The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มที่1ครู_การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by patcharee01k, 2023-07-12 04:04:49

เล่มที่1ครู_การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคร

เล่มที่1ครู_การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคร

เอกสารประกอบการเรียน ประกอบการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (PjBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง เล่มที่ 1 : การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี นางบุญล้อม แก้วดอน ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ สำหรับครู


ก โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู คำนำ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยเอกสาร ประกอบการเรียนทั้งหมด 5 เล่ม ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือนำไปใช้ในการเรียนการสอนซ่อมเสริมได้ หรือใช้ในการสอนแทน ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง อย่างคงทน และนำผลไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดียิ่งขึ้น ภายในเล่มประกอบด้วย คำชี้แจงในการใช้เอกสารประกอบการเรียนสำหรับครู แผนภูมิลำดับขั้นการใช้เอกสารประกอบการเรียน มาตรฐานการเรียนรู้แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ แบบฝึกหัด ใบงาน แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบฝึกหัด เฉลยใบงาน เฉลยแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนจึงสามารถใช้เอกสารประกอบการเรียน เล่มนี้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งก่อนใช้นักเรียนจะต้องศึกษาคำชี้แจงการใช้ให้เข้าใจ หากมีข้อสงสัยให้สอบถามครูผู้สอนจนเกิด ความเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง นี้จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้เป็น อย่างดี และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถใช้เพื่อศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นสื่อที่มี ประสิทธิภาพ สามารถอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ บุญล้อม แก้วดอน


ข โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจงเกี่ยวกับเอกสารระกอบการเรียน ค คำแนะนำในการใช้เอกสารประกอบการเรียนสำหรับครู ง แผนภูมิลำดับขั้นการใช้เอกสารประกอบการเรียน จ สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ 1 ใบความรู้ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 3 ใบงาน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 29 แบบฝึกหัด เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 30 แบบทดสอบย่อยหลังเรียน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 33 กระดาษคำตอบแบบทดสอบย่อยหลังเรียน 36 บรรณานุกรม 37 ภาคผนวก 38 เฉลยใบงาน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 39 เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 41 เฉลยแบบทดสอบย่อยหลังเรียน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 44 ประวัติย่อเจ้าของผลงาน 45


ค โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู คำชี้แจงเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียน 1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียน ทั้งหมด 5 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง เวลา 4 ชั่วโมง เล่มที่ 2 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เวลา 4 ชั่วโมง เล่มที่ 3 โฟโตเรสไพเรชัน เวลา 4 ชั่วโมง เล่มที่ 4 การเพิ่มความเข้มของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เวลา 4 ชั่วโมง เล่มที่ 5 ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง เวลา 4 ชั่วโมง 2. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย - คำชี้แจงเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียน - คำแนะนำสำหรับครู - หน่วยการเรียนรู้ / สาระการเรียนรู้ / ผลการเรียนรู้ - จุดประสงค์การเรียนรู้ / สาระสำคัญ - ใบความรู้ / ใบงาน / แบบฝึกหัด - แบบทดสอบย่อยหลังเรียน - เฉลยใบงาน / แบบฝึกหัด - เฉลยแบบทดสอบย่อยหลังเรียน


ง โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู คำแนะนำในการใช้เอกสารประกอบการเรียนสำหรับครู เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการจัดการ เรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ครูผู้สอนควรปฏิบัติ ดังนี้ 1. จัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียนให้พร้อมและเพียงพอสำหรับนักเรียน 2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักเรียน 3. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัดให้นักเรียนทราบ 4. แจกเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้นักเรียน ศึกษาและแนะนำวิธีใช้เอกสารประกอบการเรียนเพื่อนักเรียนจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 5. ดำเนินการสอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ 6. หากมีนักเรียนบางคนเรียนไม่ทัน ครูควรให้คำแนะนำ หรืออาจมอบหมายงาน หรือเอกสารให้ศึกษาเพิ่มเติมในเวลาว่าง 7. หลังจากนักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความหลากหลายทาง ชีวภาพ เรียบร้อยแล้ว ครูและนักเรียนควรช่วยกันสรุป พร้อมทั้งให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดและทำ แบบทดสอบหลังเรียน 8. ครูเฉลยแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน และบันทึกคะแนนของ นักเรียนแต่ละคนไว้ เพื่อประเมินการพัฒนาและความก้าวหน้า หากมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ครูควร จัดสอนซ่อมเสริม 9. ครูสังเกตความตั้งใจของนักเรียน ความสนใจในการเรียน การทำงานร่วมกันเป็น กลุ่มของนักเรียนทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด ถ้ากลุ่มใดมีปัญหาครูทำหน้าที่ให้คำแนะนำ 10.การตรวจนับคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน ตอบถูกได้คะแนนข้อละ 1 คะแนน โดยใช้เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80 ถ้านักเรียนทำคะแนนได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ควรจัดให้มีการสอน ซ่อมเสริม


จ โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู แผนภูมิลำดับขั้นการใช้เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง อ่านคำชี้แจงและคำแนะนำในการใช้เอกสารประกอบการเรียน ศึกษาบทเรียนและฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ผ่านการทดสอบ ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนเรื่องต่อไป ประเมินผลการทำเอกสารประกอบการเรียน ไม่ผ่าน การทดสอบ ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด เสริมพื้นฐาน ผู้มีพื้นฐาน ต่ำ ทดสอบหลังเรียน


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 1 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู สาระชีววิทยา 3. เข้าใจส่วนประกอบของพืช การแลกเปลี่ยนแก๊สและคายน้ำของพืช การลำเลียงของ พืช การสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต และการตอบสนองของพืช รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูลและสรุปการศึกษาที่ได้จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตเกี่ยวกับ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 2 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายและสรุปการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงได้(K) 2. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปการศึกษาที่ได้จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ใน อดีตเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (K) 3. เปรียบเทียบผลการทดลองกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักวิทยาศาสตร์ในอดีต ได้ (P) 4. สามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานไปสู่การปฏิบัติจริง พัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และทักษะ ในศตรวรรษที่ 21 ได้ (P) 5. รับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย (A) สาระสำคัญ นักวิทยาศาสตร์ในอดีตได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงจนสรุปได้ว่า CO2 และน้ำเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยพืชจะใช้แสงในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลิตภัณฑ์คือ O2 และน้ำาตาล บริเวณที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงภายใน เซลล์พืชอยู่ที่คลอโรพลาสต์โดยในคลอโรพลาสต์มีโครงสร้างสำคัญคือ ไทลาคอยด์ที่มีสารสีเป็นตัวรับ พลังงานแสง และสโตรมาซึ่งมีเอนไซม์ต่างๆ ที่จำาเป็นต่อปฏิกิริยาต่างๆ ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืช โดยมีใบเป็นอวัยวะสำคัญ ภายในใบของพืชมีสารคลอโรฟิลล์ที่สามารถนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานเคมี และมีเอนไซม์ที่สามารถตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาผลิตอาหารเก็บไว้ในรูป สารอินทรีย์ได้


