The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by forwork sentwork, 2021-09-16 09:59:22

การใช้แรงงาน

การใช้แรงงาน

การใช้แรงงาน
ทั่วไปตาม

พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน

พ.ศ. 2541

สารบัญ

เรื่องน่าสนใจ หน้า

การใช้แรงงานทั่วไปตามพระราชบัญญัติ 3-4
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
5-6
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 7-8
มาตราที่ 23-37
9-10
นักศึกษาคิดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มีความสำคัญต่อตนเองอย่างไร ?

สาระสำคัญโดยสรุปของกฏหมาย

การใช้แรงงานทั่วไปตามพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

ศึกษาเปรียบเทียบ กับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจเอกชนทั้งภาคอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม และการบริการที่กำลังเติบโตของประเทศ โดยรัฐมีมาตรการทางกฎหมายในการ ให้
ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้แรงงานโดยมีการกำหนดวันทำงานปกติ ชั่วโมงการทำงาน การทำงาน ล่วงเวลา
เวลาพัก วันหยุด และวันลา สำหรับผู้ใช้แรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงาน ระหว่างประเทศ
คือ อนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Conventions band Recommendations
of International Labor Organization)

นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการตรากฎหมายคุ้มครองแรงงานในรูปของพระราชบัญญัติแรงงาน
พ.ศ.2499 จนถึงประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2515 ซึ่งใช้ บังคับมาเป็น
เวลานาน บทบัญญัติบางประการของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ในปัจจุบัน
ประกอบกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานที่ออกตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 โดยให้
อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2515 อันมีฐานะเป็นกฎหมายลำดับรอง ดังนั้นเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความ เป็นธรรมและเหมาะสมกับ
สภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ออก
มาใช้บังคับแทนประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ.2515 เช่น กำหนดให้ลูกจ้าง
มีสิทธิลาเพื่อทำหมันและหยุดงานได้ตามที่แพทย์กำหนด และออกใบรับรอง (มาตรา 32)กำหนดให้
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (มาตรา 34) กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาฝึกอบรม
หรือพัฒนาความรู้ความสามารถที่กำหนดไว้ในกฎ กระทรวง (มาตรา 36) ซึ่งมิได้มีการบัญญัติไว้ใน
ประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ.2515 หรือนายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงาน
ทุกประเภทไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เว้นแต่งานที่เป็นอันตรายต่อ
สุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวันและไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (มาตรา
23) แตกต่างไปจากกฎหมาย คุ้มครองแรงงานฉบับเดิม คือ กำหนดตามประเภทของงานสำหรับงาน
อุตสาหกรรม กำหนดให้ ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

จาตุรนต์ แก่นศึกษา / 2541

การใช้แรงงานทั่วไปตามพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

ศึกษาเปรียบเทียบ กับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

(ข้อ 3(1) งานขนส่งทางบกไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
(ข้อ 3(2) งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างไม่เกิน วันละ 42 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์
(ข้อ 3(3) งานพาณิชยกรรมหรืองานอื่นๆ ไม่เกินสัปดาห์ละ 54 ชั่วโมง
(ข้อ 3(4) หรือ การกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
โดยได้รับค่าจ้าง (มาตรา 32) ซึ่ง แตกต่างไปจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับเดิมคือ กำหนดให้
ลูกจ้างลาป่วยได้เพียงปีละ 30 วันทำงาน รวมทั้งงานเกษตรกรรม งานประมงทะเล งานบรรทุกหรือขนถ่าย
สินค้าเรือเดินทะเล งานที่รับไปทำที่บ้าน งานขนส่งทางบก และงานอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
จะกำหนดใน กฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานกรณีต่างๆ แตกต่างไปจากพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
(มาตรา 22) โดยให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกกฎกระทรวง เพื่อ
ให้ ความคุ้มครองแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงานบางประเภทเป็นพิเศษมากกว่าการใช้แรงงานทั่วไป จึง เห็นได้
ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้มีการแก้ไขตลอดจนปรับปรุงส่วนของ การใช้แรงงาน
ทั่วไปให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทั่วไปที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเฉพาะ
บทบัญญัติในหมวด 2 เรื่องการใช้แรงงานทั่วไป ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เปรียบ
เทียบกับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายคุ้มครองแรงานของ
ประเทศบรูไน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงค์โปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อหา
แนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสม มาแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับอนุสัญญาและ ข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้มี
ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากฎหมายคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมกับสภาพ
เศรษฐกิจในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ยังไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญา และข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในบางเรื่อง สมควรที่จะมีการให้สัตยาบันและ
รับข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ มาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ต่อไป

