เรื่องดีดีที่ศูนย์
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน
เขตตรวจราชการที่ 3
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
ความสุขสร้างได้ ด้วย อาสา
สำนักสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ก
คำนำ
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
และถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565
โดยทำหน้าที่เป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงาน
ภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่
ทั้ง 7 ภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร
และเครือข่ายงานพัฒนาชุมชนที่เป็นทุนทางสังคม ใช้ภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์
งานพัฒนาชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ เสริมสร้างอุดมการณ์การทำงานเพื่อสาธารณะ
กระตุ้นจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนส่วนรวม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบ
จิตอาสา อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขยายผลเพื่อการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน และจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน นำร่องในพื้นที่ 76 จังหวัด เมื่อ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และขยายผลการดำเนินงานโดยกำหนดเป้าหมาย การจัดตั้งให้ครบ
ทุกตำบล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง ดำเนินการภายใต้ศักยภาพ ความพร้อม และความเข้มแข็งของชุมชน
ที่แตกต่าง และน่าสนใจ
คณะผู้จัดทำเห็นว่า การดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง
เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับเคลื่อนการทำงานพัฒนาชุมชน
ในรูปแบบจิตอาสา จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด รวบรวมเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้น
ภายใต้กิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 และจัดทำเป็นเอกสารเล่มเล็ก ๆ ในชื่อ “เรื่องดีดีที่ศูนย์จิต” ศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร และเครือข่าย
งานพัฒนาชุมชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันความรู้
ประสบการณ์ และร่วมสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
เมษายน 2565
Community Development Volunteer Leader Center
สารบัญ ข
คำนำ ก
สารบัญ ข
1
จังหวัดกาญจนบุรี 6
จังหวัดราชบุรี 9
จังหวัดสุพรรณบุรี 14
คณะผู้จัดทำ
Community Development Volunteer Leader Center
เขต 3
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดกกาาญญจจนนบบุุรรีี 1
โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย
หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวนจังหวัดกาญจนบุรี
"ร"ู้รจู้ัจกักกักนันก่กอ่อนน""
โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่เปิด
โอกาสให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาและดูงานด้านเกษตร และกิจกรรม
ส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยมีวิทยากรที่คอยให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์
ในการทำการเกษตรและกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน
และ นำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในหลวงราชการที่ 9 มาปรับใช้มาปฏิบัติควบคู่กันไป
เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในเรื่องรายได้ สุขภาพกาย และสุขภาพใจ ดังนั้น
จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้คัดเลือกโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย
ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จัดตั้งเป็นศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
นำร่องของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย
ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพตามเกณฑ์การประเมินที่กรมการพัฒนาชุมชน
กำหนด เพื่อเป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนา
คุณภาพชีวิตประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประชาชนตำบลหนองสาหร่ายในชุมชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแล ทททีทีี่ี่่อ่อออยย"ย"ย""เาเาเาเารรืรกืรก่ืก่ือก่อ่ออบบบบงงงงออออDDDกDกกกDDD"D"""
และสนับสนุนกิจกรรมในการขับเคลื่อนโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านหนองทราย ทำให้ตำบลหนองสาหร่ายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ประชาชน
ทุกคนมีจิตสำนึกเป็นสาธารณะ มีความเอื้ออารี มีกระบวนการเรียนรู้
ด้วยการถอดองค์ความรู้ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาการบริหาร
จัดการชุมชน ซึ่งนำพาชุมชนให้เกิดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ดังนี้ หมู่ที่ 1 มี โรงงานปุ๋ยชุมชน เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขนาดเล็กโดยใช้
วัตถุดิบที่มี ในชุมชน
หมู่ที่ 2 ผลิตน้ำดื่ม ไว้จำหน่ายให้สมาชิกในหมู่บ้าน
หมู่ที่ 3 กิจกรรมธนาคารขยะ เป็นกิจกรรมที่ให้ชาวบ้านในพื้นที่ ทั้ง 9 หมู่บ้าน
