The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 0211, 2021-04-06 01:06:05

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

การเปลีย่ นแปลงของภาษา
ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี ๖
ครูอิทธิโชค นาคสนอง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการส่ือสารกัน สังคม
มนุษย์เปน็ สังคมท่ไี มห่ ยดุ นง่ิ เพราะมนษุ ย์มีสมอง มปี ัญญาที่
จะคิดสร้างสรรค์ พัฒนาเปล่ียนแปลงชีวิต และความเป็นอยู่
ให้ดีข้ึนอยู่เสมอ ภาษาซ่ึงเป็นกลไกสาคัญของมนุษย์จึงอาจ
เปล่ียนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คาและประโยคในทุก
ภาษาอาจเปล่ียนแปลงเพ่ิมขึ้นหรือหดหายไปพร้อม ๆ กับ
ความเปลี่ยนแปลง ความเจริญ และความเส่ือมของสังคม
มนุษย์

ภาษามักจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย ภาษาไทย
สมัยสุโขทัย ไม่เหมือนกับภาษาไทยสมัยอยุธยาท้ังหมด ภาษาไทย
สมยั อยุธยาย่อมไมเ่ หมอื นภาษาไทยสมยั รัตนโกสินทร์ แต่ก็ใช่ว่าจะ
แตกต่างไปเสียทีเดียว ความเปล่ียนแปลงทางภาษาจะค่อย ๆ
เกิดขึ้น และดาเนินไป หรืออาจจะเปลี่ยนเมื่อใด ความ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดกับภาษานอกจะเกิดจากปัจจัยในตัวภาษาแล้ว
ยังอาจเกิดจากปัจจัยภายนอก คือ อิทธิพลของภาษาอื่นอีกด้วย
ภาษาอาจเปล่ียนแปลงได้ทั้งในด้านการออกเสียง ระบบเสียง
ความหมายของค า และหน้าท่ีของคาในบรบิ ทต่าง ๆ

วิวัฒนาการหรือความเปล่ียนแปลงภาษา ย่อมมีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ซ่ึงเกิดกับภาษาท่ียังไม่ตาย
เพราะมนุษย์ยังใช้ภาษาน้ัน ๆ ในการสื่อสารกัน ภาษาจะ
เส่ือมสูญไปหรือจะพัฒนาได้น้ัน ข้ึนอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
ความเจริญด้านต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัย ซ่ึงการ
เปล่ียนแปลงดังกล่าวน้ีข้ึนอยู่กับปัจจยั ทที่ าให้ภาษาเกิดการ
เปลี่ยนแปลงไปท้ังปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกของ
ภาษาน่ันเอง

ปัจจยั ท่ีกอ่ ให้เกิดการเปลยี่ นแปลงทางภาษา

1. ความแตกต่างของภาษาท่ีมอี ยใู่ นสงั คม
ความแตกต่างของภาษาท่ีมีอยู่ในชุมชนเดียวกันมีความ

แตกต่างกนั ในเรอื่ งต่าง ๆ เชน่ เพศ อายุ การศึกษา เปน็ ต้น

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางภาษา

2. สภาพทางจิตวทิ ยาของผพู้ ดู ภาษา
สังคมประกอบด้วยชนชั้นหลายชนช้ัน ผู้ที่อยู่ในชนชั้น

ต่าง ๆ กัน บางชนชั้นต้องการยกระดับตนเองนาไปสู่ช้ันท่ีสูงกว่า
หรือบางชนชั้นก็พอใจในชนชั้นของตนเอง ลักษณะความต้องการ
เปลี่ยนแปลงน้ีเป็นสภาพทางจิตวิทยา ซ่ึงจะแสดงออกในการใช้
ภาษา เช่น ความนิยมในการใช้เสียง บางเสยี งเพ่ือแสดงว่าตนอยู่ใน
กลุ่มคนท่ีตนนิยม หรือการขัดขืนไม่ยอมออกเสียงบางเสียงตามคน
สว่ นมากในสงั คมเพือ่ รักษาศกั ดิ์ศรีชนชั้นของตน

ปจั จัยท่กี อ่ ให้เกดิ การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3. ลักษณะการออกเสยี งของผพู้ ูดภาษา
ในการพูดนั้นผูพ้ ูดภาษาไม่ได้ออกเสยี งชัดเจนทุกพยางคท์ ุกคา บางครั้ง

ก็พูดย่นย่อลดพยางค์ลงเช่น มหาวิทยาลัย เป็น มหา’ลัย เป็นต้น บางครั้งเม่ือ
เทยี บกบั พยัญชนะเดยี่ ว แล้วเสียงพยญั ชนะควบกล้า ก็ออกเสยี งยากกวา่ ผ้พู ูดจึง
ไม่ออกเสียงพยัญชนะเสียงที่ 2 ในพยัญชนะควบกล้า เช่น ปลา ออกเสียงเป็น
ปา ท้ังน้ีในการออกเสียงไม่ชัดเจนของคาควบกล้าไม่ได้เป็นปัญหาในการฟังมาก
นัก เพราะความหมายของคาว่า ปลา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการออกเสียงคาควบกล้าท่ี
ถูกต้องเท่านั้น แต่ต้องขึ้นอยู่กับบริบทด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้พูดจึงไม่จาเป็นต้องออก
เสยี งชดั เจนทุกครั้ง จงึ เป็นผลทาให้ ผพู้ ูดขาดความระมัดระวงั ในการออกเสยี งอัน
ทาใหเ้ กดิ การเปล่ยี นแปลงมากข้ึน