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 3 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง นักวิทยาศาสตร์หลายท่านศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วย แสง การศึกษาบางประเด็นต้องใช้ระยะเวลานาน ทั้งยังต้องอาศัยความสามารถในการค้นคว้าหา ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์จากหลาย ๆ ยุด ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงขณะนี้ลัวน เป็นผลจากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2191 ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste van Helmont ได้ ทดลองปลูกตันหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังที่บรรจุดินที่แห้งสนิทหนัก 200 ปอนด์ และปิดฝาถังให้มิดชิด เพื่อป้องกันสัตว์มาขุดคุ้ย ป้องกันไม่ให้ใบหลิวร่วงหล่นลงไปในกระถางระหว่างทำการทดลองได้รดน้ำ ต้นหลิวด้วยน้ำฝนทุก ๆ วัน เป็นระยะเวลา 5 ปี แล้วนำต้นหลิวและดินแห้งไปชั่งน้ำหนัก พบว่า ดินมี น้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์ แต่ต้นหลิวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 169 ปอนด์ ดังรูปที่ 1.1 รูปที่ 1.1 การทดลองของฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองห์ ที่มา : http:/kruhom.blogspot.com/2016 ใบความรู้ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 4 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู จากการทดลอง เขาจึงสรุปว่า "น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเพียงอย่างเดียว" ในปี พ.ศ. 2315 โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าว ว่า"การหายใจ การเน่าเปื่อย และการตายของสัตว์ ทำให้เกิดอากาศเสีย แต่พืชจะทำให้อากาศเสียนั้น บริสุทธิ์ขึ้นและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต" โดยโจเซฟได้ทำการทดลอง 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 จุดเทียนไขไว้ในครอบแก้ว พบว่าเมื่อเวลาผ่านไปสักครู่หนึ่งเทียนไขดับลง และเมื่อนำหนู ที่มีชีวิตไปไว้ในครอบแก้วที่เทียนไขดับแล้ว ปรากฏว่าหนูตายเกือบทันที รูปที่1.2 การทดลองของพริสต์ลีย์ที่เริ่มจากการเผาไหม้ของเทียนไข ที่มา : คลังภาพ อจท. เมื่อนำหนูที่มีชีวิตเข้าไปในครอบแก้วที่เทียนไขดับ สักครู่หนูก็ตายลง และเมื่อทดลอง จุดเทียนไขแล้วนำไปใส่ไว้ในครอบแก้วที่มีหนูตายอยู่แล้ว ปรากฎว่าเทียนไขดับเกือบทันทีเช่นกัน รูปที่ 1.3 การทดลองของพริสต์ลีย์ที่เริ่มจากกระบวนการหายใจของหนูทดลอง ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 5 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู พริสต์ลีย์ สรุปการทดลองนี้ว่า "การลุกไหมัของเทียนไขและการหายใจของหนูทำให้เกิด อากาศเสีย ดังนั้น จึงทำให้เทียนไขดับและทำให้หนูตาย" การทดลองที่ 2 นำพืชสีเขียวใส่ในครอบแก้วที่เคยจุดเทียนไขเอาไว้ก่อนแล้ว จากนั้นทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน เมื่อจุดเทียนไขในครอบแก้วนั้นใหม่ พบว่าเทียนไขลุกไหม้อยู่ได้ระยะหนึ่งโดยไม่ดับทันที รูปที่ 1.4 การนำพืชเข้ามาทดลองของพริสต์ลีย์ ที่มา : คลังภาพ อจท. เมื่อทำการทดลองอีกครั้ง โดยนำพืซสีเขียวใส่ในครอบแก้วที่เดยจุดเทียนไขไว้และดับไปแล้ว จากนั้นทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน จึงนำเทียนไขออกและใส่หนูเข้าไปในครอบแก้วที่มีพืชอยู่ พบว่า หนูยังคงมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน รูปที่ 1.5 การทดลองของพริสต์ลีย์ที่แสดงให้เห็นว่า พืชช่วยให้หนูมีชีวิตอยู่ในครอบแก้วนานขึ้น ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 6 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู หลังจากนั้นพริสต์ลีย์ทำการทดลองเพิ่มเติม โดยแบ่งอากาศภายในครอบแก้วที่เทียนไขดับ แล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำพืชไปใส่ไว้ และอีกส่วนหนึ่งใส่เพียงแก้วที่บรรจุน้ำไว้เท่านั้น แล้วตั้ง ทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงจุดเทียนไขในอากาศทั้ง 2 ส่วน พบว่า เทียนไขในอากาศส่วนที่มีพืช อยู่เท่านั้นที่มีการลุกไหม้ และลุกไหม้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น จากการทดลองดังกล่าว พริสต์ลีย์ สรุปว่า "พืชสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้กลับมาเป็นอากาศดีได้" รูปที่ 1.6 พืชเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดี ที่มา : คลังภาพ อจท. ในปี พ.ศ. 2322 แจน อินเก็น ฮูซ (Jan Ingen Housz ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การทดลองของ พริสต์ลีย์จะได้ผลก็ต่อเมื่อพืชได้รับแสงสว่างเท่านั้น พืชจึงจะสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศ ดีได้ ฮูซออกแบบการทดลองโดยใช้ครอบแก้วไว้ 2 ชุด โดยชุดแรกนำไปไว้ในที่มืด ส่วนชุดที่ 2 นำไปไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงได้ดี ทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน แล้วจุดเทียนไขในครอบแก้วทั้ง 2 ชุด พบว่า เทียนไขในครอบแก้วที่ได้รับแสงเท่านั้นที่สามารถลุกไหม้ได้ ดังภาพ


