เรื่องดีดีที่ศูนย์
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชน
เขตตรวจราชการที่ 4
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2
ความสุขสร้างได้ ด้วย อาสา
สำนักสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ก
คำนำ
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
และถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565
โดยทำหน้าที่เป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชน และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสานงาน
ภาคีเครือข่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาในพื้นที่
ทั้ง 7 ภาคส่วน โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขับเคลื่อนด้วยการส่งเสริมผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร
และเครือข่ายงานพัฒนาชุมชนที่เป็นทุนทางสังคม ใช้ภูมิปัญญาให้เป็นพลังในการสร้างสรรค์
งานพัฒนาชุมชน พัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ เสริมสร้างอุดมการณ์การทำงานเพื่อสาธารณะ
กระตุ้นจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนส่วนรวม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบ
จิตอาสา อันจะนำไปสู่การพัฒนาและขยายผลเพื่อการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงานผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน และจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน นำร่องในพื้นที่ 76 จังหวัด เมื่อ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และขยายผลการดำเนินงานโดยกำหนดเป้าหมาย การจัดตั้งให้ครบ
ทุกตำบล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง ดำเนินการภายใต้ศักยภาพ ความพร้อม และความเข้มแข็งของชุมชน
ที่แตกต่าง และน่าสนใจ
คณะผู้จัดทำเห็นว่า การดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนในแต่ละแห่ง
เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับเคลื่อนการทำงานพัฒนาชุมชน
ในรูปแบบจิตอาสา จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด รวบรวมเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้น
ภายใต้กิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 และจัดทำเป็นเอกสารเล่มเล็ก ๆ ในชื่อ “เรื่องดีดีที่ศูนย์จิต” ศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร และเครือข่าย
งานพัฒนาชุมชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป และขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันความรู้
ประสบการณ์ และร่วมสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
เมษายน 2565
Community Development Volunteer Leader Center
สารบัญ ข
คำนำ ก
สารบัญ ข
1
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6
จังหวัดเพชรบุรี 9
จังหวัดสมุทรสงคราม 9
จังหวัดสมุทรสาคร 14
คณะผู้จัดทำ
Community Development Volunteer Leader Center
เขต 4
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดปปรระะจจววบบคคีีรรีีขขัันนธธ์์ 1
ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หมู่ที่ 4 ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
"รู้จักกันก่อน" "ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เป็น " ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน อำเภอบางสะพาน" นำร่อง
ของจังหวัดประจวบฯ ที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
โดยมี "ทีมวิทยากรปราชญ์ชาวบ้าน" ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สู่การ
ปฏิบัติได้จริง ภายใต้การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้
ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยคณะกรรมการ
ศูนย์เรียนรู้ และภาคีเครือข่ายมีการบูรณาการทำงานร่วมกัน ถ่ายทอดความรู้
ความสามารถให้แก่ ชุมชน ครัวเรือน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชน
ที่สนใจ
เป็นแหล่งบ่มเพาะ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ให้แก่คน โดยยึดถือประโยชน์
ส่วนรวม และรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างวัฒนธรรมการปลูกพืช/ปลูกผักสวนครัว
ให้เป็นวิถีชีวิต ด้วยกิจกรรม "3 สร้าง" ดังนี้
1. สร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น การปลูกผักสวนครัว ปลูกสมุนไพร
การแบ่งปันกล้าไม้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ การแปรรูป และ
ถนอมอาหาร การเลี้ยงสัตว์ เป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ ครัวเรือนโคก หนอง นา พช.
เป็นต้น
2. สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน เช่น การคัดแยกขยะ /ธนาคารขยะ /การจัดทำ
ฝายชะลอน้ำ เป็นต้น
3. สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม อาทิเช่น กิจกรรมการส่งเสริมครอบครัว
อบอุ่น/การดูแลเด็ก สตรี เยาวชน คนด้อยโอกาส/ยากจน และกลุ่มเปราะบาง
การช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโควิด-19
Community Development Volunteer Leader Center
"ทท"ีีเท่่ีรเออื่่รออือ่ยอยยงงางาากDกDกDบDบบDDอออกกก""" 2
"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
อำเภอบางสะพาน"
มีกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้
1. การจัดทำฝายชะลอน้ำ
2. ครัวเรือนต้นแบบโคก หนอง นา พช.
