The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา (2)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Maneerat Bunyang Nu Kook, 2022-07-21 06:25:47

สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา (2)

สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา (2)

สื่อการเรียนการสอน
วิชา Rayong MARCO 1

รหัสวิชา 21282
เรื่อง ระยองในปัจจุบัน 3 (ภาษาถิ่นระยอง)

ที่มา : https://sites.google.com/site/attractions242/

จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ บุญยัง
โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง

คำนำ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่น
Rayong MARCO กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม เรื่องระยองในปัจจุบัน 3 (ภาษาถิ่นระยอง)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอนสามารถจัดทำกิจกรรมการเรียน
การสอนที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนนั้นต้องอาศัย
การเลือกสื่อที่เหมาะสมโดยใช้บทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ช่วยในการถ่ายทอดและช่วยจูงใจให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้ง
เรียนมากขึ้นทั้งก่อให้เกิดเจตคติที่ดีและมีความประทับใจในสิ่งที่
เรียนช่วยอธิบายเนื้อหาวิชา และทักษะกระบวนการต่างๆให้
จัดเจนพร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง A:Ancestor
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้บทเรียนสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระยองในปัจจุบัน 3 (ภาษาถิ่นระยอง) หวังว่า
จะเป็นประโยชน์แก่ครูในการดำเนินการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และสามารถพัฒนานักเรียนให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้

นางสาวมณีรัตน์ บุญยัง

คำชี้แจง

บทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ชุดนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อ
ประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง A:Ancestor ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เรียนสามารถศึกษา
เนื้อหา และประเมินผลการเรียนใด้ด้วยตนเองตามขั้นตอน
ที่กำหนดไว้ ซึ่งมีการเสริมแรงแก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดย
เฉลยคำตอบให้ทันทีเนื้อหาการเรียนรู้แบ่งเป็นย่อย ๆ เสนอ
เนื้อหาทีละน้อย มีคำถามให้ผู้เรียนคิดทำกิจกรรมหรือตอบ
แล้วเฉลยคำตอบได้ทันทีผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเอง
ตามความสามารถของแต่ละบุคคล

ภาษาถิ่นระยอง

ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่มีใช้พูดในท้องถิ่นใด
ท้องถิ่นหนึ่ง

ดังนั้น ภาษาถิ่นระยอง ก็คือ ภาษาที่
พูดกันในพื้นที่จังหวัดระยองซึ่งนับรวม
จังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเช่น
จันทบุรีและตราดด้วย

- เป็นภาษาที่มีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์
ของตัวเองเมื่อฟังจะทราบได้ทันทีว่าเป็น
ภาษาระยอง เช่นเดียวกับภาษาท้องที่อื่น ๆ
เช่น สุพรรณบุรี เป็นต้น

- ภาษาระยองบางคำจะมีความหมาย
เฉพาะ เป็นที่ทราบกันในท้องถิ่น ไม่มีใน
พจนานุกรม

เรามาดูคำเบสิคๆ กันเลยดีกว่า ...

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

ฝนอ่อย = ฝนที่ตกลงมา
เป็นละอองเบาๆ

"ฝนอ่อย" คงไม่ได้หมายความว่าฝนยั่ว หรือ
ฝนทอดสะพานแต่อย่างใด
แต่คนระยองมักใช้เรียกเวลาที่ฝนตกน้อยๆ
หรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองเบาๆว่าฝนอ่อย
นั่นเอง บางคนอาจเรียกปรากฏการณ์ฝนนี้ว่า
ฝนลงเม็ด ก็เป็นได้

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

กระอับ = กล่องที่ใช้บรรจุของ

คำนี้มาจากคำว่า “ตลับ” ภาชนะอย่างหนึ่ง
สำหรับใส่ขี้ผึ้ง, ยาหม่อง ของต่างๆ

คนระยองสมัยก่อนชอบพูด ต. เป็น ก.
อย่างเช่น คำว่าตรงๆ จะพูดว่า กงๆ คำเหล่านี้จึง
เพี้ยนมา

“กระอับ” แพร่สะพัดไป ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/
จนถึงภาชนะใส่อาหารแบบที่
มีฝาปิด ก็เรียกกระอับข้าวได้
เช่นกัน สมัยนี้เรารู้จักเบนโตะ
ของญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นคงไม่รู้จัก
กระอับข้าว ของระยองบ้าน
เราแน่นอน (คนจันท์ คนตราด
ก็เรียกแบบนี้เช่นกัน)

