ด อ ก ส ร้ อ ย
แสนงาม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ดอกเอ๋ยดอกสร้อย
ทุกบทบาทเรียงร้อยเลิศล้ำค่า
“กาเอ๋ยกาดำ” ดั่งตำรา
เปี่ ยมน้ำใจนักหนาหนอกาดำ
โดย นางสาวธิดารัตน์ เขียวทัพ
การออกแบบ
หน่วยการเรียนรู้
บทที่ 1 ดอกสร้อยแสนงาม
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด :
มาตรฐานการเรียนรู้
ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง
ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา
ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
ท 5.1 ป.2/1 ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมสำหรับ
เด็ก เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ท 5.1 ป.2/3 ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มี
คุณค่าตามความสนใจ
สาระสำคัญ :
การอ่านและเรียนรู้คำได้จะช่วยให้การอ่านในบทเรียนได้ดีถือเป็นการ
พัฒนาทักษะทางภาษาที่ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝน เพื่อพัฒนาทักษะทาง
ภาษาให้ถูกต้อง จึงจะทำให้การเรียนรู้ภาษาไทยเป็นไปด้วยดีและเกิดการ
พัฒนาทักษะทางภาษาตามมา
หหััวข้อการเรียนนรรูู้้
แบบทดสอบ ความหมาย ลักษณะ
ก่อนเรียน กลอน กลอน
ดอกสร้อย
ดอกสร้อย
กลอนดอกสร้อย กลอนดอกสร้อย
นกขมิ้น กาดำ
เหลืองอ่อน
คำศัพท์น่ารู้
แบบทดสอบ สำนวน
หลังเรียน เกี่ยวกับนก
เอกสาร
สำหรับครูผู้สอน
แบบทดสอบก่อนเรียน
1. กลอนบทดอกสร้อย มีลักษณะการแต่งเหมือนคำประพันธ์ชนิดใด
ก. กลอนสักวา ข. กลอนเสภา
ค. กลอนตลาด ง. กลอนบทละคร
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของกลอนบทดอกสร้อย
ก. วรรคที่ 2 เรียกว่า วรรครอง
ข. วรรคแรกมีจำนวน 5 คำ
ค. คำที่ 2 ของวรรคแรกใช้คำว่า “เอย”
ง. มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ
3. บทร้อยกรอง กาดำ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร
ก. เป็นการแนะนำสัตว์ชนิดหนึ่ง ข. บอกลักษณะนิสัยของกาดำ
ค. เป็นการชี้แจงเรื่องอีกา ง. บอกถึงลักษณะสีของกาดำ
4. คำว่า “แชเชือน” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชิงช้า ข. เวลาเย็น
ค. เถลไถล ง. กระจัดกระจาย
5. จงเติมข้อความในช่องว่าง ไม่เลยละพุ่มไม้ที่ใจหวัง
ความเคยคุ้นสกุณา................ เป็นที่ตั้งตนรอดตลอดเอย
ข. อุตสาหะ
เพราะพากเพียรชอบที่มีกำลัง ง. ความมานะ
ก. ภาชนะ
ค. อิสระ
ตั้งใจทำข้อสอบ
ด้วยตนเองนะคะ
ความหมาย
กลอนดอกสร้อย
กลอนดอกสร้อย คือ บทร้อยกรองชนิดหนึ่งที่ปรากฏใน
วรรณคดีไทยมาช้านาน มีลักษณะการแต่งเหมือนกับกลอน
สุภาพและกลอนสักวาทุกประการ แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการขับร้อง
ลักษณะ
กลอนดอกสร้อย
1. มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ
2. บทหนึ่งมี 4 คำกลอน หรือ 8 วรรค
- วรรคที่ 1 เรียกว่า วรรคสดับ
- วรรคที่ 2 เรียกว่า วรรครับ
- วรรคที่ 3 เรียกว่า วรรครอง
- วรรคที่ 4 เรียกว่า วรรคส่ง
3. แต่ละวรรคใช้คำ 6 - 8 คำ แต่วรรคแรกจะมี 4 คำ
4. คำที่ 2 ของวรรคแรกใช้คำว่า “เอ๋ย” ส่วนคำสุดท้ายของบท
คือวรรคที่ 8 ใช้คำว่า “เอย”
แผนผังฉันทลักษณ์กลอนดอกสร้อย
การสัมผัสบังคับ
1. คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่ 2
2. คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
3. คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่ 4
4. สัมผัสระหว่างบทคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับ
คำสุดท้ายของวรรคที่ 6
เสียงวรรณยุกต์ท้ายคำแต่ละวรรค
1. คำสุดท้ายวรรคที่ 1 ใช้ได้ทั้ง 5 เสียงแต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
2. คำสุดท้ายวรรคที่ 2 นิยมใช้เสียงจัตวา
3. คำสุดท้ายวรรคที่ 3 และวรรคที่ 4 นิยมใช้เสียงสามัญ
มารู้จัก...บทดอกสร้อย
บทดอกสร้อย
ดอกเอ๋ยดอกสร้อย
ทุกบทบาทเรียงร้อยเลิศล้ำค่า
“กาเอ๋ยกาดำ” ดั่งตำรา
เปี่ ยมน้ำใจนักหนาหนอกาดำ
กลอนดอกสร้อยมี “เอ๋ย” ในวรรคแรก
สัมผัสแทรกสรรคารมช่างคมขำ
ครบแปดวรรคจบพจน์บทลำนำ
อย่าลืมคำสุดท้ายให้ใช้เอย
กลอนดอกสร้อยกาดำ
กาดำ
กาเอ๋ยกาดำ
รู้จำรู้จักรักเพื่อน
ได้เหยื่อเผื่อแผ่ไม่แชเชือน
รีบเตือนพวกพ้องร้องเรียกมา
เกลื่อนกลุ้มรุมล้อมพร้อมพรัก
น่ารักน้ำใจกะไรหนา
การเผื่อแผ่แน่ะพ่อหนูจงดูกา
มันโอบอารีรักกันดีนักเอย
(นายแก้ว, ด
อกสร้อยสุภาษิต,
กระทรวงศึกษาธิการ.)
บทอาขยาน บทหลัก
ข้อคิดที่ได้ :
กลอนดอกสร้อย เรื่อง กาดำ สอนให้รู้จักแบ่งปัน อย่าเห็น
แก่ตัว เปรียบเสมือนนิสัยของกาดำ เมื่อเห็นว่ามีอาหาร กามัน
ก็มากลุ้มรุมกันกิน มองเหมือนกับว่าชวนกันมากินอาหาร แบ่ง
กันกิน
กลอนดอกสร้อยกาดำ
ทำความรู้จักกับกา หรือ กาดำ
“กา” เป็นชื่อนกชนิดหนึ่ง พบเห็นได้หลายถิ่นของโลก
และในประเทศไทย เสียงร้อง กา กา น่าจะเป็นที่มาของการ
เรียกชื่อว่า กา และยังนิยมเรียกว่า อีกา หรือ กาดำ ตามสีขน
คนไทยคงติดตาขนสีดำสนิทของกา จนกล่าวเป็นสำนวน
เปรียบเทียบคนใจดำว่า “ใจดำเหมือนอีกา” กาสามารถ
สื่อสารทำท่าทาง ทำเสียงร้องได้แตกต่างตามที่ต้องการ และ
เลียนเสียงคำพูดได้ดีไม่แพ้นกขุนทอง
กลอนดอกสร้อยนกขมิ้นเหลืองอ่อน
นกขมิ้นเหลืองอ่อน
ปักเอ๋ยปักษิน
นกขมิ้นเรื่อเรืองเหลืองอ่อน
ถึงเวลาหากินก็บินจร
ครั้นสายัณห์ผันร่อนมานอนรัง
ความเคยคุ้นสกุณาอุตสาหะ
ไม่เลยละพุ่มไม้ที่ใจหวัง
เพราะพากเพียรชอบที่มีกำลัง
เป็นที่ตั้งตนรอดตลอดเอย
(หลวงมลโยธานุโยค [นก], ด
อกสร้อยสุภาษิต, กระทรวงศึกษาธิการ.)
