การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ชลธิชา ทองสมบัติ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2567
การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ชลธิชา ทองสมบัติ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2567
ชื่อวิจัย การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ผู้วิจัย นางสาวชลธิชา ทองสมบัติ อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ศศิธร อมรินทร์แสงเพ็ญ ที่ปรึกษาร่วม นางสาวอนุสรา นามโยธา ปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต ปีการศึกษา 2567 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อน และ หลังได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู2502) อ าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จ านวน 21 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม รูปแบบการวิจัยคือ แบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมนิทาน ผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด และแบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด มี ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ส าเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาจาก ดร.ศศิธร อมรินทร์แสงเพ็ญ อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ที่ได้กรุณา ให้ค าปรึกษา ชี้แนะแนวทางต่างๆ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งใน ความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง ผู้วิจัย ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณท่านผู้เชี่ยวชาญ นางกมลรัตน์ ดงค า ครูประจ าการ โรงเรียนบ้านหนองหาน (วัน ครู2502) ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ที่ให้ค าแนะน าปรึกษา และเป็น ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ แก้ไขเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ ขอขอบพระคุณผู้อ านวยการสถานศึกษาและคณะครูโรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู2502) ทุก ท่าน ที่อ านวยความสะดวก ให้ความร่วมมือช่วยเหลือและเป็นก าลังใจโดยตลอด ขอขอบใจนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู 2502) ปีการศึกษา 2566 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ในการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา สมาชิกทุกคนในครอบครัวของผู้วิจัย ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง แห่งความส าเร็จครั้งนี้ คอยช่วยเหลือและให้ก าลังใจผู้วิจัย คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีของงานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่คุณบิดา มารดา ผู้เป็นบุพการี ตลอดจนบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ผู้วิจัยและผู้มีพระคุณทุกท่านสืบไป ชลธิชา ทองสมบัติ
สารบัญ บทคัดย่อ..................................................................................................................... ........................... ก กิตติกรรมประกาศ.............................................................................................................. ................... ข สารบัญ.................................................................................................................................................. ค สารบัญตาราง.................................................................................................................. ...................... ฉ สารบัญภาพ .......................................................................................................................................... ฌ บทที่ หน้า 1 บทน า.................................................................................................................... .......... 1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา......................................................................... 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย.............……………….…………….................................................. 3 สมมติฐานของการวิจัย…………………..........................………............................................. 3 ขอบเขตของการวิจัย………………..........................……….................................................. 3 นิยามศัพท์เฉพาะ………………..........................………........................................................ 6 ประโยชน์ที่ได้รับ………………..........................………......................................................... 7 กรอบแนวคิดการวิจัย………………..........................………................................................. 7 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......…………………………………….……………...................... 8 ความหมายของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์................................................................. ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์................................................................. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์......................................................... งานวิจัยต่างประเทศ........................................................................................................ งานวิจัยในประเทศ.......................................................................................................... ความหมายของนิทาน..................................................................................................... ความส าคัญของนิทาน.................................................................................................... ประเภทของนิทาน.......................................................................................................... 9 10 11 17 18 19 20 21
สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า 2 (ต่อ) ความหมายของการเล่านิทาน......................................................................................... 25 จุดประสงค์ของการเล่านิทาน……………………………....…………………………………………….. 26 หลักการเลือกนิทานส าหรับเด็กปฐมวัย…………..…………………………………………………… 28 งานวิจัยต่างประเทศ..............................................................…………………………………. 30 ความหมายของค าถามปลายเปิด.................................................................................. 33 เทคนิคและหลักการใช้ค าถามปลายเปิด....................................................................... ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน.................................................................... 34 41 3 วิธีด าเนินการวิจัย..............…….…………..……………....……………………............................... 44 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง...........……………………........................................................... 44 แบบแผนการทดลอง..........…………….….......................................................................... เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย..........……………………................................................................ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย........................………………........................ การด าเนินการจัดกิจกรรม.......………………….................................................................. การวิเคราะห์ข้อมูล..........……………………........................................................................ สถิติที่ใช้ในการวิจัย..........……………………........................................................................ 44 45 45 52 52 52 4 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล..................................................................................................... สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................... ผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................... สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ................................................................................ วัตถุประสงค์ของการวิจัย............................................................................................... 54 54 54
สารบัญ (ต่อ) สมมติฐานของการวิจัย.................................................................................................... ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย...................................................................... เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................................. การด าเนินการจัดกิจกรรม............................................................................................. การวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................................ สรุปผลการวิจัย............................................................................................................. อภิปรายผลการวิจัย..................................................................................................... ข้อเสนอแนะ............................................................................................................... บรรณานุกรม......................................................................................................... ....... 57 57 57 58 58 58 58 59 ภาคผนวก...................................................................................................................... ......................... 65 66 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ...................................................... ภาคผนวก ข ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบประเมินความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์…………………………………………………………………………………………………………… ภาคผนวก ค ค่าอ านาจจ าแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์.......................................................................................... ภาคผนวก ง ตัวอย่าง แผนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถาม ปลายเปิด........................................................................................................................ ภาคผนวก จ ตัวอย่าง แบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์............................... ภาคผนวก ฉ ตัวอย่าง ภาพการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน....................................... 67 69 71 73 78 81 ประวัติผู้วิจัย..................................................................................................................................... .... 82
สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 2 3 4 5 เนื้อหาสาระที่ใช้ในการทดลองการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถาม ปลายเปิด.................................................................................................................. ........ แบบแผนการวิจัย............................................................................................................. เนื้อหาสาระที่ใช้ในการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด.............. ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด..... การเปรียบเทียบคะแนนแบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด..................... 5 52 53 39 61 61
สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดการวิจัย……….……………………………………………………………..……………….......... 7 2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด.................................... 51 3 ขั้นตอนการสร้างแผนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน........................................................ 55 4 ขั้นตอนการสร้างแบบประเมินความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย......................... 57
บทที่ 1 บทน า ความเป็นมาและความส าคัญ การศึกษาปฐมวัย ถือเป็นการศึกษาที่ให้แก่วัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ เป็นรากฐานในการเตรียม ความพร้อมเป็นช่วงเวลาทองของชีวิตและเป็นพื้นฐานส าหรับวัยต่อไปกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึง ช่วงอายุ ของเด็กปฐมวัย คือ เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึง 6 ขวบ เป็นช่วงที่พัฒนาการเจริญ อย่างรวดเร็วด้าน ร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสงัคม และด้านสติปัญญา โดยเฉพาะในด้านสติปัญญาประกอบด้วยการคิด การรับรู้ ความจ าคณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์ และประสาทสัมผัส (ภรณี คุรุรัตนะ. 2540: 46) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีความส าคัญมาก ดังเห็นได้จากพัฒนชัชพงศ์(2550: 33) กล่าวว่า “นักจิตวิทยา ฌอง เปียเจต์ (Piaget) กล่าวว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้โดยการปรับขยายจากประสบการณ์เดิมสู่ สิ่งใหม่ ถ้าเขามีทักษะมิติสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้เขาเรียนรู้อย่างมีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้น” ดังนั้นความสามารถด้าน มิติสัมพันธ์ มีความส าคัญในการด ารงชีวิตอย่างมาก เนื่องด้วยสิ่งทั้ง ปวงหรือวัตถุใด ๆ มิได้มีความถาวร ตลอดไป มี การเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ เป็นความสามารถด้านมิติสัมพันธ์อย่างหนึ่ง (อัญชลี รัตนชื่น. 2550: 7) และผู้ที่มีทักษะมิติสัมพันธ์ดีจะมี ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยง เรียนรู้เร็ว รู้จักคิดวางแผนและมี จินตนาการกว้างไกล สามารถจัดกลุ่มรูปแบบต่าง ๆ ในสมองได้ดี(อุดม เพชรสังหาร.2550: 24) ซึ่งความสามารถด้านนี้เป็นความสามารถที่จะช่วยให้มนุษย์เกิดจินตนาการ และนึกเห็นภาพของส่วนประกอบ ต่างๆ เมื่อแยกออกจากกันได้และสามารถที่จะมองเห็นเค้าโครง หรือโครงสร้างเมื่อเอาส่วนต่าง ๆ มาประกอบ หรือรวมเข้าด้วยกัน คนเราใช้ความสามารถด้านนี้ใน การเรียนวิชาเรขาคณิต วาดเขียน และการฝีมือต่าง ๆ (วิเชียร เกตุสิงห์. 2518: 66-72) คนเราอาศัย การคิดจินตนาการ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ยังมี ความส าคัญในการด ารงชีวิตอย่างมาก เนื่อง ด้วยสิ่งทั้งปวงหรือวัตถุใด ๆ มิได้มีความถาวรตลอดไป มีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ท าให้บุคคลสามารถ ด ารงชีวิตได้ด้วยดี ดังนั้นความสามารถด้าน มิติสัมพันธ์จึงจ าเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาและส่งเสริมตั้งแต่ใน วันเด็ก (อัญชลี รัตนชื่น. 2550: 8) ซึ่งในการใช้ชีวิตประจ าวันของเด็กนั้นเด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการจ าแนกวัตถุ การเข้าใจลักษณะวัตถุ ขนาด มิติ การเคลื่อนที่ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับวัตถุ วัตถุกับคนหรือต าแหน่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อ
พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กในช่วงปฐมวัยและวัยต่อไป เป็นพื้นฐานที่ส าคัญยิ่ง ในการเรียนรู้เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในงานศิลปะ (เพ็ญทิพา อ่วมมณี. 2547: 11) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์จึงเป็นรากส าคัญที่จะน าไปสู่การเรียนรู้และมีผลต่อการ พัฒนาความสามารถ ในด้านต่าง ๆ ต่อไป นิทานจะเป็นสื่อที่ช่วยดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี นิทานมีความส าคัญ กับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ เช่น ทางความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ ภาษา การด ารงชีวิต การรักธรรมชาติ การเข้าใจบุคคลอื่น (ชัยยงค์ พรหมวงษ์:80-81) ครูปฐมวัยสามารถน านิทานมาใช้ฝึกทักษะทางภาษาด้านการพูดให้กับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กปฐมวัยชอบน านิทานมาใช้ฝึกทักษะภาษาด้านการพูดให้กับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี เพราะเด็กปฐมวัย ชอบนิทานเป็นชีวิตจิตใจเด็ก มักจะรบเร้าให้ครูเล่านิทานให้ฟังเสมอ นอกจากนี้ยังมีนิทานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจคือ การรเล่านิทานผ้ากันเปื้อน การเล่านิทานผ้ากันเปื้อน เป็นการเล่านิทาน โดยใช้ผ้ากันเปื้อนเป็นพื้นหลัง และใช้ตัวละครที่ได้ตัดเย็บจากผ้าน ามาติดกันกับผ้ากันเปื้อน ซึ่งสามารถย้ายตัว ละครได้หลากหลายต าแหน่ง หลากหลายทิศทาง เช่น บน-ล่าง ซ้าย-ขวา ใกล้-ไกล ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ได้ดี เนื่องจากในขณะที่ด าเนินกิจกรรมนั้น เด็กจะได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทาน เด็กได้ฝึกการใช้ภาษาและการใช้ เหตุผลในการเลือกตัวละคร ได้นับจ านวนตัวละคร ในขณะที่เล่านิทานนอกจากนี้เด็กยังสามารถเคลื่อนย้าย ต าแหน่งของตัวละครบนผ้ากันเปื้อนได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการรู้ต าแหน่งให้กับเด็กปฐมวัย การใช้ค าถามปลายเปิดก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยค าถามปลายเปิด หมายถึง ค าถามที่สามารถตอบใด้กว้างๆผู้ถามต้องใช้ความคิดสูง ต้องอาศัยความรู้เดิมหรือ หลักการหลายอย่างมาประกอบกัน ต้องอาศัยสมรรถภาพทางสมอง ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ตั้งสมมติฐาน ค าตอบที่ท านายถ่วงหน้าไม่ใช่ค าตอบเดียว อาจมีหลายค าตอบขึ้นอยู่กับเหตุผลของ ผู้ตอบ (ระยับ ทฤษฎีคุณ, 2546: 72-73) เนื่องจากค าถาม ปลายเปิดจะช่วยให้เด็กหาค าตอบกระตุ้นการหาเหตุ และผลช่วยปลูกเร้าความสนใจของผู้เรียน และท าให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการฝึกให้เด็กคิด บ่อย ๆ จะส่งผลให้ความสามารถทางสติปัญญาสูงขึ้น (พูนศรี จันทร์สกุล, 2541: 33-35 ) ถ้าครูผู้สอนน าค าถาม ปลายเปิดมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ในลักษณะต่าง ๆ (นารี ชมเกสร, 254 1: 30) เช่น การใช้ค าถามปลายเปิดท าให้เด็กรู้จักการสังเกต เปรียบเทียบ การจัดประเภท ซึ่งเด็กในวัชนี้จะเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม การน าค าถาม ปลายเปิดไปใช้ในเนื้อหาของ นิทานจะท าให้เด็กเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ทั้งยังช่วยในการฝึกคิด หาค าตอบ หาเหตุผลมาอภิปรายขยายความคิด เกิดการสนทนาและหาข้อสรุปร่วมกันที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมในตัวละครหรือเนื้อหาในนิทาน การน าค าถาม ปลายเปิดมาใช้จะฝึกความสามารถ ในการคิดเชิงเหตุผล เพราะเด็กจะต้องอาศัยกระบวนการการพิจารณาและหา เหตุผลที่เกิดขึ้น ว่ามีเหตุการณ์หรือสิ่งใดที่มีความสับพันธ์กับผลที่เกิดขึ้นก่อนอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งจะช่วยในการ
14 ตัดสินว่าเป็นผลมาจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเป็นสิ่งที่ท าให้เกิดผล แล้วสรุปอ้างอิงจากความรู้ประสบการณ์เดิมเลือก ระบุเหตุการณ์ที่พิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ท าให้เกิดผลตามก าหนดไว้ท าให้เด็กเข้าใจและรู้จักเหตุและผลว่าท าไม จะต้องจัดประเภทสิ่งของแบบนั้นและพฤติกรรมแบบใด เป็นพฤติกรรมที่ดีและควรจะเป็นแบบอย่าง (กมลทิพย์ ต่อคิด, 2544: 40-45) ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จึงสนใจศึกษา เรื่อง การจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิดสามารถพัฒนาความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์ ของเด็กปฐมวัยได้เพียงใด และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิดมี ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ โดยผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้า กันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด สมมติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด มีความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรที่ในการวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาล อ าเภอหนองหาน จังงหวัดอุดรธานี 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ก าลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู2502) อ าเภอหนองหาน จังหวัด อุดรธานี สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จ านวน 21 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบ กลุ่ม (Cluster Random Sampling) 2. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ นิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ตัวแปรตาม คือ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ -ด้านความเหมือนความต่าง
15 -ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งกับวัตถุ 3. ระยะเวลาในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งด าเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ใช้เวลา ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันละ 20 นาที เวลา 09.00-09.20 น. รวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง 4. เนื้อหาการวิจัย เนื้อหาในการทดลองเป็นแผนการจัดกิจกรรมนิทานที่เหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย ซึ่ง ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมจ านวน 18 แผน ที่สอดคล้องกับหน่วยการจัดประสบการณ์ที่ใช้ใน การทดลองการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน ดังแสดงตารางที่ 1 ตารางที่ 1 เนื้อหาสาระที่ใช้ในการทดลองการจัดกิจกรรมการเล่านิทานผ้านกันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด สัปดาห์ที่ วันที่ท าการทดลอง หน่วยการจัดประสบการณ์ ความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ 1 จันทร์ อังคาร รอบรู้ปลอดภัย ความเหมือนความต่าง
16 พุธ ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ 2 จันทร์ อังคาร พุธ กลางวัน กลางคืน ความเหมือนความต่าง ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ 3 จันทร์ อังคาร พุธ สนุกกับตัวเลข ความเหมือนความต่าง ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ 4 จันทร์ อังคาร พุธ ขนาด รูปร่าง รูปทรง ความเหมือนความต่าง ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ 5 จันทร์ อังคาร พุธ โลกสวยด้วยสีสัน ความเหมือนความต่าง ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ 6 จันทร์ อังคาร พุธ ปริมาตร น้ าหนัก ความเหมือนความต่าง ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง กับวัตถุ นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้การด าเนินการวิจัยในครั้งนี้มีความชัดเจน ผู้วิจัยได้ก าหนดความหมายของค าศัพท์ที่ใช้ใน การวิจัย ดังนี้ 1. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยใน การรับรู้ผ่านการใช้ประสาท สัมผัส การมองเห็นภาพ ความสามารถในการจ าแนก เกี่ยวกับรูปทรง รูปร่าง ขนาด ระยะ ต าแหน่ง ทิศทาง พื้นผิว ปริมาตร การแยกวัตถุออกจากกัน การประกอบวัตถุเข้าด้วยกัน ความสัมพันธ์ของวัตถุ ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง
17 รวมถึงการคงที่ และการเปลี่ยนแปลง รูปร่างของวัตถุในการศึกษาครั้งนี้จ าแนกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านความเหมือนความต่าง หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยที่แสดงออกหรือบอกได้ว่า วัตถุใดที่เหมือนกัน วัตถุใดที่ต่างกันในด้าน ขนาด รูปร่าง และรายละเอียด ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่างของวัตถุ การเปรียบเทียบจ านวนของวัตถุ การเปรียบเทียบขนาดของวัตถุ การเปรียบเทียบลักษณะของวัตถุ และการ เปรียบเทียบระยะทาง 1.2 ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งกับวัตถุ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการบอก หรือชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของต าแหน่งวัตถุนั้นอยู่ ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ข้างหน้า-ข้างหลัง ข้างใน-ข้างนอก ได้แก่ การระบุต าแหน่งด้านซ้าย - ขวากับวัตถุ การระบุต าแหน่งด้านบนกับวัตถุ การระบุต าแหน่งด้านล่างกับวัตถุ การ ระบุต าแหน่งข้างหน้า - ข้างหลังกับวัตถุ และการระบุต าแหน่งข้างใน - ข้างนอกกับวัตถุ 2. กิจกรรมเล่านิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด หมายถึง การเล่านิทานโดยใช้ผ้ากันเปื้อนเป็น สื่อในการเล่านิทาน โดยในวิธีนี้ผู้เล่าจะใช้ตัวละครที่เย็บจากผ้า และน าตัวละครมาแปะติดผ้ากันเปื้อน โดยการเล่า6นิทานจะมีการสนทนาโต้ตอบซักถามซึ่งเป็นค าถามปลายเปิดที่ครูใช้ถามขณะเล่าเพื่อให้เด็กได้แสดง ความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในห้องเรียนอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนในการด าเนินการกิจกรรม 3 ขั้น ดังนี้ 1. ขั้นน า 1.1 ครูน าเด็กเข้าสู่กิจกรรม โดยการท่องค าคล้องจอง ร้องเพลง และสนทนา 1.2 ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงในการท ากิจกรรม 2. ขั้นสอน 2.1ครูเล่านิทานผ้ากันเปื้อน 2.2 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานผ้ากันเปื้อนด้วยค าถามปลายเปิด 2.3 ครูแนะน าและอธิบายการท าใบกิจกรรม 2.5 เด็กท าใบกิจกรรมโดยครูคอยอ านวยความสะดวก หากเด็กท าไม่ได้ครูใช้ค าถามกระตุ้น 2.6 ครูและเด็กร่วมกันตรวจสอบผลการปฏิบัติ 2.7 ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์ 3. ขั้นสรุป 3.1 ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมในนิทานผ้ากันเปื้อน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รับประโยชน์จาการวิจัย ดังนี้
18 1. ได้ทราบผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วย ค าถามปลายเปิด 2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทาน ผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด 3. ได้แนวทางในการจัดประสบการณ์ส าคัญส าหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดกิจกรรมเล่า นิทานผ้ากันเปื้อนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดวิจัย นิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถาม ปลายเปิด ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ - ด้านความเหมือนความต่าง - ด้านความสัมพันธ์ของต าแหน่งกับวัตถุ
19 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน เสริมด้วยค าถามปลายเปิด ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 1.1 ความหมายของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 1.2 ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 1.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 1.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสาสัมพันธ์ด้านมิติสัมพันธ์ 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเล่านิทาน 2.1 ความหมายของนิทาน 2.2 ความส าคัญของนิทาน 2.3 ประเภทของนิทาน 2.4 ความหมายของการเล่านิทาน 2.5 จุดประสงค์การเล่านิทาน 2.6 หลักการเลือกนิทานส าหรับเด็กปฐมวัย 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทาน 3. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับค าถามปลายเปิด 3.1 ความหมายของค าถามปลายเปิด 3.2 เทคนิคและหลักการใช้ค าถามปลายเปิด 3.3 การสร้างค าถามปลายเปิด 3.4 ลักษณะค าถามปลายเปิด 3.5 ประโยชน์ของค าถามปลายเปิด 3.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับค าถามปลายเปิด 4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ นักกการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ไว้แตกต่างกัน ดังนี้ 1.1 ความหมายของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ พัชรี กัลยา (2551: 23) กล่าวว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถใน การสังเกต เข้าใจ จ าแนก การจินตนาการในเรื่องขนาด รูปร่าง รูปทรง ทรวงทรง ต าแหน่ง ทิศทาง ของวัตถุและลักษณะของ วัตถุที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งในวัตถุคงที่ วัตถุเคลื่อนที่หรือลักษณะวัตถุเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของวัตถุนั้น กรกฎ แพทย์หลักฟ้า (2552: 12) กล่าวว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการ รับรู้ภาพในเรื่องของการมอง ที่ใช้จินตนาการประสาทสัมผัสที่สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัว ท าให้เกิดความคิดรวบยอด ในการ แยกแยะ สี รูปร่าง รูปทรงสัณฐาน ลักษณะพื้นผิว มิติความลึก มิติความกว้าง ยาว หนา สูง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ความสามารถด้านนี้จะส่งผลให้มนุษย์เข้าใจถึงมิติต่างๆและยังคลุมไปถึงการมองภาพทรงต่างๆที่เคลื่อนไหวซ้อนทับกัน หรือ ซ่อนอยู่ภายใน ตลอดจนถึงการแยกภาพ ประกอบภาพ รวมถึงความสามารถในการจ าแนกต าแหน่งที่อยู่ เช่น บน ล่าง ซ้าย ขวา และระยะทางใกล้หรือไกลด้วย เพ็ญวิไล ผาสุขมูล (2552 : 6) กล่าวว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถทางสมองของ บุคคลในการมองเห็น การเข้าใจ การจ าแนก การจินตนาการที่เกี่ยวกับมิติต่างๆ รวมถึงพื้นที่ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง ทิศทาง ของวัตถุในลักษณะที่มีขนาดและทิศทางเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ นพรัตน์ นามบบุญมี (2556 : 20) กล่าวว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และสร้างมโนภาพให้เกิดจินตนาการ การรับรู้ภาพที่มองเห็นในโลกได้อย่างถูกต้อง และความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของภาพที่ เคลื่อนไหวซับซ้อนกัน หรือซ่อนอยู่ภายในภาพ การแยกภาพ และการประกอบอันได้แก่ ขนาด รูปร่าง และรูปทรง ต าแหน่ง ทิศทาง สี สัณฐาน พื้นผิว ปริมาตร สามารถน าประสบการณ์จากการเห็น มาสร้างเกี่ยวกับมิติต่างๆได้ เบญจา สนธยานาวิน (2556: 37) กล่าวว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถในการ มองเห็น รับรู้ภาพ ความสัมพันธ์ของพื้นที่ วัตถุ ภาพ เข้าใจต าแหน่งของสิ่งต่างๆ เมื่อเทียบกับต าแหน่งหรือจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่ง เชื่อมโยงกับการมองเห็น พื้นที่ ขนาด ระยะทาง การอ้างอิง จากตัวเอง หน้า หลัง บน ล่าง ซ้าย ขวา บุคคลที่มีทักษะด้านมิติสัมพันธ์จะมีความสามารถในการมองเห็น ความสัมพันธ์ของมิติต่างๆไม่ว่าจะ เป็นพื้นที่ ที่ว่าง และเวลา และสามารถวาดมโนภาพของความเชื่อมโยงให้เกิดขึ้นในใจและถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นรับรู้เป็น รูปธรรม สรุปได้ว่าจากความหมายของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สรุปได้ว่า ความสามารถของเด็กปฐมวัยใน การรับรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัส การมองเห็นภาพ ความสามารถในการจ าแนก เกี่ยวกับรูปทรง รูปร่าง ขนาด ระยะ ต าแหน่ง ทิศทาง พื้นผิว ปริมาตร การแยกวัตถุออกจากกัน การประกอบวัตถุเข้าด้วยกัน ความสัมพันธ์ของวัตถุ ความสัมพันธ์ ของต าแหน่ง รวมถึงการคงที่ และการเปลี่ยนแปลง รูปร่างของวัตถุ 1.2 ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
