The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

6421126041 D2 นางสาวริญลภัส ขวัญมุณี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aof Narongphat, 2022-05-25 08:17:54

6421126041 D2 นางสาวริญลภัส ขวัญมุณี

6421126041 D2 นางสาวริญลภัส ขวัญมุณี

พ ร ะ พี่ น า ง สุ พ ร ร ณ กั ล ย า ณี

คำนำ

Ebook เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดมุมมองพระสุพรรณกัลยาใหม่ โคย
เทียบเคียงกับบทบาทของสตรีคนอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ยุรยา ซึ่งไม่เคยได้
รับการหยิบยกมาศึกษาอย่างเป็นระบบ ยกเว้นกรณีสมเด็จพระสุริโขทัย
(ที่ได้รับการยกย่องเป็นรีรสตรีของชาติ) บรรดาขัตติยนารีที่ปรากฎ
พระนามร่วมสมัย หรือคาบสมัยกับพระสุพรรณกัลยา เช่น ท้าวศรีสุดา
จันทร์ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระเทพกษัตรีย์ พระสุวัฒน์มณีรัตนาหรือเจ้า
ขร้วมณีจันทร์ (หนึ่งในพระมเหสีของสมเด็จพระนเรศวจ) เจ้าแม่วัดดูสิต
สตรีสูงศักดิ์เห่งราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ เจ้าฟ้าสุดาวดีหรือกรม
หลวงโยธาเทพสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น เรื่องของสตรีเหล่านี้ มัก
ปรากฎในหลักฐานประเกทคำบอกเล่ามากกว่าในเอกสารพงศาวดารเเส
ดงให้เห็นว่า 'พระสุพรรณกัลยาไม่เพียงมีตัวตนจริง แต่ยังมีบทบาทและ
ชะตากรรมเป็นที่น่าเห็นใจ เรื่องราวของพระนางจึงเป็นที่จดจำเล่าขาน
ถึงแม้ว่าเจตนาของผู้ส่งผ่านเรื่องราวหรือตำนานนั้น มุ่งเน้นไปที่พระราช
ประวัติและบุญญาบารมี ตลอดรวมถึงเคชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวร
เป็นสำคัญก็ตามที""

ริญลภัส ขวัญมุณี
ผู้จัดทำ

สารบัญ 01 พระวัตินางสุพรรรณกัลยาณี
02 พระราชกรณียดิจ

03 หลักฐานพงศาวดารของไทย

04 หลักฐานที่ขัดแย้งกั
05 หลักฐานการสิ้นพระชนม์

และ
สถานที่สักการะพระสุพรรณกัลยาณี

06 บรรณานุกรม

01

ป ร ะ วั ติ น า ง สุ พ ร ร ณ กั ล ย า ณี

พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ
สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จ
พระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิ
สุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางใน
สมเด็จพระนเรศวรมหาร
และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ
พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เชื่อ
ว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง

ชีวิตในกรุงหงสาวดี พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหา
ธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดาร
พม่าระบุว่า ในปีพ.ศ. 2112 เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหา
ธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครอง
พิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวาร
และนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็น
พระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด
เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด
จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกาง
ฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ

พระนางมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับ
พระราชทานพระนามว่า เจ้าภุ้นชิ่ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติ
ปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม เมงอ
ทเว ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยา
เป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก โดย
ทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นใน พระราชวังกรุงหงสาวดี
ด้วยเหตุที่พระเจ้าบุเรงนองเสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ
ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนิน
ชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เส็ดจออกงานหรือเห็น
โลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดี
จึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม พ.ศ.
2116 มีงานบูชาพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พระสุพรรณกัลยา
พร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดย
เสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วัน นับ
เป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานาน
ว่า 3 ปี หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรง
นองได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่
3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษก
พระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะ อย่าง
ละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระ
ราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่
พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่ง
เป็น พิษณุโลกเมียวซา เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำ
ปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระ
ราชธิดาพระองค์นี้ว่า เจ้าหญิง

