The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงาน-เรื่อง-คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิดรวม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ZX C1, 2023-02-16 01:03:13

รายงาน-เรื่อง-คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิดรวม

รายงาน-เรื่อง-คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิดรวม

รายงาน เรื่อง คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด จัดทำโดย เด็กชายรณกฤต ทิพธนาดนตร์ เลขที่ ๒ เด็กชายวาทิศ อยู่ฤทธิชัย เลขที่ ๓ เด็กชายบุญส่ง อุทกเวช เลขที่ ๔ เด็กชายณัฐนนท์ ศรีอาจ เลขที่ ๗ เด็กชายสิทธิกร ศรีทอง เลขที่ ๘ เด็กชายวัชรพงศ์ อัชรางกูร เลขที่ ๑๔ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ เสนอ ครูเกษศิรินทร์ ประพันธ์เจริญ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๖๕ โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ จังหวัดราชบุรี


รายงาน เรื่อง คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด จัดทำโดย เด็กชายรณกฤต ทิพธนาดนตร์ เลขที่ ๒ เด็กชายวาทิศ อยู่ฤทธิชัย เลขที่ ๓ เด็กชายบุญส่ง อุทกเวช เลขที่ ๔ เด็กชายณัฐนนท์ ศรีอาจ เลขที่ ๗ เด็กชายสิทธิกร ศรีทอง เลขที่ ๘ เด็กชายวัชรพงศ์ อัชรางกูร เลขที่ ๑๔ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๒ เสนอ ครูเกษศิรินทร์ ประพันธ์เจริญ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา๒๕๖๕ โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ จังหวัดราชบุรี


คำนำ รายงานเรื่อง คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ฉบับนี้มีเรื่องเกี่ยวกับ ความหมายของการใช้ภาษาไทย ความสำคัญของการใช้ภาษาไทย คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด การศึกษาค้นคว้าเรื่อง คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด เล่มนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผน ดำเนินการศึกษา โดยดำเนิน การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อาทิ เช่น สื่อโซเชียลและแหล่งเรียนรู้จากเว็บไซต์ การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปได้ด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คุณครูเกษศิรินทร์ ประพันธ์เจริญ ที่ท่านให้คำแนะนำการเขียนรายงาน คำปรึกษาและการจัดทำรายงานในรูปแบบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์(E-Book) จนรายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านการดำเนินแผนปฏิบัติ การดำเนินการทำงาน ข้าพเจ้า หวังว่ารายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาคงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้อง ปรับปรุงข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและนำไปแก้ไขพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป ผู้จัดทำ ๑๕ กุมภาพันธ์๒๕๖๖ ก


สารบัญ เรื่อง คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความหมายของการใช้ภาษาไทย ๑ ความสำคัญของการใช้ภาษาไทย ๑-๒ ความเป็นมาของภาษาไทย ๓-๗ คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด ๘-๑๐ บทสรุป ๑๑ บรรณานุกรม ๑๒ ข


บทที่ 1 ความเป็นมา ความหมาย ความสำคัญ และคำไทยที่มักเขียนผิด 1.ความหมายของการใช้ภาษาไทย การใช้ภาษา หมายถึง การติดต่อสื่อความหมายในสังคมให้เป็นที่เข้าใจกันด้วยการฟังผู้อื่นพูดบ้าง ให้ผู้อื่นฟัง บ้าง อ่านสิ่งที่ผู้อื่นเขียน และเขียนบางสิ่งบางอย่างให้ผู้อื่นอ่านบ้าง นอกจากจะติดต่อกับบุคคลในสมัยเดียวกัน แล้ว อาจติดต่อกับคนในอดีตหรืออนาคตได้ การติดต่อกับคนในอดีตคือ อ่านข้อความหรือเรื่องราวที่มีผู้เขียนไว้ ในหนังสือ เอกสาร หลักฐานในสมัยต่าง ๆ ก็ทำให้มีโอกาสได้รับทราบ เข้าใจในความคิดของบุคคลนั้น ๆ แม้ว่าเขา จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ส่วนการติดต่อกับบุคคลในอนาคตนั้น คือ ติดต่อด้วยการเขียนหนังสือไว้ให้ชนรุ่นหลังอ่าน หรือบันทึกเสียงพูดไว้ให้ชนรุ่นหลังฟัง วัฒนธรรมในการใช้ภาษา การใช้ภาษาให้ถูกวัฒนธรรม เมื่อได้มีการให้ความหมายของคำวัฒนธรรมไว้ว่า "คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็น ระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชนในชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน" การใช้ภาษาให้ถูก หลักวัฒนธรรมน่าจะเป็นไปในความสอดคลัองกับความหมายดังกล่าว พระยาอนุมานราชธน ให้ข้อคิดไว้ว่า "การใช้ภาษาไม่ถูกตามแบบแผนของภาษาไทยหรือพูดจาสามหาว นั้น เป็นการผิดวัฒนธรรม" 2.ความสำคัญของการใช้ภาษาไทย คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่ บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจน ปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามี ระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งใน พระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นหรือเเน่ นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น เครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่น เเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันรัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึง ๑


