The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nattanan Boonplee, 2022-12-10 22:39:12

ภูมิปัญญาพื้นบ้านวัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

คติชน

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น
บ้านช่อระกา ต.นาฝาย
อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ



คำนำ

หมู่บ้านช่อระกาที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมินั้น เป็นหมู่บ้านที่มีชุมชนขนาดใหญ่
อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมามากกว่า 200 ปี และดำเนินชีวิตอยู่บนวิถีที่สอดคล้องกับ วัฒนธรรม
และภูมิปัญญามากมาย ได้แก่ วิถีข้าว วิถีผ้า วิถียา และวิถีอาหาร รวมไปถึงประเพณีและพิธีกรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของ
หมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านในชุมชนล้วนร่วมกันดำรงสืบสานมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตที่ก่อร่างสร้างเมืองไปจนถึงยุคสมัย
ปัจจุบัน การดำรงคงไว้ซึ่งวิถีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชนที่ผู้คนในหมู่บ้านต่างมีหัวใจเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน และพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากบรรพบุรุษให้
อยู่รอดสืบต่อไปในสังคมโลกอันผันแปรเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงควรค่าต่อการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง
“คติชน” เป็นอย่างยิ่ง และมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก ที่ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนให้บุคคล
ภายนอกที่สนใจได้ศึกษาและเล็งเห็นแนวคิดหรือวิธีการสำคัญ อันจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนของพวกเขาเหล่านั้นยั่งยืนได้
เช่นเดียวกัน หนังสือ “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ” เล่มนี้จึง
เปรียบเสมือน “สื่อ” ที่จะพาผู้อ่านท่องไปในโลกแห่งวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันแสนกว้างใหญ่ของชุมชนบ้านช่อ-
ระกาเพื่อให้ท่านได้สัมผัสถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อันดีงามของหม่บู่้านช่อระกาที่ยังคงดำรงไว้ในทุกยุค ทุกสมัยอย่าง
น่าสนใจและน่าประทับใจ คณะผู้จัดทำชาวบ้านในชุมชนล้วนร่วมกันดำรงสืบสานมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตที่ก่อร่าง
สร้างเมืองไปจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน การดำรงคงไว้ซึ่งวิถีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชนที่ผู้คนในหมู่บ้าน
ต่างมีหัวใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่
สืบทอดจากบรรพบุรุษให้อยู่รอดสืบต่อไปในสังคมโลกอันผันแปรเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงควรค่าต่อการศึกษา
เพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง “คติชน” เป็นอย่างยิ่ง และมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก ที่ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเผยแพร่
สู่สาธารณชนให้บุคคลภายนอกที่สนใจได้ศึกษาและเล็งเห็นแนวคิดหรือวิธีการสำคัญอันจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนของพวก
เขาเหล่านั้นยั่งยืนได้เช่นเดียวกัน

หนังสือ “ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ” เล่มนี้ จึงเปรียบ
เสมือน “สื่อ” ที่จะพาผู้อ่านท่องไปในโลกแห่งวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันแสนกว้างใหญ่ของชุมชน บ้านช่อระกาเพื่อ
ให้ท่านได้สัมผัสถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์อันดีงามของหม่บู่้านช่อระกาที่ยังคงดำรงไว้ในทุกยุคทุกสมัยอย่างน่าสนใจ
และน่าประทับใจ

คณะผู้จัดทำ



ประกาศคุณูปการ

คณะผู้จัด ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในความกรุณาของ ผศ.ทิพย์วารี ส่งนอก อาจารย์ประจำรายวิชา206019
คติชนวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ที่กรุณาให้คำปรึกษาและคำแนะนำตลอดระยะเวลาในการศึกษาคติชนในพื้นที่หมู่บ้านช่อระกาและในการจัดทำหนังสือเล่มนี้
ด้วยความเอาใจใส่ จนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้อย่างสมบูรณ์

กราบขอบพระคุณ ผศ.ดร.วุธยา สืบเทพ ประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา
ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์เงินทุนสำหรับการเดินทางและการจัดค่ายศึกษาเรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของหมู่บ้านช่อ
ระกาในครั้งนี้

กราบขอบพระคุณ คุณทรงศักดิ์ อุทธา
ที่กรุณาเป็นธุระเพื่อติดต่อและประสานงานในการจัดค่ายศึกษาเรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ณ หมู่บ้านช่อระกา จนทำให้
การจัดค่ายเป็นไปได้อย่างราบรื่น

กราบขอบพระคุณคณะวิทยากรและชาวบ้านในหมู่บ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิอันประกอบด้วย พระ
อาจารย์นพดล โรวโร เจ้าอาวาสวัดดาวเรือง คุณชวน มณีวรรณ คุณสาคร ทับสุวรรณคุณค่าสิงห์ พิมพ์ชัยภูมิ คุณสุวรรณ
แพชัยภูมิ คุณขา กุตนา คุณอภิรักษ์ คุ้มกุดขมิ้น คุณสมยา ปลื้มสุดคุณสามัญ ฝาชัยภูมิ คุณบัวเพชร หนูโล้น คุณไทโรจน์
สองศรี คุณตระกูล คุ้มกุดขมิ้น คุณสุเทียน อาจไพรวัลย์คุณจีรณัฏฐ์ พิเศษชีพ คุณทรงศักดิ์ อุทธา คุณเที่ยง โพธิ์ชัยภูมิ
คุณสุนชัย ฝาชัยภูมิ คุณสำอาง ชาเนตรคุณบุญเลิศ แพรชัยภูมิ และชาวบ้านท่านอื่น ๆ ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล
สำหรับจัดทำหนังสือ และให้การดูแลต้อนรับคณะผู้จัดทำตลอดจนไปถึงการอำนวยความสะดวกต่อการศึกษาและเก็บข้อมูล
คดีจนในหมู่บ้านช่อระกาเป็นอย่างดี

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนในพื้นที่ท้องถิ่น ณ หมู่บ้านช่อระกา
ต.นาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ และให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างมาก

สารบัญ ค

คำนำ หน้า
ประกาศคุณูปการ ก
สารบัญ ข
บทที่ 1 ชื่อบ้านนามเมือง ค
บทที่ 2 ความเชื่อ ประเพณี และพิธิีกรรม
บทที่ 3 วิถีข้าว 1
บทที่ 4 วิถีผ้า 6
บทที่ 5 วิถีอาหาร 18
บทที่ 6 วิถียาสมุนไพร 29
แหล่งอ้างอิง 38
43
49

1

บทที่ 1 ชื่อบ้านนามเมือง

“ช่อระกา” กับความเป็นมาที่มากกว่า 200 ปี”

“บ้านช่อระกา” ชุมชนเล็ก ๆ แต่มีอายุ่ไม่น้อยก่วา 200 ปีมาแล้วตามท่ี่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้หลานฟังว่าราวปีพ.ศ. 2355 เดิมที่บริเวณที่
ตั้งชุมชนชื่อช่อระกาเคยเป็นพื้นที่ชายป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องด้วยมีลำห้วยที่แปล่วา “ไร้ร้าง” ไหลผ่าน จึงเหมาะสมแก่การเพาะปลูก
เป็นอย่างยิ่ง ชาวบ้านจากท่ี่ต่าง ๆ จึงเข้ามาจัดสรรพื้นที่เพื่อทำไร่ทำนาทว่าในสมัยนั้นมีสัตว์ป่าดุร้ายชุกชุมทำให้ผลิตผลพืชไร่และนาข้าวถูก
สัตว์ป่าเหล่านี้เข้ามารบกวนจนทำให้เกิดความเสียหายชาวบ้านเห็นดังนั้นก็เกิดความหวาดกลัว ไ่ มมีใครกล้าทำกินในพื้นที่นี้อีก จึงปล่อยไร่
นาให้ทิ้งร้างไว้อย่างเดิม พื้นที่รกร้างนี้ จึงถูกเรียกว่า “ไฮฮาม” ซึ่งเป็นคำจากภาษาอีสานที่แปลว่า “ไร่ร้าง”

ต่อมามีชาวกุลาได้เข้ามาล่าสัตว์ในบริเวณนี้จึงทำให้มีปริมาณของสัตว์ป่าที่ดุร้ายรถน้อยลง ชาวบ้านจากบ้านโนนไพหญ้าเห็นว่าป่านี้เริ่ม
ปลอดภัย (ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหลังลานมันวานนท์การเกษตร) จึงได้พากันอพยพโยกย้ายมาปักหลักทำกินในไร่นาร้างแห่งนี้เพื่ออาศัย
แหล่งน้ำในการเพาะปลูกพืชไร่และทำนาก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อว่าบ้าน “ไฮฮาม” ตามคำเรียกเดิม ต่อมาจึงมีชาวบ้านจากบ้านโนนไพ
หญ้าอีกส่วนหนึ่งอพยพหนีความแห้งแล้งและโรคระบาดเข้ามาอาศัยเพื่อทำกินเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ที่มีมากกว่า 100 ครอบครัว
จึงจำเป็นต้องมีผู้นำหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านก็ได้เลือก “พ่อขุนแสง” (ไม่ทราบนามสกุล) ขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

เหตุที่ทำให้ชาวบ้านโนนไพหญ้าละทิ้งถิ่นฐานเดิมและอพยพไปอยู่ที่ต่าง ๆ พ่อสุวรรณ แพชัยภูมิ เล่าว่า สมัยตอนที่ตนยังเด็กอายุ
ประมาณ 13 ปี (พ.ศ. 2500) ปู่วงศ์ ม่วงเพชร ได้เล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ชาวบ้านโนนไพหญ้าต้องอพยพย้ายครัวเรือนมายังช่อระกาว่า วัน
นึงมีฟาน (เก้ง) ตัวหนึ่งวิ่งหาหมู่บ้านออกไป ชาวบ้านเห็นเป็นลางไม่ดี จึงได้ตามฟานตัวนั้นไปไกลจนค่ำ ต่อมาพบว่าฟานตัวนั้นล้มลง
เพราะถูกเสือกัดกินเป็นอาหาร แต่เสือกินไม่หมดชาวบ้านจึงเอาเนื้อความส่วนที่เหลือมาแบ่งกันทำกิน หลังจากนั้นในวันต่อ ๆ มาก็พบว่า
ชาวบ้านที่กินเนื้อฟานค่อย ๆ ป่วยท้องร่วงล้มตายลงทีละคนจนเกิดโรคระบาดขยายวงกว้างขึ้นก่อให้เกิดความหวาดกลัวทั่วทั้งหมู่บ้าน ซึ่ง
นั่นอาจเป็นอีกต้นเห็นหนึ่งของการอพยพย้ายถิ่นฐาน

2

“วัดดาวเรือง” จากต้นดาวเรือง สู่ศูนย์กลางของหมู่บ้าน

ปี พ.ศ. 2385 พ่อขุนแสงพร้อมชาวบ้านและพระอธิการสีนวล
ซึ่งมาจากบ้านดงบัง อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี(ปัจจุบันคือ
จังหวัดยโสธร)ได้พร้อมใจกันบูรณะวัดเดิมซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วให้เจริญ
ขึ้นซ่ึ่งไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า วัดแห่งนี้เริ่มสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด แต่
ชาวบ้านก็เชื่อว่าวัดแห่งนี้คงมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษได้ก่อตั้งชุมชนบ้านไฮ
ฮามขึ้นในราวปี พ.ศ. 2355 เพราะเมื่อปักหลักสร้างบ้านแปลงเมือง
ตามความเชื่อ ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมแล้ว ก็ต้องร่วมกัน
สร้างวัดวาอารามให้เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจด้วย และได้ให้ชื่อใหม่ว่า
“วัดดาวเรือง” เนื่องจากบริเวณวัดนั้น มีต้นดาวเรืองขึ้นอยู่เป็นจำนวน
มาก วัดดาวเรือง ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2380 ต่อมา
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2546
โดยเขตวัดนั้นตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน มีที่ดินที่ตั้งวัด จำนวน 8 ไร่ 3 งาน
2 ตารางวา (น.ส.4 จ.) โฉนดที่ดิน เลขที่ 110651 เล่ม 1107 หน้า 51
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ออก ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2549

ปัจจุบันวัดดาวเรืองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ
ประเพณีของตำบลนาฝาย นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามากราบไหว้พระเพื่อขอ
พรและชมความงดงามของพระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณในพระ
อุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี และเป็น
พระพุทธรูปองค์แรกของหมู่บ้านที่ช่างพื้นบ้านอีสานแกะสลักไม้ด้วย
ความศรัทธาจึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานองค์แรกใน
โบสถ์ตั้งแต่สมัยตั้งวัดครั้งแรก
นอกจากนี้ที่วัดดาวเรืองยังมีสวนพุทธเกษตรซึ่งเป็นรมณียสถานอันมีลักษณะเป็นลานหินโค้ง และจัดเป็น
ลานธรรมโดยมีพระพุทธรูปหินทราย ปางปฐมเทศนา ซึ่งมีพระพุทธลักษณะที่สง่างาม และบริเวณรอบลานหินโค้ง
ยังมีแผ่นหินสลักศิลปะนูนสูง บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติเหตุการณ์สำคัญ ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา
และปรินิพพาน แผ่นหินสลักศิลปะนูนสูงทั้ง 4 แผ่นนี้มีลักษณะประณีตงดงามสะท้อนให้เห็นถึงกำลังศรัทธาของผู้
รังสรรค์ มีองค์ประกอบศิลป์ที่ลงตัว และแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดีมาก ทำให้ผู้ที่ได้มาชมเกิดความอิ่มเอมและ
ซาบซึ้งในรสและลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

3

“ช่อระกา” นามนี้มีที่มา

ประมาณปี พ.ศ.2481 สมัยที่ พ่อสาย แดงสกุล เป็นผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านลงความเห็นว่าชื่อ “หมู่บ้านไฮฮาม” ที่มีความ
หมายว่า ไร่ร้าง ฟังดูไม่เป็นมงคลนักจีงเห็นพ้องว่าให้เปลี่ยนชื่อใหม่จาก “บ้านไฮฮาม” เป็น “บ้านช่อระกา” ตามชื่อลำห้วยช่อ
ระกาที่ไหลผ่าน ซึ่งมีการเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ริมสองฝั่งลำห้วยมีต้นเพกา (ลิ้นฟ้า) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และมักจะร่วงหล่นลงห้วย
แล้วไหลลอยตามน้ำมา จึงถูกเรียกว่า “ห้วยช่อเพกา” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ห้วยช่อระกา”

