The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบรายงานผลการดำเนินงานชีววิถี ประเภทที่ 3

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by anukool kulmuang, 2020-03-31 00:43:45

แบบรายงานผลการดำเนินงานชีววิถี ประเภทที่ 3

แบบรายงานผลการดำเนินงานชีววิถี ประเภทที่ 3

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

พระราชบัญญัติ

การอาชวี ศกึ ษา
พ.ศ. ๒๕๕๑

ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ป.ร.

ใหไ ว ณ วนั ท่ี ๒๖ กุมภาพนั ธ พ.ศ. ๒๕๕๑
เปนปท ี่ ๖๓ ในรชั กาลปจ จบุ นั

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ
ใหประกาศวา

โดยทเี่ ปนการสมควรมีกฎหมายวา ดว ยการอาชีวศกึ ษา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
บัญญัติใหก ระทาํ ไดโ ดยอาศัยอาํ นาจตามบทบญั ญตั ิแหง กฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดยคําแนะนําและยินยอมของ
สภานิติบญั ญตั ิแหง ชาติ ดงั ตอไปน้ี
มาตรา ๑ พระราชบญั ญตั นิ ้เี รยี กวา “พระราชบัญญตั กิ ารอาชีวศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับต้ังแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เปน ตน ไป

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๒ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๓ พระราชบัญญัตนิ ี้ไมใชบ งั คับกบั การจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพ
ซึ่งดาํ เนนิ การโดยหนว ยงานของรัฐตามกฎหมายอ่นื

มาตรา ๔ ในพระราชบญั ญตั ินี้
“การอาชีวศึกษา” หมายความวา กระบวนการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนในดาน
วชิ าชีพระดบั ฝม ือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี
“การฝกอบรมวชิ าชพี ” หมายความวา การเพ่มิ พนู ความรูและการฝก ทกั ษะอาชีพระยะส้ันหรือ
ระยะยาว ท้ังในและนอกสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเปนโครงการ
หรอื สาํ หรับกลมุ เปา หมายเฉพาะภายใตหลกั สูตรท่คี ณะกรรมการการอาชีวศกึ ษากาํ หนด
“สถาบัน” หมายความวา สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐที่จัดต้ังข้ึนเพ่ือดําเนินการจัดการ
อาชีวศกึ ษาและการฝก อบรมวชิ าชพี ตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี
“สถานประกอบการ” หมายความวา สถานประกอบการที่รวมมือกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา
หรอื สถาบนั การอาชวี ศึกษาในสงั กดั สํานกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพ่ือจัดการอาชีวศึกษาและ
การฝกอบรมวชิ าชพี ท้งั นี้ ตามหลักเกณฑทค่ี ณะกรรมการการอาชวี ศึกษากําหนด
“มาตรฐานการอาชีวศึกษา” หมายความวา ขอกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพและ
มาตรฐานในการจัดการอาชีวศึกษาที่พึงประสงค เพื่อใชเปนเกณฑในการสงเสริม การกํากับดูแล
การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการจดั การอาชีวศกึ ษา
“กองทนุ ” หมายความวา กองทนุ เพ่อื พฒั นาการอาชวี ศึกษาและการฝก อบรมวชิ าชีพ
“คณะกรรมการการอาชีวศึกษา” หมายความวา คณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามกฎหมาย
วาดวยระเบียบบรหิ ารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
“รฐั มนตรี” หมายความวา รฐั มนตรีผรู ักษาการตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี
มาตรา ๕ ใหรัฐมนตรีวา การกระทรวงศกึ ษาธกิ ารรกั ษาการตามพระราชบัญญัติน้ี และใหมี
อํานาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพ่อื ปฏบิ ัติการตามพระราชบัญญัตนิ ี้
กฎกระทรวงและประกาศนัน้ เมอื่ ไดประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาแลวใหใ ชบงั คับได

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๓ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

หมวด ๑
บททวั่ ไป

มาตรา ๖ การจดั การอาชีวศกึ ษาและการฝกอบรมวิชาชีพตองเปนการจัดการศึกษาในดาน
วชิ าชีพที่สอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหงชาตแิ ละแผนการศึกษาแหงชาติ เพอื่ ผลติ และ
พัฒนากําลงั คนในดา นวิชาชพี ระดบั ฝมอื ระดบั เทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเปนการยกระดับ
การศึกษาวิชาชีพใหสูงขึ้นเพื่อใหสอดคลองกับความตองการของตลาดแรงงาน โดยนําความรูในทาง
ทฤษฎีอันเปนสากลและภูมิปญญาไทยมาพัฒนาผูรับการศึกษาใหมีความรูความสามารถในทางปฏิบัติ
และมสี มรรถนะจนสามารถนําไปประกอบอาชพี ในลกั ษณะผูปฏบิ ัติหรอื ประกอบอาชีพโดยอสิ ระได

มาตรา ๗ การจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพใหจัดไดในสถานศึกษา
อาชีวศกึ ษาและสถาบันตามทีบ่ ัญญตั ิไวใ นพระราชบญั ญัติน้ี

มาตรา ๘ การจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพใหจดั ได โดยรูปแบบ ดงั ตอไปน้ี
(๑) การศึกษาในระบบ เปนการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เนนการศึกษาในสถานศึกษา
อาชีวศึกษาหรือสถาบันเปนหลัก โดยมีการกําหนดจุดมุงหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
การวดั และการประเมนิ ผลทเี่ ปนเงือ่ นไขของการสาํ เรจ็ การศกึ ษาท่ีแนน อน
(๒) การศึกษานอกระบบ เปนการจัดการศึกษาวิชาชีพท่ีมีความยืดหยุนในการกําหนด
จุดมุงหมาย รปู แบบ วธิ กี ารศกึ ษา ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลท่ีเปนเงื่อนไขของการสําเร็จ
การศึกษา โดยเน้ือหาและหลักสูตรจะตองมีความเหมาะสมและสอดคลองกับสภาพปญหาและ
ความตอ งการของบุคคลแตละกลมุ
(๓) การศึกษาระบบทวิภาคี เปนการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากขอตกลงระหวาง
สถานศึกษาอาชวี ศกึ ษาหรือสถาบนั กบั สถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหนวยงานของรัฐ ในเร่ือง
การจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผูเรียนใชเวลาสวนหน่ึงใน
สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ
หรอื หนวยงานของรฐั

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๔ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

เพ่ือประโยชนใ นการผลติ และพัฒนากาํ ลงั คน สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถจัด
การศกึ ษาตามวรรคหนง่ึ ในหลายรูปแบบรวมกนั ก็ได ทงั้ นี้ สถานศกึ ษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันน้ันตอง
มงุ เนน การจดั การศกึ ษาระบบทวภิ าคีเปน สําคัญ

มาตรา ๙ การจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพตามมาตรา ๖ มาตรา ๗ และ
มาตรา ๘ ใหจดั ตามหลกั สตู รที่คณะกรรมการการอาชีวศกึ ษากาํ หนด ดังตอ ไปนี้

(๑) ประกาศนียบตั รวิชาชีพ
(๒) ประกาศนียบตั รวชิ าชพี ชน้ั สงู
(๓) ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ตั กิ าร
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจกําหนดหลักสูตรท่ีจัดขึ้นเพ่ือความรู หรือทักษะในการ
ประกอบอาชพี หรอื การศึกษาตอ ซง่ึ จดั ข้ึนเปน โครงการหรือสาํ หรับกลมุ เปา หมายเฉพาะได
มาตรา ๑๐ เพอื่ ใหบรรลุวตั ถุประสงคตามมาตรา ๖ การจดั การอาชีวศกึ ษาและการฝกอบรม
วิชาชีพตอ งคํานึงถึง
(๑) การมเี อกภาพดา นนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยมีการกระจายอํานาจ
จากสวนกลางไปสูสถานศกึ ษาอาชีวศึกษาและสถาบนั
(๒) การศึกษาในดานวิชาชีพสําหรับประชาชนวัยเรียนและวัยทํางานตามความถนัดและ
ความสนใจอยางทวั่ ถึงและตอเนือ่ งจนถึงระดับปริญญาตรี
(๓) การมีสวนรวมของชุมชน สังคม และสถานประกอบการในการกําหนดนโยบาย
การผลิตและพฒั นากําลังคน รวมท้ังการกาํ หนดมาตรฐานการอาชีวศึกษา
(๔) การศึกษาท่ีมีความยืดหยุน หลากหลาย และมีระบบเทียบโอนผลการเรียนและระบบ
เทยี บประสบการณการทํางานของบคุ คลเพื่อเขารับการศกึ ษาและการฝกอบรมวิชาชีพอยางตอ เนอื่ ง
(๕) การมีระบบจูงใจใหสถานประกอบการมีสวนรวมในการจัดการอาชีวศึกษาและ
การฝกอบรมวชิ าชพี
(๖) การระดมทรพั ยากรทัง้ จากภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรม
วิชาชพี โดยคํานึงถึงการประสานประโยชนอยา งทว่ั ถึงและเปนธรรม
(๗) การมีระบบการพัฒนาครูและคณาจารยของการอาชีวศึกษาอยางตอเนื่อง เพ่ือใหทันตอ
ความเปลยี่ นแปลงของเทคโนโลยี