กะหลุก = หลุมเล็กๆ

สมัยก่อนถนนหนทาง ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/
เต็มไปด้วยผืนดิน เส้นทาง
ไม่ราบเรียบ บางเส้นทาง
ถูกใช้บ่อยก็เป็นหลุมเป็น
บ่อ คนระยองเรียกความ
ไม่ราบเรียบนี้ว่ากะหลุก
รวมไปถึงการเรียกหลุม
เล็กๆ ตามท้องนาท้องไร่
อีกด้วย

กะลึ่งกะลั่ง = ผะอืดผะอม
หรืออาการรู้สึกคลื่นไส้

คุณเคยมีอาการ
เหล่านี้ไหม? รู้สึกคลื่นไส้
อยากจะอาเจียนออกมา
แต่มันไม่ยอมอาเจียน
ออกมาสักที คนระยอง
เรียกอาการเหล่านี้ว่า
กะลึ่งกะลั่ง

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

เหี่ยม = เผ็ด

คำนี้อาจไม่ค่อยได้คุ้นหูมานานแล้วคนระยอง
มักจะใช้พูดเวลาป้อนข้าวเด็ก ลูกหลาน หรือใช้
เตือนเวลาเด็กจะกินอะไรเข้าไปให้ระวัง ว่าสิ่งที่
กินเข้าไปนั้นมันเผ็ด

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

สัมมะรด หรือ ลักกะตา
= สับปะรด

ถ้าใครโดนคุณตาคุณยายดุ แล้วพูดว่า
“ไอ้หนูเอ้ย! เอ็งนี่ทำอะไรไม่เป็นสัมมะรดเลย”
อย่าไปงงนะครับ เพราะนั่นหมายความว่าท่านดุ
ถูกทางแล้ว เพราะคนสมัยก่อนจะเรียก
“สับปะรด” ว่าสัมมะรด หรือบางพื้นที่ก็จะเรียก
ว่า “ลักกะตา”

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

กะเตอะ = ไม่สวย ไม่งาม
หรืออาจใช้กับการแต่งตัวไม่เป็น

“กะเตอะ” สมัยก่อนนิยมใช้พูดถึงคนที่
ไม่สวย ไม่หล่อ ชี้ริ้วขี้เหร่ หรือคนที่ชอบปล่อย
เนื้อปล่อยตัวไม่ดูแลตัวเอง

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

“กะเตอะ” อีกหนึ่ง
ความหมายคือ ซุ่มซ่าม
ทำอะไรไม่ระวังข้าวของ
เสียหาย โดยคำแต่ละ
พื้นที่อาจจะใช้ไม่
เหมือนกันบางคำ

ก๋องหลัง = ขี่หลัง

"ก๋อง" ก็คือการขี่หลังหรือแบกอีกฝ่าย
ขึ้นหลังเรา

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

พิๆๆ น้องเดินไม่ไหว
แล้ว ขอ ก๋องหลัง

หน่อยดิ

ผ้าผวย = ผ้าห่ม

เป็นภาษาถิ่นที่
เรียกกันหลายจังหวัด
เหมือนกัน และคน
ระยองเองก็มักเรียก
ผ้าห่มที่เอาไว้ห่มนอน
ว่า “ผ้าผวย” เหมือน
กัน

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

เอาได้ : ดี, ใช้ได้, ดีงาม

ถ้าถามคนระยองว่า ผู้หญิงคนนั้นเป็นไง แล้ว
เค้าตอบว่า ก็เอาได้นะ เอ้ย! จริงดิ เดี๋ยวๆ มันไม่ใช่
อย่างนั้น เขาหมายความว่า ผู้หญิงคนนี้ ดีงาม

โดยคำว่าเอาได้ สามารถใช้ได้กับทุกสิ่ง ไม่ว่าจะ
เป็นของใช้หรืออาหาร

ที่มา : https://www.facebook.com/rayonghip/posts/1615729651835700/

เชื่อไหมพี่น้ อง
เค้าว่าคนระยองเอาได้

ออกสำเนียง
เสียง ภาษาระยอง

ฝนอ่อย = ฝนที่ตกลงมา
เป็นละอองเบาๆ

กระอับ
= กล่องที่ใช้บรรจุของ

กะหลุก = หลุมเล็กๆ

กะลึ่งกะลั่ง = ผะอืดผะอม
หรืออาการรู้สึกคลื่นไส้

เหี่ยม = เผ็ด

สัมมะรด หรือ ลักกะตา
= สับปะรด

กะเตอะ = ไม่สวย ไม่งาม
หรืออาจใช้กับการแต่งตัวไม่เป็น

ก๋องหลัง = ขี่หลัง

ผ้าผวย = ผ้าห่ม

เอาได้ : ดี, ใช้ได้, ดีงาม

สนทนา
ภาษาระยอง

สนทนา 1

ว่า..จะไปหัก สำมะรด
มาต้มหมูหน่อยฮิ

เพาะคุณ..เพาะคุณ....
จะไปหนาย....

