The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาส 1 ปี 2567

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by narathiwatlabor2564, 2024-05-15 22:23:19

รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาส 1 ปี 2567

รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาส 1 ปี 2567

รายงานสถานการณ์ ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส เดือน มกราคม - มีนาคม 2567 ไตรมาส 1 ปี 2567 จัดทำ โดย : สำ นักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส คำนำ สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้จัดทำรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส ประจำไตรมาส 1 ปี 2567 (มกราคม – มีนาคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับการวิเคราะห์ ดัชนีชี้วัดภาวะแรงงาน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ และมุ่งหวัง เผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส จึงขอขอบคุณหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อมูล ในการจัดทำสถานการณ์ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานสถานการณ์ด้านแรงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ต่อไป สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส พฤษภาคม 2567


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส สารบัญ หน้า บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 1 สภาพเศรษฐกิจและข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส 1.1 วิสัยทัศน์และพันธกิจ 11 1.2 ที่ตั้ง อณาเขตและขนาดพื้นที่ 11 1.3 ลักษณะภูมิประเทศ 11 1.4 การปกครองและจำนวนประชากร 11 1.5 ทรัพยากรสำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้ของจังหวัดนราธิวาส 12 1.6 อาชีพที่สร้างรายได้มาสู่จังหวัดนราธิวาส 12 ภาวะเศรษฐกิจการคลังของจังหวัดนราธิวาส 2.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนราธิวาส 13 2.2 ภาวะการณ์ค้าทั่วไปจังหวัดนราธิวาส 17 2.3 การจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ 17 2.4 เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในจังหวัด 18 ตัวชี้วัดภาวะแรงงาน 3.1 ผลิตภาพแรงงานจังหวัดนราธิวาส 19 3.2 อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานจังหวัดนราธิวาส 20 3.3 อัตราการมีงานทำของจังหวัดนราธิวาส 20 3.4 อัตราการว่างงานของจังหวัดนราธิวาส 22 3.5 อัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม(ม.33) 22 อัตราการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 3.6 อัตราการบรรจุงาน 23 3.7 อัตราการจ้างแรงงานต่างด้าว 24 3.8 อัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 24 และกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการ 3.9 อัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงาน/ข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ 25 3.10 อัตราแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนจังหวัดนราธิวาส 26 9


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส สารบัญ สถานการณ์แรงงานจังหวัดนราธิวาส 9 4.1 กำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงานและแรงงานนอกระบบ 27 4.2 การส่งเสริมการมีงานทำ 32 4.3 การพัฒนาศักยภาพแรงงาน 41 4.4 การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ 42 4.5 การประกันสังคม 48 4.6 ปัญหาด้านแรงงานที่สำคัญ 51 4.7 ผลการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล/นโยบายกระทรวง 51 ภาคผนวก


0 200 400 600 800 1,000 1,200 1,400 แรงงานต่างด้าวตลอดชีพ แรงงานต่างด้าวประเภททั่วไป แรงงานต่างด้าวประเภทนำ เข้า MOU แรงงานต่างด้าวประเภทส่งเสริมการลงทุน แรงงานต่างด้าวประเภทชนกลุ้มน้อย แรงงานต่างด้าวตามมติ ครม.แรงงานต่างด้าว มท. สัญสัชาติ อื่นๆ 330 บาท ความต้องการ 0 100 200 300 400 500 600700อาชีพพื้นฐาน ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องพนักงานบริการ/พนักงานขายในร้านค้าและตลาด เสมียน/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน/ผู้ควบคุมเครื่องจักร/ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ ก.ย. 66 : 1,875 คน ทำ งานบ้าน : 78,931 คน 36.95 % ผู้อยู่ในกำ ลังแรงงาน 373,842 คน 63.64 % สถานการณ์ณ์ด้ณ์ด้ณ์ ด้ า ด้ านแรงงานจัจังจัจัหวัวัดวัวันราธิธิวธิธิาส จัดจัทำ โดย สำ นักนังานแรงงานจังจัหวัดวันราธิวธิาส ผู้ปผู้ระกันตน ประชากรในจังหวัดวั ผู้มีงานทำ : 362,067 คน 96.85 % 819,162 คน ชั้นชั้ 4 อาคารศูนย์รย์าชการกระทรวงแรงงานจังจัหวัดวันราธิวธิาส [email protected] ตำ บลลำ ภู อำ เภอเมือมืง จังจัหวัดวันราธิวธิาส 960000 073-532103 ผู้ใช้บช้ริกริารการจัดหางานในประเทศ ผู้มีผู้อมีายุ 15 ปีขึ้ปีนขึ้ไป 587,466 คน คิดเป็นร้อร้ยละ 71.61 ของประชากรในจังหวัดวัผู้ไม่อยู่ในกำ ลังแรงงาน 213,624 คน 36.36 % ผู้ว่าว่งงาน : 11,775 คน อัตราการว่าว่งงาน : 3.15 % เมียนมา 1,596 คน 80.65% ลาว 198 คน 10.01% กัมพูชา 95คน 4.80% เวียวีดนาม 0 คน 90 คน 4.55% 0 คน 84 คน 531 คน 1 คน 0 คน 1,357 คน 6 คน แรงงานต่างด้าว กำ ลังแรงงานในจังหวัดวั ค่าจ้างขั้นขั้ต่ำ ไตรมาส 1 ปี 2567 เดือนมกราคม - มีนาคม 2567 ที่มา : ใช้ข้อมูลสำ นักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 ที่มา : สำ นักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ที่มา : สำ นักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาส ตำ แหน่งงานว่าง สมัครงาน ความต้องการแรงงาน จำ นวน 1,226 อัตรา จำ แนกตามประเภทอาชีพชี 5 อันดับแรก ดังนี้ มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา40 เรียนหนังสือ : 44,418 คน 20.79% เด็ก/ชรา/ป่วย/พิการจนไม่สามารถทำ งานได้: 74,041 คน 34.66 % ไม่ต้องการทำ งาน : 16,234 คน 7.60 % ชาย : 405,170 คน หญิง : 413,992 คน จำ นวนครัวเรือน : 230,120 ครัวเรือน 683 อัตรา 103.17% 201 อัตรา 30.39% 120 อัตรา 18.13% 89 อัตรา 13.44% 265 อัตรา 103.17% ชาย : 218,992 คน หญิง : 154,850 คน ชาย : 63,101 คน หญิง : 150,523 คน ที่มา : สำ นักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส สปก. 1,609 แห่ง ก.พ. 67 : 2,077 คน ไตรมาส 4 ปี 2566 : 513 คน สปก. 1,616 แห่ง ไตรมาส 1/ 67 22,198 คน ไตรมาส 4 ปี 25 66 327,250 คน ไตรมาส 1 ปี 2567 : 1,226 อัตรา ไตรมาส 4 ปี 2566 : 1,232 อัตรา ไตรมาส 1 ปี 2567 : 661 คน บรรจุ ไตรมาส 4 ปี 2566 : 328 คน ไตรมาส 1 ปี 2567 : 439 คน ปี 2566 : 169,132 คน ชาย : 97,390 คน หญิงญิ : 71,742 คน แรงงานนอกระบบ ปี 2565 : 171,339 คน ชาย : 94,178 คน หญิงญิ : 77,161 คน ผู้ปผู้ ฏิบัติบั ติงานที่มีฝีมีมืฝีอมืด้านเกษตรและประมง ปี 2565 จำ นวน 97,895 คน ปี 2566 จำ นวน 79,587 คน พนักนังานบริกริาร ปี 2565 จำ นวน 44,798 คน ปี 2566 จำ นวน 54,332 คน ผู้ปฏิบัติบั ติงานด้านความสามารถทางฝีมืฝีอมื ปี 2565 จำ นวน 13,894 คน ปี 2566 จำ นวน 15,068 คน อาชีพชีพื้นพื้ฐานต่างๆ ปี 2565 จำ นวน 8,350 คน ปี 2566 จำ นวน 11,092 คน ผู้ปฏิบัติบั ติงานโรงงานเครื่อรื่งจักร ปี 2565 จำ นวน 2,147 คน ปี 2566 จำ นวน 4,025 คน 0 5 10 15 20 25 จำ นวนเข้าฝึก(คน) จำ นวนผู้ผ่านการฝึก (คน) 0 20 40 60 80 100 120 140 จำ นวนเข้าฝึก (คน) จำ นวนผู้ผ่านการฝึก (คน) จำ นวนผู้ผ่านการทดสอบมีงานทำ รายได้ (คน) พัฒพันาศักยภาพแรงงาน การฝึกฝึยกระดับฝีมืฝีอมืแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมืฝีอมืแรงงาน 132 คน 85 คน 22 คน อยู่รยู่ะหว่าว่งดำ เนินนิการฝึกฝึ 15 คน ผลการตรวจคุ้มคุ้ครองแรงงานและความปลอดภัยของแรงงาน ไตรมาส 4 ปี 2566 (ต.ค.- ธ.ค.66) ไตรมาส 1 ปี 2567 (ม.ค.- มี.มีค.67) สถานประกอบ การ ผ่านการตรวจ (แห่ง) ปฏิบัติบั ติ ถูกถูต้อง (แห่ง) ปฏิบัติบั ติไม่ถูม่กถู ต้อง (แห่ง) สถาน ประกอบการ ผ่านการ ตรวจ (แห่ง) ปฏิบัติบั ติ ถูกถูต้อง (แห่ง) ปฏิบัติบั ติไม่ ถูกถูต้อง (แห่ง) 20 17 3 29 22 7 สวัสวัดิการและการคุ้มคุ้ครองแรงงาน ไตรมาส 1 ปี 2567 327,178 คน ไตรมาส 4/ 66 22,216คน ไตรมาส 1/ 67 3,712 คน ไตรมาส 4/ 66 3,757 คน ไตรมาส 1/ 67 301,268 คน ไตรมาส 4/ 66 301,277 คน ที่มา : สำ นักงานสวัสวัดิการและคุ้มคุ้ครองแรงงานจังจัหวัดวันราธิวธิาส ที่มา : สถาบันบัพัฒพันาฝีมืฝีอมืแรงงาน 25 นราธิวธิาส ไตรมาส 4 ปี 2566 : 2,190 คน ไตรมาส 1 ปี 2567 : 1,979 คน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 1 บทสรุปผู้บริหาร ไตรมาส 1 ปี 2567 (มกราคม - มีนาคม 2567) สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดนราธิวาส “ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสเดือนกุมภาพันธ์ 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่หดตัวจาก ด้านอุปสงค์หดตัวร้อยละ -31.85 จากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภค ภาคเอกชน การค้าชายแดนขยายตัว และการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ ด้านอุปทาน ขยายตัวร้อยละ 0.20 จากผลผลิตภาคเกษตรกรรม และภาคบริการขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว สำหรับ ด้านเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ -0.74 ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ประเภทเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ด้านการจ้างงาน หดตัวร้อยละ -2.01 ตามการชะลอ ตัวของแรงงานภาคอุตสาหกรรม” ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปี 2564 มีมูลค่า 45,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.91 จากปี 2563 (GPP ปี 2563 = 41,970 ล้านบาท) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน จำนวน 61,787 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.36 จากปี 2563 (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน ปี 2563 จำนวน 57,549 บาท) ภาวะเศรษฐกิจการค้าทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส เมษายน 2567 โดยภาพรวมดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วง เดือนถือศีลอด (เดือนรอมฎอน) ของชาวมุสลิม และวันตรุษอิดิ้ลฟิตรี ทำให้การจำหน่ายสินค้าในพื้นที่มีความ ครึกครื้น และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยังมีการจัดกิจกรรม มหกรรมสินค้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ 1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดนราธิวาส มีนาคม 2567 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ราคาโดย เฉลี่ยยังทรงตัว (เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เทียบกับเดือนมกราคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) 2. การค้าชายแดนจังหวัดนราธิวาส มูลค่าการค้าไทย – มาเลเซีย ด้านจังหวัดนราธิวาส เดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่าการค้าชายแดน ทั้งสิ้น 262.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 94.96 ล้านบาท (56.71%) และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าลดลง 7.95 ล้านบาท (-2.94%) - การส่งออก มูลค่า 158.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 20.04 ล้านบาท (14.52%) เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าลดลง 10.48 ล้านบาท (-6.22%) - การนำเข้า มูลค่า 104.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 74.92 ล้านบาท (254.48%) เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าเพิ่มขึ้น 2.53 ล้านบาท (2.48%) 3. การจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จังหวัดนราธิวาส มีการจดทะเบียนนิติบุคคลเดือนมีนาคม 2567ดังนี้ - ผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียน คงอยู่ จำนวน 1,669 ราย เงินทุน 8,036.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนกุมภาพันธ์2567 จำนวน 1,651 ราย เงินทุน 7,987.65 ล้านบาท - ผู้จดทะเบียนตั้งใหม่ จำนวน 11 ราย เงินทุน จำนวน 13.70 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 13 ราย เงินทุน จำนวน 18.10 ล้านบาท - ผู้ประกอบกิจการแจ้งเลิก จำนวน 2 ราย เงินทุน 1.3 ล้านบาท ลดลงจาก เดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 11 ราย เงินทุน 20.50 ล้านบาท


