กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร “ โครงการโรงเรียนสุจริต ”
1 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // การจัดทำผลงาน/นวัตกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ชื่อผลงาน : เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model ชื่อเจ้าของผลงาน : นางสาวอาภาภัทร ประหยัด โรงเรียน : นวมินทราชูทิศ อีสาน สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร โทรศัพท์มือถือ : 094-3030-923 E-mail : [email protected] ประเภทผลงาน : ❑ ผู้บริหารสถานศึกษา ❑ ครู ❑ นักเรียน ❑บุคลากรทาการศึกษา/ผู้รับผิดชอบโครงการสอดคล้องกับคุณลักษณะโรงเรียนสุจริต ผลงานสอดคล้องกับคุณลักษณะโรงเรียนสุจริต : ❑ ทักษะกระบวนการคิด ❑ มีวินัย ❑ ซื่อสัตย์สุจริต ❑ อยู่อย่างพอเพียง ❑ จิตสาธารณะ ✓ ✓ ✓ ✓
2 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 1. ความสําคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด ความสามารถ ในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะความคิดและความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๒) ภาษาอังกฤษมีความสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันเพราะว่าภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือหรือ อุปกรณ์ที่สําคัญต่อการติดต่อสื่อสาร ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้กันมากภาษาหนึ่ง ประเทศไทยจึงมองเห็นอนาคตของคนไทยกับการใช้ภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันสําคัญมากที่สุดคนไทย จําเป็นต้องมีความรู้และมีความเข้าใจทักษะด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษทั้ง ๔ ทักษะ ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน (เจนจิรา ชัยปาน ทรายขวัญ พรมแก้ว และ สิทธิศรีนาญ. 2556) ดังนั้นทักษะภาษาอังกฤษจะสามารถช่วยพัฒนานักเรียนให้ก้าวสู่สังคมโลก แห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ ในช่วงของการระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนรู้ของเด็ก นักเรียนไทยส่วนใหญ่ อันเนื่องมาจากสถานศึกษาทุกแห่งต้องปิดและหยุดทำการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แทน ซึ่งสร้างผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กจนนำมา สู่ “ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้” หรือ ‘learning loss’ เครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ อินเทอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ของทั้งครูผู้สอนและตัว นักเรียนเองในการเรียนทางไกลหรือออนไลน์เป็นระยะเวลานานตลอดช่วงการระบาดของโควิด-19 พบว่า ผู้เรียนทุกช่วงชั้นมีความเครียด ความวิตกกังวลในการเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ มีความ พยายามในการเรียนลดลง ขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดความสนใจในการเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาเริ่มมีทัศนคติเชิงลบต่อการเรียนและแสดงออกโดยการไม่เข้าเรียน ขาดวินัยและ ความรับผิดชอบต่อตนเองงและผู้อื่น รวมทั้งมีผลกระทบต่อสภาวะทางอารมณ์ สัมพันธภาพ และ สุขภาพจิตของผู้เรียนอีกด้วย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2565) จากภาวะถดถอยทางการ เรียนรู้เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษาทั้งในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของ ครูผู้สอน และตัวผู้เรียนเองทำให้การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นและมี ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงต่างๆของทุกภูมิภาค ของโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสําคัญการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ผู้คนสามารถก้าวข้าวพรมแดน โดยการติดโดยการติดต่อสื่อสารได้ทุกมุมโลก ในศตวรรษที่ 21 แต่หากมองในทางกลับกัน การเรียน ทางไกลหรือออนไลน์ทำให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ การปฏิบัติน้อยลง ไม่สามารถทำกิจกรรม
3 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // การเรียนร่วมกับเพื่อนได้และเสียโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะสังคม และอารมณ์ของผู้เรียน ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้สังเกตพฤติกรรม การเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ทำให้ทราบว่านักเรียนไม่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพราะ เขินอายที่จะพูดสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้น นักเรียนขาดทักษะการคิด การพูดสื่อสาร และขาดการมี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น อีกทั้งนักเรียนบางคนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิม ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนจึงคิดสร้างนวัตรกรรมที่มีชื่อว่า “SOSE Model” เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ ด้วย SOSE Model ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่นการใช้เกมประกอบการ สอน ทั้งเกมแบบออนไลน์ และเกมในชั้นเรียน เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชา ภาษาอังกฤษ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น การเรียนแบบ SOSE Model นั้นสร้างขึ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการ เขียน อีกทั้งสอดแทรกความรู้เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต การสร้างวินัยในตนเอง และกระตุ้นความสนใจ ได้เป็นอย่างดี จากปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนต้องการให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ มีทักษะ 4 Skills ที่ทันต่อการเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ไม่ตกเป็นเด็กที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ควบคู่ไป กับการมีคุณธรรม ทั้งการซื่อสัตย์ สุจริต การมีวินัยในตนเอง และมีความสุขกับการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 33 คน สาระการเรียนรู้ เรื่อง We are Family 1.1 แนวคิด หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม แนวคิด หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม “เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” ประกอบด้วย Studying (S) หมายถึง การเรียนรู้ จุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้การเริ่มทำความ เข้าใจกับกฎ กติกาที่ต้องปฏิบัติร่วมกันในชั้นเรียน Organization (O) หมายถึง การจัดระบบความคิด ประมวลผล เพื่อนำไปปฏิบัติS (Share) หมายถึง การแบ่งปัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ลงมือปฏิบัติ Encouragement (E) หมายถึง การสร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้เกิดเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ ซึ่งดำเนินการภายใต้แนวคิดและหลักการสำคัญต่างๆ ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การ วิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น โดยในการจัดทำกิจกรรม Best Practice เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model นั้นได้ นำหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Games-based Learning)
4 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 2. หลักวิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม หรือศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวางแผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ ร่วมกัน และทำรายงานผลการเรียนรู้ 3. หลักการ แนวคิดการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) ซึ่งเป็นโครงการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนมีความรู้เท่า ทันการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เสมอภาคและเป็น ธรรม โดยมีคุณลักษณะ ๕ ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย ๑. ทักษะกระบวนการคิด ๒. มีวินัย ๓. ซื่อสัตย์สุจริต ๔. อยู่อย่างพอเพียง และ ๕. จิตสาธารณะ 2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน 2.1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปลูกฝังความมีวินัยของนักเรียน 2. เพื่อสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์ สุจริตให้แก่นักเรียน 3. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ 2.2 เป้าหมาย 1. เชิงคุณภาพ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีพัฒนาการด้าน กระบวนการคิด ความมีวินัย และมีความซื่อสัตย์ สุจริต เพิ่มมากขึ้น 2. เชิงปริมาณ : 1.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ร้อยละ 80 มีวินัยและมีความซื่อสัตย์ในการทำ กิจกรรมในชั้นเรียน สามารถปฏิบัติตามกฎกติกาที่ครูตั้งไว้ได้ 1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ร้อยละ 80 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
5 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนด้วย SOSE Model เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน
6 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 3.2 ขั้นตอนการออกแบบนวัตกรรม SOSE Model
7 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาพแสดงการออกแบบนวัตรกรรม “SOSE Model” 3.3 การจัดกิจกรรมเด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA
8 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้“เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” โดยใช้วงจร คุณภาพ PDCA กระบวนการ PLC การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เกม ประกอบกับการสอนด้วยเทคนิค 2W3Ps ขั้นที่ 1 Plan (P) 1. ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับทางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คิด วิเคราะห์ดูสภาพปัญหาในปัจจุบันซึ่งมีผลต่อสภาพสังคม และตัวนักเรียนเอง เทคโนโลยีที่เข้ามามี บทบาท ประกอบด้วยช่วงปีการศึกษาที่ผ่านมานักเรียนเรียนผ่านออนไลน์ ทำให้เมื่อกลับเข้าสู่สภาวะ ปกติ นักเรียนขาดทักษะทางสังคม เช่น การขาดวินัย ไม่ปฏิบัติตามกฎในชั้นเรียน การไม่รู้จักแบ่ง แบ่งปันให้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน ขาดทักษะการพูดสื่อสาร เขินอายเมื่อออกมาทำกิจกกรม รวมไปถึง ขาดการมีจิตอาสาต่อส่วนรวม จากนั้นร่วมกันคิดวางแผนในการแก้ปัญหาต่อไป 2. ครูเริ่มวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว กำหนด วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งยังสอดแทรกคุณธรรมที่สอดคล้องกับโครงการโรงเรียนสุจริต ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีกิจกรรมให้นักเรียนได้จัดทำโครงงาน คุณธรรมโดยแบ่งเป็นกลุ่มครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมที่สามารถปลูกฝังคุณธรรมของ นักเรียนได้ 3. สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ให้นักเรียนได้เริ่มเรียนรู้ เห็นความสำคัญในการปฏิบัติ ตาม กฎ ระเบียบในโรงเรียน และชั้นเรียนร่วมกัน ซื่อสัตย์ต่อตยเองและผู้อื่น และมีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (Studying: S) ขั้นที่ 2 DO (D) 1. การสร้างข้อตกลงในชั้นเรียนที่ชัดเจนเพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ (Organization: O) ๒. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เช่น ในการทำ กิจกรรมหรือทำแบบทดสอบผ่านบทเรียนออนไลน์นักเรียนจะต้องมีความซื้อสัตย์ ในการตอบคำถาม การทำกิจกกรรมคู่ นักเรียนจะต้องช่วยเหลือกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกัน หรือการทำกิจกรรมกลุ่ม นักเรียนจะต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยการจัดกิจกรรมนั้นมีการจัดกิจกรรมรูปแบบ เกม (Games-based Learning) ที่สอดแทรกทั้งความรู้ ความสนุกสนาน อีกทั้งยังได้เพิ่มการมี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น รวมไปถึงครูผู้สอนอีกด้วย ขั้นที่ 3 Check (C) 1. สนับสนุนส่งเสริมนักเรียน ให้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน หากมีการสอบก็ให้ทำด้วย ตนเอง ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่คดโกง มีวินัย มีความรับผิดชอบในการทำงานส่งงานตามที่ได้รับ มอบหมายให้ทันเวลา เมื่อเข้าชั้นเรียนและเมื่อหมดชั่วโมงนักเรียนจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่ ตกลงกันไว้ โดยครูผู้สอนทำหน้าที่ในการกำกับติดตาม ดูแลนักเรียนอยู่เสมอ
9 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 2. กำกับติดตาม ดูแล ตรวจสอบและประเมินผล โดยยึดกฎระเบียบ ข้อตกลงในห้องเรียน โดยนักเรียนสามารถช่วยกันตรวจตราดูความเรียบร้อยห้องเรียน และคอยพูดคุยเสนอแนะระหว่างการ จัดกิจกรรมในชั้นเรียนได้ หากมีนักเรียนคนใดที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบในชั้นเรียน เพื่อนร่วมชั้น หรือนักเรียนสามารถคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำได้ (Sharing: S) ขั้นที่ 4 Act (A) 1. นักเรียนบอกเล่าสิ่งที่ได้จาการจัดกิจกรรมผ่าน “SOSE Model” โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA กระบวนการ PLC และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เกม ประกอบกับการสอนด้วยเทคนิค 2W3Ps โดยการตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (Encouragement: E) 2. วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ และรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไป ภาพแสดงกระบวนการจัดกิจกรรมเด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA
10 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 4. ผลการดำเนินการผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ 4.1 ผลการดำเนินงาน 1. สามารถพัฒนาครูสู่การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2. ส่งเสริมให้ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ผู้เรียนที่ถือว่าเป็นเด็ก Gen Z และ ยังสามารถพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนได้ มีการมอบหมายงานทั้งแบบ On hand และ Online 3. สามารถปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามได้จากการทำสิ่งเล็กๆน้อยๆ จนกลายเป็นนิสัยที่ดีทั้งด้านการจัดการกระบวนความคิด การมีความซื่อสัตย์ สุจริต และความมีวินัย รับผิดชอบในหน้าที่ของตน 4. สามารถสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษได้มากขึ้น 4.2 ผลสัมฤทธิ์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model จากการตอบ แบบสอบถามความพึงพอใจผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นดังนี้
