The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ผลสำเร็จ ศูนย์ผู้นำจิตอสาพัฒนาชุมชน
เขต 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
จำนวน 5 จังหวัด
1. จังหวัดชุมพร
2. จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. จังหวัดพัทลุง
4. จังหวัดสงขลา
5. จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เขต 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

ผลสำเร็จ ศูนย์ผู้นำจิตอสาพัฒนาชุมชน
เขต 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
จำนวน 5 จังหวัด
1. จังหวัดชุมพร
2. จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. จังหวัดพัทลุง
4. จังหวัดสงขลา
5. จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เรื่องดีดีที่ศูนย์

ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน

เเขขตตตตรรววจจรราาชชกกาารรททีี่่55
กกลลุุ่่มมจจัังงหหววััดดภภาาคคใใตต้้ฝฝัั่่ งงออ่่าาววไไททยย





ความสุขสร้างได้ ด้วย อาสา

สำนักสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย



คำนำ

ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
และถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565

โดยทำหน้าที่เป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงาน
ภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่
ทั้ง 7 ภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร
และเครือข่ายงานพัฒนาชุมชนที่เป็นทุนทางสังคม ใช้ภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์
งานพัฒนาชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ เสริมสร้างอุดมการณ์การทำงานเพื่อสาธารณะ
กระตุ้นจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนส่วนรวม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบ
จิตอาสา อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขยายผลเพื่อการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน และจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน นำร่องในพื้นที่ 76 จังหวัด เมื่อ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และขยายผลการดำเนินงานโดยกำหนดเป้าหมาย การจัดตั้งให้ครบ
ทุกตำบล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง ดำเนินการภายใต้ศักยภาพ ความพร้อม และความเข้มแข็งของชุมชน
ที่แตกต่าง และน่าสนใจ

คณะผู้จัดทำเห็นว่า การดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง
เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับเคลื่อนการทำงานพัฒนาชุมชน
ในรูปแบบจิตอาสา จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด รวบรวมเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้น
ภายใต้กิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 และจัดทำเป็นเอกสารเล่มเล็ก ๆ ในชื่อ “เรื่องดีดีที่ศูนย์จิต” ศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร และเครือข่าย
งานพัฒนาชุมชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันความรู้
ประสบการณ์ และร่วมสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
เมษายน 2565

Community Development Volunteer Leader Center

สารบัญ ข

คำนำ ก
สารบัญ ข
1
จังหวัดชุมพร 3
จังหวัดนครศรีธรรมราช 7
จังหวัดพัทลุง 11
จังหวัดสงขลา 14
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 18
คณะผู้จัดทำ

Community Development Volunteer Leader Center

เขต 5

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่ งอ่าวไทย

จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช

จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดชชุุมมพพรร 1

ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านแก่งอนุรักษ์

บ้านแก่งอนุรักษ์ ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านแก่งอนุรักษ์"

"รู้จักกันก่อน" ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนา
ชุมชน" ก่อตั้งขึ้นโดยการค้นหาผู้นำที่มีจิตอาสา มาเป็นผู้นำการพัฒนา
ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้นแบบ
การปลูกผักสวนครัว 90 วัน และผู้นำธรรมชาติ โดยเน้นในเรื่องการสร้าง
ความมั่นคงทางอาหารสู่ครัวเรือน การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเน้น
การปฏิบัติจริง

การสร้างผู้นำจิตอาสาที่มีจิตใจเป็นจิตอาสา ททีี่่ออยย""าาเเกรืกร่ือ่บอบงองอDกDกD"D"
และสามารถดำเนินกิจกรรมการสร้าง

ความมั่นคงทางอาหารสู่ครัวเรือนได้อย่างแท้จริง

ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""

1. การสร้างจิตสำนึ กในการดำเนิ น
กิจกรรมจิตอาสา

2. ความพร้อมของผู้นำและชุมชน
3. ความพร้อมของสถานที่

Community Development Volunteer Leader Center

2

เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร

Community Development Volunteer Leader Center

BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดนนคครรศศรรีีธธรรรรมมรราาชช 3

ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอทุ่งสง

114411 หหมมูู่่ททีี่่ 1122 ตตำำบบลลนนาาไไมม้้ไไผผ่่ ออำำเเภภออททุุ่่งงสสงงจจัังงหหววััดดนนคครรศศรรีีธธรรรรมมรราาชช

