The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jirada praebaisri, 2021-04-22 10:56:18

การพัฒนาแบบจาลองเพื่อการอนุรักษ์ : กรณีศึกษาการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ

ผลงานวิจัยการยกยอดปราสาทมอญในประเทศไทย

Keywords: ปราสาท

รายงานการวิจัย

การพัฒนาแบบจาลองเพือ่ การอนุรักษ์ : กรณศี กึ ษาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
Development of Model for Conservation: Case study of rise up the top of Thai-Mon Crematorium

โดย
จริ ดา แพรใบศรี

แหลง่ ทนุ
สานกั วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ พระนครเหนือ

พ.ศ. 2554

โครงการวจิ ยั เรือ่ ง
การพฒั นาแบบจาลองเพอ่ื การอนรุ ักษ์ กรณีศึกษาวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ

บทสรุปสาหรบั ผ้บู รหิ าร

(Executive Summary)

ชาวมอญทั้งในประเทศพม่าและประเทศไทย ต่างมีความเช่ือเกี่ยวกับการสร้างกุศลกรรมต่างๆที่
เหมือนกัน โดยเฉพาะประเพณีปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ท่ีมรณภาพ ด้วยการก่อสร้างเมรุปราสาทข้ึน เพ่ือ
แสดงออกถึงความกตัญญุตาและระลึกถึงคุณงามความดีท่ีมอบไว้ โดยการสร้างเมรุปราสาทจะมีพิธีกรรมท่ี
สาคญั คือการยกยอดเมรุปราสาท

งานวิจัยนเ้ี ปน็ การศึกษาภูมปิ ญั ญาวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทมอญของชาวไทย-มอญ กลุ่มช่างวัดสนาม
เหนือ อาเภอปากเกร็ด จังหวดั นนทบุรี โดยศึกษาในด้านรูปแบบ ด้านวสั ดุ และด้านเทคนิควิธีการ ซึ่งได้จาก
การสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้ที่เก่ียวข้อง จากน้ันได้จัดทาหุ่นจาลอง เพ่ือพัฒนาให้สามารถถ่ายทอดรูปแบบวิธีการยก
ยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญตามวธิ ีจารีตโบราณที่สืบทอดต่อกันมา โดยได้ศึกษาความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้
มีประสบการณ์ หรือเกี่ยวข้อง และผู้เคยมีส่วนร่วมในพิธีกรรมยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ท่ีมีต่อ
หนุ่ จาลองในด้านรปู แบบ ดา้ นวสั ดุ ดา้ นเทคนคิ วธิ ีการ และด้านประโยชน์ใชส้ อย

ผลการศกึ ษาวจิ ยั พบวา่ กลมุ่ ชา่ งวดั สนามเหนือ จังหวัดนนทบรุ ี เป็นกลมุ่ เดยี วที่มแี นวคิดในการสร้าง
เมรปุ ราสาททส่ี ามารถนามาเวยี นใชซ้ ้า ซง่ึ ตา่ งจากแนวคิดของชาวมอญกลุม่ อน่ื โดยตวั อาคารมรี ปู แบบคล้าย
กบั ทรงโกศท่ใี ชใ้ นงานพระราชพิธีของชนชน้ั สูงหรือพระสงฆ์ของไทย โดยการสรา้ งเมรุปราสาทจะแยกสรา้ งเป็น
2 สว่ น คอื ส่วนของตวั ปราสาท และสว่ นยอดปราสาท เมือ่ สรา้ งส่วนยอดเสร็จแล้ว จะมีพธิ ียกยอดปราสาทไว้
บนหวั เสา ดว้ ยเครอื่ งมอื ยกเป็นตะแกรงไม้ไผ่และไม้ไผ่ขนาดใหญส่ องทอ่ นวางทบั อยดู่ ้านบน เรยี กว่า งาชา้ ง
ซึ่งจากการศกึ ษาพบว่า กลุม่ ช่างวัดสนามเหนอื ไดส้ บื ทอดภูมิปัญญาการยกยอดเมรปุ ราสาทตามวธิ จี ารตี โบราณ
ดังกลา่ ว ขณะท่ีกลุม่ ชา่ งอ่นื ไดเ้ ลกิ ใช้หรือปรบั เปล่ยี นวิธกี ารไปแล้ว เช่น การใชร้ อกช่วยดึง ท้งั นี้ในปัจจบุ ัน
พบวา่ การสรา้ งเมรปุ ราสาทตลอดจนวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของกลุ่มช่างวดั สนามเหนือ ไดข้ าดหายไป
เน่อื งจากขาดผ้สู บื ทอด

จากผลการพัฒนาหุน่ จาลองเป็นการจาลองสว่ นตา่ งๆของเมรปุ ราสาทใหเ้ หน็ เป็นมิติรอบด้าน ขนาด
เล็กกวา่ ของจริง ไมเ่ น้นสแี ละลวดลาย ตัวโครงสามารถแยกถอดประกอบเป็นส่วนๆได้ เลอื กใช้วสั ดุในเป็นไม้
จริงและไม้ไผเ่ สริมแกนโลหะเพ่ือความแขง็ แรงในการนาไปใช้จรงิ วิธีการยกใชก้ ารหมุนและดงึ เชอื กโดยใช้มือ
ในตาแหนง่ ทกี่ าหนดไว้ โดยผลการประเมินหนุ่ จาลองเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ท้ังผู้รู้ ผมู้ ีประสบการณ์
หรอื เก่ียวขอ้ งในการสร้าง และผ้เู คยมสี ว่ นรว่ มในพธิ ีกรรมยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ผลการ
ประเมนิ หนุ่ จาลอง โดยภาพรวมมคี วามคิดเห็นอยูใ่ นระดับมาก ด้านประโยชนใ์ ชส้ อยมคี วามเหมาะสมมาก
ท่สี ุด รองลงมาคอื ด้านวัสดุ ดา้ นรูปแบบมคี วามเหมาะสมมาก และน้อยทีส่ ดุ คอื ดา้ นเทคนคิ วิธีการมีความ
เหมาะสมมาก

อยา่ งไรก็ตามยังมขี ้อเสนอแนะเพือ่ การศกึ ษาวจิ ยั ในอนาคต ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบของหลายๆ
กลุ่มช่าง เพื่อให้เห็นถึงภมู ิปญั ญาในแตล่ ะท้องท่ีทม่ี ีการเปลีย่ นแปลงทางตามบรบิ ทแวดลอ้ ม ,การศึกษา
เชือ่ มโยงวิธกี ารยกองค์ประกอบส่วนยอดของสถาปัตยกรรมในอดตี เชน่ ปราสาทหิน ยอดเจดยี ์ ซ่ึงเปน็ อาคาร
ทีถ่ กู สรา้ งข้นึ บนพืน้ ฐานความเชอื่ เดียวกนั เพ่ือใหเ้ ห็นถงึ ความสมั พันธด์ ้านวัฒนธรรมในแถบเอเชียตะวนั ออก
เฉยี งใตใ้ นด้านเทคนิควิธีการ,การจัดทาขอ้ มลู ประกอบห่นุ จาลองเพือ่ ใช้ในการเผยแพรภ่ มู ปิ ัญญาทอ้ งถน่ิ เพื่อให้
เกดิ ความเขา้ ในรายละเอยี ดบางส่วนทไ่ี ม่สามารถปรากฏในห่นุ จาลองได้ รวมถงึ การสรา้ งหุน่ จาลองด้วยวัสดุ
สังเคราะห์อืน่ โดยใชร้ ะบบเทคโนโลยกี ารผลิตด้วยเคร่อื งพมิ พว์ สั ดสุ ามมิติ เพ่อื ให้สามารถผลิตไดจ้ านวนมาก
และสามารถนาไปใชไ้ ด้อย่างแพรห่ ลาย



ชอ่ื โครงการ การพฒั นาแบบจาลองเพ่ือการอนุรักษ์ : กรณศี กึ ษาการยกยอดเมรุ
ปราสาทของชาวไทย-มอญ
ช่ือผวู้ จิ ยั จริ ดา แพรใบศรี
หนว่ ยงานทสี่ ังกดั ภาควชิ าเทคโนโลยศี ิลปอุตสาหกรรม
คณะสถาปตั ยกรรมและการออกแบบ
ไดร้ ับทนุ อดุ หนนุ การวิจัยประเภท เงนิ งบประมาณประจาปี 2554 สานกั วจิ ยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จานวนเงิน 100,000 บาท

บทคดั ยอ่

การวจิ ยั นมี้ วี ตั ถุประสงคเ์ พ่ือศึกษาภูมปิ ญั ญาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ และเพอ่ื
พฒั นาหุน่ จาลองวธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญเพอื่ การอนรุ ักษ์ โดยมงุ่ ศึกษากลุ่มชา่ งวดั สนาม
เหนอื อาเภอปากเกร็ด จงั หวัดนนทบรุ ี

กล่มุ ตัวอยา่ งในการวิจัย คอื ผู้รู้ ผู้เก่ยี วขอ้ งในการสร้างเมรปุ ราสาท จานวน 5 คน ผู้รู้ ผู้มี
ประสบการณ์ หรอื เก่ยี วข้องในการสร้างเมรปุ ราสาท จานวน 3 คน และผูเ้ คยมีสว่ นร่วมในพิธีกรรมยกยอดเมรุ
ปราสาทของชาวไทย-มอญ จานวน 15 คน เคร่ืองมือทีใ่ ชใ้ นการวจิ ัย เปน็ แบบสมั ภาษณแ์ บบไม่มโี ครงสรา้ ง
แบบประเมินความคิดเหน็ และหุน่ จาลอง นาขอ้ มลู มาวเิ คราะหโ์ ดยการพรรณนาวเิ คราะห์ การหาค่าความถ่ี
รอ้ ยละ คา่ เฉล่ยี ( ) และสว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน(SD.)

ผลการวจิ ัย พบวา่ เมรุปราสาทเป็นงานเฉพาะกิจ ท่ีสร้างขึ้นใช้ชัว่ คราวในงานพธิ ีกรรมศพพระสงฆ์ ที่
สามารถรื้อและประกอบใชซ้ า้ ได้

ผลการพฒั นาห่นุ จาลองท่ไี ด้จากการประเมนิ ความคิดเหน็ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยใู่ นระดบั มาก
=4.22(0.01) โดยผูเ้ คยมสี ว่ นรว่ มในพิธกี รรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญมีความคิดเห็นในภาพรวม

มากที่สดุ มีความคดิ เหน็ อยู่ในระดบั มาก =4.43(0.18) และนอ้ ยทส่ี ดุ คือผู้รู้ ผ้มู ปี ระสบการณ์ หรอื เกี่ยวข้อง

ในการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ มีความคดิ เห็นในภาพรวมอยใู่ นระดับมาก =4.42(0.27)

Project Title ข

Researcher Development of Model for Conservation: Case study of
Organization rise up the top of Thai-Mon Crematorium
Miss Jirada Praebaisri
Invester Department of Industrial Art Technology
Budget Faculty of Architecture and Design
Budget Year 2011, Sciences and Technology Research
100,000 Bath

Abstract
The purposes of this study were to (1) study the wisdom of raising up the top of Thai-
Mon crematorium and (2) develop the model to demonstrate the process of raising up the
top of Thai-Mon crematorium for wisdom conservation. The study focused on a group of
technicians of Wat Snam Nue at Pak Kret, Nonthaburi

The sample of this study included 5 people who were the experts, experienced
persons, and persons who have involved in crematorium construction, and 15 persons who
have participated in raising the top of crematorium rite. The research instrument consisted of
semi-structured interview, questionnaire and model. The data were analyzed through
descriptive numerical analysis in order to calculate percentage, average (x) and standard
deviation (SD.).

The findings revealed that the wisdom for building crematoriums of Wat Snam Nue
technicians was different from the other group of Mon people’s as the structure has a similar
shape as a ceremonial urn of Thai aristocracy or clergy. Furthermore, they were the only
one group that came up with the idea of building the crematorium with separable and
reusable components. Their crematorium was divided in to two parts: the building and the
pinnacle (the top of crematorium). After finishing the pinnacle part, it would be lifted up to
the top of main pillar by using bamboo sieve and two big bamboo sticks called “Nhar
Chang” (It means “ivory” in English). The study found that this group of technicians carried
on the old, original tradition of raising up the top of crematorium while the other technicians
changed to other new techniques e.g. using pulley instead of bamboo sieve. Recently,
however, since it had no successor, this Wat Snam Nue technicians’ wisdom has faded away.

The attitudes towards the model development were evaluated in four aspects
including patterns, materials, techniques, and usability. The assessment results showed that
the overall attitude was in “high” rate x=4.22(0.01). The attitudes of the experienced persons
were “high” x=4.42(0.27) while people who have participated in the ritual of raising up the
top of Thai-Mon crematorium’s were “high” as well.



กติ ติกรรมประกาศ
การวิจยั เรื่อง การพฒั นาแบบจาลองเพอ่ื การอนุรกั ษ์ : กรณศี กึ ษาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-
มอญ เปน็ งานวจิ ัยท่ีได้รบั ทุนสนบั สนนุ จากสานกั วจิ ัยวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าพระนครเหนือ ประจาปงี บประมาณ 2554 ซึ่งตอ้ งขอขอบพระคณุ ทีใ่ หโ้ อกาสผู้วิจยั ที่ยงั ขาด
ประสบการณใ์ นการทาวิจยั
ขอขอบพระคณุ คุณพศิ าล บุญผูก ที่เมตตาให้คาแนะนาและข้อมูลที่เก่ียวขอ้ งกับการทาเมรปุ ราสาท
ตลอดจนข้อมูลเกย่ี วกับศิลปวฒั นธรรมมอญ อนั เป็นองค์ความรทู้ ่เี ปน็ ประโยชน์ ท่สี ามารถนามาเชื่อมโยงกับ
งานวิจยั ได้
ขอขอบพระคุณทกุ ทา่ นทีก่ รณุ าใหค้ วามรว่ มมือเป็นอยา่ งดี ในระหวา่ งท่ผี ู้วิจยั เกบ็ ข้อมูลภาคสนามใน
ทกุ ๆแหง่

จิรดา แพรใบศรี



สารบัญ

บทคัดย่อภาษาไทย หนา้
บทคดั ย่อภาษาองั กฤษ ก
กิตตกิ รรมประกาศ ข
สารบญั ง
สารบญั ตาราง จ
สารบัญภาพ ช
บทท่ี ซ

1 บทนา 1
ความสาคัญและทม่ี าของปัญหา 1
วัตถุประสงคข์ องการวิจัย 2
ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รบั 2
ขอบเขตการวิจยั 2
วิธีดาเนนิ การวจิ ยั 3
นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 4

2 ทฤษฎแี ละงานวจิ ยั ท่ีเกย่ี วขอ้ ง 5
ภูมหิ ลังของชาวมอญในประเทศไทย 5
ความเช่ือและพธิ ีศพพระสงฆ์ของชาวมอญ 6
แนวคิดภูมปิ ัญญาท้องถิน่ 20
แนวคิดการอนุรักษ์ 25
งานวจิ ยั ท่เี ก่ยี วข้อง 27

3 วธิ ดี าเนินการวิจยั 30

ข้ันตอนที่ 1 ศึกษาภูมปิ ัญญาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ 30

ขั้นตอนท่ี 2 พฒั นาห่นุ จาลองวิธกี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญเพ่ือการอนรุ กั ษ์ 31

กระบวนการดาเนนิ การวจิ ยั 34

4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 35

สารบัญ(ต่อ) จ

5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หน้า
สรปุ ผลการวิจัย 49
อภิปรายผล 49
ขอ้ เสนอแนะ 51
54
บรรณานกุ รม
55
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก 59
ภาคผนวก ข 60
61
ประวัตผิ ู้วจิ ัย
62



สารบญั ตาราง

ตาราง หน้า

4.1 แสดงจานวนและค่าร้อยละ เพศ ของผปู้ ระเมนิ 45

4.2 แสดงจานวนและค่าร้อยละ อายขุ องผปู้ ระเมนิ 45

4.3 แสดงค่าเฉลย่ี และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความคิดเหน็ ในการประเมนิ ห่นุ จาลอง

วธิ ีการยกยอดเมรปุ ราสาท 46

4.4 แสดงคา่ เฉลย่ี และส่วนเบยี่ งเบนมาตรฐานของระดบั ความคิดเหน็ โดยรวมของผ้ปู ระเมนิ

ทงั้ 2 กลุ่มในการประเมินห่นุ จาลองวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ 48



สารบัญภาพ

ภาพประกอบ หน้า

2.1 ปะราเผาศพ 11

2.2 โรงทมึ (ปราสาทตง้ั ศพ) 11

2.3 เมรุปราสาทของชาวไทยเช้ือสายมอญ 12

2.4 เมรุปราสาทของชาวมอญ 12

2.5 โลงมอญฝมี อื สกลุ ช่างมอญน้าจดื และช่างมอญน้าเค็ม 14

2.6 งานยกยอดเมรุปราสาท 15

2.7 ยอดเมรุปราสาททีเ่ ตรยี มยก 15

2.8 ช่างและผรู้ ่วมพธิ ยี กยอดเมรปุ ราสาท 15

2.9 พธิ ยี กยอดเมรุปราสาท 16

2.10 การแห่ลกู หนรู อบเมรุเพ่อื เคารพผ้เู สยี ชีวติ 18

2.11 การจุดลูกหนู 18

2.12 การวางดอกไมจ้ นั ทนแ์ ละไมห้ อมก่อนทาพธิ ีเผาจริง 19

2.13 พิธีไกวศพ 19

4.1 การสืบทอดภูมิปญั ญาการสรา้ งเมรุปราสาทของกลมุ่ ชา่ งวดั สนามเหนอื จ.นนทบุรี 36

4.2 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสร้างเฉพาะงาน กลุ่มชา่ งมอญประเทศไทย 36

4.3 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสรา้ งเฉพาะงาน กลุม่ ชา่ งมอญประเทศพม่า 37

4.4 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสร้างถอดประกอบ กลุ่มชา่ งมอญประเทศไทย 35

4.5 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสรา้ งถอดประกอบ กลุ่มช่างอยุธยา 35

4.6 เมรุปราสาทกล่มุ ช่างวัดสนามเหนือ อาเภอปากเกรด็ จงั หวดั นนทบรุ ี 38

4.7 ยอดเมรุปราสาท 39

4.8 ลักษณะโครงสรา้ งยอดเมรุปราสาท (กลมุ่ ช่างพระประแดง) 40

4.9 โครงสรา้ งตวั อาคาร 41

4.10 โครงสร้างในการยกยอดปราสาท 42

4.11 การเตรยี มติดตั้งเครือ่ งมอื ยก 42

4.12 ตาแหน่งการยึดโยงหนวดประคองยอดเมรุปราสาท 43

4.13 วธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาท 43

4.14 หนุ่ จาลองวธิ ยี กยอดเมรปุ ราสาทกลุ่มช่างวัดสนามเหนือ จังหวัดนนทบุรี 44

4.15 อุปกรณแ์ ละกลไกในการทาหนุ่ จาลอง 45

ข.1 สมั ภาษณเ์ กบ็ ขอ้ มลู 61

ข.2 ประเมนิ หุ่นจาลอง 61

1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ควำมสำคญั และทีม่ ำของปัญหำ
ชาวมอญเป็นชนชาติหนง่ึ ที่ไมม่ ีแผ่นดินเปน็ ของตนเอง แต่ชาวมอญยังคงตระหนักในความเปน็ มอญ

ของตนอยู่เสมอ การยึดถือภาษา ประวัตศิ าสตร์ ขนบประเพณี และค่านิยมอนั เป็นเอกลกั ษณ์ของตนไว้
อย่างเหนยี วแนน่ (สมพศิ มงคลพนั ธ์:www.komchadluek.net) เมอ่ื ชาวมอญอพยพเข้ามาในประเทศไทย
พระมหากษัตริยไ์ ทยจะกาหนดพ้นื ที่เพ่ือใหช้ าวมอญได้อยูอ่ าศยั ซึง่ ศรศี กั ร วลั ลโิ ภดม(2536:51)กล่าววา่ ชาว
มอญทอ่ี พยพเข้ามา ได้ต้งั ถ่นิ ฐานอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันตก และทางภาคเหนือของประเทศไทย แหล่งท่ี
มีคนมอญอยู่อย่างหนาแนน่ คอื แถบภาคกลาง เช่น นนทบรุ ี ปทมุ ธานี สมุทรปราการ สมทุ รสาคร ราชบุรี
เปน็ ต้น เมือ่ ย้ายถ่นิ เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย กไ็ ด้นาอตั ลกั ษณ์ความเปน็ มอญเข้ามาด้วย ทง้ั อตั ลักษณ์
ทางการเมืองและอตั ลักษณ์ทางชาติพนั ธ(์ุ มนธิรา ราโท.2552:215) ชาวมอญได้ยึดถอื วฒั นธรรมและประเพณี
ประจาชาติของตนอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาพูด ลัทธปิ ระเพณี ศาสนาและศลิ ปะ จะเหน็ ไดว้ ่าชาว
มอญทอี่ พยพเข้ามาอย่ใู นประเทศไทยได้ถอื ปฏบิ ตั ิสืบตอ่ มาอยา่ งเคร่งครัด จนบางส่วนของวัฒนธรรมเหลา่ นั้น
ไดเ้ ข้ามามีอิทธพิ ลอยู่ในสงั คมไทย เชน่ ดนตรี ภาษาและวรรณคดี ตลอดจนประเพณบี างอย่าง(สุภรณ์ โอ
เจริญ.2519:156)

ชาวมอญท้งั ในประเทศพม่าและประเทศไทย ต่างมคี วามเชื่อเกย่ี วกับการสร้างกุศลกรรมตา่ งๆท่ี
เหมือนกัน เน่อื งจากเป็นหลกั ธรรมปฏิบตั ทิ ีส่ ืบทอดกนั มา โดยเฉพาะประเพณีปฏบิ ัติตอ่ พระภกิ ษสุ งฆ์ท่ี
มรณภาพ ชาวมอญเรียกการมรณกรรมของพระสงฆว์ า่ “จาวฟอ” แปลวา่ การข้นึ ไปสถติ อย่บู นสวรรค์ การ
จดั งานศพของพระจึงเป็นการส่งพระสงฆ์ไปสู่สรวงสวรรค์ ดังนัน้ เม่ือมีพระมอญรูปหนึ่งรูปใดมรณภาพลง
โดยเฉพาะพระชัน้ ผูใ้ หญท่ ่มี ีพรรษาสงู มีศีลจารวัตรที่งดงามไม่ด่างพรอ้ ย การจดั งานศพจึงคอ่ นขา้ งยง่ิ ใหญก่ วา่
ศพคนธรรมดาสามัญท่วั ไป ด้วยการสรา้ งเมรปุ ราสาทสาหรบั ตัง้ ศพใหพ้ ระสงฆท์ ีม่ รณภาพ เพราะชาวมอญถอื
กันวา่ พระนนั้ เปน็ ผมู้ ศี ลี บรสิ ุทธ์ิ ไม่ควรเผารวมกับคนธรรมดา(สมพศิ มงคลพันธ์:www.komchadluek.net)

การฌาปนกิจศพพระสงฆ์จึงมีการก่อสร้างสถาปตั ยกรรมเฉพาะกจิ ขน้ึ เมรปุ ราสาทจึงเปรยี บเสมอื นชน้ั
วิมานหรือท่อี ยขู่ องผู้ท่ลี ่วงลับ ทม่ี ีลกั ษณะเปน็ อาคารทรงปราสาท อันแสดงนัยถงึ เขาพระสเุ มรุ เชน่ เดยี วกบั
พน้ื ทอ่ี ่ืนๆในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ซึ่งการสรา้ งเป็นอาคารทรงปราสาทนั้น แสดงถึงฐานานศุ ักดิส์ งู ที่
ใช้สาหรบั พิธีศพพระสงฆ์ทีม่ ศี ลี จารวัตรสงู เท่านนั้ อันเป็นสิ่งสะท้อนถงึ ศีลจารวตั รและความเคารพนับถือของ
ผู้คนท่ีมตี อ่ พระสงฆ์มอญรูปน้ัน เนือ่ งจากปราสาทเผาศพจะเปน็ สง่ิ สดุ ทา้ ย ที่ชาวมอญสามารถปฏิบตั ติ อ่
พระสงฆ์ท่ีมรณภาพรูปนน้ั ได้ เพ่อื แสดงออกถงึ ความกตัญญุตา และระลกึ ถงึ คุณงามความดที ี่มอบไวก้ ับศษิ ยา
นศุ ษิ ยท์ ง้ั หลาย(ณัชชา สกุลงาม.2552:56-57) ซ่งึ ลกั ษณะทางสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะปราสาทจะมสี ว่ น
สาคญั คอื เครือ่ งบนของปราสาทซงึ่ เรยี กว่า หลังคาหรอื ยอดปราสาท ปราสาทท่มี สี ว่ นยอดเลียนแบบยอด
มณฑปทเ่ี รยี กว่า ยอดเหม ก็คอื สว่ นยอดของปราสาทตอนทอ่ี ยถู่ ัดจากบัลลงั ก์ขึ้นไปและรองรับบวั กลมุ่ สว่ น
ปราสาททีต่ ้องมีเหมเพราะตอ้ งการใหเ้ หมอื นยอดเขาพระสเุ มรแุ ละยอดเขาไกรลาศ ซึ่งเชือ่ กันว่าเปน็ สวรรค์
(สมทรง แสงแกว้ .23-28:2512)

ยอดเมรุปราสาทเป็นส่วนเริ่มแรกของการสร้างเมรุปราสาท ซ่ึงจะต้องมีพิธกี ารยกยอดข้ึนประกอบบน
โครงสรา้ ง เพอ่ื บวงสรวงตามความเชือ่ ดว้ ยวิธกี ารยกยอดเมรปุ ราสาทแบบโบราณ ในปัจจุบนั ภมู ิปัญญาการ
ยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ตามวิธีแบบจารีตโบราณนั้น ปรากฏเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอยู่เพียงไม่กี่
ท่าน อีกทั้งเทคนิคในการยกยอดเมรุปราสาทดังกล่าว ก็กาลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่นเน่ืองจากขาดการสืบ

2

ทอด จากการศึกษาข้อมูลเบ้ืองต้น ผู้วิจัยพบวา่ การสร้างปราสาทมีราคาแพงมากจึงไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยคร้ัง
จะสร้างขึ้นต่อเม่ือมีพระสงฆ์มรณภาพแล้วเท่าน้ัน และไม่มีการสร้างข้ึนล่วงหน้า ดังน้ันโอกาสในการยกยอด
เมรปุ ราสาทตามแบบโบราณในปัจจุบันจงึ มนี ้อยลง และยิง่ โอกาสในการเกดิ งานมีแนวโน้มลดลงเท่าใด โอกาส
ในการสืบสานงานก็ยิ่งมีน้อยลงเท่าน้ัน เมื่อเป็นเช่นน้ี การขาดแคลนผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นจึงเป็น
เร่ืองทเี่ ส่ยี งตอ่ การสญู เสยี มรดกทางวัฒนธรรมที่อาจเกิดขนึ้ ในอีกไมช่ ้า

มรดกวัฒนธรรม คอื วัฒนธรรมในอดตี ท่ีสืบทอดกนั มาจนเป็นมรดกทางสังคม เป็นตัวแทนวิถีชวี ิตของ
คนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งมีความจาเป็นจะต้องรักษาความเป็นของแท้และด้ังเดิมไว้ จากความสาคัญ
ดังกล่าว การวิจัยครั้งน้ีจึงเกิดขึ้น โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษาภูมิปัญญาวิธีการยกยอดเมรุปราสาทแล้วจัดทาหุ่นจาลอง
โดยกาหนดพ้ืนท่ีศึกษา ณ วัดสนามเหนือ ซึ่งเป็นชุมชนมอญขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ท่ียังคง
ปรากฏร่องรอยของการยกยอดเมรปุ ราสาทดังกลา่ ว เพ่ือแสวงหาองค์ความรู้จากผู้รู้และบุคคลท่ีมีประสบการณ์
ในประเด็นการยกยอดเมรุปราสาทมอญตามวิธีแบบจารีตโบราณ ท้ังนี้ผลการวิจัยและหุ่นจาลองที่ได้ สามารถ
เป็นสื่อการเรียนรู้สาคัญที่ชุมชนจะได้นาไปจัดแสดง เช่น ในศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่
เยาวชนและผสู้ นใจ ตลอดจนการนาไปสู่การตอ่ ยอดการบูรณาการเพ่ือการอนุรักษ์มรดกทางวฒั นธรรมของชาว
มอญในประเทศไทยต่อไป

1.2 วัตถุประสงคข์ องกำรวจิ ัย
1.2.1 เพื่อศกึ ษาภมู ปิ ัญญาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
1.2.2 เพอื่ พัฒนาห่นุ จาลองวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญเพอื่ การอนรุ กั ษ์

1.3 ประโยชนท์ ่ีคำดว่ำจะไดร้ บั

1.3.1 สามารถเปน็ ขอ้ มลู เชิงประวัติศาสตรส์ าหรบั ชุมชนและกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ชาวไทย-มอญ ทม่ี ี

ความสมั พนั ธเ์ กีย่ วขอ้ งกันในดา้ นเอกลกั ษณท์ างวฒั นธรรม การติดตอ่ ทางวฒั นธรรมและกระบวนการ

ผสมผสานทางวฒั นธรรมของชาวมอญ

1.3.2 สามารถเปน็ ขอ้ มูลเพือ่ การศึกษาภมู ปิ ัญญาท้องถ่ินในเชงิ อนุรกั ษ์ทผี่ ูเ้ กี่ยวขอ้ งยอมรบั และ

