แนวคิด
ทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษา
Multicaltural Vocabulary
คำนำ
E-BOOK คำศัพท์พหุวัฒนธรรมเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของกระบวน วิชา 100315 พหุวัฒนธรรมศึกษากับการ
จัดการศึกษาพื้นฐานชุมชน จัดทําขึ้นเพื่ออธิบายความหมาย
ของคำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและ
ทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษา
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-BOOK เล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์กับผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย หากผิดพลาด
ประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาวบัณฑิตา นาคกล
สารบัญ
วัฒนธรรม (Culture)
พหุวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism)
อนุรักษนิยม (Conservatism)
เสรีนิยม (Liberalism)
ทฤษฏีเชิงวิพากษ์ (Critical Theory)
อุดมการณ์ (Ideology)
การกลืนกลาย (Assimilation)
กระบวนทัศน์ (Paradigm)
ความเท่าเทียม (Equality)
ความเสมอภาค (Equity)
คนชายขอบ (Marginal people)
การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม(Cultural
reproduction)
ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice)
การเหมารวม (Stereotype)
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power relations)
ความเป็นอื่น (Otherness)
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)
ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
ความสามารถที่แตกต่าง (Differently abled)
หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum)
วัฒนธรรม (Culture)
พระยาอนุมานราชธน พระยาอนุมานราชธน (2532) ได้ให้บทนิยาม คำ
"วัฒนธรรม"ว่า วัฒนธรรม คือ" สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น
เพื่ อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้เอาอย่างกันได้ คือ
ผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา คือ
ความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ใน
ส่วนรวมลงรูปเป็นพิ มพ์ เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อ
ถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญ
งอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็น
ประเพณีกันมา"
พหุวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism)
วิลาศ โพธิสาร (2552) กล่าวว่า พหุวัฒนธรรมหมายถึง
กลุ่มชนที่อยู่ร่วมกัน แต่มีความแตกต่างกันทางชาติพันธุ์
มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านความคิด ความเชื่อ
การต่อสู้ และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สะท้อนให้เห็น
ทัศนะการปรับตัวและวิถีการ ดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มชนที่
อยู่ร่วมกันในสังคมใดสังคมหนึ่ง
อนุรักษนิยม (Conservatism)
“อนุรักษ์นิยม” (conservatism) หมายถึง แนวคิดที่มุ่งรักษาความเชื่อ
และคุณค่าแบบเก่า เช่น ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี อุดมการณ์ทางการ
เมืองที่สืบทอดมายาวนาน เฉพาะฝ่ายอนุรักษ์นิยมในบ้านเรามักผูกโยงศาสนา
วัฒนธรรมประเพณี อุดมการณ์ทางการเมืองเข้ากับสำนึกทางประวัติศาสตร์
“ราชาชาตินิยม” ที่เชื่อว่าความเป็นชาติเกิดขึ้น พัฒนาและมั่นคงมาได้เพราะ
คุณูปการของสถาบันกษัตริย์ ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองได้เพราะกษัตริย์อุปถัมภ์
ดังนั้น สถาบันกษัตริย์จึงเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ ศาสนาและเป็น
ศูนย์รวมจิตใจหรือ “ความจงรักภักดี” ของประชาชนในชาติ
เสรีนิยม (Liberalism)
เสรีนิยม (Liberalism) หมายถึง อุดมการณ์หรือความคิดทางการ