45 คันธรส วงศ์ศักดิ์(2553: 10) กล่าวว่า ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถทาง สมองซีกขวาที่ท าให้เกิดจินตนาการ การสร้างมโนภาพ ท าให้เกิดความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถที่จ าเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาและส่งเสริมตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อพัฒนา ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งต่างๆรูปร่างลักษณะของวัตถุทุกประเภทความสัมพันธ์ของวัตุ และการเปลี่ยนแปลง รูปร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจ าวันของเด็กเพราะความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งส าคัญที่สามารถ ช่วยพัฒนาให้บุคคลสามารถด าเนินชีวิตได้ด้วยดี วรัญญา ศรีบัว (2553: 8) กล่าวว่า ความส าคัญความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นปัจจัยส าคัญในการ ด าเนินชีวิตของเด็กในสภาพแวดล้อมรอบตัวส่งผลให้เกิดความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา จินตนาการ การคิดรวบยอด เกี่ยวกับการใช้พื้นที่การออกแบบ ความสามารถในการสร้าง เป็นพื้นฐานในการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ทักษะการอ่าน และ เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง กรกฎ แพทย์หลักฟ้า (2554: 14) กล่าวว่า ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ไว้ว่ามี ความส าคัญเกี่ยวกับการด าเนินชีวิตตั้งแต่วัยเด็กซึ่งในปัจจุบันเด็กมีประสบการณ์ในการมองเห็นสิ่งต่างๆและการใช้ประสาท สัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ส่งแวดล้อมโดยใช้ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการจ าแนกวัตถุการเข้าใจลักษณะวัตถุ ขนาด มิติ การเคลื่อนที่เข้าใจความสัมพันพธ์ระหว่างวัตถุกับวัตถุ วัตถุกับคนหรือต าแหน่งซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้าน สติปัญญาของเด็กในช่วงปฐมวัยและวัยต่อไปเป็นพื้นฐานที่ส าคัญยิ่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในงานศิลปะจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรได้สะดวกขึ้น อมรรัตน์ จันทวงศ์ (2555: 26) กล่าวว่า ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบ อย่างหนึ่งที่ส าคัญของความสามารถของสมองมนุษย์ มีความส าคัญเกี่ยวกับการด าเนินชีวิตตั้งแต่วัยเด็กซึ่งในชีวิตประจ าวันเด็ก มีประสบการณ์ในการมองเห็นสิ่งต่างๆและการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้ความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ในการจ าแนกวัตถุ การเข้าใจลักษณะวัตถุ ขนาด มิติ การเคลื่อนที่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับวัตถุ วัตถุกับคน หรือต าแหน่งต่างๆซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กในช่วงปฐมวัยและวัยต่อไป แก้วตา ริวเชี่ยวโชติ (2555: 10) ได้ให้ความส าคัญของความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็น ความสามารถ ทางสมองซีกขวาที่ท าให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการเรียนรู้ การใช้ความคิดรวบยอดสามารถคิดจินตนาการและนึกถึงภาพ ของส่วนประกอบเมื่อแยกออกจากกันได้ และสามารถที่จะ มองเห็นเค้าโครงหรือโครงสร้าง เมื่อเอาส่วนต่างๆมาประกอบหรือ รวมเข้าด้วยกัน ความสามารถด้าน นี้มีคุณค่าในวิชาเรขาคณิต วาดเขียน งานศิลปะ งานฝีมือต่างๆที่ต้องอาศัยการคิด จินตนาการความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ยังมีความส าคัญในการด ารงชีวิตอย่างมาก เนื่องด้วยสิ่งทั้งปวงหรือวัตถุใดๆ มิได้มี ความถาวรตลอดไป มีความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เกิดขึ้น ท าให้บุคคล สามารถด าเนินชีวิตได้ด้วยดี ดังนั้นความสามารถด้านมิติสัมพันธ์จึงจ าเป็น ที่ต้องได้รับ การพัฒนาและส่งเสริมตั้งแต่ในวัยเด็ก เนื่องจากความสามารถด้าน นี้เป็นรากฐานส าคัญที่จะน าไปสู่การเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ในขั้นสูงต่อไป
46 สรุปได้ว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นทักษะที่มีความส าคัญกับมนุษย์ เพราะเป็นพื้นฐานของการ เรียนรู้ และส่งผลให้เกิดความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา จินตนาการ การคิดรวบยอดเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ การออกแบบ สามารถคิดจินตนาการและนึกถึงภาพของส่วนประกอบเมื่อแยกออกจากกัน และเมื่อน ามาประกอบหรือรวมเข้าด้วยกันได้ 1.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์(piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญา เป็นผลจากการ ปะทะสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ใน สภาวะสมดุล ด้วยการใช้กระบวนการดูดซึม และกระบวนการปรับให้เหมาะจนท าให้เกิดการเรียนรู้เริ่มจากการสัมผัส ต่อมาเกิดความคิดทางรูปธรรมและพัฒนาเรื่อยๆ จนถึงนามธรรม ซึ่งเป็นพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามล าดับ (พัฒนา ชัชพงศ์. 2541: 94; อ้างอิงจาก Piaget. 1964) เพียเจท์สรุปพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษยเ์ป็น 4 ระยะ คือ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533: 130 - 532) 1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorymotor Stage) ระยะแรกเกิดถึง 2 ปีเด็กวัยนี้จะพัฒนา ทักษะทางกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานส าคัญของพัฒนาการ ทางสติปัญญา เด็กจะพัฒนาการเคลื่อนไหวจากปฏิกิริยาสะท้อนไปสู่การเคลื่อนไหวที่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 2. ขั้นก่อนปฏิบัตการความคิด (Pre - Operational stage) อายุตั้งแต่ 2 - 7 ปีเป็นวัยที่เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ และสามารถใช้สัญลักษณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ขั้นปฎิบัติความคิดทางรูปธรรม (Concrete - Operational stage) อายุตั้งแต่7 - 11 ปีเด็กจะมคีวามเข้าใจ ปัญหาในแง่มุมต่างๆ เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ และเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อม แต่ยังไม่สามารถติดในเชิง นามธรรมได้เด็กก็จะอธิบาย หรือแก้ปัญหาโดยอาศัยการกระท ากับของจริงหรือของที่เป็นวัตถุเท่านั้น 4. ขั้นปฏิบัตความคิดทางนามธรรม (The Period of Formal Operationale) อายุตั้งแต่ 11 - 15 ปีขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กจะมองเห็นความชัดเจนทางนามธรรมได้ เด็กเริ่มเข้าใจเหตุผล โดยจะสามารถอาศัยหลักเกณฑ์ของความสัมพันธ์ต่างๆ มาประกอบกับการใช้เหตุผลได้ สามารถแก้ปัญหาอย่างมีระเบียบ ตั้ง สมมุติฐานโดยอาศัยจินตนาการหรือการสังเกตของตนได้และเป็นระยะที่ โครงสรา์งทางสติปัญญาพัฒนาสงูสุด เด็กวัยนี้จะมี ความสามารถเชิงอุปมานและอนุมานมากขึ้น จากทฤษฎีพพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ เด็กปฐมวัยจัดอยู่ในขั้นที่ 2 คือขั้นก่อน ปฏิบัติการความคิด (Pre - Operational Stage) เด็กจะเริ่มเรียนูร้ภาษาพูดและเข้าใจสัญลักษณ์ แต่ยังไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผลได้ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (เยาวพา เดชะคุปต์ . 2544 : 3-4; อ้างอิงจาก Gardner.1983) ได้จ าแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 7 ด้าน และภายหลังได้เพิ่มเติมอีก 2 ด้านรวมเป็น สติปัญญา 9 ด้าน ได้แก่
47 1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือผู้ที่มีความสามารถทางด้านภาษาสูง เช่น นักเล่า นิทาน นักพูด นักการเมือง หรือ ด้านการเขียน เช่น กวี นักเขียนบทละคร บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ปัญญาด้านนี้ยัง รวมถึงความสามารถในด้านการจัดกระท าเกี่ยวกับ โครงสร้างของ ภาพ เสียง ความหมาย และเรื่องที่เกี่ยวกับภาษา เช่น ความสามารถใช้ภาษาในการหว่านล้อมการอธิบายเป็นต้น 2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical - Mathematic Intelligence) คือ ผู้ที่มีความสามารถ สูงในการใช้ตัวเลข เช่น นักบัญชี นักคณิตศาสตร์ นักสถิติ และผู้ให้เหตุผลที่ดีเช่นนักวิทยาศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักจัดท า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ปัญญาด้านนี้ยังรวมถึงความไวในการเห็นความสัมพันธ์แบบแผน ตรรกวิทยาการคิดเชิง นามธรรม และการคิดที่เป็นเหตุผล(cause-effect) การคิดคาดการณ์( if-then) วิธีการที่ใช้ในการคิด ได้แก่ การจ าแนกประเภท การจัด หมวดหมู่ การสันนิษฐานสรุปการคิด ค านวณการตั้งสมมติฐาน 3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการมองเห็นพื้นที่ ได้แก่ นายพราน ลูกเสือผู้น าทาง และสามารถปรับปรุงวิธีการใช้พื้นที่ได้ดี เช่น สถาปนิก มัณฑนาการ นักประดิษฐ์ ปัญญาด้านนี้รวมไปถึง ความไวต่อสีเส้น รูป ร่าง เนื้อที่และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้น นอกจากนี้ ยัง หมายถึง ความสามารถที่จะมองเห็น และแสดงออกเป็นรูปร่างถึงสิ่งที่เห็นและความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ 4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถใน การใช้ร่างกายของตนเองแสดงความคิด ความรู้สึก ได้แก่ นักแสดง นักแสดงท่าใบ้ นักกีฬา นาฎกร นักฟ้อนร า และ ความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ เช่น นักปั้น ช่างแก้รถยนต์ ศัลยแพทย์ปัญญาทางด้านนี้รวมถึงทักษะทางกาย เช่น ความ คล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส 5. ปัญญาทางด้านดนตรี(Musical Intelligence) คือ ความสามารถทางด้านดนตรีได้แก่ นักแต่ง เพลง นักดนตรี นักวิจารณ์ดนตรี ปัญญาด้านนี้รวมถึงความไวในเรื่องจังหวะ ท านอง เสียง ตลอดจนความสามารถในการเข้าใจ และวิเคราะห์ดนตรี 6. ปัญญาด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล(Interpersonal Intelligence) คือความสามารถในการ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และเจตนาของผู้อื่น ทั้งนี้รวมถึงความไวการสังเกตน้ าเสียง ใบหน้า ท่าทาง ทั้งยังมี ความสามารถสูงในการรับรู้ถึงลักษณะต่างๆ ของสัมพันธภาพของมนุษย์ และสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เช่น ความ สามารถท าให้บุคคลหรือกลุ่มชนปฏิบัติตาม 7. ปัญญาด้านตนเองหรือการเข้าใจตนเอง(Intrapersonal Intelligence) คือความสามารถในการ รู้จักตนเอง และสามารถประพฤติปฏิบัติตนได้ด้วยตนเองความสามารถในการรู้จักตนเอง ได้แก่การรู้จักตัวเองตามความจริง เช่น มีจุดอ่อน จุดแข็งในเรื่องใด มีความรู้เท่าทัน อารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของตน มีความสามารถในการฝึกฝนตนเอง และเข้าในตนเอง
48 8. ปัญญาด้านธรรมชาติ(Naturalist Intelligence) คือ การเข้าในการเปลี่ยนแปลงของ ธรรมชาติ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเข้าใจความส าคัญของตนเองกับสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสามารถของตนเองที่จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เข้าใจถึงพัฒนาการของมนุษย์และการ ด ารงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เข้าใจและจ าแนกความเหมือนกันของสิ่งของ เข้าใจการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของสสาร 9. ปัญญาด้านอัตถภวนิยม จตินิยม หรือการด ารงคงอยู่ของชีวิต (Existential Intelligence) ปัญญา ด้านนี้ คือ ความไวและความสามารถในการจับประเด็นค าถามที่เกี่ยวกับการด ารงอยู่ของมนุษย์เช่น ความหมายของชีวิต ท าไมคนเราถึงตาย และเรามาอยู่ที่นี้ได้อย่างไร ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรเ์นอร์ เน้นหลักการ กระบวนการคิด (สิริ มา ภิญโญอนัตนตพงษ์. 2547: 49-50; อ้างอิงจาก Bruner. 1969) บรูเนอร์ แบ่งขั้นพัฒนาการคิดใน การเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นด้วยกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ได้แก่ 1. ขั้นการกระท า (Enactive Stage) เด็กจะเรียนรู้จากการกระท าและการสัมผัส 2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากกการรับรู้ตามความ เป็นจริงและการคิดจากจินตนาการด้วย 3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbollc stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่ง ต่างๆรอบตัวและพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรเ์นอร์ (Bruner) สรุปได้ว่าเด็กปฐมวัย จะเรียนรู้ และเข้าใจจากการกระท าและเก็บเป็นข้อมูลในการพัฒนาสติปัญญาในขั้นต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่อง ตลอดไปเพียเจท์ และอินเฮลเดอร์(piaget and lnhelder) (วรวรรณ เหมชะญาติ. 2536: 31- 33; อ้างอิงจาก piaget; & lnhelder. 1896) ได้แบ่งการรับรู้ ทางด้านมิติสัมพันธ์ออกเป็น 2 ระดับดังนี้ 1. ระดับการรับรู้จากประสาทสัมผัส (PerceptuaI Level) 2. ระดับการรับรู้จากการคิดมโนภาพ (Level ofthlnking or representation) เพียเจท์และอินเฮลเดอร์ ได้ให้ความสนใจระดับการรับรู้จากการคิดมโนภาพนี้เพราะเป็นระดับที่อาศัยกระบวนการคิด นอกเหนือไปจากการรับรู้ทางกายภาพจากประสาทสัมผัส ซึ่งเป็น ระดับที่ต่ าลงไป การรับรู้จากการคิดมโนภาพ เป็น ความสามารถใน การรับรู้ทางด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับวัตถุได้ โดยการลงมือกระท ากับวัตถุโดยตรงเป็นส าคัญการลง มือกระท ามีความเชื่อมโยงกันอย่างยิ่งกับประสาทสัมผัส ทั้งนี้เพราะขั้นการรับรู้จากการคิดมโนภาพเป็นขั้นที่เด็กเกิดการ เปลี่ยนแปลงความสามารถในการรับรู้ ไปสู่การที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับวัตถุได้อย่างลึกซึ้ง โดยอาศัย โครงสร้างทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุ (Construction of Objective) ความสามารถดังกล่าวถือว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการพัฒนา ทางด้านมิติสัมพันธ์ เพียเจท์และอินเฮลเดอร์ ได้กล่าวถึงระดับพัฒนาการการรับรู้ทางด้านมิติสัมพันพ์ของ เด็กที่พ้นวัยทารกขึ้นไปว่ามี3 ระดับใหญ่ คือ
49 1. โทโปโลยี(Topological) เป็นระดับพื้นฐานซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติของการรับรู้ ว่าวัตถุอยู่ข้างๆ กัน (proximity) การรับรู้ล าดับ (order) การรับรู้รูปปิด (Enclosure) การรับรู้ความต่อเนื่อง (continuiv) รวมทั้งการรู้ ถึงลักษณะที่แตกต่างกัน (Discrimination) ทั้งนี้เป็นการรับรู้วัตถุที่คงที่เท่านั้น 2. โปรเจกทีพ (projective) เป็นการเริ่มที่จะสามารถคิดมโนภาพภายในจิตใจของตนเองด้วยการพิจารณา ควานสัมพันธ์ของจุดที่มองเห็น 3. ยูคลีเดียน (Euclidean) เป็นการน ามโนภาพภายในจิตใจเหล่านั้นมาสัมพันธ์กับการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านต าแหน่งทิศทาง และระยะทางจนกลายเป็นระบบแนวคิดที่เด็กยึดถืออันเหมาะสมส าหรับการถ่ายทอดความเข้าใจ เรื่องการมองวัตถุให้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในโลกของความจริงรอบๆ ตัวด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ทางโปรเจกทีพ (projective) และยู คลีเดียน (Euclidean)จึงมีความคล้ายกันตรงที่เด็กสามารถยอมรับความสัมพันธ์กันของวัตถุอย่างมีระบบยิ่งขึ้นโปรเจกทีพ (projective) และ ยูคลีเดียน (Euclidean) เป็นระดับที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันมากแม้จ ะมีลักษณะที่ต่างกัน ระดับทั้ง สองเป็นตัวชี้ถึงคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง มุมมองแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวทางความคิด อย่างมีระบบของเด็ก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดระหว่างความแตกต่างของโปรเจกทีพ (projective) และยูคลีเดียน (Euclidean) คือ ลักษณะการล้มของดินสอกล่าวคือ การที่เด็กรับรู้ต าแหน่งและที่ตั้งของดินสอในที่ตั้งตรงและล้มนอนในแนวระนาบซึ่งเป็นจุด จบนั้น เป็นขั้นการรับรู้ระดับโปรเจกทีพ (projective) แต่การรับูร้ต าแหน่งละที่ตั้งของดินสอในช่วงระหว่างที่ดินสอก าลังล้มลง นั้นเป็นการรับรู้ระดับขั้นยูคลีเดีย (Euclidean) ซึ่งเป็นความสามารถในการน าภาพมาสัมพันธ์กันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ต าแหน่งทิศทางของดินสอที่ล้ม คุณสมบัติการรับรู้ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ใน แต่ละระดับข้างต้น สรุปได้ดังนี้ (วรวรรณ เหมชะญาติ. 2536: 33) 1. โทโปโลยี(Topological) ประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.1 การรับรู้วัตถุที่คงที่ 1.2 การรับรู้ว่าวัตถุอยู่ข้างๆ กัน 1.3 การรับรู้ล าดับ 1.4 การรับรู้รูปปิด หรือการล้อมรอบ 1.5 การรับรู้ความต่อเนื่องหรือพื้นผิว 1.6 การรับรู้ถึงลักษณะที่แตกต่างหรือการแยกออก 2. โปรเจกทีพ (projective) ประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 2.1 การรับรู้ถึงรูปร่างของวัตถุเส้นตรง และเส้นโค้ง