อร่อยนักแหละ....
หมูต้มสำมะรด เนี่ย
............................
พูดซะหิวเลยฮิเนี่ย

สนทนา 2

แมะ...แมะ...ตั้งเมื่อวาน
ไปตลาดมา

ได้กุ้งมาพะแลง

ดีๆ...ยักไว้ย่างสักหน่อย
เดียวตำพริกเกลือให้กิน

อร่อนนักแหละ

สนทนา 3

ปล่าว.......
ไปร้านค้าหน่อย
แมะคุณอยากกินแกงไก่
ใส่มะเขือเม่ด

อีเจ๊..อีเจ๊..
กะเหลือกกะหลน

จะไปไหนละ

สนทนา 4

แหม่ ไอ้เด็กสามคนนี้
แลรักกันเหลือเกิน ไปไหน
ก็เห็นกอดเกลอกันประจำ

จ๊ะไปหน่า.......

ปล่าว.........
กำลังจะไป
ดูหนังกลางแปลงที่วัด

เปรียบเทียบภาษาระยอง
กับภาษากลาง

คำ ความหมาย
กะแต่ง ผักที่มีลักษณะคล้ายบุกแต่เล็กกว่า
คุน,แมะ
พอแรง ยาย
นักนั่ก มาก
สงาด มากมาย,เยอะแยะ
สะหม่า เยอะ,มากมาย
สีละมัน ประหม่า
ลิ้นจี่ป่ า
หาบ แบก
อีโป้ ผ้าขาวม้า
เอ๊าะ สาวรุ่น
อ๊อกอ้อ ตุ๊กแก

คำ ความหมาย
เกียน เกวียน
ตะโงน ตะโกน
โพง
กระป๋ องตักน้ำ
ธุ ไหว้
สนุกซ้ะ
สารพี สนุกมาก
ทัพพี
หวด กิน
ลุ้ย,หลัว เข่ง
อีแหวก
แมงกะชอน
ฮิ คำสร้อย
เอี๊ยว อ่อน

“แกงไก่ใส่มะเขือเม่ด แกงเผ็ดบ้านเก่า
ข้าวเม่ายายคำ ดื่มน้ำมะเน่ด

ไปเที่ยวพนั่ส ทางมันค่ด ร่ถมันฟั่ ด
ปลูกสำมะร่ด ยังไม่ทันลั่ด ควายมันยั่ดเช่ด
ไปล่อเบ็ดหมดสนุก ตกกะหลุกขาเคล่ด….”

“มะเขือเม่ด” คือมะเขือพวง
“สำมะร่ด” คือสับปะรด

“ยั่ด” มีความหมายว่า กิน
“ล่อเบ็ด” คือตกปลา
“กะหลุก” คือหลุมเล็กๆ

ฉันรั่กร่ะยอง ร่ะยองเอาได้
พูหญิงพูชาย น่ารั่กเค้าเช่ด
เถ้ากินแกงไก่ ใส่ม่ะเขือเม่ด
เถ้ากินแกงเป็ด ใส่ม่ะเขือยาว
ก้ะปิน่ามปลา ทุ่กหน้าเบิกบาน
ร่ะยองบ้านฉัน นั่นไม่มีเหงา
ผู้คนมากหน้า มาเที่ยวบ้านเรา
ทั่งหนุ่มทั่งสาว เด็กคนแก่มี
ถนนหนทาง ไม่มีกะหลุก
จะนั่งเดินลุ่ก สนุกทุ่กที่
ร่ถไม่ต้องสุย ลุยได้ทันที
แหม่ต้องงี่ฮิ่ ที่นี่ร่ะยอง
ฉันรั่กร่ะยอง ร่ะยองน่ารั่ก
เชิญมาทายทั่ก กันหนะพี่น่อง
ร่ะยองเอาได้ ไม่ใช่เป็นรอง
เป็นหนึ่งใช่สอง ร่ะยองของเรา


Click to View FlipBook Version