แต่อีกนัยหนึ่ง ปู่วงศ์ ม่วงเพชร เล่าให้ พ่อสุวรรณ แพชัยภูมิ ฟังว่า แตเ่ดิมบริเวณลำห้วยมีต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ต้น
ยูง ไม้ชนิดอื่น ๆ และกอไผ่ขึ้นอยู่มาก ทำให้ในยามพลบค่ำ จึงมีฝูงนกกามาจับกิ่งไผ่อาศัยนอนเป็นจำนวนมาก เมื่อมองดูก็เห็น
เป็นกลุ่มเป็นพุ่มเป็นช่อ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ ช่อกา แต่สมัยนั้นใช้อักษร “ฉ” สะกดเป็น “ฉ้อกา” ซึ่งในเวลานั้น เรือตรีกาลาภ
(กุหลาบ กาญจนสกุล) จากบ้านฉ้อกาได้ไปรับราชการทหารทำงานใกล้ชิดกับพลเรือเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์
พหลโยธิน) ทุก ๆ วันมีการขานเรียกรายชื่อและถิ่นกำเนิดทำให้ เรือตรีกาลาภ (กุหลาบ กาญจนสกุล) จากบ้านฉ้อกา มักจะถูก
เพื่อน ๆ ล้อเลียนเสมอว่า กําลาภมาจากหมู่บ้านโจร บ้านฉ้อกา ฉ้อโกง เรือตรีกาลาภจึงเกิดความไม่พอใจที่ถูกเพื่อน ๆ ล้อเลียน
ชื่อบ้านเกิดของตนเองเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนอยู่เนือง ๆ พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงคิดจะช่วยแก้ไขปัญหาการ
ทะเลาะวิวาท จึงเรียกเรือตรีกาลาภเข้าไปพบและช่วยแก้ไขช่ือบ้านฉ้อกาให้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวสะกดจาก “ฉ” เป็น “ช” เป็น
“ช่อกา” และช่วยเติมคำให้สละสลวยขึ้นเป็นบ้าน “ช่อระกา” โดยในครั้งนั้นพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกหนังสือแก้ไขชื่อ
หมู่บ้านให้ใหม่ด้วยและสั่งให้เจ้าหน้าที่ถือหนังสือมาให้ผู้ใหญ่บ้าน พ่อสาย แดงสกุล ได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

“บ้านใหญ่” แห่งชุมชนขยายตั้งบ้านใหม่
ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ชุมชนช่อระกาจึงขยายตัวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ที่อยู่อาศัยและ
ที่ทำกินไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้หลายครอบครัวต้องย้ายออกไปตั้งบ้านใหม่ตามไร่ตามนา ก่อให้เกิดหมู่บ้านใหม่
ขึ้น ได้แก่ บ้านพลัง บ้านกุดขมิ้น บ้านโนนคูณ บ้านโนนเหลี่ยม บ้านโนนมะเกลือ บ้านหนองนกเขา บ้านห้วย
ต้อน บ้านชีลองเหนือ บ้านชีลองกลาง บ้านชีลองใต้ บ้านโป่งคลองเหนือ และบ้านโป่งคลองใต้ แม้จะมีการแยก
ออกไปตั้งชุมชนใหม่ แต่สายสัมพันธ์ของความเป็นเครือญาติยังคงมีความแน่นแฟ้นตลอดมา บ้านอื่น ๆ จึงมัก
เรียกบ้านช่อระกาว่า “บ้านใหญ่” ด้วยความรำลึกถึงถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษตนนั่นเอง

4

นามสกุลเครือญาติหมู่บ้านช่อระกา

มีทั้งหมด 25 นามสกุล ดังรายชื่อต่อไปนี้

1. จันทรมนตรี 14. สาระคำ

2. เกาะม่วงหมู่ 15. พิเศษชีพ

3. กาญจนสกุล 16. ฐานเจริญ

4. พิเศษฤทธิ์ 17. แดงสกุล
5. กงชัยภูมิ 18. ปลื้มเชื้อ

6. งาคชสาร 19. ไฝชัยภูมิ

7. ขำชัยภูมิ 20. บุญเกิน

8. ปลื้มสุด 21. มลามาตย์

9. คุ้มกุดขมิ้น 22. ญาติวงลุ่ม

10. กุนา กุณา 23. ปีชัยภูมิ

11. แพชัยภูมิ 24. ม่วงเพชร

12. พรหมรักษ์ 25. สองศรี

13. ฝาชัยภูมิ

แผนที่เดินดิน หมู่บ้านช่อระกา หมู่ 9 5

แผนที่เดินดิน หมู่บ้านช่อระกา หมู่ 18

แผนที่เดินดิน หมู่บ้านช่อระกา หมู่ 17

6

บทที่ 2 ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม

ชุมชนช่อระกา เป็นชุมชนที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทำให้พระพุทธศาสนากลาย
เป็น ความเชื่อหลักที่ฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน จึงมีการจัดงานประเพณีและการประกอบพิธีกรรม
ที่ เกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ โดยมีวัดดาวเรืองเป็นศูนย์กลางของการจัดพิธี เห็นได้จาก “พระพุทธรูป
ไม้ โบราณ” หลักฐานขั้นปฐมภูมิที่บ่งบอกถึงคติความเชื่อของชาวบ้าน และ “ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่”
หรือ ประเพณีสิบสองเดือน ที่ชาวบ้านล้วนให้ความสาคัญและดำรงสืบสานมาอย่างยาวนาน

พระพุทธรูปไม้

ควคาวมาเมป็เนป็มนามา

“พระพุทธรูปไม้ หลวงพ่อดาวเฮืองประสาทศีล” เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลัก
โบราณอายุ 210 ปี ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดดาวเรืองตั้งแต่สร้างวัด ซึ่งชาวบ้านให้ความ
เคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยพระพุทธรูปไม้องค์นี้ แสดงให้เห็นถึงความประณีต
ของช่างพื้นบ้านผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงศรัทธาเป็นอย่างดี ตามคติความเชื่อของชาว
บ้านที่มักจะแกะสลักพระพุทธรูปไม้เพื่อนำมาสักการะบูชาและสืบทอดศาสนาให้คงอยู่
อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะล้านช้าง หรือ ลาว ที่ได้รับความนิยมอย่าง
แพร่หลายในท้องถิ่นภาคอีสานเมื่อครั้ง เป็นเวลามากกว่า 200 ปี โดยพื้นที่ของ
จังหวัดชัยภูมิก็
เป็นหนึ่งในนั้น พระพุทธรูปไม้จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า วัดดาวเรือง สถานที่ที่เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสน
า วัฒนธรรมและคุณธรรมของชุมชนช่อ

ระกา ถูกสร้างพร้อมกับหมู่บ้านตั้งแต่ พ.ศ. 2355 และเป็นที่ยืนยันว่าชุมชนช่อระกา เป็นชุมชนที่มีความผูกพันกับศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ซึ่ง

ปัจจุบันเหลือพระพุทธรูปไม้ประมาณ 20 กว่าองค์ เนื่องจากบางส่วนสูญหายไปกับเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในอดีต แต่พระพุทธรูปที่เหลืออยู่ก็ยังได้
รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทำให้ยังคงสภาพที่ดีเอาไว้ได้

ลักษณะเด่น

เป็นพระพุทธรูปในสกุลช่างลาวที่นำไม้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ โพธิ์ มะขาม ยอป่า แก้ว จันทน์หอม จันทน์แดง เต็ง รัง ประดู่ ยูง มะค่า งิ้ว และขนุน มา
แกะสลักตามรูปแบบของศิลปะล้านช้าง เนื่องด้วยเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านและชาวบ้านที่ฝีมือยังไม่ละเอียดละออนัก จึงมีลักษณะที่ไม่เน้นสวยสมบูรณ์ แต่
กระนั้นก็ถูกแกะสลักมาอย่างประณีต ลักษณะเด่นที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ พระพักตร์ใหญ่ รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระขนงโก่งต่อกันเป็นปีกกา เม็ดพระศก
เป็นทรงกรวยแหลมสูง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระกรรณใหญ่ ปลายพระกรรณยาวถึง พระศอและมีความงอน นอกจากนี้ยังมีการสลัก

ลวดลายที่ค่อนข้างหยาบ แต่ไม่ซับซ้อนและสามารถรับรู้ได้ว่าเป็นรูปอะไร จึงมีความแตกต่างจากลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะอื่น ๆ อย่างชัดเจน

7

ฮีตสิบสองคองสิบสี่

ฮีตสิบสองคองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า “ฮีตสิบสอง”

หมายถึง งานประเพณีสิบสองเดือน และ คำว่า “คองสิบสี่” หมายถึง หลักทำนองคลองธรรมที่คนในสังคมพึงปฏิบัติต่อกันเพื่อให้

อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ประเพณีนี้จึงเป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่นที่ชาวบ้านชุมชนช่อระกาได้ดำรงสืบสานให้คงอยู่ ด้วย

การคงแบบแผนพิธีกรรมดั้งเดิมไว้ แต่ก็มีบางส่วนที่มีการปรับแก้ไขให้ทันสมัย เพื่อให้เข้าถึงผู้คนทุกเพศทุกวัยทั้งในหมู่บ้านและ

คนภายนอกที่สนใจ อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์และสืบทอดโดยอนุชนรุ่นหลัง โดยมีศูนย์กลางของการจัดงานอยู่ที่วัดดาวเรือง

ประเพณีเดือนอ้ายและเดือนยี่: การสวดมนต์ข้ามปี และ บุญปีใหม่

ประเพณีประจำเดือนอ้ายและเดือนยี่ คือ การสวดมนต์ข้ามปี และ บุญปีใหม่ เนื่องด้วยเดือนอ้ายและเดือนยี่จะอยู่ ในช่วง
เดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงท้ายของปีเก่าที่จะเข้าสู่ช่วงต้นของปีใหม่ ทำให้ประเพณีของทั้งสองเดือนนี้มีความเกี่ยวข้องและ
มีความต่อเนื่องกัน โดยในวันสุดท้ายของเดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนอ้าย ชาวบ้านจะทำการสวดมนต์ตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์
ตกดินของวันที่ 31 ยาวไปถึงเวลา 01.00 น. ของวันที่ 1 มกราคมของศักราชใหม่ จากนั้นในเวลา 06.00 น. เช้า จึงจะมีการ
ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ วัดดาวเรือง เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วมพิธี
ในการทำบุญตักบาตรซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่

ประเพณีเดือนสาม: บุญมาฆบูชา

ประเพณีประจำเดือนสาม คือ การปฏิบัติธรรมประจำปี เนื่องด้วยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันสำคัญ

ทางพระพุทธศาสนาที่เหล่าพุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร เนื่องด้วยเป็นวันพระใหญ่ โดยชาวบ้านช่อระกาจะทำบุญตักบาตรใน

ช่วงเช้า จากนั้นจะจัดงานปฏิบัติธรรมที่วัดดาวเรือง โดยไม่มีการบังคับว่าคนในหมู่บ้านต้องเข้าร่วมทุกคน และบุคคลภายนอกสามารถ

มาเข้าร่วมการปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ได้ ซึ่งผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมจะพักหรือนอนค้างคืนอยู่ที่วัด โดยตลอดช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติ

ธรรม จะมีพระอาจารย์มาเทศนาเพื่ออบรมสั่งสอนผู้ปฏิบัติธรรมด้วยธรรมะ อันเป็นแก่นสำคัญของพระพุทธศาสนา

8

ประเพณีเดือนสี่: บุญผะเหวด

แห่ผะเหวด จัดสถานที่สำหรับเทศน์สังกาส

ข้าวอุ้มลุ่ม ธงบุญผะเหวด

ข้าวอุ้มลุ่ม พระอุปคุต

9

ความเป็นมา

ประเพณีบุญผะเหวด ประเพณีประจำเดือนสี่นี้ มีที่มาเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยขอให้ช่วยปกปักรักษา
หมู่บ้านและขอให้ฝนฟ้าตกถูกต้องตามฤดูกาล เนื่องจากตำนานของหมู่บ้านไฮฮามก่อนจะมาเป็นหมู่บ้านช่อระกานั้น
ชาวบ้านมีความเชื่อว่าถ้าปีไหนที่ไม่ได้ทำฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงทำสืบต่อกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปี
อย่างไม่หยุดพัก ต่างจากหมู่บ้านแถบนั้นที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ เนื่องด้วยหมู่บ้านช่อระกา
เป็นหมู่บ้านหลักที่ยังคงสืบสานประเพณี จึงจัดประเพณีบุญผะเหวดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์
ประเพณีดั้งเดิม แม้จะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามยุคสมัยในบางส่วนก็ตาม

ลักษณะเด่น
1. มีการอัญเชิญพระอุปคุตผ่านทางหนองน้ำหรือแม่น้ำใกล้ ๆ เพื่อบูชาขอให้ช่วยให้น้ำภายในหมู่บ้านมี
ความอุดมสมบูรณ์
2. สืบต่อวัฒนธรรมประเพณีการทำแบบดั้งเดิมมาตั้งแต่อดีตและต่อเนื่องโดยไม่มีการเว้นหรือการงด
ชาวบ้านทุกคนจึงคุ้นเคยและรู้วิธีการทำเป็นอย่างดี

ขั้นตอนการจัดประเพณี
ขั้นเตรียมเครื่องผะเหวด
จะต้องเตรียมทุกอย่างเป็นจำนวน 1,000 ชิ้น ห้ามขาดหรือห้ามเกิน สาเหตุมาจากชื่อของคถาในบุญผะเหวด มีคถาชื่อ
ว่าคถาพัน ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า เวลาทำเครื่องผะเหวด การทำเครื่องละ 1,000 ชิ้นจึงจะได้บุญสูงสุด หากเครื่องใด