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 2 4.เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนราธิวาส - ด้านโรงงานอุตสาหกรรม ณ ไตรมาส 1 ปี 2567 (มกราคม - มีนาคม 2567) จังหวัดนราธิวาส มีโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ทั้งสิ้น 176 โรง เงินลงทุน 4,773.10 ล้านบาท การจ้างงาน จำนวน 3,742 คน กระจายตัวอยู่ในทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอเมืองมีโรงงานมากที่สุด และ โรงงานที่มีน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอศรีสาคร และอำเภอบาเจาะ - ด้านการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 30 มีนาคม 2567 มีโรงงานได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 2 โรง มีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 35.64 ล้านบาท การจ้างงาน 8 คน เมื่อเทียบกับห้วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา มีโรงงานได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงาน จำนวน 2 โรง การจ้างงาน 14 คน มูลค่าการลงทุน 4.60 ล้านบาท ตารางความเคลื่อนไหวการลงทุนโรงงานจังหวัดนราธิวาส ประเภท ปี 2565 (ม.ค. – ธ.ค.65) ปี 2566 (ม.ค. – ธ.ค.66) ปี 2567 (ม.ค. – มี.ค.67) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) 1. โรงงานที่ ได้รับอนุญาต 11 166 281.86 3 18 17.60 2 8 35.64 2. โรงงานที่ ขยายกิจการ 1 57 124 1 2 1.50 0 0 0 3. โรงงานที่ โอนกิจการ 7 302 102.07 0 0 0 0 0 0 4. โรงงานที่ เลิกกิจการ 1 2 0.40 2 13 4.67 0 0 0 รวม 20 527 508.33 6 33 23.77 2 8 35.64 ผลิตภาพแรงงานจังหวัดนราธิวาส คือ การวัดค่าประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เป็นตัวชี้วัดที่แสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานที่สามารถพัฒนาหรือเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น คำนวณจากผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ ปี 2564 เทียบกับจำนวนผู้มีงานทำในจังหวัดปี 2564 พบว่า ผลิตภาพแรงงาน อยู่ที่ 72,402 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 64,148 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.40 ผลิตภาพแรงงานจังหวัด ประเภท ปี2557 ปี2558 ปี2559 ปี2560 ปี2561 ปี2562 ปี2563 ปี2564 GPP ณ ราคา คงที่ในจังหวัด (ล้านบาท) (CVMs) 21,331 21,079 21,700 20,357 23,036 22,739 21,393 22,383 จำนวนผู้มีงาน ทำในจังหวัด (คน) 320,742 318025 318,148 311,598 319,945 318,025 321,133 309,150 ผลิตภาพแรงงาน จังหวัด (บาท) 66,505 66,281 68,207 65,331 72,000 70,117 64,148 72,402


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 3 สถานการณ์แรงงานของจังหวัดนราธิวาส จากการสำรวจภาวะการณ์ทำงานของประชากรในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัด นราธิวาส ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ มีประชากรในจังหวัดจำนวนทั้งสิ้น 819,162 คน โดยประชากรอยู่ในวัยทำงานผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 587,466 คน (ชาย 282,093 คน หญิง 305,373 คน) จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 373,842 คน (ชาย 218,992 คน หญิง 154,850 คน) ได้แก่ ผู้มีงานทำ จำนวน 362,067 คน (ชาย 210,829 คน หญิง 151,238 คน) ผู้ว่างงาน จำนวน 11,775 คน (ชาย 8,163 คน หญิง 3,612 คน) ในขณะที่ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 213,624 คน (ชาย 63,101 คน หญิง 150,523 คน) จำแนกเป็นผู้ทำงานบ้าน จำนวน 78,931 คน (ชาย 397 คน หญิง 78,534 คน) เรียนหนังสือ จำนวน 44,418 คน (ชาย 20,614 คน หญิง 24,804 คน) เด็ก/ชรา/ป่วย/พิการจนไม่สามารถ ทำงานได้ จำนวน 74,041 คน (ชาย 31,631 คน หญิง 42,410 คน) และผู้ไม่ต้องการทำงาน 16,234 คน (ชาย 10,458 คน หญิง 5,775 คน) การมีงานทำในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 362,067 คน พบว่า ทำงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 140,096 คน (คิดเป็นร้อยละ 38.69 ของผู้มีงานทำ ทั้งหมด) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 139,684 คน ในส่วนผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 221,971 คน ร้อยละ 63.31 (ของผู้มีงานทำ ทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 12,006คน ร้อยละ 60.05 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้มีงานทำใน จังหวัดนราธิวาส จะทำงานนอกภาคเกษตรกรรมมากกว่า เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรหลักของจังหวัดนราธิวาส คือ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีปริมาณผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ อีกทั้งในช่วงไตรมาส 4 เป็นช่วงฤดูฝน ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในหลายพื้นที่ โดยเมื่อแยกกลุ่มผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะทำงาน ในอุตสาหกรรมการขายส่ง การขายปลีก มากที่สุด จำนวน 66,789 คน คิดเป็นร้อยละ 18.45 ของผู้มีงานทำ นอกภาคเกษตรกรรม รองลงมาอุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวน 40,202 คน ร้อยละ 11.10 อุตสาหกรรมที่พักแรม และบริการด้านอาหาร จำนวน 27,005 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46 สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ จำนวน 21,871 คน คิดเป็นร้อยละ 6.04 การศึกษา จำนวน 21,684 คน คิดเป็นร้อยละ 5.99 และอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 18,119 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 ผู้ว่างงานในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 11,775 คน เป็นเพศชาย 8,163 คน คิดเป็นร้อยละ 2.89 และเพศ หญิง 3,612 คน คิดเป็นร้อยละ 1.18 ของผู้มีงานทำ ซึ่งมีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 20,511 คนเป็นเพศ ชาย 11,731 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 และเพศหญิง 8,780 คน คิดเป็นร้อยละ 2.88


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 4 แรงงานนอกระบบ จากข้อมูลการสำรวจแรงงานนอกระบบ ของสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส พบว่า ผู้มีงานทำที่อยู่ในแรงงานนอกระบบมีจำนวน 169,132 คน คิดเป็นร้อยละ 48.37 ของผู้มีงานทำ แยกเป็น เพศชาย จำนวน 97,390 คน และเพศ หญิง จำนวน 71,742 คน และเมื่อจำแนก ตามช่วงอายุ 5 อันดับแรก พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 32,306 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 รองลงมาคือผู้มีอายุ 55 - 59 ปี จำนวน 24,236 คน คิดเป็นร้อยละ 14.33 ช่วงอายุ 50 - 54 ปี จำนวน 23,165 คน คิดเป็นร้อยละ 13.70 อายุ 45 - 49 ปี จำนวน 22,353 คน คิดเป็นร้อยละ 13.22 และอายุ40 - 44 ปี จำนวน 17,312 คน คิดเป็นร้อยละ 10.24 แรงงานนอกระบบจำแนกตามระดับการศึกษา เรียงจากจำนวนมากไปหาน้อยพบว่าแรงงานนอกระบบ ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา จำนวน 70,769 คน คิดเป็นร้อยละ 41.84 รองลงมา คือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 29,370 คน คิดเป็นร้อยละ 17.36 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20,917 คน คิดเป็นร้อยละ 12.37 ต่ำกว่า ประถมศึกษา จำนวน 16,763 คน คิดเป็นร้อยละ 9.91 และไม่มีการศึกษา จำนวน 13,490 คน คิดเป็นร้อยละ 7.98 แรงงานนอกระบบจำแนกตามอาชีพ พบว่าแรงงานนอกระบบทำในอาชีพต่าง ๆ สูงสุด 5 อันดับแรก ดังนี้ (1) ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมง จำนวน 79,587 คน คิดเป็นร้อยละ 47.06 (2) พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและตลาด จำนวน 54,332 คน คิดเป็นร้อยละ 32.12 (3) ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ จำนวน 15,068 คน คิดเป็นร้อยละ 8.91 (4) อาชีพพื้นฐานต่างๆ จำนวน 11,092 คน คิดเป็นร้อยละ 4.87 (5) ผู้ปฏิบัติงานโรงงานเครื่องจักร จำนวน 4,025 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 การมีงานทำ ตำแหน่งงานว่าง และบรรจุงานในจังหวัดนราธิวาส การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาส 1 (มกราคม - เมษายน 2567) มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้ง ผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 1,226 อัตรา ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่มีตำแหน่งงานว่าง จำนวน 1,232 อัตรา ในส่วนของผู้ลงทะเบียนสมัครงานใน ไตรมาสนี้ พบว่า จำนวน 662 คน เพิ่มขึ้น


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 5 จากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 513 คน และมีผู้ได้รับการบรรจุงานในไตรมาสนี้ จำนวน 439 คน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่แล้วที่มีจำนวน 328 คน จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าตำแหน่งงานว่าง ทั้งสิ้น 1,226 อัตรา โดยแบ่งเป็น เพศชาย 277 อัตราเพศหญิง 102 อัตรา และไม่ระบุเพศ 847 อัตรา ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา การที่ตำแหน่ง งานว่างที่ไม่ได้ระบุเพศมากนั้นแสดงให้เห็นว่า สถานประกอบการหรือนายจ้างพิจารณาเห็นว่างานโดยทั่วไป ไม่ว่าชายหรือหญิงก็สามารถทำได้เช่นกันหรือไม่มีความแตกต่างในเรื่องเพศในอีกประการหนึ่งนายจ้างพิจารณา เห็นว่าการไม่ระบุเพศจะมีผลดีในด้านโอกาสการคัดเลือกมากกว่าการระบุเพศ ทั้งนี้หากจำแนกตามระดับการศึกษา วุฒิการศึกษาที่ต้องการสูงสุด พบว่า ตำแหน่งงานว่างระดับ มัธยมศึกษา มีความต้องการ จำนวน 611 อัตรา ร้อยละ 49.84 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า จำนวน 324 อัตรา ร้อยละ 26.43 ระดับปวส. จำนวน 100 อัตรา ร้อยละ 8.16 ระดับปริญญาตรี จำนวน 65 อัตรา ร้อยละ 5.30 ระดับปวช. จำนวน 70 อัตรา ร้อยละ 5.71 ระดับอนุปริญญา จำนวน 56 อัตรา ร้อยละ 4.57 ส่วนระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกในไตรมาสนี้ไม่มี ตำแหน่งงานว่างที่สถานประกอบการ ต้องการ จึงแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานในจังหวัดนราธิวาส มีความต้องการผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มากที่สุด และแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานในจังหวัดนราธิวาสมีความต้องการแรงงานทั่วไปที่ไม่ต้องมีความรู้หรือ ทักษะขั้นสูง ปัจจัยหลักการลงทุนในอุตสาหกรรมสมัยใหม่มีน้อย และนักลงทุนจากภายนอกไม่สนใจมาลงทุนใน พื้นที่ เนื่องจากปัญหาด้านความไม่สงบในพื้นที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากภายนอกถึงแม้จะมีความ ได้เปรียบด้านอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและนโยบายด้านภาษีแล้วก็ตาม การบรรจุงาน แยกตามประเภทอาชีพ สูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาชีพพื้นฐาน จำนวน 176 คน ร้อยละ 40.09(2) เสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 85 คน ร้อยละ 19.36 (3) พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและ ตลาด จำนวน 84 คน ร้อยละ 19.13 (4) ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน ร้อยละ 7.52 (5) ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ จำนวน 30 คน ร้อยละ 7.32 อุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่าง สูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) การผลิต จำนวน 325 อัตราร้อยละ 26.51 (2) การก่อสร้าง จำนวน 323 อัตรา ร้อยละ 26.35 (3) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 301 อัตรา ร้อยละ 24.55 (4) กิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย จำนวน 123 อัตรา ร้อยละ 10.03 (5) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ จำนวน 53 อัตรา ร้อยละ 4.32 อุตสาหกรรมที่บรรจุงาน สูงสุด 5 อันดับ (1) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซ่ม จำนวน 174 คน ร้อยละ 39.64 (2) การก่อสร้าง จำนวน 99 คน ร้อยละ 22.55 (3) การผลิต จำนวน 62 คน ร้อยละ 14.12 (4) กิจกรรม วิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ จำนวน 36 คน ร้อยละ 8.20 (5) ที่พักแรม และการบริการด้านอาหาร จำนวน 14 คน ร้อยละ 3.19


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 6 แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 2,190 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 1,875 คน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และทำงาน ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 พบว่า ไม่มีจำนวนคนต่างด้าวตลอดชีพ 2. คนต่างด้าวมาตรา 59 ประเภททั่วไป ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือ ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยมิได้รับอนุญาตให้เข้ามา ในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวน 83 คน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 84 คน 3. คนต่างด้าวมาตรา 59 พิสูจน์สัญชาติได้แก่ คนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองได้รับผ่อนผันให้ทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ผ่าน การพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะการเข้าเมืองถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว พบว่า จังหวัดนราธิวาส มีจำนวน แรงงานต่างด้าวได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีจำนวน 1,357 คน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 1,493 คน 4. คนต่างด้าวมาตรา 59 นำเข้าตาม MOU ได้แก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้า มาทำงานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลประเทศต้นทาง จำนวน 531 คน ลดลงจากไตรมาส ที่ผ่านมา จำนวน 606 คน 5. คนต่างด้าวมาตรา 62 ประเภทส่งเสริมการลงทุน ได้แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายปิโตเลียม หรือกฎหมายอื่น จำนวน 1 คน ซึ่งไม่มีการแจ้ง เข้า-ออกแรงงานต่างด้าวแต่อย่างใด 6. คนต่างด้าวมาตรา 63 ประเภทชนกลุ่มน้อย ได้แก่ คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติและกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสารเพื่อรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทำงาน จำนวน 7 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 6 คน 7. คนต่างด้าวมาตรา 64 ได้แก่ คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณ ชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักร ไทยกับประเทศที่ติดกับราชอาณาจักรไทย พบว่า จังหวัดนราธิวาสไม่มีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน บริเวณชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลง เนื่องจากจังหวัดนราธิวาส ไม่ได้ติดกับพรมแดนชายแดนดังกล่าว การบริการจัดหางานต่างประเทศ มีผู้แจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัดนราธิวาส พบว่า ในไตรมาส 1 ปี 2567 มีแรงงานไทยที่แจ้งประสงค์ขอเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศ จำนวน 46 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2566 จำนวน 36 คน และแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติ


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 7 ไปทำงานต่างประเทศ ในส่วนของการอนุญาตให้ไปทำงานต่างประเทศไตร1 ปี 2567 พบว่า มีผู้ได้รับอนุมัติไป ทำงานต่างประเทศ จำนวน 46 คน โดยผ่านวิธีการเดินทางต่างๆ ดังนี้ 1) บริษัทจัดหางานจัดส่ง จำนวน 1 คน 2) วิธีการเดินทางโดยผ่าน Re-Entry จำนวน 41 คน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้ว พบว่า ไตรมาสนี้ผู้ได้รับอนุญาตให้ไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การฝึกเตรียมเข้าทำงาน และการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ซึ่งในจังหวัดนราธิวาสไม่มีการฝึก ในไตรมาสนี้เนื่องจากเป็นไตรมาสแรกของปีงบประมาณ ซึ่งแตกต่างจากไตรมาสที่ผ่านที่มีผู้สมัครเข้ารับการฝึก เตรียมเข้าทำงาน กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 22 คน ในไตรมานี้ยังไม่มีผู้ผ่านการฝึกอบรม เนื่องด้วย อยู่ระหว่างการฝึกอบรม ส่วนการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน พบว่า ในไตรมาสนี้ มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกยกระดับ ฝีมือ จำนวน 232 คน โดยกลุ่มอาชีพที่ผ่านการยกระดับฝีมือ จำนวน 220 คน เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้ (1) กลุ่มช่างไฟฟ้า กลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 80 คน เท่าๆกัน (2) กลุ่มช่างก่อสร้าง,ช่างยนต์,ช่าง อุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 20 คน เท่าๆกัน ส่วนกลุ่มอาชีพอื่นๆในไตรมาสนี้ไม่พบผู้เข้าสมัครเข้ารับการ ยกระดับฝีมือ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน พบว่า ในไตรมาสนี้ มีผู้เข้าสมัครเข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือ จำนวน 81 คน โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้ (1) กลุ่มช่างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จำนวน 61 คน (2) กลุ่มช่างเชื่อม และโลหะ จำนวน 20 คน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในไตรมาสนี้ มีผู้เข้ารับการทดสอบ จำนวน 132 คน และผ่านการ ทดสอบ จำนวน 85 คน เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า (1) กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง จำนวน 88 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 70 คน (2) กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า จำนวน 22 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 8 คน (3) กลุ่มอาชีพช่าง อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จำนวน 22 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 7 คน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 8 ผู้ผ่านการทดสอบมีงานทำมีรายได้พบว่า ในไตรมาสนี้มีผู้ผ่านการทดสอบมีงานทำมีรายได้ จำนวน 15 คน โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า (1) กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า จำนวน 8 คน (2) กลุ่มอาชีพช่าง อิเล็กทรอนิกส์,คอมพิวเตอร์ จำนวน 7 คน การส่งเสริมสวัสดิการแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน การคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินการตรวจสอบแรงงานในสถานประกอบกิจการทั้งสิ้น จำนวน 15 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 356 คน จำแนกเป็นชาย 204 คน ร้อยละ 57.30 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด หญิง 152 คน ร้อยละ 42.70 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด ผลการตรวจความคุ้มครอง พบว่า สถานประกอบ กิจการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของการตรวจสถาน ประกอบการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 91.01 ส่วนการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ในไตรมาสนี้ จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.00 ของการตรวจสถานประกอบการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.99 การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น จำนวน 14 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 368 คน จำแนกเป็นเพศชาย 241 คน ร้อยละ 65.49 ของลูกจ้าง ที่ตรวจทั้งหมด เพศหญิง 127 คน ร้อยละ 34.51 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด ผลการตรวจความปลอดภัย พบว่า พบว่า สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้อง ตามความปลอดภัย จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.43 ลูกจ้างที่ปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 20.42 และปฎิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 4 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 28.57 ลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามความปลอดภัย จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 39.71 สำหรับสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองและความปลอดภัยในการทำงาน ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ ถูกต้องภายใน 30 วัน และนายจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนด การเกิดข้อเรียกร้อง/ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งภายในจังหวัดนราธิวาส ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 จังหวัดนราธิวาส ไม่พบว่ามีการแจ้งข้อเรียกร้องและส่วนข้อพิพาทแรงงานแต่อย่างใด สวัสดิการแรงงาน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการ โดยในไตรมาส 4 ปี 2566 ได้ดำเนินการส่งเสริมสวัสดิการเพื่อแรงงาน ครอบครัว และสังคม จำนวน 17 แห่ง ลูกจ้างที่ได้รับการส่งเสริม จำนวน 548คน และในส่วนกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนอื่น ๆ ทางจังหวัดไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด การเลิกจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาสรายงานสถานการณ์เลิกจ้าง ไตสมาส 1 ปี 2566 (มกราคม – เมษายน 2567) มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการ จำนวน 57แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 155 คน เป็นสถานประกอบการขนาดต่ำกว่า 10 คน จำนวน 53 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้างจำนวน 81คน ซึ่งลดลงจากไตรมาส ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการ จำนวน 66แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 166 คน การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 จังหวัดนราธิวาส มีลูกจ้างเจ็บป่วย จากการทำงาน จำนวน 21 คน ตามประเภทความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานเกิน 3 วัน กล่าว คือม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 42.86 ผู้หยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 52.38 และเสียชีวิต จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76ส่วนการประสบอันตรายประเภทอื่นๆในไตรมาสนี้ไม่พบผู้แจ้งแต่อย่างใด


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 9 การให้ความคุ้มครองด้านหลักประกันสังคม จังหวัดนราธิวาส มีผู้ประกันตนในประกันสังคม จำนวน 327,178 คน ลดลงจากไตรมาสผ่านมา เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นมาตรา 33 จำนวน 22,198 คน คิดเป็นร้อยละ 6.78 มาตรา 39 จำนวน 3,712 คน คิด เป็นร้อยละ 1.13 และมาตรา 40 จำนวน 301,268 คน คิดเป็นร้อยละ 92.08 และมีสถานประกอบการที่ขึ้น ทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,609 แห่ง ผู้ประกันตนในสถานกระกอบการ จำนวนทั้งสิ้น 22,198 คน โดยส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดต่ำกว่า 10 คน คือ มีจำนวน 1,145 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.16 จำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 3,310 คน คิดเป็นร้อยละ 14.91 และผู้ประกันตนในสถานประกอบการขนาด มากกว่า 10 คน ขึ้นไป มีจำนวน 464 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28.83 จำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 18,888 คน คิดเป็นร้อยละ 85.08 การใช้บริการของกองทุนประกันสังคม พิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน จำนวนผู้ใช้บริการมีทั้งสิ้น 13,832 คน ของผู้ประกันตนทั้งหมด ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 17,979 คน สำหรับ ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตน ใช้บริการ จำนวน 10,371 คน คิดเป็นร้อยละ 74.98 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณีชราภาพ จำนวน 1,481 คน คิดเป็นร้อยละ 10.71 กรณีเจ็บป่วย จำนวน 1,120 คน คิดเป็นร้อยละ 8.10กรณีคลอดบุตร จำนวน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 10 490 คน คิดเป็นร้อยละ 3.54 กรณีว่างงาน จำนวน 309 คน คิดเป็นร้อยละ 2.23 ทุพลภาพ จำนวน 42 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.30 และเสียชีวิต จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 ตามลำดับ การส่งเสริมการดำเนินงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนราธิวาส กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ 5 อำเภอ 5 ตำบล ประกอบด้วย 1) ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส 2) ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ 3) ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ 4) ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอ สุไหงโก-ลก 5) ตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาที่ดินในพื้นที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง นราธิวาส และตำบลละหาร อำเภอยี่งอ เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 2. อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 3. กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยว ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินโครงการศูนย์บริการ แบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2566 มีการพิจารณาอนุญาตทำงานแก่คนต่างด้าวแล้ว จำนวน 155 คน เพื่อลดปัญหาการลักลอบเข้ามา ทำงานในพื้นที่ชั้นในอย่างผิดกฎหมาย นายจ้างสถานประกอบการมีกำลังแรงงานเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดการค้า การลงทุนในจังหวัดนราธิวาส *********************************************


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 11 สภาพเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส 1) ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส 1.1 วิสัยทัศน์และพันธกิจ : “เศรษฐกิจมั่นคง การค้าเฟื่องฟู นราน่าอยู่ มุ่งสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน” 1.2 ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาดพื้นที่ : จังหวัดนราธิวาส แบ่งการปกครองภูมิภาค 13 อำเภอ การปกครองท้องที่ 77 ตำบล 589 หมู่บ้าน และมีการ จัดการปกครองท้องถิ่นดังนี้ 1.2.1 รูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง โดยใช้พื้นที่ทั้งจังหวัด 1.2.2 รูปแบบเทศบาลใช้พื้นที่ตำบลทั้งตำบล แต่เทศบาลบางแห่งใช้พื้นที่ไม่ครบทั้งพื้นที่ตำบล ในปัจจุบันมีจำนวน 16 เทศบาล แยกเป็นเทศบาลเมือง จำนวน 3 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 13 แห่ง 1.2.3 รูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบลใช้พื้นที่ ตำบลทั้งตำบลและบางแห่งรวมพื้นที่ตำบลอื่นหรือ พื้นที่ติดเขตเทศบาล มีจำนวน 73 แห่ง อาณาเขตจังหวัดนราธิวาส มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ ● ทิศเหนือ จดจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ● ทิศใต้ จดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ● ทิศตะวันออก จดประเทศมาเลเซีย ● ทิศตะวันตก จดจังหวัดยะลา แนวเขตระหว่างประเทศ มีชายแดนที่เชื่อมกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียทั้งทางบกและทางน้ำ มีเขตแดนติดต่อกันยาวประมาณ 178.60 กิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย รวม 3 ด่าน คือ 1. ด่านตากใบ (34 ไร่) อ.ตากใบ ติดเขตปกครองฝั่งมาเลเซีย Tumpat (รัฐ Kelantan) 2. ด่านสุไหงโก-ลก (61 ไร่) อ.สุไหงโก-ลก ติดเขตปกครองฝั่งมาเลเซีย RangtauPanjang (รัฐ Kelantan) 3. ด่านบูเก๊ะตา (49 ไร่) อ.แว้ง ติดเขตปกครองฝั่งมาเลเซีย Bukit Bunga (รัฐ Kelantan) 1.3 ลักษณะภูมิประเทศ : จังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ 2,797,143 ไร่ มีพื้นที่ป่าและภูเขาประมาณ 2 ใน 3 ของ พื้นที่ทั้งหมดมีภูเขาหนาแน่นแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จดเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดน ไทย - มาเลเซีย ลักษณะของพื้นที่ มีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออกพื้นที่ราบ ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือแม่น้ำสายบุรีแม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีพื้นที่ป่าพรุจำนวนประมาณ 361,860 ไร่ 1.4 การปกครอง และจำนวนประชากร (ที่อยู่ในทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง) : ประชากรจังหวัดนราธิวาส นับถือศาสนาอิสลาม 82% นับถือศาสนาพุทธ 17% นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นๆ 1% ประชากรใช้ภาษาพูดหลากหลายเพราะมีหลายกลุ่มมาตั้งถิ่นฐาน ในจังหวัดนราธิวาส ที่มาจาก ภาคกลาง ก็จะใช้ภาษาไทยมาตรฐาน หากมาจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ จึงมีสำเนียงพูดหลายสำเนียง เช่น สำเนียงภาษาไทยใต้ตอนบน ภาษาไทยใต้ตอนล่างและยังมีภาษาพูดและสำเนียงที่แปลกไปจากภาษาไทยภาคใต้