สามารถนาไปสู่การการต่อยอดองคค์ วามรู้ และใชป้ ระโยชนไ์ ดใ้ นวงกวา้ ง

1.3.3 สามารถบูรณาการองคค์ วามรูด้ ้านการออกแบบใหส้ ามารถถา่ ยทอดภมู ิปญั ญาทอ้ งถิน่ ท่ี

สามารถนาไปใช้ได้ท้ังในดา้ นการศึกษาและการสืบทอดภมู ิปญั ญาทอ้ งถิ่น

1.4 ขอบเขตกำรวจิ ยั
การศึกษาวจิ ัยครั้งนี้มงุ่ ศึกษาภูมปิ ัญญาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ เพอ่ื นามาจดั ทา

แบบจาลองสาหรบั การอนุรักษ์ ซงึ่ ไดก้ าหนดขอบเขตของการวจิ ยั ดงั น้ี
1.4.1 ดา้ นพนื้ ท่ี
วัดสนามเหนอื อาเภอปากเกร็ด จงั หวดั นนทบรุ ี
1.4.2 ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
ประกอบด้วย ดังน้ี
1.4.2.1 ประชากรที่ศึกษา ไดแ้ ก่
1.4.2.1.1 ผู้รู้ ผเู้ กี่ยวขอ้ งในการสรา้ งเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ

3

1.4.2.1.2 ผ้รู ู้ ผมู้ ีประสบการณ์ หรอื เกยี่ วข้องในการสรา้ งเมรปุ ราสาทของชาว
ไทย-มอญ วดั สนามเหนอื อาเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

1.4.2.1.3 ผ้เู คยมสี ว่ นร่วมในพิธีกรรมยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ
1.4.2.2 กลุ่มตัวอยา่ งท่ศี กึ ษาแบ่งเป็น 2 ขน้ั ตอนตามวัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย ดงั นี้

ขน้ั ตอนท่ี 1 ไดแ้ ก่
1) ผ้รู ู้ ผ้เู กีย่ วข้องในการสรา้ งเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ จานวน 5 ท่าน

ข้นั ตอนที่ 2 ไดแ้ ก่
1) ผ้รู ู้ ผูม้ ีประสบการณ์ หรือเกย่ี วข้องในการสรา้ งเมรุปราสาทของชาว

ไทย-มอญ วัดสนามเหนอื อาเภอปากเกรด็ จงั หวัดนนทบุรีจานวน 3 ทา่ น
2) ผเู้ คยมีส่วนรว่ มในพธิ กี รรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ

จานวน 10 ท่าน
1.4.3 ตวั แปรทีศ่ กึ ษาในการวจิ ัย
1.4.3.1 ภมู ิปญั ญาวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
1.4.3.2 ความคิดเหน็ ท่ีมีตอ่ หุน่ จาลองวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ

1.5 วธิ ีดำเนินกำรวจิ ัย
การวจิ ัยในคร้ังน้ี แบง่ แหล่งการศึกษาข้อมูล ดงั นี้
1.5.1 ขั้นตอนการวจิ ัย
1.5.1.1 ศึกษาขอ้ มูลท่ีเกย่ี วขอ้ งกับลกั ษณะการจดั เกบ็ และรูปแบบหอ่ คัมภีร์ใบลาน เพ่อื

กาหนดกรอบแนวคดิ และสรา้ งเครอ่ื งมือท่ใี ช้ในการวิจัย
1.5.1.2 ศกึ ษาขอ้ มลู ปฐมภูมจิ ากการสมั ภาษณ์แบบเจาะลกึ จากผู้รแู้ ละผทู้ เี่ กี่ยวขอ้ ง ในดา้ น

ตา่ งๆ ได้แก่ ดา้ นรปู แบบ ด้านวสั ดุ และด้านเทคนิควธิ ีการ
1.5.1.3 สรุปภูมิปญั ญาท้องถิ่นวิธกี ารยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ในดา้ นรปู แบบ

ดา้ นวสั ดุ และดา้ นเทคนคิ วิธีการ
1.5.1.4 จดั ทาหุน่ จาลองวิธกี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
1.5.1.5 กระบวนการพัฒนาหนุ่ จาลองวธิ ีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ โดยให้

ผู้เกี่ยวข้องประเมิน โดยใชแ้ บบประเมนิ ประกอบหุ่นจาลอง
1.5.1.6 วิเคราะห์ผลการพฒั นาห่นุ จาลองวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ
1.5.1.7 สรุปประเมินผล อภปิ ราย นาเสนอผลงาน การพฒั นาหนุ่ จาลองวิธกี ารยกยอดเมรุ

ปราสาทของชาวไทย-มอญ โดยใชก้ ารหาคา่ ความถ่ี รอ้ ยละและค่าเฉลีย่
1.5.2 เคร่ืองมอื ทใ่ี ช้ในการวิจยั
1.5.2.1 แบบสมั ภาษณ์อยา่ งไมเ่ ป็นทางการ(Informal Interview) ผ้วู จิ ัยเน้นการสัมภาษณท์ ี่

พยายามศึกษาความจริงจากผถู้ ูกสัมภาษณใ์ นแตล่ ะบุคคล ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทของ
ชาวไทย-มอญ

1.5.2.2 สมดุ บนั ทึกขอ้ มูล
1.5.2.3 ภาพน่งิ แสดงวธิ ีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ที่เคยถูกบันทกึ ไว้
สาหรบั ประกอบการสัมภาษณ์
1.5.2.4 ภาพร่างรปู แบบเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ สาหรับประกอบการสัมภาษณ์

4

1.5.2.5 ห่นุ จาลองแบบหยาบ สาหรับประกอบการสมั ภาษณ์
1.5.2.6 แบบประเมนิ หุ่นจาลองวธิ ีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
1.5.2.7 ตน้ แบบหุ่นจาลองวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ
1.5.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวเิ คราะห์ข้อมูล
1.5.3.1 การเก็บรวบรวมความเป็นมา วัฒนธรรม และประเพณเี กย่ี วกบั การสรา้ งเมรุ
ปราสาท

- แหล่งข้อมูลประเภทตาราเอกสารและงานวิจยั
- แหล่งข้อมูลประเภทสื่ออเิ ลค็ ทรอนิคส(์ Internet)
1.5.3.2 การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ปฐมภูมิ โดยลงพน้ื ท่เี พ่ือเก็บขอ้ มูลภาคสนาม
- การสารวจสภาพทางกายภาพจากภาพถา่ ย ภาพเคล่อื นไหว ทีถ่ กู บนั ทกึ ไว้
- การสมั ภาษณผ์ รู้ ดู้ า้ นรปู แบบ ดา้ นวัสดุ และด้านเทคนคิ วธิ ีการ
- การแจกแบบประเมนิ ในพน้ื ท่แี หล่งเคยมพี ิธียกยอดเมรุปราสาทแบบไทย-มอญ
1.5.3.3 วเิ คราะห์ขอ้ มูลภูมปิ ัญญาท้องถิน่ วธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ใน
ดา้ นรูปแบบ ด้านวสั ดุ และดา้ นเทคนคิ วธิ กี าร โดยใช้การพรรณาวิเคราะห์
1.5.3.4 วเิ คราะหผ์ ลการพัฒนาหุน่ จาลองวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ โดยใช้
สถติ เิ ชงิ บรรยาย ความถี่ ร้อยละและค่าเฉลีย่

1.6 นยิ ำมศัพท์
1.6.1 เมรปุ ราสาท หมายถงึ สถาปตั ยกรรมทรงยอดปราสาทสาหรับใชง้ านชว่ั คราว ตามรูปแบบ

ศลิ ปกรรมและประเพณกี ารเผาศพพระสงฆ์ ท่ีออกแบบและสร้างขน้ึ โดยชาวไทยเชอ้ื สายมอญ
1.6.2 แบบจาลอง หมายถงึ หนุ่ จาลองทางสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบอน่ื ๆ ทมี่ ีขนาดย่อสัดส่วน

จากของจริง เพ่อื สาหรับถา่ ยทอดรูปแบบเร่ืองราวท่ีเคยปรากฎในอดีต
1.6.3 วธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาท หมายถงึ การนาสว่ นยอดของเมรุปราสาทขึ้นสู่ตัวเมรปุ ราสาท

ด้วยวธิ กี ารของท้องถน่ิ ชาวมอญที่สืบทอดตามแบบโบราณ ซึง่ เปน็ ลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มช่างท่แี ตกต่าง
กันไปตามพน้ื ที่

1.6.4 แบบโบราณ หมายถงึ การปฎบิ ัติและสบื ทอดต่อกนั มาโดยไมเ่ ปลยี่ นแปลง ทยี่ งั คงใช้รปู แบบ
วัสดุ และเทคนคิ วิธกี ารอนั เกดิ จากภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น

5

บทท่ี 2
ทฤษฎีและงำนวิจยั ท่เี ก่ยี วขอ้ ง

ในการศึกษาวจิ ยั นี้ ผ้วู ิจัยไดศ้ ึกษาแนวคดิ ทฤษฎี และงานวจิ ัยท่เี ก่ียวข้องกบั การศึกษา ดงั น้ี
2.1 ภูมหิ ลงั ของชาวมอญในประเทศไทย
2.2 ความเช่อื และพธิ ีศพพระสงฆข์ องชาวมอญ
2.3 แนวคดิ ภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ิน
2.4 แนวคิดการอนุรักษ์
2.5 งานวจิ ยั ที่เก่ยี วขอ้ ง

2.1 ภูมหิ ลงั ของชำวมอญในประเทศไทย
ชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น “มอญ” เป็นชนชาติหนึ่งท่ีมีความเป็นมา

ยาวนาน เป็นกลุ่มชนชาติท่ีมีบทบาททางวัฒนธรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูง สุภรณ์ โอเจริญ
(2541:13)กล่าวว่า ชาวมอญมีภาษาพูดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร(Mon-Khmer) ในอดีตเคยมีดินแดนอยู่ทาง
ตอนล่างของพมา่ และเรยี กชื่อประเทศของตนว่า รามญั เทศ หรือรามัญประเทศ ดงั เห็นได้จากจารึกกัลยาณี
ซ่ึงได้กล่าวถึงประเทศมอญในตอนขึ้นต้นคาถาภาษาบาลีไว้ คาว่า ราม.ญเทศ เป็นคาเรียกของนักภูมิศาสตร์
ชาวอาหรับ ซึ่งหมายถึงประเทศมอญ ส่วนชาวพม่าเรียกมอญว่า ตะเลง(Talaing) ซึ่งเพ้ียนมาจากคาว่า
Talingana อันเป็นแคว้นหน่ึงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ซ่ึงนักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาหลักฐาน
โบราณคดีในตอนใต้ของประเทศพม่า(Lower Burma) โดยได้ข้อสรุปว่า คนมอญในแถบลุ่มน้าอิระวดีได้อยู่
อาศัยแถบน้ีมาแล้วตั้งแตก่ ่อนพุทธศตวรรษท่ี 8 และไดต้ ั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่
13 โดยเข้ามาตั้งอาณาจักรทางตอนใต้บริเวณลุ่มแม่น้าสาละวินและสะโตง ซึ่งบริเวณน้ีในเอกสารของจีนและ
อนิ เดียเรียกว่า “สุวรรณภูมิ” เอกสารภูมิศาสตร์ของปโตเลมี(Ptolemy) กล่าวถึงดินแดนแถบบริเวณตอนใต้
ของประเทศพม่า และทางตะวันออกของอ่าวเมาะตะมะว่า “แผ่นดินทอง”(The Golden Land) ซึ่ง
ความหมายตรงกับคาศัพท์บาลี-สันสกฤตว่า “สุธรรมวดี” หรือ สะเทิม(Thaton) อันเป็นชือ่ เมืองโบราณใน
ตอนใต้ของประเทศพม่าและประเทศไทย นอกจากนี้ยังปรากฎช่ือสุวรรณภูมิอยู่ในหลักฐานท่ีเป็นเรื่องราว
ชาดกในพุทธศาสนาอีกดว้ ย(บษุ บา ตระกลู สัจจาวตั ร.2532:200)

อาณาจกั รมอญเริม่ ปรากฏเป็นหลกั ฐานทอี่ าณาจักรสุธรรมวดี หรือสะเทมิ (Thaton) ภายหลงั ถกู พม่า
โจมตี กระทง่ั พ.ศ.1830 พระเจ้าฟ้ารวั่ สามารถกอ่ ตงั้ อาณาจักรมอญข้นึ มาใหม่ แต่กต็ อ้ งตกเป็นของพม่าอกี
จนพ.ศ.2283 สมิงทอพุทเกศไดก้ อบกู้อาณาจกั รขึ้นมาใหม่ และถกู โจมตีจากพระเจา้ อลองพญาในพ.ศ.2300
นับแต่น้นั มามอญไม่สามารถกอบกูเ้ อกราชได้อกี ดังนั้นชาวมอญในประเทศพมา่ จงึ ไดม้ ีการอพยพเข้ามาสู่
ประเทศไทยอยหู่ ลายคร้งั เขา้ มาพึง่ พระบรมโพธสิ มภารจากกษัตริย์ไทยตง้ั แตส่ มยั อยธุ ยา จนถงึ สมัยต้นกรงุ
รัตนโกสนิ ทร์(สภุ รณ์ โอเจรญิ .2519:40)

การทีม่ อญอพยพเขา้ สปู่ ระเทศไทย ได้มีบนั ทึกไว้เปน็ ทางการอยา่ งแน่นอนเปน็ คร้งั แรก ใน พ.ศ.2127
คอื หลงั จากทีส่ มเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และกค็ งมกี ารอพยพติดตอ่ กนั มาเร่อื ยๆ
อีกหลายครั้ง(สุจริตลกั ษณ์ ดผี ดงุ และคณะ.2526:11) สภุ รณ์ โอเจรญิ (2541:43-47)กลา่ วว่า การทช่ี าว
มอญตอ้ งถูกกดขี่ข่มเหง และการทตี่ ้องต่อสูด้ ิ้นรนท่ีจะประกาศอสิ รภาพจากพม่า ทาใหม้ อญบางกลุ่มไม่
สามารถทนได้ จงึ ตอ้ งล้ภี ยั อพยพมายงั ประเทศไทย ชาวมอญเลือกท่จี ะอพยพสูป่ ระเทศไทยก็เน่อื งมาจาก
ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรภี าพ พระมหากษตั ริยท์ รงเต็มไปดว้ ยนา้ พระทยั สภาพแวดล้อมก็ใกลเ้ คียงกับ

6

อาณาจักมอญ อกี ท้งั ชาวไทยน้นั มวี ิถชี วี ิตทใ่ี กล้เคียงกับชาวมอญ และการนบั ถือศาสนาเดยี วกนั มอญจงึ พา
กันอพยพเขา้ สปู่ ระเทศไทย รูปแบบการอพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีทงั้ ในฐานะเชลยสงครามและการหลบหนี
จากกองทัพพมา่ เขา้ มาลภ้ี ัยทางการเมอื ง การอพยพเขา้ มายังประเทศไทยทม่ี ีการจดบนั ทกึ น้นั มที ้งั หมด 11
คร้งั โดยอพยพมาในสมยั กรงุ ศรีอยธุ ยา 6-8 ครั้ง สมัยกรุงธนบุรี 1 ครงั้ และสมยั กรุงรัตนโกสนิ ทร์ 2 ครงั้
และเกือบทุกครั้งทมี่ ีครวั มอญอพยพเข้าสปู่ ระเทศไทย พระมหากษัตรยิ ไ์ ทยกจ็ ะโปรดฯใหม้ ีคนไปรบั ครัวมอญ
พระราชทานที่ให้ตงั้ บา้ นเรือนและที่ทากิน พระราชทานขา้ วของเครื่องใชท้ ่ีจาเปน็ ทั้งยังโปรดใหม้ หี ัวหนา้
ผู้ดแู ลว่ากล่าวเปน็ คนเชอ้ื ชาติมอญด้วยกนั ซง่ึ บริเวณที่จัดให้เป็นที่อย่ขู องมอญสว่ นใหญจ่ ะอยู่รมิ น้า โดยเฉพาะ
อยา่ งยิ่งแมน่ ้าทางตอนเหนอื ของกรงุ เทพฯและตามลานา้ แม่กลอง มอญท่ีอพยพเข้ามาในสมยั กรงุ ศรอี ยุธยาน้ัน
มกั จะต้ังบ้านเรอื นอยู่แถบชานพระนคร และบรเิ วณท่ีตดิ ต่อกับจงั หวดั นนทบุรี ต่อมาในสมัยกรงุ ธนบุรีกไ็ ด้
โปรดเกลา้ ฯใหไ้ ปอยู่ทีป่ ากเกรด็ แขวงเมืองนนทบุรี และที่สามโคก แขวงเมอื งปทุมธานี ในสมยั สมเด็จพระ
พทุ ธเลศิ หลา้ นภาลัยไดม้ กี ารสร้างป้อมข้นึ ที่ปากลัดหรอื เมอื งนครเขอ่ื นขันธ์ ได้โปรดใหย้ า้ ยครวั มอญจากเมือง
ปทุมธานซี ่ึงเป็นพวกพระยาเจง่ ส่วนหนง่ึ ไปไว้ทเี่ มืองดงั กล่าว เพราะฉะนั้นบริเวณที่มีชาวมอญอยเู่ ปน็ จานวน
มากก็คือ นนทบรุ ี ปทุมธานี และปากลดั หรือนครเขือ่ นขนั ธ์(สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และคณะ.2526:18) การ
อพยพของชาวมอญเข้าสปู่ ระเทศไทยนนั้ ทาใหช้ าวมอญไดเ้ ขา้ มาอาศยั กระจายอยู่ท่ัวประเทศไทย และยังคง
มีการติดต่อสมั พนั ธ์กันระหว่างชาวมอญในประเทศพม่าและในประเทศไทยมาจนถึงปจั จุบนั (บุษบา ตระกูลสจั
จาวตั ร.2532:200) เชน่ การทท่ี างราชการอนญุ าตให้ชาวมอญลากลับไปเยยี่ มญาติพีน่ อ้ งทเี่ มืองเมาะลาเลิงบา้ ง
เมอื งทวายบา้ งอยู่เนืองๆ รวมทงั้ พระสงฆร์ ามญั กไ็ ดร้ ับอนญุ าตใหล้ าไปนมัสการพระเจดียท์ ร่ี ่างกงุ้ ตามความ
ศรัทธา พร้อมทัง้ เยี่ยมญาตพิ ี่นอ้ งในเมอื งมอญ(มนธิรา ราโท.2552:18-19)

ดังนัน้ จะเห็นไดว้ ่าเม่ือชาวมอญไดต้ กอย่ใู นภาวะกดดนั จากสงคราม ชาวมอญบางส่วนจงึ อพยพ
เข้ามาต้งั ถิน่ ฐานและกระจายอยใู่ นประเทศไทย และบางสว่ นยังคงมีการติดตอ่ สมั พันธก์ นั ระหวา่ งชาวมอญใน
พม่าและชาวมอญเมืองไทยตัง้ แตอ่ ดีตจนถงึ ปัจจบุ นั เพราะพดู ภาษาเดยี วกัน มีค่านิยมความเช่ือ และมี
วัฒนธรรมประเพณีทอ่ี ยู่บนพืน้ ฐานเดยี วกนั แตถ่ งึ กระนนั้ เมื่อชาวมอญอพยพเขา้ มาอยู่ในประเทศไทย ก็ได้
ปรบั ตวั ตามบริบทแวดลอ้ มทางสังคม เพียงแตย่ งั คงสืบทอดวัฒนธรรมความเช่อื ของกลุม่ ตน แม้อาจมกี าร
ปรบั เปลย่ี นไปบางสว่ นแล้วก็ตาม

2.2 ควำมเช่ือและพธิ ีศพพระสงฆข์ องชำวมอญ
ทุกสงั คมในโลกต่างมีวิธีแก้ปัญหาความกลัว ความระส่าระสายของความสัมพันธท์ ่ีถูกกระทบ รวมท้ัง

มีความพยายามหาทางกาจัดและหาทางป้องกันผลร้ายตา่ งๆที่จะเกิดตามมาจากการสูญเสียชีวิตของสมาชกิ ใน
สงั คมตนเอง ดงั จะเห็นได้จากประเพณีและพิธกี รรมเก่ียวกับการทาศพ ท่ีปฏิบตั ิกันในรูปแบบท่ีแตกตา่ งกันไป
ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ยุคสมัย สภาพภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของแต่ละสังคมท่ีสะท้อนถึง
ความพยายามของมนุษย์ ในอันท่ีจะเช่ือมโยงระหว่างโลกของตนเองกับโลกที่ดูล้ีลับน่าสะพรึงกลัว เพื่อให้
วิญญาณของผู้จากไปได้อยู่อย่างมีความสุขตามความเช่ือเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย รวมท้ังความรู้สึกนึกคิด
เกยี่ วกบั สภาวะและสถานท่ีที่ผตู้ ายจะตอ้ งเผชิญ(แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย.2547:39)

พิธีศพ คือพิธีกรรมความตาย เป็นพิธีกรรมสาคัญท่ีสุดของมนุษย์ อย่างน้อยต้ังแต่ 3,000 ปีมาแล้ว
สืบถึงปัจจุบัน(สุจิตต์ วงษ์เทศ.2551:11)ภาพปรากฏในลัทธิพิธีงานศพและพิธีกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับคนตายนั้น
เป็นเรอ่ื งเกี่ยวขอ้ งกบั วิถีชวี ติ และระบบคิด อันเชอื่ มโยงกับความเป็นมา ความเป็นอยู่ ความเป็นไปของมนุษย์
และสังคมวัฒนธรรมนนั้ ๆ(อภิธาน สมใจ. 2541:12)

7

2.2.1 ควำมเชื่อในพธิ ีศพพระสงฆ์ของชำวมอญ
ชาวมอญมคี วามเลอื่ มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควบคู่ไปกบั การถือผีบรรพบุรษุ อย่างเคร่งครัด
พิธกี รรมและการปฏบิ ตั ิตนต้ังแต่เกดิ จนตายจึงเกย่ี วขอ้ งกับผแี ละพทุ ธศาสนา งานบุญกศุ ลต่างๆเดก็ และผูใ้ หญ่
ไมล่ ะเลยในการเขา้ ร่วมกจิ กรรมทางศาสนา อาทิ การจบั จองเปน็ เจา้ ภาพงานบญุ เทศกาล กฐนิ ผ้าป่า
ความเลอ่ื มใสในพทุ ธศาสนาและอิทธิพลความเช่ือเรือ่ งบาปบญุ ทาให้โยงไปส่กู ารอธิบายและตีความข้อ
ประพฤติปฏบิ ตั ิดว้ ยพทุ ธประวตั ิ ความยดึ ม่นั ในศรัทธานเี้ ป็นฐานให้เกดิ ขนบท่ีถอื ปฏิบัตสิ ืบต่อกันมา และ
ขนบธรรมเนียมก็เป็นปัจจัยสาคัญทท่ี าให้ระบบความสัมพันธ์ทางสงั คมแนน่ แฟ้น ความเลอ่ื มใสศรทั ธาในพุทธ
ศาสนาอยา่ งลึกซ้ึงน้ี ทาใหช้ าวมอญมฐี านคดิ เรื่องนรกสวรรค์ การเวียนวา่ ยตายเกิด เชอื่ เรือ่ งโลกหนา้ ชาว
มอญเชือ่ วา่ เมื่อคนเราตายแล้วจะไปเกดิ ใหมต่ ามผลบญุ ทที่ าไว้ ความเชอื่ ดังกล่าวสะทอ้ นมาส่พู ธิ ีกรรมการ
ปฏิบัตติ ั้งแตเ่ กดิ จนตาย โดยสว่ นใหญม่ กั สอดคลอ้ งกับคติทางพุทธ ท้งั ยังมกี ารใช้สญั ลกั ษณท์ เ่ี ป็นปรศิ นาธรรม
และนาพทุ ธประวตั มิ าใช้อธิบายแบบแผนปฏิบตั ิในพิธีกรรมตา่ งๆ (สรนิ ยา คาเมอื ง.2550:6-7)
ประเพณีเกี่ยวกบั งานศพของมอญมีรายละเอยี ดที่แตกต่างจากคนไทย การทาพิธีขึ้นอย่กู ับลกั ษณะ
การตายของผู้น้นั โดยตาราของมอญทเ่ี ก่ียวกบั เร่ืองการจัดศพ เรยี กว่า “โลกสมมุต”ิ ซ่ึง อภธิ าน สมใจ
(2541:36) กลา่ วว่า พระภกิ ษุสงฆ์ผ้ถู ือเพศพรหมจรรย์ เมื่อมรณภาพลง ถา้ ยังไม่หลดุ พ้นจากวฏั สงสารก็จะได้
ไปเกิดในโลกยี ภูมิ ได้แก่ สวรรคช์ ้นั ตา่ งๆ ถือเป็นอปุ ตั ตเิ ทพในเทวภมู ชิ น้ั ตา่ งๆเช่นกนั หรอื บังเกดิ เปน็ รปู
พรหม หรือ อรปู พรหม ตามแต่ขีดข้ันของคุณภาพชีวติ จิตใจทไ่ี ดบ้ าเพ็ญเพยี รภาวนาส่ังสมบญุ ญาบารมมี ากอ่ น
ถา้ หากหลุดพน้ โลกียภมู ไิ ปเป็นผู้ท่ีช่อื ว่าวสิ ทุ ธเิ ทพแล้ว กจ็ ะไมเ่ วยี นว่ายตายเกิดอีกต่อไป เปน็ ภูมิแหง่ ชีวติ
จิตใจทีเ่ รยี กวา่ โลกุตตรภมู ิ
สเุ อด็ คชเสน(ี 2547:74) กลา่ ววา่ ประเพณกี ารทาศพของชาวมอญ มีทั้งพธิ กี ารและขอ้ ห้าม ทไ่ี ม่ควร
จะกระทาเกี่ยวกับศพหลายประการ โดยแบง่ ลักษณะการตายเปน็ 2 อย่างคอื ตายดี กับตายไม่ดี นอกจากน้ี
ตอ้ งดูสถานะของผตู้ าย เชน่ เดก็ ผ้ใู หญ่ หรือพระสงฆ์ ซึ่งการทาศพของชาวมอญแบง่ เป็นสองลกั ษณะ คอื
การทาศพพระสงฆ์ และการทาศพฆราวาส
ศรทั ธา ลาภวัฒนเจรญิ (2546:77-78)กล่าววา่ คนมอญมคี วามเช่ืออยา่ งหนึ่งวา่ งานศพน้ันเปน็ เร่ือง
สาคญั อยา่ งมาก ย่ิงเปน็ ศพพระศพเจ้าดว้ ยแลว้ ต้องใหค้ วามสาคญั เปน็ พิเศษ ซ่งึ สะทอ้ นใหเ้ ห็นจากภาพ
จิตรกรรมฝาผนังวัดไทรอารีรักษ์ เปน็ ภาพทก่ี ลา่ วถงึ พระพทุ ธเจ้าเสด็จปรนิ ิพพาน มกี ารอญั เชิญพระบรมศพ
ใส่พระโกศเพื่ออนั เชญิ ขน้ึ สพู่ ระเมรุมาศ ช่างเขียนไม่ไดว้ าดเป็นโกศทรงสูงอย่างทใ่ี ช้ในพระบรมศพกษตั ริยห์ รอื
เจ้านาย แตช่ า่ งเขยี น“ลงุ้ ” โลงศพอยา่ งมอญมาวาดลงไปแทน การเลือกผสมผสานหยิบลุง้ มาใช้เสมอื น
สัญลักษณห์ นง่ึ ของชุมชนชาวมอญ ท่ีต้องการบอกเล่าใหเ้ ห็นชัดเจนในแงง่ าม และโครงสร้างของพวกเขากับ
พุทธศาสนาทเี่ ขาเข้าถงึ และจบั ต้องไดต้ ามความเช่อื ของตัวเอง
พระครปู ลัดสรุ พจน์สันหรักษ(์ 2553: 178) กลา่ ววา่ การจดั พธิ ศี พพระสงฆม์ อญเปน็ วฒั นธรรมทชี่ าว
มอญแสดงถึงการให้ความสาคัญแกศ่ าสนาพทุ ธ ดว้ ยการให้เกยี รตอิ ย่างสงู แก่พระสงฆ์ผสู้ ืบทอดพระศาสนา
การแสดงความผูกพันอยา่ งแน่นแฟ้นระหว่างผูต้ ายกับผู้อยู่ ความกตัญญูรคู้ ณุ ทมี่ ตี อ่ ผตู้ าย และความม่งุ หมาย
ส่งวญิ ญาณไปสูส่ วรรคภ์ ูมหิ รอื สหู่ นทางใหม่ทดี่ ี
องค์ บรรจนุ (2547: 215-216) กล่าวว่า งานศพของพระมอญ โดยหากเป็นพระผ้ใู หญ่จะจัดงานอย่าง
ยิง่ ใหญ่มาก เพราะถอื ว่าไดบ้ ุญ เปน็ การสง่ พระท่ีมรณภาพข้นึ สวรรค์
เมอ่ื พระสงฆไ์ ด้มรณภาพลง จึงได้มกี ารจดั พธิ กี รรมตามความเชือ่ ในอานสิ งส์แหง่ การเผาศพ ในอดตี
ชาวมอญนิยมไปงานศพมากกวา่ จะไปทอดกฐนิ ทง้ั น้ีเพราะความเชอื่ ในเรื่องอานิสงส์แหง่ การเผาศพ ทีเ่ ชื่อว่า
อานสิ งสท์ ้งั หลายนัน้ จะส่งให้ผู้ทีไ่ ปงานเผาศพสมบูรณ์ไปด้วยมนษุ ย์สมบตั ิ สวรรค์สมบตั ิ ไดไ้ ปบงั เกดิ ในพรหม