ข้อคิดที่ได้ :
กลอนบทดอกสร้อย เรื่อง นกขมิ้นเหลืองอ่อน ปลูกฝังใน
เรื่องของความขยันขันแข็ง เปรียบเสมือนนิสัยของนกขมิ้น
ที่ตื่นเช้าเพื่อออกหากิน
กลอนดอกสร้อยนกขมิ้นเหลืองอ่อน
ทำความรู้จักกับนกขมิ้นเหลืองอ่อน
นกขมิ้นเหลืองอ่อน เป็นนกที่มีขนาดลำตัวค่อนข้างเล็ก
และส่วนใหญ่มีสีเหลือง นกตัวผู้มีสีสันสดใสกว่าตัวเมีย ด้วย
เหตุที่มีสีเหลืองและสีสันสดใส จึงเป็นที่มาของชื่อ “นกขมิ้น”
มีลักษณะนิสัยชอบอยู่โดดเดี่ยว แต่บางครั้งก็ไปด้วยกันเป็นคู่
หรือฝูงเล็กๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้เท่านั้น และมักมองเห็นได้ยาก
แม้จะมีสีสันสดใส เพราะนกขมิ้นชนิดนี้มักหลบซ่อนตัวอยู่ใน
พุ่มไม้หนาทึบ ยากที่จะเห็นตัวได้ง่าย ๆ นกขมิ้นเป็น
สัญลักษณ์ของความอิสระ
คำศัพท์น่ารู้
กลุ้ม เกลื่อน แชเชือน
หมายถึง หมายถึง หมายถึง
รุมกันเข้าไป กระจัดกระจาย ชักช้า, เถลไถล
อยู่ทั่วไป
นกขมิ้น นกขุนทอง
หมายถึง หมายถึง
ชื่อนก มีหลายสี ชื่อนกในวงศ์เดียว
แต่ที่คนไทยรู้จักดีคือ
นกขมิ้นสีเหลืองอ่อน กับนกเอี้ยง
ปักษิน พร้อมพรัก สกุณา
(อ่านว่า ปัก - สิน)
(อ่านว่า สะ - กุ -นา)
หมายถึง
หมายถึง รวมอยู่พร้อมหน้ากัน หมายถึง
นก นก
สายัณห์ อุตสาหะ
(อ่านว่า สา - ยัน) (อ่านว่า อุด - สา - หะ)
หมายถึง หมายถึง
เวลาเย็น บากบั่น, อดทน,
ไม่ย่อท้อ
สำนวนเกี่ยวกับนก
สำน
วน ความ
หมาย
นกปี
กหัก ตกอยู่ในสภาพพล
าดพลั้งหรือลำบาก
นกมีหู ห
นูมีปีก คนกลับกลอกเข้าพวกได้ทุ
กฝ่ายเพื่อประโยชน์ของตน
ลูกนก
ลูกกา คนที่ไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะส
ามารถช่วยเหลือตัวเองได้
นกสอ
งหัว ทำตัวเข้าเป็นพ
วกทั้งสองฝ่าย
เสียงนก
เสียงกา ความเห็นของค
นที่ไม่มีอำนาจ
ปล่อยนก
ปล่อยกา ปล่อยให้เป็นอิ
สระ, ไม่เอาผิด
ยิงปืนนักเดียว
ได้นกสองตัว ทำอย่างเดียวไ
ด้ผลสองอย่าง
นกน้อยทำร
ังแต่พอตัว
ชี้นกเป็นนก
ชี้ไม้เป็นไม้ คนเราควรจะทำสิ่งต่าง ๆ ให้พอเ
หมาะพอสมควรกับฐานะของตน
ไม่ควรกระทำเกินฐานะ
ว่าอะไรว
่าตามกัน
ชี้นกบนป
ลายไม้ ใฝ่ฝันถึงสิ่งที่อยู
่ไกลเกินเอื้อมถึง
แ บ บ ฝึ ก หั ด
แบบฝึกหัดชุดที่ 1
สแกน
เพื่อทำแบบฝึกหัด
แ บ บ ฝึ ก หั ด
แบบฝึกหัดชุดที่ 2
สแกน
เพื่อทำแบบฝึกหัด
แบบทดสอบหลังเรียน
1. บทร้อยกรอง กาดำ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร
ก. เป็นการแนะนำสัตว์ชนิดหนึ่ง ข. บอกลักษณะนิสัยของกาดำ
ค. เป็นการชี้แจงเรื่องอีกา ง. บอกถึงลักษณะสีของกาดำ
2. จงเติมข้อความในช่องว่าง ไม่เลยละพุ่มไม้ที่ใจหวัง
ความเคยคุ้นสกุณา................ เป็นที่ตั้งตนรอดตลอดเอย
ข. อุตสาหะ
เพราะพากเพียรชอบที่มีกำลัง ง. ความมานะ
ก. ภาชนะ
ค. อิสระ
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของกลอนบทดอกสร้อย
ก. วรรคที่ 2 เรียกว่า วรรครอง
ข. วรรคแรกมีจำนวน 5 คำ
ค. คำที่ 2 ของวรรคแรกใช้คำว่า “เอย”