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 12 ในจังหวัดอื่นๆ มากเป็นพิเศษคือ สำเนียงภาษาเจ๊ะเห มีพูดกันมานาน และมีอยู่ในกลุ่มคนไทยพุทธดั้งเดิมของ จังหวัดนราธิวาส เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของอำเภอตากใบ สำหรับคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะใช้ภาษา ซึ่งเรียกว่า "ภาษามลายูถิ่น" หรือ “ภาษายาวี” ในชีวิตประจำวันคล้ายคลึงกับภาษามลายูในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยมีประชากรตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์ ณ ปี2566 จำนวน รวนทั้งสิ้น 819,162 คน จำแนกเป็นสัญชาติไทย จำนวนเพศชาย 404,519 คน เพศหญิง 413,455 คน รวม 817,974 คน และไม่ได้สัญชาติไทย จำนวนเพศชาย 651 คน เพศหญิง 537 คน รวม 1,188 คน มีมัสยิด 637 แห่ง วัด 73แห่งและโบสถ์คริสต์ 5แห่ง 1.5 ทรัพยากรสำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้ของจังหวัด : สถานการณ์การค้าสินค้าเกษตร (ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มคณะทำงานตรวจสอบสต็อกน้ำมัน ปาล์มคงเหลือทั้งระบบระดับจังหวัด จังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือ ทั้งระบบ ณ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้ - น้ำมันปาล์มดิบ(CPO) คงเหลือจำนวน607.854 ตัน - น้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ 1,141.932 ตัน - ปริมาณผลปาล์มที่รับซื้อ จำนวน 6,303.340 ตัน - ปริมาณผลปาล์มที่ใช้ในการผลิต จำนวน 6,303.340 ตัน ภาวะราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด ราคายางพาราวันที่ 31 ธันวาคม 2566 - ยางแผ่นดิบ ราคากิโลกรัมละ 52.33 บาท - ยางก้อนถ้วย ราคากิโลกรัมละ 22.00 บาท ภาพรวมราคายางพาราปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากภาคใต้มีปริมาณฝนที่ลดลง ทำให้ปริมาณยาง ที่เข้าสู่ตลาดมากกว่าเดือนที่ผ่านมาจากที่เกษตรกรสามารถกรีดยางได้มากขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างเห็นได้ชัดที่เป็นปัจจัยลบในการส่งออก ประกอบกับราคายางในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศที่มีการปรับตัว ลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะมีการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการอัดฉีดเงิน เข้าสู่ระบบ โดยดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนพฤศจิกายน 66 ปรับลดลงต่ำกว่าเดือนก่อนและต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกัน 1.6 อาชีพที่สร้างรายได้มาสู่จังหวัด : อาชีพหลักของประชากรคือ การทำสวนยางพารา สวนมะพร้าวและผลไม้ต่างๆ การทำนา การประมงและการเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตทางด้านการเกษตรจึงทำรายได้ให้กับจังหวัดเป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่ การค้าขายและการบริการอื่นๆ ทำรายได้ให้จังหวัดเป็นอันดับสอง


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 13 ภาวะเศรษฐกิจการคลังของจังหวัด 2) ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส สำนักงานคลังจังหวัดนราธิวาส ได้ประเมิน “ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสเดือนกุมภาพันธ์2567 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่หดตัวจากด้านอุปทาน และด้านอุปสงค์ โดย เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) ขยายตัวร้อยละ 0.20 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ขยายตัวจากเดือนที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ -4.36 สะท้อนจาก ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อย ละ 5.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พิจารณาจากปริมาณผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้มีจำนวนวันกรีดยางเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาผลผลิตยางเพิ่มขึ้น ที่ทำให้ เกิดแรงจูงใจต่อการกรีดยาง และผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ โคและสุกรขยายตัวร้อยละ 11.11 และ 36.08 ตามลำดับ และดัชนีผลผลิตภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 1.35 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านแดนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดือนนี้เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนและเป็นวันหยุดภาคเรียน ของประเทศมาเลเซีย ประกอบกับจังหวัดจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ได้แก่ งานวันตรุษจีน ประจำปี 2567และงาน NARA Classic Festival 2024 ซึ่งส่งผลต่อภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคาร และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงแรมเพิ่มขึ้น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ -20.76 เมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พิจารณาจากปริมาณหินแกรนิตลดลงร้อยละ -69.68 ตามคำสั่งซื้อคอนกรีต ปูนซีเมนต์ผสมสำเร็จรูปลดลง เครื่องชี้เศรษฐกิจ ปี 2565 ปี 2566 ปี2567 Q1 Q2 Q3 Q4 ธ.ค. ม.ค. ก.พ. YTD เศรษฐกิจด้านอุปทาน 24.95 63.10 70.09 -1.32 -10.89 -30.15 -4.36 0.20 -1.69 ดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรม (โครงสร้างสัดส่วน 23.10%) 20.82 58.70 103.09 1.99 -69.20 83.25 27.56 5.46 11.66 ดัชนีผลผลิต ภาคอุตสาหกรรม (โครงสร้างสัดส่วน 8.63%) 22.87 46.56 30.55 23.14 -2.51 -18.05 -17.74 -20.76 -19.27 ดัชนีผลผลิตภาคบริการ (โครงสร้างสัดส่วน 68.27%) 26.68 67.54 63.81 -5.70 5.32 -12.68 -7.12 1.35 -2.35 ที่มา : รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส สำนักงานคลังจังหวัดนราธิวาส เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) หดตัวร้อยละ -31.85 เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหดตัว จากเดือนที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ -10.69 สะท้อนจาก ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวร้อยละ -52.42 เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายลดลง โดยรายจ่ายประจำ เบิกจ่ายลดลง ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานราธิวาส เทศบาลเมือง นราธิวาส และเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายลดลง เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณใน หมวดหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของโครงการชลประทานนราธิวาส แขวงทางหลวงนราธิวาส และแขวงทาง หลวงชนบทนราธิวาสลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนลดลง อย่างไรก็ดีคณะกรรมการติดตาม เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐจังหวัดนราธิวาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 14 ได้ดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณ รวมถึงลงพื้นที่ติดตามให้คำปรึกษา แนะนำและ เสนอแนะแนวทางในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อให้การเบิกจ่ายและการใช้จ่าย งบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายที่ก าหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน หดตัวร้อยละ -36.92 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ จำนวนรถยนต์นั่งจด ทะเบียนใหม่ และจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการพาณิชยกรรมและการบริการลดลงร้อยละ -70.17 -22.55 และ -14.33 ตามลำดับ ดัชนีการค้าชายแดน หดตัวร้อยละ -19.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญลดลง ได้แก่ ยางมะตอย ไม้แปรรูป และเครื่องใช้ในครัวเรือน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน หดตัวร้อยละ -1.73 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามจำนวนทุนจด ทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ และจำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนใช้ในการพาณิชย์ลดลงร้อยละ -24.87 และ -22.06 ตามลำดับ เครื่องชี้เศรษฐกิจ ปี 2565 ปี 2566 ปี2567 Q1 Q2 Q3 Q4 ธ.ค. ม.ค. ก.พ. YTD เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ 0.63 3.76 -1.11 0.50 -1.70 -10.66 -10.69 -31.85 -22.46 ดัชนีการบริโภค ภาคเอกชน 8.78 15.33 12.95 8.02 -1.24 -16.96 -7.01 -36.92 -24.61 ดัชนีการลงทุน ภาคเอกชน -2.82 -2.06 -2.34 -6.20 -0.45 4.62 -9.18 -1.73 -5.55 ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐ -0.05 8.03 -6.22 1.73 -4.40 -24.05 -31.32 -52.42 -43.86 ดัชนีมูลค่าการค้า ชายแดน -7.76 -16.37 -16.37 -5.19 0.27 4.56 21.31 -19.24 0.23 ที่มา : รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส สำนักงานคลังจังหวัดนราธิวาส รายได้เกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส ในเดือนกุมภาพันธ์2567 ขยายตัวร้อยละ 111.36 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน ตามผลผลิตและราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น เครื่องชี้ศรษฐกิจจังหวัด (Demand Side) ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 Q1 Q2 Q3 Q4 ธ.ค. ม.ค. ก.พ. YTD ดัชนีรายได้เกษตรกร (%yoy) 5.44 0.13 36.87 5.92 -58.49 -73.24 107.57 111.36 102.41 ปริมาณเงินฝากรวม (%yoy) -3.24 -3.49 -4.44 -4.12 -3.24 -3.24 -4.49 -3.31 -3.31 ปริมาณสินเชื่อรวม (%yoy) 0.74 -1.09 -0.51 -0.26 0.74 0.74 0.46 0.87 0.87 ที่มา : รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส สำนักงานคลังจังหวัดนราธิวาส ด้านการเงิน ปริมาณเงินฝากรวมหดตัวร้อยละ -3.31 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อนจากเงิน ฝากธนาคารพาณิชย์ลดลง และด้านปริมาณสินเชื่อรวมขยายตัวร้อยละ 0.87 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ก่อนจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเพิ่มขึ้น ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจังหวัด ในเดือนกุมภาพันธ์2567 อยู่ที่ ร้อยละ -0.74 ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ประเภทเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ และหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 15 ด้านการจ้างงาน หดตัวร้อยละ -2.01 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของ แรงงานภาคอุตสาหกรรม เครื่องชี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 Q1 Q2 Q3 ก.ย. ต.ค. ม.ค. ก.พ. YTD อัตราเงินเฟ้อ (InflationRate)(%yoy) -1.97 0.47 -3.08 -3.05 -2.16 -2.39 -2.04 -0.74 -1.39 การจ้างงาน (Employment) (%yoy 1.88 4.66 1.30 -0.30 1.86 1.89 -2.01 -2.01 -2.01 ที่มา : รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาส สำนักงานคลังจังหวัดนราธิวาส 2.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนราธิวาส (GPP : Gross Provincial Product) : เศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาส ในปี 2564 จังหวัดนราธิวาส มีโครงสร้างเศรษฐกิจหลักคือพึ่งพา กิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตร โดยผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) นอกภาคการเกษตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทุกปี ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ในขณะที่ GPP ภาคการเกษตรของจังหวัดมีความผันผวน ตามราคาสินค้า เกษตรในตลาดโลกตั้งแต่ปี 2557 ถึงปี 2564 ผลิตภัณฑ์จังหวัด ภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 26.89 ของ ผลิตภัณฑ์จังหวัด (มูลค่า 12,176 ล้านบาท) ในขณะที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดนอกภาคการเกษตร มีสัดส่วน ร้อยละ 73.11 ของผลิตภัณฑ์จังหวัด (มูลค่า 33,112 ล้านบาท) ตารางที่ 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดนราธิวาส ณ ปี 2564 โครงสร้างของผลิตภัณฑ์จังหวัดนราธิวาส ณ ราคาประจำปี พ.ศ.2558 – 2564 (หน่วย : ล้านบาท) สาขา ปี 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 ภาคเกษตร 14,945 11,637 12,983 11,229 12,986 12,227 10,382 12,176 สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง 14,945 11,637 12,983 11,229 12,986 12,227 10,382 12,176 ภาคนอกเกษตร 24,306 26,517 28,496 29,514 30,779 31,588 31,588 33,112 สาขาการทำเหมืองแร่ และเหมืองหิน 173 159 180 151 276 262 277 296 สาขาการผลิต 2,349 2,465 2,722 2,914 2,796 2,759 2,779 3,158 สาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ 417 397 421 435 395 423 452 486 สาขาการประปาและ การจัดการของเสีย 80 90 95 104 147 129 115 135 สาขาการก่อสร้าง 1,616 2,026 2,145 2,090 2,117 2,507 2,570 2,954 สาขาการขายส่ง ขาย ปลีก การซ่อมยานยนต์ และจักรยานยนต์ 3,639 3,577 4,269 4,051 4,457 4,481 4,258 4,440 สาขาการขนส่งและ สถานที่เก็บสินค้า 579 679 633 791 860 872 892 1,202 สาขาที่พักแรมและ บริการด้านอาหาร 194 227 246 265 300 327 132 148


