The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนแม่บทฯฉบับที่5 (2565-2570)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สุพิชฌาย์ ศรีโคตร, 2022-12-25 23:21:09

แผนแม่บทฯฉบับที่5 (2565-2570)

แผนแม่บทฯฉบับที่5 (2565-2570)

คำนำ

แผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 5 (พ.ศ.2565-2570) นี้ จัดทาข้ึนโดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครอ่ื งมือและกรอบในการดาเนนิ งานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร
ดิจิทัลของ สานักงาน กปร. ซ่ึงแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับที่ 5 น้ี เป็นการวางแผนการ
ดาเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาด้านดิจิทัล ภายใต้การขับเคล่ือนประเทศสู่การเป็น
รัฐบาลดิจิทัล ตามภูมิทัศน์ กรอบกฎหมาย และระเบียบท่ีเกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนระดับชาติว่าด้วยการ
พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580) พระราชบัญญัติการบริหารงานและ
การให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย
พ.ศ.2563-2565 ฯลฯ

เน้ือหาสาระและยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
ฉบับท่ี 5 (พ.ศ.2565-2570) น้ี กาหนดข้ึนเพ่ือสนับสนุนการพัฒนาและส่งเสริมการนาเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในการทางานสนองพระราชดาริ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมท้ังการ
ดาเนินงานของหน่วยงานตามโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดาริในทุกสถานการณ์ โดยมีการกาหนด
วิสัยทัศน์ (Vision) การปรับเปล่ียนรูปแบบการทางานเป็นแนวทางวิถีใหม่ (New Normal) ที่มีการใช้
เคร่ืองมือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากข้ึน ตลอดจนสนับสนุนการให้บริการข้อมูลข่าวสารโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดาริท่ีถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยมีการ
กาหนดระยะเวลาดาเนินการไว้ 3 ปี เพือ่ ความยึดหยุน่ ในการทางานและความคล่องตวั ในการปรับแผนได้
ตามสถานการณแ์ ละการพฒั นาด้านดจิ ทิ ัลทีม่ กี ารเปลย่ี นแปลงอยา่ งรวดเร็ว

แผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับที่ 5 นี้ ได้กาหนดออกแบบสถาปัตยกรรม
ดิจิทัลของสานักงาน กปร. (Digital RDPB Architecture) เป็นคร้ังแรก สาหรับเป็นแนวทางในการ
ปรบั เปลีย่ นสว่ นราชการภายในให้เป็นดิจทิ ัลในอนาคต และได้วเิ คราะห์เช่ือมโยงความสอดคล้องของแผน
แม่บทฯ กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ
แผนพัฒนาดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคมไวด้ ้วย เพื่อให้แผนแม่บทฯ ฉบับน้ีเป็นไปตามระบบงบประมาณ
ไทยทกี่ าหนดให้แผนงานงบประมาณจาเป็นต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตรช์ าติ

ศูนย์สารสนเทศ สานักงาน กปร. หวังเป็นอย่างย่ิงว่า แผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยี
ดิจิทัล ฉบับท่ี 5 (พ.ศ.2565-2570) จะเปน็ เครื่องมือท่ีรวมความรว่ มมือของส่วนราชการที่เก่ียวข้องในการ
นาองค์กรและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นภาครฐั ทม่ี ีการพฒั นาดา้ นดิจิทัล
ท่ีทันสมัย เป็นศูนย์กลางข้อมูล องค์ความรู้แนวพระราชดาริที่สมบูรณ์ และสามารถให้บริการข้อมูล
ส่ปู ระชาชนไดอ้ ย่างถูกต้อง รวดเรว็ และมปี ระสิทธิภาพตอ่ ไป

ศูนยส์ ารสนเทศ

ตลุ าคม 2564

• บทสรุปผบู้ รหิ าร บทสรปุ ผู้บริหาร

ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญตั กิ ารบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผา่ นระบบดจิ ทิ ัล
พ.ศ.2562 และแรงขับเคล่อื นการเปลยี่ นแปลงด้านเทคโนโลยดี ิจิทัล ส่งผลให้การดำเนนิ งานภาครัฐมีความ
จำเปน็ ตอ้ งปรบั ตัวให้รองรับกับยุคสมัยทีป่ ระชาชนมีการใช้เทคโนโลยกี ารสื่อสารอย่างแพร่หลาย และมีการ
ทำธรุ กรรมผ่านสือ่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์เพิ่มข้นึ อยา่ งก้าวกระโดด โดยเฉพาะสถานการณ์ของการระบาดโรคโควดิ
19 ทำใหห้ น่วยงานทง้ั ภาครัฐและภาคเอกชนจำเปน็ ตอ้ งปรบั รูปแบบวิธกี ารทำงาน ทง้ั การลดจำนวนคน
การหลีกเล่ียงการประชมุ แบบพบปะหนา้ กัน ดงั นน้ั เทคโนโลยดี จิ ิทลั จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการชว่ ยให้
หนว่ ยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติงานในความรบั ผิดชอบได้สะดวกและคล่องตวั มากขน้ึ เกิดเป็นวถิ ชี วี ติ ใหม่
หรือความปกตใิ หม่ (New Nomal) ท้ังนี้ สำนักงาน กปร.ได้เล็งเห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดจิ ิทลั
เข้ามาปรับเปล่ียนรูปแบบการทำงานเพ่ือการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์สารสนเทศ สำนักงาน กปร. จึงดำเนินการจดั ทำแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยดี จิ ิทัล
(ฉบบั ท่ี 5) พ.ศ.2565-2570 เพื่อสนบั สนุนการปรับรูปแบบการบรกิ ารทัง้ ด้านโครงสร้างพ้ืนฐานและด้าน
ระบบสารสนเทศ ใหส้ อดคล้องตามแผนยุทธศาสตรช์ าติ และแผนปฏริ ูปประเทศที่มงุ่ เน้นพฒั นาประเทศสู่
การเตบิ โตทางเศรษฐกิจดจิ ิทัลเพอื่ นำไปสกู่ ารพฒั นาที่ย่งั ยืน เช่น การปรบั ข้อมูลภาครฐั ใหเ้ ป็นดจิ ทิ ัล
(Digitization) การเปล่ียนแปลงกระบวนการทำงานให้เป็นดจิ ิทลั (Digital Transformation) เพ่ือให้
สามารถสอ่ื สารและใหบ้ ริการทั้งภายในและภายนอกผ่านช่องทางดิจทัลได้อย่างเบ็ดเสรจ็ และไร้รอยต่อ
(Seamless) ซ่งึ แผนแม่บทการพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั (ฉบับท่ี 5) พ.ศ.2565-2570 มีวัตถปุ ระสงค์เพ่ือ
1) กำหนดมาตรฐานและพัฒนาระบบบรหิ ารจัดการทรัพยากรเทคโนโลยสี ารสนเทศทเ่ี หมาะสมสอดคล้อง
กบั สถานการณ์ 2) บริหารจัดการระบบฐานขอ้ มูลโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำรใิ หม้ ีประสทิ ธิภาพ
พรอ้ มส่งเสรมิ การใชป้ ระโยชนร์ ะบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบรหิ าร การบรกิ ารและการพัฒนาดา้ นวชิ าการ
รวมท้งั จดั หาซอฟแวร์ทเ่ี หมาะสมสำหรบั เปน็ เคร่ืองมือในการสนบั สนนุ การดำเนนิ งานตามโครงการอนั เนือ่ ง
มาจากพระราชดำริ 3) พัฒนาระบบเครือขา่ ยการเช่ือมโยงข้อมูลระหว่างหนว่ ยงานทีเ่ ก่ียวขอ้ งให้มีเสถียรภาพ
และมคี วามมัน่ คงปลอดภัย 4) พฒั นาบคุ ลากรใหม้ สี มรรถนะดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตาม
มาตรฐานอยา่ งต่อเนื่อง 5) บริการข้อมลู ขา่ วสารโครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริท่ีถูกต้อง รวดเรว็ ทันสมยั
ตอบสนองความต้องการของผ้ใู ช้บรกิ ารและประชาชน

โดยมีการกำหนดวิสัยทัศนร์ ่วมกนั จากการทำประชาพจิ ารณร์ ะดมความคิดเห็นของเจ้าหนา้ ที่
ในการพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ิทัลในระยะต่อไป คือ ระบบสารสนเทศสนบั สนนุ การปฏิบัติงานโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริอย่างมีประสทิ ธิภาพ นอกจากนี้ แผนแมบ่ ทการพัฒนาเทคโนโลยดี ิจทิ ลั (ฉบบั ที่ 5) พ.ศ.
2565-2570 ได้กำหนดยุทธศาสตรส์ ำหรบั การพัฒนา แบง่ เปน็ 4 ยุทธศาสตร์ คอื



ยุทธศาสตร์ที่ 1 พฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐานเทคโนโลยสี ารสนเทศอย่างเหมาะสมและมคี วาม
มน่ั คงปลอดภัย ประกอบด้วย 4 มาตรการ 6 แผนงาน 19 กิจกรรม

ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 เพ่ิมประสิทธิภาพและคุณภาพการใหบ้ ริการเทคโนโลยีสารสนเทศทส่ี นับ
สนนุ การตดั สินใจของผ้บู รหิ าร รวมทัง้ บริหารจดั การธรรมาภิบาลขอ้ มลู และเปดิ เผยข้อมูล ประกอบดว้ ย 4
มาตรการ 4 แผนงาน 21 กิจกรรม

ยุทธศาสตร์ท่ี 3 พัฒนาบุคลากรใหม้ ีความรู้ความสามารถดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือ
เพม่ิ ศักยภาพในการทำงาน ประกอบดว้ ย 3 มาตรการ 3 แผนงาน 3 กจิ กรรม

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 เปน็ ศนู ยก์ ลางข้อมูลองคค์ วามรโู้ ครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แนว
พระราชดำริ และปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 มาตรการ 3 แผนงาน 5 กิจกรรม

ยทุ ธศาสตร์ดงั กลา่ วข้างต้นจะก่อให้เกดิ ประโยชน์ ได้แก่ การผลักดนั ให้การบรหิ ารงานและ
การให้บริการภาครัฐของสำนักงาน กปร. ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นรัฐบาลดจิ ทิ ลั ที่มีการประสานงานความร่วมมือ
ระหว่างหนว่ ยงานทีเ่ ก่ียวข้องท้ังระดบั ภายในและภายนอกองค์กร มกี ารสนบั สนนุ อุปกรณเ์ คร่อื งมือดจิ ิทลั ใน
การปฏบิ ตั งิ าน การส่ือสารแลกเปล่ียนข้อมลู ระหวา่ งหนว่ ยงานทเี่ ก่ียวข้อง พฒั นาการนำเทคโนโลยีทีท่ นั สมยั
มาใชใ้ นการทำงานในการจดั เกบ็ ข้อมลู การวางแผนและการบรหิ ารข้อมลู (Cloud Computing) ตลอดจน
ติดตามความกา้ วหน้าและผลการดำเนนิ งานให้เกิดประสทิ ธิผลสงู สดุ จดั ทำเป็นฐานขอ้ มูลกลางของโครงการ
อนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ (Big Data) พร้อมการจัดทำธรรมาภบิ าลขอ้ มูลภาครฐั (Data Governance)
และการเปดิ เผยข้อมลู (Open Data) ใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมายและระเบียบท่กี ำหนด นอกจากนี้ ยังเปน็ การ
วางแผนพฒั นาศักยภาพของบุคลากรและเจ้าหน้าท่ีให้มีความรู้ ไดร้ ับการพัฒนาทักษะดา้ นดจิ ิทัลใหส้ ามารถ
ปรบั ตัวทนั ต่อสถานการณ์ท่ีเปลี่ยนแปลงและปฏบิ ตั ิงานได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ รวมทั้งมีการวางแผนเตรียม
ความพร้อมสำหรบั การทำงานนอกสถานท่ี การรกั ษาความมน่ั คงปลอดภัยดา้ นสารสนเทศ การรกั ษาความ
มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมไปถึงการพัฒนาปรับเปลย่ี นกระบวนงาน วธิ ีการทำงานตามภารกจิ ของหน่วยงาน
ภายในจากระบบเดิมที่เป็นอะนาล็อคใหเ้ ปน็ ระบบดจิ ิทัลให้สอดคล้องกบั นโยบายการพัฒนาภาครัฐส่กู ารเปน็
องค์กรดิจิทลั ในปี 2570 เพ่ือส่งเสรมิ และสนบั สนุนการบริหารจัดการโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดำริได้
อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพและมีการพัฒนาอยา่ งย่ังยนื ต่อไป

*********************************



สารบัญ

หนา้

บทที่ 1 แผนแม่บทการพฒั นาเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ฉบบั ท่ี 5 (พ.ศ. 2565 – 2570) 1-8

บทที่ 2 แนวคดิ กฎหมาย และระเบยี บท่ีเกย่ี วข้อง 9-35

บทที่ 3 ผลการดำเนนิ งานตามแผนแมบ่ ทเทคโนโลยีดิจิทลั ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562 - 2564) 36-39

บทที่ 4 ทศิ ทางและการวิเคราะหส์ ถานการณ์ ดา้ นการพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ทิ ัลของ สำนักงาน กปร. 40-46
- ผลการสำรวจสถานะการใช้งานระบบสารสนเทศของสำนักงาน กปร. 47-55
- ผลการสำรวจความคดิ เหน็ และวเิ คราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) 56-61

บทท่ี 5 ยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาด้านเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล ฉบบั ท่ี 5 (พ.ศ.2565 – 2570) 62-75
- วสิ ยั ทศั น์
- พนั ธกจิ
- เป้าประสงค์
- ยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาด้านดิจิทัล
- Digital RDPB Architecture
- ความสอดคล้องของแผนแม่บทเทคโนโลยดี ิจทิ ลั ของสำนักงาน กปร. ฉบับที่ 5
กับแผนยุทธศาสตรข์ องประเทศ
- แผนปฏิบตั ิการตามยุทธศาสตร์ของแม่บทเทคโนโลยดี ิจทิ ลั ของสำนักงาน กปร. ฉบบั ที่ 5

บทท่ี 6 การบรหิ ารจดั การและตดิ ตามผล 76-79
- การอำนวยการและกำกับดูแล
- งบประมาณและการจดั ทำแผนปฏิบตั ิการ
- การติดตามผลและการดำเนินงาน
- การเตรยี มความพร้อมในการดำเนนิ งานภายใต้สถานการณ์ไมป่ กติ

ภาคผนวก
(1) สำเนาคำสง่ั สำนักงานคณะกรรมการพเิ ศษเพ่ือประสานงานโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริ
ท่ี 6/2564 เร่อื งแตง่ ต้งั คณะทำงานพฒั นาและส่งเสรมิ การใชร้ ะบบสารสนเทศของสำนกั งาน กปร.
(2) สำเนาคำสงั่ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ท่ี 22/2564 เรอื่ งแต่งตงั้ ผบู้ รหิ ารเทคโนโลยสี ารสนเทศระดบั สงู (Department Chief Information
Officer) และผบู้ ริหารข้อมูลระดบั สูง (Department Chief Data Officer) ประจำสำนักงาน กปร.
(3) ผลการดำเนนิ งานตามแผนปฏบิ ัตกิ ารประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2564
(4) คำนยิ ามศัพท์
(5) แบบสอบถามสถานการณ์ใชง้ านระบบสารสนเทศของสำนักงาน กปร.
(6) แบบความคดิ เห็นและวเิ คราะห์สถานการณ์ภายนอกและภายใน (SWOT Analysis)
ด้านเทคโนโลยดี ิจิทลั ของ สำนักงาน กปร. ผา่ นระบบดิจิทัล
(7) บรรณานุกรม

บทท่ี 1
แผนแมบทการพฒั นาเทคโนโลยีดิจิทลั ฉบับท่ี 5 (พ.ศ. 2565 – 2570)

หลักการและเหตุผล
สาํ นักงานคณะกรรมการพเิ ศษเพื่อประสานโครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดําริ (สํานักงาน กปร.)

มีการกําหนดแผนยุทธศาสตรสํานักงาน กปร. ฉบับท่ี 5 (พ.ศ. 2561 – 2564) เพ่ือใชเปนกรอบในการปฏิบัติ
ราชการใหสอดคลองกับบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกา วาดวยหลักเกณฑและวธิ ีการบริหารกิจการบานเมืองทด่ี ี
พ.ศ. 2546 ท่ีกําหนดใหสวนราชการตองจัดทําแผนปฏิบัติราชการใหสอดคลองกับแผนการบริหารราชการแผนดิน
เพ่ือใหการปฏิบัติงานสนองพระราชดําริ การขยายผลโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริ และปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เปนไปตามแผนงานอยางมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลสูงสุดนํามาซึ่งประโยชนสุข
ของประชาชน ในสวนงานดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ตองปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการ
บรหิ ารงานและการใหบ รกิ ารภาครฐั ผา นระบบดิจทิ ัล พ.ศ. 2562 แผนยุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 – 2580)
ภายใตยุทธศาสตรท่ี 6 ดานการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนพัฒนาดิจิทัล
เพอื่ เศรษฐกิจและสงั คมภายใตยทุ ธศาสตรท ่ี 4 ปรับเปล่ยี นภาครฐั สกู ารเปนรัฐบาลดจิ ิทลั

ภมู ทิ ัศนไ ทย 20 ป (พ.ศ. 2561 – 2580)

1

จากภูมิทัศนไทย 20 ป (พ.ศ. 2561-2580) จะเห็นวา ภาครัฐกําลังอยูในชวงระยะที่ 2 Digital
Thailand I : Inclusion ระยะ 5 ป (พ.ศ. 2561-2565) ทที่ กุ ภาคสว นของประเทศไทยมีสว นรว มในเศรษฐกิจและ
สังคมดิจิทัล เพื่อเตรียมเขาสูระยะที่ 3 Digital Thailand II: Full Transformation ระยะ 10 ป และในป 2570
จะตองเขาสูการขับเคลื่อนและการใชประโยชนจากนวัตกรรมดิจิทัลอยางเต็มศักยภาพ (Full Transformation)
ดงั น้ัน หนวยงานทุกภาคสว นจําเปนตองเตรียมความพรอมสําหรับการปรบั ตวั ใหทันตอความเปล่ียนแปลงทีจ่ ะเกิด
ขึน้ ดว ย

โดยแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580)
ไดก ําหนดยทุ ธศาสตรไว 6 ยุทธศาสตร คอื

ยุทธศาสตรท ี่ 1 พฒั นาโครงสรางพ้นื ฐานดจิ ิทลั ประสทิ ธิภาพสงู ใหค รอบคลุมท่ัวประเทศ
ยุทธศาสตรท ี่ 2 ขับเคลอื่ นเศรษฐกจิ ดวยเทคโนโลยดี ิจทิ ลั
ยทุ ธศาสตรที่ 3 สรางสงั คมคุณภาพดว ยเทคโนโลยีดิจทิ ัล
ยทุ ธศาสตรท่ี 4 ปรบั เปลยี่ นภาครฐั สกู ารเปนรฐั บาลดิจิทัล
ยุทธศาสตรที่ 5 พฒั นากําลังคนใหพ รอมเขา สูยุคเศรษฐกจิ และสังคมดิจิทลั
ยทุ ธศาสตรที่ 6 สรางความเชื่อม่นั ในการใชเ ทคโนโลยีดจิ ทิ ัล

2

นอกจากน้ี ในสาระสําคัญของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565
ไดก าํ หนดวสิ ยั ทัศนไวดังน้ี

“รฐั บาลดิจิทลั เปดเผย เชอ่ื มโยง และรวมกันสรา งบรกิ ารที่มคี ุณคาใหป ระชาชน”

ซึง่ มีกรอบแนวทางของการพฒั นาตามสถาปตยกรรมรัฐบาลดิจทิ ัล โดยมอี งคประกอบทเ่ี ชื่อมโยง
และสมั พนั ธกัน 7 องคป ระกอบ คือ

1. การพัฒนาที่เปนพื้นฐาน (Foundation) เปนการพัฒนาพ้ืนฐานเพ่ือการสนับสนุนการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัลในองคประกอบอ่ืนๆ ซึ่งประกอบดวย การพัฒนาทักษะดานดิจิทัลสําหรับ
บุคลากรภาครัฐ การจัดทํานโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสรางพ้ืนฐาน
(Infrastructure) การจดั ทํามาตรฐาน (Standard)

2. การพฒั นานวตั กรรมรัฐบาลดจิ ิทลั (Digital Government Innovation) เปนการพัฒนา
ชองทางเพ่ือสงเสริมใหภาคเอกชน สถาบันวิจัย นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษา และนักวิจัย
จากหนวยงานตางๆ เขามามีสวนรวมในการพัฒนานวตั กรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนา
บริการ และการทาํ งานของหนวยงานภาครฐั

3. การพัฒนาแพลตฟอรมดิจิทัล (Digital Platform) เปนการพัฒนาแพลตฟอรมกลางสําหรับ
สนับสนุนการทํางานของหนวยงานภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการทํางานของภาครัฐการแลก
เปล่ยี นขอมลู ระหวา งหนว ยงานภาครัฐ และการใหบริการภาครัฐแบบเบด็ เสร็จ

4. การใหบริการประชาชนผานแพลตฟอรมกลางบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (Customer
Experience via End to End Services) เปนการพัฒนาแพลตฟอรมกลางสําหรับ
การใหบริการประชาชน ภาคธุรกิจ และชาวตางชาติ การใหบริการขอมูลเปดภาครัฐ
เพ่ือใหประชาชน และภาคธุรกิจเขาถึงขอมูลภาครัฐ และการสงเสริมการมีสวนรวม
ผา นชองทางอิเลก็ ทรอนิกส

3

5. การปรับกระบวนการใหบริการภาครัฐ (Core Service Processes) เปนการดําเนินงาน
ที่ครอบคลุมการพัฒนาแพลตฟอรมกลาง และการใหบริการภาครัฐ โดยการดําเนินการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางาน และการใหบริการภาครัฐจากการทํางานแบบอนาล็อก
หรือก่ึงดิจิทัล ใหเปนการทํางานและการใหบริการภาครัฐอยูในรูปแบบดิจิทัลอยาง
เตม็ รปู แบบ

6. การวิเคราะหขอมูล (Data Analytics) เปนการสนับสนุนใหภาครัฐนําขอมูลท่ีมีการรวบรวม
จากการทํางาน และการปฏิบัติงานของหนวยงานมาวิเคราะหเพื่อปรับปรุงบริการภาครัฐ
และพัฒนานโยบายท่ีสอดคลองกับลักษณะของความตองการของผูรับบริการ(Customer
Centric)

7. ภาคีรวมดําเนินการ (Partners/Owners) การดําเนินการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตาม
สถาปตยกรรม และระบบนิเวศนของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตองอาศัยภาคีเครือขาย ทั้ง
จ า ก ภ า ค รั ฐ
และเอกชนทเ่ี ก่ยี วของ

ดังนั้น สํานักงาน กปร. ในฐานะหนวยงานกลางในการกํากับดูแลโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ จําเปนตองเตรียมพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานใหสามารถสนองพระราชดําริได
อยางมีประสิทธิภาพ เตรียมความพรอมของเคร่ืองมือ เพื่อการประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริ
และการขยายผลโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เปนรูปธรรม
สามารถผลกั ดันใหก ารปฏบิ ตั ิบรรลุผลสําเรจ็ และกอใหเกิดประโยชนแกประชาชนสว นรวม

