The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานอบรมการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ-ครั้งที่16

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 1450800074828, 2022-07-05 07:41:14

รายงานอบรมการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ-ครั้งที่16

รายงานอบรมการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ-ครั้งที่16

รายงานผลการประชมุ ทางวชิ าการ
การวิจยั ทางการศกึ ษาระดบั ชาติ ครงั้ ท่ี 16

นางสาวนงคธ์ ญิ า มลากรรณ์
ตำแหนง่ ครู

กลุม่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

โรงเรียนฆอ้ งชัยวิทยาคม
สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศึกษามัธยมศึกษา กาฬสินธ์ุ

สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

บันทึกขอ้ ความ

สว่ นราชการ โรงเรยี นฆอ้ งชัยวทิ ยาคม อำเภอฆอ้ งชยั จงั หวัดกาฬสินธุ์
ท่ี ......................... วันที่ 18 สงิ หาคม ๒๕๖๔
เร่อื ง รายงานผลการประชุมทางวิชาการ การวจิ ัยทางการศึกษาระดับชาติ คร้งั ท่ี 16

เรียน ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นฆอ้ งชยั วทิ ยาคม
ข้าพเจา้ นางสาวนงคธ์ ญิ า มลากรรณ์ ตำแหนง่ ครู กล่มุ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไดต้ ระหนกั และเห็นความสำคญั ต่อการพัฒนาตนเองในด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ จงึ ไดเ้ ข้าร่วมการประชุม
ทางวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งท่ี 16 “นวัตกรรมการศึกษา : กล้าเปลี่ยน สร้างสรรค์
ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย” ระหว่างวันที่ 26 - 27 สิงหาคม 2564 จัดโดย สภาการศึกษา
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และรับชมผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการนำไป
ประยกุ ต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถนำไปใชใ้ นการพฒั นาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

บัดน้ี ข้าพเจ้าได้อบรมเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีร่องรอยหลักฐานการเข้าร่วมการรับฟัง
ในหวั ข้อตา่ ง ๆ ดังเอกสารทแ่ี นบมาพร้อมนี้

จงึ เรียนมาเพอ่ื โปรดทราบ

ลงชอ่ื …………………………………………..ผู้รายงาน
(นางสาวนงคธ์ ิญา มลากรรณ์)
ตำแหน่ง ครู

ความเหน็ ของผู้อำนวยการสถานศึกษา
............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................

ลงชือ่ ………………………………………………
(นางรติกรณ์ แสบงบาล)

ผู้อำนวยการโรงเรียนฆอ้ งชยั วิทยาคม

สรปุ ผลการประชมุ

วันนี้ (๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง)
เป็นประธานเปิดการประชุมการวจิ ัยทางการศึกษาระดับชาติของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ครั้งที่
๑๖ "นวัตกรรมการศึกษา : กล้าเปลี่ยน สร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย" (OEC Symposium)
โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) พร้อมคณะผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา (สกศ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เครือข่ายวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน
เครือข่ายระบบออนไลนภ์ ายใตม้ าตรการปอ้ งกนั การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-
๑๙) โดยสำนักส่อื สารองคก์ ร สกศ. ถา่ ยทอดสดผา่ นส่อื ดจิ ทิ ลั Facebook live, YouTube, Line, Blockdit :
OEC News สภาการศกึ ษา ระหวา่ งวนั ท่ี ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า การวิจัยและ
พัฒนานวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย ๔.๐
ดังนั้น ควรมุ่งเน้นบุคลากรที่มีความสามารถสร้างเครือข่ายการทำวิจัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบเปิดที่บูรณาการวิจัยร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนา
ศกั ยภาพการเรียนร้ขู องคนทุกชว่ งวัยเป็นการปฏิรปู การศกึ ษาทม่ี ีความหลากหลาย และสง่ เสริมกระตุ้นให้นำ
งานวจิ ยั และนวัตกรรมทางการศกึ ษาไปใช้พฒั นาการจัดการเรียนรูท้ ่มี ีประสิทธภิ าพ

ดร.อำนาจ วิชยานุวตั ิ เลขาธิการสภาการศกึ ษา กล่าววา่ สกศ. ส่งเสรมิ และกระต้นุ งานวิจัยทางการศึกษา
นำไปสกู่ ารพัฒนานโนบายการศกึ ษาของชาติ พร้อมขับเคลื่อนใช้งานวิจัยตอ่ ยอดพัฒนาการศกึ ษาต่อยอดการ
พฒั นาประเทศไทยอยา่ งมั่นคง มง่ั ค่ัง และย่ังยนื โดยวตั ถุประสงค์ OEC Symposium คร้งั ที่ ๑๖ เพอ่ื เป็นเวที

ทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย เผยแพร่องค์ความรู้ และส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่นักวิจัยเพื่อยกระดับ
คุณภาพการศึกษา ปีนี้มีผู้ส่งผลงานวิจัยจำนวน ๓๘๕ เรื่อง ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๘๕
เรื่อง และได้รับการยกย่องเป็นงานวจิ ยั ดีเด่น จำนวน ๔ เรือ่ ง งานวิจยั ระดับชมเชย จำนวน ๔ เรือ่ ง

ความพิเศษของ OEC Symposium เป็นปีแรกที่มีการประชุมผ่านสื่อดิจิทัลในสถานการณ์โควิด-๑๙
พร้อมจัดนิทรรศการ บรรยายพิเศษ ผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ นำเสนองานวิจัยที่มีความหลากหลายตอบสนอง
การศึกษาตลอดชีวิตของทุกชว่ งวัย เน้นงานวิจยั คุณภาพ มีการอภิปรายงานวิจยั ทัง้ ระดับปฐมวัย การศึกษา
ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษาที่เน้นพัฒนากำลังคน ส่งเสริมการศึกษาผู้สูงวัย ผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การ
ผลิตพฒั นาครู และพัฒนาเทคโนโลยีการเรียนการสอน ส่งเสริมผเู้ รียนสรา้ งการมสี ่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อลด
ความเหลื่อมล้ำ ทั้งยังได้รับความร่วมมืออยา่ งดีจากภาครัฐเป็นเจ้าภาพร่วมและส่งผลงานสร้างสรรค์ที่เป็น
แนวปฏิบตั ทิ ่ีดี ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนอนเุ คราะห์เนื้อหาในการจัดแสดงนิทรรศการออนไลน์ องค์การ
ทุนเพือ่ เด็กแห่งสหประชาชาติ (ยนู เิ ซฟ) ประเทศไทยสนบั สนนุ การแลกเปล่ยี นองค์ความรู้ในการจัดการศึกษา
สอดรับสถานการณ์โควิด-๑๙ สกศ. คาดหวงั วา่ จะเป็นประโยชนต์ อ่ การพฒั นางานวิจยั การศึกษาเพื่อส่งผลต่อ
การพฒั นาประเทศท่กี ้าวหนา้ ต่อไป

โอกาสนี้ในการบรรยายพิเศษเรือ่ ง "เทคโนโลยีและนวตั กรรมการศกึ ษาในยุคดิจทิ ัล" คุณหญิง
ดร.กัลยา โสภณพนชิ รัฐมนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงศึกษาธกิ าร กล่าวตอนหนง่ึ ว่า สถานการณ์โควดิ -๑๙ สง่ ผล
กระทบตอ่ คนทุกช่วงวยั ความพร้อมของครู นักเรียน ผปู้ กครอง และระบบการศึกษา ยงั ตอ้ งการปรบั ตัวอย่าง
มโหฬาร โดยนอ้ มนำพระราชดำรัส สมเดจ็ พระกนิษฐาธิราชเจา้ กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรม
ราชกมุ ารี ในการพระราชทานรางวลั สมเด็จเจ้าฟา้ มหาจักรี คร้ังท่ี ๓ ปี ๒๕๖๒ ความว่า "ครู คือ ปจั จัยสำคัญ
ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ครู คือ มนุษย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่จะ
พัฒนาคุณลกั ษณะของตนเองและสรา้ งค่านยิ มต่าง ๆ ใหเ้ กิดขน้ึ ไมม่ ีเทคโนโลยีใด ๆ สามารถมาแทนท่ีครูได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครทู ี่ดีจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้
เปน็ พลเมอื งท่ีดแี ละมคี วามสามารถ ท้ังในระดบั ชาตแิ ละระดับเป็นพลเมืองของโลกด้วย”

อย่างไรก็ดี ไม่เชื่อว่าเด็กจะเรียนและเติบโตมากับคอมพิวเตอร์ได้เพียงอย่างเดียว แต่พ่อแม่
จำเป็นตอ้ งเล้ียงลกู ด้วยคนและคอมพวิ เตอรไ์ ปพร้อมกันได้ การเรยี น Online เป็นเพียงส่วนหน่งึ เท่านั้น ยังมี
รูปแบบการเรียนอื่น ๆ ทั้ง On Hand หรือ On Site พ่อแม่ควรสละเวลาสร้างมนุษยสัมพันธโ์ ดยสอดแทรก
คุณธรรมจริยธรรมอยูก่ ับลูกด้วย เทคโนโลยีมีส่วนดีมากแต่ควรส้รางให้เกิดความเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน
ของเด็กด้วย ตัวอย่างในจีนให้เด็กเรียนออนไลน์แค่ ๒๐ นาที แต่มอบหมายให้เด็กไปคิดหาวิธีช่วยลดภาระ
ของพ่อแม่ เช่น การล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน ไม่เป็นภาระของพ่อแม่ ที่แคนาดา จัดสรรงบประมาณให้
เดก็ ได้นันทนาการนอกบ้านส่งเสรมิ การเรียนรู้ เล่านิทาน เที่ยวสวนสาธารณะ สง่ เสริมการเรียนรสู้ ภาพรอบตวั
เล่นเป็นและมีความรู้ ตั้งโจทยใ์ ห้เด็กคิดและลงมือทำ ใช้เวลาแค่ ๕ - ๑๐ นาที ใช้อุปกรณ์เครือ่ งครัวในบา้ น
เป็นส่อื การสอนเดก็ อยา่ งสนกุ และสรา้ งสรรค์