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 16 โครงสร้างของผลิตภัณฑ์จังหวัดนราธิวาส ณ ราคาประจำปี พ.ศ.2558 – 2564 (หน่วย : ล้านบาท) สาขา ปี 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 สาขาข้อมูลข่าวสารและ การสื่อสาร 379 428 388 486 518 587 586 649 สาขาการเงินและการ ประกันภัย 1,547 1,650 1,886 1,973 2,153 2,129 2,150 2,123 สาขาอสังหาริมทรัพย์ 1,539 1,382 1,469 1,462 1,899 1,987 1,994 1,933 สาขากิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 1 1 2 2 1 3 4 4 สาขาการบริหารและกา รบริกาสนับสนุน 67 69 67 80 91 98 47 37 สาขาการบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ 2,422 3,894 4,008 4,156 4,382 4,590 4,624 4,551 สาขาการศึกษา 7,469 7,542 7,922 8,416 8,074 8,005 8,103 8,308 สาขาสุขภาพและสังคม สงเคราะห์ 1,309 1,367 1,452 1,525 1,680 1,761 1,918 2,091 สาขาศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 33 33 41 48 57 67 60 70 สาขาบริการอื่น ๆ 493 531 549 563 576 601 627 526 ผลิตภัณฑ์จังหวัด 39,251 38,154 41,479 40,743 43,765 43,815 41,970 45,288 ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (บาท) 55,973 53,803 58,126 56,799 60,662 60,398 57,549 61,787 ประชากร (1,000 คน) 701 709 714 717 721 725 729 733 ข้อมูลและลำดับผลิตภัณฑ์จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน จังหวัด ผลิตภัณฑ์จังหวัด (ล้านบาท) ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปัตตานี 48,996 49,239 54,347 46,177 48,361 49,965 48,467 50,600 ยะลา 40,054 38,041 42,746 43,360 45,104 46,610 48,209 50,387 นราธิวาส 39,251 38,154 41,479 40,743 43,765 43,815 41,970 45,288 กลุ่มจังหวัด ภาคใต้ ชายแดน 128,301 125,434 138,572 130,280 137,230 140,390 138,646 146,275 ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 17 2.2 ภาวะการณ์ค้าทั่วไป 2.2.1 ภาวะเศรษฐกิจการค้าทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส เมษายน 2567 โดยภาพรวมดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเดือนถือศิลอด (เดือนรอมฎอน) ของชาวมุสลิม และวันตรุษอิดิ้ลฟิตรี ทำให้การจำหน่ายสินค้า ในพื้นที่มีความครึกครื้น และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยัง มีการจัดกิจกรรมมหกรรมสินค้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ 2.2.2 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดนราธิวาส มีนาคม 2567 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ราคาโดยเฉลี่ยยังทรงตัว (เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เทียบกับเดือนมกราคม 2567 สูงขึ้นร้อยละ 0.1) 2.2.3 การค้าชายแดนจังหวัดนราธิวาส มูลค่าการค้าไทย – มาเลเซีย ด้านจังหวัดนราธิวาส เดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่าการค้าชายแดน ทั้งสิ้น 262.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 94.96 ล้านบาท (56.71%) และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าลดลง 7.95 ล้านบาท (-2.94%) การส่งออก มูลค่า 158.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 20.04 ล้านบาท (14.52%) เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าลดลง 10.48 ล้านบาท (-6.22%) การนำเข้า มูลค่า 104.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 74.92 ล้านบาท (254.48%) เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มูลค่าเพิ่มขึ้น 2.53 ล้านบาท (2.48%) 2.3 การจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ จังหวัดนราธิวาส มีการจดทะเบียนนิติบุคคลเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียน คงอยู่ จำนวน 1,669 ราย เงินทุน 8,036.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 1,651 ราย เงินทุน 7,987.65 ล้านบาท ผู้จดทะเบียนตั้งใหม่ จำนวน 11 ราย เงินทุน จำนวน 13.70 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 13 รายเงินทุน จำนวน 18.10 ล้านบาท ผู้ประกอบกิจการแจ้งเลิก จำนวน 2 ราย เงินทุน 1.3 ล้านบาท ลดลงจาก เดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 11 ราย เงินทุน 20.50 ล้านบาท แผนภูมิที่ 1 การจดทะเบียนของนิติบุคคลตั้งใหม่ตามหมวดธุรกิจจังหวัดนราธิวาส ที่มา : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 18 2.4 เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดนราธิวาส ด้านโรงงานอุตสาหกรรม ณ ไตรมาส 1 ปี 2567 (มกราคม - มีนาคม 2567) จังหวัดนราธิวาส มี โรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ทั้งสิ้น 176 โรง เงินลงทุน 4,773.10 ล้านบาท การจ้างงาน จำนวน 3,742 คน กระจายตัวอยู่ในทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอเมืองมีโรงงานมากที่สุด และโรงงานที่มีน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอศรีสาคร และอำเภอบาเจาะ ด้านการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 30 มีนาคม 2567 มีโรงงานได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 2 โรง มีมูลค่าการลงทุนเท่ากับ 35.64 ล้านบาท การจ้างงาน 8 คน เมื่อเทียบกับห้วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา มีโรงงานได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงาน จำนวน 2 โรง การจ้างงาน 14 คน มูลค่าการลงทุน 4.60 ล้านบาท ตารางที่ 2 ความเคลื่อนไหวการลงทุนโรงงานจังหวัดนราธิวาส ประเภท ปี 2565 (ม.ค. – ธ.ค.65) ปี 2566 (ม.ค. – ธ.ค.66) ปี 2567 (ม.ค. – มี.ค.67) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) จำนวน (แห่ง) คนงาน (คน) เงินทุน (ล้านบาท) 1. โรงงานที่ ได้รับอนุญาต 11 166 281.86 3 18 17.60 2 8 35.64 2. โรงงานที่ ขยายกิจการ 1 57 124 1 2 1.50 0 0 0 3. โรงงานที่ โอนกิจการ 7 302 102.07 0 0 0 0 0 0 4. โรงงานที่ เลิกกิจการ 1 2 0.40 2 13 4.67 0 0 0 รวม 20 527 508.33 6 33 23.77 2 8 35.64 ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 19 ดัชนีชี้วัดภาวะแรงงาน 3) ภาวะด้านแรงงาน ภาวะด้านแรงงานมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สืบเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น สถานการณ์ทางการเมืองไม่มีเสถียรภาพ จะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เกิดการชะลอการลงทุน ชะลอการขยายกิจการ รวมถึงชะลอการจ้างงาน ในขณะ ที่การผลิตคนเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานของภาคการศึกษายังคงมีอย่างต่อเนื่อง มิอาจชะลอตามภาวะการณ์ ด้านเศรษฐกิจ จึงส่งผลต่อการว่างงาน การทำงานต่ำระดับ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การผลิต ต้นทุนการผลิต ฤดูกาล ทัศนคติทั้งของฝ่ายนายจ้างและผู้ใช้แรงงาน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของภาวะด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือแรงงาน มาตรฐานแรงงาน ฯลฯ ดังนั้นการจะทราบความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของภาวะ แรงงาน จึงต้องมีการพิจารณาศึกษาเพื่อกำหนดตัวชี้วัด พร้อมทั้งติดตามการเปลี่ยนแปลงเพื่อศึกษาวิเคราะห์ ถึงสาเหตุของปัญหา รวมถึงทำนายหรือคาดการณ์อนาคต อันจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการกำหนด แผนงานที่จะต้องทำให้สนองตอบต่อความต้องการของทุกกลุ่มทั้งนายจ้าง ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สถานการณ์แรงงานจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 1 ปี 2567 ฉบับนี้ ขอนำเสนอตัวชี้วัด ภาวะแรงงาน ดังนี้ 3.1 ผลิตภาพแรงงานจังหวัดนราธิวาส ผลิตภาพแรงงาน คือ การวัดค่าประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการทำงานที่สามารถพัฒนาหรือเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น คำนวณจากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ณ ราคาคงที่ ปี 2564 เทียบกับจำนวนผู้มีงานทำในจังหวัดปี 2563 พบว่า ผลิตภาพแรงงาน อยู่ที่ 72,402 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 64,148 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.40 ตารางที่ 3 ผลิตภาพแรงงานจังหวัด ผลิตภาพแรงงานจังหวัด ประเภท ปี2557 ปี2558 ปี2559 ปี2560 ปี2561 ปี2562 ปี2563 ปี2564 GPP ณ ราคา คงที่ในจังหวัด (ล้านบาท) (CVMs) 21,331 21,079 21,700 20,357 23,036 22,739 21,393 22,383 จำนวนผู้มีงาน ทำในจังหวัด (คน) 320,742 318025 318,148 311,598 319,945 318,025 321,133 309,150 ผลิตภาพแรงงาน จังหวัด (บาท/ คน) 66,505 66,281 68,207 65,331 72,000 70,117 64,148 72,402 ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจฯ/สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 20 3.2 อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของจังหวัดนราธิวาส อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานเป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงสภาพกำลังแรงงานในตลาดแรงงาน ของจังหวัดนราธิวาส เมื่อเทียบกับประชากรวัยแรงงานทั้งหมด โดยคำนวณจากกำลังแรงงานในจังหวัดนราธิวาส เทียบกับประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 พบว่า มีอัตราร้อยละ 63.64 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2566 มีอัตราร้อยละ 63.10 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2565 ที่มีอัตรา 65.04 เนื่องด้วยตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2565 ปัญหาด้านค่าครองชีพที่มีราคาสินค้าและบริการอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้า สูงขึ้นเกษตรตกต่ำ ทำให้บางสถานประกอบการต้องปิดตัวลง ทำให้การมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานลงลด แผนภูมิที่ 2 อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของจังหวัดนราธิวาส (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส 3.3 อัตราการมีงานทำของจังหวัดนราธิวาส อัตราการจ้างงานเป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นภาวการณ์มีงานทำในตลาดแรงงานของจังหวัด นราธิวาสมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 นั้น พบว่า อัตราการจ้างงานในจังหวัดอยู่ที่ร้อยละ 61.63 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา อัตราการจ้างงานในจังหวัดอยู่ที่ ร้อยละ 59.60 เมื่อแยกเป็นอัตราการจ้างงานในภาคเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 38.69 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จะพบว่า อัตราการมีงานทำในภาคเกษตรจังหวัดนราธิวาส ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2566 ที่มีอัตราร้อยละ 39.95 ส่วนอัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตร ไตรมาส 4 ปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.31 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2566 ที่มีอัตราร้อยละ 60.05 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตร เกิดจากผู้ใช้แรงงานในภาคเกษตร เริ่มเข้าไปอยู่ในนอกภาคเกษตร อันมีสาเหตุจากภาพอากาศและสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด ทำให้ไม่สามารถ กรีดยางหรือเก็บผลผลิตได้ตามปกติรวมถึงราคายางภาพรวม ปรับตัวลดลง โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการที่ราคา น้ำมันดิบและราคาตลาดล่วงหน้าต่างประเทศปรับตัวลดลงอีกทั้งปัญหาการขาดแคลนชิป Semiconductor และ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งยาง ประกอบกับเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ปกติส่งผลให้ผู้ประกอบการเริ่มกลับมา ดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 21 แผนภูมิที่ 3 อัตราการมีงานทำใน/นอกภาคเกษตรของจังหวัดนราธิวาส (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 ) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส เมื่อพิจารณาอัตราการมีงานทำเฉพาะในส่วนภาคอุตสาหกรรม โดยคำนวณจากจำนวนผู้มีงานทำ ในภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดจะพบว่า อัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 พบว่า มีอัตราร้อยละ 61.31 ซึ่งเพิ่มขึ้น จากไตรมาส 3 ปี 2566 ที่มีอัตราร้อยละ 60.05 แผนภูมิที่ 4 อัตราการมีงานทำในภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดนราธิวาส (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 ) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส โดยสรุปในภาพรวมจะพบว่าอัตราการมีงานทำหรือการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ประชากรวัยแรงงานจะไปหางานทำในภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดและจังหวัดอื่นๆ มากกว่าทำงาน ในภาคการเกษตร เนื่องด้วยสภาพอากาศและสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 22 3.4 อัตราการว่างงานของจังหวัดนราธิวาส การศึกษาอัตราการว่างงานในปีที่ผ่านมา จะพบว่าอัตราว่างงานของจังหวัดนราธิวาส แต่ละไตรมาส จะปรับตัวสูงขึ้นและลดลงตามปัจจัยในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยังคงมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2565 – ไตรมาส 4 ปี 2566 ส่วนหนึ่งมีผู้จบการศึกษามากขึ้น ดังนั้น อัตราการว่างงานจึงเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่หากอัตราการว่างงานลดลง จะหมายถึงสภาพเศรษฐกิจในพื้นกำลังดีขึ้น สถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้ อัตราการว่างงานลดลงจากเดิม สำหรับอัตราการว่างงานในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 มีอัตราร้อยละ 3.15 ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอัตราว่างงานที่ลดลงจาก ไตรมาส 3 ปี 2566 มีอัตราร้อยละ 5.54 แผนภูมิที่ 5 อัตราการว่างงานของจังหวัดนราธิวาส(โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส 3.5อัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (ม.33)อัตราการเปลี่ยนแปลง ของผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคม ไตรมาส 4 ปี 2566 มีจำนวน 22,198 คน อัตราเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ประกันตน (มาตรา 33) ร้อยละ -1.31 ลดลงจากไตรมาสก่อน ที่ร้อยละ 3.26 และจำนวนผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 309 คน อัตราเปลี่ยนแปลงของ ผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานร้อยละ -67.16 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่ ผ่านมา ร้อยละ -50.26 สำหรับจำนวนผู้ประกันตนที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างอัตรา การเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 (เดือนมกราคม - เมษายน 2567) อยู่ที่ร้อยละ 0.70


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 23 แผนภูมิที่ 6 อัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (ม.33) อัตราเปลี่ยนแปลง ของผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ที่มา : สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาส 3.6 อัตราการบรรจุงาน อัตราการบรรจุงานในแต่ละไตรมาส เป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของภาวการณ์ ด้านแรงงาน ซึ่งสามารถศึกษาวิเคราะห์กับจำนวนตำแหน่งงานว่าง และจำนวนผู้สมัครงาน โดยเมื่อวิเคราะห์ จำนวนการบรรจุงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดดำเนินการ เทียบกับจำนวนตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่าน สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส จะพบว่า อัตราการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 35.63 โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2566 ที่มีร้อยละ 26.62 ผู้บรรจุงานกับจำนวนผู้สมัคร ไตรมาสนี้ที่มีอัตราร้อยละ 66.41 มีอัตราลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2567 ที่มีอัตรา 63.94 ทั้งนี้อาจเป็น เพราะในไตรมาสนี้มีผู้สมัครงานลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แผนภูมิที่ 7 อัตราการบรรจุงานของจังหวัดนราธิวาส ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 24 3.7 อัตราการจ้างงานแรงงานต่างด้าว อัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 0.55 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.63 หมายถึง ผู้มีงานทำทุก ๆ 100 คน จะมีการจ้างแรงงานต่างด้าวประมาณ 0 – 1 คน และอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) ต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด คิดเป็นร้อย ละ 0.57ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.43 แผนภูมิที่ 8 อัตราการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ในจังหวัดนราธิวาส ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 3.8 อัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายความปลอดภัยในการ ทำงานของสถานประกอบการ อัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สถานประกอบกิจการการเป็นตัวบ่งบอก ตัวหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงภาวการณ์ด้านแรงงาน หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายย่อมส่งผลกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานตามมา ซึ่งพบว่า อัตราการ ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของสถานประกอบการในจังหวัดต่อจำนวนสถานประกอบการ ที่ผ่านการตรวจทั้งหมดในไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า สถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน มีอัตราร้อยละ 25.00 และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ไตรมาส 1 ปี2566 พบว่า มีอัตรา ร้อยละ 50.00 ทั้งนี้ส่วนใหญ่การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานจะเป็นเรื่องของข้อบังคับการทำงาน ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า สถานประกอบการต้องมีข้อบังคับการทำงาน เช่น การกำหนดวันเวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด และประกาศให้ลูกจ้างทราบ พร้อมทั้งทำสำเนาแจ้งให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทราบ แต่สถานประกอบการหลายแห่งไม่ทราบ หรือทราบไม่ครบทุกขั้นตอน จึงพบปัญหาสถานประกอบกิจการไม่ ปฏิบัติตามกฎหมายจำนวนมาก อย่างไรก็ตามได้มีการแนะนำให้สถานประกอบกิจการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อ กฎหมาย อัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า อัตราร้อยละ 40.00ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่อัตราร้อยละ 25.00และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา ไตรมาส 1 ปี 2566 พบว่า อัตราร้อยละ 22.22


