The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการจัดการทรัพยากรบริจาคห้องสมุด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cha_545, 2022-04-21 01:24:08

คู่มือการจัดการทรัพยากรบริจาคห้องสมุด

คู่มือการจัดการทรัพยากรบริจาคห้องสมุด

Keywords: Library

กล่มุ งานห้องสมดุ และสารสนเทศ สานักวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยาเขตพะเยา

คู่มือ การจดั การทรัพยากรสารสนเทศบรจิ าคห้องสมดุ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วิทยาเขตพะเยา

ทป่ี รกึ ษา : พระครวู รวรรณวฑิ ูรย,์ ผศ.ดร.
รักษาการผู้อำนวยการสำนกั วิชาการ

ผเู้ รยี บเรยี ง : นางสุดฤทัย จันทรวงษ์

บรรณาธกิ าร : พระมหาภทั รวัฒน์ มหาคุเณสี
: นางอุมาพร โคกกรวด
: นายคมจักร ศรีวริ าช

พมิ พค์ รง้ั ที่ ๓ : 2565
ปรชั ญาหอ้ งสมดุ : ปญญฺ า นรานํ รตนํ ปญั ญาเปน็ รตนะของคนทั้งหลาย
ปณธิ าน : มุ่งเป็นศูนยก์ ลางการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง ดา้ นพระพุทธศาสนา

ศาสนวทิ ยา ปรชั ญาและสาขาวิชาท่เี กย่ี วขอ้ งโดยอาศยั
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทนั สมยั

ท่องโลกแห่งปัญญา การศกึ ษายุคใหม่ กา้ วไกลวิชาการ



คานา

หนังสือบริจาค Book-donated หมายถึง หนังสือที่มีผู้ประสงค์มอบ
ให้ อภินันทนาการให้ เป็นหนังสือได้เปล่า โดยห้องสมุดได้รับบริจาคมาจาก
หน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือบุคคลบริจาค การจัดการหนังสือ
บริจาคต้องอาศัยเวลาและแรงงาน รวมทั้งผู้บริจาคมีหลายประเภท หนังสือท่ี
ได้รับบริจาคมีรูปแบบที่หลากหลายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้องสมุด
ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามห้องสมุดไม่สามารถปฏิเสธผู้รับ
บรจิ าคได้

ฉะนั้นห้องสมุด จำเป็นต้องมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับ
บริจาคและการคัดเลือกที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้บริจาคเข้าใจ และเพ่ือ
เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ สามารถนำคู่มือการปฏิบัติงานนี้
มาใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาและสร้างประสิทธิภาพในการพิจารณาคัดเลือก
หนงั สอื ท่ไี ดร้ บั บริจาคสบื ต่อไป

สดุ ฤทัย จนั ทรวงษ์
กลมุ่ งานหอ้ งสมุดและสารสนเทศ

การจดั การทรพั ยากรสารสนเทศบรจิ าค

๑. ความนำ

ห้องสมุด (Library) เป็นแหล่งสารนิเทศให้บริการทรัพยากรสารนิเทศใน
รูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสารและสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งอยู่ชั้น ๒
ของอาคารหอสมุดและเทคโนโลยสี ารสนเทศ ทำหน้าทีเ่ ปน็ ศูนย์บริการสารสนเทศ
เพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ให้บริการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
ดำเนินงานตามกรอบภาระงานที่กำหนด การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เป็น
ภาระงานหลักที่สำคัญยิ่งของห้องสมุดที่ต้องดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้
ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาให้บริการ กระบวนการพิจารณาคัดเลือกจึง
สำคญั ยิ่ง

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition) หมายถึง วิธีการต่างๆ
เพื่อให้ได้มา และเพิ่มเติมทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ภายในห้องสมุด ซึ่งการ
จัดหาโดยท่วั ไป ไดแ้ ก่ การจดั ซอื้ /บอกรับ การขอรับบรจิ าค การได้รับบริจาค การ
แลกเปลี่ยน และการผลิตขึ้นเอง การจัดหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยทั่วไปจะ
ดำเนินการใน 2 ลกั ษณะ คือ