ศูนยสารสนเทศ สํานักงาน กปร. ในฐานะหนวยงานหลักในการสนับสนุนการพัฒนาและสงเสริม
การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชในการทํางาน ท้ังการสนับสนุนขอมูล การจัดเก็บขอมูลสําหรับการทํางาน
และการจัดการขอมูลเพ่ือประกอบการตัดสินใจในการบริหารโครงการ เพ่ือใหการปฏิบัติงานตามโครงการ
อนั เน่อื งมาจากพระราชดําริมีความสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนเผยแพรประชาสัมพนั ธขอมูลสสู าธารณะใหประชาชน
ไดรับทราบและเรียนรู ซึ่งท่ีผานมา ศูนยสารสนเทศ สํานักงาน กปร. ดําเนินการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
เพ่ือยกระดับขีดความสามารถในการรองรับการเขาสูรัฐบาลดิจิทัล ตามแผนแมบทเทคโนโลยีดิจิทัล สํานักงาน
กปร. (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2562-2564 โดยไดพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากร
ของสํานักงาน สนับสนุนการเพ่ิมประสิทธิภาพการจัดเก็บขอมูลเปนดิจิทัล ภายใตโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ ตลอดจนพัฒนาระบบสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนการตัดสินใจของผูบริหาร ไดแก ระบบบริหารงาน
ดานวิชาการ (การศึกษา ทดลอง วิจัย) ของโครงการศูนยศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ระบบเมล็ดพันธุเพ่ือพระราชทานและปจจัยการผลิต ระบบเชื่อมโยงขอมูลเพ่ือการบริหารจัดการโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ซึ่งเปนแพลตฟอรมการปฏิบัติงานระหวางสํานักงาน กปร. และหนวยงานที่เก่ียวของ
เปนการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ลดการใชทรัพยากร ลดระยะเวลาในการทํางานอีกทั้งมีสวนชวยรักษา
ส่ิงแวดลอม ในปจจุบันระบบดังกลาวไดพัฒนาเสร็จเรียบรอย อยูระหวางการทดลองใชงานและทดสอบ
การประมวลผลขอ มลู ซึง่ จะสามารถสนบั สนนุ การปฏิบตั ิงานไดเ ต็มรปู แบบในปง บประมาณ 2564 นี้

4

จากสถานการณโควิด-19 ในป 2563 เปนสาเหตุหนึ่งท่ีทําใหการดําเนินงานตามภารกิจหลัก
ของโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริไดรับผลกระทบเนื่องจากการประกาศมาตรการการเวนระยะหางทาง
สังคม (Social Distancing) ศูนยสารสนเทศไดจัดทําแนวทางการเตรียมความพรอมเพื่อการทํางานนอกสถานที่
(Work from Home) เพ่ือใหผูบริหารและเจาหนาท่ีสามารถปฏิบัติงานสนองพระราชดําริและดําเนินการตาม
โครงการอนั เน่ืองมาจากพระราชดําริไดอยางตอเนื่อง และเปน แนวทางวิถีใหม (New Normal) สาํ หรบั การทํางาน
ในทุกสถานการณ โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานผานระบบอิเล็กทรอนิกสมากข้ึน เชน การใชเครื่องมือ
เทคโนโลยีดิจิทัลมาใชในการทํางาน งานจดหมายและระบบงานสารบรรณ การใชระบบรีโมทเพ่ือการเขาถึง
ฐานขอมูล การประชุมผานระบบอิเล็กทรอนิกส เปนตน ทั้งน้ี การปรับสูระบบดิจิทัลจะเปนการประยุกตใช
เทคโนโลยีดิจิทัลใหเปนประโยชนกับโครงการทั้งในระยะสั้นในการปรับตัวรองรับสถานการณโควิด-19 และการ
ปรบั ตัวในระยะยาวสาํ หรบั ชวี ติ การทํางานในวถิ ใี หม

ดังนั้น เพื่อใหเปนไปตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกา วาดวยหลักเกณฑและวิธีการบริหาร
กิจการบานเมืองท่ีดี พ.ศ. 2546 และ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ.2562 สอดคลองตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและ
การใหบ รกิ ารภาครฐั ผา นระบบดิจทิ ัล พ.ศ. 2562 รวมทงั้ ใหสอดคลอ งกบั แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทลั ของประเทศไทย
พ.ศ.2563-2565 แผนยุทธศาสตรชาติ ระยะ 20 ป (พ.ศ. 2561-2580) ที่เนนยกระดับการใหบริการโดยยึดความ
ตองการของประชาชนเปนศูนยกลาง และแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตรที่ 4 ปรับเปล่ียนภาครัฐสูการเปนรัฐบาลดิจิทัล ดังนั้น ศูนยสารสนเทศ
สํานักงาน กปร. จึงเห็นความสําคัญในการจัดทําแผนแมบทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 5 (พ.ศ.2565-
2570) โดยวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานท่ีสอดคลองกับสถานการณ
โดยเนนการสนับสนุนการดําเนินงาน แกปญหาและสนับสนุนการบริการผานระบบดิจิทัลอันจะนํามา
ซ่ึงการเพิ่มศักยภาพในการทํางานสนับสนุนการดําเนินงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริเพื่อประโยชน
ของประชาชน

วัตถุประสงค

ดังตอไปน้ี การจัดทาํ แผนแมบ ทการพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ิทัล ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2565-2570) มีวตั ถปุ ระสงค

1. เพื่อกําหนดมาตรฐานและพัฒนาระบบบรหิ ารจดั การทรัพยากรเทคโนโลยสี ารสนเทศของ
สํานกั งาน กปร.ท่ีเหมาะสมสอดคลองกบั สถานการณ

2. เพ่ือบรหิ ารจัดการระบบฐานขอมลู โครงการอนั เน่ืองมาจากพระราชดาํ รใิ หมปี ระสทิ ธภิ าพ พรอม
สง เสรมิ การใชป ระโยชนระบบขอมูลขาวสารเพ่ือการบรหิ าร บรกิ ารและวชิ าการ รวมทัง้ จดั หา
ซอฟทแวรท เ่ี หมาะสม สําหรับเปน เครื่องมือในการสนับสนุนการดําเนนิ งานตามโครงการอัน
เน่อื งมาจากพระราชดําริ

3. พัฒนาระบบเครือขาย การเช่ือมโยงขอมูลระหวางหนว ยงานท่ีเกยี่ วของ ใหม เี สถียรภาพและมี
ความม่นั คงปลอดภัย

5

4. พฒั นาบคุ ลากรใหมสี มรรถนะดานเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ตามมาตรฐาน
สอดคลอ งกับสถานการณอยางตอ เนื่อง

5. เพื่อบริการขอมูลขาวสารโครงการอนั เน่ืองมาจากพระราชดํารทิ ถี่ ูกตอง รวดเรว็ ทันสมัย
ตอบสนองความตองการของผใู ชบ ริการและประชาชน

กรอบแนวคดิ ในการวางแผนแมบ ท
กรอบแนวคิดทใี่ ชในการวางแผนแมบ ทการพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล ฉบบั ท่ี 5 (พ.ศ.2565-2570)

ไดศ ึกษาและกาํ หนดทิศทางแนวปฏบิ ตั ใิ หสอดคลอ งตามนโยบายและกฎหมายดิจิทลั ที่เก่ียวขอ ง ดังนี้
1.นโยบายและแผนระดบั ชาติวา ดว ยการพฒั นาดิจิทลั เพ่ือเศรษฐกิจและสังคม
2.แผนพัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565
3.พระราชบญั ญัติการบรหิ ารงานและการใหบ ริการภาครัฐผานระบบดิจิทลั พ.ศ. 2562
4.พระราชบญั ญัติคุมครองขอมลู สว นบุคคล พ.ศ.2562
5.พระราชบัญญัติการรักษาความม่ันคงปลอดภัยไซเบอร พ.ศ.2562
6.พระราชบญั ญตั วิ าดวยธุรกรรมทางอิเลก็ ทรอนิกส พ.ศ.2562
7.มาตรฐานการกั ษาความมน่ั คงปลอดภัยของการประชมุ ผานสอ่ื อิเล็กทรอนิกส พ.ศ.2557
8.พระราชกําหนดวาดวยการประชมุ ผานส่ืออิเล็กทรอนกิ ส พ.ศ.2563

ขอบเขตการจดั ทาํ แผนแมบ ท
ดาํ เนินการจดั ทาํ แผนแมบ ทการพฒั นาเทคโนโลยดี จิ ิทัลของสาํ นักงาน กปร. ใน 3 ดา น คือ
1. ดานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ดา นการพฒั นาระบบฐานขอมูลสารสนเทศ
3. ดา นการพฒั นาบคุ ลากรเพื่อการบรหิ ารงานดิจทิ ัล

โครงสรา งและองคกรการบริหารงานพฒั นาเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล
การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของสํานักงาน กปร. มีการดําเนินงานในรูปแบบการประสานความ

รวมมือ (Collaboration) จากทุกสวนขององคกร ในรูปแบบคณะทํางาน คือ คณะทํางานพัฒนาและสงเสริม
การใชระบบสารสนเทศของสํานักงาน กปร. ซ่ึงมีองคประกอบท่ีสําคัญ ไดแก รองเลขาธิการหรือที่ปรึกษา
รับผิดชอบกํากับดูแลศูนยสารสนเทศ เปนผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Department Chief
Information Officer : DCIO) และผูบริหารขอมูลระดับสูง (Department Chief Data Officer : DCDO)
ประจําสํานักงาน กปร. เปนประธานคณะทํางาน มีผูอํานวยการสํานัก ผูอํานวยการกอง ศูนย กลุม หรือผูแทน
รวมเปนคณะทํางาน โดยมีผูอํานวยการศูนยสารสนเทศ เปนคณะทํางานและเลขานุการ นักวิชาการคอมพิวเตอร
กลุมพัฒนาระบบและฐานขอมูลสารสนเทศ นักวิชาการคอมพิวเตอรกลุมพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ พรอมดวย
เจาหนาที่ศูนยสารสนเทศ เปนคณะทํางานและผูช ว ยเลขานุการ

คณะทํางานชุดนี้ทําหนาที่เปนศูนยปฏิบัติการระดับกรม (Department Operation
Center : DOC) พิจารณากําหนดแนวทางการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

6

กําหนดกรอบการจัดทําแผนแมบทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของสํานักงาน กปร. เปนคณะทํางานจัดการ
ธรรมาภิบาลขอมูล (Data Governance) การออกแบบและบริหารจัดการขอมูลองคกร (Enterprise Data
Management) การเปดเผยขอมูลภาครัฐ (Open Government Data : OGD) และสนับสุนภารกิจหลักของ
องคกรใหสอดคลองตามนโยบายดานเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ (รายละเอียดคําส่ังสํานักงานคณะกรรมการ
พเิ ศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ที่ปรากฏในภาคผนวก (1) และ (2))
ระยะเวลาดาํ เนินการ

เพ่ือใหเกิดความตอ เนื่องจากแผนแมบ ทการพัฒนาเทคโนโลยดี ิจทิ ัล ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562-2564)
อีกท้ังตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดวนที่สุดท่ี นร 0505/ว3353 ลงวันท่ี 19 ตุลาคม 2564
เร่ืองสรุปผลการประชุมคณะหัวหนาสวนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเทา คร้ังที่ 2/2564 คณะรัฐมนตรีไดมี
มติรับทราบตามที่สํานักงาน ก.พ.เสนอ ซึ่งมีเร่ืองใหทุกสวนราชการปรับรูปแบบการทํางานเพ่ือรองรับวิถีชีวิตใหม
โดยมีการนําระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชในการทํางาน มีการเช่ือมโยงขอมูลระหวางหนวยงาน เพื่อบูรณาการ
การทํางานใหมีความเปนเอกภาพ นอกจากนี้ แผนแมบทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 5 เปนการเตรียม
ความพรอมขององคกรใหสอดคลองกับแผนยุทธศาสตรชาติ 20 ป และใหสามารถกาวทันภูมิทัศนดิจิทัลของไทย
ระยะที่ 3 Digital Thailand II : Full Transformation ดังนั้น สํานักงาน กปร. จึงกําหนดใหแผนแมบท
การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 5 มีระยะเวลาดําเนินการ 6 ป โดยเริ่มดําเนินการในป พ.ศ.2565 ถึงป
พ.ศ.2570 เพ่ือใหหนวยงานสามารถเขาสูการขับเคลื่อนและการใชประโยชนจากนวัตกรรมดิจิทัล
อยางเตม็ ศกั ยภาพ (Full Transformation) ในป 2570 ได
ประโยชนทไี่ ดร ับ

1. สํานักงาน กปร.มีแผนแมบทดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร เพ่ือใชเปนกรอบ
ในการดําเนินงานตามนโยบายการพัฒนาองคกรภาครัฐสูองคกรดิจิทัล และสอดคลอง
ตามพระราชบญั ญตั ิการบริหารงานและการใหบ ริการภาครัฐผานระบบดจิ ิทัล พ.ศ. 2562

2. ผลักดันใหการบริหารงานและการใหบริการภาครัฐปรับเปล่ียนไปสูการเปนรัฐบาลดิจิทัลที่มี
การประสานความรวมมอื ระหวางหนวยงานทเี่ กี่ยวขอ ง ท้งั ระดบั ภายในและภายนอกองคก ร

3. สนับสนุนอุปกรณเคร่ืองมือดิจิทัลในการปฏิบัติงาน การสื่อสารแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางหนวยงานท่ี
เก่ียวของ สนับสนุนการนําเทคโนโลยีมาใชในการทํางานในการจัดการขอมูล การวางแผนและการ
บริหารงาน ตลอดจนติดตามความกาวหนาแล ะผลการดําเนินงาน ใหเกิดประโยช น
และประสิทธผิ ลสูงสุด

4. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและเจาหนาท่ีใหมีความรูและไดรับการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
ใหสามารถปรบั ตวั ทันตอ สถานการณทีเ่ ปล่ยี นแปลงและปฏิบัติงานไดอยา งมปี ระสิทธิภาพ

5. มีการวางแผนเตรียมความพรอมสําหรับการทํางานนอกสถานที่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยดาน
สารสนเทศ การรักษาความม่ันคงปลอดภัยไซเบอร เพ่ือการบริหารจัดการโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดาํ รไิ ดอยางตอเน่ือง

7

ขน้ั ตอนและระยะเวลาในการจดั ทําแผนแมบ ทฯ

ขนั้ ตอน / แผนปฏิบตั ิการ 2564
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค พ.ย.
1. จัดทําคําส่ังฯแตงตง้ั คณะทํางานพฒั นา * *
และสง เสรมิ การใชร ะบบสารสนเทศ
2. ประชมุ คณะทาํ งานพัฒนาและสง เสรมิ *
การใชร ะบบสารสนเทศ พิจารณา
กําหนดกรอบแนวทางวางแผนแมบทฯ
3. กาํ หนดโครงรา งองคป ระกอบแผน *
แมบ ท
4. ประเมินสถานการณดานเทคโนโลยี
ดจิ ิทัลและการมสี วนรวม
- สํารวจความตองการใชงานของ
เจา หนา ทเี่ กบ็ ขอ มูลผา นระบบ *
ดจิ ิทลั
- ประมวลขอ มูลและสรปุ ผลรายงาน
5. รวบรวมผลการดําเนนิ งานตามแผน *
แมบทเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ฉบับท่ี 4
6. ระดมความคดิ เห็น/กําหนดวสิ ัยทัศน/ *
วเิ คราะห SWOT
7. กาํ หนดยุทธศาสตรภ ารกจิ เปาประสงค *

8. จดั ทําแผนปฏิบตั กิ ารตามยุทธศาสตร **
- แผนปฏบิ ตั กิ าร 6 ป
9. กําหนดการบริหารจัดการและตดิ ตาม
ประเมินผล *
- กลไกติดตามและประเมินผล
- แนวทางการเตรยี มความพรอมการ * *
ทํางานทีบ่ า น (Work from Home)
- แนวทางการบรหิ ารความเสย่ี งจาก
ภยั พบิ ัติ (IT Contingency Plan
10. การพจิ ารณาใหความเห็นชอบ *
- เสนอรา งแผนแมบทขอความเห็น
- ปรบั ปรงุ แกไ ขตามขอเสนอแนะ

8

บทท่ี 2

แนวคดิ กฎหมาย และระเบยี บที่เก่ียวของ

แผนแมบทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 5 พ.ศ. 2565 – 2570 นี้ เปนการวางแผน
ตามกรอบแนวคิดและพระราชบัญญัติที่สําคัญ และวางแนวทางการปฏิบัติงานที่มีทิศทางสอดคลอง
ตามยุทธศาสตรชาติ 20 ป แผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(พ.ศ.2561-2580)
แผนปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ เพ่ือเปนแผนนําทางให สํานักงาน กปร.
กาวไปสูการสรางศักยภาพในการปฏิบัติงาน ความเปนองคกรดิจิทัลที่ทันสมัย ที่มีความม่ันคงปลอดภัย
และมีความยั่งยืน โดยไดศึกษากรอบแนวคิด พระราชบัญญัติ กฎหมาย ระเบียบ และมาตรการที่เก่ียวของ
ไดแ ก

1.นโยบายและแผนระดับชาติวา ดว ยการพฒั นาดิจทิ ลั เพ่อื เศรษฐกจิ และสังคม
2.พระราชบญั ญตั ิการบรหิ ารงานและการใหบ รกิ ารภาครฐั ผานระบบดิจทิ ลั พ.ศ. 2562
3.พระราชบัญญัติคุมครองขอมลู สว นบคุ คล พ.ศ.2562
4.พระราชบัญญตั ิการรกั ษาความมนั่ คงปลอดภัยไซเบอร พ.ศ.2562
5.พระราชบญั ญตั ิวา ดว ยธุรกรรมทางอเิ ลก็ ทรอนิกส พ.ศ.2562
6.แผนพฒั นารฐั บาลดจิ ทิ ัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565
7.พระราชกาํ หนดวา ดวยการประชมุ ผานสือ่ อิเลก็ ทรอนิกส พ.ศ.2563
8.มาตรฐานการกั ษาความมน่ั คงปลอดภัยของการประชมุ ผานส่อื อิเลก็ ทรอนิกส พ.ศ.2563
1.นโยบายและแผนระดับชาตวิ าดว ยการพัฒนาดจิ ทิ ลั เพื่อเศรษฐกจิ และสงั คม (พ.ศ. 2561 – 2580)
นโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกิจและสังคม เปนแผนแมบท
หลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ป (พ.ศ. 2561 – 2580) ไดกําหนดทิศทาง
การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใชเทคโนโลยีดิจิทัล ซ่ึงมีความสอดคลองกับยุทธศาสตรชาติ
และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ซ่ึงหนวยงานภาครัฐตองเตรียมวางแผนแมบทการพัฒนา
เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ใหส อดคลองและปรับตัวใหท ันตอการเปล่ียนแปลง โดยเน้ือหาสาระสําคัญของแผนแมบทหลัก
ระยะ 20 ป ไดก าํ หนดทิศทางไวด ังนี้
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทลั ของประเทศไทย มงุ เนน การพัฒนาระยะยาวอยา งยัง่ ยนื
สอดคลองกบั การจดั ทํายุทธศาสตรช าติ 20 ป โดยกาํ หนดภมู ทิ ัศนด จิ ทิ ลั หรือทิศทางการพัฒนาและเปาหมาย
ออกเปน 4 ระยะ คือ (ราชกจิ จานเุ บกษา, 2562, น.16-22)

9

ระยะที่ 1 (1 ป 6 เดอื น) Digital Foundation ประเทศไทยลงทุนและสรา งฐานรากใน
การพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมดจิ ิทลั

มิติดานโครงสรางพ้ืนฐาน ประเทศไทยจะมีบริการอินเทอรเน็ตความเร็วสูงสาธารณะ
เขาถึงชุมชน และมีบริการอินเทอรเน็ตความเร็วสูงไปยังหมูบานท่ัวประเทศ พรอมท้ังเตรียมการลงทุน
เพ่ือใหประเทศไทยมีโครงขายโทรคมนาคมความเร็วสูง เชื่อมตอกับประเทศอื่นในภูมิภาคอยางเพียงพอ
ทงั้ ทางภาคพื้นดนิ และภาคพ้นื นํา้

มิติดานเศรษฐกิจ สรางความเขมแข็งใหกับเศรษฐกิจภายในประเทศเพ่ือปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ
ดว ยการปรับปรงุ และปรับเปลย่ี นบริบทในการทาํ ธรุ กจิ ในยุคดิจิทลั ใหล่นื ไหลมากข้ึน (Frictionless)

มิติดานสังคม ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอยางย่ิงผูท่ีอยูในชนบทและผูดอยโอกาสสามารถ
เขาถึงอินเทอรเน็ตความเร็วสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และบริการของรัฐได โดยไมมีขอจํากัดทางกายภาพหรือพื้นท่ี
ผานชองทางบริการดิจิทัลที่หลากหลาย ใหประชาชนมีทักษะในการใชเทคโนโลยีดิจิทัลอยางสรางสรรค
และรับผิดชอบ สถาบันการศึกษาและหนวยงานที่ใหบริการสาธารณะในทองถ่ินทุกพ้ืนที่มีการใชงานเทคโนโลยี
ดจิ ิทลั และเชือ่ มตออนิ เทอรเ น็ตความเร็วสงู

มิติดานภาครัฐ การบริหารจัดการของภาครัฐจะถูกปรับเปล่ียนเปนรัฐบาลดิจิทัลอยางเปน
ระบบมกี ารใชเอกสารอเิ ล็กทรอนิกสแ ทนกระดาษมากขึ้น เกิดการใชทรัพยากรดิจทิ ัลรว มกนั อยางมีประสทิ ธิภาพ
สูงสุด เร่ิมบูรณาการขอมูลและทรัพยากรรวมกัน นําไปสูการเช่ือมโยงหนวยงานภาครัฐ (Connected
Government) และมีชุดขอมูลและระบบบริการพื้นฐานภาครัฐ (Government Service Platform)
ทมี่ ีมาตรฐานสามารถเขา ถึง แลกเปล่ียน เชอ่ื มโยง และใชงานรวมกันได

มิติดานทุนมนุษย กําลังคนในประเทศไดรับการเสริมสรางทักษะดานดิจิทัลท่ีมีมาตรฐานสากล
และเปนท่ียอมรับในตลาดแรงงานท้ังในประเทศและตางประเทศ ครอบคลุมทั้งบุคลากรที่เปนผูเช่ียวชาญใน
สาขาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Specialist) และกําลังคนท่ัวไปท่ีสามารถประยุกตใชเทคโนโลยีดิจิทัลไดอยาง
มปี ระสทิ ธิภาพ (Digital Competent Workforce)

มิติดานความเชื่อมนั่ มกี ฎหมาย/กฎระเบียบทเ่ี อ้ือตอ เศรษฐกจิ และสงั คมดิจทิ ลั กลมุ กฎหมาย
ทีเ่ กี่ยวกับการสง เสริมและพฒั นาเศรษฐกิจดิจิทลั มผี ลใชบังคับ ซ่ึงจะกอใหเ กิดการเปล่ียนแปลงทางดานโครงสราง
เชิงสถาบัน การจดั ต้ังหนวยงานที่ทาํ หนาท่ีขับเคลื่อนอยา งเปนรูปธรรม

ระยะที่ 2 (5 ป) Digital Thailand Inclusion ทกุ ภาคสวนของประเทศไทยมีสวนรวมใน
การพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมดิจิทลั ตามแนวประชารัฐ

มิติดานโครงสรางพ้ืนฐาน ประเทศไทยมีโครงขายความเรว็ สูงแบบใชส ายและแบบไรส ายเขาถึง
ทุกหมูบาน และครอบคลุมทั่วประเทศ โดยประเทศไทยจะเปนศูนยกลางในการเช่ือมตอและแลกเปล่ียนขอมลู
ในภูมิภาค ท่ีมีศูนยขอมูลท่ีไดมาตรฐานกระจายอยูทุกภูมิภาค และมีศูนยขอมูลของผูใหบริการขอมูลรายใหญ
ที่สาํ คัญตัง้ อยใู นประเทศ นอกจากนีก้ ารแพรภาพและกระจายเสยี งทางวิทยุและโทรทศั นจะตอ งเปลย่ี นผานจาก
ระบบแอนะล็อกมาเปนระบบดิจิทัลอยางเต็มรูปแบบ โดยมีโครงขายแพรสัญญาณภาพและกระจายเสียง
ระบบดิจิทัลท่คี รอบคลมุ พนื้ ท่บี ริการไดอยางท่วั ถึง

10

มติ ิดา นเศรษฐกิจ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เตบิ โตดวยการใชประโยชน
จากเทคโนโลยีดิจิทัลและการใชประโยชนจากขอมูล (Data Driven) และเตรียมความพรอมเพื่อพัฒนากระบวน
การผลิตของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ใหมีความทันสมัยและพัฒนาไปสูการทําธุรกิจดวย
ร ะ บ บ อั ต โ น มั ติ น อ ก จ า ก นี้ ธุ ร กิ จ เ ท ค โ น โ ล ยี ดิ จิ ทั ล ( Digital Innovation Driven Entrepreneur
หรอื Technology Startup) มบี ทบาทในการขบั เคลอื่ นประเทศ

