The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by auttayan.pai, 2023-02-22 01:12:37

การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ประภาศิริ เดชประเสริฐ

การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ACCOUNTING INFORMATION DEVELOPMENT : A CASE STDU OF IDEA SUIT SHOP BUSINESS KANTHARAWICHAI DISTRICT MAHA SARAKHAM PROVINCE. ประภาศิริ เดชประเสริฐ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี อาชีวศึกษามหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พ.ศ. 2566


การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ACCOUNTING INFORMATION DEVELOPMENT : A CASE STDU OF IDEA SUIT SHOP BUSINESS KANTHARAWICHAI DISTRICT MAHA SARAKHAM PROVINCE. ประภาศิริ เดชประเสริฐ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี อาชีวศึกษามหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พ.ศ. 2566


ก กิตติกรรมประกาศ การศึกษาการพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาช่วยเหลือ แนะนำให้คำ ปรึกษาตรวจสอบแก้ไข ข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งจาก อาจารย์จินตนา คำทอง อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เขียนกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ให้ความอนุเคราะห์และความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลืออีกหลายท่าน ซึ่งผู้เขียนไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ ได้หมด จึงขอขอบคุณทุกท่านเหล่านั้นไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย คุณค่าทั้งหลายที่ได้รับจากโครงการศึกษาการ พัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้เขียนขอมอบเป็นกตัญญูกตเวทีแด่บิดามารดาและ บูรพาจารย์ที่เคยอบรมส่งสอน รวมทั้งผู้มีพระคุณ ทุกท่าน ประภาศิริ เดชประเสริฐ


ข ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้าน สูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) ACCOUNTING INFORMATION DEVELOPMENT : A CASE STUDY OF IDEA SUIT SHOP BUSINESS KANTHARAWICHAI DISTRICT MAHA SARAKHAM PROVINCE. ผู้จัดทำโครงการ ประภาศิริ เดชประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์จินตนา คำทอง ปริญญา เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม ปีการศึกษา พ.ศ. 2566 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยมีประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านสูทไอเดีย จำนวน 1 คน และผู้ใช้บริการร้านสูท จำนวน 50 แล้วนำข้อมูลที่ รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตลอดจน เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม รูปแบบการใช้บริการร้านสูทไอเดียนั้นตัดชุดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดนมีการลำดับคิวในการสั่งซื้อ โดย การทำบัญชีของร้านสูทไอเดีย เป็นการจดบันทึกลงสมุดเท่านั้น ซึ่งภายในสมุดนั้นจะมีการจดที่ไม่เป็น รูปแบบคือ การจดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทุกอย่างทั้งบัญชีร้าน และบัญชีครอบครัวที่รวมกันทั้งหมด การ วิเคราะห์ปัญหาทางการบัญชีของร้านสูทไอเดีย ผลสรุปว่าเจ้าของร้านมีความต้องการให้ผู้ศึกษานั้นจัดวาง ระบบบัญชีให้ทางร้านโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยจัดวางระบบบัญชีรายรับ รายจ่าย รวมไปถึงบันทึกรายการสั่งซื้อของร้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการนั้นได้นำสารสนเทศทางการบัญชีที่ผู้ศึกษาได้


ค จัดทำขึ้นบันทึกรายการ และจัดระบบบัญชีของร้านให้มีระเบียบ และเกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และ ผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้ศึกษาได้จัดทำเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อบันทึกรายการสั่งซื้อ จัดทำรายรับ รายจ่ายให้กับ ร้านสูทไอเดีย โดยมีการวางแผนจัดทำเว็บแอปพลิเคชันรายการบัญชีร้านสูทไอเดีย โดยผู้ศึกษาได้วางแผน ในการจัดทำเว็บแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย จากการวิเคราะห์ปัญหาที่ได้ในแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ ประโยชน์สูงสุด และเป็นรูปธรรม ทำให้นำไปสู่การเป็นเว็บแอปพลิเคชันที่สมบูรณ์ และสรุปผลการศึกษา จากประชากร และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอป พลิเคชันร้านสูทไอเดีย โดยมีประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ผ่าน Google Form ซึ่งภาพรวมความพึงพอใจ ทั้งหมดจากการการตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย อยู่ใน ระดับปานกลางถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 4.28 จากระดับคะแนนเต็ม 5 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ ที่ 0.64 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด จากการศึกษาการพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทร วิชัย จังหวัดมหาสารคาม ทำให้เว็บแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย ได้รับความพึงพอใจทั้งเจ้าของร้าน และผู้ มาใช้บริการ ทั้งในด้านการจัดระบบัญชีร้านที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และตอบสนองต่อผู้ใช้บริการทำให้ได้รับ ประโยชน์ และเป็นรูปธรรม สามารถต่อยอดในงานวิจัยครั้งต่อไปของผู้ศึกษาสืบไป คำสำคัญ : การพัฒนาสารสนเทศ,การบัญชี,ร้านสูทไอเดีย


ง Research Title ACCOUNTING INFORMATION DEVELOPMENT : A CASE STUDY OF IDEA SUIT SHOP BUSINESS KANTHARAWICHAI DISTRICT MAHA SARAKHAM PROVINCE. Author Miss. Praphasiri Detprasert Advisors Miss. Jintana Khamthong Degree Bachelor of Technology Major Accounting (Continuing Program) Institute of Vocational Education : Northeastern Region 3. Mahasarakham Vocational College Year 2023 Abstract This research has the objectives To develop accounting information: a case study of the idea suit shop business Kantharawichai District Maha Sarakham Province It is a research that combines qualitative and quantitative research. The research tools were questionnaires and interview forms with the population and the sample group was one idea suit shop entrepreneur and 50 suit shop users. The data collected from the questionnaire was analyzed by descriptive statistics. It consists of percentage, mean, standard deviation, questionnaire and interview form, as well as related documents. Let's analyze the content. The results showed that Current condition of the idea suit shop Kantharawichai District Maha Sarakham Province, the form of using the idea suit shop service is tailoring according to the customer's order. There is a queue in order to order. By making an account of the idea suit shop It's only for taking notes in a book. In which the notebook will have a non-formal note, namely Recording all expenses in the store account and all combined family accounts An analysis of the accounting problems of Suit Idea The results concluded that the shop owner wanted the study to set up an accounting


จ system for the shop by using modern information technology to set up the income and expense accounting system, including store order records. So that entrepreneurs can bring the accounting information that the study has prepared to record the transactions. and organize the store's accounting system to be organized and benefit entrepreneurs and service users enable the students to create a web application to record purchase orders, prepare income and expenses for Suit Idea There is a plan to create a web application for the idea suit shop account list. The researcher plans to create a web application for the idea suit shop. from the analysis of the problems obtained in the questionnaire to get the most out of it and concrete resulting in a complete web application and summarize the results of the study from the population And a sample of 50 people using a satisfaction assessment form for the use of the Idea Suit Shop web application with the population and the sample group through Google Form, which overall satisfaction from answering the questionnaire. Satisfied with using Idea Suit Shop web application is at the moderate to the highest level There was a high mean score of 4.28 out of a full score of 5 with a standard deviation of 0.64, in the most satisfied level.From the study of the development of accounting information : a case study of the idea suit shop business Kantharawichai District Maha Sarakham Province Make an idea suit shop web application Satisfied with both shop owners and service users both in terms of organizing a more modern shop accounting system And respond to service users to benefit and concrete can be extended in the next research of the study. From the study of the development of accounting information : a case study of the idea suit shop business Kantharawichai District Maha Sarakham Province Make an idea suit shop web application Satisfied with both shop owners and service users both in terms of organizing a more modern shop accounting system And respond to service users to benefit and concrete can be extended in the next research of the study. Keywords : information development, accounting, idea suit shop


ฉ สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อภาษาไทย ข บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ง สารบัญ ฉ สารบัญภาพ ซ สารบัญตาราง ฌ บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย 2 1.3 ขอบเขตของโครงการ 3 1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 5 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………………………………………....26 บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 29 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 29 3.2 เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ 29 3.3 สถิติที่ใช้ 30 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 30 บทที่ 4 ผลการศึกษา 31 4.1 สภาพปัจจุบันร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 31 4.2 วิเคราะห์ปัญหาทางการบัญชีของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม……....33 4.3 วางแผนจัดทำเว็บแอปพลิเคชันรายการบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย 33 4.4 ระบบบันทึกรายการคำสั่งตัดชุด ลงในฐานข้อมูลออนไลน์ Google Sheet 34 4.5 นำเข้าชุดข้อมูลจาก Google Sheet เพื่อเรียกใช้งาน บนเว็ปแอปพลิเคชัน 36


ช สารบัญ(ต่อ) หน้า 4.6 แจ้งผลการสั่งตัดชุด แสดงสถานะการดำเนินงาน ผ่านระบบ Line Group 37 4.7 ผลการทดสอบเว็บแอปพลิเคชัน และความพึงพอใจต่อการใช้งานของประชากรกลุ่มตัวอย่าง 40 บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ 42 5.1 สรุปผลการศึกษา 42 5.2 อภิปรายผล 44 ข้อเสนอแนะ 44 บรรณานุกรม 45 ภาคผนวก 47 ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 48 ประวัติผู้ศึกษา 56


ซ สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1.1 กรอบแนวคิด 3 2.1 หน้าต่างการเริ่มต้นของ Glide App 22 2.2 การสมัครสมาชิกเชื่อต่อกับ Google 23 2.3 หน้าต่างแสดงผลเครื่องมือ Glide App ในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันของผู้ศึกษา 23 2.4 รูปแบบการใช้งาน Line Group ร้านสูทไอเดีย 25 4.1 ชุดผ้าไหมซาฟารีลายสร้อยดอกหมาก ร้านสูทไอเดีย 32 4.2 สมุดบัญชี ร้านสูทไอเดีย 32 4.3 แผนกระบวนการทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน 34 4.4 เมนูหน้าหลักร้านสูทไอเดีย 35 4.5 รูปแบบบันทึกข้อมูลรายการสั่งตัดชุด 35 4.6 ข้อมูลหลังจากการบันทึกไปยัง Google Sheet 36 4.7 รายการบันทึกข้อมูล จาก Google Sheet 36 4.8 รายการแก้ไขข้อมูลบนเว็บแอปพลิเคชัน 37 4.9 ใช้ทริกเกอร์เพื่อรับข้อมูลจากGoogle Sheet ไปแสดงบน LINE 37 4.10 ระบบทริกเกอร์เพื่อส่งข้อมูลไปแสดงบน LINE 38 4.11 ข้อมูลที่แจ้งเตือนผ่าน LINE GROUP 39 4.12 QR CODE ในการใช้งานเว็บแอปพลิคชันร้านสูทไอเดีย 39 4.13 QR CODE ฐานข้อมูลGoogle Sheet จากการบันทึกรายการสั่งซื้อ เว็บแอปพลิคชันร้านสูทไอเดีย 40 4.14 QR CODE แสดงผลการตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน ร้านสูทไอเดีย 40


ฌ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 2.1 บันทึกข้อมูลลงใน google sheet ร้านสูทไอเดีย 21 2.2 ผลแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอปพิลเคชัน 41


บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศมีความสำคัญต่อสังคมอย่างกว้างขวาง ซึ่งสื่อให้เห็นถึง ความก้าวหน้าและการพัฒนาของวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนทางธุรกิจให้ ดำเนินงานไปในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องปรับตัวและ พัฒนาศักยภาพขององค์กรเพื่อรองรับการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตหรือการบริการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีได้เข้ามามี บทบาทต่อการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก เพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้มีผลต่อการ ทำงานและการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์กร จึงมีความจำเป็นที่ต้อง ปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อการพัฒนาศักยภาพของตนเองในการทำงานให้สอดคล้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี นักบัญชีเป็นบุคคลที่มีความสำคัญส่วนหนึ่งสำหรับทุกกิจการโดยเป็นผู้ จัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีและข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ที่ทางผู้บริหารได้นำมาใช้ประโยชน์ในการประมาณ การและวางแผนในการดำเนินธุรกิจ ในการมองภาพรวม รู้ทันสถานการณ์ กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจและ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (ชลมาศ เทียบคุณ : 2562) และเทคโนโลยียังเป็นสิ่งสำคัญของ ผู้ประกอบการในการที่จะต้องเลือกนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในองค์กรให้ เหมาะสมและตามความจำเป็นมาใช้สำหรับกิจการ และเพื่อให้การปฏิบัติงานทางบัญชีมีประสิทธิภาพทัน ต่อเวลา มีความถูกต้องในการรายงานผลและสามารถตรวจสอบได้ (หทัยรัตน์ คำฝั้นและจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ : 2560) ข้อมูลทางการเงินและบัญชีจะช่วยทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงินและความ มั่นคงของธุรกิจ โดยจะเริ่มจากการบันทึกรายการต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุน รายรับและรายจ่ายที่เป็นของกิจการ เป็นต้น ข้อมูลจากการบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะนำมาจัดทำ เป็นรายงานทางการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบรายรับรายจ่าย เป็นต้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดทำบัญชีช่วยให้สะดวก ประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากและซ้ำซ้อนการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เป็นไป


2 อย่างมีระบบ สามารถเรียกดูข้อมูลได้ทันทีที่ต้องการ ใช้วางแผนการแข่งขันทางการตลาดได้ และใช้ข้อมูล ทางการเงินและบัญชีในการตรวจสุขภาพของธุรกิจ สร้างความโปร่งใส ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้าง สำนักงานบัญชีได้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้การทำธุรกรรมและการบริหารเงินของผู้ประกอบการเป็นไปอย่าง รวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม จะช่วยให้รัฐบาลสามารถวิเคราะห์และวางแผนในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้ตรงต่อความ ต้องการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการผลิตและการค้า ร้านสูทไอเดียเป็นร้านตัดชุดสูท เสื้อผ้า ตามที่ลูกค้าได้ดำเนินการสั่งตัด เนื่องจากการตัดชุดแต่ละ ชุดจะใช้เวลาในการตัดเป็นเวลานานและมีออเดอร์การสั่งตัดเป็นจำนวนมากทำให้การจดบันทึกการสั่งซื้อ และการเก็บเงินมัดจำค่าสั่งตัดในแต่ละออเดอร์เกิดความสับสนในการจดบันทึกคิวและออเดอร์ของลูกค้า ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการบัญชีของร้าน ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในการศึกษาและพัฒนา สารสนเทศทางการบัญชีในด้านของการจัดทำออเดอร์คำสั่งซื้อ รายละเอียดคำสั่งซื้อ และการบันทึกยอด มัดจำ ยอดค้างชำระ และการรวมยอดคำสั่งซื้อทั้งหมด ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะช่วยจัดการ คำสั่งซื้อ แจ้งรายละเอียดการสั่งซื้อ บันทึกยอดเงินมัดจำ และรวมยอดเงินที่รับจากคำสั่งซื้อทั้งหมด เพื่อ อำนวยความสะดวกแก่เจ้าของร้านในการจัดการคำสั่งซื้อ และรวมยอดคำสั่งซื้อทั้งหมดบนฐานข้อมูล ออนไลน์สามารถเรียกใช้ได้ทุกที่ ต่างจากการใช้โปรแกรมในรูปแบบออฟไลน์ที่จะต้องใช้งานผ่าน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้น ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดชื่อโครงการ เรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการ บัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น ผู้ศึกษา จึงมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี: กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อศึกษาและพัฒนาสารสนเทศใน รูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันจากการใช้Google Sheet เป็นฐานข้อมูล และการสร้างแอปพลิเคชันผ่าน Google Script เพื่ออัพโหลดเว็บแอปพลิเคชันสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นสารสนเทศใช้จัดการคำสั่งตัดชุด แจ้ง ยอดมัดจำ ยอดค้างชำระ และแจ้งสถานะการรับชุดให้กับเจ้าของร้านและผู้ใช้บริการผ่าน Line Group ซึ่ง แพลตฟอร์มทั้งหมดที่ผู้ศึกษาได้ใช้งานนั้นล้วนเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้โดยไม่มีค่าบริการ ซึ่งจะเข้าถึง การใช้งานได้สะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม


3 1.3 ขอบเขตของโครงการ 1.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านสูทไอเดีย จำนวน 1 คน และ ผู้ใช้บริการร้านสูท จำนวน 50 คน 1.3.2 ตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ตัวแปรอิสระ คือ ฐานข้อมูลระบบบันทึกข้อมูลผ่าน Google Sheet และตัวแปรตาม คือ เว็บแอปพลิเคชัน Glide App ร้านสูทไอเดีย 1.3.3 กรอบแนวคิด ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทบทวนเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสารสนเทศ ทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อกำหนดกรอบ แนวคิดในการศึกษาให้บรรลุตามวัตถประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนี้ ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิด 1.3.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ปีการศึกษา พ.ศ. 2565 เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวันที่ 17 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2566 ตัวแปรอิสระ โครงสร้างฐานข้อมูล(Google Sheet) ระบบบันทึกรายการคำสั่งตัดชุด ลงใน ฐานข้อมูลออนไลน์ Google Sheet รายละเอียดดังนี้ - รายละเอียดการสั่งตัดชุด - ชื่อ ผู้สั่งตัดชุด - ยอดเงินวางมัดจำ - ยอดค้างชำระ ตัวแปรตาม เว็บแอปพลิเคชัน (Glide App Script) นำเข้าชุดข้อมูลจาก Google Sheet โดยการใช้แพลตฟอร์ม Glide App เพื่อ เรียกใช้งาน ฐานข้อมูล Google Sheet ที่มีรายการคำสั่งตัดชุดเว็บแอปพลิเค ชัน ร้านสูทไอเดีย จากนั้นให้ส่งออก ข้อมูลแจ้งผลการสั่งตัดชุด แสดง สถานะการดำเนินงาน ผ่านระบบ Line Group


4 1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.5.1 การพัฒนา หมายถึง กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งการพัฒนามีความสัมพันธ์ โดยตรงกับความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนไว้แล้ว คือการ ทำให้ลักษณะเดิมเปลี่ยนไปโดยมุ่งหมายว่า ลักษณะใหม่ที่เข้ามาแทนที่นั้นจะดีกว่าลักษณะเก่า 1.5.2 สารสนเทศทางการบัญชีหมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการ การประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการ ต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบกระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการ ทางการค้า รายรับ และรายจ่าย การแสดงผลยอดค้างชำระของร้านค้า 1.5.3 การบัญชีหมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการทางการค้า ได้แก่ การเขียน บันทึกรายการทางการค้า การจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไป ถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลของนักบัญชี 1.5.4 ร้านสูทไอเดีย หมายถึง การประกอบกิจการในด้านการตัดเย็บชุดหลากหลายรูปแบบ เป็น ธุรกิจที่ทำภายในครัวเรือน และเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ตั้งอยู่ที่ทางหลวงชนบทมหาสารคาม 3006 อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 1.5.5 Glide App หมายถึง แพลตฟอร์มการเขียนสคริปต์ที่พัฒนาโดย Google สำหรับการพัฒนา แอปพลิเคชันน้ำหนักเบาในแพลตฟอร์ม Google Workspace สคริปต์ เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเพื่อ นำเข้าข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลจาก Google Sheet 1.5.6 Google Sheet หมายถึง โปรแกรมสร้างสเปรดชีตคล้ายกับ Microsoft Excel แต่จะเป็นการ ใช้งานแบบออนไลน์ที่สามารถสร้างและจัดรูปแบบสเปรดชีต รวมทั้งทำงานร่วมกับผู้อื่นได้พร้อมกัน ซึ่ง ค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและยังสามารถใช้งานได้ฟรี 1.5.7 Line Group หมายถึง อีกหนึ่งฟีเจอร์ของ LINE ที่คนส่วนใหญ่ใช้งานกันเป็นประจำ สร้าง ความสะดวก ให้กับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้งาน LINE ทั่วไป รวมไปถึง พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ คนทำงาน ร้านค้า องค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานการแชทพร้อมกันได้หลาย ๆ คน โดย ไลน์ กลุ่ม (LINE Group) สามารถมีสมาชิกได้ถึง 499 คน ทำให้พูดคุยสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ทำให้การ พูดคุยมีอรรถรสมากขึ้น เพราะสามารถโต้ตอบกันได้ในทันทีและไม่ต้องรอคุยกันทีละคน 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีเว็ปแอปพลิเคชันใช้ในการจัดการคำสั่งตัดชุด และสามารถใช้งานแจ้งคำสั่งตัดชุดให้แก่ผู้รับบริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทร วิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชี 2.1.2 ทฤษฎีการวางระบบบัญชี 2.1.3 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศทางการบัญชี 2.1.4 แนวคิดทางการบัญชีสำหรับการรับรู้ค่าใช้จ่าย 2.1.5 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1.6 แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูล Google แอปพลิเคชัน 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชี 2.1.1.1 ความหมายของการบัญชี สภ าว ิช าช ีพบัญช ีในพร ะบ รมร าช ูป ถั มภ์ (Federation of Accounting Professionsunder The Royal Patronage of his Majesty The King : FAB ) ได้ให้ความหมายของ การบัญชีไว้ดังนี้(ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2542 : 35) 1) การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน 2) สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้ “Accounting is the art of recording, classifying and summarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.”


6 3) สมาคมการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Accounting Association : AAA) ได้ให้คำจำกัดความการบัญชีไว้ดังนี้ “Accounting is the process of identifying, measuring and com municating economic information to permit informed judgment and decision by user of the information” 4) การบัญชีจึงเป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอัน เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงินผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในแต่ละกิจกรรม ความหมายของคําว่า การบัญชี(Accounting) ความหมายตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ .ศ.2493 (เมธากุล เกียรติกระจาย และศิลปะพร ศรีจันเพชร ่ . 2544 : 57) หมายถึง ทะเบียน สมุดหรือกระดาษที่จดรายชื่อ จํานวน ส่วนพจนานุกรมภาษาอังกฤษ (เมธากุล เกียรติกระจาย และศิลปะของนักบัญชี สําหรับความหมายของนักบัญชี หมายถึง ผู้ทํา ตรวจ หรือเชี่ยวชาญในการบัญชี หรือผู้มีอาชีพในการจัดทําบัญชี หรือตรวจสอบบัญชีของร้านค้า ธนาคาร หรือของรัฐ ต่อมาในปี ค.ศ.1941 สมาคมผู้สอบบัญชีอนุญาตของสหรัฐอเมริกา ให้คําจํากัดความการบัญชีไว้วา การบัญชี เป็นศิลปะของการ นํารายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงินมาจดบันทึก และจัดให้เป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งสรุปผลในรูป จํานวนเงินตลอดจนการวิเคราะห์ นักบัญชีชื่อ Paul Grady เมธากุล เกียรติกระจายและศิลปะพร ศรีจันเพชร (2544 : 31 : 40 ; ที่มา : Paul Grady. 1993 : unpaged) ได้ให้คำจำกัดความใหม่ว่า “การบัญชีเป็น วิชาการและเป็นหน้าที่งานเกี่ยวกับการริเริ่มรายการและเหตุการณ์ทางการเงิน” การตรวจสอบการ นําเสนอข้อมูลเหล่านั้นอยางมีหลักเกณฑ์ตามความต้องการของฝ่ายบริหาร และการดําเนินงานของกิจการ เพื่อประโยชน์ในการจัดทํารายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (เมธากุล เกียรติกระจาย และศิลปะพร ศรีจันเพชร ่ , 2544 : 31 – 40 ; ที่มา : สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง ประเทศไทย. 2542 : ไม่มีเลขหน้า) ได้ให้คํานิยามของการบัญชี ไว้ดังนี้การบัญชี คือ ศิลปะ ของการเก็บ รวบรวม บันทึก จําแนก และทําสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเอง ผลงานขั้นสุดท้าย ของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้สนใจในกิจกรรมของ กิจการการบัญชี เป็นงานบริการอยางหนึ่ง โดยทําหน้าที่เสนอตัวเลขทางการเงินของกิจการเพื่อใช้ในการ ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ กิจการสามารถเสนอตัวเลขทางการเงินและข้อมูลทางการบัญชี ในรูปของงบการเงิน ซึ่งรวมถึง งบดุล งบกำไรขาดทุน งบประแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ และหมาย