๑. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เปน็ มาตรฐาน
2. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ให้มีความทันสมยั
อยู่เสมอ
วิธีการจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด เพื่อให้บริการผู้ใช้นั้น มีวิธีการ
ดำเนินงาน 5 วิธี ได้แก่
1. การจัดซอื้ จัดหา
2. การขอและรับบริจาค
3. การแลกเปล่ยี น
4. การบอกรับ
5. การผลิตหรือจัดทำข้ึนเอง



ทั้งนี้บรรณารักษ์ท่ีทำหน้าที่จัดหา ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตขึ้นมาใหม่อยู่เสมอและกว้างขวาง ในการเสาะ
แสวงหาแหล่งทสี่ ามารถขอรบั บริจาคทรัพยากรสารสนเทศ รวมทัง้ พฒั นาคุณภาพ
งานกา้ วทนั เทคโนโลยีสารสนเทศ ทีม่ บี ทบาทอยา่ งมากตอ่ การจดั หาในปจั จบุ ัน ทั้ง
ที่ใช้เป็นเครื่องมือ การปฏิบัติงาน และการผลิตหรือจัดทำทรัพยากรสารสนเทศ
ของห้องสมดุ

๒. หลักการและเหตุผล

หนังสือบริจาค Book-donated หมายถึง หนังสือที่มีผู้ประสงค์มอบ
ให้ อภินันทนาการให้ เป็นหนังสือได้เปล่า โดยห้องสมุดได้รับบริจาคมาจาก
หน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือบุคคลบริจาค การจัดการหนังสือ
บริจาคต้องอาศัยเวลาและแรงงาน รวมทั้งผู้บริจาคมีหลายประเภท หนังสือที่
ได้รับบริจาคมีรูปแบบที่หลากหลายและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้องสมุด
ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามห้องสมุดไม่สามารถปฏิเสธผู้รับ
บริจาคได้

ฉะนั้นห้องสมุด จำเป็นต้องมีกลยุทธ์หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับ
บริจาคและการคัดเลือกที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้บริจาคเข้าใจ และเพื่อ
เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ สามารถนำคู่มือการปฏิบัติงานน้ี
มาใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาและสร้างประสิทธิภาพในการพิจารณาคัดเลือก
หนังสือที่ได้รับบริจาค เพิ่มคุณค่าให้แก่หนังสือที่ได้รับบริจาค และลดปริมาณ
หนังสือบริจาคที่ไม่ต้องการลง กลุ่มงานห้องสมุดและสารสนเทศ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา จึงกำหนดนโยบายการรับบริจาค
ดังนี้



๓. นโยบายการรบั บริจาค

๓.1 การรับหนังสือบริจาคนั้น จะต้องเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ ที่ไม่มี
เงื่อนไขในการบริจาค กรณีผู้บริจาคให้นั้นมีเงื่อนไขจะต้องนำเข้าพิจารณาในท่ี
ประชมุ คณะกรรมการประจำส่วนงานกอ่ น

๓.2 หนังสือหรือทรัพยากร เมื่อห้องสมุดได้รับบริจาคมาแล้ว ถือเป็น
กรรมสทิ ธิโ์ ดยชอบธรรมของห้องสมุดทจี่ ะดำเนินการใดๆ ไดต้ ามกฎหมาย ในกรณี
ที่ไม่สามารถนำออกให้บริการได้ จะดำเนินการตามนโยบายของห้องสมุด วิทยา
เขตพะเยา ต่อไป

๓.๓ การขอรับบรจิ าค ต้องกำหนดผู้รบั ผิดชอบภาระงานให้ชัดเจน เพ่ือ
ความสะดวก ในการปฏิบตั ิงาน

3.๔ ระบุวัตถุประสงค์การรับบริจาค เป็นการกำหนดทิศทางในการ
บอกรับหรือปฏิเสธหนังสือบริจาค เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้บริจาคและลด
ภาระงานทไ่ี มจ่ ำเปน็ ของบรรณารักษ์ผู้คัดเลอื ก

3.๕ ประเภทของทรัพยากรบริจาคและผู้บริจาค (Gift-type/Donor
category) ต้องจัดทำแบบฟอร์มรายการบริจาคทรัพยากรสารสนเทศไว้ เพ่ือ
จดั เก็บขอ้ มูลของการรับบรจิ าคทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละครั้ง

3.4 การตอบรับ (Acknowledgement) ทำจดหมายตอบขอบคุณ
เพือ่ เปน็ หลักฐานวา่ ห้องสมุดได้รบั บรจิ าคแล้ว

3.5 การประชาสัมพันธ์ (Public relation) มีความสำคัญในการสร้าง
ความเข้าใจกับผู้บรจิ าค ทราบถึงวัตถปุ ระสงค์ตลอดจนเปา้ หมาย ในการรับบรจิ าค
ทรัพยากรของห้องสมุดวิทยาเขตพะเยา ทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้ง่าย
สะดวกและผูใ้ ช้ๆก็ได้รับทรัพยากรสารสนเทศท่ตี รงกับความต้องการ



4. วัตถุประสงค์

4.1 เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ให้มีปริมาณที่เพียงพอตาม
มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน อุดมศึกษา และสนับสนุนการจัดการศึกษาของ
มหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียนและหน่วยวิทย
บริการ

4.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสร้างนิสัยรักการอ่าน พัฒนาพฤติกรรม
นำไปสกู่ ารเปล่ียนแปลงทางสังคม

4.3 เพื่อสร้างเครือข่ายของกลุ่มงาน เป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน
ให้เปน็ ทีร่ จู้ ัก

4.4 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ ที่ประสงค์บริจาคทรัพยากร
สารสนเทศให้กับห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต
พะเยา

4.5. เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากร
สารสนเทศของหอ้ งสมดุ ให้กับหน่วยงาน

เบื้องต้นแนวทางในการปฏิบัติงานเมื่อได้รับหนังสือบริจาคแล้ว จะ
ดำเนินการพิจารณาคัดแยก/คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ การรับบริจาค
ทรัพยากรสารสนเทศจำเป็นต้องมีเกณฑ์ที่ต้องรับรู้ร่วมกันทั้งผู้ให้และผู้รับ ทั้งน้ี
เพื่อให้ทรัพยากรที่ได้รับมาสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย
ตรงตามหลักสูตร และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ หากสำนักหอสมุดไม่
สามารถนำทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวออกให้บริการได้ห้องสมุดมีนโยบายส่ง
ต่อทรพั ยากรสารสนเทศท่ีไดร้ บั บริจาคไปทำประโยชน์อยา่ งอืน่



5. หลักการคัดแยก/คัดเลอื กหนังสือ
การคัดแยกทรัพยากรสารสนเทศ หรือการคัดเลือกหนังสือ แบ่ง

ออกเปน็ ๒ ประเภท

5.๑ กลุ่มที่คัดเลือกเข้าห้องสมุด จะดำเนินตามนโยบายการจัดหา

ทรพั ยากรสารสนเทศ เช่นเดียวกับหนังสือจดั ซือ้ จัดหา

ประเภทหนังสือ ภาษาไทย/เลม่ ภาษาองั กฤษ/เล่ม

๑. หนงั สือวชิ าการ ๓-๑๐ ๑-๒

๒. หนงั สือท่วั ไป ๑-๒ ๑

๓. หนงั สอื สารคดี ๒๑

๔. หนงั สอื นวนิยาย/เร่อื งสน้ั ๑ ๑

๕. หนงั สอื เยาวชน/หนงั สอื เด็ก ๑ ๑

๖. หนงั สอื แบบเรียน ๓ ๑-๒

๗. หนงั สอื ท่ไี ดร้ บั รางวลั ๑-๓ ๑

นอกจากนนั้ ยังมีหนังสอื ลักษณะอนื่ ๆ จะดำเนินการดงั น้ี
1) จุลสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า
หรือหากมีเนื้อหาบางเกินไปจะกำหนดหน้าที่ไม่เกิน ๘๐ หน้าก็ได้ (อยู่ในดุลพินิจ
ของบรรณารกั ษ์ผูพ้ จิ ารณา) ใหแ้ ยกลงทะเบยี นในสมดุ ทะเบยี นจลุ สาร
2) หนงั สือหรือสิ่งพิมพ์ท่ีใชค้ ้นควา้ เฉพาะสาขาวิชา เชน่ สาร
นิพนธ์ รวมบทความวิชาการ ให้ส่งมอบไปยังสาขาท่เี ก่ียวข้องนน้ั ๆ
3) หนังสือที่ระลึก หากได้รับบริจาคจำนวนหลายฉบับ ให้
พิจารณานำเข้าห้องสมุดไม่เกิน ๑๐ ฉบับ โดยการประทับตราห้องสมุด นำขึ้นช้ัน
มุมหนงั สือที่ระลกึ เพ่ือเกบ็ ไว้สำหรับทำกิจกรรมตา่ งๆ



5.๑ กลุ่มที่ไม่คัดเลือกเข้าห้องสมุด หนังสือกลุ่มนี้จะนำไปบริจาคให้
หน่วยงานอื่นๆ เช่น บริจาคให้โรงเรียน เรือนจำ โรงพยาบาล ชุมชนต่างๆ หาก
หนังสือมสี ภาพเกา่ ชำรดุ มรี อยขดี เขยี น จะจำหน่ายใหร้ า้ นรับซ้อื ของเก่า

6. เกณฑก์ ารประเมนิ คณุ คา่ หนงั สือบริจาค
การประเมินคณุ คา่ หนงั สือบรจิ าค ห้องสมดุ ต้องคำนงึ ถึงความเหมาะสม

และประโยชน์ทห่ี อ้ งสมุดจะได้รับเป็นสำคัญ เพราะหนงั สอื ท่ีไดร้ บั บริจาคมักอยู่ใน
สภาพที่ดีและไม่ดีปะปนกัน คุณค่าของเนื้อหามีทั้งที่ตรง และไม่ตรงกับนโยบาย
การจัดหาของห้องสมุด จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์การประเมินคุณค่า เพื่อพิจารณา
คัดเลือกหนังสือบรจิ าค ซึ่งบรรณารกั ษ์จะเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการในการรับ
บริจาคทรัพยากรสารสนเทศ จึงจำเปน็ ตอ้ งมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณค่า
เพอื่ พิจารณาคดั เลือก ดังนี้

เกณฑก์ ารประเมนิ คณุ คา่
6.๑ ด้านลักษณะทางกายภาพของหนงั สือ

1) หนงั สอื ตอ้ งสะอาด ไม่มรี อยขีดเขยี น ไม่มีการขดี ปากกาเน้น
ขอ้ ความในเนือ้ หาของหนังสอื

2) สภาพของหนังสือ ไมม่ ีรอยฉกี ขาด
3) หนงั สอื ต้องไม่กรอบเหลอื ง เปียกชื้น ขนึ้ รา
4) หนังสอื ต้องมจี ำนวนหนา้ ครบทกุ หน้า
๕) หนังสอื ที่ถ่ายสำเนาเอกสาร ห้องสมดุ จะไมร่ บั เขา้ บรกิ าร

6.๒ ดา้ นเน้อื หา
1) เนื้อหาสอดคลอ้ งกับหลกั สูตรการเรยี นการสอนภายของ

มหาวทิ ยาลยั



2) ความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ควรทำความ
รจู้ ักและคดั เลอื กใหต้ รงกบั ความตอ้ งการของผ้ใู ช้ห้องสมุด

3) ความสมดุลของการคัดเลือก กรณีที่รับหนังสือสภาพดี แต่เนื้อหา
คล้ายกันจำนวนมาก ไม่ควรคัดเลือกเข้าห้องสมุดทั้งหมด ต้องเลือกให้เหมาะสม
กบั จำนวนหนงั สือทมี่ อี ยู่แล้ว

4) เนื้อหามคี วามทนั สมยั เช่ือถือไดแ้ ละเปน็ ปัจจุบนั
5) เนื้อหาบางวิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ด้าน
คอมพวิ เตอร์ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี กฎหมาย ให้พจิ ารณาตามปที ่ีพมิ พ์
6) หนังสือต้องไม่มีเนื้อหา ลักษณะหมิ่นเหม่ จาบจ้วงสถาบัน ปลุก
ระดม ไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติและไม่ขัดต่อจารีตประเพณีอันดีงามของ
ชมุ ชนหรอื ท้องถน่ิ นั้นๆ
7) หนังสือที่มีเนื้อหาที่ล่อแหลมต่อเด็กและเยาวชน จะพิจารณา
จำหนา่ ยออก เช่น หนงั สอื ลามกอนาจาร
8) หนังสือทางด้านประวัติศาสตร์มีคุณค่า แต่ต้องคำนึงถึงสภาพของ
หนงั สือดว้ ย
9) หนงั สอื ฉบบั ซำ้ กับท่ีมีอยใู่ นห้องสมดุ กรณีทีห่ นังสอื เลม่ นั้นๆ มผี ู้นยิ ม
ใช้มาก หรือหนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม ก็ควรรับไว้ และกรณี
หนังสอื อ้างอิงสามารถนำฉบับซำ้ ออกให้บริการในชั้นได้
10) มีเน้อื หาเกย่ี วกบั พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และพระบรมวงศา
นุวงศ์ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการในพระราชดำริ ใหพ้ ิจารณาตาม
ดลุ พนิ จิ ของบรรณารักษ์
11) เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลจากองค์กร สมาคมในสาขาวิชาชีพ เชน่
หนงั สือได้รับรางวลั (รางวัลโนเบล, รางวลั ซไี รท์) หนงั สือขายดี (Best Seller) ทั้ง
ในระดบั ชาตแิ ละนานาชาติ
๑๒) หนงั สอื อื่นๆ ท่ีไม่ครบชุด ขาดเล่มใดเล่มหนง่ึ ในชุดนน้ั ๆ



6.3 ดา้ นปีที่พมิ พ์

1) หนังสือทั่วไปที่พิมพ์ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
กำหนดปีไมเ่ กิน ๑๐ ปี

2) หนังสือทางด้านเทคโนโลยี ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยกำหนดปี
พมิ พไ์ ม่เกิน ๓ ปี ภาษาตา่ งประเทศ กำหนดปพี ิมพ์ ไมเ่ กนิ ๕ ปี

3) เนื้อหาที่เป็นข้อมูลสถิติตัวเลข หรือข้อมูลบุคคล ไม่ควร
ยอ้ นหลังไม่เกิน 5 ปี

4) รายงานประจำปี กำหนดปพี ิมพย์ อ้ นหลงั ไม่เกนิ ๕ ปี
5) หนังสือที่ไม่พิจารณาเข้าห้องสมุด ได้แก่ หนัง สือที่พิมพ์
ภาษาตา่ งประเทศ ท่ีมคี ร้งั ท่พี มิ พ์เก่ากวา่ ครงั้ ทพ่ี ิมพ์ทม่ี ีอย่ภู ายในหอ้ งสมดุ
6.4 กรณีหนังสือฉบับซ้ำ (ซ้ำจากที่มีอยู่ภายในห้องสมุด) พิจารณา
ดังน้ี

๑) หนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนและมี
จำนวนนอ้ ยไมเ่ พยี งพอตอ่ ความต้องการของผใู้ ช้

๒) ประเภทหนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หรือ
หนงั สอื หายากอืน่ ๆ เปน็ ต้น

3) หนังสือนวนิยาย บางเล่มมีคุณค่าทางวรรณกรรม ถึงจะมี
ฉบับซ้ำหรอื เก่า ก็ควรเกบ็ ไวเ้ พอ่ื การศึกษาคน้ คว้า

7. ข้อตกลงระหว่างผูบ้ ริจาค / ผูร้ บั บริจาค
ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับบริจาคเป็นกรรมสิทธิ์ของห้องสมุด ใน

กรณที ท่ี รพั ยากรสารสนเทศที่ได้รบั บริจาคน้ันๆ ไม่ตรงตามนโยบายการรับบริจาค
ของห้องสมุด หรือไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
และไม่สามารถนำทรัพยากรดังกล่าวออกให้บริการได้ ดังนั้นห้องสมุดจึงมี
นโยบายนำทรพั ยากรสารสนเทศท่ไี ด้รับมา บรจิ าคตอ่ ให้กับหน่วยงานอื่น เพือ่ เป็น
ประโยชน์สงั คมโดยรวมสบื ต่อไป



8. แนวทางในการดำเนินงานหนังสือบริจาค

การดำเนินงานเกี่ยวกบั หนังสือบรจิ าค มีดงั นี้

7.1 กรณีมีผู้บริจาคยื่นความจำนง บริจาคทรัพยากรสารสนให้กับ
ห้องสมดุ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา บรรณารักษ์
ตอ้ งใหผ้ บู้ รจิ าค กรอกแบบฟอร์มการบรจิ าคเพ่ือเก็บข้อมลู

7.2 ห้องสมุดรบั มอบทรัพยากรสารสนเทศท่บี รจิ าคนนั้ ๆ
7.3 จัดทำหนังสือตอบขอบคุณ
7.4 พจิ ารณาประเมินคณุ ค่าทรพั ยากรสารสนเทศที่รบั บริจาค

ซง่ึ การพิจารณาประเมินคณุ ค่า จะมี 2 กรณี
๑) ผ่านเกณฑ์ และเห็นควรรับเข้าห้องสมุด ให้นำส่งงานคลินิก
หนังสือหรืองานลงทะเบียนหนังสือ เพื่อลงทะเบียนและบันทึกข้อมูลในห้องสมุด
อัตโนมัตริ ะบบ Matrix นำตวั เล่มให้บรกิ ารบนช้นั วาง
2) ไม่ผ่านเกณฑ์ หนังสือที่พิจารณาแล้วไม่สามารถนำเข้ามา
ให้บรกิ ารภายในหอ้ งสมุด ไดแ้ ก่

▪ หากหนงั สอื บรจิ าค อยู่ในสภาพท่ีสมบรู ณ์แต่ไม่ตรงกับ
หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบัน หรือไม่ผ่านเกณฑ์ประเด็นใด
ประเดน็ หนงึ่ ให้คดั แยกเพอ่ื บริจาคต่อให้กบั หน่วยงานอ่ืนต่อไป

▪ หนงั สือบรจิ าคเกา่ ชำรุด มรี อยขีดเขียน พจิ ารณาแล้ว
ไม่นำเข้าห้องสมุด ไม่สามารถบริจาคต่อได้ ให้ทำลายตัวเล่ม เช่น ฉีกปก ก่อน
นำไปจำหนา่ ยใหร้ ้านรบั ซื้อของเก่า

๑๐

9. ข้นั ตอนการปฏิบัตงิ านการบริจาคทรพั ยากรสารสนเทศ

11

แบบฟอรม์ การบรจิ าคทรพั ยากรสารสนเทศห้องสมดุ

12

ตดิ ตอ่ เรา
ท่านที่มีความสนใจ ต้องการจะบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ (หนังสือ) ให้กับ

หอ้ งสมดุ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตพะเยา ติดต่อบริจาคไดท้ ี่

สถานท่ตี ง้ั กลุ่มงานหอ้ งสมดุ และสารสนเทศ
มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราฃวิทยาลยั วิทยาเขตพะเยา
566 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จงั หวัดพะเยา 56000
โทรศัพท์ 0-5487-0101 หรือ
https://www.facebook.com/mcupyo/ ระบหุ ้องสมุด

บริจาคหนงั สือ โทร. / โทรสาร 0-5487-0101

นางสดุ ฤทยั จนั ทรวงษ์ พระมหาภัทรวัฒน์ มหาคเุ ณสี
บรรณารักษ์ชำนาญการ บรรณารักษ์

นางอมุ าพร โคกกรวด นายคมจกั ร ศรีวิราช
รก.ผอ.สว่ นบริหาร/ปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ีบรรณารกั ษ์ นักวชิ าการคอมพวิ เตอร์

ตดิ ตอ่ สอบถามขอ้ มลู ไดท้ ี่

566 หมู่ 2 ตำบลแมก่ า อำเภอเมือง จงั หวดั พะเยา

โทรศพั ท์ 054-870101
: https://pyo.mcu.ac.th/

หรือ : www.facebook.com/mcupyo


Click to View FlipBook Version