มิติดานสังคม ประชาชนเขาถึงโครงขายอินเทอรเน็ตความเร็วสงู และบริการสาธารณะพ้ืนฐาน
ผานทางสื่อดิจิทัล และนําดิจิทัลมาใชเพ่ือการพัฒนาในมิติตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งดานการเรียนรู
และการใชดิจิทัลเปนเครื่องมือในการพัฒนาครู หลักสูตร และสงเสริมการเรียนรูดวยตนเอง มีส่ือการเรียนรู
ตลอดชวี ติ ทมี่ เี นอ้ื หาเหมาะสมกบั สภาพแวดลอ มและวถิ ชี วี ติ ของชาวบา น

มิติดานภาครัฐ เกิดการเชื่อมโยงหนวยงานภาครัฐและบูรณาการขอมูลขามหนวยงาน
โดยสมบูรณ ผูบริหารภาครัฐสามารถเขาถึงขอมูลไดทุกระดับ และใชประโยชนจากการวิเคราะหขอมูล
ขนาดใหญ เพ่อื ประกอบการวางแผนและการตดั สินใจไดอยางถูกตอง ทนั สถานการณพฒั นาบริการท่ีขบั เคล่ือน
โดยความตองการของประชาชนหรือผูใชบริการ (Citizen Driven) ตามหลักการออกแบบที่เปนสากล
(Universal Design) ผาน Single Window เพ่ิมขึ้น ภาครัฐสนับสนุนการดําเนินธุรกิจโดยการเช่ือมโยง
และบูรณาการขอมูล บริการ รวมท้ังนวัตกรรมของการบริการ และระบบการบริหารจัดการของภาครัฐ
การบริหารจัดการ และการบริการตองยึดประชาชนเปนศูนยกลาง และใหประชาชนมีสวนรวมในการตัดสนิ ใจ
เชิงนโยบายผานทางอิเล็กทรอนิกส (Connected Governance) ไดอยางสะดวกทันตอสถานการณ ตลอดจน
เปดโอกาสใหประชาชนเขาถึงขอมูลที่มีความมั่นคงปลอดภัย มีการรักษาความเปนสวนตัวของขอมูลและ
สามารถตรวจสอบได และนําไปสูการดําเนินงานที่มีความโปรงใส (Transparency) และนาเชื่อถือ
(Accountability)

มิติดานทุนมนุษย ประเทศไทยปรับเปลี่ยนโครงสรางกําลังคนทางดานดิจิทัล เพื่อเรงสราง
และพัฒนากําลังคนที่เหมาะสมและสอดคลองกับบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ที่รูปแบบ
การจางงานและวัฒนธรรมการทํางานเปล่ียนแปลงไป จากการท่ีเทคโนโลยีดิจิทัลเปนเทคโนโลยีท่ีไรพรมแดน
และเอ้อื ใหธ รุ กจิ จากทั่วโลกสามารถทํางานผา นระบบอนิ เทอรเนต็ ไดอยา งสะดวก

มิติดานความเช่ือม่ัน มีกฎหมาย ระเบียบที่เอื้อตอเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มีการปรับปรุง
กฎระเบียบและกระบวนการทํางานของภาครัฐท่ีเก่ียวของ ทําใหการทํา e-Business ในประเทศไทยมีความ
สะดวก รวดเร็ว ลดตนทุน และนาเชื่อถือ การเคลื่อนยายสินคามีประสิทธิภาพมากข้ึนดวยระบบ e-Logistics
ดานระบบการชําระเงินมีวิวัฒนาการใหมๆ เพื่อสนับสนุนการทําธุรกรรมทางการเงินของประเทศที่สะดวก
รวดเรว็ มปี ระสทิ ธิภาพ และนาเชอื่ ถือ มกี ารเช่ือมโยงและแลกเปลย่ี นขอ มูลแบบทนั ที กฎหมายที่สนับสนุนและ
จําเปนตอนโยบาย Digital Economy จะมีการบงั คบั ใชอยา งครบถว น

11

ระยะที่ 3 (10 ป) Full Transformation ประเทศไทยกาวสกู ารเปน “ดิจทิ ลั ไทยแลนด”
ทขี่ ับเคลอ่ื นและใชประโยชนจากนวตั กรรมดิจทิ ลั ไดอ ยา งเตม็ ศกั ยภาพ

มติ ิดา นโครงสรางพื้นฐาน ประเทศไทยจะมโี ครงสรา งพ้ืนฐานดิจทิ ัลที่ทันสมยั ทัดเทยี มประเทศ
ทพ่ี ฒั นาแลวและโครงขายอนิ เทอรเ น็ตความเร็วสูงจะกลายเปน สาธารณปู โภคขน้ั พ้ืนฐานดว ยโครงขายอินเทอรเน็ต
ความเร็วสูงแบบใชสายที่เขาถึงทุกบาน และรองรับการหลอมรวม (Convergence) มีบริการอินเทอรเน็ต
ความเรว็ สงู ทส่ี ามารถเขาถึงไดในทุกสถานท่ี ทกุ เวลา ดวยเทคโนโลยีท่ีหลากหลายรองรับปริมาณความตองการ
ใชงานที่เพ่ิมข้ึนอยางไมจํากัด ระยะทางและความเร็วจะไมไดเปนอุปสรรคในการเชื่อมโยงโครงขายระหวาง
ประเทศ ขอ มูลของผใู ชอินเทอรเ นต็ สวนใหญจะถูกเก็บไวท่ีศนู ยขอมลู บนเครือขา ยอินเทอรเ น็ตทีส่ ามารถเขาถึง
และโยก ยายไดตลอดเวลาโดยไมขึ้นอยูกับเทคโนโลยีและผูใหบริการระบบการแพรภาพและกระจายเสียง
แบบดิจิทัลจะถูกหลอมรวม โดยสงผานส่ือหลายรูปแบบดวยเทคโนโลยีที่หลากหลาย ครอบคลุมพื้นที่ท่ัว
ประเทศ

มิติดา นเศรษฐกิจ ประเทศไทยจะเปน ศนู ยกลางการคาและการลงทนุ ดิจิทลั ภาคอตุ สาหกรรม
สามารถนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทํางานเขาสูการเปนโรงงานอัจฉริยะ(Smart
Factory) รองรับการเขาสูอุตสาหกรรมในยุคที่ 4 (Industry 4.0) และภาคการเกษตรท่ัวประเทศตั้งแต
ขนาดใหญไปจนถึงขนาดเล็กปรับเปลี่ยนรูปแบบสูการทําการเกษตรแบบอัจฉริยะ (Smart Agriculture)
ขณะเดียวกันกลุมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs) ของไทยสามารถนํานวัตกรรมดิจิทัลเขามา
ขับเคล่อื นธรุ กิจ (Innovation Driven Enterprises: IDE) จนสามารถเขาไปมบี ทบาทในเวทรี ะหวางประเทศได

มิติดานสังคม ประชาชนทุกกลุม โดยเฉพาะอยางย่ิงกลุมผูดอยโอกาส ผูสูงอายุ และคนพิการ
สามารถเขาถึงบริการตางๆ ของภาครัฐไดทุกที่ ทุกเวลาผานเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนมีการรวบรวมและ
แปลงขอมูล องคความรูของประเทศ ทั้งระดับประเทศและระดับทองถ่ินใหอยูในรูปแบบดิจิทัลท่ีประชาชน
สามารถเขาถึงและนําไปใชประโยชนไดโดยงาย สะดวก และสรางสรรค พรอมกับสามารถใชเทคโนโลยีดิจิทัล
เปนเคร่ืองมือในการอนุรักษและเผยแพร สรางจุดยืนของประเทศไทย นําความรู ภูมิปญญาทองถ่ิน มาจัดเก็บ
และตอยอดสรางมูลคาเพิ่มในระยะยาว ในขณะเดียวกันประชาชนสามารถรูเทาทันขอมูลขาวสาร
อานออกเขียนไดทางดิจิทัล มีทักษะการใชประโยชนจากเทคโนโลยีดิจิทัลอยางมีความรับผิดชอบตอสังคม
และมีสวนรวมในการกําหนดออกแบบ พัฒนา และขบั เคล่อื นการพฒั นาทอ งถนิ่ และประเทศ

มิติดานภาครัฐ รัฐบาลมีกระบวนการทํางานเปน ระบบดิจิทัลโดยสมบูรณ เชือ่ มโยงการทํางาน
และขอมูลระหวางภาครัฐจนเสมือนเปน องคกรเดียว (One Government) และเช่ือมโยงประชาชนในการเขาถงึ
ขอมูลและมสี ว นรว มในการกําหนดแนวทางการบรหิ ารจัดการภาครฐั การพัฒนาสงั คมและเศรษฐกจิ โดยภาครัฐ
จะแปรสภาพเปนผูจัดใหมีการบริการของภาครัฐจากรูปแบบเดิมไปสูรูปแบบการบริการสาธารณะ ในลักษณะ
อัตโนมัติ (Automated Public Services) ตามหลักการออกแบบที่เปนสากล (Universal Design)ผานระบบ
ดิจิทัลที่สอดคลองกับสถานการณ และความตองการของผูรับบริการแตละบุคคล การกําหนดนโยบายและ
การตัดสินใจอยูบนพ้ืนฐานของขอมูลท่ีทันสมัย มีการวิเคราะหขอมูลขนาดใหญ และการมีสวนรวม
ของประชาชน

12

มิติดานทนุ มนุษย การปรบั เปล่ียนโครงสรางกําลังคนทางดา นดิจทิ ลั เปนงานตอเนื่องระยะยาว
ดวยการพัฒนาทักษะของกําลังคนทางดานเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับสูง (Advanced Digital Skill)
เพ่อื ใหสามารถผลิตกําลังคนทางดานดิจทิ ัลท่ีเพยี งพอสอดคลองกับบรบิ ททางเศรษฐกิจและสงั คมภายในประเทศ
ในระยะน้ีทักษะและวชิ าชีพท่ีมุงตอบสนองการทํางานรูปแบบใหมจะเปนท่ีตองการมากข้ึน โดยเฉพาะกําลงั คน
ที่เกี่ยวของกับการสรางเครือขายของการประยุกตใชระบบอัตโนมัติและอุปกรณอัจฉริยะ ประเทศไทย
จะมีระบบนิเวศของการทํางานรูปแบบใหมท่ีอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Workplace Ecology)
เปนแกนกลางสําคัญในการขับเคลื่อน กิจกรรมที่มุงเนนการสรางคุณคาใหกับระบบเศรษฐกิจและสังคม
โดยไมยึดติดกับสถานที่และเวลา (Mobility Workplace) มีการใชประโยชนรวมกันในรูปแบบของระบบ
เศรษฐกิจและสังคมแหงการแบงปน (Sharing Economy) รวมถึงมีกําลังคนรุนใหมท่ีมีทักษะดิจิทัลระดับสูง
และเปน ทักษะเฉพาะดานทผี่ สมผสานองคความรู อนั เปน ผลจากการเปลีย่ นแปลงของเทคโนโลยดี จิ ิทัล

มิติดานความเช่ือม่ัน มีกฎหมาย/กฎระเบียบท่ีเอื้อตอเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในระยะยาว
(10 ป) ประเทศไทยมีกฎหมาย/ระเบียบที่ไมเปนอุปสรรคตอการคา การทําธุรกรรมดิจิทัล และตองมี
การทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาอยางตอเนื่อง เพื่อสนับสนุนใหประเทศไทยเปนสวนหน่ึงของระบบ
เศรษฐกิจโลกอยา งแทจริง

ระยะที่ 4 (10-20 ป) Global Digital Leadership ประเทศไทยอยใู นกลมุ ประเทศที่
พัฒนาแลว สามารถใชเ ทคโนโลยีดิจทิ ัลสรา งมลู คาทางเศรษฐกิจและคุณคาทางสังคมอยา งยั่งยืน

มิติดานโครงสรางพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วตลอดเวลา
การแพรกระจายและการเขาถึงเทคโนโลยีดิจิทัลของประชาชนทุกคน ทุกกลุม ทําใหประชาชนคุนเคย
และใชเทคโนโลยีดิจิทัลโดยอัตโนมัติ ทําใหเทคโนโลยีดิจิทัลเปนเสมือนปจจัยท่ีหาในการใชชีวิตประจําวัน
การดําเนินกจิ กรรมทุกประเภท หากขาดเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั การดาํ เนนิ งานตางๆ จะหยดุ ชะงกั ลงโดยส้นิ เชงิ

มิติดานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจประเทศไทยเชอื่ มโยงกับระบบเศรษฐกิจโลกดวยเทคโนโลยดี ิจิทลั
อยางมีประสิทธิภาพ ท้ังดานการคา การผลิต การลงทุน หรือการจางงาน ทําใหประเทศไทยกาวขามรายได
ปานกลางไปสกู ารเปน ประเทศท่ีมีรายไดสงู ทดั เทยี มประเทศทพี่ ฒั นาแลว

มิติดานสังคม ประเทศไทยจะปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาจากศูนยกลางไปยังชนบท
เปนการพัฒนาความเจริญจากชนบทเขาสูศูนยกลาง ควบคูไปกับการสรางใหเกิดโครงสรางพ้ืนฐานดิจิทัล
ท่ีทันสมัยทัดเทียมประเทศที่เจริญแลว โครงสรางพ้ืนฐานดิจิทัลจะมีเทคโนโลยีสมัยใหมมาแทนท่ี และ
การใชงานจะถูกพัฒนาใหเปนบริการที่ประชาชนทุกคนสามารถเขาถึงและใชประโยชนได ซึ่งการเขาถึงบริการ
จะสามารถทําไดทุกที่ ทุกเวลา ดวยอุปกรณอัจฉริยะที่หลากหลาย การใชบริการโครงขายดิจิทัล
เพ่ือติดตอส่ือสารกับผูท่ีอยูหางไกลกันสามารถทําไดเสมือนกับเปนการส่ือสารแบบใกลตัว ขอมูลปริมาณ
มหาศาลถูกจัดเก็บในศูนยขอมูลหรือแหลงเก็บขอมูลที่กระจายอยูท่ัวบนเครือขาย เปรียบเสมือนกับขอมูล
ท่จี ดั เกบ็ มีอยูท ุกทแ่ี ละสามารถเขา ถึงไดแบบทนั ทเี มอื่ ตองการ

มิติดานภาครัฐ การทํางานของภาครัฐที่หลอมรวมกันเสมือนเปนองคกรเดียวที่ทํางาน
ดวยเทคโนโลยีดิจิทัล รวดเร็ว โปรงใส เปลี่ยนแปลงบทบาทภาครัฐในอนาคต โดยภาครัฐแปรเปลี่ยนไป
เปนผูอํานวยความสะดวกในการสรางบริการสาธารณะโดยภาคเอกชนและประชาชน เรียกวา บริการระหวาง
กัน (Peer to Peer) ตามหลักการออกแบบท่ีเปนสากล (Universal Design) ท่ีประชาชนทุกคนสามารถเขาถงึ

13

บริการไดโดยไมมีขอจํากัดทางกายภาพ พื้นที่ และภาษา โดยบทบาทของภาครัฐในอนาคตเปนผูกํากับดูแล
บริหารจัดการการใหบริการระหวางกันใหเกิดความเปนธรรม ประชาชนสามารถมีสวนรวมในการปกครอง
และบริหารบานเมืองโดยสมบูรณ นอกจากนี้จากความสําเร็จในการกาวเขาสูการเปน One Government
ทําใหประเทศไทยเปนผูนําดานรัฐบาลดิจิทัลทั้งการบริหารจัดการภาครัฐและบริการประชาชนในภูมิภาค
อาเซียน

มิติดานทุนมนุษย ดวยการเตรียมความพรอมในการสรางกําลังคนและการจางงานรูปแบบ
ใหมๆ ในระยะกอนหนา ประเทศไทยจะมีความพรอมและเปนหนึ่งในศนู ยกลางดานกําลังคนดิจิทลั ของภูมิภาค
อาเซียน ขณะเดียวกันดวยการเคลื่อนยายบุคลากรที่เปนไปอยางงายดายมากขึ้น กําลังคนดานดิจิทัลที่ทํางาน
ในประเทศไทยจะมคี วามหลากหลาย

มิติดานความเชื่อม่ัน มีกฎหมาย/กฎระเบียบท่ีเอ้ือตอเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประเทศไทย
เปน ประเทศตนแบบที่มีการพัฒนา ทบทวนกฎระเบียบ กตกิ าดา นดจิ ิทัลอยา งตอเน่ืองจรงิ จังในภมู ภิ าคอาเซียน

นอกจากน้ี การพัฒนาดิจิทัลของประเทศไทยตามวิสัยทัศนและแนวทางการพัฒนาตามภูมิ
ทัศนดิจิทัลของประเทศไดกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนาไว 6 ยุทธศาสตร ที่สงเสริมซ่ึงกันและกัน
เพ่ือใหสามารถติดตามความกาวหนาไดอยางชัดเจน และเปนแนวทางในการวางแผนงานเพ่ือดําเนินการตาม
ยุทธศาสตร ดังน้ี (ราชกจิ จานเุ บกษา, 2562, น.24)

1. พฒั นาโครงสรางพ้ืนฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสงู ใหครอบคลมุ ท่วั ประเทศ: เขา ถงึ
พรอ มใชจ า ยได

2. ขบั เคลือ่ นเศรษฐกจิ ดวยเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล: ขับเคลอ่ื น New S-Curve เพ่มิ ศักยภาพสราง
ธรุ กิจเพม่ิ มลู คา

3. สรางสังคมคุณภาพดว ยเทคโนโลยดี จิ ทิ ัล: สรางการมสี วนรว ม การใชประโยชน
อยางทัว่ ถึงและเทา เทยี ม

4. ปรับเปล่ยี นภาครัฐสกู ารเปนรัฐบาลดิจทิ ลั : โปรง ใส อาํ นวยความสะดวก รวดเรว็
เชื่อมโยงเปน หนึ่งเดียว

5. พฒั นากาํ ลังคนใหพรอ มเขาสูยุคเศรษฐกิจและสงั คมดิจทิ ัล: สรา งคน สรา งงาน
สรา งความเขมแข็งจากภายใน

6. สรางความเชอ่ื มัน่ ในการใชเ ทคโนโลยีดจิ ิทัล: กฎระเบยี บทันสมัย เช่อื ม่ันในการลงทนุ
มีความมน่ั คงปลอดภยั

โดยยุทธศาสตรท มี่ ีความเก่ยี วของและมีผลตอการเปลีย่ นแปลงของหนวยงานภาครัฐมากท่ีสุด
คือ ยุทธศาสตรที่ 4 ปรับเปล่ียนภาครัฐสูการเปนรัฐบาลดิจิทัล: โปรงใส อํานวยความสะดวก รวดเร็ว เชื่อมโยง
เปนหนึ่งเดียว หมายถึง การนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ
หนว ยงานรัฐท้ังสว นกลางและสว นภมู ภิ าคอยางมีแบบแผนและเปน ระบบจนพัฒนาสูการเปนรัฐบาลดิจิทลั อยาง
สมบูรณ ในลักษณะของการใหบริการภาครัฐหรือบริการสาธารณะท่ีอยูในรูปแบบดิจิทัลท่ีขับเคล่ือนโดยความ
ตองการของประชาชนหรือผูใชบริการ ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถเขาถึงบริการไดโดยไมมีขอจํากัดทาง
กายภาพ พื้นที่ และภาษา และในระยะตอไป รัฐบาลสามารถหลอมรวมการทาํ งานของหนวยงานทีเ่ ก่ียวขอ งเขา

14

มาเสมือนเปนองคกรเดียว ภาครัฐจะแปรเปล่ียนไปเปนผูอํานวยความสะดวกในการสรางบริการสาธารณะ
โดยเอกชนและประชาชน เรียกวา บริการระหวางกัน (Peer to Peer) ตามหลักการออกแบบท่ีเปนสากล
(Universal Design) ประชาชนมีสวนรวมในการกําหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการปกครอง
การบริหารบานเมืองและเสนอความคิดเห็นตอการดําเนินงานของภาครัฐไดอยางสมบูรณ ดังน้ัน
ยุทธศาสตรท่ี 4 จึงเปนการมุงเนนการใชเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทํางานและการใหบริการภาครัฐ
เพ่ือใหเกิดการปฏิรูปกระบวนการทํางานและข้ันตอนการใหบริการใหมีประสิทธิภาพ ถูกตองรวดเร็ว
อํานวยความสะดวกใหผูใชบริการ สรางบริการของภาครัฐท่ีมีธรรมาภิบาล ผานระบบเช่ือมโยงขอมูล
และสามารถใหบริการประชาชนแบบเบด็ เสรจ็ ณ จุดเดยี ว

2.พระราชบัญญัตกิ ารบริหารงานและการใหบ ริการภาครฐั ผา นระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ เปนการขับเคล่ือนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา ๒๖๖

ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย เรื่องการปฏิรูปการบริหารราชการแผนดินและการบริการประชาชน
ดวยระบบดิจิทัล โดยเมื่อวันท่ี 22 พฤษภาคม 2562 ราชกิจจานุเบกษาไดประกาศใหพระราชบัญญัติ
การบริหารงานและการใหบริการภาครัฐผานระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ใชบังคับมีผลตั้งแตวันที่ 23 พฤษภาคม
2562 เปนตนไป โดยเน้ือหาสาระของพระราชบัญญัติฯ นี้ ไดกําหนดกรอบแนวทางใหหนวยงานภาครัฐปฏบิ ัติ
ดังนี้ (ราชกจิ จานเุ บกษา, 2562. น.57-65)

มาตรา 3
“ดิจทิ ัล” หมายความวา เทคโนโลยที ใี่ ชว ธิ ีการนาํ สัญลกั ษณศูนยและหน่งึ หรือสัญลกั ษณอ่นื
มาแทนคาสิง่ ท้ังปวง เพ่ือใชส รางหรือกอใหเ กดิ ระบบตาง ๆ เพอ่ื ใหมนุษยใ ชประโยชน
“รัฐบาลดิจทิ ัล” หมายความวา การนําเทคโนโลยีดจิ ิทัลมาใชเ ปน เคร่ืองมอื ในการบรหิ ารงาน
ภาครัฐและการบริการสาธารณะ โดยปรบั ปรุงการบรหิ ารจดั การและบรู ณาการขอมูลภาครฐั และการทาํ งาน
ใหม ีความสอดคลองและเชือ่ มโยงเขาดว ยกันอยา งมั่นคงปลอดภยั และมธี รรมาภิบาล เพื่อเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพ
และอํานวยความสะดวกในการใหบริการประชาชน ในการเปดเผยขอมูลภาครัฐตอสาธารณชน และสรางการ
มสี ว นรวมของทุกภาคสวน
“หนวยงานของรัฐ” หมายความวา ราชการสวนกลาง ราชการสวนภูมิภาค ราชการสวน
ทองถิ่น รัฐวิสาหกิจ องคการมหาชน รัฐสภา ศาล องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องคกรอัยการ
สถาบันอุดมศึกษาของรฐั และหนว ยงานอิสระของรฐั
มาตรา 4 เพื่อใหการบริหารงานภาครัฐและการจัดทําบริการสาธารณะเปนไปดวยความ
สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองตอการใหบริการและการอํานวยความสะดวกแกประชาชน
ใหหนวยงานของรัฐจัดใหมีการบริหารงานและการจัดทําบริการสาธารณะในรูปแบบและชองทางดิจิทัล
โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการขอมูลภาครัฐและการทํางานใหมีความสอดคลองกันและเชื่อมโยง
เขาดวยกันอยางมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล โดยมุงหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพและอํานวย-
ความสะดวกในการใหบริการและการเขาถึงของประชาชน และในการเปดเผยขอมูลภาครัฐตอสาธารณะ
และสรา งการมีสวนรวมของทุกภาคสวน

15

มาตรา 5 ใหมแี ผนพฒั นารัฐบาลดิจิทลั เพื่อกาํ หนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐ
และการจัดทําบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงาน
ท่ีสอดคลองกันระหวางหนวยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดําเนินงานของประเทศ
โดยสอดคลองกับวตั ถุประสงคต ามมาตรา 4 ยุทธศาสตรช าติและแผนระดบั ชาติทีเ่ กย่ี วของ

ในแผนพัฒนารฐั บาลดิจทิ ลั ตามวรรคหนึ่ง อาจกาํ หนดใหหนวยงานของรฐั ที่มภี ารกจิ เกย่ี วของ
กันจัดทําระบบบูรณาการขอมูลดิจิทัลระหวางกัน และกําหนดรายช่ือหนวยงานของรัฐที่ตองเผยแพรขอมูล
ทศ่ี ูนยกลางขอ มูลเปด ภาครฐั ไวดว ยได