ต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะ สำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูด ภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบ นั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น" ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใด รักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึก นึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำ ชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่ง เจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป " ๒


3.ความเป็นมาของภาษาไทย ที่มาของภาษาไทย ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทาง ใต้ จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ คนไทย โดยเฉพาะ ก็คือ ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูล เดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน และมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว ใช่ว่า ภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีน เป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่ อยู่ หลังคำที่ประกอบหรือขยาย ส่วนภาษาจีน ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ใน ภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทาง ศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน ๓


วิวัฒนาการของภาษาไทย ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบัน หรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว ลักษณะภาษาไทยแท้ ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้ คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่ พูดมาก ดียิ่ง คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์ ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็น ต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง ๔


ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อ ไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับ ภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้ มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น มีคำควบกล้ำมากขึ้น มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น ลักษณะเด่นของภาษาไทย ภาษาไทยไทม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของ ภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้ ภาษาไทยประกอบด้วยคำโดด มากกว่าภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ เช่น คำไทย บาลี อังกฤษ พ่อ ปิตุ father น้ำ อุทก water ฟ้า นภา sky ๕


ไม่มีหลักไวยกรณ์ เช่นเกี่ยวกับ ปัจจัย อุปสรรค กาล เพศ พจน์ ฯลฯ แน่นอนอย่างภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการลงปัจจัย เพื่อแสดงชนิดของคำ กาล เพศ พจน์ ฯลฯ ถ้าต้องการ บอกชนิดของคำ ใช้คำมาเพิ่มข้างหน้า ถ้าต้อการบอก กาล เพศ พจน์ ใช้คำมาต่อข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยไม่ เปลี่ยนรูปคำเดิม เช่น เดิน กริยา การเดิน นาม ดี วิเศษณ์ความดี" กินอยู่ กาลสามัญปัจจุบัน กินแล้ว อดีตกาลสมบูรณ์ ช้างพลาย เพศชายช้างพัง เพศหญิง เด็กคนเดียว เอกพจน์เด็กหลายคน พหูพจน์ คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น กร (ทำ) กริยา การก (ผู้ทำ) นามนาม รม (ยินดี) กริยา รมณีย (น่ายินดี) คุณนาม กุมาโร (เด็กชายคนเดียว)กุมารา (เด็กชายหลายคน) กุมาโร (เด็กชาย) กุมารี (เด็กหญิง) คจฉติ (ย่อมไป) คโต (ไปแล้ว) die (ตาย) กริยา death (ความตาย) นาม man (คนผู้ชายคนเดียว) men (คนผู้ชายหลายคน) prince (เจ้าชาย) princess (เจ้าหญิง) ๖


work (ทำงาน)worked(ได้ทำงาน) ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี คือ เมื่อเสียงของคำสูงต่ำผิดไป ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย จึงจำต้องใช้ เครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับคำไว้ คา ข่า ข้า ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เต (เขาทั้งหลาย) ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ car (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็ คงมีความหมายเช่นเดิม คำขยายในภาษาไทย ส่วนมากอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น คนดี วิ่งเร็ว สูงมาก ส่วนคำภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต อังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาจีน ซึ่งมัลักษณะคล้ายภาษาไทย ส่วนมากคำขยายอยู่ข้างหน้าตำที่มันขยาย ๗ ๘


4.คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด คำที่เขียนผิด คำที่ถูกต้อง กระเพรา กะเพรา กระทันหัน กะทันหัน แกงกระหรี่ แกงกะหรี่ ปะแป้ง ประแป้ง ปลากระพง ปลากะพง ไอศครีม ไอศกรีม ริดรอน ลิดรอน บุคคลากร บุคลากร กระเทย กะเทย อนุญาติ อนุญาต ซีรี่ย์ ซีรีส์ มุขตลก มุกตลก สังเกตุ สังเกต เฟสบุค เฟซบุ๊ก อีเมล์ อีเมล คอมเม้นท์ คอมเมนต์ ปรากฎ ปรากฏ กฏหมาย กฎหมาย ออฟฟิซ ออฟฟิศ นะค่ะ นะคะ หลงไหล หลงใหล ทะยอย ทยอย ศรีษะ ศีรษะ คุ้กกี้ คุกกี้ ใต้ฝุ่น ไต้ฝุ่น คำที่เขียนผิด คำที่ถูกต้อง ๙


