- บทที่ 2 -
ปจั จัยท่เี ก่ยี วขอ้ งกบั การเรียนรู้ภาษาตา่ งประเทศ
และอทิ ธพิ ลของภาษาแม่
ปจั จัยทเี่ กย่ี วข้องกับการเรียนรูภ้ าษาตา่ งประเทศ และอิทธิพลของภาษาแม่
ปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งผ่านถึงกันได้
อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีทที่ ันสมัยส่งผลใหข้ อ้ มลู ขา่ วสารแพร่กระจายไปยงั ทั่วทุกมุมโลกได้อยา่ งกว้างขวาง
ดังน้ันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงเปรียบเสมือนเคร่ืองมือในการติดต่อส่ือสารเพ่ือแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้
ความคิดในด้านต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ ดังเช่น Krashen and Terrell (1983: 23) ได้กล่าวว่า มนุษย์มีความ
จาเป็นท่ีจะต้องเรียนรู้ภาษาอ่ืนเพ่ือจุดประสงค์ในการส่ือสาร และใช้พัฒนาตนเอง ตลอดจนสร้างความ
เจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ฉะน้ันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่าง
ชาติ ให้ตระหนัก และเข้าใจถึงความเหมือน หรือความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของชาติตนกับ
ประเทศอื่น ๆ การมีความรู้หลายภาษาจึงเป็นคุณลักษณะพ้ืนฐานสาคัญอย่างหนึ่งของนักการศึกษา
นักท่องเท่ียว และนักธุรกิจ ในการเปิดโลกทัศน์ทาความรู้จัก และเข้าใจประเทศอ่ืน ๆ ได้มากข้ึน เนื่องจาก
ภาษาจัดเป็นเคร่ืองมือช่วยให้เกิดความเข้าใจ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศได้เป็น
อย่างดี ดังนั้นการเรียนภาษาท่ีสองจึงมีความจาเป็น และสาคัญมากในการพัฒนาตนเอง และสร้างความ
เจรญิ กา้ วหนา้ ใหก้ ับประเทศชาติ ดังที่ สุภา ปานเจรญิ (2554: 5) กล่าววา่ “การเรียนภาษาทสี่ อง ภาษาทีส่ าม
หรือภาษาท่ีส่ี ถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ชาวโลกกาลังให้ความสนใจเป็นอย่างย่ิง ชาติใดรู้ภาษาอื่นได้มากก็จะมี
โอกาสพัฒนาประเทศได้มาก” ด้วยเหตุดังกล่าว ภาษาจึงมีบทบาทสาคัญในการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร
เพราะผทู้ ่ีมีความรูท้ างภาษาตา่ งประเทศดีก็จะสามารถสง่ สาร และรับสารไดด้ ดี ว้ ยเช่นกนั
1. ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นเคร่ืองมือในการสื่อสารท่ีสาคัญของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ใช้ภาษาเกือบตลอดเวลา
ในการสรา้ งความสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืน มนุษยจ์ ึงเลอื กใช้ภาษาลกั ษณะต่าง ๆ ท้ังถ้อยคา ตัวหนงั สือรูปภาพหรือ
ทา่ ทางต่าง ๆ เพื่อสือ่ สารอยา่ งเหมาะสมความหมายของภาษา
ดังน้ันภาษาจึงเป็นสื่อของการคิด และการติดต่อส่ือสาร ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร
ทั้งการถา่ ยทอดความรู ความคดิ ความรูสึก คาว่า “ภาษา” ท่มี ีใช้ในภาษาไทยจึงหมายถึง ถ้อยคาท่ีใชพ้ ูด เขียน
หรอื กิรยิ าอาการต่าง ๆ ทใ่ี ช้สอ่ื ความหมายให้เกิดความเขา้ ใจ
2. ประเภทของภาษา
ภาษาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ภาษาท่ีหนึ่ง หรือภาษาแม่ ภาษาท่ีสอง และ
ภาษาต่างประเทศ (อรณุ ี วริ ิยะจติ รา. 2532: 4 – 5, รุง่ ฤดี แผลงศร. 2560: 10 - 14) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 ภาษาที่หนึ่งหรือภาษาแม่ (First Language or Mother Tongue)
ภาษาที่หนึ่งหรือภาษาแม่ หมายถึง ภาษาท่ีเด็กเรียนรู้เป็นภาษาแรกในชีวิต เป็นภาษาท่ีพ่อแม่หรือ