เม่ือมีการประกาศใชแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลแลว ใหหนวยงานของรัฐดําเนินการตามแผน
ดังกลาว และตองจัดทําหรือปรับปรุงแผนปฏิบัติการหรือแผนงานของหนวยงานของรัฐใหสอดคลองกับแผน
พฒั นารฐั บาลดิจิทัล พรอ มทัง้ สงแผนปฏบิ ตั ิการหรอื แผนงานดงั กลา วใหสํานักงานทราบดว ย

มาตรา 8 ธรรมาภบิ าลขอ มลู ภาครฐั ตามมาตรา 7 (2) อยางนอ ยตองประกอบดวย
(1) การกําหนดสิทธิ หนาที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการขอมูลของหนวยงาน
ของรฐั รวมถงึ สิทธแิ ละหนาทขี่ องผคู รอบครองหรือควบคมุ ขอมลู ดงั กลา วในทุกขนั้ ตอน
(2) การมีระบบบรหิ ารและกระบวนการจัดการและคุม ครองขอมูลท่ีครบถว น ต้ังแตก ารจดั ทํา
การจดั เกบ็ การจําแนกหมวดหมู การประมวลผลหรือใชขอมูล การปกปดหรือเปดเผยขอมูล การตรวจสอบ
และการทาํ ลาย
(3) การมมี าตรการในการควบคุมและพัฒนาคณุ ภาพขอมูล เพื่อใหขอ มลู มีความถกู ตอ ง
ครบถวน พรอมใชงาน เปนปจจุบัน สามารถบูรณาการและมีคุณสมบัติแลกเปล่ียนกันได รวมทั้งมีการวัดผล
การบรหิ ารจดั การขอมูลเพอื่ ใหห นว ยงานของรฐั มขี อมูลท่ีมคี ุณภาพและตอยอดนวัตกรรมจากการใชข อมูลได
(4) การกําหนดนโยบายหรือกฎเกณฑการเขาถึงและใชประโยชนจากขอมูลท่ีชัดเจนและ
มรี ะบบบริหารจัดการ รวมท้ังมีมาตรการและหลักประกันในการคุมครองขอมูลท่ีอยูใ นความครอบครอง
ใหม คี วามมนั่ คงปลอดภยั และมใิ หขอมูลสว นบคุ คลถูกละเมิด
(5) การจดั ทาํ คาํ อธิบายชดุ ขอมูลดิจิทลั ของภาครัฐ เพื่อใหทราบรายละเอยี ดเกี่ยวกับ
โครงสรางของขอ มูล เนอ้ื หาสาระ รปู แบบการจดั เกบ็ แหลง ขอมูล และสิทธิในการเขาถึงขอมูล
มาตรา 12 เพ่ือใหการบริหารงานและการใหบริการภาครัฐผานระบบดิจิทัลเปนไปตาม
วตั ถปุ ระสงคตามมาตรา 4 และเกิดการบูรณาการรว มกนั ใหห นวยงานของรัฐจัดทําธรรมาภบิ าลขอมลู ภาครัฐ
ในระดบั หนว ยงาน และดาํ เนินการดังตอไปนใี้ หเ ปน ไปตามธรรมาภบิ าลขอ มูลภาครัฐตามมาตรา 8
(1) จัดทําขอมูลตามภารกิจใหอยูในรูปแบบขอมูลดิจิทัล โดยเปนขอมูลที่มีความสมบูรณ
เชือ่ ถือได และสามารถใชไดอ ยางมีประสิทธภิ าพ มีความถกู ตองและเปนปจจบุ ัน สามารถแลกเปล่ยี นกับ
หนว ยงานของรัฐแหง อืน่ และนําไปประมวลผลตอ ไปได
(2) จัดทํากระบวนการหรือการดําเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผนดิน
และการใหบริการประชาชน กระบวนการหรือการดําเนินงานทางดิจิทัลนั้น ตองทํางานรวมกันไดตามมาตรฐาน
ขอกาํ หนด และหลักเกณฑท ่ีคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดจิ ิทลั กําหนด เพ่ือใหมคี วามสอดคลองและเชื่อมโยง
ระหวางหนวยงานของรัฐแหงอ่ืนได โดยมุงเนนถึงการอํานวยความสะดวกและการเขาถึงของประชาชน
ทเี่ ปนไปตามมาตรฐานและมกี ารบรู ณาการขอมลู ระหวางหนว ยงานของรัฐเปน สาํ คัญ

16

(3) จัดใหม ีระบบการชาํ ระเงินทางดจิ ิทลั อีกชอ งทางหนึง่ กรณีที่มีกฎหมายกาํ หนดใหห นว ยงาน
ของรัฐสามารถเรียกเก็บเงนิ คาธรรมเนียม คา บริการ คาปรับ หรือคา ใชจ ายอ่ืนใดจากประชาชนจากการใหบริการ
ของหนว ยงานของรัฐน้นั และอาจตกลงกบั หนว ยงานของรัฐแหง อนื่ ใหจัดเกบ็ เงินดงั กลา วแทนได

(4) จัดใหมีระบบการพิสูจนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชนในการอํานวย
ความสะดวกในการบริการประชาชน ซ่ึงมีมาตรฐานและแนวทางท่ีสอดคลองกันตามที่คณะกรรมการ
พัฒนารัฐบาลดิจิทัลกําหนด

(5) จัดใหมีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการเขาสูบริการดิจิทัลของ
หนวยงานของรัฐ เพ่ือใหมีความพรอมใช นาเช่อื ถือ และสามารถตรวจสอบได โดยอยางนอ ยตองจัดใหมีระบบ
ปองกันหรือรับมือกับภัยคุกคามหรือความเสี่ยงทางไซเบอรตามกฎหมายวาดวยการรักษาความมั่นคงปลอดภยั
ไซเบอร

(6) จัดใหมีการพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐใหมีความรูความสามารถในการดําเนินงาน
ดา นการบรหิ ารงานและการใหบ รกิ ารภาครฐั ผานระบบดจิ ทิ ลั ใหเ ปนไปตามแผนพัฒนารฐั บาลดจิ ิทัล

(7) ใหมีการทบทวนแผนปฏิบัติการหรือแผนงาน นโยบาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
การบรหิ ารงานและการใหบ รกิ ารภาครฐั ผา นระบบดจิ ิทลั ของหนว ยงานของรัฐ โดยตอ งจัดใหม ีการประเมินผล
การดําเนินงานตามแผน นโยบาย และแนวปฏิบตั ิดังกลาวดว ย ท้งั นี้ อยางนอ ยปล ะหนงึ่ คร้งั

มาตรา 17 ใหหนวยงานของรัฐจัดทําขอมูลที่ตองเปดเผยตามกฎหมายวาดวยขอมูลขาวสาร
ของราชการในรูปแบบขอมูลดิจิทัลตอสาธารณะ โดยตองใหประชาชนทั่วไปสามารถเขาถึงไดอยางเสรี
โดยไมเสยี คา ใชจาย และสามารถนาํ ไปเผยแพร ใชป ระโยชน หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบตาง ๆ
ได ทงั้ นี้ มาตรฐานและหลกั เกณฑการเปดเผยขอ มลู ใหเปน ไปตามทคี่ ณะกรรมการพฒั นารัฐบาลดิจิทัลกําหนด
ซึ่งตอ งเปนไปเพ่ือประโยชนในการอาํ นวยความสะดวกแกประชาชนในการเขา ถึงขอ มูล

ดงั น้นั ประเดน็ สําคญั ทห่ี นว ยงานภาครฐั ตองดําเนินการใหส อดคลองตามพระราชบัญญัติฯคือ
1) การจดั ทาํ แผนพัฒนาดิจทิ ัลของหนว ยงานใหส อดคลองตามแผนระดับชาติ 2) การจัดใหม ธี รรมาภบิ าลขอมูล
ภาครัฐเปนกรอบในการบริหารจัดการขอมูลของหนวยงานภาครัฐ 3) การจัดทําขอมูลและบริการในรูปแบบ
ดิจิทัล (Digitization) 4) การเปดเผยขอมูลเปดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล (Open Government Data)
5) หนวยงานสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงขอมูลระหวางกัน Integration และมีศูนยแลกเปล่ียนขอมูลกลาง
สนบั สนนุ เชอ่ื มโยงบริการดจิ ทิ ัลใหเกดิ บรกิ ารสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ

2.พระราชบัญญตั คิ ุมครองขอมูลสว นบคุ คล พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติคุมครองสวนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) คือ

พระราชบัญญัติคุมครองขอมูลสว นบุคคล พ.ศ. 2562 ซ่ึงไดประกาศในราช กิจจานุเบ ก ษา
เม่ือวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 โดยระบุใหองคกรหรือหนวยงานท่ีเก่ียวของท่ีเก็บขอมูลสวนบุคคล
ของประชาชน ไมวาจะเปนหนวยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ตองไมนําเอาขอมูลสวนตัวของบุคคลไปใชใน
กิจกรรมอ่ืน ๆ ที่ไมไดรับยินยอม โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือใหการคุมครองขอมูลสวนบุคคลมีประสิทธิภาพ
และเพ่ือใหมีมาตรการเยียวยาเจาของขอมูลสวนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในขอมูลสวนบุคคลท่ี

17

มีประสทธิภาพ ท้ังน้ี ขอมูลสวนบุคคล หมายรวมถึง ขอมูลเก่ียวกับบุคคลท่ีสามารถระบุตัวบุคคลน้ันไดไมวา
ทางตรงหรือทางออม ไมวาจะเปนรูปแบบใด เชน บัตรประชาชน สําเนาบัตรหรือรูปแบบกระดาษ
หรืออิเล็กทรอนิกส ตลอดจนตัวหนังสือ รูปภาพ หรือเสียง โดยครอบคลุมตั้งแต ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตร
ประชาชน เบอรโทรศัพท ที่อยู อีเมล นอกจากน้ี กฎหมายยังคุมครองไปถึงขอมูลสวนบุคคลที่มีความออนไหว
(Sensitive Data) เชน เช้ือชาติ เผาพันธุ ความ เห็นทางการเมือง ความเช่ือ ลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ
ประวัติอาชญากรรม ขอ มลู ทางดา นสุขภาพ ขอ มูลทางพนั ธกุ รรม ขอ มูลชีวภาพ เปนตน

ซึ่งในราชกิจจานุเบกษาไดใหคํานิยาม และระบุสาระสําคัญท่ีหนวยงานภาครัฐจําเปนตอง
ดําเนินการ ดงั น้ี (ราชกจิ จานเุ บกษา, 2562. น.52-76)

มาตรา 6 พระราชบญั ญตั ินี้
“ขอ มูลสวนบคุ คล” หมายความวา ขอมูลเก่ยี วกบั บคุ คลซึง่ ทาํ ใหสามารถระบุตัวบคุ คลนั้นได
ไมวาทางตรงหรือทางออม แตไ มรวมถึงขอมลู ของผูถ งึ แกกรรมโดยเฉพาะ
“ผูควบคมุ ขอมลู สวนบคุ คล” หมายความวา บุคคลหรอื นิติบคุ คล ซ่ึงมีอาํ นาจหนาท่ีตดั สินใจ
เกยี่ วกบั การเก็บรวบรวม ใช หรอื เปดเผยขอมลู สว นบคุ คล
“ผปู ระมวลผลขอ มูลสว นบคุ คล” หมายความวา บคุ คลหรือนิติบคุ คลซง่ึ ดําเนนิ การเกีย่ วกบั
การเกบ็ รวบรวม ใช หรือเปดเผยขอ มูลสวนบุคคลตามคําสัง่ หรอื ในนามของผูควบคมุ ขอมลู สวนบคุ คล ทงั้ น้ี
บคุ คลหรอื นติ บิ ุคคล ซึ่งดําเนินการดังกลา วไมเปน ผคู วบคุมขอมูลสวนบุคคล
มาตรา 19 ผูค วบคุมขอมลู สว นบคุ คลจะกระทาํ การเกบ็ รวบรวม ใช หรือเปดเผยขอ มลู สว น
บุคคลไมไ ดหากเจาของขอมูลสว นบุคคลไมไดใหความยินยอมไวก อนหรือในขณะนน้ั เวน แตบทบัญญตั ิแหง พระ
ราชบญั ญตั ินี้หรือกฎหมายอืน่ บัญญตั ใิ หกระทําได
การขอความยินยอมตองทําโดยชัดแจง เปนหนังสือหรือทําโดยผานระบบอิเล็กทรอนิกส
เวน แตโดยสภาพไมอาจขอความยนิ ยอมดว ยวธิ ีการดังกลา วได
ในการขอความยินยอมจากเจาของขอมูลสวนบุคคล ผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลตองแจง
วัตถุประสงคของการเก็บรวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลไปดวย และการขอความยินยอมน้ันตอง
แยกสวนออกจากขอความอื่นอยางชัดเจน มีแบบหรือขอความท่ีเขาถึงไดงายและเขาใจได รวมท้ังใชภาษาที่
อานงาย และไมเปนการหลอกลวงหรือทําใหเจาของขอมูลสวกนบคุ คลเขาใจผดิ ในวัตถุประสงคดังกลาว ท้ังนี้
คณะกรรมการจะใหผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลขอความยินยอมจากเจาของขอมูลสวนบุคคลตามแบบและ
ขอความทค่ี ณะ กรรมการประกาศกาํ หนดกไ็ ด
ในการขอความยินยอมจากเจาของขอมลู สว นบุคคล ผูควบคุมขอมูลสวนบคุ คลตองคํานงึ
อยา งถึงทส่ี ุดในความเปน อสิ ระของเจาของขอมลู สวนบุคคลในการใหค วามยินยอม ท้งั น้ี ในการเขา ทําสัญญา
ซึ่งรวมถึงการใหบรกิ ารใด ๆ ตอ งไมมเี ง่ือนไขในการใหค วามยนิ ยอมเพื่อเก็บรวบรวม ใช หรอื เปดเผยขอมลู
สว นบุคคลที่ไมมคี วามจําเปนหรือเกยี่ วของสาํ หรับการเขาทําสัญญา ซงึ่ รวมถึงการใหบริการนนั้ ๆ
เจา ของขอ มูลสวนบคุ คลจะถอนความยินยอมเสียเม่ือใดก็ไดโดยจะตองถอนความยนิ ยอมได
งาย เชนเดยี วกบั การใหความยนิ ยอม เวน แตมีขอจาํ กดั สิทธใิ นการถอนความยนิ ยอมโดยกฎหมายหรอื สัญญาที่
ใหป ระโยชนแกเ จาของขอมลู สวนบคุ คล ทั้งน้ี การถอนความยินยอมยอมไมสง ผลกระทบตอ การเก็บรวบรวม

18

ใช หรอื เปด เผยขอมูลสว นบคุ คลที่เจา ของขอมูลสว นบคุ คลไดใ หความยนิ ยอมไปแลว โดยชอบตามทก่ี ําหนดไว
ในหมวดนี้

ในกรณีที่การถอนความยินยอมสงผลกระทบตอเจาของขอมูลสวนบุคคลในเรื่องใด
ผูควบคมุ ขอ มูลสวนบุคคลตอ งแจง ใหเ จา ของขอมูลสวนบุคคลทราบถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมน้นั

การขอความยินยอมจากเจาของขอมูลสวนบุคคลที่ไมเปนไปตามท่ีกําหนดไวในหมวดน้ี
ไมมีผลผูกพันเจาของขอมูลสวนบุคคล และไมทําใหผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลสามารถทําการเก็บรวบรวม
ใชหรอื เปดเผยขอ มลู สวนบุคคลได

มาตรา 21 ผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลตองทําการเก็บรวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูล
สวนบุคคลตามวัตถปุ ระสงคทไ่ี ดแ จง เจาของขอมูลสวนบุคคลไวกอ นหรือในขณะท่ีเก็บรวบรวม

การเก็บรวบรวม ใช หรอื เปด เผยขอ มลู สว นบุคคลทีแ่ ตกตางไปจากวัตถปุ ระสงคท ไ่ี ดแจงไว
ตามวรรคหน่ึงจะกระทํามิได เวนแต

(1) ไดแจงวตั ถปุ ระสงคใหมน้ันใหเจา ของขอมลู สวนบคุ คลทราบและไดร บั ความยนิ ยอมกอ น
เกบ็ รวบรวม ใช หรือเปด เผยแลว

(2) บทบัญญัตแิ หงพระราชบัญญัตินี้หรอื กฎหมายอน่ื บัญญัตใิ หก ระทําได
มาตรา 24 หามมิใหผูค วบคมุ ขอมลู สวนบคุ คลทําการเกบ็ รวบรวมขอ มูลสว นบคุ คล โดยไมไ ด
รับความยินยอมจากเจาของขอมลู สว นบุคคล เวนแต
(1) เพ่ือใหบรรลุวัตถุประสงคที่เกี่ยวกับการจัดทําเอกสารประวัติศาสตรหรือจดหมายเหตุ
เพ่ือประโยชนสาธารณะ หรือท่ีเก่ียวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซ่ึงไดจัดใหมีมาตรการปกปองที่เหมาะสม
เพอ่ื คุมครองสิทธแิ ละเสรภี าพของเจาของขอมลู สวนบคุ คล ท้ังนี้ ตามทคี่ ณะกรรมการประกาศกาํ หนด
(2) เพ่ือปองกนั หรือระงับอนั ตรายตอ ชวี ติ รางกาย หรือสขุ ภาพของบคุ คล
(3) เปน การจําเปนเพ่ือการปฏบิ ตั ติ ามสญั ญาซึง่ เจา ของขอมูลสวนบุคคลเปนคสู ัญญาหรือ
เพ่ือใชใ นการดําเนนิ การตามคําขอของเจา ของขอมูลสวนบุคคลกอ นเขาทาํ สัญญานน้ั
(4) เปนการจําเปนเพื่อการปฏบิ ัตหิ นาท่ีในการดําเนินภารกจิ เพื่อประโยชนสาธารณะ
ของผคู วบคมุ ขอมูลสว นบุคคล หรอื ปฏิบัติหนาท่ใี นการใชอํานาจรัฐที่ไดม อบใหแกผคู วบคุมขอมลู สวนบคุ คล
(5) เปน การจําเปน เพ่ือประโยชนโดยชอบดวยกฎหมายของผูควบคมุ ขอมลู สวนบุคคล หรือ
ของบุคคลหรอื นิตบิ ุคคลอ่ืนท่ีไมใชผ คู วบคมุ ขอมูลสว นบุคคล เวนแตประโยชนดังกลา วมีความสาํ คัญนอยกวา
สิทธขิ ้นั พื้นฐานในขอมูลสว นบุคคลของเจา ของขอมูลสว นบุคคล
(6) เปนการปฏบิ ตั ิตามกฎหมายของผูควบคุมขอมูลสวนบุคคล
มาตรา 25 หามมใิ หผ ูควบคุมขอ มลู สวนบคุ คลทําการเก็บรวบรวมขอมลู สว นบคุ คลจาก
แหลงอืน่ ที่ไมใชจากเจาของขอมลู สวนบุคคลโดยตรง
มาตรา 26 หามมใิ หเกบ็ รวบรวมขอ มูลสว นบุคคลเก่ียวกบั เชอ้ื ชาติ เผา พันธุ ความคดิ เห็น
ทางการเมือง ความเชื่อในลทั ธิ ศาสนาหรอื ปรชั ญา พฤตกิ รรมทางเพศ ประวัตอิ าชญากรรม ขอมูลสุขภาพ
ความพิการ ขอมูลสหภาพแรงงาน ขอมูลพันธุกรรม ขอมูลชีวภาพ หรือขอมูลอื่นใด ซ่ึงกระทบตอเจาของ

19

ขอมูลสวนบุคคลในทํานองเดยี วกันตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด โดยไมไดรับความยนิ ยอมโดยชัดแจง
จากเจา ของขอ มลู สวนบคุ คล

มาตรา 27 หามมิใหผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลใชหรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคล โดยไมไดรับ
ความยนิ ยอมจากเจาของขอมลู สว นบคุ คล เวนแตเ ปน ขอมลู สวนบุคคลท่เี กบ็ รวบรวมไดโ ดยไดรับยกเวนไมตอง
ขอความยนิ ยอมตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26

มาตรา 37 ผคู วบคุมขอมูลสวนบุคคลมหี นาท่ี ดงั ตอ ไปน้ี
(1) จัดใหมีมาตรการรักษาความม่ันคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อปองกันการสูญหาย เขาถึง
ใชเปลย่ี นแปลง แกไ ข หรอื เปดเผยขอมูลสว นบคุ คลโดยปราศจากอํานาจหรือโดยมิชอบ และตองทบทวน
มาตรการดงั กลา วเม่อื มคี วามจาํ เปน หรอื เมื่อเทคโนโลยเี ปล่ยี นแปลงไปเพ่ือใหม ีประสิทธภิ าพในการรกั ษา
ความม่ันคงปลอดภัยท่เี หมาะสม ทงั้ น้ี ใหเปน ไปตามมาตรฐานข้นั ตํ่าท่คี ณะกรรมการประกาศกําหนด
(2) ในกรณีท่ีตองใหขอมูลสวนบุคคลแกบุคคลหรือนิติบุคคลอ่ืนท่ีไมใชผูควบคุมขอมูลสวน
บุคคลตองดําเนินการเพอื่ ปอ งกนั มิใหผ นู น้ั ใชห รือเปด เผยขอมูลสวนบุคคลโดยปราศจากอาํ นาจหรือโดยมิชอบ
(3) จดั ใหมีระบบการตรวจสอบเพ่อื ดําเนนิ การลบหรือทําลายขอมลู สวนบคุ คลเม่ือพน กําหนด
ระยะเวลาการเกบ็ รักษา หรอื ท่ีไมเ กีย่ วของหรือเกินความจําเปน ตามวัตถุประสงคในการเก็บรวบรวมขอมูลสวน
บุคคลน้ัน หรือตามท่ีเจาของขอมูลสวนบุคคลรองขอ หรือท่ีเจาของขอมูลสวนบุคคลไดถอนความยินยอม
เวนแตเก็บรักษาไวเพื่อวัตถุประสงคในการใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การเก็บรักษาไว
เพ่ือวัตถุประสงคตามมาตรา 24 (1) หรือ (4) หรือมาตรา 26 (5) (ก) หรือ (ข) การใชเพ่ือการกอตั้งสิทธิ
เรยี กรอ งตามกฎหมาย การปฏบิ ัตติ ามหรอื การใชสิทธิเรียกรองตามกฎหมาย หรอื การยกข้นึ ตอสูสิทธเิ รียกรอง
ตามกฎหมาย หรือเพ่ือการปฏิบัตติ ามกฎหมาย ท้ังนี้ ใหนําความในมาตรา 33 วรรคหา มาใชบังคับกับการลบ
หรือทาํ ลายขอมลู สวนบุคคลโดยอนโุ ลม
(4) แจงเหตุการณละเมิดขอมูลสวนบุคคลแกสํานักงานโดยไมชักชาภายในเจ็ดสิบสองช่ัวโมง
นับแตทราบเหตุเทาที่จะสามารถกระทําได เวนแตการละเมิดดังกลาวไมมีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบตอสิทธิ
และเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเส่ียงสูงที่จะมีผลกระทบตอสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ใหแจงเหตุการณละเมิดใหเจาของขอมูลสวนบุคคลทราบพรอมกับแนวทางการเยียวยาโดยไมชักชาดวย
ทงั้ นี้ การแจงดังกลาวและขอ ยกเวน ใหเ ปนไปตามหลกั เกณฑและวิธกี ารที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
(5) ในกรณีที่เปนผูควบคมุ ขอมูลสวนบคุ คลตามมาตรา 5 วรรคสอง ตอ งแตง ตั้งตัวแทนของ
ผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลเปนหนังสือซึ่งตัวแทนตองอยูในราชอาณาจักรและตัวแทนตองไดรับมอบอํานาจให
กระทําการแทนผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลโดยไมมีขอจํากัดความรับผิดใด ๆ ท่ีเก่ียวกับการเก็บรวบรวมใช
หรอื เปดเผยขอ มลู สว นบคุ คลตามวตั ถปุ ระสงคของผูควบคมุ ขอมลู สว นบุคคล
มาตรา 40 ผปู ระมวลผลขอ มลู สวนบุคคลมีหนา ที่ ดงั ตอ ไปน้ี
(1) ดาํ เนินการเกี่ยวกับการเกบ็ รวบรวม ใช หรอื เปด เผยขอ มูลสวนบุคคลตามคําสัง่ ทีไ่ ดร บั
จากผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลเทาน้ัน เวนแตคําส่ังนั้นขัดตอกฎหมายหรือบทบัญญัติในการคุมครองขอมูล
สวนบคุ คลตามพระราชบัญญตั นิ ้ี