ไม่ครบก็ไม่เป็นไร แต่หากเป็นไปได้ ชาวบ้านก็จะหามาให้ได้ให้ครบจะดีที่สุด
1. ดอกต้นโน (นำมาย้อม)
2. หมาก พลู และยาสูบ(บุหรี่)
3. เมี่ยงปลาร้า (คือการนำปลาร้าไปตำ ผสมกับตะไคร้ ใบมะกรูด ห่อในใบมะยม)
4. ข้าวก้อน (ข้าวเหนียวปั้นก้อนพอคำ)
5. ดอกจำปา/ดอกลีลาวดี (นำมาร้อยเป็นรูปแบบต่าง ๆ)
6. ธงหลากสี 8 ด้าน (เพื่อทำพิธี 8 ด้าน)
7. ข้าวอุ้มลุ่ม (นำข้าวตอกที่คั่วจนแตกมาผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาล แล้วปั้นเป็นก้อน)

10

แต่ในปัจจุบัน หากเครื่องผะเหวดชิ้นใดสามารถหาซื้อได้ ชาวบ้านก็จะทำการซื้อเพื่อลดระยะเวลาในการเตรียมการ

แต่ก็มักจะเน้นทำเครื่องด้วยมือเพื่อนำไปถวายที่วัดด้วยตนเองมากกว่า
ขั้นตอนการเตรียมสถานที่
1. ชาวบ้านจัดสถานที่สำหรับการอัญเชิญพระอุปคุต สำหรับให้พระสงฆ์ไปสวดพระพุทธมนต์และชาวบ้านร่วมกัน

อัญเชิญพระอุปคุตและผะเหวดลงมาจากเขาพร้อมกัน
2. ชาวบ้านจัดเตรียมธรรมมาสและที่สำหรับการเทศน์ผะเหวด โดยการแขวนขนมและอาหารต่าง ๆ รวมถึงของใช้ของ

ชาวบ้าน เพื่อตกแต่งบริเวณให้สวยงามจำลองตามแบบป่าหิมพานต์เพื่อให้สวยงาม เหมาะสำหรับการเทศน์ผะเหวด

ขั้นตอนการแห่บุญผะเหวด
1. จัดเตรียมสถานที่สำหรับการอัญเชิญพระอุปคุต โดยการให้พระสงฆ์ไปสวดพระพุทธมนต์และร่วมกันอัญเชิญพระ

อุปคุตลงมาจากเขาพร้อมกับผะเหวดผ่านหนองน้ำและแม่น้ำใกล้ๆเพื่อนำเชิญมาไว้ที่วัด โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่าพระ

อุปคุตเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแลปกปักษ์รักษาเรื่องของน้ำในหมู่บ้านให้มีความอุดมสมบูรณ์
2. หลังจากอัญเชิญพระอุปคุตและผะเหวดมายังวัดแล้ว ตอนเช้า เวลาประมาณ 07.30 น. จะมีการเจริญพระพุทธ

มนต์/ทำน้ำมนต์, ทำบุญตักบาตรพระ
3. เวลาประมาณ 09.30 – 15.00 น. หลังจากพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จ จะเป็นเวลาเทศน์ผะเหวดหรือเทศน์

สังกาสโดยการเทศน์สลับการบรรยาย โดยจะมีความเชื่อว่าถ้าฟังเทศน์จนจบทั้งหมด จะได้ขึ้นสวรรค์และไม่ต้องตก

นรก โดยเมื่อครั้งอดีตการเทศน์ผะเหวดหรือสังกาสนั้นจะเริ่มการเทศน์ทันทีหลังจากที่พระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จโดย

พระสงฆ์จะขึ้นในธรรมมาสน์ทันที และใช้การเทศน์จนจบ แต่ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นตามสถานการณ์

และเวลา
4. เวลาประมาณ 16.00 น. หลังจากฟังเทศน์เสร็จ ชาวบ้านก็จะแจกจ่ายสิ่งของที่ได้นำมาแก่ญาติพี่น้อง รวมถึงการ

เลี้ยงข้าวต้มและขนมจีนคนในหมู่บ้านด้วยการทำเป็นโรงทานอีกด้วย ถือเป็นอันจบพิธี

11

ประเพณีเดือนห้า: บุญสงกรานต์

ความเป็นมา
ประเพณีบุญสงกรานต์ ประเพณีประจำเดือนห้านี้ มีที่มาจากสภาพอากาศ เนื่องด้วยเดือนห้าซึ่งถือเป็นเดือนขึ้นปี

ใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าวจึงจำเป็นต้องมีการอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อคลายจาก
ความร้อนให้เกิดความสุขกายสบายใจ นำไปสู่การจัดประเพณีบุญสงกรานต์ขึ้น โดยงานบุญเดือนห้าในหมู่บ้านช่อระกานี้
เป็นการสืบทอดประเพณีจากบรรพบุรุษต่อเนื่องกันมา และแตกต่างจากพื้นที่ท้องถิ่นอื่น ๆ เนื่องจากมีระยะเวลาการจัด
งานถึง 7 วัน และเริ่มประเพณีก่อเจดีย์ทรายตั้งแต่วันที่ 12

ลักษณะเด่น
1. มีระยะเวลาการจัดงานถึง 7 วัน (13 เมษายน – 20 เมษายน)
2. ประเพณีก่อเจดีย์ทราย หรือ ขนทรายเข้าวัด จะจัดขึ้นในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งต่างจากพื้นที่อื่น ๆ ที่จะจัดในวันที่ 13

ขั้นตอนการจัดประเพณี
1. วันที่ 12 เมษายน
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย หรือ ขนทรายเข้าวัด

ตามคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่า ในยามที่เราเดินออกจากวัดหลังเสร็จสิ้นการประกอบกิจกรรม
ต่าง ๆ เท้าของเราย่อมมีเศษดินและเศษหินจากวัดติดมาด้วย แต่ด้วยสิ่งต่าง ๆ ภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ศาลา หรือ
แม้กระทั่งก้อนดิน ก้อนทราย ล้วนแล้วแต่เป็นสมบัติของวัดและศาสนาทั้งสิ้น หากเรานำออกไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
ย่อมเป็นการละเมิดศีลข้อที 2 (การลักทรัพย์) จึงมีการจัดประเพณีนี้ขึ้นมาเพื่อคืนสมบัติวัด และการก่อเจดีย์ทรายก็มี
วัตถุประสงค์ คือ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า มหาศาสดาแห่งศาสนาพุทธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ โดยชาวบ้านจะขน
ทรายในหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 9, หมู่ 17 และหมู่ 18 เข้าไปในวัดดาวเรือง จากนั้นจึงร่วมกันก่อเจดีย์ทราย
จำนวน 3 กอง ตามจำนวนหมู่บ้านในชุมชนช่อระกา (หมู่บ้านละ1 กอง) ซึ่งจะประดับด้วยดอกไม้หลากสีสันเพื่อให้เกิด
ความสวยงาม แล้วจึงปั้นจระเข้และปั้นเต่าจากทรายเพื่อนำมาวางไว้ข้างเจดีย์
ประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป หรือ เอาพระลง

หลังจากเสร็จสิ้นประเพณีการก่อเจดีย์ทราย ชาวบ้านจะขึ้นไปบนกุฏิ เพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปลงมายังพื้นที่ชั้นล่างซึ่ง
เป็นสถานที่จัดงาน เพื่อให้ชาวบ้านได้จัดพิธีสรงน้ำพระ โดยมีความเชื่อว่า ในช่วงงานบุญเดือนห้า หรือ บุญสงกรานต์นี้
จะเป็นวันที่พระท่านจะไม่ถือตัว ฆราวาสทุกคนจึงสามารถแตะต้องตามเนื้อกายของพระท่านได้

12

2. วันที่ 13 เมษายน
จะแบ่งพิธีออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยในช่วงเช้า จะมีการทำบุญตักบาตรภายในวัดดาวเรือง ซึ่งชาว

บ้านจะนำข้าวปลาอาหารจากบ้านมาถวายแด่พระสงฆ์ เพื่อบำรุงศาสนสาวกและเพื่อความเป็นสิริมงคลจากนั้นเมื่อถึงเวลา
เย็น ก็จะมีการสรงน้ำพระ ทั้งพระสงฆ์ และพระพุทธรูป โดยชาวบ้านจะขอขมาในการล่วงเกินทั้งกาย วาจา ใจต่อพระท่าน
ด้วยความนอบน้อมก่อนสรงน้ำทุกครั้ง
3. วันที่ 14-16 เมษายน
ประเพณีแห่ดอกไม้

ชาวบ้านจะทำการแห่ดอกไม้เป็นขบวนไปรอบหมู่บ้านช่อระกาในช่วงเย็นของวันที่ 14, 15 และ 16 เป็นเวลา 3 วันเมื่อ
ผ่านหน้าบ้านหลังใด คนในบ้านก็จะนำน้ำผสมน้ำหอมใส่ขันหรือถังน้ำให้พระจุ่มดอกไม้พรมศีรษะเพื่อความเป็นสิริมงคล
4. วันที่ 17-19 เมษายน

ชาวบ้านจะมีการเล่นสงกรานต์ตามปกติ คือ การสาดน้ำใส่กันเพื่อคลายความร้อน โดยจะเล่นภายในหมู่บ้านช่อระกา
ตั้งเช้าจนถึงเย็น
5. วันที่ 20 เมษายน

ในวันสุดท้ายของประเพณีจะมีการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าอีกครั้ง จากนั้นจึงเอาพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานยังกุฏิ
ดังเดิม โดยแต่เดิมนั้น ชาวบ้านจะจัดประเพณีขึ้นสระหงษ์ร่วมกับหมู่บ้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ คือ ประเพณีที่ชาว
บ้านจะเดินขึ้นไปยังวัดที่มีสระน้ำโบราณที่มีก้อนหินรูปร่างคล้ายหงส์ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ชื่อว่า วัดสระหงษ์ ที่ตั้งอยู่บนภูเขา
ในเขตตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เพื่อทำพิธีขอฟ้าขอฝน ด้วยการรำผีฟ้าเพื่อทำการเสี่ยงทาย จากนั้นจึงลง
จากสระหงส์ กลับไปยังบ้านเพื่อทำข้าวอ้อล่อ หรือ ขนมต้ม โดยใช้ข้าวเหนียว เมื่อทำเสร็จจึงนำไปที่วัดดาวเรือง เพื่อแห่
อ้อมโบสถ์ 3 รอบ เมื่อแห่เสร็จ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นประเพณีสงกรานต์

13

ประเพณีเดือนหก : บุญเบิกบ้าน

ความเป็นมา

ประเพณีบุญเบิกบ้าน ประเพณีประจำเดือนหกนี้ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกวันเพ็ญ เดือน 6 สาเหตุที่ต้องจัด

ประเพณีบุญเบิกบ้านขึ้น เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าบุญเบิกบ้านเป็นการไล่ผี และป้องกันสิ่งอัปมงคล หรือ ความ

เสนียดจัญไรไม่ให้เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน โดยประเพณีบุญเบิกบ้านจะจัดขึ้นก่อนการลงนา ซึ่งจะมีการเลี้ยงปู่ตาด้วยการ

จัดพิธีกรรมกลางหมู่บ้าน ณ บ้านของพ่อคำสิงห์

ขั้นตอนการทำพิธีกรรม
1. ก่อนถึงวันบุญเบิกบ้าน พระสงฆ์จะไปเทศน์กลางหมู่บ้าน ซึ่งจะทำทุกช่วงเย็นเป็นเวลา 3 วัน
2. ช่วงวันสุดท้ายก่อนถึงวันบุญเบิกบ้าน ชาวบ้านจะนำกรวดใส่ถังและนำน้ำใส่ขวดไปวางไว้ ณ กลาง


หมู่บ้านเพื่อนำไปให้พระสงฆ์สวด ทำพิธีปลุกเสก
3. หลังจากทำพิธีปลุกเสกเรียบร้อย ชาวบ้านจะนำกรวดไปหว่านขึ้นหลังคาบ้าน และจะนำน้ำที่พระ


สงฆ์ปลุกเสกไปพรมบริเวณรอบบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการไล่สิ่งไม่ดีออกไป
4. เมื่อถึงวันบุญเบิกบ้าน ในช่วงเช้า ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรด้วยการทำกระทงจากกาบกล้วยเป็นรูป


สามเหลี่ยมเรียกว่า “กระทงหน้าวัว” เป็นบ้านหรือครอบครัวละ 1 กระทง โดยสิ่งของที่จะต้องใส่ลงไปในกระทงหน้า

วัว ได้แก่ ข้าวดำ (เมื่อก่อนทำจากข้าวขาวทากับเขม่าหม้อ) ข้าวแดง (เมื่อก่อนทำจากข้าวขาวกับขมิ้น) หมาก พลู

และอาหารพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น ปลาร้า พริก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้จะจัดทำขึ้นเพื่อนำไปไว้ให้แก่ภูตผีปีศาจ หรือผีที่ชาว

บ้านเรียกกันเป็นภาษาชาวบ้านว่า “ผีซกงกซักงั่กสามปากสี่หูดัง” เป็นผีที่ไม่สามารถมากินข้าวตามปกติได้จึงต้องมี

การจัดทำอาหารที่มีสีสันเพื่อเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ให้ผีมากินสิ่งของที่เตรียมไว้ โดยการทำพิธีกรรมนี้จะมี

การใช้เทียน 1 เล่ม และธูป 1 ดอก เพื่อเป็นการบอกกล่าวภูตผีปีศาจ

5. หลังจากนั้น ชาวบ้านจะนำกระทงหน้าวัวทั้งหมดมารวมกัน ณ กลางหมู่บ้าน เพื่อเริ่มทำพิธีกรรม

โดยจะมีพระสงฆ์ยืนล้อมรอบกระทงหน้าวัวทั้งหมดที่ชาวบ้านทำมาพร้อมสวดและทำพิธี

6. หลังจากเสร็จพิธีชาวบ้านจะแบ่งกระทงหน้าวัวคืนเจ้าของแล้วให้นำกระทงหน้าวัวนั้นไปทิ้งนอกบ้าน

เพื่อเป็นการไล่สิ่งไม่ดีออกไป

14

ประเพณีเดือนแปด : บุญเข้าพรรษา

ประเพณีบุญเข้าพรรษา ประเพณีประจำเดือนแปดนี้ ชาวบ้านช่อระกา มีวิธีปฏิบัติแบบวิถีชาวพุทธทั่วไป คือ ผู้คนใน