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 7 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.7 การทดลองของฮูช ชุดที่ 1 นำไปไว้ในที่มืด และชุดที่ 2 นำไปไว้ในที่ที่มีแสง ที่มา : คลังภาพ อจท. ในขณะที่พริสต์ลีย์และฮูซทำการทดลองนั้น ความรู้ทางวิชาเคมีก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วใน ระยะที่ใกล้เคียงกัน ในปี พ.ศ. 2325 ฌอง ซีนีบิเยร์ (Jean Senebier) พบว่า แก๊สที่เกิดจากการ ลุกไหม้ และแก๊สที่เกิดจากการหายใจของสัตว์ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) ส่วนแก๊สที่ช่วยใน การลุกไหม้ และแก๊สที่ใช้ในการหายใจของสัตว์ คือ แก๊สออกซิเจน (0) แสดงว่าเมื่อพืชได้รับแสง พืชจะนำแก๊สคาร์บอนดออกไซด์เข้าไป และปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา ภาพที่ 1.8 แสงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 8 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ในปี พ.ศ. 2329 ฮูซ ยังค้นพบอีกว่า พืชเก็บธาตุคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของสารอินทรีย์ รูปที่ 1.9 พืชเก็บธาตุคาร์บอนไว้ในรูปของสารอินทรีย์ ที่มา : คลังภาพ อจท. ในปี พ.ศ. 2339 ธูซเสนอข้อมูลจากการทดลองว่า "พืชเก็บธาตุคาร์บอน ซึ่งได้มาจากแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของสารอินทรีย์ และปลดปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา" โดยฮูซได้ทำการ ทดลองคล้ายกับพริสต์ลีย์ แต่ใช้ส่วนประกอบของพืชที่มีสีเขียว เช่น ลำต้น ใบ กิ่ง ใส่ไว้ในที่ครอบ แก้วไว้ 2 ชุด โดยชุดที่ 1 ทิ้งไว้ในที่มืด ส่วนชุดที่ 2 ไว้ในที่สว่างเป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุด เทียนไขในครอบแก้ว ดังภาพ รูปที่ 1.10 การทดลองของฮูซ ชุดที่ 1 ในที่มืด และชุดที่ 2 ในที่สว่าง ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 9 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู จากการทดลอง พบว่า เทียนไขในครอบแก้วชุดที่ 1 ไม่ติดไฟ ส่วนเทียนไขในชุดที่ 2 ซึ่งวาง ไว้ที่บริเวณที่มีแสงสามารถจุดเทียนไขให้ติดไฟได้ จากการทดลองของธูซ จะเห็นได้ว่า การเจริญเดิบโตของพืชส่งผลให้น้ำหนักของพืชเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการสังเคราะห์สารอินทรีย์ โดยน้ำหนักของพืชที่เพิ่มขึ้นมาจากแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชนำเข้าไป และพืชยังปล่อยแก๊สออกซิเจนออกสู่บรรยากาศในช่วงที่พืชได้รับ แสง ในปี พ.ศ. 2347 นิโคลาส ทีโอดอร์ เดอ โซซูร์ (Nicolas Theodore de Soussure) ทำการ ทดลองพบว่า พืชมีการดูดแก๊สดาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองของฮูซ นอกจากนี้ เดอ โซชูร์ ยังทคลองให้เห็นว่า น้ำหนักของพืชที่ เพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชได้รับ จึงสันนิษฐานว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น บางส่วนเป็นน้ำหนักของน้ำที่พืชได้รับ ในปี พ.ศ. 2405 จูเลียส ซาซ (Julius Sachs) ได้ทำการทดลองโดยใช้โคมไฟฉายแสงให้กับ พืชสีเขียวหลายชนิด และพบว่าใบพืชสามารถสังเคราะห์แป้งขึ้นมาได้ และเมื่อปิดไฟเป็นเวลานาน แป้งก็จะสลายไป ซึ่งปริมาณของแป้งสามารถตรวจสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ดังนั้น การทดลองนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า สารอินทรีย์ที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมา คือ แป้ง ซึ่งเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรต รูปที่ 1.11 ผลิตภัณฑ์ที่พืชได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ แก๊สออกซิเจนและแป้ง ที่มา : คลังภาพ อจท. ต่อมานักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการสร้างอาหารของพืชที่อาศัยแสงนี้ว่า กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 10 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ในปี พ.ศ. 2438 เองเกลมัน (T.W. Engelmann) ทดลองโดยใช้แบคทีเรียที่เจริญโดยใช้แก๊ส ออกซิเจนเป็นตัวทดสอบวัดปริมาณแก๊สออกซิเจนที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของ สาหร่ายสไปโรไจรา (Spirogyra sp.) ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่ง โดยใช้ปริซึมแยกแสงออกเป็น สเปกตรัมให้แก่สาหร่ายสไปโรไจรา ที่เจริญอยู่ในน้ำร่วมกับแบคทีเรียที่ใช้แก๊สออกซิเจนในการเจริญ อยู่ด้วย จากการทดลอง พบว่า แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญมารวมกลุ่มกันบริเวณ ที่สาหร่ายได้รับแสงสีม่วง สีน้ำเงิน สีส้ม และสีแดง เป็นจำนวนมาก แสดงว่าบริเวณนั้นมีแก๊ส ออกซิเจนมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งการทดลองนี้คล้ายกับคุณสมบัติในการดูดแสงสีต่าง ๆ ของสารสี เขียวในคลอโรพลาสต์ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyl!) เองเกลมันสรุปว่า "คลอโรฟิลล์เป็นสารสีที่สำคัญที่ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสงเพื่อให้เกิด การสังเคราะห์อาหารขึ้น" รูปที่ 1.12 การทดลองของเองเกลมันแสดงให้เห็นว่า บริเวณที่มีแบคทีเรียมาเกาะกลุ่ม คือ บริเวณที่มีแก๊สออกซิเจนซึ่งได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่ายสไปโรไจรา ที่มา : คลังภาพ อุจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 11 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ในปี พ.ศ. 2473 แวน นีล (Van Niel) พบว่า แบคทีเรียบางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสง ได้โดยไม่ใช้น้ำ แต่ใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แทน และผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงแทนที่ จะได้แก๊สออกซิเจน (O2 ) แต่กลับได้ซัลเฟอร์ (S) ออกมาแทน แสดงว่าซัลเฟอร์เกิดจากการสลายตัว ของไฮโดรเจนซัลไฟด์ รูปที่ 1.13 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง คือ ซัลเฟอร์และแป้ง ที่มา : คลังภาพ อจท. แวน นีลจึงเสนอสมมติฐานว่า การสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียน่าจะคล้ายกับการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช นั่นคือ ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โมเลกุลของน้ำจะถูกแยกสลาย ได้ออกซิเจนอิสระ ในปี พ.ศ. 2484 สมมติฐานของแวน นีล ได้รับการสนับสนุนจากการทดลองของแซมรูเบน (Sam Ruben) และมาร์ติน คาเมน (Martin Kamen) ซึ่งทำการทดลองโดยใช้สาหร่ายสีเขียวปริมาณ เท่ากันใส่ลงในขวดแก้วสองใบ แล้วใส่น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในขวดทั้งสอง