3. แปรรูปอาหาร เช่น ไข่เค็มสมุนไพร ผลไม้แช่อิ่ม
น้ำพริกต่าง ๆ
4. กลุ่มผ้ามัดย้อม
5. การปลูกพืชผักปลอดภัย (โรงเรือนผักกางมุ้ง)
ปั จจัยความสำเร็จ : " IDEA CAN DO"
1. คณะกรรมการศูนย์ผู้นำจิตอาสาฯ มีความรู้ความเข้าใจ
สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนในการพัฒนาชุมชนด้วยจิตสำนึกสาธารณะ และรับผิดชอบต่อ
สังคมส่วนรวม มีความเสียสละ สามัคคี และความเข้มแข็ง ในการหา
แนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถทำให้บริหารขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชนจนประสบความสำเร็จ
2. ความพร้อมของคน สถานที่ และอุปกรณ์ มีอย่างเพียงพอ
3. ยึดหลัก “บ-ว-ร” (บ้าน วัด โรงเรียน ส่วนราชการ) ทั้ง
ภาคราชการ และเอกชนในการร่วมดำเนินกิจกรรม โดย
ให้รับความร่วมมือ จากหน่วยงานภาคี ทั้ง 7 ภาคส่วนในพื้นที่
Community Development Volunteer Leader Center
3
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Community Development Volunteer Leader Center
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดเเพพชชรรบบุุรรีี 4
ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อน
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดงตากิต
บบ้้าานนดดงงตตาากกิิตต หหมมูู่่ททีี่่ ๒๒ ตตำำบบลลหหนนอองงหหญญ้้าาปปลล้้อองง ออำำเเภภออหหนนอองงหหญญ้้าาปปลล้้อองง จจัังงหหววััดดเเพพชชรรบบุุรรีี
""รูรู้จ้จัักกกกัันนกก่่ออนน"" "ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านดงตากิต"
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง ได้รับ การจัดตั้งเป็น
“ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน” ตามโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน โดยมี "นายเจน ป้อมสิงห์" เป็นประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาฯ
โดยเป็นสถานที่บ่มเพาะภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชน และการบริหารจัดการชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นศูนย์ประสาน
งานภาคีเครือข่าย จิตอาสาพัฒนาชุมชนระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และ
ภาคีการพัฒนาในพื้นที่ทั้ง ๗ ภาคส่วน มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการส่งเสริมผู้นำชุมชน
กลุ่ม องค์กร เครือข่ายงานพัฒนาชุมชนที่เป็นทุนทางสังคม ใช้พลังภูมิปัญญาให้เป็นพลัง
ในการสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ
รวมถึงการพัฒนาภาวะผู้นำ สร้างเสริมอุดมการณ์ทำงานเพื่อสาธารณะ ในรูปแบบผู้นำ
จิตอาสาพัฒนาชุมชน มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน สามารถ ททีที่ที่อี่อ่ออย"ย"ย"ยเา"เารเาืรกเา่ืรกอ่ืรกอ่ืกบอ่บองบงบององอDอDกDกDกกD"D"D""
สร้างภาวการณ์การเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมร่วมกันในชุมชน
มีการส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนส่งเสริม และพัฒนาทักษะ
การดำรงชีวิต ทำให้เกิดจุดเรียนรู้ เพื่อให้สมาชิกศูนย์ฯ และผู้ที่สนใจ
ได้ศึกษาและนำไปประยุคใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีฐานเรียนรู้ 6 ฐาน
ดังนี้ 1. ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
2. ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน (ไร่พูนใจ)
3. ฐานเรียนรู้บ้านสวนกาแฟสด(การทำเกษตรผสมผสาน
การทำปุ๋ยอินทรีย์ การเก็บ คั่ว บด เมล็ดกาแฟ
4. ฐานเรียนรู้ตุ๊กตาเรซิ่น
5. ฐานเรียนรู้การจักสาน(การจักสานสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น
ตะกร้า กระเช้า กระจาด สุ่มไก่)
6. ฐานเรียนรู้การทำน้ำหมัก(การทำน้ำหมักชีวภาพจากพืช/
สัตว์/เศษอาหาร)
Community Development Volunteer Leader Center
ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO"" 5
1. ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร
ภาคประชาชน มีจิตเสียสละ แบ่งปัน