8

โลกไม่ต้องตกอย่ใู นอบายมขุ ทัง้ 4 คอื นรก เปรต อสรู กาย และสตั ว์เดรัจฉาน โดยอา้ งคมั ภรี ์ภาษามอญท่ี

แตง่ โดยอาจารยฟ์ ะ หรอื พระนักปราชญท์ ี่แต่งเรื่องราวตา่ งๆ รวมถึงพธิ กี รรมของมอญไว้หลังปี พ.ศ.2310 อัน

เป็นปที ี่กรงุ หงสาวดีแตก ซ่ึงใช้เป็นบรรทดั ฐานความเชือ่ ของชาวมอญมาจนถึงปัจจบุ นั และได้กล่าวถึงอานิสงส์

ของการเผาศพไว้(พระครปู ลัดสุรพจน์สันหรกั ษ์. 2553:177-178) ดังน้ี

1) บุคคลใดทาโลงศพให้วจิ ติ รงดงาม จะได้รบั อานสิ งส1์ ,000ชาติ

2) บุคคลใดนิมนตพ์ ระสงฆ์พจิ ารณาซากศพซ่ึงเป็นกัมปฏั ฐานจะไดร้ บั อานิสงส์ 400 ชาติ

3) บคุ คลใดไปส่งสรีระซากศพทีไ่ ม่ใช่ญาติของตนเอง จะได้รบั อานสิ งส์ 300 ชาติ

4) บคุ คลใดเกบ็ ซากศพ สุนขั สุกร กา ชา้ ง ไปเผา จะไดร้ ับอานสิ งส์ 500 ชาติ

5) บุคคลใดไดเ้ ผาศพลูกกาพร้าไม่มีบิดามารดาวงศาคณาญาติ จะได้รับอานสิ งส์30,000 ชาติ

6) บุคคลใดเผาศพวงศาคณาญาติ จะได้รบั อานิสงส์80,000ชาติ

7) บคุ คลใดเผาศพผมู้ ศี ีลาจารวตั ร จะไดร้ ับอานิสงส์200,000ชาติ

8) บคุ คลใดเผาศพผู้มอี ปุ การคณุ ตอ่ บดิ ามารดา ครบู าอาจารยแ์ ละพราหมณ์ จะไดร้ ับ

อานสิ งส์ 500,000 ชาติ

9) บคุ คลใดเผาบิดามารดา จะไดร้ ับอานสิ งส์ 700,000 ชาติ

10) บคุ คลใดเผาศพพระอุปัชฌาจารย์ จะได้รบั อานิสงส์ 9 โกฏชิ าติ

11) บุคคลใดเผาศพพระภิกษสุ งฆ์สาวกของสมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจา้ จะไดร้ บั อานสิ งส์5

โกฏชิ าติ

12) บุคคลใดเผาศพพระอรหันต์ จะไดร้ ับอานสิ งส์1อสงไขยชาติ

13) บคุ คลใดเผาศพพระปจั เจกพทุ ธเจ้า จะไดร้ ับอานสิ งส์1แสนโกฏิชาติ

14) บคุ คลใดเผาศพพระพทุ ธเจ้า จะได้รบั อานสิ งส์ไม่มีทสี่ นิ้ สุด

ดังนนั้ เมื่อชาวมอญมีความเช่อื ในอานิสงสท์ ่ีจะไดร้ บั ประกอบกับความศรัทธาท่ีมีต่อพระพทุ ธศาสนา

จึงส่งผลให้เกดิ พิธีกรรมตา่ งๆ ตลอดจนเกดิ การสร้างสรรค์สิง่ ต่างๆตามความเชอื่ ท่ีเกยี่ วเนอ่ื งในงานพิธีศพ

พระสงฆ์ โดยนามาปฏบิ ัตแิ ละสบื ทอดมาจนถึงปัจจุบนั

2.2.2 กำรสร้ำงสถำปตั ยกรรมเมรปุ รำสำทในพิธศี พพระสงฆ์

ลกั ษณะเฉพาะของมนุษยค์ ือ การอาศัยความหลากหลายทางวัฒนธรรม มาเป็นเคร่อื งมอื สาคัญในการ

ปรับตวั เอง มนุษยร์ ู้จกั ประดิษฐเ์ ครอื่ งมือเครือ่ งใช้ เช่น สร้างทอี่ ยอู่ าศัยให้เหมาะสมตามสภาพอากาศ อาวุธ

สาหรบั ลา่ สตั ว์ ภาชนะใสอ่ าหาร ฯลฯ มกี ารใชภ้ าษาสื่อสารกัน แสดงให้เหน็ วา่ มนุษย์มรี ะบบคิดและ

จินตนาการ มนุษย์ใชศ้ ลิ ปะเปน็ เครอ่ื งสะท้อนจินตนาการและความเชอ่ื เช่น สะทอ้ นความเชอื่ เรื่องโลกหลัง

ความตาย ศลิ ปะยงั แสดงใหเ้ ห็นถงึ การแบ่งชนชัน้ ภายในสังคม(ธรี ยทุ ธ บญุ ม.ี 2547:51)

พระยาอนุมานราชธน(เสถยี รโกเศศ) กลา่ วถึงการเผาศพวา่ เป็นการปลงศพอยา่ งหนึง่ โดยการปลงศพ

มนษุ ยต์ ัง้ แตโ่ บราณนน้ั มีการปลงศพตามความเชื่อของแต่ละชนชาตทิ ่ีแตกตา่ งกนั ไป เชน่ การทิง้ ไว้ การ

ปลอ่ ยให้แรง้ จกิ กนิ การทิ้งลอยนา้ การแขวนบนตน้ ไม้ การฝงั และการเผาศพ โดยทีก่ ารเผาศพคนไทยมี

ข้นั ตอนพิธีการตา่ งๆตามความเช่ือในแต่ละทอ้ งถิ่น ตง้ั แต่การนาศพออกจากบ้านจนถึงทเ่ี ผาศพ การเผาศพ

พัฒนารูปแบบจากการเผากองฟืน มาสู่การใชฐ้ านเผา การใช้เชงิ ตะกอน ตอ่ เตมิ ความสวยงามของเสาเชงิ

ตะกอนด้วยการแทงหยวก จนกระทงั่ เป็นรปู แบบของเมรุเผาศพในปจั จบุ นั (อา้ งถงึ ในประพัฒน์

วรทรัพย.์ 2544:10)

อภธิ าน สมใจ(2541:56-57)กล่าวว่า เมรุ หมายถงึ ท่เี ผาศพทห่ี ลงั คาเปน็ ยอด มีรัว้ ลอ้ ม ราชาศพั ท์

เรียกวา่ “พระเมรุ” หรอื หมายถงึ เขาพระสเุ มรซุ ่งึ เปน็ ช่อื ภเู ขากลางจักรวาล มยี อดเป็นทตี่ งั้ แห่งเมอื งสวรรค์

9

ชนั้ ดาวดงึ ส์ ซงึ่ คาวา่ ปราสาทศพ นา่ จะเป็นคาทส่ี ามญั ชนใชเ้ รียกพิมานหรือวมิ าน ทใ่ี ช้ในพิธีกรรมปลงศพ
พระภิกษแุ ละเจ้านาย คอื เรยี ก ปราสาท แทนคาวา่ เมรุ หรอื วมิ าน และคาว่า ปราสาท น้คี งจะใช้กันในหมู่
พระภิกษสุ ามเณรก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสชู่ าวบ้าน

สุจติ ต์ วงษ์เทศ(2551:11-13) กล่าวว่า เมรเุ ผาศพ แรกมรี าวหลัง พ.ศ.2100 มีเหตชุ วนใหเ้ ชื่อไดว้ า่
จะเริ่มสร้างเมรุ หรอื เขาพระสเุ มรใุ นแผ่นดนิ พระเจา้ ปราสาททอง ราวพ.ศ.2181 หลังจากน้ันถงึ ใช้สรา้ งชัว่ คราว
ด้วยไม้สาหรบั เผาศพเจา้ นายเท่าน้นั โดยในยคุ แรกเรยี กว่า พระเมรุ หรือ พระเมรุมาศ ใช้งานถวายพระเพลิง
ศพ สว่ นคนทว่ั ไปเผาบนเชิงตะกอนอยา่ งง่ายๆ ถา้ เปน็ ยาจกยากจนก็โยนให้แร้งกากิน ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั สมภพ
ภริ มย์(2528:12) ที่อธิบายเรอื่ งสถานทีเ่ ผาศพของคนไทยว่า บคุ คลธรรมดาเผาศพในที่โลง่ โดยวางศพเผาบน
กองฟนื ตอ่ มาทาฐานรองกองฟนื เรียกวา่ เชิงตะกอน เปน็ การเผาศพแบบชาวบา้ นธรรมดา ถา้ เปน็ ศพผู้มี
ฐานะ คหบดหี รือข้าราชการจะเพิ่มพธิ ีการตามแบบแผนของทางราชการ จนเกิดเปน็ ประเพณกี ารเผาศพแบบ
เปน็ ทางการขึน้ ด้วยการสรา้ งอาคารโรงทมึ เปน็ ทีเ่ ผาศพ ต่อมาโรงทมึ ได้พฒั นาการใหง้ ดงามข้ึนด้วยการต่อ
หลังคาให้แหลมตามแบบของหลวงหรือแบบพระเมรมุ าศ จึงเรยี กกนั เปน็ สามญั วา่ เมรุ แทนโรงทมึ เดมิ โดย
ใช้โรงทมึ เปน็ อาคารสาหรบั ทาบญุ และประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ซึง่ เสถียรโกเศศ(2539:131) กลา่ วว่า
เรอื นหลงั คาคร่อมทเี่ ผาศพถา้ ทาเปน็ หลงั คาแบน เรยี กว่าปะราเผาศพ ถา้ ทาเป็นหลังคาคร่อมลาดสูงขึ้นไป
เปน็ อยา่ งรูปหลงั คาเรอื นป้ันหยารูปส่เี หล่ยี ม เรียกว่า โรงทมึ โดยเหตทุ ี่โรงทึมมกั ตอ่ ปีกเป็นหลังคาออกไปทัง้ ส่ี
ด้าน ไมก่ าหนดความยาว สาหรบั เป็นที่พระสวด เป็นโรงครัว เป็นท่ีพกั หรอื จะใชเ้ ป็นท่ีสาหรบั อะไรอ่ืนก็
ตาม โรงทึมจึงกลายจากเป็นทเี่ ผาศพโดยตรงมาเป็นโรงหรือศาลา สาหรบั ตง้ั ศพและทาบญุ สุนทาน ถ้าใช้
ศาลาถาวรเปน็ โรงทมึ ก็เรยี กกันว่าศาลาโรงทมึ

เมรุ หรือ พระเมรุ เมอ่ื แรกมยี ุคกรงุ ศรีอยธุ ยา สร้างเลยี นแบบนครวดั วิษณุโลก ทจ่ี าลองเขาพระสุเมรุ
โดยจนิ ตนาการขนึ้ จากภูเขาหิมาลยั ในสมัยรชั กาลท่ี 5 โปรดใหส้ ร้างเมรเุ ผาศพอย่างถาวรด้วยปนู ไว้ในวัด
เพอื่ ประหยัดค่าใช้จ่าย ซ่งึ ในอดีตมีการสร้างเมรุลอยแบบถอดประกอบได้ โดยสร้างเลยี นแบบเมรุหลวงของ
เจา้ นาย ใหค้ นมีฐานะเช่าไปใช้เผาศพทต่ี า่ งๆ แตส่ าหรบั คนฐานะดอ้ ยกวา่ ก็ทาเชงิ ตะกอนประดบั ประดาด้วย
เคร่อื งแกะสลักเปน็ ลวดลาย เช่น จักหยวก-แทงหยวก เป็นต้น (สุจติ ต์ วงษเ์ ทศ.2551:11-13) ซ่ึง อรศริ ิ
ปาณินท(์ 2541:53-69) ให้ความหมายของเมรุลอยไว้วา่ เป็นสถาปตั ยกรรมทสี่ รา้ งเพ่อื ใชง้ านชั่วคราวตาม
ระยะเวลาที่จาเป็นตอ้ งใช้ เม่ือหมดความต้องการใช้งานแลว้ ก็รือ้ ถอนออกไป จึงจาเป็นตอ้ งออกแบบใหส้ ร้าง
งา่ ยรอ้ื สะดวก ไม่มรี ากฐานยดึ ติดลงไปในดิน แต่ตอ้ งแขง็ แรงรองรบั ปริมาณการใชง้ านได้อยา่ งเหมาะสม

เมรเุ ผาศพคอ่ ยๆแพรห่ ลายไปอยู่ในวดั สาคัญชว่ งราวประมาณปี พ.ศ.2500 หลงั จากนั้นมแี ผนพัฒนา
เศรษฐกิจ พธิ กี รรมศักดิ์สทิ ธล์ิ ดลง ชนชั้นกลางมบี ทบาทสูงข้นึ จึงมีความตอ้ งการเผาศพบรรพบุรุษบนเมรุ
แบบเจ้านายและชนชน้ั สูง การสร้างเลยี นแบบจึงเกิดข้นึ โดยเร่มิ จากวดั สาคัญๆแลว้ กระจายไปทั่วประเทศ
(สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ.2551:11-13)

ชาวมอญผู้ซงึ่ ยดึ ถอื พทุ ธประวัติและดารัสขององค์พระสมั มาสมั พุทธเจา้ เม่ือมีพระภกิ ษสุ งฆ์มรณภาพ
ชาวมอญจะพรอ้ มใจกันสร้างปราสาทขน้ึ เพอ่ื ทาการเผาศพพระภิกษุสงฆ์ทม่ี รณภาพดว้ ยเชื่อว่าการสร้าง
ปราสาทเผาศพนัน้ ไดผ้ ลานิสงส์มาก ในฐานะพระภกิ ษุสงฆท์ งั้ หลายเปน็ สาวกของพระพทุ ธเจ้า ทั้งยงั เปน็
การบูชาพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ ดว้ ยพระพุทธเจ้าเปน็ พระบรมศาสดาจารย์ในโลก เปน็ พระบรมครู
ของทวยเทพยดาอารกั ษ์ อินทร์ พรหม ยม ยกั ษ์ และปวงมนุษยท์ ้งั หลาย พระองคไ์ ดต้ รัสแก่พระภิกษสุ งฆ์
สาวกและอุบาสกอบุ าสิกาทัง้ หลายก่อนปรนิ ิพพานวา่ เมื่อพระองคม์ รณภาพแล้ว ขอให้สาวกทงั้ หลายดูแล
กันเอง เหมอื นกบั ที่ดูแลพระองค์ และใหช้ ว่ ยกันฌาปนกจิ พระองคด์ ว้ ย การดแู ลพยาบาลและฌาปนกิจ
พระภิกษุสงฆ์สาวกของระองค์ กเ็ ท่ากับดแู ลรักษา รวมทั้งไดถ้ วายพระเพลิงพระองค์ทา่ นเช่นเดียวกนั คา

10

ดารัสตรัสส่ังขององค์สมเด็จพระสมั มาสัมพทุ ธเจา้ ดังกล่าว ชาวมอญได้ยดึ ถือปฏิบัตมิ าโดยตลอดตั้งแต่ครง้ั
พทุ ธกาล ด้วยตระหนกั วา่ ชาตนิ ้ีตา่ งก็เกิดมาไมท่ นั ไดร้ ักษาพยาบาลและถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จงึ เฝา้
ดแู ลรักษา ทาบญุ ทาทานแดพ่ ระภกิ ษุสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า รวมทั้งชว่ ยกันฌาปนกิจศพพระภกิ ษุ เพอ่ื
หวงั พลานิสงสผ์ ลบุญเทยี บเทา่ กับการได้ถวายพระเพลิงพระพทุ ธเจ้า ชาวมอญจึงร่วมใจกันสรา้ งปราสาทขึ้น
เพอื่ เป็นพทุ ธบชู าองคส์ มเด็จพระสมั มาสัมพุทธเจ้า และทาถวายแดพ่ ระภิกษสุ งฆส์ าวกของพระองค์ทถี่ งึ แก่
มรณภาพลงดว้ ย(ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ.2551:63)

ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงเปน็ สง่ิ ยดึ เหนย่ี วจติ ใจทส่ี าคัญทสี่ ุดของชาวมอญ วดั และพระสงฆจ์ ึงมี
ความสาพนั ธ์ใกลช้ ิดกบั ชมุ ชนชาวมอญเปน็ อย่างยง่ิ เมอื่ พระสงฆไ์ ดม้ รณภาพลง จงึ ได้มีการจดั พธิ กี รรมตาม
ความเช่อื ในอานิสงส์แห่งการเผาศพ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ท่ีมีพรรษาสงู มีศลี ธรรมและเป็น
ระดบั เจ้าอาวาส ชาวมอญยง่ิ ตอ้ งจดั พิธีให้สมฐานะยงิ่ กวา่ บคุ คลธรรมดา ด้วยถอื วา่ เปน็ งานบุญทย่ี ่งิ ใหญ่ ไม่
เพยี งแตช่ าวมอญในประเทศไทยเทา่ นั้น ทใ่ี หค้ วามสาคญั แก่การจัดพิธปี ลงศพพระสงฆ์ ชาวมอญในพม่าก็ให้
ความสาคญั มากเชน่ กนั (อรอมุ า แก่นแกว้ .2550:148) เมอื่ มพี ระสงฆม์ รณภาพลงการจดั งานศพจึงคอ่ นข้าง
ยิ่งใหญ่กว่าศพคนธรรมดาสามญั ทัว่ ไป ด้วยการสรา้ งปราสาทสาหรบั ตั้งศพ การท่ีตอ้ งสร้างปราสาทให้
ภิกษุทมี่ รณภาพเพราะถือกันวา่ พระนน้ั เปน็ ผู้มศี ลี บรสิ ุทธิ์ไม่ควรเผารวมกบั คนธรรมดา ในการประกอบพิธี
เหลา่ น้ี จาเป็นทจ่ี ะตอ้ งมีวตั ถุเข้ามามีส่วนเกี่ยวขอ้ ง เพ่ือใหพ้ ธิ ีกรรมมีความสมบรู ณส์ ูงสดุ ตรงกับความ
ตอ้ งการของผู้ปฏิบัติ ซง่ึ วัตถุเหล่าน้อี าจจะเป็นตวั แทนของสญั ลกั ษณต์ ่างๆ ตามคติความเชือ่ ดั้งเดิมทปี่ ฏบิ ัติ
สืบทอดกนั มาจากบรรพบุรษุ (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์.2543)

พิธีกรรมในการฌาปนกจิ ศพของชาวมอญสามารถแบง่ ได้เป็น 2 ประเภท คอื การปลงศพคน
ธรรมดากบั การปลงศพพระสงฆ์ ซึง่ พิธกี ารมีความคลา้ ยคลงึ กัน แต่สิง่ ทตี่ า่ งกันอยา่ งชดั เจน คือ การ
ฌาปนกจิ ศพพระสงฆ์จะมกี ารก่อสร้างสถาปตั ยกรรมเฉพาะกจิ สาหรบั พิธีกรรมดังกล่าวขน้ึ เปน็ อาคารทรง
ปราสาท ทแี่ สดงนัยถึงเขาพระสเุ มรุ เชน่ เดยี วกับพน้ื ที่อื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ ซึ่งการสรา้ ง
เป็นอาคารทรงปราสาทน้ัน แสดงถึงฐานานศุ กั ดสิ์ งู ทใี่ ชส้ าหรบั พธิ ีศพพระสงฆ์ท่ีมีศีลจารวตั รสูงเทา่ น้นั โดย
ปราสาทเผาศพพระสงฆม์ อญ เรยี กในภาษามอญว่า ปราซ่าดจองแฟะหลิกยาจก์ อันเป็นสงิ่ สะท้อนถึงศลี จาร
วตั รและความเคารพนบั ถือของผ้คู นทีม่ ตี อ่ พระสงฆม์ อญรปู น้นั เน่ืองจากปราสาทเผาศพ จะเป็นสง่ิ สุดท้ายที่
ชาวมอญสามารถปฏบิ ตั ิตอ่ พระสงฆ์ที่มรณภาพรปู นั้นได้ เพอ่ื แสดงออกถงึ ความกตญั ญตุ า และระลกึ ถงึ คณุ
งามความดีที่มอบไวก้ ับศษิ ยานุศษิ ย์ทง้ั หลาย ซึง่ ปราสาทเผาศพเป็นสถาปัตยกรรมช่วั คราวท่ีใช้ระยะเวลา
กอ่ สร้างล่วงหน้านาน แตใ่ ชใ้ นการประกอบพธิ ีกรรมในชว่ งเวลาส้นั ๆเพียงหน่ึงวนั เท่านั้น ช่างฝมี ือจงึ เลือกใช้
วสั ดกุ อ่ สรา้ งท่ีหาไดใ้ นท้องถิ่นและมีอายุการใชง้ านเหมาะสม เช่น ไม้ ไม้ไผ่เปน็ วัสดุโครงสรา้ ง และใช้
กระดาษสีหรือกระดาษเขยี นลวดลายเป็นการตกแตง่ (ณัชชา สกุลงาม.2552:56-57) ซงึ่ ตามพิธขี องมอญ
โบราณจะเผาปราสาทไปพร้อมกับโลงศพแตเ่ นื่องจากตัวปราสาทมรี าคาแพง ประกอบกับชา่ งฝีมือชาวมอญก็
หายากและมีจานวนนอ้ ยลงเรือ่ ยๆ จึงไม่คอ่ ยพบการสร้างปราสาทเพ่ือเผาอีก

ณชั ชา สกุลงาม(2552:57-58) กลา่ วไว้ว่า กลุม่ ช่างฝมี ือทส่ี ร้างปราสาทเผาศพพระสงฆ์มอญ ณ
ปจั จบุ นั พบว่ามีช่างฝีมืออยู่ 2 กลมุ่ ซง่ึ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของชา่ งฝีมือท้ัง 2 กล่มุ มีลกั ษณะทแี่ ตกต่าง
กันอยา่ งมีนัยสาคัญ ดังนี้

1) ลกั ษณะทางสถาปัตยกรรมของปราสาทเผาศพ ที่สรา้ งสรรคโ์ ดยช่างฝมี ือชาวมอญใน
ประเทศไทย จะมีลักษณะเปน็ ปราสาทโถง มพี นื้ ท่ใี ช้สอยช้ันเดยี ว ซึ่งแบ่งอาคารออกเปน็ สว่ นๆไดด้ ังน้ี ฐาน
อาคาร ตวั เรอื น ซ่ึงเปน็ อาคารโถงชนั้ เดยี วที่ใชส้ าหรบั ตัง้ ศพ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ สาหรับชน้ั หลงั คา
แบง่ ออกเป็น 2 ส่วนคอื ช้ันหลังคาลาดเข้าสู่ศูนย์กลางเชน่ เดยี วกบั หลังคาของอาคารทรงมณฑป แตว่ ่ามคี วาม

11

ลาดชนั ไมม่ ากนกั เพราะตอ้ งคลมุ พื้นท่ใี ชส้ อยของอาคารให้ได้ท้ังหมด แลว้ จึงตอ่ ยอดขนึ้ ไปดว้ ยยอดปราสาท
ซ้อนชนั้ ตรงมมุ ทง้ั สขี่ องอาคารมมี ณฑปมมุ เรียกปราสาทเผาศพลกั ษณะน้ีวา่ โรงทมึ และเปน็ เอกลกั ษณ์
สาคญั ของปราสาทเผาศพของมอญพระประแดง

2) ลักษณะทางสถาปตั ยกรรมของปราสาทเผาศพทส่ี ร้างสรรค์ โดยชา่ งฝีมือชาวมอญใน
ประเทศพมา่ มีลกั ษณะเปน็ อาคารทรงปราสาท ท่มี ชี ้ันฐาน ตัวเรือน ซอ้ นลดหล่ันกนั เป็นจานวน 3 ชน้ั ซ่ึง
แสดงออกถงึ อาคารซอ้ นชน้ั ทสี่ ามารถใชส้ อยพนื้ ที่ในชนั้ ตา่ งๆได้ ตามคาจากัดความของปราสาทของอินเดีย
โดยชั้นที่ 1 และช้ันที่ 2 มลี กั ษณะเป็นโถงสาหรบั รองรับผู้มาร่วมงานก่อนขนึ้ ไปสักการะศพท่ตี วั เรือนชั้นบนสดุ
สาหรบั เรือนยอด ไดร้ ับอิทธิพลเครอ่ื งยอดแบบพม่าอยา่ งเขม้ ข้น สาหรบั ปราสาทเผาศพในปัจจบุ นั พบวา่ มี
การเปลยี่ นแปลงคือ ใชเ้ รอื นช้นั ด้านล่างสุดประกอบพิธกี รรมตา่ งๆ ทั้งสาหรบั ตงั้ ศพสักการะและการ
ฌาปนกิจ

ปราสาทสาหรบั พธิ ศี พพระสงฆ์ของชาวมอญทส่ี รา้ งในประเทศไทย จงึ มปี รากฏ 2 ลักษณะ คือ
ลกั ษณะท่ีสร้างตามแบบศลิ ปะมอญ และลกั ษณะทีส่ ร้างตามแบบศิลปะไทย ซึง่ มคี วามแตกตา่ งกันในดา้ น
รปู แบบ จึงเปน็ ไปไดว้ า่ รปู แบบปราสาทเผาศพของชาวมอญในประเทศไทย นา่ ไดอ้ ทิ ธพิ ลในการสร้างปราสาท
จากงานสถาปตั ยกรรมไทย ซ่ึงลักษณะเมรุปราสาทมหี ลายรปู แบบตามช้นั วรรณะของพระสงฆท์ ่ีมรณภาพ

ภำพท่ี 2.1 ปะราเผาศพ
(ที่มา : พิศาล บุญผกู )

งานพระราชทานเพลิงศพพระครูปรยิ ตั ิสุนทร(เขียว) วัดพญาปราบปจั จามิตร จังหวดั สมทุ รปราการ พ.ศ.2517
(ท่มี า : ชมรมเยาวชนมอญกรงุ เทพ.2551:58)
ภำพท่ี 2.2 โรงทมึ (ปราสาทตง้ั ศพ)

12

งานพระราชทานเพลิงศพพระราชวสิ ารท(เจริญ ธมจารีมหาเถระ)
วดั ทรงธรรมราชวรวิหาร จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2546
(ทีม่ า : พศิ าล บุญผูก)

งานพระราชทานเพลงิ ศพท่านเจ้าคณุ พระไตรสรณธัช(มาลัย)
วดั ปรมยั ยกิ าวาส จงั หวัดนนทบรุ ี พ.ศ. 2540
(ท่ีมา : เศรษฐมนั ตร์ กาญจนกลุ .2554:39)
ภำพที่ 2.3 เมรุปราสาทของชาวไทยเชอื้ สายมอญ

งานพระราชทานเพลงิ ศพ พระครสู าครกิจโกศลวัดวงั วเิ วการามจงั หวดั กาญจนบรุ ี พ.ศ. 2551
(ทม่ี า : จริ ดา แพรใบศรี ถา่ ยเมอ่ื กมุ ภาพนั ธ์ 2551)
ภำพท่ี 2.4 เมรปุ ราสาทของชาวมอญ

13

ดังนั้น เมอ่ื ชาวมอญมีความเชอื่ ในอานิสงสท์ ีจ่ ะไดร้ บั ประกอบกบั ความศรทั ธาทมี่ ีต่อ

พระพุทธศาสนา จึงส่งผลใหเ้ กิดพิธีกรรมต่างๆท่เี กีย่ วเนอื่ งในงานพธิ ีศพพระสงฆ์ โดยนามาปฏบิ ัตแิ ละสืบทอด

มาจนถึงปัจจุบนั ซ่ึงความเช่ือทีม่ ีสบื ทอดกันมากม็ สี ว่ นต่อการกาหนดแนวคิดในการสร้างปราสาทเผาศพของ

ชาวมอญ อาจกล่าวได้วา่ นา่ จะไดร้ ับอทิ ธิพลจากระบบความคิดความเชือ่ เกี่ยวกบั ภูมิจกั รวาลและศาสนา จน

ได้มกี ารนาไปเปน็ พนื้ ฐานแนวคิดในการถ่ายทอดงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ตามความเชื่อของชาว

พุทธศาสนกิ ชน

ในพธิ ศี พพระสงฆข์ องชาวมอญ นอกจากปราสาทเผาศพที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมทเี่ ป็น

เอกลกั ษณ์แลว้ ยงั ประกอบไปดว้ ยองคป์ ระกอบตา่ งๆทใ่ี ชใ้ นแต่ละพธิ ีกรรม ซึง่ จะมีเร่ืองเล่าเกี่ยวกับความตาย

และคตทิ างพระพทุ ธศาสนาสอดแทรกอยู่ เพอ่ื ให้ชาวมอญไดร้ ะลกึ ถงึ พทุ ธศาสนาและปลงกับความไมเ่ ทีย่ งแท้

ของชีวติ (ณชั ชา สกุลงาม.2552:69) ได้แก่ โลงมอญ ซ่ึงการทาโลงมอญของชาวมอญในประเทศไทย จะเป็น

โลงทีใ่ ช้บรรจุศพพระสงฆใ์ นเวลาที่จะทาการฌาปนกิจศพ ซง่ึ จะเรมิ่ ทากอ่ นวนั งานเปน็ ระยะเวลาแรมเดอื น