7 เหตุประกอบงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงฐานะทางการเงิน ผลการดําเนินงานและกระแสเงิน สดของกิจการ ดังนั้นความหมายของการบัญชีจึงเป็นกระบวนการบันทึกรายการตามเอกสาร หลักฐานให้ครบถ้วน ถูกต้องตามระบบบัญชีที่กำหนด และจัดทํารายงานการเงินแสดงผลการดําเนินงาน และฐานะการเงิน รวมถึงคํานวณต้นทุนผลงาน องค์กรต้องจัดให้มีการวางรูปแบบระบบบัญชีให้เหมาะสม และสอดคล้องกบการดําเนินงานขององค์การ เพื่อให้ได้มาซึ่งงบการเงินที่แสดงให้เห็นถึงผลการดําเนินงาน ฐานะการเงินขององค์กร และยังสามารถสะ ท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสคุ้มค่า และประหยัด 2.1.1.2 ประเภทของการบัญชี( กนกเพิ่ม ขันโคกกรวด. 2558 : 41) 1) การดำเนินภายในองค์กรซึ่งมีหลายฝ่ายทำหน้าที่ต่าง ๆ มาร่วมงานกันเพื่อให้ องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ดังนั้นงานที่แต่ละฝ่ายทำจะมีลักษณะที่หลากหลาย บางงานเป็นงาน ประจำที่สนับสนุนส่วนงานอื่นๆ ให้ลุล่วง บางงานเป็นงานเฉพาะกิจเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหาร ส่งผลให้ข้อมูลที่จะใช้ก็จะมีความหลากหลายตามลักษณะงานดังนั้นในส่วนของการทำงานการบัญชีนั้น สามารถแบ่งการบัญชีออกเป็น 2 ลักษณะตามประเภทของผู้ใช้ข้อมูลดังนี้ 1.1) การบัญชีการเงิน เป็นการบัญชีที่จัดทำข้อมูลทางการบัญชีหรืองบการเงิน เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้ข้อมูลภายนอกองค์กรในการทำงานจะใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือ หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมาตรฐานการบัญชีเป็นแนวทางการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การบันทึกข้อมูล การจัดประเภทของข้อมูล การแสดงรายการที่เกี่ยวข้องฯ การจัดทำข้อมูลทางการบัญชี หรือรายงานทางการเงิน เช่น งบการเงินต่าง ๆ จะมีแบบแผนในการจัดทำเพื่อนำเสนอต่อวัตถุประสงค์การ ใช้งานทั่วไป 1.2) การบัญชีบริหารเป็นการบัญชีที่จัดทำข้อมูลทางการบัญชีหรือรายงานทาง การเงินต่าง ๆ เพื่อให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กร โดยการจัดทำข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ข้อมูลเป็นหลักจากข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้แล้วจะนำมาประมวลผลตามวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบในการ ตัดสินใจทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแผนงานเกี่ยวกับการขยายกิจการการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้าง โรงงานใหม่ การวางแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือกิจการ เช่น งบประมาณค่าใช้จ่าย รายงานการวิเคราะห์ต้นทุนเป็นต้น การบัญชีถือเป็นแกนกลางหรือกระดูกสันหลังในโลกธุรกิจซึ่งจะช่วยให้กิจการรู้ถึงรายรับ/ รายจ่ายรวมทั้งทราบถึงฐานะทางการเงินของตัวเอง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีมีดังนี้ (1) เพื่อบันทึกรายการค้า เช่น การลงบัญชีซื้อหรือขายสินค้าในสมุด บัญชี


8 (2) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบว่าในช่วงเวลานั้นๆ มีสินทรัพย์หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร และใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการเงินใน ระหว่างการประกอบธุรกิจ (3) เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนและวางแผนจัดการของผู้ประกอบการ (4) เพื่อป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์และให้เป็นไป ตามข้อบังคับของกฎหมาย (5) เพื่อเป็นหลักฐานในการคำนวณภาษี (6) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการชำระสินเชื่อแก่สถาบันการเงิน หรือการ ขอวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม 2.1.1.3 ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชี ข้อมูลทางการบัญชีมิได้มีความหมายแคบแต่เพียงเป็นข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจาก การจัดเก็บและรวบรวมตามขั้นตอนของการบันทึกบัญชีต่าง ๆ ตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างที่ หลายคนเข้าใจ แท้ที่จริงแล้วข้อมูลทางการบัญชีได้มีการพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนกระทั่งทำให้เกิดข้อมูลทางการบัญชีแนวคิดใหม่ขึ้นที่เรียกว่า “การบัญชีบริหารหรือการบัญชีเพื่อการ จัดการ” (Managerial Accounting) โดยลักษณะของการบัญชีบริหาร จะเป็นวิธีการในการนำเสนอข้อมูล ทางการบัญชีเพื่อให้ผู้บริหารได้นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน สั่งการ ควบคุม และตัดสินใจเกี่ยวกับการ ดำเนินธุรกิจ ดังนั้นลักษณะของข้อมูลทางการบัญชีบริหาร (Managerial Accounting Information) จึง เป็นข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอข้อมูลให้แก่ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพื่อ ประโยชน์ในการทำหน้าที่ทางการบริหาร ดังนั้นวิธีการและรูปแบบของข้อมูลทาง การบัญชีที่นำเสนอจึงมิได้มีการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เน้นการยืดหยุ่น ตามความต้องการของผู้บริหารมากกว่าที่จะปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป จึงทำให้ลักษณะ ของข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตและมีความเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลหลายด้าน เช่น การเงิน การตลาด การจัดการ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น 2.1.1.4 ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี( กนกเพิ่ม ขันโคกกรวด. 2558 : 64) 1) ปกติแล้วบัญชีนี้มีประโยชน์มาตั้งแต่สมัยที่มีการค้าขายแล้วแต่ว่าเนื่องจากอาจจะ ไม่มีระบบที่ถูกกต้องเท่าบรรจุบันไม่ว่าเราจะค้าขายเป็นร้านเล็กๆก็ต้อมีการบันทึกหรืออาจจะใช้วิธีการ จดจำเอาว่าวันนี้ขายไปเท่าไหร่ซื้ออะไรไปบ้างแล้วมาคำนวณต้นทุนว่ากำไรหรือว่าขาดทุนต่อมาได้มีขนาด


9 ธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นคงไม่สามารถที่จะทำแบบเดิมได้จึงต้องมีระบบบัญชีที่ดีเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบความ ชัดเจนต่าง ๆ ซึ่งเป็นการรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย 2) การบัญชีเป็นการจัดระบบข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวัดผลที่เกิดขึ้นจากกระบวน ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ มีการจัดหมวดหมู่รายการมีการสรุปผลและตีความหมายของผลดังกล่าวัดงนั้นการ บัญชีจึงเป็นภาษาธุรกิจผู้ใช้งานข้อมูลนั้นจึงต้องพอรู้เกี่ยวกับภาษาทางด้านบัญชีอยู่บ้างจึงจะเข้าใจและใช้ ในการบริหารงานได้ดีและการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ 3) การบัญชีนั้นมีการพัฒนาอยู่ตลอดอย่างต่อเนื่องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ เศรษฐกิจในปัจจุบันดังนั้นแล้วนักบัญชีจึงควรปรับตัวและศึกษาข้อมูลข่าวสารใหม่อยู่ตลอดเวลาให้ทันต่อ ความเปลี่ยนแปลงในทันสมัยต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีต่าง ๆกระบวนการของบัญชีคือการ เลือกเหตุการณ์และทำการจดบันทึกบัญชีเป็นระบบที่เป็นการเงินนักบัญชีจึงต้องทำการจดเป็นข้อมูลด้าน การเงินเรียงลำดับเวลาตามวันที่ของเหตุการณ์ที่เกิดอย่างเป็นระบบแล้วทำการตีความหมายแล้วสรุปผล หลังจากนั้นเราก็จะได้งบการเงินมารายงานผลซึ่งงบการเงินนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงินการตลาดและการตัดสินการลงทุน เจ้าของกิจการหรือว่าผู้ดำเนินการ ธุรกิจต่าง ๆ อาจจะไม่มีความรู้ด้านการบัญชีนักบัญชีจึงได้เข้ามามีบทบาทในการรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการ ตัดสินใจจึงแยกประโยชน์ของงบการเงินที่นักบัญชีได้ทำดังนี้ สำหรับประโยชน์ข้อมูลทางการบัญชีนั้นในทางธุรกิจถือว่ามีความสำคัญและมี ความจำเป็นมากเพื่อเป็นการเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของงบการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการวัดผล ทางด้านการดำเนินทางกิจการซึ่งนักบัญชีจะต้องรวบรวมข้อมูลและทำการจดบันทึกรายการตามหมวดหมู่ ต่าง ๆ และทำการสรุปและตีความหมาย เพราะฉะนั้นแล้วการดำเนินการของกิจการนั้นจะทำการจด บันทึกและรวบรวมเป็นงบการเงินเพื่อให้ได้ทราบผลประกอบการรวมไปถึงทรัพย์สินที่มีอยู่หนี้สินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยใช้งบการเงินเป็นเครื่องมือในการรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ 4) งบการเงินเป็นรายงานที่สำคัญมากเพราะจะต้องรายงานให้เป็นตามความจริง สามารถที่จะตรวจสอบและเป็นที่เข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการซึ่งจำเป็นต้องใช้เพราะจะแสดงถึงผลการ ดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการไม่ว่ากิจการจะเป็นขนาดเล็กหรือว่าขนาดใหญ่จะเป็นทาง ภาครัฐ องค์กรทางด้านการเงินและองค์กรไม่แสดงหาประโยชน์จำเป็นจะต้องได้รับรู้งบการเงินที่นักบัญชี ได้รวบรวมมาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลไม่ว่าจะเป้นผู้บริหารเจ้าของผู้ถือหุ้นหาหน้าแผนกเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบุคลนั้นจะเป็นบุคคลลภายนอกหรือว่าภายใน


