ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี รายงานผล งบดำเนินงาน(พัฒนาอาชีพ) กศน.ตำบลพลูตาหลวง ประจำปีงบประมาณ 2565 (ไตรมาสที่1-2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่31 มีนาคม 2565
บทสรุปผู้บริหาร ททททททจากโครงการพัฒนาอาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจและอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ในตำบลพลูตาหลวง ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 –31 มีนาคม 2565 ณ กศน.ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้ากิจกรรม โครงการ จำนวน 17 คน ซึ่งในตำบลนาจอมเทียนได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นวิชาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจและอาชีพรูปแบบ ชั้นเรียนวิชาชีพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ทททท อาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจ และอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพและอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ - วิชาการทำเบเกอรี่ซึ่งจัดในระหว่างวันที่ 27-30 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30-12.30 น. ณ เลขที่ 122/38 หมู่ที่ 4 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัด มีผู้เข้าอบรม จำนวน 6 คน โดยมีนางสาวจำรัส แพรพันธ์ เป็นวิทยากร -วิชาศิลปะผ้าด้นมือ ซึ่งจัดในระหว่างวันที่ 17-25 มกราคม 2565 เวลา 08.30-12.30 น. ณ อบต.ตำบล พลูตาหลวง หมู่ที่ 2 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีมีผู้เข้าอบรม จำนวน 11 คน โดยมี นางพวงเพ็ญ พวงผิว เป็นวิทยากร รวมทั้งสิ้น 17 คน ทั้งนี้ขอสรุปและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะดังนี้ สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจและอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ห จากโครงการพัฒนาอาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจและอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ ในตำบลพลูตาหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564–31 มีนาคม 2565 ณ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีมีผู้เข้ากิจกรรม โครงการ จำนวน 17 คน โดยมีการแจกสอบถามทั้งหมด 17 ชุด ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ทททททททท1. ผู้ตอบแบบสอบถามของโครงการพัฒนาอาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจและอาชีพรูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ จากจำนวนทั้งหมด 17 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ40-59 ปีและ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเท่ากัน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 44.44 และช่วงอายุ 16-39 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อย ละ 11.12 และทั้งหมดมีอาชีพอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่นแม่บ้าน ธุรกิจส่วนตัว และไม่มีอาชีพ และผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 90 อาชีพค้าขาย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5 และอาชีพรับจ้างลับราขการ ที่จำนวน เท่ากัน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ททททท2. ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจอยู่ในระดับ อยู่ใน ระดับ มาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 คือ ความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับบริการต่อการเข้าร่วม กิจกรรม อันดับที่ 2 คือ กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และวิทยากรมีความรู้ความสามารถ ในการจัดกิจกรรม อันดับที่ 3 เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ อันดับที่ 4 สื่อ/เอกสาร ประกอบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม , เทคนิค/กระบวนในการจัดกิจกรรมของวิทยากร อันดับที่ 5 ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้, บุคลิกภาพของวิทยากร ,ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม เหมาะสม อันดับที่ 6 การจัดกิจกรรมทำให้ผู้รับบริการสามารถคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น และ สถานที่ในการจัด กิจกรรมเหมาะสม อันดับสุดท้ายคือ ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด เห็นต่อการจัดทำหลักสูตร และ วิทยากรมีการใช้สื่อที่สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม ตามลำดับ
คำนำ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ในปีงบประมาณ 2565 ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ กศน.ตำบลพลูตาหลวง ได้ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบกลุ่มสนใจ จำนวน 1 กลุ่ม หลักสูตรการทำเบเกอรี่ จำนวน 16 ชั่วโมง และหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบชั้นเรียน จำนวน 1 กลุ่ม หลักสูตรศิลปะผ้าด้นมือ จำนวน 32 ชั่วโมง โดยตั้งเป้าหมาย ในไตรมาสที่ 1-2 (วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565) จำนวน 17 คน เป็นการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการมีรายได้และนำไปสู่อาชีพยั่งยืนได้ โครงการดังกล่าว ดำเนินการเสร็จสิ้นไปด้วยดี ซึ่งรายละเอียดผลการดำเนินงานต่างๆ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค ได้สรุปไว้แล้ว ต้องขอขอบคุณทางสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี ที่สนับสนุนงบประมาณ และผู้นำชุมชนในตำบลพลูตาหลวง ที่ให้คำแนะนำในการจัดการเรียนการสอนวิชาดังกล่าว รายงานผลงบดำเนินงาน(การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ) เล่มนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงมีประโยชน์บ้างสำหรับ ผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดอบรม ในลักษณะนี้ และถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ เพื่อจะปรับปรุงในโอกาสต่อไป กศน.ตำบลพลูตาหลวง มีนาคม 2565
สารบัญ หน้า บทที่ คำนำ...........................................................................................................................................................ก สารบัญ....................................................................................................................... .................................ข บทที่1 บทนำ สภาพปัญหาความเป็นมา................................................................................................................... ..1 วัตถุประสงค์.....................................................................................................................................1 เป้าหมาย..........................................................................................................................................2 ผลลัพธ์.............................................................................................................................................2 ดัชนีวัดผลสำเร็จของโครงการ...........................................................................................................2 บทที่2 เอกสารการศึกษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตามนโยบายและจุดเน้นการ ดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2565 ………………………………………………..………..3 ภารกิจต่อเนื่อง……………………………………………………………………………………………………………..………..6 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง………………………………………………..……………………………………….………….…..13 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ประชุมบุคลากรกรรมการสถานศึกษา...............................................................................................20 จัดตั้งคณะทำงาน..............................................................................................................................20 ประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง...............................................................................20 ดำเนินการตามแผน ..........................................................................................................................20 วัดผล/ประเมินผล/สรุปผลและรายงาน ............................................................................................20 หลักเกณฑ์การประเมิน.........................................................................................................................21 บทที่4 ผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์ข้อมูล หลักสูตรการทำเบเกอรี่.....................................................................................................................22 หลักสูตรศิลปะผ้าด้นมือ....................................................................................................................25 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ หลักสูตรการทำเบเกอรี่.....................................................................................................................28 หลักสูตรศิลปะผ้าด้นมือ....................................................................................................................29 ภาคผนวก
สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1. แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามเพศหลักสูตรการทำเบเกอรี่.....................…22 2. แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามอายุหลักสูตรศิลปะผ้าด้นมือ.......................25