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 12 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ภาพที่ 1.14 การทดลองของแซม รูเบน และมาร์ติน คาเมน ที่มา : คลังภาพ อจท. จากภาพ ก. ใส่แก๊สดาร์บอนไดออกไซด์ที่มีออกซิเจนปกติ (C 16 O2 ) แต่ใส่น้ำที่ประกอบด้วย ออกซิเจนหนัก คือ H2 18O ส่วนภาพ ข. ใส่แก๊สดาร์บอนไดออกไซด์ที่มีออกซิเจนหนัก คือ C 18 O2 แต่ใส่น้ำที่มีออกซิเจนปกติ จากนั้นนำขวดแก้วทั้งสองไปตั้งไว้ในที่มีแสง เมื่อสาหร่ายได้รับแสง จะให้ ออกซิเจนออกมาทั้งสองขวด แต่เมื่อนำออกซิเจนที่เกิดขึ้นมาทดสอบ ปรากฎว่าออกซิเจนจากภาพ ก. เท่านั้นที่เป็น 18O2 ส่วนภาพ ข. เป็นออกซิเจนปกติ รูเบนและดาเมนจึงสรุปว่า "ออกซิเจนที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมาจาก โมเลกุลของน้ำเท่านั้น" ในปี พ.ศ. 2475 โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) ทำการทดลองโดยสกัดคลอโรพลาสต์ออกมาจาก ใบผักโขม แล้วนำมาผสมกับน้ำ จากนั้นแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเติมเกลือเฟอริก (Fe3+) ส่วนอีกชุดไม่เติมเกลือเฟอริก แล้วฉายแสงให้แก่หลอดทดลองทั้งสองชุดพบว่า ชุดที่ 1 เกิด เกลือเฟอรัส (Fe2+)และมีแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้น ส่วนชุดที่ 2 ไม่พบแก๊สออกซิเจน รูปที่ 1.15 การทดลองของโรบิน ฮิลล์ ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 13 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู จากการทดลอง พบว่า หลอดทดลองที่เติมเกลือเฟอริก (Fe3+) ลงไป เกลือเฟอริกจะเปลี่ยน เป็นเกลือเฟอรัส (Fe2+ ) และมีแก๊สออกซิเจน (O2 ) เกิดขึ้น ส่วนหลอดทดลองที่ไม่เติมเกลือ เฟอริกจะไม่มีออกซิเจนเกิดขึ้น โดยทั่วไปเกลือเฟอริกจะเปลี่ยนเป็นเกลือเฟอรัสได้จะต้องได้รับไฮโดรเจน ดังนั้น ปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นในการทดลองนี้ไฮโดรเจนที่แตกตัวมาจากโมเลกุลน้ำจะมีเกลือเฟอริกมารับ แล้วได้แก๊ส ออกซิเจนเป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้น เกลือเฟอริกจึงทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจน การทดลองของฮิลล์สามารถสรุปได้ว่า "ไฮโดรเจนที่เกลือเฟอริกได้รับและออกซิเจนที่เกิด ขึ้นมาจากการแตกตัวของน้ำ" ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการทดลองนี้มีการปล่อยแก๊สออกซิเจนเช่นเดียวกับพืช แต่ฮิลล์ใช้ เพียงคลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์พืช จากการทดลองนี้จึงนำไปสู่แนวคิดที่ว่า ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงน่าจะมีอย่างน้อย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ ขั้นที่ปล่อยแก๊สออกซิเจนกับ ขั้นที่เกี่ยวข้องกับแก๊สดาร์บอนไดออกไซด์ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาฮิลล์ (Hill's reaction) โดยต่อมาเรียกว่า โฟโตไลซิส (photolysis) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่น้ำแตกตัวออกโดยแสงและได้แก๊ส ออกซิเจนออกมา ในปี พ.ศ. 2494 แดเนียล อาร์นอน (Daniel Amnon) และคณะแห่งมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนียที่เบิร์กลี ได้ศึกษารายละเอียดและทดลองต่อจากการทดลองของฮิลล์ โดยใส่น้ำ และคลอโรพลาสต์ลงในหลอดทดลอง ก. จากนั้นเติม NADP' และ ADP + P แล้วให้แสง ปรากฏว่า เกิด NADPH+H' และ ATP และแก๊สออกซิเจนขึ้น ในขณะที่หลอดทดลอง ข. เดิมเพียง ADP + P โดยไม่เดิม NADP แล้วให้แสง ปรากฏว่าไม่มีแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้น แต่เกิด ATP เพียงอย่างเดียว ภาพที่ 1.16 การทดลองของอาร์นอนเมื่อให้แสงแต่ไม่ให้ CO2 (ก) เติม NADP' (ข) ไม่เติม NADP* ที่มา : คลังภาพ อจท.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 14 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู จากการทดลองทำให้ทราบว่า ถ้ามีตัวรับอิเล็กตรอน (NADP') พืชจะสามารถใช้พลังงานจาก แสงในการทำให้น้ำแตกตัว ได้แก๊สออกซิเจน ATP และ NADPH+H' แต่ถ้าไม่มีตัวรับอิเล็กตรอนพืช จะยังสามารถสร้าง ATP ได้ โดยไม่เกิดแก๊สออกซิเจนต่อมาอาร์กอนศึกษาเพิ่มเติม โดยเติม CO, NADPH+H' และ ATP ลงในหลอดทดลองแต่ไม่ให้แสง ผลปรากฏว่าเกิดน้ำตาลขึ้น แสดงว่าปัจจัยใน การสังเคราะห์น้ำตาล คือ ATP และ NADPH+H* ไม่ใช่แสง รูปที่ 1.17 การทดลองของอาร์นอนโดยไม่ให้แสง ที่มา : คลังภาพ อจท. การศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์และนักชีววิทยาในอดีตทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า ในระบบนิเวศ พืชเป็นผู้ผลิตที่สามารถผลิตอาหารเองได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยมี แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบ และผลผลิตที่ได้ คือ น้ำตาล ซึ่งเก็บสะสมอยู่ในรูปของ แป้งตามส่วนต่าง ๆ ของพืช และแก๊สออกซิเจนปล่อยออกสู่บรรยากาศให้กับสิ่งมีชีวิตนำไปใช้ใน กระบวนการหายใจ นอกจากนี้แสงและสารคลอโรฟิลล์มีบทบาทสำคัญที่ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ ด้วยแสงได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการนำพืชน้ำมาใช้บำบัดน้ำเสียในชุมชน อาศัยหลักการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชมาช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำ โดยการปล่อยให้น้ำเสียขังในแปลงพืชน้ำที่ระดับความ สูง 30 เซนติเมตรจากพื้นแปลง เป็นเวลาอย่างน้อย 1 วัน พืชสามารถสร้างอาหารขึ้นเองได้จากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสง แตกต่างจาก สัตว์ที่จำเป็นต้องกินอาหารซึ่งจะผ่านกระบวนการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่ได้เข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต โดยอาหารที่พืชสร้างนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อสัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง นอกจากนี้ในการสร้างอาหารของพืชยังได้ผลผลิต เป็นแก๊สออกซิเจนซึ่งนับเป็นอีกปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอีกหลากหลายชนิดบน โลกพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแสงสร้างอาหารได้อย่างไร


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 15 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู การศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีมานานหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่กลางศตวรรษ ที่ 17 จนสรุปได้เป็นสมการเคมีของการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้ ภายหลังการเสนอสมการเคมีของการสังเคราะห์ด้วยแสง นักวิทยาศาสตร์เคย ตั้งสมมติฐานว่า O2 ที่เกิดขึ้นอาจมาจาก CO2 ส่วนคาร์บอนน่าจะรวมตัวกับน้ำได้เป็นคาร์โบไฮเดรต ดังรูป 1.18 รูป 1.18 สมมติฐานหนึ่งซึ่งแสดงที่มาของแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 136) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งก่อนกลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นว่าไม่ถูกต้อง เมื่อ คอร์เนเลียส แวน นีล (Cornelius van Niel) ได้ทดลองเลี้ยงแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วย แสงโดยไม่ใช้น้ำแต่ใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์แทน พบว่าผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงในแบคทีเรีย จะมีซัลเฟอร์เกิดขึ้นแทน O2 ดังรูป 1.19