หมู่บ้านที่ตั้งใจจะปฏิบัติธรรมต่างพากันเข้าวัดเพื่อจำศีลนุ่งขาวห่มขาว และคนต่างพื้นที่ที่มีความสนใจก็สามารถเข้ารับจำศีล

ในวัดได้เช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะเด่นของประเพณีวันเข้าพรรษาของหมู่บ้านช่อระกาที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นนั้น คือ พระ

สงฆ์ในวัดดาวเรืองทุกรูป จะรวมตัวกันเพื่อทำพิธีขอขมาคารวะ “หลวงปู่หลักคำ” ซึ่งในอดีต ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคยอยู่วัด

ดาวเรืองก่อนจะมรณภาพ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ โดยมีพิธีที่พระสงฆ์ร่วมกันทำ ประกอบด้วย การถวายผ้าไตร

การเปลี่ยนบาตร จัดทำบายศรี และมีผลไม้ ซึ่งพิธีนี้จัดทำขึ้นปีละครั้งตามช่วงประเพณีวันเข้าพรรษา

ประเพณีเดือนสิบ: บุญข้าวสาก

ความเป็นมา
ประเพณีบุญข้าวสาก ประเพณีประจำเดือนสิบนี้ ชาวบ้านช่อระกาจะจัดขึ้นเพื่อเป็นการทำบุญให้ผีบรรพบุรุษในช่วง


ก่อนออกพรรษา 2 เดือน และก่อนวันสารท 1 เดือน ในวันขึ้น 15ค่ำ เดือน 10 โดยเชื่อว่าวันนั้นเป็นวันที่โลกหลังความ

ตายจะเปิดโอกาสให้วิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้ว มารับบุญกุศลที่เหล่าลูกหลานทำให้ หากลูกหลานผู้ใดไม่มาทำบุญให้ในวัน

นั้น ผีบรรพบุรุษจะทุกข์ทรมานในโลกหลังความตาย

ลักษณะเด่น
เป็นการทำห่อข้าวสากที่จะแบ่งเป็นห่อข้าวน้อยกับห่อข้าวใหญ่ โดยห่อข้าวน้อยจะให้สำหรับผีและห่อข้าวใหญ่สำหรับ

ถวายพระ และห่อข้าวสาก 1 มัด จะมี 2 ห่อ นับเป็น 1 คู่ ซึ่งจะทำแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นห่อข้าวน้อยหรือห่อข้าวใหญ่ก็ตาม

15

ขั้นตอนการจัดประเพณี
1. ชาวบ้านจะคั่วข้าวตอกเตรียมทำข้าวสารท และทำขนมต้มสำหรับใส่ห่อข้าวไปวัด โดยจะแบ่งห่อข้าวสากเป็น 2

แบบ คือ ห่อข้าวน้อยสำหรับให้ผี และห่อข้าวใหญ่สำหรับถวายพระ ห่อข้าวสากไม่ว่าจะห่อข้าวน้อยหรือห่อข้าวใหญ่จะทำเป็น
มัด โดย 1 มัด มี 2 ห่อ นับเป็น 1 คู่ อาจเตรียมตามจำนวนพระหรือตามแต่ปัจจัยผู้ถวาย โดยห่อข้าวแต่ละแบบจะ
ประกอบด้วย

- ห่อข้าวน้อย ห่อแรกจะห่อหมาก พลู และบุหรี่ อีกห่อจะห่ออาหาร ขนมนมเนย
- ห่อข้าวใหญ่ ห่อแรกจะมีข้าวเหนียวสุกปั้นเป็นก้อน อีกห่อสำหรับใส่อาหารต่างหาก จำพวกปลาปิ้ง เนื้อส้ม
และหม่ำ

2. เมื่อเตรียมเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะไปวัดเพื่อทำพิธีไหว้พระรับศีลก่อน จากนั้นจึงทำพิธีถวายทาน ถวายสลากภัต
และถวายห่อข้าวใหญ่แด่พระพุทธเจ้า ในการถวายห่อข้าวใหญ่นี้ จะมีสลากภัตเพื่อจับสลากถวายของที่เตรียมมา หากจับ
สลากได้พระรูปใดให้วางของถวายพระรูปนั้น เมื่อถวายเสร็จแล้วพระจะทำการอุปโลกน์ คือ ให้พระรูปใหญ่รูปใดรูปหนึ่งทำ
พิธีแบ่งปันของถวายกัน ส่วนปัจจัยที่เอาใส่พร้อมห่อข้าวใหญ่จะแยกใส่ต่างหาก เช่น ห่อข้าวใส่ถาด ส่วนเงินใส่บาตร หลัง
พิธีเสร็จแล้วก็จะเอาเงินของใครของมันกลับ ในส่วนของห่อข้าวน้อยจะเอาไปรวมไว้ที่กองกลางเพื่อเอาไปแจกผีคนละคู่ อีก
ส่วนก็เก็บเอาไว้กับตัวเพื่อเอาไว้ให้ผีบรรพบุรุษ

3. เมื่อเสร็จจากทางพระ รับพร กรวดน้ำ ไหว้พระแล้ว ก็จะเอาห่อข้าวน้อยที่เก็บเอาไว้ให้บรรพบุรุษไปทำพิธีแลก
ของกันใต้ต้นไม้ โดยนำห่อข้าวน้อยไปห้อยต้นไม้ ระหว่างห้อยจะมีการเรียกชื่อ มีการตีฆ้องตีกลองเพื่อให้บรรพบุรุษมารับ
ส่วนบุญของกินไปใช้ เมื่อห้อยเสร็จก็จะปล่อยให้คนอื่นไปเอาห่อข้าวน้อยของตน ส่วนตนเองก็ไปเอาห่อข้าวน้อยของคนอื่น
เรียกพิธีนี้ว่าการ ‘ชิงเปรต’ เมื่อชิงมาได้แล้วก็จะเอาไปไว้ในที่นาของตนเอง

16

ประเพณีเดือนสิบเอ็ด : บุญออกพรรษา

ความเป็นมา

ประเพณีบุญออกพรรษา ประเพณีเดือนสิบเอ็ดนี้ จัดในวันที่ชาวพุทธเชื่อกันว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลง
จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตร
พุทธมารดา ดังนั้นชาวบ้านช่อระกาจึงมีวิธีปฏิบัติไม่ต่างจากวิถีชาวพุทธทั่วไป คือ การตักบาตรเทโวโรหณะ หรือ เข้าวัดฟัง
ธรรม โดยมีประเพณีท้องถิ่นที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ ประเพณีแห่กระธูป

ประเพณีแห่กระธูป จัดขึ้นในวันออกพรรษาของชาวบ้านหมู่บ้านช่อระกา เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นประเพณีที่เป็น
เอกลักษณ์ของหมู่บ้านช่อระกา ทำให้ประเพณีบุญออกพรรษาของหมู่บ้านแตกต่างจากพื้นที่อื่น

ลักษณะเด่น

1. จัดประเพณี 2 วัน คือ วันก่อนวันออกพรรษา และวันออกพรรษา
2. มีการแห่ต้นกระธูปรอบหมู่บ้านในช่วงกลางวันในวันก่อนวันออกพรรษา 1 วัน
3. ต้นกระธูปทุกต้นที่แห่และนำไปประกอบพิธี เกิดจากชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านร่วมกันทำต้นกระธูปให้มีความสวยงามและ
เสร็จสมบูรณ์ก่อนวันออกพรรษา
4. มีการทำพิธีจุดต้นกระธูปในช่วงเย็นของวันที่แห่ การลอยโคม และการจุดน้ำมันซึ่งทำจากมะตูมกา

ขั้นตอนการจัดประเพณี

1. ก่อนถึงวันออกพรรษา ชาวบ้านทุกคนจะร่วมกันทำต้นกระธูป และตกแต่งให้มีความสวยงาม
ขั้นตอนการทำต้นกระธูป
1.1 จัดเตรียมวัตถุดิบที่จะนำมาทำเป็นไส้กระธูปให้ครบทุกอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย ขุยมะพร้าว, ใบเนียมอ้ม,

รากตำยาน เป็นต้น
1.2 นำวัตถุดิบทั้งหมดมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นนำไปนึ่ง เมื่อนึ่งเสร็จนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปตากแดดให้แห้ง

และเมื่อทุกอย่างแห้งจึงนำมาตำให้แหลกละเอียด (ในสมัยก่อนหมู่บ้านช่อระกามีพระภิกษุสามเณรค่อนข้างมาก จึงมักให้พระ
ทุกรูปเสริมแรงในการช่วยชาวบ้านตำวัตถุดิบเครื่องหอมให้ละเอียด)

1.3 เมื่อจัดเตรียมเครื่องหอมไส้กระธูปเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านทุกคนจะร่วมกันห่อกระธูปโดยใช้กระดาษ
flipchart เนื่องจากมีต้นทุนที่ไม่แพง โดยจะนำกระดาษมาพันไส้เครื่องหอม เหมือนกับห่อมวนบุหรี่ และต้องม้วนกลิ้งไปกับ
พื้นเพื่อให้มีรูปทรงเรียวยาวสวยงามคล้ายกับลักษณะของธูป

1.4 เมื่อม้วนเสร็จ จะนำเส้นไหมหรือเส้นด้าย มามัดกระธูปให้อยู่ทรงและนำมาทำหู เพื่อให้สามารถนำไปห้อยกับ
ต้นกระธูปได้

17

1.5 นำกระธูปไปมัดกับต้นกระธูปที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่ จากนั้นจึงจัดเรียงให้มีความสวยงามและเป็นระเบียบ
2. เมื่อต้นกระธูปเสร็จสมบูรณ์ ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านจะทำพิธีแห่ต้นกระธูปรอบหมู่บ้านในช่วงกลางวัน ซึ่งทำพิธีก่อนวัน

ออกพรรษา 1 วัน
วิธีการแห่ต้นกระธูป
2.1 ก่อนทำการแห่ ชาวบ้านทุกคนที่มาร่วมขบวนจะแต่งกายด้วยชุดผ้าไทยที่สวยงาม และตั้งขบวนแห่ที่บริเวณ

ถนน 3 แยกกลางหมู่บ้าน
2.2 ขบวนแห่จะประกอบไปด้วยหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะมีต้นกระธูปหมู่บ้านละ 1 ต้น
2.3 เมื่อตั้งขบวนเสร็จก็ทำการแห่ต้นกระธูปไปตามเส้นทางรอบ ๆ หมู่บ้าน ซึ่งเริ่มต้นจากถนน 3 แยกกลาง

หมู่บ้าน และไปสิ้นสุดที่วัดดาวเรือง
3. เมื่อแห่ต้นกระธูปเสร็จสิ้น ชาวบ้านจะนำต้นกระธูปไปตั้งไว้ที่วัดดาวเรือง เพื่อรอทำพิธีจุดต้นกระธูปในช่วงเย็นของวัน

ดังกล่าว
4. เมื่อถึงช่วงเย็นของวันก่อนวันออกพรรษา ชาวบ้านทุกคนจะทำการไหว้พระ รับศีล สวดมนต์ และทำพิธีกล่าวถวายกระ

ธูป เพื่อเป็นการบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นชาวบ้านจะปล่อยโคมลอย ซึ่งเป็นโคมลอยที่นำมาจากภาคเหนือและมีขายใน
บริเวณวัด ผู้เข้าร่วมประเพณีที่สนใจจะปล่อยโคมลอย ก็จะทำการซื้อเพื่อบูชาและนำโคมลอยไปปล่อย จนเกิดเป็นโคมลอยหลาย
ดวงลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า และกลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของประเพณีออกพรรษาในทุก ๆ ปีของหมู่บ้านช่อระกาที่ขาดไม่ได้
เมื่อลอยโคมเสร็จ จึงจะทำการจุดต้นกระธูป นอกจากนี้ยังมีการจุดน้ำมันและนำไปวางไว้ใต้ต้นกระธูป ซึ่งทำมาจากมะตูมกา โดยนำ
มะตูมกามาคว้านเนื้อออกแล้วตัดแต่งทำเป็นทรงถ้วย จากนั้นจึงนำฝ้ายที่ชุบด้วยน้ำมันก๊าซมาใส่ไว้ตรงกลางและจุดไฟขึ้น จนเกิด
ความสว่างไสวสวยงามไปทั่วทั้งงาน

5. เช้าของวันออกพรรษา ชาวบ้านทุกคนจะนำปัจจัยต่าง ๆ เพื่อมาตักบาตรเทโวโรหณะ

ประเพณีเดือนสิบสอง : บุญกฐิน

ประเพณีบุญกฐิน ประเพณีประจำเดือนสิบสองนี้ จะจัดขึ้นในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ

เดือน 12 เท่านั้น นอกเหนือจากช่วงเวลานี้ไม่สามารถจัดงานได้ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทำสืบๆ ต่อกันมา โดยหมู่บ้านช่อ

ระกาจะจัดกฐินสามัคคี คือ ทุกคนเป็นเจ้าภาพร่วมกันแล้วไปทอดรวมกันอยู่ที่วัด ปัจจัยที่ได้นั้นจะนำไปถวายวัดเพื่องาน

หนึ่งงานใดของทางวัด ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถบริจาคหรือเข้าร่วมงานได้ และเมื่อของถวายทุกอย่างเอาไปรวมกันอยู่ที่วัด
แล้ว จึงตั้งองค์กฐินอยู่วัดและแห่รอบโบสถ์ โดยจะมีพระพุทธรูปพระคุณเจ้า 5 รูป มีตีกลองกิ่ง ตีฆ้อง ในส่วนของธง

กฐินจะมีรูปจระเข้ เต่า นางมัจฉา และตะขาบ ส่วนในช่วงเย็นจะเป็นคืนฉลองกฐิน หรือที่เรียกว่า ‘คืนงัน’ ภายในงานจะมี
สอยดาว มีรำวงชาวบ้าน โดยสาเหตุในสมัยก่อนที่จัดคืนงันคือ ทำให้งานสนุกและเพื่อหาเงินเข้าวัด