โดยจะทาโลงกันอย่างประณตี บรรจง เพราะถอื วา่ เป็นการทาบญุ ทไี่ ดก้ ุศลแรงอยา่ งหนึง่ ซ่ึงมีทมี่ าสบื

เน่อื งมาจากเร่อื งราวทางพุทธศาสนาดว้ ยเช่นกนั เมอื่ ครัง้ ทพี่ ระเจ้ามัลละไดส้ รา้ งโลงเพอ่ื ถวายพระเพลิงพระ

พทุ ธองค์ กับยงั มีท่มี าจากการพระราชทานเพลงิ ศพพุทธบิดาด้วย โดยปรากฏอยภู่ าพวาดพทุ ธประวัติ ณ วัง

สวนผกั กาด ตอนถวายพระเพลงิ พระพุทธเจ้าอีกด้วย (ชมรมเยาวชนมอญกรงุ เทพ.2551:64) นสิ าพร วัฒ

นทรัพย์(2542) กล่าววา่ โลงเหม หรอื โลงมอญ เปน็ ผลผลติ ทางวฒั นธรรมของชาวไทย-มอญทผ่ี ลิตขึน้ มา

เพื่อแสดงความเคารพครงั้ สุดทา้ ยให้กับพระสงฆ์ ซ่ึงเป็นบคุ คลท่คี นในชุมชนนบั ถอื เป็นผลผลติ ทางความรทู้ ม่ี ี

อยู่เฉพาะในวัดเท่าน้นั เนือ่ งจากตามประเพณีของชาวมอญ ผู้ที่มโี อกาสใช้โลงเหมมีเพยี งพระสงฆ์ และงาน

สร้างโลงเหมกเ็ ปน็ งานบุญกิรยิ าท่ีไมไ่ ด้ผลตอบแทนในรูปเงินตรา จงึ ไมส่ ามารถนาไปประกอบอาชีพได้ งาน

สรา้ งโลงเหมจึงดารงอยเู่ ฉพาะในวัดเท่าน้นั สรุ นิ ทร์ ทบั รอด(2541:73-79) กล่าววา่ โลงศพมอญ หรอื อะ

ลาบ๊อก ในอดีต คนตายหรือศพทีบ่ รรจใุ นโลงศพแบบมอญนี้ ชาวมอญใชส้ าหรบั คนที่มียศถาบรรดาศักดิ์

หรอื คนทีม่ ีสถานภาพทางสงั คมสงู เป็นท่เี คารพและรจู้ กั ของคนทั่วไป เช่น เจ้าเมือง พระระดบั เจา้ อาวาส

โดยโลงมอญน้ีจะสรา้ งเปน็ ลักษณะคล้ายปราสาท เพ่ืออทุ ิศให้แก่ผูท้ ล่ี ่วงลบั ซึ่งการทาโลงมอญชาวมอญเชือ่ ว่า

มมี าต้งั แตเ่ มอื งมอญ ครัน้ ต้องอพยพเข้ามาในประเทศไทย ก็ยังไดม้ ีการรักษาสืบทอดวิธกี ารทาโลงมอญมาจน

ทกุ วนั น้ี ณัชชา สกุลงาม(2552:69-70) กล่าวว่า โลงศพมอญดงั กลา่ วนี้ สามารถแบง่ ได้เปน็ 3 ชนิด ได้แก่

โลงศพมอญนา้ จืด(มอญพระประแดง) โลงศพมอญนา้ เคม็ (มอญสมทุ รสาคร) และโลงศพมอญญีป่ นุ่ และแม้

โลงศพมอญแตล่ ะชนดิ จะมรี ปู แบบทแ่ี ตกต่างกัน แตก่ ็ตอ้ งประกอบด้วยส่วนสาคญั คอื ส่วนฝาโลงมหี ลาย

แบบซึ่งมีต้ังแต่ 1 ยอดถงึ 9 ยอด ,สว่ นตวั โลงบรรจุศพ มี 2 แบบ คือ แบบทีไ่ มม่ ชี อ่ งหน้าต่าง และแบบทีม่ ี

ชอ่ งหน้าต่างมองเหน็ ภายในโลงไดท้ ้งั สดี่ า้ น สบื เนอื่ งมาจากความเชื่อสมยั โบราณเพือ่ ให้ผูร้ ่วมพิธศี พสานกึ ถงึ

ความไม่เทีย่ งของชีวติ และส่วนฐานโลงรองรับตวั โลงซึง่ มีหลายรูปแบบ เปน็ ฐานท่นี าฐานแบบต่างๆ เช่น ฐาน

เขยี ง ฐานบวั ฐานสงิ ห์ มาประยุกต์ใชเ้ พอ่ื ชว่ ยในการออกแบบให้สมฐานานุศกั ดขิ์ องผ้ตู าย

14

ภำพที่ 2.5 โลงมอญฝมี อื ชา่ งมอญนา้ จดื และช่างมอญน้าเคม็
(ที่มา : ชมรมเยาวชนมอญกรงุ เทพ.2551:66-67)

2.2.3 พิธีกรรมในงำนพิธศี พพระสงฆ์
เม่ือชาวมอญให้ความสาคัญตอ่ การทาศพพระสงฆ์ท่ีเป็นตวั แทนของพระพุทธเจ้า จึงก่อให้เกิดพิธีกรรม
ตา่ งๆทเี่ ก่ียวขอ้ ง จนกลายเปน็ ประเพณีปฏิบตั ิ ดังน้ี

2.2.2.1 กำรยกยอดปรำสำท
การสร้างปราสาทเผาศพสาหรับพระสงฆข์ องชาวไทย-มอญ จะประกอบด้วยพิธีกรรมต่างๆกอ่ นการ
เผาจรงิ โดยเร่มิ จากการสรา้ งเมรุปราสาท ทจี่ ะมีพธิ ีกรรมตามความเชอ่ื ของชาวมอญ ซึ่งเมรปุ ราสาทจะมี
องคป์ ระกอบทสี่ าคัญได้แก่ สว่ นยอดปราสาท พระครปู ลดั สรุ พจนส์ ันหรักษ์ (2553: 38-39) กลา่ ววา่ คาว่า
ยอดปราสาท มาจากเรอื นหลวงท่ีทาเปน็ 4 มุข มียอดตรงกลางเปน็ ท่ีประทบั ของพระเจา้ แผน่ ดนิ ซ่งึ เปน็ ของ
สงู สุด ชาวมอญจะนาส่วนยอดสูงรวมทัง้ คอทเี่ ปน็ ชน้ั ๆลดลงมา ประดับด้วยกระจังสวยงาม มาประดิษฐ์
เลียนแบบ
ตามคตคิ วามเช่อื ของชาวไทยเชื้อสายมอญท่ีเชอื่ ว่า พระเถระที่มรณภาพน้ันไดไ้ ปสถติ อยบู่ นสรวง
สวรรคจ์ งึ มกี ารสร้างปราสาทสาหรบั การนี้ มอญเรยี กว่า จาวฟอ แปลว่า ส่สู รวงสวรรค์ การสรา้ งปราสาท
สาหรับฌาปนกิจศพแยกสร้างเป็น 2 ส่วน คอื สว่ นตวั ของปราสาท และสว่ นยอดปราสาท เม่ือสรา้ งส่วนยอด
เสร็จแลว้ จะมพี ธิ ียกยอดปราสาทไวบ้ นหัวเสาดว้ ยเครอื่ งมือยกเปน็ ตะแกรงทาด้วยไม้ไผ่ขนาดใหญ่สองท่อนวาง
ทบั อยู่ดา้ นบนเรียกวา่ งาชา้ ง ไมส้ องท่อนนี้ ทางด้านโคนผูกติดกับตะแกรงดา้ นล่างพับไปมาไดเ้ หมอื นบานพบั
ส่วนปลายมีเชอื กยาวผูกโยงทห่ี ัวเสาปราสาทโรยเชือกไปด้านหลงั ให้ชาวบา้ นนับรอ้ ยชว่ ยกนั ดงึ เชอื กเพอื่ ยก
ยอดปราสาท (http://www.youtube.com/watch) เมื่อเวลาได้ฤกษย์ กยอดแลว้ เจ้าหน้าท่ีจะโห่ร้องล่นั
ฆ้องขึ้น 3 ครง้ั เป็นสัญญาณใหร้ ่วมกันดงึ หรือชกั ยอดปราสาททอี่ ยู่ขา้ งลา่ งใหไ้ ปอยู่ขา้ งบนได้โดยข้นึ ไปนงั่ อยู่
กับเสาทต่ี ัง้ รอไว้ ส่วนพระสงฆท์ มี่ ากจ็ ะสวดชยั มงคลคาถาจนยอดขนึ้ เสรจ็ เรียบรอ้ ย(พระครูปลัดสรุ พจน์ สันห
รักษ.์ 2553: 38-39)
ในระหวา่ งพิธยี กยอดปราสาทจะมีพธิ ีราสามถาด เพอ่ื บชู าส่ิงศักดิ์สทิ ธใ์ิ หเ้ ปน็ สริ ิมงคลในการประกอบ
พธิ ีกรรมนัน้ (http://www.youtube.com/watch) โดยช่างทาปราสาทจะนายอดฉตั รพร้อมยอดคอบัวมาวาง
ไวใ้ นพิธี เพื่อทาการบวงสรวงไหวค้ รอู าจารยท์ ี่ประสทิ ธิป์ ระสาทมาให้ พรอ้ มเคร่อื งบูชาตา่ งๆ เจา้ พิธีจะเร่มิ
ชมุ นมุ เทวดาเป็นลาดับ ไปจนถงึ ทานา้ มนต์ธรณสี าร นาน้ามนต์ประพรมสง่ิ ของต่างๆพรอ้ มบรรดาช่าง
ทงั้ หลายท่มี ารว่ มทางาน เสรจ็ แลว้ เจ้าพิธีจะจุลเจิมแป้งกระแจะทย่ี อดปราสาทเอง หรอื อาจใหพ้ ระเถระผู้ใหญ่
ท่มี าเป็นประธานสวดชยั มงคลคาคานน้ั เจมิ ให้(พระครูปลดั สุรพจน์ สันหรกั ษ์ .2553 : 38-39)

15

งานยกยอดเมรปุ ราสาท ขนาด 13 ยอด ณ วดั สโมสร วนั อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพนั ธ์ 2552
(ทม่ี า : http://aomsa.blogspot.com/2009/02/blog-post.html สบื ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2557)

ภำพที่ 2.6 งานยกยอดเมรุปราสาท

ภำพที่ 2.7 ยอดเมรุปราสาททเ่ี ตรียมยก
(ทีม่ า : http://aomsa.blogspot.com/2009/02/blog-post.html สืบคน้ เม่อื 13 เมษายน 2557)

ภำพที่ 2.8 ชา่ งและผ้รู ่วมพธิ ยี กยอดเมรุปราสาท
(ท่ีมา : http://aomsa.blogspot.com/2009/02/blog-post.html สืบคน้ เมื่อ 13 เมษายน 2557)

16

พิธยี กยอดเมรุปราสาท 5 ยอด งานฌาปนกิจศพ หลวงพอ่ พระอาจารย์สวา่ ง อุนารตั น์
ณ วดั กลาง อ.พระประแดง จ.สมทุ รปราการ วนั พธุ ท่ี 23 มกราคม 2556
(ท่มี า : http://www.youtube.com/watch สบื ค้นเมอื่ 13 เมษายน 2557)
ภำพท่ี 2.9 พิธียกยอดเมรุปราสาท

2.2.2.2 กำรรำสำมถำด
ในวันชักยอดปราสาทจะมีพธิ รี าผี(รา 3 ถาด) เพอ่ื เปน็ สิรมิ งคลแก่งาน พระครปู ลัดสรุ พจน์
สนั หรักษ(์ 2553:38) กล่าววา่ เปน็ การบวงสรวงบอกกล่าวเจ้าท่พี ระภูมเิ จ้าท่ีวัด เพอื่ ขอท่ปี ลูกสร้างเมรุ
ปราสาท จะมีปพี่ าทยม์ อญเคร่อื ง 5 มาทาเพลงมอญราสามถาด ผู้ท่รี าจะตอ้ งแตง่ กายแบบมอญ เครอ่ื งสงั เวย
ท่อี ยู่ในถาดน้ัน จะมีมะพรา้ วออ่ น กลว้ ยน้าว้า ขนมทองหยบิ ฝอยทอง ใสล่ งไปอย่างละ 1 ถ้วย เหลา้ 2 ขวด
เหมือนกนั ทั้ง 3 ถาด พวงมาลยั กลม 2 พวง สวมขอ้ มอื พวงมาลัยกลมคลอ้ งคอ 1 พวง น้าอบไทย 1 ขวด
ดอกไมธ้ ูปเทียนเตรยี มใสพ่ าน 1 พาน การรา 3 ถาดน้ี ถอื กนั วา่ ทาพธิ ีบอกพระภมู ิเจ้าทว่ี ัด ท่านจะได้มาร่วม
อนุโมทนา และจะไดช้ ่วยคมุ้ ครองปกปักษ์รักษาให้ทาการยกยอดปราสาทใหแ้ คลว้ คลาดจากภัยอันตรายทง้ั
ปวง สุรนิ ทร์ ทับรอด(2541:78)กลา่ วว่า มีพระสงฆ์สวดชยั มงคลคาถา จากน้ันญาติโยมจึงชว่ ยกันชกั ยอด
ปราสาทสยู่ อดเสา
2.2.2.3 กำรแยง่ ศพ
เมอ่ื มผี ู้ที่มีฐานะทางสงั คมหรอื พระสงฆเ์ สยี ชวี ติ ณฐั ชา สกลุ งาม(2552:70) กลา่ วา่ ชาว
มอญจะมีประเพณสี าคญั คือการแยง่ ศพเป็นพิธกี รรมที่เกดิ จากเร่อื งเลา่ สบื ตอ่ กัน ซงึ่ ยังไมส่ ามารถสรุปได้วา่ เร่ือง
ใดเปน็ เรอื่ งเลา่ ท่ีแทจ้ รงิ ดงั น้ี

1) ในสมยั พระเจ้าธรรมเจดยี ์ พระราชินีในรชั กาลกอ่ นไดส้ ้ินพระชนม์ในรัชกาลของ
พระองค์ จึงโปรดเกล้าฯให้ขา้ ราชบรพิ ารท่ีมหี นา้ ทช่ี ักลากรถแบง่ ออกเปน็ สองฝ่าย พรอ้ มทั้งตง้ั สัตยอ์ ธษิ ฐาน
วา่ หากภายหน้าบา้ นเมืองจะเจริญรุ่งเรอื งขอใหฝ้ า่ ยทด่ี ึงมาทางพะองคไ์ ด้ชัยชนะ ผลปรากฏวา่ ฝ่ายทดี่ ึงมา
ทางพระองค์เป็นฝา่ ยชนะ พระองค์จึงประกาศว่า ต่อไปในกาลขา้ งหน้าให้ประชาชนในแผน่ ดนิ ปฏบิ ัติเช่นน้ี
เพื่อเป็นอานิสงส์ในการทาศพ(เอกรินทร์ พ่ึงประชา.ม.ป.ป.:44) ประเพณีการแยง่ ศพมอญจงึ มปี ฐมเหตุมาจาก
กุศโลบายของพระเจา้ ธรรมเจดีย์ปฏิ กธรทตี่ อ้ งการแสดงบญุ ญาภนิ ิหารของพระองค์ ดว้ ยเหตุทพี่ ระองคน์ ้ัน
เป็นเพียงสามญั ชนเปน็ พระราชโอรสเลีย้ ง แม้ต่อมาจะได้เปน็ พระราชบุตรเขยและพระนางตะละเจา้ ท้าวจะสละ

17

ราชสมบตั ิใหข้ น้ึ ครองราชยต์ ่อจากพระองค์ก็ตามกระทั่งพระนางตะละเจ้าท้าวสวรรคต อนั เป็นธรรมดาท่ีคงจะ
ยังมีเช้อื พระวงศ์ ขุนนางเสนาอามาตย์ ที่ยังไม่ยอมรับพระเจ้าธรรมเจดีย์ในฐานะพระเจา้ แผ่นดินรามญั ประเทศ
พระองค์จงึ คดิ อบุ ายแย่งศพขึน้ โดยแบ่งทหารออกเปน็ 2 ฝ่ายโดยพระองคเ์ ขา้ ไปอยูใ่ นฝ่ายหน่งึ แลว้ จบั เชือกที่
ผูกไวก้ บั ราชรถรปู เหรา(นาค) ตง้ั สัตยาธษิ ฐาน หากคดิ ดคี ดิ ชอบมคี วามจงรกั ภักดกี ตัญญูรูค้ ณุ ในพระนางตะละ
เจ้าทา้ วแลว้ ไซรใ้ หร้ ถเหราเคลื่อนมาทางพระองค์ ครนั้ ออกแรงดึงผลก็เป็นไปอยา่ งทพ่ี อจะคาดหวังได้ การท่ี
พระศพไหลมาข้างพระองคแ์ สดงใหอ้ าณาประชาราษฎร์เห็นวา่ พระนางตะละเจา้ ทา้ วรบั รู้ และอยูข่ ้างพระองค์
และแนน่ อนว่าไพร่บ้านพลเมอื งในแผ่นดนิ ทง้ั หลายกย็ อมรับในพระเจ้าธรรมเจดยี ม์ หาปฎิ กธรพระมหากษัตรยิ ์
แหง่ รามญั ประเทศมากยง่ิ ขึน้

2) ในสมยั พทุ ธกาล เมอ่ื พระพทุ ธองค์เสดจ็ ดับขนั ธปรนิ ิพพาน เทวดาบนสวรรค์
ตอ้ งการนาพระศพประดิษฐานไวบ้ นสวรรค์ แตม่ นษุ ยก์ ็ตอ้ งการพระศพเชน่ กนั ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดการวิวาทกัน
และต่างฝา่ ยตา่ งแย่งชิงพระศพกนั พระอนิ ทร์มาพบเขา้ จึงตดั สนิ ใหต้ งั้ พระศพไว้ระหวา่ งสวรรคแ์ ละโลกมนุษย์

ปจั จบุ นั ประเพณแี ยง่ ศพในหมชู่ าวมอญเมอื งไทยเหลือแตเ่ พียงในกลุม่ คนเกา่ แก่ ที่เพียงปฏบิ ตั ติ าม
“เคล็ด” ที่ ทาสืบกนั มา กลา่ วคือกอ่ นทจ่ี ะนาโลงศพขน้ึ เชิงตะกอน หรอื ขึ้นเมรุเข้าเตาเผากท็ าทีดึงถอยหลังยื้อ
เดินหนา้ กระทา 3 คร้ัง สมมตุ ิเป็นการแยง่ ศพซ่ึงขน้ั ตอนท้งั หมดกใ็ ช้เวลาเพียง ช่ัวอึดใจ ทาไปตามธรรมเนยี ม
โดยไม่ร้คู วามหมาย สุกัญญา ภทั ราชัย(2527:67-69) กล่าววา่ จะทาในช่วงหลังจากที่เวยี นศพรอบเชงิ ตะกอน
3 รอบ พอเอาศพวางกม็ พี ิธีแยง่ ศพ ในสมยั ก่อนนั้นการแยง่ ศพทากนั จริงๆจงั ๆ ในการหามศพไปสเู่ ชิงตะกอน
เผา บางทแี่ ยง่ กันไปมาถงึ 3 วัน แตป่ ัจจุบันน้ีทาเป็นพิธเี ทา่ น้ัน นยั เพือ่ เป็นการแสดงความอาลยั และความ
หวงแหนผตู้ ายของญาติพ่นี อ้ ง ศพท่ีมกี ารแยง่ ชิง โดยปกติแลว้ เป็นของผู้ที่มีคนนับถือ เช่น ศพพระสงฆห์ รอื
สมภารเจา้ วัด ซ่ึงจะตอ้ งสรา้ งเมรเุ ผาศพท่เี ปน็ เมรุปราสาท เพราะส่วนบนท่ีเป็นยอดปราสาทน้นั ทาตะเฆใ่ ส่ล้อ
ไว้ มเี ชอื กชกั 2 สาย ผกู ติดกบั ตะเฆ่ แลว้ แบ่งออกเป็น 2 ฝา่ ย ฝ่ายใดคนมากก็ชักลากไปทางนัน้

2.2.2.4 กำรเผำศพ
พิธกี ารเผาศพ เปน็ พิธีกรรมเพ่ือสง่ ผตู้ ายไปสวรรค์ การเผาศพมดี ว้ ยกัน 2 วธิ ี ดงั น้ี

1) การจุดลกู หนู ประเพณจี ุดลกู หนจู ะใช้เฉพาะงานศพพระ ความเช่ือในเรื่อง
ลูกหนูสืบเน่ืองมาจากพุทธประวัติ มีอยู่ 2 ประเด็น คือพระท่านเป็นผู้ที่สูงแล้ว ท่านพ้นจากกิเลสไม่เหมือนคน
ท่ัวไปเพราะฉะนั้นถ้าคนท่ัวไปที่มีกิเลสเอาไฟไปเผาท่าน ก็จะเปน็ บาปคนมอญจึงคิดประดษิ ฐ์เป็นลูกหนูเม่ือจุด
ลูกหนูก็วิ่งไปท่ีใต้ศพพระแล้วไฟลุกไหม้ขึ้นเองอีกข้อหนึ่งสันนิษฐานว่าจาลองมาจากเหตุการณ์ในพุทธประวัติ
ตอนท่ีถวายเพลิงพระพุทธเจ้ามัลละกษัตริย์เอาไฟไปจุดไม่ติดจนกระท่ังพระมหากัสปะมาถึงกราบถวายท่ีพระ
บาทของพระพุทธเจ้าหลังจากน้ันเทพก็บันดาลให้เกิดไฟข้ึนมาแล้วเผาสรีระของพระพทุ ธองค์ฉะนั้นคนมอญจึง
คดิ ประดิษฐล์ ูกหนขู น้ึ มา ใหเ้ หมอื นกบั ไฟทเ่ี กดิ ขน้ึ จากเทวดาบนั ดาลการจดุ ลกู หนนู น้ั เดมิ ทเี ดยี วเมอ่ื จุดลูกหนูไป
จะมีเช้อื เพลงิ อยูใ่ ตห้ ีบศพพอลกู หนไู ปกระทบเข้าไฟกล็ ุกตดิ ขึน้ มา

การจุดไฟเผาศพพระไมน่ ิยมเผาดว้ ยมอื แตจ่ ะใช้จุดลูกหนูเพ่อื ให้ว่ิงไปกระทบปราสาทและโลงเพอ่ื ให้ไฟ
ลกุ และเผาศพอีกต่อปัจจบุ นั การจุศพดว้ ยลูกหนไู ม่นิยมทากันทง้ั นเี้ พราะการวงิ่ ชนโลงหรอื ปราสาทอาจทาให้ศพ
กระเด็นออกมานอกโลงเป็นทีอ่ จุ าดแกผ่ ้พู บเห็นแตเ่ พอื่ รกั ษาประเพณีเดิมเอาไว้การจุดลูกหนูก็ยังคงทาอยู่แต่จะ
เป็นเพื่อการแข่งขันและความสนุกสนาน โดยมีรางวัลจากการว่ิงชนป้ายแ ละยอดปราสาทแทน
(http://www.susarn.com/susarnth/th_celemony/th_mon.html)

18

ภำพท่ี 2.10 การแห่ลกู หนูรอบเมรุเพ่ือเคารพผเู้ สยี ชวี ติ
(ทม่ี า : ชมรมเยาวชนมอญกรงุ เทพ.2551:99)

ภำพท่ี 2.11 การจุดลูกหนู
(ที่มา : ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ.2551:102)

2) การไกวศพในระหวา่ งพิธีการเผาศพ โดยเฉพาะการเผาศพแบบเมรปุ ราสาท

ซ่งึ ตามประเพณขี องชาวมอญจะทาไปพรอ้ มกับการเผารา่ งของผูต้ าย เปน็ พธิ ที ชี่ าวมอญในประเทศพมา่ นยิ มทา

ในปจั จุบันซ่งึ จะทาเฉพาะในพิธีกรรมศพพระสงฆเ์ ทา่ น้ัน โดยพิธีจะเริม่ ขึน้ ในช่วงเยน็ ของวันเผาจะมีการแหศ่ พ

รอบเมรปุ ราสาทท่ีจะเผา 3 รอบแลว้ จงึ นาศพซ่งึ ใสอ่ ยู่ในโลงไปตั้งไวบ้ นตระแกรงลวด ซงึ่ คล้ายกบั เปลตาห่างๆ

ท่ีมีทอ่ นฟนื บรรจุอยูห่ ลังจากนน้ั จะมกี ารเลน่ โขนหน้าศพก่อนเชญิ ผู้ท่เี ขา้ มารว่ มพธิ ีทอดบงั สกลุ แล้วเผาหลอก

กอ่ นทจี่ ะมีพธิ ีเผาจริงประมาณส่ที ุ่ม พธิ เี ผาจริงนนั้ จะจุดไฟข้ึนท่ไี มท้ ่ีรองอยใู่ ตโ้ ลง ซง่ึ ตั้งอย่ทู ่เี ปลตระแกรงเหล็ก

มมุ ดา้ นหน่งึ ของโลงมีลวดเหล็กผูกเชือกโยงมาทางดา้ นทิศตะวนั ออกของปราสาท เพือ่ ใหญ้ าติพี่น้องของผตู้ าย

ได้แกวง่ เปลไปมา และรอ้ งเพลงกล่อมเปน็ กลอนมอญ หลงั จากเก็บกระดกู แลว้ เจา้ ภาพก็จะเผาปราสาท

การไกวเปลนนั้ เป็นการไกวตอบแทนทลี่ ูกหลานไดเ้ คยถูกผตู้ ายไกวเปลกลอ่ มในวยั เดก็ และเป็นการไกวเพื่อสง่

วญิ ญาณของผตู้ ายไปสู่สวรรค์ ซึ่งไมเ่ จาะจงวา่ ผ้ไู กวจะต้องเปน็ ญาติพ่นี ้อง เพราะถอื ว่าเปน็ การทาบญุ รว่ มกัน

(http://www.susarn.com/susarnth/th_celemony/th_mon.html) ชาวมอญในเมอื งไทยทาพธิ ีนเี้ ฉพาะ

กับพระภกิ ษสุ งฆพ์ ระเถระผใู้ หญร่ ะดับเจา้ อาวาสเท่านัน้ เนือ่ งจากเจา้ ภาพต้องสรา้ งเมรุปราสาทขนึ้ เอง

กอ่ สรา้ งใหส้ ามารถผอ่ นรับนา้ หนกั ขณะไกวศพและสามารถปอ้ งกนั ไฟไหมเ้ มรปุ ราสาทไดด้ ว้ ย (ชมรมเยาวชน

มอญกรุงเทพ.2551:118)

19

ภำพท่ี 2.12 การวางดอกไม้จนั ทน์และไมห้ อมก่อนทาพิธีเผาจริง
(ทีม่ า : ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ.2551:116-117)

ภำพท่ี 2.13 พธิ ีไกวศพ
(ทม่ี า : จิรดา แพรใบศรี ถา่ ยเม่อื มนี าคม 2551)
2.2.2.5 กำรเก็บกระดกู
การเก็บกระดูกและเถ้าอังคาร สุรินทร์ ทับรอด(2541:84-85)กล่าวว่า ในการเก็บกระดูก
ของชาวมอญก็เหมอื นกับชาวไทย คือต้องเกบ็ ในวันร่งุ ขึน้ หลงั จากวันเผา โดยจัดการจัดกองเถ้ากระดูกวางเป็น
รูปคน เอาดอกไม้สดกองไว้ข้างบนพร้อมกับใช้ผ้าขาวคลุมทับอีกข้ันหนึ่ง แล้วพระสงฆ์บังสุกุลกรวดน้าอุทิศ
ส่วนกุศล แล้วนาผ้าขาวและดอกไม้ออก นาใบโพธ์ิ 7 ใบมาวาง ใช้ไม้คีบกระดูกเอาไปวางไว้บนใบโพธ์ิ
จากนน้ั จึงเทกระดกู บนใบโพธิ์ใส่ลงในผ้าขาวนาไปล้างน้ามะพร้าว ล้างน้าขม้ินผึ่งให้แห้งแล้วบรรจุไว้ท่ีวดั ชาว
มอญไม่เอากระดกู เข้าบ้าน แตฝ่ ากไว้ทว่ี ดั ทง้ั หมดใส่โกศเล็กๆ ส่วนที่เป็นชน้ิ เป็นอันบรรจุไวท้ ่ีเจดีย์ใหญ่ของวัด
เพราะไม่นยิ มสรา้ งเจดยี เ์ นื่องจากเจดยี เ์ ป็นของสาหรับพระเท่าน้ัน
ดังน้ันจึงกล่าวได้ว่า ชาวมอญให้ความสาคัญกับพิธีการอย่างเหนียวแน่น การจัดพิธีศพพระสงฆ์อัน
เป็นวัฒนธรรมท่ีชาวมอญแสดงถึงการให้ความสาคัญแก่ศาสนาพุทธ ด้วยการให้เกียรติอย่างสูงแก่พระสงฆ์
และความมุ่งหมายส่งวิญญาณไปสู่สวรรค์ภูมิ พิธีกรรมต่างๆจึงล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ตายได้ผลบุญมาก และ
ด้วยความเช่ือในเรื่องภพชาติ ตลอดจนความเชื่อเร่ืองบาปบุญ จึงพิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการทาศพแต่ละ
ประเภท การแยกสถานภาพระหว่างคนธรรมดากับพระสงฆ์ เนื่องจากพระเป็นบุคคลท่ีต้องให้ความเคารพ
อย่างมาก เพราะพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดศาสนา การได้เผาศพพระถือเป็นบุญกุศลท่ีย่ิงใหญ่ ดังเช่น การ
แสดงออกในรูปของการทาเมรุปราสาท ซึ่งเทียบได้กับการส่งวิญญาณให้ไปสถิตอยู่ในแดนเทพแดนสวรรค์
การจุดไฟเผาศพด้วยการจุดลูกหนู การไกวศพเพื่อแสดงความอาลัย ซ่ึงแต่ละพิธีนับเป็นการแสดงถึงความ