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๕ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๑๑ นอกจากอํานาจหนาท่ีตามกฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติและกฎหมายวาดวย
ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ใหคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีอํานาจหนาที่
ดงั ตอ ไปน้ี

(๑) พิจารณาเสนอแนะนโยบาย เปาหมายการผลิตและแผนการพัฒนากําลังคนดานวิชาชีพ
ตอ รัฐมนตรี

(๒) กําหนดหลักเกณฑการจดั ต้งั การรวม และการแยกสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔

(๓) กําหนดหลักเกณฑในการรับเขาสมทบ การยกเลิกการสมทบ และการควบคุมดูแล
สถานศกึ ษาอื่นหรือสถานประกอบการ

(๔) กําหนดหลักเกณฑเก่ียวกับลักษณะของสถานประกอบการท่ีจะเขารวมจัดการ
อาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพ หลักสูตรการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพในสถาน
ประกอบการ ตลอดจนหลกั เกณฑการฝกงาน และการเทียบโอนผลการเรียนหรือประสบการณทํางาน
ในสถานประกอบการ เพอื่ ขอรับคุณวุฒกิ ารศกึ ษาจากสถานศกึ ษาอาชีวศกึ ษาหรอื สถาบนั

(๕) กําหนดหลักเกณฑเก่ียวกับการกํากับดูแลและการใหการรับรองมาตรฐานสถานศึกษา
อาชวี ศึกษา สถาบัน และสถานประกอบการใหสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
และแผนการศกึ ษาแหง ชาติ

(๖) กาํ หนดหลกั เกณฑแ ละเงื่อนไขเก่ียวกับการไดรับสิทธิประโยชนและการเชิดชูเกียรติแก
สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ หรือองคกรอื่น ตลอดจนการสงเสริมความรวมมือในการจัดการ
อาชีวศึกษาและการฝก อบรมวชิ าชีพระหวางสถานศกึ ษาอาชีวศกึ ษา สถาบนั และสถานประกอบการ

(๗) กําหนดหลักเกณฑในการแตงตั้ง การทดสอบ การฝกอบรมและการออกใบรับรอง
การเปนครูฝก ในสถานประกอบการตามมาตรา ๕๕

(๘) เสนอแนะเก่ียวกับการจัดสรรงบประมาณและการกําหนดนโยบายในการระดมทุน
ทรพั ยากร รายได หรอื การจัดตัง้ กองทนุ อน่ื ตอรฐั มนตรี

(๙) สงเสริม สนับสนุน กํากับ และดูแลระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
อาชวี ศกึ ษา สถาบันหรอื สถานประกอบการเพ่อื พัฒนาคณุ ภาพและมาตรฐานการอาชวี ศึกษา

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๖ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

(๑๐) แตงต้ังคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหน่ึงบุคคลใดเพื่อกระทําการใด
อันอยูในอาํ นาจหนา ทข่ี องคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา

(๑๑) ออกขอบงั คับ ระเบยี บ และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพ่ือปฏิบัติการตาม
พระราชบัญญตั ินี้

(๑๒) ปฏิบตั ิการอื่นตามพระราชบัญญัตนิ ้ีหรอื ตามทคี่ ณะรฐั มนตรีมอบหมาย

หมวด ๒
สถานศกึ ษาอาชีวศกึ ษา

มาตรา ๑๒ เพอ่ื ประโยชนในการพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพเฉพาะดาน
หากสถานศึกษาอาชีวศึกษาแหงใดมีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณเฉพาะดานในสาขาวิชาชีพ
ใหคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสงเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาอาชีวศึกษานั้นเพื่อใหสามารถ
จัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพไดอยางตอเน่ือง และไดรับการพัฒนาใหทันตอการ
เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

หมวด ๓
สถาบนั การอาชีวศึกษา

สวนท่ี ๑
การจดั ตั้ง

มาตรา ๑๓ สถานศกึ ษาอาชวี ศึกษาสามารถรวมกนั เปน สถาบันได
การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดต้ังเปนสถาบันใหกระทําไดโดยคําแนะนําของ
คณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา และคาํ นึงถงึ การประสานความรวมมือใหเกิดประโยชนสูงสุดในการใช
ทรัพยากรรว มกัน ทงั้ นี้ ใหเปน ไปตามท่กี ําหนดในกฎกระทรวง
ในการดําเนินการตามวรรคสอง ถามีความเหมาะสมหรือมีความจําเปนจะแยกสถานศึกษา
อาชวี ศกึ ษาสว นหนง่ึ สวนใดมารวมกับสถานศกึ ษาอาชวี ศกึ ษาอีกแหงหนึง่ เพ่อื จัดตงั้ เปนสถาบนั ก็ได

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๗ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

มาตรา ๑๔ ในกรณีท่ีมีความเหมาะสมหรือมีความจําเปน จะจัดต้ังสถาบันเพ่ือดําเนินการ
จัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได ท้ังน้ี โดยใหออกเปน
กฎกระทรวง

มาตรา ๑๕ ใหส ถาบนั ตามมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ เปน นิตบิ คุ คลและเปนสวนราชการ
ในสงั กัดสํานกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา

ในการแบงสวนราชการของสถาบันตามวรรคหน่ึง ใหเปนไปตามหลักเกณฑท่ีกําหนดใน
กฎกระทรวง

สว นที่ ๒
การดําเนนิ การ

มาตรา ๑๖ ใหสถาบันตามมาตรา ๑๕ เปนสถาบันอุดมศึกษาดานวิชาชีพและเทคโนโลยี
มีวัตถุประสงคใหการศึกษา สงเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงท่ีชํานาญการปฏิบัติการสอน การวิจัย
การถา ยทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทะนบุ ํารงุ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และอนรุ ักษส่ิงแวดลอม
รวมทัง้ ใหบ ริการวิชาการและวชิ าชีพแกสังคม

มาตรา ๑๗ สถาบันอาจแบงสวนราชการ ดังตอ ไปน้ี
(๑) สํานักงานผอู าํ นวยการสถาบนั
(๒) วทิ ยาลัย
(๓) สํานัก
(๔) ศูนย
สถาบันอาจใหม สี ว นราชการที่เรียกชื่ออยางอื่นท่ีมีฐานะเทียบเทาวิทยาลัยเพ่ือดําเนินการตาม
วัตถุประสงคใ นมาตรา ๑๖ เปน สว นราชการของสถาบนั อกี กไ็ ด
สํานกั งานผูอ าํ นวยการสถาบนั อาจแบง สวนราชการเปนฝายหรอื หนวยงานท่ีเรียกชื่ออยางอื่นท่ี
มฐี านะเทยี บเทา ฝาย
วทิ ยาลัยอาจแบง สวนราชการเปน คณะวิชา ภาควิชา แผนก หรือหนวยงานที่เรียกช่ืออยางอ่ืน
ทีม่ ีฐานะเทยี บเทา คณะวชิ าหรือภาควิชา

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๘ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานเุ บกษา

สํานัก หรือศูนย อาจแบงสวนราชการเปนแผนกหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นท่ีมีฐานะ
เทียบเทา แผนก

