หน่วยที่ 8
วัฒนธรรมในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน
วัฒนธรรมในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน
ผลงานทัศนศิลป์ที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น ได้รับอิทธิพลและแรง
บันดาลใจมาจากปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ "วัฒนธรรม" ซึ่งมีผลทำให้
ลักษณะผลงานทัศนศิลป์แต่ละสังคมมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้วัฒนธรรม
หลักที่มีผลต่อการออกแบบงานทัศนศิลป์ไทยที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ วัฒนธรรมไทย
และวัฒนธรรมสากล ซึ่งมีผลทำให้งานทัศนศิลป์มีลักษณะและแนวคิดที่แตกต่าง
กัน การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในงานทัศนศิลป์ จะช่วยให้เราเกิดความ
เข้าใจในวัฒนธรรมต่างๆ ที่สะท้อนอยู่ในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน รวมทั้งสามารถ
เปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ได้
01 วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล
ในงานทัศนศิลป์
วัฒนธรรมในงาน 02 วัฒนธรรมที่สะท้อนในงานทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ปัจจุบัน ปัจจุบัน
03 แนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์
1. วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล
ในงานทัศนศิลป์
1.1 1.2
วัฒนธรรม วัฒนธรรม
ไทย สากล
1.1 วัฒนธรรมไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 ได้ให้ความหมาย
ของคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้ว่า หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญให้แก่หมู่คณะ เช่น
วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย วิธีชีวิตอขงหมมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมพื้น
บ้ย วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียนโกเศศ)
ปราชญ์ท่านหนึ่งของเมืองไทย กล่าวว่า "วัฒนธรรม" หมายถึง สิ่งที่มนุษย์
เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ผติ หรือสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต
ของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้และเอาอย่างกันได้ จนเป็นมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคม
ยอมรับและดูแลรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียน
รู้มาจากคนนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
วัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ จัดเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิถีการ
ดำเนินชีวิตกับการสร้างสรรค์ผลงานที่มองเห็นได้ ซึ่งการที่จะทำควาเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้
มากน้อยเพียงใดนั้น ผู้ชมจะต้องอ่านภาษาภาพให้ออกและแปลความหมายเรื่องราวที่
สะท้อนผ่านภาพในงานทัศนศิลป์ว่ามีรูปแบบใด เนื้อเรื่อง หรือรายละเอียดต่างๆ อย่างไรบ้าง
วัฒนธรรมไทยในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน มีความเกี่ยวพันในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน โดย
งานทัศนศิลป์จะช่วยส่งเสริมให้วัฒนธรรมยังคงดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้ ทำให้ผู้ชมเห็น
ความงามและเกิดความประทับใจ เช่น วัฒนธรรมในประเพณีทำบุญเนื่องในวันสำคัญทาง
พระพุทธศาสนา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง รวมทั้งประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น
ล้วนมีผลงานทางด้านทัศนศิลป์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน ศิลปินก็ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมไทยประเภทต่างๆ นำมาใช้
เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของตนออกมาให้สังคมได้รับรู้
พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิวัฒนา "ประเพณีผีตาโขน" ผลงานของวรนุช ตู้คำ
กรมหลวงนราธิวาสราชนคินทร์ เทคนิคสีน้ำมันที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจาก
ประเพณีไทย