20

เคารพสูงสุด ท่ีเป็นเอกลักษณ์ทางความเช่ือและพิธีกรรมเฉพาะของชาวมอญแต่อาจมีพัฒนาการและความ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลเวลา ท่ีส่งผลให้ภาษา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีต้องปรับเปล่ียนตาม
เพอื่ ให้สามารถดารงอย่ไู ดต้ ามยคุ สมัยและอิทธพิ ลที่ไดร้ ับ จนกลายเป็นความแตกต่างระหวา่ งพิธกี รรมของชาว
มอญในประเทศพม่าและชาวมอญในประเทศไทย

2.3 แนวคิดภมู ปิ ญั ญำท้องถิน่

การสบื ทอดภมู ิปัญญาท้องถ่ิน เปน็ การสืบสานใหอ้ งคค์ วามรู้ อนั เปน็ สิง่ ทีม่ ีคุณคา่ ของทอ้ งถ่นิ นนั้ ๆให้

คงอยู่ และสบื ทอดตอ่ ไปจากรุน่ สรู่ นุ่

2.3.1 ความเป็นมาของภมู ิปญั ญาท้องถ่นิ

ภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่น(local wisdom) หรอื ภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน(popular wisdom) หรอื ภูมปิ ัญญา

ไทย(Thai wisdom) สานกั คณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาต(ิ 2534:52) ไดก้ ล่าววา่ ภมู ปิ ญั ญาท้องถิ่น

(local wisdom) สะสมขึ้นมาจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพสิง่ แวดล้อมทีแ่ ตกต่าง

กนั และถ่ายทอดสบื ทอดกนั มาเปน็ วฒั นธรรม การดาเนนิ งานดา้ นวฒั นธรรม จึงต้องใชป้ ัญญาคน้ หาส่งิ ท่ีมีอยู่

แลว้ ฟ้นื ฟู ประยกุ ต์ ประดษิ ฐ์ เสริมสร้างส่ิงใหม่ บนรากฐานส่งิ เกา่ ท่ีคน้ พบนั้น นักฟื้นฟู นกั

ประยุกต์ และนกั ประดษิ ฐค์ ิดค้นทางวัฒนธรรมพ้นื บา้ นเหลา่ นี้ มีชือ่ เรียกในเวลาตอ่ มาวา่ ปราชญช์ าวบ้าน

หรอื ผู้รูช้ าวบ้าน และสติปญั ญาทน่ี ามาใช้ในการสร้างสรรคน์ ้ีเรยี กวา่ ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ น หรอื ภูมปิ ญั ญา

ทอ้ งถ่นิ

ประเวศ วะส(ี 2536:21) ไดก้ ล่าวว่า ภูมปิ ญั ญาท้องถนิ่ เกิดจากการส่งสมการเรียนรูม้ าเปน็

ระยะเวลายาวนาน มลี ักษณะเชอ่ื มโยงกนั ไปหมดทุกสาขาวชิ าไม่แยกเปน็ วิชาแบบเรียนทเี่ ราเรียน แตเ่ ปน็ การ

เชือ่ มโยงกนั ทกุ รายวชิ าทง้ั ทเ่ี ปน็ เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ การศกึ ษาและวัฒนธรรม จะผสมกลมกลนื เขา้

ด้วยกัน

ยุพา ทรพั ยอ์ ุไรรัตน์(2537:21) กล่าววา่ ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ นเกิดจากการสัง่ สมความรู้

ประสบการณ์ ท่ีไดร้ ับถ่ายทอดจากบคุ คลและสถาบันต่างๆ โดยมอี ทิ ธพิ ลของสิ่งแวดลอ้ มและ

ศาสนา เกย่ี วขอ้ งอยดู่ ว้ ยและมีวฒั นธรรมเปน็ พน้ื ฐานภูมิปัญญา ภูมปิ ญั ญาชาวบา้ นเป็นส่งิ ทีม่ ีมานาน มกี าร

ปฏิบัตโิ ดยผู้คนในชมุ ชนน้ัน

ดงั น้นั ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ จึงเป็นสง่ิ ทเ่ี กดิ จากการสั่งสมประสบการณ์การเรยี นรู้ ทไ่ี ดร้ ับการถา่ ยทอด

จากรนุ่ หนง่ึ ไปสู่อกี รนุ่ หน่งึ โดยใช้ปัญญาเพอ่ื ค้นหาสิง่ ท่ีมอี ยู่ แล้วฟนื้ ฟู ประยุกต์ ประดษิ ฐ์ เสรมิ สร้างส่งิ

ใหม่ บนรากฐานสิ่งเก่าท่คี น้ พบนน้ั

2.3.2 ความหมายภมู ปิ ญั ญา

ภูมิปัญญา (เอกวิทย์ ณ ถลาง.2544:42)หมายถงึ ความรู้ ความคดิ ความเชือ่ ความสามารถ

ความจดั เจน ท่ีกลุ่มชนไดจ้ ากประสบการณท์ ีส่ ่ังสมไว้ในการปรบั ตัวและดารงชพี ในระบบนเิ วศหรอื

สภาพแวดลอ้ มทางธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ มทางสงั คมและวัฒนธรรม ทไี่ ดม้ พี ัฒนาการสบื สานกันมา ภูมิ

ปญั ญาเปน็ ผลของการใช้สตปิ ัญญาปรบั ตัวกบั สภาวะต่างๆในพืน้ ท่ี ทกี่ ล่มุ ชนนนั้ ตัง้ หลกั แหล่งถ่ินฐานอยู่ และ

ไดแ้ ลกเปลยี่ นสงั สรรค์ทางวัฒนธรรมกับกลมุ่ ชนอน่ื จากพน้ื ที่สง่ิ แวดล้อมอื่นท่ไี ดม้ ีการตดิ ตอ่ สมั พันธก์ ัน แล้ว

รบั เอาหรอื ปรบั เปลย่ี นมาสรา้ งประโยชนห์ รือแก้ปญั หาไดใ้ นสิ่งแวดลอ้ มและบริบททางสังคมและวฒั นธรรมของ

กลมุ่ ชนนน้ั ภมู ปิ ัญญาจงึ มที งั้ ภูมิปญั ญาอันเกิดจากประสบการณใ์ นพ้นื ท่ี ภูมิปญั ญาทมี่ าจากภายนอก และภมู ิ

ปัญญาที่ผลิตใหมห่ รอื ผลติ ซ้า เพื่อการแก้ปญั หาและการปรับตัวใหส้ อดคลอ้ งกับความจาเป็นและความ

เปล่ยี นแปลง

21

ประเวศ วะสี (เอกวทิ ย์ ณ ถลาง.2544:คานยิ ม) กล่าววา่ วถิ ีชวี ติ การดารงอยูข่ องชาวบ้าน คอื การ

ดารงอยู่ร่วมกันอย่างไดด้ ลุ ยภาพ ทงั้ ระหวา่ งมนษุ ย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษยก์ บั ธรรมชาติ เชน่ กรรักษา

ป่าและต้นนา้ ลาธาร ภูมิปัญญาเหลา่ น้ีรวมเรียกวา่ วัฒนธรรม วัฒนธรรมเปน็ ภูมปิ ัญญาทส่ี ะสมมาจากการ

ปฏิบตั ิจรงิ และถ่ายทอดกนั มาเป็นเวลาช้านาน ความรขู้ องมนษุ ย์ไม่ได้มีแตเ่ กดิ ขึ้นจากการทดลองใน

หอ้ งทดลองทางวทิ ยาศาสตรเ์ ท่านน้ั ความร้อู กี กระแสหนง่ึ ซึง่ เกดิ มาก่อน คือ ความรู้ทีเ่ กดิ จากการทดลอง

ปฏบิ ัติจรงิ ในห้องทดลองทางสังคม คือ ความร้ทู างกระแสวฒั นธรรม(Traditional Knowlegde)หรอื ภูมิ

ปญั ญาชาวบ้าน ความร้เู หล่านถ้ี ูกคน้ พบ ลองใช้ ดัดแปลง ถ่ายทอดกันมาด้วยเวลานานเป็นพันเปน็ หมนื่ ปี

จงึ มคี า่ ยง่ิ นกั เป็นมรดกทางปัญญาของมนษุ ย์(Human Heritage) ดว้ ยการศึกษาอยา่ งทท่ี ากนั ในปจั จบุ ัน

มรดกทางปัญญาเหลา่ นจี้ งึ สญู หายไปอยา่ งรวดเรว็

ดงั น้ันภูมิปัญญาทอ้ งถิ่นไทย จงึ หมายถึง องคค์ วามรู้ในดา้ นตา่ ง ๆ ของการดารงชวี ติ ของคนไทยท่เี กดิ

จากการสง่ั สมประสบการณท์ ง้ั ทางตรง และทางอ้อม ทปี่ ระกอบดว้ ยแนวคดิ ในการแกป้ ัญหาของตนเองจนเกิด

การหลอมรวมเป็นแนวความคดิ สาหรบั แกป้ ัญหาทม่ี ีลักษณะเฉพาะของตนเอง ซง่ึ สามารถพฒั นาความรู้

ดังกล่าว แลว้ นามาประยุกต์ใช้ในการแกป้ ญั หาและการดารงชวี ติ ไดอ้ ย่างเหมาะสมตามกาลเวลา และมีคุณค่า

ทางวฒั นธรรม โดยการผสมผสานและเออื้ ประโยชน์ระหวา่ ง “คน” และ “ธรรมชาติ”

2.3.3 ความสาคัญของภูมปิ ญั ญาท้องถน่ิ

ภูมิปัญญาทอ้ งถ่ิน เกดิ จากการสบื สาน สืบทอดประสบการณจ์ ากรนุ่ ถงึ รุ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

ทสี่ ่งั สมกันมาเป็นเวลานาน ถา้ ถูกละเลย ขาดการยอมรับหรือถูกทาลายลง ก็จะสูญหายไป ไรซ้ ึง่ ภูมิปญั ญา

ของตนเอง ทาใหค้ นในทอ้ งถิ่นไมม่ ศี ักดิ์ศรี ขาดความภาคภูมใิ จในทอ้ งถ่นิ ของตน ดงั นน้ั ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ จงึ

เปน็ สิ่งสาคญั

ยุพา ทรพั ย์อไุ รรตั น(์ 2537:25-26) กล่าวถงึ ความสาคัญของภมู ปิ ัญญาชาวบา้ นว่า เปน็ วฒั นธรรม

และประเพณี วถิ ชี วี ิตแบบดั้งเดมิ เปน็ ตวั กาหนดคุณลักษณะของสงั คม เป็นสง่ิ ที่มีจดุ หมาย เป็นวง่ิ สาคญั มี

ความหมายและคุณค่าต่อการดารงอยูร่ ว่ มกันทจ่ี ะช่วยให้สมาชิกในชมุ ชนหมู่บา้ น ดารงชีวิตอยรู่ ่วมกันไดอ้ ย่าง

สงบสุข ช่วยสรา้ งความสมดุล ระหวา่ งคนกบั ธรรมชาตแิ วดล้อม ทาใหผ้ ู้คนดารงตนและปรับเปล่ียนไดท้ นั ตอ่

ความเปล่ยี นแปลงและผลกระทบอนั เกิดจากสงั คมภายนอกและเปน็ ประโยชน์ต่อการทางานพฒั นาชนบท ของ

เจ้าหน้าทจี่ ากหนว่ ยงานต่างๆทง้ั นเี้ พอ่ื เป็นการกาหนดท่าทีในการทางานให้กลมกลนื กบั ชาวบ้านได้มากย่งิ ขนึ้

ประกอบ ใจมัน่ (2539:84) ไดก้ ล่าวถงึ ความสาคัญของภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ น คอื

1) ชว่ ยใหส้ มาชิกในชมุ ชน หมบู่ า้ น ดารงชวี ิตอยรู่ ว่ มกันได้อยา่ งมีความสขุ

2) ช่วยสร้างความสมดลุ ระหว่างคนกับธรรมชาตแิ วดลอ้ ม

3) ชว่ ยให้ผูค้ นดารงตนและปรบั เปลีย่ นทันต่อความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบอนั เกดิ จาก

สังคมภายนอก

4) เปน็ ประโยชน์ตอ่ การทางานพัฒนาชนบทของเจ้าหนา้ ที่จากหนว่ ยงานต่างๆเพือ่ ทจ่ี ะได้

กาหนดทา่ ทกี ารทางานให้กลมกลืนกบั ชาวบ้านมากยิง่ ขึ้น

นนั ทสาร สีสลบั (2542:25) ไดก้ ล่าวถึงความสาคญั ของภมู ปิ ัญญาไทย ดงั นี้

1) ภมู ปิ ญั ญาไทยช่วยสร้างชาตใิ หเ้ ป็นปึกแผ่น

2) สรา้ งความภาคภูมใิ จและศักด์ศิ รเี กยี รติภมู แิ ก่คนไทย

3) สามารถปรบั ประยกุ ต์หลักธรรมคาสอนทางศาสนาใชก้ บั วถิ ีชีวิตไดอ้ ย่างเหมาะสม

4) สรา้ งความสมดลุ ระหวา่ งคนในสงั คมและธรรมชาตไิ ดอ้ ย่างยงั่ ยืน

5) เปล่ียนแปลงปรบั ปรงุ ได้ตามยคุ สมัย

22

2.3.4 ลกั ษณะของภมู ปิ ัญญาทอ้ งถนิ่

ภมู ปิ ญั ญาท้องถ่นิ เปน็ เร่อื งราวการสืบทอดประสบการณ์จากอดตี ถึงปัจจบุ ัน ท่ีมีลักษณะของ

ความสมั พันธ์ภายในท้องถนิ่ ที่มคี วามหลากหลายทางภมู ิปญั ญาแต่ไมแ่ ตกตา่ งกันมากนัก ซ่ึงมหี ลายท่านได้

กลา่ วถงึ ลักษณะของภมู ิปัญญาทอ้ งถน่ิ ไว้ ดังนี้

เสรี พงศพ์ ิศ (2536:145) กลา่ ววา่ ภูมิปัญญามี 2 ลักษณะ คอื

1) มีลักษณะเปน็ นามธรรม เป็นโลกทัศน์ ชีวทัศน์ เปน็ ปรัชญาในการดาเนินชีวติ เปน็ เร่ืองท่ี

เก่ยี วกบั การเกิด แก่ เจ็บตาย คุณค่าและความหมายของทกุ สงิ่ ในชวี ิตประจาวนั

2) มีลักษณะเปน็ รปู ธรรม เก่ียวกับเรอ่ื งเฉพาะด้านตา่ งๆเชน่ การทามาหา

กิน การเกษตร หตั ถกรรม ศลิ ปะ ดนตรี และอนื่ ๆ

ภมู ิปัญญาเหลา่ น้ีสะทอ้ นออกมาใน 3 ลักษณะ ทีสมั พนั ธ์กนั อย่างใกล้ชดิ คือ ความสัมพันธร์ ะหว่าง

คนกับโลก ส่งิ แวดลอ้ ม สตั ว์ พืช ธรรมชาติ ความสมั พนั ธ์กับคนอ่ืนๆท่อี ย่รู ว่ มกนั ในสังคมหรอื

ชมุ ชน ความสัมพนั ธ์กบั สิ่งศกั ดส์ิ ทิ ธ์ สงิ่ เหนือธรรมชาติ สงิ่ ทไ่ี มส่ ามารถสมั ผัสไดท้ งั้ หลาย ทง้ั 3 ลักษณะนี้

คือ สามมิติของเรื่องเดียวกัน คือ ชีวิตของชาวบ้าน สะท้อนออกมาถึงภมู ปิ ัญญาในการดาเนินชีวติ อย่าง

เอกภาพ เหมอื นมมุ ของสมเหล่ียม ภูมิปญั ญาจงึ เปน็ รากฐานในการดาเนินชวี ิตของชาวบา้ น

สัญญา สัญญาวิวัฒน์(2534:25) ไดก้ ลา่ วถึงลกั ษณะภมู ิปญั ญาท้องถนิ่ ไว้ดงั น้ี

1) ภมู ิปัญญา เป็นความรู้เก่ยี วกบั เรอื่ งใดๆหรือหนว่ ยสงั คมใดๆเปน็ ขอ้ มูล เปน็ เน้ือหา

สาระเกย่ี วกับเร่อื งนั้นๆ เช่น ความรู้เกีย่ วกับครอบครวั ความรเู้ ก่ยี วกบั มนุษย์ เกยี่ วกบั

ผู้หญงิ ผูช้ าย ประเภทครอบครวั ของสังคมน้ัน

2) ภูมปิ ัญญา เปน็ ความเชอื่ เก่ียวกับเรอ่ื งใดๆของสังคมนั้น มคี วามเชื่อแตย่ งั ไม่มีขอ้

พิสูจน์ยนื ยันว่าถูกต้อง เชน่ เร่อื งนรก สวรรค์ ตายแล้วไปไหน

3) ภูมิปญั ญา คือ ความสามารถหรอื แนวทางในการแก้ปญั หา หรือป้องกนั ปัญหา

เกีย่ วกับหนว่ ยสงั คมหนง่ึ สงั คมใด ตัวอย่างครอบครวั เชน่ ความสามารถในกรปอ้ งกันไมใ่ ห้เกดิ ปญั หาข้ึนใน

ครอบครัว

4) ภูมิปัญญาทางวัตถุ ในหนว่ ยสังคมใดๆ ตัวอย่าง เชน่ เรือนชานบา้ นช่อง เครื่องใช้

ไม่สอยต่างๆในครอบครวั ทาให้ครอบครวั มีความสะอาด สะดวก สบายตามสภาพ

พรชัย กาพันธ์ (2545:5-6) กล่าววา่ ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ สะสมกนั มา จากประสบการณข์ อง

ชวี ิต สังคมและในสภาพแวดล้อมทแ่ี ตกตา่ งกัน และถ่ายทอดสบื ตอ่ กันมาเปน็ วัฒนธรรม วฒั นธรรมชมุ ชนจงึ

เปน็ ทรัพยากรอันมีคณุ คา่ มหาศาลของสังคมตลอดจนประเทศชาติ ท่ีต้องไดร้ บั การดูแลเอาใจใสแ่ ละหวง

แหน มลี ักษณะสาคญั 4 ประการ คือ

1) ภมู ิปญั ญาทอ้ งถน่ิ มวี ัฒนธรรมเป็นฐาน ไมใ่ ชว่ ิทยาศาสตร์

2) ภูมปิ ัญญาทอ้ งถิ่นมีบรู ณาการ

3) ภูมปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ มคี วามเชอื่ มโยงไปส่นู ามธรรมท่ีลึกซึ่งสงู ส่ง

4) ภูมปิ ญั ญาท้องถน่ิ เนน้ ความสาคญั ของจริยธรรมมากกวา่ วตั ถุธรรม

ถวัลย์ มาศจรสั (2543:37) กลา่ วว่า ภูมิปัญญาไทย มลี กั ษณะเป็นองคร์ วม และมคี ุณค่าทาง

วฒั นธรรม เกิดข้นึ ในวถิ ีชีวติ ไทย ซง่ึ ภูมิปัญญาทอ้ งถิน่ อาจเปน็ ทมี่ าขององค์ความรู้ทีง่ อกงามขึ้นใหม่ที่ชว่ ยใน

การเรียนรู้ การแกป้ ัญหา การจัดการและการปรบั ตัวในการดาเนินวิถีชีวิตของคนไทย

จากแนวคดิ ดงั กล่าว สรปุ ได้ว่า ภมู ปิ ญั ญามี 2 ลักษณะคอื

23

1) เปน็ รปู ธรรม ไดแ้ ก่ วตั ถุการกระทาทัง้ หลาย เช่น การเกษตร หัตถกรรม ศลิ ปะ ดนตรี
เปน็ ตน้

2) เป็นนามธรรม ไดแ้ ก่ ความรู้ ความเชือ่ หรือแนวทางในการแก้ปัญหาและป้องกัน
ปัญหา รวมทงั้ การสรา้ งความสงบสขุ ใหก้ บั ชีวิตมนุษย์

2.3.5 ประเภทของภมู ปิ ัญญาท้องถ่ิน
ภูมิปญั ญาทอ้ งถนิ่ มมี ากมายหลายแขนง แตม่ ักถูกมองว่าลา้ หลัง จงึ มบี างกลุ่มไมค่ ่อยให้ความนิยมและ
สบื สานกันมากนัก ส่วนใหญ่แล้วภูมิปัญญาทอ้ งถิ่นมักสืบทอดบอกกล่าวกนั เปน็ การภายใน เช่น สูตรทาอาหาร
หรอื ตารบั ตาราต่าง ๆ ทาให้ไมเ่ ปน็ ท่ีรับรกู้ นั โดยทั่วไป อาจจาแนกภูมปิ ญั ญาท้องถนิ่ ออกเป็น 10 ลกั ษณะ
(http://thaigoodview.com/node/116319)ดังนี้

2.3.5.1 ภมู ปิ ญั ญาทีเ่ ก่ยี วกับความเชอื่ และศาสนา - ภมู ิปัญญาประเภทนี้จะมีลักษณะที่
แตกต่างกันไปในแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เน่ืองจากมพี ื้นฐานทางความเชื่อในศาสนาทแี่ ตกต่างกนั สาหรบั ภมู ิปญั ญา
ทอ้ งถนิ่ ของไทย ซงึ่ เกี่ยวกับความเช่อื ในทางพระพุทธศาสนาเป็นหลกั น้นั ได้มสี ว่ นสรา้ งสรรค์สังคม โดยการ
ผสมผสานกับความเชอ่ื ดงั เดิม จนกลายเปน็ ลกั ษณะเฉพาะของแตล่ ะท้องถ่นิ

2.3.5.1.2 ภมู ิปญั ญาท้องถิน่ ที่เกยี่ วกับประเพณีและพิธกี รรม - เนอื่ งจากประเพณแี ละ
พธิ ีกรรมเป็นส่งิ ที่ดีงามทคี่ นในท้องถน่ิ สร้างขน้ึ มา โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มขวัญและกาลังใจคนในสังคม ภมู ิ
ปญั ญาประเภทน้จี งึ มีความสาคญั ตอ่ การดาเนนิ ชวี ิตในสงั คมเปน็ อยา่ งมากดงั จะเหน็ ไดจ้ ากประเพณีและ
พธิ ีกรรมทสี่ าคญั ในประเทศไทยลว้ นเกย่ี วขอ้ งกบั การดาเนินชวี ิตของคนในสังคมแทบทง้ั ส้ิน

2.3.5.1.3 ภูมิปญั ญาทอ้ งถิน่ ที่เกยี่ วกับศลิ ปะพืน้ บา้ น – เป็นการสรา้ งสรรค์งานศิลปะตา่ งๆ
โดยการนาทรพั ยากรท่ีมอี ยู่มาประยกุ ต์ใช้ในชวี ติ ประจาวันหลงั จากน้นั ได้สืบทอดโดยการพฒั นาอย่างไม่ขาด
สายกลายเป็นศิลปะทม่ี ีคุณคา่ เฉพาะถิ่น

2.3.5.1.4 ภมู ิปญั ญาท้องถน่ิ ท่ีเกี่ยวกบั อาหารและผักพื้นบา้ น - นอกจากมนษุ ย์จะนาอาหาร
มาบริโภคเพือ่ การอยู่รอดแลว้ มนุษย์ยังได้นาเทคนิคการถนอมอาหารและการปรงุ อาหารมาใช้ เพ่ือใหอ้ าหารที่
มมี ากเกินความต้องการสามารถเก็บไวบ้ ริโภคไดเ้ ป็นเวลานานซึ่งถือว่าเป็นภูมปิ ัญญาอกี ประเภทหน่ึงที่สาคัญตอ่
การดารงชีวิต นอกจากน้ียังนาผักพืน้ บ้านชนดิ ต่างๆมาบริโภคอกี ด้วย

2.3.5.1.5 ภมู ิปัญญาท้องถ่นิ ทีเ่ ก่ียวกบั การละเลน่ พนื้ บา้ น - การละเลน่ ถือว่าเป็นการผ่อน
คลายโดยเฉพาะในวยั เด็กซึง่ ชอบความสนกุ สนานเพลดิ เพลนิ ภมู ปิ ญั ญาท้องถน่ิ ของไทยส่วนใหญ่จะใช้อปุ กรณ์
ในการละเล่นทป่ี ระดษิ ฐ์มาจากธรรมชาติซึง่ แสดงให้เหน็ วิถีชีวิตทีผ่ กู พนั กบั ธรรมชาติ และรู้จกั ปรับตวั ให้เขา้ กับ
สภาพแวดลอ้ มอยา่ งกลมกลืน

2.3.5.1.6 ภมู ิปัญญาท้องถน่ิ ทเ่ี กยี่ วกับศิลปวฒั นธรรม - ประเทศไทยมวี ัฒนธรรมที่
หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของแตล่ ะภาคเราสามารถพบหลกั ฐานจากร่องรอยของศลิ ปวัฒนธรรมที่
ปรากฏกระจายอยทู่ ัว่ ไป เช่น สถาปัตยกรรม ประตมิ ากรรม จติ รกรรม เป็นต้น ซ่ึงแสดงใหเ้ หน็ ถงึ เทคนิค
ความคิด ความเชือ่ ของบรรพบุรุษเปน็ อย่างดี

2.3.5.1.7 ภมู ปิ ัญญาท้องถน่ิ ทเ่ี ก่ียวกับเพลงพนื้ บา้ น - ภมู ปิ ญั ญาประเภทนสี้ ่วนมากแสดงออก
ถึงความสนกุ สนาน และยงั เปน็ คตสิ อนใจสาหรบั คนในสังคม ซ่งึ มสี ่วนแตกตา่ งกันออกไปตามโลกทศั น์ของคน
ในภาคตา่ งๆ

2.3.5.1.8 ภูมปิ ัญญาทอ้ งถ่ินทเี่ ก่ยี วกบั สมุนไพรและตารายาพนื้ บ้าน – ภมู ิปญั ญาประเภทนี้
เกดิ จากการสง่ั สมประสบการณ์ของคนในอดีต และถา่ ยทอดใหก้ บั คนรนุ่ หลังถือวา่ มคี วามสาคญั เป็นอย่างมาก

24

เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสี่ ซงึ่ มีความจาเป็นสาหรับมนษุ ย์ หากไดร้ ับการพฒั นาหรือส่งเสรมิ จะเปน็ ประโยชนท์ าง
เศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้

2.3.5.1.9 ภูมปิ ัญญาท้องถ่นิ ทเี่ ก่ยี วกับการประดษิ ฐกรรม - เทคโนโลยีและส่งิ ของเคร่ืองใช้
ต่างๆ ทเ่ี กดิ จากภูมิปญั ญาของคนไทยในแต่ละภาคนัน้ ถอื เป็นการประดษิ ฐกรรมและหตั ถกรรมชั้นเยี่ยม ซ่ึง
ปัจจบุ ันไม่ได้รบั ความสนใจในการพฒั นาและสง่ เสรมิ ภูมปิ ัญญาประเภทนเ้ี ทา่ ที่ควร หากมกี ารเรียนรูแ้ ละสบื
ทอดความคิดเกย่ี วกบั การประดษิ ฐกรรมและหัตถกรรมใหแ้ กเ่ ยาวชน จะเป็นการรกั ษาภมู ิปัญญาของบรรพชน
ได้อีกทางหนึง่

2.3.5.1.10 ภูมิปัญญาทอ้ งถิ่นท่ีเก่ยี วกับการดารงชวี ติ ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ -
เนือ่ งจากคนไทยมอี าชพี ทีเ่ ก่ยี วกับเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทานา ทาไร่ จึงทาใหเ้ กดิ ภมู ิปญั ญาท่เี ก่ียวกบั
ความเชือ่ และพิธกี รรมในการดารงชวี ติ เพ่อื แกป้ ัญหาหรอื ออ้ นวอนเพื่อให้เกดิ ความอุดมสมบูรณใ์ นการ
เพาะปลูกและเพอ่ื เพ่มิ ผลิตผลทางการเกษตรดงั จะเหน็ ได้จากพธิ ีกรรมท่เี กย่ี วกับการเกษตรทวั่ ทุกภมู ิภาคของ
ไทย

อังกลู สมคะเนย์ (2535:37) ได้จาแนกภูมิปัญญาชาวบา้ นออกเปน็ 4 กลุม่ คือ
1) เรื่องเกย่ี วกบั คติ ความคิด ความเช่ือ ภาษาและหลักการท่ีเปน็ พ้นื ฐานขององคแ์ หง่

ความรทู้ ่เี กดิ จากการส่ังสมถ่ายทอดกันมา ทป่ี รากฏให้เห็นไดใ้ นปัจจุบนั ท้งั ทีเ่ ป็นการประกอบพิธกี รรม การ
ปลกู พืช การเลี้ยงสตั ว์และการใช้แรงงานของตนเอง รวมถงึ การหาผลผลิตตา่ งๆท่ีมอี ยใู่ นธรรมชาติมาใช้
ประโยชนเ์ พอื่ การยงั ชพี ประกอบกับความเชื่อทางศาสนา ไดเ้ ขา้ ไปมีสว่ นเกย่ี วข้องดว้ ย คติ คา
คม สภุ าษติ คาพงั เพย นิทานหรอื ตานานพ้ืนบา้ น คติธรรมคาสอนทางศาสนา ปริศนาคาทายตา่ งๆ ภาษา
ถ่ินหรอื ภาษาพ้ืนบา้ น