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 25 แผนภูมิที่9อัตราการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน/ความปลอดภัยในการทำงานของสถาน ประกอบกิจการ ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส 3.9 อัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงาน/ข้อขัดแย้ง ในสถานประกอบการ การเกิดข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานจะแสดงให้เห็นถึงทิศทาง ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่ามีทิศทางหรือแนวโน้มไปในทางใด การเกิดข้อพิพาทแรงงานนั้น มีผลมาจากการที่ลูกจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง และหากไม่สามารถยุติ หรือตกลงกันได้ก็จะเกิดเป็น ข้อพิพาทแรงงานขึ้น สำหรับอัตราสถานประกอบการที่เกิดข้อพิพาทแรงงานในจังหวัดต่อสถานประกอบ กิจการ 1,000 แห่ง พบว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 จนถึง ไตรมาส 1 ปี 2567 มีอัตราในช่วง 0.00 – 40.00 โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ไม่มีอัตราข้อพิพาท ซึ่งมีค่าคงเดิมจากไตรมาสที่แล้วที่ไม่มีอัตราข้อพิพาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างในจังหวัดอยู่ในระดับดีมาก สำหรับข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ที่มิใช่ ข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมายแรงงาน เป็นตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างได้โดย อัตราการเกิดข้อขัดแย้งในสถานประกอบการต่อสถานประกอบการ 100,000 แห่ง ในรอบปี ที่ผ่านมานับจากไตรมาส 1 ปี 2564 จนถึงไตรมาส 1 ปี 2567 มีอัตราอยู่ในช่วง 0.00 – 40.00 โดยไตรมาส 1 ปี 2567 ไม่มีอัตราข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาก็พบว่า ไม่มีอัตราข้อขัดแย้งในสถานประกอบการเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาความเคลื่อนไหวแล้ว พบว่าไม่มีการเกิด ข้อพิพาทแรงงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2564 อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงานมิได้นิ่งนอนใจทุก หน่วยงานในสังกัดได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมสถานประกอบกิจการพร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตลอดเวลา


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 26 3.10 อัตราแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนในจังหวัด อัตราแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนคิดจากจำนวนผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคมตาม มาตรา 33 , 39 และ 40 ต่อจำนวนผู้มีงานทำของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นอัตราที่แสดงให้เห็นว่า แรงงานไทย มีหลักประกันการทำงานที่ดีมีความมั่นคง ไตรมาส 1 ปี 2567 คิดเป็นร้อยละ 90.63 อัตรา ลดลง จากไตรมาสที่แล้วอยู่ที่ร้อยละ 93.59 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 92.19 อัตรา ผู้ประกันตนเริ่มสูงขึ้นโยเฉพาะผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเป็นกลุ่มแรงงานนอก ระบบ และในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนลดลงเนื่องด้วยผู้ประกันขาดจ่ายเงินสมบท ประกันสังคม และกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2566 จะเห็นอัตรามีเพิ่มขึ้นลดลงเกิดจากการเงินสมทบ ประกันสังคมและการเลิกจ้างของสถานประกอบการ แผนภูมิที่ 10 อัตราแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนในจังหวัด ทีมา : สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 27 สถานการณ์แรงงานจังหวัด 4) สถานการณ์แรงงานจังหวัดนราธิวาส ช่วงไตรมาส 2 (เดือนเมษายน – มิถุนายน 2566) ขอนำเสนอข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ตามลำดับคือ 1) กำลังแรงงาน/การมีงานทำ/การว่างงาน 2) การส่งเสริมการมีงานทำ3) การพัฒนาศักยภาพแรงงาน 4) การ คุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ 5) การประกันสังคม 6) ปัญหาด้านแรงงานที่สำคัญ 7) ผลการดำเนินงานที่ สำคัญตามนโยบายรัฐบาล/นโยบายกระทรวงแรงงาน 4.1 กำลังแรงงาน/การมีงานทำ/การว่างงาน 4.1.1 โครงสร้างประชากร สำนักงานแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566 สรุปรายละเอียดได้ดังนี้ มีประชากร ในจังหวัดจำนวนทั้งสิ้น 819,162 คน โดยประชากรอยู่ในวัยทำงานผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 587,466 คน (ชาย 282,093 คน หญิง 305,373 คน) จำแนกเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 373,842 คน (ชาย 218,992 คน หญิง 154,850 คน) ได้แก่ ผู้มีงานทำ จำนวน 362,067 คน (ชาย 210,829 คน หญิง 151,238 คน) ผู้ว่างงาน จำนวน 11,775 คน (ชาย 8,163คน หญิง 3,612คน) ในขณะที่ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 213,624 คน (ชาย 63,101 คน หญิง 150,523 คน) จำแนกเป็นผู้ทำงานบ้าน จำนวน 78,931 คน (ชาย 397 คน หญิง 78,534 คน) เรียนหนังสือ จำนวน 44,418 คน (ชาย 20,614 คน หญิง 24,804 คน) เด็ก/ชรา/ป่วย/พิการจนไม่สามารถทำงานได้ จำนวน 74,041 คน (ชาย 31,631 คน หญิง 42,410 คน) และผู้ไม่ต้องการทำงาน 16,234 คน (ชาย 10,458 คน หญิง 5,775คน) แผนภูมิที่ 11 โครงสร้างประชากรจังหวัดนราธิวาส (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส 4.1.2 ผู้มีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดนราธิวาสจำนวนทั้งสิ้น 362,067 คน เป็นเพศชาย 210,829 คน คิดเป็น ร้อยละ 74.74 เพศหญิง 151,238 คน คิดเป็นร้อยละ 49.53 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเปรียบเทียบ ไตรมาสเดียวกันในปี 2565 จะเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น จำนวน 355,350 คน เป็นเพศชาย 205,334 คน คิดเป็นร้อยละ 60.87 เพศหญิง จำนวน 150,016 คน คิดเป็นร้อยละ 73.21


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 28 แผนภูมิที่12 ผู้มีงานทำจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส หากศึกษาถึงระดับการศึกษาของผู้มีงานทำ ไตรมาส 4 ปี 2566จำนวน 362,067 คน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 3 ปี 2566 จำนวน 349,649 คน เมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษา พบว่าผู้มีงานทำส่วนใหญ่เป็นผู้จบ การศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวน 136,597คน คิดเป็นร้อยละ37.73 รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษาระดับระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 62,138 คน คิดเป็นร้อยละ 17.16 ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 60,923คน คิดเป็น ร้อยละ 16.83 ผู้จบการศึกษา ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 46,721คน คิดเป็นร้อยละ 12.90 ผู้จบการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 30,480 คน คิดเป็นร้อยละ 8.42และไม่มีการศึกษา จำนวน 25,208 คน คิดเป็นร้อยละ 6.96ตามลำดับ แผนภูมิที่13 ผู้มีงานทำจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามระดับการศึกษา (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัด นราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส เมื่อพิจารณาผู้มีงานทำตามอาชีพ พบว่า อาชีพผู้มีงานทำมากที่สุด 5 อันดับแรกในไตรมาสนี้พบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านการเกษตรและการประมง จำนวน 140,922 คน คิดเป็นร้อยละ 38.92 (2) พนักงาน บริการ และผู้จำหน่ายสินค้า จำนวน 84,238 คน คิดเป็นร้อยละ 23.27 (3) ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องฯ จำนวน 59,685 คน คิดเป็นร้อยละ 16.48 (4) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆจำนวน 25,163 คน ร้อยละ 6.95 (5) ผู้ประกอบอาชีพงานพื้นฐาน จำนวน 20,356 คน คิดเป็นร้อยละ 5.62


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 29 แผนภูมิที่14 ผู้มีงานทำในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามอาชีพ (5 อันดับแรก) (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส สำหรับผู้มีงานทำ จำนวน 360,067 คน พบว่า ทำงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 140,096 คน (คิดเป็นร้อยละ 38.69ของผู้มีงานทำทั้งหมด) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 139,684 คน ในส่วนผู้ ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 221,971 คน ร้อยละ 63.31 (ของผู้มีงานทำทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ ผ่านมา จำนวน 209,965 คน ร้อยละ 60.05 เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรหลักของจังหวัดนราธิวาส คือ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีปริมาณผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้ อีกทั้งในช่วงไตรมาส 4 เป็นช่วงฤดูฝน ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในหลายพื้นที่ จึงส่งผลให้แรงงานย้ายเข้าไปอยู่นอกภาคเกษตรกรรม เป็น จำนวนมากโดยเมื่อแยกกลุ่มผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะทำงานในอุตสาหกรรมการขายส่ง การ ขายปลีก มากที่สุด จำนวน 66,789 คนคิดเป็นร้อยละ 18.45 ของผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม รองลงมา อุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวน 40,202 คน ร้อยละ 11.10 อุตสาหกรรมที่พักแรมและบริการด้านอาหาร จำนวน 27,005 คน คิดเป็นร้อยละ 7.46 สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาค บังคับ จำนวน 21,871 คน คิดเป็นร้อยละ 6.04 การศึกษา จำนวน 21,684 คน คิดเป็นร้อยละ 5.99 และ อุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 18,119 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 แผนภูมิที่ 15 ผู้มีงานทำจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรกรรม 5 อันดับ (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส ด้านสถานภาพการทำงานของผู้มีงานทำ ไตรมาส 4 ปี 2566 จำนวน 362,067 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา จำนวน 349,649 คน หากสังเกตสภาพการทำงาน พบว่า ในไตรมาสนเป็นลูกจ้างเอกชน จำนวน 150,831คน คิดเป็นร้อยละ 41.66 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 152,366คน คิดเป็นร้อยละ 43.58รองลงมา ทำงานส่วนตัวจำนวน 114,697คน คิดเป็นร้อยละ31.68เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 105,173คน คิดเป็น