1.2 วัฒนธรรมสากล
วัฒนธรรมสากลมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมตะวันตกของประเทศในแถบ
ยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งสะท้องเรื่องราวผ่านผลงานทัศนศิลป์ ดนตรี การ
แสดง ประเพณี ศาสนา และการดำเนินชีวิตในลักษณะต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมา
หลายยุคหลายสมัย เห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีตั้งแต่
ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน และแพร่หลายไปยังชาติต่างๆ ทั่วโลกอย่าง
กว้างขวาง
คำว่า "สากล" หมายถึง ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั่วไป และระหว่างประเทศ วัฒนธรรม
สากลจึงเป็นวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานแนวคิดตลอดจนรูปแบบต่างๆ ไว้อย่างกว้าง
มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระไม่่จำกัดขอบเขต
ตายตัว ผลงานที่สำเร็จออกมาไม่นับว่าเป็นรูปแบบของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะซึ่ง
ทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษาเมื่อเห็นแล้วสามารถเข้าใจผลงานนั้นๆโดยตรง เพราะมี
ความเป็นนานาชาติ ซึ่งผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นมาในสมัยหลังๆ ส่วนใหญ่จะใช้
แบบแผนตามอย่างวัฒนธรรมสากล
ประติมากรรมเทพีวีนัส (Venus) เทพแห่งความรัก ถูกแกะสลักด้วยหินอ่อน
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Louvre Museum) ประเทศฝรั่งเศษ
2. วัฒนธรรมที่สะท้อนใน
งานทัศนศิลป์ปัจจุบัน
2. วัฒนธรรมที่สะท้อนในงานทัศนศิลป์ปัจจุบัน
วัฒนธรรมต่างๆ ที่เรามองเห็นอยู่รอบตัว ถ้าจำแนกอย่างกว้างๆ จะแบ่งออก
เป็น 2 ลักษณะ คือ รูปทรงที่เป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เรียกว่า
"วัฒนธรรมทางวัตถุ" หรือ "วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม" (Material Culture) เช่น
สิ่งก่อสร้าง อาคาร ถ้วย ชาม รถยนตร์ เครื่องดนตรี ภาพวาด เป็นต้น และรูปทรง
ที่เป็นนามธรรมผ่านรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายต่างๆเรียกว่า "วัฒนธรรมทางจิตใจ"
หรือ"วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม" (Nonmaterial Culture) เช่น แบบอย่างของการ
ปฏิบัติ หรือความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ ค่านิยม ศีลธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ปรัชญา พิธีกรรม เป็นต้น ซึ่งการจะเข้าใจวัฒนธรรมในส่วนหลังได้อย่าง
เข้าใจลึกซึ้ง จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ลักษณะของวัฒนธรรมนั้นๆ ให้เข้าใจ
อย่างถ่องแท้เสียก่อน
ทั้งนี้ วัฒนธรรมในแต่ละอย่างจะสะท้อน หรือผสมผสานอยู่ในผลงาน
ทัศนศิลป์ด้วย โดยผลงานทัศนศิลป์ได้นำเอาวัฒนธรรมมาสอดแทรกและผสม
ผสานโดยใช้วิธีการ ดังนี้
2.1 2.2
ถ่ายทอดผ่าน ถ่ายทอดผ่าน
รูปแบบ เนื้อหา
(Form) (Content)
2.1 ถ่ายทอดผ่านรูปแบบ (Form)
เป็นการนำเสนอวัฒนธรรมผ่านทัศนธาตุ (Visual Element) ต่างๆ
ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี มี
ลักษณะที่เป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นรูปลักษณ์ ทรวดทรง ความอ่อน-
แก่ ลีลา และความหนัก-เบาคลองสีได้อย่างระจางชัด เช่น สีขาว สามารถสื่อได้
ถึงศาสนา สีเหลืองที่ปรากฏอยู่ใน บางสถานที่ สามารถสื่อความหมายถึง
วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาก็ได้เช่นกัน เป็นต้น
"หอคำหลวง" ตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรม โดยการออกแบบ
ได้รับแนวคิดมาจากศิลปะล้านนา
2.2 ถ่ายทอดผ่านเนื้อหา (Content)
เป็นการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ทางศาสนา ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ ซึ่ง
จะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับปรัชญา แนวคิด และสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่เบื้องหลัง ใน
ประเด็นนี้ การชมผลงานทัศนศิลป์แล้วไม่เข้าใจ ผู้ชมจึงควรทำความเข้าใจภูมิหลังความ