"รู้จักกันก่อน" ศูนย์เรียนรู้ที่พึ่งพา สร้างงาน สร้างอาชีพ

ของคนในตำบลหน้าไม้ไผ่” เป็นวิสัยทัศน์ของ
“ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอทุ่งสง" นำร่องของ
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาศูนย์ฯ

ในระยะเวลา 3 ปี (2565 – 2567) ดังนี้
1. การพัฒนาศักยภาพผู้นำและตัวคณะกรรมการศูนย์ ฯ

2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้มีชีวิต และหลักสูตรอาชีพต่าง ๆ

3. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

"นายณรงค์ศักดิ์ รักบ้าน" ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
เดิมอยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดต่อมาได้ศึกษา และทดลองลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการน้อมนำศาสตร์ของพระราชาของในหลวง
รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางและปรับใช้ เนื่องจากพื้นที่มีภัยแล้ง และ
น้ำท่วมทำให้ไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ ต่อมาได้เข้าร่วม โครงการพัฒนาพื้นที่
ต้นแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก
หนอง นา โมเดล” พื้นที่ 15 ไร่ และได้เป็นพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ

การพัฒนาคุณภาพชีวิต (CLM) ของอำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช

Community Development Volunteer Leader Center

4

"ทีเ่รอื่อยงากDบDอก1."มีพื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิต โดยการปรับพื้นที่

ตามหลักทฤษฎีใหม่ รูปแบบ" โคก หนอง นา
โมเดล" พื้นที่ 15 ไร่ มีฐานการเรียนรู้ภายใน
14 ฐาน

2. มีเครือข่ายความรู้ด้านอาชีพ มีพื้นที่
การเรียนรู้ด้านอาชีพ ในตำบลนาไม้ไผ่ครบทุก
หมู่บ้าน ที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนา
ชุมชน

3. มีการสร้างชุมชนให้มีการจัดการขยะ ของ
ตำบลนาไม้ไผ่

ปั จจัยความสำเร็จ : " IDEA CAN DO"

1. มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ระหว่างคณะกรรมการศูนย์ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และเครือข่าย 7 ภาคี เป็นประจำ
อย่างต่อเนื่อง

2. ได้รับการสนับสนุนของเครือข่าย 7 ภาคี
3. คณะกรรมการศูนย์ฯ มีความรู้ ความสามารถ
4. ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของ
คณะกรรมการ และยังมีแผนการพัฒนาศูนย์ฯ เป็น
เครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรม

Community Development Volunteer Leader Center

5

เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา

Community Development Volunteer Leader Center

6

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

Community Development Volunteer Leader Center

BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดพพััททลลุุงง 7

โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโหนดหมู่

92/2 บ้านโหนดหมู่ หมู่ที่ 9 ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

"รู้จักกันก่อน" "โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโหนดหมู่"

ตั้งอยู่ที่ 92/2 บ้านโหนดหมู่ หมู่ที่ 9 ตำบลหารเทา
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็น "ศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน ตำบลหารเทา" นำร่องของจังหวัดพัทลุง เป็น

ที่ประสานงานภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ระหว่างภาค

รัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่ ทั้ง 7 ภาคส่วน

และได้จัดกิจกรรมเปิดศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน เพื่อ

สร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน สร้างการรับ

รู้แก่ประชาชนในชุมชนและประชาชนทั่วไป และส่งเสริมการมี

ส่วนร่วมจากภาคีารพัฒนาทุกภาคส่วน

"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลหารเทา" ททีที่ี่อ่ออยย"ย""เาเาเาเารรรืรืกกื่ื่กก่อ่อออบบบบงงงงออออDDDDกกDDDD""
คณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลหารเทา

และประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมกันดำเนินการ "ก่อสร้างสะพานคลองหาร

น้ำดำ" ซึ่งได้ใช้ระยะเวลาเพียง 2 เดือนก็แล้วเสร็จโดยไม่ใช้งบประมาณของ

ทางราชการและผลการดำเนินงานทำให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ หมู่ที่ 5

และหมู่ที่ 9 ตำบลหารเทา รวมถึงหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียงมีเส้นทาง