ง. มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ
4. คำว่า “แชเชือน” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชิงช้า ข. เวลาเย็น
ค. เถลไถล ง. กระจัดกระจาย
5. กลอนบทดอกสร้อย มีลักษณะการแต่งเหมือนคำประพันธ์ชนิดใด
ก. กลอนสักวา ข. กลอนเสภา
ค. กลอนตลาด ง. กลอนบทละคร
ตั้งใจทำข้อสอบ
ด้วยตนเองนะคะ
กลอนดอกสร้อย
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
1. บทร้อยกรอง กาดำ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร
ก. เป็นการแนะนำสัตว์ชนิดหนึ่ง ข. บอกลักษณะนิสัยของกาดำ
ค. เป็นการชี้แจงเรื่องอีกา ง. บอกถึงลักษณะสีของกาดำ
2. จงเติมข้อความในช่องว่าง ไม่เลยละพุ่มไม้ที่ใจหวัง
ความเคยคุ้นสกุณา................ เป็นที่ตั้งตนรอดตลอดเอย
ข. อุตสาหะ
เพราะพากเพียรชอบที่มีกำลัง ง. ความมานะ
ก. ภาชนะ
ค. อิสระ
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของกลอนบทดอกสร้อย
ก. วรรคที่ 2 เรียกว่า วรรครอง
ข. วรรคแรกมีจำนวน 5 คำ
ค. คำที่ 2 ของวรรคแรกใช้คำว่า “เอย”
ง. มีการสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพทุกประการ
4. คำว่า “แชเชือน” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ชิงช้า ข. เวลาเย็น
ค. เถลไถล ง. กระจัดกระจาย
5. กลอนบทดอกสร้อย มีลักษณะการแต่งเหมือนคำประพันธ์ชนิดใด
ก. กลอนสักวา ข. กลอนเสภา
ค. กลอนตลาด ง. กลอนบทละคร
แ ห ล่ ง ที่ ม า
นายแก้ว, ดอกสร้อยสุภาษิต, กระทรวงศึกษาธิการ.
ปล่อยนก ปล่อยกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://dict.longdo.com/ [2565, กุมภาพันธ์ 5]
สจีย์ ศรีอินทร์. กลวิธีการเดี่ยวซอด้วง เพลงนกขมิ้น สามชั้น
ทางครูประเวช กุมุท. งานวิจัยปริญญาศิลปกรรมศาสตร
บัณฑิต ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสียงนกเสียงกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://dict.longdo.com/ [2565, กุมภาพันธ์ 5]
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำนำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว
สำนวน สุภาษิต คำพังเพย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://proverbthai.com/tag/%E0%B8%99%E0%
B8%81 [2565, กุมภาพันธ์ 5]
สำนวน สุภาษิตไทยเกี่ยวกับสัตว์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.trueplookpanya.com/learning/
detail/32252 [2565, กุมภาพันธ์ 5]
หลวงมลโยธานุโยค [นก], ดอกสร้อยสุภาษิต, กระทรวงศึกษาธิการ.
ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ - สกุล : นางสาวธิดารัตน์ เขียวทัพ
รหัสนักศึกษา : 6301107001053
กลุ่มเรียน : 63010.152
ชั้นปี : ชั้นปีที่ 2
สาขาวิชา : ภาษาไทย
คณะ : ครุศาสตร์
สังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ช่องทางการติดต่อ
FB : Thidarat Khiaothap
IG : ___tk0605
Line : 0990750725
โทรศัพท์ : 0612253455