The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Fnwb Warisx, 2022-09-15 23:47:04

นางสาววริศรา บุตรหง้า รหัสนิสิต641081314 S103

FA7F9E23-E9E6-458A-ADC6-1ECF583B5FA0

กฎหมายอาญา ภาคความผิด2

ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

หมวด : ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

นางสาววริศรา บุตรหง้า
รหัสนิสิต 641081314

คณะนิติศ
าสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำนำ

หนังสือออนไลน์ (e-book) กฎหมายอาญาภาคความผิด2นี้
ข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเนื้อหาและคำอธิบายความผิดเกี่ยว
กับการทำผิดต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
วิชากฏหมายอาญา

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาที่ได้จัดทำเพื่อรวบรวมข้อมูล
เนื้อหาของเเต่ล่ะมาตรา รวมไปถึงอ
งค์ประกอบเกี่ยวกับการทำผิดต่อเจ้า
พนักงาน จะอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้ที่มีความสนใจ

นางสาววริศรา บุตรหง้า
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

16 กันยายน 2565

สารบัญ หน้า

ความผิดต่อเจ้าพนักงาน 1
8
1.ความผิดที่กระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง 12
มาตรา 136-140
17
2.ความผิดที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานได้ดำเนินการไว้ 21
มาตรา141-142
3.ความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนเจ้าพนักงาน
มาตรา143-144
4.ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เข้าใจว่าตนเป็นเจ้าพนักงาน
มาตรา145-146

บรรณานุกรม

1.ความผิดที่กระทำต่อตัวเจ้าพนักงานโดยตรง

ความผิดที่กระทำต่อตัวเจ้าพนักงานโดยตรงเป็นการกระทำทางวาจาหรือทางกายต่อตัวเจ้าพนักงาน

การปทุษร้ายหรือหลอกลวงเจ้าพนักงานผู้นั้นในการปฏิบัติหน้าที่ ความผิดดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน(มาตรา 136) และความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงาน

(มาตรา 139) โดยมีเหตุฉกรรจ์กรณีต่อสู้หรือขัดขวางหรือข่มขืนใจเจ้าพนักงาน (มาตรา 140)
มาตรา136 ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

บทบัญญัติ

ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกระทำ หมายถึง อาจจะใช้วาจา ลายลกัษณ์อักษรหรือการแสร้งกริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใด

องค์ประกอบความผิด
1.องค์ประกอบภายนอก

(1) ผู้ใด
(2) ดูหมิ่น
(3)เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่

2.องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย
“ดูหมิ่น” หมายความว่า แสดงอาการดูถูกเหยียดหยามวาาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ดี
หรือตํ่าต้อยกว่า ทั้งโดยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือกิริยาท่าทาง

1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2508
ฟ้องหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา136 ข้อเท็จจริงได้ความว่า
ขณะที่เกิดเหตุพนักงานสอบสวนกำลังกินอาหารอยู่กับภรรยาที่บ้านพักไม่ใช่เวลาปฏิบัติ
ราชการตามหน้าที่จำเลยพูดขอประกันผู้ต้องหาเป็นการส่วนตัว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดูหมิ่นเจ้า
พนักงาน เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ยอมสั่งอนุญาตให้จำเลยประกันตัวผู้ต้องหาเพราะผิดระเบียบ จำเลย
พูดขู่เข็ญว่าถ้าไม่สั่งให้ประกันจำเลยจะจัดการให้พนักงานสอบสวนถูกย้ายไปที่อื่น เช่นที่เคย
กระทำได้ผลมาแล้วแก่ผู้บังคับกองคนหนึ่ง แต่โดยที่เรื่องย้ายไม่แน่ถ้าไม่ให้ประกันจะต้องเอา
พนักงานสอบสวนลงหลุมฝังศพเสีย เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจ ขู่เข็ญ เจ้า
พนักงานให้ถึงแก่ชีวิตด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของถ้อยคำเพื่อให้เจ้าพนักงาน
ปฏิบัติการสั่งประกันเสียเอง อันมิชอบด้วยหน้าที่การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 1เ3พ9ิ่มข้อความในส่วนเนื้อหาเล็กน้ อย

2

มาตรา137 ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน


ในการบริหารบ้านเมืองให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและประชาชน

จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริง มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายแก่รัฐ
และสังคมโดยรวมได้ ด้วยเหตุนี้ ประมวลกฏหมายอาญาจึงได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับความเท็จไว้หลาย
มาตราด้วยกัน แต่บทที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน
ตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไป

องค์ประกอบความผิด
1.องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
(3) แก่เจ้าพนักงาน
(4) ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย

2.องค์ประกอบภายใน

เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย

“แจ้งข้อความ” หมายถึง บอกข้อความให้ทราบ ซึ่งอาจเป็นการแจ้งด้วยวาจาแสดงกิริยาอาการ หรือ

ทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น แจ้งความแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเอกสารหาย เขียนหรือกรอก

คำร้องยื่นให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นต้น

3

มาตรา138 ความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน


มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ได้โดยไม่

เกิดความลำบากเกินสมควรอันเนื่องมาจากการต่อสู้หรือขัดขวางของผู้กระทำ
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของรัฐ สังคม และประชาชน

บทบัญญัติ
มาตรา138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฏหมายใน

การปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง
ประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ

องค์ประกอบความผิด
1.องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ต่อสู้หรือขัดขวาง
(3) บุคคลดังต่อไปนี้
(3.1) เจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
(3.2) ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตาม
หน้าที่
2.องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

4

แจ้งข้อความ หมายความว่า การนำข้อเท็จจริงแจ้งแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจจะทำโดยวาจา
หรือลายลักษณ์อักษรก็ได้

ข้อความอันเป็นเท็จ หมายความว่า ข้อความนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง
อาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถึงแม้ว่าาความเสียหายอาจจะยังไม่เกิดขึ้นจริง
เพียงแต่อาจจะเกิดความเสียหาย กฎหมายก็เอาความผิดแล้ว
โดยเจตนา หมายความว่าจำเลย ผู้กระทำต้องรู้ว่าบุคคลท่ี รับแจ้งความนั้นเป็นเจ้าพนักงาน
ขณะเดียวกันจำเลยผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความท่ีแจ้งนั้น มีข้อความอันเป็นเท็จ ถ้าหากจำเลย
ผู้กระทำไม่รู้ย่อมถือว่าขาดเจตนา เมื่อขาดเจตนาแล้วย่อมไม่เป็นความผิด

5

มาตรา139 ความผิดฐานข่มขืนใจเข้าพนักงาน


บทบัญญัติ
มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการ
ปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลัง ปทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังปทุษร้าย ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ข่มขืนใจ
(3) เจ้าพนักงาน
(4) ให้
(4.1) ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือ
(4.2)ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่
(5) โดย
(5.1) ใช้กำลังปทุษร้าย หรือ
(5.2) ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย
คำว่า “ข่มขืนใจ” หมายถึง บังคับจิตใจของบุคคลอื่นให้กระทำในสิ่งที่บุคคลไม่ประสงค์กระทำ
หรือให้งดเว้นการกระทำในสิ่งที่บุคคลประสงค์จะทำ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องให้บังคับต่ออำนาจการ
ตัดสินใจของบุคคลอื่น เช่น โทรศัพท์มาขู่เข็ญไม่ให้ตำรวจไปจับบ่อนการพนัน ส่วนกรณีที่ไม่ได้
บังคับการตัดสินใจของบุคคล ย่อมไม่เป็นการข่มขืนใจ เช่น เจ้าพนักงานถูกจับมือให้ลงนามในคำ
สั่ง 6

มาตรา140 เหตุฉกรรจ์ของมาตรา 138

วรรคสอง และมาตรา 139

บทบัญญัติ
มาตรา 140 ถ้าความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง หรือมาตรา 139 ได้กระทำโดยมีหรือใช้

อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวาง
โทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

องค์ประกอบ
1.กระทำความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง หรือมาตรา 139
2.มีหรือใช้อาวุธ
3.ร่วมกระทำความผิดตั้งเเต่สามคนขึ้นไป
4.กระทำโดยใช้ปืนหรือวัตถุระเบิด

เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสองและวรรคสาม
1.เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง
รับโทษหนักขึ้นถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่
2.เหตุฉกรรจ์ตามวรรคสาม
ถ้าได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในวรรค
สองก่อนกึ่งนึง