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 16 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูป 1.19 การทดลองเลี้ยงแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์แทนน้ำ ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 136) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ สูตรโมเลกุลของไฮโดรเจนซัลไฟด์กับน้ำคล้ายกัน ดังนั้นแวน นีล จึงเสนอว่ากระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียน่าจะคล้ายกับพืช โดยซัลเฟอร์ที่เกิดขึ้นในแบคทีเรียนั้นมาจาก ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ดังนั้น O2 ที่เกิดขึ้นในพืชจึงน่าจะมาจากโมเลกุลของน้ำ สมมติฐานของแวน นีล ได้รับการยืนยันในเวลาต่อมาโดยแซม รูเบน (Sam Ruben) และมาร์ติน คาเมน (Martin Kamen) ซึ่งยืนยันได้ว่า O2 ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มาจากน้ำโดยทั้งสองคนได้ศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงในคลอเรลลา (Chlorella sp.) ซึ่งเป็น สาหร่ายสีเขียวโดยได้ทดลองใช้ไอโซโทปของออกซิเจน (18O และ 16O) ในการระบุที่มาของ O2 ว่ามา จากอะตอมของสารตั้งต้นใด ดังรูป 1.20 รูป 1.20 การทดลองของรูเบนและคาเมน ก. เมื่อให้ออกซิเจนในโมเลกุลน้ำเป็น 18O และออกซิเจนในโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 16O ข. เมื่อให้ออกชิเจนในโมเลกุลน้ำเป็น 16O และออกซิเจนในโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 18O ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 137) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 17 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู การค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง ในปี พ.ศ. 2191 ( ค.ศ. 1648 ) ได้มีการพิมพ์ผลงานของ ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียม ที่ทำการทดลองสิ่งที่น่าสนใจและมี ความสำคัญมากทางชีววิทยา โดยปลูกต้นหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังใบใหญ่ที่บรรจุดินซึ่งทำให้แห้งสนิท หนัก 200 ปอนด์แล้วปิดฝาถัง ระหว่างทำการทดลองได้รดน้ำต้นหลิวที่ปลูกไว้ทุกๆ วันด้วยน้ำฝนเป็น ระยะเวลา 5 ปี ต้นหลิวเจริญเติบโตขึ้นมาก เมื่อนำต้นหลิวที่ไม่มีดินติดอยู่ที่รากไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏ ว่าต้นหลิวหนัก 169 ปอนด์ 3 ออนซ์ และเมื่อนำดินในถังไปทำให้แห้งแล้วนำไปชั่งปรากฏว่ามี น้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์เท่านั้น ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในปัจจุบันเป็นความรู้ที่ได้จากผลการศึกษา ค้นคว้าของ นักวิทยาศาสตร์หลายยุคหลายสมัยสั่งสมต่อเนื่องกันมา ทำให้ได้รับความรู้ขอมูล และหลักฐานต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ 1. การศึกษาค้นคว้าของ ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste Van Helmont) ในปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) ได้มีการพิมพ์ผลงานของฌอง แบบติสท์แวนเฮลมองท์ (Jean Baptiste Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียมที่ท าการทดล องทางชีววิทยา โดยการปลูกต้นหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังใบใหญ่ที่บรรจุดินซึ่งท าให้แห้งสนิทหนัก 200 ปอนด์แล้วปิด ฝาถัง ระหว่างทำการทดลองได้รดน้ำต้นหลิวที่ปลูกไว้ทุกวันด้วยน้ำฝนเป็นระยะเวลา 5 ปี ต้นหลิว เจริญเติบโตขึ้นมาก เมื่อน าต้นหลิวที่ไม่มีดินติดอยู่ที่รากไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าต้นหลิวหนัก 169 ปอนด์ 3 ออนซ์ (ตัวเลขนี้ไม่ได้รวมน้ำหนักใบซึ่งร่วง ไปแต่ละปี) และเมื่อนำดินในถังไปท าให้แห้ง แล้วนำไปชั่ง ปรากฏว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์เท่านั้น ให้นักเรียน ศึกษาการทดลองจากรูปที่ 1.21


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 18 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.21 ที่มา : https://minimayzenithh.wordpress.com/ ในปี ค.ศ. 1648 แวน เฮลมองท์ (Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียม ได้ทำการ ทดลองปลูกต้นหลิวในกระถาง โดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ปริมาณดิน ปริมาณน้ำ อุณหภูมิ แสงสว่าง เป็นต้น เวลาผ่านไป 5 ปี ต้นหลิวมีการเจริญเติบโตมาก ขึ้น เมื่อนำต้นหลิวไปชั่งน้ำหนักพบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก แต่น้ำหนักของดินในกระถาง ลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการทดลองดังกล่าวแวน เฮลมองท์ได้ให้ข้อสรุปได้ว่า น้ำหนักของ ต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำเพียงอย่างเดียว ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากในยุค นั้น


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 19 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.22 ที่มา : https://minimayzenithh.wordpress.com/ รูปที่ 1.23 การทดลองของฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 20 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ในปี พ.ศ. 2315 ( ค.ศ. 1772 ) โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) นัก วิทยาศาสตร์ชาว อังกฤษ ได้พิมพ์ผลงานที่ทำการทดลองโดยจ่อเทียนไขไว้ในครอบแก้ว ปรากฎว่าสักครู่เทียนไขก็ดับ และเมื่อใส่หนูเข้าไปในครอบแก้วครู่ต่อมาหนูก็ตาย เมื่อนำหนูที่มีชีวิตไปไว้ในครอบแก้วเดิมที่เทียนไขดับ ปรากฏว่า หนูตายเกือบทันทีและเมื่อ จุดเทียนไขแล้วนำไปใส่ในครอบแก้วเดิมที่หนูตายอยู่ แล้ว ปรากฏว่า เทียนไขดับเกือบทันที เขาได้ทดลองนำหนูใส่ไว้ในครอบแก้วเดียวกันกับพืชสีเขียว ปรากฎว่าทั้งพืชและหนูสามารถ มีชีวิตอยู่ได้ รูปที่ 1.24 การทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์ ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ พริสต์ลีย์ได้นำเอาพืชสีเขียวใส่ในครอบแก้วที่เคยจุดเทียนไขเอาไว้ก่อนแล้ว อีก 10 วันต่อมา เมื่อ จุดเทียนไขในครอบแก้วนั้นใหม่ ปรากฏว่า เทียนไขลุกไหม้อยู่ได้ระยะหนึ่ง โดยไม่ดับทันที พริสต์ลีย์จึงทำการทดลองเพิ่มเติม โดยแบ่งอากาศหลังจากเทียนไขดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน นำพืชใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งใส่แต่แก้วบรรจุน้ำ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งจุดเทียนไขอากาศทั้ง 2 ส่วน พบว่าเทียนไขลุกไหม้ได้ระยะหนึ่งในอากาศส่วนแรก แต่จะดับทันทีในอากาศส่วนที่สอง หลังจากนั้นเขาได้ศึกษาคุณสมบัติของก๊าซและอากาศ และทราบว่า”อากาศดี” ช่วยในการเผาไหม้ และการหายใจของสัตว์ แต่การหายใจของสัตว์และการเผาไหม้ของเทียนไขทำให้เกิด “อากาศเสีย”


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 21 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.24 การทดลองเพิ่มเติมของโจเซฟ พริสต์ลีย์ ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ พ.ศ. 2325 (ค.ศ.1782) ฌอง ซีนีบิเยร์ (Jean Senebier) ค้นพบว่าแก๊สที่เกิดจากการลุก ไหม้ และแก๊สที่เกิดจากการหายใจของสัตว์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนแก๊สที่ช่วยในการลุก ไหม้และแก๊สที่ใช้ในการหายใจของสัตว์คือแก๊สออกซิเจน ต่อมาแจน อินเก็น ฮูซ เสนอว่า พืชเก็บธาตุคาร์บอน ซึ่งได้มาจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ในรูปของสารอินทรีย์ ในปี ค.ศ. 1799 แจน อินเก็น-ฮูซ (Jan Ingen-Housz) นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ ได้ทำการ ทดลองคล้ายกับโจเซฟ พริสต์ลีย์ โดยใส่พืชไว้ในครอบแก้ว แต่แยกเป็นส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น ใบ เป็นต้น แล้วทิ้งไว้ในที่มืดชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขไว้ในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าเทียนไขในครอบแก้วทุกอันไม่ติดไฟ และเมื่อทำการทดลองอีกครั้งโดยนำครอบแก้วทุกอันไปไว้ ในบริเวณที่มีแสงสว่าง ระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าใน ครอบแก้วที่มีส่วนของพืชซึ่งมีสีเขียวสามารถจุดเทียนไขให้ติดไฟได้ จากการทดลองดังกล่าว แจน อินเก็น-ฮูซได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ส่วนของพืชที่มีสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ โดยพืชต้องอาศัยแสงเป็นปัจจัยในกระบวนการดังกล่าวด้วย