50 2.2 การรับรู้วัตถุจากการมองในลักษณะต่างๆ 2.2.1 การรับรู้ภาพ 3 มิติ 2.2.2 การรับรู้เงา 2.2.3 การรับรู้ต าแหน่ง ทิศทาง เช่น ซ้าย - ขวางหน้า – หลัง 2.3 การรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ2 สิ่ง 2.4 การรับรู้และการท านายภาพวัตถุเดียวกันจากต าแหน่งการมองที่ต่างกัน 2.5 การคิดสภาพวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ติดกัน 2.5.1 การพับ 2.5.2 การทับ 2.5.3 การบัง 3. ยูคลีเดียน (Euclidean) ประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 3.1 การรับรู้ความคล้ายคลึงของวัตถุ 3.2 การรับรู้ความสัมพันธ์ของต าแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 3.3 การรับรู้โดยการมีเกณฑ์ในการอ้างอิงในเรื่องต่อไปนี้ 3.3.1 ความยาว 3.3.2 ความกว้าง 3.3.3 ความสูง 3.3.4 แนวตั้ง – แนวนอน จอนสตัน (อัญชลี รัตนชื่น . 2550: 11-12; อ้างอิงจาก Johnston. n.d.) ได้อธิบาย พัฒนาการความคิดของ เด็กที่เกี่ยวกับการมองวัตถุในอีกลักษณะหนึ่งที่สอดคล้องกับแนวคิดของเพียเจท์และอินเฮลเดอร์ว่า สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับพื้นฐาน (Functional System) อายุประมาณ 1.3 - 2.6 ปีเป็นระดับความคิด ที่เด็กส ารวจ คุณสมบัติของวัตถุแต่ละประเภทและเริ่มที่จะจัดประเภทของวัตถุนั้นๆ ตามการใช้โดยเด็กเริ่มเข้าใจถึงรูปร่างและขนาดวัตถุ ว่ามีความสัมพันธ์กับการที่ตนใช้วัตถุนั้นในชีวิตประจ าวัน จึงท าให้เด็กเข้าใจถึงการเกี่ยวโยงกันระหว่างวัตถุในแง่ของสิ่งที่พบ
51 เห็นประจ าวันและแง่ของต าแหน่ง เช่น คุกกี้ในเหยือก ชามบนโต๊ะ ดังนั้น ประสบการณ์ในการมองจึงท าใหเ์กิดการคาดคะเน เป้าหมายของการมองนั้น เด็กที่มีความสามารถในระดับนี้จึงสามารถที่จะให้เหตุผลและ ตัดสินต าแหน่งของ วัตถุใดวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยอีกวัตถุหนึ่งเป็นเกณฑ์แม้ว่าโดยมากเด็กจะคิดถึงต าแหน่งของวัตถุในแง่ของการใช้วัตถุนั้น แต่ประสบการณ์ทาง สายตาจะท าให้เด็กได้คาดคะเนเป้าสายตา “การมองวัตถุ”ซึ่งเด็กพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของวัตถุเป็นส าคัญจะที่ท าให้เด็ก ค่อยๆ เข้าใจเส้นน าสายตา (Line - of - sight) ซึ่งเป็นพื้นฐานส าคัญในการคาดคะเนเส้นน าสายตา และเป้าสายตาเป็นพื้นฐาน จ าเป็นใน ระบบมิติสัมพันธ์ ซึ่งต้องพิจารณาเส้นน าสายตาหลายๆ ซึ่งในระบบนี้ประสบการณ์ของเด็กกับคุณสมบัติ รูปทรง ขนาดของวัตถุ ท าให้เด็กรู้จักส่วนต่างๆ ของวัตถุซึ่งจะท าให้เด็กสามารถเข้าใจเรื่องสิ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันได้ซึ่งอยู่ในระบบที่เด็ก จะเรียนรู้ต่อไป 2. ระดับการวางต าแหน่ง (proximal system) อายุประมาณ 2.6 - 3.6 ปีในระดับนี้เด็กเริ่มคิดถึง ต าแหน่งของวัตถุในลักษณะที่เป็นอิสระจากคุณสมบัติในการใช้งานของวัตถุนั้นแต่ พยายามเข้าใจในเรื่องต าแหน่งของวัตถุโดย ดูความสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ใกล้เป็นหลัก นอกจากนี้การที่ เด็กรู้จักส่วนต่างๆ ของวัตถุท าให้เด็กเริ่มใช้ส่วนต่างๆ ของวัตถุนั้นๆ ในการอ้างอิง เช่น ลิงชอบนั่งอยู่ข้างรถบรรทุก ไม่ชอบอยู่ข้างหน้า หรือข้างหลังของรถบรรทุก นั่นคือเด็กสามารถที่จะ พิจารณาถึงวัตถุที่ใช้ในการอ้างอิงนั้นมากกว่า 1 ส่วน ตัวอย่างเช่น รถที่แล่นเป็นขบวน 3 คัน รถคันกลางจะอยู่ข้างหลังของรถคันแรก และจะอยู่ข้างหน้าของรถคันที่ 3 ซง ความเข้าใจของเด็กจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีความสามารถในเรื่องความใกล้กันของวัตถุ เมื่อเด็กพัฒนาต่อไปในระบบนี้เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับ การเรียงล าดับ ซึ่งเป็นพื้นฐานส าหรับระบบต่อไปด้วย 3. ระดับการวางทิศทาง(projective space) อายุประมาณ3.6 -6 ปีขึ้นไปจากประสบการณ์ในการ มองในระดับพื้นฐาน (Functional system) ท าให้เด็กได้รับการพัฒนาความรู้จึงเกิดจากการ มองสิ่งต่างๆ รอบตัวซึ่งท าให้ท้ายที่สุด เด็กรู้จักจินตนาการเส้นน าสายตาและสามารถคาดคะเน ได้ว่า การมองในทิศทางใดเห็นวัตถุอะไรบ้าง เช่น ในการมองจากจุด c ไปถึงจุด E จุด v จะเป็นจุดที่อยู่บนเส้นสายตานั้นด้วย ในแต่ ละระดับดังกล่าวเด็กจะพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับต าแหน่งในลักษณะใหม่ๆโดยผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นส าคัญ (วรวรรณ เหมชะญาติ. 2536: 34 - 36) จากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาที่เกี่ยวกับ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ดังกล่าว สรุป ได้ว่าความสามารถด้านมิติสัมพันธ์นั้นเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญองค์ประกอบหนึ่งจากทฤษฎีเพียเจท์ และอินเฮลเดอร์, ทฤษฎีบรูเนอร์ และทฤษฎีพหุปัญญาด้านหนึ่งใน 9 ด้านของ ทฤษฎีโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์อีกด้วย 1.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ด้านมิติสัมพันธ์ งานวิจัยต่างประเทศ เดวิด และ เดมิลา (วลัย สาโดด. 2549: 17; อ้างอิงจาก David; & Damiela. 1996) ได้ท าการศึกษาความแตกต่างของเพศ ในความสามารถทางมิติสัมพันธ์ในเด็ก 4 ปีผลของการปฏิบัติด้านร่างกายอย่างเข้มงวด เป็นการเปรียบเทียบสมรรถภาพด้านร่างกาย ของเด็ก4 ปี ที่วัดด้วยเครื่องมือ KAT ระหว่างเพศชายและหญิงที่มีความสามารถ
52 ด้านมิติสัมพันธ์แตกต่างกันที่วัดโดยเครื่องมือวัดความสามารถทางมิติสัมพันธ์พบว่า เด็กชายที่มีคะแนนความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์สูงจะมีผลการปฏิบัติด้านร่างกายอย่างเข้มงวดสอดคล้องกัน เชสเซอร์ (Cheser. 1979) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านมิติสัมพันธ์ตามทฤษฏีพัฒนาการสติปัญญา ของเพียเจท์โดยศึกษาตามตัวแปร เพศ อายุ และวัฒนธรรมศึกษาเกี่ยวกับ ความยาว ทิศทาง เส้นตั้งฉาก ตลอดจนการ แก้ปัญหาพบว่า สมรรถภาพด้านมิติสัมพันธข์องนักเรียนจะพัฒนาขึ้นตามอายุ นักเรียนชายจะมีสมรรถภาพทางสมอง ด้านนี้ สูงกว่า นักเรียนหญิงและพบว่าสภาพที่อยู่อาศัยหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถ ด้านนี้ด้วย นอกจากนี้ยัง พบว่า นักเรียนในถิ่นเจริญมีการพัฒนาสมรรถภาพด้านนี้ดีกว่าเด็กในถิ่นที่ยังไม่เจริญ และเมื่ออายุ 12 ปีเด็กจะสามารถพัฒนา สมรรถภาพทางสมองด้านมิติสัมพันธ์ได้ในระดับที่ไล่เลี่ยกัน ชีจ (Shich. 1985: 3633) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางสมองด้านมิติสัมพันธ์ เจตคติ กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนเกรด 7-8 พบว่า สมรรถภาพสมองด้านมิติสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยส าคัญ และเปรียบเทียบสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์กับคะแนนสมรรถภาพสมองด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียน ชาย-หญิง พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์กับคะแนนสมรรถภาพสมองด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชายสูงกว่านักเรียนหญิงอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติ ค็อคเบิร์น (พีระพร รัตนาเกียรติ์. 2548: 25; อ้างอิงจาก Cockburn. 1996ซ 2350 -A -2531 - A) ศึกษาผลของประสบการณ์การเล่น ของเล่นที่มีต่อทักษะการจินตนาการภาพในความคิดของเด็กหญิงอายุ 4 ปี และ 6 ปี ศึกษาเกี่ยวกับการแปลสภาพ 2 มิติ เป็นวัตถุ 3 มิติ และการแปลวัตถุ 3 มิติ เป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทักษะการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ ของเล่นที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ LEGO DUPLO บล็อกกับ บัตรกิจกรรม และชุดการสร้างบล็อกกับบัตรกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่ากิจกรรมการเล่นของเล่นช่วยส่งเสริมการจินตนการ ภาพในความคิดของเด็ก งานวิจัยในประเทศ เอื้ออารี ทองพิทักษ์(2546: 53 - 55) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการวาดภาพต่อเติมเพื่อพัฒนาทักษะ พื้นฐานทางมิติสัมพันธ์ส าหรับเด็กปฐมวัย ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพต่อเติม มีทักษะ พื้นฐานทางมิติสัมพันธ์สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เพ็ญทิพา อ่วมมณี (2547: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ ลวดก ามะหยี่สีในการท ากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ผลที่ใช้ ลวดก ามะหยี่ มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงขึ้นอย่าง มีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 วลัย สาโดด (2549: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์กิจกรรมขนมอบ ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ ได้รับประสบการณ์กิจกรรมขนมอบมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
53 อัญชลี รัตนชื่น (2550: 51- 53) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ท า กิจกรรมศิลปะเครื่องแขวน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้ท ากิจกรรมศิลปะ เครื่องแขวน มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 เบญจวรรณ ขุนทวี (2557) ท าการศึกษาเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีผลต่อ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยร้อยละ 100 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกม การศึกษา มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา มี ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ท ากิจกรรมศิลปะเครื่องแขวน มีจุดหมายเพื่อศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเล่านิทาน นักกการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการจัดกิจกรรมเล่านิทาน ไว้แตกต่างกัน ดังนี้ 2.1 ความหมายของนิทาน บุษนีย์ สมญาประเสริฐ (2551 :21) ได้ให้ความหมายของนิทานว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนของครูที่ สามารถน าไปสู่การเรียนการสอนในรูปแบบมากมาย ทั้งด้านการใช้ภาษา คณิตศาสตร์ การสังเกต นิทานสามารถสร้างจินตนาการ ความฝันความคิด ความเข้าใจ และการรับรู้ให้กับเด็ก และยังเป็นสื่อที่จะช่วย ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านมากยิ่งขึ้น นิตยา ดอกกระถิน (2552 :20) ได้ให้ความหมายของนิทานว่า นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา หรือแต่งขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินและให้ความรู้ มีการสอดแทรกคติธรรม หรือคุณธรรมลงไปเพื่อให้เด็ก น าไปเป็นแนวทางในการด ารงชีวิต ดวงสมร ศรีใสค า (2552 :29) กล่าวว่า นิทานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดความรู้ สามารถน ามาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช่ในชีวิตประจ าวันได้ จารุณี ศรีเผือก (2554 :17) ได้กล่าวว่า นิทาน คือ เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินและความบันเทิงซึ่งนิทานอาจเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่สมมติขึ้นท าให้เด็กเกิดจินตนาการจากเรื่องได้แง่คิดคติ สอนใจ เด็กสามารถน าไปเป็นต้นแบบต่อการปฏิบัติตนในชีวิตประจ าวันและใช้ในอนาคตได้ สุพัสษา บุพศิริ (2560: 37) ได้กล่าวว่า นิทานเป็นเรื่องราวให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินโดยในนิทานจะ ทรอดแทรกหลักธรรม คติเตือนใจ และแนวทางปฏิบัติที่สามารถใช้ในชีวิต ประจ าวันรวมทั้งการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้ สรุป ความหมายของนิทาน หมายถึง เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความ บันเทิง มีการสอดแทรกคติธรรม คุณธรรมและจริยธรรม สามารถน าความรู้มาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช่ใน ชีวิตประจ าวันและเป็นแนวทางในการด ารงชีวิตได้
54 2.2 ความส าคัญของนิทาน จิราพร ปั้นทอง (2550 :38) ได้กล่าวว่า นิทานมีคุณค่าต่อเด็กเป็นอย่างมากนิทานช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการทางภาษาความคิดและจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ฝึกให้เด็กมีความกล้าที่จะแสดงออกเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน มีสมาธิเป็นผู้รู้จักฟังมีสัมพันธ์อันดีกับบุคคลรอบข้าง เป็นตัวกระตุ้นท าให้เด็ก มีคุณลักษณะอันถึงประสงค์ของ สังคม มีพฤติกรรมและเป็นที่ยอมรับอันจะน ามาซึ่งความสุขในการด าเนินชีวิต ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550 :11-16) ได้กล่าวว่า นิทานเป็นสิ่งที่ส าคัญต่อชีวิตทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่เพราะนอกจากนิทานจะช่วยให้เด็กๆมีความสุขสนุกหรรษาแล้วยังเป็นโลกแห่งจินตนาการที่สมบูรณ์แบบที่คอยช่วยถัก ทอสายใยความรักความฝันสานสัมพันธ์อันอบอุ่นความละมุนละไมในกลุ่มสมาชิกของครอบครัว อีกทั้งนิทานยังให้แง่คิดคติ สอนใจและปรัชญาชีวิตอันล้ าลึกแก่เด็ก นิทานมีความส าคัญต่อการพัฒนาการของเด็ก ดังนี้ 1. ช่วยพัฒนาเด็กทางด้านลักษณะชีวิต เด็กได้เรียนรู้ถึงลักษณะชีวิตที่ดีผ่านนิทานที่ปรารถนาให้เด็กมี พฤติกรรมที่ดี เช่น มีคุณธรรมจริยธรรม มีความกล้าหาญ มีความยุติธรรม 2. การพัฒนาเด็กด้านบุคลิกภาพ บุคลิกภาพเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่มากในนิทาน ซึ่งเด็กจะได้รับ รู้ถึง บุคลิกภาพที่ดีที่จะช่วยให้อยู่ในสังคมได้อย่างดี เช่น ความเชื่อมั่น การรักษาตน ความสุภาพอ่อนน้อม ความมีมารยาทที่ดีมี ความเป็นผู้น า 3. การพัฒนาเด็กด้านความรู้และสติปัญญา 4. การพัฒนาเด็กในด้านทักษะและความสามารถ 5. การพัฒนาเด็กในด้านสุขภาพ นิทานเป็นกระบวนการหนึ่งที่ก าหนดบทบาทในด้านสุขภาพให้เกิดแก่ เด็ก เพราะเมื่อเด็กได้อ่านหรือฟังนิทานแล้วจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการที่จะรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตน ปราณี ปริยวาที (2551 :29) ได้กล่าวว่า นิทานมีคุณค่าและประโยชน์ คือ เป็นวิธีการให้ความรู้ที่จะ ท าให้ เด็กสนใจเรียนรู้ สามารถจดจ าและกล้าแสดงออก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ของเด็กจากตัว แบบในนิทานที่เด็กประทับใจ สร้างสมาธิ ผ่อนคลายอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้เล่าและผู้ฟัง บวร งามศิริอุดม (2556) ให้ความหมายความส าคัญที่ได้จากการเล่านิทาน 1. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 2. ให้รู้จักค าเรียกชื่อสิ่งของต่างๆจากรูปภาพในนิทาน 3. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก พัฒนาความคิด จินตนาการ 4. ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก 5. มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับ ตัวละคร