มาตรา ๑๘ การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสํานักงานผูอํานวยการสถาบันวิทยาลัย
สํานัก ศูนยหรือหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอ่ืนที่มีฐานะเทียบเทาวิทยาลัย ใหทําเปนประกาศ
กระทรวงศึกษาธกิ ารและประกาศในราชกจิ จานุเบกษา

การแบงสวนราชการภายในสํานักงานผูอํานวยการสถาบัน วิทยาลัย สํานัก ศูนย หรือ
หนว ยงานที่เรยี กชอ่ื อยา งอน่ื ที่มฐี านะเทยี บเทาวทิ ยาลยั ใหท ําเปน ขอ บังคับของสถาบัน

มาตรา ๑๙ ภายใตขอบวัตถุประสงคตามมาตรา ๑๖ สถาบันจะรับสถานศึกษาอ่ืนหรือ
สถานประกอบการเขาสมทบในสถาบันเพ่ือประโยชนในการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษา
และการฝกอบรมวิชาชีพได และมีอํานาจใหประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
หรอื ปริญญาตรีแกผ ูที่ศกึ ษาจากสถานศึกษาหรอื สถานประกอบการ และสําเร็จการศึกษาตามหลักเกณฑ
ของสถาบนั ได

การรบั เขา สมทบ และการยกเลิกการเขา สมทบของสถานศึกษาอื่นหรือสถานประกอบการตาม
วรรคหน่ึง ใหเ ปนไปตามขอ บังคบั ของสถาบันและประกาศในราชกิจจานเุ บกษา

การควบคุมสถานศึกษาอ่ืนหรือสถานประกอบการท่ีเขาสมทบในสถาบันใหเปนไปตาม
ขอ บงั คบั ของสถาบนั

มาตรา ๒๐ นอกจากเงินที่กาํ หนดไวใ นงบประมาณแผน ดนิ สถาบันอาจมรี ายไดดงั ตอ ไปน้ี
(๑) เงนิ ผลประโยชน คาธรรมเนียม คาปรับ และคาบริการตา ง ๆ ของสถาบนั
(๒) เงินและทรัพยส ินซึง่ มผี ูอทุ ศิ ใหแกสถาบนั
(๓) รายไดห รอื ผลประโยชนท ีไ่ ดจ ากการลงทุนและจากทรพั ยสินของสถาบัน
(๔) รายไดหรือผลประโยชนที่ไดจากการใชท่ีราชพัสดุ ซ่ึงสถาบันปกครอง ดูแล
หรอื ใชป ระโยชน
(๕) เงินอุดหนุนจากราชการสวนทองถิ่นหรือเอกชน หรือองคกรระหวางประเทศ
หรอื เงนิ อุดหนุนอน่ื ทส่ี ถาบันไดรบั เพือ่ ใชใ นการดาํ เนินกจิ การของสถาบนั
(๖) รายไดหรือผลประโยชนอน่ื

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๙ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

ใหส ถาบันมีอํานาจในการปกครอง ดูแล บาํ รุงรักษา ใช และจัดหาผลประโยชนจากทรพั ยส นิ
ของสถาบนั ท้ังที่เปน ที่ราชพัสดตุ ามกฎหมายวา ดว ยทีร่ าชพัสดุและทีเ่ ปนทรัพยสนิ อน่ื รวมท้ังการจัดหา
รายไดจากการใหบริการและการจดั เกบ็ คาธรรมเนียมการศกึ ษาของสวนราชการในสถาบนั

บรรดารายไดและผลประโยชนของสถาบนั เบี้ยปรบั ทเ่ี กดิ จากการดาํ เนนิ การตามวัตถุประสงค
ของสถาบัน เบย้ี ปรบั ทีเ่ กดิ จากการผิดสญั ญาลาศึกษา และเบยี้ ปรบั ทีเ่ กิดจากการผิดสัญญาซื้อทรัพยสิน
หรือสัญญาจางทําของท่ีดําเนินการโดยใชเงินงบประมาณแผนดิน ไมเปนรายไดท่ีตองนําสงคลัง
ตามกฎหมายวา ดวยเงนิ คงคลงั และกฎหมายวาดว ยวธิ ีการงบประมาณ

มาตรา ๒๑ บรรดาอสงั หาริมทรัพยท่สี ถาบนั ไดม าโดยมีผูอ ทุ ศิ ใหหรือไดม า โดยการซื้อหรือ
การแลกเปลยี่ นจากเงนิ และทรพั ยสินซึง่ มผี ูอทุ ศิ ใหแ กสถาบนั ตง้ั แตวันที่พระราชบัญญัติน้ีมีผลใชบังคับ
ไมถือเปนทร่ี าชพัสดุและใหเ ปนกรรมสิทธขิ์ องสถาบัน

มาตรา ๒๒ บรรดารายไดและทรัพยสนิ ของสถาบันจะตองจัดการเพื่อประโยชนตามวัตถุประสงค
ของสถาบันตามมาตรา ๑๖

เงินและทรัพยสินซ่ึงมีผูอุทิศใหแกสถาบัน จะตองจัดการตามเงื่อนไขท่ีผูอุทิศไดกําหนดไว
และจะตองเปนไปตามวัตถปุ ระสงคข องสถาบัน แตถามีความจําเปนตองเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกลาว
สถาบันตอ งไดรับความยนิ ยอมจากผูอุทิศใหหรือทายาท หากไมมีทายาทหรือทายาทไมปรากฏจะตอง
ไดรับอนุมตั จิ ากสภาสถาบัน

สว นท่ี ๓
สภาสถาบันและผูบริหารสถาบัน

มาตรา ๒๓ ใหมีคณะกรรมการสภาสถาบันในสถาบันแตละแหง จํานวนไมเกินสิบสี่คน
ประกอบดวย

(๑) นายกสภาสถาบัน ซึ่งรฐั มนตรีแตงตงั้ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา
(๒) กรรมการสภาสถาบนั โดยตําแหนง ไดแก ผูอํานวยการสถาบนั
(๓) กรรมการสภาสถาบันจํานวนส่ีคน ซ่ึงเลือกจากบุคคลท่ีสํานักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศกึ ษาเสนอ

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๐ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

(๔) กรรมการสภาสถาบนั จํานวนส่คี น ซึง่ เลือกจากผูดํารงตําแหนงผูบริหารสถาบันจํานวน
สองคน และครูหรอื คณาจารยประจาํ ทมี่ ไิ ดเ ปน ผูบ รหิ ารจาํ นวนสองคน

(๕) กรรมการสภาสถาบันผูทรงคุณวุฒิจํานวนส่ีคน ซึ่งรัฐมนตรีแตงตั้งจากบุคคลภายนอก
สถาบันโดยคําแนะนําของกรรมการสภาสถาบันตาม (๓) และ (๔) ในจํานวนนี้จะตองเปน
ผู ท ร ง คุ ณ วุ ฒิ จ า ก ภ า ค เ อ ก ช น จํ า น ว น ห นึ่ ง ค น แ ล ะ จ า ก อ ง ค ก ร ป ก ค ร อ ง ส ว น ท อ ง ถ่ิ น ท่ี ส ถ า บั น
หรอื สถานศึกษาในสังกดั สถาบันนนั้ ตงั้ อยจู ํานวนหน่งึ คน

คุณสมบัติของผูดํารงตําแหนงนายกสภาสถาบัน กรรมการสภาสถาบันตาม (๓) และ
กรรมการสภาสถาบันผูทรงคุณวุฒิตาม (๕) หลักเกณฑ และวิธีการเลือกหรือสรรหากรรมการสภา
สถาบันตาม (๓) (๔) และ (๕) ใหเปนไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

ใหสภาสถาบันแตงตั้งรองผูอํานวยการสถาบันคนหน่ึงเปนเลขานุการคณะกรรมการสภา
สถาบนั โดยคําแนะนาํ ของผูอาํ นวยการสถาบัน

มาตรา ๒๔ นายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบนั ตามมาตรา ๒๓ (๓) (๔) และ (๕)
มีวาระการดาํ รงตาํ แหนงคราวละสีป่  และจะแตง ตัง้ หรืออาจไดร ับเลอื กใหมอีกได