จาตุรนต์ แก่นศึกษา / 2541

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 23-37

มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้าง ทราบโดยกำหนด
เวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวัน ของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลา
ทำงานของแต่ละประเภทงาน ตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน
แปดชั่วโมงและเมื่อรวม เวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปด
ชั่วโมง เว้นแต่ งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างที่
กำหนดในกฎกระทรวง จะมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกิน เจ็ดชั่วโมง แต่เมื่อ
รวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน สี่สิบสองชั่วโมง

ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลา สิ้นสุดของการ
ทำงานแต่ละวันได้เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลง
กันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกิน แปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้ง
สิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่ เกินสี่สิบแปดชั่วโมง
มาตรา 24 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวัน ทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป
ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่น ตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วง เวลาได้เท่าที่จำเป็น
มาตรา 25 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เว้นแต่ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้า
หยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น
ในนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้สำหรับกิจการ โรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขาย
เครื่องดื่มสโมสรสมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่าย และ
การบริการ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงาน นอกจากที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง และสองในวันหยุดเท่าที่จำเป็น โดยได้รับความยินยอม
จาก ลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป
มาตรา 26 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาตาม มาตรา 24 วรรคหนึ่ง และชั่วโมงทำงานในวันหยุดตาม มาตรา 25 วรรคสอง และ
วรรคสาม เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินอัตราตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
มาตรา 27 ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้าง มีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลัง จาก
ที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน นายจ้าง และลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่า หนึ่ง
ชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่ง ชั่วโมง
ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่าง การทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ถ้าข้อตกลงนั้นเป็น
ประโยชน์ แก่ลูกจ้าง ให้ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้
เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้น แต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง ให้นับ
เวลาที่เกิน สองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ
ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อย กว่าสองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า
ยี่สิบ นาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้าง ทำงานที่มีลักษณะ หรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดย
ได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน
มาตรา 28 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวันโดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมี
ระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วง หน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานใน ที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นายจ้าง และลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และ เลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่
สัปดาห์ติดต่อกัน

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 23-37

มาตรา 29 ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตาม ประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า สิบสามวัน
โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรี ประกาศกำหนด

ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจาก วันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือ ขนบธรรมเนียม
ประเพณีแห่งท้องถิ่น

มาตรา 30 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมี สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้
นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือ กำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
ในายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อน วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ

ไปได้
สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนด วันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วน

ก็ได้
มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดในงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความ

ปลอดภัยของลูกจ้างตาม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การ ลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบ

รับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาล ของทางราชการในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์
แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

มาตรา 33 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลา เนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
กำหนดและออกใบรับรอง

มาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
มาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารในการ เรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความ

พรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
มาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนา ความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ

กระทรวง
มาตรา 37 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินอัตราน้ำหนักตามที่ กำหนด

ในกฎกระทรวง

นักศึกษาคิดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มีความสำคัญต่อตนเองอย่างไร ?

ให้รู้เกี่ยวกับกำหนดมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานขั้นต่ำที่นายแจ้งพึ่งประปฏิบัติต่อลูกจ้าง
และเพื่อให้การบริหารการคุ้มครองแรงงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นาย ภัทธณกรณ์ พรมรักษ์ เลขที่ 13 กลุ่ม 7

มีความสำคัญ เพื่อเพิ่มสิทธิ์ให้ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน หรือ ลากิจ ลาป่วย
ให้สิทธิเท่าเทียมกันเป็นต้น

นาย นพรัตน์ สีเทพ กลุ่ม8 เลขที่9

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นั้นมีความสำคัญในการคุ้มครองด้านการจ้างงาน ถ้า

เราเป็นลูกจ้าง จะมีความสำคัญในการปกป้องการเสียเปรียบต่อนายจ้างที่อาจจะใช้แรงงาน

ลูกจ้างที่มากเกินไป หรือการกำหนดหน้าที่และค่าจ้างที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงวิธีการเลิกสัญญา

และค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ในขณะที่เราเป็นนายจ้าง พระราชบัญญัตินี้จะคอยกำหนดมาตราฐานที่

นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้างได้อย่างเหมาะสม ทำให้การจ้างงานนั้นไม่เกิดปัญหาและดำเนินต่อ

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสหรัฐ อุตมา กลุ่ม7 เลขที่19

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่มีในชีวิตประจำวัน การที่นายจ้างมีการจ้างงาน แล้วเราเป็น
ลูกจ้าง ก็อยากให้มีการป้องกันเพื่อกับโดนเอาเปรียบต่อลูกจ้าง อยากให้มีการคุ้มครองลูกจ้างจาก
การโดนเอาเปรียบของนายจ้าง และการหยุด หรือลาของลูกจ้าง อยากให้นายจ้างเข้าใจเหตุผล
ของลูกจ้างและจ่ายเงินเดือนตามที่ตกลงกับลูกจ้างตั้งแต่ว่ายังไง

นาย นิติภูมิ สารีเครือ เลขที่ 11 กลุ่ม 7

นักศึกษาคิดว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มีความสำคัญต่อตนเองอย่างไร ?

การที่มีกฎหมายแรงงานนั้นมีประโยชน์ต่อลูกจ้างและนายจ้างเพื่อไม่ให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอา
เปรียบกันได้ โดยเฉพาะฝ่ายของลูกจ้างที่อาจเสี่ยงต่อการทำงานฟรี และหากคุณมีสิทธิที่จะใช้วัน
ลาก็จะใช้ให้คุ้มและหากโดนเลิกจ้างก็ควรจะได้รับเงินตามที่ควรจะเป็นตามที่กฎหมายนั้นกำหนด
ไว้ และอย่ายอมให้ใครมาใช้แรง ใช้ความรู้เราไปฟรีๆ หากบริษัทไหนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
แรงงานที่กำหนดนั้นก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดซึ่ง จะมีการได้รับโทษตามสมควร และทุกคน
ควรจะทราบถึงกฎหมายเอาไว้ เมื่อเกิดเหตุการหรือเวลาอะไรขึ้นมาเราจะมองเห็นในส่วนที่เรา
ควรจะได้รับตามสมควร

นาย จิรพัฒน์ กันทะมี เลขที่2กลุ่ม7

ว่าคิดว่าากฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้นเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ลูกจ้าง จะต้องได้รับดังนั้นเมื่อลูกจ้าง
ได้รับสิทธิหรือประโยชน์ตามกฎหมายฯ แล้วลูกจ้างก็ยังคงมีสิทธิได้รับสิทธิ ประโยชน์ตาม
กฎหมายอื่น ๆ อีก อาจจะกล่าวโดยสรุปได้ว่าการให้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครอง
แรงงานไม่เป็นการตัดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่นที่ลูกจ้างจะได้รับ

นายพิชญ ก้องภิดากร กลุ่ม7 เลขที่12

สาระสำคัญโดยสรุปของกฏหมาย

1. กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อาทิเช่น
1.1 การใช้แรงงานทั่วไปซึ่งประกอบด้วยเรื่องเวลาปกติ และจำนวนชั่วโมงทำงานปกติ หลักเกณฑ์
และจำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด และเวลาพัก
1.2 การใช้แรงงานหญิง และการใช้แรงงานเด็ก
1.3 การจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน
1.4 วิธีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน
1.5 กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อห้ามที่ให้
นายจ้างกระทำในเรื่อง ต่าง เกี่ยวกับการใช้ แรงงาน

2. กำหนดหน่วยงาน และกลไกที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ฯ อาทิเช่น
2.1 คณะกรรมการต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน คณะ
กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ และจำนวนของพนักงานตรวจแรงงานในส่วนที่เกี่ยว
กับ การบังคับใช้กฎหมาย

2.2 กำหนดช่องทาง และวิธีการของลูกจ้างในการด าเนินการในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงินตามที่
กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง

นายจ้างและลูกจ้างตามความหมายของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การเป็นนายจ้างและลูกจ้างต่อกันนั้นนอกจากจะต้องพิจารณาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จ้าง
แรงงาน แล้ว ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังได้ให้ความหมายของการเป็นนายจ้างและลูกจ้าง
การห้ามเรียกหรือรับหลักประกันฯ ในการทำงาน