เป็นมาก่อนจึงจะสามารถตีความเข้าใจได้ถึงเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ได้
นับตั้งแต่สมัยโบราณ บรรดาศิลปินที่รู้จักนำเรื่องราวทางวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ
เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลงานทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นดินแดนสุวรรณภูมิ ภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ หรืออียิปต์ จีน อินเดียโบราณ ก็ล้วนแต่มีการนำเรื่องราววิถีชีวิตของ
ผู้คน สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะความเชื่อมาถ่ายทอดไว้ในผลงานทัศนศิลป์เป็นจำนวน
มาก ซึ่งอาจสื่อออกมาในรูปของศาสนสถาน รูปเคารพ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งที่ใช้
ประดับตกแต่งวิหาร ปราสาทราชวัง ฯลฯ
ในปัจจุบัน แม่ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมในผลงานทัศนศิลป์จะไม่ได้มีความ
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก แต่ก็มีการใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา
แทนที่เรื่องราว หรือเนื้อหาที่เคยสื่อถึงความเชื่อเรื่องศาสนาเป็นหลัก ก็เพิ่มเติมมา
เป็นการบอกเล่าถึงวิถีชีวิต การทำมาหากินของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ คตินิยม
ขนบธรรมเนียมประเพณี และอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ ผลงานทัศนศิลป์
ในสังคมไทย ซึ่งผู้ชมอาจมองเห็นรูปแบบทางทัศนศิลป์ในท่วงทำนองใหม่ที่สื่อให้เห็นถึง
วัฒนธรรมสมัยใหม่ได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ธนาคาร ศูนย์การค้า ศูนย์
ประชุม ฯลฯ
นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ภายใน หรือภายนอกอาคาร เราจะพบว่ามีการนำผล
งานทัศนศิลป์ที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเข้าไปใช้ในลักษณะที่มีความ
แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมไทย
การนำภาพจิตรกรรมไทย ภาพประติมากรรมไทยไฟประดับตกแต่งให้เกิดความ
สวยงาม ซึ่งผู้ชมสามารถรับรู้ได้ทันทีว่า ผลงานทัศนศิลป์นั้นสถานถึงวัฒนธรรมไทย
เช่น การประดับตกแต่งในพื้นที่บางส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์การประชุม
แห่งชาติสิริกิติ์ เป็นต้น ปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ปรากฏและ
แสดงออกมาในสังคม จะมีลักษณะของการนำเอาผลงานหลายๆ ด้าน มาประยุกต์
ผสมผสานกัน โดยมีคำเรียกศิลปะลักษณะร่วมนี้ว่า "สื่อผสม"
"ความเจริญเติบโตแห่งสังคมคุณธรรม" ผลงานของนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน
ทีสะท้อนแนวคิดผ่านทางประติมากรรมสมัยใหม่
3. แนวคิดในการออกแบบ
งานทัศนศิลป์
พระอุโบสถวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ศิลปะสมัยล้านนา การออกแบบมี
ความโดดเด่นมาก โดยทำเป็นแบบจตุรมุขอย่างสวยงาม
3. แนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์
การออกแบบงานทัศนศิลป์โดยทั่วๆ ไปจะมีการดำเนินการออกแบบงานไปตาม
ลำดับขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ การค้นคว้าหาข้อมูล
การสร้างแนวคิดในการออกแบบ และการออกแบบซึ่งแต่ละวัฒนธรรมอาจมีเทคนิค
และวิธีการในการออกแบบงานทัศนศิลป์ี่แตกต่างกัน ดังนี้
3.1 3.2 3.3
การออกแบบ การออกแบบ การเปรียบเทียบแนวคิดในการ
งานทัศนศิลป์ใน งานทัศนศิลป์ใน ออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจาก
วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมสากล วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรม
สากล
3.1การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย
งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย เมื่อพิจารณาจากหลักฐานในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะมีทั้ง
ผลงานประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และงานประณีตศิลป์ ทั้งในรูปแบบ
ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเนื้อเรื่องแม่เทคนิควิธีการต่างๆ อีกทั้งผลงานทัศนศิลป์เหล่านั้น ยัง
สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ และภูมิปัญญาไทยที่สอดแทรกอยู่กับ
วัฒนธรรมไทยได้อย่างกลมกลืนยิ่ง
อย่างไรก็ตาม การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย ก็มีได้มีความแตกต่างไป
จากงานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมอื่น กล่าวคือ เป็นงานทัศนศิลป์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อ
เนื่อง โดยมีการผสมผสานรูปแบบผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่กับงานทัศนศิลป์ที่มี
อยู่แต่เดิม และส่วนใหญ่มีลักษณะทางอุดมคติ โดยสามารถจำแนกงานทัศนศิลป์ใน
วัฒนธรรมไทยออกเป็นแต่ละยุคสมัย ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ก่อน
สุโขทัย สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์
พัฒนาการของงานทัศนศิลป์ในแต่ละยุคสมัยก็จะพัฒนาไปตามสภาพลักษณะ
แวดล้อมในขณะนั้น จนมีลักษณะเฉพาะของแต่ละยุคสมัย รวมทั้งมีการสืบสานส่งต่อจาก
รุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งผลงานทัศนศิลป์แต่ละด้าน แต่ละยุคสมัยก็จะมี
ลักษณะของรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิควิธีการที่แสดงออกผ่านพ้นงานอย่างหลากหลาย
ซึ่งการทำความเข้าใจในรายละเอียดของผลงานทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เวลามากในระดับชั้น
นี้จะขอกล่าวถึงภาพรวมการออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย ดังนี้
การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยได้จากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ไม่
ว่าจะเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และงานประณีตศิลป์ต่างๆ ที่หลงเหลือไว้ มีทั้งผลงานที่
อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มองเห็นความสวยงาม และความประณีตจากฝีมือการสร้างสรรค์ผล
งานของศิลปินในสมัยนั้น และผลงานที่มีสภาพชำรุด เหลือเพียงชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ ดัง
ซากโบราณสถานที่ปรากฏร่องรอยให้พอมองเห็นได้ เช่น แหล่งโบราณสถานภายในอุทยาน
ประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
ทั้งนี้ แนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย ส่วนมากจะพิจารณาถึงความ
เกี่ยวข้องกับปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะของศาสนาและความเชื่อ
ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ลักษณะวัสดุก่อสร้าง และประวัติความเป็นมาของผลงานนั้นๆ เช่น
การออกแบบพระอุโบสถ วิหาร จะต้องคำนึงถึงรูปแบบและรูปทรงที่มีความสอดคล้องกับคติความ
เชื่อ รวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เลิกการวางผังอาคารก็ต้องให้เหมาะกับลักษณะภูมิประเทศ เส้น
ทางโคจรขึ้น-ลงของพระอาทิตย์ (ทิศตะวันออก/ทิศตะวันตก) เป็นต้น หรือการออกแบบพระพุทธ
รูปก็จะต้องคำนึงถึงรูปแบบและรูปทรงที่มีความสอดคล้องกับคติความเชื่อ ขนาด แล้ววัสดุสำหรับ
นำมาใช้ว่าจะใช้เทคนิค หรือวิธีการใดจึงจะเหมาะสม เช่น การปั้น การแกะสลัด การหล่อ การดุน
เป็นต้น เช่นเดียวกับการออกแบบงานจิตรกรรมประเภทการวาดภาพระบายสี ที่มีการใช้สีเพียงสี
เดียว (เอกรงค์) หรือหลายสี (พหุรงค์) ในการออกแบบงานทัศนศิลป์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานจะต้อง
คำนึงถึงพื้นที่ที่จะวาดว่ามีขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่เพียงใด เช่น เขียนลงในสมุด ใบลาน เขียนลง
บนฝาผนังโบสถ์ วิหาร เป็นต้น ซึ่งการออกแบบภาพวาดก็จะมีการปรับปรุงแบบและการจัดวางภาพ
ให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง และกลมกลืนไปตามสภาพแวดล้อม
วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผลงาน ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ จะคำนึงถึงปัจจัย
สถาปัตยกรรมไทย ที่การออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม หลายด้าน เพื่อให้ผลงานมีความสวยงามและผสมกลมกลืน
กับสถาพแวดล้อม (จากภาพ การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนัง
แล้วนำมาผสมผสานกับศิลปะอยุธยา