นอกจากการพนจากตําแหนงตามวาระตามวรรคหน่ึง นายกสภาสถาบันและกรรมการสภา
สถาบนั ตามมาตรา ๒๓ (๓) (๔) และ (๕) พนจากตําแหนง เมอื่

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคณุ สมบตั ขิ องการเปนนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบนั ในประเภทนั้น
(๔) ไดร ับโทษจําคุกโดยคาํ พิพากษาถงึ ที่สดุ ใหจําคกุ
(๕) สภาสถาบันมมี ตใิ หออกเพราะมีความประพฤติเส่ือมเสีย บกพรองตอหนาท่ีหรือหยอน
ความสามารถ
(๖) เปนบุคคลลม ละลาย
(๗) เปนคนไรค วามสามารถหรอื คนเสมือนไรค วามสามารถ
การพนจากตาํ แหนงตาม (๕) ตอ งเปนไปตามมติสองในสามของจํานวนกรรมการสภาสถาบัน
เทาทมี่ อี ยู

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๑๑ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

ในกรณีทต่ี ําแหนง นายกสภาสถาบันหรอื กรรมการสภาสถาบันวางลง ไมวาดวยเหตุใดและยัง
มิไดดําเนินการใหไดมาซ่ึงนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันแทนตําแหนงท่ีวาง ใหสภา
สถาบนั ประกอบดวยกรรมการสภาสถาบนั เทา ทีม่ อี ยู

ในกรณีท่ีนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันตามมาตรา ๒๓ (๓) (๔) หรือ (๕)
พนจากตาํ แหนงกอ นครบวาระและไดมีการแตงตั้งหรือไดมีการเลือกผูดํารงตําแหนงแทนแลว ใหผูซึ่ง
ไดรบั การแตง ตัง้ หรอื ไดร บั เลือกอยูในตําแหนงเทากับวาระที่เหลืออยูของผูซ่ึงตนแทน แตถาวาระการ
ดํารงตําแหนง เหลืออยนู อ ยกวาเกา สบิ วันจะไมดําเนนิ การใหมผี ูด าํ รงตาํ แหนงแทนกไ็ ด

ในกรณีท่ีนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันตามมาตรา ๒๓ (๓) (๔) และ (๕)
พนจากตําแหนงตามวาระ แตยังมิไดแตงต้ังนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันผูทรงคุณวุฒิ
หรือยังมิไดเลือกกรรมการสภาสถาบันอื่นขึ้นใหม ใหนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบัน
ซึง่ พน จากตําแหนง ปฏิบตั หิ นาทีต่ อ ไปจนกวาจะไดมนี ายกสภาสถาบันหรอื กรรมการสภาสถาบนั ใหมแลว

ใหมีการดําเนินการใหไดมาซ่ึงนายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันตามมาตรา ๒๓
(๓) (๔) และ (๕) ภายในเกาสบิ วนั นบั แตว ันทผี่ นู ้ันพนจากตําแหนง

มาตรา ๒๕ สภาสถาบนั มอี ํานาจและหนาทีค่ วบคุมดูแลกิจการทั่วไปของสถาบัน และโดยเฉพาะ
ใหม อี าํ นาจและหนา ที่ ดังตอไปน้ี

(๑) อนุมัติแผนพัฒนาของสถาบันเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพของ
สถาบนั ใหส อดคลองกบั นโยบายการศึกษาของชาติ

(๒) ออกขอบงั คับ ระเบียบ และประกาศของสถาบันเกย่ี วกบั การดําเนินการของสถาบนั
(๓) พิจารณาการจัดต้ัง การรวม และการยุบเลิกสวนราชการของสถาบันตามมาตรา ๑๗
รวมท้งั การแบง หนว ยงานภายในของสวนราชการดงั กลา ว
(๔) อนมุ ัตกิ ารรบั สถานศกึ ษาอ่นื หรือสถานประกอบการเขาสมทบและการยกเลิกการสมทบ
ของสถานศึกษาอืน่ หรอื สถานประกอบการดังกลา ว
(๕) พิจารณาใหความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาของสถาบันใหสอดคลองกับมาตรฐานที่
คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษากาํ หนด
(๖) อนุมตั กิ ารใหปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสงู และประกาศนยี บัตรวิชาชพี

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๒ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานเุ บกษา

(๗) พจิ ารณาและใหค วามเห็นชอบในการเขา รว มดําเนินการจดั ตง้ั ศนู ยวจิ ัย หองทดลองหรือ
หองปฏิบัติการเพ่อื พฒั นาการอาชีวศกึ ษาและการฝก อบรมวชิ าชีพกบั สถานประกอบการหรือภาคเอกชน
ตามมาตรา ๕๓

(๘) กาํ กับมาตรฐานการศึกษา ควบคุมคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัด
การศึกษาของสถาบันใหเปนไปตามมาตรฐานการอาชวี ศกึ ษาทกุ ระดับ

(๙) พิจารณาใหความเหน็ เก่ยี วกับการแตงตั้งและถอดถอนศาสตราจารยและศาสตราจารยพิเศษ
(๑๐) พจิ ารณาเสนอแนะตอรฐั มนตรเี พื่อแตง ตง้ั หรือถอดถอนผูอาํ นวยการสถาบนั
(๑๑) แตงตั้งและถอดถอนรองผอู าํ นวยการสถาบนั ผชู วยผอู ํานวยการสถาบนั และอาจารยพ ิเศษ
(๑๒) แตงตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหน่ึงเพ่ือพิจารณาและ
เสนอความเหน็ ในเรอ่ื งหน่งึ เรื่องใด หรอื เพ่อื มอบหมายใหปฏิบัติการอยางหน่ึงอยางใดอันอยูในอํานาจ
และหนา ทข่ี องสภาสถาบัน
(๑๓) กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดหารายได ออกขอบังคับและวางระเบียบเกี่ยวกับ
การบริหารการเงนิ และทรพั ยส ินของสถาบัน
(๑๔) ใหความเหน็ ชอบในการกําหนดตรา เคร่อื งหมาย หรอื สญั ลักษณของสถาบนั
(๑๕) ปฏิบัติหนา ท่ีอืน่ ทเี่ ก่ยี วของกับสถาบันทมี่ ิไดระบใุ หเปน อาํ นาจหนาท่ีของผใู ดโดยเฉพาะ
มาตรา ๒๖ การประชุมสภาสถาบนั ใหเปนไปตามขอบังคบั ของสถาบนั
มาตรา ๒๗ ใหม ีผูอํานวยการสถาบันเปนผูบังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของ
สถาบัน และใหมีรองผูอํานวยการสถาบันอยางนอยหน่ึงคน กับท้ังอาจมีผูชวยผูอํานวยการสถาบัน
หนึ่งคนหรือหลายคนก็ได ท้ังนี้ ตามจํานวนท่ีสภาสถาบันกําหนดเพื่อทําหนาท่ีและรับผิดชอบตามท่ี
ผูอํานวยการสถาบันมอบหมาย
มาตรา ๒๘ ใหสภาสถาบันสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๓๐ เสนอรัฐมนตรี
แตงต้ังใหดํารงตําแหนงผูอํานวยการสถาบัน ทั้งน้ี ใหคํานึงถึงการมีสวนรวมของคณาจารยและ
ขา ราชการของสถาบนั
ใหส ภาสถาบนั แตง ต้ังรองผูอํานวยการสถาบันและผูชวยผูอํานวยการสถาบัน โดยคําแนะนํา
ของผอู าํ นวยการสถาบันจากครหู รือคณาจารยผ ูม ีคณุ สมบตั ิตามมาตรา ๓๐

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๓ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

หลักเกณฑและวิธีการสรรหาบุคคลเพ่ือแตงต้ังใหเปนผูอํานวยการสถาบัน รองผูอํานวยการ
สถาบนั และผชู ว ยผอู าํ นวยการสถาบนั ใหเปน ไปตามขอ บงั คบั ของสถาบนั

มาตรา ๒๙ ผูอาํ นวยการสถาบันมีวาระการดํารงตําแหนงคราวละสี่ป และอาจไดรับแตงต้ัง
ใหมอกี ได แตจ ะดํารงตําแหนง เกนิ สองวาระติดตอ กนั มไิ ด