55 ศิริรัตน์ คอยเกษม (2557: 11) ได้กล่าวว่า นิทานมีความส าคัญกับเด็กเนื่องจากเมื่อเด็กได้ฟังนิทานท าให้ เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย สดชื่นแจ่มใส และนิทานส าหรับ เด็กนั้น ใช้ภาษาที่ง่าย เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก เมื่อเด็กฟังนิทานแล้วนิทานสามารถช่วยเพิ่มพูนพัฒนาการ ทางภาษา ความคิดจินตนาการ และคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก เป็นอย่างดี การเล่านิทานให้เด็กฟังยังฝึกให้เด็กเป็นนักฟังที่ดีสร้างสมาธิในการฟัง เด็กสามารถจับใจความส าคัญจากเรื่องราว ที่ได้ฟังและสามารถเรียงล าดับเรื่องราวที่ฟังได้หากใช้เทคนิคการเล่านิทาน ทั้งน้ าเสียง สีหน้า ท่าทาง จังหวะการพูด การ เตรียมตัวล่วงหน้า สายตาทอดไปที่เด็ก ใช้ค าถาม ถามเด็กขณะเล่า และใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ประกอบในการเล่าให้สามารถฟัง นิทานได้จนจบเรื่อง ท าให้เกิด ความเข้าใจในเนื้อหาสามารถจับใจความส าคัญของนิทานได้ สรุปได้ว่า นิทานมีความส าคัญต่อเด็กปฐมวัย คือ เป็นวิธีการให้ความรู้ที่จะท าให้เด็กสนใจเรียนรู้ สามารถจดจ าและกล้าแสดงออก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ช่วยพัฒนาเด็กทางด้านลักษณะชีวิต พัฒนาเด็กด้านบุคลิกภาพด้าน ความรู้และสติปัญญา ด้านทักษะและความสามารถ และด้านสุขภาพ 2.3 ประเภทของนิทาน เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง (2555 :78-81) กล่าวถึงการแบ่งประเภทของนิทานตาม โดยใช้ เกณฑ์เนื้อหาสาระของนิทานเป็นหลัก สามารถแบ่งได้ 11 ประเภท ดังนี้ 1. เทวต านาน เป็นเรื่องราวการอธิบายการก าเนิดเทพ จักรวาล โลก มนุษย์ สัตว์ สรรพสิ่งในโลก โครงสร้างของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และกฎเกณฑ์การควบคุมความประพฤติให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รูปแบบนิทาน เป็นการตัดชุดปฎิบัติที่ผิดศีลธรรม และละเมิดกฎที่วางไว้สาเหตุมาจากความโลภ ความเห็นแก่ตัวแก่ได้ ความประมาทท าให้ เกิดความเสียหายผู้เกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน เทพหรือเทวดาผู้มีบทบาทดูแลความทุกข์สุขหรือควบคุมกฎเกณฑ์การอยู่ ร่วมกัน จึงลงโทษวิธีต่างๆที่เป็นคติเตือนใจไม่ให้มีการปฏิบัติละเมิดกฎข้อบังคับอีก เช่น เรื่องมนูกับน้ าท่วมโลก เรื่องแม่โพสพ เทพีแห่งต้นข้าว 2. นิทานศาสนา เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา ความศรัทธา พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระ โพธิสัตว์ บุคคลส าคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล รวมถึงบุคคลส าคัญด้านศาสนาที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาลักษณะนิทาน เป็นเรื่องประวัติพระพุทธเจ้าเสด็จไปในที่ต่างๆการปราบมารการท ากิจที่ส าคัญ ซึ่ง เรื่องเล่าที่มักเกี่ยวกับสถานที่ส าคัญที่ ประชาชนนับถือ และในปัจจุบันยังมีนิทานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลส าคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการเล่าถึงประวัติหรือผลงาน ที่ส าคัญของพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น องคุลีมาล นางวิสาขา พระธาตุดอยตุง เป็นต้น 3. นิทานคติ เป็นนิทานที่เกี่ยวกับศาสนาเรื่องกฎแห่งกรรมหรือการท าดีได้ดีท าชั่วได้ชั่ว ลักษณะ นิทาน เป็นการฝึกแบบไม่เหมาะสมกับความโลภ มักง่าย แก้แค้น อิจฉา ต้องการให้ผู้อื่นได้รับทุกข์และผู้กระท าได้รับความทุกข์ความ เสียหายจากการกระท าของตนเอง เรียกว่า ให้ทุกแก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวในตอนท้ายมีแนวคิดสั่งสอนเป็นคติสอนใจแก่ผู้อ่าน ไม่ให้ประพฤติปฏิบัติตามเนื้อเรื่อง 4. นิทานชีวิต เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก การต่อสู้ การผจญภัยของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ ซึ่งตัวเอกของ เรื่องต้องใช้ความอดทน กล้าหาญ เสียสละ การประพฤติดี มีคุณธรรม ความฉลาด กลโกงในการแก้ปัญหา จึงได้รับผลส าเร็จ
56 ในการแก้ปัญหาเรื่องราวนั้นได้ ซึ่งนิทานประเภทนี้บางครั้งลักษณะเหมือนจริง เกี่ยวกับความเชื่อ สถานที่ และเวลาที่มี รายละเอียดแน่นอน เช่น คุณช้างขุนแผน ไกรทอง พระอภัยมณีเป็นต้น 5. นิทานมหัศจรรย์หรือเทพนิยาย เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น จาก ของวิเศษ รูปแบบนิทานตัวละครมักเป็นกษัตริย์ที่เจ้าหญิง ยักษ์ เกี่ยวข้องกับจักรๆ วงๆ การด าเนิน เรื่องมักเป็นเรื่องความรัก ความอิจฉา การพลัดพราก การผจญภัย การต่อสู้ การค้นหาสิ่งของ ที่ส าคัญที่ตัวเอกของเป็นเรื่องจะต้องเอาชนะให้ได้ ฉาก ดินแดนที่อาจเป็นแดนมหัศจรรย์ที่แดนในฝัน เช่น ปลาบู่ทอง พระสุทน สังข์ทอง เป็นต้น 6. นิทานประจ าถิ่น เป็นเรื่องราวขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคคลส าคัญในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละ เรื่องมีความเชื่อเกี่ยวข้องกับสถานที่ สิ่งของ บุคคลที่มีชื่อจริงในแต่ละท้องถิ่น รูปแบบนิทานเล่าประวัติบุคคลสถานที่ในแต่ละ ท้องถิ่นที่น ามาเล่าติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน เช่น พญากง พญาพาน กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เป็นต้น 7. นิทานอธิบายเหตุ เป็นเรื่องราวที่อธิบายความเป็นมาของสรรพสิ่งต่างๆของคน สัตว์ สิ่งของ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบนิทานมักอธิบาย อะไร เป็นอย่างไร ท าไมต้องเป็นอย่างนั้น การด าเนินเรื่องเป็นการตอบข้อสงสัยอธิบายค าตอบที่สงสัยของสิ่งต่างๆอย่างสมเหตุสมผล หรือหาเหตุผลมาสนับสนุนให้มี ความน่าเชื่อ เช่น ท าไมน้ าทะเลจึงเค็ม ท าไมถึงเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นต้น 8. นิทานสัตว์ เป็นเรื่องราว ที่เกี่ยวกับความฉลาดเจ้าปัญญา ความเก่ง ความโง่เขลา ความเจ้า เล่ห์ กล โกงของสัตว์ที่มีโครงเรื่องแสดงลักษณะคล้ายมนุษย์ พฤติกรรมชิงความเป็นผู้ชนะในด้านการเป็น ผู้น า เจ้าป่า ไหวพริบ เพื่อให้ ได้รับการยกย่องยอมรับจากสัตว์ทั้งหลาย เรื่องมักจบแบบมีคติเตือนให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เช่น กระต่ายกับเต่า จระเข้กับลิง แม่ครัวกับแม่เสือ เป็นต้น 9. นิทานผี เป็นเรื่องราวลึกลับที่เกี่ยวกับภูตผีปีศาจ ที่มีประวัติยาวนานเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังที่ พิเศษได้ อิทธิฤทธิ์กระท าให้เกิดความกลัวต่อมนุษย์ตามลักษณะของผีแต่ละประเภทที่มีลักษณะการแสดง หลอก การแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ตลอดทั้งมีรูปร่างหน้าตาอาการแสดงให้เกิดความน่าตื่นเต้น ขยาดกลัว ตามธรรมชาติของผีประเภทนั้นๆ เช่น ผี ปอบ เสือสมิง แม่นาคพระโขนง ผีกระสือ ผีตานี ผีนางตะเคียน เป็นต้น 10. นิทานตลก อาจเป็นเรื่องราวตลกขบขัน ลักษณะนิทานที่น ามาเล่าแสดงถึงความฉลาด ความ โง่ กล ลวง กลโกง มีความฉลาดเกมโกง การด าเนินเรื่องจะสนุกสนานอยู่ที่ความไม่น่าจะเป็นไปได้แต่ เพราะพฤติกรรมของตัวละครที่ แสดงความฉลาดความโง่ออกมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าท าให้เกิดมุกตลกขบขันขึ้น บางเรื่องน ามาเสนอเกี่ยวกับการชิงไหวพริบ ของพ่อตากับลูกเขยความผิดการของบุคคล และแสดงความเปิ่น ความเซ่อออกมาจนเป็นมุขให้สนุกสนานและนิทานประกอบ ประเภทตลกหยาบโลน เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของพระ แม่ชี สามเณร นักบวช จะเป็นเรื่องที่น ามาเล่าเฉพาะกลุ่มเพื่อ ความ สนุกสนานบางทีเรียกว่า นิทานก้อม นิทานตลกมีมากมาย เช่น พ่อตากับลูกเขย ไอ้ขาติดกับไอ้ตาบอด หลวงพ่อกับ สามเณร
57 11. นิทานเข้าแบบ เป็นเรื่องราวที่สร้างแล้ววางโครงเรื่องเป็นพิเศษเฉพาะตัวในการเล่าให้มีความ คล้อง จอง สามารถพูดหรือเล่าได้ง่ายในรูปประโยคที่ใช้ภาษาเรียบง่ายเพื่อให้เล่าง่ายๆได้ถูกต้อง นิทาน ประเภทนี้มีการแต่งไว้น้อย เพราะต้องใช้รูปแบบเฉพาะ เช่น นิทานเรื่องตากับยาย ปลูกถั่วปลูกงาให้หลาน เฝ้า เป็นต้น วรรณี สิริสุนทร (2539:13-19) ยังได้แบ่งนิทานส าหรับเด็ก ออกเป็น 5 ประเภท 1. นิทานพื้นบ้าน (folk tales) เป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันมาเป็นเวลานานแบ่งออกเป็น 1.1 นิทานเกี่ยวกับสัตว์พูดได้ 1.2 นิทานไม่รู้จบ 1.3 นิทานตลกขบขัน 1.4 นิทานอธิบายเหตุมีเนื้อเรื่องที่อธิบายหรือตอบค าถามของเด็กๆ ว่า"ท าไม" เช่น ท าไม่ กระต่ายจึงหางสั้น ท าไมน้ าทะเลจึงเค็ม 1.5 เทพนิทาน ตัวละครจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือเป็นผู้วิเศษสามารถท าสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปท าไม่ได้ 2. นิทานสอนคติธรรม (fables) เป็นเรื่องสั้นๆ ตัวละครมีทั้งคนและสัตว์มีโครงเรื่องง่ายๆใช้ บทเรียนที่สอนใจ เช่น นิทานอีสป นิทานประเภทนี้จะรวมนิทานเทียบสุภาษิต และนิทานชาดกไว้ 3. เทพปกรณัม (myth) เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึง เหตุการณ์ และเรื่องราวในบรรพกาลเกี่ยวกับพื้นโลกท้องฟ้า แลtพฤติกรรมของมนุษย์มีเทพเจ้าเป็นผู้ควบคุมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 4 . มหากาพย์และนิทานวีรบุรุษ (epic and hero tales) คล้ายกับเทพปกรณัมต่างกันแต่ว่าตัวละครของนิทานประเภทนี้เป็นมนุษย์ ไ ม่ ใ ช่ เ ท พ เ จ้ า มี ก า ร ก ร ะ ท า ที่ ก ล้ า ห า ญ ฟั น ฝ่ า อุ ป ส ร ร ด แ ล ะ ป ร ะ ส บ ผ ล ส า เ ร็ จ ใ น ที่ สุ ด 5. หนังสือภาพที่เป็นเรื่องราวอ่านเล่นสมัยใหม่ส าหรับเด็กที่มีตัวละครเป็นสัตว์(Animal Stories) ล าไย บัวพิทักษ์ (2542 : 24) ได้แบ่งนิทานตามพื้นฐานของสังคมไทย ออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. นิทานชาวบ้านหรือนิทานพื้นบ้าน เป็นนิทานที่เล่าเรื่องเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับชีวิตของชาวบ้าน และสามัญชนทั่วไปเช่นเรื่องตากับยาย ตาเถรยายชี นางนาคพระโขนง ปูโสมเฝ้าทรัพย์ 2. นิทานพื้นเมือง บางครั้งเรียกว่านิทานประจ าถิ่น เป็นเรื่องราวที่ครอบคลุมชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนใหญ่ กว้างขวางกว่านิทานชาวบ้าน เช่นเรื่อง พญากงพญาพานท้าวแสนปม นิทานสัตว์ เป็นนิทานสมมติสัตว์เป็นตัวละครพูดได้ เช่น นิทานอีสปเรื่อง กระต่ายกับเต่า ราชสีห์กับหนู เป็นต้น 3. นิทานชวน ขัน เป็นนิทานที่แสดงออกในด้านบันเทิงขบขัน ฟังแล้วสนุกคลายอารมณ์ตึงเครียด เช่น เรื่องหัวล้านได้หวี ศรีธนญชัย ตาบอด กับหูหนวก เป็นต้น 4. นิทานชาดก เป็นนิทานที่ผูกเค้าโดรงมาจากค าสอนในศาสนาเช่น เรื่องพระเวสสันดร สุวรรณสาม นิบาตชาดก เป็นต้น
58 5. นิทานเพลง เป็นนิทานที่เล่าเรื่องเป็นค าร้อง ซึ่งมีวงดนตรีพื้นเมืองง่าย ๆ เล่นประกอบ โดยมากน าเอานิทานชาวบ้าน นิทานพื้นเมืองมาร้องเป็นเพลง ในลักษณะต่าง ๆ เช่น ล าตัดเพลงฉ่อย เพลงโคราช เพลงลิเก เพลงขอทาน เป็นต้น นิทานกลอน เป็นนิทานน าเอาเรื่องราวต่าง ๆ มาผูกเป็นกลอน โดยมากน าเอานิทานชาวบ้าน นิทาน พื้นบ้าน มักใช้กลอนตลาดกลอนเสภา เช่น เรื่องคาวีหลวิชัย สุวรรณหงษ์ ยอพระกลิ่น ไกรทอง อิเหนา มณีพิชัย ไชยเชษฐ์ขุน ช้างขุนแผน เป็นต้น คูเบอร์ (Cuber. 1960 : 282-285) ได้แบ่งคติชาวบ้าน (Folklore) ออกเป็น 5 รูปแบบคือ 1. ต านาน เป็นเรื่องเก่าแก่ที่อธิบายชีวิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และสิ่งต่างที่มีอยู่ในโลก 2. นิทานคติ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ จบลงด้วยคติสอนใจ สอนแนวทางด ารงชีวิตแก่คน 3. นิทานท้องถิ่น เป็นเรื่องสอนใจ เช่นเดียวกันแต่ให้ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องจริงมากกว่านิทาน คติ นิทานท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีเค้าเรื่องจริงและเหตุการณ์ที่เกิดจริงผสมไม่จริง 4. นิทานปรัมปรา เป็นเรื่องเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จะกล่าวถึงดินแดนมหัศจรรย์และเรื่องราวของการใช้ อภินิหารทั้งหลาย 5. รูปแบบ อื่นๆ เช่น เพลงชาวบ้าน สุภาษิต ค าพังเพย ปริศนา มุขตลก กลอนชาวบ้าน และบทร้องส าหรับเด็ก สุพัสษา บุพศิริ (2560: 43) ได้กล่าวว่า การแบ่งประเภทของนิทานนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ 1. นิทานทั่วไป คือ นิทานที่มีการด าเนินชีวิตของมนุษย์ในความเป็นจริง 2. นิทานที่เป็นเทพนิยาย คือ จะมีนางฟ้า เทวดา เทพเจ้า 3. นิทานที่เกิดจากจินตนาการ เช่น ม้ามีปีก ไก่มีมือ สัตว์และต้นไม้พูดได้เหมือน มนุษย์ สรุปได้ว่า นิทานได้ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในการแบ่ง ประเภทของนิทานนั้นใช้หลักเกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกันตามรูปแบบและเนื้อหาของการเล่านิทาน นิทานทุกประเภทล้วนแฝง ความรู้ แง่คิด คติสอนใจ เพื่อให้ผู้ฟังเรียนรู้ผ่านนิทานและสามารถน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ 2.4 ความหมายของการเล่านิทาน สรรชัย ศรีสุข. (2530 : 26) ได้ให้ความหมายของการเล่านิทานไว้ว่า การเล่านิทานหมายถึงเครื่องมือที่ ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนเป็นอย่างดีเราสามารถน าเอานิทานมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนได้หลายประการดังนี้ 1. เป็นการลดความตึงเครียดที่ขจัดความเบื่อหน่ายของนักเรียนในขณะที่เรียน 2. การน าเข้าสู่บทเรียน หรือเตรียมความพร้อมเด็ก 3. เป็นการเปลี่ยนเจตคติหรือความเชื่อที่ผิด ๆ บางประการ 4. ใช้สอนจริยธรรมแก่เด็ก เช่น ในเรื่องความซื่อสัตย์ ความกตัญญู เป็นต้น 5. ใช้สอนวิซาเรียงความ เช่น ให้นักเรียนเขียนเรื่องที่ตนเองชอบ เป็นต้น 6. ใช้สอนหรือฝึกทักษะทางภาษา เช่น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เป็นต้น
59 7. เป็นการฝึกทักษะทางด้านการอ่าน ช่วยให้เด็กรักการอ่านเป็นตัน 8. ฝึกให้เด็กมีความกล้าแสดงออก เช่น การแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวที่ก าหนดให้ 9. เป็นการสร้างความสนิทสนมและความเข้าใจในตัวครูให้เกิดขึ้นกับเด็ก 10. ช่วยพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับเด็ก พัชรี ไชยะสนิท (2535: 80) ได้กล่าวว่าการเล่านิทาน หมายถึง การเล่าเรื่องให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบ อภิปรายซักถาม แสดงความ คิดเห็น และแสดงท่าทางการประกอบเรื่องราวหรือประสบการณ์รอบตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการเล่า เนื้อน้อง สนับบุญ (2541 : 37) ได้ให้ความหมายของการเล่านิทานหมายถึงการถ่ายทอดเรื่องราวของ นิทานให้เด็กฟังให้เข้าใจด้วยการเล่า โดยใช้น้ าเสียง ท่าทาง สื่ออุปกรณ์ตลอดจนวิธีการประกอบการเล่า ขวัญนุช บุญยู่ฮง (2546: 18) กล่าวว่าการเล่านิทานหมายถึง วิธีการในการถ่ายทอดเรื่องราวของ นิทานให้เด็กได้ฟังไม่ว่าจะเป็นโดยใช้น้ าเสียง ท่าทางประกอบเรื่องราว สื่อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนการส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาส เป็นผู้เล่าด้วยตนเอง ศศิพรรณ ส าแดงเดช (2553: 23 ) ได้กล่าวว่าการเล่านิทานหมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาหรือมีผู้แต่ง ขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสามารถน าความคิดไปปรับใช้ในชีวิตประจ าวัน สรุปได้ว่า การเล่านิทาน หมายถึง วิธีการถ่ายทอดเรื่องราวเล่าเรื่องให้เด็กฟังและสนทนาโต้ตอบมี การใช้น้ าเสียงท่าทางประกอบเรื่องราว มีสื่อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนการส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสเป็นผู้เล่าด้วยตนเองเพื่อให้ ผู้ฟังได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสามารถน าความคิดไปปรับใช้ในชีวิตประจ าวันได้อีกด้วย 2.5 จุดประสงค์การเล่านิทาน กรมวิชาการ (2546 : 143-144 อ้างอึงใน เกตน์นิภา ฮาดคันทุง, 2561: 60) ได้ให้ข้อคิดในการเล่านิทานเพื่อ น าเด็กปฐมวัยไปสู่การอ่าน ดังนี้ 1. ฝึกการฟัง การที่เด็กมีความสนใจและตั้งใจฟัง เด็กจะสามารถจดจ าชื่อ ลักษณะตัวละคร ความ ต่อเนื่องของเรื่องราวได้ ได้รู้จักค าศัพท์ใหม่ ขณะที่ครูเล่าเด็กมีอารมณ์คล้อยตามเรื่องราวเป็นอย่างดี 2. ฝึกการพูด ครูให้เด็กหัดพูด ค าศัพท์ใหม่ ข้อความบางตอน หรือค ากลอนง่ายๆ จาก นิทาน ให้ เด็กมีส่วนร่วมในการเล่านิทาน เช่น การวิจารณ์นิทานที่ได้ฟัง ตอบค าถามจากเรื่องหรือหัดเล่าเรื่องที่ตนเองชอบ 3. ฝึกการสังเกต เด็กทุกคนมักช่างสังเกตและจะมีค าถาม อะไร หรือท าไมอยู่เสมอผู้เล่าจะต้องตอบ ข้อสงสัยนั้นให้เป็นที่พอใจ อาจเป็นขณะที่ก าลังเล่า หากไม่เป็นการการเล่ามากเกินไป หรืออาจบอกให้อจนครูเล่าจบก่อน การ ให้ข้อสงสัยเป็นการตอบสนอง ความ อยากรู้ เพื่อพัฒนาสมองและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับเด็กมากขึ้น กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547: 226) ได้กล่าวว่า การเล่านิทานให้เด็กฟังนั้นมีเป้าหมายส าคัญอยู่ 3 ประการ คือ