10 ดังนั้นงบการเงินจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะรายการงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ รับทราบผลการดำเนินงานและฐานะทมางการเงินของกิจการนั้น ๆ จึงเป็นหน้าที่ของนักบัญชีที่จะได้ รวบรวมโดยผู้ที่ต้องการประโยชน์ข้อมูลทางการบัญชีต้องมีการนำเสนอที่มีความถูกต้องชัดเจนสามารถที่ จะเข้าใจได้ง่ายเพราะว่าผู้บริหารหรือว่าผู้ที่ต้องการใช้นั้นไม่ได้มีความรู้ทางด้านบัญชีเสมอไปหรือไม่ได้ ศึกษาทางด้านบัญชีเพราะว่าเจ้าของบริษัทอาจจะมีความรู้ในการประกอบอาชีพทางด้านอื่นแต่ต้องการ ข้อมูลทางด้านการบัญชีอย่างเช่นทนายความต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการเสียภาษีหรือในกรณีการฟ้องร้อง เรื่องทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์การเรียกร้องทางแพ่งการเร่งรัดหนี้สินเป็นต้นหรือว่าเจ้าของอาจจะเปิดกิจการ ด้านการก่อสร้างเรียนวิศวะมาดังนั้นเขาจะนำข้อมูลทางด้านการบัญชีเพื่อประกอบการตันสินใจเรื่องการ คงการซื้อเครื่องจักรการทำงาน หรือจัดทำงบประมาณในการเสนอราคากับลูกค้า เป็นต้น กิจการด้านการ ซ่อมรถยนต์เจ้าของกิจการมีความรู้ด้านเครื่องยนต์อาจจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านการบัญชีเพื่อใช้ในการ ประกอบกิจการจ้างพนังงานและการทำการตลาดด้วยงั้นแล้วข้อมูลทางด้านการบัญชีจึงมีความสำคัญ สำหรับกิจการโดยพาะผู้บริหารของกิจการจึงมีการแบ่งแยกไว้หลายประเภทดังนี้ 1) ผู้บริหารผู้บริหารนั้นดังที่กล่าวไปว่าจำเป็นจะต้องการข้อมูลทางด้านการบัญชี เพื่อประเมินวิเคราะห์การจัดการการลงทุนรวมไปถึงการควบคุมสินทรัพย์หรือว่าการส่งเสริมในด้านการ แรงงานให้มีประสิทธิภาพและเสียหายน้อยที่สุด 2) เจ้าหนี้คือสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกิจการให้สินเชื่อรวมไปถึง ไฟแนนซ์ต่าง ๆ สำหรับข้อมูลทางด้านการบัญชีมีส่วนสำคัญในด้านการออกเงินกู้วงเงินที่สามารถออกได้ เพราะว่าเจ้าหนี้ต้องการทราบฐานะทางการเงินของกิจการว่าสามารถที่จะชำระหนี้ได้มากน้อยเพียงใดหาก ปล่อยกู้ไปแล้วจะมีจะทำให้มีหนี้ศูนย์หรือไม่ดังนั้นข้อมูลทางการบัญชี เจ้าหนี้จึงจำเป็นที่จะต้องรับรู้เพื่อ ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจการ 3) พนักงานหรือว่าลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างที่อยู่ในกิจการพนักงาน รวมไปถึง สหภาพแรงงานเพื่อสามารถที่จะรับทราบข้อมูลนำไปประกอบว่าสมควรที่จะได้รับในอัตรานี้หรือไม่โบนัส สวัสดิการต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อพนักงานไปในทางที่เหมาะสมหรือไม่ 4) หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นกรมสรรพากรในการจัดเก็บภาษีการทรวงพานิชย์ ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของกิจการโดยรวมภายในประเทศเพื่อเป็นการวิเคราะห์สถาณการณ์ของ ผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการติดตามการค้าโดยรวมภายในประเทศ


11 5) บุคคลทั่วไปหรือบุคคลภายนอกจะนำข้อมูลไปทำการศึกษาหรือว่าวิจัยในด้าน ต่าง ๆ รวมไปถึงนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือผู้ที่สนใจในการลงทุนอนคตของกิจการการซื้อหุ้นการซื้อ กิจการการควบรวมของกิจการรวมไปถึงประชาชนโดยทั่วไปนักวิชาการ เป็นต้น 2.1.2 ทฤษฎีการวางระบบบัญชี( สุขุมโพธิ สวัสดิ์) การวางระบบการบันทึกข้อมูล หรือวางระบบบัญชี เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งของธุรกิจแม้ ธุรกิจขนาดย่อมอาจมีผู้ประกอบการเพียงคนเดียวที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมด หรือจำนวนเงินที่ หมุนเวียนในการค้าเป็นจำนวนไม่มากนักแต่การบันทึกโดยมี ระบบบัญชีที่ดีจะคอยควบคุมและแสดง สถานภาพทางการเงิน ตลอดจนวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างน่าเชื่อถือ ระบบบัญชี คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินอันประกอบด้วยแบบฟอร์ม หรือเอกสาร ต่าง ๆ บันทึกทางการบัญชี รายงาน ตลอดจนวิธีการและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการเงินของกิจการแห่งใดแห่งหนึ่งให้แก่ฝ่ายจัดการ เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการ สามารถปฏิบัติหน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อเสนอข้อมูลแก่ บุคคลภายนอกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกิจการนั้น เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้และส่วนราชการ เป็นต้น (สุขุมโพธิ สวัสดิ์ , 2553 : 1) 2.1.2.1 บทบาทและความสำคัญของระบบบัญชี รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ (2555, หน้า 1-2) ได้สรุปว่า ข้อมูลที่นำมาจัดทำบัญชีนั้นมี จำนวนมากและต้องนำมารวบรวมประมวลผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยาก เสียเวลาในการจัดทำมาก และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดมากตามมาด้วย ดังนั้น การนำระบบบัญชีเข้ามา ใช้เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ ทำให้การจัดทำบัญชีสะดวกรวดเร็ว มีกระบวนการจัดทำที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ลด ความซ้ำซ้อนของการจัดทำบัญชี ตลอดจนรายงานทางการเงินเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ภายใน และผู้ใช้ภายนอกนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นระบบข้อมูลทางบัญชีนั้นเป็นสิ่งที่ จำเป็นและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ในทุก ๆ องค์กรซึ่งองค์การทางธุรกิจสมัยใหม่นั้นเป็นองค์กรที่มี ความซับซ้อนและยุ่งยากมาก เช่น องค์กรหนึ่ง ๆ อาจจะมีจำนวนพนักงานเป็นจำนวนพันหรือหมื่นคนขึ้น ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ฝ่ายพัฒนาและวางแผน วิศวกร ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ลูกจ้าง แรงงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจของบุคคลและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ลูกค้า ลูกจ้าง พนักงาน ผู้ถือหุ้น และหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐบาลทั้ง ที่เกี่ยวข้องทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม เป็นที่น่าสนใจว่า องค์กรเหล่านี้มีวิธีการอย่างไรในการวางแผน ประสานงาน และควบคุมกิจการต่าง ๆ จำนวนมากมายเหล่านี้ ทำอย่างไรองค์กรจึงสามารถตอบสนองต่อ ความต้องการข้อมูลของคนจำนวนมาก และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความสนใจข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ดังนั้น


12 ระบบข้อมูลทางบัญชีจึงมีบทบาทที่สำคัญ คือเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจด้านต่าง ๆ ตามประเภทของผู้ใช้ในรูปแบบและช่วงเวลาที่เหมาะสม 2.1.2.2 ส่วนประกอบของระบบบัญชี เนื่องจากลักษณะของกิจการที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ของการวางระบบบัญชีก็ จำเป็นต้องแตกต่างกันออกไปด้วย ตัวอย่างเช่น ในกิจการประเภทอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าจำหน่ายเอง การวางระบบบัญชีจำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้าต่าง ๆ ในกิจการ ธนาคารข้อมูลที่จำเป็นต้องได้จากระบบบัญชีนั้นก็คือยอดเงินฝากประเภทต่าง ๆ เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เป็นต้น ไม่ว่ากิจการจะเป็นลักษณะใด ระบบบัญชีจะประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1) เอกสารและบันทึกทางการบัญชีซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.1) แบบฟอร์มต่าง ๆ เช่น ใบกำกับสินค้า (Invoice) ใบสำคัญสั่งจ่าย (Vouchers) ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) ฯลฯ แบบฟอร์มเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ในงานประจำวันของกิจการ และใช้เป็น หลักฐานในการลงบัญชีด้วย 1.2) สมุดลงรายการเบื้องต้นหรือสิ่งอื่นที่ใช้ทดแทน สมุดลงรายการเบื้องต้นนี้จะใช้ ลงบันทึกรายการที่เกิดขึ้นครั้งแรก สมุดลงรายการเบื้องต้น ได้แก่ สมุดเงินสดรับ สมุดเงินสดจ่ายสมุดซื้อ สมุดขาย สมุดรายวันรายได้ ฯลฯ 1.3) บัญชีแยกประเภท ซึ่งใช้ลงรายการที่ผ่านมาจากสมุดลงรายการเบื้องต้น 1.4) รายงานหรืองบต่าง ๆ ซึ่งจะต้องเสนอต่อฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และ ส่วนราชการ เช่น รายงานการขาย รายงานเงินสดรับ งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบดุล เป็นต้น 2) วิธีการต่าง ๆ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้แบบฟอร์ม การลงรายการในสมุดรายวัน บัญชีแยกประเภท และการทำรายงาน 3) เครื่องจักรและเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและลดข้อผิดพลาดอัน เกิดจากการดำเนินงาน เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคำนวณเลข เครื่องจักรลงบัญชี คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งสำคัญสำหรับระบบบัญชีของกิจการใดก็ตาม คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการที่จะนำระบบบัญชีที่วางไว้มาใช้ปฏิบัติได้อย่างมี ประสิทธิภาพ คุณสมบัติที่เหมาะสมในที่นี้หมายถึงความรู้ทางด้านวิชาการบัญชีร่วมทั้งประสบการณ์ ทางด้านการปฏิบัติงานในธุรกิจเฉพาะแห่งซึ่งจำเป็นจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไป ถ้าปราศจาก


13 พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วถึงแม้จะมีระบบบัญชีที่วางไว้อย่างดีเพียงใดก็ตามก็ย่อมไม่สามารถจะ นำมาใช้ปฏิบัติให้บรรลุตามความมุ่งหมายได้ (วิไล วีระปรีย และคณะ,2553: หน้า 3) 2.1.2.3 เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ดุษณีย์ ส่องเมือง (2555, หน้า 2-5) กล่าวว่า เอกสารทางบัญชี หมายถึง เอกสารทาง การเงินที่ใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกับญชี และเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญต่อกิจการคือเอกสารเป็น แหล่งบันทึกเหตุการณ์เป็นลาบลักษณ์อักษรเก็บเป็นหลักฐานได้ครบถ้วน ใช้เป็นสื่อในการติดต่อ ประหยัดเวลา และมีหลักฐานสอบยันกันได้ ป้องกันความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นและประหยัด ค่าใช้จ่ายกรณีต้องใช้ข้อมูลเดียวกันหลายหน่วยงานโดยจัดทำสำเนาส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน รวมถึง ลดโอกาสการทำงานผิดพลาดโดยทำการบันทึกไว้ในเอกสารเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้การเลือก ใช้แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชีในกิจการจะแตกต่างกันไปตามลักษณะและประเภทของธุรกิจ และในการ กำหนดแบบฟอร์มเอกสารใช้ภายในกิจการควรใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้เป็นแนวทางในการพิจารณา คือ 1) จัดให้มีจำนวนแบบฟอร์มเอกสารใช้เท่าที่จำเป็น 2. จัดให้มีการทำสำเนาคู่ฉบับ ถ้าต้องใช้ข้อมูลเดียวกันหลายหน่วยงาน เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่ายและลดโอกาสทำงานผิดพลาด 3) ต้องเป็นแบบฟอร์มที่กรอกง่าย สะดวกใช้ และมีข้อความเท่าที่จำเป็น 4) ต้องเป็นแบบฟอร์มที่ให้ข้อมูลครบถ้วน สะดวกในการเก็บข้อมูลหรือตัวเลข 2.1.2.4 เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ดุษณีย์ ส่องเมือง (2555, หน้า 16) ได้สรุปว่า ระบบบัญชีในหน่วยงานสามารถ แบ่งเป็นระบบย่อย ๆ ได้หลายระบบตามลักษณะการปฏิบัติงาน ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นระบบบัญชีซื้อ สินค้า ขายสินค้า การรับและการจ่ายเงิน เงินเดือนและค่าแรง สินทรัพย์ถาวรและต้นทุนการผลิตสินค้า ในแต่ละกิจกรรมจะมีฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวข้องกันหลายฝ่าย เช่น กิจกรรมการขายสินค้ามีฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ขาย คลังสินค้า การเงินและการบัญชี เป็นต้น ดังนั้นในการออกแบบระบบบัญชีจะออกแบบแยกเป็น ระบบย่อยหลาย ๆ ระบบให้สอดคล้องกับลักษณะการปฏิบัติงานโดยทุกระบบย่อยจะแบ่งหัวข้อศึกษาเป็น 5 หัวข้อ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของระบบบัญชีการควบคุมภายใน การจัดแบ่งหน่วยงาน เอกสารและ สมุดบัญชี ขั้นตอนปฏิบัติและการควบคุมภายในของระบบบัญชี เพื่อช่วยให้การรวบรวมเอกสารครบถ้วน และถูกต้องเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี และจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการต่อไปใน การศึกษาการออกแบบระบบบัญชีจะแบ่งเป็นระบบย่อย 7 ระบบ ดังต่อไปนี้ 1) ระบบบัญชีซื้อสินค้าเชื่อ และส่งคืนสินค้า 2) ระบบบัญชีขายสินค้าเชื่อ และรับคืนสินค้า