ปัจจัยท่กี อ่ ใหเ้ กดิ การเปลีย่ นแปลงทางภาษา

4. ความเจริญก้าวหนา้ ทางวิทยาการ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการนับว่ามีส่วนสาคัญเป็น

อย่างยิ่ง ที่ทาให้ภาษาเปล่ียนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทาง
ความหมาย คือ วตั ถุอยา่ งหนง่ึ อาจมีการดดั แปลงไปตามความเจริญ
ทางวิทยาการ ในขณะท่คี าทใ่ี ช้แทนวตั ถนุ ้นั ไม่เปล่ียน ดงั นั้นในเวลา
ท่ีต่างกัน คาคาเดียวกันแทนของสองส่ิงท่ีไม่เหมือนกันหรืออาจพูด
ได้ว่า ความหมายของคาเปล่ียนแปลงไป เช่น สมัยท่ียังไม่มี
น้าอัดลม คาว่า “น้า” หมายถึง น้าดื่มตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน
หมายรวมถึง น้าอดั ลมกไ็ ด้ เช่นประโยคทีว่ ่า “จะดม่ื นา้ อะไรครับ”

ปจั จยั ท่ีกอ่ ให้เกดิ การเปลย่ี นแปลงทางภาษา

5. คณุ สมบตั ิของภาษา
นักภาษาศาสตร์โครงสร้างพูดถึงคุณสมบัติของภาษาอย่าง

หนึ่ง คือ ความสมมาตรในภาษา ซึ่งระบบเสียงในภาษาจะแสดง
ลักษณะนี้โดยท่ัวไป เช่น ถ้ามีเสยี งสระหน้าก็มีเสยี งสระหลังคู่กันไป
ถ้ามีเสียงสูงก็มักจะมีเสียงต่า ดังน้ันเม่ือเกิดมีการเปล่ียนแปลงที่มี
ผลทาให้เกิดลักษณะไม่สมมาตรในภาษา จะผลักดันให้เกิดการ
เปลยี่ นแปลงตอ่ เนอื่ ง ซ่ึงจะทาให้เกดิ ผลในลักษณะสมมาตรข้ึนใหม่

นอกจากในเรื่องคุณสมบัติความสมมาตร ภาษายังมีลักษณะ
ความประหยัดด้วย กล่าวคือโดยท่ัวไปภาษาจะไม่อนุญาตให้มี 2
รูป ที่มีความหมายเหมือนกันทุกประการ เมื่อมีการยืมคาเข้ามา
ในภาษา และคาคานั้นมีความหมายเหมือนกับคาท่ีมีอยู่เดิมหรือ
คาท่ียืมเข้ามาจะต้องมีการเปล่ียนแปลงด้านความหมาย เพื่อให้
คงอยู่ในภาษาได้ท้ังคู่ เช่น คาว่า “ย่าง” ซ่ึงแต่เดิมมีความหมาย
ว่า เดิน ได้เปลี่ยนมามีความหมายว่า “เคล่ือนเข้าสู่ และใช้กับ
เวลา เช่น ย่างเข้าสู่ปีที่ 9” ความหมายท่ีเปลี่ยนแปลงไปของคา
ว่า ย่าง ในภาษาไทยมาตรฐานนี้น่าจะเกิดข้ึน เมื่อมีการยืมคาว่า
“เดิน” ซ่ึงมาจากภาษาเขมรเขา้ มาใช้น่นั เอง

ปัจจยั ที่ก่อให้เกดิ การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

6 . ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ภ า ษ า เ น่ื อ ง จ า ก ก า ร ยื ม ค า
ภาษาตา่ งประเทศ

นักภาษาศาสตร์ท่ีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคายืม เห็นว่า คายืม
ภาษาต่างประเทศที่เข้ามาใช้สื่อสารร่วมกันในภาษาไทย สามารถ
ทาให้ภาษาเปล่ียนแปลงได้มากทั้งด้านเสียง คา และโครงสร้าง
ประโยค เราจึงสามารถสรุปได้ว่า การยืมเป็นสาเหตุหนึ่งท่ีทาให้
ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ปจั จัยที่ก่อใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

7. ภาษาเกิดการเปลย่ี นแปลงเพราะภูมิศาสตร์
โดยเฉพาะการออกเสียงเช่น ภาษาไทยถ่ินใต้ มีภูมิศาสตร์

อยู่ใกล้ทะเล ลมแรง ฝนตกชุก ฉะนั้นจาเป็นจะต้องเปล่งเสียงแข่ง
กับลมและฝน จงึ นิยมออกเสียงสั้นและจะเน้นพยางค์หลังใหช้ ัดเจน
จึงมักเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูง เช่น ตลาด ออกเสียงเป็น
ล้าด ถนน ออกเสยี งเปน็ นน่ เปน็ ต้น

ปัจจัยท่ีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาษาข้างต้น มีปัจจัย
หลายด้านท่ีทาให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัย
ภายใน เช่น สภาพทางจิตวิทยาของผู้พูด ลักษณะการออก
เสียงของผู้พูดภาษา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
เกิดจากตัวผู้ใช้ภาษาเอง ส่วนปัจจัยภายนอกที่ทาให้ภาษา
เปลี่ยนแปลง เช่น การยืมภาษาต่างประเทศ ความ
เจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นต้น ซ่ึงปัจจัยดังกล่าวเป็น
บรบิ ทแวดลอ้ มทท่ี าให้ภาษาเกดิ การเปลย่ี นแปลง


Click to View FlipBook Version