7

2. ความผิดที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานที่

เจ้าพนักงานได้ดำเนินการไว้

ผู้กระทำความผิดอาจจะกระทำให้พยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานได้ดำเนินการไว้เสียหายหรือใช้
ไม่ได้ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสหลุดพ้นจากความรับผิด กฎหมายอาญาจึงบัญญัติ
การกระทำดังกล่าวให้เป็นความผิดเพื่อคุ้มครองพยานหลักฐานไว้ 2 กรณี ได้แก่
ความผิดฐานกระทำต่อตราหรือเครื่องหมายที่เจ้าพนักงานประทับไว้ (มาตรา 141)
ความผิดฐานกระทำต่อทรัพย์สินหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้หรือสั่งให้ส่ง (มาตรา 142)
มาตรา141 ความผิดฐานกระทำต่อตราหรือเครื่องหมายที่เจ้าพนักงานได้ประทับไว้

บทบัญญัติ
มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอัน
เจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานใน
การยึด อายัดหรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(2.1) ถอน
(2.2) ทำให้เสียหาย
(2.3) ทำลาย หรือ
(2.3) ทำให้ไร้ประโยชน์
(3) ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใดๆในการ
ปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัด หรือรักษาสิ่งนั้นๆ

8

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย
องค์ประกอบการกระทำได้แก่การทำให้ตราหรือเครื่องหมายที่เจ้าพนักงานทำไว้เพื่อเป็นหลัก
ฐานใช้ไม่ได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์
ได้แก่ ตรา หรือ เครื่องหมาย
คำว่า “ตรา” หมายถึง รอยตีหรือประทับจากดวงตรา ส่วนคำว่า “เครื่องหมาย” หมายถึง
สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมาย เช่น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เครื่องหมายถูก เครื่องหมายกากบาท

9

มาตรา142 ความผิดฐานกระทำต่อทรัพย์สิน
หรือเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ยึดรักษาไว้

หรือสั่งให้ส่ง

บทบัญญัติ
มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์

ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน
หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือ
สั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(2.1) ทำให้เสียหาย
(2.2) ทำลาย
(2.3) ซ่อนเร้น
(2.4) เอาไปเสีย
(2.5) ทำให้สูญหาย หรือ
(2.6) ทำให้ไร้ประโยชน์

10

(3) ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใดๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อ
เป็นพยานหลักฐาน หรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
(4) ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น
ส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย
องค์ประกอบทางการกระทำนี้ ได้แก่ การทำให้เสียหาย ทำลายซ่อนเร้น เอาไป

เสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ เช่น เอาสำเนาการสอบสวนไปซ่อน
ลบรอยนิ้วมือบนปืน ล้างมีดที่ติดโลหิตหรือเอาจักรยานยนต์ที่ตำรวจยึดไป

วัตถุแห่งการกระทำได้แก่ ทรัพย์สินหรือเอกสารอันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้
หรือสั่งให้ส่ง เพื่อเป็นหลักฐานหรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฏหมาย

11

3. ความผิดเกี่ยวกับการให้สินบนเจ้าพนักงาน

ความผิดนี้เป็นการให้สินบนซึ่งมีความผิดที่ป้องกันมิให้มีการจูงใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหรือ
ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ ผลกระทบต่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน กฎหมายกำหนด
โทษและจำแนกความผิดออกเป็น 2 ระดับกล่าวคือกรณีเจ้าพนักงานทั่วไปกับกรณีเจ้าพนักงาน
ในการยุติธรรม

มาตรา143 ความผิดฐานเป็นคนกลางเรียกหรือรับสินบน
บทบัญญัติ

มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือ
ผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของ
ตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(2.1) เรียก
(2.2) รับ หรือ
(2.3) ยอมจะรับ
(3) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(4) เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงในหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกนิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล ให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่
(5) โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน

12

องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบาย
1. เรียก รับ หรือยอมจะรับ
องค์ประกอบการกระทำตามมาตรา 143 ได้แก่ การที่เป็นคนกลางเรียก รับ หรือยอมจะรับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อจะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงานให้กระทำหรือไม่กระทำการอย่างใด
อย่างหนึ่ง เหตุที่เรียกผู้กระทำว่า “เป็นคนกลาง” นั้นก็เพราะเป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสาน
งานกับเจ้าพนักงานให้บุคคลอื่นในการ “วิ่งเต้น” กับเจ้าพนักงาน ซึ่งบุคคลอื่นมิได้กระทำด้วย
ตัวเองโดยตรง
2. ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ทรัพย์สินหรือประโยชน์ตามมาตรานี้เป็นสินบนให้แก่ผู้กระทำในฐานะเป็นคนกลาง
3. เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกเลสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล ให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็น
คุณหรือโทษแก่บุคคลใด
การเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ของคนกลางกระทำไปเพื่อเป็นการ
ตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภา
จังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล
4. โดยวิธีอันทุจริต หรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตน
การที่จะจูงใจหรือได้จูงใจตามมาตรานี้ ต้องเป็นการที่ผู้จูงใจใช้วิธีการ “โดยวิธีอันทุจริต”
หรือ “โดยผิดกฎหมาย” หรือ “โดยอิทธิพลของตน”

13

มาตรา144 ความผิดฐานให้สินบนแก่
เจ้าพนักงาน

ความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน มีความคล้ายคลึงกับความผิดฐานเป็นคนกลางเรียก
หรือรับสินบน ตามมาตรา143 แต่มีข้อแตกต่างสำคัญคือ มาตรา 144 เอาผิดแก่ตัวผู้ให้
สินบนเจ้าพนักงาน ขณะที่มาตรา 143 เอาผิดแก่ตัวคนกลางเรียกหรือรับสินบน

บทบัญญัติ
มาตรา 144 ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ
ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(2.1) ให้
(2.2) ขอใผ้
(2.3) รับว่าจะให้
(3) ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
(4) แก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิก สภาเทศบาล

14

องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ - เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอัน
มิชอบด้วยหน้าที่
คำอธิบาย

คำว่า “ให้” หมายถึง มอบโดยส่งหรือยื่นให้เพราะถูกเรียก ส่วนคำว่า “ขอให้” หมายถึง
ขอมอบให้โดยส่งหรือยื่นให้โดยไม่ได้ถูกเรียก และคำว่า “รับว่าจะให้” หมายถึง สัญญาว่า
จะมอบให้ในอนาคตไม่ว่าจะถูกเรียกหรือไม่ก็ตาม

ความผิดสำเร็จทันทีที่ “ให้” “ขอให้” หรือ “รับว่าจะให้” กรณี “ให้” ความผิดสำเร็จ
เมื่อมีการรับ ส่วนกรณี “ขอให้” หรือ “รับว่าจะให้” ความผิดสำเร็จทันทีที่ “ขอให้” หรือ
“รับว่าจะให้” แม้ว่าจะยังไม่ได้ยื่นทรัพย์หรือประโยชน์ให้ หรือเจ้าพนักงานยังไม่ทันรับหรือ
ยอมจะรับสินบนนั้น

15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำผิดมีหน้าที่ต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริง
ในระหว่างเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้อง เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชน
ทั่วไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความ
ผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริงจึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้า
พนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะให้และรับว่าจะให้เงินแก่ร้อยตำรวจโท ท. กับพวก เพื่อ
จูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าวเบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2506
ความผิดฐานให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 144 จะต้องเป็นเรื่องให้หรือขอให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการ
หรือไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้า
พนักงานผู้นั้นเอง การที่จำเลยให้เงินกำนันเพื่อให้กำนันช่วยเหลือไปติดต่อกับเจ้า
พนักงานอำเภอหรือพนักงานสอบสวนให้กระทำการให้คดีของจำเลยเสร็จไปในชั้นอำเภอ
อย่าให้ต้องถึงฟ้องศาลเนื่องจากกำนันรายงานกล่าวโทษจำเลยไปอำเภอและอำเภอเรียก
พยานทำการสอบสวนไปแล้วดังนี้ เป็นการพ้นอำนาจหน้าที่ของกำนันแล้วจำเลยย่อมไม่มี
ความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144

16

4. ความผิดเกี่ยวกับการทำให้เข้าใจว่าตน

เป็นเจ้าพนักงาน



ความผิดที่เกี่ยวกับการทำให้เข้าใจว่าตนเป็นเจ้าพนักงานมี 2 ฐานความผิด ได้แก่ ความผิด
ฐานแสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน (มาตรา 145) และความผิดฐานสวมเครื่อง
แบบหรือใช้ยศหรือตำแหน่งโดยไม่มีสิทธิ (มาตรา146)



มาตรา145 ความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน

บทบัญญัติ
มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเอง
มิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่
เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำ
การใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน

องค์ประกอบความผิดตามวรรคแรก
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน
(3) กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
(4) โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

17

องค์ประกอบความผิดตามวรรคสอง
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) เป็นเจ้าพนักงาน
(3) ได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว
(4) ยังฝ่าฝืนกระทำการใดในตำแหน่งหน้าที่นั้น
องค์ประกอบภายใน
เจตนาธรรมดา

คำอธิบายความผิดตามวรรคแรก
บทบัญญัติที่ว่า “แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน” หมายถึง ทำให้ปรากฏว่าตนเป็นเจ้าพนักงาน
แสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน สวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องแบบของเจ้าพนักงาน
มาแสดงตน ผู้กระทำจะมีความผิดตามมาตรา 146 ด้วย
การแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานแล้วผู้กระทำต้องกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน หมายถึง
การกระทำเยี่ยงเข้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยผู้กระทำมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มี
อำนาจกระทำการนั้น
ผู้กระทำจะมีความผิดตามมาตรานี้ต้องทั้งแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้า
พนักงาน หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ย่อมไม่มีความผิด

คำอธิบายความผิดตามวรรคสอง
ผู้กระทำตามวรรคสองเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ แต่ได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการ
ตามตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมิใช่เป็นรายครั้งหรือรายกรณี แต่เป็นการให้หยุดปฏิบัติการไป
จนกว่าจะมีคำสั่งให้กลับมาปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่นั้นอีก เมื่อถูกสั่งห้ามเล่นนั้นก็
ไม่มีอำนาจปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่อีกต่อไป แต่ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนกระทำตามตำแหน่ง
หน้าที่ที่ถูกสั่งห้ามต่อไปอีกก็เป็นความผิดตามวรรคสองนี้

18

มาตรา146 ความผิดฐานสวมเครื่องแบบ
หรือใช้ยศหรือตำแหน่งโดยไม่มีสิทธิ

บทบัญญัติ
มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ
ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อ
ให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด

องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2) ไม่มีสิทธิกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(2.1) ไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเข้าพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแ
สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือ
(2.2) ไม่มีสิทธิใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราชาอิสริยาภรณ์ หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(3) กระทำเช่นนั้น

องค์ประกอบภายใน
(1) เจตนาธรรมดา
(2) เจตนาพิเศษ - เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมิีสิทธิ์

19

คำอธิบาย
ความผิดตามมาตรานี้มี 2 ฐาน ได้แก่ 1.ความผิดฐานสวมเครื่องแบบหรือประดับ

เครื่องหมายของเจ้าพนักงานฯ โดยไม่มีสิทธิ 2.ความผิดฐานใช้ยศ ตำแหน่ง เครื่องราช
อิสริยาภรณ์ หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยไม่มีสิทธิ์ ความผิดแรกนั้นจำกัด
เฉพาะเครื่องแบบหรือเครื่องหมายของเจ้าพนักงานเท่านั้น ส่วนความผิดที่มีการใช้ยศตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยไม่มีสิทธิ์ ก็เป็นความผิด
ตามมาตรานี้

“ยศ” หมายถึง เครื่องกำหนดฐานะหรือชั้นของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะทหารหรือตำรวจ
“ตำแหน่ง” หมายถึง หน้าที่ทางราชการ เช่น พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานสรรพสามิต
เจ้าพนักงานป่าไม้ เป็นต้น
“เครื่องราชอิสริยาภรณ์” หมายถึง เครื่องหมายสแแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบที่
พระมหากษัตริย์ทางสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่
ข้าราชการส่วนพระองค์ หรือพระราชทานแก่ผู้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศ ศาสนา และ
ประชาชนตลอดจนเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่างๆ และที่
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการ
กำหนด
“สิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์” หมายถึง สิ่งที่มิใช่ตัวเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่เป็น
สัญลักษณ์แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น แพรแถบย่อเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์จำลองหรืออักษรย่อ

20

บรรณานุกรม

ศาสตราจารย์ ดร. คณพล จันทน์หอม คำอธิบายกฏหมายอาญา ภาคความผิด
เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่5 กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2565
https://deka.in.th/view-42396.html
http://athiwatlawyer.com/ให้สินบนเจ้าพนักงาน/

21


Click to View FlipBook Version