The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานฉบับเต็ม วิถีชีวิตชนเผ่าลัวะ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Jannida Lertwongromyen, 2023-09-12 00:28:28

รายงานฉบับเต็ม วิถีชีวิตชนเผ่าลัวะ

รายงานฉบับเต็ม วิถีชีวิตชนเผ่าลัวะ

รายงาน การศึศึก ศึ ก ศึ ษาค้ค้ ค้ น ค้ นคว้ว้ ว้ า ว้ า เรื่รื่ รื่ อ รื่ รื่ อ รื่ ง วิวิ วิ ถี วิ ถีชี ถี ชี ถี วิ ชี วิ ชีวิ ต วิ ตชนเผ่ผ่า ผ่ า ผ่ ลัลั ลั ว ลั วะ เสนอ ผู้ช่ ผู้ วยศาสตราจารย์ส ย์ าโรช สอาดเอี่ยม จัดทำ โดย นางสาวจันทร์นิ ร์ นิ ดา เลิศวงศ์ร่ ศ์ ม ร่ เย็น ย็ รหัส หั 6410540131060 รายงานนี้เ นี้ป็นส่ว ส่ นหนึ่งของรายวิชา เทคโนโลยีส ยี ารสนเทศเพื่อ พื่ การศึก ศึ ษาค้นคว้า รหัส หั GE4005 ภาคเรีย รี นที่ 1/2566 สาขาการสอนภาษาไทย คณะศึก ศึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏกุ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา


รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง วิถีชีวิตชนเผ่าลัวะ เสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาโรช สอาดเอี่ยม จัดทำโดย นางสาวจันทร์นิดา เลิศวงศ์ร่มเย็น รหัส 6410540131060 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า รหัส GE4005 ภาคเรียนที่ 1/2566 สาขาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา


ก คำนำ รายงานเรื่อง วิถีชีวิตชนเผ่าลัวะ ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา GE4005 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าลัวะ หรือ ลเวือะ โดยได้ศึกษาผ่าน แหล่งความรู้ต่าง ๆ จากหนังสือ ห้องสมุด รวมไปถึงแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ออนไลน์ เพื่อศึกษาให้เข้าใจใน เนื้อหาของชนเผ่า ลัวะ ได้โดยละเอียด เนื้อหาในรายงานเล่มนี้ ประกอบไปด้วยเนื้อหาของประวัติความเป็นมาของชนเผ่าลัวะ การตั้งถิ่นฐาน และการกระจายตัว วิถีชีวิตและวัฒนธรรม การดำรงชีพ การย้อมฝ้าย ทอผ้าฝีมือชาวลัวะ การทำเครื่องเงิน ระบบความเชื่อประเพณีและพิธีกรรม พิธีกรรมการแต่งงาน การเลี้ยงผีแต่ละประเภท ประเพณีเทศกาลและ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เช่น การคลอดบุตรของคนชนเผ่าสมัยแต่ก่อน การเสียชีวิตและการทำศพ โดยจะบอก เรื่องราวความเป็นมาขั้นตอนในการทำพิธีต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ เอกลักษณ์การแต่งกาย ตลอดรวมไปถึงอาหาร หลักของชนเผ่าลัวะอีกด้วย การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ทางผู้จัดทำขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาโรช สอาดเอี่ยม ที่ท่านได้ให้คำแนะนำในการจัดทำรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้ สมบูรณ์ในเรื่องของการศึกษาการทำรายงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การเขียนบรรณานุกรม รวมไปถึง ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่สนับสนุน ช่วยเหลือตลอดมา ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาใน รายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาค้นคว้า หากมีข้อผิดพลาด ประการใด ทางผู้จัดทำขอกราบผู้รู้ช่วยแนะนำต่อไป ผู้จัดทำ นางสาวจันทร์นิดา เลิศวงศ์ร่มเย็น 3 สิงหาคม 2566


ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานและความเป็นมา 2 บทที่ 2 ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวลัวะ 5 บทที่ 3 การตั้งถิ่นฐานละการกระจายตัว 7 บทที่ 4 วิถีชีวิตและวัฒนธรรม 7 4.1 การดำรงชีพ 8 4.2 การทำฝ้าย ทอผ้าฝีมือชาวลัวะ (ลเวือะ) 12 4.3 การทำเครื่องเงิน ตีมีด สร้อย กำไล และเครื่องประดับ 13 บทที่ 5 ระบบความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 13 5.1 ศาสนาและความเชื่อ 14 5.2 ประเพณี เทศกาล และพิธีกรรม 14 5.2.1 พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน 15 5.2.2 พิธีเลี้ยงผีเรือน 16 5.2.3 พิธีเลี้ยงผีฟ้าผ่า 16 5.2.3 พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ 18 5.2.4 พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก 19 5.3 ประเพณี เทศกาลและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต 19 5.3.1 การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร 20 5.3.2 การแต่งงานและการหย่าร้าง 21 5.3.3 พิธีกรรมการแต่งงาน 23 5.3.4 การเสียชีวิตและการทำศพ 24 5.3.5 ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ชาวลัวะ 25 บทที่ 6 ภาษาลัวะ (ละเวือะ) 28 บทที่ 7 การแต่งกาย 30 บทที่ 8 อาหารหลักของชาวลัวะ 31 บรรณานุกรม 32


ค สารบัญรูปภาพ รูปภาพ หน้า รูปภาพที่ 1 เอกลักษณ์ของชนเผ่าลัวะ 1 รูปภาพที่ 2 ขุนหลวงวิลังคะ กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งระมิงค์นคร 4 รูปภาพที่ 3 การย้อมฝ้าย ทอผ้าฝีมือชาวลัวะ (ลเวือะ) 9 รูปภาพที่ 4 ทอตวน 9 รูปภาพที่ 5 เย็บผ้าฝีมือชาวลัวะ 9 รูปภาพที่ 6 ย่ามทอจากฝ้ายธรรมชาติ 9 รูปภาพที่ 7 ซิ่น หรือ กระโปรงฝีมือชาวลัวะ 11 รูปภาพที่ 8 ผ้าทอตวนที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ 11 รูปภาพที่ 9 การทำเครื่องเงิน ตีมีด สร้อย กำไล และเครื่องประดับ 12 รูปภาพที่ 10 มีดหลูบเงิน 12 รูปภาพที่ 11 เครื่องประดับที่ทำจากเงิน ตุ้มหู กำไลหรือสร้อยที่ใช้เชือกถักเม็ดเงิน 13 รูปภาพที่ 12 พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน 15 รูปภาพที่ 13 พิธีเลี้ยงผีเรือน 16 รูปภาพที่ 14 พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ 17 รูปภาพที่ 15 พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก 18 รูปภาพที่ 16 พิธีกรรมการแต่งงาน 21 รูปภาพที่ 17 ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ชาวลัวะ 24 รูปภาพที่ 18 การรำดาบในพิธีขึ้นบ้านใหม่ 25 รูปภาพที่ 19 การแต่งกายผ้ชาย ชาวลัวะ 28 รูปภาพที่ 20 การแต่งกายผู้หญิง ชาวลัวะ 28 รูปภาพที่ 21 การแต่งกายผู้ชายชาวลัวะที่มีเอกลักษณ์ ผู้ชายมีมีดเหน็บเอว 29 รูปภาพที่ 22 ลักษณะการใส่เครื่องประดับผู้หญิงสมัยก่อน 29 รูปภาพที่ 23 อาหารหลักของชาวลัวะ 30


1 1. ข้อมูลพื้นฐานและประวัติความเป็นมา ความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าลัวะ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/8oQb7 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ลัวะ หรือ ละว้า หรือ ละเวือะ คือชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมก่อนการ สร้างชาติรัฐล้านนา ในอดีตลัวะเคยมีวิวัฒนาการที่เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างบ้านแปลงเมือง มีระบอบการ ปกครอง มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเป็นอัตลักษณ์เป็นของตนเอง เมื่อถูกชาติพันธุ์ไทรุกรานจึงถอยร่นสู่ที่ราบเชิง เขาและสันเขา ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตอนเหนือของลาว และทางภาคเหนือของ ประเทศไทย โดยกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และน่าน ในส่วนของบ้านเรือนที่ อยู่อาศัย ชาวลัวะนิยมสร้างเรือนไม้ยกพื้นสูง หลังคาสูงชันคลุมลงเกือบจรดพื้นดิน มุงด้วยหญ้าคาหรือตองตึง มีกาแลสลักไขว้กันสองอันเป็นหน้าจั่ว และเนื่องจากชาวลัวะมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม รอบ ๆ หมู่บ้านจะ เป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ลัวะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่มาดั้งเดิมในแถบจังหวัดเชียงใหม่และน่าน ต่อมาอพยพขึ้นไปอยู่บนดอยมากขึ้น มีระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียน 5-7 รอบ มีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ที่ หลากหลาย และจัดวางผังในแปลงเดียวกัน และมีภูมิปัญญาในการรักษาทั้งแบบสมุนไพรและพิธีกรรม ซึ่ง ปัจจุบันกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ในอดีตการเรียกชื่อ “ลัวะ” นั้นเป็นชื่อที่กลุ่มคนท้องถิ่นเรียกคนที่อาศัยอยู่ในป่าในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน เป็นเชิงการเรียกแบบเหมารวม อย่างไรก็ตามหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ยอมรับได้เงื่อนไขการเรียกชื่อ “ลัวะ” ทั้งที่ชื่อนั้นไม่ใช่ชื่อเรียกของตนเอง อีกทั้งเมื่อหน่วยงานรัฐมีการสำรวจกลุ่มบนพื้นที่สูง ชื่อของลัวะ จึง มีจำนวนมาก และกระจัดกระจายในหลายถิ่นที่ และหลายกลุ่ม หลายพื้นที่มีระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน การยอมรับคำว่า “ลัวะ” เพื่อมาใช้แทนชื่อเรียกตนเองก่อให้เกิดความสับสนทั้งในเชิงของการให้ นิยามและการนับจำนวนกลุ่มชาติพันธุ์ ลัวะในแต่ละบริบทพื้นที่ต่างก็มีชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกตัวเองที่แตกต่างกัน ทั้งในมิติสำเนียงภาษา รวมทั้งมิติการสร้างตัวตนและให้นิยามความหมายใหม่ ส่งผลให้การ “เรียกชื่อ” ของ


2 กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า ลัวะ ในแต่ละชุมชนแตกต่างกันออกไป ชนชาติลัวะกระจายตัวอยู่ใน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทยในพงศาวดาร เล่าว่า ในลวรัฐ ก่อนขอมเข้ามามีอำนาจ สมัยพระนางจาม เทวี เคยทำสงครามกับชาวลัวะ ปฐมพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน กล่าวว่ามีชาวลัวะอยู่บริเวณดอยตุง และตำนานพระธาตุภาคเหนือ กล่าวถึง ชนชาติลัวะก่อนชนชาติไทยและขอม พงศาวดารเชียงตุง เขียนว่าคน ทั้งหลายออกมาจากน้ำเต้าใบเดียวกัน ลัวะ ออกมาเป็นกลุ่มแรก กะเหรี่ยงออกมาเป็นกลุ่มที่สอง ต่อมาเป็นคน ไทย อาณาจักรของลัวะ จึงครอบคลุมบริเวณแหลมสุวรรณภูมิ และเขตมณฑลยูนนานตอนใต้ เมื่อถูกขอม เขมร ไทย ลาว จาม และเวียดนามรุกรานก็พากันแตกพ่ายไปอยู่ตามป่าเขาห่างไกล ลัวะจึงถือเป็นชนกลุ่ม ดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรล้านนามาก่อนการตั้งเมืองเชียงใหม่ อาณาจักรลัวะ ถึงกาลล่มสลาย ประมาณปี พ.ศ. 1200 ในสมัยของขุนหลวงวิรังคะ ผู้นำคนสุดท้ายของชาวลัวะ ปัจจุบันพบชาวลัวะในจังหวัด คือ ลำปาง อุทัยธานี สุพรรณบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน และแม่ฮ่องสอน หมู่บ้านลัวะที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่ บ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ชนเผ่าลัวะอาศัยอยู่ใน 9 จังหวัด 21 อำเภอ 71 หมู่บ้าน จำนวน 3,322 หลังคาเรือน ประชากรรวม 17,637 คน ชาวลัวะในประเทศไทยมีวิถีการดำรงชีพที่ให้ความสำคัญกับ ระบบความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผีเพื่อความอุดมสมบูรณ์และการมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข อาจกล่าวได้ว่าประเพณีการเลี้ยงผีของชาวลัวะมีมากที่สุดในกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในประเทศไทย โดยลัวะใน แถบเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนจะเลี้ยงผีและสืบทอดตระกูลททางฝ่ายพ่อ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในจังหวัดน่าน สืบผีทางตระกูลทางฝ่ายแม่ พิธีเลี้ยงผีที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ แบ่งตามระดับของผีที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เป็น 3 ระดับ คือ 1. การเลี้ยงผีในระดับครอบครัว เป็นการเลี้ยงผีเรือนเพื่อปกป้องคุ้มครองลูกหลาน 2. การเลี้ยงผีในระดับตระกูลหรือการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน้าที่ของ “สะมาง” หรือตระกูลขุนเป็นผู้นำในการเลี้ยงผี 3. การเลี้ยงผีในระดับหมู่บ้าน เพื่อปกป้องดูแลหมู่บ้าน และพื้นที่เกษตรกรรม การเลี้ยงผี จึง เปรียบเสมือนหลักปฏิบัติในการดำเนินวิถีชีวิตของชาวลัวะ ถือเป็นแบบแผนและจารีตในการปกครองบ้านและ ชุมชน 2. ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ชาวลเวือะ (ลัวะ) ปรากฏในพงศาวดาร ตำนาน โดยข้อมูลจากพงศาวดาร ระบุว่า ลัวะรัฐ (ลพบุรี) ก่อนขอมเข้ามามี อำนาจ สมัยพระนางจามเทวี เคยทำสงครามกับชาวลัวะ เช่นเดียวกับข้อมูลจากปฐมพงศาวดารเมืองเงิน ยาง เชียงแสน ที่ได้กล่าวถึงชาวลัวะบริเวณดอยตุง เช่นเดียวกันกับข้อมูลจากพงศาวดารเชียงตุง ที่ระบุว่า คน ทั้งหลายออกมาจากน้ำเต้าใบเดียวกัน ลัวะ ออกมาเป็นกลุ่มแรก กะเหรี่ยงออกมาเป็นกลุ่มที่สอง ต่อมาเป็นคน ไทย อาณาจักรของลัวะ ครอบคลุมบริเวณแหลมสุวรรณภูมิ และเขตมณฑลยูนนานตอนใต้ เมื่อถูกขอม เขมร ไทย ลาว จาม และเวียดนามรุกราน จึงแตกพ่ายไปอยู่ตามป่าเขาห่างไกล ลัวะถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่ตั้ง ถิ่นฐานอยู่ในอาณาจักรล้านนามาก่อนการตั้งเมืองเชียงใหม่ อาณาจักรลัวะ ถึงกาลล่มสลายประมาณปี พ.ศ. 1200 ในสมัยของขุนหลวงวิรังคะ ผู้นำคนสุดท้ายของชาวลัวะ สอดคล้องกับ ตำนานพระธาตุภาคเหนือ ที่ได้