18

บทที่ 3 วิถีข้าว




“ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทยมาแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นหนึ่งในชีวิตจิตใจของคนไทย การทำเกษตรกรรมข้าว จึงเป็น
อาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจอันสำคัญยิ่งที่นำรายได้จำนวนมากเข้าสู่ประเทศเป็น
อันดับต้น ๆ ข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญของทุกคนเนื่องจากเป็นเรื่องปากท้องของคนเรา โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวเปรียบเสมือนชีวิตของคนปลูกข้าว
เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต หากมีพันธุ์ข้าว
ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีความต้านทานต่อโรคและมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใน
แต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดีพันธุ์ข้าวนั้นมีหลากหลายชนิด
ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีความเหมาะสมในสภาพอากาศที่ต่าง
กัน

ข้าวเป็นพืชที่เก่าแก่มาก จัดอยู่ในตระกูลหญ้า ปัจจุบันรู้จักในชื่อ Poaceae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
ซึ่งในหมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ พบสายพันธุ์ข้าวกว่า 140 ชนิด ดังข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนช่อระกาที่ว่า “ชุมชนช่อ
ระกาเป็นชุมชนชาวนา เราปลูกข้าวกันมาแต่โบราณ จึงได้สั่งสมความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวเอาไว้มากมายและความรู้เหล่านั้นยังคง
ถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดตอน บ้านช่อระกามีพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่หลากหลายทั้งข้าวดอ ข้าวดอปลาซิว ดอปลาเข็ง ดอมะเขือ ดอ
ป้องแอ้ว ข้าวกลาง (สันป่าตอง) ข้าวจ้าวใหญ่ ข้าวดมกลาง ข้าวมันเป็ด ข้าวขาวหลวง ข้าวอีปิด ฯลฯ ข้าวแต่ละพันธุ์ก็มีจุดเด่นที่สะท้อน
วิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของพวกเราแตกต่างกันไป นอกจากพันธุ์ข้าวที่หลากหลายแล้วเมื่อเราปลูกข้าวได้ผลผลิต เรายังสามารถนํามา
แปรรูปใช้งานส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมในชุมชนที่หลากหลาย ชาวช่อระกามีวิธีการแปรรูปข้าวอีกมากมายกว่า 140 ชนิด เช่น เอาข้าว
เหนียวที่เป็นข้าวอายุสั้นมาทําเป็นข้าวเม่า เมื่อได้ข้าวเม่าแล้วนําไปทำกระยาสารท เพื่อใช้ในช่วงบุญข้าวสารท ข้าวเก่าก็เอามาทําเป็นข้าว
แตนหรือข้าวโป่ง เวลางานบุญก็ทำข้าวต้มมัด ยังไม่รวมขนมต่างๆ รวมถึงสาโทด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่มีอยู่คู่ชุมชน เป็นส่วนหนึ่ง
ของวิถีวัฒนธรรมของชุมชน สะท้อนทั้งความผูกพันของชุมชนกับพุทธศาสนา ภูมิปัญญาที่ลึกซึ้งของชุมชนในกระบวนการปลูกข้าวตั้งแต่
ต้นทางจนปลายทาง ไปจนถึงสะท้อนถึงความสามัคคีของชุมชนได้เป็นอย่างดี สําคัญไปกว่านั้นวิถีข้าวของชาวช่อระกายังสะท้อนถึงความ
เข้มแข็งของชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สะท้อนอิสรภาพของชุมชนที่ไม่จําเป็นต้องพึ่งพากระแสของโลกทุนนิยมภายนอกที่นับวันยิ่ง
จะมองเห็นถึงความไม่มั่นคงมากขึ้นไปทุกที ดังนั้นสําหรับเราชาวประกา ข้าวจึงไม่ได้หมายความถึงอาหารที่ทําให้อิ่มท้องไปในแต่ละวัน
แต่เป็นความหมายของอิสรภาพของชีวิตที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้แก่ลูกหลาน”

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวิถีข้าวจากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้าน สายพันธุ์ข้าวที่นิยมเพาะปลูกประกอบด้วย 2 สายพันธุ์
ด้วยกัน คือ ข้าวเหนียว กข 6 และ ข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวนาไวต่อช่วงแสง ซึ่งข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์จะนิยมปลูกกันครึ่งต่อ
ครึ่ง กล่าวคือ นิยมปลูกข้าว กข 6 : ข้าวหอมมะลิ 105 ในอัตราส่วน 50 : 50 ซึ่งในอดีตนั้นปราชญ์ชาวบ้านได้ให้ข้อมูลว่า “ในสมัย
ก่อนชาวบ้านจะปลูกข้าวเหนียวมากกว่าข้าวเจ้า ต่อมาข้าวเจ้าราคาดีจึงหันมาปลูกกันมากขึ้น” ปัจจุบันการลงแขกเกี่ยวข้าวจะทำกันในที่
นาของวัด ซึ่งเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็ได้มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวเกิดขึ้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ซึ่งจาก
การสอบถามในอดีตกาลนั้นมีประวัติสายพันธุ์ข้าว ดังนี้

19

1. ข้าวดอ (Early variety)
ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยว 90 –100 วัน หรือภายใน 2 เดือน ซึ่งข้าวดอ หรือ ข้าวพันธุ์เบา จะมีลักษณะทั่วไปเหมือนพันธุ์ข้าวทั่วไป แต่จะมี


ลักษณะเด่นดังนี้
- น้ำหนักเบากว่า ในปริมาณที่เท่ากัน
- จะใช้เวลาในการออกดอกออกผลเร็วกว่าข้าวพันธุ์ปกติ (ข้าวใหญ่) ประมาณ 1 -2 เดือน

ดังนั้นจึงต้องรีบเกี่ยวข้าว หากปล่อยไว้นานข้าวจะขอบ (เม็ดจะหลุดออกจากรวงข้าวง่าย หรือ ก้านเมล็ดข้าวจะเปราะขอบ
คาดว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับคำว่า “กรอบ”)
- มีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า
- ไม่นิยมนำมาขาย เนื่องจากให้น้ำหนักน้อยกว่า ส่วนใหญ่นิยมปลูกรับประทาน ข้าวดอ มีหลากหลายสายพันธุ์ ประกอบด้วย

- ข้าวดอปลาซิว (เมล็ดเล็ก) ปลูกในนาโคก ต้องการน้ำน้อย
- ข้าวดอปลาเข็ง (เมล็ดใหญ่) ปลูกในนาลุ่ม ต้องการน้ำมาก
- ข้าวดอป้องแอ้ว
- ข้าวดอมะเขือ
- ข้าวดอฮากแห้ง ปลูกในนาโคก ต้องการน้ำน้อย
2. ข้าวกลาง (Medium variety)
ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน หรือภายใน 3 เดือน
- ข้าวมันเป็ด
- ข้าวสันปาตอง เป็นพันธุ์ข้าวที่นำมาจากเชียงใหม่
- ข้าวจ้าวใหญ่
- ข้าวดมกลาง
- ข้าว กข 6 ของที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นข้าวพันธุ์เตี้ย ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของดีประจำหมู่บ้าน เมล็ดใหญ่ ราคาค่อนข้างดี
- ข้าวหอมมะลิ 105 “ข้าวหอมมะลิ” มิใช่ว่าหอมเหมือนดอกมะลิ หากแต่ขาวเหมือนดอกมะลิต่างหาก ที่มีกลิ่นหอมนั้นหอมเหมือนใบเตย
เนื่องมาจากมีสารบางอย่างในเมล็ดข้าวที่เป็นตัวเดียวกันกับสารในใบเตย มีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ข้าวชนิดนี้นิยมปลูกเป็น
ข้าวนาปี เพราะเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง

20

3. ข้าวใหญ่ (Late variety)
ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยว 120 วันขึ้นไป หรือภายใน 4 เดือน

- ข้าวขาวหลวง
- ข้าวอีปิด

ในการเลือกสายพันธุ์ข้าวนั้นจะเลือกตามลักษณะพื้นที่ ซึ่งจะแบ่งโดยยึดอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (เจ้าพ่อพญาแล) กล่าวคือ หน้า

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาลุ่ม (ลักษณะพื้นที่ๆ น้ำมักท่วมถึง) และหลังอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น
นาโคก (ลักษณะพื้นที่ๆ น้ำท่วมไม่ถึง)

จากการจัดประเภทข้าวทั้ง 3 ประเภท คือ ข้าวดอ ข้าวกลาง ข้าวใหญ่ สามารถกล่าวได้ว่าสายพันธุ์ข้าวทั้ง 3 ชนิดนั้นล้วนเป็นสายพันธุ์ข้าวไม่
ไวต่อช่วงแสง (Insensitive Varieties) คือ เป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก พันธุ์ข้าวนี้จะออกดอกและเก็บเกี่ยว ตาม
อายุของแต่ละพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน เว้นแต่ข้าวหอมมะลิซึ่งจัดอยู่ในประเภทข้าวกลาง เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง กล่าวคือ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการ
ช่วงแสง หรือช่วงเวลากลางวันสั้นเพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตของลำต้นและใบมาเป็นการเจริญทางการสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
โดยข้าวจะสร้างช่อดอกเมื่อช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง เป็นพันธุ์ข้าวที่ออกดอกในช่วงที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น ซึ่งก็ตรงกับฤดูหนาวของ
ไทย เช่นเดียวกับข้าวที่ปลูกนาปี

รู้จักต้นข้าว

- ลำต้น มีลักษณะตรง ข้างในกลวง มีความสูงตั้งแต่ 50 - 200 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว โดยข้าว บางชนิดมีความยาวถึง 5 เมตร
- ใบข้าว มีลักษณะยาวแหลม มีความกว้าง 5 - 15 มิลลิเมตร ส่วนของใบหุ้มติดอยู่กับลำต้น
- ดอกข้าว มีลักษณะเป็นรวง แต่ละดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 6 ชุด
- เมล็ดข้าว มีปลายแหลม เมล็ดเดี่ยว แห้ง มีความยาว 5.50 - 7.51 มิลลิเมตร ดูดซับน้ำได้ถึง 25 ส่วนของน้ำหนักเมล็ด ภายในเซลล์

เมล็ดข้าวประกอบด้วยเยื่อหุ้มและไข่ขาวคัพภะ (ต้นอ่อนของพืช) ทำหน้าที่ผลิตแป้งที่ทำให้เมล็ดข้าวมีสีขาว ลักษณะเงาวาว

21

รูปที่ 1 การเจริญเติบโตของลำต้นข้าว
รูปที่ 2 ส่วนประกอบของรวงข้าว
รูปที่ 3 ส่วนประกอบของข้าวเปลือก

22

เครื่องใช้ในการปลูกข้าว

ไถไม้ ไม้สำหรับใช้ไถนา
คราด ใช้สำหรับไถคราดหลังจากหว่านกล้าเสร็จ
แอก ไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน

ข้องสระ เครื่องมือในการใช้วิดน้ำเข้าใส่นาก่อนที่จะมีเครื่องยนต์
แอ่งน้ำ ภาชนะสำหรับตักน้ำออกจากไร่นา

ตาแฮก สิ่งที่ชาวบ้านปฏิบัติสืบต่อกันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ ชาว ไม้คันหลาว เอาไว้หาบข้าว เวลาเก็บเกี่ยวหรือมัดกู้
บ้านเชื่อว่าสิ่งนี้ช่วยดูแลไร่นาให้อุดมสมบูรณ์ ไร้โรคภัย และ เสร็จแล้วในสมัยก่อน
ให้ได้ผลผลิตเยอะ ในการประกอบพิธีจะจัดขึ้นวันพฤหัสบดี
เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวันอุดมสมบูรณ์

23

ข้องใส่ปลา ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่ปลา
กระเซอ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่

โบมส่ายข้าว ภาชนะสำหรับฟัดข้าว

หวดนึ่งข้าว ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับนึ่งข้าวให้สุก

ก่องข้าว ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่ข้าวสุก
ตะกร้าไม้ไผ่ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับใส่สิ่งของ

24

ขั้นตอนในการทำนา

1. เดือน 6 เริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนาด้วยการไถนา ซึ่งที่นี่จะมีการไถนา 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกเป็นการไถหญ้าเพื่อกำจัด
วัชพืชในแปลง เรียกว่า “ไถฮุด” หรือ “ไถดะ” และครั้งที่สองไถเพื่อเตรียมแปลงให้พร้อมแก่การเพาะปลูก เรียกว่า “ไถคราด” หลัง
ทำบุญเบิกบ้าน หรือบุญกลางบ้าน ซึ่งเป็นการทำบุญในทุก ๆ ปี เพื่อความสิริมงคลแก่หมู่บ้านและชาวบ้านในทุก ๆ เรื่อง

2. เดือน 7 ช่วงเวลาแห่งการหว่านกล้า โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้หลังจากแช่น้ำสะอาดประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน จนข้าวงอก
หว่านข้าวงอกลงบนแปลงกล้าให้กระจายทั่วแปลง ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตรหรือ 1 กิโลกรัมต่อ 20 ตารางเมตร หลังหว่าน
ข้าวลงบนแปลงใหม่ๆ อย่าให้น้ำขัง เพราะเมล็ดข้าวจะลอยหรือเน่าได้หลังจากตกกล้าได้ 5-7 วัน หรือรากข้าวเริ่มจับดันแล้วจึงค่อย
เพิ่มน้ำให้พอเหมาะ

3. เดือน 8 ดำกล้า เมื่อกล้าอายุได้ 20-30 วัน สามารถถอนนำไปปักดำได้ การถอนไม่ควรให้กล้าช้ำ เมื่อถอนแล้วไม่ควรทิ้งไว้ควร
แช่น้ำไว้ตลอดเวลา และรีบปักดำให้เร็วที่สุด การปักดำควรปักดำเป็นแถว โดยใช้ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร และระหว่างแถว
25 เซนติเมตร ใช้กล้า 3 ต้นต่อจับ หากข้าวที่ปักดำไปแล้วเสียหายควรซ่อมโดยเร็วไม่ควรนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้กล้าที่ซ่อม
เจริญเติบโตไม่ทัน

4. เดือน 9 ตาแฮก มีขึ้นตามความเชื่อเพื่อเป็นการปกปักษ์ดูแลไร่นา โดยชาวบ้านมักจะขอให้ข้าวไม่มีโรคมีภัย มีความอุดมสมบูรณ์
จะปักประมาณ 5-7 ต้น และต้องเกี่ยวก่อนการเก็บเกี่ยวทั้งหมดปักไว้ในตาแฮก นิยมทำในวันพุธ ปักแฮก ทำในวันพฤหัสบดี โดย
คำกล่าวที่ชาวบ้านนิยมกล่าวมี ดังนี้
“ให้ฟ้าวขึ้น ฟ้าวเขียว ฟ้าวต้นใหญ่ต้นสูง ฝุ่นอีเขียวจะมาขึ้น”