บทที่ 1 บทนำ สภาพปัญหาความเป็นมา ตำบลพลูตาหลวง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง ประมาณ ร้อยละ 70 ที่เหลือจะประกอบอาชีพ ค้าขายรับจ้างและราชการทหาร และมีภูมิทัศน์ที่ติดกับทะเลมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก จึงมีนักท่องเที่ยวและ ชาวต่างชาติมาเที่ยวและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กศน.ตำบลพลูตาหลวง จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดส่งเสริม อาชีพให้กับชุมชนโดยการสำรวจความต้องการของชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชนจริงๆ การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มี ความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและ ส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มุ่งเน้นฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในวิชา ช่างพื้นฐาน (ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ฯลฯ) และวิชาชีพระยะสั้นอื่นๆ ที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ และสงเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา อาชีพ ในอันที่จะประกอบอาชีพที่สร้างรายได้จริง นอกจากนั้นยังได้กำหนดหลักสูตรออกเป็น 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ 1. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านเกษตรกรรม 2. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอุตสาหกรรม 3. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านพาณิชยกรรม 4. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านความคิดสร้างสรรค์ 5. กลุ่มหลักสูตรใหม่ด้านอานวยการและอาชีพเฉพาะทาง ดังนั้น กศน. ตำบลพลูตาหลวง จึงได้นำนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวสู่การปฏิบัติเพื่อจัดการศึกษา พัฒนาอาชีพให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนมีรายได้และมีงานทำอย่างยั่งยืนมีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งใน ระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากลโดยจัดศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำการจัด การศึกษาของประเทศ และของ กศน.ตำบลพลูตาหลวง เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความ มั่นคงให้แก่ประชาชนในชุมชนในตำบล และจะทำให้การจัดการศึกษาของประเทศเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต อย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ 1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการงานและอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ระดับพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไป ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเพิ่มพูนรายได้ทั้งนี้ให้มีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง 2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้ และแข่งขันด้านอาชีพได้ อย่างยั่งยืน เป้าหมาย เชิงปริมาณ ประชาชนในตำบลพลูตาหลวง จำนวน 15 คน เชิงคุณภาพ ประชาชนในตำบลพลูตาหลวง มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้ ผลลัพธ์ 1. ประชาชนในตำบลพลูตาหลวง มีอาชีพเสริมและมีรายได้มากขึ้น 2. ประชาชน ในตำบลพลูตาหลวง มีอาชีพอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 1.ตัวชี้วัดผลผลิต - ประชาชน ในตำบลพลูตาหลวง ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด 2.ตัวชี้วัดผลลัพธ์ - ประชาชน ในตำบลพลูตาหลวง ร้อยละ 80 มีอาชีพเสริมและมีรายได้มากขึ้น - ประชาชน ในตำบลพลูตาหลวง ร้อยละ 80 สามารถนำไปเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน 2
บทที่ 2 เอกสารการศึกษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำรายงานครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาจากเอกสารการศึกษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตามนโยบายและจุดเน้นการ ดำเนินงานสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2565 2. ภารกิจต่อเนื่อง 3. การจัดการศึกษาต่อเนื่อง 1.นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ตามนโยบายและ จุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2565 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กําหนดแผนแม่บทประเด็นการพัฒนาศักยภาพคน ตลอดช่วงชีวิต โดยมีแผนย่อยที่เกี่ยวข้องกับการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนได้แก่ แผนย่อยประเด็น การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ที่มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนา ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการ พัฒนาการเรียนรู้ ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ประกอบกับแผนการปฏิรูป ประเทศด้านการศึกษา นโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูป กระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพ คนตลอดช่วงชีวิต และนโยบายเร่งด่วนเรื่องการเตรียมคนไทยสู่ ศตวรรษที่ 21 ตลอดจนแผนพัฒนาประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2568) นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2562 2568) โดยคาดหวังว่า การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ประชาชนจะได้รับ การพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนเก่งมีคุณภาพ และมี ความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้กําหนด นโยบายและจุดเน้น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ขึ้น เพื่อเป็น เข็มมุ่งของหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนการดําเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนต่าง ๆ ดังกล่าว สํานักงาน กศน. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตระหนัก ถึงความสําคัญของการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนภารกิจหลักตามแผนพัฒนาประเทศ และนโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ที่คํานึงถึงหลักการบริหารจัดการทั้งในเรื่องหลักธรรมาภิบาล หลักการกระจาย อํานาจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และ ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร การสร้างบรรยากาศในการทํางานและการเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรด้านการ จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเน้น การพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษา ต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย ใน 4 ประเด็นใหญ่ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้คุณภาพ การสร้าง สมรรถนะและทักษะคุณภาพ องค์กร สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ และการบริหารจัดการคุณภาพ อันจะ นําไปสู่การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ํา ทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการ ให้บริการสําหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้รับริการ โดยได้กําหนดนโยบายและจุดเน้นการ ดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
หลักการ กศน. เพื่อประชาชน “ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ” นโยบายและจุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ 1.1 น้อมนําพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดําริทุกโครงการ และโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ 1.2 ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่สนองตอบยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 1.3 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย การเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ และอุดมการณ์ ความยึดมั่น ในสถาบันหลักของชาติ รวมถึงการมีจิตอาสา ผ่านกิจกรรมต่างๆ 1.4 ปรับปรุงหลักสูตรทุกระดับทุกประเภทให้สอดรับกับการพัฒนาคน ทิศทางการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการและความหลากหลายของผู้เรียน/ผู้รับบริการ รวมถึงปรับลด ความ หลากหลายและความซ้ําซ้อนของหลักสูตร เช่น หลักสูตรการศึกษาสําหรับกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูง พื้นที่พิเศษ และพื้นที่ชายแดน รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ 1.5 ปรับระบบทดสอบ วัดผล และประเมินผล โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียน สามารถ เข้าถึงการประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ เพื่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ให้ความสําคัญกับ การเทียบ ระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ พัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียน ให้ตอบ โจทย์การประเมินในระดับประเทศและระดับสากล เช่น การประเมินสมรรถภาพผู้ใหญ่ ตลอดจนกระจายอํานาจ ไป ยังพื้นที่ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1.6 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเองครบวงจร ตั้งแต่ การลงทะเบียนจนการประเมินผลเมื่อจบหลักสูตร ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษา ต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สามารถ เรียนรู้ ได้สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน 1.7 พัฒนา Digital Learning Platform แพลตฟอร์มการเรียนรู้ของสํานักงาน กศน. ตลอดจน พัฒนา สื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และให้มีคลังสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ง่ายต่อ การสืบค้นและนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 1.8 เร่งดําเนินการเรื่อง Academic Credit-bank System ในการสะสมและเทียบโอนหน่วยกิต เพื่อ การสร้างโอกาสในการศึกษา 1.9 พัฒนาระบบนิเทศการศึกษา การกํากับ ติดตาม ทั้งในระบบ On-Site และ Online รวมทั้ง ส่งเสริม การวิจัยเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาการดําเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. ด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ 2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับแต่ละช่วงวัย และ การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ 2.2 พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้นที่เน้น New skill Up skill และ Re skเที่สอดคล้องกับบริบท พื้นที่ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่มอาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology 4
2.3 ยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น “ส่งเสริมความรู้ สร้าง อาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และช่องทางการจําหน่าย 2.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุเพื่อให้เป็น Active Ageing Workforce และมี Life Skill ใน การดํารงชีวิตที่เหมาะกับช่วงวัย 2.5 ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่พัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้พิการ ออทิสติก เด็กเร่ร่อน และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ 2.6 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลและทักษะด้านภาษาให้กับบุคลากร กศน. และผู้เรียนเพื่อรองรับ การ พัฒนาประเทศ 2.7 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน กศน. 2.8 สร้าง อาสาสมัคร กศน. เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ใน ชุมชน 2.9 ส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของบุคลากร กศน. รวมทั้งรวบรวมและเผยแพร่เพื่อให้ หน่วยงาน / สถานศึกษา นําไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 3. ด้านองค์กร สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ 3.1 ทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน สถานศึกษา เช่น สถาบัน กศน.ภาค สถาบันการศึกษา และ พัฒนาต่อเนื่องสิรินธร สถานศึกษาขึ้นตรงสังกัดส่วนกลาง กลุ่มสํานักงาน กศน.จังหวัด ศูนย์ฝึกและพัฒนาราษฎร ไทย บริเวณชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่ 3.2 ยกระดับมาตรฐาน กศน.ตําบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ให้ เป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สําคัญของชุมชน 3.3 ปรับรูปแบบกิจกรรมในห้องสมุดประชาชน ที่เน้น Library Delivery เพื่อเพิ่มอัตราการอ่าน และ การรู้หนังสือของประชาชน 3.4 ให้บริการวิทยาศาสตร์เชิงรุก Science@home โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือนําวิทยาศาสตร์ สู่ ชีวิตประจําวันในทุกครอบครัว 3.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ในรูปแบบ Public Learning Space/ Co- (eaming Space เพื่อการสร้างนิเวศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นสังคม 3.6 ยกระดับและพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นสถาบันพัฒนาอาชีพระดับภาค 3.7 ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานของกลุ่ม กศน. จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ 4. ด้านการบริหารจัดการคุณภาพ 4.1 ขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทบทวนภารกิจบทบาท โครงสร้างของหน่วยงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย 4.2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง และข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการบริหาร จัดการ และการจัดการเรียนรู้ เช่น การปรับหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการจัดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง 4.3 ปรับปรุงแผนอัตรากําลัง รวมทั้งกําหนดแนวทางที่ชัดเจนในการนําคนเข้าสู่ตําแหน่ง การย้าย โอน และ การเลื่อนระดับ 4.4 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตําแหน่งให้ตรงกับ สายงาน และทักษะที่จําเป็นในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 5