อาสาลงมือช่วยเหลือครัวเรือน อื่น ๆ ที่ประสบปัญหา
โดยไม่หวังผลตอบแทน
2. ผู้นำในชุมชน ประชาชนในหมู่บ้าน มีการน้อมนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ในการ
ดำเนินชีวิต และมีปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ สามารถถ่ายทอดให้
กับผู้ที่มาเรียนรู้ได้
3. คณะกรรมศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
มีประสบการณ์ สามารถถ่ายทอดให้ผู้ศึกษาดูงาน
เข้าใจได้เป็นได้อย่างดี
Community Development Volunteer Leader Center
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา 6
การจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
Community Development Volunteer Leader Center
7
การประชุมคณะกรรมการ
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
Community Development Volunteer Leader Center
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดสสมมุุททรรสสงงคครราามม 8
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านบางสะแก
บบ้้าานนบบาางงสสะะแแกกหหมมุุ่่ททีี่่ 66 ตตำำบบลลบบาางงสสะะแแกก ออำำเเภภออบบาางงคคนนททีี จจัังงหหววััดดสสมมุุททรรสสงงคครราามม
"รู้จักกันก่อน" "ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนบ้านบางสะแก"
เป็นศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน นำร่องของ
จังหวัดสมุทรสงคราม มี"นายมนัส บุญพยุง" เป็นประธานผู้นำจิต
อาสาพัฒนาชุมชน มีการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงใน
ภาพรวมระดับตำบล มาเป็นระยะเวลานาน โดยผู้นำจากทุกหมู่บ้าน
เข้าร่วมกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง บ้านบางสะแก เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอด
หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่
ประชาชนผู้สนใจทั้งใน และนอกพื้นที่ จึงได้ดำเนินการ จัดตั้งเป็น
ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน บ้านบางสะแก เพื่อการบริการประชาชน
ให้ครบวงจรและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่ "เรื่อ"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนบ้านบางสะแก" เป็นจุด
อยา ง Dศูนย์กลางชุมชน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกัน ของ
กบ Dศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ของจังหวัดสมุทรสงคราม โดย
อก"การดำเนินการร่วมกับเครือข่ายโคก หนอง นา โมเดล
จังหวัดสมุทรสงคราม ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยกิจกรรม
“เอามื้อสามัคคี เราทำความดีด้วยหัวใจ” โดยในการจัดกิจกรรมเป็นการสร้าง
การเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการเอามื้อสามัคคี อย่างน้อยเดือนละครั้ง จะมีการเวียน
ไปยังบ้านของสมาชิกเครือข่ายที่มี ความประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรมมีการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
มีแผนการดำเนินงานกิจกรรมเป็นรูปธรรม
Community Development Volunteer Leader Center
9
ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""
1. มีภาวะผู้นำ และการมีเครือข่าย ทำให้ได้รับความ
ร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการส่วนร่วมในการดำเนิน
กิจกรรมในพื้นที่
2. สร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน จึงจะสำเร็จ
3. การใช้กลไกเครือข่ายโคก หนอง นา โมเดลในการขับ
เคลื่อนกิจกรรมของศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน สร้างการ
สร้างการรับรู้ และขยายวงกว้าง และการให้ความร่วมมือของ
คนในชุมชน
Community Development Volunteer Leader Center
10
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม
Community Development Volunteer Leader Center
BBEESSTT PPRRAACCTTIICCEE :: ศศ..จจออสส..พพ..จจัังงหหววััดดมมุุททรรสสาาคครร 11
ครัวเรือนต้นแบบ โคก หนอง นา พช.