3 ระบุว่า ชนชาติลัวะมีมาก่อนชนชาติไทยและขอม ลัวะ เป็นชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ภาคเหนือ ในระยะ หลังนักวิชาการมักเขียนและออกเสียงกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า ลวะ ชาวลัวะกระจายตัวตั้งถิ่นฐานไปถึงเมืองเชียงตุง และเมืองยองในเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ศูนย์กลางของลัวะอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ เชื่อกันว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็น ลูกหลานของปู่แสะย่าแสะ เช่นเดียวกับขุนหลวงวิลงคะ หรือ วิรังคะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชาวลัวะยุคสุดท้าย จาก ตำนานเจ้าสุวรรณคำแดง กล่าวถึงถิ่นที่อยู่ของลัวะในบริเวณเชิงดอยสุเทพกระจายตัวลงมาจนถึงที่ราบริมน้ำปิง จากตำนานพระธาตุในล้านนา มองชาวลัวะออกเป็น3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแรก มองว่า ลัวะ เป็นคนที่อยู่ในภาคเหนือ ภาพตัวแทนของลัวะจึงเกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มและมีความเก่าแก่ กว่าชนกลุ่มอื่น ตำนานมักอ้างถึงพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้เสด็จมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และพบกับลัวะผู้หนึ่งที่ได้ถวายอาหาร เช่นเดียวกับตำนานพระธาตุลำปางหลวง ที่ได้กล่าวถึง ลัวะอ้ายกอน ที่ ถวายน้ำผึ้ง และตำนานพระธาตุช่อแฮ ที่กล่าวถึงขุนลัวะ อ้ายค้อมถวายหมาก เป็นต้น กลุ่มที่สอง มองว่า ลัวะ เป็นคนที่เกิดในรอยเท้าสัตว์ จำพวกช้าง แรด วัว และเนื้อ อยู่กันเป็นกลุ่มตามพันธุ์สัตว์ สะท้อนการเป็นสังคมชนเผ่าที่ใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ มุมมองดังกล่าวปรากฏในตำนานมูลศาสนาชินกาลมาลี ปกรณ์ และจามเทวีวงศ์ แต่ตำนานดังกล่าวไม่ระบุว่า คนเกิดในรอยเท้าสัตว์เป็นลัวะในขณะที่ตำนานสุวรรณคำ แดง ซึ่งเป็นตำนานรุ่นหลังได้อธิบายว่า คนในรอยเท้าสัตว์เป็นลัวะ ตำนานลัวะเป็นคนล้าหลังทางวัฒนธรรม เพราะไม่นับถือพระพุทธศาสนา กลุ่มที่สาม มองว่า ชาวลัวะสร้างเวียงเจ็ดริน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรีหรือเชียงใหม่ ปรากฎในตำนานเจ้า สุวรรณคำแดง หรือตำนานเสาอินทขิล ซึ่งเขียนราวต้นรัตนโกสินทร์ ตำนานนี้เน้นความสำคัญของลัวะใน จังหวัดเชียงใหม่ที่มีการผสมกลมกลืนระหว่างลัวะกับคนไทย เช่นเดียวกัน ตำนานเจ้าสุวรรณคำแดง ที่เขียนใน สมัยรัชกาลที่ 5-6 ระบุว่า เวียงเชียงใหม่สร้างโดยพญาไชยเสนาได้ครองลำปาง เมื่อขับไล่พญาเบิกไปแล้ว พญามังรายซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับลัวะ ได้มีความพยายามในการสลายความเป็นชนเผ่าลัวะให้กลายเป็นคน ไทย เมื่อพญามังรายก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ตำนานพื้นเมือง ได้ระบุว่า บริเวณนี้เป็นที่อยู่ที่ตั้งแห่งท้าวพญาแต่ ก่อน ซึ่งหมายถึง เคยเป็นที่อยู่เดิมของหัวหน้าลัวะ ตำนานนพบุรีเมืองพิงค์เชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากพญามัง รายสร้างเวียงเชียงใหม่แล้ว เมื่อจะเสด็จเข้าเมืองได้สอบถามสรีขุนจุกได้ไปสอบถามจากหัวหน้าชาวลัวะ จึง ทราบว่าต้องเข้าทางประตูช้างเผือก การยอมรับว่าลัวะเป็นเจ้าของดินแดนนี้มาก่อนยังแสดงออกในพิธี ราชาภิเษก โดยในพิธีจะให้ลัวะจูงสุนัขนำขบวนเสด็จกษัตริย์เข้าเมือง พิธีนี้คล้ายคลึงกับพิธีราชาภิเษกของ กษัตริย์เมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังราย และเคยเป็นที่อยู่ของลัวะมาก่อน ในเชียงตุงมีพิธีไล่ลัวะ ใน พิธีจะนำผามให้ลัวะกินอาหาร เมื่อกินเสร็จแล้วก็ไล่ลัวะไปแล้วเข้าครองแทนเนื่องจากเชียงใหม่เป็นที่อยู่ ของลัวะมาช้านาน อิทธิพลด้านความเชื่อของล้วะที่สืบทอดมาจึงมีให้เห็นอยู่จนปัจจุบัน นอกจากตำนานที่ กล่าวมาข้างต้นแล้ว เรื่องราวของชาวลัวะยังปรากฏในเรื่องราวของขุนหลวงวิรังคะ กับนางจามเทวี ที่เกิดขึ้น


4 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงที่นางจามเทวีครองราชย์ในเมืองหริภุญชัย แล้วขุนหลวงวิรังคะเป็น หัวหน้าชาวลัวะบริเวณเชิงดอยสุเทพได้ทำสงครามกับนางจามเทวี สาเหตุของสงครามอาจเกิดจากความไม่ พอใจของชาวพื้นเมืองลัวะที่ถูกชนต่างถิ่นเข้ามาแทรกแชง ขุนหลวงวิรังคะพ่ายแพ้ในการทำสงคราม ทำให้ ชาวลัวะส่วนหนึ่งกระจัดกระจายไปตามป่าเขา ในขณะที่ชาวลัวะส่วนหนึ่งยินยอมอยู่ภายใต้การปกครองของ นางจามเทวี นับเป็นการสิ้นสุดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของลัวะ พระนางจามเทวีแต่งตั้งขุนลัวะให้ครองชุมชน ลัวะเชิงดอยสุเทพและให้ส่งส่วยเป็นประจำกลุ่มลัวะที่เป็นพันธมิตรช่วยเหลือพญามังรายตีเมืองหริภุญชัย จาก ตำนานดังกล่าวได้ระบุถึงการมีชุมชนลัวะตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ตามที่ปรากฎในคัมภีร์ใบลาน อวหาร 25 ที่ได้กล่าวถึง ปู่แสะย่าแสะและลูกหลาน ที่รับเอาความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา โดยไม่ฆ่าสัตว์ การไหว้ พระบฏ และการให้ลูกได้บวชเป็นฤๅษี สอดคล้องกับตำนานที่กล่าวถึงฤๅษีวาสุเทพอยู่ดอยอุจฉุบรรพต หรือ ดอยอ้อยช้าง ต่อมาชื่อดอยได้ถูกเปลี่ยนตามชื่อฤๅษีตนนี้ว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็นลูกหลานปู่แสะย่าแสะ ใน ขณะเดียวกันได้มีลัวะบางกลุ่มที่มีความเจริญอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ด้วยเหล็ก จนกระทั่งในสมัยล้านนา กษัตริย์ราชวงศ์มังรายได้ให้ชาวลัวะส่งส่วยเป็นสิ่งที่ผลิตจากเหล็ก เมื่อกล่าวถึงตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ในระยะหลัง พบว่า มีการแต่งตั้งพรานป่าชื่อ ทิพย์ช้าง ชาวลำปาง ซึ่งเป็น หัวหน้าในการขับไล่ทัพพม่าออกจากลำปางให้เป็นเจ้าเมือง ชื่อว่า พญาสุลวลือชัยสงคราม ตามตำนานระบุว่า พรานผู้นี้เป็นชนเผ่าลัวะ จึงทำให้เข้าใจได้ว่า คำว่า ลว หรือ ลวะ แปลว่า ชนพื้นเมืองมากกว่าชื่อของชนเผ่า เมื่อเชื่อมโยงถึงการศึกษาคำว่า ลาว ซึ่งเป็นคำนำหน้านามแทนคำบอกตำแหน่งกษัตริย์ จะพบคำว่าลาว และ ลวะ เป็นคำเดียวกัน เมื่อย้อนกลับไปเทียบดูการปรากฏของลัวะในตำนานต่าง ๆ ทำให้เห็นว่า ลวะ ที่ได้พบ พระพุทธเจ้านั้น อาจไม่ใช่ชาวลัวะ หากแต่คนพื้นเมืองในท้องถิ่น เมื่อศึกษาถึงการใช้คำเรียกชนกลุ่มนั้น พบว่า ในตำนานดอยตุงมีการเรียกปู่เจ้าลาวจกว่า มิลักขะ มิลักขุ่ย มิลักขยะ และในกรณีของ ขุนหลวงวิลังคะ กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งระมิงค์นคร (เชียงใหม่ปัจจุบัน) แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/W1nvc สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566


5 ขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งเป็นหัวหน้าของชาวลัวะ ที่เชิงดอยสุเทพ พบว่า มีการใช้ บ่าลังคะ มะลังคะ มิลักขะ มิลักขุ โดยเฉพาะคำว่า “มิลักขุ” เป็นภาษาบาลี มีแปลว่า คนป่าเถื่อน หรือคนที่ด้อยความเจริญ ซึ่งหมาย รวมถึง คนพื้นเมือง แต่เป็นชาวบ้านนอก หรือชาวบ้านป่าที่มิได้รับอารยธรรมแบบเมือง ทั้งที่แต่เดิมแล้ว “ลาว” หมายถึง กษัตริย์ อาจสรุปได้ว่า ลวะ คือ คนในพื้นถิ่นหรือเป็นชาวบ้านที่ด้อยความเจริญ ใน ขณะเดียวกัน ลวะ ก็เป็นคำที่ชาวล้านนาเรียกชื่อ กลุ่มคนที่ด้อยความเจริญคู่กับชาวกะเหรี่ยง ดังในสำนวนที่ว่า “เพรอะเหมือนลัวะเหมือนยาง” หมายถึงสกปรกเลอะเทอะเหมือนชาวลัวะและชาวกะเหรี่ยง อย่างไรก็ตาม จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มิกขะ มีลักษณะพัฒนาการจากพื้นฐานที่ว่าชนชาติอาระยันเป็นผู้พิชิต และมี อำนาจปกครองทางการเมืองเหนือชนพื้นเมืองเดิม ชาวอารยันจึงเรียก ชนพื้นเองเดิมทั้งหมด ว่า มิลักขะ, มิ ลักขุ หรือ มิลักโข ซึ่งแปลว่า คนป่า คนเถื่อน คนชาวเชา คนชั้นต่ำ คนไม่บริสุทธิ์ ในภาษาสันสกฤตเรียกคน กลุ่มนี้ว่า เมลษ หรือ เมลจณ เพี้ยนกันทางเสียงและรูปคำ แต่มีความหมายเดียวกัน ถือกันว่าห้ามชาวอาระยัน คบค้าสมาคมและห้ามแต่งงานด้วยเพราะจะทำให้เสียสายเลือดอันบริสุทธิ์ ห้ามสอนความรู้อะไรให้เด็ดขาด เพราะถือเป็นคนชั้นต่ำ และไม่ให้โอกาสกอบกู้ฐานะทางสังคมและการเมืองของตนได้ชื่อเรียกว่า มิกขะ หรือ เมลจณะ พบเก่าแก่ที่สุดในคัมภีร์ ศตปถ พราหมณะ ข้อความในนั้น กล่าวถึง เมลจณะในฐานะเป็นชนเผ่า ต่างชาติที่มิใช่อาระยันเผ่าหนึ่ง โดยกล่าวว่าเป็น “ชนต่างชาติที่ชอบร้องเออะไม่เป็นภาษาว่า เห ลโว ลวะ มีผู้ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้และกล่าวว่า เมลจณะ นี้น่าจะเป็นคำที่ชนพื้นเมืองรุ่นก่อนนำติดตัวเข้ามาจาก ตะวันตก เป็นภาษาตระกูลเซมิติ ว่า เมเลข แปลว่า เจ้า ราชา และคำนี้ยังคล้ายคลึงกับภาษาปรากฤต (ภาษา ถิ่นของอารยัน) ที่เรียกว่า มิลักขุ หรือมิลักโข ส่วนเสียงร้องว่า เหลวะ เป็นภาษาเซมิติคอีก ซึ่งเป็นชื่อภาพ เจ้าของชาวเซมิติคที่ปรากฏในภาษาของเฮบรูว่า เอโลอาห์ แม้ว่ารากเหง้าเดิมของคำว่า มิลักขะ หรือ เมลจณะ จะแปลว่า เจ้าหรือราชา แต่ชาวอาระยันผู้พิชิตได้นำชื่อนี้มาเรียกในความหมายว่า ป่าเถื่อนไร้ความเจริญ และ เป็นคำมนภาษาอารยัน (บาลี, สันสฤต, ปรากฤต) แปลว่า คนเถื่อน 3. การตั้งถิ่นฐานละการกระจายตัว จากข้อมูลของสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย ระบุว่า ชาวลัวะอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย ปัจจุบันชาวลัวะใน ประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานกระจายตัว 8 จังหวัดของประเทศไทย คือ ลำปาง อุทัยธานี สุพรรณบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน และแม่ฮ่องสอน หมู่บ้านลัวะที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่บ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ลัวะอาศัยอยู่ใน 8 จังหวัด 21 อำเภอ 71 หมู่บ้าน จำนวน 3,322 หลังคาเรือน ประชากรรวม 17,637 คน การ ตั้งถิ่นฐานของลัวะ ส่วนใหญ่มีตั้งถิ่นฐานแบบถาวร จากการสำรวจฐานข้อมูลในปัจจุบันยังไม่มีการจัดทำ ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าในสารานุกรม ชาติพันธุ์ในประเทศไทย: ละว้า พบว่า ชาวลัวะตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่ในบริเวณหุบเขาพื้นที่รอยต่อของจังหวัด เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน บางส่วนได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ในบริเวณที่ราบกันมากขึ้น เช่น บ้านบ่อหลวงและ บ้านกองลอย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับข้อมูลจากการลงภาคสนาม ที่พบว่า ชาวลัวะใน