4.5 ปรับปรุงระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีความครอบคลุม เหมาะสม เช่น การปรับ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของผู้พิการ เด็กปฐมวัย 4.6 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูล การรายงานผลการดําเนินงาน ข้อมูลเด็กตกหล่นจากการศึกษาในระบบ เด็กเร่ร่อน ผู้พิการ 4.7 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ 4.8 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 และการประเมินคุณภาพ และ ความโปร่งใสการดําเนินงานของภาครัฐ (ITA) 4.9 เสริมสร้างขวัญและกําลังใจให้กับข้าราชการและบุคลากรทุกประเภทในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประกาศ เกียรติคุณ การมอบโล่ / วุฒิบัตร 4.10 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสําหรับประชาชน ภารกิจต่อเนื่อง 1. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 1.1 การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยดําเนินการ ให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อหนังสือเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าจัดการเรียน การ สอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาด โอกาสทางการศึกษา ผ่านการเรียนแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียนแบบชั้นเรียน และการจัด การศึกษาทางไกล 3) พัฒนาประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐานการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านหลักสูตรรูปแบบ/กระบวนการเรียนการสอน สื่อและนวัตกรรม ระบบการวัดและประเมินผล การเรียน และระบบการให้บริการนักศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ 4) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ที่มี ความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กําหนด และสามารถตอบสนองความต้องการ ของ กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วมปฏิบัติ กิจกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดการแข่งขันกีฬา การบําเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด กิจกรรม จิตอาสา และการจัดตั้งชมรม/ชุมนุม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนํากิจกรรมการบําเพ็ญประโยชน์อื่นๆ นอกหลักสูตรมาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้ 1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเป็นระบบเดียวกัน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2) พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร สื่อ แบบเรียนเครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดําเนินงานการ ส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพและบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย 6
3) พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะการ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการรู้หนังสือใน พื้นที่ที่มีความต้องการจําเป็นเป็นพิเศษ 4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือให้กับประชาชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ของประชาชน 1.3 การศึกษาต่อเนื่อง 1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําอย่างยั่งยืน โดยให้ความสําคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทําในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการ บริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละ พื้นที่ มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ ตลอดจน สร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การ พัฒนา หนึ่งตําบลหนึ่งอาชีพเด่น การประกวดสินค้าดีพรีเมี่ยม การสร้างแบรนด์ของ กศน. รวมถึงการส่งเสริมและ จัดหาช่องทางการจําหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ และให้มีการกํากับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทําอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ ที่ สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นของแต่ละบุคคล และมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดํารงชีวิตตลอดจน สามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคม ได้ อย่างมีความสุขสามารถเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อม สําหรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคต โดยจัดกิจกรรมที่ มีเนื้อหาสําคัญต่าง ๆ เช่น การอบรมจิตอาสา การให้ความรู้เพื่อการป้องการการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID - 19) การอบรมพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การอบรมคุณธรรม และจริยธรรม การป้องกันภัย ยาเสพติด เพศศึกษา การปลูกฝังและการสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ ความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ผ่านการ อบรมเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การอบรมส่งเสริมความสามารถ พิเศษต่าง ๆ เป็นต้น 3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ บูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรมการประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรม จิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชน แต่ละพื้นที่ เคารพ ความคิดของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์ รวมทั้งสังคม พหุวัฒนธรรม โดยจัดกระบวนการให้บุคคลรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสร้างกระบวนการจิตสาธารณะ การสร้าง จิตสํานึกความเป็นประชาธิปไตย การเคารพในสิทธิและเสรีภาพ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ความเป็นพลเมือง ที่ดี ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การเป็น จิตอาสา การบําเพ็ญประโยชน์ในชุมชนการ บริหารจัดการ การรับมือกับสาธารณภัย การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีการบริหาร จัดการ ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน 7
1.4 การศึกษาตามอัธยาศัย 1) พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านและพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การพัฒนา กศน. ตําบล ห้องสมุด ประชาชนทุกแห่งให้มีการบริการที่ทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่าย ส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องสมุดชาวตลาด พร้อมหนังสือและอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้ง เสริมสร้างความพร้อมในด้านบุคลากร สื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน อย่างหลากหลายรูปแบบ 2) จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตลอดชีวิต ของประชาชน เป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมฐานวิทยาศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะวิทยาการประจําท้องถิ่น โดยจัดทําและพัฒนานิทรรศการสื่อและกิจกรรมการศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ด้าน วิทยาศาสตร์สอดแทรกวิธีการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ และปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการ กระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมทั้งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริบทของชุมชน และประเทศ รวมทั้งระดับภูมิภาค และ ระดับโลกเพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถนําความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิต การพัฒนา อาชีพ การรักษาสิ่งแวดล้อม การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งมีความสามารถในการปรับตัว รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง (Disruptive Changes) ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ 3) ประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กร หรือภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อส่งเสริม การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีรูปแบบที่หลากหลาย และตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ แหล่งโบราณคดี วัด ศาสนาสถาน ห้องสมุด รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น 2. ด้านหลักสูตร สื่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลงานบริการ ทางวิชาการ และการ ประกันคุณภาพการศึกษา 2.1 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อส่งเสริม การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย ทันสมัย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ หลักสูตร ท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน 2.2 ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 2.3 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลให้มีความทันสมัย หลากหลายช่องทางการเรียนรู้ ด้วยระบบ ห้องเรียนและการควบคุมการสอบรูปแบบออนไลน์ 2.4 พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มีการ ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับรู้และสามารถเข้าถึงระบบการประเมินได้ 2.5 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตร ในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐานโดยการนําแบบทดสอบกลาง และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 8