วัดใหญ่นครชุมน์ จังหวัดราชบุรี)
3.2 การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล
งานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก และมีวิวัฒนาการ
ในรูปแบบที่มีความต่อเนื่อง ผสมผสานแนวคิด รูปแบบต่างๆ ยังเป็นกลางและแพร่
หลายไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก มีคนทำให้บ้างรูปแบบกลายเป็นวัฒนธรรมสากลไปโดย
ปริยาย ลักษณะผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล จะไม่จำกัดรูปแบบตายตัว ไม่ได้เป็น
ของชาติใดวัฒนธรรมใดโดยเฉพาะ แต่มีลักษณะร่วมกันมีความเป็นนานาชาติ มีผู้ชมดู
แล้วสามารถรับรู้และเข้าใจสอดคล้องกันได้ ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากลช่วงระยะ
เวลาแรกการสร้างผลงานจะได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับลัทธิความเชื่อและจิตวิญญาณ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ โลกหน้า และเทพเจ้า ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเน้นเรื่องราวเกี่ยว
กับศาสนาคริสต์ ชีวิตมนุษย์ในสังคมและลักษณะสภาพแวดล้อมรอบตัว
จนท้ายที่สุด ผลงานทัศนศิลป์ก็พัฒนาไปสู่การเสนอแนวคิดที่สะท้อนสังคม สิ่งแวดล้อม
หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ
ต่อต้านสงคราม ความทารุณโหดร้าย การปกป้องรักษาโรค สิ่งแวดล้อม ความดีงาม
สันติภาพ และอื่นๆ ในลักษณะที่มีความเป็นสากล โดยมีรูปแบบเทคนิควิธีการ และ
ประเภทผลงานที่แตกต่างกัน
การออกแบบผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว
จะมีแนวคิดที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมไทย อาหารเสริมเนื่องมาจากทัศนะเกี่ยวกับการ
มองโลกผ่านการออกแบบมีความต่างกันตามสภาพแวดล้อมและภูมิหลังทางวัฒนธรรม
ทั้งนี้ การออกแบบผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากลนับตั้งแต่สมัย
ประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน จะพบว่ามีการนำเสนอผลงานที่หลากหลายรูปแบบ รวม
ทั้งจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัย หรือแต่ละช่วงเวลา โดยมีการกำหนดรูป
แบบในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นแนวทางต่างๆ เช่น จิตรกรรมแนวโรแมนติก
(Romanticism) ผลงานจะมีลักษณะที่แสดงความรู้สึกออกมาเกินความเป็นจริง ผลงานแนว
อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) ก็จะซื้อความประทับใจของศิลปินออกมา โดยเน้น
ลักษณะของแสงสีตามบรรยากาศที่เป็นจริง หรือเน้นความเป็นจริงตามธรรมชาติ เป็นต้น
การออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์ผล
งานทัศนศิลป์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรม
สากลนี้ แกมีการสอดแทรก ผสมผสาน หรือแสดงแบบอย่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ
สะท้อนแนวคิดของศิลปินผ่านงานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมอย่างเห็นได้
ชัด
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล นอกจากเราจะเห็นตัวอย่างผลงานของประเทศ
ต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีการเผยแพร่เข้ามาสู่สังคมไทยด้วย
เช่น ผลงานจิตรกรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมสากลได้เข้ามามีอิทธิพลในงาน
ทัศนศิลป์อย่างมากตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ลงมาตามลำดับ
เป็นการรับแบบอย่างผ่านทางภาพถ่าย ภาพวาด สิ่งพิมพ์ ของที่ระลึกต่างๆ ที่ถูกนำเอา
เข้ามาสู่สยามในเวลานั้น โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต สภาพบ้านเรือน และการแต่งกาย
ตามแบบอย่างวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าว ก็ได้ถูกศิลปินนำมาใช้ในการ
ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานด้วย เป็นต้น
ที่เห็นได้เด่นชัด ก็คือ วิธีการเขียนภาพจิตรกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ จากเดิมที่
เขียนภาพสีให้มีลักษณะแบบแบนๆ มีการตัดเส้น เนื้อหาสาระในภาพเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ
ศาสนา มีลักษณะเป็นพระพุทธมคติ หรือการใช้เทคนิคเขียนภาพแบบเฟรสโก (Fresco)
คือ ใช้สีวาดภาพลงบนปูนเปียก การเขียนด้วยสีฝุ่นกับกาว การวาดภาพที่ถ่ายทอดใน
ลักษณะมุมมองจากเบื้องบน หรือจากท้องฟ้าในระดับกว้างไกล มองเห็นภาพได้โดยรวม
หรือแบบวิวตานกมอง ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเขียนใหม่ด้วยการเขียนภาพให้มีความ
เหมือนจริง มีระยะใกล้-ไกล มีบรรยากาศแบบภาพเขียนตะวันตก และจากจุดเปลี่ยนนี้ต่อ
มาก็ได้นำเอาความรู้ เทคนิคต่างๆ จากวัฒนธรรมตะวันตก มาเป็นพื้นฐานในการ
สร้างสรรค์งานในศิลปกรรมไทย เช่น หลักทฤษฎีสี ทฤษฎีกายวิภาค ทฤษฎีศิลป์ เป็นต้น
ซึ่งส่งผลให้ผลงานทัศนศิลป์ของไทยในระยะหลังมีลักษณะเป็นแบบร่วมสมัย ทั้งผลงาน
จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และภาพพิมพ์ โดยมีการผสมผสานความเป็น
ไทยและความเป็นสากลได้อย่างลงตัว
ทั้งนี้ การออกแบบงานทัศนศิลป์ประเภทจิตรกรรมในวัฒนธรรมสากล สิ่งที่ศิลปินให้
ความสำคัญอย่างมาก ก็คือ หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Composition) ซึ่งถือเป็นพื้น
ฐานของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทุกคะแนนว่าจะจัดภาพอย่างไรให้มีความเหมาะ
สม หรือให้ดูมีความโดดเด่น น่าสนใจ หรือจะซื้ออย่างไรเพื่อทำให้คนงานดูมีชีวิตชีวา เกิด
สาระที่สะท้อนออกมาจากตัวผลงานให้ดูสมจริง รวมทั้งจะให้อารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้ชม
ได้อย่างไร โดยมีเนื้อหา เรื่องราว การดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในสภาพ
สังคมปัจจุบันเป็นหลัก
รูปสลักปิเอตา (Pieta) ผลงานของมีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก "Soft Construction with Boiled Beans" ผลงานของซัล
บูโอนาร์โรตี ซีโนนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti บาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
ความทารุณโหดร้ายของสงครามกลางเมืองในประเทศสเปน
Simoni)
ตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ ในวัฒนธรรมสากลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก
ศาสนาคริสต์
"การเก็บเกี่ยว" (The Harvest) ผลงานของฟินเซนต์ วิลเลียม "La Grande Vitesse" ผลงานของอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์
ฟานก็อกฮ์ (Vincent Willem van Gogh) เป็นผลงานที่สื่อให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความเสียสละของ
ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากบรรยาการศชนบทของประเทศอังกฤษ วีรชนในสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส
ภาพน้ำพุบาห์ชิซาไรสกี ผลงานของศิลปินรัสเซีย "ภาพบ้านสีเหลือง" (The Yellow House) ผล
คาร์ล ไบอุลลอฟ จิตรกรรมแนวลัทธิโรแมนติก งานของฟินเซนต์ วิลเลียม ฟาน ก็อกซ์
(Vincent Willem Van Gogh)
หรือจินตนิยม
พระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพเขียนแบบเฟรสโก (Fresco) บนเพดาน
สร้างขึ้นตามแบบศิลปะกอทิก (Gothic Art) ของตะวันตก โดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม
บานประตูและหน้าต่างประดับด้วยกระจกสีอย่างสวยงาม
กรุงเทพมหานคร วาดโดยศิลปินชาวอิตาลี
พระบรมสาทิสลักษณ์ของราชการที่ 5 ทำด้วยกระจกสี
(Stained Glass) จากประเทศฝรั่งเศส
3.3 การเปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์
ที่มาจากวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล
ถ้าเปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ตามปัจจัยข้างต้น ในด้าน
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล สามารถ
เปรียบเทียบสรุปได้ ดังนี้
ตารางการเปรียบเทียบแนวคิดในงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล
ตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรม ตัวอย่างผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล
ไทย ภาพจิตรกรรม "ประตูสู่นิพพาน" ผลงานสถาปัตยกรรม "อะโตเมียม" (Atomium)
ผลงานของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
สู้ ๆ นะคร้าบบบบ