11 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ตารางแสดงผลจากการทำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ในการ เรียนผ่านเด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model ข้อที่ ข้อคำถาม ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย S.D. แปลความหมาย 1. นักเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา 3.96 0.68 มาก 2. นักเรียนเคารพ กฎ กติกาในห้องเรียน 4.03 0.63 มาก 3. นักเรียนมีการจัดการวางแผนการทำงานที่ ดี 3.51 0.83 มาก 4. นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น 3.93 0.89 มาก 5. นักเรียนมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน 4.09 0.67 มาก 6. นักเรียนมีวินัยในการเข้าเเถวตรวจ แบบฝึกหัด/งาน 4.06 0.90 มาก 7. นักเรียนสามารถอธิบายเนื้อหาบทเรียน และช่วยเหลือเพื่อนได้ 3.48 0.79 ปานกลาง 8. นักเรียนมีความสุขในการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ 3.93 0.83 มาก 9. นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษ 4.12 0.89 มาก 10. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษ 3.90 0.84 มาก รวม 3.90 0.80 มาก จากตารางพบว่า ค่าเฉลี่ยผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม SOSE Model ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยความ พึงพอใจสูงสุด คือ 4.12 อยู่ในระดับ มาก รองลงมาได้แก่ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน และนักเรียนมีวินัยในการเข้าเเถวตรวจแบบฝึกหัด/งาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 และ 4.06 ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก
12 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 4.2.1 กิจกรรมถอดบทเรียน Best Practice “เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” สอดคล้องกับคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ดังนี้ คุณลักษณะ กิจกรรม/วิธีการ ที่สอดคล้อง ผลที่เกิดขึ้น ทักษะกระบวนการคิด - นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะในภาระหน้าที่ของตน - นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์เมื่อทำกิจกรรม ในชั้นเรียน เช่น การทำงานกลุ่ม หรือการ ทำกิจกรรมเกม จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนพบว่านักเรียนมี ทักษะกระบวกนการคิดเมื่อ ทำกิจกรรม มีวินัย - นักเรียนมาเข้าเรียนตรงเวลา - นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบในชั้น เรียนที่ตั้งไว้ - นักเรียนมีความรับผิดชอบในการ ส่งงาน/ส่งชิ้นงานตามกำหนด - นักเรียนเข้าแถวทุกครั้งเมื่อมีการส่งงาน จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนพบว่านักเรียนเข้า เรียนตรงตามเวลา ต่อแถวส่ง งาน และรู้จักปิดไฟปิดพัดลม เก้าอี้ให้เป็นระเบียบทุกครั้ง ก่อนออกจากห้องเรียน ซื่อสัตย์สุจริต - นักเรียนทำกิจกรรมเกมในการเรียน หน่วยการเรียนเรื่อง We are Family ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต - นักเรียนทำข้อสอบ/แบบทดสอบด้วย ตนเองไม่ลอกผู้อื่น จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนพบว่านักเรียนมี ความซื่อสัตย์ในการทำ แบบทดสอบ ทำด้วยตนเอง อยู่อย่างพอเพียง - นักเรียนนักเรียนดูแลชิ้นงาน สมุด หนังสือ ของตนเอง เป็นอย่างดี ไม่ฉีกขาด และใช้อุปกรณ์การเรียนได้อย่างคุ้มค่าและ ช่วยเหลือผู้ปกครองประหยัด ค่าใช้จ่าย - ครูผู้สอนมีการใช้อุปกรณ์ สื่อการสอนที่มี อยู่อย่างคุ้มค่า และได้ประโยชน์สูงสุด จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนพบว่านักเรียนดูแล สมุดและหนังสือของตนเป็น อย่างดีจะมีเพียงบางคนที่ หนังสือเปียกเพราะโดนฝน จิตสาธารณะ - นักเรียนเกิดทักษะความเป็น พลเมืองที่ดีช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น แบ่งปันซึ่งกันและกัน - นักเรียนช่วยเหลือครูทุกคนอย่างเต็มใจ และไม่ต้องร้องขอ จากการสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนพบว่าเมื่อครูถือ อุปกรณ์การสอน หรือถือของ หนักเดินผ่านนักเรียนจะ ช่วยเหลือเสมอโดยไม่ต้อง ร้องขอ
13 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 4.2.2 กิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ปฏิญญา กิจกรรม/วิธีการที่สอดคล้อง ผลที่เกิดขึ้น การปลูกฝัง - การมีแบบอย่างที่ดี - การมีแบบอย่างความเข้าใจ มีพื้นฐานของความรู้ที่ชัดเจน - การฝึกฝนและคอยให้ คำแนะนำตามกระบวนการ - นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่ตั้งไว้อาจไม่ใช่ในทุก เรื่อง ทุกข้อ แต่เป็นแบบค่อย เป็นค่อยไป การป้องกัน - ตัวอย่างพฤติกรรมที่ดี - การกล่าวคำชม หรือมอบ รางวัลเพื่อสร้างแรงกระตุ้นใน การปฏิบัติที่ดี - นักเรียนมีแรงจูใจในการทำ กิจกรรมในชั้นเรียนมากขึ้น การสร้างเครือข่าย - การประชาสัมพันธ์ - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง กับกลุ่มสาระ - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ บุคคลอื่น ต่างสถานที่ ต่าง โรงเรียน - สามารถนำคำแนะนำ ติชม จากการแลกเปลี่ยนไปพัฒนา งานต่อไป 4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ ประโยชน์ต่อนักเรียน 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาและปลูกฝังความมีวินัยของนักเรียน ๒. นักเรียนได้รับการพัฒนาการสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์ สุจริต 3. นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษส่งผลให้มีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น 4. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง ใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 5. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะจิตสาธารณะ ประโยชน์ต่อครูผู้สอน 1. ครูได้พัฒนานวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ต่อผู้เรียน และต่อวิชาชีพ 2. ครูได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่สอดแทรก คุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน
14 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ประโยชน์ต่อสถานศึกษา 1. โรงเรียนได้มีกิจกรรมโครงการโรงเรียนสุจริต ด้วยรูปแบบดำเนินกิจกรรมที่มีชื่อว่า “เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” 5. ปัจจัยความสำเร็จ 5.1 ผู้บริหารให้ความสำคัญ ส่งเสริมให้กำลังใจ และให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบ 5.2 ผู้บริหาร คณะครูให้คำปรึกษาและแนะแนวทางงการพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะของโครงการโรงเรียนสุจริต 5.3 ครูผู้สอนสามารถนำรูปแบบการสอน Active Learning ร่วมกับกิจกรรมโครงการ โรงเรียนสุจริต ด้วยรูปแบบ SOSE Model “เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” ได้ 5.4 นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และสามารถทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ 5.5 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 5.6 ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ประสานความร่วมมือ เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างจริงจัง 5.7 การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับยุคสมัย 6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learn) 6.1 ครูนำรูปแบบการดำเนินกิจกรรม SOSE Model ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรม 6.2 รูปแบบการดำเนินกิจกรรม SOSE Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ซึ่งได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่าง พอเพียง และมีจิตสาธารณะ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าวให้พัฒนาไปพร้อม ๆ 6.3 ครูสามารถบูรณาการสาระการเรียนรู้จากการดำเนินกิจกรรม SOSE Model ได้อย่าง หลากหลาย และกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นกิจกรรม Active Learning ทำให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น ได้ทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่มทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย นักเรียนได้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเรียน 6.4 นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
15 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // 7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำเนินกิจกรรม SOSE Model ““เด็กยุคใหม่สร้าง นิสัยได้ด้วย SOSE Model” ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำเนินกิจกรรม SOSE Model ““เด็กยุคใหม่สร้าง นิสัยได้ด้วย SOSE Model” ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) ต่างกลุ่มสาระ 3. เผยแพร่ผลงานของตนเองผ่าน เพื่อนร่วมงาน ผ่านทาง Facebook 8. ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการขยายผลกับกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น 2. ควรมีการเผยแพร่ผลงานที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
16 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาคผนวก
17 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาพการใช้กิจกรรม SOSE Model ““เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เกม
18 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาพการใช้กิจกรรม SOSE Model ““เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ด้วย SOSE Model” ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เกม
19 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ตัวอย่างกิจกรรมเกมที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้
20 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาพจากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน นักเรียนที่มีจิตอาสา
21 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ภาพจากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนมีวินัยในการจัดรองเท้าให้เป็นระเบียบก่อนเข้าชั้นเรียน
22 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // นักเรียนเข้าแถวส่งงาน/ทำกิจกรรมและสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามเวลาที่กำหนด
23 // Best Practice โครงการโรงเรียนสุจริต NMI // ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ กับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
เด็กยุคใหม่สร้างนิสัยได้ ด้วย SOSE Model “ ”