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การ วัด และประเมินผล และเผยแพร่รูปแบบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตาม อัธยาศัย รวมทั้งให้มีการนําไปสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง 2.7 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน มีการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพ ภายในที่สอดคล้องกับบริบทและภารกิจของ กศน. มากขึ้น เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยพัฒนา บุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสําคัญของระบบการประกันคุณภาพ และสามารถ ดําเนินการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง และจัดให้มี ระบบ สถานศึกษาพี่เลี้ยงเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สําหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพ ภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด 3. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3.1 ผลิตและพัฒนารายการวิทยุและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อให้เชื่อมโยงและตอบสนอง ต่อการ จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา สําหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองให้รู้เท่า ทัน สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เช่น รายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทํา รายการติวเข้มเติมเต็ม ความรู้ รายการ รายการทํากินก็ได้ ทําขายก็ดี ฯลฯ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และทางอินเทอร์เน็ต 3.2 พัฒนาการเผยแพร่การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยผ่านระบบ เทคโนโลยี ดิจิทัล และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Youtube Facebook หรือ Application อื่น ๆ เพื่อส่งเสริม ให้ครู กศน. นําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Do It Yourself : DIY) 3.3 พัฒนาสถานีวิทยุศึกษาและสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการ ออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยาย เครือข่ายการรับฟังให้สามารถรับฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและเพิ่มช่องทาง ให้สามารถรับชม รายการโทรทัศน์ได้ทั้งระบบ Ku - Band C - Band Digital TV และทางอินเทอร์เน็ต พร้อมที่จะ รองรับการพัฒนา เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV) 3.4 พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้ได้หลายช่องทางทั้งทาง อินเทอร์เน็ต และ รูปแบบอื่น ๆ อาทิ Application บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet รวมทั้งสื่อ Offline ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อให้ กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ 3.5 สํารวจ วิจัย ติดตามประเมินผลด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อนําผล มาใช้ ในการพัฒนางานให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของประชาชน ได้อย่างแท้จริง 4. ด้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริหรือโครงการ อันเกี่ยวเนื่อง จากราชวงศ์ 4.2 จัดทําฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริหรือ โครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์เพื่อนําไปใช้ในการวางแผน การติดตามประเมินผลและการ พัฒนางานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 4.3 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อให้เกิด ความเข้มแข็งในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 9
4.4 พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”เพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.5 จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง ถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่ชายขอบ 5. ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่บริเวณ ชายแดน 5.1 พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองปัญหา และ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ 2) พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้ ผู้เรียนสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง 3) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรและ นักศึกษา กศน.ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง 5.2 พัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 1) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทําแผนการศึกษาตามยุทธศาสตร์ และ บริบทของแต่ละจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) จัดทําหลักสูตรการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ โดยเน้นสาขาที่เป็นความต้องการของตลาด ให้ เกิดการพัฒนาอาชีพได้ตรงตามความต้องการของพื้นที่ 5.3 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน(ศฝช.) 1) พัฒนาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกและสาธิต การ ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม และศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดําริปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง สําหรับประชาชนตามแนวชายแดนด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพโดยใช้วิธีการหลากหลายใช้รูปแบบเชิงรุกเพื่อการเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดมหกรรมอาชีพ การประสานความร่วมมือกับเครือข่าย การจัดอบรมแกนนําด้านอาชีพ ที่ เน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชายแดน ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน 6. ด้านบุคลากรระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 6.1 การพัฒนาบุคลากร 1) พัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกประเภทให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่าง การดํารงตําแหน่งเพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตําแหน่ง ให้ตรงกับสาย งาน ความชํานาญ และความต้องการของบุคลากรสามารถปฏิบัติงานและบริหารจัดการการดําเนินงานของ หน่วยงานและ สถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งส่งเสริมให้ข้าราชการในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อน ตําแหน่ง หรือเลื่อนวิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ 2) พัฒนาศึกษานิเทศก์ กศน. ให้มีสมรรถนะที่จําเป็นครบถ้วน มีความเป็นมืออาชีพ สามารถ ปฏิบัติการนิเทศได้อย่างมีศักยภาพ เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยในสถานศึกษา 3) พัฒนาหัวหน้า กศน.ตําบล/แขวงให้มีสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อการบริหารจัดการ กศน.ตําบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อํานวย ความ สะดวกในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง 10
4) พัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ ได้อย่างมีคุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทําแผนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัด และประเมินผล และการวิจัยเบื้องต้น 5) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการการศึกษาและการเรียนรู้ ให้มีความรู้ ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพในการจัดบริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน6) ส่งเสริมให้ คณะกรรมการ กศน. ทุกระดับ และคณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการ บริหารการดําเนินงานตามบทบาท ภารกิจของ กศน.อย่างมีประสิทธิภาพ 7) พัฒนาอาสาสมัคร กศน. ให้สามารถทําหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8) พัฒนาสมรรถนะและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรรวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งใน และ ต่างประเทศในทุกระดับ โดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน ร่วมกัน ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องอาทิ การแข่งขันกีฬา การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการ ทํางาน 6.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากําลัง 1) จัดทําแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดําเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มี ความพร้อมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 2) สรรหา บรรจุ แต่งตั้ง และบริหารอัตรากําลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ให้เป็นไปตามโครงสร้างการบริหารและกรอบอัตรากําลัง รวมทั้งรองรับกับบทบาทภารกิจตามที่กําหนด ไว้ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน 3) แสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการระดมทรัพยากรเพื่อนํามาใช้ ในการ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสําหรับดําเนินกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย และการส่งเสริมการเรียนรู้สําหรับประชาชน 6.3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ. 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ อย่าง เป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนําไปใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการบริหาร การวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผล รวมทั้งจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างมี ประสิทธิภาพ 2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ โดยพัฒนาระบบการกํากับ ควบคุม และเร่งรัด การเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ 3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และ เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับ ผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัย เพื่อ สามารถนํามาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของหน่วยงานและสถานศึกษา 5) สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความ ร่วมมือ ในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ 11
6) ส่งเสริมการใช้ระบบสํานักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) ในการบริหารจัดการ เช่น ระบบการ ลา ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการขอใช้รถราชการ ระบบการขอใช้ห้องประชุม เป็นต้น 7) พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริต และ ประพฤติมิชอบ บริหารจัดการบนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์มีความโปร่งใส 6.4 การกํากับ นิเทศติดตามประเมิน และรายงานผล 1) สร้างกลไกการกํากับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดําเนินงานการศึกษานอก ระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือข่ายทั้งระบบ 2) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ พัฒนาระบบกลไกการกํากับ ติดตามและ รายงานผลการนํานโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดําเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อการกํากับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ 4) พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคํารับรองการปฏิบัติราชการประจําปี ของหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อการรายงานผลตามตัวชี้วัดในคํารับรองการปฏิบัติราชการประจําปี ของสํานักงาน กศน.ให้ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กําหนด 5) ให้มีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ ส่วนกลาง ภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด อําเภอ/เขต และตําบล/แขวง เพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และ การพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3. การจัดการศึกษาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรม/โครงการ/หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ในรูปแบบที่ หลากหลาย ดังนี้ 1) การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นความรู้และทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับ สภาพของแต่ละท้องถิ่น ให้ผู้เรียนมีทักษะความชำนาญการเฉพาะเรื่องสามารถเพิ่มผลผลิต และหรือลดต้นทุนการ ผลิต มีความรู้และทักษะในการจัดการระบบบัญชีการตลาด และการบริหารจัดการอย่างครบวงจร สามารถ ประกอบอาชีพสมัยใหม่ เป็นผู้ประกอบการเอง หรือรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพก็ได้ และรู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อ พัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำอาหาร การทำขนมไทย การนวดแผนไทย การจัดดอกไม้สด การเพาะเห็ดฟาง การประดิษฐ์ของชำร่วย การตัดเสื้อผ้าสตรี การจัดสวนหย่อม งานช่างไม้ งานช่างไฟฟ้า งาน ช่างก่อสร้าง คอมพิวเตอร์เพื่อการประกอบอาชีพ ฯลฯ 2) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดกระบสนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับชีวิตเสริมสร้างความรู้ ความสามารถของบุคคล กระตุ้นให้เกิดวิธีคิด เห็นคุณค่าของตนเอง ซึ่งมีเนื้อหาของกิจกรรมสามารถดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ครอบครัวศึกษา ดนตรี กีฬายาเสพติด ประชาธิปไตย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยคุณธรรมและจริยธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณคดี โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น การเข้าค่าย การแข่งขัน การศึกษาดูงาน ฯลฯ 3) การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายและความ ต้องการของประชาชนในการพัฒนาสังคมและชุมชน บูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ ให้ความรู้และฝึกทักษะตามความ ต้องการของชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เน้นการจัดเวทีชาวบ้าน การจัด กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนการจัดการความรู้ในชุมชน การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชน 12