นอกจากการพนจากตาํ แหนงตามวาระตามวรรคหนง่ึ ผูอ าํ นวยการสถาบนั พน จากตําแหนง เมอื่
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สภาสถาบันมีมติใหออกดวยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนกรรมการสภาสถาบัน
เทา ทีม่ อี ยู เพราะมีความประพฤตเิ ส่ือมเสยี บกพรอ งตอหนา ทห่ี รอื หยอนความสามารถ
(๔) ถูกลงโทษทางวินัยอยางรายแรง หรือถูกสั่งใหออกจากราชการเพราะเหตุมีมลทิน
หรือมวั หมองในกรณีท่ีถูกสอบสวนทางวินยั อยางรา ยแรง
(๕) ไดร บั โทษจาํ คกุ โดยคาํ พิพากษาถงึ ที่สุดใหจําคกุ
(๖) เปนบุคคลลม ละลาย
(๗) เปนคนไรความสามารถหรือคนเสมือนไรความสามารถ
เมือ่ ผอู ํานวยการสถาบันพนจากตําแหนง ใหรองผูอํานวยการสถาบันหรือผูชวยผูอํานวยการ
สถาบันพนจากตําแหนงดวย และใหมีการแตงต้ังผูอํานวยการสถาบันภายในเกาสิบวันนับแตวันที่
ผูอํานวยการสถาบันพนจากตําแหนง
มาตรา ๓๐ ผอู ํานวยการสถาบันและรองผูอํานวยการสถาบันตอ งมคี ุณสมบัตดิ งั ตอ ไปน้ี
(๑) สําเรจ็ การศึกษาไมต าํ่ กวา ชั้นปรญิ ญาเอกหรือเทียบเทาจากสถาบันอุดมศึกษา และไดทํา
การสอนหรือมีประสบการณดานบริหารมาแลวไมนอยกวาสองปในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบัน
หรือสถาบันอุดมศึกษาอ่ืน หรือเคยดํารงตําแหนงกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอ่ืนมาแลวรวมเปน
เวลาไมน อยกวา สองป หรือ
(๒) ไดรับปริญญาช้ันใดชั้นหน่ึงหรือเทียบเทาจากสถาบันอุดมศึกษา และไดทําการสอน
หรือมีประสบการณดานการบริหารมาแลวไมนอยกวาส่ีปในสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบัน หรือ
สถาบันอุดมศึกษาอ่ืน หรือเคยดํารงตําแหนงกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอ่ืนมาแลวเปนเวลา
ไมนอยกวาส่ีป

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๔ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

ผูชว ยผอู าํ นวยการสถาบันตองสําเรจ็ การศึกษาระดับปริญญาหรือเทียบเทาจากสถาบันอุดมศึกษา
รวมทงั้ มคี ุณสมบตั ิและไมมลี ักษณะตองหา มตามที่กําหนดในขอบงั คับของสถาบนั

มาตรา ๓๑ ผูอาํ นวยการสถาบนั เปน ผแู ทนของสถาบันในกิจการทวั่ ไป และใหมีอํานาจและ
หนาท่ี ดงั ตอ ไปน้ี

(๑) บริหารกิจการของสถาบันใหเปนไปตามกฎหมาย ขอบังคับ ระเบียบ และประกาศของ
ทางราชการและของสถาบนั จรรยาบรรณวิชาชพี รวมทง้ั นโยบายและวัตถุประสงคข องสถาบัน

(๒) ควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานท่ี และทรัพยสินอ่ืนของสถาบัน
ใหเปนไปตามกฎหมาย ขอ บงั คับ ระเบียบ และประกาศ ของทางราชการและของสถาบนั

(๓) จดั ทาํ แผนการดําเนินงาน แผนพัฒนาของสถาบัน งบประมาณประจําป และตลอดจน
ติดตามการประเมินผลการดาํ เนินงานของสถาบนั

(๔) เสนอรายงานประจาํ ปเก่ยี วกบั กจิ การดานตา ง ๆ ของสถาบันตอสภาสถาบัน
(๕) ปฏิบัติหนาท่ีอ่ืนตามกฎหมาย ขอบังคับ ระเบียบ และประกาศของทางราชการและ
ของสถาบัน หรอื ตามท่สี ภาสถาบันมอบหมาย
มาตรา ๓๒ ในกรณที ี่ผดู าํ รงตาํ แหนงผอู ํานวยการสถาบันไมอยูหรือไมอาจปฏิบัติราชการได
ใหรองผูอํานวยการสถาบันเปนผูรักษาราชการแทน ถามีรองผูอํานวยการสถาบันหลายคน
ใหรองผอู ํานวยการสถาบันซง่ึ ผอู ํานวยการสถาบนั มอบหมายเปน ผูรักษาราชการแทน หากผูอํานวยการ
สถาบันมไิ ดมอบหมาย ใหรองผอู าํ นวยการสถาบนั ซ่ึงมีอาวโุ สสูงสดุ เปน ผูรกั ษาราชการแทน
ในกรณีที่ไมมีผดู าํ รงตาํ แหนง ผูอาํ นวยการสถาบัน หรือไมมีผูรักษาราชการแทนผูอํานวยการ
สถาบนั ตามวรรคหน่ึง หรือมแี ตไมอาจปฏบิ ัติราชการได ใหนายกสภาสถาบันแตงตั้งผูมีคุณสมบัติตาม
มาตรา ๓๐ เปนผรู กั ษาราชการแทนผอู าํ นวยการสถาบนั
ใหผรู ักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมีอํานาจและหนา ทเ่ี ชนเดยี วกับผซู ่ึงตนแทน
ในกรณีท่ีกฎหมาย ขอบังคับ ระเบียบ คําสั่ง มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการ
ตามกฎหมาย หรอื มคี ําสง่ั ของผูบ งั คับบัญชาแตงต้งั ใหผดู าํ รงตาํ แหนง นั้นเปนกรรมการหรือใหมีอํานาจ
และหนาที่อยางใด ก็ใหผูรักษาราชการแทนทําหนาท่ีกรรมการหรือมีอํานาจและหนาท่ีอยางน้ัน

ในระหวา งรักษาราชการแทนดว ย

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๑๕ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๓๓ ใหรองผูอาํ นวยการสถาบนั คนหน่ึงทําหนาที่เปนผูบังคับบัญชา และรับผิดชอบ
งานของสํานกั งานผูอ าํ นวยการสถาบนั

วิทยาลัย สํานัก ศูนย หรือหนวยงานท่ีเรียกช่ืออยางอ่ืนที่มีฐานะเทียบเทาวิทยาลัย
ใหมีผูอํานวยการเปนผูบังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของวิทยาลัย สํานัก ศูนย หรือหนวยงาน
ท่เี รียกชอ่ื อยางอน่ื ทีม่ ฐี านะเทียบเทา วิทยาลัยนนั้

ส ว น ร า ช ก า ร ต า ม ว ร ร ค ส อ ง จ ะ ใ ห มี ร อ ง ผู อํ า น ว ย ก า ร เ พื่ อ ทํ า ห น า ท่ี ต า ม ที่ ผู อํ า น ว ย ก า ร
สวนราชการนั้นมอบหมายกไ็ ด

มาตรา ๓๔ ใหตําแหนงผูอํานวยการวิทยาลัย ผูอํานวยการสํานัก ผูอํานวยการศูนย
ผูอํานวยการหนว ยงานท่เี รยี กช่ืออยางอืน่ ทม่ี ีฐานะเทียบเทาวทิ ยาลัย และรองผอู าํ นวยการของตําแหนงดังกลาว
เปนตาํ แหนง ผบู รหิ ารสถานศึกษาหรอื บุคลากรทางการศกึ ษา แลว แตก รณี ตามกฎหมายวาดวยระเบียบ
ขาราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา

มาตรา ๓๕ ใหตําแหนงผูอํานวยการสถาบันและตําแหนงรองผูอํานวยการสถาบันเปน
ตําแหนง ท่เี ทยี บเทาตําแหนงอธิการบดีและตําแหนงรองอธิการบดีในหนวยงานการศึกษาที่สอนระดับ
ปริญญาตามกฎหมายวา ดวยระเบียบขาราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา

มาตรา ๓๖ ผูดํารงตาํ แหนงผูอํานวยการสถาบัน รองผูอํานวยการสถาบัน ผูชวยผูอํานวยการ
สถาบัน ผอู ํานวยการวทิ ยาลยั ผอู าํ นวยการสํานัก ผูอาํ นวยการศูนย และผูอํานวยการหนวยงานท่ีเรียกชื่อ
อยา งอ่ืนทม่ี ฐี านะเทยี บเทาวทิ ยาลยั จะดํารงตาํ แหนง ดงั กลาวเกินหน่ึงตาํ แหนงในขณะเดียวกันมิได

ผดู ํารงตําแหนงตามวรรคหนึง่ จะรกั ษาราชการแทนตําแหนงอื่นอีกหน่ึงตําแหนงได ท้ังน้ี ตองไมเกิน
หนึง่ รอ ยแปดสบิ วัน

มาตรา ๓๗ ในวิทยาลัยแตละแหงใหมีคณะกรรมการวิทยาลัยคณะหนึ่งมีหนาท่ีในการ
สง เสรมิ สนับสนุน ใหคําปรึกษาและขอเสนอแนะในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพ
เพื่อพฒั นาแนวทางการดาํ เนินงานของวทิ ยาลัย ประกอบดวยผูแทนครูหรือคณาจารย ผูแทนผูปกครอง
ผูแทนองคกรชุมชน ผูแทนองคกรปกครองสวนทองถ่ิน ผูแทนศิษยเกาของวิทยาลัยแหงน้ัน
ผแู ทนพระภกิ ษุสงฆ ผแู ทนองคกรศาสนาอ่นื ในพน้ื ท่ี และผูทรงคณุ วฒุ ิ

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๑๖ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

นอกจากกรรมการตามวรรคหน่งึ แลว คณะกรรมการวิทยาลัยอาจมีผูแทนสถานประกอบการ
ดา นธุรกิจ การพาณิชย การเกษตร หรืออตุ สาหกรรม ผูแทนหอการคาจังหวัด และผูแทนองคกรดาน
อาชวี ศึกษาในพน้ื ท่ี เปน กรรมการเพ่มิ ขน้ึ ได

ในกรณที ่ีวิทยาลยั ใดไมอาจมีผูแทนประเภทใดประเภทหนึ่งตามท่ีไดกําหนดไวในวรรคหน่ึง
ใหค ณะกรรมการวิทยาลัยของวทิ ยาลัยนัน้ ประกอบดวยกรรมการเทา ทีม่ อี ยู

จาํ นวนกรรมการ คุณสมบตั ิ หลักเกณฑก ารสรรหา การเลอื กประธานกรรมการและกรรมการ
การประชุม วาระการดํารงตําแหนงและการพนจากตําแหนงของคณะกรรมการวิทยาลัย ใหเปนไป
ตามท่ีกําหนดในกฎกระทรวง

สวนที่ ๔
ตําแหนง ทางวชิ าการ

มาตรา ๓๘ คณาจารยป ระจาํ ซ่ึงสอนชนั้ ปริญญาในสถาบันมีตําแหนง ทางวิชาการ ดังตอไปน้ี
(๑) ศาสตราจารย
(๒) รองศาสตราจารย
(๓) ผูช วยศาสตราจารย
(๔) อาจารย
คุณสมบัติ หลักเกณฑและวิธีการแตงต้ังและถอดถอนคณาจารยประจําตามวรรคหนึ่ง
ใหเ ปน ไปตามกฎหมายวาดวยระเบยี บขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ศาสตราจารยนนั้ จะไดทรงพระกรณุ าโปรดเกลา ฯ แตง ต้ังโดยคําแนะนาํ ของสภาสถาบัน
มาตรา ๓๙ ศาสตราจารยพ ิเศษนั้น จะไดท รงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ แตงต้ัง จากผูซึ่งเปน
หรือเคยเปนอาจารยพ เิ ศษในวชิ าทผี่ นู นั้ มีความชํานาญเปนพิเศษโดยคําแนะนาํ ของสภาสถาบัน
คุณสมบัติและหลักเกณฑในการแตงตั้งศาสตราจารยพิเศษ ใหเปนไปตามขอบังคับของ
สถาบัน

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๗ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

มาตรา ๔๐ สภาสถาบนั อาจแตง ตง้ั ผูซ งึ่ มีคุณสมบัติเหมาะสมและมิไดเปนคณาจารยประจํา

ของสถาบนั เปนรองศาสตราจารยพ ิเศษ ผชู ว ยศาสตราจารยพ ิเศษ หรืออาจารยพเิ ศษได

คุณสมบัติ หลักเกณฑและวิธีการแตงต้ังรองศาสตราจารยพิเศษ ผูชวยศาสตราจารยพิเศษ

และอาจารยพเิ ศษตามวรรคหนงึ่ ใหเปนไปตามขอ บังคับของสถาบัน

มาตรา ๔๑ ใหผ ูเปน ศาสตราจารย ศาสตราจารยพิเศษ รองศาสตราจารย รองศาสตราจารย

พิเศษ ผูชวยศาสตราจารย หรือผูชวยศาสตราจารยพิเศษ มีสิทธิใชตําแหนงทางวิชาการดังกลาว

เปน คาํ นาํ หนา นามเพอ่ื แสดงวิทยฐานะไดต ลอดไป

การใชคาํ นาํ หนานามตามวรรคหนึ่ง ใหใชอักษรยอ ดังตอ ไปนี้

ศาสตราจารย ใชอกั ษรยอ ศ.

ศาสตราจารยพ เิ ศษ ใชอ กั ษรยอ ศ. (พิเศษ)

รองศาสตราจารย ใชอ กั ษรยอ รศ.

รองศาสตราจารยพิเศษ ใชอ กั ษรยอ รศ. (พเิ ศษ)

ผูช วยศาสตราจารย ใชอักษรยอ ผศ.

ผชู วยศาสตราจารยพิเศษ ใชอ กั ษรยอ ผศ. (พเิ ศษ)

สวนท่ี ๕
ปริญญาและเคร่อื งหมายวิทยฐานะ

มาตรา ๔๒ สถาบันมีอาํ นาจใหปริญญาตรีในสาขาวิชาทม่ี ีการสอนในสถาบนั ได
การเรียกชอื่ ปรญิ ญาในสาขาวชิ า และการใชอกั ษรยอ สําหรบั สาขาวชิ าน้นั ใหตราเปนพระราชกฤษฎกี า
มาตรา ๔๓ สภาสถาบันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจออก
ขอบังคับกําหนดใหผูสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไดรับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหน่ึงหรือ
ปริญญาตรเี กยี รตินิยมอันดับสองได
มาตรา ๔๔ สภาสถาบันอาจออกขอบังคับกําหนดใหมีประกาศนียบัตรออกใหแกผูสําเร็จ
การศึกษาเฉพาะวชิ าได

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๑๘ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๔๕ สถาบันมอี าํ นาจใหปรญิ ญากิตตมิ ศกั ดิ์แกบ ุคคลซ่ึงสภาสถาบันเห็นวาทรงคุณวุฒิ
สมควรแกป รญิ ญานนั้ แตจะใหปริญญาดงั กลาวแกค ณาจารยประจํา ผูดํารงตําแหนงตาง ๆ ในสถาบัน
นายกสภาสถาบันหรือกรรมการสภาสถาบันในขณะดํารงตาํ แหนง นัน้ มิได

สาขาของปรญิ ญากติ ติมศักดิ์ และหลกั เกณฑก ารใหปริญญากติ ติมศกั ดิใ์ หเปนไปตามขอบังคับ
ของสถาบนั

มาตรา ๔๖ สภาสถาบันอาจกําหนดใหมีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะเปนเคร่ืองหมาย
แสดงวิทยฐานะของผูไดรับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูงและประกาศนียบัตรวิชาชีพได
และอาจกาํ หนดใหมคี รุยประจําตําแหนงกรรมการสภาสถาบัน ครุยประจําตําแหนงผูบริหาร หรือครุย
ประจําตําแหนงคณาจารยข องสถาบนั ได

การกําหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และสวนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจําตาํ แหนง ใหตราเปน พระราชกฤษฎกี า