60 1. ต้องการให้เด็กได้พัฒนาภาษาและความคิด การเล่านิทานจึงไม่ควรมาจากครูคน เดียว ครูควรให้ เด็กเป็นผู้เล่านิทานเองด้วย เพราะการให้เด็กเป็นผู้เล่านิทานเองจะช่วยให้เด็กได้แสดงออกถึงความรู้สึกได้ขยายความคิดของ ตนเองให้กระจ่างและพัฒนาทางภาษาการเริ่มต้นให้เด็กเล่านิทาน อาจใช้ค าถามน า ใช้ภาพหรือเริ่มต้นเรื่องให้ก็ได้ แต่ถ้าเป็น นิทานที่ครูเล่าเองควรมีการถาม ตอบโต้ที่ให้เด็กคิดระหว่างการเล่านิทานด้วย 2. สร้างความรักการอ่านหนังสือให้กับเด็ก เวลาเล่านิทานเป็นเวลาที่สร้างความสนใจ ในการอ่านหนังสือ ให้กับเด็กมาก ครูควรเตรียมพร้อมโดยการอ่านนิทานเล่มที่จะเล่าให้เข้าใจจ าได้เวลาอ่านให้เปิดหนังสือเสมอตาเด็ก ตาครูจับที่ เด็ก คอยสังเกตเวลาเล่านิทาน ควรจัด เป็นกลุ่มเล็ก4 - 5 คน ถ้าท าไม่ได้ก็ให้เด็กนั่งเป็นวงเห็นหน้าครูชัดเจน และครูเห็นเด็ก ทุกคนถ้าเด็กรู้สึกเพลิดเพลิน กับนิทานจากหนังสือที่ครูเล่า เด็กจะชอบและสนใจที่จะหาอ่านด้วยตนเอง สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของการสร้างนิสัยรักการอ่านและความรักหนังสือที่ดี 3. สร้างการเรียนรู้อย่างมีวัตถุประสงค์ ดังกล่าวแล้วว่า เนื้อหานิทานและเรื่องราว ต่างๆ ของนิทาน ครู สามารถบูรณาการข้อความรู้ลงไปในนิทานเพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ เช่น การสร้างวินัยด้วยนิทาน การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน การเล่ามีความส าคัญมาก ผู้เล่าที่ดีต้องสนุกไปกับนิทาน และสามารถสื่อสารเรื่องราวให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นที่จะฟัง ศิริรัตน์ คอยเกษม (2557: 12) ได้กล่าวว่า จุดประสงค์ของการเล่านิทาน คือ การที่ผู้เล่าน านิทานมาใช้เพื่อเป็น สื่อในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สร้าง สมาธิการใช้ความคิดรวบยอดสอดแทรกคติสอนใจ และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส าคัญ นิทานช่วยปลูกฝั่งนิสัยรักการอ่าน และ ส่งเสริมทักษะทางภาษ1 การจับใจความของเนื้อเรื่องที่ได้ฟัง เนื่องจากเด็กปฐมวัยอ่านหนังสือไม่ได้เหมือนผู้ใหญ่ การจับ ใจความของเด็กต้องอาศัยการฟังเรื่องราวจากครู ดังนั้นการสอนจับใจความส าหรับเด็กปฐมวัยจึง เหมาะสมที่จะใช้นิทาน ปราณี ปริยวาที (2551 : 27 ) ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเล่านิทาน คือ ใช้นิทาน เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อช่วย พัฒนาด้านภาษา ด้านความคิด ด้านอารมณ์และจิตใจ สร้างสมาธิปลูกฝังจริยธรรม ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และแก้ไข พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ แอลลิส และ บรูสเตอร์ (Elis; & Brewster. 1991: 1-2) กล่าวว่า ธรรมชาติของเด็กเพลิดเพลินกับการฟังการเล่า นิ ท า น ดัง นั้ น จึง มี ก า ร น า นิ ท า น ม า เ ป็ น สื่ อ ใ น ก า ร เ รี ย น ภ า ษ า ต่ าง ป ร ะ เ ท ศ ด้ ว ย เ ห ตุ ผ ล ดัง ต่ อ ไ ป นี้ 1. นิทานช่วยสร้างความสนุกนาน และช่วยพัฒนาทัศนคติในทางบวกในการเรียนภาษาต่างประเทศใน อนาคต และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเรียนภาษาต่างประเทศ 2. นิทานช่วยสร้างจินตนาการ เด็กสามารถจินตนาการตัวเองแทนตัวละครในเรื่องซึ่งประสบการณ์แห่งการจินตนาการช่วยพัฒนา พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ 3.นิทานเป็นเครื่องมือที่สามารถ เชื่อมโยงจินตนาการให้สัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริงของเด็ก ซึ่งเด็กสามารถสร้างจิตส านึกของตนเอง ให้เชื่อโยงกับการ ด า เ นิ น ชี วิ ต ใ น แ ต่ ล ะ วั ย ร ะ ห ว่ า ง บ้ า น กั บ โ ร ง เ รี ย น 4. การพังนิทานในห้องเรียน เป็นการปันประสบการณ์ทางสังคม ซึ่งการอ่านและการเขียน เป็น เพียงกิจกรรมเดียวเท่านั้น แต่การฟังนิทานสามารถแบ่งปันความรู้สึกต่างๆ เช่น ความสุขจากเสียงหัวเราะ ความตื่นเต้น และ การคาดคะเน ซึ่งไมใช่เป็นเพียงความสุขสนุกสนานเท่านั้น แต่สามารถช่วยสร้างความมั่นใจ และการกระตุ้นพัฒนาการ
61 ทางด้านสังคม และอารมณ์ให้ดีขึ้น 5 . การฟังนิทานซ้ าไปซ้ ามา ท าให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา ในขณะที่ทักษะอื่นๆ ต้องได้รับการกระตุ้นหรือผลักดัน ซึ่งนิทานแต่ละ เ รื่ อ ง มั ก จ ะ มี ค า แ ล ะ โ ค ร ง ส ร้ าง ป ร ะ โ ย ค ช้ า ไ ป ซ้ า ม า เ พื่ อ ช่ ว ย ใ ห้ เ ด็ ก จ ด จ า ทุ ก ร า ย ล ะ เ อี ย ด ไ ด้ 6. การฟังนิทาน ช่วยให้ครูแนะน าค าศัพท์ หรือเป็นการทบทวนค าศัพท์ โครงสร้างภาษา โดยเปิดให้ เด็กได้จดจ าและเทียบเคียงบริบทโดยใช้ความคิดแล้วค่อยๆ น าไปสู่ค าพูดของเด็กเอง 7. การฟังนิทาน ช่วยพัฒนาการฟังและทักษะอื่นเข้าด้วยกัน โดยผ่านสิ่งต่อไปนี้ คือ สื่อที่มองเห็น ได้แก่ รูปภาพ หนังสือที่มีภาพประกอบ ความรู้ทางภาษาที่เคยเรียนมา ความรู้ทั่วไปสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กเข้าใจความหมายของเรื่อง และมี ความเกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ตัวเอง 8. นิ ท า น ส ร้ าง ส ร ร ค์ พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ต่อเนื่องกับวิชาอื่นๆ ในหลักสูตร 9. การเรียนภาษาอังกฤษจากเรื่อง เล่า สามารถวางรากฐานทางภาษในการเรียนระดับที่สูงขึ้น จากจุดประสงค์ของการเล่านิทาน สรุปได้ว่า การเล่านิทานมีจุดประสงค์เพื่อใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนรู้เสริมสร้างจินตนาการความคิด สร้างสรรค์ เพื่อช่วยพัฒนาด้านภาษา ด้านความคิด อารมณ์ จิตใจ สร้างสมาธิ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึ่งประสงค์และ แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 2.6 หลักการเลือกนิทานส าหรับเด็กปฐมวัย สมใจ บุญอุรพีภิญโญ (2539 : 7 – 8)การเลือกนิทานที่จะน ามาเล่าให้เด็กฟังควรค านึงถึงอายุและความ สนใจของผู้ฟังเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 6 ปีจะสนใจตัวเองน้อยลงเริ่มสนใจภายนอกมากขึ้นมีอารมณ์รักสนุกชอบฟังนิทาน ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่มีสัตว์พูดได้นิทานส าหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีหลายประเภทเช่นนิทานที่เล่นค าเล่นเสียงจังหวะค า นิทานที่มีค าคล้องจองมีค าซ้ า ๆ กันที่น่าฟังนิทานที่กระตุ้นจินตนาการและตอบสนองให้เด็กได้แสดงท่าทางนิทานที่รับรู้และ เข้าใจความรู้สึกของเด็กและให้ความเห็นอกเห็นใจหนังสือที่น ามาเล่านั้นควรมีภาพประกอบที่ชัดเจนสีสันสวยงามและเสนอ ภาพที่สะท้อนความคิดของเด็กในทางที่ดีงามระยะเวลาในการเล่าในระยะแรกควรใช้เวลาประมาณ 15 - 20นาที เกริก ยุ้ยพันธ์ (2543: 67-68 อ้างถึงใน วรทิพย์ ปลื้มสกุลไทย, 2557: 40-41) ได้กล่าวว่า หลักในการเลือก เรื่องนิทานส าหรับเด็กเพื่อใช้ในการเล่า ควรจะต้องพิจารณาในสิ่ง ดังต่อไปนี้ 1. เรื่องที่จะเล่า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับวัยต่างๆของเด็ก 2. จะต้องพิจารณาเรื่องเวลาให้เหมาะสมกับการเล่านิทานส าหรับเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งมีช่วงระยะเวลา ความสนใจและสมาธิการฟังแตกต่างกัน 3. จะต้องเป็นเรื่องส าหรับเด็กที่ผู้เล่าสนใจ และชื่นชอบ 4. ผู้เล่าจะต้องเลือกเรื่องที่จะใช้เล่าให้เหมาะสมกับวิธีการ 5. เรื่องที่เลือกมาเล่าจะต้องมีเนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม และมีความยาวของ เรื่องพอเหมาะ พอดี
62 6. เนื้อหาของเรื่องจะต้องมีสาระค่านิยมความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เหมาะสม กับการปลูกฝังความดีและความงาม 7. ผู้เล่าจะต้องเตรียมตัวเล่าให้พร้อม เพื่อป้องกันการขาดตอน หรือขัดจังหวะการ ต่อเนื่องของ เรื่องราว 8. การจัดสื่อหรืออุปกรณ์ประกอบการเล่า ผู้เล่านิทานจะต้องทดสอบหรือทดลอง มาก่อน เพื่อป้องกันการผิดพลาด และต้องจัดสื่อหรืออุปกรณ์ตามล าดับก่อนหลัง 9. การพิจารณาเรื่องส าหรับเด็ก ผู้เล่าต้องพิจารณาเรื่องให้เหมาะสมกับ บรรยากาศด้วย และขณะ เล่า ผู้ฟังกับผู้เล่าควรมีการโต้ตอบกันตามโอกาสอัน เหมาะสม บวรงาม ศิริอุดม (2554: 7 อ้างถึงใน วรทิพย์ ปลื้มสกุลไทย, 2557: 41) ได้กล่าวว่า นิทานที่เหมาะสมส าหรับ เด็กปฐมวัยไว้ ด้งนี้ 1. เด็กอายุ 0-1 ปี นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผักผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจ าวันและเขียนเหมือนภาพของจริงมีสีสวยงามขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆ ที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพ หลังหรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจท าด้วยผ้า หรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้ 2. เด็กอายุ 2 - 3 ปี นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เด็กสนใจเป็นภาพเกี่ยวกับ ชีวิตประจ าวัน สัตว์ สิ่งของ 3. เด็กอายุ 4 - 5 ปี นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้นแต่เข้าใจง่ายส่งเสริม จินตนาการและอิงความจริง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่ มีสีสันสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่อง ไม่มากเกินไปและมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษา ง่ายๆ วรัญญา ศรีบัว (2560: 101) ได้กล่าวว่า หลักในการเลือกนิทานที่จะน ามาเล่าให้เด็กฟัง ได้ว่าควรพิจารณา ถึง ความเหมาะสมของเนื้อหา สาระข้อคิดและคุณธรรมจริยธรรมจากนิทาน ภาษา ที่ใช้ขนาดรูปเล่ม นิทาน รูปภาพ ประกอบ ตัว ล ะ ค ร ค ว า ม ย า ว ข อ ง นิ ท า น วั ย ข อ ง เ ด็ ก แ ล ะ ค ว า ม ส น ใ จ ข อ ง เ ด็ ก ด้ ว ย ควรเล่านิทานที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก เนื้อเรื่องที่เล่าต้องเข้าใจสนุกสนาน ถ้ามีค าซ้ าๆ ประโยคซ้ าๆ ก็จะเป็น ที่สนใจ สนุกสนาน ถ้ามีค าซ้ าๆ ก็จะเป็นที่สนใจของเด็ก มาก ถ้าเป็นหนังสือควรมีภาพประกอบชัดเจนมีบทสนทนามากกว่า ความเรียง เนื้อหาของเรื่องมีคุณค่า สร้างสรรค์ ส่งเสริมสติปัญญาและจิตใจ วีรวรรณ อินทร์กรุงเก่า (2550: 33) ได้กล่าวว่า หลักการเลือกนิทานส าหรับเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นไปที่เรื่องนิทาน ต้องเป็นเรื่องง่าย ๆ เหมาะสมกับวัยเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ตัวละครไม่มาก รูปเล่มและเนื้อหาเหมาะสมกับวัย เด็กเห็นแล้ว สามารถจ าได้เนื้อเรื่องเน้นที่บทสนทนา รวมทั้งต้องค านึงสื่อที่ใช้ประกอบการเสานิทาน เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก สรุปได้ว่า หลักในการเลือกนิทานที่จะน ามาเล่าให้เด็กฟัง ควรเป็นนิทานที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของ เด็กถ้าเป็นหนังสือควรมีภาพประกอบชัดเจนมีบทสนทนามากกว่าความเรียงเนื้อหา เนื้อเรื่องที่น ามาเล่าต้องเข้าใจสนุกสนาน
63 เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายก็จะเป็นที่สนใจของเด็ก เนื้อหาของเรื่องต้องมีคุณค่าสร้างสรรค์ ส่งเสริมสติปัญญาและจิตใจช่วยปลูกฝัง ลักษณะนิสัยที่ดีงามให้แก่เด็ก งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทาน งานวิจัยต่างประเทศ เวลล์เซน (Wellhousen, 1993) ศึกษาการเล่าเรื่องของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ กิจกรรมการเล่าเรื่องที่คิดขึ้นเองโดยไม่มีสื่อกิจกรรมการเล่าเรื่องจากรูปภาพ และกิจกรรมการวาดรูปภาพพร้อมกับเล่าเรื่องจากภาพวาดนั้นโดยใช้กิจกรรมแต่ละรูปแบบในการให้เด็กดึงเอาสถานการณ์มา เล่าต่อเป็นเรื่องราว เรื่องราวที่เด็กเล่าเมื่อน ามาเปรียบเทียบกับความคล่องแคล่ว ค าศัพท์ ความเป็นธรรมชาติเวลาอธิบายและ โครงสร้างของเรื่องราว ผลการศึกบาพบว่าดึงเอาสถานการณ์มาเล่าต่อเป็นเรื่องราวโดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ ท าให้เด็กมี ความคล่องแคล่วมากขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างเรื่องราวที่มีความซับซ้อนมากกว่าการเล่าเรื่องโดยใช้ภาพหรือโดย การวาด ดิกสัน จอห์สัน และชอลท์ (Dixson, Jonson & Salf, 1977 : 367-379) ได้ศึกษาเด็ก 4 กลุ่ม ในจ านวนสามกลุ่ม ให้ได้รับการเล่านิทานให้ฟัง โดยแต่ละกลุ่มหลังจากที่ได้ฟังนิทานแล้วมีการสนทนา หรือพาไปศึกษานอกสถานที่หรือแสดง บทบาทเลียนแบบตัวละคร และอีกกลุ่มเปิ่นควบคุมผลการทคลอง พบว่า ในการฟังนิทานนั้นถ้าเด็กได้แสดงบทบาทเลียนแบบตัวละครในเรื่องไปด้วยจะพัฒนาความคิด ต่าง ๆได้ดีที่สุด แสดงว่าเมื่อ เด็กได้ฟังนิทานแล้วเด็กย่อมมีความต้องการที่จะเลียนแบบตัวละครที่ตนชอบ หรือตัวละครที่ประสบผลส าเร็จ และยังพบว่า เนื้อเรื่องในนิทานถ้าเป็นเรื่องไกลความจริงจะได้ผลดี ต่อความคิดของเด็ก ได้ดีกว่านิทานที่มีเนื้อเรื่องใกล้ชีวิตจริงของเด็ก มอร์โรว์ (1985) ได้ท าการวิจัยผลของการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ า โดยไม่มี การชี้แนะในระดับปฐมวัย อายุ เฉลี่ย 5 ปี 7 เดือน ผู้วิจัยและผู้ช่วยแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการค าเนินการวิจัย ผู้วิจัย และผู้ช่วยวิจัยเล่าเรื่องเดียวกันให้เด็กฟังในช่วงเวลาเล่านิทานปกติ หลังการเล่านิทานให้กลุ่มควบคุมวาดภาพจากเรื่องที่ฟัง และ กลุ่มทดลองเล่าเรื่องซ้ าให้ครูฟังเป็นภาพบุคคลโดยไม่มีการชี้แนะ ผลการวิจัยพบว่า การเล่าเรื่องซ้ าช่วยส่งเสริมความสามารถค้านการสื่อสารมากขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ กล่าวคือช่วยให้เด็กพัฒนา ความสามารถในการถ่ายทอดภาษาให้ชัดเจนละเอียดลออ ครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่ง ความสามารถนี้วัคได้เป็นจ านวนค าต่อประโยคไม่ได้วัดที่ปริมาณค าพูด ซึ่ง มิลเลอร์(1951) ถือว่าความสามารถนี้เป็นเครื่องมือ ที่สามารถวัดความซับซ้อนของรูปประโยคได้อย่างดี เพียร์ซและเทอรี่ (Pierce & Terry, 2000 : 77 - 90) ได้ศึกษาปัญหาในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเด็ก ประถมศึกษา พบว่า เด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ดังนั้นเขาจึงสนใจที่จะศึกบาความสนใจของเด็ก พบว่าเด็ก ในวัชนี้ชอบการเล่าเรื่อง และชอบการฟังนิทานเขาจึงดัดแปลงการสอนเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ มาเป็นการเล่านิทาน