5. เดือน 10 ช่วงเวลาแห่งการทำบุญข้าวสาก หรือ บุญข้าวประดับดิน ซึ่งจัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ทำบริเวณคันนา
ประกอบด้วย เผือก มัน ไข่ต้ม ดอกไม้เกล็ดลิน ไก่ต้ม เมื่อเลี้ยงเสร็จจะนำขาไก่มาดู เพื่อเป็นการเสี่ยงทายข้าวในนา หากขาไก่มี
ลักษณะโค้ง ข้าวดี , ชี้ขึ้นตรง ข้าวไม่ดีหรือได้ผลผลิตไม่เต็มที่

25

การปลูกข้าว

สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

- การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองขั้นตอน
ขั้นตอนแรก ได้แก่ การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก
ขั้นตอนที่สอง ได้แก่ การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่
โดยการปลูกแบบนี้จำเป็นต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งต้องมีการไถดะ ไถแปร และคราด โดยพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่ง

กั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนา
ไว้ได้บ้างพอสมควร
- การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงไปในแปลงนาโดยตรง ซึ่งได้มีการไถเตรียมดินเอาไว้แล้ว โดย
การเตรียมดินก็แบบเดียวกับการปลูกข้าวนาดำ การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีคันนากั้นเป็นแปลงและมีน้ำขังประมาณ
3- 5 เซนติเมตร และพื้นที่นาเป็นผืนใหญ่ขนาดประมาณ 1 - 2 ไร่ การเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียมดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการ
ไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดินตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่าน
ลงนา และปล่อยน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว ซึ่งการหว่านแบบนี้นิยมทำกันเพื่อใช้ปลูกข้าวนาปรัง

การเลือกวันปลูก

















การเลือกวันหว่านข้าวจะเลือกในช่วงข้างขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคล โดยเลือกวันที่ดีที่สุดจากตำราฤกษ์ปลูกข้าว (ตามตำราฤกษ์ปลูกข้าว
หากหว่านข้าวในช่วงข้างขึ้นจะทำให้ได้ผลผลิตดี) ผสมผสานกับการเลือกวันปลูกข้าวโดยพิจารณาจากฤดูกาลของการทำนา การเลือกข้าวและ
เมล็ดพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับฤดูกาลนั้น ควรเลือกให้สอดคล้องกับสภาพในแต่ละพื้นที่และฤดูกาลเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดย
สามารถคำนวณวันเก็บเกี่ยวข้าวได้จากระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เลือก และควรเลือกวันปลูกข้าวโดยคำนวณช่วงข้าวตั้ง
ท้องไม่ให้เผชิญกับภาวะร้อนจัดหรือหนาวจัดซึ่งส่งผลให้ผลผลิตน้อย

26

การดูแลรักษา

การเจริญงอกงามของต้นข้าว แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ได้แก่
- ระยะกล้า เริ่มตั้งแต่ข้าวเริ่มงอกจากเมล็ด จนกระทั่งเริ่มแตกกอ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 วัน การดูแลในระยะนี้ หากบำรุง
ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดีมาตั้งแต่ต้นแล้ว ทำแต่เพียงคอยดูระดับน้ำไม่ให้สูงเกิน และระวังโรคแมลงมากัดทำลายและเหยียบย่ำต้น
กล้า
- ระยะแตกกอ เริ่มจากแตกกอไปจนกระทั่งเริ่มสร้างดอก ระยะนี้ใช้เวลาเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ข้าว อาทิ ข้าวหอมมะลิ 105 ใช้ระยะ
เวลา 40 - 60 วัน การดูแลรักษาในระยะนี้ ถ้าบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ดีมาตั้งแต่ต้นแล้ว ทำแต่เพียงคอยดูระดับน้ำไม่ให้สูงเกิน
และระวังโรคแมลง แต่ถ้าฉีดพ่นฮอร์โมนน้ำหมัก (น้ำหมักที่ช่วยเร่งดอกบำรุงผลทำให้โตไวได้ผลเร็ว) ด้วย จะช่วยให้แตกกอได้ดียิ่งขึ้น

ระยะที่ 2 การเจริญเติบโตทางการสืบพันธุ์ข้าว เริ่มจากการสร้างดอก ตั้งท้องออกดอก จนถึงการผสมพันธุ์ ระยะนี้จะใช้เวลาเท่าใดขึ้น
อยู่กับชนิดพันธุ์ข้าว อาทิ ข้าวหอมมะลิ105 ใช้ระยะเวลา 20 - 30 วัน การดูแลรักษาในระยะนี้ ถ้าบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์แล้ว
ให้คอยดูระดับน้ำไม่ให้สูงเกิน และระวังโรคแมลง ถ้ามีการฉีดพ่นฮอร์โมนน้ำด้วยจะช่วยให้ข้าวออกรวง

ระยะที่ 3 การเจริญเติบโตทางเมล็ด หลังจากการผสมพันธุ์ของดอกข้าว เมล็ดข้าวจะเริ่มเป็นน้ำนม เป็นแป้ง จนกระทั่งเมล็ดสุก โดยใช้
เวลา 25 - 30 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ข้าว การดูแลรักษาในระยะนี้ควรตัดพันธุ์ข้าวปนออกจากแปลงเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ที่ต้องการอย่าง
บริสุทธิ์ ให้คอยดูระดับน้ำตอนเมล็ดข้าวกำลังจะสุก เพื่อเพิ่มความหอมให้แก่ข้าวหอมมะลิ 105

การเก็บเกี่ยวและจัดการผลผลิต

เก็บเกี่ยวตามอายุของข้าว อาทิ ข้าวหอมมะลิ 105 จะเก็บเกี่ยวภายใน 4 เดือน (120 วัน) หลังการเพาะปลูก โดยชาวบ้านใน
ปัจจุบันจะเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด ซึ่งประหยัดเวลาในการเก็บเกี่ยว แต่เมล็ดข้าวจะมีความชื้นสูงประมาณ 25 - 30%
ซึ่งเกินระดับความชื้นมาตรฐาน โดยก่อนเกี่ยวชาวบ้านจะนำเคียวไปเกี่ยวข้าวประมาณ 5-7 ต้น เพื่อนำไปใส่ตู้แฮก หลังจากนั้นจึงใช้
เครื่องเกี่ยวข้าวขึ้น เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำเมล็ดข้าวที่ได้ไปตากแดดที่ลานตาก โดยให้ผ่านการตากแดดประมาณ 3 แดด
พร้อมกับวัดความชื้นให้อยู่ในระดับมาตรฐานไม่เกิน 10% แล้วนำมาเก็บไว้ในยุ้งข้าว การปลูกข้าวควรให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ
การเตรียมดินไปจนถึงการเก็บเกี่ยว โดยการปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นนั้น ๆ รวมถึง
ลักษณะสภาพพื้นที่ว่าเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ปลูกให้สอดคล้องกับสภาพในแต่ละพื้นที่และฤดูกาลเพื่อให้เกิด
ประสิทธิผลสูงสุด

27

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับพิธีกรรมนาตาแฮก



ผีตาแฮก ผีนาที่มีอยู่ในความเชื่อของชาวอีสาน เป็นผีที่เฝ้าประจำอยู่ที่นาตาแฮก เพื่อคอยคุ้มกันที่นาและช่วยดลบันดาลให้ผลผลิต
ในนามีความอุดมสมบูรณ์

มีความเชื่อเกี่ยวกับผีตาแฮกว่า ผีตาแฮกจะคอยอยู่เฝ้านาตาแฮกและที่นาทั้งหมด โดยสิงสถิตอยู่ที่บ้านซึ่งชาวนาจัดให้ ชาวอีสานจึง
มักห้ามทุกคนไม่ให้ปัสสาวะหรืออุจจาระใกล้ๆ นาตาแฮก หากใครฝ่าฝืนผีตาแฮกจะโกรธและทำให้บุคคลผู้นั้นเจ็บป่วยจนอาจถึงตายได้

ชาวอีสานมักเชื่อว่ามีผีอยู่ทั่วไป ตามป่า ลำห้วย ไร่และนา หรือแม้แต่บ้านก็มีผีเฮื้อน หากล่วงเกินผีเหล่านี้เข้าอาจทำให้เจ็บป่วยถึง
ตาย ชาวอีสานจึงดำรงชีวิตอยู่อย่างถ่อมตนและอ่อนน้อมกับธรรมชาติ ดังนั้นชาวอีสานมักถือเอาข้อห้ามเกี่ยวกับผีตาแฮกยึดเป็นข้อปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด เช่นเดียวกับปฏิบัติต่อผีอื่นๆ

นาตาแฮก

แฮก คือ แรก หมายถึง การไถนาทำนาปลูกข้าวครั้งแรกในนาจำลองขนาดเล็กๆ ที่สมมติขึ้น แล้วมีพิธีสู่ขวัญวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือ
ธรรมชาติให้บันดาลให้ทำนาจริงๆ ได้ผลผลิตเป็นข้าวงอกงามอุดมสมบูรณ์เหมือนนาจำลองที่สมมติขึ้น
นาตาแฮก คือ นาเสี่ยงทายผลผลิตข้าวของชาวอีสาน มีลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาดเล็กไว้ตามคันนา หรืออาจเป็นเนินดินที่สูงกว่าปกติ
มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว จำนวน 11 ต้น โดยเชื่อกันว่าในนาตาแฮกจะมีผีตาแฮกคอยดูแลต้นข้าวอยู่ หากต้นข้าวในนาตาแฮกทั้ง 11 ต้น
เจริญงอกงามจนสามารถออกรวงได้แล้ว ผลผลิตของที่นาในปีนั้นก็จะดี ชาวนาในภาคอีสานจึงให้ความสำคัญกับนาตาแฮกเป็นอย่างมาก

28

การประกอบพิธีกรรม

ชาวอีสานกลุ่มวัฒนธรรมลาว มีการปักแฮกต้นข้าวในนาตาแฮกเป็นอันดับแรกก่อนที่จะลงมือดำนาปกติ เพราะเชื่อกันว่าการปักแฮก
ในเวลาที่เหมาะสม จะนำความสมบูรณ์ของธัญญาหารมาสู่ครอบครัว การทำนาในปีนั้นจะได้ผลผลิตดี เจ้าขอนาจึงหาเวลา แฮกดี ก่อน
ลงมือทำนาชาวนาแต่ละคนมี แฮกดี ไม่เหมือนกัน บางคนอยู่ในที่ลุ่ม บางคนอยู่ในที่ดอน การแฮกดีจึงเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่มีการ
สืบทอดต่อ ๆ กันมา พิธีกรรมปักแฮกต้นข้าว เข้าของนามักเลือกเอาวันที่เรียกว่า วันฟู หรือ วันลอย เป็นวันที่ติดจากวันทางจันทรคติที่
สืบทอดต่อ ๆ กันมาชาวอีสานถือว่า วันฟู เป็นวันแห่งโชคลาภ ซึ่งนำมาซึ่งความรุ่งเรืองในชีวิต ในวันดังกล่าว ชาวนามีการเตรีมต้นกล้า
ประมาณ 1 กำมือ เพื่อนำไปปักแฮกที่นาตาแฮก ขณะทำการปักแฮกเจ้าของนาจะกล่าวคำสวดเป็นภาษาลาวเมื่อปักดำนาตาแฮกแล้ว ต้น
ข้าวในนาตาแฮกงอกงาม ฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ชาวนาจะนำบ้านไม้ไผ่ที่ทำขึ้น และไก่ต้มพร้อมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน เป็นเครื่องสังเวยนา
ตาแฮก ซึ่งเชื่อกันว่ามีผีตาแฮกเฝ้าอยู่บ้านไม้ไผ่ทำโดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นบ้านขนาดเล็ก มีเสาทำด้วยไม้หนึ่งเสา สำหรับปักลงข้างๆ นา
ตาแฮก ที่ปลายเสามีห่วงไม้ไผ่คล้องกัน 7 ห่วง เมื่อปักบ้านให้กับผีตาแฮกแล้ว ก็นำไก่ต้มมาสังเวย เจ้าของนาจะคอยจนกว่าจะถึงเวลาที่
คาดว่าผีตาแฮกกินเครื่องเซ่นเสร็จแล้ว ก็นำคางไก่ต้มที่เป็นเครื่องเซ่นมาแกะดูขากรรไกรทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการทำนายเกี่ยวกับฝนในปี
นั้น ๆ

ในส่วนของคำกล่าวในการประกอบพิธีนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีคำกล่าวที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบพิธีในขณะนั้น ๆ ว่าต้องการสิ่งใดก็
จะขอในสิ่งนั้น ซึ่งในแต่จะบ้านก็จะมีคำกล่าวที่แตกต่างกันออกไป

29

บทที่ 4 วิถีผ้า



ผ้าไหมไทย เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงเป็นเสมือนสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย ด้วยความสวยงาม ความอ่อนนุ่มสบาย และ
ความเลื่อมเงางามโดยธรรมชาติ เมื่อสวมใส่ทำให้ดูหรูหราและภูมิฐาน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ “เมื่ออากาศร้อน ผ้าไหม
ช่วยคลายร้อนได้ แต่เมื่ออากาศหนาว ผ้าไหมบาง ๆ กลับช่วยให้อุ่นสบาย”จึงนับว่าเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า ถือว่าเป็นภูมิปัญญา
ที่น่าภูมิใจของคนไทยและเป็นการสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าไหมมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลเป็นที่รู้จักกันในแถบอีสานใต้ ผ้าไหมไทย
เป็นผลงานอันเกิดจากความตั้งใจของผู้ทอที่แฝงไว้ด้วยความหมาย ความพิถีพีถัน ความเป็นศิลปะและเต็มไปด้วยจินตนาการ สะท้อน
ให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความผูกพันระหว่างธรรมชาติกับวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละภูมิภาคของประเทศ และเพิ่มความสวยงามด้วย
การใส่ลวดลายผ้าให้มีความแตกต่าง โดยคิดค้นจากสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ ธรรมชาติ หรือสัตว์ที่ใช้งานในชีวิต
ประจำวัน เช่น ช้าง ม้า เป็นต้น ความสวยงามอยู่ที่ฝีมือในการมัดหมี่ การย้อมสี และความชำนาญในการใช้กี่ทอด้วยมือ ลวดลายที่โดด
เด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้เส้นไหมไทยแท้เน้นการส่งออกเพื่อสร้างสมดุลทางการค้าและเผยแพร่ภูมิปัญญาผ้าทอของคน
ไทยให้ก้าวไปสู่สากล