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 30 ร้อยละ 30.08ลูกจ้างรัฐบาล จำนวน 47,692 คน คิดเป็นร้อยละ 13.17 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 45,403คน คิดเป็นร้อยละ12.98ช่วยธุรกิจครัวเรือน จำนวน 44,822คน คิดเป็นร้อยละ12.38 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส ที่ผ่านมา จำนวน 42,571คน คิดเป็นร้อยละ12.18และนายจ้างจำนวน 4,025 คน คิดเป็นร้อยละ1.11 ลดลงจาก ไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 4,136คน คิดเป็นร้อยละ1.18 แผนภูมิที่ 16 ผู้มีงานทำจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามสภาพการทำงาน (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 4 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส 4.1.3 ผู้ว่างงาน ผู้ว่างงานในจังหวัด ไตรมาส 4 ปี 2566 จำนวน 11,775 คน เป็นเพศชาย 8,163 คน คิดเป็นร้อยละ 2.89 และเพศหญิง 3,612 คน คิดเป็นร้อยละ 1.18 ซึ่งมีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 20,511 คน เป็นเพศชาย 11,731 คน คิดเป็นร้อยละ 4.16 และเพศหญิง 8,780 คน คิดเป็นร้อยละ 2.88 แผนภูมิที่17 ผู้ว่างงานในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ไตรมาส 3 ปี 2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 31 4.1.4 แรงงานนอกระบบ สำหรับแรงงานนอกระบบ ปี 2566 จากผลการศึกษาของสำนักงานสถิติจังหวัด พบว่า ผู้มีงานทำ ที่อยู่ในแรงงานนอกระบบมีจำนวน 169,132 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 97,390 คน และเพศหญิง จำนวน 71,742 คน และเมื่อจำแนกตามอายุ พบว่าส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 32,306 คน คิดเป็น ร้อยละ 19.10 รองลงมาคือผู้มีอายุ 55 - 59 ปี จำนวน 24,236 คน คิดเป็นร้อยละ 14.33 ช่วงอายุ 50 - 54 ปี จำนวน 23,165 คน คิดเป็นร้อยละ 13.70 อายุ 45 - 49 ปี จำนวน 22,353 คน คิดเป็นร้อยละ 13.22 และอายุ 40 - 44 ปี จำนวน 17,312 คน คิดเป็นร้อยละ 10.24 (แผนภูมิที่ 19) แผนภูมิที่ 18 แรงงานนอกระบบในจังหวัดนราธิวาสจำแนกตามช่วงอายุ (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ปี2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส สำหรับด้านการศึกษา เรียงจากจำนวนมากไปหาน้อยพบว่าแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีการศึกษา อยู่ในระดับประถมศึกษาจำนวน 70,769คน คิดเป็นร้อยละ 41.84รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 29,370 คน คิดเป็นร้อยละ 17.36 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20,917 คน คิดเป็นร้อยละ 12.37 ต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 16,763 คน คิดเป็นร้อยละ 9.91 และไม่มีการศึกษา จำนวน 13,490คน คิดเป็นร้อยละ 7.98 แผนภูมิที่19 แรงงานนอกระบบในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามระดับการศึกษา (โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงาน สถิติ จังหวัดนราธิวาส ปี2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 32 พิจารณาแรงงานนอกระบบจำแนกตามอาชีพ พบว่ามีงานทำในอาชีพต่าง ๆ สูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมง จำนวน 79,587 คน คิดเป็นร้อยละ 47.06 (2) พนักงานบริการ และพนักงานในร้านค้าและตลาด จำนวน 54,332 คน คิดเป็นร้อยละ 32.12 (3) ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถ ทางฝีมือ จำนวน 15,068 คน คิดเป็นร้อยละ 8.91 (4) อาชีพพื้นฐานต่างๆ จำนวน 11,092 คน คิดเป็น ร้อยละ 4.87 (5) ผู้ปฏิบัติงานโรงงานเครื่องจักร จำนวน 4,025 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 แผนภูมิที่20 แรงงานนอกระบบในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามอาชีพ 5 อันดับแรก (โดยใช้ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติ จังหวัดนราธิวาส ปี2566) ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส 4.2 การส่งเสริมการมีงานทำ 4.2.1 การจัดหางานในประเทศ ภารกิจการส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ เป็นภารกิจหลักของกระทรวงแรงงาน ซึ่งดำเนินการ โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส การส่งเสริมการมีงานทำในรูปแบบการจัดหางาน มีทั้งการหางานในประเทศ และต่างประเทศ โดยการจัดหางานในจังหวัดนราธิวาส ในช่วงไตรมาส 1 (มกราคม - เมษายน 2567) มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 1,226 อัตรา ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีตำแหน่งงานว่าง จำนวน 1,232 อัตรา ในส่วนของผู้ลงทะเบียน สมัครงานในไตรมาสนี้พบว่า จำนวน 662 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 513 คน รวมทั้งที่ผู้ได้รับ การบรรจุงานในไตรมาสนี้จำนวน 439 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่มีจำนวน 328 คน แผนภูมิที่21ตำแหน่งงานว่าง/ผู้สมัครงาน/การบรรจุงาน จังหวัดนราธิวาส ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 33 สำหรับตำแหน่งงานว่างไตรมาสนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,226 อัตรา โดยแบ่งเป็น เพศชาย 277 อัตรา เพศหญิง 102 อัตรา และไม่ระบุเพศ 847 อัตรา ซึ่งลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา การที่ตำแหน่งงานว่างที่ไม่ได้ ระบุเพศมากนั้นแสดงให้เห็นว่า สถานประกอบการหรือนายจ้างพิจารณาเห็นว่างานโดยทั่วไปไม่ว่าชายหรือ หญิงก็สามารถทำได้เช่นกันหรือไม่มีความแตกต่างในเรื่องเพศในอีกประการหนึ่งนายจ้างพิจารณาเห็นว่าการไม่ ระบุเพศจะมีผลดีในด้านโอกาสการคัดเลือกมากกว่าการระบุเพศ แผนภูมิที่22 ตำแหน่งงานว่างในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ใช้บริการลงทะเบียนสมัครงานในไตรมาสนี้ที่พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 662 คน โดยแบ่งเป็นเพศชาย 333 คน และเพศหญิง 329 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แผนภูมิที่23 ผู้ใช้บริการลงทะเบียนสมัครงานในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส การบรรจุงานมีผู้ได้รับการบรรจุให้มีงานทำทั้งสิ้น 439 คน โดยส่วนใหญ่เพศชายจะได้รับการบรรจุ งานมากกว่าเพศหญิง กล่าวคือผู้บรรจุงานที่เป็นเพศชาย 259 คน ขณะที่เพศชาย 180 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ผ่านมา แผนภูมิที่24 การบรรจุงานในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 34 ช่วงอายุที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 18-24 ปี โดยมีตำแหน่งงานว่าง จำนวน 356 อัตรา ร้อยละ 29.04 รองลงมาอายุ25–29 ปีมีตำแหน่งงานว่าง จำนวน 298อัตรา ร้อยละ 24.31 และอายุ30–39 ปีมีตำแหน่งงานว่าง จำนวน 223 อัตรา ร้อยละ 18.19ตามลำดับ แผนภูมิที่25 ตำแหน่งงานว่าง ในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามช่วงอายุ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการลงทะเบียนสมัครงานส่วนใหญ่จะมีอายุ25–29 ปีมีจำนวน 210 คน ร้อยละ 31.72 รองลงมาที่มีอายุ 30–39 ปีมีจำนวน 192คน ร้อยละ 29.00 และอายุ18–24 ปีมีจำนวน 154 คน ร้อยละ 2.26 ตามลำดับ แผนภูมิที่26 ผู้ใช้บริการลงทะเบียนสมัครงานในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามช่วงอายุ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ส่วนบรรจุงาน ผู้มีอายุ25–29 ปีได้รับการบรรจุจำนวน 138คน ร้อยละ 31.44 รองลงมาคือช่วงอายุ30–39 ปี ได้รับการบรรจุจำนวน 122คน ร้อยละ 27.79 และอายุ18–24 ปีจำนวน 92 คน ร้อยละ 20.96 แผนภูมิที่27 การบรรจุงาน ในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามช่วงอายุ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส สำหรับตำแหน่งงานว่างจำแนกตามระดับการศึกษา ไตรมาสนี้จำนวน 1,226 อัตรา เมื่อจำแนกตาม ระดับวุฒิการศึกษาที่ต้องการสูงสุด พบว่า ตำแหน่งงานว่างระดับมัธยมศึกษา มีความต้องการ จำนวน 611 อัตรา ร้อยละ 49.84 รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า จำนวน 324 อัตรา ร้อยละ 26.43 ระดับปวส. จำนวน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 35 100 อัตรา ร้อยละ 8.16 ระดับปริญญาตรี จำนวน 65 อัตรา ร้อยละ 5.30 ระดับปวช. จำนวน 70 อัตรา ร้อยละ 5.71 ระดับอนุปริญญา จำนวน 56 อัตรา ร้อยละ 4.57 ส่วนระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกในไตรมาสนี้ ไม่มีตำแหน่งงานว่างที่สถานประกอบการต้องการ จึงแสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานในจังหวัดนราธิวาส มีความ ต้องการมากที่สุด คือระดับมัธยมศึกษา แผนภูมิที่ 28 ตำแหน่งงานว่าง ในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามระดับการศึกษา ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ในส่วนผู้สมัครงานจำแนกตามระดับการศึกษาในไตรมาสนี้จำนวน 662 คน เมื่อจำแนกตามระดับ วุฒิการศึกษาที่สมัครงานสูงสุด พบว่า เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 267 คน ร้อยละ 40.33 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษา จำนวน 203 คน ร้อยละ 30.66 ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า จำนวน 121 คน ร้อยละ 18.28 จึงแสดงให้เห็นว่ามีผู้ต้องการทำงานมากที่สุด คือระดับปริญญาตรี แผนภูมิที่ 29 ตำแหน่งงานว่าง ในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามระดับการศึกษา ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ผู้บรรจุงานจำแนกตามระดับการศึกษา มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 169 คน ร้อยละ 38.50 เมื่อเทียบกับระดับการศึกษาอื่น ๆ รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรีจำนวน 131 คน ร้อยละ 29.84 และระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า จำนวน 99 คน ร้อยละ 22.55 จึงแสดงให้เห็นว่ามีผู้บรรจุงานมากที่สุด ในไตรมาสนี้คือระดับมัธยมศึกษา


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 36 แผนภูมิที่ 30 การบรรจุงาน ในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามระดับการศึกษา ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ประเด็นที่น่าสังเกต คือ ตำแหน่งงานว่างทุกระดับการศึกษามีสัดส่วนมากขึ้น ยกเว้นระดับปริญญาตรี เท่านั้นที่ตำแหน่งงานว่างน้อย แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันตลาดแรงงานมีความต้องการแรงงานในระดับมัธยมศึกษา ปวช. ปวส. และอนุปริญญา ฉะนั้น ระบบการศึกษาต้องเร่งผลิตคนในระดับมัธยมศึกษา ปวช. ปวส. และอนุปริญญาเพื่อรองรับตลาดแรงงานควบคู่กับการสร้างค่านิยมในเรื่องการศึกษาให้เยาวชนเห็นคุณค่าของ การศึกษาและสามารถหางานได้มากและง่ายกว่า เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากกว่านั่นเอง ที่ผ่านมาเยาวชนมีค่านิยมและให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสูงมากเมื่อตำแหน่งงานว่างไม่ สอดคล้องกับระดับการศึกษาของผู้สมัครงานที่จบ จึงส่งผลต่อการทำงานต่ำระดับการศึกษาตามมา ด้านอาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาชีพพื้นฐาน จำนวน 683 อัตรา ร้อยละ 55.71 (2) ช่างเทคนิคและปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 201 อัตรา ร้อยละ 16.39 (3) พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จำนวน 120 อัตรา ร้อยละ 9.79 (4) เสมียน เจ้าหน้าที่จำนวน 89 อัตรา ร้อยละ 7.26 (5) ผู้ปฏิบัติงานโดยฝีมือในธุรกิจต่างๆ จำนวน 65 อัตรา ร้อยละ 5.30 ด้านอาชีพที่มีผู้สมัครงานสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาชีพพื้นฐาน จำนวน 215 คน ร้อยละ 32.48 (2) เสมียน เจ้าหน้าที่จำนวน 161 คน ร้อยละ 24.32 (3) พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จำนวน 108 คน ร้อยละ 16.31 (4) ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 70 คน ร้อยละ 10.57 (5) ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ จำนวน 43 คน ร้อยละ 6.50 ด้านอาชีพที่มีการบรรจุงานสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) อาชีพพื้นฐาน จำนวน 176 คน ร้อยละ 40.09 (2) เสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 85 คน ร้อยละ 19.36 (3) พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จำนวน 84 คน ร้อยละ 19.13 (4) ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน ร้อยละ 7.52 (5) ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ จำนวน 30คน ร้อยละ 7.32 ด้านอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) การผลิต จำนวน 325 อัตราร้อยละ 26.51 (2) การก่อสร้าง จำนวน 323 อัตรา ร้อยละ 26.35 (3) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 301 อัตรา ร้อยละ 24.55 (4) กิจกรรมทาง การเงินและการประกันภัย จำนวน 123 อัตรา ร้อยละ 10.03 (5) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรม ทางวิชาการ จำนวน 53 อัตรา ร้อยละ 4.32 ส่วนการบรรจุงานจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมที่บรรจุงานได้ สูงสุด 5 อันดับ คือ (1) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซ่ม จำนวน 174 คน ร้อยละ 39.64 (2) การก่อสร้าง จำนวน 99คน ร้อยละ 22.55 (3) การผลิต จำนวน 62คน ร้อยละ 14.12 (4) กิจกรรมวิชาชีพ


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 37 วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ จำนวน 36 คน ร้อยละ 8.20 (5) ที่พักแรม และการบริการด้านอาหาร จำนวน 14 คน ร้อยละ 3.19 4.2.2 แรงงานต่างด้าว คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พรก.การบริหารการจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 จำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 1,979 คน ซึ่งลดลง จากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 2,190 คน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. คนต่างด้าวตลอดชีพ ได้แก่ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และทำงาน ตามประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 322 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 พบว่า ไม่มีจำนวนคนต่างด้าวตลอดชีพ 2. คนต่างด้าวมาตรา 59 ประเภททั่วไป ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือ ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยมิได้รับอนุญาตให้เข้า มาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จำนวน 83 คน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 84 คน 3. คนต่างด้าวมาตรา 59 พิสูจน์สัญชาติได้แก่ คนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองได้รับผ่อนผันให้ทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ผ่าน การพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะการเข้าเมืองถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว พบว่า จังหวัดนราธิวาส มีจำนวน แรงงานต่างด้าวได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีจำนวน 1,357 คน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 1,493 คน 4. คนต่างด้าวมาตรา 59 นำเข้าตาม MOU ได้แก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้า มาทำงานตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับ รัฐบาลประเทศต้นทาง จำนวน 531 คน ลดลงจากไตรมาส ที่ผ่านมา จำนวน 606 คน 5. คนต่างด้าวมาตรา 62 ประเภทส่งเสริมการลงทุน ได้แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายปิโตเลียม หรือกฎหมายอื่น จำนวน 1 คน ซึ่งไม่มีการแจ้ง เข้า-ออกแรงงานต่างด้าวแต่อย่างใด 6. คนต่างด้าวมาตรา 63 ประเภทชนกลุ่มน้อย ได้แก่ คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติและกระทรวงมหาดไทยได้ออกเอกสารเพื่อรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทำงาน จำนวน 7 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา จำนวน 6 คน 7. คนต่างด้าวมาตรา 64 ได้แก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณ ชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักร ไทยกับประเทศที่ติดกับราชอาณาจักรไทย พบว่า จังหวัดนราธิวาสไม่มีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน บริเวณชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลง เนื่องจากจังหวัดนราธิวาส ไม่ได้ติดกับพรมแดนชายแดนดังกล่าว