6 เชียงใหม่ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอสะเมิง ส่วนชาวลัวะใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอแม่สะเรียง จากข้อมูลในงานศึกษาของประเสริฐ ชัยพิกุสิต ระบุว่า ลัวะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ 900 ปีที่แล้ว แต่มีชาวมอญที่อพยพมาจากลพบุรีได้มาสร้างเมืองลำพูนและลำปางได้เข้ามารุกรานที่อยู่ อาศัยของชาวลัวะ จนต้องถอยร่นไปอาศัยอยู่บนเขากลายเป็นชาวเขา ปัจจุบันชาวลัวะส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือน อยู่บนภูเขา ในหมู่บ้านหนึ่งมักประกอบด้วย 20-100 หลังคาเรือน การสร้างบ้านเรือนนั้นมักตั้งอยู่บนสันเขา และมีพื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นพื้นที่เพาะปลูก ในขณะเดียวกันก็มีชาวลัวะบางส่วนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ ส่วน ใหญ่กลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมไทยจนอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ถูกกลืนกลายไปเกือบทั้งหมด ส่วน ชาวลัวะในจังหวัดเชียงรายมีหมู่บ้านชาวลัวะ กระจายตัวครอบคลุม 5 พื้นที่ คือ อำเภอเมือง ในตำบลบัวสลี 1 หมู่บ้าน ตำบลแม่กรณ์ 1 หมู่บ้าน ในแต่ละแห่งมีครัวเรือนชาวลัวะประมาน 20 หลังคาเรือน อำเภอพาน 2 หมู่บ้าน อำเภอเวียงป่าเป้า 1 หมู่บ้าน และในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย (ไม่ระบุหมู่บ้าน)ในส่วนของ ข้อมูลจำนวนของครัวเรือน ประชากร และสถานการณ์ด้านประชากรนั้น ยังไม่ได้มีการบันทึกอย่างชัดเจนและ ละเอียดมากนัก ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสามารถจำแนกข้อมูลการสำรวจจำนวนประชากร ลัวะ ออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจประชากรชาวเขา 9 เผ่า ในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. 2523 - 2527 พบว่า ชาวลัวะ อาศัยกระจัดกระจายตาม 6 จังหวัด รวมเป็น 11,536 คน ดังนี้ 1. จังหวัดเชียงใหม่ 6,952 คน 2. จังหวัดเชียงราย 150 คน 3. จังหวัดกาญจนบุรี 144 คน 4. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3,677 คน 5. จังหวัดสุพรรณบุรี 136 คน 6. จังหวัดอุทัยธานี 739 คน ส่วนสถิติจำนวนประชากรชาวเขา 9 เผ่าที่อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปี พ.ศ.2527 พบว่า จากเดิมเมื่อปี พ.ศ.2523 กลุ่มชาติพันธุ์นี้ถูกเรียกว่า ลัวะ ต่อมาปี พ.ศ.2527 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ละว้า ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน มีจำนวน 43 หมู่บ้าน 2,297 หลังคาเรือน รวมทั้งหมด 12,885 คน ระยะที่ 2 ข้อมูลการสำรวจจำนวนประชากรชาวลัวะในประเทศไทย พ.ศ. 2542 พบว่า ชาวลัวะตั้งถิ่นฐานใน ประเทศไทย จำนวน 59 หมู่บ้าน 3,261 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 17,216 คน คิดเป็นร้อยละ 2.28 ของประชากรชาวเขาในประเทศไทยทั้งหมด


7 ระยะที่ 3 ข้อมูลการสำรวจจำนวนประชากรชาวลัวะในประเทศไทย พ.ศ. 2555 เป็นข้อมูลจากกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ 2555 ระบุว่า กองสถาบันวิจัยชาวเขาได้รวบรวมจำนวนประชากรชาวลัวะในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุพรรณบุรี และอุทัยธานี ในช่วง พ.ศ.ปี 2530-2531 มีทั้งสิ้น 8,376 คน ต่อมา ใน พ.ศ.2545 กองสงเคราะห์ชาวเขาได้สำรวจจำนวนลัวะมีจำนวนทั้งสิ้น 22,260 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากข้อมูลใน อดีตช่วงปี พ.ศ. 2428 ที่ชาวลัวะมีประชากรประมาณ 9,000-10,000 คน จากนั้นในปี 2563 พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ ราษฎรบนพื้นที่สูง ได้ระบุว่า ประชากรลัวะในประเทศไทย มีจำนวน 58,803 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 4.08 ของ จำนวนประชากรของชาวเขาในประเทศไทยจะเห็นว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรชาวลัวะนั้นค่อนข้างน้อย เนื่องจากการแต่งงานที่ช้าลงประกอบกับการถูกผสมผสานเข้ากับความเป็นคนไทยจากการแต่งงานข้าม วัฒนธรรมก็มีส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย 4.วิถีชีวิตและวัฒนธรรม 4.1 การดำรงชีพ ชาวลัวะมีการยังชีพด้วยการทำไร่หมุนเวียนโดยมีพืชหลักเป็น ข้าวเจ้า ที่นิยมรับประทานมากกว่าข้าว เหนียว ทั้งยังนิยมดื่มเหล้าจากข้าวเจ้า รวมทั้งมีพืชอื่นที่ปลูกหมุนเวียนเพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือนและนำไป ขายที่หมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ ถั่ว แตงกวา ข้าวโพด พริก ฝ้าย และผักสวนครัว นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข วัว กระบือ สุกร ไก่ เป็นต้น สัตว์เหล่านี้นอกจากจะใช้ในการบริโภคในครัวเรือนแล้วถูกใช้เพื่อ ประกอบพิธีกรรมการเลี้ยงผี อย่างไรก็ตามในส่วนการทำข้าวไร่ ชาวลัวะมีการเรียนรู้การทำนามาจากคนไทย ที่ มีการทำนาแบบขั้นบันไดและมีพื้นที่ทำไร่ข้าวอยู่รอบหมู่บ้าน การทำไร่ข้าวจะเป็นในลักษณะของการปลูกข้าว ระบบหมุนเวียนไปทุกปี ใช้เวลาประมาณ 7-10 ปี จึงจะครบรอบตามพื้นที่ที่หมู่บ้านเป็นเจ้าของ การทำไร่ข้าว จะทำในพื้นที่เดียวกันและหมุนเวียนไปพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการทำไร่ข้าวของชาวลัวะยัง มีความเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องการถือผี ที่เกิดขึ้นตั้งเเต่ขั้นตอนการเลือกพื้นที่ที่จะใช้ถางหญ้าเพื่อทำไร่ข้าว ไปจนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าว ในการเลือกพื้นที่ทำไร่ของชาวลัวะนั้น จะไม่มีการถางป่าที่เป็นป่าแก่หรือ ป่าปฐมภูมิ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ป่าแก่เป็นสถานที่ที่ผีป่าสิงสถิตอยู่ และต้องการอนุรักษ์ป่าแก่เหล่านี้ให้เป็น แหล่งต้นน้ำและแหล่งสร้างความร่มรื่นแก่คนในหมู่บ้าน รวมไปถึงอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแนวกันไฟป่า ดังนั้น หาก ผู้ใดทำการถางป่าแก่จะถูกปรับเงิน การทำไร่ของชาวลัวะมักทำในพื้นที่ป่าหนุ่มหรือป่าทุติยภูมิ นอกจากนี้ ชาวลัวะยังมีแนวทางการป้องกันไฟป่าที่เข้มงวด เนื่องจากหากไฟป่าเกิดขึ้นและลามไปยังพื้นที่อื่นจะทำให้ดิน เสียความอุดมสมบูรณ์และไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก การเผาไร่ของชาวลัวะจึงได้รับความร่วมมือในการ ควบคุมจากคนในหมู่บ้านเป็นอย่างดีทำให้การทำไร่ของชาวลัวะจะไม่แยกเป็นหลายพื้นที่ดังเช่นกลุ่มชาติพันธุ์ อื่น การทำไร่ของชาวลัวะมักเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเริ่มจากการที่คนในหมู่บ้านประชุมหารือเพื่อเลือก พื้นที่ในการทำการเกษตร หลังจากนั้น สมังและลำจะทำหน้าที่ในการนำดินตัวอย่างจากพื้นที่ดังกล่าวมาทำพิธี บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง พิธีนี้ชาวลัวะเรียกว่า “สะโป้ก” หลังจากนั้นจะนำไก่ตัวเมียสีแดงมาฆ่าเพื่อเป็นการเซ่น ไหว้ผีจำนวน 1 ตัว แล้วตรวจดูว่าดี (อวัยวะ) ของไก่ตัวนั้นมีลักษณะที่ดี คือ มีน้ำเต็มและเป็นประกาย หากมี


8 ลักษณะเป็นที่พอใจถือว่า พื้นที่แห่งนั้นสามารถทำไร่ได้โดยเริ่มต้นจากการให้สมังเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกพื้นที่ ของตนเองเป็นคนแรก รองลงมาคือ ลำ ผู้ช่วยลำ และชาวบ้านแต่ละครัวเรือนเป็นลำดับ เมื่อแต่ละครัวเรือน เลือกพื้นที่ของตนเองเรียบร้อยแล้วจะทำการสะโป้กพื้นที่ของตนเองเพื่อดูความเหมาะสมของพื้นที่ที่ตนเอง เลือก หากดีของไก่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจก็จะทำการแลกพื้นที่กับครัวเรือนอื่นแล้วการทำการสะโป้กอีกครั้ง จนกว่าจะได้พื้นที่ที่พอใจ ขั้นตอนต่อมา คือ การถางไร่และการเผาไร่ จะเริ่มในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม และใช้เวลา ประมาณ 2 สัปดาห์ เริ่มจากการถางป่า ตั้งแต่ตีนเขาไล่ขึ้นไปบนเขาแล้วเหลือต้นไม้บนแนวสันเขาไว้เป็นแนว กันไฟ ในส่วนของการตัดต้นไม้จะตัดเพียงต้นเล็กเท่านั้น ส่วนต้นใหญ่จะตัดเพียงกิ่งก้านเท่านั้น หลังจากนั้นจะ ปล่อยป่าทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนจึงจะทำการเผา วันเผาจะถูกกำหนดโดยผู้อาวุโสของหมู่บ้าน ก่อนจะเผาป่า นั้นจะมีพิธีกรรมการเซ่นไหว้ผีป่าเพื่อไม่ให้ไฟไหม้ลามไปยังพื้นที่อื่น หลังจากนั้นให้ชายหนุ่มจะเป็นผู้จุดไฟเผา จากบริเวณตีนเขาในตอนกลางวันเมื่อไฟไหม้พื้นที่จนหมดแล้วเจ้าของพื้นที่แต่ละที่จะทำการปักเฉลวไว้ในพื้นที่ ของตนเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเป็นการบอกให้ผีป่ารู้ว่าพื้นที่แห่งนี้มีเจ้าของแล้ว แล้วจึงโยนดอกไม้และ เมล็ดฝ้ายลงไปในพื้นที่ของตน หากพบว่ามีไม้ที่ไหม้ไม่หมดชาวลัวะจะทำการรวบรวมไม้เหล่านั้นมากองรวมกัน แล้วทำการเผาอีกรอบแล้วจึงสร้างกระต๊อบไว้ในพื้นที่ของตนเอง ชาวลัวะมีความเชื่อว่า การเผาป่าจะทำให้ดิน มีสารอาหารจากการสะสมของขี้เถ้า ยิ่งไปกว่านั้นไฟจะเป็นการกำจัดแมลงและวัชพืชเมื่อเตรียมพื้นที่ในการทำ ไร่พร้อมแล้วทั้งหมู่บ้านจะทำการเลี้ยงผีอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงเริ่มการทำไร่ข้าวด้วยการให้ชายหนุ่มนำไม้ไผ่ยาว ประมาณ 4-5 เมตร เหลาปลายจนแหลมมาจิ้มพื้นดินให้เป็นรู แล้วให้ผู้หญิง เด็ก และผู้สูงอายุหยิบเมล็ดข้าว ลงในหลุมตามหลังชายหนุ่ม หลังจากเสร็จกระบวนการปลูกข้าวแล้ว คนหนุ่มสาวจะเล่นสาดน้ำกันโดยมีความ เชื่อว่าจะทำให้ข้าวงอกงามดี นอกจากนี้ ชาวลัวะยังมีภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญในการตีมีด ที่พบใน ชุมชนชาวละเวือะ บ้านบ่อหลวง จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์นายบุญจันทร์ ต๊ะซู่ ชาวละเวือะ ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด ได้อธิบายถึงพัฒนาการการตีมีดว่า "ในอดีตการตีมีดจะใช้เตาดิน โดยเมื่อก่อนจะทำสูง มีสองชั้น เหมือนกับเตาอั้งโล่ แต่เวลาที่นำอันนี้เข้าใส่เหล็กมันจะอยู่ลุ่ม มีสองชั้น จะอยู่ข้างบน ขี้มันจะอยู่ข้างล่าง ข้างล่างเป็นเหล็กก้อนอย่างนี้ก้อนหินนั่นแหละ ตีจนเละ จากนั้นเอาออก ตอนนั้นตีกันเป็นกลุ่มเลย" ทั้งนี้ การตีมีดจึงเป็นอาชีพดั้งเดิม ตามวลีที่กล่าวว่า “ลัวะตีเหล็ก” สะท้อนให้เห็นว่า ในอดีตทุกหมู่บ้าน ประกอบอาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลักที่ชาวลัวะมีความชำนาญ ในยามว่างจะมีการขุดเหล็กที่บ่อ ซึ่งมีพิธีกรรมใน การเลี้ยงผีบ่อเหล็ก ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป ปัจจุบัน ผู้คนนิยมซื้อเครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่มาใช้งาน จึงไม่มีการ ตีมมีดหรือตีเหล็กอีกต่อไป ดังคำกล่าวของผู้ให้สัมภาษณ์ ที่ระบุว่า “สมัยนี้เขาไม่ตีเหล็กกันแล้ว ซื้ออย่างเดียว เสื้อผ้าที่ใช้สมัยนี้ก็ซื้อ เมื่อก่อนทอผ้าได้ สมัยนี้ไม่ทอแล้ว คนทอผ้าเก่ง ๆ สมัยนี้ก็หาไม่ได้แล้ว เมื่อก่อนก็มีการ เอาเหล็กที่ตีได้ไปแลกเสื้อผ้ามา ส่วนลัวะ/ละเวือะอมพายสมัยนี้เป็นช่างปั้นหม้อ สมัยก่อนเป็นหม้อดิน ขึ้นอยู่ กับบรรพบุรุษใครชำนาญด้านไหนก็จะสานต่อด้านนั้น ลัวะหรือ ละเวือะที่ตีเหล็กก็ฝึกจากปู่ย่าตายาย บรรพ บุรุษ เลียนแบบกันมา การตีเหล็กก็มีแบบเดียว”


9 4.2 การย้อมฝ้าย ทอผ้าฝีมือชาวลัวะ (ลเวือะ) การย้อมฝ้าย แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/0M3j8 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ทอตวน แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/0M3j8 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566


10 เย็บผ้าที่นำไปทอเสร็จแล้ว เพื่อให้ออกมาเป็นรูปร่างสามารถนำมาสวมใส่ได้ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/0M3j8 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ย่ามทอจากฝ้ายธรรมชาติ ทอด้วยหญิงสาวชาวลัวะ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/UNkvK สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 266