20

(2) จัดใหม ีมาตรการรักษาความม่ันคงปลอดภัยท่เี หมาะสม เพือ่ ปองกนั การสูญหาย เขาถงึ
ใช เปล่ยี นแปลง แกไ ข หรอื เปดเผยขอมูลสว นบุคคลโดยปราศจากอํานาจหรอื โดยมิชอบ รวมทัง้ แจงใหผ ู
ควบคุมขอมูลสวนบคุ คลทราบถงึ เหตกุ ารละเมดิ ขอ มลู สวนบุคคลท่เี กดิ ขน้ึ

(3) จัดทําและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลขอมูลสวนบุคคลไว
ตามหลักเกณฑและวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด ผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลซ่ึงไมปฏิบัติตาม(1)
สําหรับการเก็บรวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลใด ใหถือวาผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคล
เปนผคู วบคุมขอมูลสว นบุคคลสําหรับการเกบ็ รวบรวม ใช หรอื เปด เผยขอ มูลสวนบุคคลน้นั

การดําเนินงานตามหนาที่ของผูประมวลผลขอมูลสวนบุคคลตามท่ีไดรับมอบหมายจาก
ผูควบ คุมขอมูลสวนบุคคลตามวรรคหน่ึง ผูควบคุมขอมูลสวนบุคคลตองจัดใหมีขอตกลงระหวางกัน
เพ่ือควบคุมการดําเนนิ งานตามหนา ทีข่ องผปู ระมวลผลขอ มูลสว นบุคคลใหเ ปนไปตามพระราชบัญญัตนิ ี้

มาตรา 41 ผูควบคุมขอมูลสวนบคุ คลและผปู ระมวลผลขอมูลสวนบุคคลตองจดั ใหมเี จา หนา ที่
คุมครองขอมูลสวนบคุ คลของตน ในกรณีดังตอไปน้ี

(1) ผคู วบคมุ ขอมลู สว นบคุ คลหรือผปู ระมวลผลขอ มูลสวนบุคคลเปน หนว ยงานของรฐั ตามที่
คณะกรรมการประกาศกาํ หนด

(2) การดําเนินกจิ กรรมของผูควบคุมขอมลู สวนบุคคลหรือผปู ระมวลผลขอ มลู สว นบุคคลใน
การเก็บรวบรวม ใช หรอื เปดเผย จําเปนตองตรวจสอบขอมลู สวนบุคคลหรอื ระบบอยางสมํา่ เสมอ โดยเหตุที่มี
ขอมูลสวนบุคคลเปน จํานวนมากตามทค่ี ณะกรรมการประกาศกําหนด

(3) กิจกรรมหลักของผคู วบคุมขอมูลสว นบคุ คลหรอื ผูประมวลผลขอ มูลสวนบุคคลเปน การเกบ็
รวบรวม ใช หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลตามมาตรา 26

ดังนนั้ สงิ่ ท่หี นวยงานตองเตรียมพรอมเพื่อดําเนินการใหสอดคลองตามพระราชบัญญัตคิ ุมครอง
ขอมูลสวนบุคล พ.ศ.2562 คือ การทํานโยบายความเปน สวนตัว (Privacy policy) เพ่ือแจงเจาของขอมูลสวน
บุคคลถงึ รายละเอียดและวตั ถปุ ระสงคของการประมวลผลขอมูลสว นบุคคล และบนั ทึกกจิ กรรมการประมวลผล
ขอมูลสวนบุคล โดยตองจัดใหมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอยางเหมาะสมเพ่ือปองกันการสูญหาย
เขาถึง ใช เปลี่ยนแปลง แกไข หรือเปดเผยขอมูลสวนบุคคลโดยปราศจากอํานาจโดยมิชอบ เชน มีนโยบาย
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยขอมูลสว นบุคคล มีการขอความยินยอมจากเจา ของขอมูลกอนการเก็บ รวบรวม
ใช หรือเปดเผย (Consent Management) มีการประเมินความเส่ียงของขอมูลสวนบุคคล (Personal Data
Risk Assessment) ดังนั้น การบริหารจัดการขอมูลสวนบุคคลจึงเปนเร่ืองที่เกี่ยวของกับทุกภาคสวนในองคกร
และจําเปนตองดําเนินการอยางตอเนื่อง การบริหารจัดการขอมูลสวนบุคคลใหมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ที่ดีจึงข้ึนอยูกับการกํากับดูแลของผูบริหารและการมีสวนรวมของบุคคลในองคกร การออกแบบกระบวนการ
ท่ีมีการสอดแทรกมาตรการการคุมครองขอมูลสวนบุคคล และการนําเทคโนโลยีเขามาชวยในการติดตาม
ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ตามมาตรการท่ีกําหนด รวมถึงการวิเคราะห ตรวจสอบ คนหาและกําจัดความเสี่ยง
ตอภยั คกุ คามจากภายนอก

21

3.พระราชบญั ญตั กิ ารรกั ษาความมัน่ คงปลอดภยั ไซเบอร พ.ศ.2562
ปจจุบันอินเทอรเน็ตเปนสวนสําคัญในชีวิต ในมิติตาง ๆ ท้ังทางเศรษฐกิจ สังคม การสื่อสาร

โทรคมนาคม การควบคุมดแู ลโครงสรางพื้นฐานระบบสารสนเทศ และการปอ งกนั ประเทศ โดยการเขาถงึ ระบบ
เครือขายสารสนเทศและอินเทอรเน็ตสามารถกระทําไดงาย มีความสะดวกมากข้ึน ในขณะเดียวกันทําใหเกิด
ความเส่ียงตอการนําไปใชในทางท่ีผิดและเสี่ยงที่จะเกิดภัยคุกคามตอชีวิตเพ่ิมข้ึนอีกดวย เชน ภัยที่จะเกิดตอ
ระบบที่ควบคุมดูแลการใชงานอินเทอรเน็ต เชน ไวรัสคอมพิวเตอร หรือภัยท่ีเกิดจากมิจฉาชีพท่ีใชอินเทอรเ น็ต
ในการกออาชญากรรมและแสวงผลประโยชนในรูปแบบตางๆ เชน มัลแวรเรียกคาไถ เปนตน ซ่ึงการคุกคาม
เหลานี้มีผลตอปฏิบัติงานท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และการดํารงชีวิตของประชาชน ทั้งในยามปกติและ
ยามเกดิ เหตุฉุกเฉิน

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร ฉบับน้ีจึงเปนการกํากับดูแล
ดานความม่ันคงปลอดภัยไซเบอร โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เพื่อใหการรักษา
ความมั่นคงปลอดภยั ไซเบอรมีประสิทธิภาพและเพ่ือใหมีมาตรการปองกนั รบั มอื และความเสย่ี งจากภยั คุกคาม
ทางไซเบอรอันกระทบตอความม่ันคงของรฐั และความสงบเรียบรอย ซ่ึงมสี าระสําคัญ ดังนี้ (ราชกจิ จานเุ บกษา,
2562. น.20-42)

มาตรา ๓
“การรักษาความม่นั คงปลอดภยั ไซเบอร” หมายความวา มาตรการหรือการดําเนินการท่ี
กาํ หนดข้ึนเพอื่ ปองกัน รบั มือ และลดความเส่ยี งจากภยั คุกคามทางไซเบอรท้งั จากภายในและภายนอกประเทศ
อันกระทบตอความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางทหาร และความสงบเรียบรอย
ภายในประเทศ
“ภัยคุกคามทางไซเบอร” หมายความวา การกระทําหรือการดําเนินการใดๆ โดยมิชอบ
โดยใชคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอรหรือโปรแกรมไมพึงประสงค โดยมุงหมายใหเกิดการประทุษราย
ตอระบบ คอมพิวเตอร ขอมูลคอมพิวเตอร หรือขอมูลอ่ืนท่ีเกี่ยวของ และเปนภยันตรายที่ใกลจะถึงท่ี
จะกอ ใหเ กดิ ความเสียหายหรอื สงผลกระทบตอการทํางานของคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือขอ มูลอื่น
ท่เี ก่ยี วของ
“ไซเบอร” หมายความรวมถงึ ขอมลู และการสื่อสารท่ีเกิดจากการใหบ ริการหรือการประยุกต
ใชเครือขายคอมพิวเตอร ระบบอินเทอรเน็ต หรือโครงขายโทรคมนาคม รวมท้ังการใหบริการโดยปกติ
ของดาวเทยี มและระบบเครือขา ยท่ีคลายคลงึ กัน ทเี่ ชอื่ มตอ กนั เปนการทวั่ ไป
“หนวยงานของรัฐ” หมายความวา ราชการสวนกลาง ราชการสวนภูมิภาค ราชการสวน
ทองถนิ่ รัฐวิสาหกิจ องคก รฝา ยนติ ิบัญญัติ องคกรฝายตลุ าการ องคกรอิสระ องคก ารมหาชน และหนวยงาน
อ่ืนของรฐั
“ประมวลแนวทางปฏิบัติ” หมายความวา ระเบียบหรือหลักเกณฑท่ีคณะกรรมการกํากับ
ดูแลดานความม่ันคงปลอดภัยไซเบอรกําหนด
“เหตุการณท่ีเก่ียวกับความม่ันคงปลอดภัยไซเบอร” หมายความวา เหตุการณท่ีเกิดจาก
การกระทําหรือการดําเนินการใดๆ ท่ีมิชอบซึ่งกระทําการผานทางคอมพิวเตอรหรือระบบคอมพิวเตอร

22

ซ่ึงอาจเกิดความเสียหายหรือผลกระทบตอการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร หรือความม่ันคงปลอดภัย
ไซเบอรของคอมพิวเตอร ขอมูลคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือขอมูลอื่นท่ีเกี่ยวของกับระบบ
คอมพวิ เตอร

“มาตรการทใี่ ชแ กป ญหาเพื่อรกั ษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร” หมายความวา การแกไ ข
ปญหาความม่ันคงปลอดภัยไซเบอรโดยใชบ ุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยผานคอมพิวเตอร ระบบ
คอมพิวเตอร โปรแกรมคอมพิวเตอร หรือบริการที่เก่ียวกับคอมพิวเตอรใดๆ เพ่ือสรางความมั่นใจและเสริมสราง
ความม่ันคงปลอดภัยไซเบอรของคอมพิวเตอร ขอมูลคอมพิวเตอร ระบบคอมพิวเตอร หรือขอมูลอื่น
ท่เี กีย่ วขอ งกบั ระบบคอมพิวเตอร

“โครงสรางพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศ” หมายความวา คอมพิวเตอรหรือระบบ
คอมพิวเตอร ซ่ึงหนวยงานของรัฐหรือหนวยงานเอกชนใชในกิจการของตนท่ีเก่ียวของกับการรกั ษาความมั่นคง
ปลอดภัยของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความม่ันคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสรางพ้ืนฐาน
อนั เปนประโยชนส าธารณะ

“หนว ยงานโครงสรางพื้นฐานสาํ คญั ทางสารสนเทศ” หมายความวา หนว ยงานของรฐั หรือ
หนวยงานเอกชน ซง่ึ มีภารกิจหรอื ใหบรกิ ารโครงสรา งพ้ืนฐานสาํ คัญทางสารสนเทศ

“หนวยงานควบคมุ หรือกํากับดูแล” หมายความวา หนวยงานของรัฐ หนว ยงานเอกชน
หรอื บคุ คลซึ่งมกี ฎหมายกําหนดใหม หี นา ทแี่ ละอํานาจในการควบคมุ หรือกํากบั ดูแลการดาํ เนินกิจการของ
หนวยงานของรฐั หรอื หนว ยงานโครงสรา งพนื้ ฐานสาํ คัญทางสารสนเทศ

มาตรา 13
(4) กําหนดประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานดานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอรอนั เปนขอ กาํ หนดขัน้ ตาํ่ ในการดําเนินการดา นการรักษาความมน่ั คงปลอดภัยไซเบอร สําหรบั หนว ยงาน
ของรฐั และหนวยงานโครงสรา งพนื้ ฐานสาํ คัญทางสารสนเทศ รวมทงั้ กาํ หนดมาตรการในการประเมินความเส่ียง
การตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอรหรือเหตุการณที่สงผลกระทบหรือ
อาจกอใหเกิดผลกระทบหรือความเสียหายอยางมีนัยสําคัญหรืออยางรายแรงตอระบบสารสนเทศของประเทศ
เพื่อใหการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรปฏิบัติไดอยางรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเปนไปในทิศทาง
เดยี วกัน
(5) กําหนดหนาท่ีของหนวยงานโครงสรางพ้ืนฐานสําคัญทางสารสนเทศ และหนาที่
ของหนวยงานควบคุมหรือกํากับดูแล โดยอยางนอยตองกําหนดหนาท่ีใหหนวยงานควบคุมหรือกํากับดูแล
ตองกําหนดมาตรฐานท่ีเหมาะสมเพ่ือรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอรของแตละหนวยงานโครงสรางพ้ืนฐาน
สาํ คญั ทางสารสนเทศและหนว ยงานของรัฐ
มาตรา 44 ใหหนวยงานของรัฐ หนวยงานควบคุมหรือกํากับดูแล และหนวยงานโครงสราง
พื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศจัดทําประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานดานการรักษาความม่ันคง
ปลอดภัยไซเบอรของแตละหนวยงานใหสอดคลองกับนโยบายและแผนวาดวยการรักษาความม่ันคงปลอดภัย
ไซเบอรโ ดยเรว็
ประมวลแนวทางปฏบิ ัติดานการรกั ษาความม่นั คงปลอดภยั ไซเบอรตามวรรคหน่งึ อยา งนอย
ตองประกอบดว ยเรื่อง ดังตอไปนี้

23

(1) แผนการตรวจสอบและประเมนิ ความเสี่ยงดา นการรกั ษาความม่นั คงปลอดภัยไซเบอร
โดยผตู รวจประเมิน ผตู รวจสอบภายใน หรอื ผตู รวจสอบอิสระจากภายนอก อยางนอยปละหนง่ึ ครง้ั

(2) แผนการรบั มอื ภยั คุกคามทางไซเบอร
มาตรา ๕๘ ในกรณีท่ีเกิดหรือคาดวาจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอรตอระบบสารสนเทศ
ซ่ึงอยูในความดูแลรับผิดชอบของหนวยงานของรัฐหรือหนวยงานโครงสรางพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศใด
ใหหนวยงานน้ันดําเนินการตรวจสอบขอมูลที่เก่ียวของ ขอมูลคอมพิวเตอร และระบบคอมพิวเตอร
ของหนวยงานน้ัน รวมถึงพฤติการณแวดลอมของตน เพ่ือประเมินวามีภัยคุกคามทางไซเบอรเกิดข้ึนหรือไม
หากผลการตรวจสอบปรากฏวาเกิดหรือคาดวาจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอรข้ึน ใหดําเนินการปองกันรับมือ
และลดความเส่ียงจากภัยคุกคามทางไซเบอรตามประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานดานการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรของหนวยงานน้ัน และแจงไปยังสํานักงานและหนวยงานควบคุมหรือกํากับ
ดูแลของตนโดยเร็ว
มาตรา 60 การพจิ ารณาเพื่อใชอํานาจในการปองกนั ภัยคกุ คามทางไซเบอร คณะกรรมการ
จะกาํ หนดลกั ษณะของภัยคุกคามทางไซเบอร โดยแบง ออกเปนสามระดับ ดงั ตอไปน้ี
(1) ภัยคุกคามทางไซเบอรใ นระดบั ไมรายแรง หมายถงึ ภยั คุกคามทางไซเบอรทมี่ ีความเสย่ี ง
อยางมีนัยสําคัญถึงระดับท่ีทําใหระบบคอมพิวเตอรของหนวยงานโครงสรางพ้ืนฐานสําคัญของประเทศหรือ
การใหบ ริการของรฐั ดอยประสทิ ธิภาพลง
(2) ภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง หมายถึง ภัยคุกคามที่มีลักษณะการเพ่ิมข้ึนอยาง
มีนัยสําคัญของการโจมตีระบบคอมพิวเตอร คอมพิวเตอร หรือขอมูลคอมพิวเตอร โดยมุงหมายเพื่อโจมตี
โครงสรางพ้ืนฐานสําคัญของประเทศและการโจมตีดังกลาว มีผลทําใหระบบคอมพิวเตอรหรือโครงสรางสําคัญ
ทางสารสนเทศท่ีเกี่ยวของกับการใหบริการของโครงสรางพ้ืนฐานสําคัญของประเทศ ความมั่นคงของรัฐ
ความสัมพนั ธร ะหวางประเทศ การปอ งกันประเทศ เศรษฐกิจ การสาธารณสขุ ความปลอดภยั สาธารณะ หรอื
ความสงบเรียบรอ ยของประชาชนเสยี หาย จนไมสามารถทํางานหรือใหบรกิ ารได
(3) ภยั คกุ คามทางไซเบอรในระดบั วิกฤติ หมายถงึ ภัยคุกคามทางไซเบอรใ นระดบั วกิ ฤติ
ทม่ี ลี ักษณะ ดังตอไปน้ี
(ก) เปนภัยคุกคามทางไซเบอรที่เกิดจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร คอมพิวเตอร
ขอมูลคอมพิวเตอรในระดับที่สูงข้ึนกวาภัยคุกคามทางไซเบอรในระดับรายแรง โดยสงผลกระทบรุนแรง
ตอโครงสรางพื้นฐานสําคัญทางสารสนเทศของประเทศในลักษณะที่เปนวงกวาง จนทําใหการทํางานของ
หนวยงานรัฐหรือการใหบริการของโครงสรางพื้นฐานสําคัญของประเทศที่ใหกับประชาชนลมเหลวทั้งระบบ
จนรัฐไมสามารถควบคุมการทํางานสวนกลางของระบบคอมพิวเตอรของรัฐได หรือการใชมาตรการเยียวยา
ตามปกติในการแกไขปญหาภัยคุกคามไมสามารถแกไขปญหาไดและมีความเสี่ยงท่ีจะลุกลามไปยังโครงสราง
พ้ืนฐานสําคัญอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งอาจมีผลทําใหบุคคลจํานวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร
คอมพวิ เตอร ขอ มลู คอมพวิ เตอรจาํ นวนมากถกู ทําลายเปนวงกวางในระดับประเทศ
(ข) เปน ภยั คกุ คามทางไซเบอรอันกระทบหรืออาจกระทบตอความสงบเรียบรอยของประชาชน
หรือเปนภัยตอความม่ันคงของรัฐหรืออาจทําใหประเทศหรือสวนใดสวนหน่ึงของประเทศตกอยูในภาวะคับขัน
หรือมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับการกอการรายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม

24

ซึง่ จําเปน ตองมมี าตรการเรงดวนเพ่ือรักษาไวซ ่ึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ท รงเปน
ประมุขตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยเอกราชและบูรณภาพแหงอาณาเขตผลประโยชนของชาติ
การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภยั ของประชาชน การดํารงชีวติ โดยปกติสุขของประชาชน การคุมครอง
สิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบรอยหรือประโยชนสวนรวม หรือการปองปดหรือแกไขเยียวยาความเสียหาย
จากภยั พิบตั ิสาธารณะอันมีมาอยา งฉุกเฉนิ และรา ยแรง

ดังนั้น เพ่ือปกปองระบบคอมพิวเตอรและโครงขายไอทีของโครงสรางสําคัญพ้ืนฐาน
ทางสารสนเทศ และระบบสารสนเทศ รวมท้ังบริการท่ีสําคัญของหนวยงานใหมีความมั่นคงปลอดภัยสามารถ
ใหบริการไดเปนปกติและหนวยงานสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอรไดอยางทันทวงที จึงกําหนด
แนวทาง คอื 1) กําหนดใหโ ครงสรางพ้นื ฐานสาํ คัญทางสารสนเทศมีมาตรฐานและมีแนวทางปฏิบัตใิ นการรักษา
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร รวมทั้งดูแลรักษาความม่ันคงปลอดภัยใหเครือขายเทคโนโลยีสารสนเทศ
และอินเทอรเน็ตมีความม่ันคงใชงานไดอยางตอเน่ือง 2) มีการเฝาระวังภัยคุกคามและมีแผนรับมือเพ่ือกูคืน
ระบบใหกลับมาทํางานไดตามปกติ 3) มีกําหนดมาตรการแผนบริหารความเส่ียงโดยผูตรวจสอบภายใน
4) การรวมมือและประสานงานกันกับภาคเอกชนแจงเตือนเม่ือมีภัยรายแรงท่ีทําใหการใหบริการท่ีสําคัญ
ไมสามารถทํางานได 5) มีการทดสอบและมีการเก็บสํารองขอมูลระบบสารสนเทศ เพ่ือปองกันแกไขปญหา
การถูกเจาะโจมตีระบบและสามารถฟน ตวั กลบั มาใชง านไดตามปกตไิ ดอยางรวดเร็ว
4.พระราชบัญญตั ิวา ดวยธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ.2544

พระราชบัญญัติวาดวยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส พ.ศ.2544 เปนกฎหมายกลางท่ีรองรับ
สถานะทางกฎหมายของขอมูลอิเล็กทรอนิกสใหมีผลผูกพันและใชบังคับไดตามกฎหมาย มีหลกั การ คือ การทํา
ใหธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกสมีผลทางกฎหมายเทียบเทาการใชกระดาษ โดยใชเทคโนโลยีเปนส่ือกลาง
ท่ีไมระบุเฉพาะเจาะจงเทคโนโลยใี ดเทคโนโลยีหนึ่ง และรองรับพัฒนาการของเทคโนโลยีท่ีจะเกิดข้ึนในอนาคต
โดยในพระราชบญั ญตั ฉิ บบั นี้ มสี าระสาํ คญั ของการดาํ เนินงาน ดงั นี้ (ราชกจิ จานเุ บกษา, 2544. น.27-35)

มาตรา 4
“ธุรกรรม” หมายความวา การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกบั กจิ กรรมในทางแพง และพาณิชย หรือใน
การดําเนินงานของรฐั ตามที่กําหนดในหมวด 4
“อิเลก็ ทรอนิกส” หมายความวา การประยกุ ตใชว ิธกี ารทางอิเล็กตรอน ไฟฟา คลืน่ แมเ หลก็
ไฟฟา หรือวิธอี ่นื ใดในลกั ษณะคลา ยกัน และใหห มายความรวมถงึ การประยุกตใชว ิธีการทางแสง วิธีการทาง
แมเหล็ก หรืออุปกรณท่ีเกย่ี วของกับการประยกุ ตใ ชว ธิ ีตาง ๆ เชนวา นั้น
“ธุรกรรมทางอิเลก็ ทรอนิกส” หมายความวา ธรุ กรรมท่ีกระทาํ ขึน้ โดยใชว ิธีการอิเลก็ ทรอนกิ ส
ท้งั หมดหรือแตบ างสว น
“ขอ ความ” หมายความวา เร่ืองราว หรอื ขอเท็จจรงิ ไมว า จะปรากฏในรปู แบบของตัวอักษร
ตัวเลข เสียง ภาพ หรอื รปู แบบอื่นใดทีส่ ื่อความหมายไดโดยสภาพของสิง่ นนั้ เองหรือโดยผา นวิธกี ารใด ๆ

25

“ขอ มลู อิเลก็ ทรอนิกส” หมายความวา ขอ ความที่ไดสราง สง รบั เก็บรกั ษา หรือประมวลผล
ดว ยวิธีการทางอิเลก็ ทรอนิกส เชน วธิ ีการแลกเปล่ียนขอ มลู ทางอิเล็กทรอนิกส จดหมายอิเล็กทรอนิกส โทรเลข
โทรพมิ พ หรือโทรสาร

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส” หมายความวา อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณอ่ืนใด
ที่สรางขึ้นใหอยูในรูปแบบอิเล็กทรอนิกสซ่ึงนํามาใชประกอบกับขอมูลอิเล็กทรอนิกสเพ่ือแสดงความสัมพันธ
ระหวางบุคคลกับขอมูลอิเล็กทรอนิกส โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือระบุตัวบุคคลผูเปนเจาของลายมือชื่อ
อิเล็กทรอนิกสที่เกี่ยวของกับขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้น และเพ่ือแสดงวาบุคคลดังกลาวยอมรับขอความในขอมูล
อเิ ล็กทรอนกิ สน้นั