ผู้เลี้ยงใช้พูดกันในครอบครัว เด็กจะได้ยินได้ฟังภาษาน้ันตั้งแต่เกิดหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษาน้ันมา
ตัง้ แตว่ ัยเด็ก เชน่ ภาษาแรกของคนไทยส่วนใหญใ่ นประเทศ คอื ภาษาไทย
2.2 ภาษาทีส่ อง (Second Language)
ภาษาท่ีสอง หมายถึง ภาษาอ่ืนท่ีบุคคลเรียนรู้ต่อจากภาษาแรกเพ่ือใช้รองจากภาษาแรก ประเทศบาง
ประเทศใช้ภาษาท่ีสองเป็นภาษาท่ีมีบทบาทสาคัญในฐานะภาษาราชการ เช่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศ
ฟิลิปปินส์ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาท่ีสองเพื่อติดต่องานรายการในประเทศ หรือในประเทศที่มีภาษาถ่ินใช้
หลายภาษาจาเป็นต้องกาหนดภาษากลางเพ่ือใช้ในการส่ือสารสาหรับคนในประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย
กาหนดใหภ้ าษาองั กฤษเปน็ ภาษาทส่ี อง
2.3 ภาษาต่างประเทศ (Foreign Language)
ภาษาตา่ งประเทศ หมายถึง ภาษาทีไ่ ม่ใช่ภาษาแม่ของประเทศผู้เรียน แต่เรียนเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับ
ชาวต่างชาติ หรือมีจุดมุ่งหมายเพ่ือการศึกษา เพ่ือการท่องเที่ยว เพ่ือการเมือง เพื่อการทาธุรกิจ เป็นต้น
การเรียนภาษาต่างประเทศอาจเริ่มเรยี นได้ต้ังแต่ยงั อยู่ในวยั เรียน หรือเริม่ เรียนเม่ือเป็นผู้ใหญ่ก็ได้ เช่น คนไทย
เรยี นภาษาองั กฤษตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นภาษาตา่ งประเทศ หรือคนไทยบางคนอาจเรยี นภาษาจีน ภาษา
ญ่ปี ่น ภาษาเกาหลีต้งั แตร่ ะดบั มธั ยมศกึ ษาถงึ ระดบั อุดมศกึ ษาเป็นภาษาตา่ งประเทศได้
3. ปัจจัยท่ีมผี ลต่อการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
กระบวนการเรียนรู้ภาษาเป็นเร่ืองหนึ่งที่จะทาให้ผู้สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเข้าใจ
ขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ และสามารถนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะการเรียนรู้ภาษาแม่ และภาษาต่างประเทศมีความแตกต่างกัน
การเรียนการสอนภาษาต่างประเทศให้ได้ผลดีนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนควรให้ความสาคัญกับปัจจัยต่าง ๆ
(พณิ ทิพย์ ทวยเจรญิ . 2528: 87; นวลทิพย์ เพม่ิ เกษร. 2554: 138 – 139) ดังน้ี
3.1 ภาษาแม่ (Mother Tongue) ก่อนการเรียนภาษาต่างประเทศ ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาแม่ของ
ตนมาก่อน ทาให้มักมีแนวความคิดท่ีสัมพันธ์กับลักษณะภาษาแม่ตลอดเวลา การเรียนภาษาต่างประเทศจึง
ไมไ่ ดผ้ ลเทา่ ท่ีควร
3.2 วฒั นธรรม (Culture) ผ้เู รียนมักพบปญั หาด้านวัฒนธรรมและสถานการณท์ ่ตี ่างไปจากภาษาแม่
ซ่ึงเป็นความแตกต่างนอกเหนือจากตัวภาษา เช่น ความแตกต่างต่างด้านเสียง คา ความหมาย และไวยากรณ์
ปญั หาด้านวัฒนธรรมท่ีเกิดข้ึนหมายถึงการจัดหมวดหมู่ส่ิงของ คน ลักษณะอาการ เวลาตลอดจนสถานท่ี เช่น
เม่ือเรียนเรื่องการรับประทานอาหาร แนวคิดการรับประทานอาหารของผู้เรียนย่อมแตกต่างจากการ
รบั ประทานอาหาของเจ้าของภาษา
3.3 ทัศนคติในการเรียน (Attitudes) ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด และการแสดงออกต่อ
เหตุการณ์ บุคคล หรือต่อสิ่งใดสิ่งหน่ึง ในด้านการเรียนการสอนหากผู้เรียนมีทัศนคติท่ีดีต่อการเรียน
เห็นความสาคัญของการเรียนรู้ภาษาไทยว่าจะช่วยให้ได้รับประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งมีทัศนคติท่ีดี