11 ซิ่น หรือ กระโปรงฝีมือชาวลัวะที่ทอด้วยมือ มีความประณีตและงดงาม แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/UNkvK สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 266 ผ้าทอตวนนี้ มีความงดงามลวดลายที่ไม่เหมือนใคร และมีความสำคัญกับชาวลวัะอย่างมาก แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/UNkvK สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ละว้า หรือ ลัวะ ชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท ที่ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่บนภูเขาโม ซัมเบียง ซึ่งปัจจุบันยังคงความ เป็นชาติพันธุ์บริสุทธิ์ที่นับถือเรื่องผี และมีชีวิตทุกแง่มุมผูกพันธ์อยู่กับตำนาน ความเชื่อ ทำให้วัฒนธรรมของลัวะ มีเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่เหมือนใคร โดยองค์ประกอบความเชื่อชิ้นสำคัญที่ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวลัวะ คือความเชื่อในเรื่อง 'งูเหลือม' ที่เสมือนสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ประจําชนเผ่า มี ความหมายสื่อถึง การรักษาไว้ขึงชีวิต ความเชื่อนี้ ถูกถ่ายทอดสู่ลวดลายสิ่งทอ ผ้าลายควน' ที่ถอดจากลวดลาย บนตัวงูเหลือม ซึ่งถือว่าเป็นลายโบราณ ที่ต้องใช้ทักษะชั้นสูงในการผลิต และเป็นลายประจำชนเผ่า ที่สมาชิก ทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจะต้องมีผ้าทอลายดวนคนละผืนห่อหุ้มกาย เปรียบเสมือนเครื่องรางปกป้องจากภยันตราย และต้องเก็บรักษาไว้อย่างดีจนกว่าร่างกายจะลาโลกไป ซึ่งเมื่อถึงวันสุดท้ายของชีวิต ผ้าควบ ผืนนี้ก็จะกลายมา เป็นผ้าคลุมร่างเพื่อคุ้มครองดวงวิญญาณไปยังภพภูมิข้างหน้า ความโดดเด่นอีกด้านหนึ่งของชาวลัวะคือการ แต่งกาย เสื้อผ้าของชาวลัวะมึความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ไม่เน้น ลวดลายหรือสีสันที่ฉูดฉาด แต่จะใส่ใจกับรายละเอียดเครื่องประดับแปลกตา ที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิคการร้อยลูกปัด และการถักเชือก


12 ชั้นสูง เช่น สร้อยลัวะสีสันสดใส หรือเรียกอีกอย่างว่า นเคไทลัวะ ตุ้มหูไหมพรมระย้าที่ยาวจนถึงไหล่ กำไลฝ่าย เป็นต้น 4.2 การทำเครื่องเงิน ตีมีด สร้อย กำไล และเครื่องประดับ ช่างทำเงิน แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/vDANZ สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 มีดหลูบเงิน แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/vDANZ สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566


13 เครื่องประดับที่ทำจากเงิน เช่น ตุ้มหู กำไลหรือสร้อยที่ใช้เชือกถักเม็ดเงิน แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/vDANZ สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ช่างที่ทำเครื่องเงิน มักจะเป็นชาวลัวะ ที่มีเทคนิควิธีการ ลวดลายเฉพาะตัว ชาวลัวะมักใช้ เครื่องประดับที่ทำจากเงิน เช่น ตุ้มหู กำไลหรือสร้อยที่ใช้เชือกถักเม็ดเงิน มีดหลูบเงิน เป็นต้น หมู่บ้านที่เป็น ช่างเงินนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านแปะ ตำบลปางหินฝน พ่อดวงตา วันจิตรพนา เล่าให้ฟังว่า ส่วนใหญ่จะทำ “ฮาง เมา” หรือสร้อย สร้อยที่ว่า คือ การร้อยเม็ดเงิน (เม็ดเงินที่คล้ายเงินพดด้วง) ซึ่งใช้สำหรับการรับขวัญเด็ก หรือ มอบให้เจ้าสาวในงานแต่งงาน เป็นต้น วิธีการทำเม็ดเงินสำหรับร้อยนั้น มักจะเป็นเงิน 92.5% (ผสมทองแดง เพื่อให้เงินแข็งขึ้น ขึ้นรูปได้ง่าย) แรกเริ่มนั้นก็นำเม็ดเงินมาหลอมในเบ้าหลอม โดยกะสัดส่วนผสมให้พอเหมาะ (ซึ่งสัดส่วนการผสมนี้ มักจะเป็นความลับ) เบ้าหลอมเป็นเบ้าหลอมดินเผา เมื่อเงินหลอมในเบ้าแล้ว ก็จะเป็น ก้อนขนาดที่ต้องการ แล้วจึงนำมาตึขึ้นรูป แล้วมาต้มในน้ำส้มป่อยเพื่อให้เงินเงางาม จากนั้นมีการตอกลาย เรียกว่า “ลายไข่ปลา” อันหมายถึงความร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ เพราะปลา 1 ตัว นั้นมีไข่ในท้องจำนวนมาก ชาวลัวะมักมีความสัมพันธ์กับปลา นอกจากจะใช้ปลาในพิธีกรรมแล้ว ยังมีการตอกรูปปลา ไว้ที่ก้นปลอกดาบ นอกจากทำเป็นเครื่องประดับสำหรับสวมใส่แล้วนั้น ช่างเงินบางคนสามารถนำไปไปทำเป็นอาชีพ หรือหา รายได้เสริมได้อีกด้วย 5. ระบบความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 5.1 ศาสนาและความเชื่อ ชาวลัวะนับถือศาสนาพุทธ ควบคู่กับการนับถือผีมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ชาวลัวะมีความเชื่อ ว่าชาติพันธุ์ของตนเองเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงในจังหวัดเชียงใหม่ และเชื่อว่าเสาอินทขิลเป็นที่สิงสถิตของ ผี บรรพบุรุษชาวลัวะ ในเวลาต่อมาชาวลัวะถูกไล่ขึ้นไปอยู่บนเขา ซึ่งทำให้ชาวลัวะห่างไกลจากพุทธศาสนา เนื่องจากบนเขาไม่มีวัดและพระสงฆ์ ส่งผลให้ความเชื่อและการนับถือศาสนาพุทธของชาวลัวะลดลงและหันมา นับถือผีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีชาวลัวะจำนวนมากที่ยังคงนับถือศาสนาพุทธและมีการบูชาพระชื่อ ดังมาห้อยคอเพื่อความเป็นสิริมงคล ในส่วนของการนับถือผี ชาวลัวะมีความเชื่อว่า ทุกสถานที่มีผีสิงสถิตอยู่ เช่น ผีบ้านผีเรือน ผีฟ้า ผีภูเขา ผีเข้าประตูหมู่บ้าน เป็นต้น ผีเหล่านี้มีทั้งผีดีและผีร้าย ในบางครั้งอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุร้ายในหมู่บ้านหรือทำให้คนในหมู่บ้านเจ็บป่วย ชาวลัวะมีการติดต่อกับผีผ่านการเซ่นไหว้


14 ด้วยการฆ่าสัตว์แล้วตัดชิ้นส่วนต่างๆ ให้ผีตามความชอบของผีแต่ละประเภท สัตว์ที่นิยมนำมาเซ่นไหว้ผีมีหลาย ประเภท เช่น วัว กระบือ สุนัข ไก่ เป็นต้น การเซ่นไหว้ผีจะทำพิธีกรรมโดยสมังและลำ หรือผู้มีอาคมของ หมู่บ้าน นอกจากนี้ชาวลัวะยังมีการถือผีเสื้อบ้าน (ผีหมู่บ้าน) การส่งเคราะห์ การผูกด้ายข้อมือถือขวัญ เวลา เจ็บป่วยจะใช้ยารากไม้ สมุนไพร เสกเป่า และทำพิธีฆ่าไก่เซ่นผี หากเสียชีวิตจะทำพิธีเช่นเดียวกับชาวเหนือ มี พระสงฆ์บังสุกุล นำศพไปป่าช้า เพื่อฝังมากกว่าการเผา หากเสียชีวิตอย่างผิดธรรมดาจะทำการเผา ในส่วน สถานที่ที่ชาวลัวะถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มักเป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมการเลี้ยงผี โดยมีความ เชื่อว่า หากมีผู้ใดที่เข้าไปกระทำการใด ๆ ที่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณดังกล่าวจะส่งผล ให้ชุมชนเกิดสิ่งเลวร้ายตามมา เช่น ภัยพิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ การทำมาหากินติดขัด เป็นต้น สถานที่เลี้ยงผีหลัก เมืองในบริเวณหมู่บ้านจะมีศาลาเลี้ยงผีที่เรียกว่า “เหยือะยงู” มีเสาสะกังตั้งไว้ด้านหน้า ต่างจากสถานที่เลี้ยงผี อื่น ๆ ที่ไม่มีศาลา จะตั้งอยู่บริเวณขอบนอกของหมู่บ้าน โดยจะมีศาลาเล็ก ที่เรียกว่า “เฉลว” อยู่บริเวณต้นไม้ ที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในบ้านของชาวลัวะจะถูกแบ่งแยกเป็นห้อง ภายในห้องจะมีเตาไฟ สำหรับหุงอาหารและเตาไฟสำหรับเลี้ยงผีสะมัง นอกจากนี้ ชาวลัวะยังมีความเชื่อเรื่องขวัญหรือวิญญาณ เช่นเดียวกับความเชื่อของคนไทย ที่เชื่อว่า แต่ละคนจะประกอบไปด้วย 32 ขวัญ หากขวัญใดขวัญหนึ่งออก จากตัวไปจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยต้องทำพิธีเรียกขวัญด้วยการผูกข้อมือด้วยด้ายสีขาว การนับวันเดือนปีของ ชาวลัวะแตกต่างจากชาวเหนือและไทยภาคกลาง กล่าวคือ เดือน 4 ของลัวะเป็นเดือน 5 ของไทย และ นอกจากนี้ ยังมีชาวลัวะที่นับถือศาสนาอื่น พบในหมู่บ้านชาวลัวะจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีผู้คนนับถือศาสนา คริสต์จำนวนมาก ตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป หมู่บ้านดังกล่าวมีผู้นำทางศาสนาคริสต์ ประมาณ 6 คน โดยจำนวน ผู้นำทางศาสนาขึ้นอยู่กับจำนวนผู้นับถือศาสนา ผู้นำทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการแบ่งหน้าที่เพื่อบริการ ทางศาสนาให้กับสมาชิกและดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามคัมภีร์ของพระเยซู ดังเช่นกรณีตัวอย่างของลัวะที่บ้านละ อุบ ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ มีผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นบุคคลสำคัญและเป็นที่ยอมรับนับถือ ของชาวคริสต์ในหมู่บ้าน จำนวน 6 คน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้อวยพรให้กับคู่บ่าวสาว และเป็นผู้นำใน การประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ในทุกวันอาทิตย์ 5.2 ประเพณี เทศกาล และพิธีกรรม พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีของชาวลัวะ ได้แก่ พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีเลี้ยงผีเรือน พิธีเลี้ยงผีฟ้าผ่า พิธีเลี้ยงผี บรรพบุรุษ พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก พิธีสำหรับการเฉลิมฉลองและขอบคุณผีเจ้าที่สำหรับผลผลิต การตั้งครรภ์ และคลอดบุตร พิธีเลี้ยงผี เพื่อบอกกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่ ประเพณีด้านการแต่งงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้


15 5.2.1 พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน หรือ โนกควายเนิอมหรือโนกสปัยซ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/l0WoZ สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน หรือ “โนกควายเนิอมหรือโนกสปัยซ” ในการเลี้ยงผีหมู่บ้านจะใช้เวลา 4-5 ปี หรือ มากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของหมู่บ้าน การเลี้ยงผีหมู่บ้านมีเป้าหมายสำคัญในการปกป้องดูแลคนใน หมู่บ้านและช่วยให้ทำไร่ทำนาได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ การเลี้ยงผีประจำหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 3 วัน คือ 1) วันดา เป็นวันที่เตรียมของสำหรับทำพิธี 2) วันเลี้ยงผี นำควายไปผูกไว้ที่เสาสะกังใช้หอกแทงควายจนตายนำเลือด ควายและชิ้นส่วนต่าง ๆ อย่างละน้อยบูชาที่เสา มีการตีกลองประกอบตลอดตั้งแต่เริ่มจนเสร็จพิธี ในวันงานพิธี เลี้ยงผีเสื้อบ้าน (ผีหมู่บ้าน) จะทำซุ้มประตูสานไม้เป็นรูปรัศมี 8 เฉก ติดไว้เพื่อห้ามไม่ให้คนต่างถิ่นเข้าสู่หมู่บ้าน เครื่องหมายนี้ชาวภาคเหนือเรียกว่า "ตะแหลว" ซึ่งคนไทยภาคกลางเรียก "เฉลว" จะปิดบ้านทำพิธีเลี้ยงผีเสื้อ บ้าน 1 วัน ถ้าเดินทางไปพบเครื่องหมายเฉลวนี้แล้ว ต้องหยุดอยู่ มีธุระอะไรก็ตะโกนเรียกชาวบ้านให้ไปดูกันที่ ตรงนั้น เช่น ขอดื่มน้ำหรือเดินหลงทางมา ถ้าขืนเดินล่วงล้ำเขตหมู่บ้านของเขาก็จะถูกปรับเป็นเงิน 5 บาท ถ้า ไม่ยอมให้ปรับเขาบังคับให้ค้างแรม 1 คืน เวลาเกิดโรคสัตว์ระบาดหรือไข้ทรพิษเกิดขึ้นแก่คนภายในหมู่บ้าน แล้ว ก็จะปิดเฉลวหรือเครื่องหมายห้ามเข้าหมู่บ้านเช่นเดียวกันและ 3) วันส่งเคราะห์ (เตาสะอาง) หลังจาก เลี้ยงผีหมู่บ้านแล้วส่งเคราะห์โดยใช้หมาดำและลูกหมูรวมทั้งกระทงส่งเคราะห์จากทุกบ้าน ขั้นตอนสุดท้ายใน การส่งเคราะห์จะนำหมาดำลอดใต้ศาลาผี คนในหมู่บ้านสาดน้ำไล่เคราะห์ และยิงปืน จุดประทัด โห่ร้อง แสดง ความยินดีที่สิ่งไม่ดีทั้งหลายออกไปจากหมู่บ้าน


