The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-11-14 05:39:38

E- book ตำบลลีเล็ด

ตำบลลีเล็ด

ศาสนสถานของทุกศาสนา

ตำบลลีเล็ดมีวัดเป็นศาสนสถานของชาวพุทธมีจำนวน5 วัด ได้แก่ วัดบางใหญ่
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 วัด บางพลา ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 วัดตรีธาราราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 วัดคลองกอ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 และวัดบางบุตรศรีวนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ประชาชนตำบลลีเล็ดส่วน
ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนศาสนาอื่น ๆ ก็จะมีศาสนสถานในตัวอำเภอ

วัดบางใหญ่

วัดบางใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่ดินเป็นของ (ระบุชื่อเจ้าของไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ทราบข้อมูลเสียชีวิตแล้ว) ได้
บริจาคให้เพื่อสร้างวัดบางใหญ่
ปี พ.ศ.2452 พระครูชลาทรธำรง (เกลื่อน อินฺทมุนี) ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้
มาอยู่ที่วัดบางใหญ่ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
พระครูชลาทรธำรง (เกลื่อน อินฺทมุนี) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางใหญ่ และอดีตเจ้า
คณะตำบลลีเล็ด คือ เจ้าอาวาสรูปแรกซึ่งเป็นผู้สร้างวัดบางใหญ่ พร้อมกับพระสงฆ์
และชาวบ้าน ใช้เวลาสร้างนานนับสิบปี

47

ไม้ที่ใช้สำหรับสร้างวัดบรรทุกโดยทางเรือ ล่องมาทางคลองพุนพิน ซึ่งนำมาจาก
ในพื้นที่ ต.บ่อกรัง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
พระอุโบสถหลังใหม่สร้างครอบพระอุโบสถหลังเก่าสร้างประมาณปีพ.ศ.2510
- 2515
นายจอง คือ ผู้ดำเนินการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่ใหญ่ที่สุดของ
อำเภอพุนพินในขณะนั้น เปิดสอนในชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก โดยมีพระประยูร
กัลยาโน และพระครูวิจารณ์สมถกิจ (เชื่อม อิสฺสโร ป.ธ.6) วัดไทร
ผู้ที่เข้ามาบรรพชา-อุปสมบท จะต้องได้รับกฐิน เรียนนักธรรม และสอบนัก
ธรรมก่อนจึงจะให้ลาสิขา
โรงเรียนประชาบาลชลาทรลัทกิจบำรุง สร้างประมาณปี พ.ศ. 2470 - 2475
ปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก ในปี
พ.ศ.2486 กองทัพสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่กองทัพญี่ปุ่น และทำลายเส้น
ทางการคมนาคม คือ สะพานจุลจอมจอมเกล้า สะพานรถไฟที่ข้ามแม่น้ำตาปีที่
ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพมาหนีภัยสงครามมาพักที่
วัดบางใหญ่
ชาวบ้านทั้งในอำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เดินทางโดยทางเรือ
เพื่อเดินทางมาทำบุญ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ที่วัดบางใหญ่

48

วัดบางพลา

วัดบางพลา หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดบาง
พลา เดิมชื่อ”วัดแก้วประดิษฐาราม” สมัยนั้น บริเวณวัดมี ต้นพลา ชุกชุม ชาวบ้านจึง
เรียกว่าวัด บางพลา จนติดปาก สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ100 ปี โบสถ์หลังเก่ามี
การฝังลูกนิมิต 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดเสมาวิบัติบวชพระไม่เป็นองค์ ประมาณ
ปีพ.ศ.2450 จึงมีการขุดลูกนิมิตขึ้นมาแล้วทำพิธีฝังลงใหม่ ซึ่งมีพ่อท่านครื้นเป็นเจ้า
อาวาสในสมัยนั้นองค์เจดีย์มีอายุประมาณ100 กว่าปีเช่นกัน ชาวจีนชื่อ เช็ก ดายดิ้น
เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง

49

แหล่งเรียนรู้ โรงเรียน ห้องสมุดประชาชน

1. ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ หมู่ที่ 4 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
2. โรงเรียนวัดบางพลา หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. โรงเรียนวัดตรีธาราราม หมู่ที่ 6 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4. โรงเรียนบ้านคลองราง หมู่ที่ 2 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (บ้านบางพลา) หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
6. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอ
พุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
7. ห้องสมุดชุมชน โรงเรียนวัดบางพลา หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี

50

ส่วนที่ 5
การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน

สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดอ่อน)

มีแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ใน ขาดจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกันใน
การเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาเป็น แวดล้อม
แหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีรายได้จาการท่อง ไม่มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ
เที่ยว ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกับเด็ก
ประชาชนในชุมชนมีงานทำที่มั่นคง เช่น ทำให้การทำงานที่ต้องใช้แรงไม่มี
รับราชการ ประสิทธิภาพ
ชุมชนเป็นชุมชนที่มีศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญด้านศาสนา
ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เก่าแก่และ ศิลปะวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ
สืบทอดมาจากโบราณจนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุมชนเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะครบ คนในวัยทำงาน คนหนุ่มสาวอพยพไปหา
ถ้วน งานทำในเมือง
มีเส้นทางสัญจรเป็นไปด้วยความสะดวก ราษฎรยากจน ส่วนใหญ่ประชาชน
เนื่องจากมีถนนทางหลวงชนบทหมายเลขสฎ ประกอบอาชีพทางการเกษตรเพียงอย่าง
2007 ผ่านตำบล เป็นทางลัดวิ่งเข้าสู่ตัวเมือง เดียวทำให้ขาดรายได้
สุราษฎร์ธานี
ประชาชนยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี
และวัฒนธรรมท้องถิ่น
มีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากครอบคลุมทุก
หมู่บ้านทั้งตำบลเพื่อใช้ในการเกษตร
ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาท้อง
ถิ่น
มีกองทุนทุกหมู่บ้าน เช่น การออมเงินสัจจะ
กองทุนวันละบาท ฯลฯ
มีกลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มทำกะปิ กลุ่มจักสาน
มีกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลลีเล็ด

51

โอกาสของชุมชน อุปสรรคและความท้าทาย

ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น มีความสามัคคี พื้นที่ในชุมชนเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำให้มี
ปรองดอง ทำให้การปฎิบัติงานไปในทิศทาง อุปสรรคเรื่องน้ำทะเลนู้น พืชผักสวน
เดียวกัน ครัวได้รับความเสียหายจากน้ำเค็ม
ส่งเสริมให้อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและ ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดปัญหาสังคม
ทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความ
สามารถ พัฒนา ส่งเสริม จารีตประเพณีและ เป็นอยู่ของประชาชน
ภูมิปัญญาให้โดดเด่นควบคู่กับ ปัญหาเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
ทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยวให้เป็น 2019 (COVID-19) ทำให้เป็นปัญหาถ้า
เอกลักษณ์ของชุมชน มีผู้คนมาร่วมอยู่กันมากๆ
การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ
ฐานรากตามนโยบายของรัฐบาล
การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพ
ติด ตามนโยบายของรัฐบาล
มีเส้นทางคมนาคมสะดวก สามารถรองรับ
การขยายตัวของการลงทุนทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

52

บรรณานุกรม

จิราวัฒน์ ยศเฆม.วิศวกรสังคมตำบลลีเล็ด.สัมภาษณ์,11 ตุลาคม 2564.
ราเมศ ประตูใหญ่.ผู้ใหญ่บ้านหมู่1.สัมภาษณ์,30 สิงหาคม 2564
แผนพัฒนาท้องถิ่น2561-2565.สืบค้น 12 กันยายน 2564
,จากเว็บ http://www.leeled.go.th
สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด.ข้อมูลพื้นฐาน
องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด.โครงสร้างชุมชน
องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด.โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ
องค์การบริหารส่วนตำบลลีเล็ด.สถานที่สำคัญ

53

ภาคผนวก

54

55

56

57

58

59



โครงการพัฒนาป่าชายเลนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติตำบลลีเล็ด
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลักการและเหตุผล




สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงห่วงใยและทรง
คำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทำให้
ประเทศชาติมั่นคง และประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะ
สืบสานรักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง
ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการบำบัด
ทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชน และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยแนวพระราชดำริ
ว่า“…ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายทะเลและอ่าวไทย แต่ปัจจุบัน
ป่าชายเลนของประเทศไทยกำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายไปโดยผู้แสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นโกงกางเป็น
ไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการ
เติบโตด้วย…”

ป่าชายเลนมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นแหล่ง
รวมพันธ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่เป็นทั้งอาหารและรายได้ของคนในพื้นที่ได้ตลอดทั้งปี อีกทั้ง
ป่าชายเลนยังคอยเกื้อหนุนต่อทรัพยากรทะเล เช่น เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ช่วย
ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งจากคลื่นลมและทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ชายฝั่งที่เกื้อกูลต่อสัตว์และพืช รวมถึงในอดีตป่าชายเลนในประเทศมีปริมาณพื้นที่มาก
แต่ในปีปัจจุบันกลับมีเนื้อที่ลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุการลดลงของป่าชายเลนเกิดจาก
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากจากบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ

ตำบลลีเล็ด มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้ชื่อว่าเป็น “ป่าอเมซอนเมืองไทย” มี
ระบบนิเวศแบบ 2 น้ำ หรือเรียกว่า “น้ำกร่อย” ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้ง
พรรณไม้และพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ อีกทั้งป่าชายเลนยังให้
ประโยชน์ทั้งช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ และยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน ด้วยเหตุนี้
ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีวิธีการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนและ
เน้นกิจกรรมไปในทางการปลูกพันธ์ไม้ป่าชายเลนได้แก่ ต้นโกงกาง ลำพู และ การ
ทำความสะอาดทางเดิน การทำป้ายแนะนำชื่อต้นไม้ต่างๆ รวมถึงการจัดทำป้ายบรรยาย
ถึงประวัติความเป็นมาป้ายกฎระเบียบการเยี่ยมชม