ต่อผู้สอนและคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของภาษา ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนสนใจเรียน และพัฒนาตนจนสามารถใช้
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้ดีข้ึน ดังท่ี Ellis (1997: 198 – 199) ได้กล่าวว่า ผู้เรียนที่มีทัศนคติ
เชิงบวกในการเรียนภาษาต่างประเทศจะประสบความสาเรจ็ ในการเรียนนั้น ทงั้ นี้เพราะทัศนคติเชิงบวกจะเป็น
แรงเสรมิ ในการเรียนภาษาต่างประเทศของผ้เู รยี นต่อไป
3.4 ความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence) ความมั่นใจในตนเอง หมายถึง ความเชื่อมั่นใน
ความคิด การกระทาหรือการแสดงออกของบุคคล ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นปัจจัยท่ีมีผลต่อการเรียน
ภาษาไทยในฐานภาษาต่างประเทศ เน่ืองจากผู้เรียนที่มีความม่ันใจจะกล้าแสดงออก หรือกล้าใช้ภาษาโดย
ไม่กงั วลว่าจะมีข้อผดิ พลาด และสามารถพัฒนาได้เรว็ กว่าผ้เู รยี นท่ีมีความเชนิ อายหรอื เหบ็ ตัว
3.5 อายุ (Age) อายุของผู้เรียนเป็นปัจจัยหน่ึงที่มีผลต่อการเรียนภาษาต่างประเทศ ดังที่
Lightbown and Spada (1999: 68) กล่าววา่ อายุของผ้เู รียนเป็นปจั จยั หนึง่ ในการกาหนดแนวคิดในการเรียน
ภาษาสอนภาษา เน่ืองจากผู้เรียนท่ีอายุน้อยกว่าจะสามารถเรียนภาษาต่างประเทศได้ดีกว่าผู้เรียนท่ีเป็นผู้ใหญ่
ทั้งในเรื่องของการออกเสียง และการใช้ภาษา ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้เรียนท่ีเป็นผู้ใหญ่มักจะมีความเคยชินกับ
โครงสร้างของภาษาแม่ และมักจะนามาใช้ในภาษาต่างประเทศ ที่เรามักเรียกว่า เกิดการแทรกซ้อนของ
ภาษาแม่
3.6 ความอดทดต่อความกากวม (Ambiguity Tolerance) ความอดทนต่อความกากวม หมายถึง
ความอดทนต่อความคิดหรือข้อเสนอแนะของบุคคลอ่ืนท่ีแตกต่างจากความคิด ความเช่ือ หรือความรู้ของตน
หากผู้เรียนภาษามีบุคลิกท่ีขาดความอดทนต่อความกากวมจะไม่ยอมรับความคิดท่ีแตกต่าง ทาให้มีผลกระทบ
ต่อการเรียนภาษาเพราะผู้เรียนมักจะยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์หรือ
ลกั ษณะของภาษาที่ตนเรียน
จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ภาษาแม่เกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ หากแต่การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
มีธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาต่างจากภาษาแม่ด้วยปัจจัยท่ีแตกต่างกันดังท่ีกล่าวไปแล้วข้างต้น ผู้เรียน
ภาษาต่างประเทศอาจจะประสบความสาเร็จหรือล้มเหลวในการเรียนภาษาไทยได้ ฉะน้ันส่ิงท่ีผู้สอนควรทา คือ
ทาความเข้าใจและพยายามหาวิธีปรับพฤติกรรมของผู้เรียนจากปัจจัยท่ีเป็นปัญหา เพื่อให้การเรียนการสอน
ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเกดิ สัมฤทธิผล
4. อิทธพิ ลของภาษาแม่ต่อการเรยี นการสอนภาษาตา่ งประเทศ
ภาษาแม่ปรากฏในสมองของผู้เรียนตลอดเวลา แม้ว่าผู้สอนจะห้ามไม่ให้ผู้เรียนใช้ภาษาแม่ในช้ันเรียน
แต่ก็มสิ ามารถห้ามสมองของผูเ้ รยี นไมใ่ หค้ ิดเป็นภาษาแมไ่ ด้ ความรู้ทีม่ ีในสมองของผู้เรียนมักเต็มไปด้วยข้อมูล
ท่ีบันทึกด้วยภาษาแม่ ผู้เรียนจึงมีกระบวนการและสร้างความเข้าใจผ่านการใช้ภาษาแม่ ท้ังนี้เพราะภาษาแม่
เป็นภาษาท่ีใช้ส่ือสารกันในครอบครัว ในหมู่เพ่ือน และในสังคม จนเกิดความเคยชิน และคุ้นเคย แต่เม่ือต้อง