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 22 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.25 การทดลองของแจน อินเก็น-ฮูซ ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ ในปี ค.ศ. 1804 นิโคลาส ธีโอดอร์ เดอ โซซูร์ (Nicolas Theodore de Soussure) ได้ทำ การรวบรวมและศึกษาผลงานของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายๆ ท่าน โดยอาศัยความรู้พื้นฐาน ทางด้านเคมีสมัยใหม่ ทำให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชดังต่อไปนี้ – พืชจะคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนในเวลากลางวัน และจะคายเฉพาะ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน แสดงว่าพืชหายใจตลอดเวลา แต่พืชมีการสังเคราะห์แสง เฉพาะเวลากลางวันหรือเมื่อได้รับแสง – แร่ธาตุในดินมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช – น้ำไม่ใช่เพียงละลายแร่ธาตุในดินให้แก่พืชเท่านั้น แต่น้ำยังมีบทบาทสำคัญโดยตรงใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช พ.ศ.2405 (ค.ศ.1862) จูเลียส ซาซ (Julius Sachs) พบว่าสารอินทรีย์ที่พืชสร้าง คือ น้ำตาล ซึ่งเป็นสารคาร์โบไฮเดรต ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียกกระบวนการสร้างคาร์โบไฮเดรตของพืชที่อาศัยแสงนี้ ว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 23 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู พ.ศ.2438 (ค.ศ.1895) เองเกลมัน (T.W.Engelmann) ได้ทำการทดลองโดยใช้ปริซึมเพื่อ แยกแสงออกเป็นสเปกตรัมให้แก่สาหร่ายสไปโรไจ ราซึ่งเจริญอยู่ในน้ำที่มีแบคทีเรีย จากการทดลอง พบว่า แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนมารวมกลุ่มกันที่บริเวณสาหร่ายได้รับแสงสีแดง และสีน้ำเงิน เพราะทั้งสองบริเวณนี้สาหร่ายจะให้แก๊สออกซิเจนมากกว่าในบริเวณอื่น พ.ศ.2473 (ค.ศ.1973) แวน นีล (Van Niel) นัก วิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา แห่ง มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทดลองเลี้ยงแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงโดยไม่ ใช้น้ำแต่ใช้ ไฮโดรเจนซัลไฟด์แทนพบว่า ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงแทนที่จะเกิดแก๊สออกซิเจนกลับเกิด ซัลเฟอร์ ขึ้นแทน พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) แซม รูเบน(Sam Ruben) และมาร์ติน คาเมน (Martin Kamen) ได้ทำการทดลองใช้น้ำที่ประกอบด้วย 18O รูปที่ 1.26 การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะปล่อยออกซิเจนออกมา ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ ในปี พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932)โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) ทำ การทดลองผ่านแสงเข้าไปในของ ผสมซึ่งมีเกลือเฟอริกและคลอโรพลาสต์ที่สกัดออกมา จากผักโขม ปรากฏว่า เกลือเฟอริกเปลี่ยนเป็น เกลือเฟอรัสและมีออกซิเจนเกิดขึ้น แต่ถ้าในของผสมไม่มีเกลือเฟอริกก็จะไม่เกิดแก๊สออกซิเจน


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 24 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.27 การทดลองของ โรบิน ฮิลล์ ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ ในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) แดเนียล อาร์นอน (Daniel Arnon ) และคณะแห่งมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนียที่เบิร์กเลย์ ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองของฮิลล์ อาร์นอน และได้ทำการ ทดลองดังนี้ • การทดลองที่1 เมื่อให้แสงแต่ไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ รูปที่ 1.28 การทดลองที่1 ของ แดเนียล อาร์นอน ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 25 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู การทดลองที่ 2 เมื่อไม่ให้แสงแต่มีการเติมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ATP และ NADPH รูปที่ 1.29 ทดลองที่2 ของ แดเนียล อาร์นอน ที่มา : https://sanookpuppui.wordpress.com/ การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืช โดยมีใบเป็นอวัยวะสำคัญ ภายในใบของพืชมีสารคลอโรฟิลล์ที่สามารถนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานเคมี และมี เอนไซม์ที่สามารถตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาผลิตอาหารเก็บไว้ในรูปสารอินทรีย์ได้ การศึกษาค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงมาเป็นลำดับขั้นจนได้ข้อสรุปว่าคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นวัตถุดิบที่พืชใช้ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่ได้ คือ น้ำตาล ออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ในบรรยากาศและน้ำเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น ในวันที่สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม เช่น มีความเข้มแสงและ คาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสม มีอุณหภูมิ น้ำ และธาตุอาหารในดินเหมาะสมต่อการเจริญของพืช จะส่งผลให้พืชเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดี


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 26 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู การศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่สนใจค้นคว้าจนทำ ให้เข้าใจกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากขึ้นเป็นลำดับ ดังตัวอย่าง รูปที่ 1.30 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 138) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 27 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.31 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 138) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง จนสรุปเป็นสมการเคมีของการสังเคราะห์ ด้วยแสงนั้น สมการดังกล่าวเป็นเพียงสมการโดยรวม แต่ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงประกอบด้วยหลายปฏิกิริยา ในปัจจุบันได้ค้นพบแล้วมากกส่า 50 ปฏิกิริยา ซึ่งเกิดขึ้นใน คลอโรพลาสต์โดยปฏิกิริยาต่างๆ เหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน ดังรูปที่ 1.32


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 28 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู รูปที่ 1.32 ภาพรวมของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่มา : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชีววิทยา เล่ม 3 (หน้า 140) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ 1. ปฏิกิริยาแสง (light reaction) จะสร้างสารพลังงานสูง NADPH และ ATP ในภาวะ ที่มีแสง ซึ่งเกิดขึ้นในไทลาคอยด์ 2. การตรึงคาร์บอน (carbon fixation) หรือ วัฏจักรคัลวิน (Calvin cycle) เป็น ขั้นตอนที่มีการสร้างน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในสโตรมา โดยจะใช้ NADPH และ ATP ที่ได้ขาก ปฏิกิริยาแสง