นอกจากน้ี ในฐานะรฐั มนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงศกึ ษาธิการ ได้ขบั เคลอ่ื นนโยบาย Coding For All
อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๒ ปี ประสบความสำเร็จ มีคณะทำงานและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนใน
หลายภาคส่วนอย่างเป็นระบบ แม้จะเผชิญกับสถานการณ์การโควิด-๑๙ แต่สามารถขับเคลื่อนนโยบายได้
อย่างรวดเรว็ โดยมเี ปา้ หมายท่ีตอ้ งการเร่งกระจายการเรียนรู้ Coding ไม่เฉพาะแตค่ รแู ละนักเรียนเท่านน้ั แต่
ต้องกระจายไปสู่ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ทุกช่วงวัยให้ได้มากที่สุด เชื่อว่า Coding คือ ทางรอดของทุกเรื่อง ทาง
รอดของทุกวิกฤตหากมีความรู้เรื่อง Coding แล้วจะเผชิญหน้าและผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ต้องเร่งสร้างองค์
ความรู้และปลูกฝัง Coding ให้กับประชาชนทุกภาคส่วน โดยใช้ภาคการศึกษานำและใช้กลไก
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการขบั เคลือ่ นนโยบายอย่างตอ่ เน่ือง

OEC Symposium ครั้งที่ ๑๖ จัดการประชุมต่อเนื่องระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผ่าน
ระบบออนไลน์ ประกอบด้วย ๑ ห้องหลัก และ ๖ ห้องย่อย วันแรกมีการเสวนาวิชการ เรื่อง "นวัตกรรม
การศึกษา : กล้าเปลี่ยน สร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย" ได้รับเกียรติ ดร.สุภัทร จำปาทอง
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา ดร.คมกฤช จันทร์ขจร ผ้ชู ่วยเลขาธกิ าร
สภาการศึกษา ดำเนินรายการ โดยแบง่ หัวขอ้ การนำเสนอผลงานวิชาการอย่างหลากหลาย เปดิ โอกาสผู้สนใจ
สามารถเลอื กคลิ๊กลิงก์เข้าร่วมแลกเปลย่ี นเรียนรใู้ นหัวข้อท่ีสนใจ อาทิ การจัดการศกึ ษาปฐมวยั เด็กท่ีมีความ
ต้องการพิเศษ การจัดการศกึ ษาเพ่ือตอบสนองการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ หลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้
การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาการพัฒนาอาชีวศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ความร่วมมือด้านการศึกษาของยูนิเซฟ การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การมี
ส่วนรว่ มทางการศึกษา และการขับเคลื่อนงานวิจยั เพ่อื พฒั นานโยบายการศกึ ษาของ สกศ. เปน็ ตน้

ขณะที่โปรแกรมเด็ด OEC Symposium วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ มีการนำเสนองานวิจัย "การ
ขบั เคลือ่ นงานวิจัยเพื่อพฒั นานโยบายการศึกษา สกศ." ท่ีสะท้อน ๗ มมุ มองการพฒั นานโยบายผ่านงานวิจัย
นำสู่การปฏิบัติ อาทิ ๑. การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ท่ีตอบการเปล่ียนแปลงของโลก
อนาคตในปี ๒๐๔๐ ๒. การพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้วยการเชื่อมโยงหลักสูตรการเรียนการสอนกับ
มาตรฐานอาชีพ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ๓. การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย
๔.สภาวการณ์การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในบริบทประเทศไทย ๕. รายงานการศึกษาแนวทางการยกระดับ
คุณภาพการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย ๖. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลกั
ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : "ความท้าทายในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ" และ
๗. การติดตามและประเมินผลการจดั การศึกษาเรียนรวมสำหรับเดก็ พิการ และเด็กที่มีความต้องการจำเป็น
พเิ ศษ พร้อมปดิ ทา้ ยด้วยการมอบโล่รางวัลดเี ด่นและชมเชยแก่ผ้วู จิ ยั ทโี่ ชว์ผลงานเปน็ ท่ีประจักษ์

********************************************************

ส่อื ประชาสมั พนั ธ์













เกยี รตบิ ตั รการเขา้ รว่ ม

กาหนดการ




























Click to View FlipBook Version