14 3) ระบบบัญชีรับเงิน 4) ระบบบัญชีจ่ายเงิน 5) ระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรง 6) ระบบบัญชีสินทรัพย์ถาวร 7) ระบบบัญชีต้นทุนการผลิตสินค้า 2.1.3 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศทางการบัญชี( นันท์ ศรีสุวรรณ. 2560 : 101) 2.1.3.1 ความหมายสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information Systems) ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS (Accounting Information Systems) จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศ ทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน สุมาลี เมืองไพศาล (2531 : 5) ให้ค วามหมายของสารสนเทศไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ต้องการสําหรับใช้ทํา ประโยชน์เป็นส่วนของผลลัพธ์ของระบบประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจ และ สามารถนําไปทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้หรือเพื่อเป็นการย้ำความเข้าใจที่มีอยู่แล้ว ให้มีมา ยิ่งขึ้นและเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล (2542 : 35) ให้ความหมายของ สารสนเทศไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็น ระบบโดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนําไปประกอบการทํางานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ มีความหมายหรือตรงตามความต้องการของผู้บริหาร เช่น ยอดงบดุลรายงานสรุปผลการดําเนินงาน หรือประมาณการรายได้ เป็นต้น ซึ่งทําให้ผู้บริหารสามารแก้ไข ปัญหาหรือหาทางเลือกในการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นันทา อมรสินและคณะ (2548 : 22) ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่ มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งทําการรวบรวม ประมวลผล เก็บรักษาและ กระจายสารสนเทศออกไป เพื่อสนับสนุนการควบคุม การวิเคราะห์ การตัดสินใจ การวางแผนที่ เกิดขึ้น ภายในองค์กรกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศได้แก่ การนําเข้า(Input) การประมวลผล (Processing) การนําออก(Output) โดยการนําเข้าจะรับข้อมูลดิบ ไปอยู่ในรูปแบบที่ มีความหมายหรือ


15 เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและการนําออกจะนําเอาสารสนเทศที่ได้นั้น ไปยังผู้ใช้หรือไปยังกิจกรรมที่จะ ใช้งานสารสนเทศ จีราภรณ์ รักษาแก้ว (2538 : 57) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศ ไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ ต้องการ สําหรับใช้ทําประโยชน์เป็นส่วนผลลัพธ์ของระบบการประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับ เข้าใจและสามารถนําไปกระทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึÁงโดยเฉพาะได้ หรือเพื่อเป็นการย้ำาความเข้าใจที่ มีอยู่แล้ว ให้มีมากยิ่งขึ้นและเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ 2.1.3.2 ประโยชน์ที่ผู้บริหารได้รับจากสารสนเทศทางการบัญชี เมื่อผู้บริหารทำการวางเป้าหมาย (Goals) ขององค์กรในอนาคตแล้ว สารสนเทศ จากระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเข้ามาช่วยผู้บริหารให้ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (สุปราณี ศุกระเศรณี และคณะ, 2546 : 15) 1) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ (Strategies) ในการ ดำเนินงานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่วางไว้สมควรถูกทบทวนและ ปรับเปลี่ยน ถ้าสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานมีการเปลี่ยนไป 2) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อทำการแปลงกลยุทธ์ให้เป็นวิธีการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ (Actions) 3) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อทำการวางแผนการปฏิบัติงาน (Action Plans) และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากแผนงานดังกล่าว (Expected Outcomes) 3.1) การวางแผนระยะสั้น (Short-Term Plan) มีระยะเวลา 1 ปี หรือ 1 รอบการดำเนินงานปกติ (Operating Cycle) ดังนั้นเนื้อหาจึงเน้นกิจกรรมปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ 3.2) การวางแผนระยะยาว (Long-Term Plan) มีระยะเวลา 4-5 ปีขึ้นไป หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตของธุรกิจ (Business Life Cycle) ดังนั้นเนื้อหาจึงเน้นกิจกรรมที่จะ ทำให้องค์กรมีศักยภาพมากขึ้น (Competitive) เจริญเติบโตขึ้น (Growth) และเกิดมูลค่าเพิ่ม (Vale Added) 4) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการสื่อสาร (Communicating) ให้สมาชิกทุก คนได้ทราบทิศทางขององค์กร วิธีการปฏิบัติงาน ความคาดหวังจากองค์กร และใช้ในการประสานงาน (Coordinating) ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรด้วย


16 5) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีในการควบคุม (Controlling) และสั่งการ (Directing) สำหรับงานประจำวัน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ 6) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (Making Decision) ในระหว่างการดำเนินงาน 7) ใช้สารสนเทศทางการบัญชีในการวางระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluating System) ที่เหมาะสมและยุติธรรม 2.1.3.3 ลักษณะการใช้ข้อมูลหรือสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหาร (นันท์ ศรีสุวรรณ. 2560 : 112) จากสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ข้อมูลในการผลิตสินค้า ทำให้สามารถนำไปใช้ในการตี ราคาสินค้าคงเหลือ ตลอดจนต้นทุนขายเพื่อทราบถึงผลการดำเนินงานว่ามีผลกำไรหรือขาดทุน และข้อมูล ทางการเงิน สามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับ การรับคำสั่งซื้อพิเศษ การปิดโรงงานชั่วคราว และการเพิ่มหรือลดสายการผลิต เป็นต้น ซึ่งผู้บริหารจะนำ ข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นหลักในการวางแผนในอนาคตหลังจากดำเนินธุรกิจไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะต้องมีการ ควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงว่า แตกต่างจากแผนงานที่วางไว้อย่างไร รวมทั้งพิจารณาว่า มีส่วนใดบ้างที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำหรือเป็นการเฉพาะหน้า ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการ ดำเนินธุรกิจ (ดวงมณี โกมารทัต, 2544:52) อนึ่งการนำข้อมูลบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจ คือ การนำตัวเลข ทางการเงินหรือข้อมูลบัญชีที่มีประโยชน์ไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ (เชาวลีย์ พงษ์ผาติโรจน์,2539 ; อรุณี อย่างธารา, อรสา วีระประดิษฐ์, ณัฎฐพร เหล่าธรรมทัศน์ และ วิภาดา ตันติประภา, 2546) โดย ผู้บริหารมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่งานบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผลตาม นโยบายของกิจการของผู้บริหารที่มีความจำเป็นและเครื่องมือที่ถูกใช้ในการวัดความสามารถเชิงการ บริหารของผู้บริหาร สามารถจำแนกได้ 4 หน้าที่งานดังต่อไปนี้ 1) การวางแผน (Planning) 2) การสั่งการ (Directing) 3) การควบคุม (Controlling) 4) การตัดสินใจ (Decision Making) ดังนั้นการที่ผู้บริหารจะสามารถทำหน้าที่ทางการบริหารดังกล่าวข้างต้นได้อย่าง สมบูรณ์จำเป็นต้องมีสารสนเทศที่มีคุณภาพและให้ประโยชน์ต่อการทำหน้าที่ทางการบริหารได้อย่าง


17 แท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า สารสนเทศ (Information) จึงเปรียบเสมือนเป็นเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนการ บริหารให้ดำเนินต่อไปได้ ผู้บริหารคนใดไม่มีสารสนเทศเพื่อการบริหารก็จะขาดพลังที่จะดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ได้ 2.1.3.4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ( Accounting Information System ) คือ ระบบ ที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มี ประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการ ติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็น กระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดง ภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการ บัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นัก บัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันแต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น ในทางการบัญชีระบบสารสนเทศถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือใน การจัดทำแลt นำเสนอรายงานทางการเงินเรียกว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System) ไพลิน ตรงเมธีรัตน์(2563) ได้ให้ความหมาย คือ การประยุกต์ใช้สารสนเทศกับระบบบัญชีขององค์กร ซึ่งมี หน้าที่สำคัญ ได้แก่ รวบรวมข้อมูล ประมวล และสารสนเทศ หรือผลัพธ์ที่ผู้ใช้ต้องการ โดยแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ ระบบ สารสนเทศ และการบัญชี สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการ บัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการ บัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบ สารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้ 1) ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ 2) ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ 3) ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี


18 4) ช่วยในการวางแผนธุรกิจ 5) ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาในกิจการ โดยมีการใช้ ทรัพยากรบุคคล คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง และจัดทำสารสนเทศทางการบัญชี ให้แก่ผู้ใช้ภาย ในและผู้ใช้ภายนอกของกิจการ ในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนี้อาจใช้คนจัดเก็บบันทึกข้อมูล ประมวลผลและจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างเป็นเครื่องมือ ช่วยอำนวยความสะดวก หรืออาจนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ในปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่ได้นำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าใช้เป็นเครื่องมือในการ ปฏิบัติงานทั้งทางด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านการผลิต และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น การจัดทำสารสนเทศทางการบัญชีจึงเปลี่ยนจากการจัดเก็บ การบันทึก การประมวลผลและจัดทำ รายงานด้วยมือ มาเป็นการจัดเก็บ การบันทึก การประมวลผล และจัดทำรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้น นักบัญชีจึงควรทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลนักบัญชีซึ่ง อาจจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบ และเป็นผู้ทำการประเมินการทำงานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีการส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล นั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือนอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันแนวโน้มของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ส่วนใหญ่มีการนำเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ดังนั้นนักบัญชีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของ พนักงานบัญชีในองค์กร หรือที่ปรึกษา หรือผู้สอบบัญชีต่างก็ควรที่จะสนใจศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจ และติดตามความก้าวหน้าทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 2.1.4 แนวความคิดทางการบัญชีสำหรับการรับรู้ค่าใช้จ่าย ( ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. 2563 : 47) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงินสำหรับการนำเข้าและจำหน่าย เครื่องจักรกลก่อสร้าง ได้ทำการออกแบบระบบโดยคำนึงถึงมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งจะเน้นใน เรื่องของการรับรู้ค่าใช้จ่ายเป็นหลัก โดยจะมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแส เงินออกหรือลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่ รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของการรับรู้ค่าใช้จ่าย โดยเงื่อนไขของการรับรู้ ค่าใช้จ่ายมีดังนี้ 1) กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และเมื่อกิจการสามารถวัดค่าประโยชน์เชิง เศรษฐกิจได้อย่างน่าเชื่อถือ