2) เร่ืองของศลิ ปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี จะเปน็ ตัวช้ที ี่สาคัญต่อการ
แสดงออกถงึ ภูมปิ ญั ญาชาวบ้านแต่ละหม่บู า้ นต่อการดาเนินชีวติ ซง่ึ ก็คอื ผลงานหรือกจิ กรรมท่ีเกิดจากความคิด
ของชาวบ้านทแ่ี สดงใหเ้ ห็นคณุ คา่ แหง่ การดาเนนิ ชวี ิต วถิ ีชวี ิต ความเป็นอยทู่ ีไ่ ด้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา
เฉพาะกลุม่ ชน หรือทอ้ งถิ่นนน้ั ๆ ซ่งึ เป็นการแสดงถงึ ความเจรญิ งอกงามและความเป็นระเบยี บเรียบร้อยของ
กลุ่มชนหรอื ทอ้ งถิ่นนั้นๆได้แก่ การละเล่นพ้ืนบา้ น เพลงพนื้ บา้ นประเภทต่างๆศิลปะการแสดง เชน่ หนงั
ตะลงุ มโนราห์ ศิลปะด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุของท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีหรอื วัฒนธรรม
ท้องถน่ิ

3) เรอื่ งของการประกอบอาชพี ในแตล่ ะท้องถิ่น ในอดตี วถิ ชี ีวิตของคนไทยมีความเปน็ อยู่
โดยธรรมชาติ ทามาหาเลยี้ งชพี ด้วยการเพาะปลูก เลยี้ งสตั ว์ จับสตั วน์ ้าโดยใช้เครอ่ื งมอื ที่ประดิษฐเ์ อง ใน
การประกอบอาชพี นน้ั เปน็ การทาเพอื่ ใหม้ อี ย่มู กี นิ มากกวา่ ท่ีจะทาเพ่ือความม่ังมี ความร่ารวย โดยท่ีไม่
จาเปน็ ตอ้ งอาศัยปจั จยั จากภายนอกมาเป็นตวั กาหนดหรอื อิทธพิ ลในการผลิต แต่ปัจจุบันวถิ ีการดาเนินชีวติ
ของคนไทยเปล่ียนแปลงไปมากซง่ึ เปน็ ผลมาจากการมุง่ เน้นพฒั นาประเทศ เพ่อื เปลีย่ นแปลงจากประเทศ
เกษตรกรรมเปน็ ประเทศอตุ สาหกรรมใหม่ ทาให้ระบบการผลิตของชาวบ้านไดร้ บั ผลกระทบไปดว้ ย จึง
ก่อให้เกดิ ความล้มเหลวทางเศรษฐกจิ ในชนบทอยา่ งรุนแรง ผลจากความลม้ เหลวและความผดิ พลาดท่ีเกดิ ขึน้
จึงไดม้ บี คุ คลหนง่ึ นาไปใช้เปน็ บทเรียน เกิดแนวคดิ การพึ่งพาตนเองและการพ่ึงพาอาศยั ซึ่งกันและกนั ใน
ชนบท จึงได้มกี ารริเริ่มฟ้ืนฟทู รัพยากรในท้องถ่นิ ท่ีได้มกี ารสญู เสยี ไปใหม้ ีสภาพอดุ มสมบรู ณพ์ ร้อมปรับสภาพ
การดาเนินชีวิตทเ่ี คยถูกครอบงาดว้ ยระบบธุรกิจการคา้ กลับมาสู่อาชพี เกษตรกรรม เพอื่ ความอย่รู อดโดย
อาศัยความสมดลุ ทางธรรมชาติ กลมุ่ บุคคลดังกลา่ วยนื หยดั ตอ่ ส้ดู ว้ ยความเขม้ แข็งกบั ความลม้ เหลว และ
ความผิดพลาดท่เี กดิ ข้ึนอยา่ งภาคภูมดิ ้วยกาลังกาย สตปิ ัญญา ส่ังสมประสบการณจ์ ากการผสมผสานกลมกลืน

25

ได้อยา่ งเหมาะสม สามารถยืนหยัดอยไู่ ดด้ ว้ ยการพึง่ พาตนเอง บคุ คลเหลา่ น้จี ึงเป็นผทู้ ี่สมควรไดร้ บั การยกยอ่ ง

และนาเอาหลกั การ ความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปถา่ ยทอดใหก้ บั อนุชนรุ่นตอ่ ไป ได้แก่ การทา

เคร่ืองมือจับสัตวน์ า้ งานจักสานจากไม้ไผ่ งานจกั สานจากเตยปาหนนั งานจักสานจากหวาย งานประดิษฐ์

สงิ่ ของจากเปลอื กหอยแตก การจดั ทาผา้ บาติกและการเขียนลายผ้าบาติก

4) เร่ืองของแนวความคิด หลกั ปฏบิ ตั ิและเทคโนโลยชี าวบา้ น จากสภาพเศรษฐกจิ และสงั คม

ของประเทศไดเ้ ปลย่ี นแปลงจากสงั คมเกษตรกรรมไปสู่สงั คมอตุ สาหกรรม ส่งผลให้การดาเนินชีวติ

เปล่ียนไป เพือ่ ให้สามารถอยใู่ นสังคมไดอ้ ย่างมคี วามสุข จึงไดม้ บี คุ คลนาแนวความรูแ้ ละหลักการทเี่ คยปฏบิ ัติ

กันมา นามาผสมผสานกับเทคโนโลยสี มัยใหม่ เพ่อื เพมิ่ ผลผลติ หรือประกอบกิจกรรมในการดาเนินชีวติ ใน

ครอบครัวและทอ้ งถิ่น ซง่ึ นบั ว่าบคุ คลเหลา่ น้ี เปน็ ภมู ิปัญญาอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มคี วามรู้ความสามารถในการ

พัฒนาตนเองและชว่ ยเหลอื สังคม ได้แก่ การทาไรน่ าสวนผสม ตามแนวเกษตรทฤษฎใี หม่ การแปรรูป

อาหาร การประดิษฐ์ดอกไม้โดยใชว้ ัสดใุ นทอ้ งถิน่ การนาสมนุ ไพรเพอื่ ใช้รกั ษาโรค การถนอมอาหาร

รัตนะ บัวสนธิ์ (2535:57) ได้จาแนกภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ ออกเป็น 3 ประเภท คอื

1) ภมู ปิ ญั ญาเกย่ี วกบั การจดั ความสัมพนั ธร์ ะหว่างมนุษยก์ ับธรรมชาติ

2) ภมู ิปญั ญาเกี่ยวกับระบบสังคมหรือการจดั ความสัมพันธร์ ะหว่างมนษุ ยก์ บั มนษุ ย์

3) ภูมปิ ัญญาเกี่ยวกับระบบการผลิตหรอื การประกอบอาชีพมีลกั ษณะมุ่งเนน้ ระบบการผลิตเพอื่

พึง่ พาตนเอง

มาลนิ ี สวยคา้ ขา้ ว (2538:39) ได้แบง่ ประเภทของภมู ิปัญญาทอ้ งถ่นิ โดยยึดเกณฑ์ของสานักงาน

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทงั้ 5 หมวด คือ หมวดขนบธรรมเนยี มประเพณี ความเช่ือและ

ศาสนา หมวดภาษาและวรรณกรรม หมวดศลิ ปกรรมและโบราณคดี หมวดการละเล่น ดนตรี และการ

พกั ผอ่ นหยอ่ ยใจ หมวดชีวติ ความเปน็ อยูแ่ ละวิทยาการ

กลา่ วโดยสรุป ลกั ษณะและประเภทของภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ คือ มลี ักษณะเปน็ รปู ธรรมและ

นามธรรม อันเกดิ จากการสั่งสมความรแู้ ละประสบการณท์ ีไ่ ด้รบั จากการถา่ ยทอดจากบคุ คลและสถาบันต่างๆ

ในท้องถ่นิ โดยมวี ัฒนธรรมเป็นพน้ื ฐาน จะมลี ักษณะจากดั เฉพาะถิ่น มีความเปน็ สากล มุ่งการมชี วี ติ อยู่

รว่ มกบั ธรรมชาติและมคี วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งชีวติ กบั ชวี ิต

2.4 แนวคดิ กำรอนรุ กั ษ์

2.4.1 ความรทู้ วั่ ไปเก่ยี วกับการอนุรกั ษ์

การอนรุ กั ษ์ (สมคิด สุขเอิบ. 2551:35-36)หมายถึง การใชอ้ ย่างสมเหตุสมผล เพ่ือการมใี ชต้ ลอดไป

เปน็ ค่านิยมง่ายๆแต่เป็นการเนน้ “การใช”้ ทรพั ยากรเป็นพ้ืนฐาน อกี ทั้งยังมแี นวทางใชต้ ลอดไปซึง่ ก็หมายถงึ วา่

จะใชท้ รัพยากรอย่างไร จึงจะทาให้มที รัพยากรเปน็ ตน้ ทุน (stock) ท่สี ามารถมใี หต้ ลอดไปได้อย่างไรกต็ าม

“การใช”้ นี้มิได้หมายถึงเฉพาะการนามาบรโิ ภค ดื่ม กนิ หรือสัมผสั เทา่ นน้ั แต่หมายรวมถึงการเก็บเอาไว้เชย

ชม ฟื้นฟู หรือพฒั นาสงิ่ อ่ืนๆให้ดขี ้นึ กไ็ ด้ กลา่ วอกี นัยหนงึ่ คอื การใชน้ นั้ อาจต้องดาเนนิ การเก็บกกั การรกั ษา/

ซ่อมแซม การฟืน้ ฟู การปอ้ งกนั การสงวน หรอื การแบง่ เขตทีจ่ ะสงวนไว้ก็ได้ความหมายของคาว่า “การ

อนรุ กั ษ”์ พอสรปุ ความหมายสั้นๆไดว้ า่ เปน็ การใชค้ วามตอ้ งการและประหยัดไว้เพ่ือใชใ้ นอนาคต ถ้าอธบิ าย

ประเดน็ หน่ึงก็จะพูดได้วา่ “การอนรุ ักษ”์ หมายถงึ การใชป้ ระโยชนอ์ ย่างสมเหตสุ มผลและมีการสรา้ งสรรค์ อน่ึง

การอนรุ ักษเ์ ป็นคาทใี่ ชเ้ ปรยี บเทยี บ เสมอื นทฤษฎีเหมือนพุทธบญั ญตั หิ รอื คัมภีรไ์ บเบิลท่แี นะนาใหม้ ีการใช้

ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมให้อย่ใู นแนวทางดงั กล่าวทงั้ ส้ินส่วนการปฏิบตั ิจะมีประสิทธภิ าพ

ยอ่ มขึ้นอยูก่ ับกาลงั คน เงนิ เวลา และโอกาสของงานนน้ั ๆ

26

คาวา่ “การอนุรกั ษ์” ไดแ้ ดก่ ารใช้ การเกบ็ การรกั ษา / การซ่อมแซม การฟื้นฟู การพฒั นา การ

ปอ้ งกนั การสงวน และการแบง่ เขต ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม เพ่อื จะไดเ้ อ้อื อานวยให้มีคณุ ภาพ

ในการสนองความเปน็ อยขู่ องมนุษย์ตอ่ ไป ซง่ึ ได้มีการใชก้ นั มาเป็นเวลานานแลว้ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ประเทศ

สหรัฐอเมรกิ า ความจรงิ แล้วในยุคแรกนั้น การอนรุ ักษ์จะใชค้ าสองคา คือ การสงวน หมายถึง การเกบ็ รักษา

ของทห่ี ายากเอาไว้ถ้านามาใชอ้ าจมผี ลทาให้เกิดผลเสียหายได้ อีกคาหนงึ่ คอื การป้องกนั และการสญู เสยี ซ่ึง

หมายถึง การป้องกนั ทุกวถิ ที างท่ีจะให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไมใ่ ห้สญู เสยี เกดิ ข้นึ หรืออักนยั หนึ่ง หมายถึง

การท่ีจะนาทรพั ยากรธรรมชาติน้ันมาใช้ ต้องใชแ้ บบไมใ่ ห้มกี ารเสมอื นหลกั การที่นักพฒั นาต้องยดึ ถือและเป็น

หวั ใจในการทจ่ี ะพัฒนาชาตใิ หเ้ จริญรุ่งเรอื งชาตใิ ดขาดซ่งึ ระเบยี บหลกั การทางอนุรักษแ์ ล้ว ชาตินน้ั กจ็ ะ

เจรญิ รงุ่ เรอื งไดย้ าก

2.4.2 แนวคิดและหลกั การอนรุ ักษ์

สานกั งานคณะกรรมการสง่ิ แวดลอ้ มแห่งชาต(ิ 2530:35-37) ได้ใหค้ วามหมายของการอนรุ กั ษ์

สถาปตั ยกรรมและสงิ่ แวดล้อม หมายถงึ การดแู ลรักษา การชะลอความเสื่อมของงานสถาปตั ยกรรมด้วยการ

อนุรกั ษ์ มกี ารดาเนินงานหลายระดับ ได้แก่ การปอ้ งกันการเส่ือมสภาพ การรักษาสภาพ การเสริมความ

มนั่ คงแขง็ แรง การบรู ณะ การจาลองแบบ การสรา้ งข้นึ ใหม่ และการประยกุ ต์ใชส้ อย

สานักนโยบายและแผนส่งิ แวดลอ้ ม(2541:9-10) ให้ความหมายส่ิงแวดล้อมไวว้ ่า หมายถงึ มนุษย์กบั

สิ่งตา่ งๆทมี่ ีชวี ิต ทง้ั ท่ีเกิดขน้ึ เองตามธรรมชาติและทีม่ นษุ ย์สร้างขน้ึ ตลอดจนความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งมนุษย์กบั

ส่ิงตา่ งๆที่เกย่ี วข้องในการดารงชีวติ ให้สมดลุ

สว่ นความหมายของ ศิลปกรรม คือ ส่งิ ทม่ี นษุ ย์ได้สรา้ งหรือกาหนดขึ้นท้ังในอดตี และปัจจบุ ันดว้ ย

ความสามารถ สตปิ ญั ญา กาลงั กาย กาลงั ใจ และไดร้ ับการยกย่องวา่ มคี ุณคา่ ในทางศิลปวัฒนธรรม

ประวัตศิ าสตร์โบราณคดีและเทคโนโลยี อาทิ พระราชวัง วดั ในอาณาเขตศาสนสถาน ศาล อนสุ าวรยี ์ ป้อม

คูเมือง กาแพงเมือง อาคารราชการและเอกชน แหล่งชุมชนโบราณ เป็นต้น(วรพร ลาพงษ์เหนอื . 2548:9)

สานกั งานคณะกรรมการสง่ิ แวดล้อมแหง่ ชาต(ิ 2530:36) ให้ความหมายสิง่ แวดล้อมศลิ ปกรรม

หมายถึง สง่ิ ตา่ งๆท่ีมชี ีวติ และไม่มีชวี ิต ท้ังทมี่ นุษยส์ รา้ งข้ึนและเกดิ ขึ้นเองตามธรรมชาตทิ อ่ี ยู่รอบๆแหลง่

ศิลปกรรม สว่ นแหลง่ ศิลปกรรม หมายถงึ สง่ิ ท่ีมนษุ ยไ์ ด้สรา้ งหรือกาหนดขึ้นดว้ ยความสามารถ สติปัญญา

กาลังกาย กาลังใจ และได้รบั การยกย่องว่ามคี ณุ คา่ ในทางศลิ ปวฒั นธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ

เทคโนโลยี ซง่ึ รวมท้งั ผลงานในอดตี และปจั จุบนั

2.4.3 วธิ กี ารอนุรักษ์

วธิ ีการอนุรกั ษ์นัน้ ประกอบดว้ ย 8 วธิ กี ารคือ การใช้ (แบบย่งั ยนื ) การเกบ็ กกั การรักษา ซอ่ มแซม การ

ฟ้ืนฟู การพฒั นา การป้องกัน การสงวน และการแบง่ เขต ทั้ง 8 วธิ ีการน้ตี ้องสรา้ งความเข้าใจอยา่ งลกึ ซ้งึ

มิฉะน้นั แล้ว อาจเกดิ ความผดิ พลาดได้ โดยเฉพาะนกั วชิ ากากรอนรุ กั ษ์ และนกั วทิ ยาศาสตร์ทรพั ยากร ซ่ึงมี

รายละเอยี ด(สพุ ตั รา สภุ าพ. 2528 : 12)ดังน้ี

2.4.3.1 การใช้ หมายถงึ การใชห้ ลายรปู แบบ เชน่ บริโภคโดยตรง เห็น ได้ยนิ /ได้ฟงั ไดส้ มั ผัส

การใชค้ วามสะดวก และความปลอดภัย รวมไปถึงพลงั งานเหล่านต้ี ้องเปน็ เรอื่ งการใช้แบบยังยืน

2.4.3.2 การเก็บกกั หมายถึง การรวบรวม และเก็บกักทรัพยากรทีม่ ีแนวโน้มจะขาดแคลนใน

บางเวลา หรอื คาดวา่ จะเกิดวกิ ฤตการณเ์ กิดข้นึ บางคร้ัง อาจเกบ็ กกั เอาไว้เพอ่ื การนาไปใช้ประโยชนใ์ นปรมิ าณ

ทสี่ ามารถควบคมุ ได้

27

2.4.3.3 การรกั ษา/ซอ่ มแซม หมายถงึ การดาเนนิ การใด ๆ ต่อทรพั ยากรท่ขี าดไป/มาทางาน
ตามพฤติกรรม/เสื่อมโทรม/เกิดปัญหา เปน็ จดุ /พน้ื ที่เล็ก ๆ สามารถให้ฟน้ื คืนสภาพเดิมได้อาจใช้เทคโนโลยีที่
มนษุ ยส์ รา้ งข้ึนชว่ ยให้ดีเหมอื นเดิม จนสามารถนามาใชไ้ ด้

2.4.3.4 การฟน้ื ฟู หมายถึง การดาเนินการใด ๆ ต่อทรัพยากรหรอื สงิ่ แวดล้อมทเ่ี ส่อื มโทรมให้
สง่ิ เหล่านัน้ เปน็ ปกติ สามารถเอือ้ ประโยชน์ในการนาไปใช้ประโยชน์ตอ่ ไปซึ่งการฟื้นฟตู ้องใชเ้ วลาและเทคโนโลยี
เขา้ ชว่ ยด้วยเสมอ

2.4.3.5 การพฒั นา หมายถึง การทาส่ิงท่ีเป็นอยู่ให้ดขี ึน้ การที่ตอ้ งพัฒนาเพราะตอ้ งการเร่ง
หรือเพม่ิ ประสิทธิภาพให้เกิดผลิตผลทีด่ ขี น้ึ การพัฒนาท่ถี กู ตอ้ งน้ัน ต้องใชท้ งั้ ความรูเ้ ทคโนโลยี และการ
วางแผนทด่ี ี

2.4.3.6 การป้องกนั หมายถงึ การป้องกันสิง่ ท่ีเกิดขึน้ มใิ หล้ ุกลามมากกว่านี้ รวมไปถงึ การ
ป้องกันสง่ิ ที่ไม่เคยเกดิ ขน้ึ ด้วย การปอ้ งกันต้องใช้เทคโนโลยี และการวางแผน

2.4.3.7 การสงวน หมายถงึ การเกบ็ ไวโ้ ดยไมใ่ หแ้ ตะต้อง หรอื ห้ามนาไปใช้ด้วยวธิ ใี ด ๆ กต็ าม
การสงวนอาจกาหนดเวลาท่ีเก็บไว้ โดยไมใ่ ห้มกี ารแตะต้องตามเวลาทกี่ าหนดไว้ก็ได้

2.4.3.8 การแบง่ เขต หมายถึง ทาการแบง่ เขต หรือแบ่งกลุ่ม/ประเภท ตามสมบัตขิ อง
ทรัพยากร สาเหตทุ ีส่ าคญั เพราะวิธีการใหค้ วามรู้ หรอื กฎระเบียบที่นามาใช้น้นั มาได้ผล หรือต้องการจะแบ่งให้
ชัดเจน เพอ่ื ใหต้ อ้ งการมกี ารสรา้ งมาตรการกากับด้วย มิฉะนน้ั แล้วจะไมเ่ กิดผล

2.5 งำนวจิ ัยทเ่ี ก่ยี วข้อง
การศกึ ษาวเิ คราะหก์ ารพัฒนาแบบจาลองเพอ่ื การอนุรักษ์ : กรณศี กึ ษาวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของ

ชาวไทย-มอญครัง้ นี้ ไดท้ าการศึกษางานวิจยั ที่เก่ียวขอ้ ง เพอื่ เป็นแนวทางการศึกษาและวเิ คราะห์ ดังนี้
จิรดา แพรใบศรี (2553:72) ศกึ ษาศลิ ปกรรมเมรุปราสาท วัดจนั ทร์กะพอ้ อ.สามโคก จ.ปทมุ ธานี

กล่าววา่ รปู แบบของศลิ ปกรรมทีป่ รากฏบนเมรุปราสาทของชาวมอญ ท่สี ร้างขนึ้ ในประเทศไทย โดยช่างกล่มุ
ชาวมอญจากประเทศพม่า ซ่งึ มีลักษณะเฉพาะของศลิ ปะมอญ ท่อี าจมีการปรับเปล่ยี นไปจากเดมิ เนอ่ื งจาก
อิทธพิ ลแวดลอ้ ม เช่น การแลกรับศลิ ปะจากของไทย ศลิ ปะจากพม่า ที่ถูกสรา้ งขึ้นจากการเลยี นแบบ
องคป์ ระกอบจากสถาปตั ยกรรมจริงประกอบกบั จินตนาการ ซึ่งช่างผูอ้ อกแบบตอ้ งอาศัยความรจู้ ากทาง
ประวตั ิศาสตร์ ทเ่ี กย่ี วกับรปู แบบสถาปัตยกรรมมอญและจากจินตนาการ เพือ่ ใหก้ ารใช้ลวดลายและสีสันดมู ี
มิติเรอื่ งราวท่บี ่งบอกความหมายของแตล่ ะช้ันปราสาท ตามความเชื่อเกี่ยวกบั ชีวติ หลงั ความตาย การใช้วสั ดุ
ในการสรา้ งไม่เนน้ ความคงทนถาวร เพราะเปน็ งานใช้ชั่วคราวและจดั ในช่วงหน้าแล้ง ซ่งึ ไมม่ ีผลกระทบจาก
สภาวะอากาศ เช่น ลม ฝน ทจ่ี ะทาให้ตัวปราสาทเสียหาย จึงตอ้ งใชว้ ัสดุทสี่ ามารถก่อสรา้ งและร้อื ถอน
ทาลายได้งา่ ย ซงึ่ จากการศกึ ษา พบวา่ วัสดุทใ่ี ช้ส่วนใหญเ่ ปน็ วสั ดทุ ่มี อี ย่ใู นท้องถ่ิน เลอื กใชส้ ิ่งใกลต้ ัวและหา
ซอ้ื ได้งา่ ย เชน่ ไม้ ไมไ้ ผ่เป็นวสั ดุโครงสร้าง กระดาษเขียนลวดลายเป็นการตกแตง่

ประพัฒน์ วรทรพั ย์ (2544:229-230) ศกึ ษาศลิ ปกรรมไทยในเมรุลอยอยธุ ยา โดยกล่าววา่ เมรลุ อยมี
พัฒนาการขน้ึ จากเมรลุ อยยอดเดียว แลว้ พฒั นาเปน็ เมรุลอย 9 ยอด โดยศิลปกรรมในเมรลุ อยอยุธยาจาแนก
ออกเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ซึง่ เปน็ งานออกแบบทเ่ี จ้าของเมรลุ อยไมไ่ ดล้ ะเลยใน
เรอ่ื งความถกู ต้องตามหลักศิลปกรรมไทย มกี ารพัฒนางานของกลุม่ ตนเองจนเปน็ เอกลกั ษณเ์ ฉพาะตน ที่
นอกเหนอื จากการได้รับการถา่ ยทอดวิชาความรู้จากบรรพบุรุษ เน่อื งจากระบบการศกึ ษาและการศกึ ษา
เพิ่มเติมของผูอ้ อกแบบ

28

พลชัย เพชรปลอด (2512:23-28) ศกึ ษาเมรุสกุลช่างเพชรบุรี กล่าววา่ เมรเุ พชรบรุ ีเป็นการสรา้ งขึ้น
ประจาวัด ที่รวมช่างฝีมือดา้ นตา่ งๆไว้ โดยมพี ัฒนาการในการต้ังเมรุทแี่ ตเ่ ดิมต้องตั้งรา้ นสงู เพ่ือประกอบเมรุ
แตป่ จั จุบันใช้รอกและเพลาในการยกยอดเมรุ ส่วนในดา้ นรปู แบบน้นั ไมม่ คี ติความเชื่อใดๆมาเปน็ ตวั กาหนด
รูปแบบ เป็นการสร้างให้ประกอบสาเรจ็ ในเวลาคืนเดยี วหรอื วนั เดยี ว และเพอื่ การใช้สอยทีส่ มบรู ณแ์ บบ

เกตุอัมพร ช้นั อินทร์งาม(2550:65-66) ศกึ ษาพธิ ีกรรมเก่ยี วกับความตายของชาวมอญเกาะเกร็ด กลา่ ว
วา่ การจัดพิธกี รรมเกย่ี วกบั ศพพระภกิ ษสุ งฆข์ องชาวมอญเกาะเกร็ดจะไมแ่ บง่ ประเภทการมรณภาพ จดั
พิธีกรรมเป็นแบบปกติท้งั หมด การจดั พิธีกรรมเก่ียวกบั ศพพระสงฆท์ มี่ ีสมณศกั ด์ิและจาพรรษานาน รวมท้งั พระ
เจา้ อาวาส จะทาปราสาทเพอ่ื ฌาปนกิจอย่างสวยงาม แตถ่ า้ เปน็ พระลูกวัดจะจดั พิธีกรรมคล้ายศพของฆราวาส
ชาวมอญจะใหค้ วามสาคัญกบั การจดั พิธกี รรมเกีย่ วกับศพของพระสงฆ์ เพราะถือว่าเปน็ พิธกี รรมทีม่ คี ณุ ค่าทาง
พระพุทธศาสนา เพราะมคี วามเชอ่ื ว่าการนาศพประชุมเพลิงพระภกิ ษุสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าน้นั จะได้
อานิสงส์เทา่ กบั การถวายพระเพลิงพระพทุ ธเจ้า เมอื่ มีพระภิกษสุ งฆ์มรณภาพชาวมอญจะบอกขา่ วการมรณภาพ
โดยใชส้ ัญญาณการเคาะระฆงั ชว่ งเวลาอาบน้าศพ หลังจากน้ันจะนาผา้ ไตรชุดใหมน่ งุ่ ห่มครองสังฆาฏคิ รบชุด จะ
ไมม่ ีการมดั ดา้ ยสายสิญจน์ ไม่ต้องนาเหรยี ญ หมากใส่ปากศพ และไม่ประพรมเครื่องหอมจะสวดพระอภธิ รรม
จนกวา่ จะถึงวันทาบุญ 7 วนั การเกบ็ ศพนนั้ ถา้ ศพเปน็ เจ้าอาวาสต้องเก็บไว้ในกุฏทิ ท่ี า่ นเคยอยู่ ส่วนศพพระ
ลูกวดั จะเกบ็ ไว้ทเ่ี มรุ การเกบ็ ศพไว้เพ่อื ฌาปนกจิ นัน้ ขึน้ อยกู่ ับข้อตกลงของกรรมการจดั งานศพ การฌาปนกจิ
พระภกิ ษสุ งฆ์ของชาวมอญเกาะเกรด็ จะนยิ มสร้างปราสาทแทนเมรทุ ่ัวไป เพราะถอื ว่าท่านเปน็ ผู้มศี ลี บริสุทธ์ิไม่
ปนกบั ศพท่ัวไป การจดุ ไฟเผาศพนนั้ ใชจ้ ุดไฟจากลูกหนแู ทน คนท่ไี ปงานศพพระภิกษุสงฆ์ เรยี กว่า “เฟ–วะ–
ซาง” จะหยิบดอกไมจ้ นั ทนไ์ ปวางทจี่ ิตกาธาน โดยไมต่ ้องจดุ ไฟแบบธรรมดา แตจ่ ะจดุ ไฟโดยใช้ลูกหนูว่งิ ไปที่โลง
ศพแล้วไฟกจ็ ะลุกขน้ึ เอง การเก็บอัฐจิ ะมลี กั ษณะคลา้ ยกบั พธิ ีของการจัดการศพแบบปกติ แตจ่ ะไม่มพี ิธี อะ-
โหยง่ -จ๊าตหรือพิธปี ลอ่ ยพระ และมอญร้องไหจ้ ะมีเฉพาะพระสงฆ์ผู้ใหญ่

จากงานวจิ ยั ของ จิรดา แพรใบศรี (2553) ประพัฒน์ วรทรัพย์ (2544) และ พลชัย เพชรปลอด
(2512) เปน็ การศึกษารูปแบบของเมรุปราสาทเผาศพในแต่ละทอ้ งถ่นิ ซึง่ สะทอ้ นใหเ้ ห็นภมู ิปัญญาและแนวคดิ
ในการกาหนดรปู แบบตามวฒั นธรรมความเชื่อของแตล่ ะกลุ่ม ในขณะท่งี านวิจัยของ เกตุอมั พร ช้นั อินทร์งาม
(2550) ได้ศกึ ษาให้เห็นถึงพธิ กี รรมท่ชี ว่ ยสะท้อนวิธคี ิด ความเชื่อ อันเป็นวฒั นธรรมของทอ้ งถิ่น