4) หลักสูตรระยะสั้น เน้นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ กศน. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่คนในชุมชน ให้สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน 5) การศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนในชุมชน โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นศูนย์ สาธิตและทดลองด้านการศึกษาอาชีพ และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง เพื่อพัฒนาแนวการจัด กระบวนการเรียนรุ้ให้ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น 6) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริ โดยคำนึงถึง ทรัพยากรที่เป็นต้นทุนของชุมชน ดำเนินการสร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพภายใต้ วัฒนธรรมของชุมชนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การส่งเสริมการรู้หนังสือ เช่น ศูนย์การเรียนรู้พิกุลทอง จังหวัดนราธวาส ศูนย์การเรียนรู้ห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ หลักการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนด หลักการในการจัดไว้ ดังนี้ 1. หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมชุมชนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติโดยสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติ ผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการสถานศึกษา และหรือเป็นหลักสูตรที่หน่วยงานภาครัฐได้อนุมัติและอนุญาตให้ใช้แล้ว) 2. สื่อและแหล่งค้นคว้า ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับ หลักสูตร และกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน 3. วิทยากร ต้องสรรหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่จะสอนอย่าง แท้จริง และวิทยากรควรผ่านการอบรมการเป็นวิทยากรจากหน่วยงานสถานศึกษาของ กศน. 4. การจัดการเรียนรู้ จะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับความต้องการและบูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้ 5. การจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องเน้นให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและสอดคล้อง กับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 6. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีพการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษาต่อเนื่อง อาจจัดได้ ดังต่อไปนี้ 1. จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2. จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย 3. จัดโดยภาคีเครือข่าย วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากวิทยากร สื่อ หรือการปฏิบัติ โดย วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้ 13
1. การเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ต้องการจะเรียนรู้ในเนื้อหาใด เนื้อหาหนึ่ง ซึ่งเป็นความสนใจเฉพาะตัว ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย โดย ผู้เรียนและวิทยากรร่วมกันวางแผน และออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล 2. การเรียนรู้รายกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแค่สองคนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกินสิบห้าคน ซึ่งมี ความสนใจตรงกันตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง 3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนในแหล่งเรียนรู้ เช่นศูนย์ขยาย เพาะพันธุ์ปลา ศูนย์สาธิตการทำไร่นาสวนผสม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต องค์การชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในการจัด การศึกษาให้กับผู้เรียน 4. การเรียนรู้ในสถานประกอบการ เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานประกอบการ เช่น อู่ซ่อม รถยนต์ ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งประกอบการ SMEs ที่มีส่วนร่วมหรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง 5. การเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เช่น ฐานการเรียนรู้ เกษตรธรรมชาติ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้สุขภาพอนามัย ฐานการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ฐานการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากวิทยากร สถานการณ์จริง หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง 6. การศึกษาทางไกล เป็นวิธีการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างในเรื่องของเวลา สถานที่ เน้นการเรียนรู้ ด้วยตนเองจากสื่อประสมที่หลากหลาย มีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ที่จำเป็น เหมาะสม กับเนื้อหา ตามหลักสูตร รวมทั้งมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือปฏิบัติการจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการ เรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ผู้เรียนจึงต้องวางแผนและสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสรรหาและแต่งตั้งวิทยากร ให้สถานศึกษาสรรหาวิทยากรโดยพิจารณาจากคุณสมบัติดังนี้ 1.เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิหรือเกียรติบัตรรับรอง หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้วามสามารถ ทักษะ ในสาขาวิชาหรือหลักสูตรนั้น ๆ 2. เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพสาขาวิชาหรือหลักสูตรนั้น ๆ 3. เป็นผู้ที่ มีความสามารถและป ระสบ การณ์ ในการถ่ายทอดความ รู้ให้แก่ผู้เรียน การแต่งตั้งวิทยากร ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. เป็นผู้อนุมัติแต่งตั้ง โดยจัดทำเป็นคำสั่ง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย เตรียมความพร้อมในเรื่องหลักสูตร วิทยากร สถานที่วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อ ต่อการจัดการศึกษา 2. ผู้เรียนสมัครและลงทะเบียนเรียนต่อสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย 3. สถานศึกษาพิจารณาอนุญาตและจัดส่งผู้เรียนได้เรียนกับวิทยากรในแหล่งการเรียนรู้สถานประกอบการ ที่เหมาะสมตามหลักสูตร 4. วิทยากรประเมินพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนก่อนจัดกระบวนการเรียนรู้ 5. ผู้เรียนกับวิทยากรร่วมกันจัดทำแผนการเรียนรู้ 6. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 14
7. วิทยากรประเมินผลการเรียนระหว่างเรียนและหลังจบหลักสูตร รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของ ผู้เรียน การวัดผลประเมินผลและรายงานผลการเรียน การวัดผลประเมินผลให้ดำเนินการตามที่หลักสูตรกำหนด ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น 1. ประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ ด้วยการซักถาม ทดสอบและปฏิบัติ 2. ประเมินด้านคุณธรรม ด้วยแบบประเมินคุณธรรม 3. ประเมินชิ้นงาน ด้วยผลงานที่ปฏิบัติ 4. ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยแบบสอบถาม การออกหลักฐานการศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในหลักฐานการศึกษา ตามหลักสูตรกำหนด โดยระบุชื่อ วิชา/กิจกรรม ระยะเวลา ในกรณีภาคีเครือข่ายที่ไม่ใช่สถานศึกษาเป็นผู้จัดให้ส่งหลักฐานการจบการศึกษาให้กับผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเป็นผู้ออกวุฒิบัตร แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ ควรมีลักษณะ ดังนี้ 1. อยู่ในทำเลที่ตั้งที่ผู้เรียนสามารถเดินทางได้สะดวก ปลอดภัย 2 มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ 3. เป็นแหล่งการเรียนรู้/สถานประกอบการ ที่มีการดำเนินงานมั่นคง น่าเชื่อถือเป็นที่ ยอมรับในสังคม 4. มีความพร้อม มีวิทยากร หรือผู้ให้ความรู้ประจำ สามารถจัดการเรียนรู้ หรือจัดการ เรียนการสอนจนจบหลักสูตรหรือจบกระบวนการได้ รวมทั้งสามารถให้การฝึกปฏิบัติแก่ผู้เรียนจนสามารถปฏิบัติใน เรื่องนั้น ๆ ได้ 5. สามารถจัดบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม พัฒนากับสถานศึกษาได้ 6. มีทัศนคติ เจตคติที่ดีต่อการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้อื่น 7. สามารถดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และรับผิดชอบผู้เรียนจนจบหลักสูตร ขั้นตอนการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง 1. จัดทำเวทีประชาคมเพื่อทราบความต้องการของประชาชนภายในชุมชน ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 1.1 บันทึกสรุปเนื้อหาเวทีประชาคม 1.2 บัญชีรายชื่อผู้ร่วมและลงลายมือชื่อผู้ร่วมเวทีประชาคม 1.3 บันทึกเสนอผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ (แนบเอกสาร 1.1,1.2 ) 2. รับสมัครผู้เรียน / วิทยากร ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 2.1 ใบสมัครเรียน 2.2 ใบสมัครวิทยากร - เอกสารที่วิทยากรต้องแนบ 16
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2. วุฒิการศึกษา หรือใบประกาศ 3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป 3. ขออนุญาตเปิดกลุ่ม ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 3.1 บันทึกขออนุญาตเปิดกลุ่ม 3.2 สำเนารายงานขอเปิด (จากโปรแกรมสำเร็จรูป) 3.3 รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 3.4 แผนการสอน 3.5 คำสั่งแต่งตั้งวิทยากร 3.6 ใบสมัครผู้เรียน 3.7 ใบสมัครวิทยากร 4. รายงานแจ้งการจัดการศึกษา ส่งถึง สำนักงาน กศน.จังหวัดล่วงหน้าก่อนวันจัดกิจกรรม 7 วัน ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 4.1 หนังสือนำรายงานการจัดการศึกษา 4.2 บันทึกขออนุญาตเปิดกลุ่ม 4.3 สำเนารายงานขอเปิด (จากโปรแกรมสำเร็จรูป) 5. เตรียมเอกสาร วัสดุ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 6. ขออนุมัติเบิกจ่ายค่าวัสดุ ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 6.1 หนังสือนำขอส่งหลักฐานเบิกเงินงบประมาณค่าวัสดุ 6.2 บันทึกทราบผลการตรวจรับพัสดุและขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน 6.3 ใบตรวจรับพัสดุ 6.4 ใบส่งของ (กรณีทดรองจ่ายแนบใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน) 6.5 บันทึกขออนุมัติ จัดซื้อ/จัดจ้าง 6.6 บัญชีประมาณการขออนุมัติ จัดซื้อ/จัดจ้าง 6.7 ใบสั่งซื้อ (กรณีจำนวนเงิน เกินกว่า 5,000บาท) 6.8 ใบเสนอราคา 6.9 บันทึกขอเบิกวัสดุเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน 6.10 ประมาณการวัสดุที่ขอเบิก 7. ดำเนินกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษา ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 7.1 บัญชีลงเวลาวิทยากร 7.2 บัญชีลงเวลาผู้เรียน 7.3 แบบบันทึกตรวจเยี่ยม 7.4 แบบประเมินผลผู้เรียน (เฉพาะผู้เรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ) 7.5 แบบประเมินความพึงพอใจผู้เรียน/การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน 7.6 แบบติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตร (เฉพาะผู้เรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ) 17