16 5.2.2 พิธีเลี้ยงผีเรือน พิธีเลี้ยงผีเรือน หรือ โนกซะมา แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/8oQb7 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 พิธีเลี้ยงผีเรือน หรือ “โนกซะมา” การเลี้ยงผีเรือน มักจัดขึ้นในช่วงที่ลูกหลานในครอบครัวอยู่กัน พร้อมหน้าการเลี้ยงเพื่อให้ผีบ้านผีเรือนดูแลปกป้องคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งช่วยให้ทำการเกษตรได้ ดี ในการเลี้ยงโนกชะมานี้จะเลี้ยงผีโชซึ่งอยู่ในห้องนอนไปพร้อมกัน การทำพิธีจะจัดขึ้น 2 วัน คือ 1 วันดา ก็คือ วันเตรียมงาน ที่จะมีการเตรียมใบตองป่าไม้ไผ่และปลาเพื่อใช้เลี้ยงผีในวันรุ่งขึ้น และ 2 วันเลี้ยงผี ที่คนหนุ่ม ต้องออกไปหาต้นละโยะมาเปลี่ยนต้นเดิม และประดับตกแต่งด้วยใบตองที่สาวเป็นผู้ประดิษฐ์ตามประเพณีเดิม 5.2.3 พิธีเลี้ยงผีฟ้าผ่า เมื่อเกิดฟ้าผ่าบริเวณใดของหมู่บ้าน เช่น ที่นา ที่ไร่ ชาวลัวะจะไม่ไปบริเวณนั้นจนกว่าจะขึ้นวันใหม่ เพราะเชื่อว่า เศษไม้ที่เกิดจากฟ้าผ่า หากโดนเท้าจะทำให้เท้าแตกเมื่อขึ้นวันใหม่ชาวบ้านจะเลี้ยงผีฟ้าผ่าทั้ง หมู่บ้าน ยกเว้นผู้ชายที่มีภรรยาตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ร่วมพิธีจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อสีดำและทุกคนต้องทาหน้าด้วย เขม่าไฟจนดำ เมื่อผู้ทำพิธีพูดหรือสวดมนต์ติดต่อกับผี ผู้ที่เข้าร่วมพิธีจะต้องหัวเราะส่งเสียงดัง


17 5.2.3 พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ การเตรียมของเลี้ยงในพิธี เพื่อบอกกล่าวแก่ผีละมาง หรือผีบรรพบุรุษ ที่มา : https://shorturl.asia/8oQb7 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 การเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาติพันธุ์ลัวะในเมืองน่านมีความคล้ายคลึงกับการเลี้ยงผีบรรพบุรุษของกลุ่ม ชาติพันธุ์ลัวะในเมืองเชียงใหม่ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทพื้นราบ การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ มีเป้าหมายเพื่อระลึกถึงปู่ย่า ตายาย เป็นพิธีกรรมในระดับครัวเรือนและสายตระกูล ส่วนใหญ่เป็นการบอกกล่าวให้ผีบรรพบุรุษได้ช่วย ปกป้องรักษาลูกหลานให้อยู่ดีกินดี ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ ช่วงเวลาเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่จัดขึ้นใน ช่วงเวลาสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่เมืองเมื่อลูกหลานอยู่กันพร้อมหน้าจะเลี้ยงผีบรรพบุรุษด้วย ของเซ่นไหว้ คือ ไก่ต้ม เหล้า พร้อมสรวยดอกไม้ (กรวยดอกไม้ ออกเสียงตามกลุ่มชาติพันธุ์ว่า สรวยดอกไม้) เทียน ส่วนพิธีกรรมการเลี้ยงผีบรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในเมืองเชียงใหม่ ยังคงสืบทอดกันอย่าง เคร่งครัด ดังเช่นกรณีบ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด มีพิธีเลี้ยงผีละมาง ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ โดย ความเชื่อเรื่องผีละมางต้องทำพิธีเลี้ยงทุกปี การเลี้ยงผีละมาง ต้องเลี้ยงด้วยควาย ในช่วงออกพรรษา โอกาสใน การเลี้ยงจะเกิดขึ้นเมื่อมีความผิดปกติในครอบครัวลูกหลานที่มีอาการเจ็บป่วยจึงต้องทำพิธีดูเมื่อ (ลงทรง) จากนั้นเจ้าทรงจะบอกให้ลูกหลานทำพิธีเลี้ยงควายหนึ่งตัว ครอบครัวนั้นจะต้องจัดพิธีเลี้ยง เพื่อให้ลูกหลาน หายจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งคนในหมู่บ้านยืนยันว่า ทางการแพทย์ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ การเลี้ยงผีละมาง จะทำพิธีของแต่ละครอบครัว หากจัดเลี้ยงร่วมกันเป็นตระกูล ก็จะเรียกคนทั้งตระกูลมาทำพิธีด้วยกัน พิธีเลี้ยง ผีบรรพบุรุษที่บ้านมืดหลอง ตำบลทับ อำเภอแม่แจ่ม เป็นงานประจำปี เรียกว่า การตานไปหา คล้ายคลึงกับ การอุทิศส่วนกุศล จัดขึ้นในเวลาที่ตานข้าวใหม่ช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะเลี้ยงเพื่ออุทิศให้พ่อแม่ บรรพ บุรุษผู้ล่วงลับโดยจัดเลี้ยงที่ศาลาข้างเสาสะกาง หรือที่เรีกว่า หยู ทุกหลังคาเรือน โดยถือว่าหยูเป็นที่สถิตของ วิญญาณหรือผีของกลุ่มตระกูล เยืองมะพลอง บ้านมืดหลอง ส่วนความเชื่อเรื่อง การเลี้ยงผี เพื่อระลึกถึงผู้ตาย เช่น ตายครบเวลา 1 เดือน ต้องเลี้ยงไก่ที่ไหนก็ได้ เช่น เลี้ยงหน้าบ้าน เลี้ยงในบ้าน เลี้ยงที่หยู และฆ่าลูกหมูตัว ผู้ 1 ตัว สำหรับเลี้ยงผี หลังจากนั้นเป็นหมูตัวแม่ 1 ตัว ถ้ามีฐานะสามารถฆ่าควายเพื่อเลี้ยงหรือทำบุญอุทิศส่วน


18 กุศลไปให้ เมื่อเสร็จพิธีลูกหลานสามารถนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมากินร่วมกันได้ หลังจากนั้น การเลี้ยงผีในครั้ง ต่อไป ขึ้นอยู่กับการกำหนดของเจ้าภาพ อาจจะครบรอบ 100 วัน หรือครบรอบ 2-3 เดือน ส่วนการเดินทาง ของคนในหมู่บ้าน หากต้องออกไปจากหมู่บ้านให้บอกกล่าวกับผีบนที่อยู่ในป่าอนุรักษ์ ให้ผีคุ้มครองเพื่อให้ ลูกหลานเดินทางปลอดภัย ผู้บอกกล่าวต้องนำสรวยดอกไม้ไปบอกกล่าว คล้ายกับหน้าที่ของผีบรรพบุรุษที่ คุ้มครอง โดยสรุปแล้ว ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษยังคงดำรงอยู่กับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่จะมีความแตกต่างกัน ในรายละเอียดในการทำพิธีเลี้ยง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้คุ้มครอง และแสดงความขอบคุณ การนับถือผีบรรพ บุรุษทำให้เกิดความเชื่อเรื่องระบบการดูแลสมาชิกในสายตระกูลให้ประพฤติดี หากทำผิดแล้วจะถูกผีบรรพ บุรุษลงโทษ ทำให้ผู้อาวุโสในตระกูลมีอาการเจ็บป่วย ต้องมีการถามเพื่อให้รับรู้สาเหตุของการเจ็บป่วย ลูกหลานที่กระทำผิดจะเป็นที่รับรู้ของทุกคนในตระกูล ต้องทำพิธีเลี้ยงผีเพื่อขอขมา ความเชื่อเรื่องหมอเมื่อ เป็นการสนับสนุนผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นระบบควบคุมคนในตระกูลให้มีความเกรงกลัวการกระทำผิด และสามารถ อยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 5.2.4 พิธีกรรมเลี้ยงผีบ่อเหล็ก เลี้ยงผีบ่อเหล็ก พิธีกรรมโบราณของ ลัวะทำเหล็กบ้านบ่อหลวง ที่มา : https://shorturl.asia/9pMBL สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 พิธีกรรมนี้เกิดขึ้นในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2562 ชุมชนชาวลัวะ บ้านบ่อหลวง ต.บ่อสลี อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ได้จัดพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ หรือ ศาลเจ้าบ่อเหล็ก ณ บ้านแม่โถ ต.บ่อสลี นักโบราณ วรรณคดี ชี้ว่า ในอดีตบริเวณนี้พบร่องรอยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุเก่าแก่มากกว่า 1500 ปี ที่มีการ ขุดแร่เหล็ก เพื่อหลอมแร่ให้เป็นเหล็กสำหรับทำเป็นเครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ เสียม มีดดาบ อาวุธในการ ประกอบพิธีกรรมการเลี้ยงผี ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องสักการะ อาหาร ผลไม้ หมากพลู น้ำส้ม น้ำแดง และวัว ตัวผู้ที่มีลักษณะสวยงาม 1 ตัว ไก่ 1 คู่ เพื่อเซ่นไหว้ ถวายให้กับเจ้าพ่อแสนเมืองหรือที่เรียกกันติดปากว่า เจ้า บ่อเหล็ก ชาวลัวะจะทำการเลี้ยงศาลเจ้าพ่อแห่งนี้ 3 ปี 1 ครั้ง ในการเลี้ยงผีนั้น เป็นการเลี้ยงผีด้วยวัวสามปี


19 หนึ่งครั้ง และเลี้ยงด้วยไก่เป็นประจำทุกปี ในพิธีกรรมเลี้ยงผีจะมีการระดมทุนจากผู้คนในชุมชนโดยการเก็บเงิน คนละสิบบาทในทุกตำบลเพื่อนำไปเลี้ยงผีที่บ้านโถ ในอดีตจะมีการระดมบ้านละสองบาท ปัจจุบันเก็บร้อยสอง ร้อยขึ้นอยู่กับพิธี ตอนเลี้ยงก็มีคนเฒ่าคนแก่ประมาณสี่-ห้าคน ส่วนการเลี้ยงผีโดงก็จะเก็บทุกบ้าน หากเป็นการ เลี้ยงผีบ้านจะจัดเก็บเฉพาะในเครือญาติ ทั้งนี้ ในพื้นที่บ้านโถเป็นหมู่บ้านที่มีพิธีกรรมการเลี้ยงผีมายาวนาน และนิยมเลี้ยงผีในช่วงหน้าฝน ประมาณเดือนเก้า ความแตกต่างระหว่างการเลี้ยงผีบ่อเหล็กอดีตกับปัจจุบัน ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า "คนสมัยก่อนนี่พิถีพิถันเรื่องพิธีกรรมเลี้ยงผีมาก สมัยนี้ไม่ค่อยพิถีพิถัน ขั้นตอนนี่อยู่ที่บ่อ ไปเอาที่บ่อก่อนในตอนแรก คนจะตีเหล็กจะมีเตา แบกเหล็กไป เอาก๋วย(ตะกร้า) ไปหาบ ผีมีการเลี้ยงปีละครั้ง สมัยก่อนคนเชื่อเรื่องผีบ่อเหล็ก เลี้ยงกับเกือบจะทุกบ้าน สมัยนี้เลี้ยงกันสามปีครั้ง ใช้ไก่ใช้หมู ยังคงเก็บเงินทุก หลังคา เลี้ยงช่วงประมาณเดือนแปด เดือนเก้า ถ้าเลี้ยงไม่ทันเดือนแปดก็จะเลี้ยงเดือนเก้า ก่อนจะเลี้ยงจะสร้าง เป็นหอไว้ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย สร้างไว้ที่บ่อ ไปนอนสองคืนก่อนเลี้ยง เอาวัวไปมัดที่นั่น คนก็จะร้องเรียกผี ทั้งหลายมาว่าวันพรุ่งนี้จะเลี้ยงนะมาดูวัวที่มัดตรงนี้สิ ร้องขอให้อยู่ดีมีสุข พิธีจะเริ่มช่วงเช้า ถึงช่วงเที่ยงช่วง บ่าย เลี้ยงผีบ่อเหล็กใช้วัวหนึ่งตัว ฆ่าวัวที่นั่นเลย ถ้าหากไม่เลี้ยงก็จะไม่ดี ถึงเวลาเลี้ยงก็ต้องเลี้ยง ไม่อย่างนั้นจะ มีอาถรรพ์ จะไปขุดบ่อขุดดินก็ไม่ได้ จะทำอะไรก็ไม่ดี จะเจ็บไข้ ปีที่แล้วก็มีเลี้ยง ครบรอบสามปีพอดี มีการเก็บ เงินอยู่” 5.3 ประเพณี เทศกาลและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต 5.3.1 การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร จากวิถีการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายในการพึ่งพิงธรรมชาติ ผู้หญิงชาติพันธุ์ลัวะที่ตั้งครรภ์ยังทำงานบ้าน และงานในภาคการเกษตรตามปกติจนกระทั่งใกล้คลอด ด้วยความเชื่อว่า การทำงานเพื่อให้คลอดลูกง่าย ใน การทำคลอดอาศัยแม่ฮับ (หมอตำแย) ประจำหมู่บ้านเป็นผู้ทำคลอดให้แม่ลูกปลอดภัย ส่วนการปกป้อง คุ้มครองด้านจิตใจ มีหมอผีมาทำพิธีบอกกล่าวผีเพื่อให้การคลอดดำเนินไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย ไม่มีสิ่งชั่ว ร้ายมารบกวน ร่วมกับการช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยของญาติพี่น้องและสมาชิกในหมู่บ้านที่คอยเป็นกำลังใจให้ การทำคลอดของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ บ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม ทารกทุกคนจะคลอดบนเรือนมีแม่ช่าง (ออก เสียงแม่จ้าง) หรือหมอตำแยช่วยทำคลอด ทุกขั้นตอนในการทำคลอดจะใช้วิธีธรรมชาติ หญิงมีครรภ์จะดึงหรือ โหนกับผ้าที่ผูกโยงกับขื่อ อยู่ในท่ายืนเข่าเพื่อให้เด็กคลอดออกมาตามธรรมชาติ การตัดสายสะดือเด็กใช้ผิวไม้ ไผ่ ประเภทไม้ซาง สายสะดือขุดหลุมฝังไว้ใต้ถุนบ้าน รอบบริเวณนั้นใช้ไม้ไผ่เสียบล้อมให้ดูสวยงาม จะเห็นว่า ขั้นตอนในการทำคลอดในอดีตต้องพึ่งพาหมอในหมู่บ้านที่มีประสบการณ์ด้านการทำคลอด ส่วนพิธีกรรมด้าน ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่เพื่อให้ทารกและครอบครัวมีความอยู่ดีมีสุข จะนำทารกไปใส่ในกระด้งที่ รองด้วยผ้าหนานุ่มแล้วอุ้มไปที่ประตูเรือน เพื่อทำพิธีโดยพูดว่า “หากเป็นลูกผีก็ขอให้ผีเอาไป หากไม่เป็นลูกผี เป็นลูกคนก็จะขอเลี้ยงไว้ และห้ามผีมารบกวนอีก” พูดประมาณ 2-3 ครั้ง จากนั้นนำเด็กกลับเข้ามาในเรือน พิธีกรรมดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่เชื่อเรื่องพ่อเกิดแม่เกิด จากนั้นผู้อาวุโส และเครือญาติจะดูแลทารกเพื่อสร้างความรักความอบอุ่นให้เกิดขึ้น รวมถึงกล่าวขอบคุณผีบรรพบุรุษ และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ที่ช่วยให้การทำคลอดปลอดภัยทั้งแม่และทารก สำหรับผู้ที่มาช่วยทำคลอด ทั้งแม่ฮับ หมอผี ผู้เฒ่าผู้ แก่ หรือแม้แต่ญาติพี่น้องที่มาร่วมยินดี ทางครอบครัวจะเตรียมเหล้า ไก่ต้มตามฐานะ เพื่อให้เป็นมงคลแก่เด็ก