64 ประกอบบทเรียนแทนการสอนแบบเดิม ผลการวิจัยพบว่าสามารถท าให้นักเรียนสนใจและชอบในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มากขึ้น แฟลค (Flack, 2001) ศึกษานิทานกับความคิดสร้างสรรค์ โดยน าเสนอว่าวิธีการที่จะท าให้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถได้รับการ ส่งเสริมในนักเรียน อาจด้วยวิธีการอย่าระดมความคิดละการการพัฒนาประสิทธิผลขององค์ประกอบ ความคิดสร้างสรรค์ด้านความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความละเอียดลออ ผลการศึกษาพบว่า นิทานเป็น วิธีที่สามารถน ามาใช้เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ค้านความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่นความคิดริเริ่ม และความ ละเอียดลออได้ สรุปได้ว่า การเล่านิทานมีความส าคัญต่อเด็กมากโดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กมีความสุขสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วยพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ด้านภาษา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และส่งเสริมทักษะ ในการฟัง ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็กได้ยิ่งขึ้น งานวิจัยในประเทศ นางสาวศุภธิดา เทียนงาม (2560 :บทคัดย่อ) การพัฒนาพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวของเด็ก ปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธาราม โดยใช้กิจกรรมนิทาน พบว่า การจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อชุดหนังสือ นิทานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัยในการเข้าแถว เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธารามมีระเบียบวินัยในการเข้าแถวเพิ่มมากขึ้น ตลอด 3 สัปดาห์ จากร้อยละ 53.52 63.08 และ 81.61 ตามล าดับ จันทน า ชูชื่น (2553) ได้ศึกษ าเปรียบเทียบค วามส ามา รถค้านกา รพูดของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบหุ่นมือ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 3-4 ปี จ านวน 18 คน ซึ่งก าลัง ศึกษาอยู่ในชั้นปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกบา 2552เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด กิจกรรมการเล่า นิทานประกอบหุ่นมือ จ านวน 24 แผนหุ่นมือประกอบการเล่านิทาน จ านวน 8 เรื่อง และ แบบประเมินความสามารถด้านการ พูดของเด็กปฐมวัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน คือ การพูดเป็นค า การพูดเป็น ประโยด การพูดตั้งค าถาม และการพูดเล่าเรื่อง สถิติที่ ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่า นิทานประกอบหุ่นมือมีความสามารถค้านการพูด ทั้งโดยรวมและราชด้านสูงขึ้นกว่าก่อนการทคลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เยาวลักษณ์ สมบัตินิมิต (2553) ได้ศึกษา ผลการเล่านิทานเชิงคณิตที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัย โรงเรียนปริยัติรังสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชายและหญิง อายุระหว่าง 4 ปี ถึง 4 ปี 11 เดือน จ านวน 20 คน ที่ก าลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนปริยัติ รังสรรค์ อ าเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานเชิงคณิตก่อนและหลังการ ทคลองมี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและรายด้านคือ การนับ การรู้ค่าจ านวน การจ าแนก และ การเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังการทคลองสูงกว่าก่อนการทคลอง
65 ประภาพิศ ควงค าจันทร์ (2554) ได้ศึกษาผลของกิจกรรมเล่านิทานสร้างสรรค์ภาพสามมิติเสริมด้วยค าถาม ปลายเปิดต่อความความคิดสร้างสรรค์ และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลที่ที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จ านวน 33 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้แผนการสอนกิจกรรมเล่านิทานสร้างสรรค์ภาพสามมิติเสริมด้วยค าถามปลายเปิดก่อนการจัดกิจกรรมเล่านิทาน สร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย 51.24 คิดเป็นร้อยละ 70.92 หลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย 8.36 คิดเป็นร้อยละ 95.72 และมีความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานสร้างสรรค์ภาพสามมิติเสริมด้วยค าถามปลายเปิดในภาพรวมมีพฤติกรรมความรับผิดชอบใน ระดับมาก ประวีณา แก้วเมืองกลาง (2554 : 67 - 69) ได้ศึกษาคุณธรรมพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้านความซื่อสัตย์ ความ สามัคคีและความมีน้ าใจ และเปรียบเทียบคุณธรรมพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้านความซื่อสัตย์ ความสามัคคีและความมีน้ าใจ ก่อนและหลังการเล่านิทานพื้นบ้านภาคอีสานกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย จ านวน 35 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี การพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานโดยรวมและรายด้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า การเล่านิทานมีความส าคัญต่อเด็กมากโดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กมีความสุขสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วยพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ด้านภาษา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และส่งเสริมทักษะ ในการฟัง ช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็กได้ยิ่งขึ้น 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับกับค าถามปลายเปิด นักกการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของค าถามปลายเปิด ไว้แตกต่างกัน ดังนี้ 3.1 ความหมายของค าถามปลายเปิด ระยับ ทฤษฎีคุณ (2536: 72-73) ได้ให้ความหมายของค าถามปลายเปิด (Divergent Thought Question) ไว้ ว่าเป็นค าถามที่สามารถตอบค าถามกว้างๆผู้ถามต้องใช้ความคิดสูงต้องอาศัยความรู้เดิมหรือหลักการหลายอย่างมาประกอบ กั น ต้ อ ง อ า ศั ย ส ม ร ร ถ ภ า พ ท า ง ส ม อ ง ค้ า น ค ว า ม คิ ด ริ เ ริ่ ม ส ร้ า ง ส ร ร ค์ คิดวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน ซึ่งด าตอบท านายถ่วงหน้าไม่ได้ค าตอบอาจมีหลายค าตอบขึ้นอยู่กับเหตุผลของผู้ตอบ ปรีชา เนาว์เย็นผล (2544, หน้า 27 ) กล่าวว่าค าถามปลายเปิด เป็นค าถามที่สร้างขึ้นให้มีค าตอบเปิด กว้าง มีค าตอบที่ถูกต้องหลายค าตอบหรือมีวิธีการ หรือแนวทางหาค าตอบได้หลายวิธี ปานจิต รัตนพล (2547: 37 ได้ให้ความหมายของค าถามปลายเปิดไว้ว่า เป็นค าถามที่มีค าตอบที่เป็นไป ได้มากกว่าหนึ่งค าตอบและสามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาได้มากกว่าหนึ่งวิธีโดยในการแก้ปัญหาจะให้นักเรียนเป็นผู้ตัดสินใน เลือกใช้วิธีการหาค าตอบด้วยตนเองพร้อมทั้งอธิบายที่มาของค าตอบหรือเหตุผลของตนเอง เจนสมุทร แสงพันธ์ (2548: 23) กล่าวว่า ด าถามปลายเปิดเป็นค าถามที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดง ค าตอบและวิธีการอย่างหลากหลายในการแก้ปัญหา เป็นค าถามที่กระตุ้นการคิดและความสนใจให้นักเรียนที่มีความสามารถ
66 ต่างกันสามารถท าหรือแก้ปัญหาได้ด้วยความรู้ความสามารถของตนเองและยังเป็นการฝึกพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาด้วย ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2553: ) กล่าวว่าค าถามปลายเปิด หมายถึง ค าพูดที่ต้องการการตอบสนองจาก บุคคลที่มุ่งหวัง ช่วยในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดแง่คิดอย่างกว้างขึ้น สรุปได้ว่า ค าถามปลายเปิดหมายถึง ค าถามที่กระตุ้นความคิดและความสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ แสดงวิธีการและหาค าตอบที่หลากหลายตามศักยภาพ 3.2 เทคนิคและหลักการใช้ค าถามปลายเปิด การคิดเป็นกิจกรรมค้านสติปัญญาซึ่งช่วยในการแก้ปัญหา ตัดสินใจและเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้า มาในชีวิต การคิดเป็นกิจกรรมส่วนบุคคลและของแต่ละคนแต่การคิดที่ดีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตามล าพัง เราต้องการเพื่อนหรือกลุ่ม มาช่วยคิด เราไม่สามารถอยู่อย่างโดดเคี่ยว เด็กเรียนรู้ที่จะคิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตนเองค าถามปลายเปิดเป็นองค์ประกอบที่ ส าคัญในการส่งเสริมกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดขั้นสูง หลักการในการใช้ค าถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด ดังนี้ (นภเนตร ธรรมบวร, 2544: 7) 3.1 ในการถามค าถามเด็ก ครูควรให้เวลาแก่เด็กในการคิดและแสดงออกซึ่งความคิดของตน ครูไม่ควรเร่งเด็กให้ตอบค าถามมากเกินไปหรือเป็นผู้ตอบค าถามเอง ถ้าครูให้เวลาเด็กในการคิดหาค าตอบโดยใช้เวลาในการรอ คอยค าตอบให้ยาวนานขึ้นจ านวนของเด็กที่จะตอบค าถามก็จะมีมากขึ้นความล้มเหลวในการตอบค าถามจะลดน้อยลง การ พูดคุยอภิปรายและสรุปองค์ความรู้ของเด็กจะเพิ่มมากขึ้น 3.2 ค าถามที่ครูใช้ควรเป็นค าถามปลายเปิดซึ่งส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาการเปรียบเทียบและทางเลือกค าถาม ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดแก้ปัญหานั้นจะต้องมีค าตอบที่ถูกอย่างหลากหลายไม่ใช่มีเพียงค าตอบเดียวทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีความคิดที่เปิด กว้างสามารถได้หลายทาง 3.3 ค าถามที่ครูถามควรเป็นค าถามปลายเปิดที่ช่วยให้เด็กเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของตนกับการเรียนรู้ใน ปัจจุบันได้ 3.4 ครูควร กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้ตั้งค าถามปลายเปิดด้วยตนเองซึ่งครูอาจช่วยกระตุ้นให้ถามโดยวิธีการต่างๆ ดังนี้ 3.4.1 เปิดโอกาสให้เด็กถามค าถาม และตั้งใจฟังค าถามของเด็ก 3.4.2 ถ้าด าถามที่เด็กถามไม่ชัดเจน ครูควรให้เด็กถามค าถามซ้ าอีกครั้งหนึ่งเพราะจะช่วยให้ครูและเด็ก เข้าใจค าถามมากขึ้น 3. 4.3 ส่งเสริมให้เด็กตอบค าถามด้วยตนเอง ซึ่งจะน าไปสู่การถามค าถามต่อไปเนื่องจากทุกครั้งที่เด็กหาค าตอบได้ด้วยตนเอง เด็กจะพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึงทัศนคติในทางบวกต่อตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะถามค าถามต่างๆด้วย ตนเองต่อไป 3.5 ครูควรใช้ค าถามของเด็กในการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ และดันหาค าตอบด้วยตนเอง โดย ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2553: 13) ได้เสนอหลักการของค าถามปลายเปิดไว้ 3.5.1 เชิญชวนให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็น ความคิดและความรู้สึก
67 3.5.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม 3.5.3 สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและผู้เรียน 3.5.4 กระตุ้นให้เกิดการอภิปราย 3.5.5 รักษาสมคุ ระหว่างครูและผู้เรียน จากที่กล่าวมาข้างคันสรุปได้ว่าการใช้ด าถามปลายเปิดนั้นครูควรมีเทคนิคและหลักการในการใช้ค าถาม เพื่อให้การ จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งจะส่งเสริมกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดขั้นสูงของเด็ก 3.3 การสร้างค าถามปลายเปิด ป าน จิต รัตนพล ( 2547 : 32) กล่ า ว ว่ าก า รส ร้ างค าถ ามที่ดีต้องค านึงถึงสิ่งที่ส าคัญ ดังนี้ 3.1 เตรียมสถานการณ์เชิงกายภาพที่เกี่ยวข้องกับตัวเปรเชิงปริมาณซึ่งสามารถสังเกตความสัมพันธ์ได้ 3.2 ใช้ค าถามแทนการพิสูจน์ทฤษฎีบท เช่น "ถ้า P แล้วความสมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่นักเรียนค้นพบมี อะไรบ้าง" ทั้งนี้ต้องก าหนดขอบเขตของค าว่า "สิ่งต่างๆ ให้เฉพาะเจาะจง" 3.3 ในการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีบท ควรเริ่มต้นด้วยตัวอย่างที่สอดคล้องกับทฤษฎีบทหลายๆ ตัวอย่าง 3.4 แสดงรายการที่เป็นล าดับหรือข้อมูลของตารางต่างๆ ให้นักเรียนค้นพบความสัมพันธ์หรือ กฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ 3.5 แสดงตัวอย่างข้อเท็จจริงให้เห็นความคิดกว้างๆ กับนักเรียน ครูยกตัวอย่างข้อเท็จจริงในด้านหนึ่ง ให้ นักเรียนอธิบายข้อปลีกย่อยอื่นๆซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับตัวอย่าง 3.6 แสดงตัวอย่างของแบบฝึกหัดหรือปัญหาที่คล้ายคลึงกันหลายๆ ตัวอย่างให้นักเรียนหาค าตอบ แล้ว ให้หาสมบัติที่ร่วมกันเท่าที่เป็นไปได้ของปัญหา 3.7 แสดงสถานการณ์กึ่งคณิตศาสตร์ (Quasi-Mathematics) ซึ่งเป็นสถานการณ์ใช้คณิตศาสตร์ช่วยอธิบาย ได้ เช่น ปัญหาการอยู่ร่วมกันอย่างกระจายมากที่สุดเพราะเหตุใดให้หาวิธีการแก้ปัญหาโดยน าคณิตศาสตร์มาอธิบาย 3.8 แสดงตัวอย่างที่ชัดเจนของโครงสร้างทางพืชคณิต เช่น โครงสร้าง Semi Groupหรือ Group โดยแสดง ข้ อ มู ล เ ชิ ง ตั ว เ ล ข ที่ ง่ า ย ใ น ก า ร ร ว บ ร ว ม แ ล้ ว ใ ห้ นั ก เ รี ย น ห า เ ก ณ ฑ์ ท า ง ค ณิ ต ศ า ส ต ร์ ที่ ส อ ด ค ล้ อง เจนสมุทร แสงพันธ์ (2548: 30-32) กล่าวว่า ครูควรสร้างและพัฒนาค าถามปลายเปิดก่อนที่จะน าไปใช้ใน ห้องเรียน โดยพิจารณาว่าค าถามนั้นมีแค่ในเชิงเนื้อหา เหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่และค าถามลักษณะพิเศษน าไปสู่การพัฒนา หรือไม่ สรุปได้ว่า การสร้างค าถามปลายเปิดไม่ควรเป็นค าถามที่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไปควรเป็นค าถามที่วัดผู้เรียน ตามศักยภาพ และเหมาะสมกับนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน
68 3.4 ลักษณะค าถามปลายเปิด กุลยา ต้นติผลาชีวะ (2551: 190 ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของค าถามปลายเปิดส าหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้ 3.1 เหมาะสมกับวัยและให้เวลาตอบ เพราะเด็กต้องใช้เวลาคิด 3.2 กระตุ้นให้เด็กถามและตอบด้วยตนเอง ครูต้องสนใจค าถามของเด็กเพื่อให้เด็กมั่นใจถ้าไม่เข้าใจให้ เด็กอธิบายใหม่และสนใจค าตอบของเด็กและสะท้อนให้เด็กทราบค าตอบการที่เด็กค้นหาค าตอบเองเป็นประสบการณ์ที่สูง 3.3 ใช้ค าถามเป็นตัวช่วยให้เด็กเรียนรู้ เพราะเด็กจะช่วยกันคิดหาค าตอบและค าตอบที่ได้เป็น การใช้ความรู้ เพราะด าถามปลายเปิดเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กคิดเชิงบวกเกิดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ซึ่งความรู้นั้นต้อง สัมพันธ์กับเรื่องที่เรียน 3 . 4 ครูต้องรับฟังการตอบของเด็ก ซึ่งลักษณะการฟังของครูสามารถแยกเป็น3 แบบ ดังนี้ 3.4.1 ฟังแบบส ารวจ เป็นการฟังเพื่อประมวลค าตอบอย่างกลั่นกรอง ซึ่งเป็นวิธีที่ส าคัญส าหรับเด็กปฐมวัยเพราะ ครูต้องทราบว่าเด็กรู้และคิดอย่างไร 3.4.2 ฟังแบบค้นหา เป็นการฟังเพื่อหาค าตอบที่เจาะจงโดยไม่สนใจค าตอบอื่นซึ่งอาจจะดีกว่าค าตอบที่ให้ 3.4.3 ฟังแบบศึกษา เป็นการฟังที่ผสมผสานระหว่างการส ารวจและการค้นหาค าตอบที่ เจาะจง ท าให้เกิดการมองภาพความเข้าใจของเด็ก ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2553: 26-27) กล่าวว่าในการตั้งด าถามให้เด็กตอบแต่ละครั้งครูผู้สอนต้องอาศัยหลัก ในการตั้งค าถามปลายเปิดที่มีลักษณะ ดังนี้ 1. ชัดเจน ค าถามที่ดีต้องมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าต้องการถามอะไร 2. เข้าใจง่าย ค าถามที่ดีต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย 3. สัมพันธ์กับสิ่งที่เรียน ค าถามที่ดีต้องมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน เรื่องราว เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน 4. หลากหลาย ค าถามที่ดีต้องมีหลายประเภท กลมกลืนกับเรื่องราวกิจกรรม 5. มีคุณค่า ค าถามที่สร้างขึ้นต้องมีคุณค่า และเร้าให้อยากตอบ 6. ค าถามที่ดีควรเป็นแบบปลายเปิด เพราะจะท าให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะตอบ 7. ควรให้ผู้เรียนได้คิด ได้บรรยาย อธิบายเหตุผล ว่าท าไม เพราะเหตุใด หรือ ประเมินค่าสิ่งที่ เรียนรู้ ผู้ถามต้องพยายามหลีกเหลี่ยงค าถามที่ต้องการค าตอบเดียวว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" 8. พัฒนาสมอง ค าถามที่ดีต้องสามารถให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางสมองได้ดี สั้น กระชับ ชัดเจน สรุปได้ว่าการจะถามค าถามปลายเปิดให้ดีนั้นมีหลักในการถามคือค าถามนั้นต้องสั้น กระชับชัดเจนเข้าใจง่ายและค าถามต้องมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ที่เรียนเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากตอบและใช้เหตุผล ประกอบในการอธิบาย