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 29 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู ใบงาน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 2. ตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ ด้วยแสง และกำหนดจุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 3. วางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการ สังเคราะห์ด้วยแสง 4. ระบุวิธีการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการ สังเคราะห์ด้วยแสง 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 6. นักเรียนตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 30 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู แบบฝึกหัด เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สภาพแวดล้อมส่งผลกระบวนการผลิตอาหารของพืชอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2. นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 3. จากการทดลองของ ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์(Jean Baptiste van Helmont) ทำไมต้อง ปิดฝาเฉพาะเวลารดน้ำ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. การทดลองของนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถระบุได้ว่า แก๊สที่ทำให้เทียนไขดับส่งผลให้หนูตาย และแก๊สที่ทำให้หนูตายส่งผลให้เทียนไขดับคือแก๊สชนิดเดียวกัน และเป็นแก๊สอะไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 31 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 5. สารอินทรีย์ที่สะสมในส่วนต่าง ๆ ของพืชมาจากไหน และเป็นสารชนิดใด สามารถตรวจสอบได้ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 6. จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายท่านสามารถสรุปได้หรือไม่ว่า แสงเป็นปัจจัยสำคัญต่อ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 7. แก๊สออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นมาจากสารตั้งต้นชนิดใด เพราะเหตุใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 8. ในการทดลองของโรบิน ฮิลล์(Robin Hill) เกลือเฟอริก (Fe3+) เปลี่ยนไปเป็นเกลือเฟอรัส (Fe2+ ) ได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 9. ในการทดลองของโรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) เกลือเฟอริก (Fe3+) ที่เติมลงไปในหลอดทดลองทำ หน้าที่เหมือนกับสารใดในการทดลองของแดเนียล อาร์นอน (Daniel Arnon) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 32 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 10. จากการทดลองของเองเกลมัน (T.W. Engelmann) ได้ข้อสรุปว่าอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 11. จากการทดลองของแดเนียล (Daniel Arnon) สาร NADP+ ที่เติมลงไปมีผลต่อการสร้าง ATP (Adenosine triphosphate) และ O2 หรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 12. ให้นักเรียนสรุปผลการทดลองการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตลงในตารางที่ กำหนดให้ นักวิทยาศาสตร์ ข้อสรุป ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste van Helmont) โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley)


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 33 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู แบบทดสอบย่อยหลังเรียน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง รายวิชาชีววิทยา 3 รหัสวิชา ว30248 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คำชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน เวลาที่ใช้ 10 นาที 2. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในกระดาษคำตอบ จากภาพต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 1 - 2 1. ผลการทดลองนี้แสดงว่า ก. หนูทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี ข. พืชสีเขียวทำให้อากาศดีเป็นอากาศเสีย ค. พืชสีเขียวทำให้อากาศเสียเป็นอากาศดี ง. หนูทำให้อากาศที่ใช้ในการลุกไหม้แล้วติดไฟอีก 2. หลายครั้งที่พริสท์ลีย์แบ่งอากาศหลังจากเทียนไขลุกไหม้และดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชสี เขียวใส่ไว้ในส่วนหนึ่ง และปล่อยให้อีกส่วนหนึ่งคงบรรจุอยู่ภายในภาชนะแก้วที่คว่ำไว้ในน้ำ แต่ไม่มีพืช ทุกครั้งที่จุดเทียนไขจะพบว่าเทียนไขจะไม่ดับในอากาศส่วนแรก แต่จะดับในอากาศ ส่วนที่สอง พริสท์ลีย์ทำเช่นนี้เพื่ออะไร ก. หากทดลองอันแรกไม่สำเร็จยังมีอากาศอีกชุดเอาไว้ทดลอง ข. การทดลองอาจผิดพลาดได้หากไม่แบ่งแก๊สที่เกิดขึ้นเพื่อไว้ทดลองอีก ค. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองเหมือน ๆ กันหลาย ๆ หน ง. การทดลองจะได้เชื่อถือได้มากขึ้น เพราะทดลองแล้วพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องมาจากพืชสีเขียว


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 34 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 3. “พืชสีเขียวบรรจุในตู้กระจกปิดมิดชิด น้ำหนักจะไม่เพิ่มขึ้นถ้าในตู้ไม่มีสัตว์อยู่ด้วย” จาก ปรากฏการณ์นี้ยืนยันข้อเท็จจริงในข้อใด ก. พืชใช้ CO2 เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง ข. ผลจากปฏิกิริยาสังเคราะห์ด้วยแสงได้ออกซิเจน ค. พืชดูดแสงสีต่าง ๆ ในปริมาณไม่เท่ากัน ง. คลอโรฟิลล์เป็นสารดูดพลังงาน 4. ภายในครอบแก้วมีต้นไม้และหนูซึ่งมีแสง อุณหภูมิ อาหาร และน้ำครบบริบูรณ์ ครอบแก้วนี้ ปิดสนิทเมื่อทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ทั้งต้นไม้และหนูไม่ตาย ผลการทดลองนี้ แสดงว่า ก. หนูได้ออกซิเจนจากต้นไม้ ข. ทั้งต้นไม้และหนูพึ่งพากัน ค. ต้นไม้ใช้ออกซิเจนน้อยจึงไม่แย่งหนู ง. มีอากาศเพียงพอในครอบแก้วสำหรับ 10 วัน 5. จากการวัดปริมาณของ RuBP และ PGA ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในภาวะ ต่าง ๆ กันคือ ในภาวะปกติที่มีแสง และ CO2 อยู่ตลอดเวลา ภาวะที่มีแสงแต่ไม่มี CO2 และภาวะ ที่มี CO2 แต่ไม่มีแสง ผลที่ได้ควรเป็นอย่างไร ก. ในช่วงที่มีแสงแต่ไม่มี CO2 ปริมาณของ RuBP จะลดลง ข. ในช่วงที่มีแสงแต่ไม่มี CO2 ปริมาณของ PGA จะเพิ่มขึ้น ค. ในช่วงที่มีแสงและ CO2 ปริมาณของ PGA จะไม่คงที่ ง. ในช่วงที่มีแสงและ CO2 ปริมาณของ RuBP จะคงที่


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 35 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 6. ในปฏิกิริยาแสงของการสังเคราะห์ด้วยแสง การถ่ายทอดอิเล็กตรอน แบบเป็นวัฏจักรแตกต่าง จากการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรอย่างไร ก. แบบแรกให้ NADPH และ ATP ส่วนแบบหลังให้เฉพาะ ATP ข. แบบแรกให้เฉพาะ ATP ส่วนแบบหลังให้ NADPH และ ATP ค. แบบแรกให้เฉพาะ NADPH ส่วนแบบหลังให้ NADPH และ ATP ง. แบบแรกให้ NADPH และ ATP ส่วนแบบหลังให้เฉพาะ NADPH 7. Joseph Prirstley ค้นพบว่า อากาศเสียอาจถูกเปลี่ยนให้เป็นอากาศดีได้โดยใช้ ก. ต้นไม้ แสง CO2และ H2 O ข. ต้นไม้ แสง และ CO2 ค. ต้นไม้และแสง ง. ต้นไม้ 8. Jan Ingen Housz ค้นพบว่า คาร์บอนไดออกไซด์สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นสารอินทรีย์กับ ออกซิเจนได้ โดย ก. ต้นไม้ แสง CO2และ H2 O ข. ต้นไม้ แสง และ CO2 ค. ต้นไม้และแสง ง. ต้นไม้ 9. หน้าที่ของ NADP ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด ก. สร้าง ATP ข. นำไฮโดรเจน ค. สลายโมเลกุลของน้ำ ง. กระตุ้นในการสร้างคลอโรฟิลล์ 10. จากกลไกสังเคราะห์ด้วยแสง สารที่สร้างขึ้นในปฏิกิริยาใช้แสงและจะถูกนำไปใช้ต่อใน ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่ ก. ATP และ NADP ข. ADP และ NADP ค. ATP และ NADPH + H+ ง. ADP และ NADPH + H+


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 36 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู กระดาษคำตอบแบบทดสอบย่อยหลังเรียน เล่มที่ 1 เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง ข้อที่ คำตอบ ข้อที่ คำตอบ 1 6 2 7 3 8 4 9 5 10