19 2) การรับรู้ค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับรู้ส่วนที่เพิ่มขึ้น ของหนี้สิน หรือส่วน ที่ลดลง ของสินทรัพย์ 3) กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายทันทีที่รายจ่ายนั้นไม่ก่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต 4) กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อกิจการต้องรับรู้หนี้สิน โดยไม่มี การรับรู้ สินทรัพย์(ทฤษฎีการบัญชี , เมธากุลเกียรติกระจาย และ ศิลปพร ศรีจันเพชร ,2543) 2.1.5 แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. 2563 : 81) ความจำเป็นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบในระบบสารสนเทศ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความเสี่ยงตามลักษณะสูง เพราะในปัจจุบันธุรกิจมี การใช้งานเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สูง เป็นระบบทีต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ และเป็นการใช้งานกระจายแบบเครือข่าย จึงมีโอกาส ที่บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรจะเข้ามาถึงระบบและทำความเสียหายโดยไม่เห็นตัว นอกจากนี้ยัง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมเพื่อลด โอกาสที่เกิดความเสียหายความผิดพลาดในการตัดสินใจทีมีค่าความเสียหายสูง เพราะข้อมูลมีการเชื่อม โยงไปในทุกระบบปฏิบัติการ และมักรวมกันเพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารซึ่ง ถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ก็จะเกิดความเสียหายต่อองค์กร ทั้งด้านจำนวนเงินและภาพพจน์ เป็นต้น การทุจริตในระบบคอมพิวเตอร์ การทุจริตรวมทั้งการประพฤติไม่ชอบ ในระบบคอมพิวเตอร์ จะกระทำได้โดยผู้ทีมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ตามสมควร เมือเกิดการกระทำดังกล่าวขึ้น ก็จะเกิดความ เสียหายต่อระบบงานและด้านอื่นๆมากกว่าระบบทีทำงานด้วยมือมากมูลค่าระบบคอมพิวเตอร์สูง ในการ ลงทุนด้านคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องทีจะต้องมีการลงทุนในจำนวนมาก และเสียงต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะใช้การควบคุมภายในตาม IAPS (International Auditing Practice Statement) ได้กำหนดการควบคุมภายในของการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยรวมของการควบคุมภายในซึ่งจะรวม วิธีการปฏิบัติ งานที่ทำด้วยมือ และวิธีการปฏิบัติงานทีทำด้วยคอมพิวเตอร์ วิธีการปฏิบัติงานในระบบงาน ดังกล่าว ประกอบด้วยการควบคุมทั้งหมดทีมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของระบบสารสนเทศ ที่ใช้ คอมพิวเตอร์เรียกว่า การควบคุมทั่วไป และการควบคุมเฉพาะของระบบงานบัญชีแต่ละระบบ เรียกว่าการ ควบคุมระบบงาน ซึ่งอธิบายอย่างย่อๆ ได้ดังนี้ 1) การควบคุมทั่วไป (General Control) คือ การกำหนดแนวทางการควบคุมทั้งหมดที่ เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือสภาพแวดล้อมของการควบคุมรวมทุก


20 ระบบงานคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความมั่นใจ อย่างสมเหตุสมผลว่าการควบคุม จะบรรลุ วัตถุประสงค์โดยรวมของการควบคุมภายในซึ่งจะประกอบด้วย การจัดโครง สร้างองค์กรและการแบ่งแยก หน้าที่ กระบวนการพัฒนาระบบ การปฏิบัติงานสารสนเทศ การรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติงานกรณี ฉุกเฉิน 2) การควบคุมระบบงาน (Application Control) คือ การจัดให้มีขั้นตอนและวิธีการตรวจ ควบคุมในระบบงานบัญชี เฉพาะระบบงานใดงานหนึ่งเท่านนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจ อย่างสมเหตุสมผล ว่ารายการทั้งหมดได้รับการอนุมัติ การบันทึกและการประมวลผล อย่างครบถ้วนถูกต้องทันเวลา โดยจะ ประกอบด้วย การควบคุมการนำเข้าข้อมูล การควบคุมด้านการประมวลผลข้อมูล การควบคุมผลลัพธ์ 2.1.6 แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูล Google แอปพลิเคชัน 2.1.6.1 Google Sheet สเปรดชีต (spreadsheet) หรือแผ่นตารางที่ทำการ คือ แผ่นงานที่มีลักษณะเป็น ช่องตามรางสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับการจัดเรียงข้อมูลและคำนวณเป็นหลัก มีโปรแกรมสเปรดชีต (spreadsheet) ที่เป็นที่นิยมอยู่มากมาย แต่สเปรดชีต (spreadsheet) ออนไลน์ของ Google เป็น Application ที่ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถสร้างสเปรดชีต (spreadsheet) ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผลการเรียนของนักเรียน บัญชีรายจ่าย เป็นต้น สามารถสร้างแผนภูมิเพื่อนำเสนอข้อมูล รวมไปถึงฟอร์มหรือแบบสอบถามออนไลน์สำหรับเก็บข้อมูล ทั้งยังสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นได้แก้ไขและ ทำงานร่วมกันในสเปรตชีตสเปรดชีต (spreadsheet) ของตนได้Google Sheets เป็น Apps สร้างสเปรด ชีต(spreadsheet) เป็นอีกหนึ่ง Apps ใหม่จากทาง Googleคุณสมบัติเอาไว้จัดการสร้างสเปรดชีต เหมือนกับไฟล์บนโปรแกรม Microsoft Excel สามารถเปิด แก้ไขไฟล์สเปรดชีต (spreadsheet) ล่าสุดได้ ทันที แชร์ และทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ภายในสเปรดชีต (spreadsheet)เดียวกัน รองรับการจัดการกับ ตารางที่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับ บวก ลบ คูณ หาร หรือฟังก์ชั่นอื่น ๆ ที่ควรจะมีในสเปรดชีต (spreadsheet) โปรแกรม Excel Google Sheets สามารถทำงานได้โดยที่เราไม่ได้เชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ต รองรับการเปิดไฟล์สเปรดชีต (spreadsheet) แบบต่าง ๆ มากมาย 1) คุณสมบัติ 1.1) สร้างสเปรดชีต (spreadsheet) ใหม่เปิดและแก้ไขสเปรดชีต (spreadsheet) จากเครื่องใดก็ได้ ที่ใดก็ได้ จากทางหน้าเว็บหรืออุปกรณ์อื่น 1.2) แชร์สเปรดชีต (spreadsheet) และทำงานร่วมกันกับคนอื่น ๆ บนสเปรดชีต (spreadsheet)เดียวกันและในเวลาเดียวกัน 1.3) ทำงานได้ทุกเวลา แม้ขณะที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต


21 1.4) จัดรูปแบบเซลล์ ป้อน/จัดเรียงข้อมูล และการทำงานต่าง ๆ บนสเปรดชีต (spreadsheet) 1.5) ระบบคลาวด์ (Cloud) จะบันทึกการแก้ไขข้อมูลโดยอัตโนมัติ 2) รูปแบบของการบันทึกข้อมูล สเปรดชีต (spreadsheet) มีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นการแบ่งชนิดของสูตร และคำนวณข้อมูลที่ได้บันทึกลงในระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ดัง ตัวอย่างที่ผู้ศึกษาได้ทำการบันทึกข้อมูลรายการร้านค้าสูทไอเดีย 2.1) การบันทึกข้อมูลลงใน google sheet จากตารางที่ 2.1 บันทึกข้อมูลลงใน google sheet ร้านสูทไอเดีย 3) ฟังก์ชันที่ใช้ในการคำนวณ ARRAYFORMULA ARRAYFORMULA เป็นสูตรที่ให้ผลลัพธ์ออกมาหลายค่าสูตรที่เราใส่ Input แบบหลายค่าลงไปใน Argument ของ Function ที่ปกติแล้วเราจะใส่แบบค่าเดียว ซึ่งในหนึ่ง google sheet file จะสามารถสร้าง sheet ได้หลาย sheet สำหรับ ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อลูกค้า ชื่อสินค้า เป็นต้น สรุปคือ Glide เหมาะสำหรับทำ Mobile app ที่มีฐานข้อมูล ไม่ได้เยอะและซับซ้อนมากมายใช้งานง่าย เหมาะกับการทำเป็น prototype เพื่อนำเสนอ idea และได้ ทดลองก่อนที่จะพัฒนาให้เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ศึกษาได้นำสูตรมาใช้ คือ (ArrayFormula(if(ISBLANK (G2:G),"",(G2:G-H2:H))))เพื่อคำนวณหาค่ารวมผลอัตโนมัติหลังจากบันทึกข้อมูลลงใน Google Sheet ผ่าน Glide App 2.1.6.2 Glide Apps 1) Glide Apps เป็นแพลตฟอร์มในรูปแบบ No-code เป็นวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์หรือบุคคลที่มีความรู้ด้านเทคนิคเพียงเล็กน้อยสามารถสร้างเว็บไซต์หรือ แอปพลิเคชันโดยไม่ต้องเขียนโค้ดคุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนด้วยสายตาได้โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบ


22 กราฟิกและการตั้งค่า ช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะในการเขียนโปรแกรม แพลตฟอร์มที่ไม่มีโค้ดใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุง แทนที่จะขัดขวาง ศักยภาพของมนุษย์ในการสร้าง 2) ปัจจุบัน No-code ถูกใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติบางอย่าง มันจะช่วยให้คุณประหยัดแรงงานได้หลายเดือนเพราะตอนนี้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธี เขียนโค้ดการสร้างเว็บไซต์ทำได้ง่ายและราคาไม่แพง การจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีราคาแพง แต่ไม่มี รหัส คุณจะสามารถประหยัดเงินได้ตอนนี้คุณสามารถออกแบบเว็บไซต์ด้วยตัวเองซึ่งจะให้คุณค่ากับทักษะ หรือธุรกิจของคุณ โดยไม่คำนึงถึงปริญญา อาชีพ หรือตำแหน่งในบริษัทเห็นได้ชัดว่าหากไม่มีโค้ด นักพัฒนาเว็บจะมีงานในมือน้อยลง และสามารถมุ่งความสนใจไปที่การทำให้การดำเนินการเรียบง่ายขึ้น หรือพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ ได้มากขึ้นเต็มไปด้วยคุณสมบัติเหล่านี้และอื่น ๆ อีกมากคือเครื่องมือที่เรียกว่า Glide ที่สามารถช่วยนักพัฒนาในการสร้างแอพที่น่าสนใจโดยไม่ต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรมมาก่อน มีรายละเอียดดังภาพประกอบต่อไปนี้ ภาพที่ 2.1 หน้าต่างการเริ่มต้นของ Glide App การทำงานของ Glide App นั้น ผู้สร้างเว็บแอปจะต้อง Login ผ่าน Gmail เพื่อใช้ งานระบบเนื่องด้วยการทำงานนั้นจะเป็นการเชื่อมต่อกับ google sheet ดังตัวอย่าง


23 ภาพที่ 2.2 การสมัครสมาชิกเชื่อมต่อกับ Google จากนั้นจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลจาก Google Sheet ได้โดยการดึงข้อมูลทั้งหมด เพื่อนำเข้าข้อมูลที่ถูกบันทึกลงไปประยุกต์ใช้ในงานที่ผู้ศึกษาต้องการสร้างชิ้นงานขึ้นมาได้ โดยใช้เครื่องมือ ที่ Glide App ได้กำหนดให้ใช้ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน โดยผู้สร้างเว็บแอปไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเอง ดัง ภาพตัวอย่าง ภาพที่ 2.3 หน้าต่างแสดงผลเครื่องมือ Glide App ในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันของผู้ศึกษา


24 2.1.5.3 Line Group LINE เป็นแอปพลิเคชันให้บริการ Messaging รวมกับ Voice Over IP ทำให้ผู้ใช้ สามารถสร้างกลุ่มแชต ส่งข้อความ ภาพ คลิปวิดีโอ หรือจะพูดคุยโทรศัพท์แบบเสียงก็ได้ โดยข้อมูลที่ถูกส่ง ขึ้นไปนั้นฟรีทั้งหมด ตอนนี้ LINE ใช้ได้ในระบบปฏิบัติการ iOS, Android, Windows Phone, PC และ BlackBerry ฟีเจอร์ของ LINE ประกอบด้วย การส่งข้อความ, การสนทนาด้วยเสียง,การเปลี่ยนพื้นหลัง แบ็กกราวนด์หน้าห้องแชต, การสนทนาแบบกลุ่ม, Official LINE และการส่งสติ๊กเกอร์ 1) การเชื่อมต่อ LINE ของผู้ใช้เข้าหากัน มี 4 วิธี 1.1) เพิ่มคอนแท็กต์จากรายชื่อในสมุดโทรศัพท์ ซึ่งตรงนี้เป็นข้อดีของ WhatsApp ที่ทำให้ผู้ใช้งานสะดวก 1.2) การสแกน QR Code 1.3) Shake it เอาโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่องที่อยู่ใกล้กันมาเขย่าคล้ายการจับมือ ให้รู้จักกัน 1.4) การเสิร์ชหาจาก ID คล้ายการใส่รหัสของ BlackBerry 2) การใช้งาน ไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยซิมการ์ดหรือ Wifi และต้อง ลงทะเบียนผ่านอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ก่อนที่จะใช้งาน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูล ตามบริการที่สมัครไว้เช่น ข้อความ สติกเกอร์ ภาพ เสียง วิดีโอ การถ่ายทอดสด เป็นต้น ความสำเร็จ ไลน์ถูกสร้างมาโดย NHN Japan ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้าน อินเทอร์เน็ต เกม เซิร์ฟเวอร์ เว็บไซต์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งได้ร่วมกับบริษัท Naver Japan Corporation และบริษัท livedoor โดยมี NHN Japan เป็นผู้บุกเบิกและคอยปรับปรุงการให้บริการ ฟีเจอร์ใหม่ ๆ ของไลน์ บางส่วน ดูแลด้านการพัฒนาด้านธุรกิจ ทางตลาด และโปรโมชันทั่วไป 3) Line Group การใช้ Line คุยพร้อมกันหลายคน การสนทนาในไลน์ สามารถสนทนากันแบบกลุ่ม ช่วยเพิ่มอรรถรสในการแชท เหมือนได้ติดต่อกันอยู่ใกล้ชิดกันกับเพื่อน ๆ สนทนา สลับกันแชทได้ตลอดเวลา สนุกกว่า คุยกันแบบเดี่ยว ๆ ตัวต่อตัว 3.1) ไม่เงียบเหงา เพราะสามารถสนทนากันได้หลายคน ใครจะส่งข้อความอะไร ทักทายกันก็ทำได้ทันที และทุกคนก็เห็น ช่วย ให้ห้องสนทนา สนุกมากขึ้น โดยเฉพาะหากมีเหตุการณ์ สำคัญ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ก็จะสามารถอัพเดทได้ตลอดเวลา