“ระบบขอมลู ” หมายความวา กระบวนการประมวลผลดวยเครอื่ งมอื อเิ ล็กทรอนิกสสําหรับ
สรา ง สง รบั เกบ็ รักษา หรือประมวลผลขอ มูลอเิ ลก็ ทรอนกิ ส

“การแลกเปล่ียนขอ มูลทางอเิ ลก็ ทรอนิกส” หมายความวา การสงหรอื รับขอความดว ยวิธกี าร
ทางอเิ ล็กทรอนิกสร ะหวา งเครอื่ งคอมพวิ เตอรโดยใชมาตรฐานท่ีกําหนดไวล วงหนา

“ผสู งขอ มูล” หมายความวา บุคคลซึง่ เปน ผสู งหรอื สรางขอ มลู อิเล็กทรอนกิ สกอนจะมีการเก็บ
รักษาขอมูลเพ่ือสงไปตามวิธีการท่ีผูนั้นกําหนด โดยบุคคลน้ันอาจจะสงหรือสรางขอมูลอิเล็กทรอนิกสดวย
ตนเอง หรือมีการสงหรือสรางขอมูลอิเล็กทรอนิกสในนามหรือแทนบุคคลน้ันก็ได ท้ังนี้ ไมรวมถึงบุคคลที่เปน
สื่อกลางสาํ หรับขอ มลู อเิ ล็กทรอนิกสน ั้น

“ผูรับขอมูล” หมายความวา บุคคลซ่ึงผูสงขอมูลประสงคจะสงขอมูลอิเล็กทรอนิกสให
และไดร ับขอมลู อิเลก็ ทรอนิกสน้นั ทง้ั น้ี ไมร วมถงึ บุคคลทเ่ี ปน ส่อื กลางสาํ หรบั ขอมูลอเิ ล็กทรอนิกสนนั้

“บคุ คลท่เี ปนสอ่ื กลาง” หมายความวา บุคคลซึ่งกระทาํ การในนามผอู ่ืนในการสง รบั หรือเก็บ
รกั ษาขอ มูลอิเล็กทรอนกิ สอนั ใดอันหนง่ึ โดยเฉพาะ รวมถึงใหบริการอ่ืนทเ่ี กี่ยวกับขอมลู อเิ ล็กทรอนิกสน นั้

“ใบรับรอง” หมายความวา ขอ มลู อิเล็กทรอนกิ สห รอื การบันทกึ อนื่ ใด ซ่งึ ยืนยนั ความเชือ่ มโยง
ระหวา งเจา ของลายมอื ชือ่ กับขอมูลสาํ หรบั ใชส รางลายมือช่ืออเิ ลก็ ทรอนิกส

“เจาของลายมือช่ือ” หมายความวา ผูซึ่งถือขอมูลสําหรับใชสรางลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส
และสรา งลายมอื ช่อื อิเลก็ ทรอนกิ สน ั้นในนามตนเองหรือแทนบคุ คลอนื่

“คูกรณีที่เกี่ยวของ” หมายความวา ผูซึ่งอาจกระทําการใดๆ โดยขึ้นอยูกับใบรับรองหรือ
ลายมือชอื่ อิเล็กทรอนกิ ส

“หนวยงานของรัฐ” หมายความวา กระทรวง ทบวง กรม สวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่น
และมีฐานะเปนกรม ราชการสวนภูมิภาค ราชการสวนทองถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ต้ังข้ึนโดยพระราชบัญญัติหรือ
พระราชกฤษฎีกา และใหหมายความรวมถึงนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคล ซ่ึงมีอํานาจหนาท่ีดําเนินงาน
ของรัฐไมว าในการใดๆ

26

มาตรา 7 หามมิใหปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใชทางกฎหมายของขอความใด
เพยี งเพราะเหตุที่ขอความนน้ั อยูใ นรปู ของขอมลู อเิ ล็กทรอนิกส

มาตรา 8 ภายใตบังคับบทบัญญัติแหงมาตรา 9 ในกรณีท่ีกฎหมายกําหนดใหการใดตองทํา
เปนหนังสือ มหี ลักฐานเปนหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถา ไดม ีการจัดทําขอความขึ้นเปนขอมูลอเิ ล็กทรอนิกส
ที่สามารถเขาถึงและนํากลับมาใชไดโดยความหมายไมเปลี่ยนแปลง ใหถือวาขอความนั้นไดทําเปนหนังสือ
มีหลกั ฐานเปน หนงั สอื หรือมีเอกสารมาแสดงแลว

มาตรา 9 ในกรณีทบี่ คุ คลพึงลงลายมอื ชอื่ ในหนังสือ ใหถือวา ขอมูลอิเลก็ ทรอนกิ สน ้นั
มีการลงลายมือชอ่ื แลว ถา

(1) ใชว ธิ ีการทีส่ ามารถระบตุ วั เจาของลายมือชื่อ และสามารถแสดงไดวาเจา ของลายมือช่อื
รับรองขอความในขอมลู อิเล็กทรอนิกสนน้ั วาเปนของตน และ

(2) วิธีการดงั กลาวเปน วิธกี ารท่เี ช่อื ถือไดโ ดยเหมาะสมกับวัตถุประสงคของการสรา งหรือสง
ขอ มูลอเิ ลก็ ทรอนิกส โดยคาํ นึงถงึ พฤตกิ ารณแ วดลอมหรอื ขอตกลงของคกู รณี

มาตรา 10 ในกรณีที่กฎหมายกําหนดใหนําเสนอหรือเก็บรักษาขอความใดในสภาพที่เปนมา
แตเดิมอยางเอกสารตนฉบับ ถาไดนําเสนอหรือเก็บรักษาในรูปขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามหลักเกณฑดังตอไปน้ี
ใหถ อื วาไดม ีการนาํ เสนอหรือเก็บรกั ษาเปนเอกสารตนฉบบั ตามกฎหมายแลว

(1) ขอมลู อิเล็กทรอนิกสไดใ ชวธิ ีการที่เชื่อถือไดในการรักษาความถกู ตอ งของขอความตง้ั แต
การสรา งขอความเสรจ็ สมบูรณ และ

(2) สามารถแสดงขอความนัน้ ในภายหลังได
ความถูกตองของขอความตาม (1) ใหพิจารณาถึงความครบถวนและไมมีการเปลี่ยนแปลงใด
ของขอความ เวนแตการรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ท่ีอาจจะเกิดข้ึนไดตามปกติ
ในการตดิ ตอ ส่อื สาร การเก็บรกั ษา หรือการแสดงขอ ความซึ่งไมม ีผลตอ ความถูกตองของขอความน้ัน
มาตรา 21 ในกรณีปรากฏในการตอบแจงการรับขอมูลอิเล็กทรอนิกสนั้นเองวาขอมูล
อิเลก็ ทรอนกิ สท ีผ่ รู ับขอ มลู ไดร บั เปนไปตามขอกําหนดทางเทคนคิ ท่ผี สู งขอมูลและผูรบั ขอมลู ไดต กลงหรือระบุไว
ในมาตรฐานซึ่งใชบังคับอยู ใหสันนิษฐานวาขอมูลอิเล็กทรอนิกสท ี่สงไปนั้นไดเปนไปตามขอกําหนดทางเทคนิค
ทงั้ หมดแลว
มาตรา 25 ธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนกิ สใดท่ไี ดกระทําตามวิธีการแบบปลอดภยั ทกี่ าํ หนดใน
พระราชกฤษฎกี า ใหส ันนิษฐานวา เปน วธิ กี ารท่เี ช่ือถือได
มาตรา 26 ลายมือชือ่ อเิ ล็กทรอนิกสท ่มี ลี ักษณะดังตอไปนีใ้ หถือวา เปนลายมือชอื่
อเิ ลก็ ทรอนิกสท ี่เช่ือถือได
(1) ขอมูลสําหรับใชสรางลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกสน้ันไดเช่ือมโยงไปยังเจาของลายมือช่ือ
โดยไมเ ช่ือมโยงไปยังบคุ คลอน่ื ภายใตสภาพท่นี าํ มาใช
(2) ในขณะสรางลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกสน้ัน ขอมูลสําหรับใชสรางลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส
อยูภายใตก ารควบคมุ ของเจา ของลายมือชือ่ โดยไมมีการควบคมุ ของบุคคลอนื่

27

(3) การเปล่ียนแปลงใด ๆ ที่เกิดแกลายมือช่ืออิเล็กทรอนิกส นับแตเวลาท่ีไดสรางขึ้นสามารถ
จะตรวจพบได และ

(4) ในกรณีท่ีกฎหมายกาํ หนดใหก ารลงลายมือชอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกสเปน ไปเพอื่ รับรองความ
ครบถวนและไมม ีการเปลี่ยนแปลงของขอความ การเปลยี่ นแปลงใดแกขอความนน้ั สามารถตรวจพบไดนบั แต
เวลาทลี่ งลายมือช่ืออเิ ล็กทรอนิกส

บทบัญญัตใิ นวรรคหนึง่ ไมเปนการจาํ กดั วาไมมวี ธิ กี ารอน่ื ใดท่ีแสดงไดวาเปนลายมือช่ือ
อิเลก็ ทรอนกิ สท เี่ ช่ือถือได หรือการแสดงพยานหลักฐานใดเกี่ยวกบั ความไมน าเชื่อถือของลายมือชอื่
อเิ ล็กทรอนิกส

มาตรา 28 ในกรณีท่ีการใหบรกิ ารออกใบรับรองเพ่ือสนบั สนุนลายมือชอ่ื อิเล็กทรอนิกสใหมี
ผลทางกฎหมายเสมือนหน่ึงลงลายมอื ชอื่ ผใู หบ ริการออกใบรับรองตองดําเนนิ การ ดังตอไปนี้

(1) ปฏิบัตติ ามแนวนโยบายและแนวปฏิบตั ิท่ีตนไดแสดงไว
(2) ใชความระมดั ระวังตามสมควรใหแ นใ จในความถูกตอ งและความสมบูรณข องการแสดง
สาระสาํ คัญท้ังหมดทีต่ นไดกระทาํ เก่ยี วกับใบรบั รองนน้ั ตลอดอายุใบรบั รอง หรือตามท่ีมกี ารกาํ หนดใน
ใบรับรอง
(3) จดั ใหม ีวธิ ีการในการเขา ถึงโดยสมควร ใหค ูก รณีทีเ่ กี่ยวขอ งสามารถตรวจสอบขอเท็จจรงิ
ในการแสดงสาระสาํ คัญทั้งหมดจากใบรับรองได ในเรื่องดังตอไปนี้
(ก) การระบผุ ูใหบริการออกใบรบั รอง
(ข) เจา ของลายมือชื่อซ่ึงระบุในใบรบั รองไดค วบคุมขอมลู สาํ หรับใชส รางลายมือชือ่
อเิ ลก็ ทรอนิกสในขณะมีการออกใบรับรอง
(ค) ขอมูลสําหรับใชสรา งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกสม ผี ลใชไ ดในขณะหรอื กอ นท่มี กี ารออก
ใบรบั รอง
(4) จดั ใหม ีวิธกี ารเขา ถึงโดยสมควร ใหค ูกรณีท่ีเกีย่ วของสามารถตรวจสอบกรณดี งั ตอไปนี้
จากใบรบั รองหรอื จากวิธอี น่ื
(ก) วธิ กี ารท่ีใชในการระบตุ ัวเจา ของลายมอื ชือ่
(ข) ขอจํากัดเกยี่ วกับวตั ถุประสงคและคุณคา ที่มีการนําขอมูลสาํ หรบั ใชส รา งลายมอื ชื่อ
อเิ ล็กทรอนิกสหรือใบรบั รอง
(ค) ขอมลู สําหรบั ใชสรา งลายมอื ชือ่ อิเลก็ ทรอนิกสมีผลสมบูรณใ ชไ ดแ ละไมส ูญหาย ถกู ทาํ ลาย
ถกู แกไข ถกู เปดเผยโดยมิชอบ หรือถกู ลวงรูโ ดยไมส อดคลองกบั วัตถปุ ระสงค
(ง) ขอจํากดั เกย่ี วกบั ขอบเขตความรับผดิ ท่ีผใู หบ ริการออกใบรบั รองไดร ะบุไว
(จ) การมีวิธีการใหเ จาของลายมือช่ือสงคาํ บอกกลาวเมื่อมเี หตุตามมาตรา ๒๗ (๒)
(ฉ) การมบี รกิ ารเกย่ี วกบั การเพิกถอนใบรบั รองที่ทันการ
(5) ในกรณีทีม่ ีบริการตาม (4) (จ) บริการน้นั ตอ งมวี ิธีการที่ใหเจา ของลายมอื ชือ่ สามารถแจง
ไดตามหลกั เกณฑที่กาํ หนดตามมาตรา 27 (2) และในกรณีท่มี บี ริการตาม (4) (ฉ) บริการนน้ั ตอ งสามารถเพิก
ถอนใบรบั รองไดทันการ

28

(6) ใชระบบ วิธกี าร และบคุ ลาการท่ีเช่ือถือไดใ นการใหบริการ
และเพ่ิมเติมแกไ ขในพระราชบัญญัตวิ าดว ยธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส (ฉบบั ท่ี 4) พ.ศ.2562
โดยมีสาระสําคญั ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2562, น.204)
มาตรา 3 ใหเ พมิ่ บทนิยามคําวา “การพิสูจนแ ละยนื ยนั ตวั ตน” และคําวา “ระบบการพิสูจน
และยืนยนั ตวั ตนทางดิจิทัล” ระหวางบทนยิ ามคําวา “ระบบขอ มูล” และคําวา “ระบบแลกเปล่ยี นขอมลู ทาง
อิเลก็ ทรอนิกสอัตโนมตั ”ิ นมาตรา 4 แหงพระราชบญั ญตั ิวา ดวยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนกิ ส พ.ศ.2544 ซ่งึ แกไ ข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตวิ า ดว ยธุรกรรมทางอเิ ล็กทรอนิกส (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ.2562
““การพิสูจนแ ละยนื ยนั ตัวตน” หมายความวา กระบวนการพิสูจนและยืนยันความถกู ตอง
ของตวั บุคคล
“ระบบการพสิ ูจนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” หมายความวา เครอื ขา ยทางอิเล็กทรอนิกสท่ี
เชอ่ื มโยงขอ มลู ระหวางบุคคลใดๆ หรอื หนวยงานของรฐั เพ่ือประโยชนในการพสิ ูจนแ ละยืนยันตัวตนและการทาํ
ธุรกรรมอืน่ ๆ ท่ีเกีย่ วเนอื่ งกบั การพสิ ูจนแ ละยืนยันตวั ตน”
มาตรา 34/3 การพสิ จู นและยืนยนั ตวั ตนของบุคคลอาจกระทาํ ผา นระบบการพสิ ูจนแ ละ
ยืนยนั ตัวตนทางดจิ ิทลั ได
ขอกําหนดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เปนแนวทางใหหนวยงานท่ีดําเนินกิจกรรมตางๆ
ผานระบบอิเล็กทรอนิกสจําเปนตองศึกษา เพื่อกํากับและควบคุมใหการดําเนินธุรกรรมเปนไปอยางถูกตอง
มีความนาเชื่อถือและปลอดภัย โดยเฉพาะอยางยิ่งนําไปใชในการใชงานระบบสารสนเทศ ระบบเปดเผยขอมูล
ภาครัฐ ระบบงานสารบรรณและการลงนามอิเล็กทรอนิกส ซ่ึงตองมีการวางระบบการพิสูจนตัวตนและการลง
ลายมอื ชือ่ อยา งถกู ตอ ง

5.แผนพัฒนารัฐบาลดจิ ทิ ัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย เปนแผนท่ีจัดทําข้ึนเพ่ือรองรับการดําเนินงาน

ป รั บ เ ป ลี่ ย น ก ร ะ บ ว น ก า ร ใ ห บ ริ ก า ร แ ล ะ ก า ร ทํ า ง า น ข อ ง ภ า ค รั ฐ ใ ห ส อ ด ค ล อ ง กั บ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ช า ติ
โดยมีวัตถุประสงคใชเปนกรอบแนวทางใหหนวยงานภาครัฐจัดทําแผนการดําเนินงานท่ีสอดคลองกับ
พระราชบัญญัตกิ ารบรหิ ารงานและการใหบรกิ ารภาครัฐผานระบบดิจทิ ัล พ.ศ.2562 และดําเนนิ การปรับเปลี่ยน
สูการเปนองคกรดิจิทัลอยางเต็มรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค ดังน้ี (รางแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565 ฉบับนําเสนอตอ คณะรฐั มนตร,ี 2564, น.11)

1.เพื่อบรู ณาการการดาํ เนนิ งานรว มกันระหวางภาครฐั ภาคเอกชน และประชาชน
2.เพ่อื ใหมกี รอบการขบั เคล่ือนกิจกรรม โครงการที่ชดั เจน มุงสูจ ดุ หมายเดยี วกัน
3.เพ่ือกาํ หนดกรอบการขับเคล่อื นการบรู ณาการรัฐบาลดิจิทัลทส่ี าํ คัญ สําหรับกาํ หนดประเด็น

แผนบูรณาการประจําปงบประมาณ
4.เพื่อกาํ หนดหนวยงานหลกั และหนวยงานรองในการขับเคล่อื นประเด็นที่เก่ียวของ
พรอมกรอบงบประมาณในการดําเนนิ งาน

29

5.เพ่ือเปนกรอบแนวทางใหหนว ยงานภาครฐั จัดทาํ แผนการดาํ เนินงานทส่ี อดคลองกบั
พระราชบัญญัติการบรหิ ารงานและการใหบ ริการภาครัฐผานระบบดจิ ิทัล พ.ศ. 2562
วสิ ัยทศั นของแผนพัฒนารฐั บาลดจิ ิทลั ของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565
“ รัฐบาลดิจทิ ัล เปด เผย เชื่อมโยง และรว มกันสรางบริการที่มีคณุ คาใหประชาชน”
แผนพัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ัลของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565 มีกรอบโครงสรางระบบนิเวศการพฒั นา
รัฐบาลดจิ ทิ ัลของประเทศไทย โดยมอี งคประกอบทเี่ ช่ือมโยงกนั 7 องคป ระกอบ คือ (รางแผนพฒั นารัฐบาล
ดจิ ทิ ลั ของประเทศไทย พ.ศ.2563-2565 ฉบบั นาํ เสนอตอคณะรัฐมนตร,ี 2564, น.45-49)
1.การพฒั นาท่ีเปน พน้ื ฐาน (Foundation)
เปนการพัฒนาพื้นฐานที่สนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ไดแก การพัฒนาทักษะดาน
ดิจิทัลสําหรับบุคลากรภาครับ การกําหนดแนวทางและปรับแกกฎระเบียบที่เกี่ยวของที่เอื้อตอการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัล การพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน (Infrastructure) เพ่ือใหหนวยงานภาครัฐมีเทคโนโลยีดิจิทัล
ที่จําเปนใชงานรวมกัน อาทิเชน ระบบคลาวดและศูนยขอมูลภาครัฐ การจัดทํามาตรฐานเพ่ือใหการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยมีมาตรฐานความปลอดภัย และสามารถเชื่อมโยง และบูรณาการขอมูล
และการใหบริการรวมกันได เชน กรอบธรรมาภิบาลขอมูลภาครัฐ (Data Governence) มาตรฐานขอมูลเปด
ภาครฐั (Open Data)
2. การพฒั นานวัตกรรมรฐั บาลดิจทิ ัล (Digital Government Innovation)
เปนการพฒั นาชองทางเพื่อสง เสริมใหภ าคเอกชน สถาบนั วจิ ยั นกั วจิ ัยจากหนวยงานตา งๆ เขามามสี วนรว ม
ในการพฒั นานวตั กรรมดิจทิ ลั เพอ่ื สนับสนนุ การพัฒนาบริการและการทํางานของหนวยงานภาครัฐ
3.การพฒั นาแพลตฟอรม ดิจทิ ัล ((Digital Platform)
เปนการพัฒนาแพลตฟอรมกลางสําหรับสนับสนุนการทํางานของหนวยงานภาครัฐ
เพ่ือสนับสนุนการทํางานของภาครัฐ การแลกเปล่ียนขอมูลระหวางหนวยงานภาครัฐและการใหบริการภาครัฐ
แบบเบ็ดเสร็จ โดยมรี ายละเอียด ดังน้ี
3.1 แพลตฟอรมกลางสนับสนุนการทํางานภาครัฐ (Back Office) เปนการพัฒนา
แพลตฟอรมสําหรับการทํางานและการบริหารงานภายในหนวยงานภาครัฐ รวมถึงแพลตฟอรมสําหรับ
การวางแผนงานและการกํากับการทํางานของหนวยงานภาครัฐ เชน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส
(e-saraban) ระบบการจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส (e-Procurement) หรือระบบการวางแผนทรัพยากรภาครัฐ
(ERP)ซงึ่ รบั ผิดชอบการพัฒนาโดยกระทรวงดิจิทลั เพ่ือเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สาํ นกั งานพฒั นารัฐบาลดิจิทัล
(สพร.) สาํ นกั งานคณะกรรมการดจิ ิทลั เพ่อื เศรษฐกจิ และสงั คมแหงชาติ (สดช.) และกรมบญั ชีกลาง
3.2 แพลตฟอรมกลางแลกเปล่ียนขอมลู ภาครัฐ (Exchange Platform)
เปนแพลตฟอรมสําหรับการแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางหนวยงานภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการ
ใหบริการ และการปฏิบัติงานของหนวยงานภาครัฐ เชน ศูนยแลกเปลี่ยนขอมูลภาครัฐ (Government Data
Exchange Center: GDX) ระบบสารสนเทศเช่ือมตอฐานขอมูลประชาชน (Linkage Center) เปนตน
โดยการพฒั นาแพลตฟอรมการแลกเปลีย่ นขอมลู ภาครัฐจะะชวยลดการเรยี กสําเนา

30

3.3 แพลตฟอรมกลางสนับสนุนบริการภาครัฐ (Common Platform) เปนการพัฒนา
ชองทางการรับบริการภาครัฐสําหรับประชาชนและภาคธุรกิจในรูปแบบของการใหบริการแบบเบ็ดเสร็จ
ในลักษณะของ End - to - End service process โดยมีการพัฒนาระบบการพิสูจนและยืนยันตัวตน (Digital
ID & Signature) ซึ่งรับผิดชอบโดยสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) สํานักงานพัฒนาธุรกรรม
อิเล็กทรอนิกส (สพธอ.) และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยและศูนยกลางขอมูลเปดภาครัฐ (Open
Data Platform) ท่ีรบั ผดิ ชอบโดยสํานักงานพัฒนารฐั บาลดจิ ิทัล (สพร.)