นิสาพร วฒั นทรัพย์ (2542:บทคัดย่อ) ศกึ ษาวดั กับการดารงอยขู่ องงานศลิ ปหัตถกรรมพ้ืนบ้าน พบวา่
ปัจจยั ทส่ี ง่ เสรมิ การสบื สานคอื ความรู้เปดิ ทที่ ัง้ ช่าง วดั และชมุ ชนต้องการร่วมกนั ใหม้ ีการสบื สาน ทม่ี าจากแรง
กระต้นุ จากคนภายนอกทีเ่ ข้ามาช่นื ชมผลงาน ซ่ึงทาใหต้ อ้ งมีการรวบรวมองค์ความรูจ้ ึงมีผลใหง้ านสืบสาน
ตอ่ ไปไดแ้ ม้จะไมม่ ีตัวบคุ คล และปจั จัยส่งเสรมิ ท่ีสาคัญคือการจัดเก็บผลงานไวใ้ ห้ลูกหลานได้ศึกษา ส่วนปจั จยั ท่ี
เป็นอุปสรรคคอื ตวั บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้มีน้อยลง และไม่มีเขยี นไวเ้ ปน็ ตารา โอกาสในการผลติ มีน้อยลง
และไมม่ มี าตรฐานการสบื สานท่ีแน่นอน ซงึ่ มผี ลให้บทบาทในการสืบงานของวัดมนี อ้ ยลง

อรอมุ า แก่นแกว้ (2550:170-176)การศึกษาวัฒนธรรมวัตถุและวิถชี ีวติ ของชาวมอญเกาะเกรด็ พบวา่
วตั ถบุ างชนดิ กาลงั ลดบทบาทลงตามกระแสวฒั นธรรมสมยั ใหม่ จึงเสนอให้มกี ารอนรุ กั ษโ์ ดยการบันทึกและทา
ประวัตไิ ว้ สว่ นประเพณีเกีย่ วกับชีวิตพบว่า มกี ารเปลีย่ นแปลงไปตามยคุ สมัย จึงเสนอให้มกี ารจัดต้ังพิพิธภัณฑ์
เพือ่ ให้ความรแู้ ก่ชนร่นุ หลงั เนอ่ื งจากวัตถแุ ละประเพณีเป็นสิ่งทีท่ าหนา้ ทบ่ี อกเล่าเรือ่ งราวในอดีต เปน็ ภมู ิ
ปัญญาของผ้คู นในชมุ ชนทส่ี ะทอ้ นให้เหน็ ถงึ วฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี และวิถีชวี ิตของผู้คนในสังคม

วรพร ลาพงษ์เหนือ (2548:79) ศึกษาการมสี ว่ นรว่ มของชุมชนในการอนรุ ักษส์ ่งิ แวดลอ้ มศิลปกรรม
โดยให้ข้อเสนอแนะวา่ ควรมีการเสรมิ สรา้ งความร้ใู ห้เหน็ คุณค่าความสาคญั ในงานศลิ ปกรรม เพื่อเสรมิ สรา้ ง

29

ความตระหนักให้ท้ังหนว่ ยงานเจา้ หนา้ และประชาชนรูส้ ึกวา่ งานศิลปกรรมเปน็ สมบตั ลิ ้าคา่ ท่ที กุ คนเปน็ เจา้ ของ
และมหี นา้ ทีช่ ่วยกนั ดูแลรักษา

ดารณี อาภรณ์พัฒนา(2533:บทคัดย่อ) ศกึ ษาเรือ่ งความรู้และความตระหนักของประชาชนที่มตี ่อการ
อนรุ กั ษ์สิ่งแวดลอ้ มศลิ ปกรรมในทอ้ งถิ่น:ศึกษาเฉพาะกรณีองคพ์ ระปฐมเจดยี ์ พบว่า การใหค้ ุณค่าและ
พฤติกรรมการรับรู้ มผี ลต่อความรูแ้ ละความตระหนักต่อการอนรุ กั ษส์ งิ่ แวดลอ้ มในงานศลิ ปกรรมของท้องถ่นิ
และได้เสนอแนะใหห้ นว่ ยงานท่เี กยี่ วขอ้ งเผยแพรค่ วามรแู้ ละความตระหนักผา่ นการสื่อสารแบบตา่ งๆ ตลอดจน
หลักสูตรในโรงเรียน

ญาณินทร์ รักวงศว์ าน(2554:ไม่ระบุเลขหนา้ ) การใช้กระบวนการเรยี นรรู้ ว่ มกนั ในการจัดต้งั พิพิธภัณฑ์
ทอ้ งถน่ิ สง่ ผลใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลงตอ่ ชุมชนในการสงวนรักษามรดกทางวฒั นธรรมคอื 1) เกิดคณะทางานที่
ใหค้ วามสนใจในการดาเนนิ งานเพอื่ สงวนรกั ษามรดกทางวัฒนธรรมในดา้ นอ่ืนๆ ตามแตบ่ ริบทของชมุ ชน-
ทอ้ งถนิ่ นั้นๆ 2)การรื้อฟ้ืน มรดกทางวฒั นธรรมของชุมชนที่มาแตอ่ ดีตข้นึ มาใหม่ 3) ขยายผลของการสงวน
รักษามรดกทางวัฒนธรรม ท่ใี นช่วงก่อน การจดั ตงั้ พิพิธภัณฑจ์ ะเป็นเพียงการใช้กลไกทางสงั คม และการขัด
เกลา ทางสังคม ในรูปแบบ ของจารีตและประเพณไี ปสู่รปู แบบอื่นๆ เชน่ การวิจยั การปรบั ปรงุ วัฒนธรรมฯ ซง่ึ
เปน็ กจิ กรรมในเชงิ รุกมากขึ้น การใช้กระบวนการเรียนรู้ในการดาเนนิ งานทาให้เกิดการฟืน้ ฟูศกั ยภาพของผคู้ น
ในชุมชน โดยเฉพาะกลมุ่ คณะทางานไดเ้ กิดกลไกในการแสวงหาความรู้ แก้ไขปัญหา เพื่อฝาฟนั อปุ สรรคท่ี
เกิดขนึ้ ในระหวา่ งการจดั ต้ังและดาเนนิ งาน ซึง่ จะนาไปสคู่ วามภาคภมู ิใจและมีความม่ันใจในการท่ีจะดาเนนิ งาน
ในกจิ กรรมอนื่ ๆต่อไป การสงวนรกั ษามรดกทางวฒั นธรรมท่อี าศยั กระบวนการ ขัดเกลาทางสงั คมอยา่ งเดยี วมี
ผลทาให้รูปแบบวฒั นธรรมดัง้ เดิมมีโอกาสสญู หาย เพราะปัจจยั วฒั นธรรมภายนอกทม่ี ากระทบ แตเ่ มอื่ มกี าร
จัดตัง้ พิพิธภณั ฑ์ทอ้ งถิ่นท่ีอาศยั กระบวนการเรียนรูร้ ่วมกนั จึงเปน็ เสมอื นพ้นื ท่ที างสงั คมทเ่ี ปดิ โอกาสใหผ้ ู้คนใน
ชมุ ชนไดม้ โี อกาสทบทวนอัตลักษณ์ของชมุ ชน ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลกั ษณ์ ซึ่งสงิ่ เหลา่ น้มี โี อกาสเลือน
หายไปตามช่วงเวลา เมื่อมพี ้นื ทีท่ างสงั คมให้เกิดการทบทวนในประเดน็ ดงั กลา่ ว จึงนาไปสู่การสรา้ งกิจกรรมใน
เชงิ รุกเพอ่ื สงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมทีเ่ ป็นอตั ลกั ษณ์ของตนไว้เพือ่ แสดงความเปน็ ตัวตนของชุมชนที่มี
เอกลกั ษณ์แตกตา่ งจากชมุ ชนอ่นื ประเด็นทน่ี า่ สนใจในการทาความเข้าใจคือ มรดกทางวัฒนธรรมลกั ษณะใดที่
ชุมชนทอ้ งถน่ิ เลือกทีจ่ ะมาสงวนรกั ษา เพราะมรดกทางวัฒนธรรมทั้งทมี่ ีรปู (Tangible cultural materials)
และมรดกทางวฒั นธรรมที่ไม่มรี ปู (Intangible cultural materials) น้นั ถงึ แมจ้ ะเปน็ ส่ิงทสี่ ัมพันธก์ บั ชุมชนใน
อดตี แต่ในสภาพปัจจบุ นั การจะธารงรักษามรดกทางวัฒนธรรมใหค้ งสภาพเดมิ คงเปน็ ไปไมไ่ ด้ การเลือกมรดก
ทางวัฒนธรรมทจ่ี ะสงวนรักษา จึงเป็นประเดน็ ทีน่ า่ สนใจใน การพิจารณาต่อไป หลงั จากที่ชมุ ชนทอ้ งถน่ิ ได้มี
กลไกในการสงวนรกั ษาวฒั นธรรมดว้ ยตนเอง

จากงานวจิ ยั ของ นิสาพร วฒั นทรัพย์ (2542) อรอุมา แกน่ แก้ว(2550) วรพร ลาพงษ์เหนือ (2548)
ดารณี อาภรณพ์ ฒั นา(2533) และญาณนิ ทร์ รักวงศว์ าน(2554) แสดงให้เหน็ ถึงการใหค้ วามสาคัญกบั การ
อนรุ ักษ์ท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั ท้องถ่นิ โดยศกึ ษาเพอ่ื ให้ได้มาซง่ึ แนวทางของการอนุรักษด์ ว้ ยวิธกี ารต่างๆที่เหมาะสมกับ
บริบทของแตล่ ะทอ้ งถิ่น

จากการทบทวนงานวจิ ัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง จะเห็นไดช้ ดั ว่าประเด็นของการศึกษาภูมิปญั ญาทส่ี ืบทอดนน้ั
สว่ นใหญ่เพื่อรวบรวมและหรอื หาแนวทางในการอนุรกั ษส์ บื ทอดภูมปิ ัญญาท้องถิ่นในลกั ษณะตา่ งๆ ดังน้ันใน
การศกึ ษาวจิ ัยครง้ั นี้ ผ้วู จิ ัยมปี ระสงค์จะศึกษาภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ที่ขาดการสืบทอด เพ่อื นามาทาหุน่ จาลองเพื่อ
การอนุรักษภ์ ูมิปญั ญาในการแสดงวธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาท ซึ่งเปน็ อีกแนวทางหน่ึงในการสง่ สนบั สนุนการ
อนุรักษ์ ท่ีชว่ ยกระตนุ้ ใหเ้ กดิ การเรียนร้ผู า่ นวตั ถจุ าลองทส่ี ามารถจับตอ้ งและบอกเลา่ เรอ่ื งราวได้

30

บทที่ 3
วธิ ีดำเนนิ กำรวจิ ัย

ในการวิจยั การพัฒนาแบบจาลองเพื่อการอนุรักษ์ กรณีศกึ ษาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-
มอญ เป็นการศึกษาวิเคราะหเ์ ชงิ คุณภาพ ดังนัน้ เพื่อใหบ้ รรลุวัตถุประสงคข์ องโครงการ ผู้วิจัยได้ดาเนนิ การ
วิจัยตามวตั ถปุ ระสงค์ โดยกาหนดขั้นตอน ดงั น้ี

3.1 ข้นั ตอนที่ 1 ศึกษำภมู ปิ ญั ญำกำรยกยอดเมรปุ รำสำทของชำวไทย-มอญ
3.1.1 พืน้ ท่ศี กึ ษำ
จากการสารวจขอ้ มูลเบือ้ งตน้ พบวา่ เมรุปราสาทของชาวไทย-มอญเป็นงานทสี่ ร้างขน้ึ เฉพาะกิจและ

เปน็ งานทส่ี ร้างขนึ้ ชัว่ คราว กลมุ่ ช่างในแต่ละพ้นื ทจี่ ะใช้รูปแบบ วสั ดุ และเทคนคิ วธิ ีการแตกต่างกันออกไป
ดังนั้นวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ จงึ มคี วามแตกตา่ งดว้ ยเชน่ กัน สาหรับการวิจัยคร้งั น้กี าหนด
พืน้ ท่ศี กึ ษา ณ วัดสนามเหนือ อาเภอปากเกรด็ จังนนทบุรี เน่ืองจากยงั ปรากฏรอ่ งรอยภูมิปัญญาวิธกี ารยกยอด
เมรุปราสาทตามวธิ ีแบบจารีตโบราณ ซง่ึ กาลังจะสญู หายไปจากทอ้ งถน่ิ เพราะไมม่ ผี ้สู บื ทอด

3.1.2 ประชำกรและกล่มุ ตัวอย่ำง
3.1.2.1 ประชากร ไดแ้ ก่
ผู้รู้ ผ้เู ก่ียวข้องในการสร้างเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ
3.1.2.2 กลุ่มตวั อย่าง ได้แก่
ผู้รู้ ผู้เกย่ี วขอ้ งในการสรา้ งเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ จานวน 5 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ

เจาะจง(Purposive Sampling)
3.1.3 เคร่ืองมอื ทใี่ ชใ้ นกำรวจิ ยั
ผวู้ ิจยั ได้ใช้เคร่อื งมือในการเกบ็ ข้อมลู ดงั นี้
3.1.3.1 แบบสัมภาษณอ์ ย่างไมเ่ ปน็ ทางการ(Informal Interview) ผู้วิจัยเนน้ การสมั ภาษณ์ที่พยายาม

ศกึ ษาความจริงจากผถู้ กู สัมภาษณใ์ นแต่ละบคุ คล ทเ่ี กี่ยวข้องกับวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ
3.1.3.2 สมุดบนั ทกึ ขอ้ มูล
3.1.3.3 ภาพน่งิ แสดงวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ทีเ่ คยถกู บนั ทึกไว้ สาหรบั

ประกอบการสัมภาษณ์
3.1.3.4 ภาพร่างรปู แบบเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ สาหรับประกอบการสัมภาษณ์
3.1.3..5 ห่นุ จาลองแบบหยาบ สาหรบั ประกอบการสมั ภาษณ์

3.1.4 กำรเกบ็ ข้อมลู
ผู้วิจยั ทาการเก็บรวบรวมข้อมลู โดยแยกการเกบ็ ข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ดงั น้ี

3.1.4.1 ข้อมลู ภาคเอกสาร เป็นการศึกษาใหท้ ราบถงึ วฒั นธรรมและประเพณีที่เช่อื มโยงกับการยก
ยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ

3.1.4.1.1 เอกสาร งานค้นคว้าวิจยั เก่ยี วกบั พิธีศพพระสงฆ์ และวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของ
ชาวไทย-มอญ

3.1.4.1.2 ภาพเคลือ่ นไหวและภาพนงิ่ แสดงวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ทีเ่ คย
ถกู บนั ทกึ ไว้

31

3.1.4.2 ข้อมลู ภาคสนาม เปน็ การศกึ ษาข้อมลู ทเ่ี กี่ยวกับภมู ปิ ญั ญาการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาว

ไทย-มอญ โดยวธิ กี าร ดังนี้

3.1.4.2.1 การสมั ภาษณ์ โดยผู้วจิ ยั ทาการเก็บรวบรวมขอ้ มูล โดยขอสมั ภาษณผ์ ู้รู้ ผูเ้ กย่ี วขอ้ งใน

การสรา้ งเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ เพอ่ื ศกึ ษาข้อมลู วธิ ีการสรา้ งงาน ประกอบกบั ใชเ้ คร่อื งบนั ทึกภาพ

โดยทาการเกบ็ ข้อมูลระหวา่ ง วนั ที่ 1 มีนาคม 2555 -30 กนั ยายน พ.ศ. 2557 จานวน 5 คน ไดแ้ ก่

1) พระอาจารย์จวิ๋ (วัดเตย) ผ้เู ก่ยี วข้องในการสร้างเมรปุ ราสาทมอญ

2) นายสวาท(วัดสนามเหนือ) ผเู้ กยี่ วข้องในการสร้างเมรปุ ราสาทมอญ

3) พนั เอกชาติวัฒน์ งามนยิ ม ผเู้ กยี่ วข้องในการสร้างเมรุปราสาทมอญ

4) ผ้ใู หญก่ งุ้ (พระประแดง) ผู้เกย่ี วขอ้ งในการสรา้ งเมรุปราสาทมอญ

5) ดร.พิศาล บญุ ผกู ผู้ร้ดู า้ นวฒั นธรรมมอญ

3.1.4.2.2 การบันทึกข้อมลู ดว้ ยการวาดภาพลายเสน้ รายละเอียดต่างๆของเมรุปราสาทที่เคยปรากฎ

สร้างขน้ึ ใชง้ านในอดตี

3.1.5 กำรวิเครำะหข์ ้อมูล

ขน้ั วเิ คราะหข์ อ้ มูล โดยนาข้อมูลมาวเิ คราะหด์ า้ นต่างๆที่เก่ยี วกบั วิธีการยกยอดเมรุปราสาทของชาว

ไทย-มอญ

3.1.5.1 นาขอ้ มูลจากแบบบนั ทึกการสมั ภาษณ์มาวเิ คราะห์ สรปุ และจัดหมวดหมขู่ องคาตอบตามแนว

ประเด็นท่ีต้งั ไว้ โดยจะนามาบันทกึ ในลักษณะบรรยาย

3.1.5.2 วิเคราะหภ์ ูมิปญั ญาวิธกี ารยกยอดเมรุปราสาทมอญ ไดแ้ ก่ ดา้ นรปู แบบ ด้านวัสดุ ดา้ น

เทคนคิ วิธกี าร

3.1.5.3 สรุปผลการวิเคราะห์ภมู ิปัญญาวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ

3.1.5.4 นาเสนอผลการศึกษาด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ประกอบภาพถา่ ย

3.2 ขน้ั ตอนที่ 2 พัฒนำหุ่นจำลองวิธีกำรยกยอดเมรุปรำสำทของชำวไทย-มอญเพ่ือกำรอนุรกั ษ์
3.2.1 ประชำกรและกล่มุ ตวั อย่ำง
3.1.2.1 ประชากร ได้แก่
3.1.2.1.1 ผรู้ ู้ ผู้มีประสบการณใ์ นการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ วัดสนามเหนอื

อาเภอปากเกรด็ จังหวัดนนทบุรี
3.1.2.1.2 ผูเ้ คยมีสว่ นรว่ มในพิธกี รรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ จังหวัดนนทบุรี

3.1.2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
3.1.2.2.1 ผูร้ ู้ ผมู้ ีประสบการณ์ หรือมีสว่ นร่วมในการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ

จานวน 3 คน โดยการสุ่มตวั อยา่ งแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
3.1.2.2.2 ผูเ้ คยมสี ว่ นร่วมในพิธีกรรมยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ จังหวัดนนทบุรี

จานวน 5 คน โดยการสุ่มตวั อยา่ งแบบลูกโซ(่ Snowball Sampling)
3.2.2 กำรพฒั นำแบบจำลอง
ผวู้ จิ ัยได้ดาเนินการพัฒนาหุน่ จาลองวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ โดยมขี ั้นตอนการพัฒนา

ดังนี้
3.2.1.1 นาข้อมูลทีไ่ ดจ้ ากการศึกษาค้นคว้าและการสมั ภาษณ์ มาใช้เปน็ ข้อมลู พน้ื ฐานของการจดั ทา

หุ่นจาลอง

32

3.2.1.2 จดั ทาหุ่นจาลองตามข้อมลู พน้ื ฐานทีว่ ิจัยมาขา้ งต้น

3.2.1.3 นาห่นุ จาลองไปใหผ้ ู้รู้ ผมู้ ปี ระสบการณ์ หรอื เก่ียวข้องในการสรา้ งปราสาทมอญของชาวไทย-

มอญ จงั หวดั นนทบุรี เพ่ือประเมนิ และขอคาแนะนาในการแก้ไขปรบั ปรงุ ในดา้ นรูปแบบ ด้านวัสดุ และดา้ น

เทคนิควิธีการ จานวน 3 ทา่ น ไดแ้ ก่

3.2.1.3.1 พระอาจารย์จ๋ิว(วัดเตย) ผู้เกี่ยวขอ้ งในการสรา้ งเมรุปราสาทมอญ

3.2.1.3.2 นายสวาท(วัดสนามเหนอื ) ผู้เก่ยี วข้องในการสร้างเมรปุ ราสาทมอญ

3.2.1.3.3 ดร.พิศาล บุญผูก ผู้รดู้ ้านวฒั นธรรมมอญ

3.2.1.4 นาหนุ่ จาลองไปใหผ้ เู้ คยมสี ว่ นรว่ มในพธิ กี รรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ เพ่ือ

ประเมนิ หนุ่ จาลอง ในดา้ นรูปแบบ ด้านวัสดุ และดา้ นเทคนิควธิ กี าร จานวน 15 ทา่ น

3.2.2 เครอื่ งมอื ทใี่ ช้ในกำรวจิ ยั

เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการรวบรวมขอ้ มลู ในขั้นตอนน้ี เกี่ยวกับการพฒั นาหนุ่ จาลองวิธีการยกยอดเมรุ

ปราสาทของชาวไทย-มอญ โดยมี 2 ขั้นตอน ซึง่ ใชข้ ้อคาถามเดยี วกนั คอื

ข้นั ตอนที่ 1 การประเมินหนุ่ จาลองวธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ เพือ่ หาแนว

ทางแก้ไขปรับปรุง สาหรบั ผรู้ ู้ ผมู้ ปี ระสบการณ์ หรือเก่ยี วขอ้ งในการสร้างปราสาทมอญของชาวไทย-มอญ วัด

สนามเหนือ อาเภอปากเกร็ด จงั หวดั นนทบุรี จานวน 12 ขอ้

ขั้นตอนท่ี 2 การประเมนิ หุ่นจาลองวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ สาหรบั ผู้

เคยมีสว่ นรว่ มในพิธีกรรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ จานวน 12 ข้อ

โดยแบบประเมนิ มี เป็นแบบมาตราส่วน(Rating Scale) โดยใหผ้ ู้ประเมินใหค้ ะแนนตามรายการ

ประเมนิ ในการประเมนิ ค่า แบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยกาหนดค่าในแตล่ ะระดับ ดงั น้ี

5 คะแนน หมายถงึ มากทีส่ ดุ

4 คะแนน หมายถึง มาก

3 คะแนน หมายถงึ ปานกลาง

2 คะแนน หมายถึง น้อย

1 คะแนน หมายถงึ น้อยทสี่ ดุ

3.2.3 กำรเกบ็ ข้อมลู

ผ้วู จิ ัยได้ดาเนินการพฒั นาหุ่นจาลองวธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ โดยแบง่ ออกเปน็ 2

สว่ น ไดแ้ ก่

3.2.3.1 การใชแ้ บบประเมินประกอบกับห่นุ จาลอง โดยผู้วจิ ยั นาไปให้ผรู้ ู้ ผู้มีประสบการณ์ หรือ

เกี่ยวขอ้ งในการสร้างเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ ประเมินหุ่นจาลอง ณ วัดสนามเหนือ อาเภอปากเกร็ด

จังหวดั นนทบรุ ี ในวันท่ี 14 มกราคม 2559 จานวน 3 ชดุ คดิ เป็นรอ้ ยละ 100

3.2.3.2 การใชแ้ บบประเมินประกอบกับหุ่นจาลอง โดยผวู้ จิ ัยนาไปใหผ้ ูเ้ คยมีส่วนร่วมในพธิ ีกรรมยก

ยอดเมรุปราสาท ตอบแบบสอบถามเพื่อแสดงความคิดเหน็ ตอ่ หุ่นจาลอง ณ วัดสโมสร อาเภอไทรนอ้ ย จงั หวัด

นนทบรุ ี และวดั สนามเหนือ อาเภอปากเกรด็ จงั หวัดนนทบุรี ในวนั ท่ี 15-17 มกราคม 2559 จานวน 15 ชดุ

ไดร้ ับ 10 ชดุ คิดเป็นรอ้ ยละ 66.67

3.2.4 กำรวิเครำะห์ข้อมลู

ขั้นวเิ คราะหข์ ้อมูล โดยนาขอ้ มลู มาวิเคราะหด์ ้านต่างๆท่เี กีย่ วกบั การพฒั นาหุ่นจาลองวิธกี ารยกยอดเมรุ

ปราสาทของชาวไทย-มอญ

33

3.2.4.1 นาขอ้ มูลจากการศึกษาภูมปิ ัญญาวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ในด้าน
รปู แบบ ดา้ นวัสดุ และด้านเทคนคิ วธิ ีการ มาจัดทาห่นุ จาลอง

3.2.4.2 นาหุ่นจาลองทพี่ ฒั นาแล้วไปให้ผู้รู้ ผมู้ ปี ระสบการณ์ หรือเกยี่ วข้องในการสร้างเมรปุ ราสาทของ
ชาวไทย-มอญ วัดสนามเหนอื อาเภอปากเกร็ด จงั หวัดนนทบรุ ี ประเมนิ

3.2.4.3 นาผลการประเมนิ ทมี่ ีตอ่ หุ่นจาลองวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ มาวเิ คราะห์
ขอ้ มลู โดยใชค้ ่าสถิติเพือ่ ให้ไดม้ าซ่งึ ข้อสรุปเกี่ยวกับดา้ นรปู แบบ ด้านวสั ดุ ดา้ นเทคนิควิธกี าร และด้าน
ประโยชนใ์ ช้สอย โดยผ้วู จิ ัยไดด้ าเนินการตามลาดบั ดังนี้

3.2.4.3.1 ตรวจสอบจานวนและความสมบูรณ์ของแบบประเมนิ ท่ีนาไปทาการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล
3.2.4.3.2 ใชโ้ ปรแกรมสาเรจ็ รปู ทางสถิติ วเิ คราะหข์ อ้ มูลรายด้านท่ีทาการศึกษา สถิติท่ีใช้ในการ
วเิ คราะห์ คือ ค่าเฉล่ีย คา่ เบ่ียงเบนมาตรฐาน โดยนาคา่ การคานวณเทียบกับเกณฑ์และจดั อนั ดบั ความสาคญั
โดยการแปลความหมาย ค่าเฉล่ียน้าหนกั ของคะแนน ดงั น้ี

4.50 –5.00 หมายถึง ระดบั มากท่สี ดุ
3.50 –4.49 หมายถึง ระดับระดับมาก
2.50 –3.49 หมายถึง ระดบั ระดบั ปานกลาง
1.50 –2.49 หมายถึง ระดับระดับนอ้ ย
1.00- 1.49 หมายถึง ระดบั ระดบั นอ้ ยทส่ี ดุ
3.2.4.4 สรปุ ผลการวิเคราะห์การประเมนิ ทม่ี ีตอ่ หุ่นจาลองวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-
มอญ และทาการปรับปรงุ ตามขอ้ เสนอแนะ
3.2.4.5 นาหนุ่ จาลองที่พัฒนาแล้วไปใหผ้ เู้ คยมสี ่วนร่วมในพธิ ีกรรมยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-
มอญ ประเมิน
3.2.4.6 นาผลการประเมนิ ทมี่ ตี ่อห่นุ จาลองวธิ กี ารยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ มาวิเคราะห์
ขอ้ มูล โดยใชค้ า่ สถติ ิเพื่อให้ไดม้ าซง่ึ ข้อสรปุ เกี่ยวกบั ดา้ นรูปแบบ ดา้ นวสั ดุ และด้านเทคนิควิธีการ โดยผ้วู จิ ยั
ไดด้ าเนนิ การตามลาดับดังนี้
3.2.4.6.1 ตรวจสอบจานวนและความสมบรู ณ์ของแบบประเมนิ ท่นี าไปทาการเกบ็ รวบรวมข้อมลู
3.2.4.6.2 ใช้โปรแกรมสาเรจ็ รูปทางสถิติ วเิ คราะหข์ อ้ มลู รายด้านทท่ี าการศึกษา สถติ ทิ ่ีใช้ในการ
วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย คา่ เบย่ี งเบนมาตรฐาน โดยนาคา่ การคานวณเทยี บกับเกณฑ์และจดั อนั ดับความสาคญั
โดยการแปลความหมาย คา่ เฉลี่ยน้าหนกั ของคะแนน ดังน้ี
4.50 –5.00 หมายถงึ ระดับมากทส่ี ดุ
3.50 –4.49 หมายถึง ระดบั ระดบั มาก
2.50 –3.49 หมายถึง ระดบั ระดับปานกลาง
1.50 –2.49 หมายถึง ระดับระดับน้อย
1.00- 1.49 หมายถึง ระดบั ระดบั นอ้ ยที่สุด
3.2.4.7 สรุปผลการวเิ คราะหก์ ารประเมนิ ท่มี ีต่อหนุ่ จาลองวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-
มอญ

34

กระบวนกำรดำเนนิ กำรวจิ ยั

R:Research ศึกษาความเป็นมา วฒั นธรรม และประเพณี เอกสารและงานวจิ ยั ที่เก่ียวขอ้ ง
วตั ถุประสงคท์ ี่ 1 ที่เกี่ยวขอ้ งกบั การสร้างเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ ลงพ้นื ท่ีสารวจแหล่งขอ้ มูล