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 38 แผนภูมิที่ 31 แรงงานต่างด้าว จำแนกตามลักษณะการเข้าเมืองและประเภทคนต่างด้าว ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส แผนภูมิที่ 32 แรงงานด้าวประเภททั่วไป (มาตรา 59) และส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 62) จังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม สัญชาติที่เข้ามาทำงานมากที่สุด ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส เมื่อศึกษาแรงงานเฉพาะประเภททั่วไปและส่งเสริมการลงทุน โดยส่วนใหญ่จะเป็นสัญชาติอื่น จำนวน 84 คน โดยพิจารณาตำแหน่งงานที่ทำ พบว่า มี 5 ตำแหน่ง โดยอาชีพที่แรงงานต่างด้าวทำงานมากที่สุด 4 อาชีพ ได้แก่ (1) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ จำนวน 64 คน ร้อยละ 76.19 (2) ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการ ระดับ อาวุโส ผู้จัดการ จำนวน 17 คน ร้อยละ 20.24 (3) เสมียน/เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน ร้อยละ 2.38 (4) ช่างเทคนิค และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.19 จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในการส่งเสริมการ ลงทุนจากต่างประเทศนั้นประเทศที่เป็นเจ้าของทุนจะส่งผู้บริหาร ผู้ประกอบวิชาชีพ (ผู้เชี่ยวชาญ) ช่างเทคนิค ภาครัฐจึงควรส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่แรงงานไทย ซึ่งจะทำให้แรงงานไทยสามารถพัฒนา ศักยภาพให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 39 แผนภูมิที่ 33 แรงงานด้าวประเภททั่วไป (มาตรา 59) และส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 62) จังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม อาชีพที่เข้ามาทำงานมากที่สุด ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 2.2.2 แรงงานต่างด้าวที่ยื่นขอจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) จำแนก ตามสัญชาติมติครม. คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์บริการ จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว (One Stop Service : OSS) จังหวัดนราธิวาส จำนวน 38 คน ซึ่งลดลงจากไตรมาส ผ่านมา เมื่อจำแนกเป็นแรงงานต่างด้าวตาม พบว่า แรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว จำนวน 38 คน แรงงานต่างด้าว สัญชาติลาว จำนวน 7คน ที่ยื่นขอจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) จังหวัดนราธิวาส ส่วนแรงงาน ต่างด้าวสัญชาติอื่น ๆ ไม่มีการขึ้นทะเบียนแต่อย่างใด แผนภูมิที่ 34 แรงงานต่างด้าวที่ยื่นขอจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) จังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม สัญชาติ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 4.2.3 แรงงานไทยในต่างประเทศ 4.2.1 การแจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านสำนักงานจัดหางาน จังหวัดนราธิวาส พบว่า ในไตรมาส 1 ปี 2567 มีแรงงานไทยที่แจ้งประสงค์ขอเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 46คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2566 จำนวน 36คน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 40 แผนภูมิที่ 35 แรงงานไทยจังหวัดนราธิวาส แจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 4.2.2 แรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติไปทำงานต่างประเทศ ในส่วนของการอนุญาตให้ไปทำงาน ต่างประเทศไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า มีผู้ได้รับอนุมัติไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 46 คน โดยผ่านวิธีการ เดินทางต่างๆ ดังนี้1) บริษัทจัดหางานจัดส่ง จำนวน 1 คน 2) วิธีการเดินทางโดยผ่าน Re-Entry จำนวน 41 คน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้ว พบว่า ไตรมาสนี้ผู้ได้รับอนุญาตให้ไปทำงานต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา แผนภูมิที่ 36 แรงงานไทยจังหวัดนราธิวาสที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำแนกตาม วิธีการเดินทาง ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส ส่วนแรงงานไทยเดินทางไปทำงานตามที่ได้รับอนุญาตในไตรมาส 1 ปี 2567 จะไปทำงานในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 2 คน ส่วนภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 1 คน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในไตรมาส 4 ปี 2566 มีผู้ได้รับอนุญาตทำงาน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่าน ๆ มา


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 41 แผนภูมิที่ 37 แรงงานไทยจังหวัดนราธิวาส ที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำแนกตามภูมิภาค ที่ไปทำงาน ที่มา : สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาส 4.3 การพัฒนาศักยภาพแรงงาน ในรอบไตรมาส 1 ปี 2567 (มกาคม – เมษายน 2567) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ได้ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาผู้ใช้แรงงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การฝึกเตรียมเข้าทำงานการ ฝึกยกระดับฝีมือ แรงงาน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงานไทยให้มีมาตรฐานฝีมือทัดเทียม ประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันเป็นการพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยภาพรวม ของการฝึกต่างๆ หากพิจารณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงานและการฝึกยกระดับฝีมือ แรงงาน พบว่า ไม่มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกในไตรมาสนี้ ซึ่งแตกต่างจากไตรมาสที่ผ่านที่มีผู้สมัครเข้ารับการฝึก เตรียมเข้าทำงาน กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 22 คน ในไตรมานี้ยังไม่มีผู้ผ่านการฝึกอบรมเนื่องด้วยอยู่ ระหว่างการฝึกอบรม ส่วนการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน พบว่า ในไตรมาสนี้ มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือ จำนวน 232 คน โดยกลุ่มอาชีพที่ผ่านการยกระดับฝีมือ จำนวน 220 คน เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้ (1) กลุ่มช่างไฟฟ้า กลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 80 คน เท่าๆกัน (2) กลุ่มช่างก่อสร้าง,ช่างยนต์,ช่างอุตสาหกรรม ศิลป์ จำนวน 20 คน เท่าๆกัน ส่วนกลุ่มอาชีพอื่นๆในไตรมาสนี้ไม่พบผู้เข้าสมัครเข้ารับการยกระดับฝีมือ แผนภูมิที่ 38 การยกระดับฝีมือแรงงานและผู้ผ่านการยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตาม กลุ่มอาชีพ ที่มา : สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 42 การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งพบว่า ในไตรมาสนี้ มีผู้เข้ารับการทดสอบ จำนวน 132 คน และผ่านการทดสอบ จำนวน 85 คน เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า (1) กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง จำนวน 88 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 70 คน (2) กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า จำนวน 22 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 8 คน (3) กลุ่มอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์,คอมพิวเตอร์ จำนวน 22 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 7 คน ในส่วนผู้ผ่านการ ทดสอบมีงานทำมีรายได้ จำนวน 15 คน โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า (1) กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า จำนวน 8 คน (2) กลุ่มอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์,คอมพิวเตอร์ จำนวน 7คน แผนภูมิที่ 39 การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัด นราธิวาส จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ที่มา : สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส 4.4 การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ 4.4.1 การตรวจแรงงาน กระทรวงแรงงานนอกจากจะมีภารกิจด้านการส่งเสริมการมีงานทำ การพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับฝีมือให้เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน และทัดเทียมมาตรฐานสากลแล้ว อีกภารกิจหนึ่งที่เกิดขึ้น ต่อเนื่องภายหลังการส่งเสริมให้คนมีงานทำแล้วคือ ภารกิจด้านการคุ้มครองลูกจ้าง ให้ได้รับความเป็นธรรม ในการทำงานโดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานที่มีบทบาท ในการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงาน ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างโดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมกับฝ่ายนายจ้าง กล่าวคือไม่โอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ทั้งนี้ มาตรการที่จะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานได้รับรายได้และสวัสดิการที่เป็นธรรมเพียงพอต่อการดำรงชีวิต รวมถึงได้รับ การคุ้มครองแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้คือการตรวจสถานประกอบกิจการเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้แรงงาน ได้รับการปฏิบัติและดูแลตามกฎหมาย ขณะเดียวกันจะเป็นมาตรการในการกระตุ้นให้สถานประกอบการเอาใจใส่ดูแล ลูกจ้างของตนให้มากขึ้น สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 (มกราคม – เมษายน 2567) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตรวจสอบแรงงานในสถานประกอบกิจการทั้งสิ้น จำนวน 15 แห่ง มีลูกจ้าง ที่ผ่านการตรวจจำนวน 356คน จำแนกเป็นชาย 204คน ร้อยละ 57.30ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด หญิง 152คน ร้อยละ 42.70 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมดและไม่มีการใช้แรงงานเด็กจากการตรวจสอบในไตรมาสนี้ ซึ่งสถาน ประกอบการที่ตรวจคุ้มครองซึ่งเรียงตามจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการตรวจ ในไตรมาสนี้พบว่า สถานประกอบการขนาด 100 – 299 คน จำนวน 1 แห่ง ร้อยละ 6.67 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 146 คน ร้อยละ 41.01 สถานประกอบการขนาด 20-49คน จำนวน 5แห่ง ร้อยละ 33.33ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจจำนวน 135คน ร้อยละ 37.92 สถานประกอบการขนาด 10-19คน จำนวน 4แห่ง ร้อยละ 26.67 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 50คน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 43 ร้อยละ 14.04สถานประกอบการขนาด1 – 4คน จำนวน 4 แห่ง ร้อยละ 26.67 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจจำนวน 10คน ร้อยละ 2.81 และสถานประกอบการขนาด5 – 9 คน จำนวน 2แห่ง ร้อยละ 4.00 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 15คน ร้อยละ 4.21 แผนภูมิที่ 40 สถานประกอบกิจการในจังหวัดนราธิวาสที่ได้รับการตรวจตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ผลการตรวจคุ้มครองในไตรมาส พบว่า สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้อง ตามกฎหมาย จำนวน 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของการตรวจสถานประกอบการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 91.01 ส่วนการปฏิบัติไม่ถูกต้องในไตรมาสนี้จำนวน 3แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.00 ของการตรวจสถานประกอบการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 8.99 สำหรับสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายตรวจคุ้มครอง ทางสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 30 วัน และนายจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนด แผนภูมิที่ 41 สถานประกอบกิจการในจังหวัดนราธิวาส ปฏิบัติถูกต้อง/ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส เมื่อพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่า มีสถานประกอบกิจการปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 12 แห่ง ลูกจ้าง 324 คน ประเภทอุตสาหกรรมปฏิบัติไม่ถูกต้องในไตรมาสนี้ จำนวน 3 แห่ง ของการตรวจสถาน ประกอบการ ลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 32 คน คือ ประเภทกิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร จำนวน 2แห่ง ลูกจ้าง 17คน และประเภทกิจการการขายส่ง และการขายปลีก ฯลฯ จำนวน 1แห่ง ลูกจ้าง 15คน


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 44 แผนภูมิที่ 42 ประเภทอุตสาหกรรมในจังหวัดนราธิวาส ปฏิบัติถูกต้อง/ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส 4.4.2 การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้าง นอกจากนี้การตรวจความปลอดภัยในการทำงานยังเป็น อีกมาตรการหนึ่งที่ดำเนินการเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้เจ้าของสถานประกอบกิจการเห็นความสำคัญ และตระหนักถึง เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เพราะหากการทำงานมีความปลอดภัยย่อมส่งผลถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ของผู้ใช้แรงงานตามมาเมื่อคนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะทำงานอย่างมีความสุขและจะส่งผลต่อผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ของสถานประกอบการอันนำไปสู่ผลกำไรตามมานั่นเอง ไตรมาส 1 ปี 2567 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตรวจ ความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 14 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 368 คน จำแนกเป็น เพศชาย 241 คน ร้อยละ 65.49 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด เพศหญิง 127 คน ร้อยละ 34.51 ของลูกจ้างที่ตรวจ ทั้งหมด ซึ่งสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตรวจความปลอดภัย ซึ่งเรียงตามจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการตรวจ ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 20-49 คน จำนวน 5แห่ง ร้อยละ 35.71 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 159คน ร้อยละ 43.21สถานประกอบการขนาด 10 - 19คน จำนวน 3แห่ง ร้อยละ 21.43 ลูกจ้างที่ผ่าน การตรวจจำนวน 44คน ร้อยละ 11.96 สถานประกอบการขนาด 1-4 คน จำนวน 4แห่ง ร้อยละ 28.57 ลูกจ้างที่ ผ่านการตรวจจำนวน 12 คน ร้อยละ 3.26 และสถานประกอบการขนาด 100 - 299 คน จำนวน 1 แห่ง ร้อยละ 7.14 ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 146คน ร้อยละ 39.67 ตามลำดับ แผนภูมิที่ 43 สถานประกอบกิจการในจังหวัดนราธิวาสตรวจตามกฎหมายความปลอดภัย ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส


สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดนราธิวาส 45 ผลการตรวจความปลอดภัยในไตรมาส พบว่า สถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้อง ตามความปลอดภัย จำนวน 10แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71.43 ลูกจ้างที่ปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 20.42 และปฎิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28.57 ลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามความปลอดภัย จำนวน 243คน คิดเป็นร้อยละ 39.71 สำหรับสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายใน 30 วัน และนายจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนด แผนภูมิที่ 44 สถานประกอบกิจการในจังหวัดนราธิวาส ปฏิบัติถูกต้อง/ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ความปลอดภัย ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส ประเภทอุตสาหกรรมที่มีการตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ในไตรมาส 1 ปี 2567ได้ดำเนินการตรวจ ความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 14 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 368คน สถานประกอบกิจการ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 10แห่ง ลูกจ้าง 125คน คือ การขายส่ง ขายปลีก ฯ จำนวน 9 แห่ง ลูกจ้าง 118คน และที่พักแรมและบริการจำนวน 1 แห่ง ลูกจ้าง 7คน ส่วนสถานประกอบกิจการปฏิบัติไม่ ถูกต้องตามกฎหมาย ความปลอดภัย จำนวน 4 แห่ง ลูกจ้าง 243 คน คือ การก่อสร้าง จำนวน 3แห่งลูกจ้าง จำนวน 231 คน และการขายส่ง ขายปลีกฯจำนวน 1แห่ง ลูกจ้าง12คน แผนภูมิที่ 45 ประเภทอุตสาหกรรมในจังหวัดนราธิวาส ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยในที่ทำงาน ที่มา : สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนราธิวาส


Click to View FlipBook Version