20 การคลอดทารกจึงถือเป็นวันแห่งความยินดีของพ่อแม่และญาติพี่น้องที่ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว จึง ได้จัดให้มีการฉลองทั้งการดื่มเหล้า รับประทานอาหารที่ทางครอบครัวจัดเตรียมไว้สำหรับการขอบคุณจึงถือ เป็นการเสร็จพิธีการคลอด การดูแลหลังคลอด กรณีบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดให้ แม่หลังคลอด อยู่ไฟ 3 คืน โดยใช้เสื่อล้อมเป็นวงไว้ ใช้ไม้วางเป็นที่นั่ง เผาก้อนหินขนาดย่อม ๆ ให้แดง แม่ที่อยู่ ไฟนั่งอยู่ใกล้หิน จะคอยเอาน้ำลวกก้อนหินให้เกิดความร้อนและควันลอยขึ้นมาโดนลำตัว นำใบไม้ชื่อ “ใบลอย โตย” ลักษณะคล้ายใบเป้าของคนพื้นราบมาเผาสำหรับรองที่นั่งให้เกิดความร้อน เพื่อขับน้ำคาวปลา ใช้เวลา ทำ 3 วัน วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น อาหารที่หญิงอยู่ไฟสามารถรับประทานได้ เช่น ข้าวกับเกลือ เป็นระยะเวลา 3 วัน โดยไม่รับประทานอาหารประเภทอื่น นอกจากนี้จะต้องดื่มน้ำร้อน จึงเรียกว่าอยู่ไฟ หลังจากครบกำหนด 3 วัน จึงจะสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้ตามปกติ พิธีเลี้ยงผี เพื่อบอกกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่ กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จะต้องทำ พิธีเลี้ยงผีเพื่อบอกกล่าวต้อนรับสมาชิกใหม่ ภายหลังจากการคลอดทารกจะต้องทำพิธีเลี้ยงผี ที่ต้องนำหมูตัวผู้ 1 ตัว ไปเลี้ยงผีที่ศาลาสามแยกหน้าหมู่บ้าน หรือ หยู จากนั้นให้เลี้ยงผีเรือน ให้ครบทั้ง 2 แห่ง เพื่อผีในเรือนจะ ได้รู้ว่าครอบครัวมีสมาชิกใหม่ หากเลี้ยงผีไม่ครบลูกจะงอแง ตามปกติของคนลัวะที่ถือผีตามฝ่ายชาย จะมีความ ยินดีหากได้ลูกชายเนื่องจากลูกชายต้องกลับมาอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวได้สูญหายไป จากสังคมลัวะ 5.3.2 การแต่งงานและการหย่าร้าง กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะวัยหนุ่มสาวที่มีอายุ 15-20 ปี เป็นช่วงวัยที่ต้องแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวและ ช่วยกันทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวมีโอกาสพบปะกันตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งการเอามื้อเอาแรงในไร่ข้าว ในชุมชน หรือต่างชุมชนที่ฝ่ายชายมักเดินทางเพื่อหาโอกาสพบปะกับผู้หญิงที่เหมาะสมจะเป็นคู่ครอง การคบหากันของ หนุ่มสาวอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ในสายตระกูลเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการแต่งงานในตระกูลเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อ ห้ามที่เคร่งครัด หากละเมิดอาจส่งผลถึงอนาคตของคู่แต่งงาน ลูกหลาน ไปจนถึงการล่มสลายของตระกูล ด้วย การให้เหตุผลเรื่องความไม่เหมาะสมอาจทำให้ผีบรรพบุรุษทำให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตาย การสืบสายตระกูล หากหนุ่มสาวรับรู้ว่าอยู่ในตระกูลเดียวกันจะต้องเลิกร้างจากกัน โดยข้อห้ามที่เคร่งครัดนี้อาจอธิบายได้ว่าเป็น การป้องกันปัญหาภาวะเลือดชิด เนื่องจากประสบการณ์ที่เกิดในรุ่นลูกมีสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย ในการ แต่งงานในกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะบ้านมืดหลอง เชียงใหม่ มีความเชื่อว่าญาติพี่น้องไม่สามารถแต่งงานกันได้ การสืบ เชื้อสะมางจึงถูกนำมาเป็นข้อกำหนดในการเต่งการที่ไม่อนุญาติให้ผู้ที่อยู่ในเชื้อสายสะมางเดียวกันแต่งงาน ภายในหมู่บ้านเดียวกันได้ แต่สามารถแต่งงานกับคนกลุ่มอื่นได้ เพราะถือว่าสะมางกับสะมางถือเป็นญาติ เดียวกันแต่งงานกันไม่ได้ การฝ่าฝืนแต่งงานกับเชื้อสายเดียวกันจะทำให้เกิดความยากลำบากในอนาคตอีกทั้ง การไม่ยอมรับของคนในชุมชนเดียวกันในเครือญาติ และลูกที่เกิดมาอาจถูกรังเกียจ และป่วยไข้จากผีทำให้ป่วย เป็นต้น การรับรู้ว่าเป็นเชื้อสายสะมาง เด็กจะรับรู้ด้วยตนเองเนื่องจากเลี้ยงผีตัวเดียวต้องเห็นหน้ากันทั้งบ้าน 25 หลังคาเรือน ทั้งนี้ เชื้อสายสะมางต่างหมู่บ้านยังสามารถแต่งงานกันได้ ส่วนชาวลัวะบ้านบ่อหลวง มีความ เชื่อว่าตระกูลขุนแก้ว และสุนันตา เป็นตระกูลขุนที่ห้ามแต่งงานกันโดยเด็ดขาด หากผิดจารีตจะส่งผลให้ลูกที่


21 เกิดมาผิดปกติ ส่วนการแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น คนลัวะและคนเสี้ยม หมายถึง คนเมือง และคนไทย คนเสี้ยมจะต้องเลี้ยงผีตามครอบครัว 5.3.3 พิธีกรรมการแต่งงาน พิธีกรรมการแต่งงาน ชุมชนตำบลบ่อหลวง แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/syDnB สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 ลัวะมีระบบการแต่งงานแบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝ่ายหญิงจะเข้าไปอยู่บ้านฝ่ายชายและนับถือผีบรรพ บุรุษของฝ่ายชาย บุตรที่เกิดมาในสายเครือญาติในฝ่ายพ่อในครัวเรือนหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปประกอบไปด้วย สามี ภรรยา บุตร บุตรชายคนโตต้องออกไปสร้างบ้านใหม่เมื่อแต่งงานบุตรชายคนสุดท้ายจะเป็นผู้ที่ได้รับมรดกและ เลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิต การแต่งงานของหนุ่มสาวกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ เป็นเรื่องที่สร้างความยินดีให้แก่ครอบครัว และชุมชน หากหญิงชายรักใคร่ชอบพอกันจะแจ้งให้ญาติพี่น้องได้รับรู้ เพื่อทำการเจรจาสู่ขอ และเตรียมจัด พิธีกรรมต่อไป การแต่งงานถือเป็นการสร้างครอบครัวใหม่ ต้องบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องเพื่อให้ยอมรับสมาชิก ใหม่และร่วมแสดงความยินดี รวมทั้งการเลี้ยงเพื่อบอกกล่าวผีบรรพบุรุษให้รับรู้เพื่อคุ้มครองสมาชิกใหม่ การ แต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะเชียงใหม่ กรณีบ้านมืดหลองนั้น ฝ่ายชายต้องไปสู่ขอฝ่ายหญิง โดยพาผู้ใหญ่ฝ่าย ชายจำนวน 2 คน ไปคุยกับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่ากำหนดวันแต่งงานกัน พร้อมนำสร้อยไปมอบให้ฝ่ายหญิง เมื่อตก ลงวันได้แล้วให้นำเงินเจียง เงินแถบไปสู่ขอตามจารีตที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การเตรียมเงินค่าสินสอด เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติ แต่ฝ่ายหญิงจะไม่เรียกร้อง การให้สินสอดจึงขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของฝ่ายชาย เมื่อพูดคุย ตกลงเรื่องการแต่งงานที่บ้านฝ่ายหญิงแล้ว ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายที่ไปบ้านฝ่ายหญิงเพื่อสู่ขอต้องถามทางฝ่ายหญิง เกี่ยวกับข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องเตรียมสำหรับพิธีแต่งงาน เช่น ฝ่ายหญิงแจ้งฝ่ายชายในการเตรียมเสื้อผ้า ถุง ย่าม ผ้าขาวม้า ก่อนจัดงานฝ่ายชายต้องเตรียมขันไปสมา (ขอขมา) ทางพี่น้องฝ่ายหญิง พร้อมเตรียมผ้า ประเภทต่าง ๆ ตามที่ฝ่ายหญิงขอให้ครบทุกรายการนำมามอบให้ฝ่ายหญิงทั้งหมด และต้องนอนค้างที่บ้าน ผู้หญิง 1 คืน รุ่งเช้าพาตัวเจ้าสาวกลับมาเพื่อจัดงานที่บ้านฝ่ายชาย การแต่งงานของชาวลัวะเชียงใหม่เป็นการ แต่งงานเข้าบ้านฝ่ายชาย พิธีเลี้ยงผีจัดขึ้นเมื่อฝ่ายหญิงอยู่ในเรือนครบ 1 สัปดาห์ เมื่อทำพิธีเลี้ยงผีเรือนจนครบ ทั้งหมดจะทำพิธีมัดมือ พร้อมบอกกล่าวว่าผู้หญิงคนนี้มาเป็นลูกสาว ให้ผีช่วยปกป้องคุ้มครองเหมือนสมาชิกใน ครอบครัว การเลี้ยงและบอกกล่าวผีต้องทำเพื่อให้อยู่ดีมีสุข หากไม่บอกกล่าวผีเรือนจะไม่รู้จักและไม่ปกปัก


22 รักษา เช่นเดียวกับการแต่งงานของชาวลัวะที่บ้านบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่แต่งงานเข้าบ้านฝ่ายชาย จึงต้อง จัดเตรียมสินสอดตามจารีต ประกอบด้วยเงินแถบหรือเงินรูปีร้อยเป็นพวง เงินเจียง 1 อัน เป็นเครื่องประกอบ พิธีกรรม ปัจจุบันหากไม่มีเงินเจียง ต้องไปยืมจากผู้ที่มีเพื่อนำมาประกอบในพิธีกรรม เมื่อทำพิธีแต่งงานแล้ว เสร็จ จึงจะนำไปคืนให้เจ้าของ เนื่องจากเงินเจียงเป็นของหายากมีราคาสูง ส่วนพิธีกรรมการเลี้ยงผีในงานแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ บ้านเมืองก๊ะ หากเรือนหลังใดจัดงาน แต่งงาน จะปิดเรือนเพื่อทำพิธีเลี้ยงผีลัวะในสายตระกูลของตนเอง ด้วยการนำเอาหมูรุ่นตัวเมียสีดำมาฆ่า โดย นำไม้แหลมแทงที่คอ แล้วนำมาโยงเซ่นผีที่หิ้งบนเรือนพร้อมข้าวตอกดอกไม้ เชื่อว่าผีจะกินของเลี้ยงประมาณ 30 นาที หรือประมาณเวลาที่ธูปไหม้หมดดอก ระหว่างพิธีกรรมเลี้ยงผี จะอนุญาตให้เข้าร่วมได้เฉพาะผู้ที่นับถือ ผีสายตระกูลเดียวกันเท่านั้น ส่วนคนภายนอก ต้องรอจนกระทั่งพิธีเลี้ยงผีเสร็จสิ้น หากฝ่าฝืนจะเกิดการผิดผี งานแต่งครั้งนั้นต้องถูกยกเลิกและต้องหาฤกษ์ยามใหม่อีกครั้ง ส่วนหมูที่เลี้ยงผีจะยกให้ผู้ผิดผีทั้งตัว ผู้ผิดผีงาน แต่งงานต้องรับผิดชอบหาหมูตัวใหม่มาเลี้ยงผีในงานแต่งงานครั้งต่อไป เมื่อหมูได้ผ่านการเลี้ยงผีมาแล้วให้ นำเอาหมูตัวนั้นไปประกอบอาหารเพื่อแบ่งปันกัน เช่น ลาบ แกง ย่าง และไส้อั่ว เป็นต้น หลังจากทำพิธีเลี้ยงผี แล้วเสร็จ จะเป็นการมัดมือโดยเริ่มจากคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ญาติพี่น้อง รวมถึงชาวบ้านที่เป็นคนนอกตระกูล และทำการส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว จากนั้นทุกคนจะแยกย้ายกลับบ้านถือเป็นเสร็จพิธี การเลี้ยงผีด้วยหมูในพิธี แต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะบ้านเมืองก๊ะ ถือว่ามีความแตกต่างจากการเลี้ยงผีด้วยหมูของคนเมือง (คนไท) การเลี้ยงหมูเป็นจารีตที่มีมาแต่เดิมว่า หากจะใส่ผีหรือเลี้ยงผีในพิธีแต่งงานต้องใช้หมูเท่านั้น เนื่องจากผีลัวะกิน หมู จารีตและการปฏิบัติเช่นนี้สอดคล้องกับลัวะในหมู่บ้านอื่น เช่น ลัวะที่บ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัด เชียงใหม่ และลัวะที่บ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ในงานศึกษาของพิพัทธเวช สืบแสง และภูเบธ วีโรทัย ระบุว่า หากต้องการจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะกับคนไท สังเกตได้จาก วัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยงผี หากเป็นผีลัวะจะเลี้ยงด้วยหมู่ ส่วนผีไทจะเลี้ยงด้วยไก่ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีคน เมืองอาจมีการเลี้ยงผีด้วยหมู ซึ้งสะท้อนว่า บรรพบุรุษอาจเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ เชียงใหม่ ในบ้านบ่อหลวง พิธีแต่งงานต้องเลี้ยงผีบ้าน ซึ่งต้องทำพิธีหมู่บ้านเลี้ยงหมูตามทุนทรัพย์ ก่อนเลี้ยงหมู จะต้องทำพิธีส่งบ้านส่งเมือง บอกทุกหลังคาเรือนให้รับทราบว่าจะมีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน รวมทั้งต้อง บอกแก่ผีโดยการเลี้ยงเหล้า 12 ขวด การแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะบ้านบ่อหลวง เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้อง นำเอาไก่ 1 ตัวสุรา 1 ขวด ไปมอบให้ญาติพี่น้องของเจ้าสาวให้ครบทุกหลังคาเรือน เจ้าของบ้านซึ่งเป็นญาติกับ เจ้าสาวจะรับไหว้ด้วยการให้เงินราว 5 บาท 10 บาท ตามฐานะของตน ในปัจจุบันยังพบการปฏิบิเช่นนี้อยู่ โดย เงินรับไหว้อาจจะเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม จากนั้นจะเรียกญาติพี่น้องฝ่ายหญิงมาร่วมงาน ในช่วงเช้าเวลา ประมาณ 8.00 น. ผู้อาวุโสของเต่ละฝ่ายจะทำการเจรจากัน ผู้อาวุโสฝ่ายชายคนหนึ่งเป็นตั้งข้าว นำสุนัขสีแดง มาทำพิธีเลี้ยงผี ตามจารีตการแต่งงานจะเลี้ยงสุนัขหนึ่งตัว เจ้าบ่าวต้องนำสุนัขสีแดงมอบให้บ้านเจ้าสาวเพื่อทำ พิธีเลี้ยงที่บ้านเจ้าสาว จัดการฆ่าแล้วต้มเอาควักเครื่องในออกมา แล้วตัดชิ้นส่วนจากปาก หู จมูก หาง เท้าทั้ง 4 มาทีละเล็กละน้อยใส่แคะหรือถาดไม้ไผ่สานเพื่อเลี้ยงผีเรือน เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นของการแต่งงานที่ ครอบคลุมทั้งการแต่งงานของผู้หญิงและผู้ชายชาวลัวะ หลังจากส่งบ้านส่งเมืองแล้วให้นัดเลี้ยงอีกครั้งภายใน 1-2 ปี เป็นการเลี้ยงบ้านเลี้ยงเมืองใช้เหล้า 5 ขวด ไก่ 5 ตัว ในช่วงเวลาเที่ยง จะทำพิธีเลี้ยงหมู ไก่ แล้วทำต๊อก