4. การใหบริการประชาชนผา นแพลตฟอรมกลาง บรกิ ารภาครฐั แบบเบด็ เสรจ็ (Customer
Experience via End - to - End Services)

เปน การพัฒนาแพลตฟอรมกลางสาํ หรับการใหบรกิ ารประชาชนภาคธรุ กิจและชาวตางชาติ
การใหบรกิ ารขอมูลเปด ภาครัฐเพอ่ื ใหป ระชาชนและภาคธุรกจิ เขา ถึงขอมลู ภาครฐั และสง เสรมิ การมีสวนรวม
ผานชองทางอิเลก็ ทรอนกิ ส โดยมรี ายละเอยี ด คือ

4.1 ชองทางการใหบริการประชาชน (Citizen Portal) เปนการใหบริการสําหรับประชาชน
แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะเปนการรวมบริการสําหรับประชาชนท่ีจําเปนมารวมไวท่ีแพลตฟอรมกลาง เพื่ออํานวย
ความสะดวก และลดขั้นตอนการเขารับบริการของประชาชน รวมไปถึงการลด หรือยกเลิกการเรียกเก็บสําเนา
เอกสารของประชาชนในการเขารับบริการของภาครัฐ ซ่ึงรับผิดชอบโดย สํานักงานคณะกรรมการพัฒนา
ระบบราชการ (ก.พ.ร.) สาํ นกั งานพฒั นารฐั บาลดิจิทลั (สพร.) และกระทรวงการคลัง

4.2 ชองทางการรับคําขออนุญาต เพ่ืออาํ นวยความสะดวกใหภ าคธรุ กจิ (Business Portal)
เปนการมุงเนนการใหบริการกับภาคธุรกิจ เพื่ออํานวยความสะดวกในการเขารับบริการ
ภาครัฐ โดยจะชว ยลดขัน้ ตอนการออกใบอนุญาตท่ีไมค วามซับซอ น และเกีย่ วขอ งกบั หลายหนวยงาน เพื่อทาํ ให
สามารถลดระยะเวลา และตนทุนในการดําเนินการของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม
ซึ่งรับผิดชอบโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.)
และหนวยบรกิ ารท่ีเกีย่ วของ
4.3 ชองทางการใหบริการชาวตางชาติ (Foreigner Portal) เปนการพัฒนาชองทาง
การใหบริการสําหรับชาวตางชาติ เพื่อเปนการอํานวยความสะดวกในการทองเที่ยวและการประกอบอาชีพ
ในประเทศไทย ซึง่ รบั ผิดชอบโดยสาํ นักงานพัฒนารฐั บาลดิจิทลั (สพร.) และสานักงานตรวจคนเขา เมือง
5.การปรบั กระบวนการใหบ ริการภาครัฐ (Core Service Processes)
เปนการดําเนินงานที่ครอบคลุมการพัฒนาแพลตฟอรมกลางและการใหบริการภาครัฐ
โดยการดําเนนิ การปรบั เปลี่ยนกระบวนการทํางานและการใหบริการภาครฐั จากการทํางานแบบแอนะล็อกหรือ
ก่ึงดิจิทัล ใหเปนการทํางานและการใหบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลอยางเต็มรูปแบบ ซ่ึงเปนบทบาทสําคัญ
ของสาํ นักงานพฒั นารฐั บาลดิจิทัล (สพร.) ในการขบั เคลอ่ื น
6. การวเิ คราะหขอมูล (Data Analytics)
เปนการสนับสนุนใหภาครัฐนําขอมูล ที่มีการรวบรวมจากการทํางานและการปฏิบัติงาน
ของหนวยงานมาวิเคราะหเพ่ือปรับปรุงบริการภาครัฐ และพัฒนานโยบายที่สอดคลองกับลักษณะ

31

ของความตองการของผูรับบริการ (Customer Centric) ท้ังประชาชนและภาคธุรกิจ โดยแบงออกเปน
2 ระบบ ประกอบดว ย

6.1 ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) เปนระบบสําหรับ
ติดตามการใชงบประมาณภาครฐั ความคืบหนา และผลการดําเนนิ งานตามที่ไดมีการกําหนดไวต ามแผนปฏิบัติ
การ รวมถึงนโยบายและแผนอื่นๆ ท่ีเก่ียวของ ซึ่งเปนความรับผิดชอบของสํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแหงชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสํานักงานคณะกรรมการ
พฒั นาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

6.2 การจัดทําและวิเคราะหขอมูลขนาดใหญ (Big Data and Analytics) เปนการนําเขา
ขอมูลจากการใหบริการประชาชน รวมทั้งขอมูลจากการทํางานของหนวยงานภาครัฐ ท่ีไดมีการรายงานผาน
ระบบ GFMIS มาจัดทําชดุ ขอมูลขนาดใหญและวิเคราะหข อมูลภาครฐั ผา นระบบการวิเคราะหข อ มูลขนาดใหญ
ซ่ึงจะชวยใหนําผลการวิเคราะหมาพัฒนาบริการสําหรับประชาชน และการพัฒนานโยบายภาครัฐที่มีความ
สอดคลองกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน ซ่ึงการพัฒนาระบบการวิเคราะหขอมูลภาครัฐ
รับผดิ ชอบโดยกระทรวงดิจทิ ลั เพอื่ เศรษฐกจิ และสงั คม และสํานักงานพัฒนารัฐบาลดจิ ทิ ลั (สพร.)

7. ภาครี วมดําเนนิ การ (Partners/Owners)
การดําเนินการพฒั นารัฐบาลดิจิทลั ตามสถาปต ยกรรมและระบบนเิ วศของการพัฒนารฐั บาล
ดจิ ิทลั นี้จะไมสามารถดําเนินการได หากขาดหนวยงานภาคี ไดแก กระทรวงดจิ ทิ ลั เพือ่ เศรษฐกจิ และสงั คม
กระทรวงการคลงั สํานักงานคณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ สาํ นักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน
สํานักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง ชาติ สํานกั งานคณะกรรมการดจิ ทิ ัลเพือ่ เศรษฐกจิ และสังคม
สํานักงานพฒั นาธรุ กรรมอิเล็กทรอนิกส และหนวยงานทเ่ี ก่ียวขอ งท้ังภาครฐั และเอกชน
ดงั นน้ั ในการวางแผนงานพัฒนาเทคโนโลยีดิจทิ ัลตอ จากน้ี จาํ เปน อยางย่งิ ทหี่ นว ยงานตองมี
แปลงขอ มลู ตา งๆ จากระบบแอนะล็อคเปน ระบบดจิ ิทัล ทงั้ รูปแบบการจดั เก็บขอ มลู การประมวลผล การ
วิเคราะหขอมูล กระบวนการทํางาน ตลอดจนการใหบริการ โดยอาศยั ความรวมมือจากหนวยงานทีเ่ กีย่ วของเขา
รว มในการจัดระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสม เพอื่ ใหเ กิดระสทิ ธิภาพในการปฏิบัตงิ านและเกดิ ประโยชน
สงู สดุ
6.มาตรฐานการรกั ษาความมั่นคงปลอดภยั ของการประชุมผา นส่อื อเิ ล็กทรอนิกส พ.ศ.2557
เร่ืองการรักษาความม่ันคงปลอดภัยของการประชุมผานสื่ออิเล็กทรอนิกส ไดมีหลักเกณฑ
และขอปฏิบัติที่ปรากฎในประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร พ.ศ. 2557
ซ่ึงสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไดมีหนังสือดวนที่สุด ท่ี นร 005/ว156 ลงวันที่ 8 เมษายน 2563
เรื่องการประชุมผานสื่ออิเล็กทรอนิกส โดยมีเน้ือหาสาระสําคัญใหหนวยงานมีการจัดประชุม
ผานส่ืออิเล็กทรอนิกส ตามมาตรฐานการรักษาความม่ันคงปลอดภัยของการประชุมผานส่ืออิเล็กทรอนิกส
พ.ศ.2557 ซึ่งในประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2557 มีสาระสําคัญ ดังน้ี
(ราชกจิ จานุเบกษา, 2557, น.12-13)

32

ขอ 3
“ความมั่นคงปลอดภัย” หมายความวา การธํารงไวซึ่งความลับ (confidentiality)
ความถูกตองครบถวน (integrity) และสภาพพรอมใชงาน (availability) ของระบบควบคุมการประชุม
รวมทงั้ คุณสมบตั ิอ่นื ไดแก ความถกู ตอ งแทจริง (authenticity) ความรับผิด (accountability) การหามปฏิเสธ
ความรับผิด (non-repudiation) และความนาเช่ือถือ (reliability) ของขอมูลอิเล็กทรอนิกสที่เก่ียวของหรือ
เกิดจากการประชุมผานส่อื อิเลก็ ทรอนิกส
“สื่ออิเล็กทรอนิกส” หมายความวา สือ่ บันทกึ ขอมลู หรือสารสนเทศใด ๆ ท่ีใชวธิ กี ารทาง
อิเล็กทรอนิกสโดยการประยุกตใชวิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟา คล่ืนแมเหล็กไฟฟา หรือวิธีอื่นใด ในลักษณะ
คลายกัน และใหหมายความรวมถึงการประยุกตใชวิธีการทางแสง วิธีการทางแมเหล็ก หรืออุปกรณท่ีเก่ียวของ
กบั การประยกุ ตใชว ธิ ตี าง ๆ เชน วา นั้น
“ระบบควบคุมการประชมุ ” หมายความวา ระบบเครือขายคอมพิวเตอร และ/หรอื อุปกรณ
สื่อสารอิเล็กทรอนิกสใด ๆ ทั้งฮารดแวรและซอฟตแวรที่เชื่อมโยงกันเปนเครือขาย และมีการสื่อสารขอมูล
กันโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือการโทรคมนาคม เพื่อใหผูรวมประชุมสามารถเขาถึง
และใชงานสาํ หรบั การประชุมผา นสอ่ื อิเลก็ ทรอนกิ สไดไมวาจะเปน การประชุมดว ยเสยี งหรอื ท้ังเสียงและภาพ
“การประชุมผานส่ืออิเล็กทรอนิกส” หมายความวา การประชุมที่กฎหมายบัญญัติใหตองมี
การประชุมท่ีกระทําผานสื่ออิเล็กทรอนิกสโดยผูรวมประชุมอยางนอยหนึ่งในสามขององคประชุม ตองอยูในที่
ประชุมแหงเดียวกัน และผูรวมประชุมท้ังหมดตองอยูในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม แมจะมิไดอยูใน
สถานท่เี ดยี วกันและสามารถประชุมปรกึ ษาหารือและแสดงความคิดเหน็ ระหวา งกนั ไดผา นสื่ออเิ ล็กทรอนิกส
ขอ 5 ระบบควบคมุ การประชมุ ตามขอ 4 อยางนอยจะตองมีองคป ระกอบพ้ืนฐานของ
การทาํ งาน ดังนี้
(1) ทําใหผูร วมประชุมสามารถสอื่ สารถึงกนั ไดดว ยเสียงหรือทงั้ เสยี งและภาพโดยผาเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือการโทรคมนาคม ท้ังประเภทท่ีใชสายและไรสาย เชน เครือขายโทรศัพท
เครือขายคอมพิวเตอรภายในองคกรหรือแลน (Local Area Network : LAN) เครือขายบริการส่ือสาร
รวมระบบดิจิทัลหรือไอเอสดีเอ็น (Integrated Services Digital Network : ISDN หรือเครือขายแบบ Wide
Area Network : WAN) เครือขายอินเทอรเน็ต เครือขายไมโครเวฟ เครือขายวิทยุโทรคมนาคมเครือขาย
การสอื่ สารโดยใชด าวเทียม เปนตน
(2) เช่อื มโยงสถานท่ปี ระชมุ ต้ังแตส องแหงขน้ึ ไปเขา ดว ยกนั
(3) ทําใหผูรว มประชมุ สามารถสอ่ื สารหรอื มีปฏิสมั พนั ธกันไดส องทาง
(4) มีอปุ กรณนาํ เขา ขอ มลู จากทีห่ น่ึงไปยังอีกทหี่ นึง่ โดยผานเทคโนโลยสี ารสนเทศและการ
สือ่ สารและ/หรอื การโทรคมนาคม เชน โทรศพั ท กลอ งโทรทัศน ไมโครโฟน เครื่องคอมพิวเตอร เครื่องโทรสาร
เคร่ืองกราดภาพ เปนตน
(5) มีอุปกรณเ พ่ือทําหนา ทเี่ ช่อื มโยงหรอื แปลงสัญญาณเสียงหรือทง้ั เสยี งและภาพทเ่ี หมาะสม
กับเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร และ/หรือการโทรคมนาคม ที่เอื้ออาํ นวยตอ การรับชมและรับฟงของ
ผรู วมประชมุ แลว แตก รณี

33

ขอ กําหนดแนบทา ยประกาศกระทรวงเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร
เรอื่ ง มาตรฐานการรกั ษาความมัน่ คงปลอดภัยของการประชุมผานส่ืออเิ ลก็ ทรอนิกส พ.ศ. ๒๕๕๗

ขอ 1 มาตรการรกั ษาความมั่นคงปลอดภยั ของการบันทึกเสียงหรือทง้ั เสยี งและภาพของผรู ว ม
ประชุมใหเ ปน ไปตามหลักเกณฑ ดงั ตอไปน้ี

(1) มเี ทคโนโลยหี รอื มาตรการปองกันมใิ หมีการเปลีย่ นแปลงหรอื แกไขเกิดขึ้นกบั ขอมลู น้ัน
เวน แตการรับรองหรือบันทึกเพ่มิ เตมิ หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ท่ีอาจจะเกิดข้นึ ไดต ามปกติในการตดิ ตอส่ือสาร
การเก็บรักษา หรือการแสดงซ่ึงไมมีผลตอความหมายของขอมูลนั้น เพื่อใหสามารถยืนยันไดวาไดใชวิธีการ
ที่เชื่อถือไดในการรักษาความถูกตองของขอมูลต้ังแตการสรางจนเสร็จสมบูรณและสามารถแสดงขอมูลนั้น
ในภายหลงั ได

(2) ในกรณที ี่มีการบนั ทึกเสียงหรือท้งั เสียงและภาพดว ยระบบควบคมุ การประชมุ ใหมวี ธิ ีการท่ี
เชอื่ ถือไดในการระบุตัวตนผทู ่ีเกย่ี วของกับระบบควบคุมการประชุม เพ่ือใหสามารถยืนยันไดว า ขอ มูลที่ไดบนั ทึก
ไวไ ดดาํ เนนิ การโดยผมู สี ิทธิในการเขา ถงึ เทานน้ั โดยอยางนอยตอ งครอบคลุมเร่ือง ดังตอไปน้ี

(1) การระบตุ วั ตน (Identification)
(2) การยืนยนั ตวั ตน (Authentication)
(3) การอนุญาตเฉพาะผูมสี ิทธิเขา ถึง (Authorization)
(4) ความรับผิดชอบตอ ผลของการกระทํา (Accountability)
ขอ 2 ในการบันทึกขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรที่เกิดจากระบบควบคุมการประชุม
ตองมกี ารกาํ หนดมาตรการรักษาความม่ันคงปลอดภยั ของการบันทึกขอมลู ดังกลา ว เพื่อใหสามารถทราบขอมูล
เกย่ี วกับการตดิ ตอส่ือสารของระบบคอมพวิ เตอรซ ึง่ แสดงถึงแหลงกําเนิด ตนทาง ปลายทาง เวลา วันที่ ปริมาณ
ระยะเวลา หรืออื่นๆ ท่ีเก่ียวของกับการติดตอสื่อสารของระบบคอมพิวเตอรน้ัน นอกจากนี้ ในการเก็บรักษา
ขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอรตอ งใชว ิธีการที่มีความมัน่ คงปลอดภยั ดว ยวธิ ีการทเ่ี ชอื่ ถือไดด ังตอไปนี้
(1) เกบ็ ในสือ่ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถวนถูกตองแทจ รงิ (Integrity) และระบตุ ัว
บคุ คล (Identification) ที่เขาถงึ สือ่ ดังกลา วได
(2) มีระบบการเก็บรักษาความลับของขอมูลที่จัดเก็บ และกําหนดช้ันความลับในการเขาถึง
ขอ มลู ดังกลาว เพ่อื รักษาความนา เช่ือถือของขอมูล และไมใหทั้งผูควบคุมระบบและผูดูแลระบบสามารถแกไข
ขอ มูลทเ่ี กบ็ รักษาไว เชน การเก็บไวใ น Centralized Log Server หรือการทาํ Data Archiving หรือทํา Data
Hashing เปนตน เวนแต ผูมีหนาท่ีเกี่ยวของหรือผูที่ไดรับอนุญาตใหสามารถเขาถึงขอมูลดังกลาวได เชน
ผตู รวจสอบระบบสารสนเทศขององคก ร (IT Auditor) หรอื บคุ คลทีไ่ ดรบั มอบหมาย เปนตน
(3) เพื่อใหขอ มูลจราจรทางคอมพวิ เตอรม ีความถูกตองและนํามาใชป ระโยชนไดจ ริง ตองตัง้
นาฬิกาของอปุ กรณบรกิ ารทุกชนดิ ใหตรงกบั เวลาอางอิงสากล
7.พระราชกาํ หนดวา ดวยการประชมุ ผานสื่ออิเล็กทรอนิกส พ.ศ.2563
จากมาตรการรักษาระยะหางทางสังคมเพื่อการควบคุมการแพรระบาดของโรครายแรง
ทําใหรูปแบบการทํางานมีการปรับเปล่ียน เทคโนโลยีถูกนํามาใชประโยชนเพื่อการอํานวยความสะดวกในการ

34

ปฏิบัติงาน ซึ่งไดมีพระราชกําหนดวาดวยการประชุมผานส่ืออิเล็กทรอนิกส พ.ศ.2563 ซ่ึงมีสาระสําคัญ ดังนี้
(ราชกจิ จานเุ บกษา, 2563, น.20-22)

มาตรา 4
“การประชมุ ผานส่อื อเิ ล็กทรอนิกส” หมายความวา การประชมุ ท่ีกฎหมายบัญญตั ใิ หต อ ง
มีการประชมุ ท่ีไดก ระทําผานส่อื อเิ ลก็ ทรอนิกส โดยผรู ว มประชุมมไิ ดอยูในสถานทีเ่ ดียวกนั และสามารถ
ประชมุ ปรึกษาหารือและแสดงความคดิ เหน็ ระหวางกันไดผ านสือ่ อเิ ลก็ ทรอนิกส
“ผรู วมประชุม” หมายความวา ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ
อนกุ รรมการ เลขานกุ าร และผูชว ยเลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนกุ รรมการ หรือคณะบคุ คลอนื่
ตามทีก่ ฎหมายกําหนด และใหหมายความรวมถงึ ผูซึ่งตอ งช้แี จงแสดงความคิดเหน็ ตอ คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรอื คณะบุคคลน้นั ดวย
มาตรา 7 การประชมุ ผานส่ืออเิ ล็กทรอนกิ สตองเปน ไปตามมาตรฐานการรกั ษาความมัน่ คง
ปลอดภัยของการประชุมผานสือ่ อิเล็กทรอนิกสท ีก่ ระทรวงดิจทิ ลั เพ่ือเศรษฐกจิ และสังคมกําหนดโดยประกาศใน
ราชกจิ จานเุ บกษา
มาตรา 8 การสงหนงั สือเชญิ ประชุมและเอกสารประกอบการประชุม จะสงโดยจดหมาย
อเิ ลก็ ทรอนิกสกไ็ ด ในการน้ี ผมู หี นาที่จัดการประชุมตองจัดเกบ็ สําเนาหนงั สอื เชิญประชุมและเอกสาร
ประกอบการประชมุ ไวเ ปน หลักฐาน โดยจะจัดเก็บในรูปขอ มูลอิเล็กทรอนกิ สกไ็ ด
มาตรา 9 ในการประชมุ ผา นส่ืออเิ ล็กทรอนิกส ผูมหี นา ทจี่ ดั การประชุมตอง
(1) จดั ใหผ รู วมประชุมแสดงตนเพอ่ื รวมประชุมผา นสื่ออิเล็กทรอนิกสกอ นรวมการประชุม
(2) จดั ใหผ ูร ว มประชมุ สามารถลงคะแนนได ท้ังการลงคะแนนโดยเปด เผยและการลงคะแนนลับ
(3) จดั ทาํ รายงานการประชุมเปน หนังสอื
(4) จดั ใหม ีการบนั ทึกเสยี งหรือทั้งเสียงและภาพ แลวแตกรณี ของผรู วมประชมุ ทุกคนตลอด
ระยะเวลาท่ีมีการประชมุ ในรูปขอ มลู อเิ ล็กทรอนิกส เวน แตเปน การประชุมลบั
(5) จัดเก็บขอ มลู จราจรอเิ ล็กทรอนกิ สของผรู ว มประชมุ ทุกคนไวเปน หลกั ฐาน
ขอ มลู ตาม (4) และ (5) ใหถือเปนสว นหนึ่งของรายงานการประชุม
มาตรา 11 ใหถ อื วาการประชุมผานสื่ออิเลก็ ทรอนิกสตามพระราชกฎหนดน้ีเปน การประชุม
โดยชอบดวยกฎหมาย และหามมิใหปฏิเสธการรับฟงขอมูลอิเล็กทรอนิกสตามพระราชกฎหนดนี้ เปนพยาน
หลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายท้ังในคดีแพง คดีอาญา หรือคดีอ่ืนใดเพียงเพราะเหตุวาเปน
ขอ มลู อเิ ลก็ ทรอนิกส
ดังน้ัน ในการปฏิบัติงานตามวิถีใหม (New Normal) จึงมีความจําเปนที่หนวยงานตองปรับ
วิธีการทํางานใหสอดคลองกับสถานการณ และใหเกิดความคลองตัวในการปฏบิ ัติงาน ดังน้ัน การปรับปรุงหอง
ประชุมใหมีความทันสมัยรองรับการประชุมผานส่ืออิเล็กทรอนิกส และการจัดหาเคร่ืองมือ รวมท้ังซอฟทแวร
สําหรับการจัดประชุมออนไลนเปนแผนงานท่ีตองดําเนินการพัฒนาอยางตอเน่ือง นอกจากนี้ ในการจัดหา
ซอฟทแวรท่ีจะมาใชสนับสนุนการประชุมผานสื่ออิเล็กทรอนิกสตองมีมาตรฐานและมีความม่ันคงปลอดภัย
ดานสารสนเทศดวย

35

ผลการดำเนนิ งานตามแผนปฏิบัตกิ าร
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.2562-2564

บทท่ี 3
ผลการดําเนินงานตามแผนแมบ ทเทคโนโลยดี ิจิทลั ฉบบั ท่ี 4 (พ.ศ .2562 - 2564)

แผนแมบทเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ฉบบั ที่ 4 พ.ศ. 2562 – 2564 ไดก าํ หนดยทุ ธศาสตรการ
พฒั นาเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 ดา น เพอ่ื นําสรางศักยภาพในการปฏิบัติงาน ไดแก

ยทุ ธศาสตรที่ 1 – พฒั นาโครงสรางพืน้ ฐานเทคโนโลยีสารสนเทศอยางเหมาะสม และมี
ความม่นั คงปลอดภยั

ยทุ ธศาสตรท ี่ 2 – นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใชเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการ
ใหบ ริการ ตลอดจนการตดั สินใจของผบู รหิ าร และบริหารจัดการระบบสารสนเทศอยางมีธรรมาภบิ าล

ยทุ ธศาสตรท ี่ 3 - พฒั นาบุคลากรใหม คี วามรคู วามสามารถดานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
เพ่ิมศักยภาพในการทํางาน

ยุทธศาสตรท ี่ 4 – พฒั นาเพอื่ เปนศนู ยกลางขอมูลองคความรโู ครงการอนั เนอื่ งมาจาก
พระราชดาํ ริ แนวพระราชดาํ ริ และปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

ศูนยส ารสนเทศ ไดมกี ารดําเนินงานตามแผนยทุ ธศาสตรข องแผนแมบทเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล
ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562 – 2564 โดยมผี ลการดาํ เนนิ งาน ดงั น้ี

ผลการสํารวจความพรอมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหนวยงานภาครัฐ ประจําป
2563 จากการสํารวจของ สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องคการมหาชน) (สพร.) จํานวน 1,926
หนว ยงาน มีการตอบกลบั ทัง้ สิ้น 1,850 หนวยงาน คดิ เปน รอยละ 96.05 แบงเปน หนวยงานระดบั กรม 292
หนวยงาน คิดเปนรอยละ 92.70 โดยภาพรวมคะแนนระดับความพรอมรัฐบาลดิจิทัลของสํานักงาน กปร.
และคะแนนตามตัวชี้วัดเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของหนวยงานภายใตตนสังกัดและคะแนนเฉลี่ย
หนวยงานในระดับเดียวกันสํานกั งาน กปร. จัดลําดับโดยรวมอยูในกลุม High (กลุมหนวยงานท่ีมีความโดด
เดนดานระดับความพรอมดจิ ิทลั ปานกลางถึงสงู ) คะแนนโดยรวมรอยละ 71.47 (สูงกวาระดับคะแนนเฉล่ยี
หนวยงานระดบั กรม) ระดบั ความพรอ มการพฒั นาดา นดจิ ิทลั 3 Defined คะแนนเฉลยี่ หนว ยงานระดับกรม
ในกลมุ เดยี วกัน รอยละ 62.06 คะแนนเฉลยี่ หนวยงานระดบั กรมภายใตก ระทรวงตน สงั กดั รอยละ 63.55

36

ผลสํารวจคะแนนระดับความพรอมดิจิทัลรายตัวชี้วัด (6 Pilla) และตัวชี้วัดยอย
(Sub-Pilla) ตัวช้ีวัดท่ีโดดเดนที่สดุ คือ Pilla 3 : บริการภาครัฐ (Public Services) ลําดับถัดมา คือ Pilla 5
: โครงสรางพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) และ
ตัวช้ีวัดที่มีคะแนนตํ่าสุด คือ Pilla 6 : เทคโนโลยีดิจิทัลและการนําไปใช (Digital Technological
Practices)