ผ้าไหมไทยถักทอขึ้นจากเส้นใยไหมที่มีขนาดเล็กละเอียด เป็นเส้นใยชนิดเส้นใยยาว จึงทอเป็นผ้าได้สวยงาม เนื้อผ้าอ่อนนุ่ม ดู
บอบบาง ขณะเดียวกันด้วยความเหนียวทนทานของเส้นใยไหม จึงทำให้สามารถใช้ผ้าไหมสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ดี การดูแลที่
เหมาะสมจะทำให้ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์ผ้าไหมคงความสวยงามและคงคุณภาพได้ยาวนาน ซึ่งหมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง
ชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหมขึ้น เพื่ออนุรักษ์วิถีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของพื้นที่ ผ้าไหมแต่ละผืนที่มีลวดลาย
งดงาม ล้วนต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการที่หลากหลายและใช้ระยะเวลานาน การทอผ้าไหมจะต้องอาศัยความประณีต ความละเอียด
อ่อน และความชำนาญ เพื่อให้ได้ผ้าไหมที่งดงามทั้งสีผ้าและลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ กลุ่มทอผ้าไหมหมู่บ้านช่อระกา เริ่มกระบวนการ
ผลิตผ้าไหมตั้งแต่ การเลี้ยงไหม การสาวไหม การเตรียมเส้นไหม การมัดหมี่ การย้อมสี การแก้ปอมัดหมี่ และการเข้ากี่หรือการทอ ซึ่ง
จากการสอบถามข้อมูลและขั้นตอนวิธีการดังกล่าวของกลุ่มทอผ้าไหมหมู่บ้านช่อระกา มีรายละเอียด ดังนี้

30

1. การเลี้ยงไหม

วิธีการเลี้ยงไหมของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านช่อระกา

พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือพันธุ์พื้นบ้าน เรียกว่า พันธุ์นางน้อย
วิธีสังเกต ผีเสื้อตัวเมีย และ ตัวผู้
- ตัวเมียจะตัวใหญ่
- ตัวผู้จะตัวเล็ก

นำผีเสื้อตัวเมียและตัวผู้มาขังไว้ด้วยกัน 1 คืน เมื่อครบ 1 คืน แยกผีเสื้อตัวผู้ ออกจากผีเสื้อตัวเมีย ใช้กระดาษรองและใช้ภาชนะทึบ

แสงครอบผีเสื้อตัวเมียไว้ เพื่อให้ตัวเมียออกไข่ ไข่จะใช้เวลาฟักตัว 10 - 12 วัน

เมื่อฟักออกจากไข่แล้ว นำตัวหนอนไหมใส่ในกระด้งและให้อาหารเช้า - เย็น อาหารของหนอนไหมคือ ใบหม่อน ในช่วงแรกการให้

อาหารจะซอยใบหม่อนให้เล็กและโรยให้ทั่ว เพื่อให้หนอนไหมเจริญเติบโตสม่ำเสมอ เมื่อให้อาหารครบ 7 วัน หนอนไหมจะนอนครั้งที่ 1

ลักษณะไหมนอน

"ไหมนอน" หมายถึง หนอนไหมจะลอกคราบ เพื่อเปลี่ยนวัยเจริญเติบโตขึ้น ปกติจะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมงไหมนอนมีลักษณะดังนี้
1. หนอนไหมจะหยุดกินอาหาร และยกหัวขึ้น
2. จะมีรอยสามเหลี่ยมเกิดขึ้นด้านบน ระหว่างรอยต่อของตัวกับส่วนอก
3. มักจะหลบหนีแสงอยู่ในที่มืดกว่าหนอนไหมที่ยังไม่นอน
4. หัวกะโหลกสีคล้ำและยื่นออกเล็กน้อย
5. เมื่อลอกคราบแล้ว (ไหมตื่น) จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับไหมนอน
เมื่อลอกคราบเสร็จ หนอนไหมจะตื่นมากินใบหม่อนจนครบ 7 วัน หนอนไหมจะนอนครั้งที่ 2
การให้อาหาร จะให้อาหาร 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น โดยหั่นใบหม่อนเป็นฝอย แล้วโรยให้ทั่ว
เมื่อลอกคราบเสร็จ หนอนไหมจะตื่นมากินใบหม่อนจนครบ 7 วัน หนอนไหมจะนอนครั้งที่ 3
การให้อาหาร จะให้อาหาร 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น โดยจะให้ใบหม่อนที่เป็นใบอ่อนแบบเต็มใบ
เมื่อลอกคราบเสร็จ หนอนไหมจะตื่นมากินใบหม่อนจนครบ 7 วัน หนอนไหมจะนอนครั้งที่ 4
การให้อาหาร ใช้ใบหม่อนแก่แบบเต็มใบ ในระยะนี้หนอนไหมจะเริ่มสุก จึงต้องแยกตัวที่สุกออกมาใส่ในกระจ่อ (ภาชนะสานใช้สำหรับ

เลี้ยงตัวไหม) เพื่อให้หนอนไหมชักไยทำรัง

31

ลักษณะไหมสุก

"ไหมสุก" หมายถึง หนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ และเริ่มจะชักใยทำรัง ไหมสุกมีลักษณะดังนี้
1. เริ่มหยุดกินอาหารและไต่ขึ้นบนหรือออกนอกกลุ่ม
2. ผนังลำตัวเริ่มบางใส
3. มูลที่ถ่ายออกมาจะมีสีน้ำตาลมากกว่าสีเขียวคล้ำ
4. ชูส่วนหัวส่ายไปมา และเคลื่อนไหวมาก
ลายผ้าไหมที่นิยมทอในกลุ่มทอผ้าไหมบ้านช่อระกา
1. ลายหมี่คั่นขอนารี
2. ลายหน้าหมอน
3. ลายขอสิริวัณวลีฯ
5. ลายขอหัวใจว่าง
6. ลายนาค
7. ลายดอกแก้ว
8. บักจับ

2. การสาวไหม

เมื่อได้รับไหมสดจะต้องนำไปอบให้แห้ง จากนั้นนำไหมที่อบแห้งไปต้มในน้ำที่สะอาด รังไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยว
เส้นใยออกมารวมกันหลายๆเส้น การสาวต้องเริ่มต้นจากขุยรอบนอกและเส้นใยภายใน(ชั้นกลาง) รวมกันเรียกว่า “ไหมสาว” หรือ “ไหม
เปลือก” ครั้นสาวถึงเส้นใยภายใน(ชั้นในสุด) แล้วเอารังไหมที่มีเส้นภายในแยกไปสาวต่างหาก เรียกว่า “เส้นไหมน้อย” หรือ “ไหมหนึ่ง”

32

3. การเตรียมเส้นไหม

การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1 การเตรียมเส้นไหมพุ่ง การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อตรียมพร้อมสำหรับการนำไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือใน
การค้นลำหมี่ โดยการนำเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาทำการค้นปอยหมี่เพื่อให้ได้ลำหมี่พร้อมสำหรับการไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป
3.2 การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น
(กรอ) ให้ได้ความยาวตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ ไหมหนึ่งเครือจะทำให้เป็นผ้าไหมได้ประมาณ 20-30 ผืน (1 ผืนยาว
ประมาณ 180-200 เซนติเมตร)

4. การมัดหมี่

การมัดหมี่ คือ การทำผ้าไหมให้เป็นลวดลายและสีสันต่าง ๆ ตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลาย
โบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยจะมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางแล้วนำไปย้อมสี จากนั้นนำมามัดลายแล้วย้อม
สีสลับกันอีกหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและสีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี จะต้องทำการมัดย้อม 5 ครั้ง เป็นต้น

33

5. การย้อมสี

การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” จะทำให้
เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสี
วิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ซึ่งหาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูก ทนต่อ
การซักค่อนข้างดี

การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทำให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้า
พื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย

วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้น ๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนำไหมชุบน้ำให้เปียก บิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้น
แล้วจึงแช่ในน้ำย้อมสีที่เตรียมไว้ จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ

6. การแก้ปอมัดหมี่

การแก้ปอมัดหมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลำออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง

34

7. การเข้ากี่หรือการทอ

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืนที่งดงาม คือการทอผ้าไหม จะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือชุดแรกเป็น “เส้นไหมยืน”
จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ (เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่งคือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้
กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้
สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบ
ของผู้ทอที่ได้ทำการมัดหมี่ไว้

35

8. อุปกรณ์

8.1 อุปกรณ์ในการเลี้ยงไหม

1. กระด้ง 2. ผ้าคลุมกระด้ง 3. จ่อ

4. ชั้นวางกระด้ง 5. มีดและเขียงหั่นใบหม่อน
8.2 อุปกรณ์ในการทอผ้าไหม

1. โฮงมัดหมี่ เครื่องมือสำหรับขึงหัว 2. กี่หรือหูก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าผืนมีสองชนิดคือ
หมี่เพื่อมัดลายก่อนนำไปย้อม กี่ตั้ง และกี่กระตุก กี่ตั้งเป็นโครงสร้างไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ประกอบด้วย แม่กี่ เสากี่ คานและขื่อ กระดานกี่และไม้กำพั้น

36

3. ฟืม เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการทอผ้า ประกอบ
ด้วยซี่แนวตั้งวางเรียงกัน อยู่ในกรอบไม้ ใช้สำหรับ
กระทบเส้นด้ายพุ่งให้ชิดเป็นระเบียบ

4. กระสวย ใช้สอดใส่ด้ายพุ่ง มีลักษณะคล้ายเรือ 5. ตะกอ ส่วนใหญ่ใช้ตะกอเชือก ใช้จัดกลุ่มด้านยืน และเปิดช่องด้าย
มีร่องใส่แกนกระสวย มีทั้งแบบแกนเดี่ยวและแกนคู่ ยืนสำหรับใส่ด้ายพุ่ง

6. ไม้กำพั้น ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้ว

7. กง ใช้พันเส้นด้าย เพื่อเตรียมไจด้าย
สำหรับฟอกและย้อม

37

8. อิ้วฝ้าย เป็นเครื่องมือสำหรับแยกเปลือก
และเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย

9. ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายเข้า
หลอดด้าย ก่อนที่จะนำไปใส่กระสวย ต้อง
นำไปใช้ร่วมกับระวิง มีลักษณะด้านหนึ่งเป็น
กงล้อขนาดใหญ่มีเพลาหมุนด้าย และมี
สายพานต่อไปยังท่อเล็ก ๆ ที่ปลายอีกข้าง
หนึ่ง

10. เหล่งไหม เป็นอุปกรณ์สำหรับกรอเส้น
ฝ้ายหรือไหมให้เป็นเข็ดหรือไจ เมื่อใช้กับ
เส้นไหมจะเรียกว่า เล่งไหม

38

บทที่ 5 วิถีอาหาร
" หม่ำ "

หม่ำพก หม่ำสาย

อาหารขึ้นชื่อของหมู่บ้านช่อระกา หมู่ที่ 18 ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ซี่งหม่ำที่นี่ได้รับรางวัล สินค้าโอท็อประดับ 5 ดาว ของจังหวัด
ชัยภูมิ ประจำปี 2548 และปัจจุบันผ่านมาตรฐาน อย. เรียบร้อยแล้ว
หม่ำ ของหมู่บ้านช่อระกา มีสูตรกรรมวิธีเฉพาะหมู่บ้าน เป็นสูตรกลางสำหรับให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนำไปประกอบอาหารในแต่ละครัวเรือน
และได้รับความนิยมอย่างมาก มีหลายหน่วยงานให้การสนับสนุนทั้งอุปกรณ์ งบประมาณ และการพัฒนาต่อยอดสู่สินค้าประจำหมู่บ้าน พัฒนา
กลายเป็นวิสาหกิจชุมชนของชาวบ้านช่อระกาที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในหมู่บ้าน
นอกเหนือจากหม่ำแล้ว วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านช่อระกา ยังมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารที่น่าสนใจและรสชาติดี เช่น เนื้อแดดเดียว หมูแดดเดียว
เนื้อสวรรค์ หมูสวรรค์ แหนมหมู ปลาร้าบอง จ่อมปลา เป็นต้น

ที่มาของหม่ำ

หม่ำ เดิมทีเรียกกันว่า จ่อม ซึ่งเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งของทางภาคอีสาน ชาวบ้านเล่ากันว่า เกิดจากการที่กลุ่มผู้ชายในหมู่บ้าน
ออกไปล่าสัตว์ในป่าลึกเพื่อนำมาประกอบอาหารเมื่อล่าสัตว์ได้แล้วได้มีการตกลงแบ่งชิ้นส่วนเนื้อสัตว์กัน แต่หากจะนำเนื้อสัตว์สด ๆ กลับ
มายังหมู่บ้าน เนื้อสัตว์จะเน่าเสียก่อน จึงได้ลองนำเกลือ กระเทียม และข้าวเหนียวที่นำติดตัวไป หมักกับเนื้อสัตว์แล้วห่อใบตองและกระเพาะ
สัตว์แล้วนำกลับมายังบ้าน ปรากฎว่า เนื้อสัตว์ไม่เน่า และรสชาติดี จึงได้พัฒนามาเป็นการถนอมอาหาร ที่เรียกว่า หม่ำ ในปัจจุบัน ซึ่ง
กรรมวิธีการทำหม่ำนี้มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยถ่ายทอดผ่านบุคคลในครอบครัว และการทำหม่ำยังเป็นกิจกรรมสานสัมพันธ์ภายใน
ครอบครัวอีกด้วย