สเน่ห์ เสน่ห์ ฉนั้น ฉะนั้น โควต้า โควตา ก๋วยจั๊บ กวยจั๊บ กงกรรมกงเกวียน กงเกวียนกำเกวียน เลือดกลบปาก เลือดกบปาก ผีซ้ำด้ามพลอย ผีซ้ำด้ำพลอย พิธีรีตรอง พิธีรีตอง ต่าง ๆ นา ๆ ต่าง ๆ นานา นานาพันธุ์ นานาพรรณ ผลัดวันประกันพรุ่ง ผัดวันประกันพรุ่ง แก้ผ้าเอาหน้ารอด ขายผ้าเอาหน้ารอด แปรพรรค แปรพักตร์ ลูกเด็กเล็กแดง ลูกเล็กเด็กแดง อินเตอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต เค๊ก เค้ก ช๊อกโกแลต ช็อกโกแลต ซาละเปา ซาลาเปา โหรพา โหระพา รสชาด รสชาติ ภาพยนต์ ภาพยนตร์ ละคอน ละคร พากษ์ พากย์ ฆาตรกร ฆาตกร ฆาตรกรรม ฆาตกรรม คอลัมม์ คอลัมน์ จินตะนาการ จินตนาการ อารมย์ อารมณ์ เท่ห์ เท่


บรรเทิง บันเทิง คำที่เขียนผิด คำที่ถูกต้อง วิพากย์วิจารณ์ วิพากษ์วิจารณ์ ศิลป ศิลปะ สร้างสรร สร้างสรรค์ สัมภาษ สัมภาษณ์ เครื่องสำอางค์ เครื่องสำอาง ลิปสติก ลิปสติก กะทะ กะทันหัน จราจล จลาจล กาละเทศะ กาลเทศะ ฉะบับ ฉบับ ฉนั้น ฉะนั้น ฉนี้ ฉะนี้ ทรงกรด ทรงกลด อิสระภาพ อิสรภาพ ตระกร้า ตะกร้า ประทะ ปะทะ โอกาศ โอกาส อากาส อากาศ ทะลาย ทลาย เซ็นต์ชื่อ เซ็นชื่อ แท๊กซี่ แท็กซี่ ๑๐


บทสรุป จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า มีสิ่งที่นักเรียนควรจะเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจใน คำในภาษาไทยที่ มักเขียนผิดของไทย อย่างท่องแท้ ชึ่งในการศึกษาครั้งนี้พวกเราได้รู้ทั้ง ความหมายของภาษาไทย ความสำคัญ และ คำไทยที่มักเขียนผิด และที่มาของภาษาไทย ชึ่งพวกเราได้ข้อสรุปมาว่า คำไทยที่มักเขียนผิดที่พวกเรารวบรวมมา ได้มี76 คำ ชึ่งในการศึกษาครั้งนี้พวกเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครหรายๆคน เพื่อนำไปปรับใช้ในการศึกษา ต่อไป ๑๑


บรรณานุกรม ความหมายของของการใช้ภาษาไทย เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/kaewsarphadnuk/kar-chi-phasa (ค้นควา้เมื่อ 30 ม.ค. 66) ความสำคัญของการใช้ภาษาไทย เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/1830(ค้นควา้เมื่อ 30 ม.ค. 66) ความเป็นมาของภาษาไทย เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/rucakphasathiy/khwam-ru-phasathiy?fbclid=IwAR2BDHNLb0ThPsM5693HXeBoqXhUYCGsBW_HKkpHk0gKUvqSHzRAUluu89s (ค้นคว้าเมื่อ 8 ก.พ. 66) คำไทยที่คนไทยมักเขียนผิด เข้าถึงได้จาก https://www.wongnai.com/articles/thai-writing-mistakes https://skm.ssru.ac.th/news/view/a238?fbclid=IwAR2CuQnAHTVIavkUJVsMIQgPwxEOVdRfuQYu5hpr nCEqH20a82yeJcg4kdg (ค้นคว้าเมื่อ 30 ม.ค. 66) ๑๒


Click to View FlipBook Version