สัญจรไปมาหาสู่กันอย่างสะดวกลดการใช้ระยะเวลาในการเดินทาง ทั้ง

เป็นการเดินทางเพื่อไปร่วมกิจกรรมทางศาสนา ณ ที่พักสงฆ์หารน้ำดำ

การเดินทางเพื่อไปประกอบอาชีพ และการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร

ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน

และนำสู่ความภาคภูมิใจและพลังในการสร้างสรรค์ความดีเพื่อชุมชนต่อไป

ด้วยพลัง “จิตอาสา”

Community Development Volunteer Leader Center

8

ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""

1. "ผู้นำ" เข้าถึงง่าย พูดจาเป็นกันเอง แต่งกายด้วยความสุภาพ และ
เหมาะสม เป็นผู้มีความรู้หลากหลาย มีวิสัยทัศน์ในพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และ
ยึดถือประโยชน์ของชาวบ้านเป็นสำคัญ มีความเสียสละ ทำงานด้วยหัวใจ รักใน
การพัฒนาชุมชน ทำให้ทำให้เกิดผู้นำที่คนในชุมชน ต้องการเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชน
จนเกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง
2. "ครูพาทำ" มีจำนวนมากกว่า 16 ท่าน ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ
ในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก
และสมุนไพร การทำปุ๋ยหมัก และแปรรูปอาหาร สมุนไพร(ฟ้าทะลายโจร) เพื่อเป็น
คลังอาหาร ที่สามารถดูแลผู้คนในยามที่เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทำให้ชุมชนมีเข้มแข็ง และ
สามารถพึ่งพาตนเองได้
3. "พัฒนากร" ลงพื้นที่สม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ การพัฒนาศักยภาพ และ
ยกระดับของคนในชุมชน จึงถือได้ว่า พัฒนากร มีความสำคัญในบทบาทการเป็นพี่เลี้ยง
ที่ปรึกษา ในการบริหารจัดการชุมชน จนชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
4. "การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" สู่การปฏิบัติของบุคคล ครอบครัว และ
ชุมชน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เพราะด้วยองค์ความรู้ของทีมผู้นำการ
เปลี่ยนแปลง ที่ได้นำองค์ความรู้จากการฝึกอบรมมาปฏิบัติก่อน (ผู้นำทำก่อน) เมื่อสำเร็จ
จึงถ่ายทอดสู่คนในชุมชน จึงทำให้พื้นที่ตำบลหารเทา เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่
ประสบความสำเร็จของจังหวัดพัทลุง ทั้งบริหารจัดการชุมชนด้วยตัวเอง และการสร้าง
ความมั่นคงอาหาร นั่นเอง
5. "คนในชุมชน" เข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานเพื่อชุมชน เป็นจิตอาสา รวมถึง
ทุกภาคส่วนทำงานด้วยจิตอาสา ทำให้ทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จ มีหลักฐาน

เชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม

Community Development Volunteer Leader Center

9

เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา

Community Development Volunteer Leader Center

10

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง

Community Development Volunteer Leader Center

BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดสสงงขขลลาา 11

ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านใหม่

1166//22 บบ้้าานนใใหหมม่่ หหมมูู่่ททีี่่ 33 ตตำำบบลลบบ่่ออดดาานน ออำำเเภภออสสททิิงงพพรระะ จจัังงหหววััดดสสงงขขลลาา





"ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านใหม่"

"รู้จักกันก่อน" อยู่ที่ในหมู่ที่ 3 ตำบลบ่อดาน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ได้เข้าร่วม
โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้
ทฤษฎีใหม่ "โคก หนอง นา โมเดล" โดยมี "นายวุฒิ ศิลบุตร" เป็นประธาน

ศูนย์เรียนรู้ฯ และเป็นเจ้าของแปลงที่ดินขนาด 3 ไร่ โดยมีขับเคลื่อนกิจกรรม

ต่าง ๆ ทางด้านการเกษตรที่ และมีฐานการเรียนรู้ 10 ฐาน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้

ให้แก่ประชาชนทั่วไป ที่สนใจการทำการเกษตร ได้เข้า มาร่วมแลกเปลี่ยน และ

ได้ตัวแทนกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่มาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการ

ศูนย์ฯ มีวิทยากรหลักสำคัญในการให้ความรู้ คือ นายวุฒิ ศีลบุตร ซึ่งมีประสบ

การจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับตนเอง

และครอบครัว จนประสบควาสำเร็จ

"เรื"ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่อย"าเกรื่อบง DD
ที่อ ่องบ้านใหม่" ได้ขับเคลื่อนงานโดยการใช้ "กลไก 4 เสาหลัก" ก"
ยากบ Dในพื้นที่ได้แก่ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน
อ "และพลังภาคราชการ พลังภาคีการพัฒนา พลังวิชาการ รวมทั้งประชาชน

ในพื้นที่ ได้ร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9

นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง

และพัฒนา” เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิต

ที่ดี ต่อมามีประชาชนผู้สนใจจากในตำบลบ่อดาน และพื้นที่ตำบลอื่น ๆ ได้เข้า

มาศึกษาดูงานด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง

ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""

"ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านใหม่ "
ถูกเลือกเป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอสทิ้งพระ" นำร่องของ
จังหวัดสงขลา มีกิจกรรมทางด้านการเกษตรในแปลง“โคก หนอง นา โมเดล”
ประธานศูนย์ฯ มีความถนัด มีความชำนาญ มาทำเป็นฐานการเรียนรู้ สามารถ
ถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี

Community Development Volunteer Leader Center

12

เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา

Community Development Volunteer Leader Center

13

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา

Community Development Volunteer Leader Center

BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดสสุุรราาษษฎฎรร์์ธธาานนีี 14

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ไร่เตียวิเศษ)

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

"รู้จักกันก่อน" “ไร่เตียวิเศษ” จัดตั้งในปี 2553 เริ่มจากทำการเกษตรเพื่อรักษ์สุขภาพ
แบบเกษตรปลอดสารพิษ โดยหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ และหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง จนปีพ.ศ. 2560 ได้เข้าร่วมโครงการ 9101 และจัดตั้ง
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส เกาะพะงัน และได้เป็นครูบัญชีอาสาของกรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ ต่อมาปี 2562 ได้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์เรียนรู้
เกษตรอินทรีย์ พีจีเอส เกาะพะงัน และเป็นศูนย์เครือข่ายประมงและปศุสัตว์
และในปี 2564 เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และได้จัดตั้งเป็น
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ในปี 2565 ถูกเลือกเป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" ระดับอำเภอ
นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ มีทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เสมอ

ททีี่่ออ"ย"ยเเาราืร่ืกอ่กอบงบงอDอDกDกD""

"ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (ไร่เตียวิเศษ)"

ถูกเลือกเป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" นำร่องของจังหวัด

สุราษฎร์ธานี ซึ่งในปี 2564 ได้รับรางวัลดีเด่น จำนวน 2 รางวัล ดังนี้

1. รางวัล "เกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรทฤษฎีใหม่ "

2. รางวัล "เกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม"

ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นวิทยากร ครูพาทำ/วิทยากรด้าน

การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

Community Development Volunteer Leader Center

ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO"" 15

จากความมุ่งมั่น ตั้งใจ "ไร่เตียวิเศษ" เป็นศูนย์เรียนรู้ศรษฐกิจพอเพียง
ต่อยอดเป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" นำร่องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เพื่อให้คนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั้งในประเทศ และชาว
ต่างประเทศ เข้ามาเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร และเรียนรู้
การทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือน และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้ตนเอง และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเป็นศูนย์จิตอาสาพัฒนา
ชุมชนที่จะบ่มเพาะผู้นำ ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้นั้นไปขยายผล
มีหน่วยงานภาครัฐ และภาคีเครือข่าย ช่วยส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดกิจกรรม
อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

Community Development Volunteer Leader Center

เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา 16

Community Development Volunteer Leader Center

17
Community Development Volunteer Leader Center

18

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Community Development Volunteer Leader Center

19

ที่ ป รึก ษ า

นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน

ค ณ ะ ผู้ จัด ทำ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางพัชรินทร์ ธรรมสาร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางกมลมณี วงศ์สว่าง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวชุติมณฑน์ อุตสาหะ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวฉายาลักษณ์ แก้วศรีพจน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวลดา นพรัตน์
นายภานุมาศ ตรีสุวรรณ

ผู้รวบรวมและเรียบเรียง

นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

นางสาวลดา นพรัตน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน

อ อ ก แ บ บ / ก ร า ฟิ ก

นางสาวสุภัสสร แสบรัมย์ นักศึกษาฝึกงาน

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

จัด ทำ โ ด ย

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

สำนักเสริมสาร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210


Click to View FlipBook Version