L:Learning สรุปขอ้ มูลเพอ่ื สร้างเครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจยั แบบสมั ภาษณ์ เล่า
วตั ถุประสงคท์ ี่ 1 รวบรวมภูมิปัญญาการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ แบบบนั ทึกขอ้ มูล เขียน
สาธิต
D:Deveopment จากการลงพ้ืนท่ีภาคสนาม แบบประเมิน
วตั ถุประสงคท์ ี่ 2
วิเคราะห์ภูมิปัญญาการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ แลกเปล่ียนการเรียนรู้
P:Public
วตั ถุประสงคท์ ่ี 2 สรุปเพอ่ื หาแนวทางการทาหุ่นจาลอง Design
Material
Workmanship

จดั ทาหุ่นจาลองวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาท

ประเมิน ไม่ผา่ น ปรับปรุงแกไ้ ข

ผา่ น

หุ่นจาลองการยกยอดเมรุปราสาทของชาวไทย-มอญ

สรุปผลการวจิ ยั

รายงานวจิ ยั ฉบบั สมบูรณ์ นิทรรศการ
นาเสนอผลงานวิจยั บทความ

35

บทที่ 4
กำรวเิ ครำะหข์ อ้ มลู

การพฒั นาแบบจาลองเพ่ือการอนุรักษ์ : กรณศี กึ ษาวธิ กี ารยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ
ผวู้ ิจัยได้ดาเนินการวิจยั ตามขั้นตอนที่สอดคลอ้ งกับวตั ถปุ ระสงค์ ประกอบดว้ ย ข้ันตอนท่ี 1 ศึกษาภมู ปิ ัญญา
การยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวไทย-มอญ และขั้นตอนท่ี 2 พฒั นาหุ่นจาลองวิธีการยกยอดเมรุปราสาทของ
ชาวไทย-มอญเพือ่ การอนรุ ักษ์ โดยผลการวเิ คราะหต์ ามขน้ั ตอนทส่ี อดคลอ้ งกับวัตถปุ ระสงค์ ดังน้ี

4.1 ผลกำรวิเครำะห์ภมู ปิ ัญญำกำรยกยอดเมรุปรำสำทของชำวไทย-มอญ
ชาวมอญในประเทศไทยและประเทศพม่านยิ มสร้างสถาปตั ยกรรมทรงปราสาท เพื่อใชใ้ นการประกอบ

พิธศี พพระสงฆ์ การสรา้ งเมรุปราสาทท่ีมปี รากฏในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่ ประเภท
สรา้ งเฉพาะงาน คือ ใชค้ ร้ังเดยี วแลว้ ทาลายทง้ิ และประเภทสรา้ งถอดประกอบ คือ สามารถร้อื ถอดประกอบ
ใชไ้ ดห้ ลายครั้ง มรี ูปแบบเมรุปราสาทต้ังแต่ 1 ยอดจนถงึ 9 ยอด โดยจานวนยอดจะขึ้นอยกู่ บั สมณศกั ดข์ิ อง
พระทม่ี รณภาพและพื้นทีใ่ นการสรา้ งงาน ซง่ึ กลุม่ ชา่ งทสี่ รา้ งและออกแบบมหี ลายกลุ่ม เชน่ กลุ่มช่างพระ
ประแดง กลมุ่ ชา่ งราชบุรี กล่มุ ชา่ งสมุทรสาคร กล่มุ ชา่ งนนทบุรี ในแตล่ ะกลุ่มจะมคี วามแตกตา่ งกันท้งั ในด้าน
รูปแบบ ด้านวัสดุ และดา้ นเทคนคิ วธิ ีการ

สาหรบั เมรุปราสาทในอาเภอปากเกร็ด จงั หวัดนนทบรุ ี พบวา่ ในอดตี มีลักษณะเป็นปราสาทยอดเดยี ว
ท่มี ีการส่งทอดสบื ต่อถงึ กันเฉพาะกลมุ่ ของช่างวัดโปรดเกษ วดั ท้องค้งุ วดั ปรมยั ยิกาวาส และวัดสนามเหนือ
ท้งั รปู แบบและวิธีการยกยอดเมรปุ ราสาทท่ีไดร้ ับการสืบทอดมาแล้วหลายร่นุ จากการศกึ ษาไม่ปรากฏหลักฐาน
วา่ เรม่ิ มีการสรา้ งข้นึ คร้งั แรกเม่อื ใด แตม่ ปี รากฎขอ้ มูลการสบื ทอดภูมิปัญญาทเี่ ก่ียวข้องกับการสร้างเมรุปราสาท
ดังภาพท่ี 4.1 พบว่า พระครูสังฆรักษ์เหลือ วัดปรมัยยิกาวาส จงั หวัดนนทบรุ ี เป็นผู้ทามาก่อน แลว้ ถ่ายทอด
ใหก้ ับพระใบฎีกาชนุ วิมโล อดตี เจ้าอาวาสวดั สนามเหนือ จังหวดั นนทบุรี สว่ นการยกยอดเมรุปราสาทน้ัน
พบวา่ น่าจะไดร้ ับสบื ทอดวธิ ีการแบบบนั ไดหกจากพระอธิการแพะ และพระเสงี่ยม บณั .ฑโิ ต วัดบางตะไนย์
อ.เมอื ง จ.ปทุมธานี ต่อมาพระใบฎีกาชนุ วมิ โล ได้ถา่ ยทอดต่อใหก้ บั พระสงฆ์และฆราวาสท่สี นใจ โดยเฉพาะ
การถ่ายทอดการแกะกระดาษทององั กฤษและการสร้างโลงเหม ซ่งึ ตามประเพณกี ารสรา้ งเมรุปราสาทของชาว
ไทย-มอญน้ัน จะสร้างขนึ้ มาเพือ่ ใชเ้ ฉพาะงานเดยี วแลว้ เผาไปพรอ้ มกบั ศพ ต่อมาในยคุ หลังเรม่ิ นิยมการใชแ้ บบ
ถอดประกอบเพ่อื ใหส้ ามารถนามาใชซ้ า้ ได้อีก พระใบฎกี าชนุ วมิ โล จึงได้คิดรเิ ร่มิ ออกแบบและสร้างเมรุ
ปราสาทแบบถอดประกอบได้ขึ้นมา ประกอบกบั ในช่วงนนั้ มีพระสงฆ์มรณภาพในเวลาใกลเ้ คยี งกนั จาเปน็ ต้อง
ใช้เมรปุ ราสาทเผาศพอยา่ งต่อเนอ่ื ง ทาให้เกิดรปู แบบเมรปุ ราสาทดงั กลา่ วขึน้ โดยพระใบฎกี าชุน วมิ โล ได้
พัฒนาจากเมรุปราสาทแบบเดิมท่ีใช้กนั มาในอดตี จนถกู นาไปใช้อย่างแพร่หลาย และตกทอดมาจนถึงพระครู
สุนทรพพิ ฒั นกจิ วัดสนามเหนือ จังหวัดนนทบุรี กระทงั่ หลังจากปี พ.ศ. 2535 เมรปุ ราสาทของกลุ่มชา่ งวัด
สนามเหนอื จึงได้ยุตไิ ม่มกี ารนาไปใช้หรือสร้างอีก เนอ่ื งจากพระครสู ุนทรพพิ ัฒนกจิ อาพาธแล้วไดม้ รณภาพลง
จงึ ขาดผูส้ ืบทอดมาจนถึงปจั จุบัน

36

พระอธิการแพะ พระครูเปลี่ยน พระครรู อด พระครสู งั ฆรักษ์เหลอื
วดั บางตะไนย์ วดั หัวตะเข้ วดั บางนา้ วน วัดปรมยั ยิกาวาส
อ.เมอื ง จ.ปทมุ ธานี อ.เมอื ง จ.สมทุ รสาคร อ.เมอื ง จ.สมทุ รสาคร
โลงเหม,ปราสาท,ลายนนู ต่า,ลายมอญ โลงเหม,ปราสาท,โรงทมึ ,ลายมอญ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบรุ ี
บนั ไดหก โลงเหม,ปราสาท,โรงทมึ
พระใบฎีกาชนุ วมิ มโล
พระเสงย่ี ม บัณ.ฑิโต อดีตเจ้าอาวาสงัดสนามเหนือ พระอธกิ ารต่วน
วดั บางตะไนย์ วดั กลางเกร็ด
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบรุ ี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบรุ ี
อ.เมอื ง จ.ปทมุ ธานี โลงเหม,ปราสาท,เคร่ืองกระดาษมอญ,ลายมอญ ลายไทย,เมรลุ อยแบบไทย,พธิ ีครอบครู
บนั ไดหก

พระอธกิ ารสมนึก พลโท ชาตวิ ฒั น์ งามนยิ ม พระครสู ุนทรพพิ ฒั นกจิ
วดั ปากคลองบางควู ัด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อดีตเจ้าอาวาสวดั สนามเหนือ
อ.เมอื ง จ.ปทุมธานี เครอ่ื งกระดาษมอญ,ลายมอญ,โลงเหม,
อ.ปากเกรด็ จ.นนทบุรี
ปราสาท,ธงตะขาบ ปราสาท

ภำพที่ 4.1 การสบื ทอดภูมปิ ัญญาการสรา้ งเมรุปราสาทของกลุ่มช่างวัดสนามเหนือ จ.นนทบุรี
(ท่มี า : พลโท ชาติวัฒน์ งามนยิ ม.2555)

4.1.1 ผลกำรวเิ ครำะหด์ ้ำนรูปแบบ
จากการรวบรวมรูปแบบการสร้างเมรุปราสาทปลงศพ ที่มีปรากฏใช้ในพิธีศพพระสงฆ์ของชุมชนชาว
มอญปากเกร็ด พบว่า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทสร้างเฉพาะงาน และประเภทสร้างถอด
ประกอบ โดยกลุ่มช่างท่ีสร้างและออกแบบ พบว่ามี 3 กลุ่มช่าง ได้แก่ กลุ่มช่างมอญประเทศไทย กลุ่มช่าง
มอญประเทศพมา่ และกลมุ่ ช่างอยุธยา ซ่งึ รูปแบบที่ปรากฏสามารถแบ่งตามประเภทและกลมุ่ ชา่ ง ดังน้ี

1. ประเภทสร้างเฉพาะงาน เปน็ การสร้างเมรุปราสาทข้ึนใหม่ รูปแบบเมรุปราสาทจะมีเพียง
หน่ึงเดียว โดยผู้ออกแบบจะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับสมณศักดิ์ของพระท่ีมรณภาพ และขนาดของพ้ืนที่
บริเวณตดิ ต้งั งาน พบวา่ กลุ่มชา่ งท่ีสร้างและออกแบบ มี 2 กลุ่มชา่ ง ไดแ้ ก่ กลุ่มชา่ งมอญประเทศไทย และ
กลมุ่ ช่างมอญประเทศพม่า ดงั ภาพท่ี 4.1 และ 4.2

2. ประเภทสร้างถอดประกอบ เป็นการขอยืมหรือการเช่าจากที่อ่นื พบว่า กลุ่มชา่ งท่ีสร้าง
และออกแบบ มี 2 กลุ่มช่าง ไดแ้ ก่ กลมุ่ ชา่ งมอญประเทศไทย และกลุ่มช่างอยุธยา ดังภาพที่ 4.3 และ 4.4

ภำพท่ี 4.2 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสรา้ งเฉพาะงาน กลมุ่ ช่างมอญประเทศไทย
(ท่มี า : พิศาล บุญผูก )

37

ภำพท่ี 4.3 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสร้างเฉพาะงาน กลุ่มช่างมอญประเทศพม่า
(ทีม่ า : พิศาล บุญผูก )

ภำพท่ี 4.4 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสรา้ งถอดประกอบ กลมุ่ ช่างมอญประเทศไทย
(ที่มา : พศิ าล บญุ ผกู )

ภำพที่ 4.5 รปู แบบเมรุปราสาทประเภทสรา้ งถอดประกอบ กลมุ่ ชา่ งอยุธยา
(ท่ีมา : พิศาล บญุ ผูก )

38

จากการวเิ คราะห์รูปแบบเมรปุ ราสาทในพ้นื ทกี่ รณศี กึ ษาของกลุม่ ช่างพื้นที่อาเภอปากเกรด็ จงั หวัด

นนทบุรี ท่ถี ูกสรา้ งขึ้นเพ่อื ใชช้ วั่ คราวสาหรับประกอบพธิ ศี พพระสงฆ์ ตามท่ไี ดร้ บั การสบื ทอดทง้ั รปู แบบและ

วธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทตามวธิ ีจารีตโบราณ พบวา่ เปน็ อาคารท่ีมรี ูปแบบเฉพาะของแต่ละกลุ่ม แยกสรา้ ง

เป็น 2 ส่วน คอื ส่วนตวั ของเมรุปราสาท และสว่ นยอดเมรุปราสาท ตามรูปแบบท่ีปรากฏ ดงั นี้

4.1.1.1 รูปแบบสถำปตั ยกรรม

ลกั ษณะรปู แบบทางสถาปตั ยกรรมของเมรปุ ราสาท มลี กั ษณะเป็นปราสาทยอดเดียว

ประกอบด้วยเสา 4 ตน้ หรอื 6 ตน้ โดยรปู แบบของพื้นท่กี รณีศึกษา กลุ่มช่างวดั สนามเหนือ พัฒนารูปแบบมา

เป็นเสา 8 ตน้ มหี ลงั คายอดเดยี ว และสามารถถอดประกอบเพ่ือขนยา้ ยไปใชง้ านตามท่ีต่างๆได้ โดยลักษณะ

ตวั อาคารเปน็ อาคารทรงปราสาทเรือนยอดแบบมอญ ดงั ภาพท่ี 4.5 ประกอบดว้ ยยอดจานวน 1 ยอด ตวั

เรือนขนาดความกวา้ งฐานประมาณ 16.20 เมตร ความสูงประมาณ 24.30 เมตร และบันไดทางขึน้ ลงรอบ

ดา้ น ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

4.1.1.1.1 สว่ นตวั อาคาร พบว่า เปน็ อาคารแปดเหลยี่ มคล้ายรูปทรงโกศ ประกอบดว้ ยเสา 8

ต้น มีพ้นื ทใี่ ช้สอยตรงกลางสาหรบั ตงั้ ศพ บันไดจานวน 9 ขน้ั สามารถข้นึ -ลงไดร้ อบ

4.1.1.1.2 สว่ นหลงั คาหรอื สว่ นยอด พบว่า หลงั คาแบบเรือนยอด หรือเรยี กวา่ ยอดปราสาท

ซงึ่ ประกอบด้วยยอดกลางจานวน 1 ยอด แบง่ ออกเปน็ 3 ส่วน มจี านวนชน้ั และขนาดท่ลี ดหล่นั กนั ไป ตกแต่ง

ลวดลายตามชน้ั และตามขอบด้วยกระจัง ลายเปล ลายราชวตั ร ดงั ภาพท่ี 4.6

ภำพท่ี 4.6 เมรุปราสาทกลมุ่ ชา่ งวดั สนามเหนือ อาเภอปากเกร็ด จงั หวัดนนทบุรี
(ทมี่ า : พิศาล บญุ ผกู )

39

ภำพท่ี 4.7 ยอดเมรุปราสาท
(ท่ีมา : พิศาล บุญผกู )

4.1.1.2 รูปแบบกำรยกยอดเมรุปรำสำท
การยกยอดเมรุปราสาทของกล่มุ ชาวมอญเปน็ พิธีกรรมทีส่ บื ทอดกันมาหลายรนุ่ พธิ กี รรม
ดงั กล่าวน้ีทั้งชาวมอญในประเทศไทยและประเทศพม่ายงั คงมีปฏบิ ตั ิสบื ทอดเช่นเดียวกัน ซึง่ ต่างก็มจี ุดมงุ่ หมาย
เดยี วกันคอื เพอ่ื เปน็ การบวงสรวงไหวค้ รอู าจารย์ทป่ี ระสิทธิป์ ระสาทมาให้ รวมถึงเปน็ การบอกกล่าวใหเ้ จ้าท่ี
เจ้าทางไดร้ บั รู้ เปน็ การขออนญุ าตก่อสร้างเมรปุ ราสาทให้สาเร็จลลุ ว่ งไปดว้ ยดี ชาวมอญถอื ว่ายอดเมรุ
ปราสาทหรือยอดฉัตรเป็นสง่ิ สาคญั สูงสุดของเมรุปราสาท ในการยกยอดเมรปุ ราสาทของชาวมอญในประเทศ
ไทยและประเทศพม่า พบวา่ มีความแตกตา่ งกันในรายละเอยี ดบางส่วน โดยรูปแบบการยกยอดเมรุปราสาท
ของชาวมอญในประเทศพม่านัน้ จะยกเพยี งยอดเดยี วคอื ยอดทใี่ หญท่ สี่ ดุ แม้วา่ ตวั เมรุปราสาทจะประกอบด้วย
หลายยอดกต็ าม ด้วยวธิ ีการยกยอดดว้ ยเชอื กโยงผูกแลว้ มชี า่ งดงึ ขึน้ ไปตดิ ต้ังด้านบนสุดของตวั เมรุปราสาท
สว่ นวธิ ีการยกยอดเมรุปราสาทของชาวมอญในประเทศไทยนัน้ พบวา่ มคี วามแตกตา่ งกันในแตล่ ะกลุม่ ช่าง
เนื่องจากวสั ดโุ ครงสร้างและขนาดที่แตกตา่ งกัน ทั้งนี้ในกลุม่ ชา่ งชาวมอญในประเทศไทย โดยเฉพาะกล่มุ
ชา่ งพระประแดงและกลมุ่ ช่างวัดสนามเหนือ จะยกยอดเมรุปราสาทโดยใช้วธิ ีคล้ายกระดานหก ซึ่งเปน็ วิธี
โบราณท่ที าสืบทอดต่อกนั มา แต่ชา่ งกล่มุ อื่นได้เลกิ ใช้วธิ ดี งั กลา่ วไปแลว้ สว่ นกลมุ่ ช่างพระประแดงนนั้ ได้
ปรบั เปลย่ี นวธิ ีบางส่วน เชน่ การใช้รอกชว่ ยดงึ แตส่ าหรบั กล่มุ ช่างวัดสนามเหนอื ได้ใช้วธิ ีตามแบบโบราณมา
โดยตลอด ดว้ ยเครือ่ งมือยกเป็นตะแกรงทาดว้ ยไมไ้ ผ่ขนาดใหญ่สองทอ่ นวางทับอยู่ด้านบน เรยี กวา่ งาชา้ ง
4.1.2 ผลกำรวิเครำะห์ดำ้ นวัสดุ
การกอ่ สรา้ งเมรุปราสาท พบว่า เปน็ งานก่อสร้างสาหรับใชช้ ่ัวคราว สามารถถอดประกอบได้ วัสดทุ ี่
นามาใช้จงึ ต้องสามารถร้อื ถอน ซ่อมแซมไดง้ ่าย ดังนัน้ วัสดทุ ่ใี ชจ้ ึงเป็นประเภทไมท้ ีส่ ามารถหาได้ง่ายในทอ้ งถิ่น
กระดาษซง่ึ ราคาไมส่ งู ซึ่งการใช้วัสดุ พบว่า ในการทาแตล่ ะสว่ นแตกตา่ งกัน โดยแบง่ ตามโครงสรา้ งออกเป็น
3 สว่ น ดงั นี้
4.1.2.1 โครงสร้ำงตัวอำคำร
โครงสรา้ งเปน็ ไมจ้ ริงและไม้อดั เพือ่ ขนึ้ รูปทรงตามรปู แบบที่วางไว้ให้สามารถตัง้ อยแู่ ละ
รองรับการตดิ ตง้ั โครงสรา้ งรอง โดยเสาของตัวปราสาทใช้ไม้เตง็ หนา้ 6” บันไดใชไ้ ม้เต็งหน้า 10” พนื้ ใช้ไม้อดั
ปดิ ทับโครงไมจ้ ริง

40

4.1.2.2 โครงสรำ้ งยอดเมรปุ รำสำท
ใช้ไม้ไผ่ตงเป็นโครงสร้างหลัก คือส่วนของเสากระโดง ยดึ กับไมร้ ะแนงทต่ี ยี ดึ ฐานของยอด
ปราสาท ใช้แผน่ สังกะสีตรงช่วงกระบงุ แลว้ ใช้ผ้าขาวขงึ ประดบั ตกแต่งด้วยลวดลายจากกระดาษเงนิ
กระดาษทองมาติดประดบั ดังภาพที่ 4.7

ภำพที่ 4.8 ลักษณะโครงสรา้ งยอดเมรปุ ราสาท (กลมุ่ ชา่ งพระประแดง)

4.1.2.3 เคร่ืองมอื ยกยอดเมรปุ รำสำท
เคร่ืองมือยกเป็นตะแกรงทาดว้ ยไมไ้ ผ่ผูกรัดดว้ ยเชอื ก และไม้ไผ่ขนาดใหญ่สองท่อนวางทับอยู่
ดา้ นบน ใชเ้ ชอื กมะนิลาเสน้ ขนาดประมาณ 1” ยาวผกู โยงที่หัวเสาของเมรุปราสาท เพื่อไวช้ ว่ ยดึงเชือกขณะยก
ยอดเมรุปราสาทท่ีอยขู่ า้ งล่างใหไ้ ปอยู่ขา้ งบนตัวปราสาท

4.1.3 ผลกำรวิเครำะหด์ ้ำนเทคนิควธิ ีกำร
เมรุปราสาทมอญเป็นภมู ิปัญญาการสรา้ งงานสถาปตั ยกรรมที่มกี ารสบื ทอดมายาวนาน ซงึ่ เปน็ การสืบ
ทอดของกลุ่มพระสงฆท์ ่จี ะเป็นผู้ถา่ ยทอดวิชาและคอยควบคุมการกอ่ สรา้ ง การสร้างเมรุปราสาทของชาวไทย-
มอญเป็นงานของพระสงฆ์ การถ่ายทอดวิชาจึงเกดิ ได้จากการเข้าไปเป็นผรู้ ่วมการสรา้ ง จวบจนยุคหลังท่ไี ด้มี
การให้ฆราวาสเข้าไปมีส่วนรว่ มในการสร้าง ซึง่ การกอ่ สร้างแตล่ ะครั้งจะประกอบดว้ ยกลมุ่ ชา่ งทม่ี ที งั้ พระสงฆ์
และฆราวาสทางานร่วมกนั ประมาณ 15 คน โดยการกอ่ สร้างเมรุปราสาทแบ่งสว่ นงานออกดงั นี้

4.1.3.1 การทาโครงสร้าง
4.1.3.1.1 การเตรยี มโครงสร้าง แบง่ ออกเปน็ 3 ส่วน ได้แก่ สว่ นโครงสรา้ งยอด

ปราสาท คือ การทาโครงจากไม้จริงและไม้ไผ่ กรุด้วยผา้ และประดบั ตกแต่งลวดลายดว้ ยกระดาษจนเสร็จ
เรียบร้อยจากดา้ นลา่ ง ,สว่ นโครงสร้างตวั อาคาร คอื การทาโครงสร้างตวั เมรุปราสาท ตง้ั แต่สว่ นฐานราก พ้นื
บนั ได เสา และคาน และส่วนโครงสรา้ งในการยกยอดเมรุปราสาท คือ การทาโครงจากไมไ้ ผ่จดั วางเป็น
ตะแกรงแลว้ ผูกรดั ดว้ ยเชือก โดยไม้ไผส่ ว่ นที่เป็นไม้กระดกจะมีความยาวเทา่ กบั ความสงู ของตัวเมรุปราสาท
เพื่อใหข้ ณะดงึ ตัวยอดเมรุปราสาททต่ี ้งั อย่บู นงาชา้ ง สามารถยกขึน้ ไปให้ตง้ั ฉากแลว้ ดึงตัวยอดเมรุปราสาทไป
ติดตงั้ บนตัวอาคารไดอ้ ยา่ งพอดี

4.1.3.1.2 การประกอบโครงสร้าง โดยการขดุ หลมุ ปักเสาลกึ ประมาณ 1 เมตร แล้ว
ทารัดอกเพอื่ ใหเ้ สาเอียงได้ตามแบบท่มี ลี ักษณะเหมอื นทรงโกศ ซงึ่ โครงสร้างจะประกอบเสรจ็ สมบูรณ์ได้
หลังจากยกยอดเมรุปราสาทข้นึ ไปติดต้ังบนโครงสรา้ งตัวอาคารเรียบรอ้ ยแล้ว ส่วนโครงสรา้ งของตวั อาคารท่ยี ัง
ไมส่ ามารถประกอบได้คอื สว่ นท่ีเปน็ บนั ใด 3 ใน 4 ส่วน ทจี่ ะติดต้ังภายหลัง เพ่ือเว้นพืน้ ทส่ี าหรับเตรียมการยก
ยอดเมรปุ ราสาทขน้ึ ส่โู ครงสร้างตวั อาคาร ดังภาพท่ี 4.8

41

4.1.3.2 การตกแตง่ คือ การประดบั ด้วยกระดาษ ผา้ สีทา โดยจะมกี ารซอ่ มแซมและ
ตกแต่งใหม่ทกุ คร้งั เม่อื นามาใช้งาน ซ่งึ การตกแตง่ จะทาหลังจากยกยอดเมรุปราสาทเรยี บรอ้ ยแลว้ เช่น การ
ผูกผา้ การประดบั ลวดลายด้วยกระดาษเงนิ กระดาษทอง การตกแต่งดว้ ยดอกไม้ การประดับไฟ เปน็ ตน้

4.1.3.3 การยกยอดเมรุปราสาท คอื การใชเ้ คร่อื งมอื และอปุ กรณต์ ่างๆท่เี ตรียมไว้ เพื่อยกตัว
ยอดเมรปุ ราสาทขนึ้ สู่ตวั เมรปุ ราสาท เมื่อสรา้ งส่วนยอดเสรจ็ แล้ว จะมพี ธิ ียกยอดเมรุปราสาทไว้บนหวั เสาด้วย
เครือ่ งมอื ยกเป็นตะแกรงทาด้วยไมไ้ ผ่ซ่ึงด้านล่างพบั ไปมาได้ และไมไ้ ผ่ขนาดใหญส่ องท่อนวางทับอยู่ด้านบน
เรยี กวา่ งาช้าง ดงั ภาพท่ี 4.9 โดยมขี ้นั ตอน ดงั นี้

4.1.3.3.1 ติดตั้งเครอ่ื งมอื ยกสว่ นทเี่ ปน็ ตะแกรงไม้ไผ่ โดยวางให้ชนกับฐานของตวั
เมรุปราสาท แลว้ ตยี ดึ ด้วยไม้ เพ่อื ยันไมใ่ ห้เคล่ือนตัว ขณะยกยอดปราสาท ดงั ภาพท่ี 4.10

4.1.3.3.2 ตดิ ต้งั ยอดเมรุปราสาทบนงาช้าง เพ่อื ชว่ ยพยงุ ยกตวั ยอดเมรปุ ราสาทให้
สามารถเคลื่อนเข้าที่บนโครงสร้างของอาคาร โดยผกู ดว้ ยลวดหรอื เชือก

4.1.3.3.3 ผกู เชือกมะนิลา ไว้ทงี่ าชา้ งท้ังสองข้าง แล้วโยงขนึ้ ไปท่หี ัวเสาของเมรุ
ปราสาทและเชอื กท่ีโรยไปด้านหลงั เพ่ือไวช้ ่วยดึงเชอื กขณะยกยอดเมรุปราสาทท่ีอยูข่ ้างลา่ งใหไ้ ปอยขู่ า้ งบน
โดยระยะการโยงเชอื กควรใหม้ ีระยะหา่ งจากตวั เมรุปราสาทให้มากทสี่ ุด เพือ่ ชว่ ยผ่อนแรงขณะยกยอดเมรุ
ปราสาทขึ้น

4.1.3.3.4 ผกู เชือกเส้นเล็ก หรอื หนวด ไวท้ ช่ี ่วงปล้องไฉนของยอดเมรุปราสาท
จานวน 3-4 เสน้ สาหรับดงึ ประคองยอดไม่ให้โงนเงน ดังภาพที่ 4.11 โดยผทู้ ถี่ อื หนวดจะไม่อย่กู บั ที่
เนอ่ื งจากต้องคอยรั้งไม่ใหย้ อดโงนไปในทิศทางตา่ งๆ ซึง่ เม่ือติดตัง้ ยอดเมรุปราสาทเข้าท่แี ล้ว จงึ จะตรึงยดึ
ปลายยอดเมรุปราสาทไว้จนกว่างานพิธีศพจะเสรจ็ สนิ้

4.1.3.3.5 การยกยอดเมรุปราสาทจะมคี นขน้ึ ไปอยดู่ ้านบนของตัวเมรุปราสาทตาม
จุดตา่ งๆ เพือ่ ขนึ้ ไปใหส้ ญั ญาณในการยก และการชว่ ยประคองในบางจุด และรวมถึงการชว่ ยปลดอปุ กรณ์
ต่างๆ ได้แก่ งาชา้ ง และไม้คานให้ลงมาด้านลา่ ง หลังจากยกยอดเมรุปราสาทขน้ึ ไปตั้งไดแ้ ล้ว

ทง้ั นี้การรอ้ื ตัวเมรุปราสาทก็จะนายอดเมรุปราสาทลงดว้ ยวิธีการเดยี วกันกบั ตอนยกขึ้น ดงั
ภาพท่ี 4.12 โดยยกงาชา้ งขึ้นไปติดต้ังกับตวั ยอดเมรุปราสาท แลว้ ค่อยๆชว่ ยกนั ยกแล้วดงั ลงมา โดยไม่ตอ้ งมี
เชือกดึง

ภำพท่ี 4.9 โครงสรา้ งตัวอาคาร
(ที่มา : พิศาล บญุ ผูก )


Click to View FlipBook Version