นอกจากน้ี ขอเสนอแนะสําหรับดําเนินการระยะตอไป 1) ควรพัฒนา E_Dicision making
ใหประชาชนสามารถมสี ว นรว มในการลงมตทิ ่ีเกยี่ วของกับการพฒั นาบริการของหนว ยงาน หรือใหภาคเอกชน
ภาคประชาชนมีสวนรวมในการจัดทําบริการความรวมมือระหวางองคกร 2) ควรพัฒนาดาน
Communication ไดแก พัฒนาชองทางการสื่อสารที่เปนดิจิทัลท้ังภายในภายนอกองคกรใหมีมากกวา 1
ชองทาง พัฒนาดานการประชุมผานชองทางดิจิทัลมากกวา 1 ชองทาง พัฒนาแพลตฟอรมท่ีใชในการสื่อสาร
กับการทํางานใหเปนชนิดเดียวกัน ใหนํา Automation มาลดกระบวนการทํางานในดานจัดซื้อจัดจาง

37

ดา นความปลอดภัยและความมนั่ คง และดานประชาสัมพนั ธ 3) ยกระดบั หนวยงานดาน Data Management
ไดแก อัพเดทขอมูลใหเปนแบบ Realtime การเก็บขอมูลบน Data warehouse การวิเคราะหขอมูล
ในลักษณะ Prescriptive Analytic 4) ควรพัฒนาการเก็บขอมูลในรูปแบบเชิงโครงสรางขนาดใหญ
พัฒนาการวิเคราะหขอมูลผานการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร และพัฒนา Data Security Platform
เพือ่ ใชในการบริหารความปลอดภยั ของขอ มลู และความนา เช่ือถือในการทาํ งาน

ผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําป 2562-2564 สวนใหญสามารถ
ดําเนินงานไดตามแผน โดย

ในป 2562 มีการนําเสนอรางแผนแมบทเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562-2564
ใหคณะทํางานฯ พิจารณาเห็นชอบและเสนอให เลขาธิการ กปร.ในฐานะผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดบั สงู ภาครฐั ระดับกระทรวง (Ministry Chief Information Officer : MCIO) เห็นชอบและนําไปใชเปน
แนวปฏิบัติ ทั้งน้ี ศูนยสารสนเทศไดนําแผนแมบทเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับท่ี 4 พ.ศ.2562-2564 มาใชเปน
กรอบในการดําเนินงาน โดยมีการดําเนินงานตามนโยบายของผูบริหาร ไดแก งานพัฒนาระบบบริหาร
จัดการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและระบบติดตามประเมินผลโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ (ระบบฐานขอมูลกลาง) งานพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการ งานวิจัยของศูนยศึกษา
การพัฒนาอันเน่ืองมาจากพระราชดําริ การรวบรวมพระราชดําริ รูปภาพที่เก่ียวของกับโครงการ
อันเนือ่ งมาจากพระราชดําริและจัดเก็บขอมูลในระบบสารสนเทศ การรวบรวมและปรบั ปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับ
หลักการทรงงาน การประสานติดตามโครงการสนับสนุนการติดต้ังอินเตอรเน็ตไรสายในศูนยศึกษาการ
พัฒนาอันเน่ืองมาจากพระราชดําริภายใตการสนับสนุนของสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศนและกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ (กสทช.) มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลท่ีสําคัญ
ไดแก การทดสอบนําเขาระบบบริหารจัดการเมล็ดพันธุเพื่อพระราชทานและปจจัยการผลิตของศูนยศึกษา
การพัฒนาฯ การจัดทําแอนนิเมช่ันการตูนองคความรูตามแนวพระราชดําริ นอกจากนี้ มีการจัดโครงการ
อบรมหลกั สตู รคอมพิวเตอรส ําหรับเจาหนา ท่ี กปร.และศูนยศ กึ ษาฯ จํานวน 2 หลักสตู ร คือ (1) Advanced
Pivot Table and Pivot Chat with Ms Excel 2016 และ Ms Excel PowerBI Bussiness Intelligence
(2) Infotraphic with Powerpoint โครงการอบรมหลักสูตรการใชงานระบบขอมูลสารสนเทศของ
สาํ นกั งาน กปร. 2 หลักสตู ร คอื (1) การใชงานระบบภูมสิ ารสนเทศ (2) การใชง านระบบ eProject ในสวน
ของระบบซอฟแวร มีการปรับปรุงเว็บไซต การบํารุงรักษาระบบฐานขอมูลตางๆ จํานวน 7 ระบบ
มีการดําเนินงานไดตามแผนงาน ในสวนของฮารดแวรและเน็ตเวิรค มีการดูแลบํารุงรักษาครุภัณฑ
คอมพิวเตอร ระบบเครือขายและอุปกรณเครือขาย โครงการเชาสัญญาณอินเตอรเน็ตความเร็วสูง
การจัดซื้อ Antivirus การบํารุงรักษาหอง Server Room ซงึ่ มกี ารดาํ เนนิ งานตามแผนงาน

ในป 2563 สวนใหญมีการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการตอเนื่อง แตเนื่องจากเกิด
สถานการณวิกฤตของการแพรระบาดของเชื่อไวรัสโควดิ -19 ทําใหสวนราชการถูกเรียกคืนงบประมาณท่ียัง
ไมไดกอหนี้ผูกพนั และศูนยสารสนเทศถูกเรยี กคืนงบประมาณดา นการฝกอบรม เพอ่ื นาํ งบประมาณไปใชใน
การชว ยเหลือและเยยี วยาผูท่ีไดร ับผลกระทบจากการแพรร ะบาดของเช้ือไวรัสโควิด-19 จงึ สงผลกระทบตอ
แผนพัฒนาบุคลากร ทําใหไมสามารถจัดฝกอบรมดานเทคโนโลยีดิจิทัลใหแกเจาหนาท่ีตามแผนงานท่ี

38

กําหนดไวได นอกจากน้ี ในชวงการแพรระบาดของโรค ศูนยสารสนเทศไดจัดทําแผนแตรียมความพรอม
สําหรับการทํางานนอกสถานท่ี (Work from Home) ซึ่งไดมีการอนุมัติการใชแผนเม่ือวันที่ 24 มีนาคม
2563 ทําใหสํานักงาน กปร มีคูมือในการทํางานนอกสถานท่ีผานส่ืออิเล็กทรอนิกส และเจาหนาที่สามารถ
ศกึ ษาวิธกี ารและปฏบิ ัตงิ านไดอยางตอ เนื่อง

ในป 2564 มีการวางแผนดําเนินการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบสารสนเทศ
ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการใหบริการภาครัฐผานระบบดิจิทัล พ.ศ.2562 ท่ีสนับสนุน
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานและการใหบริการภาครัฐ (Digital Transformation) ใหสอดคลองกับ
บริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมท้ังแผนยุทธศาสตรชาติ แผนปฏิรูปประเทศ โดยมีการ
ปรับปรุงองคประกอบและเพิ่มเติมอํานาจหนาที่ในการจัดการธรรมาภิบาลขอมูลภาครัฐของคณะทํางาน
พัฒนาและสงเสริมการใชระบบสารสนเทศของสํานักงาน กปร. ใหม นอกจากนี้ มีจัดทําคําส่ังแตงต้ัง
ผูบริหารเทคโนโลยีระดับสูง และผูบริหารขอมูลระดับสูง ประจําสํานักงาน กปร. ตามประกาศ
คณะกรรมการพัฒนารฐั บาลดิจทิ ัลเรือ่ งธรรมาภิบาลขอมลู ภาครัฐอยางเปนทางการอีกดวย

นอกจากนี้ การเกิดสถานการณการแพรระบาดของเช้ือไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม
ที่มีความรุนแรง สงผลใหมีประกาศใหกรุงเทพมหานครเปนพื้นที่ควบคุมการแพรระบาดเขมงวดสูงสุด
และรัฐบาลมีมาตรการการกําหนดใหทุกสวนราชการทํางานนอกสถานที่ตั้งหรือ Work from Home
รอยละ 100 อยางเต็มที่ รวมท้ังกําหนดอนุญาตใหมีการรวมกลุมไดไมเกิน 5 คน จึงสงผลกระทบ
ตอแผนการพัฒนาบุคลากรดานเทคโนโลยี ทําใหไมสามารถจัดการฝกอบรมเจาหนาที่ได อยางไรก็ตาม
งบประมาณทีเ่ หลือจา ยจากการฝกอบรมไดน ําไปใชเ พ่ือการสนับสนนุ การปฏบิ ตั ิงานในรปู แบบปกติใหมหรือ
New Normal โดยการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกส เพ่ือสนับสนุนและอํานวยความสะดวก
ในการทํางานของผูบ ริหารและเจาหนา ทขี่ องสํานกั งาน กปร. ใหม เี พียงพอมากขนึ้ ไดแก การจดั หาโปรแกรม
ซอฟแวรสาํ หรับการประชุมผานสื่ออเิ ล็กทรอนิกส การจดั สรรอปุ กรณค อมพิวเตอรส ําหรบั การทํางานท่ีบาน
การปรับปรุงหองประชุมใหสามารถรองรับการประชุมออนไลนไดอยางมีประสิทธิภาพ สงผลใหผูบริหาร
และเจา หนา ที่สามารถทาํ งานและดําเนนิ งานโครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดําริอยางตอเน่ือง
(รายละเอียดตามตารางผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปงบประมาณ 2562-2564 ท่ีปรากฏ
ในภาคผนวก (3))

39

บทที่ 4
ทศิ ทางและการวเิ คราะหสถานการณ ดานการพฒั นาเทคโนโลยดี ิจิทัลของ สํานักงาน กปร.

ศูนยสารสนเทศ ไดนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชใหเกิดประโยชน เพื่อสนับสนุน
การดําเนนิ งานสนองพระราชดําริ และเปน เครื่องมือในการสง เสรมิ การขยายผลการพัฒนา พรอ มท้ังเปน
ชองทางในการเผยแพรผลการดําเนินงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริสูสาธารณะ ตลอดจน
ดําเนินการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลตามแนวทางและนโยบายที่สําคัญของรัฐบาล ซ่ึงปจจุบัน
ศูนยสารสนเทศและผูมีสวนไดสวนเสีย ไดดําเนินการวิเคราะหสถานการณ จุดแข็ง จุดออน โอกาส
และภาวะเสี่ยง ในดานการพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งสรุปเปนปจจัยท่ีมีอิทธิพล
ตอ การพัฒนาเทคโนโลยไี ด ดังน้ี

ทิศทางและการวเิ คราะหสถานการณ
ปจจุบันประชาชนหรือผูบริโภคมีพฤติกรรมในการใชสื่อที่ไมเหมือนเดิม ประชาชน
มกี ารติดตามขาวสาร สถานการณตา งๆ ผา นสื่อโทรทัศนและสอ่ื ดิจทิ ัลจาํ นวนเพมิ่ มากขึน้ อยา งมหาศาล
จากสถานการณการแพรระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ต้ังแตตนป 2563 จนถึงปจจุบัน
มีระยะเวลายาวนานพอสมควรและยังคงจะมีการปฏิบัติตามมาตรการปองกันการแพรระบาดของเช้ือ
โรคอยางตอเนื่อง ดวยการเวนระยะหางทางสังคม การกักตัวอยูบานและการทํางานนอกสถานท่ี
(Work From Home) ทําใหพฤติกรรมของผูบริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการสํารวจและพบวารอยละ
30 ของผูใชงาน Digital Service ในไทยนั้นเปนผูใชงานใหม (New User) และผูใชงานใหมท่ีเพิ่มข้ึนมา
น้ีเปนกลุม Non-Metro (ไมใชกลุมคนเมือง) ถึงรอยละ 57 (ดังแผนภาพที่ 1 แผนภาพที่ 2
จากแหลงขอ มลู https://www .nuttaputch.com/7-trends-digital-economy-thai-sea-google/)

แผนภาพท่ี 1

40

แผนภาพที่ 2
นอกจากนี้ผูชมยังมีความสนใจใน Social Media มากกวาสื่อหลัก (Main Steam)
เพราะสะดวกและสามารถเขาถึงผูคนจํานวนมากไดรวดเร็ว อีกทั้ง Application มีการเติบโตอยางมาก
เน่ืองจากการใชชีวิตอยูบานทําใหคนโหลดแอปใหมเปนจํานวนมาก โดยเฉพาะท่ีเก่ียวของกับสุขภาพ
บันเทิง ซึ่งในอนาคตพฤติกรรมนี้ยังคงดาํ เนินอยู
คาเฉล่ียการใชงานอินเทอรเน็ตของไทยกอนสถานการณการแพรระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 คือ 3.7 ช่ัวโมง กอนจะเพ่ิมเปน 4.6 ชั่วโมงในชวงสถานการณ และเหลือ 4.3 ช่ัวโมงหลัง
สถานการณ คนไทยใชเวลาออนไลน 3.7 ช่ัวโมง (ใชงานสวนตัว) ในชวงกอนโควิด และพุงข้ึนถึง 4.6
ชั่วโมงในชวงที่มีการล็อกดาวน และปจจุบันคงที่อยูที่ 4.3 ช่ัวโมงตอวัน (ดังแผนภาพท่ี 3 จาก
แหลงขอมูล https://www .nuttaputch.com/7-trends-digital-economy-thai-sea-google/)

แผนภาพที่ 3

41

สถานการณการแพรระบาดของเช้ือไวรัสโควิด-19 สงผลกระทบใหมีมาตรการ
การควบคุมพ้ืนที่การแพรระบาดของเช้ือโรคและมารตการการเวนระยะหางที่เขมขน โดยเฉพาะ
การกําหนดมาตรการการทํางานนอกสถานท่ีต้ัง (Work from Home) ดังนั้น ศูนยสารสนเทศ
จึงไดดําเนินการจัดชองทางการระดมความคิดเห็นการวิเคราะหสถานการณดานเทคโนโลยีดิจิทัล
ผานส่อื อิเล็กทรอนกิ ส ซึ่งมีผูเขา รว มแสดงความคดิ เหน็ จาํ นวน 109 คน โดยมีการระดมความคดิ เห็น
และวิเคราะหสถานการณ (SWOT Analysis) มีผลสรปุ ดงั น้ี

โอกาส : Opportunity
ผลจากการระดมความคดิ เห็นวิเคราะหส ถานการณโดยผา นระบบดิจทิ ัล สรปุ ไดวา
โอกาส มหี ลายปจจยั ที่มีสวนสนับสนุนใหเกิดการพฒั นาเทคโนโลยี ไดแก
- ประชาชนมกี ารใชงานดิจทิ ัลมวี ตั ถปุ ระสงคเ พ่ิมขึน้ ไมวาจะเปนการใชงาน

บรกิ ารทั่วไป การสง่ั ซ้ือสนิ คา การคนหาขอมลู ตางๆ และยังเพมิ่ บริการใหมๆ
อยา งเชน การศกึ ษาทางออนไลน เปนตน
- นโยบายภาครฐั ไดส นบั สนนุ การนาํ เทคโนโลยดี ิจทิ ลั มาใชใ นหนวยงานอยา ง
ตอ เนอื่ ง ดงั นั้นหนว ยงานท่ีตองการเขาถึงผบู รโิ ภคสามารถทาํ ไดอยางมี
ประสิทธิภาพ
- หนว ยงานตางๆ มีการสรางความรว มมือระหวา งองคกร เพอ่ื การแลกเปล่ียน
เชื่อมโยงขอมลู ระหวางหนว ยงาน
- มีการพฒั นานวตั กรรมและเทคโนโลยใี หมๆ อยเู สมอ เปน โอกาสที่จะไดนาํ
เทคโนโลยีท่ีทนั สมยั มาใชพัฒนาระบบคอมพิวเตอรภ ายในองคกร
- การเปลย่ี นแปลงเทคโนโลยีอยางรวดเร็วและมีผูใ หบ ริการหลากหลาย สงผลให
ราคา อุปกรณและเคร่ืองมือดานไอที มกี ารปรบั ราคาลดลง เอ้อื ตอการพฒั นา
เทคโนโลยี
ภาวะคุกคาม : Threat
ผลจากการระดมความคิดเหน็ วเิ คราะหสถานการณโ ดยผานระบบดิจทิ ลั สรุปไดว า
ภัยคุกคามท่ีมีผลกระทบตอการพัฒนาเทคโนโลยี ไดแ ก
- ปจจุบนั เทคโนโลยีคอมพิวเตอรถูกกาํ หนดเปน ยุทธศาสตรระดับชาติ ท่ีสงผลใหท ุก
ภาคสวนตองปรบั ตัว ท้ังระบบฮารด แวร (Hardware Security Threats)
ระบบซอฟตแวร (Software Security Threats) และระบบขอมูล
- สถานการณการแพรระบาดของเช้ือไวรสั โควิด-19 ทาํ ใหเ ทคโนโลยมี กี าร
ปรบั รปู แบบการทํางานเขาสูการเปน ดิจิทัลหรอื ออนไลนม ากข้นึ
- การทาํ งานในรปู แบบการใชเทคโนโลยีดิจิทลั ท่ีเพิม่ มากข้นึ สง ผลใหอุปกรณที่
สนบั สนนุ การใชง านมไี มเ พียงพอ

42

- การถูกบุกรุกระบบซอฟตแวร เชน แรนซัมแวร (Ransomware) มัลแวร
(Malware) สงผลตอความไมปกติทางโปรแกรม ทําใหเขาระบบขอมูลไมไดหรือ
เกิดการสูญเสียความลับทางขอมูล สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ
หรือไว รัส คอม พิว เ ตอ ร(Computer Virus) สงผ ล ใหระบบส ารส น เ ท ศ
และฐานขอ มูลไมป กติ

- การเปลยี่ นแปลงเทคโนโลยีทรี่ วดเร็ว สงผลใหตองปรับเปล่ยี นเครอื่ งมือและพฒั นา
ระบบอยูเ สมอ ซึง่ ตองมีการลงทนุ

- กฎหมายและระเบียบในการพฒั นาเทคโนโลยดี ิจทิ ลั ทาํ ใหเพ่ิมความซับซอนในการ
ปฏิบัตงิ าน และความยุงยากในการจัดสรรทรัพยากร

- ภัยคุกคามดา นทางกายภาพ เชน อัคคีภยั ปญหาวงจรไฟฟา ทําใหระบบทํางาน
ไมไ ด

- ขอ มลู สารสนเทศมปี ริมาณมาก ทําใหมีความยงุ ยากในการสืบคนและไมสามารถรู
ไดวาขอ มลู ใดถูกตอง

จุดแข็ง : Strenght
- เปนหนว ยงานขนาดเลก็ สายการบังคบั บัญชาสนั้ สามารถส่งั การไดรวดเรว็
- ผูบรหิ ารระดบั สูงใหค วามสําคัญดานการพัฒนาเทคโนโลยีใหทนั สมยั
- มีความยดึ หยนุ สามารถหาทางเลือกในการบริหารจัดการนําเทคโนโลยีมาใชไดทนั

ตอ สถานการณ
- บุคลากรไดร ับการพัฒนาทักษะดานเทคโนโลยีดิจทิ ลั อยางตอเน่อื ง
- บุคลากรมีจาํ นวนนอยสามารถปรับตัวงา ย
- มกี ารกําหนดแนวทางและวิธกี ารปฏบิ ัตใิ หเปนไปตามกฎหมาย ระเบยี บ นโยบาย

ดานเทคโนโลยดี ิจิทลั เพ่อื สนับสนนุ การปฏิบตั ิงานใหถ ูกตองและมีประสทิ ธภิ าพ
- มีอปุ กรณเทคโนโลยีดิจิทลั ทท่ี ันสมยั และเพยี งพอในการปฏบิ ตั ิงาน
- มงี บประมาณเพียงพอในการจดั หาระบบและอุปกรณด า นดจิ ิทลั
จดุ ออน : Weakness
ผลจากการระดมความคิดเห็นวเิ คราะหสถานการณโ ดยผา นระบบดิจิทลั สรปุ ไดวา
จุดออ นท่ีมผี ลกระทบตอการพัฒนาเทคโนโลยี ไดแก
- หนว ยงานขนาดเล็กมีงบประมาณจํากัด
- ยังไมม บี ุคลากรท่ีมีความเขา ใจในการออบแบบสถาปตยกรรมองคกรดจิ ทิ ลั อยาง

เพยี งพอ
- นักวชิ าการดา นไอทยี ังไมเพียงพอ
- เจา หนาท่ียงั ใชระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศไมเตม็ ตามศักยภาพ ทําใหขอ มลู ใน

ระบบไมเ ปน ปจจุบนั

43

- ขอ มูลในระบบบางสว นขาดการปรับปรงุ ใหท นั กบั การเปลี่ยนแปลง ขอ มลู ไมเ ปน
ปจ จุบัน ทําใหไ มตรงกับความตอ งการใชง าน

- เคร่อื งมอื และอุปกรณด านไอที มีไมเพยี งพอสําหรับใหบ ริการบุคลากรในการ
ทาํ งานนอกสถานที่

- วฒั นธรรมการทาํ งานในองคกรยงั ไมพรอม
- ยังไมม ีการใหบริการขอมลู แกประชาชน ตามหลกั ธรรมาภิบาลขอมลู ภาครฐั

จึงยังไมสามารถรบั มือกับการเปลีย่ นแปลงรปู แบบการทํางานแบบ
(Citizen Centric) ไดค รบวงจร
- การคดิ ถึงความคมุ คามาก ทาํ ใหพ ลาดการนําเทคโนโลยที นั สมยั มาใชไดทัน
สถานการณ
- เจา หนา ที่ขาดความรูเ กย่ี วกบั การใชเทคโนโลยี และโปรแกรมท่ีทนั สมยั
ทาํ ใหป ฏบิ ตั งิ านไดไ มเตม็ ประสทิ ธิภาพของเครอื่ งมือ/อปุ กรณ

การกาํ หนดวิสยั ทัศน

จากการระดมความคิดเห็นไดนาํ ไปสกู ารกาํ หนดวิสัยทศั นดานเทคโนโลยีดจิ ิทลั รวมกัน คือ
“ระบบสารสนเทศสนบั สนุนการปฏบิ ตั งิ านโครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดาํ รอิ ยา งมีประสทิ ธิภาพ”

ผลการสํารวจสถานะการใชง านระบบสารสนเทศของสาํ นกั งาน กปร.
ในภาวะสถานการณการแพรระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

ศูนยสารสนเทศไดจัดทําแบบประเมินผลการใชงานระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ป 2564
ผานระบบดิจิทัล โดยการสงแบบสํารวจดวยระบบออนไลน เพื่อประเมินผลการใชงานระบบสารสนเทศ
การใหบริการดานสารสนเทศและเทคโนโลยี รวมทั้งเปนการรับฟงความเห็นสะทอนกลับจากเจาหนาที่
ของสํานักงาน กปร. ซึ่งพบวาจาก เจาหนาที่ กปร. ที่เปนสมาชิกในระบบออนไลนจํานวน 199 คน
มีผูตอบแบบสอบถามการสํารวจสถานะการ ใชงานระบบสารสนเทศของสํานักงาน กปร.จํานวนทั้งสิ้น
108 คน คิดเปน รอ ยละ 54.27 ของเจา หนาท่ี กปร.ทเี่ ปน สมาชิกในระบบออนไลน และจากการตอบแบบ
สํารวจ สามารถสรุปสาระสาํ คญั ไดดังนี้

ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเปนขาราชการจํานวน 68 คน คิดเปนรอยละ 63 ผูตอบ
แบบสอบถามสวนใหญมีอายุงานต้ังแต 10 ปขึ้นไปจํานวน 57 คน คิดเปนรอยละ 52.8 และสวนใหญ
ดํารงตําแหนงในระดับชํานาญการจํานวน 29 คน ระดับปฏิบัติการ 28 คน และระดับลูกจาง 28 คน
คิดเปนรอยละ 26.9 , 26.0 และ 25.9 ตามลําดับ ท้ังนี้ ในปท่ีผานมาผูตอบแบบสอบถามไมไดรับการ
ฝกอบรมหลักสูตรเก่ียวกับการใชโปรแกรมคอมพิวเตอรหรือการใชงานระบบสารสนเทศจํานวน 80 คน
คิดเปนรอยละ 74.1 ซ่ึงมีสาเหตุมาจากในปงบประมาณ 2563 ประเทศไทยประสบปญหาการแพร
ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ซ่ึงสํานักงานงบประมาณมีความจําเปนตองจัดสรรเงินเพ่ือการ
เยียวยาผูที่ไดรับผลกระทบจากมาตราการควบคุมการแพรระบาดของเชื้อโรค จึงทําใหงบประมาณ

44


Click to View FlipBook Version