ครุยวิทยฐานะ เขม็ วทิ ยฐานะ และครยุ ประจําตําแหนงจะใชในโอกาสใด โดยมีเง่ือนไขอยางใด
ใหเ ปนไปตามขอบงั คับของสถาบนั

มาตรา ๔๗ สภาสถาบันอาจกําหนดใหมีตรา สัญลักษณ เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ
เครื่องหมาย หรือเครื่องแตงกายของนักศึกษาได โดยทําเปนขอบังคับของสถาบันและประกาศใน
ราชกิจจานเุ บกษา

การใชตรา สัญลักษณ เครื่องหมายของสถาบันเพื่อการคาหรือการใชสิ่งดังกลาวท่ีมิใชเพ่ือ
ประโยชนของสถาบันตามวรรคหน่งึ ตองไดรบั อนญุ าตเปนหนังสอื จากสถาบัน

หมวด ๔
ความรว มมอื ในการจดั การอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวชิ าชพี

มาตรา ๔๘ เพ่ือประโยชนในการพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษาของชาติ ใหสํานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดําเนนิ การประสาน สงเสริม และสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาของ
สถานศึกษาเอกชน ใหสามารถจัดการอาชีวศกึ ษาสอดคลองกบั นโยบายและมาตรฐานการอาชีวศึกษา

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๑๙ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานเุ บกษา

มาตรา ๔๙ สถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนอาจเขารวมเปนเครือขายของสถาบัน
เพ่ือประโยชนในการรวมมือทางวิชาการ การสรางคุณภาพการอาชีวศึกษาเอกชน ใหสอดคลองกับ
ระบบมาตรฐานการอาชีวศึกษาของชาติ เพ่ือสามารถใชทรัพยากรรวมกันใหเกิดประโยชนสูงสุด
ท้ังน้ี ตามทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๐ สถาบันตองจัดระบบการจัดการใหเอื้ออํานวยแกผูมีประสบการณ ผูผานการ
ฝกอบรมจากสถานประกอบการท่ีไดรับการรับรอง ผูเรียนท่ีสะสมผลการเรียนไว และผูท่ีผานการ
ฝก อบรมตามกฎหมายวา ดวยการสงเสรมิ การพัฒนาฝม ือแรงงาน ใหสามารถเทียบโอนผลการเรียนหรือ
ประสบการณดานวิชาชีพเพ่ือใหไดคุณวุฒิการศึกษาในหลักสูตรตาง ๆ ได ทั้งน้ี ตามหลักเกณฑ
ทค่ี ณะกรรมการการอาชีวศึกษากาํ หนด

มาตรา ๕๑ ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีท่ีเปนความรวมมือระหวางสถานศึกษา
อาชีวศกึ ษาหรือสถาบนั และสถานประกอบการ ใหเ ปนไปตามขอตกลงระหวา งสถานศึกษาอาชีวศึกษา
หรือสถาบัน และสถานประกอบการ

มาตรา ๕๒ สถานประกอบการใดท่ีประสงคจะดําเนินการจัดการอาชีวศึกษา และการ
ฝก อบรมวิชาชพี ตามพระราชบัญญัตินี้ ใหย่ืนคําขอตอเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อให
ไดรับการรับรองประโยชนตามกฎหมาย ท้ังนี้ ใหถือวาไมเปนการขัดหรือแยงกับการจัดการศึกษา
ขน้ั พน้ื ฐานรปู แบบศนู ยการเรยี นตามกฎหมายวาดว ยการศึกษาแหง ชาติ

การยื่นคาํ ขอและการพจิ ารณาใหเ ปนไปตามหลกั เกณฑ และวธิ ีการท่กี าํ หนดในกฎกระทรวง
การจดั การอาชีวศึกษาในสถานประกอบการใหจัดการสอนตามหลักสูตรการอาชีวศึกษาและ
การฝกอบรมวชิ าชีพ หรือจดั การสอนตามหลักสตู รทส่ี ถานประกอบการรวมกับสถานศึกษาอาชีวศึกษา
หรือสถาบนั จัดทาํ ขึน้ โดยความเหน็ ชอบของคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา
หลักเกณฑ และวิธีการดําเนินการตามวรรคสาม ใหเปนไปตามที่คณะกรรมการการ
อาชวี ศกึ ษากําหนด
มาตรา ๕๓ สถานประกอบการหรือภาคเอกชนอาจเขารวมดําเนินการจัดต้ังศูนยวิจัย
หองทดลองหรือหองปฏิบัติการเพ่ือพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพ ในสถานศึกษา
อาชีวศึกษาหรือสถาบันของรัฐหรือเอกชนไดตามความตกลงของสถานศึกษาหรือสถาบันและสถาน
ประกอบการนน้ั ทั้งน้ี เพอ่ื ประโยชนดานความรวมมือในการพัฒนากําลังคน การวิจัยและพัฒนาเพื่อ

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๒๐ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานเุ บกษา

เสริมสรา งมาตรฐานการอาชวี ศกึ ษาและเพม่ิ พนู ประสบการณของครู คณาจารย บุคลากรทางการศึกษา
ในสถานศกึ ษาหรือสถาบนั ใหทันตอ ความเปลย่ี นแปลงของเทคโนโลยี

ร า ย ไ ด แ ล ะ ท รั พ ย สิ น ท่ี เ กิ ด จ า ก ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ข อ ง ส ถ า น ป ร ะ ก อ บ ก า ร ต า ม ว ร ร ค ห น่ึ ง
ใหเ ปนรายไดของสถานศึกษาหรอื สถาบันนั้น

หลักเกณฑแ ละวิธกี ารในการเขารวมดําเนินการของสถานประกอบการ หรือภาคเอกชนตาม
วรรคหน่งึ ใหเ ปนไปตามขอ บงั คับของสถาบัน

มาตรา ๕๔ สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ หรือองคกรอื่นท่ีใหความรวมมือในการ
จดั การอาชีวศกึ ษาและการฝก อบรมวชิ าชพี อาจไดร บั สิทธิและประโยชน ดงั ตอ ไปน้ี

(๑) การสนบั สนนุ ดา นวชิ าการและทรพั ยากรตามสมควรแกก รณี
(๒) การเชดิ ชเู กียรติแกสถานประกอบการ สมาคมวชิ าชีพ หรือองคก รอื่น ทใ่ี หความรวมมือ
ในการจัดการอาชวี ศกึ ษาและการฝก อบรมวิชาชพี
มาตรา ๕๕ ครูฝกในสถานประกอบการตามมาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ ตองมีคุณสมบัติ
อยา งใดอยางหน่ึง ดังตอไปน้ี
(๑) เปนผูสําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาและผานการศึกษาหรือฝกอบรมวิชาการศึกษา
ดานอาชพี
(๒) เปนผูชํานาญการดานอาชีพโดยสําเร็จการศึกษาวิชาชีพไมต่ํากวาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพ หรือผานการทดสอบมาตรฐานฝมือแรงงานแหงชาติ หรือมาตรฐานอื่นตามท่ีคณะกรรมการ
การอาชวี ศึกษากาํ หนด
(๓) เปนผูเชี่ยวชาญดานอาชีพเฉพาะสาขาซ่ึงสําเร็จการศึกษาวิชาชีพไมต่ํากวาระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพท่ีมีประสบการณในสาขาอาชีพน้ันไมนอยกวาหาป หรือสําเร็จการศึกษาวิชาชีพ
ระดบั ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูงท่ีมีประสบการณในสาขาอาชีพนั้นไมนอยกวาสามป หรือผูผานการ
ทดสอบมาตรฐานฝม อื แรงงานแหงชาติและมีประสบการณใ นการทาํ งานในสาขาอาชีพนน้ั ไมน อ ยกวาหา ป
(๔) เปนผูมีประสบการณและประสบความสําเร็จในอาชีพเฉพาะสาขา มีผลงานเปนท่ี
ยอมรบั ในสงั คมและทอ งถิน่ และสามารถถายทอดความรไู ด
หลักเกณฑในการแตงตั้ง การทดสอบ การฝกอบรม และการออกใบรับรองการเปนครูฝก
ในสถานประกอบการ ใหเ ปนไปตามหลกั เกณฑทคี่ ณะกรรมการการอาชีวศึกษากาํ หนด

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๒๑ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