หหมมูู่่ททีี่่ 11 บบ้้าานนหหลลัักกสสีี่่ ตตำำบบลลหหนนอองงบบััวว ออำำเเภภออบบ้้าานนแแพพ้้วว จจัังงหหววััดดสสมมุุททรรสสาาคครร
"รู้จักกันก่อน" “ครัวเรือนต้นแบบ โคก หนอง นา พช.” หมู่ที่ 1 บ้านหลักสี่
ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ได้น้อมนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และ
กิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ มีการรวมกลุ่มคนในพื้นที่รักถิ่นบ้านเกิด
เพื่อสงวนพันธุ์ไม้พื้นถิ่น และร่วมรณรงค์การปลูกพืชผักสวนครัว/
สมุนไพร โดยใช้ภูมิปัญญาการเกษตรพื้นที่ดินเค็ม เป็นแหล่งเรียนรู้
ให้คนในชุมชน และใกล้เคียง รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจ เข้ามาเรียนรู้
จนได้ถูกคัดเลือกเป็น"ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน" นำร่องของ
จังหวัดสมุทรสาคร
“ครัวเรือนต้นแบบ โคก หนอง นา พช.” ททททีีีี่่่่ออออยยยย""""าาาาเเเเกกรรืืกกรร่่ืืออ่่บบออบบงงอองงออDDกกDDกกDD""DD""
เป็นพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน การใช้พลังงาน
แสงอาทิตย์ การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และใช้ภูมิปัญญาในการเกษตร พื้นที่ดินเค็ม
รวมถึงการปลูกพืชสมุนไพรของไทย เพื่อพันธ์ไม้ต่าง ๆ ในชุมชน ไม่ให้สูญพันธุ์
สืบทอดความรู้ต่าง ๆ ให้กับเด็ก/เยาวชนคนรุ่นต่อไป ให้เห็นถึงคุณค่าประโยชน์ของ
สมุนไพร มีการถ่ายทอด และจัดเก็บองค์ความรู้ นำองค์ความรู้ไปยังสถานศึกษาเพื่อ
ให้เด็ก และคนในหมู่บ้าน และตำบลใกล้เคียง ในชุมชนเรียนรู้ ซึ่งศูนย์ผู้นำจิตอาสา
พัฒนาชุมชนครัวเรือนต้นแบบ โคก หนอง นา พช.จังหวัดสมุทรสาครสามารถเป็น
แกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปปััจจจจััยยคคววาามมสสำำเเรร็็จจ :: "" IIDDEEAA CCAANN DDOO""
คนในหมู่บ้าน ตำบล มีการประชุมแลกเปลี่ยน และพบปะกัน
รวมทั้งมีการแสวงหาความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นประจำ
ทำให้เกิดประสบการณ์การทำงาน และคนในหมู่บ้าน ตำบลเล็งเห็น
ประโยชน์ ของการจัดตั้งศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน ภายในชุมชน
Community Development Volunteer Leader Center
เเรรืื่่อองงรราาววขขอองงเเรราา 12
เปิดศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
Community Development Volunteer Leader Center
13
กิจกรรมเรียนรู้บ่มเพาะ ภาวะผู้นำ ทักษะชีวิต
ทักษะอาชีพ ที่ให้บริการประชาชน
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร
Community Development Volunteer Leader Center
14
ที่ ป รึก ษ า
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
ค ณ ะ ผู้ จัด ทำ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางพัชรินทร์ ธรรมสาร นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางกมลมณี วงศ์สว่าง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวชุติมณฑน์ อุตสาหะ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวฉายาลักษณ์ แก้วศรีพจน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
นางสาวลดา นพรัตน์
นายภานุมาศ ตรีสุวรรณ
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
นางสาวพิมพ์ชนา พิชาพันธ์โภคิน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
นางสาวลดา นพรัตน์ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน
อ อ ก แ บ บ / ก ร า ฟิ ก
นางสาวสุภัสสร แสบรัมย์ นักศึกษาฝึกงาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์
จัด ทำ โ ด ย
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
สำนักเสริมสาร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ราการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210