02

พระราชกรณียกิจ ของพระองค์ที่สำคัญคือ ได้ปรับปรุง
แก้ไขการปกครอง ให้มีกฎมณเฑียรบาล ระบบศักดินา
ปรับปรุงการศึกษา ทางด้านอักษรศาสตร์ และวรรณคดี
ต่างๆ เช่น มหาชาติคำหลวง และลิลิตพระลอ ก็เกิดขึ้นใน
สมัยของพระองค์ท่าน และในสมัยของพระองค์ท่านก็ได้เกิด
ศึกขึ้นทางตอนใต้ ทางมะละกา แหลมมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้น
(เป็นประเทศราช ของสยามไทย) พระองค์ต้องตัดสิน
พระทัยยกเมืองให้เขาไป ดีกว่าจะเสียเลือดเนื้อและไพร่พล
เมื่อปี พ.ศ. 1999 เมื่อปีนั้นเองพระองค์ก็ทรงเสด็จกลับเพื่อ
รับเป็นรัชทายาทไปครองกรุงศรีอยุธยา ตอนนี้เองก็เกิดยุ่ง
กันขึ้นทางเหนืออีกเพราะพระองค์ทรงปกครองแบบพ่อ
ปกครองลูกมิได้ทรงแต่งตั้งให้ใครๆเป็นใหญ่ที่สูงสุดไว้แทน
จึงปล่อยให้หัวเมืองต่างๆมีเจ้าเมืองปกครองกันเองแบบเจ้า
เมืองเจ้าพระยาเท่านั้น คือ เมืองพิษณุโลก สุโขทัย
กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ต่างก็มีอำนาจเสมอกัน จึง
ต่างคนต่างก็อยากเป็นใหญ่ แย่งไพร่พล แย่งอำนาจกันขึ้น
ถึงกับรบราฆ่าฟันกันเพื่อสนองความอยาก อันเป็นกิเลสของ
มนุษย์

03

หลักฐานพงศาวดารของไทย
คำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าว

ทำให้พระเจ้ากรุงหงสาวดีพิโรธมาก รับสั่งให้เอาแม่ทัพ
นายกองที่แพ้กลับมาในครั้งนั้นใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น แต่
ก็ยังไม่หายพิโรธ ได้เสด็จไปสู่พระตำหนักพระสุพรรณ
กัลยาเอาพระแสงดาบฟันพระนางและพระราชธิดา
สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ และได้ประมาณการว่ามี
พระชนมายุได้ 39 พรรษา

คำให้การขุนหลวงหาวัด ได้กล่าวใกล้เคียงกัน แต่
ต่างที่เป็นพระราชโอรสมิใช่พระราชธิดา ความว่า "ฝ่าย
พระเจ้าหงสา ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระ
ราชฐานเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้นบรรทมให้
พระราชโอรสเสวยนมอยู่ในพระที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟัน
ด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระโอรสทั้ง
สองพระองค์ ก็ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วย
พระเจ้าหงสาวดีทรงโกรธยิ่งนัก มิทันจะผันผ่อนได้"

พงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ที่แต่งขึ้นโดย
พระบรมราชโองการของกษัตริย์พม่าเมื่อวันที่ 3
พฤษภาคม พ.ศ. 2372 (ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์) ได้
กล่าวถึงพระสุพรรณกัลยาว่า พระองค์มีคนสนิทคนหนึ่ง
มีนามว่า พระองค์จันทร์ ภายหลังพระอุปราชา
สิ้นพระชนม์ในการกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชนั้น พระเจ้านันทบุเรงมิได้ประหารพระ
สุพรรณกัลยาทันทีที่ทราบข่าว หากแต่ได้เสวยน้ำจัณฑ์
จนเมามายอยู่เป็นเวลานาน แต่ละวันก็พาลหาเรื่องพระ
สุพรรณกัลยาและขู่อาฆาตบ่อยๆ จนพระนางสังหรณ์
พระทัย ได้ทรงเรียกพระองค์จันทร์มาปรับทุกข์หลาย
ครั้ง ท้ายที่สุดพระองค์ได้ตัดปอยพระเกศาใส่ผอบเครื่อง
หอมประทานแก่พระองค์จันทร์ เตรียมนำไปถวายสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชที่กรุงศรีอยุธยา เผื่อพระองค์จะไม่มี
พระชนม์ชีพต่อไป ต่อมาวันหนึ่งพระเจ้านันทบุเรงทรง
เมามายไม่ได้พระสติ ได้เสด็จไปถึงห้องพระบรรทมของ
พระสุพรรณกัลยาแล้วใช้พระแสงดาบฟันแทงพระ
สุพรรณกัลยาสิ้นพระชนม์อยู่บนพระที่นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตามพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้วได้ระบุว่า
พระนางมีพระราชโอรสกับพระเจ้าบุเรงนองหนึ่ง
พระองค์ และในครรภ์อีก 1 พระองค์ เมื่อพระเจ้านันทบุ
เรงทรงคืนพระสติแล้ว ก็ได้มีพระราชโองการจัดพระราช
พิธีพระราชทานเพลิงพระศพแก่พระสุพรรณกัลยาอย่าง
สมพระเกียรติ ส่วนพระองค์จันทร์นั้นได้ลักลอบออกจาก
วังโดยนำผอบพระเกศาไปกับนายทหารมอญ โดยทำที
เป็นสามีภรรยากันตลอดเป็นเวลาสามเดือนเศษจนถึงกรุ ง
ศรีอยุธยา และได้นำความกราบบังคมทูลแก่พระญาติ
วงศ์ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจ ในครั้งนั้น พระองค์
จันทร์ได้รับการสถาปนาเป็น ท้าวจันทร์เทวี หลังจากได้
พระราชทานเพลิงพระศพพระวิสุทธิกษัตรีย์ (ซึ่งทางไทย
ได้กล่าว่าสิ้นพระชนม์เนื่องจากทรงตรอมพระทัยในการ
สูญเสียพระสุพรรณกัลยา) สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ยก
ทัพไปตีหงสาวดีและตองอูแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างที่พระองค์
ได้รับพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาจากมอญผู้หนึ่งในช่วงที่
พระองค์ประทับ ณ เมืองปาย ทรงพระสุบินถึงพระ
สุพรรณกัลยาได้เสด็จมาพบและตรัสว่าพระนางเปรียบ
เสมือนคนสองแผ่นดิน มีความผูกพันทั้งไทยและพม่า จึงมี
พระประสงค์ที่จะพำนักเมืองปายนั่นเอง จากการพระ
สุบินดังกล่าวสมเด็จพระนเรศวรจึงหยุดทัพไว้ที่เมืองปาย
เป็นเวลา 32 วัน และโปรดฯให้ม้าเร็วเข้ามารับตัวท้าว
จันทร์เทวีขึ้นไป และนำผอบบรรจุพระเกศาขึ้นไปด้วย
จากนั้นก็โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง และพระ
เจดีย์เพื่อจะประดิษฐานพระเกศาและพระอัฐิไว้ ณ เมือง
ปาย ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัด
แม่ฮ่องสอนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดง
ความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหง
สาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดัง
นั้นในปี พ.ศ. 2135 ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระ
ชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรง
นอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะ
มากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่
กล่าวถึงการ ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่.. ส่วนกรณีที่ถูก
พระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจาก
หากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่อง
ราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยา
กลับไม่ปรากฏไว้เลย

04

หลักฐานที่ขัดแย้งกัน

แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับ
กันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งตรงกันทั้งใน
หลักฐานของไทยและพม่า (บางฉบับ) แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan
Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป
โดยกล่าวถึงเจ้าภุ้นชิ่หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราช
มารดาออกมาประทับนอกพระราชวังกัมโพชธานี โดยเจ้าหญิงเจ้า
ภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมือง
ตะลุป ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอ
ชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ
เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี พ.ศ.
2135 พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่
ในอังวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน
และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้าน
ยองยันจังได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดา
อาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้าน
ยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความ
คุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การ
ปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิง
พิษณุโลก ก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่ง
สิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด

05

กรณีการสิ้นพระชนม์

ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อ
พ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน ภาย
หลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์
ใน พ.ศ. 2135 จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราช ซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้นในพงศาวดาร
รวมถึงคำให้การต่างๆ ทั้งของไทยและพม่าต่างก็ให้
ข้อมูลต่างกันออกไปเกี่ยวกับการกล่าวถึงการ
สิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา ...หลังจากที่
พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ให้พระสุพรรณ
กัลยาเป็นมเหสีของตน สันนิษฐานว่าพระเจ้านันทบุ
เรงรู้สึกแค้นใจที่รบแพ้พระนเรศวร จึงแก้แค้นด้วย
การฆ่าพระสุพรรณกัลยา ซึ่งกำลังตั้งท้องอยู่

สถานที่สักการะนาง

สุพรรณกัลยาณี


วัดลาดสิงห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านสระ ริมถนนเลียบคลอง

ชลประทาน ที่แยกจากทางหลวงหมายเลข 3038 ประมาณ 7


กิโลเมตรระหว่างอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอศรีประจันต์ เป็นวัดเก่า

แก่เดิมชื่อ “วัดราชสิงห์” มีคำเล่าสืบทอดกันมาว่า สมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชทรงสร้างวัดนี้ขึ้นมาภายหลังจากที่ประสบชัยชนะ
ใน สงครามยุทธหัตถีและทรงทราบข่าวว่า พระสุพรรณกัลยาที่เป็น
ตัวประกันอยู่ที่เมืองพม่าถูกประหารชีวิตเป็นการล้างแค้นที่ พระ
มหาอุปราชสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าว พระองค์จึงทรงสร้างวัด
เพื่ออุทิศพระกุศลให้แด่พระสุพรรณกัลยา ปัจจุบันวัดยังมีร่องรอย
ประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงคือ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปศิลาแลง
ปางสะดุ้งมาร (มารวิชัย) เกตุบัวตูม อายุประมาณ 500 ปี ภายใน
บริเวณเป็นที่ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา
ให้ประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้บูชาในพระมหากรุ ณาธิคุณของ

06

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม

*กันตนา*' ระดม ๕- ดาราดัง เข้าฉากพระสุพรรณกัลยา. (๘ ธันวาคม ๒๕๔๒). มติชน, น. ๑๔.
กาญจนา นาคนันทน์. (๒๕๔๒). พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลไนน์ พริ้นติ้ง.
กิฟฟารีนแจกฟรีงานวิจัย 'พระสุพรรณกัลยา'. (๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒). ข่าวสด, น. ๓๑.
งานวิจัยจุฬาฯ สุพรรณกัลยา มีตัวตนจริง. (๑๘ กันยายน ๒๕๔๒). กรุงเทพธุรกิจ, น. ๑๔, ๑๑.
จุฬาฯ วิจัย 'สุพรรณกัลยา' ไม่ใช่วีรสตรี!." (๑๘ กันยายน ๒๕๔๒). มติชน, น. ๑, ๒๔.
ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (๒๕๔๗). ละครคุณสมภพ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
นาฎย-

ศิลป์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๓๖). วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย. ปาฐกถาพิเศษ ป่วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ ๔

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๖, สืบค้นเมื่อ
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ จาก http://econ.tu.ac.th/journal/Material/Previous/PUY4.pdf
พระสุพรรณกัลยา ในรูปแบบละครอิงประวัติศาสตร์. (๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๒). เดลินิวส์, น. ๓๐.
ภันธกานต์ กี้มทอง. (๒0๕๕0). ย้อนรอยกรรม ตำนานพระสุพรรณกัลยา ย้อนรอยธรรม ชีวิต
ต้องสู้เพื่อ

วีรสตรีที่โลกลืมจากจิตสัมผัส...หลวงปู่โง่น โสรโย. นครราชสีมา: ธัญญพัทธ์.
วันชนะ ทองคำเภา. (๒๕๕0). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย.
วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภพ จันทรประภา. (ม.ป.ป.). บทละครโทรทัศน์เรื่องพระสุพรรณกัลยา. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผย
แพร่)

สุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัย สาขาวิซาศิลปศาสตร์. (๒๕๔๘). เอกสารการสอนชุด
วิชาประวัติศาสตร์

สแกนเพื่อเข้าถึงหนังสือ EBOOK


Click to View FlipBook Version