ศึกษาภาษาอื่นเพิ่มเติมอันเป็นการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงเกิดเป็นนิสัยทางภาษา (Speech Habits)
ในภาษาแรกท้ังในด้านระบบเสียง คา และไวยากรณ์ กล่าวคือ ระบบต่าง ๆ ในภาษาแม่จะเข้ามารบกวน
การเรียนภาษาต่างประเทศของผู้เรียน กล่าวคือ ผู้เรียนจะใช้ระบบเสียง คา และไวยากรณ์จากภาษาของตน
มาใช้แทนเสยี ง คา และไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ ซ่ึงมคี วามแตกตา่ งไปจากภาษาของตน เช่น คนจนี ใน
เมืองไทย จะใชเ้ สียงพยัญชนะ /ล/ แทนเสยี ง /ด/ เช่น พูดวา่ “เหล็ก ๆ” แทน “เดก็ ๆ” เปน็ ต้น
จะเห็นได้ว่า ผู้เรียนภาษาต่างประเทศจะสร้างระบบไวยากรณ์ใหม่ ซ่ึงมีลักษณะของการใช้ร่วมกัน
ระหว่างสองระบบภาษา คือ ระบบของภาษาแม่และระบบของภาษาท่ีกาลังเรียนอยู่ กล่าวคือ เสียง หน่วยคา
แ ล ะ ไ ว ย า ก ร ณ์ ท่ี ป ร า ก ฏ ใ น ก า ร สื่ อ ส า ร ข อ ง ผู้ เ รี ย น มั น จ ะ เ ป็ น รู ป แ บ บ ที่ ไ ม่ ต ร ง กั บ บ ร ร ทั ด ฐ า น ข อ ง
ภาษาต่างประเทศนน้ั ๆ (Selinker, 1992) แม้ว่าผู้เรยี นจะไดเ้ รียนร้แู ละแกไ้ ขข้อบกพรอ่ งจนสามารถใชร้ ปู แบบ
ท่ีถูกต้องในภาษาน้ันมาแล้วก็ตาม หากแต่ข้อบกพร่องจะปรากฏขึ้นมาใหม่ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนพบเน้ือหาหรือ
บทเรียนที่ยากเกินไปหรือผู้เรียนใช้ภาษานั้นในขณะท่ีมีความกระวนกระวายใจ หรือเกิดการพลั้งเผลอ จนนา
ภาษาแม่ของตนมาปะปนกับภาษาต่างประเทศท่ีตนเรียนอยู่ ทาให้การสื่อสารนั้นมีลักษณะเป็นภาษาระหว่าง
สองระบบ
ดังน้ันในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศนั้น ผู้สอนควรทราบข้อบกพร่องในการใช้ภาษาของ
ผู้เรียน ด้วยการวิเคราะห์ข้อบกพร่องของผู้เรียน และใช้ความแตกต่างระหว่างระบบภาษาท้ังสองมาอธิบาย
สาเหตกุ ารเกิดขอ้ ผิดพลาดนน้ั กจ็ ะช่วยใหผ้ ู้เรยี นสามารถเรียนภาษาต่างประเทศไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพมากขนึ้
บรรณานุกรม
นวลทิพย์ เพม่ิ เกษร. (2554). “การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ: จากปจั จยั พื้นฐานสกู่ ลวธิ ี
การสอน.” วรรณวิทัศน์ 11, (พฤศจิกายน), 136 – 149.
พณิ ทิพย์ ทวยเจรญิ . (2528). ภาษาศาสตร์เชงิ จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: เทพมงคลการพมิ พ์.
รงุ่ ฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตรก์ ารสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรงุ เทพมหานคร:
สานักพมิ พ์จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .
สุภา ปานเจรญิ . (2554). “บทปาฐกถา.” ใน เอกสารหลังการสัมมนานานาชาตสิ อนภาษาไทยในฐานะ
ภาษาต่างประเทศ : โครงการภาษาไทยเขม้ แข็ง. จินตนา พุทธเมตตะ, บรรณาธกิ าร.
กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ.
อรุณี วิรยิ ะจติ รา. (2532). การเรยี นการสอนภาษาเพื่อการสอื่ สาร. กรงุ เทพมหานคร: อักษรเจรญิ ทัศน.์
Ellis, R. (1997). The Study of Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press.
Krashen, Stephen D. and Terrell, Tract D. (1983). The Natural Approach Language
Acquisition in the Classroom. California: The Alemany Press.
Lightbown, P.M and Spada, N. (1999). How language are Learned. Oxford: Oxford University
Press.
Selinker, L. (1992). Rediscovering Interlanguage. London: Longman.