23 สะเบื๊อกสำหรับเลี้ยงผี ประกอบด้วย หมูต้มกับปลีใส่พริกเกลือ เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยห้ามผู้ใดชิม ขนมเป็น ขนมเขาควาย ขนมจ๊อก ขนมปาด เขาควายคือ ข้าวต้มหรือแหลมทั้งสองข้างเอาข้าวนึ่งเอาใบตองจากเอาใส่ สวยจะแหลม 2 อัน เอาไปนึ่ง เป็นขนมที่สามารถกินได้ โดยขนมในพิธีกรรมเป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นจากอาหารประจำ ถิ่น เนื่องจากรับวัฒนธรรมของคนเมืองในพื้นที่ราบเข้ามาปัจจุบัน เมื่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ไป ค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยงตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง เนื่องจากการแต่งงานถือเป็นการแต่งเขยเข้าบ้านมาเป็น แรงงานในครอบครัว แนวความคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลด้านการจัดงานแต่งงานจากคนพื้นราบมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา เมื่อลูกหลานในหมู่บ้านได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น สามารถ ออกไปรับจ้างทำงานนอกหมู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่สูงขึ้นในการพบคู่ครองที่เป็นคนต่างวัฒนธรรม การ จัดงานแต่งงานตามสมัยนิยมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดงานเลี้ยง และงานรื่นเริงที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายประเภท เครื่องดื่มที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เหล้าต้มที่เป็นของดั้งเดิมในการจัดเลี้ยงได้รับความนิยมน้อยลง กลายเป็น เพียงเหล้าที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม แขกผู้มาร่วมงานส่วนใหญ่นิยมเครื่องดื่มที่มีขายตามท้องตลาด เช่นเดียวกับคนพื้นราบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านค่านิยมในการจัดงาน แต่งงานและความเชื่อเรื่องระบบผัวเดียวเมียเดียวโดยไม่มีการหย่าร้าง ในปัจจุบัน การจัดงานแต่งงานของ ชาวลัวะ ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาว พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย รวมถึงญาติพี่น้องต้องแบ่งความรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในแต่ ละด้านที่มากขึ้นอีกทั้งมีการหย่าร้าง และแต่งงานเป็นครั้งที่สองในหลายคู่ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นผลกระทบที่ได้รับจากความเจริญทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม และช่องทางการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารหลากหลายรูปแบบที่เข้าสู่ชุมชน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชนชาติพันธุ์ ทั้งด้าน ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ตลอดจนการผสมผสานทางวัฒนธรรม ที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ที่ทำให้ ผู้คนในชุมชนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชาติพันธุ์ของตนเองมากขึ้น 5.3.4 การเสียชีวิตและการทำศพ กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะมีความเชื่อเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ ผีเรือน และผีเจ้าป่าเจ้าเขา ตลอดจนผีร้ายต่างๆ ซึ่ง ให้ทั้งคุณและโทษ ความเชื่อเรื่องผีทำให้ชาวลัวะมีความกลัวคนตาย กลัววิญญาณ ชาวลัวะจึงไม่นิยมเข้าร่วม การทำศพมากนัก เว้นแต่บุคคลที่เสียชีวิตจะเป็นญาติพี่น้อง หรือมีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน ในอดีตหากมีคน เสียชีวิต บรรยากาศในหมู่บ้านจะเงียบเหงาและวังเวง โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน หากเป็นการเสียชีวิตตาม ธรรมชาติจะเก็บศพไว้เพียงชั่วข้ามวันข้ามคืน คือ เสียชีวิตช่วงเช้าจะฝังตอนเย็น เสียชีวิตช่วงบ่ายจะฝังช่วงเช้า ของอีกวัน ส่วนการเสียชีวิตที่ผิดปกติ เช่น ตายโหง จะทำการฝังภายในวันที่เสียชีวิต หากคนตายมีญาติพี่น้อง จำนวนมากจะเก็บศพไว้นานแต่ไม่เกินระยะเวลา 2 วัน เนื่องจากไม่มีการฉีดยาศพ ทำให้ศพมีกลิ่น ในช่วงเวลา ที่ตั้งศพ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านจะมาร่วมไว้อาลัยและปลอบใจครอบครัวผู้เสียชีวิต พิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ของชาวลัวะ ประกอบด้วย พิธีกรรมการทำศพ พิธีกรรมการทำโลงศพ พิธีกรรมการโยนไข่เพื่อขุดหลุมฝังศพ พิธีกรรมการฝังศพ พิธีกรรมหลังจากฝังศพ และการเปลี่ยนแปลงพิธีการทำศพในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้พิธีศพของชาวลัวะบ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม ที่กำหนดว่าเมื่อมีคนเสียชีวิตในหมู่บ้าน ทุกคนต้องหยุด งานเพื่อไปช่วยเหลือกันในงานศพ พิธีศพเริ่มทั้งในบ้านและนอกบ้าน ส่วนที่จัดในบ้านเกี่ยวกับศพ คือ การ อาบน้ำศพ โดยผู้ทำพิธีอาบน้ำศพ เรียกว่า “เยือจ๊ะ” ในอดีตเป็นหญิงหรือชายที่เป็นญาติใกล้ชิดหรือเป็น


24 ลูกหลาน ทำหน้าที่ในการอาบน้ำศพ การสวมใส่เสื้อผ้าให้คนตายจะต้องแต่งตัวให้ดีงาม และใช้ผ้าจำนวนหนึ่ง ฝังไปกับศพ ประกอบด้วย ผ้าต่วน 2 ผืน ระบาย 3 ผืน ผ้าห่มแดง 1 ผืน ผ้าห่มขาว 1 ผืน ย่าม 7 ใบ ผ้าห่มที่ ซื้อมาจากในเมือง 1 ผืน กางเกงสีขาวล้วน 1 ตัว เสื้อขาว 1 ตัว ผ้าแดงมัดหัว 1 ผืน หากผู้ตายเป็นผู้หญิงให้ใช้ ผ้าซิ่น 3 ผืน เสื้อสีขาว 3 ผืน ผ้าขาวมัดหัว 1 ผืน เงินเจียงศพผู้หญิงใช้ 7 เม็ดฝังไปพร้อมกัน หากไม่มีครบตาม จำนวนให้ใช้อย่างน้อย 3 เม็ด ส่วนผู้ชายใช้กระดุม 3 เม็ด เสร็จแล้วห่อที่ผ้าที่เตรียมไว้ทั้งผ้าห่ม ผ้าต่วน ห่อ หมด ตั้งศพไว้ที่บ้าน 3 คืน ตั้งไว้ในเรือนบริเวณห้องครัวไฟ การเก็บศพไว้ที่บ้าน พิจารณาตามฐานะ หาก เป็นบุคคลที่มีฐานะดีจะเก็บศพไว้เป็นระยะเวลานานถึง 3 คืน หรือ 5 คืน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการจัดหา ควาย สำหรับเลี้ยงแขก และญาติพี่น้องที่มาช่วยงานศพ เมื่อครบ 3 คืน หรือ 5 คืนแล้ว ให้นำศพไปฝัง โดยการ แห่จากบ้านไปป่าช้า ใช้ไม้ไผ่แบกหาม ส่วนการเลือกที่ขุดหลุมฝังศพ นอกจากการเลือกพื้นที่ในเขตหมู่บ้านและ ฝังใกล้ญาติพี่น้อง ในการเลือกพื้นที่ฝังศพ คนอาวุโสในชุมชนจะ ให้ฝังผ้าพร้อมเงินทองของมีค่า ไปกับศพให้ หมด ส่วนถ้วยจานจะวางข้างนอกหลุม นอกจากนี้ การนำหัวควาย หัววัวที่ใช้เลี้ยงปักไว้ที่ประตูป่าช้าเพื่อให้ ผู้ตายนำไปใช้ในโลกหน้า ส่วนการพิธีนอกบ้าน จะใช้ศาลา หรือ “หยู” ตั้งอยู่ใกล้เสาสะกางในการทำพิธี ร่วมกันในหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายแล้ว ก่อนจะไปอยู่ในที่ใหม่ วิญญาณของผู้ตายจะมาสิงอยู่ที่ “หยู” ดังนั้น ก่อนนำศพออกจากหมู่บ้านต้องบอกกล่าววิญญาณให้ตามศพไปป่าช้าเพื่อจะได้ไปดีไปอยู่ในที่ใหม่ ตาม คำบอกเล่าของคนในหมู่บ้าน ในอดีตบริเวณโดยรอบ หยู จะมีบรรยากาศวังเวงเป็นป่าที่น่ากลัว ผู้คนไม่กล้า เดินผ่าน (ในกรณีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ) 5.3.5 ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ชาวลัวะ รูปภาพตอนที่ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ หมู่บ้านเฮาะเก่า แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/0M3j8 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566


25 การรำดาบในพิธีขึ้นบ้านใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลและสืบสานประเพณีของชาวลัวะ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/0M3j8 สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2566 การขึ้นเรือนใหม่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชาวลัวะ ถือเป็นงานมงคล ที่จะต้องทำให้ถูกต้องตาม จารีตประเพณีที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม เจ้าของเรือนจะเตรียมของใหม่มา ทำพิธี เช่น สานตะกร้าเพื่อใส่ข้าวเปลือก ใหม่ เจ้าของเรือนใหม่จะแจ้งนำเนื้อชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งกับเหล้าหนึ่งขวดไปแจ้งให้พ่อหลวง เพื่อให้สวดอวยพร และเพื่อที่พ่อหลวงจะได้ประกาศให้ชาวบ้านทราบ มีกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้านไปทำพิธีให้ ผู้ที่เป็นผู้นำใน พิธีขึ้นเรือนใหม่ของบ้านดงได้แก่ นายพรหม นายทูน และนายคำ ก่อนจะทำพิธีผู้อาวุโสที่เป็นผู้หญิงจะกวาด เรือนด้วยใบขนุน หลังจากนั้นเจ้าของบ้านนำเอาสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในครัวเรือนได้แก่ ข้าวเปลือกใส่กระบุง เกลือ ฟักเขียว ฟักทอง แตงกวา และเกลือหนึ่งถุง รวมทั้งสิ่งของที่ใช้ในครัวเรือน มีการสวดอยู่บริเวณบันไดขึ้น บ้านก่อนที่จะนำสิ่งของขึ้นไปโดยผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้นำขึ้นไป เอาของต่าง ๆ ไปวางไว้ที่ โคนเสาเอก เสาเอกนี้อยู่ บริเวณหัวนอนของพ่อแม่หรือผู้อาวุโสที่สุดในครอบครอบ มัดที่หัวเสาด้วยเชือกและกรวยดอกไม้ กลุ่มคนเฒ่า คนแก่สวดและรินเหล้าเลี้ยงผีพร้อมอาหาร หลังจากนั้น คนเฒ่าแต่ละคนก็จะสวดอวยพรแล้วดื่มเหล้า หลังจาก นั้นจะไหว้เสาเรือนสี่เสา เอาตอกไผ่มาทำตาแหลวผูกติดที่หัวเสาเรือนสี่เสา เชือดคอไก่เอาเลือดทาเสาทั้งสี่แล้ว เอาขนไก่ติดไว้กับตาแหลว มีการสะเดาะเคราะห์ด้วยลูกหมูดำและลูกไก่บริเวณเสาใกล้บันได บนเรือนมีการ ไหว้ผีเตาไฟ เอาเนื้อไก่ไปเลี้ยงผีสี่มุมของเตาไฟ ในโอกาสงานขึ้นเรือนใหม่นี้ชาวลัวะห้ามพูดคำที่ใช้ในการ สะเดาะเคราะห์และงานศพ คำกล่าวในงานขึ้นบ้านใหม่มีดังนี้“ขึ้นบ้านใหม่หลังนี้แล้ว คนทุกคนในบ้านให้อยู่ดี มีสุข ไม่มีโรคาพยาธิ รบกวน ให้คนในบ้านอยู่สุขสบาย ไม่มีภัยอันตราย คิดสิ่งใดให้ได้สิ่งนั้น ไม่รอดพ้นจากสิ่ง ไม่ดีไม่งาม ไม่ให้มีในบ้านหลังนี้ ให้พบแต่สิ่งดี ๆ และ เจริญก้าวหน้าต่อไป” ในงานขึ้นบ้านใหม่คนเฒ่าคนแก่ จะมาซอเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่บ้านนั้น คำซอ มีเนื้อความดังนี้“มีบ้านใหญ่ บ้านโต ร่าเริงบันเทิงดี มี รายได้ มีเงินมีทอง ทำอะไร เลี้ยงอะไรก็ให้แพร่พันธุ์ มีข้าวเหลือกิน มีแกลบเหลือใช้ เลี้ยงหมูให้ ลูกดก เลี้ยงไก่ ให้ลูกดก มีวัวมัดไว้ทุกเสาบ้าน มัดควายไว้ทุกเสาบ้าน เงินหมื่นไม่ขาดมือ” ชาวบ้านจะมาร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ และมีเงินมาร่วม เจ้าของบ้านต้องจดเอาไว้ว่าใครให้เท่าใดเพื่อที่จะตอบแทนในโอกาสข้างหน้า หลังจากร่วม รับประทานอาหารเล็กน้อยแล้วเจ้าของบ้านจะห่อเนื้อให้นำกลับไปที่บ้านด้วย