นำขยะมาจำหน่ายให้กับธนาคารขยะชุมชน
หมู่ที่ 4 ธนาคารชุมชน เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้จักการออม
หมู่ที่ 5 การทำน้ำยาอเนกประสงค์ เช่น แชมพู น้ำยาล้างจาน
หมู่ที่ 6 เป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งข้อมูลทางด้านการเกษตรของชุมชน
หมู่ที่ 7 เป็นศูนย์หมอดิน ให้คำปรึกษาเรื่องดิน
หมู่ที่ 8 การทำทองม้วน การแปรรูปอาหาร
หมู่ที่ 9 การทำเครื่องจักสาน เช่น กระเป๋า ไม้กวาดดอกหญ้า
Community Development Volunteer Leader Center
2
ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""
โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหนองทราย
หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี ประสบความสำเร็จเพราะผู้นำ และประชาชนใน
ชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี และร่วมมือกันเป็นอย่างดี และมี
ส่วนราชการ/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชน
และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ประชาชน อีกทั้งในชุมชนมี
ส่วนร่วมในการร่วมคิด วางแผน และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้
และนำไปประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้
อย่างแท้จริง
Community Development Volunteer Leader Center
3
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา
ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน
Community Development Volunteer Leader Center
4
สสถถาานนททีี่่ฝฝึึกกออบบรรมมใใหห้้กกัับบหหนน่่ววยยงงาานนภภาาคครรััฐฐ
แแลละะกกาารรศศึึกกษษาาททัั้้งงดด้้าานนเเกกษษตตกกรรรรมม
แแลละะกกิิจจกกรรรรมมพพััฒฒนนาาบบุุคคลลาากกรร
ออบบรรมมจจิิตตออาาสสาาภภาายยใในนตตำำบบลลเเสสรริิมมสสรร้้าางงคคววาามมเเขข้้มมแแขข็็งง
ศศููนนยย์์ผผูู้้นนำำจจิิตตออาาสสาาพพััฒฒนนาาชชุุมมชชนน
Community Development Volunteer Leader Center
5
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
Community Development Volunteer Leader Center
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดรราาชชบบุุรรีี 6
ศูนย์เรียนรู้บ้านเหล่ามะละกอ
บ้านเหล่ามะละกอ หมู่ที่ 15 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
""รู้รจู้ัจกักกักนันก่กอ่อนน"" " ศูนย์เรียนรู้บ้านเหล่ามะละกอ" หมู่ที่ 15 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ
จังหวัดราชบุรี ขับเคลื่อนภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียง
กับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเอง
ไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยน
ในชุมชน เป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้
จะดึงศักยภาพของตนเองออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว โดยคณะ
กรรมการศูนย์เรียนรู้และภาคีเครือข่ายมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน ถ่ายทอด
ความรู้ ความสามารถให้แก่ครัวเรือนยากจน นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจทั่วไป
รวมทั้งเป็นแหล่งบ่มเพาะ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ให้แก่คนในชุมชนและผู้อื่นได้
มีทัศนคติเสียสละ อุทิศแรงกาย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและรักษาสิ่งแวดล้อม
สร้างวัฒนธรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้เป็นนิสัย สร้างความมั่นคงทางอาหาร
" ศูนย์เรียนรู้บ้านเหล่ามะละกอ" หมู่ที่ 15 ตำบลทุ่งหลวง ททีี่ท่อีอ่อย"ย"เยาย"เารืรกเา่ืกเาอ่รอรืกบื่กบ่ององบอบองDงDอกอกDDDDก""กD"D"
อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี มีกิจกรรมหลักคือ การผลิตปุ๋ยหมัก
สารอินทรีย์ไล่แมลง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรตามภูมิปัญญา
ชาวบ้านเปิดให้ชาวบ้านผู้สนใจเข้าศึกษาวิชาการสร้างอาชีพจากการเกษตรได้
หลายอาชีพด้วยกัน เช่น การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงกบคอนโด การผลิตก๊าซหุงต้ม
จากมูลสุกร การสร้างบ้านดินประหยัดพลังงาน ทำฮอร์โมนต่าง ๆ ทำจุลินทรีย์
เป็นต้น นอกจากได้สัมผัสกับภูมิปัญญาจากผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน (ปราชญ์ชาวบ้าน)
แล้วยังสามารถศึกษาวิธีการต่าง ๆ แล้วนำไปปฏิบัติได้จริง แบบ ตรงตามหลักการใช้
ชีวิตแบบพอเพียง ขับเคลื่อนและพัฒนาฐานเรียนรู้ การปลูกพืชสมุนไพร และผักปลอด
สารพิษ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร รางจืด ดีปลี ไม้ฝาง เมล็ดพันธุ์ และต้นกล้าผัก
สวนครัวให้แก่คนภายในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวจาก
หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อนำไปขยายผลต่อ
และตอบสนองต่อนโยบายจังหวัดราชบุรีในการรณรงค์ให้ประชาชนในจังหวัดหันมา
ปลูกผักสวนครัวกินเอง เพื่อลดรายจ่ายภายในครัวเรือนและสร้างความมั่นคงทาง
อาหารในยามวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ภายใต้คำกล่าวที่ว่า
“ปิดหมู่บ้าน 3 เดือน พวกเราก็อยู่ได้”
Community Development Volunteer Leader Center
ปปััจปจัจจจััจยยัยคคควววาาามมมสสสำำำเเเรรร็็็จจจ :: "" IIIDDDEEEAAACCCAAANNNDDODO"O"" 7
มีการเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน
โดยใช้วัด เป็นศูนย์กลางของชุมชน เพื่อศักยภาพของผู้นำจิต
อาสาพัฒนาชุมชน โดยใช้ "ผู้นำ อช." เป็นแกนหลักในการ
พัฒนา โดยมีการเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความสามารถใน
การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่มเป้าหมายได้ เพื่อก่อให้เกิด
ความรัก ความสามัคคี เอื้อเฟื้อ เอื้ออาทรของคนในชุมชน
Community Development Volunteer Leader Center
8
เเรรืื่องราวของเเรราา
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี
Community Development Volunteer Leader Center
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดสสุุพพรรรรณณบบุุรรีี 9
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขวาง
3300//11 หหมมูู่่ททีี่่ 55 ตตำำบบลลไไผผ่่ขขววาางง ออำำเเภภออเเมมืือองงสสุุพพรรรรณณบบุุรรีี จจัังงหหววััดดสสุุพพรรรรณณบบุุรรีี
"รู้จักกันก่อน" " ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขวาง "
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ได้ถูกเลือกเป็น " ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน "
นำร่องของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพิธีเปิดป้ายศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
ในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจแก่ผู้นำจิตอาสาฯ สร้างการรับรู้
แก่ประชาชนทั่วไป และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน และเป็น
ศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และ
ภาคีการพัฒนาในพื้นที่ ทั้ง 7 ภาคส่วน
" ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลไผ่ขวาง เป็น
สถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และ
การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่าย
จิตอาสาพัฒนาชุมชน ระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง
โดยมีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กรเครือข่ายงาน
พัฒนาชุมชนที่เป็นทุนสังคม ใช้พลังภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์
งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ รวมถึงการพัฒนา
ภาวะผู้นำ สร้างเสริมอุดมการณ์ทำงานเพื่อสาธารณะ ในรูปแบบผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีบทบาท มีส่วนร่วมในการพัฒนา และสร้างเสริมชุมชน
ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Community Development Volunteer Leader Center
10
"ทีเ"่ทรอีืเ่่อรอืย่องยางากDกDบDบDออกก""รูปแบบ1เ.กสษรต้ารงผพืส้นมทผี่เสรีายนนรูป้เศลูรกษผัฐกกสิจวพนอคเรพัีวยเงลี้ใยนงกบ
เลี้ยงปลา ไม้ผล สมุนไพร ฯลฯ
2. มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้
ด้านอาชีพให้กับประชาชนที่สนใจ
3. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และ
การสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับประชาชนใน
พื้นที่ และนอกพื้นที่
ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""
1. การใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง
คณะกรรมการศูนย์ฯ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน
ในพื้นที่ และเครือข่าย 7 ภาคี เป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง
2. คณะกรรมการศูนย์และผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง
เสียสละและมีจิตอาสา
3. ศูนย์จิตอาสาพัฒนาชุมชนมีวิทยากรประจำศูนย์ที่
สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ ทั้งการบรรยายและการสาธิต
4. การกำหนดเป้าหมาย และมีแผนการดำเนินงาน
ที่ชัดเจน
Community Development Volunteer Leader Center
11
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา
Community Development Volunteer Leader Center
12
Community Development Volunteer Leader Center
13
กิจกรรมส่งเสริมอาชีพในชุมชนและ
ฐานเรียนรู้ ภายในชุมชน
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
Community Development Volunteer Leader Center
14
ที่ ป รึก ษ า
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
ค ณ ะ ผู้ จัด ทำ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางพัชรินทร์ ธรรมสาร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางกมลมณี วงศ์สว่าง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวชุติมณฑน์ อุตสาหะ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวฉายาลักษณ์ แก้วศรีพจน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวลดา นพรัตน์
นายภานุมาศ ตรีสุวรรณ
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวลดา นพรัตน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
อ อ ก แ บ บ / ก ร า ฟิ ก
นางสาวสุภัสสร แสบรัมย์ นักศึกษาฝึกงาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์
จัด ทำ โ ด ย
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
สำนักเสริมสาร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210