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงจัดทำโครงการพัฒนาป่าชายเลนเพื่อแหล่งเรียนรู้และ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นการ
พัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนให้มีพื้นที่ป่ามากขึ้น และ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับ
ป่าชายเลนให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาและบุคคลในตำบลลีเล็ดและผู้ที่ให้ความสนใจทั่วไปใน
เรื่องของการอนุรักษ์ป่าชายเลน

วัตถุประสงค์

ได้อนุรักษ์ธรรมชาติของป่าชายเลนให้คงเดิม
เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้น
เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี และ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา
เพื่อทำความสะอาดทางเดิน
เพื่อทำป้ายแนะนำชื่อต้นไม้ต่างๆ
เพื่อทำป้ายบรรยายประวัติความเป็นมา
เพื่อป้ายกฎระเบียบการเยี่ยมชม

เป้าหมายของโครงการ

เชิงปริมาณ
ปลูกต้นโกงกาง 50 ต้น
ปลูกต้นลำพู 50 ต้น
ป้ายประวัติความเป็นมา 1 จุด
ป้ายกฎระเบียบการเยี่ยมชม 1 จุด
ป้ายแนะนำชื่อต้นไม้ 6 จุด

เชิงคุณภาพ
ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ระบบนิเวศ
มีพื้นที่ป่าชายเลนมากขึ้น
ประชาชนมีจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าชายเลน

สถานที่ดำเนินการ

แหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่าชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ หมู่4 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี




ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ




เดือนตุลาคม 2564 – เดือนพฤศจิกายน 2564

วิธีการดำเนินการ

P = Plan : นัดประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อปรึกษากันว่าจะลงพื้นที่ทำโครงการ
ที่ไหนโดยการให้สมาชิกในกลุ่มที่เสนอพื้นที่จะพัฒนาหรือสถานที่ๆควรจะทำโครงการ
แล้วให้สมาชิกภายในกลุ่มช่วยกันเลือกและตัดสินใจว่าควรจะทำโครงการที่ไหน การที่
สมาชิกภายในกลุ่มลงความเห็นและเลือกที่จะทำโครงการที่แหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่า
ชายเลนบ้านห้วยทรัพย์ เพราะได้เล็งเห็นว่ามีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ได้ชื่อว่าเป็น “ป่า
อเมซอนเมืองไทย” มีระบบนิเวศแบบ 2 น้ำ หรือเรียกว่า “น้ำกร่อย” ทำให้มีความ
หลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพรรณไม้และพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์
อีกทั้งป่าชายเลนยังให้ประโยชน์ทั้งช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ และยังเอื้อประโยชน์ให้แก่
คนในชุมชนเมื่อเลือกสถานที่ๆจะทำโครงการได้แล้วก็ลงพื้นที่สำรวจสถานที่จริงที่จะทำ
โครงการเพื่อนำมาวางแผนขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาและ
จะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

D = Do : เดินทางไปลงพื้นที่เพื่อทำโครงการ ณ แหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่าชาย
เลนบ้านห้วยทรัพย์ทำการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้อาทิ
ทำความสะอาดทางเดินทำป้ายแนะนำชื่อต้นไม้ต่างๆ ทำป้ายบรรยายประวัติความเป็น
มา ป้ายกฎระเบียบการเยี่ยมชมโดยแบ่งหน้าที่กันทำของสมาชิกในกลุ่มตามความถนัด
ของแต่ละบุคคลเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและรวดเร็วในการทำงานให้
งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุดและสามารถใช้งานได้จริง

C = check : ทำการตรวจสอบพื้นที่ๆได้รับการพัฒนาตรวจสอบความเรียบร้อย
ของงานที่ได้ทำแล้วอย่างละเอียดดูว่าขาดตกบกพร่องตรงไหนบ้าง มีจุดไหนบ้างที่ต้อง
ทำการปรับปรุงแก้ไขใหม่ อาทิ เช่น ทางเดินสะอาดไหม จะได้ทำการแก้ไขและพัฒนา
ได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

A = Action : นำผลที่ได้จากการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วในทุกๆจุดที่ต้องแก้ไข
มาทำการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามจุดต่างๆที่ยังขาดตกบกพร่องให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

งบประมาณ

งบประมาณในการจัดทำโครงการพัฒนาป่าชายเลนเพื่อแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ส่วนที่ 1 ได้จากเงินสนับสนุน
ส่วนที่ 2 รายละเอียดค่าใช้จ่าย มีดังนี้

การประเมินโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ



ได้อนุรักษ์ธรรมชาติของป่าชายเลนให้คงเดิม
ได้เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากขึ้น
ได้สร้างความรัก ความสามัคคี และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา
ได้ทำความสะอาดทางเดิน
ได้ทำป้ายแนะนำชื่อต้นไม้ต่างๆ
ได้ทำป้ายบรรยายประวัติความเป็นมา
ได้ทำป้ายกฎระเบียบการเยี่ยมชม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ประกอบด้วย

1. นางสาวจันทิมา เพ็งดำ
2. นางสาวนันทิกานต์ ช่วยยิ้ม
3.นายณัฐพงศ์ วิวัชชนะ


Click to View FlipBook Version