69 3.5 ประโยชน์ของค าถามปลายเปิด นารี ชมเกสร (2541: 30) ได้กล่าวถึงค าถามปลายเปิดไว้ ดังนี้ 1. ช่วยให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว หรือเชื่อมโยงความรู้เก่าไปสู่ความรู้ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีแนวคิดมีเหตุผลในลักษณะต่างๆ 3. เพื่อใช้เป็นเป็นส่วนหนึ่งและกระตุ้นความสนใจได้ทุกขั้นตอนที่สอน 4. เน้นในสิ่งที่ต้องการพูด 5. ควบคุมกิจกรรมในชั้นเรียนให้ด าเนินการในทิศทางที่ต้องการ 6. ท าให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 7. ก่อให้เกิดการดันคว้าและส ารวจความรู้ใหม่ เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการค้นคว้าให้เกิดขึ้น เพื่อ น าไปสู่การคิดแก้ปัญหาต่างๆ 8. ใช้ทบทวนหรือสรุปเรื่องราวที่สอนให้กะทัดรัดยิ่งขึ้นจุดมุ่งหมายเพียงไร 9. ใช้วัดผลความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งวัดผลการสอนว่าเป็นไปตามและเร้าความสนใจ พูนศรี จันทร์สกุล (2541: 33-35) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของค าถามได้อย่างสอดคล้องกับนักการศึกษาสอง ท่านข้างต้นว่า ค าถามมีบทบาทส าคัญต่อการเรียนการสอน ซึ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะค าถามปลายเปิดเป็น ค าถามที่ส่งเสริมให้นักเรียนคิดและเรียนรู้เมื่อนักเรียน ได้ ฝึกคิดบ่อยๆความสามารถของสติปัญญาก็สูงขึ้น สรุปได้ว่าค าถามปลายเปิดมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางท าให้ ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและฝึกคิดแก้ปัญหาต่างๆตลอดจนกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียน ดังนั้นการใช้ ค าถามของครูจึงจ าเป็นต่อการเรียนการสอนที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิด 3.6 งานวิจัยเกี่ยวกับค าถามปลายเปิด งานวิจัยต่างประเทศ เรย์ ( Ray, 1979) ศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของการใช้ค าถามระดับต่ ากับค าถามระดับสูงในการสอน วิชาเคมีที่มีผลต่อความมีเหตุผลเชิงนามธรรมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งกลุ่ม ตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 54 คน โดยจัดสภาพแวดส้อมเหมือนกัน กลุ่มที่ 1 ถามด้วยค าถามระดับสูง (ค าถามขั้นความ เข้าใจ การวิเคราะห์การน าไปใช้ และการประเมินค่า) ส่วนกลุ่มที่ 2 ถามด้วยค าถามระดับต่ า (ค าถามขั้นความจ า)ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มที่ถามด้วยค าถาม ระดับสูงมีคะแนนความมีเหตุผลเชิงนามธรรมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ถามด้วยค าถามระดับต่ าอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ ไฮแมน (Hyman, 1984) ได้สรุปบทรายงานการวิชัยของกาเลเกอร์ (Gallagher:1984) ซึ่งไว้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ค าถามในการเรียนการสอนไว้ดังนี้ รูใช้ค าถามประเภทความจ าร้อยละ 60 และค าถามประเภท ทิศทางเดียวหรือควรคิดประมาณร้อยละ 30 ค าถามประมาณร้อยละ 6 และค าถามประเภทหลายทิศทางหรือขยายความคิด
70 ประมาณร้อยละ 4 ได้สรุปว่าไม่ว่าวิธีสอนจะเป็นวิธีใดก็เป็นที่ประจักษ์แน่ชัดว่าครูมีขีดจ ากัดในการใช้ค าถามอยู่เฉพาะสอง ชนิดแรกและเขาได้ให้ข้อเสนอแนะว่าถ้าครูต้องการพัฒนาสติปัญญาความคิด ก็ควรจะถามค าถามหลายระดับโคยเฉพาะ ค าถามขยายความคิด จะท าให้นักเรียนพัฒนาความคิดได้มากและครูจะต้องถามค าถามประเภทนี้บ่อยจนปรากฎแน่ชัดว่าเด็ก ได้ตอบแนวคิดของตนเอง เฟอร์เรลล์ (Ferrell, 1992) ศึกษาผลของการใช้ด าถามของครูต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน และศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณค าตอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ค าถามมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติและมีความสัมพันธ์ ทางบวกระหว่างปริมาณค าตอบของนักเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ฮันเน และฮันเน (Hannel & Hannel, 1998) พัฒนารูปแบบการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อ ใช้ในการพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเน้นการฝึกให้ครูใช้ค าถามโสคราดีสที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น ซึ่ง ประกอบด้วย 1) การสร้างความชัคเจนให้กับข่าวสาร 2) การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของข้อมูล 3) การสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร 4) การระบุนิขามของปัญหา 5) การสร้างข้อสรุป 6) การประยุกต์ใช้ข้อสรุป 7) การประเมินผลข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณช่วยให้ครูสามารถถาม ค าถามแบบโสดราดีสได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แมนตัน (Manton, 2004) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ของเด็กโดยใช้ค าถามตาม ระดับแนวคิดของ Bloom พบว่าสามารถช่วยครูผู้สอนในการวัคระดับความต้องการของเด็ก ในการเรียน และสามารใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความคิดเห็นของเด็กโดยวัดจากระดับการคิดต่ าสุด คือความรู้ความจ า โดยพบว่าเด็กสามารถจ าเนื้อหาในบทเรียนได้ชัดเจน มีความเข้าใจในบทเรียนสามารถแยกแยะความรู้ที่ตน เข้าใจออกเป็นส่วนๆสามารถน าไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ และเด็กสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าได้ บาซิร (Basir, 2007 ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบใช้ค าถามในห้องเรียน ผล การศึกษาพบว่า ขณะที่นักศึกษาฝึกสอน สอนดี แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุได้ตรงตามจุดประสงค์ ผลการศึกษาแสดงให้ เห็นว่าปัจจัยส าคัญของการใช้ค าถามในการเรียนการสอนสามารถให้นักศึกษาประสบผลส าเร็จ โดยการแนะน าโครงสร้าง รูปแบบง่ายๆการที่ดีโครงสร้างในการใช้ค าถามที่เสนอเหมาะสมส าหรับนักศึกษาฝึกสอนหรือครูที่สนใจในการเรียนการสอน แบบการใช้ค าถาม ประเด็นหลักของกรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการตั้งในการสอนของนักเรียน ไวก็อตสกี้ (Lev Vygotsky. 1896-1934) กล่าวว่า การเล่นเป็นเหมือนนั่งร้านแห่ง พัฒนาการ (scaffolding of development) เด็กได้พัฒนาทักษะหลากหลายจากง่ายไปหายาก ทุก ๆ
71 การเล่นจะมีอุปสรรค Zone of Proximal Development [ZPD] เด็กจะเรียนรู้ได้ที่ที่สุดจากการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มี ความสามารถมากกว่า ซึ่งความช่วยเหลือนั้นก็ควรมาในรูปแบบของการเล่น มากกว่า การเรียน หรือมาจากค าสั่งของผู้ใหญ่ ไว ก็อตสกี้ อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องค านึงถึงระดับพัฒนาการ คือ ระดับ พัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริง และระดับพัฒนาการที่ สามารถจะเป็นไป ได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of Proximal Development) ซึ่งไวก็อตสกี้ เปรียบเทียบการเรียนรู้กับพัฒนาการไว้ดังนี้พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ คือ บริเวณที่เด็กก าลังจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง จาก การเป็นครูและนักวิจัยของเขา เขาตระหนักอยู่เสมอว่าเด็กมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกินกว่าระดับ พัฒนาการทางสติ ปัญญาของเขาที่จะท าได้ หากเขาได้รับค าแนะน า ถูกกระตุ้น หรือชักจูงโดยใครบางคนที่มี สติปัญญาที่ดีกว่า บุคคลเหล่านี้อาจ เป็นเพื่อนที่มีความสามารถ นักเรียนคนอื่น ๆ พ่อแม่ ครู หรือใครก็ได้ที่มี ความเชี่ยวชาญ ไวก็อตสกี้ได้ให้ค านิยามพื้นที่รอยต่อ พัฒนาการนี้ว่า “ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่ แท้จริง ซึ่งก าหนดโดยลักษณะการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล กับระดับ ของศักยภาพแห่งพัฒนาการที่ก าหนด โดยผ่านการแก้ปัญหาภายใต้ค าแนะน าของผู้ใหญ่ หรือในการ ร่วมมือช่วยเหลือกับ เพื่อนที่มีความสามารถ เหนือกว่า” และได้กล่าวสนับสนุนอีกว่า “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการในวันนี้ จะเป็นระดับของพัฒนาการ ในวัน พรุ่งนี้ อะไรก็ตามที่เด็กสามารถ ท าได้โดยอยู่ภายใต้ความช่วยเหลือในวันนี้ วันพรุ่งนี้เขาจะสามารถท าได้ด้วย ตัวของเขา เอง เพียงได้รับการ เรียนรู้ที่ดีก็จะน ามาซึ่งพัฒนาการที่เจริญขึ้น” งานวิจัยในประเทศ สายฝน จารีต (2547) ได้ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบ เร้าของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนหนองกุ้งพิทยาคม ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนหนองกุ้งพิทยาคม ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5จ านวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาก่อนและหลังการจัด กิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบเร้า มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งด้านที่ 1ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ต้อง แก้ไขทันที ด้านที่ 2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่ต้องรีบแก้ไข ด้านที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหาของ ตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ด้านที่ 4 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของอื่นพบว่า ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทั้ง 4 ด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบเร้ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น และพัฒนาการความสามารถในการ คิดแก้ปัญหา ช่วงเวลาก่อนการจัดกิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบเร้าเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.03-0.09 พัฒนาการความสามารถคิด แก้ปัญหาช่วงเวลาระหว่างก่อนการขัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรมค าถามเร้าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.62 พัฒนาการ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ช่วงเวลากิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบเร้าเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.01 -0.06 และช่วงเวลาที่ พัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหามากที่สุด คือ ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมค าถามปลายเปิดแบบเร้า ธีรนุช แสนหาญ (2550) ได้ศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ประกอบค าถามปลายเปิด ที่ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก อนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คันคว้า คือนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงรียนคมพัฒฟินิกส์ อุปถัมภ์ ส านักงานขอนแก่น เขต 4 จ านวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดประสบการณ์การค าถามปลายเปิดมี ประสิทธิภาพ 91.02/84.67 คัชประสิทธิภาพ 0.8395 แสดงว่ามีความก้าวหน้าในด้านความคิดสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ
72 83.953 และนักเรียนที่เรียนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบค าถามปลายเปิดมีคะแนนหลังการจัดประสบการณ์ เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ธนภร โสแสนน้อย (2554) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมแบบไฮสโคปเสริมด้วยค าถามปลายเปิดที่มีต่อ ความคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมกลุ่มของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จ านวน 15 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป เสริมด้วยค าถามปลายเปิดมีต่อความคิด สร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมสูงกว่า ก่อนจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรม 46.80 ค่าเฉลี่ยหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัด กิจกรรม อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบไฮสโคป เสริม ด้วยค าถามปลายเปีดมีพฤติกรรมกลุ่มในระดับมาก นิศารัตน์ ประสานศักดิ์ (2555) ได้ศึกษาผลการเล่านิทานเสริมด้วยสื่อประสมและด าถามปลายเปิดต่อ ความสามารถการคิดวิเคราะห์และพฤติกรรมการกล้าแสคงออกของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ ! จ านวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2554 โรงเรียนน้ าโสมประสาสรรค์ (ดิรธัมโมอุปถัมภ์) อ าเภอน้ าโสม ส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัด ประสบการณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าการจัดประสบการณ์ และพฤติกรรม การกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการเล่านิทานเสริมด้วยสื่อประสมและค าถามปลายเปิดใน ระดับมาก ประชักษ์ บุตรแก้ว (2557) ได้ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบค าถามปลายเปิด ที่มีต่อ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ค้านการวิเคราะห์ข้อหลักปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุ 5 -6ปีศึกบาอยู่ชั้น อนุบาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหนองผือโปร่งคา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมอุบลราชธานี เขต 4 ผลการวิจัย พบว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์ค้านการวิเคราะห์ข้อเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัด กิจกรรมการเล่านิทานประกอบตาถามปลายเปิดอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศล้วนมีความส าคัญต่อการจัดกิจกรรมและการ จัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยในเรื่องของค าถามปลายเปิดเพราะจะท าให้เด็กได้ตอบหลากหลายมากยิ่งขึ้น 4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อน จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมเล่านิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย โดยมีขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ดังนี้ 4. ขั้นน า 4.1 ครูน าเด็กเข้าสู่กิจกรรม โดยการท่องค าคล้องจอง ร้องเพลง และสนทนา 4.2 ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงในการท ากิจกรรม
73 5. ขั้นสอน 2.1ครูเล่านิทานผ้ากันเปื้อน 2.2 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานผ้ากันเปื้อนด้วยค าถามปลายเปิด 2.3 ครูแนะน าและอธิบายการท าใบกิจกรรม 2.5เด็กท าใบกิจกรรมโดยครูคอยอ านวยความสะดวก หากเด็กท าไม่ได้ครูใช้ค าถามกระตุ้น 2.6ครูและเด็กร่วมกันตรวจสอบผลการปฏิบัติ 2.7 ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์ 6. ขั้นสรุป 3.1ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมในนิทานผ้ากันเปื้อน โดยขั้นตอนของการจัดกิจกรรมดังแสดงในภาพที่ 2
74 1.1 ครูน าเด็กเข้าสู่กิจกรรม โดยการท่องค าคล้องจอง ร้อง เพลง และสนทนา 1.2 ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการท า กิจกรรม 2.1 ครูเล่านิทานผ้ากันเปื้อน 2.2 ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน ผ้ากันเปื้อนด้วยค าถามปลายเปิด 2.3 ครูแนะน าและอธิบายการท าใบกิจกรรม 2.4 เด็กท าใบกิจกรรมโดยครูคอยอ านวยความสะดวก หากเด็กท าไม่ได้ครูใช้ค าถามกระตุ้น 2.5 ครูและเด็กร่วมกันตรวจสอบผลการปฏิบัติ 2.6 ครูและเด็กร่วมกันเก็บอุปกรณ์ 3.1 ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมในนิทาน ผ้ากันเปื้อน ขั้นที่ 2 ขั้นสอน ขั้นที่ 1 ขั้นน า ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติ ค าถามปลายเปิด ภาพที่ 2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด ค าถามปลายเปิด
75 บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม นิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมนิทานผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิดโดยมี หัวข้อในการด าเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กชั้นอนุบาล อ าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2. กลุ่มตัวอย่าง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองหาน (วันครู2502) อ าเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สังกัดส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จ านวน 21 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนการทดลอง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการกิจกรรมนิทาน ผ้ากันเปื้อนเสริมด้วยค าถามปลายเปิด (One Group Pretest-Posttest Design) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540: 60-62)ดังแสดงในตารางที่ 2