หมวด ๕
การเงนิ และทรัพยากร

มาตรา ๕๖ ใหจัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ เรียกวา “กองทุนเพ่ือพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝกอบรมวิชาชีพ”
มีวัตถุประสงคเพ่ือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษา การพัฒนา
บุคลากร และความรวมมอื ในการจดั การอาชีวศึกษา ประกอบดว ย

(๑) เงินหรือทรัพยสินอ่ืนท่ีสถานประกอบการหรือเอกชนมอบใหแกกองทุน หรือที่มีผู
บริจาคหรืออุทิศใหแ กกองทนุ

(๒) เงนิ ท่ไี ดรับจากตา งประเทศ รฐั บาลตา งประเทศ หรอื องคการระหวา งประเทศ
(๓) ดอกผลและผลประโยชนท ี่เกิดจากกองทนุ
(๔) รายไดหรอื ผลประโยชนอ่นื ของกองทนุ
มาตรา ๕๗ เงนิ กองทุนใหใชจา ยได ดังตอ ไปนี้
(๑) การดําเนินงานและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ อุปกรณ อาคารสถานที่
หลักสูตร กิจกรรม มาตรฐานสถานศึกษาและรูปแบบการศึกษาท่ีสอดคลองกับมาตรฐานการศึกษา
แหงชาติ และการพัฒนาบุคลากร รวมถึงนักเรียนและนักศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สถาบัน
สถานประกอบการ และครฝู กในสถานประกอบการ ตลอดจนความรวมมอื ระหวางหนว ยงานดงั กลา ว
(๒) การใหกยู ืมแกผูสําเรจ็ การศึกษาอาชีวศกึ ษาเพ่อื ใชจา ยในการประกอบอาชีพโดยอิสระ
(๓) เปน คา ใชจ ายท่จี าํ เปนในการดาํ เนินการตามพระราชบญั ญัตินี้
การเบิกจายเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามระเบียบที่สํานักงานคณะกรรมการ
การอาชวี ศึกษากาํ หนด

หมวด ๖
บทกาํ หนดโทษ

มาตรา ๕๘ ผูใดใชครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจําตําแหนง เคร่ืองแบบ
เครอื่ งหมาย หรือเครื่องแตงกายของนักศึกษาหรือสิ่งใดท่ีเลียนแบบส่ิงดังกลาว โดยไมมีสิทธิท่ีจะใช

เลม ๑๒๕ ตอนท่ี ๔๓ ก หนา ๒๒ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

หรอื แสดงดวยประการใด ๆ วา ตนมีตําแหนงใดในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา
หรอื มปี รญิ ญา ประกาศนยี บตั รวิชาชีพช้ันสงู หรือประกาศนียบตั รวิชาชีพของสถานศึกษาหรือสถาบัน
โดยทต่ี นไมมีสิทธิ ถา ไดกระทาํ เพื่อใหบคุ คลอื่นเช่อื วาตนมสี ิทธิที่จะใช หรือมีตําแหนงหรือวิทยฐานะ
เชนน้ัน ตอ งระวางโทษจาํ คกุ ไมเ กนิ หกเดือน หรือปรับไมเ กินหาหมน่ื บาท หรอื ท้ังจาํ ท้ังปรบั

มาตรา ๕๙ ผูใดกระทําการดงั ตอไปน้ี ตอ งระวางโทษจาํ คกุ ไมเกินหนง่ึ ป หรือปรับไมเกิน
หนึ่งแสนบาท หรือท้ังจําทั้งปรบั

(๑) ปลอม หรือทําเลียนแบบซ่ึงตรา สัญลักษณ หรือเคร่ืองหมายของสถาบันไมวาจะทํา
เปน สใี ดหรอื ทําดว ยวธิ ีใด ๆ

(๒) ใชตรา สัญลกั ษณ หรอื เครือ่ งหมายของสถาบนั ปลอมหรอื ซง่ึ ทาํ เลยี นแบบ หรือ
(๓) ใช หรอื ทาํ ใหป รากฏซึง่ ตรา สญั ลักษณ เครื่องหมายของสถาบันที่วัตถุหรือสินคาใด ๆ
โดยไมไ ดร ับอนุญาต
ถา ผกู ระทําความผิดตาม (๑) เปน ผกู ระทําความผิดตาม (๒) ดวย ใหลงโทษเฉพาะความผิด
ตาม (๒) แตก ระทงเดียว
ความผดิ ตาม (๓) เปนความผดิ อนั ยอมความได

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๖๐ ใหสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ต้ังขึ้นกอนวันท่ีพระราชบัญญัตินี้ใชบังคับเปน
สถานศกึ ษาอาชีวศกึ ษาตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๖๑ ใหผดู าํ รงตําแหนงผูอ ํานวยการ หัวหนาหนวยงานที่เรียกชื่ออยางอื่นที่มีฐานะ
เทยี บเทาวทิ ยาลยั รวมทั้งผูดาํ รงตําแหนง รองหรือผูชว ยของผูดาํ รงตําแหนง ดังกลาว ของสถานศึกษาใน
สงั กัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาตามพระราชบญั ญัติ ระเบยี บบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ อยูในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ ดํารงตําแหนงผูอํานวยการ หัวหนาหนวยงานท่ี
เรียกช่ืออยางอื่นท่ีมีฐานะเทียบเทาวิทยาลัย หรือผูดํารงตําแหนงรองหรือผูชวยของตําแหนงดังกลาว
ตามพระราชบญั ญัติน้ี

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๒๓ ๕ มนี าคม ๒๕๕๑
ราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา ๖๒ ในระหวางท่ียังมิไดตราพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ขอบังคับ ระเบียบ
และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ใหนําพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ขอบังคับ
ระเบียบ หรือประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และขอ บงั คบั หรือระเบียบของสถานศกึ ษาอาชวี ศึกษา ทีใ่ ชอยูในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับมาใชบังคับ
โดยอนุโลม

มาตรา ๖๓ ในระหวางที่ยังมิไดมีการแตงต้ังผูอํานวยการสถาบันตามมาตรา ๒๘
ใหเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ทําหนาที่รักษาการในตําแหนงผูอํานวยการสถาบันเปนการช่ัวคราวจนกวาจะไดมีการแตงตั้ง
ผูด ํารงตาํ แหนงผูอํานวยการสถาบันตามพระราชบัญญัตนิ ้ีซึ่งตองไมเกินหน่ึงรอยแปดสิบวันนับแตวันท่ี
รักษาการดงั กลาว

ผรู ับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สรุ ยุทธ จุลานนท
นายกรัฐมนตรี

เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๓ ก หนา ๒๔ ๕ มีนาคม ๒๕๕๑
ราชกิจจานเุ บกษา

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยท่ีกฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติ
ไดบ ญั ญตั ใิ หม ีคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาเพือ่ ควบคุมดูแลการจัดการอาชีวศกึ ษา รวมท้ังการดําเนินการจัดการ
อาชวี ศึกษาและการฝก อบรมวิชาชพี ใหเ ปน ไปตามกฎหมายวาดวยการอาชีวศึกษา ซ่ึงการจัดการอาชีวศึกษาและ
การฝกอบรมวิชาชีพน้ันถือเปนกระบวนการผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อเพิ่มผลผลิตและสงเสริมการพัฒนา
เศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศใหไดระดับมาตรฐานสากล ทําใหประชาชนสามารถประกอบอาชีพ
โดยอสิ ระและพงึ่ ตนเองได นอกจากน้ี สมควรกําหนดใหมสี ถาบันการอาชวี ศึกษาซ่งึ เปน สถานศึกษาของรัฐที่จัด
การศึกษาระดับปริญญาและเปนนิติบุคคลในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีการจัดการ
อาชีวศึกษาท่ีดําเนินการอยางเปนเอกภาพในดานนโยบายและมีการกระจายอํานาจไปสูระดับปฏิบัติ เพื่อให
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝก อบรมวิชาชีพในทกุ ระดบั มคี ุณภาพและประสิทธิภาพเกิดผลสําเร็จแกประชาชน
โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา อันจะเปนการสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
และแผนการศึกษาแหง ชาติ จึงจําเปนตองตราพระราชบญั ญตั นิ ี้


Click to View FlipBook Version