25 3.2) เราสามารถสร้างโน้ตย่อหรือบทความสั้น ๆ ลงใน Line กลุ่มได้ อาจจะเป็น เรื่องราวดีๆ มีประโยชน์ หรือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อน ๆ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จากตัวอย่างผู้เขียนได้สร้างเป็นบทความแนะนำเทคนิคการใช้ Line ที่ควรรู้ 3.3) การสร้างอัลบั้มรวมภาพไว้ใน Line กลุ่ม อาจจะเป็นอัลบั้มรวมภาพการ ท่องเที่ยว หรือการทำกิจกรรมของกลุ่ม เป็นต้น 3.4) หากเจอะเจอบทความดีๆ ในเว็บไซต์ใด ๆ ก็สามารถก็อปปี้ URL หรือลิงค์ บทความนั้น มาเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ในกลุ่ม สามารถ ติดตามไปอ่านได้ 3.5) การแบ่งปัน ภาพ ไฟล์ ข้อความ วิดีโอต่าง ๆ เพื่อน ๆ ในกลุ่ม เมื่อส่งไฟล์ เหล่านี้เข้าห้องสนทนาแล้ว เพื่อน ๆ ในกลุ่มก็จะ สามารถบันทึกไว้ได้ทันที ไม่เสียเวลาส่งให้ทีละคน หรือ จะเผยแพร่เรื่องราวที่มีประโยชน์จากเน็ต ก็สามารถทำได้เช่นกัน ภาพที่ 2.4 รูปแบบการใช้งาน Line Group ร้านสูทไอเดีย Line Group ในปัจจุบันแอปพลิเคชั่นไลน์ได้พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งมีลูกเล่น ต่าง ๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ ,สติ๊กเกอร์, Line Tv (ไลน์ทีวี), Theme (ธีม), Line Today (ไลน์ทูเดย์), Line Man (ไลน์แมน), Gift Shop (กิ๊ฟช็อป), Line Pay (ไลน์เพย์), Line Webtoon (ไลน์เว็บ ตูน), Line Camera (ไลน์คาเมรา), Line Dictoinary (ไลน์ดิกชันนารี), Line Rangers TH (ไลน์แรนเจอร์ ไทย), Line Career TH (ไลน์คะเรียร์ไทย), Living on Line (ลิฟวิงออนไลน์), Digilife on Line (ดิจิไลฟ์


26 ออนไลน์), Line Music TH (ไลน์มิวสิคไทย), Line Hot Deal (ไลน์ฮอทดีล), Line Hot Brand (ไลน์ฮอท แบรนด์), Fashion On Line (แฟชั่นออนไลน์) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชั่นของไลน์นั้นมีเยอะแยะ มากมาย ซึ่งแอปพลิเคชั่นแต่ละตัวก็มีความสามารถและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป หากเรามีเวลาก็ สามารถมานั่งศึกษาลูกเล่นและวิธีการใช้ของไลน์ได้ ดังนั้นแอปพลิชันไลน์ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีส่วนในการเชื่อมต่อกันระหว่างร้านสูท กับลูกค้า เพื่อให้การเชื่อมต่อมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาได้ใช้ระบบของ Glide App เพื่อส่งข้อมูล แจ้งเตือนไปยัง Line Group ในส่วนของรายการสั่งซื้อของร้านสูท เพื่อเป็นการติดตามสถานะการสั่งซื้ออีก ด้วย 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิวัฑฒน์ สมตน (2557) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาไทย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ได้แก่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 6 คน นิสิต บุคลากร ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผู้สนใจที่เข้าชมเว็บไซต์ระหว่างเดือน มกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2557 จำนวน 135คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยและแบบประเมินความพึงพอใจ เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มีผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และจากผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก ชาญณรงค์แก้วกระจ่าง (2555) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จังหวัด กระบี่ ให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่านและผู้ เข้าชมเว็บไซต์ที่ทําแบบสอบถามความพึงพอใจออนไลน์จนเสร็จสมบูรณ์จํานวน 35 คน โดยสถิติที่ใช้ สนการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการการวิเคราะห์ ข้อมูลพบว่า เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ มีคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และด้านสื่อโดยรวมอยู่ในระดับดี สําหรับการประเมิน ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ทินกร ก้อนสิงห์ (2553) ได้ทำงานศึกษาวิจัย เรื่อง “การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (พระพุทธศาสนา)


27 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (พระพุทธศาสนา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต่อผลการใช้หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์(E-Book) ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม (พระพุทธศาสนา) ระหว่างก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 32 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบง่าย ให้กลุ่มตัวอย่างเรียนจากหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วจึงวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม (พระพุทธศาสนา) มีประสิทธิภาพ 87.30/82.60 สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมแตกต่างกันโดยผลสัมฤทธิ์หลังการ ใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนการใช้นวัตกรรม รัตนทิพย์ รัตนชัย (2553) ได้ศึกษาและสร้างเว็บไซต์โดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบแบบ พลวัต เป็นการพัฒนารูปแบบการทำงานของเว็บไซต์ให้มีลักษณะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้ดูแล ข้อมูลของวัดให้สามารถบันทึกและปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลตามปฏิทินกิจกรรมด้วยตนเองได้ตลอดเวลา สำหรับการนําเสนอข้อมูลที่ถูกต้องตรงความต้องการ โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้เกี่ยวกับความ เป็นมา สถานที่สำคัญ ความจำเป็นในการใช้สอยของถาวรวัตถุรวมถึงข้อปฏิบัติในการทำกิจของสงฆ์ ตลอดจนประเพณีที่ดีงามในแต่ละวัดไทยของ ท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจสามารถ ค้นหาข้อมูลเพื่อศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆได้ผลการทำงานของเว็บไซต์นี้สามารถใช้งานได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ทศพร ไชยประคอง (2552) นำวงจรการพัฒนาระบบมาประยุกต์ใช้สำหรับกองทุนสวัสดิการครู โรงเรียนพาณิชยการล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการพัฒนาระบบการรับเงินสมสมและเงินกู้พร้อม ดอกเบี้ยประจำงวด ระบบการจ่ายเงินให้กู้ประจำงวด ระบบการบันทึกับญชีและรายงานที่เกี่ยวข้อง และ ระบบการคำนวณและจ่ายเงินปันผล เพื่อแก้ปัญหาด้านสารสนเทศของฝ่ายเงินกู้และฝ่ายบัญชี ที่มีความ ซ้ำซ้อนของข้อมูล มีความล้าสมัย รวมทั้งปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนโดยสารสนเทศที่ได้รับจากฝ่ายเงินกู้ จะต้องนำไปบันทึกข้อมูลใหม่ทั้งหมดในฝ่ายบัญชี ทำให้มีความเสี่ยงในข้อผิดพลาดของสารสนเทศสูง และ ก่อให้เกิดความล่าช้าของสารสนเทศ รจิตลักษณ์ ชัยพงศ์พิพัฒน์ (2547) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อ การควบคุมภายในของบริษัท อินทนิล เชียงใหม่ จำกัด พบว่า บริษัท มีสารสนเทศทางการบัญชีเป็น จำนวนมากแต่ยังขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี อีกทั้งพนักงานยังมีความสับสนในการปฏิบัติงานของ


28 ตนเอง ตลอดจนพนักงานไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมภายใน ทำให้สารสนเทศทางการบัญชีมี ข้อผิดพลาดและส่งผลให้เกิดการทุจริตได้ง่าย ดังนั้น การศึกษานี้ ได้ช่วยให้บริษัทมีการจัดตั้งระบบการ ควบคุมภายใน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน มีความโปร่งใส ลดความเสี่ยง และป้องกันการ ทุจริตได้ ส่งผลให้มีระบบการบริหารงานมีการควบคุมทุกระบบงานอย่างทั่วถึง ศรีเพ็ญ วงษ์เขียว (2543) ได้ศึกษาเรื่องการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนและ ควบคุมของธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออก ในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาพบว่า ธุรกิจผลิตเสื้อผ้า สำเร็จรูปเพื่อส่งออกในจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดทำบัญชีเพื่อใช้ในการเสียภาษีอากร มากกว่าเพื่อใช้ในการบริหารงาน ข้อมูลสารสนเทศของต้นทุนการผลิตจะถูกนำไปใช้ในการคำนวณต้นทุน การผลิตและการควบคุมการผลิต ส่วนข้อมูลสารสนเทศของยอดขายหรือรายรับและรายจ่ายของกิจการ ถูกนำไปใช้ในการกำหนดราคาขาย การติดตามลูกหนี้ และการพิจารณาให้เครดิตแก่ลูกหนี้ รวมทั้งการ วิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการและการควบคุมค่าใช้จ่าย ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ในการ บริหารมีลักษณะเป็นรายงานทางการบัญชี ที่ใช้ในการนำมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมทั้งรายงานที่ ไม่เป็นตัวเงิน ข้อมูลในรายงานเป็นข้อมูลปัจจุบัน รวมทั้งข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 3 ปี และข้อมูลที่มีการ พยากรณ์ในอนาคต ส่วนระยะเวลาของรายงานเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน ข้อมูลสารสนเทศ ทางการบัญชีที่นำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ รายงานที่นำเสนอต่อผู้บริหาร ระดับสูง มีลักษณะเป็นรายงานสรุปผลการดำเนินงาน รายงานพยากรณ์และแนวโน้มในอนาคต ระยะเวลา ของรายงานเป็นรายเดือน ไตรมาส และรายปี เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ ส่วนรายงานที่นำเสนอ ผู้บริหารระดับกลางมีลักษณะเป็นรายงานที่วัดผลกการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน การเปรียบเทียบข้อมูล ระยะเวลาของรายงานรายสัปดาห์ และรายเดือน สำหรับใช้ในการวางแผนดำเนินงาน รายงานที่นำเสนอ ผู้บริหารระดับล่าง มีลักษณะเป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันของแผนก เพื่อใช้ในการควบคุม การปฏิบัติงาน ในการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการด้านฐานข้อมูลทางการบัญชี ทำให้ สารสนเทศที่ได้รับมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาต่อการนำไปใช้ และยังสามารถจัดทำรายงานใน รูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผน ตัดสินใจ และควบคุมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ


บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทร วิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ผู้ศึกษามีวิธีการดำเนินงานศึกษาดังต่อไปนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ 3.2.1 เครื่องมือ 3.2.2 วิธีการสร้างเครื่องมือ 3.3 สถิติที่ใช้ 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านสูทไอเดีย จำนวน 1 คน และ ผู้ใช้บริการร้านสูท จำนวน 50 คน 3.2 เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ 3.2.1 เครื่องมือ เครื่องมือที่กำหนดในการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความ พึงพอใจต่อการใช้งานเว็ปแอปพลิเคชัน เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้ 3.1.2 วิธีการสร้างเครื่องมือ เครื่องมือที่กำหนดในการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” มีดังนี้ 3.1.2.1 แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็ปแอปพลิเคชันร้านสูท ไอเดีย ได้แบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน


30 3.3 สถิติที่ใช้ สถิติที่ใช้ในการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอ เดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานการ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็ปแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจ ร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”โดยการนำข้อมูลเก็บได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยก ตามประเด็นที่ศึกษา ดังนี้ 3.4.1 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากประเด็นการศึกษาที่ผู้ศึกษาได้กำหนดเอาไว้ ได้แก่ การ สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การสืบค้นเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่ได้ กำหนดเอาไว้ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็ปแอปพลิเคชัน 3.4.2 การดำเนินการจัดทำเว็ปแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย เป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ จากการ เก็บรวบรวมข้อมูล วางแผนและดำเนินการจัดทำเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ที่ผู้ศึกษา กำหนดไว้ 3.4.3 การทดสอบระบบ การใช้งานของเว็บแอปพลิเคชัน ประเมินผลความพึงพอใจต่อการ ใช้งานเว็ปแอปพลิเคชัน เพื่อสรุปผลการศึกษา และหาข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาในครั้งต่อไป


บทที่ 4 ผลการศึกษา การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษาธุรกิจร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ผู้ศึกษามีผลศึกษาดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 สภาพปัจจุบัน ปัญหาของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 4.1 สภาพปัจจุบันร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 4.2 วิเคราะห์ปัญหาทางการบัญชีของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม ตอนที่ 2 การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม 4.3 วางแผนจัดทำเว็บแอปพลิเคชันรายการบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 4.3 ระบบบันทึกรายการคำสั่งตัดชุด ลงในฐานข้อมูลออนไลน์ Google Sheet 4.4 นำเข้าชุดข้อมูลจาก Google Sheet เพื่อเรียกใช้งาน บนเว็ปแอปพลิเคชัน 4.5 แจ้งผลการสั่งตัดชุด แสดงสถานะการดำเนินงาน ผ่านระบบ Line Group 4.6 ผลการทดสอบเว็บแอปพลิเคชัน และความพึงพอใจต่อการใช้งานของประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ตอนที่ 1 สภาพปัจจุบัน ปัญหาของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 4.1 สภาพปัจจุบันร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้ศึกษาได้ดำเนินการลงภาคสนามเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลสภาพปัจจุบัน การดำเนินงานของร้านสูทไอเดียจาก นางสังเวียน หาญวงศ์ เจ้าของร้านสูทไอเดีย ผล การศึกษามีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.1.1 รูปแบบการใช้บริการร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การใช้บริการร้านสูทไอเดียเป็นรูปแบบของการรับคำสั่งซื้อ การตัดชุด ได้แก่ สูท ผ้าทอมือ ชุดข้าราชการ ชุดปกติขาว และชุดผ้าตามสั่ง ซึ่งการตัดจะต้องมีการจองคิวในการตัด


32 ชุด และการวางเงินมัดจำตามความต้องการของลูกค้า การตัดชุดในแต่ละครั้งจะตัดตามรูปแบบต่างๆที่ ลูกค้าต้องการ ( นางสังเวียน หาญวงศ์ : ผู้ให้สัมภาษณ์ ) ภาพที่ 4.1 ชุดผ้าไหมซาฟารีลายสร้อยดอกหมาก ร้านสูทไอเดีย 4.1.2 รูปแบบการทำบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การทำบัญชีของร้านสูทไอเดีย เป็นการจดบันทึกลงสมุดเท่านั้น ซึ่งภายใน สมุดนั้นจะมีการจดที่ไม่เป็นรูปแบบคือ การจดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทุกอย่างทั้งบัญชีร้าน และบัญชีครอบครัวที่ รวมกันทั้งหมด ได้แก่ รายการสั่งตัดชุด รายการค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ( นางสังเวียน หาญวงศ์ : ผู้ให้สัมภาษณ์ ) ภาพที่ 4.2 สมุดบัญชี ร้านสูทไอเดีย 4.1.3 การใช้สารสนเทศของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สารสนเทศของร้านสูทไอเดียนั้น ในด้านการประชาสัมพันธ์ร้าน จะเป็นการ พูดกันปากต่อปากทำให้ช่วงแรก ๆ ผู้ใช้บริการยังไม่มากเท่าที่ควร แต่หลังจากมีผู้ใช้บริการ 1 ปี ทำให้มี


33 ผู้ใช้บริการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 16 ปี โดยมีรายได้ เฉลี่ย 20,000 บาท ต่อเดือน และ สารสนเทศทางการบัญชีนั้น ร้านสูทไอเดียไม่มีการจัดทำสารสนเทศใดๆ เนื่องจากไม่มีความรู้ในด้านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ( นางสังเวียน หาญวงศ์ : ผู้ให้สัมภาษณ์ ) 4.2 วิเคราะห์ปัญหาทางการบัญชีของร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม การจัดทำบัญชีของร้านสูทไอเดียนั้นเป็นการจดบันทึกลงสมุดทั้งหมด ทั้งบัญชี ร้านค้า และบัญชีส่วนตัว ทำให้การจัดระเบียบในการค้นหานั้นมีความยุ่งยาก และการค้นหา หรือรวบรวม รายรับ รายจ่ายของร้านค้านั้นเกิดการตกหล่นอยู่เสมอ อีกทั้งการจัดบันทึกรายการสั่งซื้อยังถูกจดบันทึก ลงสมุดรวมอีกด้วย( นางสังเวียน หาญวงศ์ : ผู้ให้สัมภาษณ์ ) ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ปัญหาจาก แบบสอบถาม เจ้าของร้านสูทไอเดีย พบว่า เจ้าของร้านมีความต้องการให้ผู้ศึกษานั้นจัดวางระบบบัญชีให้ ทางร้านโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัยจัดวางระบบบัญชีรายรับ รายจ่าย รวมไปถึง บันทึกรายการสั่งซื้อของร้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการนั้นได้นำสารสนเทศทางการบัญชีที่ผู้ศึกษาได้จัดทำขึ้น บันทึกรายการ และจัดระบบบัญชีของร้านให้มีระเบียบ และเกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และ ผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้ศึกษาได้จัดทำเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อบันทึกรายการสั่งซื้อให้เป็นระบบ จัดทำรายรับ รายจ่ายให้ชัดเจนแทนการใช้สมุดจด เพื่อให้ร้านสูทไอเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์จริง ๆ ต่อผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม ตอนที่ 2 การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม 4.3 วางแผนจัดทำเว็บแอปพลิเคชันรายการบัญชีร้านสูทไอเดีย อำเภอกันทรวิชัย ผู้ศึกษาได้วางแผนในการจัดทำเว็บแอปพลิเคชันร้านสูทไอเดีย จากการวิเคราะห์ ปัญหาที่ได้ในแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ศึกษาได้ใช้เครื่องมือในการ จัดทำเว็บแอปพลิเคชัน ให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้บริการ ซึ่งในปัจจุบันแอปพลิเคชัน LINE ถูกใช้ งานกันอย่างแพร่หลายซึ่งทั้งในหน่วยงาน องค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน ทำให้ผู้ศึกษาได้ จัดทำเว็ปแอปพิลเคชันขึ้นซึ่งเว็บแอปพลิเคชัน ผ่านแพลตฟอร์ม Glide App ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใช้งานฟรี และไม่ต้องเขียนโค้ดในการจัดทำซึ่งสามารถดึงข้อมูลจาก Google Sheet มาใช้งานได้สะดวก และรวดเร็ว


34 รวมไปถึงแพลตฟอร์มนี้สามารถส่งข้อมูลเข้าไปยัง Google Sheet ให้แสดงผลข้อมูลผ่าน LINE ที่เรียกว่า การแจ้งเตือนผู้ใช้งาน โดยมีกระบวนการวางแผนดังภาพนี้ ภาพที่ 4.3 แผนกระบวนการทำงานของเว็บแอปพลิเคชัน 4.4 ระบบบันทึกรายการคำสั่งตัดชุด ลงในฐานข้อมูลออนไลน์ Google Sheet ผู้ศึกษาได้จัดทำฐานข้อมูลผ่าน Google Sheet โดยใช้รูปแบบตารางในการจัดทำ ฐานข้อมูลเพื่อใช้บันทึกรายการสั่งซื้อของร้านสูทไอเดียโดยการนำข้อมูลในการสั่งตัดชุดจากคำสั่งซื้อของ ลูกค้า เข้าสู่ระบบบันทึกผ่านเว็บแอปพลิเคชัน Glide App มีขั้นตอนดังนี้ ลูกค้า ร้านสูท บันทึก รายการซื้อ


35 ภาพที่ 4.4 เมนูหน้าหลักร้านสูทไอเดีย หลังจากสแกน QR CODE จะนำเข้าสู่หน้าหลักเพื่อเลือกการบันทึกข้อมูลรายการ สั่งตัดชุดในรูปแบบฟอร์มเว็บแอปพลิเคชัน ภาพที่ 4.5 รูปแบบบันทึกข้อมูลรายการสั่งตัดชุด


36 หลังจากบันทึกข้อมูลแล้ว ระบบจะนำข้อมูลที่ได้บันทึกเอาไว้นั้นส่งไปยัง Google Sheet เป็นฐานข้อมูลรายการตัดชุดเพื่อใช้ในการบันทึกรายการสำหรับแก้ไข และรับชมรายการย้อนหลัง ภาพที่ 4.6 ข้อมูลหลังจากการบันทึกไปยัง Google Sheet 4.5 นำเข้าชุดข้อมูลจาก Google Sheet เพื่อเรียกใช้งาน บนเว็ปแอปพลิเคชัน การนำเข้าชุดข้อมูลจาก Google Sheet เพื่อเรียกใช้งาน บนเว็ปแอปพลิเคชันนั้น ผู้ศึกษาได้นำรายการบันทึกข้อมูล จาก Google Sheet ลงไปแสดงผลข้อมูลผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ภาพที่ 4.7 รายการบันทึกข้อมูล จาก Google Sheet


37 ชุดข้อมูลจาก Google Sheet ที่แสดงผลบนเว็บแอปพลิเคชัน หากผู้ใช้งาน ต้องการแก้ไข หรือลบข้อมูลสามารถจัดการข้อมูลบนเว็บแอปพลิเคชันได้ทันที และจะไปแสดงผลใน ฐานข้อมูล Google Sheet เช่นเดียวกัน ภาพที่ 4.8 รายการแก้ไขข้อมูลบนเว็บแอปพลิเคชัน เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลบันทึกรายการสั่งตัดชุด จะแสดงผล ข้อมูลไปที่LINE GROUP ในลำดับต่อไป 4.6 แจ้งผลการสั่งตัดชุด แสดงสถานะการดำเนินงาน ผ่านระบบ Line Group ภาพที่ 4.9 ใช้ทริกเกอร์เพื่อรับข้อมูลจาก Google Sheet ไปแสดงบน LINE


38 ผู้ศึกษาได้จัดทำLINE GROUP โดยการเชื่อมต่อข้อมูลจาก Google Sheet เมื่อมี การเพิ่มจะนำข้อมูลไปแสดงผลใน LINE GROUP เพื่อแจ้งเตือนให้กับลูกค้าได้ทราบถึงสถานะการ ดำเนินการของทางร้าน ภาพที่ 4.10 ระบบทริกเกอร์เพื่อส่งข้อมูลไปแสดงบน LINE


39 ภาพที่ 4.11 ข้อมูลที่แจ้งเตือนผ่าน LINE GROUP ภาพที่ 4.12 QR CODE ในการใช้งานเว็บแอปพลิคชันร้านสูทไอเดีย


Click to View FlipBook Version