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 37 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร. (2543). ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จิรัสย์ เจนพาณิชย์(2558). ชีววิทยาสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย. กรุงเทพมหานคร : หจก.สามลดา. เชาวน์ ชิโนรักษ์ และพรรณี ชิโนรักษ์(2552). ชีววิทยา 1. กรุงเทพมหานคร : โสภณการพิมพ์ ซีร์สตาร์(2552). ชีววิทยา เล่ม 1. (แปลจาก Biology 1 Concepts and Applications โดยทีมคณาจารย์ ภาควิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยขอนแก่น, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร : เจเอสที พับลิชชิ่ง จำกัด. ชุมพล คุณวาส. (2551). สัณฐานวิทยาเบื้องต้นในการระบุชื่อวงศ์พืชดอกสามัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทียมใจ คมกฤส. (2546). กายวิภาคของพฤกษ์(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2558). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(2564). หนังสือเรียนรายวิชาชีววิทยา เพิ่มเติม เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : สกสค. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์พฤกษศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 38 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 39 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู เฉลยใบงาน เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่ เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 2. ตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ ด้วยแสง และกำหนดจุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง 3. วางแผนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการ สังเคราะห์ด้วยแสง 4. ระบุวิธีการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการ สังเคราะห์ด้วยแสง 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ 6. นักเรียนตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 40 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อโครงงาน……………………………………………………………………………………………………………….……… ที่ รายการประเมิน คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ 1 เนื้อหาของโครงงานมีความน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ 10 2 มีกระบวนการพัฒนาโครงงานอย่างเป็นระบบ 10 3 มีการเลือกใช้เครื่องมือ โปรแกรม ได้อย่างเหมาะสม 10 4 การประสานงานและสืบเสาะข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 10 5 ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจของผลงาน 10 6 ความสมบูรณ์ของผลงาน (เนื้อหา, ภาพประกอบ หรือ อื่นๆ) 10 7 เทคนิคในการนำเสนอโครงงาน 10 8 การนำเสนอเสียงดังฟังชัด และออกเสียงอักขระถูกต้อง 10 9 การนำเสนอโครงงานทันตามเวลาที่กำหนด 10 10 การแต่งกายของผู้นำเสนอโครงงานถูกต้องตามระเบียบ 10 รวม 100 ข้อเสนอแนะ .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ลงชื่อ...............................................................ผู้ประเมิน (...............................................................) วันที่ .......เดือน ........................ พ.ศ...............


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 41 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สภาพแวดล้อมส่งผลกระบวนการผลิตอาหารของพืชอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2. นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 3. จากการทดลองของ ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์(Jean Baptiste van Helmont) ทำไมต้อง ปิดฝาเฉพาะเวลารดน้ำ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. การทดลองของนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถระบุได้ว่า แก๊สที่ทำให้เทียนไขดับส่งผลให้หนูตาย และแก๊สที่ทำให้หนูตายส่งผลให้เทียนไขดับคือแก๊สชนิดเดียวกัน และเป็นแก๊สอะไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ในบรรยากาศและน้ำเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น ในวันที่สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสม เช่น มีความเข้ม แสงและคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสม มีอุณหภูมิ น้ำ และธาตุอาหารในดินเหมาะสมต่อการ เจริญของพืช จะส่งผลให้พืชเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดี ทดลองปลูกต้นไม้ในสภาวะต่าง ๆ โดยศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากน้ำหนักของต้นไม้ การดำรงอยู่ได้ของสิ่งมีชีวิต เช่น หนู รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่ แตกต่างกัน เช่น น้ำ แสง เพื่อควบคุมปริมาณดินไม่ให้สูญหายโดยวิธีอื่น ๆ เช่น ลมพัด สัตว์คุ้ยเขี่ย เป็นต้น หรือ ป้องกันไม่ให้ใบไม้หรือสิ่งอื่นปะปนลงไปในดิน เพื่อให้ปริมาณดินคงที่ ทำให้สรุปผลการทดลอง ได้ถูกต้อง โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) ได้ทำการทดลองไว้ว่า แก๊สชนิดเดียวกัน ซึ่งเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 42 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 5. สารอินทรีย์ที่สะสมในส่วนต่าง ๆ ของพืชมาจากไหน และเป็นสารชนิดใด สามารถตรวจสอบได้ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 6. จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายท่านสามารถสรุปได้หรือไม่ว่า แสงเป็นปัจจัยสำคัญต่อ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 7. แก๊สออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นมาจากสารตั้งต้นชนิดใด เพราะเหตุใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 8. ในการทดลองของโรบิน ฮิลล์(Robin Hill) เกลือเฟอริก (Fe3+) เปลี่ยนไปเป็นเกลือเฟอรัส (Fe2+ ) ได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 9. ในการทดลองของโรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) เกลือเฟอริก (Fe3+) ที่เติมลงไปในหลอดทดลองทำ หน้าที่เหมือนกับสารใดในการทดลองของแดเนียล อาร์นอน (Daniel Arnon) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. มาจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ประเภทแป้ง สามารถ ตรวจสอบโดยหยดสารละลายไอโอดีน ได้ เนื่องจากการทดลองของแจน อินเก็น ฮูซ (Jan IngenHousz) แสดงให้เห็นว่า แสง เป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช หากไม่มีแสง พืชไม่สามารถเปลี่ยน อากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ หรือทำให้หนูดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งสนับสนุนการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) และการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นต่อมาจนกระทั่ง ปัจจุบัน น้ำ เพราะการทดลองของแวน นีล (Van Niel) แสดงให้เห็นว่าออกซิเจน (Oxygen) อะตอมของแก๊สออกซิเจน เป็นอะตอมเดียวกับออกซิเจนอะตอมของน้ำ ได้รับไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen atom) ที่แตกตัวออกมาจากโมเลกุลของน้ำ NADP+ : Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP) คือ นิโคตินาไมด์ อะดีนีนไดนิวคลีโอไตด์ฟอสเฟต เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัว รับไฮโดรเจนใน กระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเมื่อรับไฮโดรเจนแล้ว จะอยู่ในรูปของ NADPH2


โดย : นางบุญล้อม แก้วดอน 43 เล่มที่ 1 การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง สำหรับครู 10. จากการทดลองของเองเกลมัน (T.W. Engelmann) ได้ข้อสรุปว่าอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 11. จากการทดลองของแดเนียล (Daniel Arnon) สาร NADP+ ที่เติมลงไปมีผลต่อการสร้าง ATP (Adenosine triphosphate) และ O2 หรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. 12. ให้นักเรียนสรุปผลการทดลองการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตลงในตารางที่ กำหนดให้ นักวิทยาศาสตร์ ข้อสรุป ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste van Helmont) น้ำหนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นมาจากน้ำเท่านั้น โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) พืชทำให้อากาศเสียเปลี่ยนเป็นอากาศดีได้ คลอโรฟิลล์(Chlorophyll) เป็นสารสีที่ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสง เพื่อใช้ในการ สังเคราะห์อาหาร โดยการทดลองแสดงให้เห็นว่า บริเวณที่มีแบคทีเรียมารวมกลุ่ม คือ บริเวณที่มี แก๊สออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง มีผลต่อการสร้างออกซิเจน (O2 ) แต่ไม่มีผลต่อการสังเคราะห์ ATP (Adenosine Triphosphate)


Click to View FlipBook Version