สาระสำคัญโดยสรุปของกฏหมาย

การห้ามเรียกหรือรับหลักประกันฯ ในการทำงาน
หลักทั่วไปกฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือ

หลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือการค้ำประกัน
ด้วยบุคคลแต่ยกเว้นในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงิน
หรือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ก็ให้นายจ้างเรียกหรือรับ
หลักประกันจากลูกจ้างได้แต่ในกรณีแรงงานเด็กนั้นกฎหมายฯ ห้ามเรียกหลักประกันทุกกรณีแม้ว่า
แรงงานเด็ก ดังกล่าวจะทำงานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างก็ตาม โดยลักษณะหรือ
สภาพของงานที่ให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้างได้ตลอดจนจำนวนเงินและวิธีการ
เก็บรักษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ความรับผิดของนายจ้างในกรณีของการจ้างทำของ

กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรานี้เป็นเรื่องของ “การจ้างทำของ” ที่ผลสำเร็จของงานคือ “ผู้รับ

จ้าง” จะต้องส่งมอบแรงงานให้กับ “ผู้ว่าจ้าง” ตามจำนวนแรงงานที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน โดย “ผู้ว่าจ้าง”

นั้นไม่ได้ เป็นผู้ควบคุมแลการทำงานลูกจ้างที่ “ผู้รับจ้าง” ส่งมอบแต่อย่างใด แต่ “ผู้รับจ้าง” จะเป็นผู้

ควบคุมดูแลการ ทำงานของลูกจ้างงานที่ได้ส่งมอบให้กับ “ผู้ว่าจ้าง” โดยมีข้อพิจารณาดังนี้

1. กรณีดังกล่าวถ้าพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะพบว่าเป็นเรื่องของการ “จ้าง

ทำของ” แต่มีลักษณะพิเศษคือ ผลสำเร็จของงาน คือการส่งมอบแรงงานให้ครบตามจำนวนที่ตกลง

กันซึ่งเรียกการจ้างลักษณะนี้ว่าการจ้างท าของโดย “วิธีเหมาค่าแรง”

2. “ผู้ว่าจ้าง” ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จ้างแรงงาน

กับลูกจ้างของ “ผู้รับจ้าง” ที่ได้มีการส่งมอบให้กับ “ผู้ว่าจ้าง” แต่อย่างใด ซึ่งตามกฎหมาย ฯ ผู้ที่เป็น

นายจ้างของแรงงานที่ส่งมอบให้กับ “ผู้ว่าจ้าง” ก็คือ “ผู้รับจ้าง” 3. ประเด็นที่สำคัญก็คือในกรณีที่ “ผู้

ว่าจ้าง” ทำการยกเลิกสัญญาจ้างทำของกับ “ผู้รับจ้าง” ผลที่ ตามมาก็ คือลูกจ้างของ “ผู้รับจ้าง” ก็จะไม่มี

งานทำและนำมาสู่การที่ “ผู้รับจ้าง” ก็จะไปเลิกจ้างลูกจ้างของ ตนอีกทอดหนึ่ง ซึ่งตามกฎหมาย

คุ้มครองแรงงานลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตาม กฎหมายฯ จากนายจ้างของตน

แต่ในสภาพความเป็นจริงแม้ว่าลูกจ้างจะชนะคดีแต่ก็ไม่สามารถบังคับคดี กับนายจ้างของตนได้

เนื่องจากนายจ้างของตนที่เป็น “ผู้รับจ้าง” มักจะไม่มีทรัพย์สินมากพอที่จะน่ามาจ่าย ค่าชดเชยได้

เนื่องจากไม่มีโรงงาน ไม่มีเครื่องจักร และทรัพย์สินเพียงพอเพราะเป็นเพียงผู้รับจ้างทำของให้

ลักษณะของ “ผู้รับเหมาค่าแรง” ที่ลักษณะการทำงานที่สำคัญคือ การส่งมอบแรงงานตามจำนวนที่

ตกลง กันกับ “ผู้ว่าจ้าง” และไปควบคุมดูแลลูกจ้างของตนให้ทำงานให้กับ “ผู้ว่าจ้าง” ตามที่ตกลงกัน

THANG YOU


Click to View FlipBook Version