8. รายงานผลการจัดกิจกรรมการศึกษา ส่งถึง สำนักงาน กศน.จังหวัดภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วัน สุดท้ายของการจัดกิจกรรม ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 8.1 หนังสือนำรายงานผลการจัดการศึกษา 8.2 รายงานผู้จบหลักสูตร (พิมพ์จากโปรแกรมสำเร็จรูป) 8.3 ภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบาย 9. ขออนุมัติเบิกจ่ายค่าตอนแทน 9.1 หนังสือนำส่งหลักฐานการเบิกเงินค่าตอบแทนวิทยากร 9.2 บันทึกข้อความขออนุมัติเบิกเงิน (ที่ ผอ.กศน.อำเภออนุมัติแล้ว) 9.3 รายงานสรุปการขอเบิกเงินค่าตอบแทนวิทยากร 9.4 บัญชีลงเวลาขอวิทยากร 9.5 บัญชีลงเวลาของผู้เรียน 9.6 สำเนาคำสั่งแต่งตั้งวิทยากร 9.7 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของวิทยากร 9.8 สำเนาหน้าบัญชีธนาคารของวิทยากร 9.9 ใบสำคัญรับเงินของวิทยากร 10. สรุปรูปเล่มผลการดำเนินงานของการจัดกิจกรรมการศึกษา ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 10.1 บันทึกรายงานผลเสนอผู้บริหาร 10.2 รูปเล่ม 18
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ โดย กศน.ตำบลพลูตาหลวง จัดทำ พัฒนาอาชีพ ดังนี้ 1. ประชุมบุคลากรกรรมการสถานศึกษา 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. ประสานงานกับหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผน 5. วัดผล/ประเมินผล/สรุปผลและรายงาน 1. ประชุมบุคลากรกรรมการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ ได้วางแผนประชุม บุคลากรกรรมการ สถานศึกษาและผู้แทนเยาวชนเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานและกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน 2. จัดตั้งคณะทำงาน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อมอบหมายหน้าที่ในการทำงานให้ชัดเจน เช่น 1) คณะกรรมการที่ปรึกษา/อำนวยการ มีหน้าที่อำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาที่ อาจจะเกิดขึ้น 2) คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ประชาสัมพันธ์รับผู้เข้าร่วมอบรม 3) คณะกรรมการฝ่ายรับลงทะเบียนและประเมินผลมีหน้าที่จัดทำหลักฐานการลงทะเบียนผู้เข้าร่วม กิจกรรม และรวบรวมการประเมินผล และรายงานผลการดำเนินกิจกรรม 3. ประสานกับหน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประสานเครือข่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสานเรื่องสถานที่ใช้ในการเข้าอบรม ประสานคณะ กรรรมการสถานศึกษา ประสานงานกับทีมวิทยากร และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในโครงการ 4. ดำเนินการตามแผนงาน โดยการสำรวจความต้องการของชุมชนว่าต้องการที่จะให้เปิดอบรมอาชีพอะไรบ้าง แล้วนำข้อมูล มาประสานแผนกับอบต.ตำบลพลูตาหลวง เพื่อที่จะจัดไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน สรุปได้ว่าในงบประมาณปี 2565 นั้น กศน.ตำบลพลูตาหลวงได้จัดทำแผนไว้ทั้งหมด 2 หลักสูตร และได้ดำเนินการตามแผน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 5. วัดผล/ประเมินผล/สรุปผลและรายงาน จาการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 2 อาชีพ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สัตหีบ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ เพื่อให้ประชาชนในตำบลพลูตาหลวง ที่ได้เข้ารับการอบรมจะได้รับประสบการณ์ โดยตรงและสามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพที่ยั่งยืนได้ มีผู้เข้าร่วมการอบรมอาชีพ 2 อาชีพ จำนวน 17 คน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้อบรมได้รับประโยชน์นำไปใช้ได้จริง ตามศักยภาพของแต่ละคน ให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน
และได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือโดยกำหนดค่าลำดับความสำคัญของการ ประเมินผลออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ มากที่สุด ให้คะแนน 5 มาก ให้คะแนน 4 ปานกลาง ให้คะแนน 3 น้อย ให้คะแนน 2 น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 ในการแปลผล ผู้จัดทำได้ใช้เกณฑ์การพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยตามแนวคิดของ บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิวแก้ว (2535, หน้า 22-25) 4.51-5.00 หมายความว่า มากที่สุด 3.51-4.50 หมายความว่า มาก 2.51-3.50 หมายความว่า ปานกลาง 1.51-2.50 หมายความว่า น้อย 1.00-1.50 หมายความว่า น้อยที่สุด ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องกรอกข้อมูลตามแบบสอบถาม เพื่อจะนำไปใช้ในการประเมินผลของการจัด กิจกรรมดังกล่าว และจะได้นำไปเป็นข้อมูล ปรับปรุง และพัฒนา ตลอดจนใช้ในการจัดทำแผนการดำเนินการในปี ต่อไป 20
บทที่ 4 ผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการดำเนินงานการจัดหลักสูตรระยะสั้น วิชาการทำเบเกอรี่ซึ่งจัดในระหว่างวันที่ 27-30 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30-12.30น. ณ เลขที่ 122/38 หมู่ที่ 4 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัด ชลบุรีของ กศน.ตำบลพลูตาหลวง ในการให้ความรู้เรื่องการประกอบอาชีพ วิชาการทำเบเกอรี่ มีผู้เข้าอบรม จำนวน 6 คน โดยมีนางสาวจำรัส แพรพันธ์เป็นวิทยากร นั้น ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ สรุปผลการดำเนินการอบรม วิชาการทำเบเกอรี่ ได้ดังนี้คือ 1. หลักสูตร 16 ชั่วโมง 2. ผู้เข้าอบรมจำนวน 6 คน 3. งบประมาณ จำนวน 4,200.- บาท 4. วิทยากร นางสาวจำรัส แพรพันธ์ 5. สถานที่ เลขที่ 122/38 หมู่ที่ 4 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 6. ผู้ประสานงานในพื้นที่ นางสุภาภรณ์ นวมมา ตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบลพลูตาหลวง นางสาวเกษนีย์ เดชรักษา ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลพลูตาหลวง ตารางสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้อบรมจากแบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด โดยใช้ค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้ารับการอบรมวิชาการทำเบเกอรี่ ผู้เข้ารับการอบรมฯ ที่ตอบแบบสอบถามได้นำมาจำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ ผู้จัดทำได้เสนอจำแนก ตามข้อมูลดังกล่าว ดังปรากฎตาม ตารางที่ 1 ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามเพศ เพศ ความคิดเห็น ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรมกลุ่มสนใจวิชาการทำเบเกอรี่ - - 6 100 จากตารางที่ 1 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมอบรม วิชาการทำเบเกอรี่ เป็นหญิง 6 คน คิด เป็นร้อยละ 100.00 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแทนแบบสอบถาม โดยจำแนกตามอายุ อายุ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 15 ปี 15-59 ปี 60 ปีขึ้นไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรมวิชาการทำเบเกอรี่ - - 5 83.34 1 16.67 จากตารางที่ 2 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามผู้เข้ารับอบรม วิชาการทำเบเกอรี่ช่วงอายุ 15-59 ปี จำนวน 5 คน คิด เป็นร้อยละ 83.34 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 23
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามอาชีพ ประเภท ความคิดเห็น รับจ้าง ค้าขาย แม่บ้าน รับราชการ อื่น ๆ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรม วิชาการทำเบเกอรี่ 1 16.67 5 83.34 จากตารางที่ 3 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ละ 6.79 และอาชีพอื่นๆ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 83.34 ตอนที่2 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับอบรมวิชาการทำเบเกอรี่ ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 6 คน จากแบบสอบถามทั้งหมดที่มีต่อหลักสูตร ตารางที่ 4 ผลการประเมินหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ เนื้อหาหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ N =6 µ σ อันดับที่ ระดับผลการประเมิน 1.กิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4.50 0.55 3 มาก 2.เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม 4.83 0.41 1 มากที่สุด 3.การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถคิดเป็น แก้ปัญหาได้ 4.83 0.41 1 มากที่สุด 4.ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการ จัดทำหลักสูตร 4.67 0.52 2 มากที่สุด 5.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.67 0.52 2 มากที่สุด 6.สื่อ/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 4.67 0.52 2 มากที่สุด 7.วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรม 4.67 0.52 2 มากที่สุด 8.เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมของวิทยากร 4.83 0.41 1 มากที่สุด 9.วิทยากรมีการใช้สื่อสอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม 4.67 0.52 2 มากที่สุด 10.บุคลิกภาพของวิทยากร 4.67 0.52 2 มากที่สุด 11.สถานที่ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 4.67 0.52 2 มากที่สุด 12.ระยะเวลาในการจัดเหมาะสม 4.67 0.52 2 มากที่สุด 13.ความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับการอบรม 4.50 0.55 3 มาก ค่าเฉลี่ย 4.68 0.50 มากที่สุด จากตาราง 4 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อ วิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม,การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้าอบรม สามารถคิดเป็น แก้ปัญหาได้,เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมของวิทยากร, (µ= 4.83) เป็นอันดับที่1 ผู้เข้า รับการอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำหลักสูตร, ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้,สื่อ/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม,วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการจัด กิจกรรม,วิทยากรมีการใช้สื่อสอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม,บุคลิกภาพของวิทยากรสถานที่ในการจัดกิจกรรม 22 24