39

วิธีการ/กรรมวิธี

วัตถุดิบ

1.เนื้อแดง/เนื้อหมู (คัดเลือกส่วนที่ไม่ติดมัน ไม่ติดกระดูก) 800 กรัม
2.ตับ 1 กรัม
3.ม้าม (ใส่เฉพาะการทำหม่ำเนื้อ เนื่องจากม้ามหมูมีกลิ่นค่อนข้างแรง ไม่เหมาะแก่การนำมาทำหม่ำ) 100 กรัม
4.กระเทียม 300 กรัม
5.ข้าวเหนียวสุก 100 กรัม
6.เกลือสินเธาว์ 150 กรัม

ขั้นตอน

1.สับเนื้อวัว/เนื้อหมูให้ละเอียด
2.นำส่วนตับและม้าม(เฉพาะหม่ำเนื้อ) ไปย่างไฟให้สุกประมาณ 70 %
3.นำตับและม้ามมาสับให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับส่วนเนื้อที่สับเรียบร้อยแล้ว
4.ใส่เกลือและข้าวเหนียวสุกลงในชามผสม จากนั้นนวดทุกอย่างให้เข้ากัน โดยวิธีการสังเกตคือ หากเนื้อสัตว์ไม่ติดมือขึ้นมาแสดงว่า
นวดได้ที่แล้ว
5.เมื่อนวดได้ที่แล้ว ให้ใส่กระเทียมสับลงไปคลุกกับส่วนเนื้อ ไม่ควรคลุกแรงและนาน เนื่องจากกระเทียมจะทำให้เนื้อสีไม่สวย
6.นำเนื้อที่คลุกเรียบร้อยแล้วมาบรรจุลงในไส้อ่อนหรือใบตองที่เตรียมไว้ ห่อให้เรียบร้อยเป็นอันเสร็จ
7.นำไปบ่ม/ตากแดดเพื่อให้เป็นหม่ำที่สมบูรณ์

เคล็ดลับในการทำหม่ำของหมู่บ้านช่อระกา





การทำหม่ำจะคัดเลือกส่วนเนื้อล้วน ๆ สับด้วยมือเท่านั้น และเอกลักษณ์สำคัญคือ จะใช้ข้าวเหนียวในการทำหม่ำ จะทำให้มีรสชาติเปรี้ยว
พอดี และจะใส่กระเทียมสับขั้นสุดท้าย จะใช้การคลุก ไม่ใช้การนวด ทำให้ได้หม่ำสีสันสวยงามเป็นเอกลักษณ์ โดยที่ไม่ต้องใส่ดินประสิว
หม่ำของหมู่บ้านช่อระกาสามารถพบได้ในทุกงานพิธี ทั้งงานมงคล อวมงคล ซึ่งจำเป็นต้องมีหม่ำเป็นส่วนประกอบของมื้ออาหารเสมอ โดย
เฉพาะมื้อเย็น (พาแลง) เพราะหม่ำเป็นอาหารที่ชาวบ้านช่อระกาทุกครัวเรือนสามารถทำได้ และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

40

" แหนม "

อาหารขึ้นชื่ออีกชนิดของบ้านช่อระกา หมู่ที่ 18 ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีกรรมวิธีการทำคล้ายการทำหม่ำ เพียงเพิ่มและลด
วัตถุดิบบางชนิด อันได้แก่ แหนมจะไม่ใส่เครื่องใน ไม่ใส่ม้าม ใส่เอ็นหมูเพิ่มเข้าไป ซึ่งบ้านช่อระกาได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาค
รัฐ สหกรณ์ชุมชน พัฒนาชุมชน และอุตสาหกรรม ในการจัดทำหม่ำเพื่อออกจำหน่าย

วิธีการ/กรรมวิธี
วัตถุดิบ

1.เนื้อหมูมาตรฐาน
2.กระเทียม
3.ข้าวเหนียว
4.เกลือ

ขั้นตอน

1.สับเนื้อหมูให้ละเอียด
2.นำข้าวเหนียวไปนึ่ง และพักไว้ให้เย็นก่อนนำลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูสับ พร้อมกับใส่เอ็นหมู
3.เมื่อคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดเสร็จแล้วจึงนำกระเทียมใส่ลงไปและนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4.นำเนื้อที่ได้ไปยัดในไส้อ่อน หรือ กระเพาะหมู โดยนำไส้อ่อนและกระเพาะหมูไปทำความสะอาดเสียก่อน ด้วยการล้างน้ำด้วยเกลือ ใช้
เกลือคลุกจนสะอาดได้ที่ จึงนำเนื้อที่ผสมไว้มายัดใส่ในกระเพาะและไส้อ่อน

41

" ไส้กรอก "

อาหารขึ้นชื่ออีกชนิดของบ้านช่อระกาหมู่ที่ 18 ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีกรรมวิธีการทำคล้ายการทำหม่ำ และ แหนม แต่เนื้อที่ใช้
ทำไส้กรอกจะเป็นส่วนเนื้อติดมัน หรือเศษชิ้นเนื้อเล็ก ๆ

วิธีการ/กรรมวิธี
วัตถุดิบ

1.เนื้อหมูติดมัน
2.กระเทียม
3.ข้าวเหนียว
4.เกลือ

ขั้นตอน

1.สับเนื้อหมูติดมันให้ละเอียด
2.นำข้าวเหนียวไปนึ่ง และพักไว้ให้เย็นก่อนนำลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูติดมันสับละเอียด
3.เมื่อคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดเสร็จแล้วจึงนำกระเทียมใส่ลงไปและนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4.นำเนื้อที่ได้ไปยัดในไส้อ่อน หรือ กระเพาะหมู โดยนำไส้อ่อนและกระเพาะหมูไปทำความสะอาดเสียก่อน ด้วยการล้างน้ำด้วยเกลือ ใช้
เกลือคลุกจนสะอาดได้ที่ จึงนำเนื้อที่ผสมไว้มายัดใส่ในกระเพาะและไส้อ่อน

42

" เนื้อแดดเดียว "

อาหารขึ้นชื่ออีกชนิดของบ้านช่อระกา ความพิเศษของเมนูนี้คือสามารถใช้เนื้อได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมว่าทานแล้วอร่อยคือส่วน เนื้อติดมัน

วิธีการ/กรรมวิธี
วัตถุดิบ

1.เนื้อหมู , เนื้อหมูติดมัน
2.กระเทียม
3.พริกไทย
4.เกลือ
5.เครื่องปรุงรส

ขั้นตอน

1. นำเนื้อหมูมาหั่นให้เป็นชิ้นขนาดพอดี
2. นำเนื้อที่ได้มาหมักกับเครื่องปรุง ใส่พริกไทย เกลือ และกระทียมในการหมักเนื้อตามลำดับ
ใช้เวลาประมาณ 10-20นาที
3. เมื่อหมักเนื้อได้ที่ จึงนำเนื้อออกมาตากแดด ใช้เวลาในการตากครึ่งวันหรือ 5-10 ชั่วโมง
4. เมื่อเนื้อมีความนุ่ม ถือเป็นอันเสร็จ

43

บทที่ 6 วิถียาสมุนไพร

ชาวบ้านช่อระกาจะเลือกทานอาหาร และยาสมุนไพรตามธาตุของตน เพราะจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุง
รักษาอาการป่วยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการทานอาหารตามธาตุของตนเองนี้ ชาวบ้านทุกคนยึดถือเป็นวิธี
การดูแลตนเองขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
การทานอาหารตามธาตุ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

ธาตุไฟ

คนธาตุไฟ เกิดเดือนมกราคม, กุมภาพันธ์, มีนาคม

รูปร่างสมส่วน ข้อกระดูกหลวม ผมหงอกเร็ว หนังย่นเร็ว ผม ขน และหนวดค่อนข้างนิ่ม มักหัวล้าน ใจร้อน ขี้

ร้อนง่าย

รสอาหารที่เหมาะสม คือ รสขม ฤทธิ์เย็น รสจืด

เมนูอาหาร

- ผัดผักบุ้ง เก ร็ดความรู้
- แกงจืดมะระ
- แกงส้มมะรุม

เครื่องดื่ม ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนไฟ ในช่วง

- น้ำเก๊กฮวย

- น้ำใบเตย อายุ 16-32 ปี มักจะหงุดหงิด


ผลไม้ ง่าย อารมณ์เสียบ่อย เป็นคน

- แตงโม เจ้าอารมณ์ในฤดูร้อนจะเจ็บ

- พุทรา ป่วยง่ายเพราะธาตุไฟกำเริบ
- มันแกว

- แอปเปิ้ล

44

ธาตุลม เกร็ เกร็ดความรู้

คนธาตุลม เกิดเดือนเมษายน, พฤษภาคม, มิถุนายน ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนลม ในช่วงอายุ

รูปร่างโปร่งผอม ข้อกระดูกลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ผิวหนัง 32 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการเวียนหัว

หยาบแห้ง ผมบาง ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ หน้ามืด เป็นลมง่าย ในฤดูฝนจะ

รสอาหารที่เหมาะสม คือ รสเผ็ด เจ็บป่วยง่ายเพราะธาตุลมกำเริบ
เมนูอาหาร
- ต้มข่าไก่

- ต้มยำกุ้ง

- ไก่ผัดขิง
เครื่องดื่ม
- น้ำขิง

ธาตุดิน

คนธาตุดินเกิดเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รูปร่างสูงใหญ่ ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำ

หนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด

รสอาหารที่เหมาะสม คือ รสฝาด หวาน มัน เค็ม

เมนูอาหาร ดความรู้
1.ผัดน้ำมันหอย
2.แกงป่า

3.สะตอผัดกุ้ง

เครื่องดื่ม ผู้มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุดิน มักจะ

1.นมถั่วเหลือง ไม่ค่อยเจ็บป่วยเพราะธาตุดินเป็นที่
2.น้ำมะพร้าว ตั้งของกอง

ผลไม้

1.กล้วย

2.เผือก

3.ฝรั่ง

4.ฟักทอง

5.มังคุด

45

ธาตุน้ำ

คนธาตุน้ำ เกิดเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน

รูปร่าง : สมส่วน

ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ผมดกดำเสียงโปร่ง ตาหวานน้ำในตามาก

ท่าเดินมั่นคง ทำอะไรมักจะชักช้า

ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี

รสอาหารที่เหมาะสม คือ รสเปรี้ยว ขม

เมนูอาหาร

- มะระผัดไข่

- แกงขี้เหล็กปลาย่าง

- ห่อหมกใบยอ เกร็ดความรู้
- แกงส้มดอกแค
เครื่องดื่ม ผู้ที่ธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุน้ำ ในช่วง

- น้ำกระเจี๊ยบ อายุแรกเกิด - 16 ปีมักจะมีอาการ

- น้ำมะขาม เป็นหวัดคัดจมูก ตาแฉะในฤดูหนาว

ผลไม้
- สับปะรด เจ็บป่วยง่าย



- ส้ม

- กระท้อน

พืชสมุนไพรภายในหมู่บ้านช่อระกามีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ มีทั้งพืชสมุนไพรพื้นบ้านทั่วไป

และพืชสมุนไพรที่หายากและหลายคนไม่รู้จัก ซึ่งพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ

ได้อย่างปลอดภัย เพราะเป็นยาจากธรรมชาติ

46

ตัวอย่างพืชสมุนไพรในหมู่บ้านช่อระกา

1.ตูมกา : มีลักษณะคล้ายกับมะตูม แต่มีผิวที่เนียนและมันวาวกว่า เม็ดของตูมกาช่วยรักษาโรคประสาท
และระบบประสาทได้
2. เถาวัลย์เปรียง : เถาวัลย์เปรียงเป็นพืชท้องถิ่นประจำช่อระกา มีแคลเซียมสูงกว่านม เทียบเท่ากับการดื่มนม 2 กล่อง เถาวัลย์
เปรียงสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยได้
3. แก่นฝาง : แก่นฝางเป็นพืชท้องถิ่นประจำช่อระกา ในสมัยก่อนจะใช้แก่นฝางแทนการส่งส่วย แก่นฝางช่วยรักษาปอด ทานแล้ว
ทำให้เลือดลมดีขึ้น
4. เล็บครุฑ : เล็บครุฑมีรสชาติมัน เหมาะสำหรับคนธาตุไฟ ช่วยบำรุงระบบน้ำเหลือง
5. อ้อยดำ : อ้อยดำมีรสชาติหวาน ช่วยบำรุงไตและเป็นยาชูกำลัง
6. ว่านหอมแดง : ว่านหอมแดงช่วยรักษาอาการภูมิแพ้
7. บอระเพ็ด : บอระเพ็ดมีรสชาติขม ช่วยแก้ไข้ แก้ร้อนใน และช่วยให้เจริญอาหาร
8. ชิงชัน : ชิงชันมีรสชาติฝาดร้อน ช่วยบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี
9. รากย่านาง : รากย่านางมีรสชาติจืดและขมช่วยแก้ไข้ ขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย และบำรุงธาตุ
10. ขมิ้นอ้อย : ขมิ้นอ้อยมีรสชาติฝาดและเฝื่อน ช่วยแก้ไข้ ครั่นเนื้อตัว แก้หนองใน
11. ขมิ้นขาว : ขมิ้นขาวช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลดการจุกเสียด และบำรุงธาตุได้ดี
12. ว่านทรหด : ว่านทรหดช่วยบำรุงหลังคลอด ทำให้มดลูกเข้าอู่และรักษาเกี่ยวกับริดสีดวง
13. สะเลเต : สะเลเตหรือมหาหงส์ ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืด
14. รากมะเดื่อชุมพร : รากมะเดื่อชุมพรมีรสฝาดเย็น ช่วยแก้ไข้ แก้ร้อนใน ระงับความร้อนในร่างกาย
15. ขมิ้นชัน : ขมิ้นชันมีรสชาติเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาอาการเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ช่วยขับ
ลม บรรเทาอาการท้องอืด
16. ชิงชี่ : ชิงชี่มีรสชาติขมช่วยขับลมและรักษาโรคกระเพาะ
17. กุหลาบ : กุหลาบมีกลิ่นหอม มักนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย และยังช่วยบำรุงการทำงานของปอดได้ดี
18. มะขามป้อม : มะขามป้อมมีรสชาติเปรี้ยว และฝาด มีวิตามินซีสูง ช่วยแก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้ท้องผูก มีฤทธิ์เป็นยาระบาย


Click to View FlipBook Version