. (2542). "การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โตยใช้โมเตลการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (Science Technology and Society STS ModeV)," ศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์. ปีที่ 14 ฉบับที่ 3. 29-48. ประทุม ชูชัด. (2544) รายงานการวิจัย เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน : การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม/ทฤษฎีการสร้างความรู้ในขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ (สสวท.). ภาษาอังกฤษ Aikenhead, G. (1988). Teaching Science through a Science - Technology - Society - Environment Approach : An Instruction Guide. New York : Teacher College Press. SARAKHAM UNIVERSITY Aikenhead, G. S. and A.G. Ryan. (1992). "The Development of New Instrument : Views on Science Technology Society (VOSTS)," Science Education. Vol.76 No.5 : 477-491. Bybee, R.W. (1985). The Sisyphean Question in Science Education: What should the Scientifically and Technologically Literate Person Know, Value and do as a Citizen?. Washington, DC: National Science TeacherAssociation. Cited in G. A. (1994). "Consequences to Learning Science Through STS: A Research". New York: Teacher College Press.


Click to View FlipBook Version