26 6. ภาษาลัวะ (ลเวือะ) ภาษานับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน โลกทัศน์ ภูมิ ปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด ปัจจุบัน วัฒนธรรมหลักในเขตอำเภอแม่แจ่มคือวัฒนธรรมไทยวน ใช้ภาษาไทยวนเป็นหลัก และชาวลัวะก็มีภาษาของ ตนเอง ภาษาลัวะนั้นไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน ทางราชบัณฑิตได้มีการพัฒนาให้กลุ่มที่ไม่มีอักษรใช้สามารถ ปรับ/ประดิษฐ์อักษรใช้เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตนเองในภาษาตนเองในบางพื้นที่บ้างแล้วก็ตาม เช่นบ้านป่า แป บ้านละอูบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีการนำเข้ามาใช้เขียนภาษาลัวะ จากนิทานเล่าว่า แต่เดิมลัวะนั้นมีอักษรใช้ ดังที่อาจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวกล่าวว่า มีการอ่านลาย เจี้ยลัวะให้พระญามังรายฟัง ดังนั้นจึงมีการเชื่อว่าแต่เดิมชาวลัวะอาจมีอักษรใช้ แต่ได้หายไป ส่วนนิทานก็เติม แต่งว่าชาวลัวะบันทัึกตัวหนังสือไว้ที่หนัง แต่เกิดหิวและนำไปเผาไฟกินเสีย ทำให้ตัวหนังสือที่อยู่บนหนังนั้นได้ สูญหายไปในที่สุด ภาษาลัวะเป็นภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ในกลุ่มมอญ-เขมร อันเป็นชนกลุ่มพื้นเมือง ในบริเวณภาคเหนือของไทย และมักกล่าวถึงต้นๆ ในตำนานต่างๆ ในดินแดนแห่งนี้ ทุกคนให้ความสำคัญกับ ชาวลัวะว่าเป็นพี่ใหญ่ ชาวลัวะบางคนนั้นสามารถพูดภาษาปกาเกอะญอได้ พูดภาษาคำเมืองได้ พูดภาษาไทย และอังกฤษได้ในปัจจุบัน แต่จะหาคนต่างภาษามาพูดภาษาลัวะได้นั้น น้อยมากอีกประการหนึ่งเนื่องจากภาษา ลัวะอยู่ในกลุ่ม มอญ – เขมร จึงทำให้ภาษาลัวะเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ เวลาที่พูดภาษาคำเมืองก็ จะเหมือนกับชาวมอญพูดภาษาไทย หรือชาวขมุพูดคำเมือง ทำให้บางคำก็ฟังดูยากเต็มที คนรุ่นก่อนอาจจะ เรียนภาษาไทยยาก ด้วยสื่อตอนนั้นก็น้อย แต่ปัจจุบันสื่อภาษาไทยต่างๆ หาได้ง่าย และคนรุ่นใหม่เข้าสู่ระบบ โรงเรียน ทำให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้ภาษาอื่นได้ง่ายขึ้น แต่นั่นก็ทำให้การรับภาษาข้างนอกมาใช้มากขั้นด้วยเช่นกัน คนรุ่นใหม่บางครั้งก็มีปัญหาการใช้คำศัพท์ที่แปลกแยกแตกต่างออกไปจากคนรุ่นก่อนทำให้บางครั้งพบกว่าการ สื่อสารไม่เข้าใจกันก็มี ยิ่งคนรุ่นใหม่ที่ออกไปเรียนและทำงานอยู่ในเมือง ก็เริ่มที่จะลืมภาษาลัวะไป ยิ่งนานไป การพูดภาษาลัวะก็เริ่มลดน้อยลงไปมีการนำคำยืมจากภาษาอื่นเข้ามาใช้ปนมากขึ้นโดยปกติชาวลัวะในตำบล ปางหินฝน จะมีการใช้คำศัพท์ใกล้เคียงกันแต่จะแตกต่างกันตรงสำเนียง และแต่ละสำเนียงก็จะบ่งบอกถึงความ เป็นหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนทางบ้านมืดหลอง จะมีการใช้คำศัพท์บางคำที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมก็มีความ เข้าใจกันได้ดี เช่นเดียวกับลัวะทางอำเภอแม่ลาน้อยและแม่สะเรียง แต่ภาษาลัวะทางเมืองฮอด จะฟังกันไม่ค่อย รู้เรื่องเท่าใด ตัวอย่างภาษาลัวะ จะนำเสนอในการนับเลข การนับเลขของชาวลัวะนั้นมีความพิเศษของภาษา คือใน หลักสิบ แต่ละเลขจะมีคำเรียกเฉพาะ ไม่ได้เอาเลข 1 – 9 มาเติมคำว่าสิบ อย่างภาษาไทย ตัวเลขตามสำเนียง บ้านเฮาะ ดังตารางต่อไปนี้ ตัวเลข คำอ่าน 1 ติ 2 ละอา 3 ละอัว


27 4 ปอน 5 พวน 6 เละ 7 อาเละ 8 เซนไตม์ 9 เซนแตม 10 กอ 11 กอติ 12 กอละอา 20 เง 30 งัว 40 งปอน 50 งฮวน 60 ฮฺกเร 70 อางเล้ 80 เงิ้นแตม 90 เงิ้นไตม์ 100 ติฮฺวัว ส่วนตัวเลข ๑ – ๑๐ ในสำเนียงลัวะบ้านมืดหลอง ว่าดังนี้ เต้ะห์ละอา ละอวย เปาน์ พอน และ อะ และ สะเต้ะ สะแตม เกาน์ส่วนเรื่องสี ในภาษาลัวะนั้น มีอยู่เพียง ๕ สีเท่านั้น ด้วยในภาษาลัวะมีเพียง ๕ คำ ส่วนสีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นคำยืมไป ๕ สีในภาษาลัวะ ได้แก่ ➢ สีแดง เรียกว่า สะครัก ➢ สีดำ เรียกว่า ลอง (ลวง) ➢ สีขาว เรียกว่า ปิง ➢ สีเหลือง เรียกว่า สะไงม์ ➢ สีเขียว เรียกว่า สะงา ภาษาลัวะ สำหรับคนไทยวนเอง มักจะออกเสียงยาก คำบางคำในชื่อบ้านนามเมือง อาจจะเป็นภาษา ลัวะที่อยู่มาแต่เดิม แล้วพอคนไทยวนเข้ามา ก็จะลากเข้าความในภาษาไทยวน “อมก๋อย” ที่เป็นชื่ออำเภอหนึ่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ คนไทยวนได้ยินก็เข้าใจในภาษาตนเองว่า เป็นเมืองที่อดอยากอดกลั้นจนต้องเอากลอยมา อม แต่แท้จริงแล้ว อมก๋อย เป็นภาษาลัวะ แปลว่าขุนน้ำ “ลอง” มักจะรู้จักกันในชื่อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งคำว่าลอง ในภาษาลัวะแปลว่าดำ พอไทยวนเข้ามาจึงลากเข้าความหมายไทยวนว่า เป็นเมืองที่พระนางจาม


28 เทวีมาทดลองสร้างเมืองก่อน “ปิง” อันเป็นชื่อแม่น้ำหลักของจังหวัดเชียงใหม่ โดย คำว่าปิง ในภาษาลัวะ แปลว่า ขาว แม่น้ำปิงก็อาจจะหมายถึงขาวก็ได้ โดยที่ไทยวนได้แต่งตำนานว่า แม่น้ำปิง มาจากคำว่าแม่น้ำปลา ปิ้ง “ระมิง” คำนี้ปัจจุบันเขียนแบบภาษาบาลีว่า “ระมิงค์” อันหมายถึงแม่น้ำปิง บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะมาจากคำว่า “ลัวะ-เม็ง” แล้วกลายเป็น ระมิง แต่ในภาษาลัวนั้น ระมิง คือคำเรียกแม่น้ำปิง ในภาษา ลัวะโดยตรงนั่นเองซึ่งอาจจะมีอีกหลายคำอันเป็นชื่อบ้านนามเมืองที่เราอาจจะไม่เข้าใจ แล้วจึงแต่งตำนานเข้า ประกอบตามความเข้าใจของตน ทั้งที่คำดั้งเดิมอาจจะมาจากภาษาลัวะนี้ก็เป็นได้ เป็นต้น การออกเสียงของ ชาวลัวะนั้น แต่ละหมู่บ้านจะออกเสียงต่างกัน โดยต่างกันในคำศัพท์คนละคำ หรือ บางคำเป็นคำเดียวกันแต่ ต่างที่เสียงสั้นเสียงยาวหรือโทนเสียงต่างกัน 7. การแต่งกาย การแต่งกายชาย ชาวลัวะ (ลเวือะ) แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/S6F1X สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 การแต่งกาย หญิง ชาวลัวะ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/S6F1X สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566


29 การแต่งกายของชาวลัวะที่มีเอกลักษณ์ ผู้ชายมีมีดเหน็บเอว แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/S6F1X สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 หญิงชาวลัวะแต่ก่อนจะนิยมเจาะหู ให้เป็นรูโตเอาใบลาน หรือแผ่นทองเหลืองม้วนกลมยัดใวไว้เอา ด้ายทำเป็นพู่ห้อยลงมาผู้หญิงประดับคอด้วยสร้อยลูกปัดลูกเดือยหิน แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/S6F1X สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ สตรีชาวลัวะนิยมสวมเสื้อสีขาวหรือสีดำ แขนสั้นกุ๊นด้วยด้ายสี นุ่งซิ่นสั้นครึ่งเข่าสีดำมีลายคั่นเป็นแถบสีแดง ชมพู และน้ำเงินแซมขาว ซึ่งได้จากการ มัดย้อมหรือปั่นไก พันแขนด้วยผ้าปอเต๊ะ พันขาด้วยผ้าปอซวง สตรีชาวลัวะนิยมแสกกลางศีรษะมวยต่ำไว้ท้าย ทอย ประดับมวยผมด้วยปิ่นขนเม่น สวมสร้อยเงินเม็ด สร้อยลูกเดือย สร้อยลูกปัดสีแดง สีส้ม สีเหลือง และใส่ ตุ้มหูไหมพรมยาวถึงไหล่ ส่วนบุรุษนิยมสวมเสื้อแขนยาวสีขาวผ่าหน้า นุ่งกางเกงสะดอขาว เคียนหัวด้วยผ้าสี แดงหรือชมพู และพกมีดด้ามงาช้าง บ้างก็บอกว่า การแต่งกายของลัวะ ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำมีขลิบผ้าสีแดงที่ ปลายแขน นุ่งผ้าสั้นทรงกระบอกสีดำลายแดง สวมเสื้อสีขาวทั้งชายและหญิงนิยมเจาะหู ให้เป็นรูโตเอาใบลาน


30 หรือแผ่นทองเหลืองม้วนกลมยัดใส่ไว้ เอาด้ายทำเป็นพู่ห้อยลงมาผู้หญิงประดับคอด้วยสร้อยลูกปัดลูกเดือยหิน สวมกำไลข้อมือเงินขดเป็นเกลียวหญิง ชาวลัวะนิยมใช้กล้องยาสูบ เป็นเครื่องประดับและมวยผมประดับปิ่น และขนเม่นที่ศีรษะ ผู้ชายมีมีดเหน็บเอว ซึ่งจะมีการเปลี้ยนและพัฒนาไปตามแต่ละยุคสมัย อาจเพราะมีเทคโน ยีเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนมาก การแต่งกาย การออกแบบเสื้อผ้า จึงมีการประยุกต์ใช้ และแต่กต่างมีความ สวยงามที่แตกต่างกันออกไป 8. อาหารหลักของชาวลัวะ โต๊ะสะเบือก ที่เป็นเมนูถิ่นของชาวละเวือะ แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/Uiwbk สืบต้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีอาหารเมนูเด็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ด้วยวัตถุดิบในท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ต่างกัน ทำให้แต่ละเมนูที่คนในท้องถิ่นนั้นๆ สร้างสรรค์ออกมามีความ เฉพาะตัว แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ อย่างที่ บ้านละอูบ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ที่นี่เป็นชุมชนชาติ พันธุ์ละเวือะ (ละว้า/ลัวะ) ทำเลที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงชัน พื้นที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขา ทำให้มี อุณหภูมิเย็นสบายตลอดทั้งปี มีอากาศบริสุทธิ์เหมาะแก่การมาพักผ่อน ซึ่งที่บ้านละอูบก็เพิ่งเปิดชุมชนให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสวิถีชุมชนได้ไม่นาน โดยมีวิวสวยๆ และฐานการเรียนรู้ให้แวะเข้าไปศึกษาวิถีชาว ละเวือะได้ โดยเฉพาะงานฝีมือที่ขึ้นชื่อของชาวละเวือะอย่าง เครื่องเงิน และ ผ้าทอ รวมถึงมีที่พักแบบโฮมส เตย์ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปพักด้วย ได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวละเวือะแท้ๆ แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องลิ้มลองเมนูเด็ด อย่าง “โต๊ะสะเบือก” ที่เป็นเมนูถิ่นของชาวละเวือะ โต๊ะสะเบือก เป็นภาษาละเวือะ โต๊ะ หมายถึง เนื้อหมูสะ


31 เบือก หมายถึงยำ พอแปลรวมกันก็จะหมายถึง ยำเนื้อหมู นั่นเอง โต๊ะสะเบือก ถือว่าเป็นอาหารมงคล ที่จะใช้ ในงานเลี้ยงมงคลต่างๆ อย่างงานแต่งงาน งานผูกข้อมือ ขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงผีบรรพบุรุษ เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ จะมีการใช้หมูเป็นเครื่องเซ่นไหว้ (นิยมใช้หมูเป็นเครื่องเซ่นไหว้มากกว่าสัตว์ปีก) แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นยำเนื้อหมู แต่ก็สามารถใช้เนื้อสัตว์อื่นๆ มาปรุงได้ด้วย แต่นิยมใช้เนื้อหมูมากที่สุด ส่วนผสม มีเนื้อหมู พริกขี้หนู ตะไคร้ หอมแดง ต้นหอม ผักชี เกลือ (และผงชูรส) โดยจะใส่เครื่องทั้งหมดนี้ หรือไม่ต้องหมดก็ได้ แต่หลักๆ แล้วก็จะใส่พริกขี้หนู เกลือ เนื้อหมู ผักชี และต้นหอม วิธีทำ นำเนื้อหมู (ส่วนใหญ่จะใช้หมูสามชั้น) ไปต้มในน้ำเปล่าให้สุกทั่วกัน เสร็จตักหมูขึ้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พริกขี้หนูโขลกละเอียด ตะไคร้ หอมแดง ผักชี ต้นหอม ซอยละเอียดๆ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่รวมกัน ปรุงรส ด้วยเกลือและผงชูรส (หรือไม่ใส่ผงชูรสก็ได้ตามชอบ) คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน โต๊ะสะเบือกที่ยำเสร็จแล้ว รสชาติจะออกเค็มๆ เผ็ดๆ ได้ความมันจากหมูสามชั้น กินคู่กับน้ำซุปที่ได้จากการต้มเนื้อหมู เป็นกับแกล้มก็ดี เป็นกับข้าว กินกับข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่หุงสุกใหม่ๆ อร่อยเข้ากันดีมากๆ


32 บรรณานุกรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, (2555), ลัวะ กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหาร ผ่านศึก สืบค้น 14 สิงหาคม 2566,จาก https://shorturl.asia/n5t2d คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา, (2531), เอกสารสัมมนาทาง วิชาการ เรื่อง ลัวะในล้านนา 7-8 มีนาคม 2531. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สวิทยาลัยล้านนา สืบค้น 14 สิงหาคม 2566,จาก https://shorturl.asia/7XNGj ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), (2566), ลัวะ, สืบค้น 14 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/t2M1o


Click to View FlipBook Version