เมืองที่มุ่งให้สิทธิเสรีภาพแก่ปัจเจกบุคคลอย่างเต็มที่ภายใต้ขอบเขต
ของกฎหมาย หลักการพื้นฐานของเสรีนิยม ได้แก่
สิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในชีวิต และทรัพย์สิน (right
of life, property) ความเสมอภาคสำหรับทุกคน
ภายใต้กฎหมาย การปกครองโดยการเห็นชอบจากประชาชน
โดยกระบวนการเลือกตั้ง ความโปร่งใสในการปกครองบ้านเมือง
ทฤษฏีเชิงวิพากษ์ (Critical Theory)
เป็นกระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการใช้ข้อมูลและ
การแก้ปัญหา เพื่อช่วยตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับสิ่งที่จะทำหรือเชื่อต่อไป
มีหลักฐานจากการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนความคิดที่ว่า คนเราสามารถเรียนรู้
วิธีคิดในการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาได้ กฏต่างๆ ที่เป็นนามธรรม การใช้
เหตุผลในการคิดเป็นสิ่งที่สอนได้ ฝึกได้ การฝึกจะช่วย ให้คนเราคิดหาสาเหตุที่
ซ่อนเร้นไว้ของเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มียุธวิธีหลายอย่าง
(Strategies) ที่ช่วยให้เราคิด เชิงวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจ
แก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ (Feldman,1996: 274)
อุดมการณ์ (Ideology)
พจนานุกรมคอลไลเออร์ (Collier, s Dictionary, 2006) กล่าวว่า
อุดมการณ์ เป็นลักษณะผสมทั้งหมดของความเชื่อ (beliefs) เจตคติ
(attitudes) และความคิดหลัก (concepts) มีอิทธิพลเป็นตัว
ชักนำและกำหนดทิศทางของความคิดของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใช้กับคณะบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน
เช่น อยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน จะยึดอุดมการณ์เดียวกัน
การกลืนกลาย (Assimilation)
เป็นกระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการใช้ข้อมูลและ
การแก้ปัญหา เพื่อช่วยตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับสิ่งที่จะทำหรือเชื่อต่อไป
มีหลักฐานจากการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนความคิดที่ว่า คนเราสามารถเรียน
รู้ วิธีคิดในการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาได้ กฏต่างๆ ที่เป็นนามธรรม การใช้
เหตุผลในการคิดเป็นสิ่งที่สอนได้ ฝึกได้ การฝึกจะช่วย ให้คนเราคิดหาสาเหตุที่
ซ่อนเร้นไว้ของเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มียุธวิธีหลายอย่าง
(Strategies) ที่ช่วยให้เราคิด เชิงวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจ
แก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ (Feldman,1996: 274)
กระบวนทัศน์ (Paradigm)
พจนานุกรมคอลไลเออร์ (Collier, s Dictionary, 2006) กล่าวว่า
อุดมการณ์ เป็นลักษณะผสมทั้งหมดของความเชื่อ (beliefs) เจตคติ
(attitudes) และความคิดหลัก (concepts) มีอิทธิพลเป็นตัว
ชักนำและกำหนดทิศทางของความคิดของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ใช้กับคณะบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน
เช่น อยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน จะยึดอุดมการณ์เดียวกัน
ความเท่าเทียม (Equality)
ความเท่าเทียม (Equality) เป็นมุมมองที่ ถือว่า
บุคคลทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดย
มิได้พิจารณาหรือคำนึงถึงข้อแตกต่าง
ของแต่ละบุคคลเลย
ความเสมอภาค (Equity)
ความเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติ
ทาง การเมือง หรือในทาง เศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือน
กัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของ มนุษย์ เท่ากับการ
ทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควร
ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคย
เรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกัน
เป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา
วัฒนธรรม และอื่นๆ
คนชายขอบ (Marginal people)
คนชายขอบเป็นกลุ่มคนที่มีชีวิตอยู่ห่างไกล จากศูนย์กลาง ทั้งในทางภูมิศาสตร์และ
สังคม วัฒนธรรม “คนชายขอบ” มักจะเป็นกลุ่มคนที่ถูก กีดกันและเอารัดเอาเปรียบ
จากคนกลุ่มใหญ่ในทาง สังคมและกลายเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม วัฒนธรรมประจำ
กลุ่มจึงเป็นวัฒนธรรมย่อยที่ไม่ได้ รับการยอมรับ หรือได้รับการเลือกปฏิบัติจากชน
กลุ่มใหญ่ในกระแสวัฒนธรรมหลัก การเรียนรู้การ ปรับตัวและการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อที่จะ
เอาตัวรอดหรือ มีชีวิตอยู่ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าวจึงเป็นสาระ สำคัญของวิถีชีวิต
ของชาวไทยเชื้อสายมลายูใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ดำรงอยู่ภายใต้ วัฒนธรรม
ชายขอบที่แตกต่างจากคนกลุ่มใหญ่ใน สังคมไทย
(สุริยา สมุทคุปต์ และพัฒนา กิติอาษา, 254221)
การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม(Cultural reproduction)
การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมเป็นกระบวนการที่รองรับความยั่งยืนและเป็นหลักประกัน
ความต่อเนื่องของวัฒนธรรมเมื่อเกิดวัฒนธรรมขึ้น ต้องผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม
ถ้าวัฒนธรรม ที่กำเนิดขึ้นมาใหม่ไม่ได้รับการผลิตซ้ำวัฒนธรรมใหม่นั้นก็จะมีอายุเพียงสั้น ๆ
แล้วก็สูญหายไป แนวคิดนี้เกิดมาจากการผลิตซ้ำด้านวัตถุแบบทุนนิยม (Materials
Reproduction) การผลิตแรงงาน เช่น การหาคนงานรุ่นใหม่ทดแทนและการผลิตซ้ำ
ด้านความคิด/จิตสำนึกอุดมการณ์ (Ideological/ Mental Reproduction)
ซึ่งมาร์กซ (Marx. n.d. : 201 ; อ้างถึงใน กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน, 2551)
ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice)
คือแนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม มิใช่เพียงแค่มิติทาง
ด้านกฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง
ก็ตีความได้หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม
หรือการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมก็ได้ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทาง
สังคมนั้น เป็นทั้งปัญหาทางปรัชญาและมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ เช่น
การเมือง ศาสนา และสังคม ปัจเจกบุคคลอาจต้องการอยู่ในสังคมที่มี
ความเป็นธรรมทั้งนั้น อย่างไรก็ดีแต่ละคนอาจมีอุดมการณ์เกี่ยวกับ
“ความเป็นธรรมในสังคม” ที่แตกต่างกัน
การเหมารวม (Stereotype)
คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง
เช่น เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น
sub-culture ของสังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน และเชื่อไปว่า
พวกเขาเป็นแบบนั้นเหมือนกันหมด ทั้งที่ยังไม่รู้จักตัวตนจริงๆ โดยอาจเป็นได้
ทั้งในทางที่ดี และไม่ดี แต่แนวคิดของการเหมารวมส่วนใหญ่มักมาพร้อมอคติ
จนกลายเป็นการเหมารวมยกเข่ง ที่ไม่ค่อยยุติธรรมกับบางคนที่ไม่ได้เป็น
แบบนั้นเสมอไป
ความสัมพั นธ์เชิงอำนาจ (Power relations)
คือแบบที่พิจารณาความสัมพันธ์ซึ่งปรากฏออกมาให้เห็นที่การกำหนดและการ
ตัดสินใจเลือกนโยบายด้านต่างๆ แนวทางนี้พิจารณากลุ่มผลประโยชน์ กลุ่ม
เคลื่อนไหวต่างๆ ในกระบวนการผลักดันนโยบาย ที่มีจุดมุ่งหมายความต้องการ มี
ผลประโยชน์ ที่ขัดแย้งกันอยู่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมี
ความพอใจในทางเลือกในการดำเนินนโยบายในเรื่องนั้นๆ แตกต่างกัน การดูว่า
ใครมีอำนาจในสนามการตัดสินใจ จึงคือการดูที่ผลของการแข่งขันต่อสู้เพื่อนโย
บาย การผลักดันและการต่อรองในกระบวนการกำหนดและตัดสินใจ และคนที่มี
อำนาจก็คือคนที่ชนะในกระบวนการตัดสินใจได้นโยบายที่ตอบสนองผลประโยชน์
ความต้องการของฝ่ายตน
ความเป็นอื่น (Otherness)
ความเป็นอื่น คือ การมองคนอื่นที่ไม่ใช่พวกของตนว่าเป็น
คนด้อยค่าหรือศัตรู ซึ่งเป็นผลมา จากการสร้างระบบความคิด
ผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ที่มีคนไทยเป็นคนเอก
มีกลุ่มคนเมียนมาเป็น ตัวร้ายและผลจากความรุนแรง
เชิงโครงสร้างนโยบายการดําเนินการควบคุมแรงงานข้ามชาติ
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) หมายถึง “การกระทำใด ๆ
โดยการกีดกัน แบ่งแยก จำกัด หรือการปฏิบัติใด ๆ ต่อบุคคล หรือ
กลุ่มคนโดยไม่เท่าเทียมกันและไร้ เหตุผลอันเป็นการปฏิบัติที่แตก
ต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน อันทำให้บุคคลได้รับ สิทธิน้อยกว่า
สิทธิที่ตนพึงได้ โดยมีมูลเหตุ จูงใจเนื่องจากเหตุความแตกต่าง ทาง
ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุความพิการ สภาพทางกายหรือ
สุขภาพ สถานะ ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อ
ทางศาสนา การศึกษาอบรม และ ความคิดเห็นทางการเมือง”
ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)
กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์
ทางเพศ หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยคำว่า LGBTQ
ย่อมาจาก
L - Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
G - Gay กลุ่มชายรักชาย
B - Bisexual หรือกลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
T - Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็น
เพศชาย
Q - Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และ
ความรัก
ความสามารถที่แตกต่าง (Differently abled)
ความสามารถในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลดลง อันเนื่องมาจากความ
บกพร่องทางร่างกาย เช่น แขนขาด ขาขาด นิ้วขาด ตาบอด หรือเนื่องมา
จากความบกพร่องทาง พฤติกรรม เช่น ปัญหาการเรียนรู้ทาง
สติปัญญาหรือประสาทรับรู้ disability เป็นความพิการที่สามารถ
วัดได้ เช่น คนนิ้วขาด อาจใช้มือนั้นไม่ได้เต็มที่ คนขาลีบ คนขาขาด ไม่
สามารถเดินได้ คน ตาบอดไม่สามารถอ่านหนังสือแบบที่คนตาดีทั่วไป
อ่านได้ เป็นต้น จึงทำให้บุคคลพิการไม่สามารถ ทำบางสิ่งบางอย่างเท่าที่
คนปกติทั่วไปสามารถทำได้
หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum)
หลักสูตรแฝง เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็น
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้ จากนิยามนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติม
เพื่อให้เข้าใจดีขึ้นโดยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมดังนี้ ในทางเปิดเผยโรงเรียนสอนคณิตศาสตร์
และจัดให้เด็กชายหญิงเรียนรู้ การอ่าน การเขียน การสะกดคำและอื่นๆ แต่โรงเรียนและครู
ได้สอนหลายสิ่งหลายอย่างโดยไม่ตั้งใจจากการสอนตามหลักสูตรปกติในรูปของกฎเกณฑ์ที่
กำหนดขึ้นมา และเรียนรู้จากสภาพการณ์และเงื่อนไขเชิงสังคมและเชิงกายภาพที่โรงเรียน
จัดให้ เป็นต้นว่าสอนนักเรียนให้ทำงานตามลำพังในเชิงของการแข่งขัน หรือให้นักเรียน
ทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม สอนให้นักเรียนเป็นผู้กระทำหรือเป็นถูกกระทำ ให้รู้จักพอใจเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงพื้นๆ หรือให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอื่นๆ สรุปสั้นๆ และตรงประเด็น
ก็คือ ครูหรือโรงเรียนสอนค่านิยมให้แก่เด็กอย่างแอบแฝง หรือโดยไม่ตั้งใจ