เหมาะสม,ระยะเวลาในการจัดเหมาะสม(µ =4.67) กิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเหมาะสม, (µ =4.50) ตามลำดับ ตารางที่ 5 ผลการประเมินการอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ ข้อมูลอื่นๆอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ N =6 µ σ อันดับที่ ระดับผลการ ประเมิน 1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม 4.83 0.41 1 มากที่สุด 2. ความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรม 4.51 0.75 3 มากที่สุด 3. การคิดอย่างมีเหตุผล 4.50 0.84 4 มาก 4. การเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น 4.83 0.41 1 มากที่สุด 5.การรู้จัก และเข้าใจตนเอง 4.67 0.52 2 มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.66 0.58 มากที่สุด จากตารางที่ 5 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ เป็นรายพบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม,การเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น(µ =4.83) เป็นอันดับที่ 1 การรู้จัก และเข้าใจตนเอง (µ =4.67) ความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรม (µ =4.51) การคิดอย่างมีเหตุผล (µ =4.50) ตามลำดับ อภิปรายผล จากการจัดการอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ 1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นต่อการอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ทั้ง 2 ด้านกล่าวคือ สามารถ นำความรู้เพื่อการนำทักษะการเรียนรู้ ไปใช้ชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด 4.67 2. เมื่อผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมหลักสูตรวิชาการทำเบเกอรี่ อยู่ในระดับมาก แสดงว่า การเข้ารับการอบรมดังกล่าวตรงกับความต้องการของผู้เข้าร่วมการอบรม ข้อเสนอแนะ - ต้องการให้มาฝึกอาชีพอื่นๆอีก มีการสอนอาชีพที่มีความหลากหลาย จากผลการดำเนินงานการจัดหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบชั้นเรียน วิชาศิลปะผ้าด้นมือ ซึ่งจัดในระหว่างวันที่ 17-25 มกราคม 2565 เวลา 08.30-12.30น. ณ อบต.ตำบลพลูตาหลวง หมู่ที่ 2 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีของ กศน.ตำบลพลูตาหลวง ในการให้ความรู้เรื่องการประกอบอาชีพ วิชาศิลปะผ้าด้นมือ มีผู้เข้าอบรม จำนวน 11 คน โดยมี นางพวงเพ็ญ พวงผิว เป็นวิทยากร นั้น ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ สรุปผลการดำเนินการอบรม วิชาศิลปะผ้าด้นมือ ได้ดังนี้คือ 1. หลักสูตร 32 ชั่วโมง 2. ผู้เข้าอบรมจำนวน 11 คน 3. งบประมาณ จำนวน 8,100.- บาท 4. วิทยากร นางพวงเพ็ญ พวงผิว 5. สถานที่ ณ อบต.ตำบลพลูตาหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 6. ผู้ประสานงานในพื้นที่ 23
นางสุภาภรณ์ นวมมา ตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบลพลูตาหลวง นางสาวเกษนีย์ เดชรักษา ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลพลูตาหลวง ตารางสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้อบรมจากแบบสอบถาม จำนวน 11 ชุด โดยใช้ค่าเฉลี่ยมาตรฐาน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้ารับการอบรมวิชาศิลปะผ้าด้นมือ ผู้เข้ารับการอบรมฯ ที่ตอบแบบสอบถามได้นำมาจำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ ผู้จัดทำได้เสนอจำแนก ตามข้อมูลดังกล่าว ดังปรากฎตาม ตารางที่ 1 ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามเพศ เพศ ความคิดเห็น ชาย หญิง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรมกลุ่มชั้นเรียนวิชาศิลปะผ้าด้นมือ - - 11 100 จากตารางที่ 1 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมอบรม วิชาศิลปะผ้าด้นมือ เป็นหญิง 11 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแทนแบบสอบถาม โดยจำแนกตามอายุ อายุ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 15 ปี 15-59 ปี 60 ปีขึ้นไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรมวิชาศิลปะผ้าด้นมือ - - 5 45.45 6 54.55 จากตารางที่ 2 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามผู้เข้ารับอบรม วิชาศิลปะผ้าด้นมือ ช่วงอายุ 15-59 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 45.45 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยจำแนกตามอาชีพ ประเภท ความคิดเห็น รับจ้าง ค้าขาย แม่บ้าน รับราชการ อื่น ๆ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ผู้เข้าอบรม วิชาศิลปะผ้าด้น มือ 1 8.33 10 91.67 จากตารางที่ 3 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ มีอาชีพค้าขาย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 และแม่บ้าน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 24
ตอนที่2 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เข้ารับอบรมวิชาศิลปะผ้าด้นมือ ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 11 คน จากแบบสอบถามทั้งหมดที่มีต่อหลักสูตร ตารางที่ 4 ผลการประเมินหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ เนื้อหาหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ N =11 µ σ อันดับที่ ระดับผลการประเมิน 1.กิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4.67 0.49 3 มากที่สุด 2.เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม 4.83 0.39 1 มากที่สุด 3.การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถคิดเป็น แก้ปัญหาได้ 4.83 0.39 1 มากที่สุด 4.ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำ หลักสูตร 4.83 0.39 1 มากที่สุด 5.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.67 0.49 3 มากที่สุด 6.สื่อ/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 4.58 0.51 4 มากที่สุด 7.วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรม 4.58 0.51 4 มากที่สุด 8.เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมของวิทยากร 4.67 0.49 3 มากที่สุด 9.วิทยากรมีการใช้สื่อสอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม 4.67 0.49 3 มากที่สุด 10.บุคลิกภาพของวิทยากร 4.83 0.39 1 มากที่สุด 11.สถานที่ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 4.75 0.45 2 มากที่สุด 12.ระยะเวลาในการจัดเหมาะสม 4.83 0.39 1 มากที่สุด 13.ความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับการอบรม 4.50 0.52 5 มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71 0.46 มากที่สุด จากตาราง 4 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ อยู่ในระดับ มาก เมื่อ วิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม ,การจัดกิจกรรมทำให้ผู้เข้า อบรมสามารถคิดเป็น แก้ปัญหาได้,ผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำหลักสูตร, บุคลิกภาพของวิทยากร,ระยะเวลาในการจัดเหมาะสม (µ= 4.83) เป็นอันดับที่1 สถานที่ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม (µ =4.75) กิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร,ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้,เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมของวิทยากร,วิทยากรมีการใช้สื่อสอดคล้องและเหมาะสม กับกิจกรรม(µ =4.67) สื่อ/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม,วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการ จัดกิจกรรม (µ =4.58)และความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับการอบรม (µ =4.50) ตามลำดับ 25
ตารางที่ 5 ผลการประเมินการอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ ข้อมูลอื่นๆอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ N =11 µ σ อันดับที่ ระดับผลการ ประเมิน 1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม 4.67 0.49 2 มากที่สุด 2. ความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรม 4.83 0.39 1 มากที่สุด 3. การคิดอย่างมีเหตุผล 4.83 0.39 1 มากที่สุด 4. การเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น 4.83 0.39 1 มากที่สุด 5.การรู้จัก และเข้าใจตนเอง 4.67 0.49 2 มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.77 0.43 มากที่สุด จากตารางที่ 5 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ อยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็น รายพบว่า ความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรม,การคิดอย่างมีเหตุผล,การเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น (µ =4.83.) เป็นอันดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม,การรู้จัก และเข้าใจตนเอง (µ =4.67) ตามลำดับ อภิปรายผล จากการจัดการอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ 1. ผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นต่อการอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ ทั้ง 2 ด้านกล่าวคือ สามารถ นำความรู้เพื่อการนำทักษะการเรียนรู้ ไปใช้ชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก 4.67 2. เมื่อผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมหลักสูตรวิชาศิลปะผ้าด้นมือ อยู่ในระดับมาก แสดงว่า การเข้ารับการอบรมดังกล่าวตรงกับความต้องการของผู้เข้าร่วมการอบรม ข้อเสนอแนะ ต้องการให้มาฝึกอาชีพอื่นๆอีก มีการสอนอาชีพที่มีความหลากหลาย 26
บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินการ ผลที่ปรากฏ การดำเนินการหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบกลุ่มสนใจ ในปีงบประมาณ 2565 ของ กศน.ตำบลพลูตาหลวง ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้สรุปผลจากแบบสอบถามและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากผู้เข้าร่วมอบรม วิชาการทำเบเกอรี่ จำนวน 6 ชุด ตลอดระยะเวลาที่รับการอบรม โดยมีการซักถามพูดคุยตอบ โต้ อาจารย์ผู้สอนอย่างสนใจ ในด้านต่างๆ คือ ด้านหลักสูตร 1.ผู้เรียนมีความพึงพอใจ 2.เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม 3.ผู้เข้าอบรมจำนวน 6 คน นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต 6 คน ด้านวิทยากร 1.มีความรู้ความสามารถในวิชาการทำเบเกอรี่เป็นอย่างดี 2.เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของวิทยากรดี 3.วิทยากรมีอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ 4.วิทยากรแต่งกาย,พูดจาไพเราะ,อัธยาศัยดี ด้านสถานที่ ระยะเวลา และความพึงพอใจ 1.สถานที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะ 2.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะ 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมอบรม สรุปผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมอบรมวิชาการทำเบเกอรี่ มึความรู้ในการวิชาการทำเบเกอรี่ มีอาชีพที่สามารถเพิ่มพูนรายได้ ใน ชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ผลที่ปรากฏ การดำเนินการหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบชั้นเรียน ในปีงบประมาณ 2565 ของกศน.ตำบลพลูตาหลวง ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้สรุปผลจากแบบสอบถามและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากผู้เข้าร่วมอบรม วิชาศิลปะผ้าด้นมือ จำนวน 11 ชุด ตลอดระยะเวลาที่รับการอบรม โดยมีการซักถามพูดคุยตอบ โต้ อาจารย์ผู้สอนอย่างสนใจ ในด้านต่างๆ คือ ด้านหลักสูตร 1.ผู้เรียนมีความพึงพอใจ 2.เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการของผู้เข้าอบรม 3.ผู้เข้าอบรมจำนวน 11 คน นำไปเป็นเพิ่มรายได้ 1 คน และพัฒนาคุณภาพชีวิต 10 คน ด้านวิทยากร 1.มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะผ้าด้นมือเป็นอย่างดี 2.เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของวิทยากรดี 3.วิทยากรมีอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ 4.วิทยากรแต่งกาย,พูดจาไพเราะ,อัธยาศัยดี ด้านสถานที่ ระยะเวลา และความพึงพอใจ 1.สถานที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะ 2.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะ 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมอบรม สรุปผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมอบรมวิชาศิลปะผ้าด้นมือ มึความรู้ในการวิชาศิลปะผ้าด้นมือ มีอาชีพที่สามารถเพิ่มพูนรายได้ ในชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 28
ภาคผนวก
แบบสำรวจความต้องการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว 1. ชื่อ (นาย,นาง,นางสาว)............................................................นามสกุล....................................................... 2. อาชีพปัจจุบัน ไม่มี มี ระบุอาชีพ.................................................................................................. 3. วุฒิการศึกษา................................................................................................................................................ 4. ที่อยู่ปัจจุบัน หมู่บ้าน.....................................บ้านเลขที่.............หมู่ที่..............ตำบล/แขวง......................... อำเภอ.......................จังหวัด...........................รหัสไปรษณีย์.............................เบอร์โทรศัพท์.................................. ส่วนที่ 2 มีความต้องการเรียนรู้และฝึกอาชีพ การทำลายเสื้อยืดจากบาติก การออกแบบตัดเย็บเบาะรองนั่ง การทำสังขยามันม่วง การทำปาท่องโก๋ ผลิตภัณฑ์จากเชือก การทำปุ๋ยหมัก คอมพิวเตอร์ชั้นสูง การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำชีวภาพ ช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ การสานตะกร้าจากไหมพลาสติก จักสาน การทำปุ๋ยอัดเม็ด ช่างซ่อมพัดลม การสานตะกร้ามัดเชือกฟาง การขยายพันธุ์พืช ช่างซ่อมแอร์ การถักโครเชต์ การเพาะเห็ด ช่างซ่อมรองเท้า ดอกไม้ประดิษฐ์ ดอกไม้ผ้าใยบัว ช่างไฟฟ้าเบื้องต้น การจัดดอกไม้สด เย็บผ้าอเนกประสงค์ ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์ การทำบายศรีใบตอง พวงหรีดผ้า ช่างเชื่อมโลหะเบื้องต้น เดคูพาจ การทำดอกไม้จันทน์ ช่างแต่งหน้า การทำอาหาร-ขนม การทำเบเกอรี่ ช่างเสริมสวย ช่างตัดผมชาย การทำซูชิ เพ้นท์เล็บ การทำอิฐบล็อก อื่นๆ........................ ส่วนที่ 3 วันและเวลาที่สะดวกต่อการเข้าเรียนอาชีพ กับ กศน. วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ( ) 09.00-12.00 น. ( ) 13.00-16.00 น. ( ) 17.00-20.00 น. วัน……………… เวลา ( ) 09.00-12.00 น. ( ) 13.00-16.00 น. ( ) 17.00-20.00 น. วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ( ) 09.00-12.00 น. ( ) 13.00-16.00 น. ( ) 17.00-20.00 น. อื่น ๆ โปรดระบุ.......................................................................................... ส่วนที่ 4 เหตุผลของความต้องการเรียนรู้และฝึกทักษะ ต้องการมีรายได้เสริม ต้องการมีอาชีพ ต้องการได้รับการพัฒนา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อื่นๆ (โปรดระบุ)............................................................... หมายเหตุ สถานศึกษาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม
ใบสมัครวิทยากรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง วันที่................เดือน................................พ.ศ. ............. ข้าพเจ้า(นาย/นาง/นางสาว)..............................................................................................อายุ....................ปี เลขประจำตัวประชาชน เกิดวันที่.............เดือน..........................พ.ศ. .............จังหวัด.......................สัญชาติ..................เชื้อชาติ..................... ศาสนา.............ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่...............หมู่ที่..................ถนน................................ตำบล.............................. อำเภอ............................จังหวัด...............................รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์.................................... วุฒิการศึกษา.................................................................สาขาวิชา.............................................................................. ความสามารถพิเศษ.............................................................ปัจจุบันประกอบอาชีพ............................................... สถานที่ทำงาน.................................................................ตำบล..................................อำเภอ................................. จังหวัด...........................รหัสไปรษณีย์........................................ประสบการณ์งานการศึกษาต่อเนื่อง เคยสอน หลักสูตรระยะสั้นวิชา...............................................................................................ระยะเวลา...............................ปี สถานที่สอน..................................................อำเภอ...........................................จังหวัด.............................................. ขอสมัครเป็นวิทยากรสอนหลักสูตรระยะสั้นวิชา.......................................................................................................... ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารรับรองความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ สาขาที่ประสงค์จะสมัครเป็นวิทยากรเพื่อประกอบการพิจารณา หากข้าพเจ้าได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นวิทยากร หลักสูตรระยะสั้น ข้าพเจ้าจะอุทิศเวลาเพื่อการศึกษาของประชาชน พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ อย่างเคร่งครัด และ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (ลงชื่อ)....................................................... (.......................................................) หมายเหตุ 1. แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ 2. แนบสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ 3. ใบรับรองการเป็นวิทยากร 1 ฉบับ (ถ้ามี) ติดรูป
ใบสมัครวิชา.................................................................. สถานศึกษา..ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ ข้อมูลส่วนตัว (กรอกข้อมูลด้วยตัวบรรจง) ชื่อ-นามสกุล (นาย/ นาง/ นางสาว)................................................................................................................. เลขประจำตัวประชาชน......................................................เกิดวันที่............/................../...........อายุ.............. ปี สัญชาติ...................... ศาสนา....................... อาชีพ........................รายได้เฉลี่ยต่อเดือน....................บาท ความรู้สูงสุดจบระดับ.............................จากสถานศึกษา..........................................จังหวัด........................... บิดา ชื่อ-สกุล ........................................................................... อาชีพ ............................... ............................ มารดา ชื่อ-สกุล ....................................................................... อาชีพ ........................................... ................ ที่อยู่ปัจจุบัน................................. หมู่ที่................................... หมู่บ้าน........................................................... ตำบล........................................ อำเภอ........................................ จังหวัด........................................................ รหัสไปรษณีย์........................................................ โทรศัพท์............................................................................ ความสามารถพิเศษ (ถ้ามี).............................................................................................................................. .................................................................................................................................... ..................................... สนใจสมัครเข้าร่วมหลักสูตรระยะสั้นเนื่องจาก .....(ตอบได้ไม่เกิน 3 ข้อ) ต้องการความรู้เพิ่มเติมเพื่อประกอบอาชีพ ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต้องการมีอาชีพเสริม ต้องการนำไปเป็นอาชีพยั่งยืน ท่านได้รับข่าวสารการรับสมัครจาก...................................................................................................................... พร้อมกันนี้ได้แนบเอกสาร สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป อื่น ๆ .......................................................... สำหรับเจ้าหน้าที่รับสมัคร ตรวจสอบรายละเอียด/ความเห็น ลงชื่อ........................................ผู้สมัคร ................................................... (...........................................................) ลงชื่อ..........................................ผู้รับสมัคร วันที่/เดือน/ปี......................................
แบบประเมินผู้เรียน / ผู้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ส่วนที่ 1 คำชี้แจง ใส่เครื่องหมาย/ลงในช่องที่ตรงกับข้อมูลของท่านเพียงช่องเดียว เพศ ชาย หญิง อายุ 15-29ปี 30-39ปี 40-49 ปี 50-59 60 ปีขึ้นไป อาชีพ รับจ้าง ค้าขาย เกษตรกรรม รับราชการ อื่นๆ ส่วนที่ 2 ด้านความพึงพอใจของผู้เรียน/ผู้รับบริการ (ใส่เครื่องหมาย/ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านเพียงช่องเดียว ข้อที่ รายการ ระดับการประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 1 กิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2 เนื้อหาของหลักสูตรตรงกับความต้องการ 3 การจัดกิจกรรมทำให้ผู้รับบริการสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ 4 ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อ การจัดทำหลักสูตร 5 ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ 6 สื่อ/เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมมีความ เหมาะสม 7 วิทยากรมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรม 8 เทคนิค/กระบวนการในการจัดกิจกรรมของ วิทยากร 9 วิทยากรมีการใช้สื่อสอดคล้องและเหมาะสมกับ กิจกรรม 10 บุคลิกภาพของวิทยากร 11 สถานที่ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม 12 ระยะเวลาในการจัดเหมาะสม 13 ความพึงพอใจในภาพรวมของผู้รับการอบรม
ตอนที่ 3 ข้อมูลอื่นในการอบรม ที่ การแสดงความคิดเห็น ระดับความคิดเห็น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด 1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม 2.ความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ 3. การคิดอย่างมีเหตุผล 4. การเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น 5. การรู้จัก และเข้าใจตนเอง ข้อเสนอแนะ
ผู้จัดทำ ที่ปรึกษา 1.นางสุรัสวดี เลี้ยงสุพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอสัตหีบ 2.นางสุพัด นำเจริญลาภ ครูชำนาญการ 3.นายทัพพเทพ อรเนตร ครูผู้ช่วย ผู้จัดทำ นางสุภาภรณ์ นวมมา ตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบลพลูตาหลวง นางสาวเกษนีย์ เดชรักษา ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลพลูตาหลวง